• ประเภทประกาศ

พลังงานน้ำ

พลังงานน้ำ

คู่่มือการพัฒนาและการลงทุนผลิตพลังงานทดแทน  ชุดที 3 “พลังงงานน้ำ”

การใช้น้ำเพื่อผลิตพลังงานในประเทศไทยได้ดำเนินการมาอย่างช้านาน โดยเฉพาะอย่างยิ่งโครงการไฟฟ้าพลังน้ำขนาดใหญ่ แม้ว่าในปัจจุบันโครงการไฟฟ้าพลังน้ำขนาดใหญ่ในประเทศไทยจะไม่สามารถเกิดขึ้นมาใหม่ เนื่องจากสภาพภูมิประเทศ และบริเวณที่มีศักยภาพไม่เหมาะสมต่อการพัฒนา แต่ก็ยังมีพื้นที่ซึ่งมีศักยภาพและเหมาะสมต่อการพัฒนาไฟฟ้าพลังน้ำอีก อาทิ ไฟฟ้าพลังน้ำระดับหมู่บ้านหรือชุมชน อ่างเก็บ
น้ำเพื่อชลประทานของกรมชลประทานหรือขององค์การบริหารส่วนท้องถิ่นที่มีอยู่ในพื้นที่ต่างๆ ทั่วประเทศก็ยังสามารถนำมาใช้ประโยชน์ผลิตไฟฟ้าได้นอกเหนือจากการใช้ประโยชน์จากด้านชลประทาน การประมงหรือการเกษตร ซึ่งจากการศึกษาพื้นที่ที่มีศักยภาพของไฟฟ้าพลังน้ำขนาดเล็กทั่วประเทศ พบว่ามีพื้นที่ที่มีศักยภาพซึ่งสามารถนำมาพัฒนาเป็นโครงการไฟฟ้าพลังน้ำขนาดเล็กได้ถึง 25,500 เมกะวัตต์และเป็นไฟฟ้าพลังนั้นขนาดเล็กมากหรือไฟฟ้าพลังน้ำระดับหมู่บ้าน 1,000 เมกะวัตต์ และเป็นโครงการไฟฟ้าพลังน้ำท้าย อ่างเก็บน้ำอีกประมาณ 115 เมกะวัตต์

พลังงานขีวมวล

พลังงานขีวมวล

คู่่มือการพัฒนาและการลงทุนผลิตพลังงานทดแทน  ชุดที่ 4 “พลังงานชีวมวล”

ชีวมวล (Biomass) หมายถึงวัตถุหรือสสารที่ได้จากธรรมชาติหรือสิ่งมีชีวิตโดยไม่นับการกลายเป็นเชื้อเพลิงฟอสซิล ซึ่งประเทศไทยเป็น
ประเทศเกษตรกรรมมีผลผลิตทางการเกษตรหลากหลายชนิด เช่น ข้าว น้ำตาล มันสำปะหลัง ยางพาราและน้ำมันปาล์ม เป็นต้น ในอดีตชีวมวลส่วนใหญ่ จะถูกทิ้งซากให้เป็นปุ๋ยอินทรีย์ ภายในพื้นที่การเพาะปลูก หรือบางครั้งเกษตรกรกำจัดโดยการเผาทำลาย ซึ่งเป็นการสร้างมลพิษให้กับสิ่งแวดล้อม แต่อันที่จริงแล้วชีวมวลเหล่านี้มีคุณสมบัติในการเป็นเชื้อเพลิงอย่างดีและให้ค่าพลังงานความร้อนในระดับที่สามารถนำไปใช้ประโยชน์ได้และเนื่องจากภาวะถดถอยของแหล่งพลังงาน จึงได้มีการเสาะแสวงหาแหล่งพลังงานทดแทนที่มีศักยภาพและมีปริมาณที่มากพอ “ชีวมวล” จึงเป็นเป้าหมายสำคัญที่ถูกพิจารณา เพื่อเป็นทางเลือกของแหล่งพลังงานใหม่ การใช้ประโยชน์จากพลังงานชีวมวล สามารถนำไปเป็นเชื้อเพลิงเพื่อผลิตพลังงานความร้อน ไอน้ำหรือผลิตเป็นกระแสไฟฟ้า ดังนั้นการนำชีวมวลมาใช้จึงช่วยลดการสูญเสียเงินตราต่างประเทศใน การนำเข้าเชื้อเพลิงและสร้างรายได้ให้กับคนท้องถิ่น นอกจากนี้การผลิตพลังงานจากเชื้อเพลิงชีวมวลด้วยเทคโนโลยีที่เหมาะสม จะไม่ก่อให้เกิดมลภาวะและไม่สร้างสภาวะเรือนกระจก เนื่องจากการปลูกทดแทนทำให้ก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์เกิดการหมุนเวียนและไม่มีการปลดปล่อย สำ หรับในประเทศไทยนั้นนอกเหนือจากพลังงานจากแสงอาทิตย์แล้วพลังงานชีวมวลจัดได้ว่าเป็นอีกทางเลือกหนึ่งที่น่าสนใจสำหรับการใช้เป็นพลังงานหลักทดแทนเชื้อเพลิงฟอสซิล

(เพิ่มเติม…)

พลังงานก๊าซชีวภาพ

พลังงานก๊าซชีวภาพ

คู่่มือการพัฒนาและการลงทุนผลิตพลังงานทดแทน  ชุดที่ 5 “พลังงานก๊าซชีวภาพ”

ประเทศไทยมีน้ำเสียหรือของเหลือใช้จากกระบวนการผลิตในภาคส่วนต่างๆ อาทิ ของเสียและน้ำเสียที่เกิดจากโรงงานอุตสาหกรรม ฟาร์มปศุสัตว์ แหล่งน้ำเสียจากชุมชน ซึ่งต้องมีการบำบัดให้เป็นไปตามมาตรฐานการควบคุมการ ปล่อยของเสีย /น้ำเสียสู่พื้นที่สาธารณะตามประกาศกรมควบคุมมลพิษ กระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม ในปริมาณมากพอสมควร และปัจจุบันวิธีการจัดการของเสียและน้ำ
เสียมีอยู่หลายรูปแบบ โดยกระทรวงพลังงานได้ให้ความสนใจในระบบบำบัดน้ำเสียแบบไร้อากาศ (Anaerobic digestion) เนื่องจากเป็นวิธีการบำบัดที่ก่อให้เกิดก๊าซชีวภาพ ที่ประกอบด้วยก๊าซมีเทน (CH4) ร้อยละ 50-70 ก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ (CO2) ร้อยละ 30-50
ก๊าซอื่นๆ เช่น แอมโมเนีย (NH3) ไฮโดรเจนซัลไฟด์ (H2S)และไอน้ำ ซึ่งมีคุณสมบัติสามารถนำ มาใช้เป็นพลังงานทดแทนการนำ เข้าเชื้อเพลิงและช่วยลดผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อมในเรื่องน้ำเสีย กลิ่น และปัญหาโลกร้อนจากภาวะเรือนกระจก รวมถึงผลพลอยได้จากตะกอนปุ๋ยหลังจากการผลิตก๊าซชีวภาพ

 

พลังงานขยะ

พลังงานขยะ

คู่่มือการพัฒนาและการลงทุนผลิตพลังงานทดแทน  ชุดที่ 6 “พลังงานขยะ”

ปัญหาขยะมูลฝอยของประเทศไทยได้ทวีความรุนแรงขึ้นอย่างรวดเร็วตามการขยายตัวของเมืองและการเปลี่ยนแปลงพฤติกรรมการบริโภคของประชาชน ในขณะที่หน่วยงานรับผิดชอบในการกำจัดขยะส่วนใหญ่ยังขาดความพร้อมทั้งทางด้านงบประมาณเครื่องมืออุปกรณ์ บุคลากร และสถานที่ที่ใช้ในการกำจัดขยะ จึงทำให้การกำจัดขยะส่วนใหญ่ไม่ถูกต้องตามหลักวิชาการ ก่อให้เกิดปัญหาผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อมและสุขภาพอนามัยของประชาชนขยะชุมชนเป็นปัญหาที่หน่วยงานและภาคส่วนที่เกี่ยวข้องจำเป็นต้องเข้ามามีส่วนร่วมในการแก้ไขหากไม่มีการจัดการที่ดีและเป็นระบบจะส่งผลกระทบทั้งในด้านเศรษฐกิจ สิ่งแวดล้อมและสุขอนามัยของประชาชน ดังนั้น การนำขยะชุมชนมาผลิตเป็นพลังงานทดแทนในรูปไฟฟ้าหรือความร้อนเป็นทางเลือกหนึ่งที่จะช่วยลดปัญหาในการจัดการสิ่งแวดล้อม และในสภาวะที่ประเทศไทยมีความจำเป็นจะต้องแสวงหาแหล่งพลังงานหมุนเวียนทดแทนพลังงานจากเชื้อเพลิงฟอสซิลซึ่งนับวันจะมีปริมาณลดน้อยลงและมีราคาสูงขึ้น
ขยะชุมชนเป็นชีวมวลชนิดหนึ่งซึ่งมีศักยภาพในการนำมาใช้เพื่อผลิตพลังงาน ทั้งนี้เนื่องจากมีปริมาณมากและไม่ต้องซื้อหา ในขณะที่ปัจจุบันมีการนำมาขยะมาใช้เพื่อผลิตเป็นพลังงานน้อยมาก ดังนั้นกรมพัฒนาพลังงานทดแทนและอนุรักษ์พลังงาน จึงได้จัดทำเอกสารคู่มือการผลิตพลังงานจากขยะ เพื่อเป็นแนวทางให้แก่ผู้สนใจในการนำขยะชุมชนมาบำบัดและผลิตพลังงาน

 

เชื้อเพลิง เอทานอล

เชื้อเพลิง เอทานอล

คู่่มือการพัฒนาและการลงทุนผลิตพลังงานทดแทน  ชุดที่ 7 “เชื้อเพลิง เอทานอล”

เอทานอลเป็นแอลกอฮอล์ชนิดหนึ่งซึ่งเกิดจากการหมักพืชเพื่อเปลี่ยนแป้งจากพืชเป็นน้ำตาลแล้วเปลี่ยนจากน้ำตาลเป็นแอลกอฮอล์เมื่อทำให้เป็นแอลกอฮอล์บริสุทธิ์ 95% โดยการกลั่นจะเรียกว่า เอทานอล (Ethanol) เอทานอลที่นำ ไปผสมในน้ำ มันเพื่อใช้เติมเครื่องยนต์เป็นแอลกอฮอล์ที่มีความบริสุทธิ์ตั้งแต่ 99.5% โดยปริมาตร ซึ่งสามารถใช้เป็นเชื้อเพลิงได้

เชื้อเพลิง ไบโอดีเซล

เชื้อเพลิง ไบโอดีเซล

คู่่มือการพัฒนาและการลงทุนผลิตพลังงานทดแทน  ชุดที่ 8 “เชื้อเพลิง ไบโอดีเซล”

ไบโอดีเซลเป็นเชื้อเพลิงทางเลือกที่ผลิตจากแหล่งทรัพยากรหมุนเวียน (เพิ่มเติม…)

สถานการณ์พลังงานภายในประเทศ

สถานการณ์พลังงานภายในประเทศ

  • สถานการณ์พลังงานปี 2554 และแนวโน้มปี 2555
  • สถานการณ์พลังงานปี 2553 และแนวโน้มปี 2554
  • สถานการณ์พลังงานปี 2552 และแนวโน้มปี 2553
  • สถานการณ์พลังงานปี 2551 และแนวโน้มปี 2552
  • สถานการณ์พลังงานปี 2550 และแนวโน้มปี 2551
  • สถานการณ์พลังงานปี 2549 และแนวโน้มปี 2550

ภาพอนาคตพลังงานไทย 2557

ภาพอนาคตพลังงานไทย 2557

ความผันผวนของเศรษฐกิจโลกและราคาพลังงาน ประเด็นด้านการเมืองรวมทั้งปัญหาโลกร้อนและผลกระทบด้านสิ่งแวดล้อมซึ่งก่อให้เกิดข้อคิดเห็นที่แตกต่างในสังคม ล้วนเป็นปัจจัยที่ส่งผลกระทบและมีอิทธิพลต่อสถานการณ์  การใช้และการจัดหาพลังงานของประเทศในภาพรวม การคาดการณ์การเปลี่ยนแปลง (เพิ่มเติม…)

จริงหรือที่เค้าว่า เกี่ยวกับสถานการณ์พลังงานไทย

จริงหรือที่เค้าว่า เกี่ยวกับสถานการณ์พลังงานไทย

          จากสถานการณ์ข้อมูลด้านพลังงานในปัจจุบัน มีการให้ข้อมูลที่คลาดเคลื่อนหรือเป็นข้อมูลที่เกิดจากความเข้าใจผิด ทำให้ประชาชนได้รับข้อมูลข่าวสารที่ส่งผลกระทบต่อความมันคงด้านพลังงานของประเทศ
เพื่อให้พบความจริงและคำตอบที่จะช่วยไขข้องใจและเพื่อความเข้าใจอย่างแท้จริง จึงได้มีการจัดทำหนังสือ “จริงหรือที่เค้าว่า….เกี่ยวกับสถานการณ์พลังงานไทย” ขึ้น เพื่อช่วยให้ประชาชนได้รับข้อมูลที่ถูกต้องเกี่ยวกับสถานการณ์ในปัจจุบัน

ดาวน์โหลดที่นี่

ทิศทางพลังงาน

ทิศทางพลังงาน

พลังงานมีบทบาทต่อการพัฒนาประเทศในทุกๆด้าน เพราะการดำเนินธุรกรรมทั้งทางด้านเศรษฐกิจและสังคมจำเป็นต้องอาศัยพลังงานเป็นปัจจัยพื้นฐาน เศรษฐกิจไทยที่เจริญพัฒนาได้อย่างมั่นคง ด้วยอัตราการเจริญเติบโตในอัตราเฉลี่ยร้อยละ 7 ต่อปี ตลอดช่วงปี พ.ศ. 2504-2539 ซึ่งเป็นช่วงของการพัฒนาประเทศ ตามแผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติฉบับที่ 1-7

พระบิดาแห่งการพัฒนาพลังงานไทย

พระบิดาแห่งการพัฒนาพลังงานไทย

การอนุรักษ์พลังงานและการใช้เทคโนโลยีพลังงานทดแทนชุมชน มีจุดประสงค์เพื่อที่เผยแพร่ความรู้เกี่ยวกับเทคโนโลยีพลังงานทดแทน และเทคโนโลยีการประหยัดพลังงาน ตามแนวทางพระราชดำริของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว เนื่องด้วย พระปรีชาสามารถและพระวิสัยทัศน์อัน กว้างไกลด้านพลังงานทดแทนของพระองค์ ซึ่งเป็นที่ประจักษ์แก่พสกนิกรชาวไทยและชาวต่างประเทศ ก่อให้เกิดการพัฒนาประเทศอย่างกว้าง ขวางสร้างความมั่นคงด้านพลังงาน ลดการพึ่งพาการนำเข้าเชื้อเพลิง อีกทั้งยังช่วยให้พสกนิกรชาวไทยมีรายได้มีชีวิตความเป็นอยู่ที่ดีขึ้น เปรียบพระองค์ท่านได้ดั่ง ‘องค์พระบิดาแห่งการพัฒนาพลังงานไทย’ โดยเนื้อหาประกอบด้วยเทคโนโลยีพลังงานทดแทนที่ได้ดำเนินตามแนวทาง พระราชดำริ อาทิ ไบโอดีเซล เอทานอล เชื้อเพลิง อัดแท่ง พลังงานแสงอาทิตย์และเทคโนโลยีการอนุรักษ์พลังงานต่างๆ ซึ่งจะเป็นประโยชน์สำหรับชุมชนในการประหยัดการใช้พลังงานในชุมชน

ประวัติพลังงาน

ประวัติการพัฒนาพลังงานไทย
วิวัฒนาการพลังงานไทย คือ วิวัฒนาการพัฒนาชาติ
ในสมัยของพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 5 (พ.ศ. 2411 – พ.ศ. 2453) นั้น วิทยาการสมัยใหม่ต่าง ๆ เข้ามาในประเทศไทย ทำให้ประเทศเกิดการเปลี่ยนแปลงในหลาย ๆ ด้าน ในช่วงนั้น ถือกันว่าเป็นสยามยุคพัฒนา สังคมไทยเปลี่ยนไปจากเดิม เริ่มมีการก่อสร้างสาธารณูปโภคต่าง ๆ เช่น โทรศัพท์ ไปรษณีย์ โทรเลข โรงพยาบาล รถราง รถไฟ รวมไปถึงการนำเข้าสินค้าจากต่างประเทศ เช่น ผลิตภัณฑ์จากปิโตรเลียม หรือที่เรียกกันทั่วไปว่า น้ำมัน ที่เริ่มเข้ามามีบทบาทในชีวิตประจำวันของคนไทย กลายมาเป็นสิ่งสำคัญในการพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมของประเทศในที่สุด
กิจการด้านพลังงานของประเทศไทย ทั้งในด้านไฟฟ้าและน้ำมันนั้น มีการพัฒนามาเป็นลำดับอย่างต่อเนื่อง โดยสามารถแบ่งเป็นช่วงต่าง ๆ ได้ ดังนี้

(เพิ่มเติม…)

“อนันตพร” ยืนยัน ปี 59-60 เดินหน้าขับเคลื่อน 5 แผนบูรณาการพลังงานระยะยาว พร้อมสะสางภารกิจค้างคาให้เป็นรูปธรรม…

กระทรวงพลังงานแถลงผลงานรอบ 1 ปี ชูผลงาน สางหนี้กองทุนกว่า 7 พันล้านบาท แก้ปัญหาบิดเบือนโครงสร้างราคาพลังงาน ปลดล็อกพลังงานทดแทน เดินหน้าแผนพลังงานระยะยาวขับเคลื่อนโครงการภายใต้  5 แผนพลังงาน ในปี 2559 – 2560 สะสางภารกิจพลังงานให้เป็นรูปธรรม เร่งผลักดันแข่งขันธุรกิจพลังงานเสรี และเป็นธรรม พร้อม จับมือเพื่อนบ้านเชื่อมโยงและพัฒนาแหล่งพลังงานร่วมกัน เชื่อมั่น สิ้นสุดแผน 20 ปี สร้างภาคพลังงานของประเทศให้ มั่นคง มั่งคั่ง และยั่งยืน

(เพิ่มเติม…)

พลเอกอนันตพร รัฐมนตรีว่าการกระทรวงเยี่ยมชมบูธกระทรวงพลังงานซึ่งนำเสนอผลการดำเนินงานของกระทรวงพลังงานในรอบ1 ปีที่ผ่านมา…

วันนี้ (23 ธันวาคม 2558) พลเอกอนันตพร กาญจนรัตน์ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงพลังงาน เยี่ยม ชมบูธกระทรวงพลังงาน ซึ่งน าเสนอผลการด าเนินงานของกระทรวงพลังงานในรอบ 1 ปีที่ผ่านมา (เพิ่มเติม…)

ผู้แทนกระทรวงพลังงาน ร่วมงานวันชาติรัฐกาตาร์

เมื่อวันที่ 17 ธันวาคม 2558 พลเอก อนันตพร กาญจนรัตน์ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงพลังงาน ได้มอบหมายให้ พลเอก สุรศักดิ์ ศรีศักดิ์ ที่ปรึกษารัฐมนตรีว่าการกระทรวงพลังงาน   เป็นผู้แทนของรัฐมนตรีว่าการกระทรวงพลังงาน เข้าร่วมแสดงความยินดีในโอกาสเฉลิมฉลองวันสถาปนาหรือวันชาติของรัฐกาตาร์ ครบรอบ 147 ปี นับตั้งแต่ปี พ.ศ. 2411 (ค.ศ. 1868)

(เพิ่มเติม…)

ตารางแสดงวงเงินงบประมาณที่ได้รับจัดสรรและราคากลางในการจัดซื้อจัดจ้างที่มิใช่งานก่อสร้าง โครงการ ค่าใช้จ่ายในการส่งเสริมการเรียนการสอนวิชาพลังงานตามหลักสูตรการศึกษาขั้นพื้นฐาน

ปลัด กระทรวงพลังงานยืนยัน ครม. รับทราบการดำเนินงานชี้แจงทำความเข้าใจของกระทรวงพลังงาน

ปลัดกระทรวงพลังงานยืนยัน ครม. รับทราบการดำเนินงานชี้แจงทำความเข้าใจของกระทรวงพลังงานชี้ให้นำความเห็นจากการหารือส่งให้คณะกรรมการกฤษฎีกาพิจารณาก่อนนำเสนอ สนช. ต่อไป

ปลัดกระทรวงพลังงานยืนยันว่า เมื่อวันที่ 8 ธันวาคม 2558 คณะรัฐมนตรี (ครม.) รับทราบการดำเนินงานตามมติเมื่อวันที่ 4 สิงหาคม 2558 ที่ให้กระทรวงพลังงานชี้แจงทำความเข้าใจกับ คณะกรรมการวิสามัญศึกษาปัญหาการบังคับใช้พระราชบัญญัติปิโตรเลียม พ.ศ. 2514 และพระราชบัญญัติภาษีเงินได้ปิโตรเลียม พ.ศ. 2514  สภานิติบัญญัติแห่งชาติ และเพื่อให้เกิดความรอบคอบ ครอบคลุม  และครบถ้วนทางด้านกฎหมาย ที่ประชุมจึงมีมติให้คณะกรรมการกฤษฎีกาพิจารณาในรายละเอียด  ก่อนเสนอ สนช. ออกเป็นกฎหมายต่อไป

(เพิ่มเติม…)

ดร.คุรุจิต นาครทรรพ ปลัดกระทรวงพลังงาน และ Mr.Toshihiko Fujii,Deputy Commissioner for Iural Resources

ดร.คุรุจิต นาครทรรพ ปลัดกระทรวงพลังงาน และ Mr.Toshihiko Fujii,Deputy Commissioner for International Affairs Agency for Energy and Natural Resources…

กระทรวงเศรษฐกิจการลงทุนและอุตสาหกรรม(METI) ประเทศญี่ปุ่น. พร้อมด้วยผู้บริหารระดับสูงจากหน่วยงานด้านพลังงาน เข้าร่วมประชุมทวิภาคี ความร่วมมือด้านพลังงาน

คลิกอ่าน

 

ดร.คุรุจิต นาครทรรพ ปลัดกระทรวงพลังงาน พร้อมผู้บริหาร ข้าราชการ และเจ้าหน้าที่ ร่วมกิจกรรม Bike For Mom

วันนี้ 16 สิงหาคม 2558 ดร.คุรุจิต นาครทรรพ ปลัดกระทรวงพลังงาน พร้อมผู้บริหาร ข้าราชการ และเจ้าหน้าที่ ร่วมกิจกรรม Bike For Mom ปั่นเพื่อแม่กิจกรรมปั่นจักรยานเฉลิมพระเกียรติ สมเด็จพระนางเจ้าฯพระบรมราชินีนาถ

อ่านต่อคลิก

 

 

 

 

 

รัฐมนตรีว่าการกระทรวงพลังงาน เข้าปฏิบัติงานที่กระทรวงพลังงานเป็นวันแรก

รัฐมนตรีว่าการกระทรวงพลังงาน เข้าปฏิบัติงานที่กระทรวงพลังงานเป็นวันแรก

พลเอก อนันตพร กาญจนรัตน์ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงพลังงาน ได้เดินทางเข้ากระทรวงพลังงานเป็นวันแรก พร้อมเข้าสักการะศาลพระพรหม ซึ่งเป็นสิ่งศักดิ์สิทธิ์ประจำกระทรวงพลังงาน

(เพิ่มเติม…)

Page 1 of 2
1 2