การประชุมคณะกรรมการประเมินผลการควบคุมภายในของ สป.พน. และ สร. ปีงบประมาณ 2565 (ครั้งที่ 3/2565)

  1. ระเบียบวาระการประชุม ครั้งที่ 3/2565    คลิกที่นี่
  2. ppt การประชุมควบคุมภายในของ สป.พน. และ สร. ครั้งที่ 3/2565    คลิกที่นี่
  3. รายงานแบบติดตาม ปค.5    คลิกที่นี่
  4. รายงานการประชุมฯ ของ สป.พน และ สร. ครั้งที่ 2/2565    คลิกที่นี่

ขอความอนุเคราะห์รายงานความก้าวหน้าการขับเคลื่อนเป้าหมายการพัฒนาที่ยั่งยืน (SDGs)

  1. แบบฟอร์มความเชื่อมโยงระหว่างเป้าหมายการพัฒนาที่ยั่งยืน (SDGs) และแผนแม่บทภายใต้ยุทธศาสตร์ชาติ คลิกที่นี่
  2. แนวทางการประเมินสถานะการดำเนินการเพื่อบรรลุ SDGs ของประเทศไทย คลิกที่นี่
  3. แบบฟอร์มเป้าหมายการพัฒนาที่ยั่งยืน หัวข้อที่ 7 คลิกที่นี่
  4. โครงร่างรายงานความก้าวหน้าการขับเคลื่อนเป้าหมายการพัฒนาที่ยั่งยืน (เป้าหมายย่อย) คลิกที่นี่
  5. โครงร่างข้อมูลตัวชี้วัด (Metadata) คลิกที่นี่

ทั้งนี้ ท่านสามารถดูตัวอย่างเพิ่มเติมเพื่อจัดทำข้อมูล จากเล่มรายงานความก้าวหน้าเป้าหมายการพัฒนาที่ยั่งยืนของประเทศไทย พ.ศ. 2559-2563 (Thailand’s SDSG Report 2016-2020) ที่ สศช. เผยแพร่ตามลิงก์ https://sdgs.nesdc.go.th/exhibitions/brightleapforward2021/report2016-2020/

เอกสารประกอบการประชุมเชิงปฏิบัติการ เรื่อง “การปรับปรุงประสิทธิภาพการจัดทำแผนยุทธศาสตร์ เชิงพื้นที่และการขับเคลื่อนนโยบายของกระทรวงพลังงาน”

ช่วงเช้า

  1. การจัดทำแผนยุทธศาสตร์เชิงพื้นที่และขับเคลื่อนนโยบายของกระทรวงพลังงาน (กยผ.) คลิกที่นี่
  2. การขับเคลื่อนการประหยัดพลังงานสำหรับอาคารควบคุมภาครัฐในจังหวัด (พพ.) คลิกที่นี่

ช่วงบ่าย

  1. การมอบแนวทางการดำเนินงานตามนโยบายสู่ภาค คลิกที่นี่
  2. ระเบียบการจัดซื้อ/เช่า รถยนต์ไฟฟ้า (กก.) คลิกที่นี่
  3. การขับเคลื่อนด้านพลังงานเชิงพื้นที่ (กศร.) คลิกที่นี่
  4. แนวทางลดการใช้พลังงานของภาครัฐ: EUI (กตร.) คลิกที่นี่
  5. การขับเคลื่อนงานสวนภูมิภาค (สกทอ.) คลิกที่นี่ 
  6. การสื่อสาร สร้างความตระหนักลดการใช้พลังงาน (กยผ.) คลิกที่นีี่

 

การประชุมเชิงปฏิบัติการ เรื่องการปรับปรุงประสิทธิภาพการจัดทำแผนยุทธศาสตร์ เชิงพื้นที่และการขับเคลื่อนนโยบายของกระทรวงพลังงาน

  1. link เข้าร่วมการประชุมฯ Meeting ID: 922 9126 1881
    Passcode: 708028 คลิกที่นี่

การเตรียมข้อมูลเพื่อสนับสนุนการชี้แจง (Hot Issue) ในการเปิดอภิปรายทั่วไปเพื่อลงมติไม่ไว้วางใจรัฐมนตรีเป็นรายบุคคล ตามมาตรา 151 (ก.ค.65)

  1. แบบฟอร์มสำหรับกรอกข้อมูล Hot issue ก.ค. 65 คลิกที่นี่
  2. ประเด็น Hot issue คลิกที่นี่

การฝึกปัญหาที่บังคับการ (CPX) การฝึกการระดมสรรพกำลังเพื่อการทหาร ประจำปี 2566 (กรส.66)

  1. หนังสือกรมการสรรพกำลังกลาโหม ที่ กห 0221/1187 ลงวันที่ 31 พฤษภาคม 2566  คลิกที่นี่
  2. แบบตอบรับการเข้าร่วม การฝึกปัญหาที่บังคับการ (CPX)  คลิกที่นี่

กรุณาแจ้งตอบรับการเข้าร่วมประชุม ภายในวันพุธที่ 14 มิถุนายน 2566 ทาง E-mail: karnnalin@gmail.com
หรือติดต่อสอบถามที่ กองยุทธศาสตร์และแผนงาน สำนักงานปลัดกระทรวงพลังงาน โทรศัพท์ 0 2140 6291 (กานต์นลิน)

และขอเชิญผู้เข้าร่วมประชุม เข้ากลุ่ม Line: กรส.66 พลังงาน ตามลิงค์ https://line.me/ti/g/zUelvYalWB หรือ QR Code ด้านล่างนี้ เพื่อใช้เป็นช่องทางประสานงานระหว่างการประชุมฯ

ข้อมูลเพื่อประกอบการพิจารณาของคณะกรรมาธิการการพลังงาน วุฒิสภา

1.แผนปฏิบัติราชการ ราย 5 ปี (พ.ศ. 2566-2570) ของกระทรวงพลังงาน  คลิกที่นี่

2.ข้อมูลแผนงานโครงการที่จะขอรับจัดสรรงบประมาณรายจ่ายประจำปี (งบประมาณ พ.ศ. 2566) ของกระทรวงพลังงาน (ขั้นร่าง พ.ร.บ.)   คลิกที่นี่

การจัดทำโครงการเพื่อขับเคลื่อนการบรรลุเป้าหมายตามยุทธศาสตร์ชาติ ประจำปีงบประมาณ ๒๕๖๗ – ๒๕๗๐ ของกระทรวงพลังงาน

  1. link เข้าร่วมประชุม     คลิกที่นี่
  2. เอกสารแนบ    คลิกที่นี่

Meeting ID: 808 036 8876

Passcode: 325311

ประชุมคณะอนุกรรมการบริหารจัดการรองรับสถานการณ์ฉุกเฉินด้านพลังงาน ครั้งที่ 26/2565

  1. link เข้าร่วมประชุมผ่านระบบ Zoom Meeting ID: 940 6175 7151 Passcode: 56460  คลิกที่นี่
  2. ระเบียบวาระการประชุมคณะอนุกรรมการ ครั้งที่ 26/2565 คลิกที่นี่
  3. ร่างรายงานการประชุมคณะอนุกรรมการบริหารจัดการรองรับสถานการณ์ฉุกเฉิน ครั้งที่ 25/2565 คลิกที่นี่

รองปลัดกระทรวงพลังงาน ร่วมบันทึกเทปรายการ เคลียร์ คัด ชัดเจน สถานีวิทยุโทรทัศน์แห่งประเทศไทย ช่อง NBT

วันนี้ (31 มีนาคม 2565) นายสมบูรณ์ หน่อแก้ว รองปลัดกระทรวงพลังงาน ได้ร่วมบันทึกเทปรายการ เคลียร์ คัด ชัดเจน สถานีวิทยุโทรทัศน์แห่งประเทศไทย ช่อง NBT ในโอกาสสัมภาษณ์พิเศษเนื่องในวันข้าราชการพลเรือน ประจำปี 2565 ร่วมกับกระทรวงดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคม กระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม กระทรวงพาณิชย์ และกระทรวงพลังงาน

ซึ่งในส่วนของกระทรวงพลังงาน ได้นำเสนอการทำงานของข้าราชการในการส่งเสริมวิสาหกิจชุมชนทั้งด้านองค์ความรู้และการใช้อุปกรณ์ด้านพลังงานในการผลิตสินค้าชุมชน ที่นอกจากจะทำให้วิสาหกิจชุมชนสามารถผลิตสินค้าชุมนที่สะอาด ลดของเสียที่เกิดจากการผลิต ลดระยะเวลาในการผลิต ที่สำคัญยังสามารถลดต้นทุนด้านพลังงานที่ใช้ในการสินค้าชุมชนได้อีกด้วย รวมทั้งยังนำเสนอมาตรการการประหยัดพลังงานทั้งในส่วนของภาครัฐ เอกชน และประชาชนทั่วไป

ผู้สนใจสามารถรับชมรายการ เคลียร์ คัด ชัดเจน ได้ในวันศุกร์ที่ 1 เมษายน 2565 เวลา 15.05 – 16.00 น. ทางสถานีวิทยุโทรทัศน์แห่งประเทศไทย ช่อง NBT

 

ประชุมคณะกรรมการประเมินผลการควบคุมภายในของ พน. ครั้งที่ 2/2565

เอกสารประกอบการประชุม

1.รายงานการประชุม ฯ ครั้งที่ 1/2565  คลิกที่นี่

2.วาระการประชุม ฯ ครั้งที่ 2/2565  คลิกที่นี่

3. link การประชุม ฯ ครั้งที่ 2/2565  คลิกที่นี่

มาตรการด้านพลังงานเพื่อรองรับสถานการณ์รัสเซีย-ยูเครน เพื่อดูแลค่าครองชีพของประชาชน

มาตรการด้านพลังงานเพื่อรองรับสถานการณ์รัสเซีย-ยูเครน เพื่อดูแลค่าครองชีพของประชาชน

จากสถานการณ์ความขัดแย้งระหว่างรัสเซีย-ยูเครน ส่งผลให้ราคาพลังงานทั่วโลกปรับตัวสูงขึ้นทุกชนิด ทำให้ราคาขายปลีกน้ำมันเบนซินและดีเซลภายในประเทศทำสถิติสูงสุดในรอบ 14 ปี กระทรวงพลังงาน ได้ติดตามสถานการณ์อย่างใกล้ชิดเพื่อบริหารจัดการและลดผลกระทบที่เกิดขึ้นกับประชาชน รวมทั้งบริหารจัดการช่วงเปลี่ยนผ่านผู้รับสัมปทาน ให้เกิดความต่อเนื่องและเตรียมด้านการสำรองพลังงานในทุกสถานการณ์

จากสถานการณ์ความตึงเครียดระหว่างรัสเซียและยูเครนที่เกิดขึ้นนี้ ส่งผลกระทบต่อการผลิตน้ำมันและก๊าซธรรมชาติทั่วโลก ทำให้ราคาน้ำมันดิบเพิ่มขึ้นกว่า 40 เหรียญต่อบาร์เรลจากช่วงสิ้นปีที่ผ่านมา รวมทั้งส่งผลให้ราคาก๊าซธรรมชาติเหลวปรับตัวสูงขึ้นและผันผวนอย่างมาก

ทั้งนี้ จากการคาดการณ์ของสถาบันต่าง ๆ เห็นตรงกันว่า สถานการณ์จะมีความชัดเจนขึ้นในอีก 3 เดือนข้างหน้า อย่างไรก็ตาม ทางรัฐบาลได้มีนโยบายและมาตรการด้านพลังงานที่จะดูแลประชาชนในช่วง 3 เดือน (เมษายน – มิถุนายน) ดังนี้

1. ด้านน้ำมันดีเซล
มีปริมาณการใช้มากที่สุดประมาณร้อยละ 65 โดยส่วนใหญ่เป็นรถบรรทุกขนส่งและรถโดยสาร ตั้งแต่ในช่วงเดือนตุลาคม 2564 ที่ผ่านมารัฐบาลได้มีนโยบายดูแลราคาน้ำมันดีเซลไม่ให้เกิน 30 บาทต่อลิตร โดยใช้เงินกองทุนน้ำมันเชื้อเพลิงช่วยในการอุดหนุน รวมทั้งการลดภาษีสรรพสามิตเป็นการชั่วคราว 3 เดือนตั้งแต่ 18 กุมภาพันธ์ 2565 และการขอความร่วมมือผู้ค้าน้ำมันรักษาระดับค่าการตลาดไม่เกิน 1.40 บาท/ลิตร นอกจากนั้นได้มีการปรับส่วนผสมไบโอดีเซลเพื่อลดต้นทุนเนื้อน้ำมัน ซึ่งที่ผ่านมากองทุนน้ำมันเชื้อเพลิงได้ใช้เงินอุดหนุนน้ำมันดีเซลมาจนถึงปัจจุบันประมาณกว่า 30,000 ล้านบาท

ส่วนแนวทางการบริหารราคาน้ำมันดีเซลในช่วงเดือนเมษายน – มิถุนายน 2565 นี้ ประกอบด้วย
– เดือนเมษายน จะตรึงราคาน้ำมันดีเซลที่ 30 บาทต่อลิตร (กรณีราคาน้ำมันดีเซลอยู่ที่ 115 ถึง 135 ดอลลาร์ต่อบาร์เรล กองทุนน้ำมันเชื้อเพลิงจะอุดหนุนอยู่ที่ประมาณลิตรละ 8 บาท
– เดือนพฤษภาคม – มิถุนายน รัฐจะช่วยสนับสนุนการตรึงราคาครึ่งหนึ่ง (50%)

นอกจากนี้ กองทุนน้ำมันเชื้อเพลิงจะยกเลิกการชดเชยราคาน้ำมันดีเซลเกรดพรีเมี่ยม เนื่องจากเป็นน้ำมันที่ใช้กับกลุ่มรถของผู้ที่มีกำลังจ่ายสูง เพื่อลดภาระการชดเชยของกองทุนน้ำมันเชื้อเพลิง และนำเงินในส่วนนี้ไปชดเชยให้กับกลุ่มที่มีความจำเป็น

2. ด้านน้ำมันเบนซิน
มีสัดส่วนการใช้ประมาณร้อยละ 35 ซึ่งผู้ใช้ส่วนใหญ่เป็นรถส่วนบุคคล และรถจักรยานยนต์ ซึ่งมาตรการช่วยเหลือนั้น จะสนับสนุนส่วนลดค่าน้ำมันแก่ผู้ขับขี่รถจักรยานยนต์สาธารณะ (รถมอเตอร์ไซด์รับจ้าง) ที่มีใบอนุญาตขับรถสาธารณะ และบัตรประจำตัวผู้ขับรถสาธารณะ จำนวน 5 บาทต่อลิตร ปริมาณไม่เกิน 50 ลิตรต่อเดือนต่อคน คาดว่าจะเริ่มดำเนินการได้ในต้นเดือนพฤษภาคม 2565

3. ด้านก๊าซหุงต้ม
กระทรวงพลังงานได้ดูแลประชาชนโดยตรึงราคาก๊าซ LPG ไว้ที่ 318 บาทต่อถัง 15 กิโลกรัมตั้งแต่วันที่ 24 มีนาคม 2563 เป็นต้นมาจนถึงปัจจุบัน ซึ่งหากไม่มีการอุดหนุนในปี 2563 ราคาเฉลี่ยจะอยู่ที่ 370 บาท/ถัง และปี 2564 ราคาเฉลี่ยจะอยู่ที่ 417 บาท/ถัง  และในปัจจุบันหากไม่มีการอุดหนุน ราคาก๊าซ LPG จะอยู่ที่ 463 บาทต่อถัง ซึ่งที่ผ่านมากองทุนน้ำมันเชื้อเพลิงได้จ่ายเงินชดเชยก๊าซ LPG รวมแล้วเป็นเงินทั้งสิ้นประมาณ 28,803 ล้านบาท จึงทำให้จำเป็นต้องบริหารจัดการราคาก๊าซหุงต้ม ดังนี้
– เดือนเมษายน 2565 ปรับขึ้นราคาขายปลีก 1 บาท/กิโลกรัม หรือ ปรับจากราคา 318 บาท/ถัง 15 กิโลกรัม เป็น 333 บาท/ถัง 15 กิโลกรัม เดือนพฤษภาคมและมิถุนายน จะปรับขึ้นเป็น 348 บาท และ 363 บาท ตามลำดับ คาดว่าตลอด 3 เดือน แม้ว่าจะมีการปรับขึ้นราคาขายปลีกแล้ว กองทุนน้ำมันเชื้อเพลิง คาดว่าจะยังคงใช้เงินชดเชยราคาก๊าซหุงต้ม อยู่รวมประมาณ  6,380 ล้านบาท

แต่เมื่อมีการปรับขึ้นราคาขายปลีกก๊าซหุงต้มในวันที่ 1 เมษายน 2565 แล้ว รัฐบาลได้กำหนดมาตรการดูแลประชาชนกลุ่มเปราะบาง โดยกลุ่มผู้มีบัตรสวัสดิการแห่งรัฐทั่วไป จะได้รับส่วนลดสำหรับซื้อก๊าซ LPG เพิ่มเติมอีก 55 บาท รวมเป็น 100 บาท ต่อ 3 เดือน โดยในเบื้องต้นจะใช้แหล่งเงินจากงบประมาณรายจ่ายประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2565 งบกลาง รายการเงินสำรองจ่ายเพื่อกรณีฉุกเฉินหรือจำเป็น และในส่วนของกลุ่มผู้มีบัตรสวัสดิการแห่งรัฐทั่วไป ที่เป็นผู้ค้าหาบเร่แผงลอยที่มีบัตรสวัสดิการแห่งรัฐ บริษัท ปตท. จำกัด (มหาชน) ได้ให้ความร่วมมือรัฐบาล ในการให้ส่วนลดสำหรับซื้อก๊าซ LPG ไม่เกิน 100 บาทต่อรายต่อเดือนเป็นระยะเวลา 3 เดือน

4. ด้านก๊าซ NGV
การดูแลราคาก๊าซธรรมชาติสำหรับยานยนต์ (NGV) โดยตรึงราคาขายปลีก NGV เท่ากับ 15.59 บาทต่อกิโลกรัม และสนับสนุนราคาก๊าซธรรมชาติสำหรับยานยนต์ (NGV) สำหรับผู้ขับขี่รถยนต์รับจ้าง (รถแท็กซี่) สำหรับผู้ขับขี่รถยนต์รับจ้าง (รถแท็กซี่) ที่ลงทะเบียนภายใต้โครงการลมหายใจเดียวกัน จำนวน 17,460 ราย สามารถซื้อก๊าซ NGV ในอัตรา 13.62 บาทต่อกิโลกรัม วงเงินไม่เกิน 10,000 บาทต่อเดือน สนับสนุนโดยบริษัท ปตท. จำกัด (มหาชน)

5. ด้านราคาค่าไฟฟ้า
ในรอบเดือนมกราคม – เมษายน 2565 ได้มีการปรับค่า Ft เพิ่มขึ้น 16.71 สตางค์ต่อหน่วย จากเดิมที่ -15.32 สตางค์ต่อหน่วยในปี 2564 ปรับเป็น 1.39 สตางค์ต่อหน่วย และในรอบเดือนพฤษภาคม – สิงหาคม 2565 จะปรับเพิ่มขึ้นอีก 23.38 สตางค์ต่อหน่วย เป็น 24.77 สตางค์ต่อหน่วย แต่เพื่อเป็นการช่วยเหลือผู้ที่ใช้ไฟฟ้าไม่เกิน 300 หน่วย/เดือน ซึ่งคิดเป็นผู้ใช้ไฟฟ้ากว่า 20 ล้านรายหรือคิดเป็นร้อยละ 85 ของครัวเรือน จะมีการให้ส่วนลดโดยคงค่า Ft ไว้ที่ 1.39 บาทต่อหน่วยในรอบเดือนพฤษภาคม – สิงหาคม 2565

อย่างไรก็ตามในส่วนของค่า Ft ที่จะปรับขึ้นเป็น 24.77 สตางค์ต่อหน่วยในรอบเดือนพฤษภาคม-สิงหาคม 2565 หากไม่ได้มีการบริหารจัดการใด ๆ ค่า Ft จะปรับเพิ่มขึ้นถึง 129.91 สตางค์ต่อหน่วย แต่ในส่วนนี้ กฟผ. ได้ช่วยรับภาระค่า Ft ไปแล้วกว่า 40,000 ล้านบาท

จากมาตรการที่จะช่วยดูแลค่าครองชีพด้านพลังงานของพี่น้องประชาชนในช่วงเวลา 3 เดือนดังกล่าวใช้งบประมาณเบื้องต้นประมาณ 45,000 ล้านบาท ซึ่งที่ผ่านมาหน่วยงานภาครัฐทุกหน่วยได้ใช้ความพยายามและทรัพยากรอย่างเต็มที่ในการบริหารจัดการ เพื่อลดภาระที่จะเกิดกับประชาชนและระบบเศรษฐกิจของประเทศให้ได้มากที่สุด และโดยเฉพาะการรักษาระดับความสามารถในการแข่งขันของประเทศ

อย่างไรก็ตาม ประชาชนสามารถบริหารจัดการการใช้พลังงานในครัวเรือนเพื่อลดค่าใช้จ่ายด้านพลังงาน ไม่ว่าจะเป็นน้ำมัน หรือไฟฟ้า ซึ่งวิธีการประหยัดสามารถทำได้ไม่ยาก ส่วนใหญ่ไม่มีค่าใช้จ่ายหรือลงทุนไม่มาก เช่น การปรับพฤติกรรมการขับรถ  การตรวจเช็คเครื่องยนต์ การล้างแอร์ ฯลฯ ซึ่งหากมีข้อสงสัยในวิธีการประหยัดพลังงานสามารถสอบถามได้ที่กรมพัฒนาพลังงานทดแทนและอนุรักษ์พลังงาน และหน่วยงานอื่น ๆ เช่น สำนักงานนโยบายและแผนพลังงาน ปตท. และ กฟผ.

รองนายกรัฐมนตรี และรัฐมนตรีว่าการกระทรวง ให้การต้อนรับคณะกรรมาธิการการพัฒนาการเมือง การสื่อสารมวลชน และการมีส่วนร่วมของประชาชน สภาผู้แทนราษฎร

นายสุพัฒนพงษ์ พันธ์มีเชาว์ รองนายกรัฐมนตรี และรัฐมนตรีว่าการกระทรวง พร้อมผู้บริหารกระทรวงพลังงาน ให้การต้อนรับคณะกรรมาธิการการพัฒนาการเมือง การสื่อสารมวลชน และการมีส่วนร่วมของประชาชน สภาผู้แทนราษฎร วันนี้(14 มีนาคม 2565) พร้อมหารือเรื่อง “การมีส่วนร่วมของประชาชนในการดำเนินงานของหน่วยงานภาครัฐ” โดยมีหน่วยงานในสังกัดกระทรวงพลังงานที่เกี่ยวข้องเข้าร่วมชี้แจงในแนวทางการทำงานของแต่ละหน่วยงานต่อคณะกรรมาธิการในประเด็นแลกเปลี่ยนความคิดเห็นเกี่ยวกับนโยบาย แผนงานโครงการ กิจกรรมเกี่ยวกับการส่งเสริมและการสร้างกระบวนการมีส่วนร่วมของประชาชน 2.การส่งเสริมการมีส่วนร่วมของประชาชน การรับฟังความคิดเห็น ข้อเสนอแนะ ข้อร้องเรียน ตลอดจนช่องทางในการาสื่อสารกับประชาชน และช่องทางที่เปิดโอกาสให้ประชาชนสามารถเข้ามามีส่วนร่วมกับกระทรวงพลังงานและหน่วยงานในสังกัด ณ ห้องประชุม 2 ชั้น 15 ศูนย์เอนเนอร์ยี่คอมเพล็กซ์ กระทรวงพลังงาน

กระทรวงพลังงาน ระดมมาตรการมุ่งเป้าฝ่าวิกฤตราคาพลังงาน เร่งรณรงค์ทุกภาคส่วน “รวมพลังคนไทย ลดใช้พลังงานหาร 2”

“พลังงาน”ระดมมาตรการมุ่งเป้าฝ่าวิกฤตราคาพลังงาน เร่งรณรงค์ทุกภาคส่วน“รวมพลังคนไทย ลดใช้พลังงานหาร 2”

 

วันนี้ (11 มีนาคม 2565) นายสุพัฒนพงษ์ พันธ์มีเชาว์ รองนายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรีว่าการกระทรวงพลังงาน พร้อมด้วยคณะผู้บริหารกระทรวงพลังงาน และหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง เปิดแถลงข่าวสรุปสถานการณ์พลังงานและมาตรการรองรับผลกระทบด้านพลังงานว่า จากสถานการณ์ความขัดแย้งระหว่างรัสเซีย-ยูเครน ได้ส่งผลกระทบให้ราคาพลังงานโลกสูงขึ้นทุกชนิด ส่งผลต่อราคาขายปลีกในประเทศไม่ว่าจะเป็น น้ำมันสำเร็จรูปอย่างเบนซินและดีเซล โดยเฉพาะราคาน้ำมันขึ้นที่สุดในรอบ 14 ปี ซึ่งส่งผลกระทบไปทั่วโลก

กระทรวงพลังงาน ได้ติดตามสถานการณ์พลังงานอย่างใกล้ชิดเพื่อบริหารจัดการพลังงานในช่วงของสถานการณ์รัสเซีย-ยูเครน และในช่วงเปลี่ยนผ่านด้านการจัดหาพลังงานเพื่อให้เกิดความต่อเนื่อง และลดผลกระทบที่อาจจะเกิดขึ้นต่อประชาชน นอกจากนี้ ได้เตรียมพร้อมศูนย์กลางสั่งการด้านพลังงานประจำกระทรวงพลังงานเพื่อใช้เป็นศูนย์ติดตามสถานการณ์อีกด้วย โดยเฉพาะการเตรียมการด้านการสำรองพลังงานให้พร้อมรับต่อทุกสถานการณ์ “กระทรวงพลังงาน ได้ติดตามสถานการณ์อย่างใกล้ชิด และขอความร่วมมือกับทุกภาคส่วนเพื่อช่วยเหลือประชาชน แต่ไม่ว่าสถานการณ์จะเป็นเช่นไร กระทรวงพลังงาน ก็จะยังคงติดตามสถานการณ์พร้อม แนวทางแก้ไขปัญหาด้านราคาเพื่อแบ่งเบาภาระประชาชนและให้ได้รับผลกระทบน้อยที่สุด” รองนายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรีว่าการกระทรวงพลังงาน กล่าว

นายกุลิศ สมบัติศิริ ปลัดกระทรวงพลังงาน กล่าวว่า สถานการณ์ราคาน้ำมันตลาดโลกเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่อง จากความตึงเครียดวิกฤตรัสเซีย-ยูเครน ทำให้ตลาดกังวลต่ออุปทานน้ำมันในตลาดโลก จากการคว่ำบาตรธุรกรรมทางการเงิน และบริษัทพลังงานหลายแห่งระงับการลงทุนในรัสเซีย ประกอบกับกลุ่มโอเปกพลัสที่ยังคงเพิ่มกำลังการผลิตน้ำมันเพียง 400,000 บาร์เรล/วัน ในแต่ละเดือน ซึ่งหากสถานการณ์ยังคงตึงเครียดต่อไปอาจทำให้เดือนเมษายนนี้ราคาน้ำมันดิบดูไบเกิน 120 เหรียญสหรัฐต่อบาร์เรล น้ำมันดีเซล 150 – 170 เหรียญสหรัฐต่อบาร์เรล อย่างไรก็ดี ความคืบหน้าในการเจรจาข้อตกลงนิวเคลียร์ของอิหร่าน-สหรัฐฯ อาจนำไปสู่กำลังการผลิตน้ำมันเพิ่มขึ้นกว่า 1 ล้านบาร์เรล/วัน รวมถึงการปล่อยน้ำมันสำรองของ IEA ก็สามารถบรรเทาความตึงตัวของตลาดได้บางส่วน

ขณะที่สถานการณ์ราคา LPG ตลาดโลกก็ปรับเพิ่มขึ้นทิศทางเดียวกับราคาน้ำมัน โดยราคาอยู่ที่ 968 เหรียญสหรัฐ/ตัน เช่นเดียวกันกับราคาก๊าซธรรมชาติก็เพิ่มขึ้นต่อเนื่อง เพราะอุปทานจากรัสเซียที่ไม่แน่นอนจากมาตการคว่ำบาตรของสหรัฐฯ ที่ครอบคลุมทั้งน้ำมันและก๊าซธรรมชาติ และสหภาพยุโรปก็อยู่ระหว่างพิจารณาลดการพึ่งพานำเข้าก๊าซฯ จากรัสเซีย

 

• วางแนวทางบริหารสถานการณ์ฉุกเฉินด้านราคา

นายวัฒนพงษ์ คุโรวาท ผู้อำนวยการสำนักงานนโยบายและแผนพลังงาน (สนพ.) กล่าวว่า การบริหารจัดการสถานการณ์ฉุกเฉินด้านราคาน้ำมัน กระทรวงพลังงานได้วางแนวทางการบริหารจัดการในแต่สถานการณ์ราคา ตั้งแต่ราคาน้ำมันดิบดูไบที่ 100 เหรียญสหรัฐต่อบาร์เรลไปจนถึง 150 เหรียญสหรัฐต่อบาร์เรล ซึ่งมีรูปแบบการบริหารจัดการที่แตกต่างกัน โดยกระทรวงพลังงานจะมีแนวทางเพื่อบรรเทาผลกระทบกับประชาชนให้มากที่สุดในแต่ละกรณี

 

• สำรองน้ำมันเชื้อเพลิงมีเพียงพอนานกว่า 60 วัน

นางสาวนันธิกา ทังสุพานิช อธิบดีกรมธุรกิจพลังงาน กล่าวว่า ประเทศไทยได้เริ่มกระจายแหล่งการนำเข้าน้ำมันดิบจากตะวันออกกลางให้มีความหลากหลายตั้งแต่ปี 2557 (จากร้อยละ 70 ลดลงเป็นร้อยละ 57) เพื่อลดความเสี่ยงของการจัดหาน้ำมันดิบ สำหรับสถานการณ์การจัดหาน้ำมันดิบในขณะนี้ กรมธุรกิจพลังงานได้ประสานงานกับกลุ่มอุตสาหกรรมโรงกลั่นน้ำมันปิโตรเลียมอย่างใกล้ชิด ทุกรายได้แจ้งยืนยันว่ายังคงสามารถจัดหาน้ำมันดิบได้ตามสัญญาซื้อขายล่วงหน้า 2 เดือน สำหรับความต้องการใช้น้ำมันดิบเฉลี่ยอยู่ที่ 123.25 ล้านลิตร/วัน และน้ำมันสำเร็จรูปเฉลี่ยอยู่ที่ 119.88 ล้านลิตร/วัน

ปัจจุบันมีปริมาณน้ำมันดิบคงเหลือ (รวมที่อยู่ระหว่างการขนส่ง) อยู่ที่ 5,686.44 ล้านลิตร และมีปริมาณน้ำมันสำเร็จรูปคงเหลืออยู่ที่ 1,703.61 ล้านลิตร ซึ่งเพียงพอต่อความต้องการใช้น้ำมันของประเทศได้ถึง 61 วัน นอกจากนี้ บมจ.ปตท. ยังมีมาตรการเตรียมพร้อมจัดหาน้ำมันดิบเพิ่มเติมอีก 635.94 ล้านลิตร (4 ล้านบาร์เรล) จะช่วยเพิ่มปริมาณน้ำมันสำรองเป็น 66 วัน ส่งผลให้ประเทศมีน้ำมันใช้เพียงพอไม่ขาดแคลน

อย่างไรก็ตาม เพื่อสร้างความมั่นใจกับประชาชนกรณีหากสถานการณ์รัสเซีย-ยูเครนมีความยืดเยื้อและมีเหตุฉุกเฉินที่ส่งสัญญาณว่าอาจจะกระทบกับแผนการจัดหาน้ำมันดิบของประเทศ กรมธุรกิจพลังงานได้เตรียมมาตรการรองรับเหตุวิกฤต Supply Disruption ตลอดจนได้รับมอบหมายให้ประสานผู้ค้าน้ำมันเตรียมประกาศเพิ่มอัตราสำรองน้ำมันเชื้อเพลิงตามกฎหมาย น้ำมันดิบเป็นร้อยละ 5 และน้ำมันสำเร็จรูปเป็นร้อยละ 2 ตามลำดับ จากปัจจุบันอัตราสำรองน้ำมันดิบร้อยละ 4 และน้ำมันสำเร็จรูปร้อยละ 1 ซึ่งจะช่วยให้มีปริมาณน้ำมันสำรองเพิ่มขึ้นอีก 7 วัน เพื่อสร้างความมั่นใจว่าจะสามารถรักษาเสถียรภาพพลังงานได้โดยไม่กระทบกับการดำรงชีวิตของประชาชน

 

• เร่งผลักดันแหล่งผลิตปิโตรเลียมในประเทศ

นายสราวุธ แก้วตาทิพย์ อธิบดีกรมเชื้อเพลิงธรรมชาติ กล่าวว่า ในการดำเนินงานช่วงเปลี่ยนผ่านสำหรับแหล่งก๊าซธรรมชาติกลุ่มเอราวัณ หรือ แปลง G1/61 นั้น ปัจจุบันผู้รับสัมปทานรายเดิม (บริษัท เชฟรอนประเทศไทยสำรวจและผลิต จำกัด) และผู้รับสัญญารายใหม่ (บริษัท ปตท.สผ. อีดี) ได้ลงนามในข้อตกลงความร่วมมือต่าง ๆ ในช่วงเปลี่ยนผ่านของแหล่งก๊าซธรรมชาติกลุ่มเอราวัณ ซึ่งจะทำให้การดำเนินการตามสัญญาแบ่งปันผลผลิตในโครงการแปลง G1/61 เดินหน้าต่อไป และกรมเชื้อเพลิงธรรมชาติจะเร่งผลักดันให้บริษัท ปตท.สผ. อีดี เข้าดำเนินงานเตรียมการผลิตก๊าซธรรมชาติจากแหล่งดังกล่าว เพื่อให้ได้ปริมาณตามเงื่อนไขโดยเร็วที่สุด รวมทั้งจะกำกับ ดูแล ให้การดำเนินงานช่วงเปลี่ยนผ่านซึ่งจะเริ่มในปลายเดือน เม.ย. 65 เป็นไปตามแผนที่กำหนดไว้อย่างราบรื่น

นอกจากนี้ กรมเชื้อเพลิงธรรมชาติ ยังได้มีแนวทางสำหรับการบริหารจัดการก๊าซธรรมชาติ ประกอบด้วย การจัดหาก๊าซธรรมชาติส่วนเพิ่มจากแหล่งก๊าซธรรมชาติที่มีศักยภาพ ได้แก่ แหล่งอาทิตย์ แปลง B8/32 และแปลง G2/61 รวมทั้งกำกับดูแลให้ผู้รับสัมปทานทุกรายเตรียมความพร้อมในการผลิตก๊าซธรรมชาติให้เต็มความสามารถ เลื่อนแผนการหยุดซ่อมบำรุงที่ไม่จำเป็นออกไป ตลอดจนได้เร่งดำเนินการเปิดให้สิทธิสำรวจและผลิตปิโตรเลียมรอบที่ 24 บริเวณทะเลอ่าวไทย เพื่อนำทรัพยากรปิโตรเลียมมาใช้ประโยชน์ให้เต็มที่และเพิ่มโอกาสในการพบแหล่งปิโตรเลียมในประเทศ และนับเป็นแนวทางหนึ่งที่จะช่วยสนับสนุนในส่วนของการจัดหาปิโตรเลียมในระยะยาวด้วย

 

• รวมพลังคนไทย ลดใช้พลังงาน หาร 2

นายประเสริฐ สินสุขประเสริฐ อธิบดีกรมพัฒนาพลังงานทดแทนและอนุรักษ์พลังงาน กล่าวว่า ได้เปิดแคมเปญ “รวมพลังคนไทย ลดใช้พลังงาน หาร 2” โดยความร่วมมือของทุกหน่วยงานทั้งในสังกัดกระทรวงพลังงาน และ กฟน. กฟภ. ร่วมงานจัดนิทรรศการเผยแพร่ให้ความรู้เรื่องการประหยัดพลังงานสำหรับประชาชนทั่วไป และข้อแนะนำการประหยัดพลังงานทั้งผู้ประกอบการโรงงานอุตสาหกรรม รวมถึงหน่วยงานภาครัฐ ซึ่งกำหนดให้หน่วยงานเพิ่มความเข้มข้นในการประหยัดพลังงานมากขึ้นจากเดิม 10% เป็น 20%

ทั้งนี้ ยังมีมาตรการเพื่อส่งเสริมการประหยัดพลังงานในระดับธุรกิจ โดยผ่านกองทุนเพื่อส่งเสริมการอนุรักษ์พลังงาน อาทิ โครงการสนับสนุนการลงทุนเพื่อปรับเปลี่ยนปรับปรุงเครื่องจักร อุปกรณ์เพื่อการอนุรักษ์พลังงาน ปี 2564 โดยใช้งบประมาณจากกองทุนเพื่อส่งเสริมการอนุรักษ์พลังงานรวม 400 ล้านบาท โครงการเงินสนับสนุนเพื่อลดการใช้พลังงานแก่ผู้ประกอบการภาคอุตสาหกรรม ภาคธุรกิจ และผู้ประกอบการขนส่ง โดยใช้งบประมาณจากกองทุนเพื่อส่งเสริมการอนุรักษ์พลังงานรวม 600 ล้านบาท

 

• ปตท.ผุดแคมเปญประหยัด-จูนอัพเครื่องยนต์

นายอรรถพล ฤกษ์พิบูลย์ ประธานเจ้าหน้าที่บริหารและกรรมการผู้จัดการใหญ่ บริษัท ปตท. จำกัด (มหาชน) กล่าวว่า ปตท. ยืนยันความพร้อมปฏิบัติภารกิจด้านการจัดการน้ำมันและก๊าซธรรมชาติรองรับความต้องการใช้ในประเทศอย่างเต็มความสามารถ เพื่อสร้างความมั่นคงทางพลังงาน อย่างไรก็ตามเสถียรภาพทางพลังงานของประเทศจะเกิดขึ้นอย่างแท้จริงอยู่ที่ทุกภาคส่วนร่วมมือร่วมใจประหยัดและรู้ใช้พลังงานอย่างมีประสิทธิภาพด้วย ปตท.จึงจัดแคมเปญ “ก๊อดจิชวนใช้พลังงานอย่างคุ้มค่าและประหยัด” สื่อสารรณรงค์ประหยัดพลังงานด้วยสื่อหลายรูปแบบในทุกช่องทาง พร้อมทั้งจัดให้มีการตรวจเช็กสภาพเครื่องยนต์ โดย บริษัท ปตท. น้ำมันและการค้าปลีก จำกัด (มหาชน) หรือ โออาร์ เพื่อให้เครื่องยนต์มีความสมบูรณ์ ช่วยลดการใช้เชื้อเพลิง พร้อมด้วยโปรโมชั่นต่างๆ จนถึงสิ้นเดือนเมษายนนี้ ณ FIT Auto สถานีบริการน้ำมัน PTT Station ที่ร่วมรายการทั่วประเทศ

 

• กฟผ.ล้างแอร์ช่วยชาติ-มอบส่วนลดเบอร์ 5

ดร.จิราพร ศิริคำ รองผู้ว่าการยุทธศาสตร์ การไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทย (กฟผ.) กล่าวว่า กฟผ. พร้อมรวมพลังชวนคนไทยประหยัดพลังงานของประเทศ ด้วย 2 แคมเปญ คือ แคมเปญ “ล้างแอร์ช่วยชาติ (Clean your air, Clean your life)” มอบ 10,000 สิทธิให้ประชาชนทั่วประเทศล้างแอร์ฟรี โดยสามารถลงทะเบียนรับสิทธิได้ที่เว็บไซต์ www.egat.co.th ตั้งแต่วันที่ 18 เม.ย. 2565 เป็นต้นไป และแคมเปญ “ส่วนลด 500 บาท สำหรับซื้อผลิตภัณฑ์เบอร์ 5” มอบอีก 10,000 สิทธิให้กับประชาชนทั่วประเทศที่ซื้อผลิตภัณฑ์เบอร์ 5 มูลค่า 1,000 บาท ขึ้นไป โดยเริ่มใช้สิทธิได้ที่ห้างสรรพสินค้าและร้านค้า Green Shop ที่เข้าร่วมกิจกรรม ตั้งแต่วันที่ 1 เม.ย. – 30 มิ.ย. 65

ทั้งนี้ การล้างแอร์สามารถลดการใช้พลังงานไฟฟ้าได้ถึง 10% ประหยัดพลังงานได้ถึง 1.3 ล้านหน่วย/ปี และทั้ง 2 แคมเปญนี้ยังช่วยลดการปล่อย CO2 รวมประมาณ 804 ตัน/ปี พร้อมทั้งช่วยกระตุ้นเศรษฐกิจจากการจ้างงานและการซื้อผลิตภัณฑ์เบอร์ 5 รวมมูลค่ากว่า 21 ล้านบาทอีกด้วย

นอกจากนี้ ประชาชนยังสามารถลดค่าไฟฟ้าได้ง่าย ๆ นอกจากการใช้เครื่องใช้ไฟฟ้าที่มีฉลากประหยัดไฟเบอร์ 5 แล้ว ด้วยการตรวจเช็คอุปกรณ์ไฟฟ้าก่อนออกจากบ้าน ปิดสวิตซ์และถอดปลั๊กเครื่องใช้ไฟฟ้าทันทีที่เลิกใช้งาน เปิดเครื่องปรับอากาศที่อุณหภูมิไม่ต่ำกว่า 26 องศา ไม่ใส่ของในตู้เย็นมากเกินไปและลดการเปิดปิดประตูตู้เย็น เป็นต้น

ความก้าวหน้าการขับเคลื่อนประเด็นปฏิรูปประเทศด้านพลังงาน ด้านการบริหารจัดการพลังงาน ณ เมษายน 2565

รายงานความก้าวหน้าการขับเคลื่อนประเด็นการปฏิรูปประเทศด้านพลังงาน ด้านการบริหารจัดการพลังงาน  ณ เมษายน  2565

คลิกที่นี่

รองนายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรีว่าการกระทรวงพลังงาน เข้าร่วมพิธีลงนามในบันทึกความเข้าใจความร่วมมือในการพัฒนาไฟฟ้าในสาธารณรัฐประชาธิปไตยประชาชนลาว

พิธีลงนามบันทึกความเข้าใจความร่วมมือในการพัฒนาไฟฟ้าในสาธารณรัฐประชาธิปไตยประชาชนลาว

(ระหว่างรัฐบาลแห่งราชอาณาจักรไทย และ รัฐบาลแห่งสาธารณรัฐประชาธิปไตยประชาชนลาว ว่าด้วยความร่วมมือในการพัฒนาพลังงานไฟฟ้าในสาธารณรัฐประชาธิปไตยประชาชนลาว)

นายสุพัฒนพงษ์ พันธ์มีเชาว์ รองนายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรีว่าการกระทรวงพลังงาน กับ นายดาววง พอนแก้ว รัฐมนตรีว่าการกระทรวงพลังงานและบ่อแร่แห่งสาธารณรัฐประชาธิปไตยประชาชนลาวได้เข้าร่วมพิธีลงนามในบันทึกความเข้าใจความร่วมมือในการพัฒนาไฟฟ้าในสาธารณรัฐประชาธิปไตยประชาชนลาว ในรูปแบบการลงนามเสมือนจริง (Virtual Signing Ceremony) ณ กระทรวงพลังงาน เมื่อวันที่ ๔ มีนาคม ๒๕๖๕ โดยความตกลงในความร่วมมือด้านพลังงานระหว่างไทยและ สปป.ลาว ครั้งนี้จะช่วยให้เกิดการซื้อขายพลังงานสะอาดในภูมิภาค ซึ่งจะช่วยลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจกจากภาคพลังงาน รวมถึงยังเป็นการส่งเสริมโอกาสในการพัฒนาเศรษฐกิจร่วมกันระหว่างสองประเทศโดยบันทึกความเข้าใจฯ ฉบับดังกล่าว มีขอบเขตความร่วมมือด้านพลังงานระหว่างทั้งสองประเทศในประเด็นสำคัญต่าง ๆ ได้แก่ การสนับสนุนการพัฒนาการผลิตพลังงานไฟฟ้าใน สปป.ลาวโดยเพิ่มปริมาณการรับซื้อไฟฟ้าของไทยเป็นจำนวนรวม ๑๐,๕๐๐ เมกะวัตต์ ซึ่งมีความสอดคล้องกับแผนการพัฒนากำลังการผลิตไฟฟ้าของประเทศไทยเพื่อความมั่นคงและเสถียรภาพในการจัดหาพลังงานไฟฟ้า รวมไปถึงมีการร่วมมือในการพัฒนาระบบสายส่งไฟฟ้า การแลกเปลี่ยนองค์ความรู้และประสบการณ์เชิงเทคนิค การพัฒนาทรัพยากรบุคคลร่วมกัน ซึ่งจะช่วยส่งเสริมความมั่นคงด้านพลังงานและพลังงานที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อมในภูมิภาค รวมถึงเป็นการกระชับความสัมพันธ์อันดีระหว่างประเทศไทยกับ สปป.ลาว ให้แน่นแฟ้นและยั่งยืนต่อไป

กระทรวงพลังงาน พร้อมรับมือสถานการณ์ตึงเครียดรัสเซีย – ยูเครน ประเมินสถานการณ์รายวัน ยันเตรียมมาตรการรองรับทุกด้าน

      กระทรวงพลังงานชี้แจงความพร้อมรับมือหลังสถานการณ์รัสเซียและยูเครนเริ่มตึงเครียดมากขึ้น หากเกิดสถานการณ์รุนแรง อาจจะกระทบกับราคาพลังงาน ยืนยันว่าไม่กระทบกับการจัดหาน้ำมันและ LNG เนื่องจากไทยมีมาตรการรองรับอย่างเต็มที่
      วันนี้ (24 กุมภาพันธ์ 2565) นายกุลิศ สมบัติศิริ ปลัดกระทรวงพลังงาน เปิดเผยว่าจากสถานการณ์ความขัดแย้งระหว่างรัสเซียและยูเครน ซึ่งขณะนี้สหรัฐอเมริกาและสหภาพยุโรปได้เริ่มทยอยใช้มาตรการคว่ำบาตรทางเศรษฐกิจ เพื่อตอบโต้ความเคลื่อนไหวของรัสเซียต่อการปฏิบัติการในยูเครน ปัจจุบันรัสเซียและชาติตะวันตกพยายามหาทางออกทางการทูต แต่ยังไม่สามารถเจรจากันได้ และรัสเซียได้เริ่มมีการใช้กำลังทางทหารในพื้นที่ สร้างความวิตกกังวลให้กับนานาชาติ และส่งผลกระทบต่อราคาพลังงานทั่วโลกอย่างต่อเนื่อง แม้ว่าประเทศไทยจะยังไม่ได้รับผลกระทบโดยตรงจากการนำเข้าพลังงานทั้งน้ำมันและ LNG เนื่องจากประเทศไทยนำเข้าน้ำมันดิบจากประเทศกลุ่มตะวันออกกลางประมาณร้อยละ 55 และนำเข้าจากรัสเซียเพื่อกลั่นเพียง 5.22 ล้านลิตร/วัน หรือคิดเป็นร้อยละ 3 ของปริมาณนำเข้าน้ำมันดิบทั้งหมด และในส่วนของ LNG ประเทศไทยนำเข้าจากต่างประเทศประมาณร้อยละ 18 จากหลากหลายแหล่ง ซึ่งทางกระทรวงพลังงานก็ได้ติดตามสถานการณ์อย่างใกล้ชิด เพื่อประเมินและเตรียมความพร้อมหากเกิดสถานการณ์ที่รุนแรงขึ้น โดยกระทรวงพลังงานและหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง ได้เตรียมความพร้อมด้านปริมาณสำรองพลังงาน โดย ณ วันที่ 21 กุมภาพันธ์ 2565 ไทยมีปริมาณสำรองน้ำมันดิบประมาณ 3,200 ล้านลิตร ปริมาณสำรองน้ำมันดิบที่อยู่ระหว่างขนส่งอีก 1,460 ล้านลิตร น้ำมันสำเร็จรูป 1,670 ล้านลิตร ทำให้มีน้ำมันเชื้อเพลิงสำรองใช้ได้กว่า 2 เดือน แบ่งเป็น น้ำมันดิบ 27 วัน อยู่ระหว่างขนส่งอีก 13 วัน และน้ำมันสำเร็จรูป 12 วัน ส่วน LPG สำหรับในภาคครัวเรือนใช้ได้ 16 วัน
      “สิ่งที่น่ากังวลที่สุดจะเป็นเรื่องของราคาพลังงาน ซึ่งจากที่สำนักข่าวต่างประเทศได้รายงานว่าเริ่มมีการใช้กำลังทางทหารเกิดขึ้นในพื้นที่ดังกล่าวแล้ว รวมถึงสถานการณ์ที่เป็นปัจจัยพื้นฐานด้านการผลิตน้ำมันของโลกที่ยังมีจำกัดทำให้ราคาน้ำมันปรับตัวเพิ่มสูงขึ้น กระทรวงพลังงานได้ใช้มาตรการที่มีอย่างต่อเนื่องและยังคงเตรียมมาตรการที่จะสามารถช่วยเหลือประชาชนเพิ่มเติม และขอยืนยันว่า จากวิกฤตรัสเซีย-ยูเครน ที่เกิดขึ้นนี้ แม้จะส่งผลให้ราคาน้ำมันดิบในตลาดโลกปรับตัวสูงขึ้นถึงระดับ 100 เหรียญสหรัฐต่อบาร์เรล และเกิดผลกระทบวงกว้างทั่วโลก แต่กระทรวงพลังงานจะยังคงดำเนินการอย่างเต็มที่ในการบรรเทาให้เกิดผลกระทบกับประชาชนให้น้อยที่สุด และขอให้ประชาชนเข้าใจสถานการณ์วิกฤตนี้และร่วมกันใช้พลังงานโดยเฉพาะน้ำมันอย่างประหยัดและคุ้มค่าที่สุด เพื่อผ่านวิกฤตนี้ไปด้วยกัน” นายกุลิศ กล่าว

กระทรวงพลังงาน เข้าร่วมการประชุมหารือเชิงนโยบายด้านพลังงานระหว่างสหรัฐอเมริกาและไทย ครั้งที่ 2

คณะผู้แทนประเทศไทยและสหรัฐอเมริกา ได้เข้าร่วมการประชุมหารือเชิงนโยบายด้านพลังงานระหว่างสหรัฐอเมริกาและไทย ครั้งที่ 2 เมื่อวันที่ 17-18 กุมภาพันธ์ 2565 ณ กรุงเทพมหานคร โดยนายกุลิศ สมบัติศิริ ปลัดกระทรวงพลังงานของไทย และนายแฮร์รี คาเมียน รักษาการผู้ช่วยรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศด้านทรัพยากรพลังงาน สำนักทรัพยากรพลังงาน กระทรวงการต่างประเทศสหรัฐอเมริกา เป็นหัวหน้าคณะร่วมกับข้าราชการและผู้แทนจากภาคเอกชน องค์กร และสถาบันที่มีบทบาทสำคัญในการพัฒนาความร่วมมือทวิภาคีด้านพลังงานของทั้งสองประเทศ

การประชุมหารือเชิงนโยบายฯ ดังกล่าวนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อส่งเสริมความร่วมมือด้านพลังงานระหว่างสหรัฐอเมริกาและไทยในประเด็นสำคัญ ได้แก่ การส่งเสริมความมั่นคงด้านพลังงาน การพัฒนาภาคการผลิตไฟฟ้า การผลักดันการเปลี่ยนผ่านด้านพลังงานในภาคน้ำมันและก๊าซธรรมชาติ เทคโนโลยีพลังงานหมุนเวียน และการเพิ่มประสิทธิภาพด้านพลังงาน ทั้งนี้ การหารือเชิงนโยบายได้บรรลุผลสำเร็จตามเป้าหมายที่ตั้งไว้เป็นอย่างดี โดยทั้งสองฝ่ายได้ร่วมกันส่งเสริมให้เกิดความร่วมมือที่เป็นประโยชน์โดยเฉพาะระหว่างภาคเอกชน รวมถึงมีการหารือเพื่อให้เกิดความร่วมมือในการลงทุนและการดำเนินธุรกิจภาคพลังงานระหว่างสองประเทศ

ในระหว่างการประชุม ผู้แทนไทยและสหรัฐอเมริกาต่างให้ความสำคัญเป็นพิเศษกับแนวโน้มของการพัฒนายานยนต์ไฟฟ้าสำหรับอนาคต ตลอดจนเทคโนโลยีพลังงานแสงอาทิตย์และการพัฒนาห่วงโซ่อุปทานที่เกี่ยวข้อง การพัฒนาโครงข่ายสายส่งไฟฟ้าให้ทันสมัย และนวัตกรรมเทคโนโลยีพลังงานยุคใหม่ ซึ่งสอดคล้องกับนโยบายด้านพลังงานแห่งชาติ และสนับสนุนความพยายามในการแก้ไขปัญหาสภาพภูมิอากาศของทั้งสองประเทศ

ในระหว่างการประชุมฯ ประเทศไทยได้ประกาศความร่วมมือในหนังสือแสดงเจตจำนง (LOI) ที่ไม่มีผลผูกพันกับภาคเอกชนของสหรัฐอเมริกา ภายใต้ “ข้อริเริ่มความต้องการพลังงานสะอาด” (Clean Energy Demand Initiative) หรือ CEDI ซึ่งมีวัตถุประสงค์เพื่อส่งเสริมช่องทางสำหรับกระตุ้นการลงทุนในโครงการด้านพลังงานสะอาดในประเทศไทยและช่วยให้ภาคเอกชนของสหรัฐฯ สามารถบรรลุเป้าหมายในการใช้พลังงานสะอาดในการดำเนินธุรกิจ ซึ่งข้อริเริ่มนี้จะส่งเสริมให้เกิดการผลิตและการใช้พลังงานสะอาดในห่วงโซ่คุณค่าในภาคอุตสาหกรรม ซึ่งจะช่วยให้ทั้งสองฝ่ายบรรลุเป้าหมายด้านสภาพภูมิอากาศที่ท้าทายตามที่ได้ประกาศไว้ในเวที COP26 ได้

ฝ่ายไทยและสหรัฐฯ เห็นพ้องร่วมกันที่จะส่งเสริมความร่วมมือและให้การสนับสนุนการพัฒนาภาคพลังงานระหว่างสองประเทศ รวมถึง ยืนยันที่จะต่อยอดการสร้างความสัมพันธ์ที่แน่นแฟ้นและความเป็นพันธมิตรเชิงกลยุทธ์ในการพัฒนาภาคพลังงานร่วมกันต่อไป ทั้งนี้ เพื่อผลประโยชน์ร่วมกันในการสร้างการเติบโตทางเศรษฐกิจและการพัฒนาพลังงานที่ยั่งยืนระหว่างทั้งสองประเทศในยุคแห่งการเปลี่ยนผ่านด้านพลังงานอันสำคัญยิ่งนี้

กระทรวงพลังงาน เร่งหาข้อสรุปช่วยเหลือประชาชน หลัง ครม. มีมติประกาศลดภาษีสรรพสามิต

พลังงาน เร่งหาข้อสรุปช่วยเหลือประชาชน หลัง ครม. มีมติประกาศลดภาษีสรรพสามิตพร้อมวอนปั๊มบริหารจัดการปริมาณน้ำมันให้เพียงพอกับความต้องการของประชาชน

กระทรวงพลังงาน เร่งจัดประชุมคณะกรรมการบริหารกองทุนน้ำมันเชื้อเพลิง (กบน.) โดยเร็วเพื่อหาข้อสรุปแนวทางการช่วยเหลือประชาชนหลังคณะรัฐมนตรีมีมติประกาศลดภาษีสรรพสามิตน้ำมันดีเซล 3 บาทต่อลิตร พร้อมวอนให้สถานีบริการน้ำมันบริหารจัดการให้มีน้ำมันเพียงพอกับการให้บริการกับประชาชน ขอให้ยึดผลประโยชน์ของประชาชนเป็นหลัก

วันนี้ (15 กุมภาพันธ์ 2565) นายสมภพ พัฒนอริยางกูล โฆษกกระทรวงพลังงาน เปิดเผยว่าหลังจากการหารือภายในกระทรวงพลังงานเพื่อการกำหนดแนวทางการบริหารราคาเพื่อช่วยเหลือประชาชน ภายหลังจากการประชุมคณะรัฐมนตรีในวันนี้ได้มีมติประกาศลดการเก็บภาษีสรรพสามิตน้ำมันดีเซล 3 บาท/ลิตร โดยกระทรวงพลังงานจะเร่งจัดประชุมคณะกรรมการบริหารกองทุนน้ำมันเชื้อเพลิง (กบน.) เพื่อหาแนวทางในการบริหารราคาให้มีความเหมาะสมและสามารถช่วยเหลือประชาชนในการตรึงราคาน้ำมันดีเซลไม่เกิน 30 บาท/ลิตร ให้ได้ถึง 31 พฤษภาคม 2565 เนื่องจากสถานการณ์ราคาน้ำมันยังคงมีแนวโน้มสูงขึ้นอย่างต่อเนื่อง ซึ่งคณะรัฐมนตรีได้มีข้อเสนอแนะว่าการลดภาษี 3 บาทต่อลิตร จะมีส่วนหนึ่งที่จะนำมาลดภาระค่าน้ำมันให้กับประชาชนในทันที และอีกส่วนหนึ่งจะนำมาเสริมสภาพคล่องให้กับกองทุนน้ำมันเชื้อเพลิงเพื่อให้สามารถดูแลราคาน้ำมันดีเซลไม่ให้เกิน 30 บาท/ลิตร ได้ต่อเนื่องนานยิ่งขึ้น ซึ่งจำนวนของแต่ละส่วนนั้นทาง กบน. จะมีการพิจารณาต่อไป

ส่วนสถานะกองทุนน้ำมันเพลิง (ณ วันที่ 13 กุมภาพันธ์ 2565) ติดลบอยู่ที่กว่า 18,000 ล้านบาท ดังนั้น การบริหารจัดการส่วนลดภาษีสรรพสามิตน้ำมันในครั้งนี้ กบน. จะพิจารณาดำเนินการอย่างรอบคอบและเกิดประสิทธิภาพสูงสุด เพื่อรองรับสถานการณ์หากราคาในตลาดโลกขยับขึ้นไปอีก ให้สามารถตรึงราคาที่ 30 บาท/ลิตรได้ถึง 31 พฤษภาคม 2565

ทั้งนี้ เนื่องจากมาตรการลดภาษีสรรพสามิตน้ำมันดีเซล 3 บาทต่อลิตรเพื่อช่วยเหลือประชาชนในครั้งนี้
จะไม่ได้มีผลทันทีหลังจากมีมติจากคณะรัฐมนตรี อาจจะทำให้เกิดส่วนต่างราคาน้ำมันในช่วงก่อนวันที่จะมีการปรับลดจริง ที่ประชุมได้มอบหมายให้กรมธุรกิจพลังงานขอความร่วมมือกับผู้ค้ามาตรา 7 บริหารจัดการให้มีปริมาณน้ำมันเพียงพอกับการให้บริการกับประชาชนผู้ใช้บริการ โดยขอให้คำนึงถึงผลประโยชน์ของประชาชนในยามเกิดสถานการณ์วิกฤตด้านพลังงานในช่วงนี้เป็นหลัก

“จากการที่คณะรัฐมนตรีได้มีมติประกาศลดภาษีสรรพสามิตน้ำมันดีเซลลง 3 บาทต่อลิตรในวันนี้ กระทรวงพลังงานจะเร่งจัดประชุมคณะกรรมการบริหารกองทุนน้ำมันเชื้อเพลิงเพื่อประชุมหาแนวทางในการบริหารจัดการราคาน้ำมันให้ลดภาระต่อประชาชนในทันที และสามารถตรึงราคาน้ำมันดีเซลที่ 30 บาท/ลิตร ได้อย่างต่อเนื่อง และขอวอนให้สถานีบริการน้ำมันทุกแห่งทั่วประเทศบริหารจัดการปริมาณน้ำมันให้เพียงพอกับความต้องการของประชาชน รวมทั้งขอให้ประชาชนเข้าใจในสถานการณ์พลังงาน ณ ปัจจุบัน ซึ่งวิกฤตพลังงานนี้เกิดขึ้นในหลายๆ ประเทศเช่นกัน” นายสมภพ กล่าว

ประชุมชี้แจงตัวชี้วัดด้านการขับเคลื่อนยุทธศาสตร์พลังงานระดับจังหวัดปี 2565

  1. link เข้าร่วมการประชุม (Zoom meeting) คลิกที่นี่
  2. Meeting ID: 808 036 8876
    Passcode: 325311
  3. เอกสารประกอบการประชุม คลิกที่นี่
  4. แบบฟอร์มรายละเอียดแผนงาน คลิกที่นี่

กระทรวงพลังงานติดตามสถานการณ์ราคา LPG อย่างใกล้ชิดยันการปรับขึ้นราคาจะคำนึงถึงบริบทแวดล้อมด้านค่าครองชีพ

กระทรวงพลังงานติดตามสถานการณ์ราคา LPG อย่างใกล้ชิดยันการปรับขึ้นราคาจะคำนึงถึงบริบทแวดล้อมด้านค่าครองชีพ และปรับขึ้นราคาเป็นทางเลือกสุดท้าย
      กระทรวงพลังงานมอบหมายให้หน่วยงานติดตามสถานการณ์ราคา LPG อย่างใกล้หลังราคาตลาดโลกยังคงปรับตัวสูงขึ้นอย่างต่อเนื่อง พร้อมวางมาตรการช่วยเหลือให้เป็นไปตามสถานการณ์โดยจะยังคงมาตรการอุดหนุนไปจนถึง 31 มีนาคม 65 ยืนยัน การปรับราคาขึ้นแบบบันไดจะเป็นทางเลือกสุดท้ายในกรณีที่ราคายังคงสูงขึ้นไม่หยุด
      วันนี้ (8 กุมภาพันธ์ 2565) นายสมภพ พัฒนอริยางกูล โฆษกกระทรวงพลังงาน เปิดเผยว่า จากการที่ราคาก๊าซหุงต้มหรือ LPG ปรับตัวสูงขึ้นอย่างต่อเนื่อง แต่กระทรวงพลังงานก็ได้ใช้กลไกเงินกองทุนน้ำมันเชื้อเพลิงเข้าไปช่วยเหลือโดยการอุดหนุนราคาขายให้อยู่ที่ 318 บาทต่อถัง 15 กิโลกรัม (ไม่รวมค่าขนส่งและค่าบริการของแต่ละร้านค้า) โดยเริ่มอุดหนุนตั้งแต่เดือนมีนาคม 2563 เป็นต้นมา เพื่อบรรเทาผลกระทบต่อต้นทุนร้านอาหารและค่าครองชีพของประชาชน ซึ่งหากไม่มีการช่วยเหลือ ณ ปัจจุบัน ราคาขายที่แท้จริงจะสูงถึง 434 บาทต่อถัง 15 กิโลกรัม ทั้งนี้ โครงสร้างราคา LPG ของไทยจะอ้างอิงตามการปรับขึ้นลงตามราคาตลาดโลกในส่วนของราคา
ณ โรงกลั่น โดยกำหนดให้เปลี่ยนแปลงทุก 2 สัปดาห์ เพื่อลดความผันผวน โดยมีสำนักงานนโยบายและแผนพลังงานและกองทุนน้ำมันเชื้อเพลิงติดตามสถานการณ์อย่างใกล้ชิด
     “ด้วยสถานะเงินกองทุนน้ำมันเชื้อเพลิงที่เป็นกลไกสำคัญในการเข้าไปอุดหนุนราคาเพื่อลดผลกระทบให้กับประชาชนอยู่ในภาวะติดลบค่อนข้างมาก ทำให้มีแนวโน้มว่าต้องมีการปรับขึ้นราคา แต่อย่างไรก็ตาม ปลัดกระทรวงพลังงานก็ได้ชี้แจงในการแถลงข่าวเมื่อวานแล้วว่า ก่อนถึงช่วงเวลาดังกล่าว กระทรวงพลังงานจะต้องพิจารณาถึงบริบทแวดล้อมด้านค่าครองชีพในขณะนั้น หากมีสถานการณ์ที่ภาพรวมราคาสินค้าและบริการในช่วงดังกล่าวเพิ่มสูงขึ้น ก็จะมีการพิจารณาความเหมาะสมต่อไป อย่างเช่นสถานการณ์เมื่อต้นปีที่ผ่านมา กบง. ก็ได้มีมติขยายการตรึงราคาที่ 318 บาทต่อถัง 15 กิโลกรัม (ไม่รวมค่าขนส่ง) ซึ่งเดิมสิ้น 31 มกราคม 2565 ก็ได้ขยายถึง 31 มีนาคม 2565 รวมทั้งได้ขอความอนุเคราะห์ทางบริษัท ปตท. จำกัด (มหาชน) ขยายระยะเวลาการช่วยเหลือกลุ่มร้านค้า หาบเร่ แผงลอยอาหาร โดยให้ส่วนลดค่าก๊าซ LPG ผ่านบัตรสวัสดิการแห่งรัฐ ไปจนถึง 31 มีนาคม 2565 เช่นกัน” โฆษกกระทรวงพลังงานกล่าว

รองปลัดกระทรวงพลังงาน รับหนังสือจากประธานสหพันธ์การขนส่งทางบกแห่งประเทศไทย ที่ได้ยื่นข้อเรียกร้องให้กระทรวงพลังงานลดราคาน้ำมันดีเซล

กระทรวงพลังงานเข้าใจความเดือดร้อนทุกฝ่าย ใช้มาตรการช่วยเหลือมาอย่างต่อเนื่อง วอนเข้าใจสถานการณ์ราคาตลาดโลก
กระทรวงพลังงานเข้าใจความเดือดร้อนของกลุ่มผู้ใช้รถบรรทุก คนขับแท๊กซี่ และประชาชนผู้ใช้รถยนต์ที่ได้รับผลกระทบจากราคาน้ำมันที่เพิ่มสูงขึ้นอย่างต่อเนื่อง ย้ำ ตั้งแต่ปลายปี 2564 ที่ผ่านมา ได้มีการอุดหนุนราคาน้ำมันมาโดยตลอด โดยใช้เงินจากกองทุนน้ำมันเชื้อเพลิงจนปัจจุบันติดลบกว่า 3 หมื่นล้านบาทแล้ว วอนขอให้เข้าใจสถานการณ์ ซึ่งกระทรวงพลังงานจะใช้ทุกมาตรการที่มีช่วยเหลือประชาชนให้ได้รับผลกระทบให้น้อยที่สุด
วันนี้ (8 กุมภาพันธ์ 2565) นายสมบูรณ์ หน่อแก้ว รองปลัดกระทรวงพลังงาน ได้รับหนังสือจากนายอภิชาติ ไพรรุ่งเรือง ประธานสหพันธ์การขนส่งทางบกแห่งประเทศไทย ที่ได้ยื่นข้อเรียกร้องให้กระทรวงพลังงานลดราคาน้ำมันดีเซลให้เหลือลิตรละ 25 บาทเป็นเวลา 1 ปี เนื่องจากที่ผ่านมาได้รับความเดือดร้อนจากราคาน้ำมันดีเซลที่เพิ่มสูงขึ้นจนส่งผลกระทบต่อต้นทุนในการขนส่ง โดยทางสหพันธ์ฯ ขอให้ลดการเก็บภาษีสรรพสามิต ลดค่าการตลาด และหยุดผสมไบโอดีเซลในน้ำม้นดีเซลชั่วคราวเนื่องจากราคาไบโอดีเซลมีราคาสูง ส่งผลให้ราคาน้ำมันดีเซลมีราคาสูงตามไปด้วย
​ ทั้งนี้ กระทรวงพลังงานขอชี้แจงว่า ราคาน้ำมันที่เพิ่มสูงขึ้นอย่างต่อเนื่อง เกิดจากเศรษฐกิจในหลายประเทศเริ่มฟื้นตัวจากสถานการณ์โควิด ทำให้ในหลายๆ ประเทศ มีการใช้พลังงานเพิ่มสูงขึ้นอย่างรวดเร็ว ส่งผลให้ราคาพลังงานเพิ่มสูงขึ้นเนื่องจาก supply มีไม่เพียงพอกับความต้องการที่เพิ่มขึ้น นอกจากนั้น เกิดความตึงเครียดทางการเมืองในหลายพื้นที่ในโลกที่หนุนให้ราคาน้ำมันขยับขึ้นอีก รวมทั้งอัตราแลกเปลี่ยนที่ค่าเงินบาทอ่อนตัวลง ก็เป็นอีกสาเหตุที่ทำให้ราคาน้ำมันสูงขึ้นกว่าในอดีตที่ผ่านมา และอีกสาเหตุสำคัญคือ ประเทศไทยเป็นประเทศนำเข้าน้ำมันดิบกว่า 80-90 % ของความต้องการ ทำให้ราคาน้ำมันสำเร็จรูปในไทยจึงขึ้นลงสอดคลัองกับราคาตลาดโลก
​ “ต้องยอมรับว่า ขณะนี้ ประเทศไทยเจอหลายสถานการณ์เกิดขึ้นพร้อมๆ กัน จึงทำให้การแก้ไขสถานการณ์เป็นไปด้วยความยากลำบาก แต่ที่ผ่านมา กระทรวงพลังงาน ก็ได้ดำเนินหลายมาตรการในการช่วยเหลือประชาชน ทั้งลดค่าไฟฟ้า ค่าก๊าซหุงต้ม ส่วนสถานการณ์ราคาน้ำมันที่ปรับตัวสูงขึ้นตั้งแต่ปลายปีที่แล้ว กระทรวงพลังงาน ก็ได้ตรึงราคาน้ำมันดีเซลไม่ให้เกิน 30 บาทต่อลิตร มีการขอความร่วมมือผู้ค้าน้ำมันให้ลดค่าการตลาด มีการปรับลดสัดส่วนการผสมไบโอดีเซลมาอย่างต่อเนื่อง ซึ่งในปัจจุบัน
มีการปรับสัดส่วนผสมไบโอดีเซลในน้ำมัน B7 B10 และ B20 ให้เหลือขั้นต่ำร้อยละ 5 โดยปริมาตร หรือเหลือน้ำมันดีเซลเกรดเดียวคือ B5 และก็ยังได้เตรียมมาตรการทั้งระยะสั้นและระยะยาวสำหรับการปรับสัดส่วนผสมไบโอดีเซลให้มีความเหมาะสมและเป็นธรรมกับทุกฝ่าย ดังนั้น ขอให้ประชาชนเข้าใจถึงสถานการณ์ที่เกิดขึ้นในปัจจุบัน แต่กระทรวงพลังงานก็ขอยืนยันว่าจะดำเนินมาตรการช่วยเหลืออย่างต่อเนื่อง และจะยังคงเตรียมหามาตรการอื่นๆ เพื่อช่วยเหลือประชาชนให้ได้รับผลกระทบให้น้อยที่สุด”รองปลัดกระทรวงพลังงาน กล่าว

ปลัดกระทรวงพลังงานและผู้บริหารระดับสูง แถลงข่าวชี้แจงสถานการณ์พลังงาน

กระทรวงพลังงานจับตาสถานการณ์พลังงานโลก
เตรียมพร้อมทุกมาตรการลดผลกระทบ และสร้างความมั่นคงทางพลังงาน
กระทรวงพลังงานติดตามสถานการณ์พลังงานอย่างใกล้ชิด
หลังราคาพลังงานโลกทุกชนิดปรับเพิ่มสูงขึ้นอย่างต่อเนื่องและมีแนวโน้มที่จะสูงขึ้นต่อไปอีก พร้อมสั่งการให้ทุกหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง เตรียมพร้อมมาตรการเพื่อลดผลกระทบด้านราคาแก่ประชาชน รวมทั้งการวางแผนรับมือจัดหาเชื้อเพลิงในช่วงเปลี่ยนผ่านการดำเนินงานแหล่งก๊าซธรรมชาติช่วงเดือนเมษายนนี้ให้ดีที่สุด มั่นใจว่าจะก้าวผ่านสถานการณ์นี้ได้
วันนี้ (7 กุมภาพันธ์ 2565) นายกุลิศ สมบัติศิริ ปลัดกระทรวงพลังงาน พร้อมด้วยผู้บริหารระดับสูงของกระทรวงพลังงาน ประกอบด้วย นางสาวนันธิกา ทังสุพานิช อธิบดีกรมธุรกิจพลังงาน นายสราวุธ แก้วตาทิพย์ อธิบดีกรมเชื้อเพลิงธรรมชาติ นายประเสริฐ สินสุขประเสริฐ อธิบดีกรมพัฒนาพลังงานทดแทนและอนุรักษ์พลังงาน นายวัฒนพงษ์ คุโรวาท ผู้อำนวยการสำนักนโยบายและแผนพลังงาน นายคมกฤช ตันตระวาณิชย์ เลขาธิการสำนักงานคณะกรรมการกำกับกิจการพลังงาน และนายสมภพ พัฒนอริยางกูล โฆษก กระทรวงพลังงาน ได้ร่วมกันแถลงสถานการณ์พลังงานที่จะเกิดขึ้นในปี 2565 โดยเฉพาะสถานการณ์ด้านราคาที่มีการปรับตัวเพิ่มสูงขึ้นอย่างต่อเนื่องตั้งแต่ปลายปี 2564 ที่ผ่านมาถึงปัจจุบัน เพื่อเตรียมแผนรับมือ และกำหนดมาตรการลดผลกระทบต่างๆให้ดีที่สุด
นายกุลิศ สมบัติศิริ ปลัดกระทรวงพลังงาน เผยว่า “ได้สั่งการให้ทุกหน่วยงานติดตามสถานการณ์ในส่วนที่เกี่ยวข้องอย่างใกล้ชิด โดยเฉพาะด้านราคาน้ำมันที่มีแนวโน้มสูงขึ้นอย่างต่อเนื่อง ได้มอบหมายให้สำนักงานนโยบายและแผนพลังงาน กรมธุรกิจพลังงาน และกองทุนน้ำมันเชื้อเพลิง ในการร่วมกันแก้ไขปัญหาอย่างเร่งด่วนและเป็นรูปธรรม ซึ่งที่ผ่านมากระทรวงพลังงานได้ใช้มาตรการต่างๆอย่างเต็มที่ เพื่อลดผลกระทบที่เกิดขึ้นกับประชาชน และในปีนี้มีสถานการณ์การเปลี่ยนผ่านการดำเนินงานของแหล่ง ก๊าซธรรมชาติ แปลง G1/61 หรือแหล่งก๊าซธรรมชาติเอราวัณที่จะเกิดขึ้นในช่วงเดือนเมษายนนี้ด้วย ทั้งนี้ กระทรวงได้ตั้งคณะอนุกรรมการบริหารจัดการรองรับสถานการณ์ฉุกเฉินด้านพลังงานภายใต้ กบง. ติดตามและกำกับการดำเนินการ โดยยึดหลักการรักษาความมั่นคงในการจัดหาและคำนึงถึงผลกระทบค่าไฟฟ้าที่จะมีต่อประชาชนให้น้อยที่สุด คณะอนุกรรมการฯ ได้มอบหมายให้กรมเชื้อเพลิงธรรมชาติ บริษัท ปตท.จำกัด (มหาชน) การไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทย เร่งจัดหาเชื้อเพลิงและบริหารจัดการตามแผนที่กำหนด โดยมีสำนักงานคณะกรรมการกำกับกิจการพลังงานเป็นผู้พิจารณาความเหมาะสมในการดำเนินการแต่ละมาตรการให้เป็นไปตาม Merit Order รวมถึงพิจารณาแผนการนำเข้า LNG และการจัดสรรตาม ความเหมาะสม เพื่อไม่ให้กระทบกับค่าไฟฟ้าและสร้างความมั่นใจให้กับผู้ประกอบการและประชาชนผู้ใช้ไฟฟ้าทั่วไปว่าจะไม่เกิดเหตุการณ์ไฟฟ้าดับอย่างแน่นอน”
ด้านนายวัฒนพงษ์ คุโรวาท ผู้อำนวยการสำนักนโยบายและแผนพลังงาน เผยว่า “ราคาน้ำมันโลก ได้แรงหนุนจากหลายปัจจัย ทั้งการคาดการณ์ความต้องการใช้น้ำมันจะเพิ่มขึ้นหลังจากโควิดคลี่คลาย และปริมาณการผลิตที่ยังคงออกสู่ตลาดอย่างจำกัด มีการคาดการณ์ว่าการแพร่ระบาดของโควิดสายพันธุ์ Omicron จะคลี่คลายในครึ่งปีแรกของปีนี้ โดยรายงานฉบับเดือน ม.ค. 65 ของ OPEC คาดการณ์ความต้องการใช้น้ำมันโลกปี 2564 เพิ่มขึ้น 5.65 ล้านบาร์เรลต่อวันจากปีก่อนหน้า อยู่ที่ 96.63 ล้านบาร์เรลต่อวัน และปี 2565 เพิ่มขึ้น 4.16 ล้านบาร์เรลต่อวันจากปีก่อนหน้า อยู่ที่ 100.79 ล้านบาร์เรลต่อวัน ซึ่งเป็นตัวเลขความต้องการที่สูงขึ้นมาก และมีผลต่อราคาน้ำมันที่ปรับตัวสูงขึ้นทั่วโลก
ส่วนมาตรการปรับลดสัดส่วนผสมไบโอดีเซลในน้ำมันดีเซลหมุนเร็ว ปรับเป็น B5 ที่มีผลมาตั้งแต่วันที่ 5 กุมภาพันธ์ 2565 ที่ผ่านมาไปจนถึง 31 มีนาคม 2565 นางสาวนันธิกา ทังสุพานิช อธิบดีกรมธุรกิจพลังงาน เผยว่า “กรมธุรกิจพลังงานในฐานะฝ่ายเลขานุการคณะอนุกรรมการพิจารณาสัดส่วนการผสม ไบโอดีเซล (บี100) ในภาวะวิกฤติด้านราคาน้ำมันเชื้อเพลิง ได้ร่วมกับหน่วยงานที่เกี่ยวข้องทั้งกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ กระทรวงพาณิชย์ เสนอ กบง. พิจารณาให้ความเห็นชอบแนวทางการปรับสูตรการผสมเชื้อเพลิงชีวภาพในน้ำมันเชื้อเพลิงในภาวะปกติ เป็น 2 ระยะ ได้แก่ ระยะสั้น (พ.ศ. 2565 ถึง 2566) ได้กำหนดให้มีน้ำมันดีเซลหมุนเร็ว 2 เกรด คือ น้ำมันดีเซลหมุนเร็วบี 7 และน้ำมันดีเซลหมุนเร็วบี 20 สำหรับใช้กับรถบรรทุกขนาดใหญ่ และระยะยาว (พ.ศ. 2567 เป็นต้นไป) ได้กำหนดเหลือน้ำมันดีเซลหมุนเร็วบี 7 เพียงเกรดเดียว
ซึ่งมาตรการดังกล่าวกระทรวงพลังงานได้ดำเนินการปรับเปลี่ยนให้สอดคล้องกับสถานการณ์ด้านราคาโดยคำนึงถึงทุกฝ่าย ไม่ว่าจะทั้งผู้ใช้รถยนต์ดีเซลและเกษตรกรชวนสวนปาล์ม นอกจากนั้น เพื่อให้ทุกภาคส่วนที่เกี่ยวข้องมีเวลาในการบริหารจัดการและรับมือกับการเปลี่ยนแปลงการใช้เชื้อเพลิงในรถยนต์ โดยเฉพาะรถยนต์ไฟฟ้าหรือ EV ซึ่งจะกระทบกับการใช้น้ำมัน คณะอนุกรรมการเพิ่มขีดความสามารถในการแข่งขันของอุตสาหกรรมปาล์มน้ำมัน ภายใต้คณะกรรมการปาล์มน้ำมัน ได้เริ่มส่งเสริมและพัฒนาผลิตภัณฑ์ที่ใช้น้ำมันปาล์มเป็นวัตถุดิบ เช่น ผลิตภัณฑ์หล่อลื่น น้ำมันหม้อแปลงไฟฟ้าชีวภาพ ผงซักฟอกที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม น้ำมันหล่อลื่นและจาระบีชีวภาพ รวมทั้งกรีนดีเซล และ BioJet ที่จะสามารถรองรับปริมาณน้ำมันปาล์มได้ในอนาคต
ด้านนายสราวุธ แก้วตาทิพย์ อธิบดีกรมเชื้อเพลิงธรรมชาติ เปิดเผยเกี่ยวกับการดำเนินงานช่วงเปลี่ยนผ่านการดำเนินงานของแปลง G1/61 หรือแหล่งก๊าซธรรมชาติเอราวัณภายใต้ระบบสัญญาแบ่งปันผลผลิตว่า “กรมเชื้อเพลิงธรรมชาติได้ประสานการเจรจาระหว่างบริษัทผู้รับสัมปทานรายเดิม (บริษัท เชฟรอนประเทศไทยสำรวจและผลิต จำกัด) และผู้รับสัญญารายใหม่ (บริษัท ปตท.สผ. เอนเนอร์ยี่ ดีเวลลอปเมนท์ จำกัด หรือ ปตท.สผ. อีดี) ซึ่งที่ผ่านมา ทั้ง 2 บริษัท ได้ลงนามในข้อตกลงความร่วมมือต่างๆ ในช่วงเปลี่ยนผ่านของแหล่งก๊าซธรรมชาติกลุ่มเอราวัณ ซึ่งจะทำให้การดำเนินการตามสัญญาแบ่งปันผลผลิตในแปลง G1/61 เดินหน้าต่อไป โดยหลังจากนี้ กรมเชื้อเพลิงธรรมชาติจะได้เร่งผลักดันให้บริษัท ปตท.สผ. อีดี วางแผนบริหารจัดการ และเตรียมการผลิตก๊าซธรรมชาติจากแหล่งเอราวัณ เพื่อให้เกิดความต่อเนื่อง และได้ปริมาณตามเงื่อนไขในการประมูลโดยเร็วที่สุด ซึ่งมั่นใจได้ว่าการเปลี่ยนผ่านการดำเนินงานในช่วงเดือนเมษายนนี้ กรมฯ จะสามารถบริหารจัดการเชื้อเพลิงด้วยการประสานกับผู้รับสัมปทานรายอื่น ๆ ให้เตรียมความพร้อมให้
ผลิตก๊าซธรรมชาติได้เต็มความสามารถตามสัญญาซื้อขายก๊าซธรรมชาติ และเพิ่มกำลังการผลิตก๊าซธรรมชาติจากแหล่งอื่นๆ มาทดแทน
สำหรับแผนการดำเนินโครงการโรงไฟฟ้าชุมชนในปี 2565 นายประเสริฐ สินสุขประเสริฐ อธิบดี
กรมพัฒนาพลังงานทดแทนและอนุรักษ์พลังงาน เผยว่า “การดำเนินโครงการโรงไฟฟ้าชุมชนเพื่อเศรษฐกิจฐานรากในระยะต่อไป กระทรวงพลังงาน ได้ร่วมมือกับ กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ กระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม เพื่อกำหนดปริมาณ และ Zoning ให้สอดคล้องกับศักยภาพ เป้าหมาย และนโยบายการจัดสรรพื้นที่ทางการเกษตร โดยกำหนดพื้นที่เหมาะสมเพื่อปลูกพืชพลังงาน และกำหนดพื้นที่ที่มีความต้องการไฟฟ้า(ไฟตก/ไฟดับ/เสริมความมั่นคง) เพื่อลดการสูญเสียในระบบส่ง และไม่เป็นภาระกับระบบโครงข่ายพลังงาน และ ได้ร่วมมือกับสภาอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย ในการเพิ่มมูลค่าพืชพลังงาน โดยจะหาแนวทางการนำผลผลิตของการปลูกพืชพลังงานไปใช้ในภาคอุตสาหกรรม เช่น อุตสาหกรรมกระดาษ อุตสาหกรรมเฟอร์นิเจอร์ เพื่อสร้างรายได้ให้แก่เกษตรกรและวิสาหกิจชุมชนแผนการดำเนินงานโรงไฟฟ้าชุมชนฯ ในเฟสที่สอง 400 เมกะวัตต์ ในปี 2565 ดังนี้ (1) วิเคราะห์ประเมินผลโครงการนำร่อง (2) วิเคราะห์ความเป็นไปได้และความเหมาะสมในการขยายผลในระยะที่ 2 (3) กำหนดรูปแบบเป้าหมายการดำเนินโครงการ ได้แก่ กำหนดพื้นที่ จัดหาเทคโนโลยี ส่งเสริมการแปรรูปจัดเตรียมเชื้อเพลิง การสร้างรายได้จากการนำไปใช้ในอุตสาหกรรมอื่น ประเมินต้นทุน กำหนดราคารับซื้อเชื้อเพลิง (4) กำหนดอัตรารับซื้อไฟฟ้าและโมเดลทางธุรกิจที่เหมาะสม”
“แม้ว่าสถานการณ์ด้านราคาพลังงานจะมีแนวโน้มเพิ่มสูงขึ้นทั่วโลก ซึ่งสถานการณ์นี้ไม่ได้เกิดขึ้นเฉพาะประเทศไทย ผมขอเน้นย้ำว่า ประเทศไทยเป็นประเทศนำเข้าน้ำมัน ไม่ได้มีแหล่งน้ำมันมากมายตามมี
ปรากฎหรือมีการส่งต่อในสื่อโซเชียล ซึ่งการที่ประเทศไทยเป็นประเทศนำเข้าน้ำมัน ทำให้การขึ้นลงของราคา
จะเป็นไปตามราคาตลาดโลกจริงๆ ทั้งนี้ กระทรวงพลังงานมีการประชุมติดตามสถานการณ์ทุกสัปดาห์
เพื่อเตรียมมาตรการต่างๆ มารองรับและบรรเทาผลกระทบ ซึ่งที่ผ่านมา ก็ได้อาศัยกลไกเงินกองทุนน้ำมันเชื้อเพลิงในการชดเชยราคาน้ำมันดีเซล เพื่อไม่ให้กระทบกับประชาชนทุกภาคส่วนเนื่องจากน้ำมันดีเซลเป็น
องค์ประกอบหนึ่งในต้นทุนสินค้าและบริการ ส่วนประเด็นเรื่องการจัดหาก๊าซธรรมชาติและการนำเข้า LNG เพื่อนำมาทดแทนก๊าซธรรมชาติที่หายไปในช่วงเปลี่ยนผ่านผู้รับสัมปทาน กระทรวงพลังงานให้ได้ความสำคัญในการจัดลำดับหรือ Merit order ในการเลือกใช้เชื้อเพลิงในการผลิตไฟฟ้า ไม่ว่าจะเป็นการนำเข้า LNG Spot การใช้น้ำมันทดแทน การรับซื้อไฟฟ้า หรือการเลื่อนแผนปลดโรงไฟฟ้าแม่เมาะ เพื่อให้เชื้อเพลิงที่ใช้ในการผลิต
ไฟฟ้ามีราคาที่ต่ำที่สุด เพื่อดูแลค่า Ft ให้ดีที่สุด อย่างไรก็ดี ในช่วงสถานการณ์ปัจจุบันที่เป็นวิกฤตพลังงานของโลก ซึ่งราคาน้ำมันดิบที่เพิ่มขึ้นทุก 1 ดอลลาร์สหรัฐต่อบาร์เรลจะส่งผลต่อราคาน้ำมันขายปลีก 20 สตางค์ต่อลิตร ขอให้ทุกภาคส่วนใช้พลังงานอย่างมีประสิทธิภาพ” ปลัดกระทรวงพลังงานกล่าวในท้ายที่สุด

กระทรวงพลังงานขยายเวลาการเสนอชื่อบุคคลเพื่อรับการคัดเลือกเป็นกรรมการภาคประชาสังคมของกระทรวงพลังงาน (ฉบับที่ 3)

 

กระทรวงพลังงานขยายเวลาการเสนอชื่อบุคคลเพื่อรับการคัดเลือกเป็นกรรมการภาคประชาสังคมของกระทรวงพลังงาน (ฉบับที่ 3) จนถึงวันที่ 11 กรกฎาคม 2565

คุณสมบัติ

  1. มีสัญชาติไทย
  2. มีอายุไม่ต่ำกว่าสามสิบปีบริบูรณ์
  3. ไม่เป็นบุคคลล้มละลายหรือเคยเป็นบุคคลล้มละลายทุจริต
  4. ไม่เป็นคนไร้ความสามารถหรือคนเสมือนไร้ความสามารถ
  5. ไม่เคยเป็นผู้ต้องคำพิพากษาว่ากระทำความผิดทางอาญา หรือเป็นผู้ที่อยู่ระหว่างถูกดำเนินคดีอาญาในชั้นศาลนับแต่ศาลประทับรับฟ้อง เว้นแต่เป็นความผิดที่กระทำโดยประมาทหรือความผิดลหุโทษ
  6. ไม่เป็นผู้ถูกสั่งพักงานหรือสั่งให้ออกจากราชการไว้ก่อนหรือพักงาน เลิกจ้าง ไล่ออก ปลดออก หรือให้ออกจากราชการหรือออกจากงาน ในหน่วยงานของรัฐ หรือหน่วยงานของเอกชน เพราะทุจริตต่อหน้าที่หรือประพฤติชั่วอย่างร้ายแรง
  7. ไม่เป็นผู้ดำรงตำแหน่งทางการเมือง สมาชิกสภาท้องถิ่น หรือผู้บริหารท้องถิ่นกรรมการหรือผู้ดำรงตำแหน่งซึ่งรับผิดชอบการบริหารพรรคการเมืองที่ปรึกษาพรรคการเมืองหรือเจ้าหน้าที่ของพรรคการเมือง

ผู้ได้รับการเสนอชื่อจะต้องเป็นผู้ได้รับการเสนอชื่อและรับรองจากหน่วยงานหรือองค์กรที่มีส่วนได้ส่วนเสียด้านพลังงาน ใน 4 กลุ่ม ดังนี้

  1. กลุ่มผู้ใช้/ผู้บริโภคพลังงาน
  2. ผู้ผลิต/ผู้จำหน่ายพลังงาน
  3. ภาควิชาการ
  4. กรรมการหรือผู้ที่ได้รับมอบหมายจากคณะกรรมการด้านพลังงาน

อำนาจหน้าที่

  1. ให้คำปรึกษาและข้อเสนอแนะเชิงนโยบายต่อรัฐมนตรีว่าการกระทรวงพลังงานต่อการดำเนินการของคณะกรรมการแต่ละชุดของกระทรวงพลังงาน ติดตามการดำเนินงานตามนโยบายและรับทราบปัญหา พร้อมให้ข้อเสนอแนะ
  2. ปฏิบัติหน้าที่อื่น ๆ ตามที่รัฐมนตรีว่าการกระทรวงพลังงานมอบหมาย

วาระและแนวทางการทำงานของคณะกรรมการภาคประชาสังคม ของกระทรวงพลังงาน

  1. คณะกรรมการภาคประชาสังคม ของกระทรวงพลังงาน มีอายุไม่เกิน 3 ปี
  2. การให้คำปรึกษาและข้อเสนอแนะเชิงนโยบายต่อรัฐมนตรีว่าการกระทรวงพลังงานสามารถให้ดำเนินการเป็นรายบุคคล กลุ่มบุคคล หรือคณะกรรมการฯ โดยจะต้องจัดทำเป็นเอกสารส่งให้เลขานุการคณะกรรมการภาคประชาสังคม ของกระทรวงพลังงาน เพื่อนำเสนอต่อรัฐมนตรีว่าการกระทรวงพลังงานต่อไป

เอกสารที่ใช้ประกอบ

  1. รูปถ่ายหน้าตรง 2 นิ้ว ไม่สวมหมวก ไม่สวมแว่นตาดำ จำนวน 3 รูป ซึ่งถ่ายไว้ไม่เกิน 1 ปี นับจากวันที่ส่งใบสมัคร
  2. สำเนาบัตรประจำตัวประชาชนและทะเบียนบ้าน
  3. สำเนาหลักฐานแสดงวุฒิการศึกษาตามที่ปรากฏในแบบประวัติบุคคลฯ
  4. เอกสารอื่น ๆ (ถ้ามี) เช่น ใบเปลี่ยนชื่อ-สกุล และผลงานเชิงประจักษ์ในด้านพลังงานที่เกี่ยวข้อง

ติดต่อสอบถามข้อมูลเพิ่มเติม

ทั้งนี้ สามารถสอบถามรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ กองยุทธศาสตร์และแผนงาน สำนักงานปลัดกระทรวงพลังงาน ชั้น 23 ศูนย์เอนเนอร์ยี่คอมเพล็กซ์ อาคารบี ถนนวิภาวดีรังสิต แขวงจตุจักร เขตจตุจักร กรุงเทพมหานคร  10900 หมายเลขโทรศัพท์ 0 2140 6302

 

ดาวน์โหลดประกาศกระทรวงพลังงาน เรื่อง ขยายเวลาการเสนอชื่อบุคคลฯ (ฉบับที่ 3) คลิกที่นี่

ดาวน์โหลดใบสมัคร  คลิกที่นี่

รองนายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรีว่าการกระทรวงพลังงาน รับพระราชทานบัตรอำนวยพรพร้อมสมุดบันทึกประจำวัน เนื่องในโอกาสวันขึ้นปีใหม่ พุทธศักราช 2565

เมื่อวันจันทร์ที่ 17 มกราคม 2565 นายสุพัฒนพงษ์ พันธ์มีเชาว์ รองนายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรีว่าการกระทรวงพลังงาน รับพระราชทานบัตรอำนวยพรพร้อมสมุดบันทึกประจำวัน เนื่องในโอกาสวันขึ้นปีใหม่ พุทธศักราช 2565 ของสมเด็จพระเจ้าน้องนางเธอ เจ้าฟ้าจุฬาภรณวลัยลักษณ์ อัครราชกุมารี กรมพระศรีสวางควัฒน วรขัตติยราชนารี และสมเด็จพระเจ้าลูกเธอ เจ้าฟ้าสิริวัณณวรี นารีรัตนราชกัญญา ณ ห้องประชุม 9 ชั้น 15 ศูนย์เอนเนอร์ยี่คอมเพล็กซ์ กระทรวงพลังงาน

 

 

 

 

พิธีลงนามบันทึกความร่วมมือว่าด้วยการเป็นหุ้นส่วนด้านพลังงานระหว่างกระทรวงพลังงานแห่งราชอาณาจักรไทยและกระทรวงเศรษฐกิจ การค้า และอุตสาหกรรม ประเทศญี่ปุ่น

นายกรัฐมนตรี ร่วมเป็นสักขีพยานในพิธีลงนามบันทึกความร่วมมือว่าด้วยการเป็นหุ้นส่วนด้านพลังงานระหว่างกระทรวงพลังงานแห่งราชอาณาจักรไทยและกระทรวงเศรษฐกิจ การค้า และอุตสาหกรรม ประเทศญี่ปุ่น ณ ห้องสีม่วง ตึกไทยคู่ฟ้า ทำเนียบรัฐบาล

เมื่อวันที่ 13 มกราคม 2565 ได้มีการประชุมหารือทวิภาคีระหว่างนายสุพัฒนพงศ์ พันธ์มีเชาว์ รองนายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรีว่าการกระทรวงพลังงาน และนายฮากิอูดะ โคอิจิ รัฐมนตรีกระทรวงเศรษฐกิจ การค้า และอุตสาหกรรม ประเทศญี่ปุ่น เกี่ยวกับข้อริเริ่มการเป็นหุ้นส่วนการร่วมสร้างสรรค์ (co-creation) เพื่อนำไปสู่การลงทุนในอนาคต โดยได้มีการหารือเพื่อแลกเปลี่ยนข้อมูลและความเห็นเกี่ยวกับการพัฒนาความร่วมมือและเสริมสร้างความสัมพันธ์ระหว่างฝ่ายไทยและฝ่ายญี่ปุ่นในการสร้างสรรค์นวัตกรรม เสริมสร้างความสามารถในการแข่งขัน รวมถึงการก้าวเข้าสู่ยุคของการเปลี่ยนผ่านด้านพลังงานไปสู่พลังงานสะอาดที่อยู่บนพื้นฐานของสถานการณ์เป็นจริง (Realistic Energy Transition) ไปพร้อมกับการเติบโตทางเศรษฐกิจอย่างยั่งยืน

รัฐมนตรีของทั้งสองฝ่ายยังได้เล็งเห็นความสำคัญของความร่วมมือระหว่างสองประเทศเพื่อผลักดันเป้าหมายการปล่อยคาร์บอนสุทธิเป็นศูนย์ในปี ค.ศ. 2050 โดยมีการลงนามในบันทึกความร่วมมือว่าด้วยการเป็นหุ้นส่วนด้านพลังงานระหว่างกระทรวงพลังงานแห่งราชอาณาจักรไทยและกระทรวงเศรษฐกิจ การค้า และอุตสาหกรรม ประเทศญี่ปุ่น เพื่อแสดงเจตนารมณ์ร่วมกันในการประสานความร่วมมือด้านพลังงานเพื่อส่งเสริมความร่วมมือด้านพลังงานระหว่างประเทศไทยและประเทศญี่ปุ่น ซึ่งจะช่วยกำหนดทิศทางและกรอบการดำเนินความร่วมมือด้านพลังงานระหว่างสองประเทศในมิติต่าง ๆ เพื่อผลักดันให้เกิดการเปลี่ยนผ่านด้านพลังงาน ลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจกและส่งเสริมการเติบโตทางเศรษฐกิจโดยลดผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อม ทั้งนี้ ฝ่ายญี่ปุ่นได้ประกาศสนับสนุนประเทศไทยในการเปลี่ยนผ่านด้านพลังงานผ่านข้อริเริ่ม “Asia Energy Transition Initiative” หรือ AETI และรัฐมนตรีทั้งสองฝ่ายยืนยันที่จะดำเนินความร่วมมือเพื่อนโยบายส่งเสริมการเปลี่ยนผ่านด้านพลังงานและการลดการปล่อยคาร์บอนเพื่อนำไปสู่เป้าหมายการเป็นสังคมคาร์บอนต่ำต่อไป

การประชุมคณะกรรมการประเมินผลการควบคุมภายในของ พน. ครั้งที่ 1/2565

ระเบียบวาระการประชุมฯ   คลิกที่นี่

รายงานการประชุมคณะกรรมการประเมินผลการควบคุมภายในของ พน. ปีงบประมาณ 2564   คลิกที่นี่

รายงานการติดตามการประเมินผลการควบคุมภายใน ปีงบประมาณ พ.ศ. 2564  (แบบติดตาม ปค. 5)  คลิกที่นี่

การประเมินผลการควบคุมภายใน (แบบ ปค. 2)  คลิกที่นี่

รายงานผลการประเมินองค์ประกอบของการควบคุมภายใน (สิ้นสุด 30 ก.ย. 64)  (แบบ ปค. 4)  คลิกที่นี่

รายงานการประเมินผลการควบคุมภายใน (สิ้นสุด 30 ก.ย. 64)  (แบบ ปค. 5)  คลิกที่นี่

 

ปลัดกระทรวงพลังงาน พร้อมด้วยคณะผู้บริหารระดับสูงของหน่วยงานในสังกัดกระทรวงพลังงาน ถวายแจกันดอกไม้เบื้องหน้าพระบรมฉายาลักษณ์ และร่วมลงนามถวาย พระพร พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว เนื่องในวันขึ้นปีใหม่ พุทธศักราช 2565

วันนี้ (1 ม.ค. 65) นายกุลิศ สมบัติศิริ ปลัดกระทรวงพลังงาน พร้อมด้วยคณะผู้บริหารระดับสูงของหน่วยงานในสังกัดกระทรวงพลังงาน ถวายแจกันดอกไม้เบื้องหน้าพระบรมฉายาลักษณ์ และร่วมลงนามถวาย พระพร พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว เนื่องในวันขึ้นปีใหม่ พุทธศักราช 2565 ณ ศาลาสหทัยสมาคม ภายในพระบรมมหาราชวัง

การประชุมคณะอนุกรรมการบริหารจัดการรองรับสถานการณ์ฉุกเฉินด้านพลังงาน ครั้งที่ 5-6/2565

 

  1. link การเข้าร่วมประชุมคณะอนุกรรมการฯ ครั้งที่ 7 Meeting ID: 932 9608 1659 Passcode:
    คลิกที่นี่
  2. ระเบียบวาระการประชุมคณะอนุกรรมการ ครั้งที่ 7/2565 คลิกที่นี่
  3. ร่างสรุปรายงานการประชุมคณะอนุกรรมการ ครั้งที่ 6/2565 คลิกที่นี่
  4. ร่างสรุปรายงานการประชุมคณะอนุกรรมการ ครั้งที่ 5/2565 คลิกที่นี่

“กระทรวงพลังงาน” มอบของขวัญปีใหม่ ส่งสุขทั่วไทยจากใจพลังงาน ชูตรึงราคาน้ำมัน LPG NGV แจกคูปองส่วนลดอุปกรณ์ไฟฟ้าเบอร์5 ส่วนลดที่พักและสินค้าชุมชน

“กระทรวงพลังงาน” มอบของขวัญปีใหม่ ส่งสุขทั่วไทยจากใจพลังงาน ชูตรึงราคาน้ำมัน LPG NGV แจกคูปองส่วนลดอุปกรณ์ไฟฟ้าเบอร์5 ส่วนลดที่พักและสินค้าชุมชน
กระทรวงพลังงาน เดินหน้าตรึงราคาพลังงานเป็นของขวัญปีใหม่ “2565” ส่งสุขทั่วไทยจากใจพลังงาน เอาใจคนเดินทางกลับบ้าน ท่องเที่ยว ช่วงปีใหม่ ตรึงราคาน้ำมันทุกชนิดตลอด 11 วัน ตรึงราคาน้ำมันดีเซลไม่เกิน 30 บาทต่อลิตรถึงสิ้นเดือนมีนาคม 2565 ขยายส่วนลด LPG 100 บาทต่อคนต่อเดือน ตรึงราคา LPG อยู่ที่ 318 บาท/ถัง 15 กิโลกรัม ตรึงราคา NGV อยู่ที่ 15.59 บาท/กก. พร้อมแจกคูปองส่วนลดอุปกรณ์ไฟฟ้าเบอร์5 มูลค่า 500 บาท และส่วนลด 50% ที่พักและสินค้าชุมชน
นายสุพัฒนพงษ์ พันธ์มีเชาว์ รองนายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรีว่าการกระทรวงพลังงาน เปิดเผยว่า ตามที่รัฐบาลมีนโยบายให้ทุกกระทรวงมอบของขวัญปีใหม่ประจำปี 2565 ให้กับประชาชน ทางกระทรวงพลังงาน และหน่วยงานในสังกัด ได้จัดทำโครงการของขวัญปีใหม่ที่ได้นำเสนอ ครม.เมื่อวันที่ 21 ธันวาคม 2564 ที่มุ่งเน้นเรื่องการลดภาระค่าใช้จ่ายด้านพลังงาน สนับสนุนกิจกรรมในการสร้างความสุขให้คนไทย โดย กระทรวงพลังงาน และหน่วยงานในการกำกับดูแลได้มอบของขวัญปีใหม่ให้กับประชาชนทุกคนใช้ช่วงเทศกาลปีใหม่ ด้วยการ ตรึงราคาน้ำมันทุกชนิดตลอด 11 วัน ระหว่างวันที่ 25 ธันวาคม 2564 – วันที่ 4 มกราคม 2565 (เฉพาะสถานีบริการของ PTT Station) ตรึงราคาน้ำมันดีเซลไม่เกิน 30 บาทต่อลิตรถึงสิ้นเดือนมีนาคม 2565 ขยายส่วนลด LPG จำนวน 100 บาทต่อคนต่อเดือนจนถึง 31 มกราคม 2565 ตรึงราคา LPG อยู่ที่ 318 บาท/ถัง 15 กิโลกรัม จนถึง 31 มกราคม 2565 ตรึงราคา NGV อยู่ที่ 15.59 บาท/กก.จนถึง 15 กุมภาพันธ์ 2565 นอกจากนี้ ยังแจกคูปองส่วนลดอุปกรณ์ไฟฟ้าเบอร์5 มูลค่า 500 บาท จำนวน 10,000 สิทธิ์ และส่วนลด 50% สำหรับเลือกซื้อสินค้าชุมชน และที่พักบนเขื่อนของการไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทย
“และเนื่องในโอกาสปีใหม่นี้ ในฐานะตัวแทนของกระทรวงพลังงาน ขออาราธนาคุณพระศรีรัตนตรัยและสิ่งศักดิ์สิทธิ์ทั้งหลายได้โปรดคุ้มครองให้พี่น้องประชาชนคนไทยทุกคนประสบแต่ความสุข มีสุขภาพร่างกาย ที่แข็งแรง ขอให้เดินทางทั้งท่องเที่ยวหรือการเดินทางกลับภูมิลำเนาด้วยความปลอดภัย และที่สำคัญขอให้ร่วมกิจกรรมต่างๆ ด้วยความระมัดระวังและเคร่งครัดต่อมาตรการในสถานการณ์โควิด-19 ที่ยังคงน่าเป็นห่วงจากสายพันธุ์โอมิครอนในขณะนี้ เพราะการร่วมมือกันในสถานการณ์ที่ยากลำบากใน 2ปีที่ผ่านมา แสดงให้เห็นแล้วว่าความร่วมมือสามัคคีที่เกิดขึ้นในสังคมไทย จะทำให้พวกเราทุกคนก้าวผ่านทุกสถานการณ์ไปได้ด้วยกันครับ” รองนายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรีว่าการกระทรวงพลังงาน กล่าว

รองนายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรีว่าการกระทรวงพลังงาน หารือกับ Mr. Daleep Singh ที่ปรึกษาความมั่นคงแห่งชาติ และรองผู้อำนวยการสภาเศรษฐกิจแห่งชาติ ประเทศสหรัฐอเมริกา

เมื่อวันที่ 3 ธันวาคม 2564 ได้มีการเข้าพบหารือระหว่างรองนายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรีว่าการกระทรวงพลังงาน นายสุพัฒนพงษ์ พันธุ์มีเชาว์ กับ Mr. Daleep Singh , United States Deputy National Security Advisor for International Economics ซึ่งดำรงตำแหน่งรองที่ปรึกษาความมั่นคงแห่งชาติ และรองผู้อำนวยการสภาเศรษฐกิจแห่งชาติ ประเทศสหรัฐอเมริกา เพื่อหารือเกี่ยวกับประเด็นการส่งเสริมการลงทุนในโครงสร้างพื้นฐานด้านพลังงานในประเทศไทย

โดย Mr. Daleep Singh ได้หารือนโยบายความร่วมมือกับสหรัฐอเมริกาตามแนวนโยบาย Build Back Better ของสหรัฐฯ เพื่อให้เกิดการฟื้นตัวทางเศรษฐกิจและการพัฒนาอย่างยั่งยืนต่อไปในอนาคต ทั้งนี้ ฝ่ายสหรัฐฯ ได้หารือร่วมกันกับประเทศกลุ่มสมาชิก G7 และมีข้อเสนอร่วมกันว่า กลุ่ม G7 ควรมีการแบ่งปันความช่วยเหลือและทรัพยากรต่างๆ ให้กับประเทศกำลังพัฒนา โดยเฉพาะการสนับสนุนด้านการเงินและการลงทุนในโครงการพัฒนาต่างๆ ทั้งในด้านการพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานด้านพลังงาน เทคโนโลยีดิจิทัล การพัฒนายานยนต์ไฟฟ้าและแบตเตอรี่ การพัฒนาทรัพยากรแร่เพื่อการผลิตสินค้าและบริการ การพัฒนาภาคการเกษตรและการรับมือกับปัญหาสภาพภูมิอากาศ เป็นต้น ซึ่งสหรัฐฯ มีความยินดีที่จะหารือในรายละเอียดร่วมกับฝ่ายไทยเพื่อแสวงหาความร่วมมือที่เป็นรูปธรรมต่อไป

ในโอกาสนี้ รองนายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรีว่าการกระทรวงพลังงานได้แลกเปลี่ยนข้อมูลและแนวคิดการพัฒนาตลาดการค้าการลงทุนและการพัฒนาภาคพลังงานเพื่อให้ประเทศไทยสามารถฟื้นตัวจากสถานการณ์โควิด19 ได้อย่างยั่งยืน โดยฝ่ายไทยยินดีที่จะมีความร่วมมือกับนักลงทุนต่างชาติในการพัฒนาในหลายด้าน ซึ่งหลายปีที่ผ่านมาภาครัฐของไทยได้มีการร่วมมือกับนานาประเทศในการพัฒนาโครงการด้านโครงสร้างพื้นฐาน อาทิ เส้นทางขนส่ง รถไฟฟ้า และมีแผนที่จะพัฒนาความเชื่อมโยงเหล่านี้ให้เติบโตขึ้นไปในระดับภูมิภาค โดยเฉพาะในด้านเทคโนโลยี การพัฒนาพลังงานสะอาด การส่งเสริมการลงทุนในธุรกิจ New S-Curve รวมถึง การให้ความสำคัญกับการส่งเสริมธุรกิจที่ช่วยลดการปล่อยคาร์บอน เพื่อให้ประเทศสามารถบรรลุเป้าหมายการปล่อยคาร์บอนสุทธิเป็นศูนย์ ทั้งนี้ ทั้งสองฝ่ายเห็นพ้องร่วมกันว่า ภาครัฐของทั้งสองประเทศจะเป็นด่านหน้าในการแสวงหาโครงการความร่วมมือร่วมกัน ซึ่งจะช่วยให้ภาคเอกชนของทั้งสองประเทศเกิดความเชื่อมั่นและสร้างโอกาสในการค้าการลงทุนร่วมกันต่อไปในอนาคต โดยฝ่ายไทยยินดีที่จะส่งเสริมความร่วมมือกับฝ่ายสหรัฐฯ และจะมีการหารือในรายละเอียดอย่างใกล้ชิดในโอกาสอันใกล้ต่อไป

ประชุมแนวทางการนำเข้าข้อมูลและรายงานผลในระบบติดตามและประเมินผลแห่งชาติ (eMENSCR)

  1. ร่างรายงานการประชุม เรื่อง ประชุมแนวทางการนำเข้าข้อมูลและรายงานผลในระบบติดตามและประเมินผลแห่งชาติ (eMENSCR) คลิกที่นี่

กระทรวงพลังงาน เข้าร่วมในพิธีทำบุญตักบาตรและพิธีวางพานพุ่ม เนื่องในวันคล้ายวันพระบรมราชสมภพ พระบาทสมเด็จพระบรมชนกาธิเบศร มหาภูมิพลอดุลยเดชมหาราช บรมนาถบพิตร

วันนี้ (5 ธ.ค. 64) นายสุพัฒนพงษ์ พันธ์มีเชาว์ รองนายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรีว่าการกระทรวงพลังงาน พร้อมด้วยนายกุลิศ สมบัติศิริ ปลัดกระทรวงพลังงาน เข้าร่วมในพิธีทำบุญตักบาตรและพิธีวางพานพุ่ม เนื่องในวันคล้ายวันพระบรมราชสมภพ พระบาทสมเด็จพระบรมชนกาธิเบศร มหาภูมิพลอดุลยเดชมหาราช บรมนาถบพิตร วันชาติ และวันพ่อแห่งชาติ 5 ธันวาคม 2564 ณ ท้องสนามหลวง

ข้อมูลทรัพยากรด้านเชื้อเพลิงและพลังงานตามแผนผนึกกำลังและทรัพยากรเพื่อการป้องกันประเทศ

  1. ข้อมูลโรงไฟฟ้า และเขื่อนผลิตไฟฟ้า การไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทย  คลิกที่นี่
  2. ข้อมูลคลังแก๊ส คลิกที่นี่
  3. ข้อมูลคลังนํ้ามัน คลิกที่นี่
  4. ข้อมูลสถานีบริการนำ้มันเชื้อเพลิง คลิกที่นี่
  5. รายชื่อผู้แปรรูปไม้ที่ พพ. สนับสนุน คลิกที่นี่
Page 3 of 15
1 2 3 4 5 15