รัฐมนตรีว่าการกระทรวงพลังงาน พบปะสื่อมวลชนประจำสัปดาห์

กระทรวงพลังงาน แถลงความคืบหน้าการเตรียมประมูลแหล่งปิโตรเลียม เอราวัณ-บงกช และแจงสถานการณ์ไฟฟ้าภาคใต้มอบของขวัญปีใหม่ พร้อมร่วม ปตท. แจกข้าวใหม่ 1 ถุง (0.5 กก.) ให้ผู้เติมน้ำมันชนิดใด ราคาเท่าไรก็ได้ เริ่ม 1 ม.ค. 2561 แจกรวม 2 ล้านถุง หรือ 1 ล้านกิโลกรัม ชี้ส่งสุขคนใช้น้ำมัน และได้ช่วยชาวนาโดยตรง
นายศิริ จิระพงษ์พันธ์ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงพลังงาน เปิดเผยภายในการพบปะสื่อมวลชนประจำสัปดาห์ของกระทรวงพลังงาน โดยสรุปประเด็นสำคัญ ได้ดังนี้
1.) ความคืบหน้าของการเตรียมประมูลแหล่งปิโตรเลียม เอราวัณ-บงกช หลังจากกระทรวงพลังงาน ได้จัดทำ Workshop เมื่อวันที่ 16 ธค. 2560 ที่ผ่านมา ซึ่งได้ทบทวนหลักการและเงื่อนไขขององค์ประกอบที่สำคัญของการประมูลปิโตรเลียมใน 2 แหล่งดังกล่าว เพื่อพัฒนาทรัพยากรทีเหลืออยู่ให้ประเทศได้ประโยชน์สูงสุด โดยเบื้องตน กระทรวงพลังงานจึงได้กำหนดให้การรักษาการผลิตก๊าซธรรมชาติขั้นต่ำจากแหล่งเอราวัณ และบงกช ในช่วงเวลาทั้งก่อนและหลังสิ้นอายุสัมปทานในปี 2565 -66 ให้เพียงพอต่อความต้องการของโรงแยกก๊าซ เป็นเงื่อนไขในการประมูล ซึ่งได้กำหนดไว้ประมาณ 1,500 ล้านลูกบาศก์ฟุตต่อวัน
​ปัจจุบัน การผลิตก๊าซธรรมชาติจากแหล่งเอราวัณ และบงกช อยู่ในระดับวันละ 2,100 ล้านลูกบาศก์ฟุตต่อวัน ซึ่งแนวโน้มจะเริ่มทยอยลดลง โดยการเปิดประมูลจากทั้ง 2 แหล่งดังกล่าว กระทรวงพลังงาน จึงมีความต้องการคุณสมบัติของผู้มาลงทุนที่ต้องมีความเชี่ยวชาญ และต้องสำรวจและผลิตก๊าซธรรมชาติให้ได้เพียงพอ 1,500 ล้านลูกบาศก์ฟุตต่อวันดังกล่าว และคาดว่าจะสามารถรักษาระดับการผลิตดังกล่าวไว้ได้ในระดับ 10 ปี ภายหลังที่จะเปิดให้มีการประมูลและได้ผู้ดำเนินการสำรวจและผลิตในแหล่งเอราวัณ และบงกชดังกล่าว
2.) ด้านสถานการณ์ไฟฟ้าในภาคใต้ของประเทศไทย จากรายงานของการไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทย ความต้องการใช้ไฟฟ้าภาคใต้ ปัจจุบัน การใช้ไฟฟ้าสูงสุดหรือ Peak อยู่ที่ระดับ 2,624 เมกะวัตต์ (เมื่อวันที่ 18 มี.ค. 2560) โดยความต้องการใช้ไฟฟ้ามีแนวโน้มเพิ่มขึ้นเฉลี่ยปีละ 3.4 % ต่อปี ทั้งนี้ การผลิตไฟฟ้ามาจาก 3 ส่วนที่สำคัญ คือ โรงไฟฟ้าหลัก (โรงไฟฟ้าขนอม – โรงไฟฟ้าจะนะ) กำลังผลิตรวม 2,024 เมกะวัตต์ ไฟฟ้าส่งจากภาคกลาง จำนวน 460 เมกะวัตต์ และพลังงานทดแทน(พลังน้ำ – ชีวมวล และลม) กำลังผลิตรวม 140 เมกะวัตต์ โดยการใช้ไฟฟ้าสูงสุดในภาคการท่องเที่ยว มีการใช้สูงถึง 36% ซึ่งถือเป็นภาคส่วนสำคัญที่สร้างรายได้หลักให้แก่พื้นที่ และประเทศไทย
​จากข้อสรุปในข้อมูลดังกล่าว กระทรวงพลังงานเห็นว่า ควรจะมีการเพิ่มกำลังผลิตไฟฟ้าที่เชื่อถือได้ (Firm) ในพื้นที่ภาคใต้ โดยต้องเป็นโรงไฟฟ้าหลักที่จะมาช่วยสร้างความมั่นคงให้แก่พื้นที่ภาคใต้ เพื่อสร้างคุณภาพให้แก่ภาคการท่องเที่ยว และคุณภาพชีวิตของประชาชนของชาวภาคใต้ เพราะจาก
ข้อมูลที่ปรากฎ หากเกิดเหตุไม่คาดฝันพร้อมกัน เช่น อุบัติเหตุเรือขนส่งลากไปโดยแนวท่อส่งก๊าซธรรมชาติ และเกิดเหตุฟ้าผ่าที่จุดเชื่อมต่อสายส่ง ภาคใต้ก็จะเกิดเหตุการณ์ไฟฟ้าดับ เป็นวงกว้าง ซึ่งคาดว่าจะสร้างความเสียหายต่อภาคการท่องเที่ยว และการใช้ชีวิตของประชาชน โดยกระทรวงพลังงาน จะศึกษาถึงผลดีผลเสียอย่างรอบด้าน ในการสร้างความมั่นคงภาคใต้ และคาดว่าจะได้รับความชัดเจนทั้งหมด ภายหลังการจัดทำแผนพัฒนากำลังผลิตไฟฟ้า หรือ PDP ฉบับใหม่ ที่เบื้องต้นจะให้แล้วเสร็จในวันที่ 31 มีนาคม 2561 นี้
3.)กระทรวงพลังงาน ได้ร่วมกับ บริษัท ปตท. จำกัด(มหาชน) เตรียมมอบขวัญให้แก่ประชาชน เพื่อเป็น
การส่งความสุขในวันปีใหม่ 2561 นี้ ผ่านโครงการ “ปีใหม่ ข้าวใหม่… อิ่มท้อง อิ่มใจ ช่วยชาวนา” ซึ่งจะ
ดำเนินการแจกข้าวใหม่ 1 ถุง (0.5 กก.) ให้กับผู้ที่เข้ามาเติมน้ำมันชนิดใดก็ได้ จำนวนเท่าใดก็ได้ ณ สถานี
บริการน้ำมัน ปตท. ในวันที่ 1 มกราคม 2561 หรือจนกว่าของจะหมด (รวม 2 ล้านถุง หรือ 1ล้าน
กิโลกรัม) ซึ่งนอกจากจะเป็นของขวัญแห่งความสุขของประชาชนแล้ว ส่วนหนึ่งยังได้ช่วยเกษตรกรชาวนา
ได้ขายข้าวได้โดยตรงอีกด้วย
​หลักการในการจัดหาข้าวเพื่อนำมาแจกตามโครงการ ฯ ดังกล่าว คือต้องเป็นข้าวจากเกษตรกร หรือกลุ่มเกษตรกรโดยตรง ไม่เป็นการจัดหาจากคนกลางใดๆ โดยจะเปิดจุดรับซื้อข้าวจากเกษตรกร ณ สถานีบริการน้ำมัน ปตท. 1,500 แห่งทั่วประเทศ ให้แต่ละสถานีฯ รับซื้อข้าวจากเกษตรกรสถานีละ 650 กิโลกรัม ราคากิโลกรัมละประมาณ 35 บาท โดยแบ่งรับซื้อจากเกษตรกรรายละ 65 กิโลกรัม เป็นจำนวน 10 ราย การรับซื้อต้องมีการเก็บหลักฐานการรับเงินของเกษตรกรอย่างชัดเจน พิสูจน์ได้ว่าซื้อข้าวจากเกษตรกรจริงๆ เช่น เอกสารใบรับเงินพร้อมสำเนาบัตรประชาชน ภาพถ่ายการรับซื้อ เป็นต้น โดยรายละเอียดเพิ่มเติมติดต่อได้ที่ PTT Contact Center โทร. 1365

รายชื่อร้านค้าที่จำหน่ายก๊าซหุงต้ม ที่ได้รับการติดตั้งเครื่อง EDC เรียบร้อยแล้ว

รายชื่อร้านค้าที่จำหน่ายก๊าซหุงต้ม ที่ได้รับการติดตั้งเครื่อง EDC เรียบร้อยแล้ว   คลิกที่นี่

แนวทางการจัดการประชารัฐสวัสดิการ การให้ความช่วยเหลือผ่านบัตรสวัสดิการแห่งรัฐ (ส่วนลดค่าซื้อก๊าซหุงต้ม) คลิกที่นี่

ปลัดกระทรวงพลังงาน ตรวจติดตามโครงการผลิตก๊าซชีวภาพจากน้ำเสียกระบวนการผลิตยางแผ่นรมควัน

วันที่ 28 พฤศจิกายน 2560 ​นายธรรมยศ ศรีช่วย ปลัดกระทรวงพลังงาน และคณะผู้บริหารกระทรวงพลังงาน ได้ตรวจติดตามโครงการผลิตก๊าซชีวภาพจากน้ำเสียกระบวนการผลิตยางแผ่นรมควันทอนไม้ไผ่ จากสหกรณ์กองทุนสวนยาง บ้านทอนไม้ไผ่ จำกัด จ.สงขลา ซึ่งเป็นสหกรณ์ ฯ นำร่องของโครงการส่งเสริมสาธิตการผลิตก๊าซชีวภาพในสหกรณ์กองทุนสวนยาง ระยะที่ 1 จากการส่งเสริมของกองทุนอนุรักษ์พลังงาน โดยมีระบบผลิตก๊าซชีวภาพจากน้ำเสีย ขนาด 521 ลูกบาศก์เมตร (กว้าง 15 เมตร ยาว 21 เมตร ลึก 3.5เมตร) ซึ่งสหกรณ์ ฯ ได้นำก๊าซชีวภาพไปใช้ประโยชน์ในการรมยางร่วมกับไม้ฟืน ทำให้ลดการใช้ไม้ฟืนได้เฉลี่ยร้อยละ 30 โดยทดแทนไม้ฟืนได้ 203.86 ตันต่อปี คิดเป็นมูลค่าที่ประหยัดได้ 132,510 บาทต่อปี และก๊าซชีวภาพบางส่วนย้ำสามารถนำไปใช้ทดแทนก๊าซหุงต้ม(LPG) ในการประกอบอาหารของคนงานในสหกรณ์ฯ รวมทั้งในภาพรวมยังช่วยลดการปลดปล่อยก๊าซเรือนกระจกออกสู่สิ่งแวดล้อมได้ 127.2 ตันต่อปี

ปลัดกระทรวงพลังงาน เข้าเยี่ยมฐานสนับสนุนการพัฒนาปิโตเลียม จ.สงขลา

วันที่ 27 พฤศจิกายน 2560 นายธรรมยศ ศรีช่วย ปลัดกระทรวงพลังงาน นำคณะผู้บริหารกระทรวงพลังงาน เข้าเยี่ยมฐานสนับสนุนการพัฒนาปิโตรเลียม ในพื้นที่จังหวัดสงขลา ซึ่งดำเนินงานโดยบริษัทย่อยของบริษัท ปตท.สำรวจและผลิตปิโตรเลียม จำกัด (มหาชน) หรือ ปตท.สผ. ฐานสนับสนุนการพัฒนาปิโตรเลียมดังกล่าวทำหน้าที่สนับสนุนการดำเนินงานโครงการสำรวจและผลิตปิโตรเลียมของโครงการบงกช โครงการอาทิตย์ โครงการพื้นที่ร่วมไทยมาเลเซีย รวมถึงโครงการอื่นๆ ในอ่าวไทย โดยเป็นท่าเรือรับส่งสินค้าและพัสดุอุปกรณ์ และให้บริการสนับสนุนการดำเนินงานแบบครบวงจร ได้มาตรฐานของฐานสนับสนุนการปฏิบัติการนอกชายฝั่ง และมีระบบจัดการตามระบบสากลที่มุ่งเน้นความปลอดภัยของเรือและท่าเรือระหว่างประเทศ โดยมีท่าเทียบเรือความยาว 380 เมตร สามารถรองรับเรือขนาดมากกว่า 500 ตันกรอสได้จำนวน 6 ลำพร้อมกัน ซึ่งถือว่ามีความพร้อมในการบริการและสนับสนุนการสำรวจและผลิตปิโตรเลียม เพื่อสร้างความมั่นคงด้านพลังงานให้แก่ประเทศไทยในระยะยาวต่อไป

ปลัดกระทรวงพลังงาน เข้าเยี่ยมชมโครงการส่งเสริมการผลิตไบโอมีเทนแบบอัด

​วันที่ 27 พฤศจิกายน 2560 นายธรรมยศ ศรีช่วย ปลัดกระทรวงพลังงาน ได้มีภารกิจลงพื้นที่ จ.นครศรีธรรมราช เพื่อเยี่ยมชมและติดตาม ความคืบหน้าการดำเนินโครงการด้านพลังงานทดแทนในหลายเทคโนโลยี ซึ่งจะเป็นการสร้างชีวิตความเป็นอยู่ที่ดีขึ้นให้แก่ประชาชนโดยได้เข้าเยี่ยมชม​โครงการส่งเสริมการผลิตไบโอมีเทนแบบอัด (Compressed Bio-Methane Gas) หรือ CBG บริษัท เกษตรลุ่มน้ำ จำกัด จ.นครศรีธรรมราช ซึ่งดำเนินธุรกิจโรงงานสกัดน้ำมันปาล์ม และได้รับเงินสนับสนุนจากกองทุนเพื่อส่งเสริมการอนุรักษ์พลังงานเพื่อลงทุนในระบบปรับปรุงคุณภาพก๊าซชีวภาพ และระบบบรรจุก๊าซ CBG โดยปัจจุบัน มีปริมาณน้ำเสียจากโรงงาน ที่สามารถผลิตก๊าซ CBG ได้ประมาณ 3 ตันต่อวัน และได้นำไปใช้เป็นเชื้อเพลิงทดแทนในรถบรรทุกของบริษัท เพื่อขนส่งน้ำมันปาล์มดิบไปส่งจังหวัดชุมพรและจังหวัดชลบุรี รวมทั้งมีการขนส่งสินค้าทั่วไป เช่น แผ่นพื้นคอนกรีต เป็นต้น ซึ่งช่วยให้ประหยัดต้นทุนค่าใช้จ่ายด้านพลังงานสูงถึง 14.27 ล้านบาทต่อปี โดยแนวทางการ ส่งเสริมการใช้ CBG ดังกล่าว กระทรวงพลังงานได้มีเป้าหมายตามแผนพัฒนาพลังงานทดแทนและพลังงานทางเลือก (AEDP) ให้เกิดการใช้ CBG ที่มีประสิทธิภาพ ประมาณ 4,800 ตันต่อวัน ในปี 2579 เพื่อลดการใช้น้ำมันเบนซิน ดีเซล และก๊าซธรรมชาติสำหรับยานยนต์(NGV) ที่มีข้อจำกัดในหลายพื้นที่ซึ่งไกลจากสถานีแม่หรือแนวท่อส่งก๊าซธรรมชาติ รวมทั้งการผลิต CBG ดังกล่าวจากน้ำเสีย/ของเสีย จากโรงงาน ประเทศไทยยังมีศักยภาพที่จะผลิต CBG เพื่อใช้ในภาคขนส่ง เพื่อลดต้นทุนด้านพลังงานและรักษาคุณภาพสิ่งแวดล้อมอีกด้วย

     ​ทั้งนี้ โครงการส่งเสริมการผลิตไบโอมีเทนอัด (CBG) ของบริษัท เกษตรลุ่มน้ำ จำกัด ยังเป็นความร่วมมือด้านเทคโนโลยีของเอกชนไทย-ญี่ปุ่นด้วย โดยบริษัท เกษตรลุ่มน้ำ จำกัด ได้ร่วมมือกับ บริษัท โอซาก้าแก๊ส จำกัด ซึ่งเป็นบริษัทแก๊สขนาดใหญ่อันดับ 2 ของประเทศญี่ปุ่น ในการพัฒนาเทคโนโลยีระบบก๊าซชีวภาพเป็นก๊าซ CBG ได้เป็นผลสำเร็จ จนสามารถเปิดเป็นสถานีบริการก๊าซ CBG แห่งแรกของภาคใต้

การรับข้อเสนอโครงการสนับสนุน การศึกษา วิจัย พัฒนาเทคโนโลยีอนุรักษ์พลังงาน ปีงบประมาณ 2561

การรับข้อเสนอโครงการสนับสนุน การศึกษา วิจัย พัฒนาเทคโนโลยีอนุรักษ์พลังงาน ปีงบประมาณ 2561 คลิ๊กที่นี่

รัฐมนตรีว่าการกระทรวงพลังงาน ร่วมงานเปิดตัวแอปพลิเคชัน “กระทรวงพลังงาน”

   

      กระทรวงพลังงาน เปิดประสบการณ์ใหม่ให้คนไทยได้รับรู้ข่าวสารและความรู้ด้านพลังงาน ได้รวดเร็วทันเหตุการณ์ ในยุค 4.0 กับการเปิดตัวแอปพลิเคชั่นใหม่ “กระทรวงพลังงาน”บนอุปกรณ์เครื่องมือสื่อสารผ่านระบบปฏิบัติการ iOS – Android  ที่เข้าถึงข้อมูลการแจ้งเตือนการเปลี่ยนแปลงราคาน้ำมัน ปริมาณการใช้ไฟฟ้าทั้งประเทศแบบ Real time สถานการณ์พลังงานไฟฟ้า สินค้าพลังงานต่างๆ ข่าวสารเรื่องเด่นประเด็นร้อน เพิ่มพื้นที่สนุกๆ ด้วยกิจกรรมตอบคำถามชิงรางวัลพิเศษทุกเดือน

      พลเอก อนันตพร กาญจนรัตน์ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงพลังงาน เปิดเผยว่า ตามนโยบายรัฐบาลที่ประกาศแผนพัฒนาดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคม โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อขับเคลื่อนปฏิรูปประเทศไทยสู่ Digital Thailand นั่นหมายถึงประเทศไทยสามารถสร้างสรรค์ และใช้ประโยชน์จากเทคโนโลยีดิจิทัลอย่างเต็มศักยภาพในการพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานต่างๆ เพื่อขับเคลื่อนการพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมของประเทศไปสู่ความมั่นคง มั่งคั่ง และยั่งยืน ดังนั้นเพื่อให้สอดรับกับนโยบายดังกล่าว กระทรวงพลังงาน ได้เพิ่มช่องทางการสื่อสารด้านพลังงาน ใหม่ให้กับคนไทย ยุค 4.0 โดยรวบรวมข้อมูลต่างๆจากหน่วยงานในสังกัดกระทรวงพลังงาน เช่นหน้าที่ ภารกิจ ผลผลิตของแต่ละหน่วยงาน เป็นต้น นอกจากนั้นยังมีช่องทางการติดต่อสื่อสารเพื่อรับข้อเสนอแนะคำแนะนำหรือร้องเรียน ทั้งผ่านทางแอปพลิเคชันโดยตรงหรือเบอร์โทรสายด่วนของแต่ละหน่วยงาน ได้อีกหนึ่งช่องทาง

นายธรรมยศ ศรีช่วย ปลัดกระทรวงพลังงาน กล่าวถึงความพร้อมของกระทรวงพลังงานในการขับเคลื่อน Energy  4.0 ว่า มีการปรับกลยุทธ์ เพื่อสร้างมิติใหม่ ให้สอดรับนโยบายรัฐบาลและแผนพัฒนาดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคม เพื่อการปฏิรูปประเทศสู่ Digital Thailand ด้วยการใช้เทคโนโลยีมาสร้างสรรค์ให้เกิดประโยชน์ เพื่อการพัฒนาให้เต็มศักยภาพในโครงสร้างพื้นฐาน นวัตกรรม และการพัฒนาแอปพลิเคชันกระทรวงพลังงาน ช่วยให้ประชาชนได้รู้ถึงข้อมูลที่เป็นข้อเท็จจริง ถูกต้อง แม่นยำ และตระหนักในสภาวการณ์พลังงานที่เกิดขึ้นทั้งในประเทศ และอัพเดทสถานการณ์ต่างประเทศด้วย  ดังนั้นแอปพลิเคชั่นใหม่กระทรวงพลังงานนี้จะเข้ามาตอบโจทย์การสื่อสารในวงกว้าง และเป็นอีกกลไกหนึ่งในการสร้างความยั่งยืนและโดดเด่นในการรวบรวมข้อมูลด้านการอนุรักษ์พลังงาน พลังงานทดแทน การกำกับดูแลความปลอดภัยมาตรฐานเชื้อเพลิง การพัฒนาแหล่งผลิตพลังงาน เป็นช่องทางส่งผ่านข้อความสำคัญได้อย่างมีประสิทธิภาพ

รัฐมนตรีว่าการกระทรวงพลังงาน เข้าเยี่ยมชมบริษัท พีทีที โกลบอล เคมิคอล จำกัด(มหาชน)

วันนี้ (15 พ.ย. 60) พลเอก อนันตพร กาญจนรัตน์ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงพลังงาน พร้อมด้วยคณะ เดินทางเข้าเยี่ยมชม บริษัท พีทีที โกลบอล เคมิคอล จำกัด (มหาชน) โดยมีผู้บริหารของบริษัทให้การต้อนรับ และบรรยายภาพรวมการดำเนินงาน

ประกาศคณะกรรมการกำกับกิจการพลังงาน เรื่อง การจัดหาไฟฟ้าโครงการผลิตไฟฟ้าจากขยะชุมชนในรูปแบบ Feed-in Tariff (FIT) ฉบับที่ 2 พ.ศ.2560

ประกาศคณะกรรมการกำกับกิจการพลังงาน เรื่อง การจัดหาไฟฟ้าโครงการผลิตไฟฟ้าจากขยะชุมชนในรูปแบบ Feed-in Tariff (FIT) ฉบับที่ 2 พ.ศ.2560  คลิ๊กที่นี้

ประกาศต่างๆ เกี่ยวกับการจัดหาไฟฟ้าโครงการผลิตไฟฟ้าจากขยะชุมชน ในรูปแบบ Feed-in Tariff (FiT)  คลิ๊กที่นี้ 

 

 

 

รายชื่อร้านจำหน่ายก๊าซหุงต้ม ที่ได้รับการติดตั้งเครื่อง EDC เรียบร้อยแล้ว

รายชื่อร้านจำหน่ายก๊าซหุงต้ม ที่ได้รับการติดตั้งเครื่อง EDC เรียบร้อยแล้ว  คลิ๊กที่นี่  ข้อมูล ณ วันที่ 19 ธันวาคม 2560

แนวทางการจัดประชารัฐสวัสดิการ การให้ความช่วยเหลือผ่านบัตรสวัสดิการแห่งรัฐ (ส่วนลดค่าซื้อก๊าซหุงต้ม)  คลิ๊กที่นี้

 

การประชุมโต๊ะกลมรัฐมนตรีพลังงานแห่งเอเชีย ครั้งที่ 7 (AMER 7)

วันที่ 2 พฤศจิกายน 2560 การประชุมโต๊ะกลมรัฐมนตรีพลังงานแห่งเอเชีย ครั้งที่ 7 โดยมี พล.อ.อ. ประจิ่น จั่นตอง รองนายกรัฐมนตรี เป็นประธานเปิดการประชุม

“ผมรู้สึกเป็นเกียรติเป็นอย่างยิ่งและมีความยินดีที่ได้มาต้อนรับทุกท่านเข้าสู่การประชุมโต๊ะกลมรัฐมนตรีพลังงานเอเชีย ครั้งที่ 7 ซึ่งจัดขึ้น ณ กรุงเทพมหานคร ประเทศไทย โดยมีประเทศสหรัฐอาหรับเอมิเรตส์เป็นเจ้าภาพร่วม

ผมรู้สึกภูมิใจที่ประเทศไทยได้รับเกียรติเป็นเจ้าภาพการจัดประชุมในครั้งนี้ ซึ่งถือเป็นการประชุมระหว่างประเทศที่สำคัญครั้งหนึ่งของประเทศไทย ผมขอขอบคุณรัฐมนตรีพลังงานเอเชีย และผู้บริหารจากองค์การระหว่างประเทศทุกท่านที่สละเวลาอันมีค่าของท่านเดินทางมา ณ ที่นี้ พร้อมทั้งขอต้อนรับทุกท่านสู่กรุงเทพมหานคร ประเทศไทย ดินแดนแห่งรอยยิ้มอย่างเป็นทางการ

หัวข้อการประชุมในวันนี้ คือ Global Market in Transition : From Vision to Action ซึ่งสะท้อนสถานการณ์พลังงานของโลกในยุคปัจจุบันได้เป็นอย่างดี เนื่องจากโลกของเรากำลังเข้าสู่ยุคเปลี่ยนผ่านด้านพลังงาน ประเทศต่างๆ โดยเฉพาะประเทศในเอเชีย จะมีแนวทางดำเนินการอย่างไรเพื่อให้การเปลี่ยนผ่านเป็นไปอย่างราบรื่น

เพื่อให้สอดคล้องกับหัวข้อการประชุมในวันนี้ ผมจะจึงขอกล่าวถึง 3 ประเด็นสำคัญเพื่อเป็นแนวทางสำหรับการหารือ โดยประเด็นที่ผมจะกล่าวถึง ประกอบไปด้วย (1) สถานการณ์พลังงานของโลกและของภูมิภาค (2) การเปลี่ยนผ่านด้านพลังงาน (3) การดำเนินการของประเทศไทยต่อการเปลี่ยนผ่านด้านพลังงานดังกล่าว

ท่านผู้มีเกียรติทุกท่านครับ

(1) สถานการณ์พลังงานของโลกและของภูมิภาค

ปัจจุบันอัตราการเจริญเติบโตของการใช้พลังงานมาจากประเทศกำลังพัฒนาเป็นส่วนใหญ่ ได้แก่ กลุ่มประเทศ Non-OECD ซึ่งการเจริญเติบโตที่เกิดขึ้นนั้นเป็นผลมาจากการเพิ่มขึ้นของจำนวนประชากร การย้ายถิ่นฐาน การขยายตัวของเมือง รวมถึงการพัฒนาความเป็นอยู่ที่ดีขึ้นของมนุษย์ ทั้งนี้ คงไม่สามารถปฏิเสธได้ว่าโลกของเราก็ยังคงต้องมีการใช้พลังงานฟอสซิลเป็นหลัก

สำหรับภูมิภาคเอเชียของเรา ถือว่าเป็นภูมิภาคที่มีสัดส่วนการใช้พลังงานมากที่สุดภูมิภาคหนึ่ง โดยมีการเจริญเติบโตของการใช้พลังงาน คิดเป็น 2 ใน 3 ของโลก เนื่องมาจากการเจริญเติบโตของประเทศเศรษฐกิจขนาดใหญ่ไม่ว่าจะเป็นจีน หรือ อินเดีย รวมทั้งประเทศที่อยู่ในช่วงการพัฒนาเศรษฐกิจอย่างรวดเร็ว เช่น ประเทศในภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ ในขณะเดียวกัน ภูมิภาคเอเชียก็ยังคงมีทรัพยากรพลังงานทั้งน้ำมัน และก๊าซธรรมชาติ ดังนั้น จะเห็นได้ว่า ภูมิภาคเอเชียเป็นภูมิภาคที่ประกอบไปด้วยทั้งผู้ซื้อและผู้ขายพลังงานรายใหญ่ ซึ่งทำให้เอเชียจะมีความสำคัญต่อตลาดพลังงานโลกและควรก้าวขึ้นมามีบทบาทนำในการกำหนดทิศทางด้านพลังงานของโลกต่อไป สอดคล้องกับการขนานนามยุคนี้ว่าเป็น “ศตวรรษของเอเชีย”

ทั้งนี้ จากการคาดการณ์สถานการณ์พลังงานโลกของทบวงการพลังงานระหว่างประเทศ (International Energy Agency: IEA) ความต้องการพลังงานของโลกจะเพิ่มขึ้นอีกร้อยละ 30 ในปี 2040 โดยพลังงานที่มีอัตราการใช้เพิ่มขึ้นอย่างรวดเร็วที่สุด คือ พลังงานหมุนเวียน ซึ่งคาดว่าจะมีสัดส่วนกำลังการผลิตไฟฟ้าที่ได้จากพลังงานหมุนเวียนคิดเป็นร้อยละ 60 โดยส่วนใหญ่มาจากพลังงานลม และแสงอาทิตย์ ด้านพลังงานฟอสซิลนั้น ก๊าซธรรมชาติจะมีการเจริญเติบโตมากที่สุด โดยเพิ่มสูงขึ้นอีกร้อยละ 50 จากแนวโน้มดังกล่าวจะเห็นได้ว่าเรากำลังเข้าสู่ยุคเปลี่ยนผ่านทางด้านพลังงาน จากยุคที่โลกถูกกำหนดด้วยพลังงานฟอสซิลมาสู่โลกที่พลังงานสะอาดเข้ามามีบทบาทสำคัญเพิ่มมากขึ้น

ท่านผู้มีเกียรติทุกท่านครับ

(2) ช่วงเปลี่ยนผ่านด้านพลังงาน (Energy Transition)

ในช่วง 10 ปีที่ผ่านมา โลกของเราเผชิญการเปลี่ยนแปลงมากมาย รวมถึงด้านพลังงาน ซึ่งเป็นผลมาจากการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศเนื่องจากภาวะโลกร้อน ข้อตกลงปารีสว่าด้วยการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ เป็นข้อตกลงที่มีผลกระทบต่อภาคพลังงานโดยตรง เนื่องจาก 2 ใน 3 ของการปล่อยก๊าซเรือนกระจกมาจากภาคพลังงาน ด้วยเหตุนี้ หลากหลายประเทศจึงได้ให้ความสำคัญกับการเปลี่ยนระบบเศรษฐกิจไปสู่เศรษฐกิจสีเขียว โดยเน้นการแสวงหาทางเลือกในการผลิตพลังงานอย่างสะอาดและยั่งยืน เพื่อพัฒนาไปสู่การเป็นสังคมคาร์บอนต่ำ

นอกจากนี้ การพัฒนาเทคโนโลยีก็เจริญเติบโตอย่างรวดเร็ว เกิด Disruptive Technology ต่างๆ มากมายในด้านพลังงาน ไม่ว่าจะเป็นยานยนต์ไฟฟ้า เทคโนโลยีระบบกักเก็บพลังงาน รวมถึงการพัฒนาเทคโนโลยีและนวัตกรรมด้านพลังงานหมุนเวียนต่างๆ ที่ทำให้ต้นทุนลดต่ำลง นอกจากนี้ ยังเกิดกระแสการผลิตพลังงานไฟฟ้าและใช้ด้วยตัวเอง หรือ Prosumer ดังนั้น สัดส่วนการใช้พลังงานของโลกจะเริ่มเปลี่ยนแปลงไป การใช้พลังงานฟอสซิลแม้ว่ายังมีความสำคัญแต่สัดส่วนการใช้จะค่อยๆ ลดลง ในขณะที่พลังงานหมุนเวียน รวมถึงพลังงานสะอาดในรูปแบบอื่นๆ จะมีสัดส่วนการใช้เพิ่มมากขึ้น นอกจากนี้ การเลือกใช้เทคโนโลยีสะอาดต่างๆ รวมทั้งการส่งเสริมการใช้พลังงานอย่างมีประสิทธิภาพและการอนุรักษ์พลังงานจะมีบทบาทมากขึ้น

การเปลี่ยนผ่านของตลาดพลังงานก็เป็นสิ่งที่หลีกเลี่ยงไม่ได้เช่นกัน เมื่อแนวโน้มการผลิตและการบริโภคพลังงานเปลี่ยนไป ตลาดพลังงานในรูปแบบเดิมๆ จึงต้องปรับตัวตามความท้าทายหรือเทคโนโลยีใหม่ๆ ที่เกิดขึ้น ตลาดพลังงานในปัจจุบัน ไม่ว่าจะเป็นตลาดน้ำมันหรือก๊าซธรรมชาติมีการแข่งขันเพิ่มมากขึ้นเนื่องจากมีผู้ผลิตรายใหม่เข้ามาในตลาด และในขณะเดียวกันปัจจัยความไม่แน่นอนในตลาดก็มีสูงด้วยเช่นกัน ไม่ว่าจะเป็นเรื่องของเทคโนโลยีการประหยัดพลังงานใหม่ๆ การมาถึงของยานยนต์ไฟฟ้า หรือกระแสการใช้พลังงานสะอาด ซึ่งทำให้ความต้องการพลังงานในรูปแบบดั้งเดิมลดลง

จากความท้าทายและการเปลี่ยนแปลงที่ได้กล่าวไปในข้างต้น จะเห็นได้ว่าเรากำลังเข้าสู่ยุคเปลี่ยนผ่านด้านพลังงานอย่างหลีกเลี่ยงไม่ได้ ซึ่งการเปลี่ยนแปลงดังกล่าวจะเป็นไปอย่างราบรื่นหรือไม่นั้นต้องอาศัยบทบาทและการดำเนินการจากทางภาครัฐในการกำหนดแนวทาง และวางนโยบาย พร้อมทั้งจะทำอย่างไรที่จะให้เกิดสภาพแวดล้อมที่เอื้อต่อการลงทุนจากภาคเอกชนในภาคพลังงาน ทั้งนี้ การหารือและแลกเปลี่ยนความคิดเห็นระหว่างประเทศผู้ผลิต และประเทศผู้นำเข้า เพื่อหาแนวทางในการสร้างความร่วมมือเพื่อให้การเปลี่ยนผ่านดังกล่าวเกิดความสมดุล เกิดเสถียรภาพ และที่สำคัญที่สุดคือ เกิดประโยชน์แก่ทั้งสองฝ่าย จึงเป็นสิ่งที่สำคัญยิ่ง

ท่านผู้มีเกียรติทุกท่านครับ

(3) การดำเนินงานของประเทศไทยต่อการเปลี่ยนผ่านด้านพลังงาน

นับเป็นระยะเวลา 1 ปีแล้วที่ประเทศไทยได้สูญเสียพระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช รัชกาลที่ 9 “พระบิดาแห่งการพัฒนาพลังงานไทย” พระองค์ท่านได้ทรงวางรากฐานแนวคิดการพัฒนาด้านพลังงาน โดยส่งเสริมการใช้พลังงานทดแทน และเป็นต้นแบบในเรื่อง “ปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง” ซึ่งรัฐบาลได้น้อมนำหลักการดังกล่าวมาเป็นแนวทางในการใช้ทรัพยากรในประเทศที่มีอยู่อย่างคุ้มค่า

จากหลักการของพระองค์ในเรื่องดังกล่าว ประเทศไทยโดยกระทรวงพลังงานจึงมีการจัดทำ “แผนบูรณาการพลังงานระยะยาว” ขึนเพื่อเป็นแผนหลักในการขับเคลื่อนประเทศไปสู่ความมั่นคงทางพลังงาน ความมั่งคั่งทางเศรษฐกิจ และความยั่งยืนทางสิ่งแวดล้อม

นอกเหนือไปจากนั้น รัฐบาลไทยในปัจจุบันได้มีนโยบายที่เรียกว่า Thailand 4.0 ซึ่งเป็นความพยายามในการฟื้นฟูเศรษฐกิจของประเทศ เพิ่มศักยภาพในการแข่งขัน หนีกับดักประเทศรายได้ปานกลาง โดยปรับเปลี่ยนโครงสร้างเศรษฐกิจของประเทศไปสู่เศรษฐกิจที่เน้นคุณค่า และเน้นการขับเคลื่อนด้วยนวัตกรรม โดยในปัจจุบัน รัฐบาลให้ความสำคัญกับแนวนโยบายการพัฒนาพื้นที่ระเบียงเศรษฐกิจพิเศษภาคตะวันออก (Eastern Economic Corridor: EEC) เพื่อรองรับการลงทุนและการขยายตัวทางเศรษฐกิจ

เพื่อให้สอดคล้องไปกับแนวนโยบายในข้างต้น รัฐบาลโดยกระทรวงพลังงาน จึงได้มีการจัดทำแผนงานเพื่อรองรับการดำเนินนโยบาย Thailand 4.0 ซึ่งเรียกว่า Energy 4.0 ขึ้น โดยแผนงานดังกล่าวประกอบไปด้วยการดำเนินงาน 4 ด้านด้วยกัน ได้แก่ การส่งเสริมยานยนต์ไฟฟ้า เช่น รถ E-Tuk Tuk การพัฒนาระบบกักเก็บพลังงาน การส่งเสริมการผลิตไฟฟ้าอย่างผสมผสาน และการพัฒนาเมืองอัจฉริยะ และโครงข่ายไฟฟ้าอัจฉริยะ

จากแผนการดำเนินงานดังกล่าว ประเทศไทยจึงก้าวเข้ามาสู่ช่วงเปลี่ยนผ่านที่สำคัญ (Transition Period) โดยเรามุ่งที่จะขับเคลื่อนภาคพลังงานไปสู่อนาคตที่มีความทันสมัยและความอัจฉริยะมากยิ่งขึ้น ซึ่งจะเป็นความท้าทายของภาครัฐในการบริหารจัดการให้ระบบพลังงานของประเทศมีความมั่นคง มีต้นทุนที่แข่งขันได้ และเป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม

ท่านผู้มีเกียรติทุกท่านครับ

ผมขอให้การประชุมโต๊ะกลมรัฐมนตรีพลังงานแห่งเอเชีย ครั้งที่ 7ประสบความสำเร็จตามความมุ่งหมายทุกประการ ผมหวังเป็นอย่างยิ่งว่าการประชุมโต๊ะกลมในครั้งนี้ จะเป็นจุดเริ่มต้นของความร่วมมือที่แนบแน่น และข้อริเริ่มต่างๆ ที่สร้างสรรค์ด้านพลังงานในภูมิภาคเอเชีย ซึ่งนอกจากจะช่วยสร้างความมั่นคงด้านพลังงานให้แก่ภูมิภาคของเราแล้ว ยังช่วยขับเคลื่อนให้ภูมิภาคของเรามีบทบาทนำด้านพลังงานในเวทีโลก

นอกเหนือไปจากนี้ จะมีการจัดประชุมสำคัญที่เกี่ยวข้องกับพลังงานอีกการประชุมหนึ่งต่อเนื่องไปกับการประชุม AMER 7 นั้นคือการประชุมเชิงปฏิบัติด้านพลังงานในกรอบความร่วมมือเอเชีย (ACD) ภายใต้หัวข้อ“ACD Energy Action Plan: Towards Global Energy Challenges” ซึ่งจะถูกจัดขึ้นในสถานที่เดียวกันนี้ ในวันที่ 4 พฤศจิกายน และผมขอเชิญชวนให้ทุกท่านอยู่นานขึ้นเพื่อเข้าร่วมงานดังกล่าว

ผมขอขอบคุณรัฐมนตรีพลังงานจากแต่ละประเทศ ผู้บริหารจากองค์การระหว่างประเทศ แขกผู้มีเกียรติทุกท่าน ที่เดินทางมาเข้าร่วมงานในวันนี้ พร้อมทั้งขอขอบคุณกระทรวงพลังงาน ประเทศไทย ประเทศสหรัฐอาหรับเอมิเรตส์ และ IEF ที่มีส่วนร่วมในการจัดการประชุมครั้งสำคัญในวันนี้ และในโอกาสนี้ผมขอเปิดงานการประชุมโต๊ะกลมรัฐมนตรีพลังงานแห่งเอเชีย ครั้งที่ 7 อย่างเป็นทางการ

รัฐมนตรีว่าการกระทรวงพลังงาน ร่วมพิธีบำเพ็ญกุศลเพื่อถวายพระราชกุศลครบรอบ 1 ปีวันสวรรคต พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช บรมนาถบพิตร ณ ทำเนียบรัฐบาล

วันนี้ (13 ต.ค. 60) พลเอก อนันตพร กาญจนรัตน์ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงพลังงานและภริยา พร้อมด้วยนายธรรมยศ ศรีช่วย ปลัดกระทรวงพลังงาน เข้าร่วมพิธีบำเพ็ญกุศลเพื่อถวายพระราชกุศลครบรอบ 1 ปี วันสวรรคต พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช บรมนาถบพิตร และร่วมตักบาตรพระสงฆ์ จำนวน 89 รูป ณ บริเวณด้านหน้าตึกสันติไมตรี ทำเนียบรัฐบาล

 

พิธีทำบุญตักบาตรเนื่องในวันพระราชพิธีทรงบำเพ็ญพระราชกุศลครบรอบ 1 ปี วันสวรรคต พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช บรมนาถบพิตร

วันนี้ (12 ตุลาคม 2560) พล.อ.อนันตพร กาญจนรัตน์ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงพลังงาน นำคณะผู้บริหารระดับสูง ข้าราชการ และเจ้าหน้าที่ในสังกัดกระทรวงพลังงาน จำนวน 999 คน ร่วมทำบุญตักบาตรพระสงฆ์ 89 รูป เนื่องในวันพระราชพิธีทรงบำเพ็ญพระราชกุศลครบรอบ 1 ปี วันสวรรคตพระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช บรมนาถบพิตร เพื่อถวายเป็นพระราชกุศล และน้อมรำลึกในพระมหากรุณาธิคุณของพระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช ที่ทรงอุทิศพระวรกายประกอบพระราชกรณียกิจซึ่งนำมายังประโยชน์สุขและความเจริญรุ่งเรืองแก่ประชาชนชาวไทยและประเทศชาติตลอดช่วงเวลาที่พระองค์ทรงครองราชย์
โดยก่อนเริ่มพิธีทำบุญตักบาตร รัฐมนตรีว่าการกระทรวงพลังงานได้นำคณะผู้บริหาร และผู้เข้าร่วมงาน ถวายความเคารพเบื้องหน้าพระบรมฉายาลักษณ์ พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช บรมนาถบพิตร พร้อมยืนสงบนิ่งเป็นเวลา 89 วินาที ณ บริเวณด้านหน้าอาคารบี-อาคารเอ ศูนย์เอนเนอร์ยี่คอมเพล็กซ์
พร้อมกันนี้ กระทรวงพลังงาน ยังได้จัดนิทรรศการ “ภูมิพลังแห่งแผ่นดิน นวมินทร์กลางใจไทยนิรันดร์” จะจัดขึ้นในระหว่างวันที่ 9 – 12 และ 16 ตุลาคม 2560 ซึ่งเป็นนิทรรศการที่ฉายภาพพระปรีชาสามารถ และพระอัจฉริยะภาพของ พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช โดยเฉพาะในด้านพลังงานที่พระองค์ได้ ทรงพระราชทานพระดำริด้านการพัฒนาพลังงานทดแทน โดยใช้ทรัพยากรธรรมชาติที่มีอยู่ในประเทศให้เกิดประโยชน์ เกิดการพัฒนาพลังงานยั่งยืน ซึ่งจากสายพระเนตรที่กว้างไกลที่ทรงเล็งเห็นว่าพลังงานของโลกจะใกล้หมดไป และจะมีราคาแพงขึ้น จึงได้พัฒนาพลังงานทดแทนหลายรูปแบบให้เกิดขึ้น อาทิ เชื้อเพลิงชีวภาพ จากเอทานอลและไบโอดีเซล ที่ปัจจุบันกลายเป็นเชื้อเพลิงหลักในภาคขนส่งของไทย รวมทั้งแนวทางการพัฒนาพลังงานน้ำ ลม และแสงอาทิตย์ อันก่อให้เกิดประโยชน์ต่อการสร้างความมั่นคงด้านพลังงานให้แก่ประเทศอย่างยั่งยืน ณ ลานชั้นล่าง อาคาร C ศูนย์เอนเนอร์ยี่คอมเพล็กซ์ กระทรวงพลังงาน

รัฐมนตรีว่าการกระทรวงพลังงาน เป็นประธานเปิด งานนิทรรศการ “ภูมิพลังแห่งแผ่นดิน นวมินทร์กลางใจไทยนิรันดร์”

วันนี้ (9 ต.ค.60) พลเอกอนันตพร กาญจนรัตน์ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงพลังงาน เป็นประธานเปิด งานนิทรรศการ “ภูมิพลังแห่งแผ่นดิน นวมินทร์กลางใจไทยนิรันดร์” เพื่อน้อมรำลึกในพระมหากรุณาธิคุณ และถวายความอาลัยแด่ พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช ที่ทรงอุทิศพระวรกายประกอบพระราช กรณียกิจซึ่งนำมาซึ่งประโยชน์สุขและความเจริญรุ่งเรืองแก่ราษฎรและประเทศชาติ โดยภายในงานฯ มีผู้บริหารระดับสูงจากกระทรวงพลังงาน ข้าราชการและเจ้าหน้าที่ในสังกัดกระทรวงพลังงานเข้าร่วม

พลเอกอนันตพร กล่าวว่า การจัดแสดงนิทรรศการฯ ครั้งนี้ เพื่อเป็นการฉายภาพพระปรีชาสามารถ และพระอัจฉริยะภาพของ พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช โดยเฉพาะในด้านพลังงานที่พระองค์ได้ ทรงพระราชทานพระดำริด้านการพัฒนาพลังงานทดแทน โดยใช้ทรัพยากรธรรมชาติที่มีอยู่ในประเทศให้เกิดประโยชน์ เกิดการพัฒนาพลังงานยั่งยืน ซึ่งจากสายพระเนตรที่กว้างไกลที่ทรงเล็งเห็นว่าพลังงานของโลกจะใกล้หมดไป และจะมีราคาแพงขึ้น จึงได้พัฒนาพลังงานทดแทนหลายรูปแบบให้เกิดขึ้น อาทิ เชื้อเพลิงชีวภาพ จากเอทานอลและไบโอดีเซล ที่ปัจจุบันกลายเป็นเชื้อเพลิงหลักในภาคขนส่งของไทย รวมทั้งแนวทางการพัฒนาพลังงานน้ำ ลม และแสงอาทิตย์ อันก่อให้เกิดประโยชน์ต่อการสร้างความมั่นคงด้านพลังงานให้แก่ประเทศอย่างยั่งยืน

ทั้งนี้ ภายในงานจะประกอบด้วยนิทรรศการในส่วนต่างๆ ได้แก่ นิทรรศการภายใต้แนวคิด “ดิน น้ำ ลม แสง พลังแห่งพระบารมี”  ซึ่งจะนำเสนอการริเริ่มพัฒนาพลังงานทดแทนในด้านต่างๆ จากพระองค์ท่าน แนวคิดการใช้พลังงานอย่างพอเพียงและยั่งยืน รวมถึงความรู้ด้านอนุรักษ์พลังงาน และพลังงานทดแทน ในรูปแบบอินเตอร์แอคทีฟ นอกจากนี้ยังมีกิจกรรมพิเศษที่สำคัญอื่นๆ เช่น การประดิษฐ์ดอกไม้จันทร์ วันละ 500 ดอก  เวทีเสวนาเทิดพระเกียรติจากผู้ที่ได้รับแรงบันดาลใจจากพระองค์ในด้านต่างๆ อาทิ ด้านเศษฐกิจพอเพียง โดย พลเรือตรี ดร.สมัย ใจอินทร์ จากกรมอู่ทหารเรือ ดร.เกริก  มีมุ่งกิจ และด้านดนตรีและกีฬา โดยศาตราจารย์ (พิเศษ)เจริญ วรรธนะสิน  รองศาสตราจารย์ ดร.ภาธร ศรีกรานนท์ และศิลปินรับเชิญที่มาร่วมงาน

โดยการจัดนิทรรศการ “ภูมิพลังแห่งแผ่นดิน นวมินทร์กลางใจไทยนิรันดร์” จะจัดขึ้นในระหว่างวันที่ 9 – 16 ตุลาคม 2560 ณ ลานชั้นล่าง อาคาร C ศูนย์เอนเนอร์ยี่คอมเพล็กซ์ กระทรวงพลังงาน สามารถสอบถามข้อมูลเพิ่มเติมได้ที่ ศูนย์บริการร่วมกระทรวงพลังงาน โทร. 02 140 6286 หรือติดตามรายละเอียดได้ที่ www.energy.go.th

กระทรวงพลังงาน จัดงานครบรอบ 15 ปี วันคล้ายวันสถาปนา

วันนี้ (3 ต.ค.60) พลเอก อนันตพร กาญจนรัตน์ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงพลังงาน พร้อมด้วยผู้บริหารระดับสูง ข้าราชการและเจ้าหน้าที่ในสังกัดกระทรวงพลังงาน ร่วมพิธีบวงสรวงสักการะพระพรหม และพิธีเจริญพระพุทธมนต์ เนื่องในโอกาสวันคล้ายวันสถาปนากระทรวงพลังงาน ครบรอบ 15 ปี โดยนายธรรมยศ ศรีช่วย ปลัดกระทรวงพลังงาน รับมอบกระเช้าดอกไม้จากหน่วยงานต่าง ๆ ที่มาแสดงความยินดีเป็นจำนวนมาก ณ ห้องประชุม 9 ชั้น 15 ศูนย์เอนเนอร์ยี่คอมเพล็กซ์ อาคารบี

 

รัฐมนตรีว่าการกระทรวงพลังงาน มอบนโยบายการขับเคลื่อนภารกิจกระทรวงพลังงานปี 2561

วันนี้(2 ต.ค. 60) พลเอก อนันตพร กาญจนรัตน์ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงพลังงาน มอบนโยบายการขับเคลื่อนภารกิจกระทรวงพลังงานปี 2561 โดยมีนายธรรมยศ ศรีช่วย ปลัดกระทรวงพลังงาน และผู้บริหาร ข้าราชการ เจ้าหน้าที่จากทุกหน่วยงานในสังกัดเข้าร่วม ซึ่งได้กำชับให้บุคลากรกระทรวงพลังงานทุกคนปฏิบัติหน้าที่เพื่อประโยชน์ประชาชนและประเทศชาติเป็นหลัก มีผลสัมฤทธิ์สามารถประเมินผลได้ อย่างเป็นรูปธรรม พร้อมร่วมแสดงสัญลักษณ์การต่อต้านการทุจริตคอรัปชั่น ในโอกาสครบรอบ 15 ปี วันคล้ายวันสถาปนากระทรวงพลังงาน และก้าวสู่ปีที่ 16 ในวันที่ 3 ตุลาคม 2560 เพื่อย้ำเตือนให้ทุกคนยึดถือเป็นหลักในการทำงาน

    พลเอก อนันตพร กาญจนรัตน์ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงพลังงาน เปิดเผยว่า ปัจจุบัน รัฐบาลมีแนวทางการขับเคลื่อนการพัฒนาประเทศระยะยาวภายใต้กรอบการทำงานที่สำคัญ 2 ส่วน คือ พระราชบัญญัติการจัดทำยุทธศาสตร์ชาติ และพระราชบัญญัติแผนและขั้นตอนการปฏิรูปประเทศ ที่ผ่านมา การขับเคลื่อนการดำเนินงานของกระทรวงพลังงานดำเนินการตามกรอบและสอดคล้องกับเป้าหมายใหญ่ของรัฐบาล โดยมีการทบทวนยุทธศาสตร์กระทรวงทุกปี เพื่อพัฒนาประเทศชาติให้มีความมั่นคง มั่งคั่ง และยั่งยืน ซึ่งกระทรวงพลังงานมีบทบาทสำคัญในการพัฒนาประเทศใน 2 มิติ คือ มีบทบาทในการเพิ่มขีดความสามารถในการแข่งขันของประเทศ โดยเฉพาะระบบพลังงานที่มีความมั่นคง มีพลังงานใช้อย่างต่อเนื่องและมีต้นทุนพลังงานที่แข่งขันได้ และบทบาทในการขับเคลื่อนการเติบโตทางเศรษฐกิจจากการลงทุนของภาคพลังงาน ที่ปัจจุบันภาคพลังงานมีมูลค่าการลงทุนปีละหลายแสนล้านบาท

สำหรับการขับเคลื่อนนโยบายของกระทรวงพลังงานในปี 2561 นี้ ยังคงเดินหน้าการขับเคลื่อนนโยบาย Energy 4.0 โดยให้ทุกหน่วยงานดำเนินโครงการต่างๆ ตามแผนและเป้าหมายที่วางไว้ แต่ให้มีการต่อยอดไปสู่การเป็นผู้ผลิตนวัตกรรมและเทคโนโลยีพลังงานเพื่อทดแทนการนำเข้าจากต่างประเทศ และการปรับแผนบูรณาการ ซึ่งเป็นการปรับเปลี่ยนแผนให้สามารถรองรับตามสถานการณ์ที่เปลี่ยนแปลงไปโดยเฉพาะการเปลี่ยนแปลงด้านเทคโนโลยี ตลอดจนการดำเนินงานตามข้อตกลงผูกมัดในเชิงพันธสัญญากับต่างประเทศ อาทิ การลดการปล่อย CO2 ตามข้อตกลง COP21 เป็นต้น

การจะบรรลุภารกิจตามที่กล่าวได้ จำเป็นต้องมีการพัฒนาการทำงานของข้าราชการ และพนักงาน เจ้าหน้าที่ในทุกระดับ เพื่อให้เป็นองค์กรที่มีผลการปฏิบัติงานสูง โดยปฏิบัติงานอย่างมืออาชีพในเชิงรุก มีการติดตามประเมินผลอย่างเป็นรูปธรรมภายใต้หลักธรรมาภิบาล ดังนั้น การมอบนโยบายของ พลเอก อนันตพรฯ ในวันนี้จึงครอบคลุมใน 2 ส่วนหลัก กล่าวคือ นโยบายการบริหารงานด้านพลังงาน และนโยบายด้านการบริหารและปฏิบัติงานภายในกระทรวงและหน่วยงานในสังกัด โดยเน้นย้ำเรื่องการป้องกันและแก้ไขปัญหาการทุจริตประพฤติมิชอบ การจัดซื้อจัดจ้างต้องมีความโปร่งใสนำระบบสัญญาคุณธรรมมาใช้ สำหรับการพัฒนาบุคลากรนั้น จะต้องสร้างคนให้สามารถคิดในเชิงกลยุทธ์ได้และมีทักษะการปฏิบัติงาน สามารถทำงานให้ทันต่อการเปลี่ยนแปลงและเกิดการบูรณาการอย่างยั่งยืน

รัฐมนตรีว่าการกระทรวงพลังงาน ยังได้กล่าวเสริมอีกว่า ในวันนี้ยังจัดให้มีการบรรยายสรุปการทบทวนยุทธศาสตร์ประจำปี 2561-2564 ให้ผู้บริหารและผู้เข้าร่วมประชุมได้รับทราบเพื่อเป็นทิศทางในการปฏิบัติงานต่อไป

ปลัดกระทรวงพลังงาน เป็นประธานพิธีสักการะพระพรหม

วันนี้ (2 ต.ค. 60) นายธรรมยศ ศรีช่วย ปลัดกระทรวงพลังงาน พร้อมผู้บริหารกระทรวงพลังงาน เข้าร่วมพิธีสักการะพระพรหมทั้ง 4 ทิศ ณ บริเวณศาลพระพรหม ศูนย์เอนเนอร์ยี่คอมเพล็กซ์ กระทรวงพลังงาน

รัฐมนตรีว่าการกระทรวงพลังงาน ลงพื้นที่จ.อยุธยา

วันนี้ (18 กันยายน 2560) พลเอก อนันตพร กาญจนรัตน์ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงพลังงาน พร้อมด้วย ผู้บริหารกระทรวงพลังงาน ข้าราชการ เจ้าหน้าที่ และสื่อมวลชน ลงพื้นที่จังหวัดพระนครศรีอยุธยา ตรวจติดตามการใช้งบประมาณ Block Grant ส่งเสริมโครงการพลังงานทดทนชุมชน โครงการระบบสูบน้ำพลังงานแสงอาทิตย์ อบต.สิงหนาท จังหวัดพระนครศรีอยุธยา พร้อมเยี่ยมชมศักยภาพการดำเนินงานโครงการผลิตไบโอดีเซลจากน้ำมันปาล์ม บริษัท บางจากไบโอฟูเอล จำกัด อำเภอบางปะอิน จังหวัดพระนครศรีอยุธยา ก่อนการเข้าร่วมประชุมคณะรัฐมนตรีนอกสถานที่(ครม.สัญจร) ในวันที่ 19 กันยายน 2560 นี้ พล.อ.อนันตพร กาญจนรัตน์ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงพลังงาน เปิดเผยว่า การลงพื้นที่ตรวจราชการจังหวัดพระนครศรีอยุธยาครั้งนี้ เป็นการติดตามการส่งเสริมพลังงานทดแทนในชุมชนเพื่อลดต้นทุนด้านพลังงานให้กับภาคเกษตรกรด้วยพลังงานสะอาด ภายใต้งบประมาณโครงการพลังงานชุมชนจัดการตนเองด้านพลังงาน ปี 2558 (Block Grant) และเยี่ยมชมศักยภาพการดำเนินงานโครงการผลิตไบโอดีเซลจากน้ำมันปาล์ม บริษัท บางจากไบโอฟูเอล จำกัด อำเภอบางปะอิน จังหวัดพระนครศรีอยุธยา ซึ่งเป็นการปฏิบัติราชการก่อนการเข้าร่วมประชุมคณะรัฐมนตรีนอกสถานที่(ครม.สัญจร) ในวันที่ 19 กันยายน 2560 นี้ โดยโครงการระบบสูบน้ำพลังงานแสงอาทิตย์ อบต.สิงหนาทอ.ลาดบัวหลวง จ.พระนครศรีอยุธยาเป็นโครงการที่ดำเนินการตามยุทธศาสตร์กระทรวงพลังงานปี 2557 – 2561 ยุทธศาสตร์ที่ 4 ที่มุ่งเน้นการพัฒนาพลังงานที่ยั่งยืนและเป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพการบริหารจัดการน้ำ เพิ่มผลผลิตและลดต้นทุนด้านพลังงานให้กับเกษตรกรในพื้นที่อย่างยั่งยืน โครงการดังกล่าว สามารถจัดสรรน้ำเพื่อใช้ในการเกษตรให้กับเกษตรกรครอบคลุมพื้นที่หมู่ 4 5 6 และ 7 จำนวน 320 ครัวเรือน คิดเป็นพื้นที่ประมาณ 4,900 ไร่ ทั้งนี้ เกษตรกรประกอบอาชีพทำนา ปีละ 3 ครั้ง มีค่าใช้จ่ายในการสูบน้ำประมาณปีละ 3.6 ล้านบาท แต่ภายหลังจากทำการติดตั้งระบบสูบน้ำพลังงานแสงอาทิตย์ด้วยท่อพญานาคจำนวน 10 ชุด ทำให้ชุมชนสามารถประหยัดค่าใช้จ่ายในการสูบน้ำประมาณปีละ 1.15 ล้านบาท นอกเหนือจากประโยชน์เรื่องการลดค่าใช้จ่ายด้านพลังงานแล้ว โครงการระบบสูบน้ำพลังงานแสงอาทิตย์ ยังส่งเสริมให้ชุมชนสามารถพึ่งพาตนเองได้ ลดการใช้น้ำมันเพื่อการสูบน้ำในการทำนาข้าวระยะยาว ต่อยอดเป็นตำบลต้นแบบพลังงานทดแทนและอนุรักษ์พลังงานของจังหวัด ตลอดจนเกิดกระบวนการมีส่วนร่วมของประชาชนในชุมชน และการสร้างสิ่งแวดล้อมสีเขียว นอกจากนี้ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงพลังงาน ยังได้กล่าวถึงการเยี่ยมชมศักยภาพการดำเนินงานของโรงงานผลิตก๊าซชีวภาพ บริษัท บางจากไบโอฟูเอล จำกัด (BBF) อำเภอบางปะอิน จังหวัดพระนครศรีอยุธยา ว่า การผลิตเชื้อเพลิงชีวภาพ ของ บริษัท บางจากไบโอฟูเอล จำกัด (BBF) เป็นการประกอบกิจการพลังงานที่สอดคล้องแนวนโยบายการส่งเสริมการใช้พลังงานทดแทนของกระทรวงพลังงาน ตามแผนพัฒนาพลังงานทดแทนและพลังงานทางเลือก หรือ AEDP 2015 ที่มีเป้าหมายส่งเสริมการใช้พลังงานทดแทน 30% ในปี 2579 นอกจากนี้ ยังเป็นส่วนสำคัญในการสร้างรายได้ให้กับเกษตรกรที่ปลูกปาล์มน้ำมันในพื้นที่ภาคใต้ เนื่องจากมีการรับวัตถุดิบน้ำมันปาล์มจากเกษตรกรในพื้นที่ภาคใต้ 100 เปอร์เซ็นต์ โดยบริษัทฯ ได้ผลิตน้ำมันไบโอดีเซล B100 เพื่อเป็นส่วนผสมของน้ำมันไบโอดีเซล ตามนโยบายการส่งเสริมการใช้พลังงานทดแทนของกระทรวงพลังงานในสัดส่วนไม่เกินร้อยละ 7 ซึ่งปัจจุบันบริษัทฯ มีกำลังการผลิต 810,000 ลิตรต่อวัน

รัฐมนตรีว่าการกระทรวงพลังงาน ลงพื้นที่จ.สุพรรณบุรี

วันที่ 15 กันยายน 2560 พลเอก อนันตพร กาญจนรัตน์ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงพลังงาน พร้อมด้วย นายอารีพงศ์ ภู่ชอุ่ม ปลัดกระทรวงพลังงาน ผู้บริหารกระทรวงพลังงาน ข้าราชการ เจ้าหน้าที่ และสื่อมวลชน ลงพื้นที่จังหวัดสุพรรณบุรี เพื่อติดตามการดำเนินงานด้านการสร้างความมั่นคงด้านพลังงานตั้งแต่ระดับชุมชนจนถึงระดับประเทศ โดยตรวจติดตาม การใช้งบประมาณ Block Grant โครงการส่งเสริมพลังงานทดแทนชุมชน โรงอบแห้งพลังงานแสงอาทิตย์ กลุ่มวิสาหกิจชุมชนสวนกล้วยอู่ทอง อำเภออู่ทอง จังหวัดสุพรรณบุรี เพื่อยกระดับคุณภาพชีวิตเกษตรกรในพื้นที่ ด้วยเทคโนโลยีพลังงานทดแทน และเยี่ยมชมศักยภาพการดำเนินงานแหล่งผลิตอู่ทอง 1-7 โครงการ PTTEP 1 อำเภอเมือง จังหวัดสุพรรณบุรี ของ บริษัท ปตท.สำรวจและผลิตปิโตรเลียม จำกัด (มหาชน) หรือ ปตท.สผ.

พล.อ.อนันตพร กาญจนรัตน์ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงพลังงาน เปิดเผยว่า ในการสร้างความมั่นคงให้กับภาคพลังงานของประเทศ กระทรวงพลังงานมุ่งเน้นการส่งเสริมให้เกิดความมั่นคงตั้งแต่ระดับรากหญ้าไปจนถึงการประกอบกิจการพลังงานระดับประเทศ การลงพื้นที่จังหวัดสุพรรณบุรีในครั้งนี้ เป็นการติดตามโครงการส่งเสริมการใช้พลังงานทดแทนในชุมชน เพื่อยกระดับคุณภาพชีวิตของชุมชนในพื้นที่อย่างยั่งยืน และเพื่อตรวจติดตามศักยภาพของแหล่งพลังงานบนบกของประเทศ โดยกลุ่มวิสาหกิจชุมชนสวนกล้วยอู่ทอง ตำบลจรเข้สามพัน อำเภออู่ทอง จังหวัดสุพรรณบุรี ถือเป็นกลุ่มที่ประสบความสำเร็จและเป็นต้นแบบการใช้พลังงานทดแทนในการพัฒนาคุณภาพชีวิตของชุมชนอย่างชัดเจน นอกจากนี้ ยังได้ต่อยอดการพัฒนาบุคลากร เทคโนโลยี และการจัดการองค์ความรู้ จนสามารถพัฒนาไปสู่การเป็นศูนย์เรียนรู้ด้านพลังงานและเป็นแหล่งท่องเที่ยวเชิงเกษตรแบบครบวงจร

โดยกลุ่มดังกล่าว เกิดจากการรวมตัวกันของเกษตรกรในพื้นที่ เพื่อสร้างมูลค่าเพิ่มผลผลิตทางเกษตรให้ชุมชนมีรายได้ที่เพิ่มขึ้น ด้วยกระบวนการแปรรูป อาทิ กล้วยอบ กล้วยตาก ข้าวเกรียบรสต่างๆ เป็นต้น แต่ด้วยกระบวนการผลิตแบบดั้งเดิมทำให้ประสบปัญหาเรื่องผลิตภัณฑ์ที่ไม่ได้คุณภาพตามมาตรฐาน และยังมีต้นทุนค่าพลังงานค่อนข้างสูงจากการพึ่งพาเชื้อเพลิงแอลพีจีเป็นหลัก ซึ่งการดำเนินงานของกลุ่มวิสาหกิจสวนกล้วยอู่ทองมีศักยภาพที่จะส่งเสริมด้านพลังงานทดแทนในกระบวนการผลิตและแปรรูปผลิตภัณฑ์ กระทรวงพลังงานจึงได้สนับสนุนระบบอบแห้งพลังงานแสงอาทิตย์ ภายใต้งบประมาณ Block Grant ปี 2560 เพื่อช่วยลดปริมาณการใช้ก๊าซแอลพีจีในขั้นตอนการผลิต ซึ่งสามารถลดได้ จำนวน 20 ถังต่อเดือน คิดเป็นเงินจำนวน 84,000 บาทต่อปี ตลอดจนสามารถประหยัดเวลาต่อรอบการผลิตจากเดิมที่ต้องใช้เวลาใช้เวลามากถึง 4 วัน เหลือเพียง 2 วัน และยังสามารถลดความเสียหายของวัตถุดิบลงได้ 5% หรือคิดเป็นเงินจำนวน 3,500 บาทต่อเดือน ปัจจุบัน ด้วยระบบการผลิตที่มีศักยภาพเพิ่มขึ้นทำให้สามารถต่อยอดไปสู่การแปรรูปผลิตภัณฑ์ประเภทอื่นๆ อาทิ ก้านเผือก มะเขือเทศเชอรี่อบแห้ง และข้าวแต๋น เป็นต้น สร้างรายได้จากการขายผลิตภัณฑ์แปรรูป 4-5 หมื่นบาทต่อเดือน ยกระดับคุณภาพชีวิตชุมชนได้อย่างยั่งยืน

นอกจากนี้ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงพลังงาน ยังได้กล่าวถึงความสำคัญและศักยภาพของ แหล่งอู่ทอง ซึ่งเป็นแหล่งน้ำมันดิบแหล่งหนึ่งในแปลงสำรวจปิโตรเลียม PTTEP 1 ว่า “แหล่งอู่ทองเป็น แหล่งพลังงานบนบกที่ช่วยเสริมความมั่นคงด้านพลังงานแก่ประเทศไทย โดยแหล่งอู่ทอง และแหล่งข้างเคียง ที่อยู่ในแปลงเดียวกัน ได้แก่ แหล่งสังฆจาย และแหล่งกำแพงแสน มีปริมาณการผลิตน้ำมันดิบตั้งแต่เริ่มผลิตจนถึงสิ้นปี 2559 จำนวนรวม 5.8 ล้านบาร์เรล สร้างรายได้เข้ารัฐในรูปแบบของค่าภาคหลวงคิดเป็นจำนวนเงินรวม 313 ล้านบาท”

แปลงสำรวจปิโตรเลียม PTTEP 1 อยู่ภายใต้สัมปทานเลขที่ 2/2528/27 นอกจากนี้ยังมีแปลงสำรวจปิโตรเลียม L53/43 คือ แหล่งบึงกระเทียม และแปลงสำรวจปิโตรเลียม L54/43 คือ แหล่งหนองผักชี อีกด้วย ซึ่งทั้ง 3 แปลงสำรวจ มีบริษัท ปตท.สผ.อินเตอร์เนชั่นแนล จำกัด เป็นผู้รับสัมปทาน (100%) และผู้ดำเนินการ โดยมีกำลังการผลิตน้ำมันดิบรวมทั้ง 3 แปลงสำรวจ ประมาณ 850 บาร์เรลต่อวัน ประกอบด้วยแปลง PTTEP 1 (แหล่งน้ำมันดิบอู่ทอง แหล่งสังฆจาย และแหล่งกำแพงแสน) จำนวน 200 บาร์เรลต่อวัน แปลง L54/43 (แหล่งหนองผักชี) จำนวน 650 บาร์เรลต่อวัน และแปลง L53/43 (แหล่งบึงกระเทียม) หยุดการผลิตปิโตรเลียมชั่วคราว โดยน้ำมันดิบที่ผลิตได้ทั้งหมดจะขายให้บริษัท ปตท. จำกัด (มหาชน) เพื่อเข้าสู่โรงกลั่นบางจาก

ทั้งนี้ แปลง PTTEP 1 ได้สิ้นระยะเวลาผลิตปิโตรเลียม 20 ปีเมื่อวันที่ 4 กุมภาพันธ์ 2560 และได้รับการต่อระยะเวลาผลิตอีก 10 ปี ซึ่งจะสิ้นอายุสัมปทาน ในวันที่ 4 กุมภาพันธ์ 2570

รัฐมนตรีว่าการกระทรวงพลังงาน เป็นประธานเปิดงานเสวนาหัวข้อ เศรษฐกิจฟื้นแต่…พลังงานฟุบ?

วันนี้ (14 ก.ย. 60) พลเอกอนันตพร กาญจนรัตน์ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงพลังงาน เป็นประธานเปิดงานเสวนาทางวิชาการ ในหัวข้อ “เศรษฐกิจฟื้นแต่…พลังงานฟุบ?” โดยมีเข้าผู้ร่วมเสวนา ดังนี้ ดร.ทวารัฐ สูตะบุตร ผู้อำนวยการสำนักงานนโยบายและแผนพลังงาน ดร.เอกนิติ นิติทัณฑ์ประภาศ ผู้อำนวยการสำนังานคณะกรรมการนโยบายรัฐวิสาหกิจ นายเจน นำชัยศิริ ประธานสภาอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย (ส.อ.ท.) นายนินนาท ไชยธีรภิญโญ ประธานคณะกรรมการ บริษัท โตโยต้า มอเตอร์ ประเทศไทย จำกัด นายสหรัฐ บุญโพธิภักดี รองผู้ว่าการ การไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทย ณ ห้อง Synergy Hall ชั้น 6 ศูนย์เอนเนอร์ยี่ คอมเพล็กซ์ กระทรวงพลังงาน

รมว.พน. เป็นประธานกิจกรรมการปลูกต้นไม้เพื่อพัฒนาพื้นที่สีเขียว ภายใต้โครงการคุ้งบางกะเจ้าเฉลิมพระเกียรติ ณ สวนเฉลิมพระเกียรติ 80 พรรษา

วันนี้ (25 ส.ค. 2560)  พล.อ.อนันตพร กาญจนรัตน์ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงพลังงาน เป็นประธานกิจกรรมการปลูกต้นไม้เพื่อพัฒนาพื้นที่สีเขียว ภายใต้โครงการคุ้งบางกะเจ้าเฉลิมพระเกียรติ ณ สวนเฉลิมพระเกียรติ 80 พรรษา พื้นที่แปลงปลูก อ.พระประแดง จ.สมุทรปราการ โดยมีผู้ว่าราชการจังหวัดสมุทรปราการ ผู้บริหารจากกระทรวงพลังงาน บริษัท ปตท. จำกัด(มหาชน) การไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทย (กฟผ.) พร้อมด้วยคณะสื่อมวลชนเข้าร่วมงาน

พล.อ. อนันตพร กล่าวว่า  การดำเนินกิจกรรมการปลูกป่า ในคุ้งบางกะเจ้าในวันนี้ ถือเป็นการต่อยอดการพัฒนาสวนเฉลิมพระเกียรติพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว รัชกาล 9 ในครั้งเฉลิมพระชนมพรรษา 80 พรรษา ซึ่งจะเป็นส่วนหนึ่งของการพัฒนาพื้นที่คุ้งบางกะเจ้า ให้มีพื้นที่สีเขียวเพิ่มขึ้น และยังเป็นการสืบสานพระราชปณิธานด้านการอนุรักษ์ทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม ควบคู่ไปกับการสร้างความเข้มแข็งให้กับสังคมในพื้นที่คุ้งบางกะเจ้าอย่างต่อเนื่อง โดยความร่วมมือจากทุกฝ่ายทั้งหน่วยงานภายใต้สังกัด ชุมชน และประชาชนในพื้นที่ต่อไป

ทั้งนี้  นอกจากการปลูกป่าแล้วในวันนี้ ยังได้มาติดตามความคืบหน้า ความร่วมมือของหน่วยงานต่าง ๆ ภายใต้ภาคีเครือข่าย ที่ได้ร่วมมือกันพัฒนาพื้นที่คุ้งบางกะเจ้าแห่งนี้ โดยมีการพัฒนาที่สำคัญ ๆ  3 ด้านหลัก  ได้แก่ การติดตั้งแผงโซลาร์เซลล์บนหลังคาอาคารอำนวยการ เพื่อชดเชยค่าไฟฟ้าบางส่วน ซึ่งการไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทยได้ดำเนินการ การฟื้นฟูพื้นที่สีเขียวให้มีความหลากหลายของชนิดพันธุ์พืชในลุ่มแม่น้ำเจ้าพระยาตอนล่าง ซึ่งดำเนินการโดย บริษัท ปตท. จำกัด (มหาชน) และงานวิจัยการป้องกันการกัดเซาะพื้นที่ชายฝั่งและพื้นฟูป่าชายเลน ซึ่งได้ร่วมกับมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ รวมทั้งการปรับปรุงภูมิทัศน์ของศูนย์พัฒนาเด็กเล็กก่อนวัยเรียน ในอำเภอบางยอ ของสำนักงานปลัดกระทรวงพลังงาน เป็นต้น

นายสมนึก บำรุงสาลี  รองปลัดกระทรวงพลังงาน กล่าวว่า วัตถุประสงค์การจัดกิจกรรมในครั้งนี้ กระทรวงพลังงาน ซึ่งได้ร่วมกับภาคีเครือข่าย จะได้ดำเนินกิจกรรมเพื่อสืบสานพระราชปณิธานด้านการอนุรักษ์ทรัพยากรและสิ่งแวดล้อม โดยการจัดกิจกรรมการปลูกต้นไม้เพื่อพัฒนาพื้นที่สีเขียวในคุ้งบางกะเจ้าแห่งนี้ ที่จะมีกิจกรรมการปลูกป่า 19 ไร่ ควบคู่ไปกับการปรับปรุงอาคารสิ่งปลูกสร้าง และระบบสาธารณูปโภคให้สามารถใช้ประโยชน์ได้ดีขึ้น รวมไปถึงการสร้างความเข้มแข็งให้กับสังคมในพื้นที่คุ้งบางกระเจ้าอย่างต่อเนื่อง เพื่อสร้างคุณภาพชีวิตที่ดีให้ชุมชนในพื้นที่เพิ่มขึ้น

“ในอนาคตทุกหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง ทั้งกระทรวงพลังงาน กรมป่าไม้ บริษัท ปตท. จำกัด (มหาชน) การไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทย ภาคีเครือข่ายชุมชนและหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง ในพื้นที่สีเขียว “คุ้งบางกะเจ้า”  ยังจะคงประสานความร่วมมือกันในการรักษาพื้นที่สีเขียวนี้ไว้ เพื่อร่วมกันรักษาสภาพแวดล้อม ความสมดุลของธรรมชาติที่สมบูรณ์ของพื้นที่ รวมถึงเพื่อป้องกันการสูญเสียที่อาจเกิดขึ้นจากภัยพิบัติธรรมชาติ เช่น การกัดเซาะพื้นที่ชายฝั่งทางทะเลของประเทศ” รองปลัดกระทรวงพลังงาน กล่าวในตอนท้าย

นายเทวินทร์ วงศ์วานิช ประธานเจ้าหน้าที่บริหารและกรรมการผู้จัดการใหญ่ บริษัท ปตท. จำกัด (มหาชน) กล่าวว่า ปตท.  ร่วมกิจกรรมในโครงการ “คุ้งบางกะเจ้าเฉลิมพระเกียรติฯ” ของกระทรวงพลังงาน ในชื่อโครงการ “รักษ์น้ำ รักษ์ป่า รักษ์คุ้งบางกะเจ้า” ซึ่งมีหลักการดำเนินงานภายใต้หลักปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงและหลักการมีส่วนร่วมกับกลุ่มผู้มีส่วนได้เสียสำคัญ โดยได้รับเกียรติจากมูลนิธิชัยพัฒนาเป็นที่ปรึกษาโครงการ ทำงานร่วมกับกระทรวงพลังงาน กรมป่าไม้ กฟผ. และภาคีเครือข่ายอื่นๆ ที่สำคัญคือชุมชนคุ้งบางกะเจ้า ที่มีการสานต่อความร่วมมืออย่างต่อเนื่อง

“วันนี้ถือเป็นโอกาสอันดีที่ท่านรัฐมนตรีว่าการกระทรวงพลังงาน มาตรวจเยี่ยมความก้าวหน้าของโครงการ โดยเฉพาะการพัฒนาพื้นที่สวนเฉลิมพระเกียรติฯ 80 พรรษา ที่ ปตท. จะดำเนินการเสร็จสิ้นเดือนในสิงหาคมนี้ รวมทั้งเล็งเห็นความสำคัญของพื้นที่สีเขียวในคุ้งบางกะเจ้า ทำให้เกิดการจัดกิจกรรม “การปลูกต้นไม้เพื่อพัฒนาพื้นที่สีเขียวคุ้งบางกะเจ้า” ณ ตำบลบางกระสอบ อีก 19 ไร่ โดยกระทรวงพลังงาน ร่วมกับ ปตท. กฟผ. ภาคีเครือข่ายอื่นๆ ด้วยกระบวนการมีส่วนร่วมกับชุมชนในพื้นที่ ซึ่ง ปตท. ยินดีที่จะร่วมมือร่วมใจในการพัฒนาพื้นที่คุ้งบางกะเจ้า เพื่อสร้างความยั่งยืนต่อไป” นายเทวินทร์ กล่าว

รัฐมนตรีว่าการกระทรวงพลังงาน เป็นประธานเปิดการสัมมนา “อนาคตธุรกิจพลังงานไทย”

วันที่ 24 ส.ค. 60 พลเอกอนันตพร กาญจนรัตน์ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงพลังงาน เป็นประธานเปิดการสัมมนา “อนาคตธุรกิจพลังงานไทย” และปาฐกถาพิเศษหัวข้อ “นโยบายชาติกับยุทธศาสตร์พลังงานทางเลือก” โดยมี นายอารีพงศ์ ภู่ชอุ่ม ปลัดกระทรวงพลังงาน ร่วมบรรยายพิเศษหัวข้อ “Energy 4.0” ณ ห้องฟอร์จูนบอลรูม ชั้น 3 โรงแรมแกรนด์ เมอร์เคียว กรุงเทพฯ

กระทรวงพลังงานมอบรางวัล 66 สุดยอดผลงาน Thailand Energy Awards 2017 สอดรับการขับเคลื่อนนโยบายพลังงาน 4.0 สู่ความสำเร็จ

วันนี้ (21 ส.ค.60) พลอากาศเอกประจิน จั่นตอง รองนายกรัฐมนตรี ให้เกียรติเป็นประธานมอบรางวัลแก่ผู้ชนะการประกวด Thailand Energy Awards 2017 จำนวน 66 ราย โดยมีตัวแทนจากหน่วยงานภาครัฐและเอกชน ผู้ประกอบการ ผู้ที่อยู่แวดวงด้านพลังงาน รวมทั้งสื่อมวลชนจำนวนมาก ร่วมแสดงความยินดีแก่ผู้ได้รับรางวัล จัดขึ้น ณ ศูนย์การประชุมแห่งชาติสิริกิติ์

นายประพนธ์ วงษ์ท่าเรือ อธิบดีกรมพัฒนาพลังงานทดแทนและอนุรักษ์พลังงาน กระทรวงพลังงาน กล่าวรายงานว่า “Thailand Energy Awards สุดยอดรางวัลด้านพลังงานไทยระดับสากล เป็นการประกวดด้านพลังงานของประเทศไทยที่กระทรวงพลังงานได้ส่งเสริมให้มีการจัดการประกวดต่อเนื่องกันมาเป็นปีที่ 18 แล้ว เป็นกิจกรรมที่เปิดกว้างให้ทุกภาคส่วนที่มีการใช้พลังงานหรือมีส่วนร่วมสนับสนุนการอนุรักษ์พลังงานและการพัฒนาพลังงานทดแทน ได้แสดงศักยภาพและเผยแพร่ผลงานความสำเร็จของตนเอง ให้แก่ผู้อื่นได้นำไปใช้เป็นแบบอย่างในการนำไปปฏิบัติ ให้เกิดผลอย่างเป็นรูปธรรม และมีส่วนสำคัญในการผลักดันให้ผู้ประกอบการ วิจัย พัฒนา เทคโนโลยีและนวัตกรรมการอนุรักษ์พลังงานควบคู่ไปกับการใช้พลังงานทดแทนที่เป็นพลังงานสะอาดให้เกิดประสิทธิภาพสูงสุด ซึ่งสอดรับกับการขับเคลื่อนนโยบายพลังงาน 4.0 นำมาสู่ความสำเร็จที่ยิ่งใหญ่ในวันนี้”

โครงการ Thailand Energy Awards แบ่งการประกวดออกเป็น 5 ด้าน ได้แก่ ด้านพลังงานทดแทน ด้านอนุรักษ์พลังงาน ด้านบุคลากร ด้านพลังงานสร้างสรรค์ และด้านผู้ส่งเสริมการอนุรักษ์พลังงานและพลังงานทดแทน สำหรับปีนี้ มีผู้สนใจส่งผลงานเข้าประกวดจำนวน 262 ราย และได้รับเกียรติจากผู้ทรงคุณวุฒิ ผู้เชี่ยวชาญ นักวิชาการจากหน่วยงานต่างๆ ร่วมกันพิจารณาคัดเลือกผลงานดีเด่นสมควรแก่การได้รับรางวัล จำนวน 66 รางวัล คิดเป็นมูลค่าผลประหยัดรวมได้มากกว่า 420 ล้านบาทต่อปี สามารถลดก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ได้มากกว่า 290,000 ตันต่อปี

นอกจากนี้ ยังได้คัดเลือกผู้แทนที่มีผลงานโดดเด่น ร่วมประกวดในระดับอาเซียนจำนวน 24 ผลงาน และสามารถคว้ารางวัลมาครองได้อย่างน่าภาคภูมิใจถึง 19 รางวัล มากที่สุดในเวที ASEAN Energy Awards ทำให้ประเทศไทยครองความเป็นที่หนึ่งมาอย่างต่อเนื่อง ด้วยพลังความสำเร็จอันยิ่งใหญ่ข้างต้น สามารถนำไปขยายผลให้ประเทศเกิดการพัฒนาด้านพลังงานอย่างยั่งยืนสืบไป

ทั้งนี้สามารถตรวจสอบรายชื่อผู้ชนะการประกวด Thailand Energy Awards 2017 และพบผลงานแห่งความภาคภูมิใจ ด้านการอนุรักษ์พลังงานและพัฒนาพลังงานทดแทนได้ที่ www.thailandenergyaward.com

พล.อ.อนันตพร กาญจนรัตน์ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงพลังงาน ได้เดินทางไปยังจังหวัดนครราชสีมา เพื่อเข้าร่วมประชุมคณะรัฐมนตรีอย่างเป็นทางการนอกสถานที่(ครม.สัญจร)

วันนี้ (21ส.ค.60) พล.อ.อนันตพร กาญจนรัตน์ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงพลังงาน ได้เดินทางไปยังจังหวัดนครราชสีมา เพื่อเข้าร่วมประชุมคณะรัฐมนตรีอย่างเป็นทางการนอกสถานที่(ครม.สัญจร) ระหว่างวันที่ 21 -22 สิงหาคม 2560 โดยได้ปฏิบัติราชการในพื้นที่ เข้าเยี่ยมชมและรับทราบความคืบหน้าโครงการศูนย์กำจัดขยะแบบครบวงจร ที่เทศบาลเมืองสีคิ้ว เยี่ยมชมกระบวนการผลิตเอทานอล บริษัท เคไอ เอทานอล จำกัด และความสำเร็จจากโครงการระบบสูบน้ำแสงอาทิตย์ เพื่อแก้ไขปัญหาภัยแล้งของชุมชน บ้านหนองพฤกษ์ ซึ่งถือเป็นต้นแบบโครงการประชารัฐด้านพลังงาน

 

พล.อ.อนันตพร กล่าวว่า การเยี่ยมชมโครงการที่จังหวัดนครราชสีมาครั้งนี้ ถือเป็นโอกาสที่ดีในการต่อยอดโครงการประชารัฐด้านพลังงาน โดยกระทรวงพลังงาน ได้สนับสนุนโครงการนำร่องที่สำคัญๆ ในพื้นที่ ซึ่งวันนี้ได้เข้ารับทราบข้อมูลและความคืบหน้าที่สำคัญๆ  ได้แก่ โครงการนำร่องการจัดการขยะมูลฝอยชุมชนแบบครบวงจร (แบบกระจายศูนย์) โดยมีการก่อสร้างโรงงานจัดการขยะ เพื่อผลิตเป็นเชื้อเพลิง (Refuse Derived Fuel : RDF) และปุ๋ยอินทรีย์ จำนวน 4 แห่ง ตั้งอยู่ที่ สีคิ้ว

ด่านขุนทด เมืองปัก และเทศบาลแชะ  โดยปัจจุบันทั้ง 4 แห่งได้ดำเนินการแล้วเสร็จ และเริ่มทดลองใช้งานแล้ว โดยมีขยะเข้าสู่โรงงานทั้ง 4 แห่ง รวม 140 ตันต่อวัน ผลิตเชื้อเพลิง RDF ได้วันละ 50 ตัน

 

ทั้งนี้ เพื่อต่อยอดการผลิตเชื้อเพลิง RDF ดังกล่าว จึงได้มีการก่อสร้างศูนย์สาธิตการผลิตพลังงานจากของเสียและขยะชุมชน ตั้งอยู่ในมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีสุรนารี และจะมีโรงไฟฟ้าขนาด 1 เมกะวัตต์ ภายในศูนย์สาธิตฯ โดยอยู่ระหว่างก่อสร้างใกล้แล้วเสร็จ และอยู่ระหว่างทดสอบระบบ ซึ่งจะได้ใช้เชื้อเพลิง RDF จากโรงงานจัดการขยะทั้ง 4 แห่งดังกล่าว สำหรับใช้เป็นเชื้อเพลิงผลิตไฟฟ้าเพื่อจำหน่ายให้แก่มหาวิทยาลัย ฯ โดยปัจจุบันเชื้อเพลิง RDF ที่ผลิตได้ 50 ตันต่อวัน ยังสามารถจำหน่ายให้เป็นเชื้อเพลิงในโรงงานปูนซิเมนต์ ทีพีไอ และสยามซีเมนต์ ในราคาตันละ 1,000 บาท

นอกจากนี้ ยังได้เข้าเยี่ยมชมและติดตามความคืบหน้าของโครงการใช้ระบบสูบน้ำด้วยพลังงานแสงอาทิตย์ เพื่อแก้ปัญหาภัยแล้งของชุมชน กรณีศึกษาบ้านหนองพฤกษ์ อำเภอจักราช ซึ่งเป็นความร่วมมือรูปแบบประชารัฐ ระหว่าง สำนักงานพลังงานจังหวัดนครราชสีมา สมาคมพัฒนาประชากรและชุมชน สาขานครราชสีมา และชาวบ้านชุมชนบ้านหนองพฤกษ์ โดยเป็นโครงการที่ใช้ระบบสูบน้ำด้วยพลังงานแสงอาทิตย์ สูบน้ำบาดาลขึ้นมาจากใต้ดินเพื่อใช้ในระบบประปาของหมู่บ้าน การสูบน้ำได้ปริมาณน้ำ 28.64 ลูกบาศก์เมตรต่อชั่วโมง ทดแทนการใช้กระแสไฟฟ้าซึ่งเป็นต้นทุนราคาสูงให้ลดลง

โดยจากข้อมูลพบว่า โครงการฯ ได้เริ่มติดตั้งระบบตั้งแต่เดือนมกราคม 2553 จนถึงเดือนพฤษภาคม 2559 ที่ผ่านมา ช่วยให้ชุมชนประหยัดค่าไฟรวมทั้งสิ้น 351,261 บาท ลดการใช้ไฟฟ้าลงได้ 87,815 หน่วย ชาวบ้านหนองพฤกษ์ สามารถประหยัดค่าน้ำได้ 491,412 บาท ซึ่งเป็นผลมาจากการลดค่าน้ำประปาจากหน่วยละ 5 บาท เหลือเพียงหน่วยละ 2 บาท จากการกำหนดของโครงการฯ ซึ่งประโยชน์โดยรวมที่ได้รับ ชาวบ้านหนองพฤกษ์ได้แก้ปัญหาภัยแล้งได้อย่างยั่งยืน มีน้ำเพียงพออุปโภคบริโภค ลดต้นทุนด้านพลังงาน ได้ใช้น้ำราคาถูกเพาะปลูกพืชสร้างรายได้ที่เพียงพอต่อการดำรงชีวิต

 

“การตรวจเยี่ยมโครงการฯ ในครั้งนี้ ถือเป็นการต่อยอดโครงการประชารัฐ โดยกระทรวงพลังงานได้ส่งเสริมการผลิตพลังงานทดแทนในระดับชุมชน มุ่งเน้นลดรายจ่ายด้านพลังงาน ช่วยเพิ่มรายได้ให้แก่ชุมชน ใช้ทรัพยากรในท้องถิ่น และประโยชน์จากพลังงานทดแทน รวมทั้งยังให้ชุมชนมีส่วนร่วมในการลงทุนร่วมกับภาครัฐ ซึ่งคือมิติใหม่แห่งการพัฒนาพลังงงานอย่างยั่งยืน  ลดการนำเข้าพลังงาน และช่วยให้การผลิตและใช้พลังงานมีความมั่นคงยิ่งขึ้นในอนาคต” พล.อ.อนันตพร กล่าว

รัฐมนตรีว่าการกระทรวงพลังงาน พร้อมผู้บริหารและสื่อมวลชน ติดตามความคืบหน้าโครงการส่งเสริมการลงทุนด้านอนุรักษ์พลังงานทดแทนด้วยเงินทุนหมุนเวียน (ESCO Revolving Fund)

เย็นวันนี้ (17 ส.ค.60) พลเอกอนันตพร กาญจนรัตน์ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงพลังงาน นำคณะผู้บริหาร ข้าราชการ เจ้าหน้าที่กระทรวงพลังงาน และสื่อมวลชน ติดตามความคืบหน้าโครงการส่งเสริมการลงทุนด้านอนุรักษ์พลังงานทดแทนด้วยเงินทุนหมุนเวียน (ESCO Revolving Fund) ปีงบประมาณ 2558 ณ บริษัท พี.พี. แพคเกจจิ้ง จำกัด จ.นครปฐมโดยมีนายสุพจน์ ยศสิงห์คำ รองผู้ว่าราชการจังหวัดนครปฐม และนายชัยณรงค์ เทียนชัยกุล กรรมการผู้จัดการบริษัทฯให้การต้อนรับ

ซึ่งโครงการดังกล่าว ของ พพ. ได้สนับสนุนเงินลงทุนในลักษณะเงินกู้ดอกเบี้ยอัตราคงที่ 3.5% ต่อปี (Flat Rate) โดยมีระยะเวลาการผ่อนชำระคืนไม่เกิน 5 ปี ให้กับบริษัท พี.พี. แพคเกจจิ้ง จำกัด ซึ่งเป็นผู้ผลิตและจำหน่ายผลิตภัณฑ์พลาสติกและโฟมสำหรับบรรจุอาหารนั้น ที่ได้มีการส่งเสริมการลงทุนโดยการให้เช่าซื้ออุปกรณ์ประหยัดพลังงาน ในโครงการติดตั้งอุปกรณ์ปรับลดแรงดันไฟฟ้า จำนวน 2 เครื่อง คือ ขนาดพิกัด 1,000 kVA และขนาดพิกัด 1,500 kVA ภายใต้งบประมาณส่งเสริมจำนวน 6,452,100 บาท ซึ่งการเข้าร่วมโครงการดังกล่าวส่งผลให้บริษัทสามารถประหยัดพลังงานไฟฟ้าได้เท่ากับ 464,000 kWhต่อปี หรือเทียบเท่า 0.04 ktoe ต่อปี คิดเป็นเงินที่ประหยัดได้ 1.78 ล้านบาทต่อปี นอกจากนี้ยังสามารถช่วยลดการปล่อยก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ ได้ 0.0003 กิโลกรัมคาร์บอนไดออกไซด์ต่อปี

พลเอก อนันตพร รัฐมนตรีว่าการกระทรวงพลังงานกล่าวว่า “ที่ผ่านมาโรงงานดังกล่าวมีการใช้พลังงานไฟฟ้าในกระบวนการผลิตเฉลี่ย 8,640,000 kWh ต่อปี คิดเป็นเงินค่าใช้จ่ายด้านพลังงานไฟฟ้าสูงถึง 33.16 ล้านบาทต่อปี แต่ภายหลังจากการเข้าร่วมโครงการส่งเสริมการลงทุนด้านอนุรักษ์พลังงานและพลังงานทดแทนด้วยเงินทุนหมุนเวียนแล้ว ช่วยให้เกิดการใช้พลังงานที่มีประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้น ซึ่งนับเป็นอีกหนึ่งตัวอย่างความสำเร็จในการขับเคลื่อนแผนอนุรักษ์พลังงานให้เป็นไปตามเป้าหมายของแผนที่ต้องการลดความเข้มการใช้พลังงานลง 30% ในปี 2579” พลเอก อนันตพร กล่าว

ทั้งนี้ โครงการส่งเสริมการลงทุนด้านอนุรักษ์พลังงานทดแทนด้วยเงินทุนหมุนเวียน พพ. ได้ดำเนินการส่งเสริมไปแล้วทั้งหมด 23 ราย สามารถประหยัดพลังงานไฟฟ้าให้กับประเทศได้เท่ากับ 17.63 GWh ต่อปี คิดเป็นเงินที่ประหยัดได้ 45 ล้านบาทต่อปี หรือลดการนำเข้าน้ำมันดิบ 6.25 พันตันเทียบเท่าน้ำมันดิบ

รัฐมนตรีว่าการกระทรวงพลังงาน พร้อมผู้บริหารและสื่อมวลชน ลงพื้นที่จังหวัดกาญจนบุรี ติดตามสถานการณ์พลังงานภาคกลาง พร้อมเยี่ยมชมศักยภาพการดำเนินงานโรงไฟฟ้าพลังงานน้ำเขื่อนศรีนครินทร์ และร่วมกิจกรรมปลูกป่า “โครงการประชารัฐร่วมใจ ปลูกต้นไม้ให้แผ่นดิน”

วันนี้ (17 ส.ค.60) พลเอก อนันตพร กาญจนรัตน์ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงพลังงาน พร้อมด้วยนายอารีพงศ์ ภู่ชอุ่ม ปลัดกระทรวงพลังงาน นำคณะผู้บริหาร ข้าราชการ เจ้าหน้าที่กระทรวงพลังงาน และสื่อมวลชน ลงพื้นที่จังหวัดกาญจนบุรี เพื่อตรวจติดตามสถานการณ์พลังงานภาคกลาง พร้อมเยี่ยมชมศักยภาพการดำเนินงานโรงไฟฟ้าพลังงานน้ำเขื่อนศรีนครินทร์ และร่วมกิจกรรมปลูกป่า “โครงการประชารัฐร่วมใจ ปลูกต้นไม้ให้แผ่นดิน” ณ บริเวณเขื่อนศรีนครินทร์ ในพื้นที่ ต.ท่ากระดาน อ.ศรีสวัสดิ์ จ.กาญจนบุรี โดยมี นายนิกูล ศิลาสุวรรณ รองผู้ว่าการ การไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทย และข้าราชการในพื้นที่ให้การต้อนรับ

พลเอกอนันตพร รัฐมนตรีว่าการกระทรวงพลังงาน กล่าวว่า “กิจกรรมปลูกป่าโครงการประชารัฐร่วมใจ ปลูกต้นไม้ให้แผ่นดิน ตามนโยบายของรัฐบาลที่รณรงค์ให้ ภาครัฐ เอกชน และประชาชนทั่วประเทศ ร่วมปลูกต้นไม้ เพื่อฟื้นฟูและอนุรักษ์ป่าไม้ บนพื้นที่สาธารณะ พื้นที่ป่า หรือพื้นที่รัฐที่ทางราชการกำหนดไว้ โดยเริ่มดำเนินการมาตั้งแต่วันที่ 7 สิงหาคม ไปจนถึงวันที่ 30 กันยายน 2560 เพื่อเฉลิมพระเกียรติ สมเด็จพระเจ้าอยู่หัวมหาวชิราลงกรณ บดินทรเทพยวรางกูร เนื่องในโอกาสเฉลิมพระชนมพรรษา ครบรอบ 65 พรรษา และร่วมสืบสานแนวพระราชดำริพระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช และสมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ พระบรมราชินีนาถ ในรัชกาลที่ 9 ในการฟื้นคืนความอุดมสมบูรณ์ของทรัพยากรป่าไม้” พลเอก อนันตพร รัฐมนตรีว่าการกระทรวงพลังงานกล่าว

สำหรับการพูดคุยกับพลังงานจังหวัดในกลุ่มภาคกลางทั้ง 20 จังหวัด ได้แก่ จังหวัดปทุมธานี สระบุรี พระนครศรีอยุธยา นนทบุรี ลพบุรี ชัยนาท อ่างทอง สิงห์บุรี กาญจนบุรี นครปฐม สุพรรณบุรี ราชบุรี สมุทรสงคราม สมุทรสาคร เพชรบุรี ประจวบคีรีขันธ์ พิจิตร กำแพงเพชร นครสวรรค์ และอุทัยธานี เบื้องต้นไม่พบว่าประสบปัญหาอะไร แต่ได้มีการกำชับพลังงานจังหวัด และเจ้าหน้าที่กระทรวงพลังงานในพื้นที่ทุกคนให้มุ่งเน้นการทำงานอย่างบูรณาการ ติดตามดูแลสถานการณ์พลังงานอย่างใกล้ชิด และเตรียมพร้อมรับมือกับทุกสถานการณ์ เช่น ภัยธรรมชาติ เหตุฉุกเฉิน เพื่อไม่ให้เกิดผลกระทบด้านพลังงานต่อประชาชนผู้บริโภค เนื่องจากพลังงานถือเป็นหนึ่งในกลไกลสำคัญในการขับเคลื่อนภาคเศรษฐกิจ และสังคมของประเทศให้มีความมั่นคง มั่งคั่ง และยั่งยืน

พลเอก ธนะศักดิ์ ปฏิมาประกร รองนายกรัฐมนตรี และ พลอากาศเอก ประจิน จั่นตอง รองนายกรัฐมนตรี ให้เกียรติเป็นประธานในพิธีเปิดงานวันวัฒนธรรมไทย (Thai Cultural Day) ภายในงานนิทรรศการโลก Astana Expo 2017

(12สิงหาคม 2560) พลเอก ธนะศักดิ์ ปฏิมาประกร รองนายกรัฐมนตรี และ พลอากาศเอก ประจิน จั่นตอง รองนายกรัฐมนตรี ให้เกียรติเป็นประธานในพิธีเปิดงานวันวัฒนธรรมไทย (Thai Cultural Day) ภายในงานนิทรรศการโลก Astana Expo 2017 ณ กรุงอัสตานา สาธารณรัฐคาซัคสถาน โดยมี Mr. Yelzhan Birtanov รัฐมนตรีว่าการกระทรวงสาธารณสุข สาธารณรัฐคาซัคสถาน ดร.พิเชฐ ดุรงคเวโรจน์ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคม นายณัช ภิญโญวัฒนชีพ เอกอัครราชทูตไทยประจำกรุงอัสตานา และผู้บริหารจากกระทรวงพลังงาน ร่วมพิธีเปิด

พร้อมกันนี้ ได้เข้าเยี่ยมชมห้องนิทรรศการห้องต่างๆ ของอาคารศาลาไทย (Thailand Pavilion) และพาวิลเลี่ยนของประเทศที่เข้าร่วมงานในครั้งนี้ อาทิ Kazakhstan Pavilion และ Thematic Pavilion ฯลฯ

สำหรับการจัดงาน “วัฒนธรรมไทย” ในวันนี้ มีวัตถุประสงค์หลักเพื่อเป็นการเผยแพร่วัฒนธรรมของประเทศไทยให้นานาประเทศได้รู้จัก โดยได้มีการนำประเพณีสงกรานต์ ซึ่งถือเป็นเทศกาลวันขึ้นปีใหม่ของคนไทย และยังเป็นที่รู้จักไปทั่วโลก มาใช้เป็นแนวคิดของการจัดกิจกรรม ซึ่งตลอดทั้งวัน ณ อาคารศาลาไทยจะจัดให้มีขบวนรดน้ำดำหัว การเล่นน้ำสงกรานต์ การทดลองใส่ชุดไทยและถ่ายภาพเป็นที่ระลึก เพื่อสร้างสีสันและความสนุกสนานให้กับผู้เข้าร่วมงาน

ทั้งนี้ อาคารศาลาไทย (Thailand Pavilion) สร้างสรรค์ขึ้นภายใต้แนวคิด “การพัฒนาด้านพลังงานชีวภาพเพื่อมนุษยชาติ (Bioenergy for All)” เพื่อแสดงศักยภาพอันโดดเด่นในการพัฒนาพลังงานทดแทนจากการนำผลผลิตทางการเกษตรที่เหลือจากการบริโภคมาผลิตเป็นพลังงาน และเป็นการใช้ทรัพยากรธรรมชาติที่มีอยู่ให้เกิดประโยชน์สูงสุด โดยได้น้อมนำพระราชดำริของพระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช รัชกาลที่ 9 ที่ทรงเป็น “พระบิดาแห่งการพัฒนาพลังงานไทย” และเป็นต้นแบบในเรื่องปรัชญา “ความพอเพียง” มาใช้เป็นแนวทางในการใช้ทรัพยากรในประเทศที่มีอยู่อย่างคุ้มค่า มุ่งเน้นการพึ่งพาตนเองได้อย่างยั่งยืนในอนาคต สอดคล้องกับแนวคิดหลักของ Expo ที่ว่า “พลังงานแห่งอนาคต”

ซึ่งตลอด 2 เดือนที่ผ่านมามีผู้ชมจากนานาประเทศให้ความสนใจเข้าชมอาคารศาลาไทยเป็นจำนวนมาก มีผู้เข้าชมแล้วกว่า 420,000 คน โดยประเทศไทยติดอันดับ 1 ใน 5 ของพาวิลเลี่ยนที่ได้รับความนิยมสูงสุด จากประเทศที่เข้าร่วมงาน 115 ประเทศ คาดว่าจนกว่าจะจบการจัดงานในวันที่ 10 กันยายน 2560 จะมีผู้เข้าชมอาคารไทยรวมทั้งสิ้นไม่ต่ำกว่า 5 แสนคน นอกจากนี้ จากการจัดอันดับอาคารนิทรรศการที่เป็นที่นิยมชื่นชอบของเยาวชนโดย Chanel Astana Expo TV พบว่า อาคารศาลาไทยได้รับความนิยมเป็นอันดับ 2 และในขณะที่มาสคอต “น้องพลัง” ยังได้รับคัดเลือกให้เข้าสู่ Museum World Expo ภายหลังการจัดงาน ซึ่งถือเป็นความสำเร็จในประวัติศาสตร์ที่สำคัญอีกครั้งของประเทศไทยในการจัดงาน Expo ในระดับโลก

พลเอกประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรี พร้อมด้วยภริยา เป็นประธานในพิธีทำบุญตักบาตรถวายพระราชกุศล ถวายพระพรชัยมงคล สมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ พระบรมราชินีนาถ ในรัชกาลที่ 9

วันนี้ (12 สิงหาคม 2560 ) พลเอกประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรี พร้อมด้วยภริยา เป็นประธานในพิธีทำบุญตักบาตรถวายพระราชกุศล ถวายพระพรชัยมงคล สมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ พระบรมราชินีนาถ ในรัชกาลที่ 9 เนื่องในวันเฉลิมพระชนมพรรษา 85 พรรษา 12 สิงหาคม 2560 ณ พระลานพระราชวังดุสิต โดยมี ดร.อารีพงศ์ ภู่ชอุ่ม ปลัดกระทรวงพลังงาน และคณะผู้บริหารระดับสูงของกระทรวงพลังงาน เข้าร่วมพิธี

ปลัดกระทรวงพลังงาน ร่วมพิธีถวายพระพรชัยมงคล ณ บริเวณอาคารเอ็นเนอร์ยี่ คอมเพล็กซ์ บี

วันนี้ (11 สิงหาคม 2560) นายอารีพงศ์ ภู่ชอุ่ม ปลัดกระทรวงพลังงาน พร้อมด้วย ผู้บริหารระดับสูง ข้าราชการ ลูกจ้าง พนักงาน และเจ้าหน้าที่กระทรวงพลังงาน เข้าร่วมงานพระราชพิธีถวายพระพรชัยมงคล และร่วมกันกล่าวราชสดุดีเฉลิมพระเกียรติ สมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ พระบรมราชินีนาถ ในรัชกาลที่ 9 เนื่องในวันเฉลิมพระชนมพรรษา 85 พรรษา 12 สิงหาคม 2560 ณ อาคารเอนเนอร์ยี คอมเพล็กซ์ ที่ตั้งของกระทรวงพลังงาน

 

กระทรวงพลังงาน นำสื่อมวลชนเยี่ยมชมโครงการวิสาหกิจชุมชนตำบลดอนตูม จ.นครปฐม

สำนักงานพลังงานจังหวัดนครปฐม กระทรวงพลังงาน นำสื่อมวลชนเยี่ยมชมโครงการวิสาหกิจชุมชนตำบลดอนตูม พร้อมยกเป็นตัวอย่างชุมชนที่ประสบผลสำเร็จจากโครงการติดตั้งใช้งานระบบอบแห้งพลังงานแสงอาทิตย์ ชี้ชุมชนสามารถผลิต มะเขือเทศแช่อิ่มอบแห้งเป็นผลิตภัณฑ์หลัก ที่สามารถลดรายจ่ายค่าพลังงาน และสร้างรายได้ให้ชุมชนอย่างยั่งยืน

จังหวัดนครปฐม (11 สิงหาคม 2560) นายวาทินทร์ ทองแก้ว พลังงานจังหวัดนครปฐม กระทรวงพลังงาน เปิดเผยว่า สำนักงานพลังงานจังหวัดนครปฐม ได้นำสื่อมวลชนในพื้นที่ เข้าเยี่ยมชมโครงการวิสาหกิจชุมชนตำบลดอนตูม ซึ่งมีการผลิต มะเขือเทศอบแห้งด้วยพลังงานแสงอาทิตย์ ณ ตำบลดอนตูม อำเภอบางเลน จังหวัดนครปฐม ซึ่งเป็นโครงการสำคัญที่ชุมชน ฯ ได้รับการสนับสนุนการลงทุนติดตั้งใช้งานระบบอบแห้งพลังงานแสงอาทิตย์ จากกรมพัฒนาพลังงานทดแทนและอนุรักษ์พลังงาน (พพ.) ซึ่งโครงการ ฯ นี้ถือเป็นโครงการสำคัญตามแผนพัฒนาพลังงานทดแทนและพลังงานทางเลือก หรือ AEDP

ทั้งนี้ วิสาหกิจชุมชนตำบลดอนตูมแห่งนี้ ได้เข้าร่วมโครงการจากกรม พพ. ดังกล่าว ในปี 2555 และได้ติดตั้งใช้งานระบบอบแห้งพลังงานแสงอาทิตย์ และผลิตมะเขือเทศแช่อิ่มอบแห้ง ซึ่งถือเป็นผลิตภัณฑ์หลักในชุมชน โดยได้รับระบบอบแห้งพลังงานแสงอาทิตย์ พพ.3 ขนาด 166.4 ตารางเมตร ซึ่งช่วยให้การผลิตมะเขือเทศแช่อิ่มอบแห้ง มีประสิทธิภาพเพิ่มขึ้น จากเดิมที่ตากโดยวิธีธรรมชาติ โดยช่วยให้ชุมชนสามารถเพิ่มปริมาณการผลิตด้วยวัตถุดิบได้สูงถึง 84 ตันต่อปี มูลค่าผลประหยัดค่าเชื้อเพลิงที่ได้ เพื่อทดแทนการใช้ก๊าซหุงต้ม ช่วยทำให้ประหยัดค่าเชื้อเพลิงได้ 31,915 บาทต่อปี รวมทั้งมูลค่าลดค่าใช้จ่ายค่าแรงงานด้านการอบแห้ง 50,400 บาทต่อปี

นายวาทินทร์ กล่าวเพิ่มว่า ผลประโยชน์ที่ได้รับจากโครงการฯ นี้ สำนักงานพลังงานจังหวัดนครปฐม เชื่อว่าจะช่วยสามารถช่วยลดรายจ่ายสร้างรายได้ในครัวเรือนได้อย่างยั่งยืน เพราะชุมชนจะสามารถใช้ระบบอบแห้งจากพลังงานแสงอาทิตย์ ซึ่งเป็นการใช้ประโยชน์จากพลังงานทดแทนได้ เกิดการลดการใช้ก๊าซหุงต้มลง โดยใช้พลังงานทดแทนที่มีอยู่ได้อย่างคุ้มค่า ชุมชนจะมีทางเลือกใหม่ในการอบแห้งมะเขือเทศ สร้างมูลค่าเพิ่มให้แก่ผลิตภัณฑ์ ลดต้นทุนในการผลิต และที่สำคัญ โครงการฯ นี้ จะสามารถสร้างรายได้จากผลิตภัณฑ์ที่ผลิตได้ภายในชุมชน สร้างความเข้มแข็งให้กับชุมชนในการดูแลและบริหารจัดการทรัพยากรที่มีอยู่ให้เกิดประโยชน์สูงสุดต่อไป

กิจกรรมสื่อมวลชนสัญจร@นครปฐม “มีพลังงาน มีความสุข”

ปลัดกระทรวงพลังงาน ลงพื้นที่เยี่ยมชมโรงไฟฟ้าเชื้อเพลิง RDF

วันนี้ (9 ส.ค.60) นายอารีพงศ์ ภู่ชอุ่ม ปลัดกระทรวงพลังงาน พร้อมคณะผู้บริหาร ลงพื้นที่เยี่ยมชมโรงไฟฟ้าเชื้อเพลิง RDF (Refuse Derived Fuel) พื้นที่บ่อขยะ ตำบลแพรกษาใหม่ จ.สมุทรปราการ บริษัท อีสเทิร์น เอเนอร์ จี้ พลัส จำกัด โดยมีนายชาติชาย อุทัยพันธ์ ผู้ว่าราชการจังหวัดสมุทรปราการ และนายคณพศ นิจสิริภัช ประธานเจ้าหน้าที่บริหารบริษัท อีสเทิร์น เอเนอร์ จี้ พลัส จำกัด ให้การต้อนรับ ปัจจุบันขีดความสามารถในการบริหารจัดการขยะในศูนย์บริหารจัดการขยะชุมชนแบบครบวงจรสามารถผลิตเป็นเชื้อเพลิง RDF ได้ประมาณ 500 ตันต่อวัน โดยเป็นการคัดแยกทั้งขยะเก่า 1,000 ตันต่อวัน เพื่อป้อนเชื้อเพลิง RDF เข้าสู่โรงไฟฟ้าที่มีขนาดกำลังการผลิต 9.9 เมกกะวัตต์ ซึ่งเป็นผู้ผลิตไฟฟ้าขนาดเล็กมาก (VSPP) และได้รับการสนับสนุนรับซื้อ ไฟฟ้าจากขยะชุมชนอัตราพิเศษในรูปแบบ Feed-in Tariff (FiT) ตามสัญญาซื้อ-ขายไฟฟ้า 20 ปีที่ได้เริ่ม เดินเครื่องและสามารถขายไฟฟ้าในเชิงพาณิชย์ให้กับ การไฟฟ้านครหลวง (กฟน.) เมื่อวันที่ 30 มิถุนายน ที่ผ่านมา นายอารีพงศ์ ภู่ชอุ่ม ปลัดกระทรวงพลังงาน กล่าวว่า “ศูนย์ฯ มีการรวบรวมขยะชุมชนในพื้นที่ เพื่อนำมาสู่การคัดแยกขยะมูลฝอยประเภทต่างๆ นำไปสู่การรีไซเคิล และส่วนหนึ่งนำมาผ่านกระบวนการแปรรูปและจัดการต่างๆ เพื่อปรับปรุงคุณสมบัติทางกายภาพและคุณสมบัติทางเคมีให้กลายเป็นเชื้อเพลิงขยะหรือ RDF มาผลิตไฟฟ้า ซึ่งแนวทางการบริหารจัดการขยะ นับเป็นนโยบายรัฐบาลที่ต้องการผลักดันให้เกิดขึ้นเพื่อลดปัญหาปริมาณขยะ และปัญหาการจัดหาพื้นที่ฝังกลบ โดยควบคุมและบริหารจัดการด้านสิ่งแวดล้อมอย่างมีประสิทธิภาพ นับเป็นวิธีการอย่างหนึ่งในการแก้ไข ปัญหาขยะได้เป็นอย่างดี”

 

รัฐมนตรีว่าการกระทรวงพลังงาน เป็นประธานในพิธีมอบรางวัลองค์กรที่มีความเป็นเลิศในด้านต่างๆ ของกิจการถ่านหินของไทย (Thailand Coal Awards) ครั้งที่ 3

พลเอก อนันตพร  กาญจนรัตน์ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงพลังงาน เปิดเผยว่า ในวันนี้ (2 สิงหาคม 2560) กระทรวงพลังงาน โดยกรมเชื้อเพลิงธรรมชาติ ได้จัดพิธีมอบรางวัลองค์กรที่มีความเป็นเลิศในด้านต่างๆ ของกิจการถ่านหินของไทย (Thailand Coal Awards) ครั้งที่ 3  ให้กับองค์กรที่เป็นเลิศในด้านต่าง ๆ โดยเป็นไปตามนโยบายของกระทรวงพลังงานในด้านการบริหารจัดการของผู้ประกอบการถ่านหินตั้งแต่ต้นน้ำจนถึงปลายน้ำ ไม่ว่าจะเป็นเหมืองถ่านหิน การใช้ถ่านหินในอุตสาหกรรม และผลิตกระแสไฟฟ้า ให้เกิดประสิทธิภาพ ไม่มีผลกระทบต่อชุมชนและสิ่งแวดล้อม รวมถึงการถ่ายทอดองค์ความรู้ให้กับประชาชน และชุมชนผู้มีส่วนได้ส่วนเสีย ให้เกิดความเข้าใจในประโยชน์ของการใช้ถ่านหิน ที่ปัจจุบันมีเทคโนโลยีเพื่อการควบคุม และดูแลได้อย่างมีประสิทธิภาพ

“ปัจจุบันมีการนำเทคโนโลยีด้านถ่านหินมาเป็นเชื้อเพลิงในเชิงอุตสาหกรรมหรือผลิตกระแสไฟฟ้า ที่สามารถควบคุมและดูแลกระบวนการผลิตไม่ให้ส่งผลกระทบไปสู่ภายนอก หรือสิ่งแวดล้อมได้อย่างมีประสิทธิภาพ ซึ่งนานาชาติให้การรับรอง โดยปัจจุบันหลายประเทศใช้โรงไฟฟ้าถ่านหินเป็นเชื้อเพลิงหลัก ในการผลิตกระแสไฟฟ้า ไม่ว่าจะเป็นญี่ปุ่น สหรัฐอเมริกา ยุโรป ที่มีการสัดส่วนการใช้ถ่านหินสูงถึง 25-50%  และการใช้ถ่านหินเพื่อการผลิตกระแสไฟฟ้าทั่วโลกมีสัดส่วนสูงถึง 40%  รวมทั้งในบางประเทศที่มีแหล่งพลังงานขนาดใหญ่ เช่น สหรัฐอเมริกา ก็ยังใช้ถ่านหินเพื่อสร้างความมั่นคงด้านพลังงานของประเทศด้วย ดังนั้นการใช้ถ่านหินเป็นเชื้อเพลิงไม่ใช่สิ่งที่น่ากังวลเหมือนในอดีต เพราะทุกอย่างสามารถควบคุมได้ด้วยเทคโนโลยี ที่ทันสมัย”

พลเอก อนันตพร กล่าวต่อไปว่า ปัจจุบันประเทศไทยมีกฎหมายด้านสิ่งแวดล้อมที่เข้มข้น รวมทั้งระบบ   การบริหารจัดการที่มีคุณภาพไม่ว่าจะเป็นการขนถ่าย  การเก็บรักษาถ่านหิน ต้องทำด้วยระบบปิดแบบครบวงจร  นับว่าเป็นต้นแบบที่ดีสำหรับผู้ประกอบการไทย เพื่อสร้างความเชื่อมั่นและการยอมรับให้กับชุมชนได้อย่างดี ซึ่งการมอบรางวัลองค์กรที่มีความเป็นเลิศในด้านต่างๆ ของกิจการถ่านหินของไทย  (Thailand Coal Awards) ในครั้งนี้ จะเป็นต้นแบบที่ดีให้กับหน่วยงานอื่นๆ ได้นำไปประยุกต์ใช้ และขยายเครือข่ายองค์กรที่ดำเนินงานอย่างมีประสิทธิภาพได้ในอนาคต

นายวีระศักดิ์  พึ่งรัศมี  อธิบดีกรมเชื้อเพลิงธรรมชาติ กล่าวเพิ่มเติมว่า ในปีนี้มีการแบ่งรางวัลเป็น 3 ประเภท โดยมีผู้ได้รับรางวัลทั้งหมด 9 รางวัล ดังนี้

ประเภทการดำเนินการด้านถ่านหินเป็นเลิศ (Best Practice Category) ได้แก่

– Mae Moh Lignite Mine จากเหมืองแม่เมาะ การไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทย

– BLCP 2x 717MW Coal-fired Power Station จากบริษัท บีแอลซีพี เพาเวอร์ จำกัด

– SKIC Closed-Sytem Coal Operation for Sustainable Development (Ban Pong Dome Coal Storage) จากบริษัท สยามคราฟอุตสาหกรรม จำกัด

 

ประเภทการมีส่วนร่วมต่อชุมชนและสังคม (Corporate Social Responsibility Catagery) ได้แก่

– The Environmental Collaboration for Sustainable Development in Mae Moh District  จากการไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทย

– TPIPL intend continuing commitment to CSR จากบริษัท ทีพีไอ โพลีน  จำกัด(มหาชน)

– Sustainable Social Participation of BLCP Coal Fired Power Plant จากบริษัท บีแอลซีพี เพาเวอร์ จำกัด

– Asia Green Energy : Green Society จากบริษัท เอเชีย กรีน เอนเนอจี จำกัด(มหาชน)

 

ประเภทหัวข้อพิเศษ (Special Submission Category) ได้แก่

– Distribution Bunker Cleaning Equipment จากการไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทย

– Specific energy consumption Improvement of kiln plant จากบริษัท ทีพีไอ โพลีน จำกัด (มหาชน)

รัฐมนตรีว่าการกระทรวงพลังงาน ร่วมพิธีถวายพระพรชัยมงคล ณ อาคารเอนเนอร์ยี่ คอมเพล็กซ์

วันนี้ (28 กรกฎาคม 2560) พลเอก อนันตพร กาญจนรัตน์ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงพลังงาน พร้อมด้วย ผู้บริหารระดับสูง ข้าราขการ ลูกจ้าง พนักงาน และเจ้าหน้าที่กระทรวงพลังงาน เข้าร่วมงานพระราชพิธีถวายพระพรชัยมงคล และร่วมกันกล่าวราชสดุดีเฉลิมพระเกียรติ สมเด็จพระเจ้าอยู่หัวมหาวชิราลงกรณ บดินทรเทพยวรางกูร ในโอกาสมหามงคลเฉลิมพระชนมพรรษาครบ 65 พรรษา วันศุกร์ที่ 28 กรกฎาคม 2560 ณ อาคารเอนเนอร์ยี คอมเพล็กซ์ ที่ตั้งของกระทรวงพลังงาน

กระทรวงพลังงาน ร่วมพิธีทำบุญตักบาตร ณ พระลานพระราชวังดุสิต

วันนี้ (28 ก.ค. 60) พลเอกประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรี พร้อมด้วยภริยา เป็นประธานในพิธีทำบุญตักบาตรถวายพระราชกุศล พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช บรมนาถบพิตร และถวายพระพรชัยมงคลกับถวายพระราชกุศล สมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ พระบรมราชินีนาถ ในรัชกาลที่ 9 และสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว เนื่องในโอกาสวันเฉลิมพระชนมพรรษา 65 พรรษา 28 กรกฎาคม 2560 ณ พระลานพระราชวังดุสิต โดยมี พลเอก อนันตพร กาญจนรัตน์ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงพลังงาน พร้อมภริยา และ ดร.อารีพงศ์ ภู่ชอุ่ม ปลัดกระทรวงพลังงาน และคณะผู้บริหารระดับสูงของกระทรวงพลังงาน เข้าร่วมพิธี

กระทรวงพลังงาน เดินสายมอบรางวัล “สุดยอดคนพลังงาน” ในโอกาสครบรอบการดำเนินโครงการพลังงานชุมชน 10 ปี

กระทรวงพลังงาน เดินสายมอบรางวัล “สุดยอดคนพลังงาน” ในโอกาสครบรอบการดำเนินโครงการพลังงานชุมชน 10 ปี สร้างการมีส่วนร่วมกับชุมชนจำนวน 1,676 แห่ง เผยจัดมอบรางวัลสุดยอดคนพลังงานผ่านตลาดนัดพลังงานชุมชนครบทุก 4 ภาค โดยจัดงานครั้งที่ 2 มอบรางวัลภาคเหนือ 4 สาขา 17 จังหวัด เตรียมพร้อมผู้ชนะระดับภาคเข้าแข่งขันสุดยอด คนพลังงานระดับประเทศต่อไป

นายสมนึก บำรุงสาลี รองปลัดกระทรวงพลังงาน เปิดเผยว่า การจัดกิจกรรมพิเศษ มอบรางวัลสุดยอดคนพลังงาน ในโอกาสครบรอบ 10 ปีพลังงานชุมชน โดยครั้งนี้เป็นครั้งที่ 2 ที่จัดมอบรางวัลในภาคเหนือ ซึ่งมีจังหวัดผู้ชนะในภาคเหนือทั้งหมด 17 จังหวัด และคัดเลือกผู้ชนะที่เป็นสุดยอดระดับภาคอีกใน 4 สาขา สาขาละ 3 รางวัล รวมทั้งสิ้นแชมป์ภาคเหนือทั้งหมด 12 รางวัล เพื่อเดินหน้าเข้าแข่งขันสุดยอดคนพลังงานระดับประเทศต่อไป

“ในโอกาสครบรอบ 10 ปี พลังงานชุมชน กระทรวงพลังงานได้จัดกิจกรรมพิเศษมอบรางวัล “สุดยอดคนพลังงาน” ผ่านแนวคิด พลังงานสร้างคน คนสร้างพลังงานยั่งยืน เพื่อยกย่องบุคคลและองค์กรที่มีผลการดำเนินงานยอดเยี่ยม เป็นต้นแบบในการจัดการพลังงานที่ดีแก่สังคม ในระดับจังหวัด ระดับภูมิภาค และระดับประเทศ โดยจัดมอบรางวัลครั้งแรกไปแล้วที่ภาคกลาง 25 จังหวัด ครั้งที่ 2 นี้ที่ภาคเหนือ มีผู้ชนะเข้ารอบ 17 จังหวัด และมาคัดเลือกผู้ชนะระดับภาคที่เป็นสุดยอดทั้ง 4 สาขาที่ร่วมแข่งขัน ซึ่งภาคเหนือก็เป็นอีกภาคหนึ่งที่มีความตื่นตัวมากเรื่องของพลังงานทดแทน มีการนำความรู้ที่ได้จากกระทรวงพลังงานไปต่อยอดพัฒนาพลังงานด้านต่างๆ ในท้องที่ของตนเองได้อย่างดี”

เกณฑ์การคัดเลือกและมอบรางวัล “สุดยอดคนพลังงาน” ผ่านแนวคิด “พลังงานสร้างคน คนสร้างพลังงานยั่งยืน” ประจำปี พ.ศ. 2560 แบ่งเป็น ระดับจังหวัด ระดับภูมิภาค และระดับประเทศ โดยเริ่มมอบรางวัลครั้งที่ 1 ที่ภาคกลาง (จากทั้งหมด 4 ภาคทั่วประเทศ) เมื่อวันที่ 5 กรกฎาคม 2560 ที่ผ่านมา สำหรับครั้งนี้เป็นการมอบรางวัลสุดยอดคนพลังงาน ครั้งที่ 2 ในภาคเหนือ จัดขึ้น ณ มหาวิทยาลัยราชภัฏพิบูลสงคราม จังหวัดพิษณุโลก เริ่มจากมอบรางวัลผู้ชนะระดับจังหวัด และคัดสุดยอดของแต่ละจังหวัด เป็นผู้ชนะรางวัลระดับภาค โดยภาคเหนือนั้นมีจังหวัดผู้ชนะที่เข้าร่วม 17 จังหวัด ใน 4 สาขา และนำสุดยอดในแต่ละสาขา มาคัดเลือกเป็นผู้ชนะระดับภาคเพื่อเข้าสู่การแข่งขันในระดับประเทศต่อไป
โดย 4 สาขาที่มีการมอบรางวัล ประกอบด้วย 1.สาขาอาสาสมัครพลังงานชุมชนยอดเยี่ยม 2.สาขาองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นจัดการพลังงานครบวงจรยอดเยี่ยม 3. สาขาวิสาหกิจลดใช้พลังงานยอดเยี่ยม 4.สาขาโครงการพลังงานชุมชนแบบมีส่วนร่วมยอดเยี่ยม และสำหรับผู้ที่ได้รับรางวัลระดับภาค และสำนักงานพลังงานจังหวัดจะได้รับเชิญเข้าร่วมในพิธีมอบรางวัล “สุดยอดคนพลังงาน” ระดับประเทศต่อไป โดยจะจัดขึ้นระหว่างวันที่ 13-17 กันยายน 2560
ณ ห้องไดมอน ศูนย์การค้าเซียร์รังสิต อีกทั้ง ภายในงานยังจัดให้มีกิจกรรม Open House “กิจกรรมเปิดบ้าน…พลังงานชุมชน” อีกด้วย

ด้านนายตามเฉลิมฬ์ จันทนาคร พลังงานจังหวัดพิษณุโลก เปิดเผยว่า จังหวัดได้นำนโยบายของกระทรวงพลังงานมาขยายผลในพื้นที่จังหวัดพิษณุโลก ภายใต้การดำเนินงานโครงการวางแผนพลังงานชุมชนที่ทำมาอย่างต่อเนื่อง โดยจังหวัดให้ความสำคัญกับพลังงานทดแทนประเภทก๊าซชีวภาพ ล่าสุดมีการส่งเสริม 20 ชุมชนในพื้นที่ 9 อำเภอ ใช้เทคโนโลยี ก๊าซชีวภาพ เปลี่ยนของเสียเป็นพลังงานทดแทน ลดการใช้ก๊าซ LPG ประหยัดค่าใช้จ่าย สร้างความมั่นคงด้านพลังงานและความเป็นอยู่ที่ดีของชุมชน อีกทั้งขยายผลการสร้างปราชญ์ชุมชนด้านพลังงานเพื่อสั่งสมองค์ความรู้ และคอยเป็นพี่เลี้ยงให้คำปรึกษาแนะนำชุมชนที่สนใจต่อไป

“โครงการพลังงานชุมชนเป็นโครงการที่มีประโยชน์มาก ทำให้แผนขับเคลื่อนด้านพลังงานของจังหวัดมีการพัฒนาอย่างรวดเร็ว เพราะเล็งเห็นศักยภาพของทรัพยากรในพื้นที่ชัดเจนขึ้น อย่างเช่นในภาคเหนือ ประกอบอาชีพเกษตรกรรมและการเลี้ยงสัตว์ ซึ่งมีตั้งแต่ขนาดครัวเรือนไปจนถึงฟาร์มขนาดเล็ก ทำให้สามารถนำมูลสัตว์และของเสีย มาเปลี่ยนเป็นเชื้อเพลิงทดแทนก๊าซหุงต้มด้วยเทคโนโลยีก๊าซชีวภาพ เพื่อส่งเสริมให้ชุมชนหันมาใช้พลังงานทดแทน แทนการใช้ก๊าซ LPG สำหรับการหุงต้มในครัวเรือน ช่วยลดค่าใช้จ่ายเรื่องพลังงานในครัวเรือนลงได้ร้อยละ 80 และยังช่วยลดปัญหาสิ่งแวดล้อมจาก
กลิ่นเหม็นของมูลสัตว์และแมลงต่างๆ ให้กับชุมชนได้อีกด้วย”

ปัจจุบัน โครงการวางแผนพลังงานชุมชน : Local Energy Planning (LEP) 2549 – 2560 ได้สร้างอาสาสมัครพลังงานชุมชน (อสพน.) จำนวนกว่า 6,042 คน โดย อสพน. คือประชาชนที่มีจิตอาสาทำงานร่วมกับกระทรวงพลังงาน
ในการขับเคลื่อน และพัฒนาพลังงานไทย ด้วยแนวคิด รู้-รักษ์-ตระหนัก-สร้าง กระจายในชุมชนต่างๆ ทั่วประเทศ โดยพัฒนาตนเองต่อยอดไปสู่นักวิจัยพลังงาน 380 คน ช่างเทคโนโลยีพลังงานชุมชน 172 คน นักสื่อสารพลังงาน 2,879 คน วิทยากร 514 คน และได้สร้างการมีส่วนร่วมกับชุมชน จำนวน 1,676 ชุมชน ก่อเกิดแหล่งเรียนรู้ด้านพลังงาน 210 แห่ง เกิดอาชีพด้านพลังงานที่ผลิตและจัดจำหน่ายเทคโนโลยีพลังงานระดับชุมชนจำนวน 172 แห่ง สร้างนวัตกรรมเทคโนโลยีพลังงาน 56 สร้างโอกาสพัฒนาต่อยอดสู่วิสาหกิจชุมชนลดใช้พลังงานกว่า 188 กลุ่ม สามารถลดค่าใช้จ่ายพลังงานได้ 5 ล้านบาทต่อปี และลดจากการประหยัดพลังงานของบ้านตัวอย่างได้ 28 ล้านบาทต่อปี เพิ่มสัดส่วนการใช้พลังงานทดแทนของครัวเรือนที่เข้าร่วมโครงการได้กว่า 8 แสนบาทต่อปี

ปลัดกระทรวงพลังงานนำทีมคณะผู้แทนจากไทย ร่วมการประชุมเจ้าหน้าที่อาวุโสอาเซียนด้านพลังงาน ครั้งที่ 35

ปลัดกระทรวงพลังงานนำทีมคณะผู้แทนจากไทย ร่วมการประชุมเจ้าหน้าที่อาวุโสอาเซียนด้านพลังงาน ครั้งที่ 35 สร้างความร่วมมือด้านพลังงานในภูมิภาคอาเซียน

นายอารีพงศ์ ภู่ชอุ่ม ปลัดกระทรวงพลังงาน นำทีมคณะผู้แทนจากประเทศไทย เข้าร่วมการประชุมเจ้าหน้าที่อาวุโสอาเซียนด้านพลังงาน ครั้งที่ 35 และการประชุมอื่น ๆ ที่เกี่ยวข้อง (35th ASEAN Senior Officials Meeting on Energy: 35th SOME) ซึ่งจัดขึ้นระหว่างวันที่ 17-21 กรกฎาคม 2560 ณ กรุงมะนิลา ประเทศฟิลิปปินส์ โดยมีปลัดกระทรวงพลังงานและผู้แทนจากประเทศสมาชิก 10 ประเทศ เข้าร่วมประชุม ภายใต้หัวข้อ “One ASEAN Community Through Resilient and Sustainable Energy”

การประชุมครั้งนี้ นับเป็นการประชุมด้านพลังงานของอาเซียนที่สำคัญ เนื่องจาก จะเป็นการติดตามการดำเนินงานตามแผนปฏิบัติการว่าด้วยความร่วมมือด้านพลังงานอาเซียน (ASEAN Plan of Action on Energy Cooperation: APAEC) ปี 2016-2025 ระยะที่ 1 ระหว่างปี 2016-2020 ซึ่งมุ่งเน้นการสร้างความมั่นคงและการบูรณาการด้านพลังงาน ผ่านการซื้อขายไฟฟ้าพหุภาคี รวมถึงการเชื่อมโยงก๊าซธรรมชาติอาเซียน เพื่อความยั่งยืนด้านพลังงานในภูมิภาคอาเซียน

โดยการติดตามผลการดำเนินงานจากที่ประชุมครั้งนี้มีประเด็นสำคัญที่เกี่ยวข้องกับการพัฒนาด้านพลังงานของไทยอยู่ด้วย คือ 1.ด้านโครงข่ายสายส่งไฟฟ้าอาเซียน ซึ่งที่ประชุมอาเซียนแสดงความยินดีกับไทย มาเลเซีย และสปป. ลาว ในการดำเนินโครงการบูรณาการซื้อขายไฟฟ้าข้ามพรมแดน ซึ่งนับเป็นครั้งแรกของอาเซียน ที่จะมีการซื้อขายไฟฟ้าจำนวน 100 เมกะวัตต์ โดยผลิตจาก สปป. ลาว ไปยังมาเลเซีย โดยผ่านประเทศไทย และจะมีการลงนามลงนามในสัญญา Energy Purchase and Wheeling Agreement (EPWA) ในการประชุมรัฐมนตรีอาเซียนด้านพลังงาน ครั้งที่ 35 (35th ASEAN Ministers on Energy Meeting: 35th AMEM) ในเดือนกันยายน 2560 ณ กรุงมะนิลา ประเทศฟิลิปปินส์ นอกจากนี้ประเทศไทยยังได้รับเลือกให้เป็นประธานคณะกรรมการเชื่อมโยงไฟฟ้าอาเซียน (ASEAN Power Grid Consultative Committee: APGCC) ทำหน้าที่ในการดำเนินงานและอำนวยความสะดวกด้านความเชื่อมโยงระบบไฟฟ้าอาเซียน การจัดทำแผนปฏิบัติการสำหรับการพัฒนาโครงข่ายสายส่งไฟฟ้าอาเซียน (ASEAN Power Grid: APG) เพื่อรองรับการซื้อขายไฟฟ้าระหว่างภูมิภาคในรูปแบบพหุภาคีให้เกิดขึ้นอย่างเป็นรูปธรรมในอนาคต

2.โครงการท่อส่งก๊าซธรรมชาติอาเซียน อาเซียนได้ดำเนินการแล้วเสร็จเร็วกว่าแผน APAEC ที่กำหนดเป้าหมายไว้ว่าในปี 2020 จะสามารถผลักดันให้มีกฎหมายเปิดให้บุคคลสามารถเข้ามาใช้หรือเชื่อมต่อระบบท่อส่งก๊าซธรรมชาติและสถานีแปรสภาพก๊าซธรรมชาติเหลว (Third Party Access Code) ให้ได้อย่างน้อย 1 ประเทศ ทั้งนี้ ในปัจจุบัน ไทย สิงคโปร์ และมาเลเซีย ได้มีกฎหมายฉบับดังกล่าวแล้ว และ 3.ด้านพลังงานทดแทนและด้านประสิทธิภาพและอนุรักษ์พลังงาน ซึ่งอาเซียนมีเป้าหมายในการเพิ่มสัดส่วนการใช้พลังงานหมุนเวียนให้ได้ร้อยละ 23 ของการใช้พลังงานขั้นสุดท้ายภายในปี 2025 ซึ่งในปัจจุบัน อาเซียนมีสัดส่วนการใช้พลังงานหมุนเวียนอยู่ที่ร้อยละ 12-13 สำหรับการลดความเข้มข้นในการใช้พลังงานลงร้อยละ 30 ภายในปี 2025 อาเซียนสามารถลดความเข้มข้นในการใช้พลังงานลงได้ร้อยละ 15.92 อย่างไรก็ดี ที่ประชุมได้

แสดงถึงความมุ่งมั่นในการดำเนินการให้บรรลุตามเป้าหมายที่ตั้งไว้ พร้อมทั้งให้มีการติดตามและรายงานข้อมูลดังกล่าวอย่างต่อเนื่อง

ในส่วนของการส่งโครงการเข้าประกวดเพื่อรับรางวัล ASEAN Energy Awards 2107 ไทยส่งโครงการด้านการอนุรักษ์พลังงานและประสิทธิภาพพลังงาน จำนวน 13 รางวัล ด้านพลังงานทดแทน จำนวน 11 รางวัล เข้าร่วมประกวด ASEAN Energy Awards รวมถึง ส่งโครงการที่ได้รับรางวัลจาก Thailand Coal Awards 2017 เข้าร่วมประกวดรางวัล ASEAN Coal Awards 2017 จำนวน 7 รางวัล ซึ่งการส่งโครงการเข้าประกวดในครั้งนี้ แสดงถึงความตั้งใจและการสนับสนุนต่อผู้ประกอบการ หน่วยงานต่างๆ ให้เกิดความตระหนักรู้ในการใช้พลังงานอย่างมีประสิทธิภาพ ส่งเสริมการประกอบการที่ดีด้านถ่านหินในอาเซียน พร้อมทั้งเป็นการแสดงความเป็นผู้นำของไทยในด้านพัฒนาพลังงานทดแทน ทั้งนี้ จะมีการประกาศผลโครงการที่ได้รับรางวัลในช่วงการประชุมรัฐมนตรีอาเซียนด้านพลังงาน ครั้งที่ 35 ในเดือนกันยายน 2560 ณ กรุงมะนิลา ประเทศฟิลิปปินส์ ต่อไป

กิจกรรมประกวดวาดภาพเทิดพระเกียรติฯ ปีที่ 5 ในหัวข้อ “มีพลังงาน มีความสุข”

ขอเชิญทุกท่านส่งภาพวาดเข้าประกวด กิจกรรมประกวดวาดภาพเทิดพระเกียรติฯ ปีที่ 5 ในหัวข้อ “มีพลังงาน มีความสุข” สามารถอ่านรายละเอียดการส่งเข้าประกวดจากโปสเตอร์ และสามารถดาวน์โหลดใบสมัครเข้าร่วมโครงการได้ที่นี่ … ใบสมัคร
โดยการส่งผลงานเข้าร่วมโครงการได้ตั้งแต่บัดนี้ – วันที่ 30 กันยายน 2560 โดยสามารถส่งผลงานได้ที่พิพิธภัณฑ์ศิลปะไทยร่วมสมัย MOCA
ถนนวิภาวดีรังสิต หรือทางไปรษณีย์ ตู้ ปณ.47 ปณฝ.สายไหม กทม. 10224 โดยจะ (ถือวันประทับตราไปรษณีย์เป็นสำคัญ)

รัฐมนตรีว่าการกระทรวงพลังงาน และภริยา เข้าเฝ้าถวายพระพร สมเด็จพระราชาธิบดีฮัจญี ฮัสซานัล โบลเกียห์ มูอิซซัดดิน วัดเดาละห์แห่งบรูไนดารุสซาลาม

เมื่อวันที่ 15 กรกฎาคม 2560 พลเอกอนันตพร กาญจนรัตน์ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงพลังงาน  และภริยา เข้าเฝ้าถวายพระพร สมเด็จพระราชาธิบดีฮัจญี ฮัสซานัล โบลเกียห์ มูอิซซัดดิน วัดเดาละห์แห่งบรูไนดารุสซาลามเนื่องในวโรกาสวันเฉลิมพระชนมพรรษา 71 พรรษา และเข้าร่วมงานพระราชทานเลี้ยงพระกระยาหารค่ำ ณ พระราชวังอิสตานา นูรูล อิมาน บันดาร์เสรีเบกาวันประเทศบรูไน

กระทรวงพลังงาน จับมือ กระทรวงวิทย์ ร่วมพัฒนา เทคโนโลยีระบบกักเก็บพลังงาน ขับเคลื่อนนโยบายพลังงาน 4.0 สำหรับประเทศไทย

14 กรกฎาคม 2560 กระทรวงพลังงาน โดย สำนักงานนโยบายและแผนพลังงาน (สนพ.) ร่วมกับ กระทรวงวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี โดย สำนักงานพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งชาติ (สวทช.) จัดสัมมนา “ความพร้อมของประเทศไทยกับการประยุกต์ใช้เทคโนโลยีระบบกักเก็บพลังงาน” เพื่อเป็นเวทีให้นักวิจัย นักวิชาการ ผู้ประกอบการ องค์กรภาครัฐ และเอกชน ได้ทราบถึงทิศทางการวิจัยและพัฒนาเทคโนโลยีและอุตสาหกรรมด้านระบบกักเก็บพลังงานในระดับสากล รวมถึงกรณีศึกษาและแนวทางปฏิบัติที่ดีสำหรับประยุกต์ใช้ในประเทศไทย ซึ่งระบบกักเก็บพลังงานเป็นเทคโนโลยีที่จะช่วยในการเก็บพลังงานไฟฟ้าไว้ใช้ได้นานขึ้น รองรับ Thailand 4.0 ที่จะใช้พลังงานเพิ่มสูงขึ้น โดยได้รับเกียรติจาก พลเอกสุรศักดิ์ ศรีศักดิ์ ผู้ช่วยรัฐมนตรีประจำกระทรวงพลังงาน เป็นประธานเปิดงานและปาฐกถาพิเศษ “เทคโนโลยีระบบกักเก็บพลังงานภายใต้การขับเคลื่อนนโยบายพลังงาน 4.0 สำหรับประเทศไทย” พร้อมด้วยวิทยากรผู้เชี่ยวชาญด้านเทคโนโลยีระบบกักเก็บพลังงานจากต่างประเทศ

พลเอกสุรศักดิ์ ศรีศักดิ์ ผู้ช่วยรัฐมนตรีประจำกระทรวงพลังงาน กล่าวว่า นโยบาย Thailand 4.0 ของรัฐบาล เป็นโมเดลทางธุรกิจที่เปลี่ยนเศรษฐกิจแบบเดิมไปสู่เศรษฐกิจที่ขับเคลื่อนด้วยนวัตกรรม ซึ่ง กระทรวงพลังงาน มีนโยบายในการเตรียมความพร้อมในการขับเคลื่อนนโยบายพลังงาน 4.0 หรือ Energy 4.0 ให้มีความสอดคล้องกับนโยบาย Thailand 4.0 ด้วยการใช้ “การวิจัย พัฒนา เทคโนโลยี และนวัตกรรม” ดังจะเห็นได้จากนวัตกรรมที่เพิ่มมากขึ้นในปัจจุบัน และมีผลกระทบต่อการผลิตและใช้พลังงานของประเทศ เช่น การพัฒนายานยนต์ไฟฟ้า ที่เปลี่ยนการใช้พลังงานน้ำมันเป็นไฟฟ้า หรือการนำพลังงานจากธรรมชาติ เช่น แสงแดด ลม หรือชีวมวลมาใช้ผลิตไฟฟ้าแทนพลังงานน้ำจากเขื่อน ฉะนั้น ประเทศไทยจำเป็นต้องมีการวิจัย พัฒนา เทคโนโลยี และนวัตกรรม เพื่อรับมือให้ทันต่อกระแสการเปลี่ยนแปลงนี้

“กระทรวงพลังงาน มีเป้าหมายหลักในการขับเคลื่อนนโยบาย Energy 4.0 มอบหมายให้สำนักงานนโยบายและแผนพลังงาน (สนพ.) เป็นผู้ดำเนินกการ โดยมุ่งเน้นนวัตกรรมไปที่กรอบแผนงาน 4 ด้าน คือ (1) Firm Renewable Energy หรือพลังงานทดแทน ซึ่งในด้านการผลิตไฟฟ้า มุ่งใช้พลังงานทดแทนที่เป็นพลังงานสะอาด เช่น แสงอาทิตย์ ลม หรือชีวมวล แต่ยังมีข้อจำกัดการใช้งานอยู่บ้าง ดังนั้น ต้องทำให้พลังงานดังกล่าว มีความเสถียร สามารถใช้เป็นพลังงานหลักของประเทศได้ (2) EV (Electric Vehicle) หรือยานยนต์ไฟฟ้า ซึ่งจะช่วยลดมลพิษที่เกิดจากการเผาผลาญน้ำมัน รัฐบาลไทยประกาศสนับสนุนการผลิตและใช้ยานยนต์ไฟฟ้าอย่างเต็มที่ มีการพัฒนาอุตสาหกรรมเพื่อรองรับอุตสาหกรรมยานยนต์ไฟฟ้า ทำให้สามารถชาร์จไฟฟ้าได้ทั้งจากบ้านเรือนที่พักอาศัย หรือที่ปั๊มชาร์จไฟฟ้า โดยขณะนี้กระทรวงพลังงานอยู่ระหว่างการผลักดันให้ภาคเอกชนสร้างปั๊มชาร์จไฟฟ้าให้ได้ 150 หัวจ่าย (3) Smart City – Smart Grid คือการพัฒนาชุมชนหรือเมืองอัจฉริยะ ให้ผลิตและใช้ไฟฟ้าได้เอง ทำให้สามารถบริหารจัดการพลังงานได้อย่างมีประสิทธิภาพ และ (4) Energy Storage หรือระบบกักเก็บพลังงาน ซึ่งเป็นเรื่องที่จัดสัมมนาในวันนี้ เป็นตัวจักรสำคัญ ที่จะทำให้เป้าหมายทั้ง 3 เรื่องข้างต้นสำเร็จ เนื่องจาก energy storage เป็นส่วนประกอบหลักที่จะทำให้เกิดการเก็บพลังงานไฟฟ้าไว้ให้ใช้ได้นาน ทำให้การบริหารจัดการพลังงานทดแทนให้มีความเสถียร (Firm Renewable) ทำให้ยานยนต์ไฟฟ้า (EV : Electric Vehicle) ใช้งานได้นานขึ้น ปัจจุบันเทคโนโลยี Energy storage มีความหลากหลาย ทั้งเทคโนโลยีเดิมที่มีการใช้มานาน หรือเทคโนโลยีที่กำลังได้รับความสนใจ เช่น แบตเตอรี่ลิเที่ยม รวมถึงเทคโนโลยีอนาคต เช่น supercapacitor แต่การมุ่งสร้างความสามารถของประเทศไทยให้มีความพร้อมทั้งในการผลิต และการประยุกต์ใช้นั้น จำเป็นต้องคำนึงถึงปัจจัยหลักๆ คือ ราคาต้นทุนเป็นสำคัญ นอกจากนี้การลงทุนสร้างโรงงานผลิตแบตเตอรี่ในประเทศไทย ต้องคำนึงถึงการมีวัตถุดิบในประเทศ หรือการมี supply chain ที่ครบถ้วน รวมถึงการมีนโยบายและมาตรการสนับสนุนจากภาครัฐ การสัมมนาในวันนี้ ถือเป็นโอกาสดี ที่จะได้สำรวจองค์ความรู้และหารือแลกเปลี่ยนความรู้เกี่ยวกับเทคโนโลยี นโยบาย มาตรการส่งเสริม และทิศทางการลงทุนในอุตสาหกรรม Energy storage เพื่อประเมินความพร้อมและกำหนดบริบทการพัฒนาเทคโนโลยี Energy storage ที่เหมาะสมกับประเทศไทย ทำให้เรารู้ว่า ประเทศไทยควรจะเดินอย่างไร จะเตรียมความพร้อมเรื่อง Energy storage อย่างไร เพื่อให้สอดคล้องกับนโยบาย Energy 4.0 เพื่อการพัฒนาให้ประเทศมีความยั่งยืน” ผู้ช่วยรัฐมนตรีประจำกระทรวงพลังงาน กล่าว

ด้าน นางเอมอร ชีพสุมล รองผู้อำนวยการสำนักงานนโยบายและแผนพลังงาน (สนพ.) กล่าวว่า “สืบเนื่องจากคณะกรรมการกองทุนเพื่อส่งเสริมการอนุรักษ์พลังงาน เล็งเห็นความจำเป็นในการใช้เทคโนโลยีระบบกักเก็บพลังงาน (Energy Storage) ที่มีประสิทธิภาพ สำหรับประยุกต์ใช้ร่วมกับระบบผลิตไฟฟ้าและพลังงานจากแหล่งพลังงานทดแทน เพื่อเพิ่มเสถียรภาพการผลิตและใช้พลังงานของประเทศ จึงมีมติอนุมัติงบประมาณ 765 ล้านบาท เพื่อนำไปจัดทำโครงการสนับสนุนการศึกษาวิจัยพัฒนาเทคโนโลยีระบบกักเก็บพลังงาน (Energy Storage System) ภายในระยะเวลา 2 ปี เพื่อสนับสนุนให้เกิดการประยุกต์ใช้เทคโนโลยีกักเก็บพลังงานในด้านต่างๆ โดยนำร่องการใช้งานในด้านความมั่นคงและภัยพิบัติ ด้านอุตสาหกรรม และยานยนต์ไฟฟ้า ตลอดจนการสร้างความเข้มแข็งด้านการวิจัยและพัฒนาเทคโนโลยีระบบกักเก็บพลังงานตลอดห่วงโซ่คุณค่า เพื่อสร้างฐานการพัฒนาเทคโนโลยีระบบกักเก็บพลังงานให้มีความเข้มแข็งและแข่งขันได้ในระยะยาว ทั้งนี้ได้ร่วมมือและมอบหมายให้ สำนักงานพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งชาติ (สวทช.) ซึ่งเป็นหน่วยงานวิจัยและพัฒนาเป็นผู้บริหารจัดการโครงการ”

“การดำเนินงานระยะที่ผ่านมา ตั้งแต่เดือนตุลาคม 2559 สวทช. เปิดรับข้อเสนอโครงการจัดกระบวนการพิจารณา และเสนอคณะทำงานกำกับงานวิจัยพัฒนาเทคโนโลยีระบบกักเก็บพลังงาน (Steering Committee) อนุมัติการสนับสนุนโครงการแล้ว รวม 32 โครงการ งบประมาณรวม 301,897,000 บาท เป็นงบประมาณจากกองทุนฯ 295,634,000 บาท และงบประมาณร่วมสนับสนุนจากภาคเอกชน 6,263,000 ซึ่งยังมีงบประมาณคงเหลืออีก 400,320,000 ล้านบาท ดังนั้น เพื่อให้ทิศทางและแนวทางในการดำเนินงานมีความสอดคล้องและต่อเนื่องสอดคล้องกับนโยบายของรัฐบาล สนพ. ในฐานะเลขานุการกองทุนฯ จึงร่วมมือกับ สวทช. จัดสัมมนาขึ้น เพื่อสำรวจองค์ความรู้เกี่ยวกับเทคโนโลยี นโยบาย มาตรการส่งเสริม และทิศทางการลงทุนในอุตสาหกรรมด้านระบบกักเก็บพลังงานที่มีอยู่ในปัจจุบัน ทั้งในประเทศและต่างประเทศ พร้อมแลกเปลี่ยนประสบการณ์ด้านการวิจัยและพัฒนา การกำหนดนโยบายและมาตรการส่งเสริมด้านระบบกักเก็บพลังงาน สำหรับเป็นกรณีศึกษาและแนวทางปฏิบัติที่ดีสำหรับประยุกต์ใช้ในประเทศไทย”

ภายในงานสัมมนา ได้เชิญผู้เชี่ยวชาญจากกระทรวงพลังงาน ประเทศสหรัฐอเมริกา มาบรรยายเรื่อง A review of U.S. market reforms for renewable integration, flexibility, and storage และผู้เชี่ยวชาญจาก DNV GL Clean Technology Center ประเทศสิงคโปร์ มาบรรยายเรื่อง Evolution of Energy Storage Systems Technology: Current and future รวมทั้งการเสวนาหัวข้อ “ความพร้อมของประเทศไทยกับการประยุกต์ใช้เทคโนโลยีระบบกักเก็บพลังงาน” โดยมีผู้เชี่ยวชาญด้านเทคโนโลยี ผู้แทนจากหน่วยงานดูแลกำกับนโยบาย และผู้แทนจากภาคอุตสาหกรรมในประเทศ มาแลกเปลี่ยนความรู้และอภิปรายร่วมกัน เพื่อหารือถึงบริบทการพัฒนาเทคโนโลยีระบบกักเก็บพลังงานที่เหมาะสมกับประเทศไทยต่อไป นอกจากนี้ ยังจัดแสดงนิทรรศการโครงการวิจัยที่ได้รับอนุมัติทุนสนับสนุนไปแล้ว เพื่อเป็นข้อมูลประกอบการสัมมนา ประกอบด้วย ผู้แทนทั้งจากภาครัฐ ภาคเอกชน และภาคการศึกษา

กระทรวงพลังงาน “สืบสานพระราชปณิธาน คุ้งบางกะเจ้า”

กระทรวงพลังงาน “สืบสานพระราชปณิธาน คุ้งบางกะเจ้า”
จัดกิจกรรมในศูนย์เด็กเล็กรอบคุ้งฯ

กระทรวงพลังงาน ขับเคลื่อนกิจกรรม CSR รวมพลังทำความดีถวายเป็นพระราชกุศล ณ “ศูนย์เด็กเล็กในอบต.บางยอ” และตรวจเช็คอุปกรณ์ ถังแก๊สหุงต้ม LPG ตรวจเช็คระบบไฟฟ้า ในศูนย์เด็กเล็กรอบคุ้งบางกะเจ้า เพื่อแสดงความจงรักภักดีต่อสถาบันพระมหากษัตริย์ และถวายเป็นพระราชกุศล

​วันนี้ (5ก.ค.60) นายสมนึก บำรุงสาลี รองปลัดกระทรวงพลังงาน เป็นประธานในกิจกรรมรวมพลังทำความดี เพื่อถวายเป็นพระราชกุศล “สืบสานพระราชปณิธาน คุ้งบางกะเจ้า” ณ ศูนย์พัฒนาเด็กเล็กองค์การบริหารส่วนตำบลบางยอ (วัดบางกะเจ้ากลาง) คุ้งบางกะเจ้า จ.สมุทรปราการ พร้อมด้วยข้าราชการ เจ้าหน้าที่จากกระทรวงพลังงาน และผู้นำท้องถิ่น เพื่อแสดงความจงรักภักดีต่อสถาบันพระมหากษัตริย์ เนื่องในโอกาสวันเฉลิมพระชนมพรรษาสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวมหาวชิราลงกรณบดินทรเทพยวรางกูร วันที่ 28 กรกฎาคม 2560 นี้

​นายสมนึก กล่าวว่า กระทรวงพลังงานและภาคีเครือข่าย ได้จัดกิจกรรมพัฒนาศูนย์เด็กเล็กองค์การบริหารส่วนตำบลบางยอ ในการปรับภูมิทัศน์ เช่น การทาสีอาคารศูนย์พัฒนาเด็กเล็ก การปรับพื้นที่รอบศูนย์ ปลูกต้นไม้และเปลี่ยนหลอดไฟฟ้าแบบประหยัดพลังงาน เพื่อให้ศูนย์พัฒนาเด็กเล็กแห่งนี้มีคุณภาพชีวิตทีดี ในพื้นที่เพิ่มขึ้น รวมทั้งกระทรวงพลังงาน ยังได้ตรวจเช็คอุปกรณ์ ถังแก๊สหุงต้ม เปลี่ยนหลอดไฟประหยัดพลังงาน พร้อมตรวจเช็คอุปกรณ์ไฟฟ้าให้มีสภาพความพร้อม เพื่อรองรับในช่วงฤดูฝน ภายในศูนย์เด็กเล็กรอบพื้นที่คุ้งบางกะเจ้า ทั้งนี้ โดยความร่วมมือจากทุกฝ่ายทั้งหน่วยงานภายใต้สังกัด ชุมชน และประชาชนในพื้นที่

​“กระทรวงพลังงานได้เล็งเห็นความสำคัญของการอนุรักษ์และพัฒนาพื้นที่สีเขียวของคุ้งบางกะเจ้า ประกอบด้วย 6 ตำบล ได้แก่ ตำบลบางกะเจ้า ตำบลบางน้ำผึ้ง ตำบลบางกอบัว ตำบลบางกระสอบ ตำบลบางยอ และตำบลทรงคะนอง อำเภอพระประแดง จังหวัดสมุทรปราการ ซึ่งเป็นพื้นที่สีเขียวผืนสุดท้ายของพื้นที่ใกล้เคียงกรุงเทพมหานคร และปริมณฑล รวมทั้งต้องการส่งเสริมให้เกิดการอนุรักษ์วิถีชุมชนดั้งเดิมตามแนวพระราชดำริ และเป็นต้นแบบการพัฒนาแบบมีส่วนร่วมของคนในท้องถิ่น อันจะนำมาซึ่งการพัฒนาอย่างยั่งยืนต่อไป” นายสมนึกกล่าว

กระทรวงพลังงานนำคณะสื่อมวลชนในพื้นที่จังหวัดสมุทรสงคราม ร่วมศึกษาดูงานวิสาหกิจชุมชนกลุ่มแป้งร่ำ ตำบลบางนางลี่ อำเภออัมพวา และศูนย์เรียนรู้เพื่อการพัฒนาเศรษฐกิจพอเพียงบ้านสารภี อำเภอบางคนที จังหวัดสมุทรสงคราม

สำนักงานพลังงานจังหวัดสมุทรสงคราม นำคณะสื่อมวลชนในพื้นที่จังหวัดสมุทรสงคราม ร่วมศึกษาดูงานวิสาหกิจชุมชนกลุ่มแป้งร่ำ ตำบลบางนางลี่ อำเภออัมพวา และศูนย์เรียนรู้เพื่อการพัฒนาเศรษฐกิจพอเพียงบ้านสารภี อำเภอบางคนที จังหวัดสมุทรสงคราม ส่งเสริมพลังงานทดแทนเพิ่มมูลค่าผลิตภัณฑ์ สร้างรายได้ ลดรายจ่ายในท้องถิ่น และการส่งเสริมองค์ความรู้ด้านเทคโนโลยีพลังงานทดแทนต่อยอดสู่การบริหารจัดการพลังงานในชุมชนอย่างครบวงจร เพื่อสร้างความมั่นคงด้านพลังงานในชุมชนอย่างยั่งยืน

​จังหวัดสมุทรสงคราม-วันนี้( 3 กรกฎาคม 2560) ว่าที่ร้อยเอกศตวรรธน์ ดุษฎีเสนีย์ พลังงานจังหวัดสมุทรสงคราม เปิดเผยว่า โครงการส่งเสริมพลังงานทดแทนในชุมชนของวิสาหกิจชุมชนกลุ่มแป้งร่ำ ตำบลบางนางลี่ อำเภออัมพวา และศูนย์เรียนรู้เพื่อการพัฒนาเศรษฐกิจพอเพียงบ้านสารภี ตำบลจอมปลวก อำเภอบางคนที จังหวัดสมุทรสงคราม ถือเป็นโครงการที่สำนักงานพลังงานจังหวัดสมุทรสงคราม กระทรวงพลังงาน ได้ดำเนินการต่อยอดตามนโยบายกระทรวงพลังงานที่ต้องการสนับสนุนการใช้พลังงานทดแทนในชุมชน เพื่อยกระดับให้ชุนชนเป็นชุมชนบริหารจัดการตนเองด้านพลังงานอย่างครบวงจร
โดยในกลุ่มของวิสาหกิจชุมชนกลุ่มแป้งร่ำ ตำบลบางนางลี่ อำเภออัมพวา เป็นกลุ่มที่นำผลิตภัณฑ์จากเกลือจืดมาแปรรูปเป็นผลผลิตภัณฑ์แป้งร่ำ และต่อยอดเป็นผลิตภัณฑ์อื่นๆ ได้แก่ แป้งพอกหน้า แป้งขัดผิว แป้งแต้มสิว และแป้งหอมพฤกษาพรรณ เป็นต้น ซึ่งในการผลิตสินค้าต่างๆ ทางชุมชนจะประสบปัญหาเรื่องมาตรฐานผลิตภัณฑ์ และใช้เวลานานในการอบแห้งผลิตภัณฑ์เนื่องจากต้องพึ่งพาแสงแดดจากธรรมชาติ ซึ่งในวันที่ฝนตกก็ไม่สามารถดำเนินการได้ นอกจากนี้ ยังใช้แรงงานจำนวนมากในการผลิตแต่ละครั้ง ทำให้มีต้นทุนสูง ดังนั้น เพื่อเป็นการแก้ปัญหาดังกล่าว กรมพัฒนาพลังงานทดแทนและอนุรักษ์พลังงาน (พพ.) จึงได้สนับสนุนโรงอบแห้งพลังงานแสงอาทิตย์ให้กับกลุ่มวิสาหกิจชุมชนกลุ่มแป้งร่ำ จำนวน 2 โรง ขนาด 8.00 เมตรx12.40 เมตร โดยงบประมาณกองทุนส่งเสริมการอนุรักษ์พลังงานจำนวน 1,600,000 บาท ซึ่งภายหลังจากการสนับสนุนเทคโนโลยีดังกล่าวช่วยให้สามารถลดระยะเวลาในขั้นตอนผลิตจาก 4 วัน เหลือเพียง 2 วัน ช่วยลดต้นทุนการผลิต เช่น ค่าใช้จ่ายด้านพลังงานและค่าแรงงาน รวมประมาณ 500,000 บาทต่อปี ที่สำคัญทำให้ผลิตภัณฑ์ได้มาตรฐาน
สร้างมูลค่าเพิ่มผลิตภัณฑ์ และเพิ่มรายได้ให้กับกลุ่มวิสาหกิจชุมชนกลุ่มแป้งร่ำอีกด้วย

พลังงานจังหวัดสมุทรสงคราม กล่าวว่า สำหรับศูนย์เรียนรู้เพื่อการพัฒนาเศรษฐกิจพอเพียงบ้านสารภีตำบลจอมปลวก อำเภอบางคนที จังหวัดสมุทรสงคราม ถูกพัฒนาขึ้นมาโดยนายสุชล สุขเกษม เกตรกรในพื้นที่อำเภอบางคนทีเพื่อให้เป็นศูนย์การเรียนรู้และถ่ายทอดเทคโนโลยีด้านเศรษฐกิจพอเพียงและเทคโนโลยีพลังงานชุมชน โดยมีเป้าหมายเพื่อสร้างความรู้และเป็นต้นแบบการพัฒนาอาชีพและคุณภาพชีวิตของคนในชุมชนอย่างครบวงจร ซึ่งทางสำนักงานพลังงานจังหวัดสมุทรสงคราม ได้เล็งเห็นถึงประโยชน์ในการร่วมสร้างองค์ความรู้ด้านพลังงานทดแทนสู่ชุมชน และส่งเสริมให้ชุมชนในพื้นที่สามารถยกระดับเป็นชุมชนบริหารจัดการตนเองด้านพลังงานอย่างครบวงวร จึงได้ร่วมสนับสนุนเทคโนโลยีพลังงาน ประกอบด้วย ตู้อบแห้งพลังงานแสงอาทิตย์ จักรยานสูบน้ำ แผงโซลาร์สำหรับการสูบน้ำ แผงโซลาร์เพื่อการเพิ่มออกซิเจนในน้ำ

เตาเผาถ่าน 200 ลิตรแบบตั้งและนอน เตาชีวมวล เตาเศรษฐกิจ ตลอดจนข่าวสาร เอกสารทางวิชาการด้านเทคโนโลยีพลังงาน และด้านการอนุรักษ์พลังงาน และชุดสาธิตไบโอดีเซลแบบถังกวนเล็ก เป็นต้น เพื่อใช้เป็นต้นแบบในการอบรม และการสาธิต
เป็นองค์ความรู้ให้กับผู้ที่สนใจ ซึ่งปัจจุบันมีชุมชน หน่วยงานต่างๆ ทั้งภาครัฐ เอกชน และสถาบันการศึกษา ทั้งภายในจังหวัดสมุทรสงคราม และจังหวัดอื่นๆ ให้ความสนใจมาศึกษาดูงานภายในศูนย์เป็นจำนวนมาก เนื่องจากสามารถนำไปต่อยอดพัฒนาคุณภาพชีวิตทั้งในภาคครัวเรือน และชุมชนได้อย่างครบวงจร

กระทรวงพลังงานพาสื่อมวลชนท้องถิ่นดูงานศูนย์การศึกษาพัฒนาอ่าวคุ้งกระเบน

สำนักงานพลังงานจังหวัดจันทบุรี ติดตั้งระบบโซลาร์เซลล์ ลดค่าใช้จ่ายด้านพลังาน และเพิ่มประชากร ปูม้าไข่ ส่งเสริมการทำประมงชายฝั่ง สร้างความอุดมสมบูรณ์ในศูนย์การศึกษาพัฒนาอ่าวคุ้งกระเบน

สำนักงานพลังงานจังหวัดจันทบุรี กระทรวงพลังงาน นำคณะสื่อมวลชนในพื้นที่จังหวัดจันทบุรี ร่วมศึกษาดูงาน โครงการส่งเสริมการใช้พลังงานทดแทนในศูนย์ศึกษาการพัฒนาอ่าวคุ้งกระเบนอันเนื่องมาจากพระราชดำริ ตำบลคลองขุด อำเภอท่าใหม่ จังหวัดจันทบุรี ชมศักยภาพพลังงานทดแทนเพื่อส่งเสริมการอนุรักษ์และเพิ่มทรัพยากรปูไข่ ในการทำประมงชายฝั่ง สร้างรายได้และความเป็นอยู่ที่ดีอย่างยั่งยืนให้ประชาชนในพื้นที่

จังหวัดจันทบุรี-วันนี้ ( 30 มิถุนายน 2560) นางจันทร์ทิพย์ แสนเขียววงศ์ พลังงานจังหวัดจันทบุรี เปิดเผยว่า โครงการส่งเสริมการใช้พลังงานทดแทนในศูนย์ศึกษาการพัฒนาอ่าวคุ้งกระเบนอันเนื่องมาจากพระราชดำริ สำหรับธนาคารปูม้าไข่ เป็นโครงการภายใต้โครงการพลังงานชุมชนเพื่อชุมชนจัดการตนเองด้านพลังงาน ปี 2560 (Block grant) งบประมาณโดยกองทุนส่งเสริมการอนุรักษ์พลังงาน จำนวน 840,000 บาท เพื่อดำเนินการสนับสนุนการจัดหาและติดตั้งระบบเติมอากาศในบ่ออนุบาลปูม้าไข่ด้วยพลังงานแสงอาทิตย์ขนาด 1,500 วัตต์ และอุปกรณ์อื่นๆ ที่เกี่ยวข้อง จำนวน 4 ระบบ เพื่อการอนุรักษ์และเพิ่มทรัพยากรปูไข่ในการทำประมงชายฝั่ง ในพื้นที่ตำบลท่าใหม่ อำเภอคลองขุด จังหวัดจันทบุรี รวมถึงการสนับสนุนให้เกิดการใช้พลังงานทดแทนในการบริหารจัดการทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมที่มีความเหมาะสม
ทั้งนี้ โครงการดังกล่าวสามารถลดภาระค่าใช้จ่ายด้านพลังงานได้กว่า 29,500 บาทต่อปี และสามารถเพิ่มสัดส่วนการผลิตและการใช้พลังงานไฟฟ้าจากพลังงานทดแทนตามนโยบายของกระทรวงพลังงานได้ไม่น้อยกว่า 0.67 toeต่อปี หรือ คิดเป็น 7,800 หน่วยต่อปี ที่สำคัญยังส่งผลให้ประชาชนได้รับประโยชน์จากการทำประมงชายฝั่งโดยเพิ่มความอุดมสมบูรณ์ของสัตว์น้ำในพื้นที่มากยิ่งขึ้น สร้างรายได้และความเป็นอยู่ที่ดีอย่างยั่งยืนให้กับประชาชนในพื้นที่ นอกจากนี้ ยังสร้างสิ่งแวดล้อมและระบบนิเวศที่ดีเนื่องจากสามารถลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจกจากการใช้พลังงานไฟฟ้าได้อีกด้วย
“ศูนย์ศึกษาการพัฒนาอ่าวคุ้งกระเบน อันเนื่องมาจากพระราชดำริ และชาวประมงพื้นบ้าน ริเริ่มจัดทำโครงการธนาคารปูไข่เพื่ออนุรักษ์และเพิ่มทรัพยากรปูม้า มาตั้งแต่ปี พ.ศ. 2559 โดยจะนำปูม้าไข่แก่นอกกระดองที่ชาวประมง จับได้มาแยกไข่ออกจากแม่ปู จากนั้นนำไข่มาฟักและอนุบาลตัวอ่อนก่อนปล่อยกลับคืนสู่ธรรมชาติ โดยขั้นตอน การดำเนินการดังกล่าวจำเป็นต้องใช้ระบบและอุปกรณ์ที่ต้องใช้พลังงานไฟฟ้าและไฟฟ้า ซึ่งทำให้โครงการมีต้นทุนค่าไฟฟ้าสูงพอสมควร นอกจากนนี้ บางครั้งยังประสบปัญหาไฟฟ้าตกดับทำให้ลูกปูม้าไข่ที่อนุบาลไว้ขาดออกซิเจนเกิดความเสียหายอย่างมาก ทางสำนักงานพลังงานจังหวัดจันทบุรีเห็นว่า โครงการดังกล่าวเป็นประโยชน์ต่อประชาชนในพื้นที่ เพราะใช้พลังงานทดแทนช่วยบริหารจัดการทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมที่มีความเหมาะสม จึงได้ร่วมสนับสนุนการใช้พลังงานทดแทนขึ้นในศูนย์ศึกษาการพัฒนาอ่าวคุ้งกระเบนอันเนื่องมาจากพระราชดำริ เพื่อส่งเสริมให้โครงการดังกล่าวสามารถเป็นต้นแบบการทำประมงพื้นบ้านที่มีความยั่งยืน และขยายผลไปสู่กลุ่มชาวประมงพื้นบ้านในพื้นที่อื่นอีกต่อไป” พลังงานจังหวัดจันทบุรี กล่าว

กระทรวงพลังงาน มอบรางวัลประกวดออกแบบตราสัญลักษณ์ หัวข้อ “ผลิตภัณฑ์ชุมชน ลดใช้พลังงาน”

          กระทรวงพลังงาน จัดพิธีมอบรางวัลประกวดออกแบบตราสัญลักษณ์ ในหัวข้อ “ผลิตภัณฑ์ชุมชนลดใช้พลังงาน” เงินรางวัลกว่า 50,000 บาท โดยมี ดร.อารีพงศ์ ภู่ชอุ่ม ปลัดกระทรวงพลังงาน เป็นประธานในพิธี พร้อมด้วยผู้บริหารกระทรวงพลังงาน มอบโล่ เงินรางวัล ณ ห้องประชุม 9 ชั้น 15 สำนักงานปลัดกระทรวงพลังงาน
          ดร.อารีพงศ์ ภู่ชอุ่ม ปลัดกระทรวงพลังงาน เปิดเผยว่า “การประกวดออกแบบตราสัญลักษณ์ ในหัวข้อ “ผลิตภัณฑ์ชุมชน ลดใช้พลังงาน” เป็นอีกหนึ่งกิจกรรมในการลดการใช้พลังงานในกลุ่มแปรรูปผลิตภัณฑ์ของชุมชน ปัจจุบันมีการดำเนินงานส่งเสริมไปแล้วประมาณ 188 กลุ่ม ทำให้เกิดการลดการใช้พลังงานมากกว่า 5 ล้านบาท/ปี และเพื่อเป็นการสร้างเอกลักษณ์พร้อมกับประชาสัมพันธ์ผลิตภัณฑ์ที่สามารถลดการใช้พลังงานในขั้นตอนการผลิตได้ และยังเพื่อสร้างโอกาสการขยายผลทางตลาดของกลุ่มผลิตภัณฑ์ชุมชน ลดใช้พลังงาน ทั้งในแง่ของผู้ผลิตและผู้บริโภค ที่ห่วงใยในการใช้พลังงานและทรัพยากรของโลก ทั้งนี้ผลงานตราสัญลักษณ์ที่ชนะการประกวด จะถูกนำไปใช้งานบนบรรจุภัณฑ์หรือผลิตภัณฑ์ที่เข้าร่วมโครงการกับกระทรวงพลังงาน ที่มีการพัฒนาหรือเปลี่ยนแปลงกระบวนการผลิตหรือการแปรรูป โดยคุณสมบัติของผลิตภัณฑ์ที่จะได้รับตราสัญลักษณ์ฯ จะต้องสามารถลดการใช้พลังงานหรือประหยัดเงินค่าพลังงาน จากเดิมลงได้ไม่น้อยกว่าร้อยละ 25 หรือสามารถลดระยะเวลาการแปรรูป จากเดิมลงได้ไม่น้อยกว่าร้อยละ 25 หรือใช้พลังงานหมุนเวียนแทนพลังงานฟอสซิล ซึ่งการประกวดตราสัญลักษณ์ได้รับความสนใจจากเยาวชนและประชาชนทั่วประเทศเป็นจำนวนมาก เข้าร่วมส่งผลงานกว่า 74 ผลงาน โดยตราสัญลักษณ์ต้องสามารถสื่อความหมายตามหัวข้อ “สัญลักษณ์ผลิตภัณฑ์ชุมชน ลดใช้พลังงาน” มีความคิดริเริ่มสร้างสรรค์ สวยงาม จดจำง่าย สามารถนำไปใช้ได้จริง และสอดคล้องกับ LOGO กระทรวงพลังงาน”

 

ผลงานที่ชนะการประกวดออกแบบตราสัญลักษณ์ “ผลิตภัณฑ์ชุมชน ลดใช้พลังงาน”
ชื่อผลงานการประกวด Reduce Nergy โดย นางสาวธัญชนก ศิรนันทสกุล
แนวความคิด 
Reduce คือการลด Nergy มาจากคำว่า Energy โดยการตัด E หน้า Energy ออก เพื่อไม่ให้มีคำอ่านที่นำหน้าว่า End (สิ้นสุด) ของพลังงานซ่อนอยู่
ในส่วนของการออกแบบได้นำสัญลักษณ์กระทรวงพลังงานมาดัดแปลง เพื่อให้     โลโก้มีกลิ่นอายไม่หลุดจากความเป็นกระทรวงพลังงาน ซึ่งนำมาใช้เป็นตัวแทนของผลิตภัณฑ์ชุมชนมาผสมผสานกับพลังงานสีเขียวในลักษณะห้อมล้อมกัน หมายถึงผลิตภัณฑ์ที่มีความมุ่งมั่นในการตัดลดทอนการใช้ทรัพยากรในกระบวนการผลิตแปรรูป
 ทั้งนี้ ผลงาน Reduce Nergy โดย นางสาวธัญชนก ศิรนันทสกุล ที่ชนะการประกวด จะถูกนำไปใช้งานบนบรรจุภัณฑ์หรือผลิตภัณฑ์ที่เข้าร่วมโครงการกับกระทรวงพลังงาน และจัดแสดงในงานมหกรรมตลาดนัดพลังงานชุมชน “10 ปี พลังงานชุมชน” 4 จังหวัด ในทั่วทุกภูมิภาค โดยภายในงานจะมีการแสดงผลงานความก้าวหน้าด้านเทคโนโลยีพลังงานชุมชน ที่ใช้ได้ผลแล้วจริง เหมาะสมตามบริบทของแต่ละภูมิภาค เป็นประโยชน์สำหรับการศึกษาของผู้สนใจเกี่ยวกับความรู้ด้านพลังงาน สามารถนำมาประยุกต์ใช้ในการจัดการพลังงานในครัวเรือน ลดต้นทุนการผลิตในภาคการเกษตร และวิสาหกิจชุมชน ครั้งที่ 1 : วันที่ 5-7 กรกฏาคม ณ จังหวัดสุพรรณบุรี ครั้งที่ 2 :                       วันที่ 19-21 กรกฎาคม ณ จังหวัดพิษณุโลก ครั้งที่ 3 : วันที่ 2-4 สิงหาคม ณ จังหวัดสุราษฏร์ธานี และครั้งที่ 4 : วันที่ 16-18 สิงหาคม ณ จังหวัดอุดรธานี

รมว.พน. เป็นประธานโครงการเยาวชนกับการอนุรักษ์พลังงาน

พลเอกอนันตพร กาญจนรัตน์ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงพลังงาน เป็นประธานในพิธีปิด และมอบรางวัลโครงการความร่วมมือด้านความรับผิดชอบต่อสังคม ระหว่างการไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทย การไฟฟ้านครหลวง และการไฟฟ้าส่วนภูมิภาค ในโครงการเยาวชนกับการอนุรักษ์พลังงาน โดยมีโรงเรียนเข้าร่วมโครงการทั้งสิ้น 89 แห่งทั่วประเทศ และเครือข่ายรวมกว่า 8870 คน เป็นผลให้โรงเรียนที่เข้าร่วมโครงการสามารถประหยัดพลังงานโดยเฉลี่ย 11,890 หน่วยต่อเดือน คิดเป็นเงิน 499,380 บาทต่อปี

รองปลัดกระทรวงพลังงาน แถลงเปิดงานแสดงเทคโนโลยีและการประชุม พลังงานเพื่ออนาคตแห่งเอเชีย “ฟิวเจอร์ เอนเนอร์ยี่ เอเชีย”

วันที่ 26 มิถุนายน 2560 นายธรรมยศ ศรีช่วย รองปลัดกระทรวงพลังงานแถลงเปิดงานแสดงเทคโนโลยีและการประชุม พลังงานเพื่ออนาคตแห่งเอเชีย “ฟิวเจอร์ เอนเนอร์ยี่ เอเชีย” ซึ่งจะเป็นก้าวสำคัญไปสู่ไทยแลนด์ เอนเนอร์ยี่ 4.0 โดยวางการเปลี่ยนแปลงและพัฒนาประเทศไทยให้เป็นนโยบายหลักที่สำคัญของรัฐบาล ซึ่งจะสร้างโอกาสทางธุรกิจมหาศาลให้แก่บริษัทด้านพลังงาน ทั้งบริษัทแบบบูรณาการและเฉพาะทางจากทั่วโลก จึงทำให้งานแสดงเทคโนโลยีและการประชุม “ฟิวเจอร์ เอนเนอร์ยี่ เอเชีย” เป็นแพลตฟอร์มที่สมบูรณ์แบบสำหรับ บริษัทน้ำมันแห่งชาติ (National Oil Companies – NOCs) และบริษัทน้ำมันสากล (International Oil Companies – IOCs) ในการส่งเสริมและพัฒนาการเปลี่ยนแปลงจากการเป็นเพียงผู้ผลิตน้ำมันแบบดั้งเดิมสู่การเป็นผู้จัดหาพลังงานแบบบูรณาการ เพื่อให้เกิดการกำหนดสัดส่วนพลังงานที่มีประสิทธิภาพและมีความยั่งยืนมากขึ้นในเอเชีย

ฟิวเจอร์ เอนเนอร์ยี่ เอเชีย ภายใต้การสนับสนุนจากกระทรวงพลังงาน จะเป็นการรวมตัวกันของอุตสาหกรรมด้านพลังงานที่ใหญ่ที่สุดในเอเชีย โดยจะเน้นไปที่อุตสาหกรรมด้านน้ำมัน ก๊าซ และพลังงานทดแทน และเป็นเวทีจัดแสดงที่นำเอาการผสมผสานของพลังงานหลายประเภทและเทคโนโลยีที่มีความสมบูรณ์แบบ เพื่อตอบสนองต่อความต้องการที่เพิ่มขึ้น รวมถึงการเพิ่มประสิทธิภาพ และสนับสนุนให้เกิดการเปลี่ยนแปลงสู่ระบบเศรษฐกิจคาร์บอนต่ำ งานจะจัดขึ้นในวันที่ 12-14 ธันวาคม 2561 ณ ศูนย์นิทรรศการและการประชุมไบเทค กรุงเทพฯ โดยมีกระทรวงพลังงานเป็นประธานเปิดงานท่ามกลางผู้ทรงเกียรติในทุกภาคส่วน อาทิ ผู้แทนภาครัฐ ผู้นำด้านอุตสาหกรรมพลังงาน ร่วมกับบริษัท ดีเอ็มจี อีเว้นท์ ผู้จัดงานแสดงสินค้าระดับนานาชาติ และบริษัท เอ็กซ์โปซิส จำกัด ผู้ร่วมจัดงานที่เชี่ยวชาญจากประเทศไทย

นายธรรมยศ ศรีช่วย กล่าวว่า “เรารู้สึกยินดีจะได้เป็นเจ้าภาพจัดงานฟิวเจอร์ เอนเนอร์ยี่ เอเชีย 2018 และรอต้อนรับผู้แทนองค์กรต่างๆ ที่จะไปร่วมในงาน เพื่อการพัฒนาอย่างต่อเนื่องในอุตสาหกรรมด้านพลังงานของโลก การตัดสินใจและความสัมพันธ์ที่จะบังเกิดขึ้น จะช่วยให้เกิดความร่วมมือกันและผลักดันเชิงเศรษฐกิจของอุตสาหกรรมด้านพลังงานในอนาคตให้เติบโตขึ้นได้ ไทยแลนด์ 4.0 หมายถึงโอกาสและการเปลี่ยนแปลงของภาคส่วนพลังงานของประเทศเช่นกัน ในขณะที่เรากำลังก้าวเข้าสู่โลกที่ไร้คาร์บอนเข้าไปทุกที การผลิตและการบริโภคพลังงานจะต้องปรับตัวครั้งใหญ่เพื่อเป็นการรับประกันว่าจะสามารถตอบสนองต่อความต้องการของประชากรที่เพิ่มจำนวนขึ้น โดยการจัดงานในประเทศไทยครั้งนี้สะท้อนให้เห็นถึงความพยายามอย่างต่อเนื่องของประเทศในการส่งเสริมโครงการใหม่ ดึงดูดการลงทุนในภาคส่วนพลังงาน และสื่อสารองค์รวมให้แก่นักลงทุนระดับนานาชาติขนาดใหญ่ ซึ่งเป็นตัวแปรสำคัญที่จะทำให้ประเทศเข้าไปอยู่บนแผนที่ของโอกาสแห่งการลงทุน”

 

กระทรวงพลังงาน ร่วมกับประเทศนอร์เวย์ เดินหน้าเร่งสร้างความรู้ความเข้าใจด้าน LNG เพื่อรองรับการนำเข้าที่เพิ่มขึ้น

วันจันทร์ที่ 26 มิถุนายน 2560 พลเอก อนันตพร กาญจนรัตน์ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงพลังงาน เป็นประธานในพิธีเปิดงานสัมมนาความร่วมมือด้าน LNG ระหว่างประเทศนอร์เวย์และประเทศไทย ณ ห้องประชุม 9 ชั้น 15 ศูนย์เอนเนอร์ยี่ คอมเพล็กซ์ อาคารบี กรุงเทพฯ โดยมีเจ้าหน้าที่กระทรวงพลังงาน กรมเชื้อเพลิงธรรมชาติ หน่วยงานราชการ รัฐวิสาหกิจ มหาวิทยาลัย บริษัทเอกชน และสื่อมวลชน เข้าร่วมการสัมมนาดังกล่าว จัดขึ้นโดยความร่วมมือระหว่างกระทรวงพลังงาน โดยกรมเชื้อเพลิงธรรมชาติ และกระทรวงการต่างประเทศ กับประเทศนอร์เวย์ โดยสถานฑูตนอร์เวย์ประจำประเทศไทย ซึ่งมีวัตถุประสงค์เพื่อสร้างความรู้ความเข้าใจในธุรกิจ LNG และเทคโนโลยีที่ทันสมัย รวมถึงการกำกับดูแลของภาครัฐ ทั้งนี้เนื่องจากประเทศนอร์เวย์เป็นประเทศที่มีทรัพยากรทั้งน้ำมันและก๊าซธรรมชาติ จึงเป็นการสร้างโอกาสในการแลกเปลี่ยนเรียนรู้แนวทางการใช้ LNG ในรูปแบบอื่นๆ ร่วมกัน อาทิ สถานีแปรสภาพก๊าซธรรมชาติที่ถูกทำให้เหลวเป็นก๊าซธรรมชาติแบบลอยน้ำ (Floating Storage Regasification Unit : FSRU หรือ Small scale LNG)


พลเอก อนันตพร กาญจนรัตน์ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงพลังงาน กล่าวว่า รัฐบาลไทย โดยกระทรวงพลังงาน กำหนดแผนบริหารจัดการก๊าซธรรมชาติ (Gas Plan 2015) เพื่อบริหารจัดการทั้งด้านความต้องการและการจัดหา โดยในส่วนของ LNG จะมีความสำคัญสำหรับประเทศไทยในอนาคตเพิ่มขึ้นเรื่อยๆ ซึ่งทางรัฐบาลได้กำหนดนโยบายในการพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานเพื่อรองรับการนำเข้า รวมทั้งนโยบายด้านการเปิดให้มีผู้สนใจเข้ามาสู่ในระบบโครงข่ายด้านก๊าซมากขึ้น ในการเตรียมความพร้อมแนวทางการแข่งขันเสรีกิจการก๊าซธรรมชาติ เพื่อให้เกิดประโยชน์ต่อประเทศและประชาชนในที่สุด


“โดยการสัมมนาในวันนี้ นอกจากจะเป็นการแลกเปลี่ยนความคิดเห็นด้านธุรกิจ LNG แล้ว ยังเป็นการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ด้านการกำกับดูแลเกี่ยวกับการดำเนินงานด้านปิโตรเลียม เพื่อให้เกิดองค์ความรู้ที่ชัดเจนและรอบด้านในการนำมาประยุกต์ใช้กับประเทศไทยให้เกิดประโยชน์สูงสุด เนื่องจากประเทศนอร์เวย์มีระบบการให้สิทธิและสำรวจปิโตรเลียมทั้งระบบสัมปทานและระบบแบ่งปันผลผลิต ซึ่งประเทศไทยก็ได้มีการปรับปรุงให้มีระบบสัญญาแบ่งปันผลผลิต (Production Sharing Contact, PSC) และสัญญาจ้างบริการ (Service Contact, SC) เพิ่มขึ้นมาใช้ร่วมกับระบบสัมปทานเดิม โดยปัจจุบันอยู่ในช่วงการปรับปรุงและดำเนินงานด้านกฎหมายต่างๆ ที่เกี่ยวข้อง รวมทั้งการเตรียมเปิดประมูลแหล่งสิ้นสุดสัมปทานแหล่งก๊าซธรรมชาติในอ่าวไทย 2 แหล่งใหญ่ คือแหล่งบงกช และแหล่งเอราวัณ ที่คาดว่าจะสามารถเปิดให้สิทธิปิโตรเลียมรอบใหม่ในช่วงปลายปี 2560” พลเอก อนันตพร กล่าว

 

สื่อมวลชนเยี่ยมชมวิสาหกิจชุมชนเปลี่ยนขยะและของเสียเป็นพลังงานงานทดแทน

สำนักงานพลังงานจังหวัดอุตรดิตถ์ ร่วมกับ วิสาหกิจชุมชนคนรักษ์พลังงาน และเทศบาลตำบลป่าเซ่า ส่งเสริมเทคโนโลยีก๊าซชีวภาพเปลี่ยนขยะและของเสียเป็นพลังงานทดแทน ลดค่าใช้จ่ายพลังงานในชุมชน

สำนักงานพลังงานจังหวัดอุตรดิตถ์ ร่วมกับ กลุ่มวิสาหกิจชุมชนคนรักษ์พลังงาน และเทศบาลตำบลป่าเซ่า ส่งเสริมการผลิตก๊าซชีวภาพจากขยะและมูลสัตว์ สร้างพลังงานทดแทนใช้ในชุมชน ช่วยลดต้นทุนค่าใช้จ่ายด้านพลังงานในครัวเรือน แก้ปัญหามลภาวะทางกลิ่นจากขยะและมูลสัตว์ พร้อมสร้างสิ่งแวดล้อมสีเขียว

จังหวัดอุตรดิตถ์ -วันนี้ (26 มิถุนายน 2560) นางสาวพัฒน์นรี กมลสุรเชษฐ์ พลังงานจังหวัดอุตรดิตถ์ เปิดเผยว่า ชุมชนบ้านห้วยบง ในพื้นที่หมู่ 7 ตำบลป่าเซ่า อำเภอเมือง จังหวัดอุตรดิตถ์ ส่วนใหญ่ประกอบอาชีพเลี้ยงสัตว์ เช่น วัว สุกร โค-กระบือ เป็ด-ไก่ เป็นต้น ซึ่งทำให้ชุมชนประสบปัญหาจากกลิ่นเหม็นของมูลสัตว์ที่ส่งผลกระทบต่อคนและสิ่งแวดล้อมในชุมชน ดังนั้น เพื่อเป็นการแก้ไขปัญหาดังกล่าว ทางสำนักงานพลังงานจังหวัดอุตรดิตถ์จึงได้ร่วมกับ กลุ่มวิสาหกิจชุมชนคนรักษ์พลังงาน และเทศบาลตำบลป่าเซ่า ในการจัดทำโครงการบ่อหมักก๊าซชีวภาพ เพื่อส่งเสริมการใช้เทคโนโลยีก๊าซชีวภาพในการเปลี่ยนมูลสัตว์ต่างๆ เป็นพลังงานทดแทนสำหรับใช้ในชุมชน

โดยสำนักงานพลังงานจังหวัดอุตรดิตถ์ กระทรวงพลังงานได้สนับสนุนงบประมาณภายใต้โครงการเพิ่มสมรรถนะด้านการบริหารและจัดการพลังงานครบวงจรในชุมชนระดับตำบลและวิสาหกิจชุมชนชน และงบประมาณภายใต้โครงการส่งเสริมและพัฒนาพลังงานทดแทน จำนวน 750,000 บาท ในการก่อสร้างบ่อหมักก๊าซชีวภาพจำนวน 50 บ่อ กระจายทั่วพื้นที่หมู่ 7 พร้อมเดินระบบท่อส่งก๊าซชีวภาพไปยังครัวเรือนในชุมชนจำนวน 50 หลังคาเรือน

ทั้งนี้ โครงการบ่อหมักก๊าซชีวภาพ มีกำลังการผลิตก๊าซชีวภาพเพื่อใช้เป็นพลังงานทดแทนรวมทั้ง 50 บ่อ จำนวน 150 ลูกบาศก์เมตรต่อวัน หรือเทียบเท่าก๊าซแอลพีจีจำนวน 69 กิโลกรัมต่อวัน ซึ่งผลผลิตดังกล่าวสามารถช่วยให้ครัวเรือนในชุมชนห้วยบงลดใช้ก๊าซแอลพีจึได้ 100% จากปกติที่ 1 ครัวเรือนจะมีปริมาณการใช้ก๊าซแอลพีจีอยู่ที่ 4 เดือนต่อ 1 ถัง (ถังละ 15 กิโลกรัม) ปัจจุบัน ครัวเรือนในพื้นที่ชุมชนห้วยบงไม่ต้องพึ่งพาก๊าซแอลพีจีจากภายนอกอีกต่อไป

“แม้ว่าของเสียจากมูลสัตว์ต่างๆ จะสร้างปัญหาให้กับสิ่งแวดล้อมในชุมชน แต่ในมุมกลับกันก็มีศักยภาพที่จะแปรเปลี่ยนเป็นพลังงานทดแทนได้ สำนักงานพลังงานจังหวัดอุตรดิตถ์จึงได้ส่งเสริมให้นำมาบริหารจัดการให้เกิดประโยชน์ จึงได้สนับสนุนให้เกิดโครงการบ่อหมักก๊าซชีวภาพขึ้นมา โดยมีเป้าหมายหลักคือ ช่วยลดรายจ่ายค่าก๊าซแอลพีจีและสนับสนุนให้ชุมชนตระหนักถึงการพึ่งพาแหล่งพลังงานที่มีศักยภาพในชุมชนแทนการการพึ่งพาพลังงานจากแหล่งภายนอก ช่วยลดกลิ่นรบกวนชุมชนที่เกิดจากมูลสัตว์ เปลี่ยนมลภาวะทางสิ่งแวดล้อมให้เป็นชุมชนสีเขียว และสร้างความมั่นคงด้านพลังงานอย่างยั่งยืนในชุมชน ตลอดจนเกิดผลพลอยได้เป็นผลิตภัณฑ์ปุ๋ยชีวภาพอัดแท่งจำหน่ายสร้างรายได้ให้กับกลุ่มวิสาหกิจชุมชนในพื้นที่ได้อีกด้วย” พลังงานจังหวัดอุตรดิตถ์ กล่าว

กระทรวงพลังงานพาสื่อมวลชนท้องถิ่นดูงานหมู่บ้านปลอดแอลพีจี

สำนักงานพลังงานจังหวัดสุโขทัย ส่งเสริมการบริหารจัดการของเสียด้วยเทคโนโลยีก๊าซชีวภาพหนุนชุมชนบ้านเสาหิน เป็นหมู่บ้านปลอดแอลพีจี ตามวิถีชีวิตชุมชนพอเพียง

สำนักงานพลังงานจังหวัดสุโขทัย กระทรวงพลังงาน ร่วมส่งเสริมเทคโนโลยีก๊าซชีวภาพเปลี่ยนมูลสัตว์และของเสียในฟาร์มเลี้ยงสัตว์ เป็นเชื้อเพลิงทดแทนก๊าซหุงต้มใช้ในฟาร์มและส่งกระจายสู่ครัวเรือนในชุมชน ยกระดับชุมชนบ้านเสาหิน อำเภอกงไกรลาศ จังหวัดสุโขทัย เป็นหมู่บ้านปลอดแอลพีจี สร้างความมั่นคงและยั่งยืนด้านพลังงานให้ชุมชนจังหวัดสุโขทัย

วันนี้ (23 มิถุนายน 2560) นายจารุเกียรติ ปัญญาดี พลังงานจังหวัดสุโขทัย กระทรวงพลังงาน เปิดเผยว่า จากข้อมูลปศุสัตว์ในพื้นที่จังหวัดสุโขทัย พบว่า มีเกษตรกรที่ประกอบอาชีพเลี้ยงสัตว์ เช่น โคนมและสุกรขุนเป็นอาชีพเสริมจากการทำนาเป็นจำนวนมาก ตั้งแต่ขนาดเล็กไปจนถึงระดับฟาร์ม ซึ่งตั้งอยู่ในบริเวณใกล้เคียงกับแหล่งอาศัยของชุมชน ทำให้ชุมชนประสบปัญหาจากกลิ่นเหม็นของมูลสัตว์และแมลงต่างๆ ดังนั้น  เพื่อเป็นการแก้ปัญหาดังกล่าว ทางสำนักงานพลังงานจังหวัดสุโขทัย กระทรวงพลังงาน จึงได้ลงพื้นที่เพื่อสำรวจ
แหล่งฟาร์มโคนมและสุกรที่มีศักยภาพสามารถผลิตก๊าซชีวภาพเพื่อเป็นพลังงานทดแทนได้  โดยได้คัดเลือกฟาร์มที่มีความสนใจและมีความพร้อมที่จะเข้าร่วมโครงการนำร่องในการบริหารจัดการของเสียที่เกิดขึ้นในฟาร์ม เพื่อเปลี่ยนเป็นเชื้อเพลิงทดแทนก๊าซหุงต้มด้วยเทคโนโลยีก๊าซชีวภาพ ซึ่งมีเป้าหมายหลักคือ ช่วยลดรายจ่ายค่าก๊าซหุงต้ม (LPG) และสนับสนุนให้ชุมชนตระหนักถึงการพึ่งพาแหล่งพลังงานที่มีศักยภาพในชุมชนแทนการการพึ่งพาพลังงานจากแหล่งภายนอก อีกทั้งยังช่วยลดกลิ่นรบกวนที่เกิดจากมูลสัตว์ และสร้างความมั่นคงด้านพลังงานอย่างยั่งยืนในชุมชนได้อีกด้วย

ทั้งนี้ อัจฉราฟาร์ม ซึ่งเป็นฟาร์มสุกรของนางอัจฉรา สุขแท้ ตั้งในพื้นที่หมู่ที่ 9 ชุมชนบ้านเสาหิน ตำบลป่าแฝก อำเภอกงไกรลาศ จังหวัดสุโขทัย นับเป็นหนึ่งในฟาร์มนำร่องที่ได้รับคัดเลือกให้เข้าร่วมโครงการส่งเสริมการรวมกลุ่มสร้างเครือข่ายกลุ่มผู้ผลิตและใช้พลังงานทดแทน ภายใต้โครงการส่งเสริมการผลิตพลังงานทดแทนในระดับชุมชน งบประประมาณโดยกองทุนเพื่อส่งเสริมการอนุรักษ์พลังงาน ที่ประสบความสำเร็จและได้ถูกยกระดับให้เป็นหมู่บ้านต้นแบบในการบริหารจัดการพลังงานอย่างครบวงจร เพื่อเป็นต้นแบบให้กับหมู่บ้านใกล้เคียงหรือ
ผู้ที่สนใจได้เข้ามาศึกษาและนำไปขยายผลในชุมชนอื่นๆ ทั่วประเทศต่อไป  โดยโครงการดังกล่าวได้รับงบประมาณสนับสนุนจำนวนทั้งสิ้น 381,037 บาท ในการก่อสร้างบ่อหมักก๊าซชีวภาพประเภทโดมคงที่ (Fixed Dome) ขนาด 100 ลูกบาศก์เมตร พร้อมเดินระบบท่อส่งก๊าซชีวภาพไปยังชุมชนจำนวน 33 ครัวเรือน โดยชุมชนให้ความร่วมมือในการขุดดินเพื่อวางแนวท่อหลักไปยังครัวเรือนแต่ละหลังคาเรือน และร่วมกันกำกับดูแลความปลอดภัยของแนวท่อส่งก๊าซชีวภาพ

“ปัจจุบัน จากการเข้าร่วมชุมชนดังกล่าว ชุมชนบ้านเสาหินสามารถลดการใช้ก๊าซหุงต้มได้ 100% จากเดิมที่มีปริมาณการใช้ก๊าซแอลพีจีอยู่ที่ 2,550 กิโลกรัมต่อปี คิดเป็นผลประหยัดค่าใช้จ่ายประมาณ 49,300 บาทต่อปี หรือคิดเป็น 2.44 ตันเทียบเท่าน้ำมันดิบ นอกจากนี้ ยังสามารถลดมลภาวะสิ่งแวดล้อมจากกลิ่นมูลสัตว์และของเสียจากฟาร์ม ทำให้ชุมชน ฟาร์ม และกลุ่มผู้ประกอบอาชีพเลี้ยงสัตว์สามารถอยู่ร่วมกันได้ และยกระดับให้เป็นหมู่บ้านปลอดแอลพีจี สามารถลดการพึ่งพาพลังงานจากภายนอก แต่พึ่งพาพลังงานทดแทนที่ชุมชนมีศักยภาพ ตามวิถีชีวิตชุมชนพอเพียง” พลังงานจังหวัดสุโขทัย กล่าว

Page 13 of 15
1 11 12 13 14 15