กระทรวงพลังงาน ร่วมจัดนิทรรศการงาน“วันแม่แห่งชาติ 12 สิงหาคม 2563 รักเอยรักลูก” ภายใต้ธีม “พลังงานร้อยดวงใจ…เราคนไทยไม่ทิ้งกัน”

     กระทรวงพลังงาน ร่วมกับ กฟผ. และบริษัท ปตท.จำกัด(มหาชน) นำนวัตกรรมพลังงาน “โรงอบแห้งพลังงานแสงอาทิตย์” จัดแสดงนิทรรศการเพื่อเฉลิมพระเกียรติ สมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ พระบรมราชินีนาถ พระบรมราชชนนีพันปีหลวง เนื่องในโอกาสวันเฉลิมพระชนมพรรษา “วันแม่แห่งชาติ 12 สิงหาคม 2563 รักเอยรักลูก”ระหว่างวันที่ 12 – 14 สิงหาคม 2563 ณ ท้องสนามหลวง
     นายธีรภัทร ประยูรสิทธิ ปลัดสำนักนายกรัฐมนตรีให้เกียรติเยี่ยมชมบูธกระทรวงพลังงาน โดยมีนายประเสริฐ สินสุขประเสริฐ รองปลัดกระทรวงพลังงาน และผู้บริหาร กฟผ.และ ปตท.ให้การต้อนรับ ซึ่งรองปลัดกระทรวงพลังงานเปิดเผยว่า เนื่องในโอกาสวันเฉลิมพระชนมพรรษาสมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ พระบรมราชินีนาถ สมเด็จพระบรมราชชนนีพันปีหลวง “วันแม่แห่งชาติ 12 สิงหาคม 2563 รักเอยรักลูก” กระทรวงพลังงาน ร่วมกับการไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทย และบริษัท ปตท.จำกัด(มหาชน) ได้ร่วมกิจกรรมเฉลิมพระเกียรติ ระหว่างวันที่ 12 – 14 สิงหาคม 2563 ณ ท้องสนามหลวง โดยจัดนิทรรศการภายใต้แนวคิด “พลังงานร้อยดวงใจ…เราคนไทยไม่ทิ้งกัน” โดยจัดแสดงนวัตกรรมพลังงาน “โรงอบแห้งพลังงานแสงอาทิตย์” เพื่อส่งเสริมต่อยอดผลผลิตทางการเกษตรที่หลากหลายด้วยการลดต้นทุน สร้างมูลค่าเพิ่มยกระดับราคาให้สูงขึ้น มุ่งเน้นผลักดันสินค้าคุณภาพเข้าสู่ช่องทางการตลาดเป็นการสนับสนุนการสร้างเสริมอาชีพให้เกษตรกรอย่างยั่งยืน ภายใต้กรอบแนวคิด “ลดต้นทุน เพิ่มมูลค่า สร้างอาชีพ”
     ในด้านการลดต้นทุน จะแสดงให้เห็นหลักการทำงานของโรงอบแห้งพลังงานแสงอาทิตย์ ในขนาดต่างๆ ซึ่งจะมีข้อดีในการช่วยลดต้นทุนการผลิต ทั้งระยะเวลาการตากแบบดั้งเดิม ลดการสูญเสียวัตถุดิบที่นำมาแปรรูปลดการใช้พลังงานเพื่อดึงความชื้นออกจากวัตถุดิบ เพิ่มผลผลิต เพิ่มรายได้ ตลอดจนพัฒนาผลิตภัณฑ์ให้มีความสะอาด ปลอดภัยจากแมลงและฝุ่นละออง ได้มาตรฐาน
     นอกจากนี้ ยังช่วยเพิ่มมูลค่าจากการนำวัสดุ หรือผลผลิตทางการเกษตรต่างๆผ่านกรรมวิธีอบแห้งพลังงานแสงอาทิตย์ เพื่อเพิ่มมูลค่าของวัตถุดิบ ผลิตเป็นผลิตภัณฑ์ต่างๆ ให้มีราคาสูงขึ้น และประการที่สำคัญคือ การสร้างอาชีพ โดยการสนับสนุนสินค้าจากเกษตรที่มีคุณภาพเข้าสู่ช่องทางการจำหน่ายในสถานีบริการน้ำมัน อาทิ โครงการไทยเด็ด ที่สถานีบริการน้ำมันของ ปตท. หรือช่องทางจำหน่ายแบบออนไลน์ ซึ่งเป็นการสนับสนุนด้านช่องทางจำหน่ายผลิตภัณฑ์จากกลุ่มวิสาหกิจชุมชนท้องถิ่นต่างๆ ทั่วประเทศ เพื่อให้เกษตรกร หรือวิสาหกิจชุมชนสามารถค้าขายผลผลิตได้อย่างจริงจังและยั่งยืน ต่อไป

ปลัดกระทรวงพลังงาน เข้าร่วมพิธีทำบุญตักบาตรและลงนามถวายพระพร เนื่องในวันเฉลิมพระชนมพรรษา สมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ พระบรมราชินีนาถ พระบรมราชชนนีพันปีหลวง

วันนี้ (12 ส.ค. 63) นายกุลิศ สมบัติศิริ ปลัดกระทรวงพลังงาน เข้าร่วมพิธีทำบุญตักบาตรถวายเป็นพระราชกุศล เนื่องในวันเฉลิมพระชนมพรรษา สมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ พระบรมราชินีนาถ พระบรมราชชนนีพันปีหลวง ประจำปี 2563 ณ บริเวณท้องสนามหลวง
ต่อมา ปลัดกระทรวงพลังงาน พร้อมด้วยผู้บริหารระดับสูงและหน่วยงานในสังกัดกระทรวงพลังงาน เข้าร่วมลงนามถวายพระพร ณ พระบรมมหาราชวัง

นายประเสริฐ สินสุขประเสริฐ รองปลัดกระทรวงพลังงาน ได้เข้าชี้แจงผลการดำเนินงานแผนปฏิรูปประเทศด้านพลังงาน

วันนี้ (11 สิงหาคม 2563)
หัวหน้ากลุ่มปฏิรูปประเทศยุทธศาสตร์ชาติและการสร้างความสามัคคีปรองดอง (ป.ย.ป) กระทรวงพลังงาน โดยนายประเสริฐ สินสุขประเสริฐ รองปลัดกระทรวงพลังงาน ได้เข้าชี้แจงผลการดำเนินงานแผนปฏิรูปประเทศด้านพลังงาน ต่อคณะอนุกรรมาธิการติดตาม เสนอแนะ และเร่งรัด การปฏิรูปประเทศและการจัดทำและดำเนินการตามยุทธศาสตร์ชาติด้านพลังงาน คณะกรรมาธิการพลังงาน วุฒิสภา ซึ่งมี พลเอก สำเริง ศิวาดำรงค์ เป็นประธานคณะอนุกรรมาธิการ
 
โดยในที่ประชุมได้กล่าวถึงแผนปฏิรูปประเทศด้านพลังงานซึ่งมีความคืบหน้าไปมาก หลายโครงการเริ่มมีผลสำเร็จเป็นรูปธรรมขึ้น
 
ทั้งนี้ คณะอนุกรรมาธิการฯ ได้ให้ข้อสังเกต ข้อเสนอแนะ ที่เป็นประโยชน์ ซึ่งกระทรวงพลังงานและหน่วยงานในสังกัดกระทรวงพลังงาน ได้รับไปพิจารณาดำเนินการต่อไป

ปลัดกระทรวงพลังงาน เป็นประธานในพิธีลงนามถวายพระพรชัยมงคลเนื่องในวันเฉลิมพระชนมพรรษา สมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ พระบรมราชินีนาถ พระบรมราชชนนีพันปีหลวง

วันนี้ (11 ส.ค. 63) นายกุลิศ สมบัติศิริ ปลัดกระทรวงพลังงาน เป็นประธานในพิธีลงนามถวายพระพรชัยมงคล เนื่องในวันเฉลิมพระชนมพรรษา สมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ พระบรมราชินีนาถ พระบรมราชชนนีพันปีหลวง 12 สิงหาคม 2563 เพื่อเป็นการแสดงความจงรักภักดีและสำนึกในพระมหากรุณาธิคุณ โดยมีคณะผู้บริหารระดับสูงและหน่วยงานในสังกัดกระทรวงพลังงานเข้าร่วมพิธี ณ บริเวณ LOBBY อาคารบี ศูนย์เอนเนอร์ยี่คอมเพล็กซ์

นายกรัฐมนตรี เยี่ยมชมบูธนิทรรศการกระทรวงพลังงาน ในกิจกรรม “ชีวิตใหม่ใต้ร่มพระบารมี…เราสร้างไปด้วยกัน”

นายกรัฐมนตรี เยี่ยมชมบูธนิทรรศการกระทรวงพลังงาน
ในกิจกรรม “ชีวิตใหม่ใต้ร่มพระบารมี…เราสร้างไปด้วยกัน” โดยกระทรวงพลังงาน กฟผ. ปตท. ร่วมจัดภายใต้แนวคิดพลังงานสร้างชีวิต ขับเคลื่อนเศรษฐกิจฐานราก ยกระดับชุมชนตั้งแต่ต้นน้ำ-ปลายน้ำ

​     วันนี้ (28 กรกฎาคม 2563) พลเอกประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรี ให้เกียรติเยี่ยมชมบูธนิทรรศการของกระทรวงพลังงาน โดยมีนายกุลิศ สมบัติศิริ ปลัดกระทรวงพลังงาน ผู้บริหารกระทรวงพลังงาน การไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทย และบริษัท ปตท.จำกัด(มหาชน) ให้การต้อนรับ ซึ่งกระทรวงพลังงานร่วมจัดงานในกิจกรรมจิตอาสา “ชีวิตใหม่ใต้ร่มพระบารมี…เราสร้างไปด้วยกัน” เนื่องในโอกาสวันเฉลิมพระชนมพรรษาพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว 28 กรกฎาคม 2563 ณ ท้องสนามหลวงภายใต้แนวคิด “พลังงานสร้างชีวิต ขับเคลื่อนเศรษฐกิจฐานราก” เน้นให้ความช่วยเหลือประชาชนด้วยนวัตกรรมพลังงานในการขับเคลื่อนเศรษฐกิจฐานราก ยกระดับผลิตภัณฑ์ ต่อยอดสู่การตลาดแบบครบวงจร
โดยกิจกรรมในส่วนของกระทรวงพลังงาน ร่วมกับการไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทย และบริษัท ปตท.จำกัด(มหาชน)จัดแสดงนิทรรศการภายใต้แนวคิดพลังงานสร้างชีวิต ขับเคลื่อนเศรษฐกิจฐานราก โดยเน้นกิจกรรมให้ความรู้และสร้างอาชีพจากการนวัตกรรมพลังงาน มาช่วยลดต้นทุนการผลิต แปรรูปวัตถุดิบทางการเกษตร เช่น การผลิตรถเข็นสูบน้ำพลังงานแสงอาทิตย์ การผลิตตู้อบแห้งพลังงานแสงอาทิตย์ การผลิตก๊าซชีวภาพจากมูลสัตว์ระดับครัวเรือน โดยแต่ละกิจกรรมจะมีเจ้าหน้าที่บรรยายให้ความรู้อย่างละเอียด นอกจากนั้นยังมีการเปิดให้ลงทะเบียนสำหรับชุมชนที่ผลิตสินค้าและต้องการจำหน่ายผ่านช่องทางของสถานีบริการน้ำมัน ปตท.และตลาดออนไลน์
การจัดกิจกรรมในครั้งนี้ นอกจากจะประชาชนที่เข้าร่วมงานจะได้แสดงความจงรักภักดีต่อพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวแล้ว ยังมีกิจกรรมให้มีความรู้จากหน่วยงานภาครัฐและเอกชนจำนวนมาก ในส่วนของกระทรวงพลังงาน ได้จัดกิจกรรมภายใต้แนวคิด “พลังงานสร้างชีวิต ขับเคลื่อนเศรษฐกิจฐานราก” ซึ่งเป็นการให้ความรู้กับประชาชนเพื่อสร้างอาชีพ เพิ่มรายได้ ลดต้นทุนด้านพลังงานและส่งเสริมช่องทางการจำหน่าย โดยแบ่งการนำเสนอออกเป็น 3 ส่วนได้แก่
– ต้นน้ำ เป็นการสาธิตการผลิตรถเข็นสูบน้ำพลังงานแสงอาทิตย์ ซึ่งเป็นการใช้นวัตกรรมพลังงานมาช่วยเหลือเกษตรกรในการบริหารจัดการน้ำใช้ทางการเกษตรอันเป็นหัวใจหลัก รถเข็นดังกล่าวนอกจากจะไม่เสียค่าน้ำมันที่ต้องใช้ในเครื่องสูบน้ำแล้ว การนำแผงโซลาร์เซลล์มาติดบนรถเข็น ทำให้เกษตรกรมีความสะดวกในการเคลื่อนย้ายไปพื้นที่เพาะปลูกที่ต้องใช้น้ำ และที่สำคัญแผงโซลาร์เซลล์นั้น ลงทุนครั้งเดียว สามารถอยู่ได้ถึง 20 ปี
– กลางน้ำ เป็นการสาธิตการผลิตตู้อบแห้งพลังงานแสงอาทิตย์ ที่ผ่านมามีการใช้ตู้อบแห้งพลังงานแสงอาทิตย์อย่างแพร่หลายตามชุมชนสำหรับอบแห้งผลิตภัณฑ์ต่างๆ เช่น กล้วยตาก พริกแห้ง ปลาแห้ง ซึ่งนอกจากจะลดต้นทุนด้านพลังงานได้แล้ว ยังสามารถผลิตสินค้าได้ในปริมาณที่มากขึ้น ลดปริมาณของเสีย และยังช่วยยกระดับผลิตภัณฑ์ที่สะอาด ควบคุมมาตรฐานได้ และอีกหนึ่งตัวอย่างที่จะช่วยลดต้นทุนค่าใช้จ่ายด้านพลังงานในครัวเรือน คือการผลิตก๊าซชีวภาพจากวัตถุดิบทางการเกษตรหรือมูลสัตว์ หรือ Biogas ซึ่งในปัจจุบัน ระบบก๊าซชีวภาพภายในครัวเรือนเป็นที่นิยมมาก เนื่องจากสามารถติดตั้งได้ด้วยตัวเอง ราคาต้นทุนต่ำและยังได้ประโยชน์จากการใช้ก๊าซทดแทนพลังงานหลัก แถมยังสามารถนำน้ำที่ผ่านกระบวนการหมักไปรดพืชผักแทนการใช้ปุ๋ยได้ด้วย
– ปลายน้ำ คือการช่วยเหลือชุมชนที่มีผลิตภัณฑ์ต่างๆ และต้องการเพิ่มช่องทาง
จำหน่าย ซึ่งกระทรวงพลังงาน โดย บริษัท ปตท. ได้เปิดบูธให้ลงทะเบียนสำหรับชุมชนที่มีผลิตภัณฑ์ เพื่อเพี่มช่องทางจำหน่ายสินค้าในสถานีบริการของ ปตท. ทั่วประเทศและช่องทางออนไลน์
“ผมหวังเป็นอย่างยิ่งว่า ประชาชนที่ได้เข้าร่วมชมบูธกิจกรรมของกระทรวงพลังงาน จะสามารถนำความรู้ที่ได้ไปปรับใช้ในการประกอบอาชีพ โดยเฉพาะชุมชนหรือเกษตรกรในต่างจังหวัด จะทำให้สามารถลดต้นทุนในการผลิตสินค้า เพิ่มรายได้ นำองค์ความรู้ด้านพลังงานไปสร้างความมั่นคงทางเศรษฐกิจในระดับชุมชนของตนเองได้อย่างจริงจังและยั่งยืน โดยกิจกรรม “ชีวิตใหม่ใต้ร่มพระบารมี…เราสร้างไปด้วยกัน” จะจัดขึ้น ณ ท้องสนามหลวง ซึ่งบูธกระทรวงพลังงาน (A11) จะตั้งอยู่ตรงข้ามศาลฎีกา ประชาชนสามารถเข้าร่วมชมบูธได้ตั้งแต่เวลา 10.00 – 18.00 น. ระหว่างวันที่ 28 – 31 กรกฎาคม 2563 จึงขอเชิญชวนให้ประชาชนเข้าร่วมชมงานได้ตลอดทั้ง4วัน ” ปลัดกระทรวงพลังงาน กล่าว

ปลัดกระทรวงพลังงาน พร้อมด้วยผู้บริหารระดับสูง ร่วมพิธีทำบุญตักบาตรถวายพระราชกุศลพระสงฆ์และสามเณร เนื่องในโอกาสวันเฉลิมพระชนมพรรษา พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ประจำปีพุทธศักราช 2563 ณ ท้องสนามหลวง

นายกุลิศ สมบัติศิริ ปลัดกระทรวงพลังงาน พร้อมด้วยผู้บริหารระดับสูง ร่วมพิธีทำบุญตักบาตรถวายพระราชกุศลพระสงฆ์และสามเณร จำนวน 69 รูป เนื่องในโอกาสวันเฉลิมพระชนมพรรษา พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ประจำปีพุทธศักราช 2563 ณ ท้องสนามหลวง

ต่อมาเวลา 07.30 น. ปลัดกระทรวงพลังงานเข้าร่วมในพิธีถวายสัตย์ปฏิญาณเพื่อเป็นข้าราชการที่ดีและพลังของแผ่นดิน ประจำปี 2563 เนื่องในโอกาสวันเฉลิมพระชนมพรรษาพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว

จากนั้นได้ลงนามถวายพระพรพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ณ ห้องแดง อาคารหน่วยราชการในพระองค์ 904 ในพระบรมมหาราชวัง ก่อนที่เวลา 09.30 น.ร่วมพิธีเปิดกิจกรรมจิตอาสา “ชีวิตวิถีใหม่ใต้ร่มพระบารมี…เราสร้างไปด้วยกัน”

 

ปลัดกระทรวงพลังงาน ร่วมบันทึกเทปถวายพระพรชัยมงคล สมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ พระบรมราชินีนาถ พระบรมราชชนนีพันปีหลวง

วันนี้ (24 ก.ค. 63) นายกุลิศ สมบัติศิริ ปลัดกระทรวงพลังงาน พร้อมด้วยคณะผู้บริหารระดับสูงและหน่วยงานในสังกัดกระทรวงพลังงาน ร่วมบันทึกเทปถวายพระพรชัยมงคล สมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ พระบรมราชินีนาถ พระบรมราชชนนีพันปีหลวง เนื่องในโอกาสวันเฉลิมพระชนมพรรษา 12 สิงหาคม 2563 ณ สถานีวิทยุโทรทัศน์แห่งประเทศไทย (NBT)

 

ปลัดกระทรวงพลังงาน เป็นประธานในพิธีถวายพระพรชัยมงคล เนื่องในโอกาสวันเฉลิมพระชนมพรรษา พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว

วันนี้ (24 ก.ค. 63) นายกุลิศ สมบัติศิริ ปลัดกระทรวงพลังงาน เป็นประธานในพิธีถวายพระพรชัยมงคล และพิธีถวายสัตย์ปฏิญาณเพื่อเป็นข้าราชการที่ดีและพลังของแผ่นดิน เนื่องในโอกาสวันเฉลิมพระชนมพรรษา พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว 28 กรกฎาคม 2563 โดยมีคณะผู้บริหารระดับสูงเข้าร่วมในพิธี ณ บริเวณ LOBBY อาคารบี ศูนย์เอนเนอร์ยี่คอมเพล็กซ์

นายกุลิศ สมบัติศิริ ปลัดกระทรวงพลังงาน พร้อมด้วยคณะผู้บริหารกระทรวงพลังงาน เข้าถวายแจกันดอกไม้และลงนามถวายพระพร

 

วันนี้ (19 มิ.ย. 63) นายกุลิศ สมบัติศิริ ปลัดกระทรวงพลังงาน พร้อมด้วยคณะผู้บริหารกระทรวงพลังงาน เข้าถวายแจกันดอกไม้และลงนามถวายพระพร สมเด็จพระเจ้าน้องนางเธอ เจ้าฟ้าจุฬาภรณวลัยลักษณ์ อัครราชกุมารี กรมพระศรีสวางควัฒน วรขัตติยราชนารี ให้ทรงหายจากพระอาการประชวรโดยเร็ววัน ณ โรงพยาบาลจุฬาภรณ์

 

 

ปลัดกระทรวงพลังงาน แถลงข่าวแนวทางการพิจารณากลั่นกรองโครงการที่ขอรับการสนับสนุนเงินจากกองทุนฯ ปี63

กระทรวงพลังงานวางกรอบกติกาเข้ม เร่งพิจารณากลั่นกรองโครงการที่ขอรับการสนับสนุนงบประมาณจากกองทุนเพื่อส่งเสริมการอนุรักษ์พลังงานปี 63 ซึ่งมีข้อเสนอวงเงินเกินกว่างบจัดสรรถึง 11 เท่า โดยลำดับความสำคัญเน้นให้กับโครงการสนับสนุนเศรษฐกิจฐานราก สร้างงาน สร้างอาชีพ และการช่วยเหลือภัยแล้ง เป็นอันดับแรก

วันนี้ (27 พ.ค.63) นายกุลิศ สมบัติศิริ ปลัดกระทรวงพลังงาน เป็นประธานในการประชุมคณะอนุกรรมการกลั่นกรองงบประมาณของกองทุนเพื่อส่งเสริมการอนุรักษ์พลังงาน ซึ่งมีการสรุปยอดการยื่นข้อเสนอโครงการปีนี้มีจำนวนทั้งหมด 5,155 โครงการวงเงิน 62,616 ล้านบาท โดยที่กรอบการจัดสรรเงินกองทุนฯ มี 5,600 ล้านบาท หรือเกินจำนวนเงินที่มีประมาณ 11 เท่า ซึ่งโครงการที่ยื่นเขามาแบ่งเป็นในกลุ่มแผนเพิ่มประสิทธิภาพ 1,134 โครงการ วงเงิน 20,874 ล้านบาท (วงเงินจัดสรร 2,400 ล้านบาท) และแผนพลังงานทดแทน 4,021 โครงการ วงเงิน 41,743 ล้านบาท (วงเงินจัดสรร 3,200 ล้านบาท)

คณะอนุกรรมการฯ จะพิจารณาและกำหนดหลักเกณฑ์และเงื่อนไขอย่างละเอียดรอบคอบและให้ครอบคลุมหลายมิติ โดยลำดับแรกจะพิจารณาว่าเป็นไปตามเงื่อนไขการจัดทำข้อเสนอโครงการและเงื่อนไขการใช้จ่ายเงินกองทุนฯ หรือไม่ เช่น ผู้ยื่นขอรับการสนับสนุนไม่เข้าข่ายเป็นผู้ขอรับแทนกัน มีข้อมูลด้านความคุมค่า กรณีเป็นโครงการต่อเนื่องต้องมีผลความก้าวหน้าและผลการเบิกจ่ายมากกว่าร้อยละ 50 ของโครงการในปีที่ผ่านมา มีข้อมูลด้านศักยภาพของหน่วยงานและเชิงพื้นที่ เป็นต้น

ทั้งนี้ การลำดับความสำคัญจะเน้นให้กับโครงการภายใต้กลุ่มงานสนับสนุนลดต้นทุน ยกระดับคุณภาพชีวิต เพิ่มเศรษฐกิจฐานรากภายใต้แผนเพิ่มประสิทธิภาพการใช้พลังงาน และแผนพลังงานทดแทน เพื่อกระตุ้นเศรษฐกิจฐานรากทำให้เม็ดเงินกระจายอยู่ในจังหวัด ช่วยสร้างอาชีพ สร้างงาน และสร้างรายได้ให้ประชาชนในพื้นที่ รวมทั้งเกิดการนำพลังงานทดแทนมาใช้ก่อเกิดการประหยัดพลังงานให้กับชุมชน ช่วยลดค่าใช้จ่าย โดยในกลุ่มนี้มีข้อเสนอโครงการที่ยื่นตรงมายังสำนักงานบริหารกองทุนเพื่อส่งเสริมการอนุรักษ์พลังงาน (ส.กทอ.) รวม 3,605 โครงการ และข้อเสนอผ่านคณะกรรมการระดับจังหวัดซึ่งมีผู้ว่าราชการจังหวัดเป็นประธาน มีจังหวัดที่ยื่นขอมา 54 จังหวัด ซึ่งคณะอนุกรรมการกลั่นกรองฯ จะกำหนดแนวทางกลั่นกรองโครงการภายใต้กลุ่มงานนี้ต้องเป็นไปตามวัตถุประสงค์และเป็นไปตามเงื่อนไขอย่างเข้มงวด

สำหรับโครงการติดตั้งระบบสูบน้ำพลังแสงอาทิตย์ ซึ่งมีหน่วยงานยื่นข้อเสนอโครงการทั้งหมด 2,339 โครงการ เป็นวงเงิน 9,172 ล้านบาท คณะอนุกรรมการฯ ได้มอบแนวทางพิจารณามิติการบูรณาการ เช่น มีการสูบน้ำเพื่อการเกษตร มีแผนเพิ่มมูลค่าผลิตภัณฑ์ โดยอาจเป็นการแปรรูปผลิตภัณฑ์ และมอบหมาย ส.กทอ.จัดทำบัญชีข้อมูลโครงการที่กองทุนฯ ได้ให้การสนับสนุนไปแล้วรายจังหวัดประเภทโครงการติดตั้งระบบผลิตไฟฟ้าพลังงานแสงอาทิตย์เพื่อการเกษตร เพื่อใช้ประกอบการพิจารณาของคณะอนุกรรมการฯ โดยจะให้ความสำคัญกับพื้นที่ประสบภัยแล้งที่ยังไม่เคยได้รับการจัดสรร

ส่วนโครงการประเภทซื้อวัสดุอุปกรณ์ หากไม่มีการต่อยอดบูรณาการเพื่อสร้างมูลค่าเพิ่มจะได้รับความสำคัญระดับต่ำสุด โดยระยะเวลาในการกลั่นกรองโครงการคณะอนุกรรมการฯ จะเร่งให้แล้วเสร็จภายในสัปดาห์ที่ 3 ของเดือนมิถุนายน 2563 เพื่อเสนอคณะกรรมการกองทุนฯ พิจารณาอนุมัติในสัปดาห์ที่ 4 ของเดือนมิถุนายนต่อไป

ปลัดกระทรวงพลังงาน ชี้แจงมาตรการช่วยเหลือประชาชนและภาคธุรกิจของภาครัฐ

วันนี้ (15 เม.ย.63) นายกุลิศ สมบัติศิริ ปลัดกระทรวงพลังงาน ได้ร่วมชี้แจงมาตรการช่วยเหลือประชาชนและภาคธุรกิจของภาครัฐเพื่อลดผลกระทบจากการระบาดของโควิด-19 ที่ศูนย์บริหารสถานการณ์การแพร่ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (โควิด-19) หรือ ศบค. โดยในส่วนของมาตรการพลังงานได้ดำเนินการทั้งด้านไฟฟ้า อาทิ การตรึงค่าไฟฟ้า การผ่อนผันค่าไฟฟ้าให้กับโรงงาน ผู้ประกอบการ SMEs โรงแรม การคืนเงินประกันการใช้ไฟฟ้า การเพิ่มปริมาณการใช้ไฟให้กับกลุ่มผู้ใช้ไฟฟรี ด้านน้ำมันและก๊าซ อาทิ การลดราคาก๊าซ NGV สำหรับรถสาธารณะ การลดราคาก๊าซหุงต้ม (LPG) รวมทั้งด้านการจัดหาแอลกอฮอล์ ได้มีการผ่อนผันให้โรงงานผลิตเอทานอลสามารถนำเอทานอลเพื่อเชื้อเพลิงไปผลิตเป็นแอลกอฮอล์เพื่อทำความสะอาดได้ และสัปดาห์หน้าเตรียมจัดหาแอลกอฮอล์ส่งมอบให้กับโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลจำนวน 9,863 แห่ง จาก 76 จังหวัดทั่วประเทศ

ปลัดกระทรวงพลังงาน ต้อนรับคณะกรรมาธิการบริหารราชการแผ่นดิน วุฒิสภา

เมื่อวันที่ 12 มี.ค. 63 นายกุลิศ สมบัติศิริ ปลัดกระทรวงพลังงาน ต้อนรับคณะกรรมาธิการบริหารราชการแผ่นดิน วุฒิสภา นำโดยนายศรีศักดิ์ วัฒนพรมงคลรองประธานคณะกรรมาธิการ ประชุมติดตามความคืบหน้าการดำเนินงานตามแผนปฏิบัติราชการกระทรวงพลังงานที่มีความสอดคล้องกับแผนปฏิรูปประเทศด้านบริหารราชการแผ่นดิน

คณะกรรมาธิการชื่นชมการปฏิบัติงานของกระทรวงพลังงาน และให้ข้อเสนอแนะที่สำคัญได้แก่ การเร่งผลักดันโรงไฟฟ้าชุมชน ความยั่งยืนของของอาสาสมัครพลังงาน การบริการประชาชนของข้อมูลของศูนย์สารสนเทศด้านพลังงาน

ปลัดกระทรวงพลังงาน เป็นประธานเปิดเวทีรับฟังความคิดเห็นต่อแผนบูรณาการพลังงานระยะยาว (TIEB) ฉบับใหม่

วันนี้ (18 กุมภาพันธ์ 2563) นายกุลิศ สมบัติศิริ ปลัดกระทรวงพลังงาน เป็นประธานเปิดเวทีรับฟังความคิดเห็นต่อแผนบูรณาการพลังงานระยะยาว (TIEB) ฉบับใหม่ พ.ศ. 2561-2580 ณ ห้องวอเตอร์เกทบอลรูม โรงแรมอมารี วอร์เตอร์เกท กรุงเทพฯ โดยมีวิทยากรในสังกัดกระทรวงพลังงานนำเสนอภาพรวมการขับเคลื่อนTIEB ฉบับใหม่ จำนวน 4 แผน จาก 5 แผนพลังงาน ได้แก่ แผนพลังงานทดแทนและพลังงานทางเลือก (Alternative Energy Development Plan: AEDP2018), แผนพัฒนากำลังผลิตไฟฟ้าของประเทศไทยฉบับปรับปรุง ครั้งที่ 1 (Power Development Plan: PDP2018 Rev.1), แผนอนุรักษ์พลังงานของประเทศ (Energy Efficiency Plan: EEP2018) และแผนบริหารจัดการก๊าซธรรมชาติ (Gas Plan2018) พร้อมทั้งร่วมแลกเปลี่ยนความคิดเห็นและรับฟังข้อเสนอแนะจากผู้เข้าร่วมสัมมนาที่มาจากทั้งภาครัฐ ภาคเอกชน นักวิชาการ และภาคประชาชน

สาระสำคัญของแผน TIEB ฉบับใหม่ ที่ได้มีการปรับปรุงแก้ไขให้เหมาะสมกับสถานการณ์พลังงานในปัจจุบัน และมีความสอดคล้องกัน ได้แก่ แผน AEDP2018 ได้ปรับเพิ่มสัดส่วนการใช้พลังงานทดแทนในภาคการผลิตไฟฟ้า และความร้อนให้สอดคล้องกับแผน PDP2018Rev.1 เพื่อสนับสนุนนโยบาย Energy For All ในการสร้างโรงไฟฟ้าชุมชนเพื่อเศรษฐกิจฐานราก โดยในปี 2563 – 2567 จะมีพลังงานชีวมวล, ก๊าซชีวภาพ (น้ำเสีย), ก๊าซชีวภาพ (พืชพลังงาน) และ Solar hybrid กำลังผลิตรวม 1,933 เมกกะวัตต์ พร้อมทั้งปรับลดสัดส่วนการใช้เชื้อเพลิงชีวภาพตามทิศทางการใช้พลังงานในอนาคต เช่น การใช้รถยนต์ไฟฟ้ามากขึ้นส่งผลให้การใช้น้ำมันลดลง และการสร้างรถไฟฟ้าขนส่งมวลชนแล้วเสร็จ ยังรักษาระดับเป้าหมายสัดส่วนการใช้พลังงานทดแทนต่อการใช้พลังงานขั้นสุดท้ายไม่น้อยกว่าร้อยละ 30 ในปี 2580

สำหรับแผน PDP2018Rev.1 ได้มีการปรับเป้าหมายคือ (1) รับซื้อไฟฟ้าจากพลังงานหมุนเวียน (ใหม่) ในบางประเภทเชื้อเพลิง โดยยังคงเป้าหมายรวมไว้เท่าเดิมที่ 18,696 เมกกะวัตต์ ปรับลดเป้าหมายการผลิตไฟฟ้าจากพลังงานแสงอาทิตย์ลง และปรับเพิ่มเป้าหมายโรงไฟฟ้าพลังน้ำขนาดเล็กของ กฟผ. 69 เมกกะวัตต์ ปรับเพิ่มเป้าหมายการผลิตไฟฟ้าก๊าซชีวภาพ (พืชพลังงาน) (2) เพิ่มนโยบายโรงไฟฟ้าชุมชนเพื่อเศรษฐกิจฐานราก (ชีวมวล), ก๊าซชีวภาพ (น้ำเสีย), ก๊าซชีวภาพ (พืชพลังงาน) และ Solar hybrid เข้าระบบตั้งแต่ปี 2563–2567 มีกำลังผลิตรวม 1,933 เมกกะวัตต์ (3) ชะลอโรงไฟฟ้าชีวมวลประชารัฐภาคใต้ ปีละ 60 เมกกะวัตต์ จากปี 2564– 2565 ไปเป็นปี 2565–2566 (4) เร่งรับซื้อไฟฟ้าจากพลังงานลม จากเดิมปี 2577 มาเป็นปี 2565 (5) สมมติฐานการรับซื้อโรงไฟฟ้าพลังงานหมุนเวียน (ที่ไม่ใช่โรงไฟฟ้าชุมชน) ภายหลังปี 2567 จะใช้ตามสมมติฐานเดิมในแผน PDP 2018

ในส่วนแผน EEP2018 โดยตั้งเป้าการลด (Energy Intensity: EI) ลงร้อยละ 30 ภายในปี 2580 เมื่อเทียบกับปี 2553 มีเป้าหมายลด Peak 4,000 เมกะวัตต์ หรือลดพลังงาน 49,064 ktoe ประกอบด้วย 3 กลยุทธ์/5 กลุ่มเป้าหมาย มุ่งเน้นมาตรการเชิงเทคโนโลยีและนวัตกรรมสำหรับการอนุรักษ์พลังงานเพื่อรองรับการเปลี่ยนแปลงเทคโนโลยีและรูปแบบการใช้พลังงาน (Disruptive Technology) มีมาตรการที่ครอบคลุมทุกกลุ่มเป้าหมายผู้ใช้พลังงานทุกสาขาเศรษฐกิจ และสร้างการมีส่วนร่วมของการอนุรักษ์พลังงานในทุกภาคส่วน

โดยแผน Gas Plan2018 มีความสอดคล้องกับ PDP2018Rev.1 โดยพบว่าความต้องการใช้ก๊าซในภาพรวมในปี 2580 เพิ่มขึ้นเฉลี่ย 0.7% ต่อปี หรืออยู่ที่ 5,348 MMSCFD โดยมีแนวโน้มการใช้ในภาคการผลิตไฟฟ้าและภาคอุตสาหกรรมเพิ่มขึ้น ขณะที่ความต้องการใช้ในโรงแยกก๊าซและภาคขนส่งลดลง ด้านการจัดหาก๊าซฯ สำหรับโรงไฟฟ้าขนอม โรงไฟฟ้าสุราษฎร์ธานี และโรงไฟฟ้าใหม่ตามแผน PDP2018 มีความจำเป็นต้องจัดหา LNG Terminal ในภาคใต้ (5 ล้านตันต่อปี ) ในปี 2570 และการจัดหาก๊าซธรรมชาติผ่านโครงข่ายท่อบนบกจะเพียงพอกับความต้องการใช้ถึงปี 2563 ทั้งนี้ ตั้งแต่ปี 2564 เป็นต้นไป ต้องมีการจัดหา LNG เพิ่มเติมให้เพียงพอกับความต้องการใช้ก๊าซฯ ซึ่งต้องมีการปรับปรุงระบบโครงข่ายก๊าซธรรมชาติให้เหมาะสมต่อไป

ทั้งนี้ สนพ. เชื่อมั่นว่าการรับฟังความคิดเห็นต่อแผน TIEB ฉบับใหม่ ในครั้งนี้ จะเป็นแผนแม่บทที่สำคัญในการสร้างความมั่นคงด้านพลังงาน
ของไทย ในการจัดหาพลังงานอย่างมีประสิทธิภาพ ต้นทุนพลังงานไม่แพง ซึ่งจะเป็นประโยชน์ต่อประชาชน และทำให้ประเทศสามารถแข่งขันได้
ในระดับสากล โดยหลังจากนี้จะมีการนำแผน TIEB ฉบับใหม่ เสนอเข้าที่ประชุมคณะกรรมการพิจารณานโยบายพลังงาน (กบง.) และคณะกรรมการนโยบายพลังงานแห่งชาติ (กพช.) เพื่อให้ความเห็นชอบภายในเดือนมีนาคมนี้

 

ปลัดกระทรวงพลังงาน เข้าร่วมงานนิทรรศการและงานประชุม ฟิวเจอร์ เอนเนอร์ยี่ เอเชีย 2020

วันนี้ (12 ก.พ. 63) นายกุลิศ สมบัติศิริ ปลัดกระทรวงพลังงาน เข้าร่วมงานนิทรรศการและงานประชุม ฟิวเจอร์ เอนเนอร์ยี่ เอเชีย 2020 โดยงานได้รับการสนับสนุนอย่างเป็นทางการจากกระทรวงพลังงาน และความร่วมมือจากการไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทย (กฟผ.) และบริษัท ปตท. จำกัด (มหาชน) งานนี้มุ่งหวังในการสร้างการรับรู้ทั่วโลกเกี่ยวกับความต้องการพลังงานอย่างยั่งยืนที่เพิ่มขึ้น และกลยุทธ์ด้านการเปลี่ยนผ่านพลังงานของรัฐบาลและผู้ให้บริการด้านพลังงานเพื่อตอบรับกับศักยภาพของเทคโนโลยีพลังงานสะอาดและเศรษฐกิจดิจิทัลที่เชื่อมต่อถึงกัน

โดยภายในงาน ปลัดกระทรวงพลังงาน ได้กล่าวว่า ในวาระการเปลี่ยนผ่านด้านพลังงานของโลก ประเทศไทยยังคงเผชิญกับความท้าทายต่างๆ ในการเดินหน้าสู่พลังงานแห่งอนาคต การเข้าถึงบริการพลังงานที่ปลอดภัย ราคาสมเหตุสมผล และยั่งยืนถือเป็นสิ่งสำคัญอย่างยิ่งสำหรับประเทศของเรา ในขณะที่พลังงานสะอาด พลังงานหมุนเวียน และพลังงานที่ไม่ใช่ฟอสซิลนั้น ถือเป็นแนวโน้มการปฏิวัติที่เรากำลังดำเนินการในช่วงยุคเปลี่ยนผ่านนี้ เพื่อรับมือกับการเปลี่ยนแปลงทางด้านพลังงานที่กำลังเกิดขึ้นทั่วโลก หนึ่งในนโยบายสำคัญที่กระทรวงพลังงานยึดมั่นและเร่งขับเคลื่อนนั่นก็คือ “Energy for all พลังงานเพื่อทุกคน” ผ่านกลยุทธ์ “Prosumerization” ซึ่งจะสนับสนุนชุมชนและภาคเอกชนในการทำงานร่วมกันเพื่อแบ่งปัน ผลประโยชน์จากการลงทุนในโครงการพลังงานชุมชน ซึ่งสิ่งนี้เองจะช่วยผลักดันความมุ่งมั่นของรัฐบาลไทยในการเพิ่มขีดความสามารถด้านพลังงานหมุนเวียน และส่งเสริมเทคโนโลยีพลังงานผ่านนโยบาย 4D1E (Decentralization, Digitalization, Decarbonization, Deregulation and Electrification) ผมมั่นใจเป็นอย่างยิ่งว่างาน ฟิวเจอร์ เอนเนอร์ยี่ เอเชีย ในครั้งนี้ จะมอบโอกาสให้ผู้เกี่ยวข้องด้านพลังงานได้พบปะเพื่อปรึกษา หารือและทำงานร่วมกันเพื่อเสริมสร้างความร่วมมือในการพัฒนาเทคโนโลยีพลังงานและนวัฒกรรมใหม่ๆ ให้ก่อเกิดพันธมิตรที่แข็งแกร่งระหว่างภาคธุรกิจและรัฐบาล

งานนิทรรศการและการประชุม ฟิวเจอร์ เอนเนอร์ยี่ เอเชีย 2020 จัดขึ้น ณ ศูนย์นิทรรศการและการประชุมนานาชาติไบเทค (BITEC) ตั้งแต่วันนี้ จนถึงวันที่ 14 ก.พ. 63 ข้อมูลเพิ่มเติมสามารถชมได้ที่เว็บไซด์ www.futureenergyasia.com

ปลัดกระทรวงพลังงานนำผู้แทนกระทรวงพลังงานเข้าร่วมการประชุมหารือเชิงนโยบายความร่วมมือด้านพลังงานไทย-ญี่ปุ่น ครั้งที่ 4

วันที่ 30 มกราคม 2563 นายกุลิศ สมบัติศิริ ปลัดกระทรวงพลังงานเป็นหัวหน้าคณะนำผู้แทนจากหน่วยงานภายใต้สังกัดกระทรวงพลังงานเข้าร่วมการประชุมหารือเชิงนโยบายความร่วมมือด้านพลังงานไทย-ญี่ปุ่น ครั้งที่ 4 หรือ The 4th Japan-Thailand Energy Policy Dialogue (4th JTEPD) ณ เมืองโอซากา ประเทศญี่ปุ่น

การประชุม 4th JTEPD ในครั้งนี้ได้มีการหารือเชิงนโยบายระหว่างภาครัฐและภาคเอกชนของทั้งสองประเทศ เพื่อแลกเปลี่ยนข้อมูล นโยบายและความก้าวหน้าของการพัฒนาด้านพลังงานทั้งสองประเทศ ไม่ว่าจะเป็นด้านนโยบายพลังงาน ด้านไฟฟ้า ด้านน้ำมันและก๊าซธรรมชาติ ด้านพลังงานทดแทนและอนุรักษ์พลังงาน รวมทั้งด้านเทคโนโลยีพลังงานสมัยใหม่ เพื่อรองรับการเปลี่ยนแปลงรูปแบบของระบบพลังงานของประเทศที่จะก้าวไปสู่ยุคของพลังงานสะอาดแห่งอนาคต อาทิ โครงข่ายไฟฟ้าอัจฉริยะ รถ EV ระบบกักเก็บพลังงาน เป็นต้น ทั้งนี้ ทั้งสองประเทศจะได้นำเสนอแนวทางการพัฒนากิจกรรมความร่วมมือระหว่างกันในสาขาต่างๆ ให้เกิดเป็นรูปธรรมมากขึ้น อาทิ การร่วมทุนในโครงการด้านพลังงานและการลงทุนในโครงสร้างพื้นฐานและการส่งเสริมโอกาสการซื้อขาย LNG รายย่อยในกลุ่มประเทศอาเซียนในฐานะที่ไทยจะก้าวเข้าสู่การเป็น LNG Trading Hub ของอาเซียน การร่วมลงทุนในการขยายสายส่งไฟฟ้าในกลุ่มประเทศอาเซียนเพื่อให้เกิดการซื้อขายไฟฟ้าข้ามพรมแดนมากขึ้น การเชิญชวนนักลงทุนจากญี่ปุ่นเข้ามาร่วมลงทุนและถ่ายทอดเทคโนโลยี เช่น AI IoT Big data กับ กฟผ.ในโครงการพัฒนาเมืองอัจฉริยะของไทย และการสัมมนาเชิงปฏิบัติการเพื่อถ่ายทอดองค์ความรู้เกี่ยวกับ Disruptive Technology เพื่อช่วยเสริมสร้างความมั่นคงด้านและความยั่งยืนด้านพลังงาน รวมทั้งส่งเสริมความสัมพันธ์อันดีของทั้งสองประเทศต่อไป

ปลัดกระทรวงพลังงาน “เคาะ” แผนปฏิบัติราชการระยะ 5 ปี ของกระทรวงพลังงาน

วันที่ 19 ธันวาคม 2562 ปลัดกระทรวงพลังงานเป็นประธานการประชุมคณะทำงานพิเศษประสานเชื่อมโยงคณะกรรมการยุทธศาสตร์ชาติและคณะกรรมการปฏิรูปประเทศ กระทรวงพลังงาน ครั้งที่ 1/2563 (ครั้งที่ 5)

โดยคณะทำงานประกอบด้วยผู้บริหารหน่วยงานสังกัดกระทรวงพลังงาน พร้อมที่ปรึกษาจากคณะกรรมการปฏิรูปประเทศด้านพลังงาน ผู้แทนสำนักงานสภาพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ กระทรวงมหาดไทย กระทรวงอุตสาหกรรม กระทรวงคมนาคม และกระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม ร่วมพิจารณา (ร่าง) แผนปฏิบัติราชการระยะ 5 ปี (พ.ศ. 2563-2565) ของกระทรวงพลังงาน รวมถึงรับทราบความก้าวหน้าการขับเคลื่อนงานตามแผนการปฏิรูปประเทศด้านปิโตรเลียมและปิโตรเคมี ในการกำหนดยุทธศาสตร์ให้ประเทศไทยเป็นศูนย์กลางการซื้อขายก๊าซธรรมชาติเหลว หรือ Regional LNG Hub

ที่ประชุมได้เห็นชอบแผนปฏิบัติราชการระยะ 5 ปี ของกระทรวงพลังงาน ซึ่งแผนระยะต้นจัดทำเป็นแผน 3 ปี ให้สอดคล้องกับช่วงเวลาของแผนแม่บทภายใต้ยุทธศาสตร์ชาติ มีเนื้อหาประกอบด้วย 4 ส่วน ได้แก่ 1) ลักษณะที่สำคัญของกระทรวงพลังงาน  2) ภาพรวมสถานการณ์พลังงานในปัจจุบันและอนาคต 3) แผนยุทธศาสตร์ชาติ 20 ปี และแผนลำดับรองในประเด็นด้านพลังงาน และ 4) แผนปฏิบัติราชการระยะ 5 ปี (พ.ศ. 2563-2565) ของกระทรวงพลังงาน โดยได้บรรจุแผนงานโครงการสำคัญเร่งด่วน (Big Rock) ตาม นโยบาย Policy Quick Start ที่รัฐมนตรีกระทรวงพลังงานเร่งผลักดัน รวมถึงบรรจุแผนงานโครงการตามแผนปฏิบัติราชการด้านต่าง ๆ ของกระทรวงพลังงาน ได้แก่ แผนบูรณาการพลังงานระยะยาว (TIEB) ทั้ง 5 แผน ทั้งนี้ แผนดังกล่าวจะเป็นกรอบในการปฏิบัติราชการของหน่วยงานในสังกัดกระทรวงพลังงาน โดยจะมีส่วนขับเคลื่อนเป้าหมายของกระทรวงพลังงานให้สัมฤทธิ์ผล ต่อไป

รายละเอียดแผนฯ ดาวน์โหลดได้ที่ : https://old.energy.go.th/energy-strategy/

นายกุลิศ สมบัติศิริ ปลัดกระทรวงพลังงาน เข้าร่วมการประชุม The International Energy Agency Ministerial Meeting 2019 ณ ศูนย์ประชุม CCM กรุงปารีส ประเทศฝรั่งเศส

วันที่ 6 ธันวาคม 2562 นายกุลิศ สมบัติศิริ ปลัดกระทรวงพลังงาน ได้เข้าร่วมการประชุม The International Energy Agency Ministerial Meeting 2019 ณ ศูนย์ประชุม CCM กรุงปารีส ประเทศฝรั่งเศส

สำหรับการประชุมในครั้งนี้ได้มีการหารือร่วมกันระหว่างผู้นำด้านพลังงานระดับสูงในประเด็นสำคัญระดับโลกด้านพลังงาน อาทิ แนวทางการเสริมสร้างความมั่นคงด้านพลังงาน ซึ่งรวมไปถึงการขยายตัวของตลาด LNG ในอนาคต แนวทางการส่งเสริมให้เกิดระบบพลังงานที่ทันสมัย เป็นธรรมและยั่งยืน รวมทั้ง มีการหารือแนวทางการกระชับความร่วมมือระหว่างประเทศสมาชิก IEA และการขยายความร่วมมือกับประเทศพันธมิตรต่างๆ อย่างกว้างขวาง

ทั้งนี้ นายกุลิศ สมบัติศิริ ปลัดกระทรวงพลังงาน ได้กล่าวในที่ประชุมเกี่ยวกับประเด็นนโยบายด้านการสร้างความยั่งยืนด้านพลังงานของไทย ซึ่งมุ่งเน้นการเตรียมความพร้อมเพื่อรองรับยุคแห่งการเปลี่ยนผ่านไปสู่พลังงานสะอาดในอนาคต โดยให้ความสำคัญกับการพัฒนาเทคโนโลยีและนวัตกรรม อาทิ เทคโนโลยีโครงข่ายไฟฟ้าอัจฉริยะ การส่งเสริมให้ประชาชนสามารถเข้าถึงพลังงานโดยสนับสนุนให้เกิดการผลิตและการใช้พลังงานทดแทนในระดับชุมชน นอกจากนี้ ในฐานะประธานอาเซียนปี 2562 ไทยได้มีบทบาทสำคัญในการผลักดันเป้าหมายด้านพลังงานทดแทนและอนุรักษ์พลังงานในอาเซียน ผ่านกิจกรรม/โครงการต่างๆ อาทิ การศึกษาการควบรวมพลังงานทดแทนเข้าสู่โครงข่ายไฟฟ้าอาเซียน การพัฒนามาตรฐานประสิทธิภาพพลังงานของเครื่องปรับอากาศในอาเซียน เป็นต้น ซึ่งโครงการเหล่านี้ได้รับการสนับสนุนจาก IEA เป็นอย่างดี

ในที่ประชุม ปลัดกระทรวงพลังงาน ได้เน้นย้ำถึงการให้ความสำคัญกับการดำเนินกิจกรรมด้านการพัฒนาภาคพลังงานร่วมกับ IEA และการเสริมสร้างความสัมพันธ์ที่แน่นแฟ้นกับ IEA ในอนาคต โดยไทยมีความพร้อมที่จะมีส่วนร่วมในโครงการต่างๆ ร่วมกับ IEA เพื่อให้สามารถบรรลุเป้าหมายในการเสริมสร้างความมั่นคงด้านพลังงานและพลังงานเพื่อความยั่งยืนร่วมกันในอนาคต

นอกจากนี้ ปลัดกระทรวงพลังงาน และ Dr. Fatih Birol ผู้อำนวยการทบวงการพลังงานระหว่างประเทศ ยังได้มีการลงนามร่วมกันในแผนการดำเนินงานระหว่างกระทรวงพลังงานกับทบวงการพลังงานระหว่างประเทศ ประจำปีพ.ศ. 2563-2564 (Joint Work Programme between the Ministry of Energy of the Kingdom of Thailand and the International Energy Agency 2020-2021) ซึ่งแผนการดำเนินงานดังกล่าวเป็นกรอบและแนวทางความร่วมมือด้านพลังงานระหว่างกระทรวงพลังงานกับทบวงการพลังงานระหว่างประเทศระหว่างปี พ.ศ. 2563-2564 โดยแผนการดำเนินงานจะประกอบไปด้วยความร่วมมือในประเด็น 8 ด้าน ดังนี้ 1) ข้อมูลและสถิติพลังงาน 2) ความมั่นคงทางพลังงานและการรองรับสภาวะฉุกเฉินทางพลังงาน 3) การใช้พลังงานอย่างมีประสิทธิภาพ 4) พลังงานไฟฟ้่าและพลังงานหมุนเวียน 5) เทคโนโลยีพลังงานสะอาด 6) ก​ารทบทวนนโยบายพลังงานและการเสริมสร้างศักยภาพบุคลากร 7) การเยือนระดับสูง และ 8) การมีส่วนร่วมในโครงการต่างๆ ของทบวงการพลังงานระหว่างประเทศ ทั้งนี้ กิจกรรมภายใต้ความร่วมมือดังกล่าวจะเป็นประโยชน์ต่อประเทศไทยในการพัฒนาด้านพลังงานและการบริหารจัดการด้านพลังงานของประเทศให้มีความมั่นคงและยั่งยืนต่อไป

นายกุลิศ สมบัติศิริ ปลัดกระทรวงพลังงาน เป็นประธานการประชุมคณะทำงานเพื่อพลังงานที่เป็นธรรม ครั้งที่ 1

วันนี้ (21 พฤศจิกายน 62) นายกุลิศ สมบัติศิริ ปลัดกระทรวงพลังงาน ในฐานะประธานคณะทำงานเพื่อพลังงานที่เป็นธรรม เป็นประธานการประชุมคณะทำงานเพื่อพลังงานที่เป็นธรรม ครั้งที่ 1 เพื่อร่วมหารือถึงแนวทางการพิจารณาโครงสร้างราคาน้ำมันเชื้อเพลิงและก๊าซ ณ ห้องประชุม 9 ชั้น 15 ศูนย์เอนเนอร์ยี่คอมเพล็กซ์ อาคารบี

นายกุลิศ สมบัติศิริ ปลัดกระทรวงพลังงาน ในฐานะประธานคณะทำงานเพื่อพลังงานที่เป็นธรรม เปิดเผยหลังการประชุมฯ ว่า การประชุมในวันนี้ ถือเป็นการประชุมครั้งแรกของคณะทำงานเพื่อพลังงานที่เป็นธรรม ภายหลังจากที่ นายสนธิรัตน์ สนธิจิรวงศ์ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงพลังงานได้ลงนามแต่งตั้งอย่างเป็นทางการเมื่อวันที่ 20 พฤศจิกายนที่ผ่านมา ซึ่งคณะทำงานฯ ดังกล่าว มีเป้าหมายร่วมกันในการก้าวข้ามปัญหาข้อโต้แย้งและความเห็นต่างเรื่องพลังงานที่สะสมมาเป็นระยะเวลานานให้เกิดความเข้าใจที่เป็นไปในทิศทางเดียวกัน เพื่อลดข้อขัดแย้งทางสังคม และให้เกิดประโยชน์และความเป็นธรรมต่อทุกฝ่ายอย่างสูงสุด

โดยที่ประชุมได้มีข้อสรุปในการหารือให้มีการแบ่งคณะการทำงานจากชุดใหญ่ที่รัฐมนตรีว่าการกระทรวงพลังงานแต่งตั้งจำนวน 39 คน เป็นคณะย่อยเพื่อแยกหารือในแต่ละประเด็น เพื่อให้การหารือมีความกระชับ และได้ข้อยุติร่วมกันได้เร็วขึ้น ซึ่งได้มีการตกลงกำหนดสัดส่วนคณะย่อยแบ่งเป็น ภาคประชาชน จำนวน 10 คน ได้แก่ ผู้เข้าร่วมประชุม 5 คน และผู้สังเกตการณ์ 5 คน ภาครัฐ จำนวน 10 คน ได้แก่ ผู้เข้าร่วมประชุม 5 คน และผู้ติดตาม 5 คน โดยมีรัฐมนตรีว่าการกระทรวงพลังงาน หรือ ปลัดกระทรวงพลังงาน เป็นประธาน พร้อมทั้งมีการเชิญผู้ที่เกี่ยวข้องร่วมให้ข้อมูลในแต่ละประเด็นโดยจะนำข้อสรุปการหารือในคณะย่อยเข้าสู่การประชุมในคณะใหญ่ เพื่อให้ได้ข้อยุติที่เป็นธรรมต่อทุกฝ่ายและเกิดผลที่เป็นรูปธรรมอย่างแท้จริง

ด้านนายวัชระ กรรณิการ์ โฆษกกระทรวงพลังงาน  ในฐานะคณะทำงานฯ เปิดเผยถึงประเด็นที่จะมีการหารือร่วมกันว่า สำหรับประเด็นการหารือแบ่งเป็น 2 เรื่องหลัก คือ 1. โครงสร้างราคาน้ำมัน และ 2. โครงสร้างราคาก๊าซ ซึ่งมีองค์ประกอบในการหารือ ประกอบด้วย ราคาหน้าโรงกลั่น ภาษี การเก็บเงินเข้ากองทุนน้ำมันเชื้อเพลิงและกองทุนอนุรักษ์พลังงาน และค่าการตลาด โดยเรื่องแรกที่จะมีการหารือร่วมกันคือ ประเด็นราคาหน้าโรงกลั่น ซึ่งจะประชุมในวันพฤหัสบดีที่ 28 พฤศจิกายน 2562 เวลา 09.00 น.

ทั้งนี้ คณะทำงานเพื่อพลังงานที่เป็นธรรมถูกตั้งขึ้นตามคำสั่งกระทรวงพลังงาน ที่ 43/2562 ตามเจตนารมย์ของรัฐบาลที่ให้ความสำคัญในการเปิดโอกาสให้ประชาชนมีส่วนในการกำหนดนโยบายและแผนเพื่อพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมในระดับต่างๆ และตามที่กลุ่มประชาชนได้ขอให้กระทรวงพลังงานพิจารณาทบทวนโครงสร้างราคาน้ำมันเชื้อเพลิงและก๊าซธรรมชาติให้เป็นธรรม โดยมีองค์ประกอบของคณะทำงานประกอบด้วย ภาครัฐ ภาคเอกชน และภาคประชาชน รวมจำนวน 39 คน ซึ่งมีปลัดกระทรวงพลังงานเป็นประธานคณะทำงานฯ ภายใต้อำนาจหน้าที่หลักๆ ในการศึกษาวิเคราะห์พร้อมจัดทำข้อเสนอแนะแนวทางการกำหนดโครงสร้างราคาน้ำมันเชื้อเพลิงและก๊าซ ให้มีความเหมาะสม เป็นธรรม สอดคล้องกับภาวะตลาดน้ำมันของประเทศในปัจจุบันและเป็นไปอย่างมีประสิทธิภาพ

รองปลัดกระทรวงพลังงาน เข้าร่วมรับรางวัลภายในงาน “Digital Government Awards 2019”

วันนี้ (30 ต.ค. 62) นายสราวุธ แก้วตาทิพย์ รองปลัดกระทรวงพลังงาน พร้อมด้วยผู้อำนวยการศูนย์เทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร และเจ้าหน้าที่ สำนักงานปลัดกระทรวงพลังงาน เข้าร่วมรับรางวัลสนับสนุนโยบายรัฐบาลตามโครงการยกเลิกสำเนาเอกสารราชการ ภายในงาน “Digital Government Awards 2019” โดยได้รับเกียรติจาก พลเอกประยุทธ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรี เป็นประธานเปิดงานและมอบรางวัล ณ ตึกสันติไมตรี ทำเนียบรัฐบาล

ทั้งนี้ Digital Government Award 2019 จัดขึ้นโดย สำนักงานพัฒนารัฐบาลดิจิทัล (องค์การมหาชน) หรือ สพร. ภายใต้สำนักนายกรัฐมนตรี เป็นรางวัลที่มอบให้แก่หน่วยงานที่มีความพร้อมเป็นรัฐบาลดิจิทัลและหน่วยงานที่สนับสนุนนโยบายรัฐบาลตามโครงการยกเลิกสำเนาเอกสารราชการอย่างเป็นรูปธรรม โดยดำเนินการสำรวจระดับความพร้อมรัฐบาลดิจิทัลหน่วยงานภาครัฐของประเทศไทย ประจำปี 2562 จำนวนทั้งสิ้น 1,858 หน่วยงาน ประกอบด้วยหน่วยงานภาครัฐส่วนกลาง จำนวน 323 หน่วยงาน หน่วยงานภาครัฐส่วนภูมิภาค จำนวน 1,533 หน่วยงาน ครอบคลุมทั้งหมด 76 จังหวัด และองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นรูปแบบพิเศษ จำนวน 2 หน่วยงาน เพื่อเป็นฐานข้อมูลด้านการพัฒนารัฐบาลดิจิทัลของประเทศ และใช้เป็นข้อมูลประกอบการจัดทำแผน และนโยบายในการยกระดับการพัฒนาหน่วยงานภาครัฐสู่รัฐบาลดิจิทัลทั้งในระดับหน่วยงานและระดับประเทศ รางวัลดังกล่าวแสดงให้เห็นถึงความร่วมมืออย่างจริงจังของสำนักงานปลัดกระทรวงพลังงานในการสนับสนุนโยบายรัฐบาลตามโครงการยกเลิกสำเนาเอกสารราชการของรัฐบาลอย่างมีประสิทธิภาพและเป็นรูปธรรม ซึ่งถือเป็นการสะท้อนการพัฒนารัฐบาลดิจิทัลของหน่วยงานให้ดำเนินการสนองตอบต่อนโยบายรัฐบาลด้านดิจิทัลอย่างเต็มที่ และพร้อมเดินหน้าพัฒนางานด้านดิจิทัลอย่างต่อเนื่องต่อไป

 

ผู้บริหารกระทรวงพลังงานเข้าร่วมประชุมกับคณะกรรมาธิการพลังงาน

เมื่อวันที่ 3 ตุลาคม 2562 ณ รัฐสภา คณะกรรมาธิการการพลังงานได้เชิญกระทรวงพลังงานเข้าร่วมประชุมกับคณะกรรมาธิการ เพื่อนำเสนอภาพรวมการบริหารงานด้านพลังงานของกระทรวงพลังงาน

โดย นายสราวุธ แก้วตาทิพย์ รองปลัดกระทรวงพลังงาน และผู้แทนจากกรมเชื้อเพลิงธรรมชาติ กรมธุรกิจพลังงาน กรมพัฒนาพลังงานทดแทนและอนุรักษ์พลังงาน และสำนักงานนโยบายและแผนพลังงาน ได้เข้าร่วมประชุมเพื่อนำเสนอภาพรวมกระทรวงพลังงานและประเด็นสำคัญๆ ต่างๆ เช่น การบริหารงานด้านพลังงานของกระทรวงพลังงานที่เชื่อมโยงกับแนวนโยบายแห่งรัฐตามบทบัญญติของรัฐธรรมนูญ นโยบายของคณะรัฐมนตรีซึ่งแถลงต่อรัฐสภา ยุทธศาสตร์ชาติ (พศ. 2561-2580) แผนการปฏิรูปประเทศด้านพลังงาน และแผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ

17 ปีกระทรวงพลังงาน มอบเงินสมทบทุนสร้างอาคารนวมินทรบพิตร 84 พรรษา โรงพยาบาลศิริราช เนื่องในโอกาสครบรอบวันสถาปนากระทรวง 3 ต.ค. 2562

วันนี้ (3 ต.ค.62) นายกุลิศ สมบัติศิริ ปลัดกระทรวงพลังงาน เป็นประธานในงานวันคล้ายวันสถาปนากระทรวงพลังงาน ประจำปี 2562 ซึ่งในปีนี้ถือเป็นปีที่ 17 ในการสถาปนากระทรวงพลังงาน โดยมีผู้บริหารระดับสูง ข้าราชการ พนักงาน เจ้าหน้าที่ และผู้ที่เกี่ยวข้องในแวดวงพลังงาน เข้าร่วมกิจกรรมวันสถาปนากระทรวงพลังงานในวันนี้

สำหรับกิจกรรมที่สำคัญ ได้แก่ พิธีสักการะพระพรหม สิ่งศักดิ์สิทธิ์ประจำศูนย์เอนเนอร์ยี่ คอมเพล็กซ์  ซึ่งเป็นที่ตั้งของกระทรวงพลังงาน โดยประธานในพิธีได้นำจุดธูปเทียน ถวายพวงมาลัย และเครื่องสักการะ  พระพรหม พร้อมสักการะพระพรหมทั้ง 4 ทิศ  และลำดับถัดมาในพิธีสงฆ์ ประธานในพิธีได้นำคณะผู้บริหาร และผู้ร่วมงานทั้งหมด ร่วมพิธีการอาราธนาศีล อาราธนาพระปริตร ถวายเครื่องไทยธรรมแด่พระสงฆ์ และร่วมพิธีกรวดน้ำ รับพร และพระสงฆ์ประพรมน้ำพระพุทธมนต์ เพื่อเป็นศิริมงคลแก่ผู้ร่วมงานทุกคน

ทั้งนี้ ในโอกาสวันสถาปนากระทรวงพลังงานครบรอบ 17 ปีครั้งนี้ กระทรวงพลังงานได้ประกาศงดรับกระเช้าและของขวัญต่างๆ  ในการแสดงความยินดี โดยกระทรวงพลังงานได้ขอให้ผู้เข้าร่วมงาน ที่จะแสดงความยินดี ให้ร่วมกันสมทบทุนเพื่อซื้อครุภัณฑ์ทางการแพทย์ อาคารนวมินทรบพิตร 84 พรรษา ของโรงพยาบาลศิริราช เป็นการทดแทน โดยประธานในพิธีได้เป็นผู้รับมอบเงินสมทบทุนจากหน่วยงานต่างๆรวม จำนวน 1,711,720 บาท และมอบให้แก่โรงพยาบาลศิริราช ซึ่งนอกจากจะเป็นการแสดงความยินดีร่วมกันแล้ว ยังเป็นการสร้างกุศลครั้งสำคัญร่วมกับโรงพยาบาลศิริราช อีกด้วย

 

 

 

 

 

 

 

 

กระทรวงพลังงาน มอบรางวัลชนะเลิศประกวดวาดภาพเทิดพระเกียรติ ด้านการอนุรักษ์พลังงาน และพลังงานทดแทน ปีที่ 7 หัวข้อ “พลังความดีด้วยหัวใจ”

วันนี้ (30 ก.ย. 62)
นายกุลิศ สมบัติศิริ ปลัดกระทรวงพลังงาน เป็นประธานในพิธีมอบรางวัลกิจกรรมประกวดวาดภาพเทิดพระเกียรติด้านการอนุรักษ์พลังงานและพลังงานทดแทนปีที่ 7 ในหัวข้อ“พลังความดีด้วยหัวใจ” โดยมีผู้ได้รับคัดเลือกรวมจำนวน 64 รางวัล ในประเภทมัธยมศึกษาตอนต้น ประเภทมัธยมศึกษาตอนปลายและปวช. ประเภทอุดมสึกษาและปวส. และประเภทประชาชนทั่วไปณ เดอะคริสตัล (เอกมัย-รามอินทรา) บริเวณ วีรันดา ฮอลล์ กรุงเทพฯ

ปลัดกระทรวงพลังงานกล่าวว่า ด้วยสำนึกในพระมหากรุณาธิคุณของพระบาทสมเด็จพระปรเมนทรรามาธิบดีศรีสินทรมหาวชิราลงกรณพระวชิรเกล้าเจ้าอยู่หัวตลอดจนพระบรมวงศานุวงศ์ทุกพระองค์กระทรวงพลังงานจึงได้จัดโครงการประกวดวาดภาพเทิดพระเกียรติด้านการอนุรักษ์พลังงานและพลังงานทดแทนปีที่ 7 ในหัวข้อ “พลังความดีด้วยหัวใจ”
เพื่อแสดงออกถึงความจงรักภักดีน้อมนำเอาพระราชกรณียกิจน้อยใหญ่ที่สำคัญด้านพลังงานในทุกรูปแบบมาถ่ายทอดให้ประชาชนได้ตระหนักและถือเป็นแบบอย่างในการประหยัดรู้จักความพอเพียงพึ่งพาตนเองอันจะส่งผลให้ประชาชนและประเทศชาติได้รับประโยชน์ในการปฏิบัติตามพระราชกรณียกิจถ่ายทอดถึงแนวทางการทำความดีบำเพ็ญประโยชน์ต่อสังคมครอบครัวชุมชนประเทศชาติด้วยการอนุรักษ์พลังงานและการนำพลังงานทดแทนมาใช้ให้เกิดประโยชน์

อีกทั้งยังเพื่อตอบสนองวิสัยทัศน์ของกระทรวงพลังงานที่จะมุ่งบริหารพลังงานอย่างยั่งยืนให้ประเทศชาติและประชาชนชาวไทยมีพลังงานใช้อย่างพอเพียงต่อการเติบโตทางเศรษฐกิจและคุณภาพชีวิตที่ดีของประชาชนตลอดจนมีพลังงานทางเลือกที่หลากหลายมีความสมดุลและยั่งยืนเพื่อให้บรรลุถึงเป้าหมายดังกล่าวได้นั้นบทบาทหนึ่งของกระทรวงพลังงานที่ให้ความสำคัญมาโดยตลอดคือการส่งเสริมจัดหาพัฒนาทางเลือกของพลังงานสะอาดที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อมและชุมชนภายใต้กระบวนการมีส่วนร่วมของประชาชนด้วยการรณรงค์เพื่อสร้างจิตสำนึกผ่านโครงการดังกล่าว

สำหรับคณะกรรมการในการตัดสินประกอบด้วยผู้บริหารข้าราชการกระทรวงพลังงานกระทรวงพลังงานศิลปินผู้ทรงคุณวุฒิโดยมี นายนที ทับมณี หัวหน้าผู้ตรวจราชการกระทรวงพลังงาน เป็นประธานคณะกรรมการตัดสิน ร่วมด้วย นายสมภพ พัฒนอริยางกูล  ผู้อำนวยการกองยุทธศาสตร์และแผนงาน สำนักงานปลัดกระทรวงพลังงาน  ศาสตรเมธี ดร.เฉลิมชัยโฆษิตพิพัฒน์ ศิลปินแห่งชาติ  ศาสตราจารย์วิโชค มุกดามณี ศิลปินแห่งชาติ  ดร.สังคม ทองมี  ผู้อำนวยการศูนย์ศิลป์สิรินธร  นายประทีป  คชบัว  ศิลปินอิสระ  และนายประครอง
สุวงทา หัวหน้ากลุ่มสื่อโสตทัศนูปกรณ์ สำนักงานปลัดกระทรวงพลังงาน

โครงการดังกล่าวได้ดำเนินการประชาสัมพันธ์กิจกรรมตลอดระยะเวลา4เดือนที่ผ่านมาตั้งแต่วันที่10พฤษภาคมถึงวันที่10 กันยายน2562 มีประชาชนจากทุกภาคส่วนให้ความสนใจส่งผลงานเข้าร่วมประกวดทั้งสิ้น 404 ภาพจาก 114 สถาบัน 46 จังหวัดแบ่งเป็นประเภทมัธยมศึกษาตอนต้น92ภาพมัธยมศึกษาตอนปลายและปวช. 127 ภาพประเภทอุดมศึกษาและปวส. 96 ภาพและประชาชนทั่วไป 89 ภาพ

กระทรวงพลังงานและคณะกรรมการตัดสินได้ร่วมกันคัดเลือกเพื่อตัดสินผลงานภาพวาดทั้งหมด เมื่อวันที่ 16 กันยายน2562 ได้ผู้ผ่านการคัดเลือกจำนวน 64 คน แบ่งเป็น 4 ประเภทๆละ 16 คนเพื่อเข้าร่วมกิจกรรมการประชุมเชิงปฏิบัติการ (Workshop) คัดเลือกหาผู้ชนะในการประกวดซึ่งได้จัดไปเมื่อวันที่ 28 – 29 กันยายนที่ผ่านมาณโรงแรมเอส.ซี. ปาร์คโดยมี
รองศาสตราจารย์ทินกร กาษรสุวรรณ  รองคณบดีฝ่ายบริหารคณะจิตรกรรมประติมากรรมและภาพพิมพ์ มหาวิทยาลัยศิลปากร  และนายธีระวัฒน์  คะนะมะ   ศิลปินอิสระ  ให้เกียรติเป็นวิทยากรในการจัดกิจกรรม

ทั้งนี้ กระทรวงพลังงานจะนำภาพทั้งหมดจำนวน 128 ผลงาน (ทั้งในรอบคัดเลือก64ผลงาน / และรอบ Workshop 64ผลงาน) มาจัดแสดงนิทรรศการภาพวาดให้กับประชาชนทั่วไปและผู้ที่สนใจได้เข้าชมตั้งแต่วันที่ 30 กันยายน – 2 ตุลาคม2562เวลา10.00 – 22.00 น. ณบริเวณวีรันดาฮอลล์ ณ เดอะคริสตัลเอกมัย-รามอินทราโดยไม่เสียค่าใช้จ่ายในการเข้าชม

โครงการประกวดวาดภาพเทิดพระเกียรติด้านการอนุรักษ์พลังงานและพลังงานทดแทน กระทรวงพลังงาน จัดขึ้นเป็นปีที่ 6  ภายใต้หัวข้อ“พลังความดีด้วยหัวใจ” แบ่งการประกวดเป็น  4 ประเภท  ประเภทละ 16 รางวัล รวมเป็นเงินรางวัลทั้งสิ้น  1,120,000 บาท(หนึ่งล้านหนึ่งแสนสองหมื่นบาทถ้วน)

มีรายละเอียดดังนี้

1.ประเภทมัธยมศึกษาตอนต้น

รางวัลชนะเลิศ รับเงินรางวัล 25,000 บาท ได้แก่ ด.ช.ภัทรายุทธ ภาคุณ
รางวัลรองชนะเลิศอันดับ 1 รับเงินรางวัล20,000 บาทได้แก่ด.ช.วัชระ ทองสงคราม
รางวัลรองชนะเลิศอันดับ 2 รับเงินรางวัล 15,000 บาท ได้แก่ ด.ญ.ศตนัน สังฆ์สุข

2.ประเภทมัธยมศึกษาตอนปลาย / ปวช.

รางวัลชนะเลิศ รับเงินรางวัล 30,000 บาท ได้แก่ น.ส.วิกาวี รัตตมณี
รางวัลรองชนะเลิศอันดับ 1 รับเงินรางวัล 25,000 บาท ได้แก่ น.ส.จันทกานต์ จันทรโกมล
รางวัลรองชนะเลิศอันดับ 2 รับเงินรางวัล 20,000 บาท ได้แก่ น.ส.ลักษ์คณา มีพารา

3.ประเภทอุดมศึกษา / ปวส.

รางวัลชนะเลิศ รับเงินรางวัล 35,000 บาท ได้แก่ นายศิริโรจน์ โคตรวงษา
รางวัลรองชนะเลิศอันดับ 1 รับเงินรางวัล 30,000 บาท ได้แก่น.ส.พรเบญญา ศิริชัยวัจนเดชา
รางวัลรองชนะเลิศอันดับ 2 รับเงินรางวัล 25,000 บาท ได้แก่ น.ส.ปิยะธิดา ไกรกิจราษฎร์

4.ประเภทประชาชนทั่วไป   

รางวัลชนะเลิศ รับเงินรางวัล 50,000 บาท ได้แก่ นายจรัญ บุญประเดิม
รางวัลรองชนะเลิศอันดับ 1 รับเงินรางวัล 45,000 บาท ได้แก่ นายสารัช ศรีบุรินทร์
รางวัลรองชนะเลิศอันดับ 2 รับเงินรางวัล 40,000 บาท ได้แก่ นายณรงค์ชัย สิทธิวัฒนาพร

 

กระทรวงพลังงาน มอบรางวัลชนะเลิศประกวดวาดภาพเทิดพระเกียรติ ด้านการอนุรักษ์พลังงาน และพลังงานทดแทน ปีที่ 7 หัวข้อ “พลังความดีด้วยหัวใจ”

วันนี้ (30 ก.ย. 62) นายกุลิศ สมบัติศิริ ปลัดกระทรวงพลังงาน เป็นประธานในพิธีมอบรางวัลกิจกรรมประกวดวาดภาพเทิดพระเกียรติด้านการอนุรักษ์พลังงาน และพลังงานทดแทนปีที่ 7 ในหัวข้อ “พลังความดีด้วยหัวใจ” โดยมีผู้ได้รับคัดเลือกรวมจำนวน 64 รางวัล ในประเภทมัธยมศึกษาตอนต้น ประเภทมัธยมศึกษาตอนปลายและปวช. ประเภทอุดมสึกษาและปวส. และประเภทประชาชนทั่วไป ณ เดอะคริสตัล (เอกมัย-รามอินทรา) บริเวณ วีรันดา ฮอลล์ กรุงเทพฯ

ปลัดกระทรวงพลังงานกล่าวว่า ด้วยสำนึกในพระมหากรุณาธิคุณของพระบาทสมเด็จพระปรเมนทรรามาธิบดีศรีสินทรมหาวชิราลงกรณ พระวชิรเกล้าเจ้าอยู่หัว ตลอดจนพระบรมวงศานุวงศ์ทุกพระองค์ กระทรวงพลังงานจึงได้จัด โครงการประกวดวาดภาพเทิดพระเกียรติด้านการอนุรักษ์พลังงานและพลังงานทดแทน ปีที่ 7 ในหัวข้อ “พลังความดีด้วยหัวใจ” เพื่อแสดงออกถึงความจงรักภักดี น้อมนำเอาพระราชกรณียกิจน้อยใหญ่ที่สำคัญด้านพลังงาน ในทุกรูปแบบมาถ่ายทอดให้ประชาชนได้ตระหนัก และถือเป็นแบบอย่างในการประหยัดรู้จักความพอเพียง พึ่งพาตนเอง อันจะส่งผล ให้ประชาชนและประเทศชาติได้รับประโยชน์ในการปฏิบัติตามพระราชกรณียกิจถ่ายทอดถึงแนวทางการทำความดีบำเพ็ญประโยชน์ต่อสังคม ครอบครัว ชุมชน ประเทศชาติ ด้วยการอนุรักษ์พลังงาน และการนำพลังงานทดแทนมาใช้ให้เกิดประโยชน์

อีกทั้งยังเพื่อตอบสนองวิสัยทัศน์ของกระทรวงพลังงานที่จะมุ่งบริหารพลังงานอย่างยั่งยืน ให้ประเทศชาติและประชาชนชาวไทยมีพลังงานใช้อย่างพอเพียงต่อการเติบโตทางเศรษฐกิจ และคุณภาพชีวิตที่ดีของประชาชน ตลอดจนมีพลังงานทางเลือกที่หลากหลาย มีความสมดุลและยั่งยืน เพื่อให้บรรลุถึงเป้าหมายดังกล่าวได้นั้น บทบาทหนึ่งของกระทรวงพลังงาน ที่ให้ความสำคัญมาโดยตลอด คือ การส่งเสริม จัดหา พัฒนา ทางเลือกของพลังงานสะอาดที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อมและชุมชน ภายใต้กระบวนการมีส่วนร่วมของประชาชน ด้วยการรณรงค์เพื่อสร้างจิตสำนึกผ่านโครงการดังกล่าว

สำหรับคณะกรรมการในการตัดสินประกอบด้วยผู้บริหาร ข้าราชการกระทรวงพลังงานกระทรวงพลังงาน ศิลปินผู้ทรงคุณวุฒิ โดยมีนายนที ทับมณี หัวหน้าผู้ตรวจราชการกระทรวงพลังงาน เป็นประธานคณะกรรมการตัดสิน ร่วมด้วย นายสมภพ พัฒนอริยางกูล  ผู้อำนวยการกองยุทธศาสตร์และแผนงาน สำนักงานปลัดกระทรวงพลังงาน ศาสตรเมธี ดร.เฉลิมชัย โฆษิตพิพัฒน์  ศิลปินแห่งชาติ ศาสตราจารย์วิโชค มุกดามณี ศิลปินแห่งชาติ ดร.สังคม ทองมี ผู้อำนวยการศูนย์ศิลป์สิรินธร นายประทีป คชบัว ศิลปินอิสระ และนายประครอง สุวงทา หัวหน้ากลุ่มสื่อโสตทัศนูปกรณ์ สำนักงานปลัดกระทรวงพลังงาน

โครงการดังกล่าวได้ดำเนินการประชาสัมพันธ์กิจกรรมตลอดระยะเวลา 4 เดือนที่ผ่านมา ตั้งแต่วันที่ 10 พฤษภาคม ถึงวันที่ 10 กันยายน 2562 มีประชาชนจากทุกภาคส่วนให้ความสนใจส่งผลงานเข้าร่วมประกวดทั้งสิ้น 404 ภาพ จาก 114 สถาบัน 46 จังหวัด แบ่งเป็นประเภทมัธยมศึกษาตอนต้น 92 ภาพ มัธยมศึกษาตอนปลายและปวช. 127 ภาพ ประเภทอุดมศึกษาและปวส. 96 ภาพ และประชาชนทั่วไป 89 ภาพ

กระทรวงพลังงานและคณะกรรมการตัดสินได้ร่วมกันคัดเลือก เพื่อตัดสินผลงานภาพวาดทั้งหมด เมื่อวันที่ 16 กันยายน 2562 ได้ผู้ผ่านการคัดเลือก จำนวน 64 คน แบ่งเป็น 4 ประเภทๆ ละ 16 คน เพื่อเข้าร่วมกิจกรรมการประชุมเชิงปฏิบัติการ(Workshop) คัดเลือกหาผู้ชนะในการประกวด ซึ่งได้จัดไปเมื่อวันที่ 28 – 29 กันยายนที่ผ่านมา  ณ โรงแรมเอส.ซี. ปาร์ค โดยมี รองศาสตราจารย์ทินกร กาษรสุวรรณ รองคณบดีฝ่ายบริหาร คณะจิตรกรรม ประติมากรรมและภาพพิมพ์ มหาวิทยาลัยศิลปากร และ นายธีระวัฒน์ คะนะมะ ศิลปินอิสระ ให้เกียรติเป็นวิทยากรในการจัดกิจกรรม

ทั้งนี้ กระทรวงพลังงานจะนำภาพทั้งหมด จำนวน 128 ผลงาน (ทั้งในรอบคัดเลือก 64 ผลงาน / และรอบ Workshop 64 ผลงาน) มาจัดแสดงนิทรรศการภาพวาดให้กับประชาชนทั่วไป และผู้ที่สนใจได้เข้าชม ตั้งแต่วันที่ 30 กันยายน – 2 ตุลาคม 2562 เวลา 10.00 – 22.00 น. ณ บริเวณวีรันดา ฮอลล์ เดอะคริสตัล เอกมัย-รามอินทราโดยไม่เสียค่าใช้จ่ายในการเข้าชม

โครงการประกวดวาดภาพเทิดพระเกียรติด้านการอนุรักษ์พลังงานและพลังงานทดแทน กระทรวงพลังงาน จัดขึ้นเป็นปีที่ 6  ภายใต้หัวข้อ“พลังความดีด้วยหัวใจ” แบ่งการประกวดเป็น  4 ประเภท  ประเภทละ 16 รางวัล รวมเป็นเงินรางวัลทั้งสิ้น 1,120,000 บาท (หนึ่งล้านหนึ่งแสนสองหมื่นบาทถ้วน)

มีรายละเอียดดังนี้

  1. ประเภทมัธยมศึกษาตอนต้น

รางวัลชนะเลิศ รับเงินรางวัล 25,000 บาท ได้แก่ ด.ช.ภัทรายุทธ ภาคุณ

รางวัลรองชนะเลิศอันดับ 1 รับเงินรางวัล 20,000 บาท ได้แก่ ด.ช.วัชระ ทองสงคราม

รางวัลรองชนะเลิศอันดับ 2 รับเงินรางวัล 15,000 บาท ได้แก่ ด.ญ.ศตนัน สังฆ์สุข

 

  1. ประเภทมัธยมศึกษาตอนปลาย / ปวช.

รางวัลชนะเลิศ รับเงินรางวัล 30,000  บาท ได้แก่ น.ส.วิกาวี รัตตมณี

รางวัลรองชนะเลิศอันดับ 1 รับเงินรางวัล 25,000  บาท ได้แก่ น.ส.จันทกานต์ จันทรโกมล

รางวัลรองชนะเลิศอันดับ 2 รับเงินรางวัล 20,000 บาท ได้แก่ น.ส.ลักษ์คณา มีพารา

 

  1. ประเภทอุดมศึกษา / ปวส.

รางวัลชนะเลิศ รับเงินรางวัล 35,000 บาท ได้แก่ นายศิริโรจน์ โคตรวงษา

รางวัลรองชนะเลิศอันดับ 1 รับเงินรางวัล 30,000 บาท ได้แก่ น.ส.พรเบญญา ศิริชัยวัจนเดชา

รางวัลรองชนะเลิศอันดับ 2 รับเงินรางวัล 25,000 บาท ได้แก่ น.ส.ปิยะธิดา ไกรกิจราษฎร์

 

  1. ประเภทประชาชนทั่วไป

รางวัลชนะเลิศ รับเงินรางวัล 50,000 บาท ได้แก่ นายจรัญ บุญประเดิม

รางวัลรองชนะเลิศอันดับ 1 รับเงินรางวัล 45,000 บาท ได้แก่ นายสารัช ศรีบุรินทร์

รางวัลรองชนะเลิศอันดับ 2 รับเงินรางวัล 40,000 บาท ได้แก่ นายณรงค์ชัย สิทธิวัฒนาพร

 

ปลัดกระทรวงพลังงาน เป็นประธานการประชุมการประชุมคณะกรรรมการทบทวนโครงสร้าง บทบาท อำนาจ และภารกิจของกระทรวงพลังงาน

วันนี้ (20 ส.ค. 62) นายกุลิศ สมบัติศิริ ปลัดกระทรวงพลังงาน เป็นประธานการประชุมการประชุมคณะกรรรมการทบทวนโครงสร้าง บทบาท อำนาจ และภารกิจของกระทรวงพลังงาน ณ ห้องประชุม 2 ชั้น 15 ศูนย์เอนเนอร์ยี่คอมเพล็กซ์ อาคารบี โดยมีผู้บริหารระดับสูงกระทรวงพลังงานเข้าร่วมอย่างพร้อมเพรียง

ทั้งนี้ ปลัดกระทรวงพลังงาน มอบหมายสรุปประเด็นเพื่อสร้างความชัดเจนภารกิจสำคัญของกระทรวงพลังงาน สร้างมาตรฐานในการทำงาน

รองปลัดกระทรวงพลังงาน เป็นประธานเปิดงาน “จิตอาสาพลังงาน เราทำความดีด้วยหัวใจ”

ก.พลังงานโรดโชว์กิจกรรมจิตอาสาฯ รร.ทีปังกรฯ วัดประดู่ หนุนครู-นักเรียนสร้างเครือข่ายประหยัดพลังงานสู่ครอบครัว-ชุมชน

(วันนี้ 9 ส.ค.62) นายสมบูรณ์ หน่อแก้ว รองปลัดกระทรวงพลังงาน เป็นประธานเปิดงาน “จิตอาสาพลังงาน เราทำความดีด้วยหัวใจ” ที่โรงเรียนทีปังกรวิทยาพัฒน์ (วัดประดู่) ในพระราชูปถัมภ์ฯ ซึ่งเป็นกิจกรรมเฉลิมพระเกียรติเนื่องในโอกาสมหามงคลพระราชพิธีบรมราชาภิเษกฯ ในชื่อโครงการส่งเสริมและสนับสนุนการเพิ่มประสิทธิภาพพลังงานในโรงเรียนทีปังกรวิทยาพัฒน์ในพระราชูปถัมภ์ฯ โดยกระทรวงพลังงานร่วมกับกลุ่มโรงเรียนทีปังกรวิทยาพัฒน์ในพระราชูปถัมภ์ฯ 6 แห่งจัดกิจกรรมดังกล่าวมีเป้าหมายเพื่อส่งเสริมและสนับสนุนโรงเรียน ครู และนักเรียน เรียนรู้เรื่องการใช้พลังงานอย่างมีประสิทธิภาพและประหยัดพลังงาน และเป็นเครือข่ายพลังงานขยายผลสู่ครอบครัวและชุมชนต่อไป
สำหรับวันนี้เป็นการจัดกิจกรรมจิตอาสาพลังงานครั้งที่ 2 ที่โรงเรียนทีปังกรวิทยาพัฒน์ (วัดประดู่) ในพระราชูปถัมภ์ฯ อำเภออัมพวา จังหวัดสมุทรสงคราม ซึ่งเป็นโรงเรียนระดับประถมศึกษาตั้งแต่ระดับอนุบาล-ประถมศึกษาปีที่ 6 มีนักเรียน 141 คน ที่ผ่านมาโรงเรียนฯได้ดำเนินการด้านการอนุรักษ์พลังงานต่างๆ เช่น รณรงค์การปิดน้ำ-ไฟตามเวลาที่กำหนด และการปิดเครื่องปรับอากาศก่อนเวลา เป็นต้น โดยกิจกรรมที่กระทรวงพลังงานจะเข้าไปสนับสนุน อาทิ การติดตั้งเปลี่ยนอุปกรณ์ไฟฟ้าที่อนุรักษ์พลังงาน และการใช้พลังงานทดแทนโดยสนับสนุนงบประมาณสำหรับโรงเรียนติดตั้งระบบผลิตไฟฟ้าจากเซลล์แสงอาทิตย์ ติดตั้งเปลี่ยนเครื่องปรับอากาศแบบอินเวอร์เตอร์ การเปลี่ยนหลอดไฟฟ้าแบบ LED การติดตั้งระบบ IOT (Internet Of Things) การปลูกต้นไม้เพิ่มพื้นที่สีเขียว

โดยภายในงานจะมีกิจกรรมจิตอาสา เช่น กรมธุรกิจพลังงาน กับกิจกรรม “การใช้ก๊าซหุงต้มปลอดภัย (LPG SAFETY)” ซึ่งจะมีการปรับเปลี่ยนอุปกรณ์ สำหรับก๊าซหุงต้มในร้านค้าที่โรงเรียน และชุมชนในโครงการ และกิจกรรมของการไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทย (กฟผ.) กับการสำรวจตรวจสอบอุปกรณ์ไฟฟ้าภายในชุมชน และการนำร่องเปลี่ยนหลอดไฟประหยัดพลังงาน ทั้งนี้เพื่อช่วยให้เกิดการประหยัดพลังงาน และค่าใช้จ่ายด้านพลังงานอย่างเป็นรูปธรรม โดยคาดว่าจะเกิดผลประหยัดไฟฟ้าให้กับโรงเรียนทีปังกรวิทยาพัฒน์ฯ วัดประดู่ ในภาพรวมไม่น้อยกว่า 30% เมื่อเปรียบเทียบกับปี 2561
อนึ่ง กิจกรรมจิตอาสาพลังงานฯ นี้กระทรวงพลังงานดำเนินการร่วมกับกลุ่มโรงเรียนทีปังกรวิทยาพัฒน์ทั่วประเทศรวม 6 แห่ง ซึ่งมีนักเรียนรวมประมาณ 5,800 คน มีค่าใช้จ่ายด้านพลังงานไฟฟ้าที่สูง มีการใช้พลังงานที่ยังไม่มีประสิทธิภาพเพียงพอ เนื่องจากอุปกรณ์ไฟฟ้าทีใช้มีสภาพเก่าและขาดการดูแลบำรุงรักษา ซึ่งจะดำเนินการให้ครบทั้ง 6 แห่งในปีนี้ #พลังงานเพื่อทุกคน #พลังงานขับเคลื่อนชีวิต

…………..………………………………………………

ปลัดกระทรวงพลังงาน ร่วมลงนามถวายพระพรพระบาทสมเด็จพระวชิรเกล้าเจ้าอยู่หัว เนื่องในโอกาสวันเฉลิมพระชนมพรรษา

วันนี้ (28 ก.ค. 62) นายกุลิศ สมบัติศิริ ปลัดกระทรวงพลังงาน พร้อมด้วยผู้บริหารระดับสูงของกระทรวงพลังงาน ร่วมลงนามถวายพระพรพระบาทสมเด็จพระวชิรเกล้าเจ้าอยู่หัว เนื่องในโอกาสวันเฉลิมพระชนมพรรษา ณ พระบรมมหาราชวัง

ปลัดกระทรวงพลังงาน ร่วมลงนามถวายพระพรสมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ พระบรมราชินีนาถ พระบรมราชชนนีพันปีหลวง

วันนี้ (24 ก.ค. 62) นายกุลิศ สมบัติศิริ ปลัดกระทรวงพลังงาน พร้อมด้วยผู้บริหารระดับสูงของกระทรวงพลังงาน นำแจกันดอกไม้ไปถวายหน้าพระบรมฉายาลักษณ์สมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ พระบรมราชินีนาถ พระบรมราชชนนีพันปีหลวง และร่วมลงนามถวายพระพรให้ทรงมีพระพลานามัยแข็งแรงสมบูรณ์โดยเร็ว ณ โรงพยาบาลจุฬาลงกรณ์ สภากาชาดไทย

 

การประชุมคณะกรรมการและคณะทำงานร่วมด้านไฟฟ้าและพลังงานระหว่างไทย-เมียนมา ครั้งที่ 4

เมื่อวันที่ 10 กรกฎาคม 2562 กระทรวงพลังงานนำโดยรองปลัดกระทรวงพลังงาน (นายสราวุธ แก้วตาทิพย์) ผู้แทนกระทรวงพลังงาน ผู้แทนการไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทย และผู้แทนกลุ่มบริษัท ปตท. ได้เข้าร่วมการประชุมคณะกรรมการและคณะทำงานร่วมด้านไฟฟ้าและพลังงานระหว่างไทย-เมียนมา ครั้งที่ 4 (The 4th Myanmar-Thailand Joint Working Group and The 4th Myanmar-Thailand Joint Working Committee) ซึ่งกระทรวงไฟฟ้าและพลังงานของสาธารณรัฐแห่งสหภาพเมียนมาเป็นเจ้าภาพจัดขึ้น ณ โรงแรม Horizon Lake View กรุงเนปยิดอ สาธารณรัฐแห่งสหภาพเมียนมา โดยที่ประชุมได้มีการหารือถึงความร่วมมือด้านพัฒนาโรงไฟฟ้าพลังน้ำด้านการเชื่อมโยงสายส่งไฟฟ้าระหว่างสองประเทศ ด้านการศึกษาร่วมด้านก๊าซธรรมชาติและปิโตรเคมี ด้านธุรกิจน้ำมันและการค้าปลีก และการพัฒนาศักยภาพบุคลากร ซึ่งทั้งสองประเทศมีความร่วมมือที่ดีต่อกันมาโดยตลอด

ภายใต้การหารือประเด็นความร่วมมือด้านไฟฟ้า ที่ประชุมได้เห็นชอบให้มีการจัดตั้งคณะทำงานร่วมเพื่อศึกษาความเป็นไปได้ในการเชื่อมโยงสายส่งไฟฟ้าระหว่างไทยและสาธารณรัฐแห่งสหภาพเมียนมา ซึ่งนับเป็นก้าวสำคัญของการขยายระบบเชื่อมโยงระบบไฟฟ้าในภูมิภาคลุ่มน้ำโขง ภายใต้กรอบยุทธศาสตร์ความร่วมมือทางเศรษฐกิจอิรวดี-เจ้าพระยา-แม่โขง (Ayeyawady-Chao Phraya-Mekong Economic Cooperation Strategy: ACMECS) ที่จะนำไปสู่การเชื่อมโยงระบบไฟฟ้า เสริมสร้างความมั่นคงด้านพลังงาน และส่งเสริมการค้าพลังงานไฟฟ้าครอบคลุมภูมิภาคอาเซียน และภูมิภาคอื่น ๆ ต่อไปในอนาคต

​นอกจากนี้ ทั้งสองฝ่ายยังได้เห็นชอบในหลักการต่อการจัดทำบันทึกความเข้าใจฉบับใหม่ระหว่างกระทรวงพลังงานของทั้งสองประเทศ ซึ่งจะรวมความร่วมมือด้านไฟฟ้าและปิโตรเลียมเข้าด้วยกัน และเพิ่มเติมความร่วมมือด้านพลังงานทดแทนอีกด้วย

ปลัดกระทรวงพลังงาน มอบนโยบายและประเด็นขับเคลื่อนยุทธศาสตร์ด้านพลังงานระดับจังหวัด

วันนี้ (10 ก.ค. 62) นายกุลิศ สมบัติศิริ ปลัดกระทรวงพลังงาน เป็นประธานการประชุมมอบนโยบายและประเด็นขับเคลื่อนยุทธศาสตร์ด้านพลังงานระดับจังหวัด ณ ห้องประชุม 9 ชั้น 15 ศูนย์เอนเนอร์ยี่คอมเพล็กซ์ อาคารบี
โดยมีผู้บริหารระดับสูงและพลังงานจังหวัดทั่วประเทศเข้าร่วมอย่างพร้อมเพรียง
ทั้งนี้ ปลัดกระทรวงพลังงาน มอบหมายภารกิจสำคัญเพื่อยกระดับพลังงานจังหวัดทั่วประเทศ สร้างมาตรฐานคุณธรรมและจริยธรรมในการทำงาน ยึดระเบียบในการทำงานตาม พ.ร.บ.วินัยการเงินการคลัง วิธีการจัดซื้อจัดจ้าง วิธีปฏิบัติทางการปกครองโดยเคร่งครัด พร้อมแนะนำพลังงานจังหวัดเข้าถึงประชาชนในพื้นที่ให้เต็มประสิทธิภาพ นำความรู้ เทคโนโลยีด้านพลังงานช่วยเหลือเกษตรกรและชาวบ้าน เพื่อเพิ่มพูนรายได้และสร้างคุณภาพชีวิตที่ดีขึ้น

รปพน. เป็นประธานในพิธิเปิด 3 มหกรรมด้านนวัตกรรมการอนุรักษ์พลังงานและระบบอัจฉริยะในอาคารและโรงงาน

วันนี้ (27 มิ.ย. 62) ดร.สราวุธ แก้วตาทิพย์ รองปลัดกระทรวงพลังงาน เป็นประธานในพิธิเปิด 3 มหกรรมด้านนวัตกรรมการอนุรักษ์พลังงาน และระบบอัจฉริยะในอาคารและโรงงาน เพื่อสร้าง Smart Building ซึ่งประกอบด้วยงาน BMAM Expo Asia K-Fire&Safety Expo Bangkok และ LED Expo Thailand +Light ASEAN

โดยมี มิสเตอร์ ลอย จุน ฮาว ผู้จัดการทั่วไป บริษัท อิมแพ็คเอ็กซิบิชั่น แมเนจเม้นท์ จำกัด และมิสเตอร์ แซมมวล คิม กรรมการบริหาร บริษัท เอ็กซ์โค่ จำกัด กล่าวต้อนรับ พร้อมด้วย นายจิรุตถ์ อิศรางกูร ณ อยุธยา ผู้อำนวยการสำนักงานส่งเสริมการจัดประชุมและนิทรรศการ (องค์การมหาชน) กล่าวสนับสนุนการจัดงาน

ทั้งนี้ ภายในงานมีผู้ประกอบการ 350 แบรนด์ทั้งในประเทศและต่างประเทศ นำนวัตกรรมการอนุรักษ์พลังงานด้านระบบแสงสว่าง ระบบอัจฉริยะภายในอาคาร โรงงาน และระบบป้องกันอัคคีภัยมาร่วมแสดงกันอย่างครบครัน

โดยงานดังกล่าวจัดขึ้นตั้งแต่วันที่ 27-29 มิถุนายน 2562 ณ ศูนย์แสดงสินค้าและการประชุม อาคาร 6-8 อิมแพ็ค เมืองทองธานี

กระทรวงพลังงาน สรุปประเด็นสำคัญการประชุม SOME ครั้งที่ 37th ประจำวันที่ 26 มิถุนายน 2562

กระทรวงพลังงาน สรุปประเด็นสำคัญการประชุม SOME ครั้งที่ 37th  ประจำวันที่ 26 มิถุนายน 2562 ซึ่งเป็นวันที่ 3 ของการประชุมหารือเจ้าหน้าที่อาวุโสด้านพลังงานอาเซียน (SOME) สามารถสรุปประเด็นสำคัญได้ ดังนี้

-ประเทศญี่ปุ่น  – หารือแนวทางการผลักดันโครงการภายใต้แผนงานด้านพลังงาน SOME-METI อาทิ โครงการส่งเสริมการอนุรักษ์พลังงาน

-กรอบความร่วมมืออาเซียนบวกสาม (จีน เกาหลีใต้ ญี่ปุ่น)  ประกอบด้วยประเด็นความร่วมมือ อาทิ เวทีความมั่นคงด้านพลังงาน เวทีด้านน้ำมันและตลาดก๊าซธรรมชาติ เป็นต้น

-กรอบร่วมมือคณะกรรมการเอเชียตะวันออกด้านพลังงาน ซึ่งประกอบด้วย 8 ประเทศคู่เจรจา (จีน ญี่ปุ่น เกาหลีใต้ ออสเตรเลีย  นิวซีแลนด์ อินเดีย รัสเซีย  สหรัฐอเมริกา ) ได้หารือในเรื่องแนวทางการผลักดันความร่วมมือด้านการอนุรักษ์พลังงาน พลังงานชีวภาพ และประเด็นนวัตกรรม/เทคโนโลยีพลังงานใหม่ๆ

สรุปประเด็นการประชุมหารือเจ้าหน้าที่อาวุโสด้านพลังงานอาเซียน (SOME) ครั้งที่ 37 วันที่ 2 ( 25 มิถุนายน 2562)

วันนี้ (25 มิถุนายน 2562 ) การประชุมหารือเจ้าหน้าที่อาวุโสด้านพลังงานอาเซียน (SOME) และหารือระหว่างอาเซียนกับ International Energy Agency (IEA) ในเรื่องกรอบความร่วมมือและกิจกรรมที่เกี่ยวข้อง เพื่อสร้างความมั่นคงด้านพลังงานในภูมิภาค ซึ่ง IEA ได้ร่วมศึกษาเรื่องอาทิ การศึกษา Feasibility study on Multilateral power trade, ASEAN-IEA cooling partnership และความร่วมมือด้านอนุรักษ์พลังงานอื่นๆ

ปลัดกระทรวงพลังงานเข้าร่วมการประชุมรัฐมนตรี G20 ด้านพลังงานและสิ่งแวดล้อม

ปลัดกระทรวงพลังงานเข้าร่วมการประชุมรัฐมนตรี G20 ด้านพลังงานและสิ่งแวดล้อม

เมื่อวันที่ 15-16 มิถุนายน 2562 ณ เมืองคารุอิซาวา ประเทศญี่ปุ่น นายกุลิศ สมบัติศิริ ปลัดกระทรวงพลังงาน เป็นผู้แทนรัฐมนตรีว่าการกระทรวงพลังงาน เข้าร่วมการประชุม G20 ระดับรัฐมนตรีพลังงานและสิ่งแวดล้อม (The G20 Ministerial Meeting on Energy Transitions and Global Environment for Sustainable Growth) โดยที่ประชุมได้เน้นย้ำถึงความสำคัญของการเปลี่ยนผ่านพลังงานและมิติปัญหาและการจัดการที่ยั่งยืนด้านสิ่งแวดล้อม โดยตระหนักถึง 3E+S (ความมั่นคงด้านพลังงาน ประสิทธิภาพทางเศรษฐกิจ สิ่งแวดล้อม และความปลอดภ้ย) รวมถึงการร่วมมือกันในการแก้ไขปัญหาต่างๆ เช่น ขยะพลาสติก การเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ เป็นต้น ทั้งนี้ เพื่อการบรรลุเป้าหมายการพัฒนาที่ยั่งยืน (SDGs) โดยมิติพลังงานมุ่งส่งเสริมการพัฒนาทางด้านเทคโนโลยีและนวัตกรรมด้านพลังงานทดแทน การส่งเสริมการใช้พลังงานไฮโดรเจน เป็นต้น

ปลัดกระทรวงพลังงาน ได้กล่าวต่อที่ประชุม G20 ว่า ไทยได้วางนโยบายและพัฒนาด้านพลังงานในช่วงการเปลี่ยนผ่านพลังงาน (Energy Transition) โดยการส่งเสริมการใช้สายส่งอัจฉริยะ (Smart Grid) เทคโนโลยีการกักเก็บพลังงาน (Energy Storage) และการนำ Big Data และ Blockchain มาใช้ในภาคพลังงานของไทย ทั้งนี้ ในปี 2562 นี้ ประเทศไทยในฐานะประธานอาเซียน และกระทรวงพลังงานไทยจะเป็นเจ้าภาพจัดการประชุมรัฐมนตรีอาเซียนด้านพลังงาน ครั้งที่ 37 โดยที่ประชุมจะมีการหารือกันเกี่ยวกับการร่วมมือกันในการพัฒนาการเชื่อมโยงพลังงานไฟฟ้าในภูมิภาค การส่งเสริมประสิทธิภาพพลังงาน และการพัฒนาพลังงานทดแทน ทั้งนี้ ประเทศไทยตั้งอยู่ในจุดยุทธศาสตร์ของภูมิภาคอาเซียน ซึ่งไทยมีความพร้อมและยินดีที่จะเป็นจุดเชื่อมโยงพลังงานระหว่างภูมิภาค (Regional Energy Connector : REC) เพื่อเสริมสร้างความมั่นคงทางพลังงานและการเติบโตที่ยั่งยืนทางเศรษฐกิจในภูมิภาคต่อไป อนึ่ง มีผู้แทนระดับรัฐมตรีและระดับสูงจากประเทศสมาชิกและประเทศรับเชิญ รวมทั้งองค์กรระหว่างประเทศด้านพลังงานและสิ่งแวดล้อม เข้าร่วมประชุม 25 ประเทศ และ 10 องค์กรระหว่างประเทศ รวมจำนวนผู้แทนเข้าร่วมราว 400 คน

“ประชุมทบทวน โครงสร้าง บทบาท”

วันนี้ (13 มิ.ย.62) นายกุลิศ สมบัติศิริ ปลัดกระทรวงพลังงาน เป็นประธานในการประชุมคณะกรรมการทบทวนโครงสร้าง บทบาท อำนาจและภารกิจของกระทรวงพลังงาน เพื่อยกระดับการทำงานของหน่วยงาน ลดภารกิจที่ซ้ำซ้อน ทำงานบูรณาการ ให้มีประสิทธิภาพยิ่งขึ้น

กระทรวงพลังงานประกาศความพร้อมเจ้าภาพ“SOME” ครั้งที่ 37 เตรียมหารือประเด็นความร่วมมืออาเซียนส่งต่อที่ประชุมรัฐมนตรีพลังงานอาเซียน


กระทรวงพลังงานเตรียมความพร้อมจัดการประชุมเจ้าหน้าที่อาวุโสอาเซียนด้านพลังงานและการประชุมอื่นที่เกี่ยวข้อง ครั้งที่ 37( 37thSenior Official Meeting on Energy and associated meetings : The 37thSOME) ระหว่างวันที่ 24– 28 มิถุนายน 2562 ที่กรุงเทพฯ เพื่อหารือประเด็นและความร่วมมือด้านพลังงานระดับภูมิภาค เตรียมการสำหรับการประชุมรัฐมนตรีอาเซียนด้านพลังงาน (ASEAN Ministers on Energy Meeting : AMEM) ที่จะมีขึ้นในเดือนกันยายนปีนี้ โดยประเทศไทยเป็นเจ้าภาพ

          นายกุลิศ สมบัติศิริ ปลัดกระทรวงพลังงาน เปิดเผยว่า กระทรวงพลังงานเตรียมพร้อมสำหรับการจัดประชุมเจ้าหน้าที่อาวุโสอาเซียนด้านพลังงานและการประชุมอื่นที่เกี่ยวข้อง หรือ SOME ครั้งที่ 37 ที่จะมีขึ้นในระหว่างวันที่ 24-28 มิถุนายน 2562 นี้ ภายใต้แนวคิดหลัก “Advancing Energy Transition through Partnership and Innovation” หรือ “ก้าวสู่ยุคเปลี่ยนผ่านด้านพลังงานด้วยความเป็นหุ้นส่วนที่แข็งแกร่งและนวัตกรรมแห่งอนาคต”โดยจะมีการหารือเพื่อจัดเตรียมประเด็นเนื้อหาทั้งเชิงนโยบายที่สำคัญในระดับภูมิภาค รวมถึงแนวทางการพัฒนากิจกรรมความร่วมมือด้านพลังงานภายใต้กรอบของอาเซียน ทั้งนี้เพื่อรายงานต่อที่ประชุมรัฐมนตรีอาเซียนด้านพลังงาน ซึ่งจะมีการประชุมในเดือนกันยายนที่จะถึงนี้

การประชุม SOME ครั้งที่ 37 จะหารือถึงประเด็นเชิงนโยบายที่สำคัญในระดับภูมิภาคที่จะต้องร่วมกันผลักดันให้เกิดขึ้น อาทิ เป้าหมายด้านการอนุรักษ์พลังงาน การเพิ่มสัดส่วนการใช้พลังงานทดแทนในอาเซียน ซึ่งคาดว่าจะมีการผลักดันกิจกรรมความร่วมมือด้านพลังงานในอาเซียนให้เป็นรูปธรรม ไม่ว่าจะเป็นการขยายการเชื่อมโยงโครงข่ายสายส่งไฟฟ้า แผนการเชื่อมโยงโครงสร้างพื้นฐานก๊าซธรรมชาติ การส่งเสริมพลังงานทดแทนและอนุรักษ์พลังงาน การสร้างความรู้ความเข้าใจในเรื่องเทคโนโลยีถ่านหินสะอาด และนิวเคลียร์ ตลอดจนการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ การริเริ่มโครงการด้านพลังงานใหม่ ๆ ร่วมกับประเทศคู่เจรจาปลัดกระทรวงพลังงานกล่าว

          สำหรับการรายงานประเด็นด้านพลังงานที่ประเทศไทยให้ความสำคัญและเป็นผู้นำในการผลักดันให้เกิดผลเป็นรูปธรรมในปี 2562 (Priority Deliverables) จำนวน 4 ด้าน 9 ประเด็น โดยสรุปดังนี้

ด้านไฟฟ้า ประกอบด้วย การส่งเสริมขยายการเชื่อมโยงโครงข่ายไฟฟ้าพหุภาคี (LTMS-PIP phase 1) เพื่อขยายเพดานปริมาณการซื้อขายไฟฟ้าให้เพิ่มมากขึ้นการจัดทำรายงานศึกษาความเป็นไปได้เรื่องการซื้อ-ขายไฟฟ้าพหุภาคีในอาเซียนให้เกิดเป็นรูปธรรมมากขึ้น และการจัดทำข้อเสนอแนะด้านการส่งเสริมให้เกิดการเพิ่มสัดส่วนพลังงานหมุนเวียนในโครงข่ายอาเซียน (RE Integration to grid) ร่วมกับการศึกษาความเป็นไปได้ในการซื้อ-ขายไฟฟ้าพหุภาคีอาเซียน

โดยประเทศไทยมีความพร้อมในการเป็นผู้นำผลักดันให้เกิดโครงข่ายไฟฟ้าอาเซียนที่สามารถเชื่อมโยงการซื้อขายไฟฟ้าได้ครอบคลุมภูมิภาคอาเซียน เพื่อให้เกิดประโยชน์ต่อการเติบโตทางเศรษฐกิจและยกระดับคุณภาพชีวิตประชาชนในประเทศอาเซียนในอนาคต

ด้านการเพิ่มประสิทธิภาพพลังงาน ประกอบด้วย การจัดทำข้อเสนอแนะเพื่อปรับปรุงการใช้พลังงานอย่างมีประสิทธิภาพสำหรับเครื่องปรับอากาศ และเครื่องทำความเย็นในตลาดอาเซียนให้เป็นมาตรฐานเดียวกัน การจัดทำมาตรฐานห้องปฏิบัติการ (Lab Test) สำหรับทดสอบประสิทธิภาพเครื่องปรับอากาศในครัวเรือน และการศึกษามาตรการด้านการเงิน เพื่อสนับสนุนโครงการใช้พลังงานอย่างมีประสิทธิภาพและอนุรักษ์พลังงาน

ด้านพลังงานทดแทนประกอบด้วย การลงนาม MOU ระหว่าง ศูนย์พลังงานอาเซียน และสถาบันพันธมิตรของอาเซียนเพื่อสนับสนุนการจัดตั้งศูนย์เครือข่ายวิจัยและพัฒนาพลังงานชีวภาพอาเซียน และการรายงาน กรณีศึกษาห่วงโซ่อุปทานพลังงานชีวมวลสำหรับโครงการผลิตไฟฟ้าชีวมวลในพื้นที่ 3 จังหวัดชายแดนใต้ของไทย เพื่อนำไปขยายผลปรับใช้ในพื้นที่ที่มีลักษณะเดียวกันในอาเซียน

ด้านก๊าซธรรมชาติ ประกอบด้วย การจัดทำข้อเสนอแนะ เรื่อง การศึกษาโครงสร้างพื้นฐานขนาดเล็กเพื่อรองรับก๊าซธรรมชาติ (Small-scale LNG) ภายใต้ผลการศึกษา Gas Advocacy White Paper

สำหรับการประชุมครั้งนี้มีประเทศสมาชิกอาเซียนเข้าร่วม10 ประเทศ ได้แก่ บรูไน กัมพูชา อินโดนีเซีย สปป.ลาว มาเลเซีย เมียนมา ฟิลิปปินส์ สิงคโปร์ ไทยและเวียดนาม นอกจากนี้ ยังมีประเทศคู่เจรจาที่สำคัญกับอาเซียน อาทิ จีน ญี่ปุ่น  เกาหลีใต้ รัสเซีย และสหรัฐฯ กลุ่มประเทศความร่วมมือในระดับพหุภาคี ได้แก่ อาเซียนบวกสาม และอาเซียนบวกแปด รวมทั้ง องค์กรระหว่างประเทศ อาทิ ทบวงพลังงานระหว่างประเทศ (IEA) และทบวงการพลังงานหมุนเวียนระหว่างประเทศ (IRENA) เป็นต้น

โดยสรุปการประชุม SOME เพื่อนำไปสู่การประชุม AMEM โดยมีจุดมุ่งหมายให้ระบบพลังงานในภูมิภาคอาเซียนสามารถเปิดเชื่อมโยงเครือข่ายดิจิทัลที่ทันสมัยภายในภูมิภาคอาเซียน โดยมีประเทศไทยเป็นจุดประสานเชื่อมต่อในทุกๆ ด้าน  นอกจากความร่วมมือด้านพลังงานที่จะเกิดขึ้นแล้ว การประชุมเจ้าหน้าที่อาวุโสอาเซียนด้านพลังงานนี้ยังเป็นการช่วยกระตุ้นเศรษฐกิจและการท่องเที่ยวของไทย ตลอดจนสร้างภาพลักษณ์ที่ดีให้ปรากฎแก่สายตานานาประเทศ จึงขอเชิญชวนประชาชนคนไทยทุกคนร่วมกันเป็นเจ้าภาพที่ดี สร้างความประทับใจกับแขกต่างชาติที่เข้าร่วม” ปลัดกระทรวงพลังงาน กล่าวในท้ายที่สุด

ปลัดกระทรวงพลังงาน ร่วมลงนามถวายพระพรสมเด็จพระนางเจ้าฯ พระบรมราชินี

วันนี้ (3 มิ.ย. 62) นายกุลิศ สมบัติศิริ ปลัดกระทรวงพลังงาน พร้อมด้วยผู้บริหารระดับสูงของกระทรวงพลังงาน ร่วมลงนามถวายพระพรสมเด็จพระนางเจ้าฯ พระบรมราชินี เนื่องในโอกาสวันเฉลิมพระชนมพรรษา 3 มิถุนายน 2562 ณ พระบรมมหาราชวัง

 

 

ปลัดกระทรวงพลังงาน พร้อมด้วยคณะผู้บริหารกระทรวงพลังงาน เข้าร่วมการถวายพระพรชัยมงคล

วันที่ 27 พฤษภาคม 2562 นายกุลิศ สมบัติศิริ ปลัดกระทรวงพลังงาน พร้อมด้วยคณะผู้บริหารกระทรวงพลังงาน เข้าร่วมการถวายพระพรชัยมงคลสมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ พระบรมราชินีนาถ พระบรมราชชนนีพันปีหลวง และพระเจ้าวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้าโสมสวลี กรมหมื่นสุทธนารีนาถ ณ อาคารภูมิสิริมังคลานุสรณ์ โรงพยาบาลจุฬาลงกรณ์ สภากาชาดไทย และเดินทางเข้าร่วมการถวายพระพรชัยมงคลสมเด็จพระเจ้าน้องนางเธอ เจ้าฟ้าจุฬาภรณวลัยลักษณ์ อัครราชกุมารี กรมพระศรีสวางควัฒน ขัตติยราชนารี พระเจ้าวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้าสิริภาจุฑาภรณ์ และพระเจ้าวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้าอทิตยาทรกิติคุณ ณ สถาบันวิจัยจุฬาภรณ์

ปลัดกระทรวงพลังงาน พร้อมด้วยคณะผู้บริหารกระทรวงพลังงาน เข้าร่วมการถวาย พระพรชัยมงคล

วันพุธที่ 22 พฤษภาคม 2562 เวลา 13.30 น. นายกุลิศ สมบัติศิริ ปลัดกระทรวงพลังงาน พร้อมด้วยคณะผู้บริหาร ร่วมถวายพระพรชัยมงคลแด่พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว สมเด็จพระนางเจ้าฯพระบรมราชินี และสมเด็จพระเจ้าลูกยาเธอ เจ้าฟ้าทีปังกรรัศมีโชติ มหาวชิโรตตมางกูร สิริวิบูลยราชกุมาร ณ พระที่นั่งอัมพรสถาน

ต่อมา เวลา 14.45 น. เข้าร่วมการถวาย พระพรชัยมงคลสมเด็จพระกนิษฐาธิราชเจ้า กรมสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดา เจ้าฟ้ามหาจักรีสิรินธร มหาวชิราลงกรณวรราชภักดี สิริกิจการิณีพีรยพัฒน รัฐสีมาคุณากรปิยชาติ สยามบรมราชกุมารี ณ กองงาน ในพระองค์ ฯ พระตำหนักสวนจิตรลดา

ต่อมา เวลา 15.00 น. เข้าร่วมการถวาย พระพรชัยมงคลสมเด็จพระเจ้าลูกเธอ เจ้าฟ้าพัชรกิติยาภา นเรนทิราเทพยวดี และสมเด็จพระเจ้าลูกเธอ เจ้าฟ้าสิริวัณณวรี นารีรัตนราชกัญญา ณ วังศุโขทัย

ปลัดกระทรวงพลังงาน พร้อมด้วยคณะผู้บริหารกระทรวงพลังงาน ร่วมลงนามถวายพระพรสมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ พระบรมราชินีนาถ ในรัชกาลที่ 9

วันที่ 24 เมษายน 2562 นายกุลิศ สมบัติศิริ ปลัดกระทรวงพลังงาน พร้อมด้วยคณะผู้บริหารกระทรวงพลังงาน ร่วมลงนามถวายพระพรสมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ พระบรมราชินีนาถ ในรัชกาลที่ 9 ขอให้ทรงหายจากพระอาการประชวร ณ อาคารภูมิสิริมังคลานุสรณ์ ชั้น 1 โรงพยาบาลจุฬาลงกรณ์

กระทรวงพลังงาน พร้อมรับมือพีคไฟฟ้าหน้าร้อนนี้

กระทรวงพลังงาน สำนักงานนโยบายและแผนพลังงาน (สนพ.) และการไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทย (กฟผ.) พร้อมรับมือพีคไฟฟ้าหน้าร้อนนี้ คาดการณ์ความต้องการใช้ไฟฟ้าช่วงฤดูร้อนเพิ่มสูงขึ้นตามอุณหภูมิที่เพิ่มขึ้น โดยสูงสุดอยู่ที่ประมาณ 35,889 เมกะวัตต์ โตขึ้นจากปีก่อน (2561) ประมาณ 4.6% และคาดว่าจะเกิดขึ้นในช่วงระหว่างปลายเดือนเมษายน – ต้นเดือนพฤษภาคม 2562 จึงขอความร่วมมือประชาชน เอกชน และภาคอุตสาหกรรม ช่วยกันประหยัดไฟฟ้าในช่วงฤดูร้อนเป็นพิเศษเพื่อความมั่นคงของระบบไฟฟ้าโดยรวม

ดร. สราวุธ แก้วตาทิพย์ รองปลัดกระทรวงพลังงานเปิดเผยว่า “สถานการณ์การผลิตไฟฟ้าในเดือนมกราคม 2562  มีกำลังผลิตในระบบไฟฟ้าไทย อยู่ที่ 56,034 เมกะวัตต์ และมีการผลิตไฟฟ้าอยู่ที่ 18,939 GWh ลดลง 0.3% โดยมีสัดส่วนการผลิตจากก๊าซธรรมชาติสูงสุด 57% ส่วนสถานการณ์การใช้ไฟฟ้าอยู่ที่ 17,600 GWh เพิ่มขึ้น 1.6% ทั้งนี้ การใช้ไฟฟ้าเพิ่มขึ้นในสาขาเศรษฐกิจสำคัญทั้งภาคธุรกิจ บ้านอยู่อาศัย ในขณะที่การใช้ไฟฟ้าในกลุ่มผู้ผลิตไฟฟ้าใช้เอง (IPS) ซึ่งคิดเป็นสัดส่วนถึง 13% ของการใช้ไฟฟ้าทั้งประเทศในเดือนนี้มีอัตราการใช้ไฟฟ้าลดลง โดยสาขาอุตสาหกรรม มีสัดส่วนการใช้ไฟฟ้า 40% การใช้ลดลงที่ 1.1% ตามดัชนีผลผลิตอุตสาหกรรมที่ลดลง สาขาธุรกิจ มีสัดส่วนการใช้ไฟฟ้า 22% การใช้เพิ่มขึ้น 7.3% ตามการขยายตัวของการบริโภคในภาคเอกชนและการท่องเที่ยว โดยกลุ่มธุรกิจหลักที่มีการใช้ไฟฟ้าในสัดส่วนที่สูง ได้แก่ ห้างสรรพสินค้า อพาร์ตเมนต์และเกสต์เฮาส์ และโรงแรม มีการใช้ไฟฟ้าเพิ่มขึ้น 3.0% 11.8% และ 2.9% ตามลำดับ ทั้งนี้ การใช้ไฟฟ้าในส่วนของโรงแรมเพิ่มขึ้นค่อนข้างสูงสอดคล้องกับจำนวนนักท่องเที่ยวต่างชาติที่เพิ่มมากขึ้น อีกทั้งมีการแข่งขันเพิ่มขึ้นในธุรกิจอพาร์ตเมนต์ให้เช่าสำหรับชาวต่างชาติใน กทม. และสาขาครัวเรือน มีสัดส่วนการใช้ไฟฟ้า 20% การใช้เพิ่มขึ้น 14.6% คาดว่าเป็นผลมาจากการหยุดยาวต่อเนื่องในช่วงเทศกาลปีใหม่

สำหรับหน้าร้อนในปีนี้ คาดการณ์ว่า ความต้องการใช้ไฟฟ้าสูงสุดของประเทศ (พีค) จะเกิดขึ้นระหว่างปลายเดือนเมษายน – ต้นเดือนพฤษภาคม 2562 ซึ่งในปีที่ผ่านมา อยู่ที่ระดับ 34,317 เมกะวัตต์ เมื่อวันที่ 24 เมษายน 2561 เวลา 13.51 น. โดยปัจจัยสำคัญที่จะส่งผลให้พยากรณ์ความต้องการใช้ไฟฟ้าเบี่ยงเบนไปจากคาดการณ์ คือ กลุ่มผู้ผลิตไฟฟ้าใช้เอง (IPS) ที่อาจเติบโตขึ้น ประเทศไทยเข้าสู่ฤดูร้อนเร็วกว่าปกติ โดยปีนี้เริ่มเข้าสู่ฤดูร้อนตั้งแต่ปลายเดือนกุมภาพันธ์ถึงกลางเดือนพฤษภาคม 2562 และสภาพอากาศที่แปรปรวน คณะทำงานจัดทำค่าพยากรณ์ความต้องการไฟฟ้า จึงประมาณความต้องการใช้ไฟฟ้าสูงสุดของประเทศ (พีค) ในปี 2562 คาดว่าจะอยู่ที่ 35,889 เมกะวัตต์ เพิ่มขึ้นร้อยละ 4.6 จากปี 2561 ซึ่งในปีนี้กรมอุตุนิยมวิทยาคาดการณ์ว่าอุณหภูมิช่วงหน้าร้อนอยู่ที่ 42-43 องศาเซลเซียส แต่หากอุณหภูมิเปลี่ยนแปลงขึ้นหรือลดลง 1 องศาเซลเซียสจะมีผลต่อการใช้ไฟฟ้าประมาณ 400 เมกะวัตต์” รองปลัดกระทรวงกล่าว

ทางด้านนายวัฒนพงษ์ คุโรวาท ผู้อำนวยการสำนักงานนโยบายและแผนพลังงาน (สนพ.) กล่าวว่า “ขณะนี้ได้จัดเตรียมมาตรการสร้างความตระหนักในการประหยัดพลังงานและขอความร่วมมือจากภาคประชาชน เอกชน และอุตสาหกรรม ให้ช่วยกันลดใช้ไฟฟ้าอย่างจริงจัง โดยได้มีการประชาสัมพันธ์ผ่านมาตรการ 4 ป. “ปิด-ปรับ-ปลด-เปลี่ยน” ตั้งแต่วันนี้เป็นต้นไป เพื่อช่วยลดปริมาณความต้องการใช้ไฟฟ้าสูงสุดของประเทศ (พีค) ไม่ให้สูงขึ้นจนทำสถิติรอบใหม่ อันจะทำให้เกิดความเสี่ยงต่อความมั่นคงระบบไฟฟ้าของประเทศ ซึ่งมาตรการลดพีคไฟฟ้า เป็นการปรับเปลี่ยนปริมาณและลักษณะการใช้ไฟฟ้าของผู้ใช้เพื่อให้สมดุลกับการผลิตไฟฟ้า สำหรับมาตรการ 4 ป. เป็นมาตรการที่ทุกคนสามารถทำได้ทันที ได้แก่ ปิดอุปกรณ์ไฟฟ้าที่ไม่จำเป็น ปรับอุณหภูมิเครื่องปรับอากาศเป็น 26 องศา ซึ่งการเพิ่ม 1 องศาจะช่วยประหยัดไฟเพิ่มได้ 10% ปลดปลั๊กอุปกรณ์ไฟฟ้าเมื่อเลิกใช้ เปลี่ยนมาใช้อุปกรณ์ประหยัดไฟเบอร์ 5 แบบใหม่ ที่มี 1 – 3 ดาว โดยแต่ละดาวจะมีประสิทธิภาพการประหยัดไฟฟ้าได้เฉลี่ยเพิ่มขึ้น 10% และเปลี่ยนเวลาที่ใช้ไฟฟ้า คือ หลีกเลี่ยงการใช้เครื่องใช้ไฟฟ้าที่ไม่จำเป็นใน 2 ช่วงเวลา คือ 13.00 – 15.00 น. เพื่อลดพีคไฟฟ้าช่วงกลางวัน และ 19.00 –21.00 น. เพื่อลดพีคไฟฟ้าช่วงกลางคืน”

ขณะที่ นายจรรยง วงศ์จันทร์พงษ์ ผู้ช่วยผู้ว่าการปฏิบัติการควบคุมระบบ การไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทย (กฟผ.) เปิดเผยว่า “สำหรับการเตรียมความพร้อมในส่วนของระบบผลิตไฟฟ้า กฟผ.บริหารจัดการโรงไฟฟ้าในระบบทั้งโรงไฟฟ้าของ กฟผ. โรงไฟฟ้า IPP และ SPP ให้มีการทำงานบำรุงรักษาเท่าที่จำเป็น และขอความร่วมมืองดบำรุงรักษานอกแผนที่ไม่มีความจำเป็นเร่งด่วนตลอดช่วงฤดูร้อน โดยเฉพาะอย่างยิ่งในช่วงเดือนมีนาคมถึง พฤษภาคม ที่มีความต้องการใช้ไฟฟ้าสูงเพื่อรักษาความมั่นคง โดยในช่วงฤดูร้อนปีนี้ จะมีกำลังผลิตสำรองพร้อมจ่ายเพียงพอสำหรับรองรับเหตุการณ์ฉุกเฉินซ้ำซ้อนที่อาจเกิดขึ้น รวมทั้งได้ประสานงานกับ ปตท. ในการเพิ่มความสามารถในการส่งเชื้อเพลิงก๊าซธรรมชาติ ให้มีความเพียงพอต่อความต้องการใช้ผลิตไฟฟ้าที่เพิ่มขึ้น ในส่วนของระบบส่งไฟฟ้าของ กฟผ. มีความพร้อมใช้งานเต็มความสามารถ โดยงดทำงานบำรุงรักษาสถานีไฟฟ้า และอุปกรณ์ในระบบส่งที่มีความสำคัญ เพื่อไม่ให้ส่งผลกระทบต่อการส่งไฟฟ้าในช่วงดังกล่าว

ขอให้ทุกภาคส่วนมั่นใจว่า กฟผ. จะดูแลระบบผลิตและส่งไฟฟ้าของประเทศให้เพียงพอต่อความต้องการใช้ไฟฟ้า และขอความร่วมมือจากทุกภาคส่วนช่วยกันลดการใช้ไฟฟ้าเพื่อช่วยให้การใช้ไฟฟ้าในระบบไม่สูงจนเกินไป”

นายวัฒนพงษ์ คุโรวาท  ผู้อำนวยการสำนักงานนโยบายและแผนพลังงาน (สนพ.) กล่าวเพิ่มเติมว่า “ในช่วงเทศกาลสงกรานต์ กรณีผู้ผลิตก๊าซธรรมชาติแหล่งยาดานา ประเทศเมียนมา มีแผนหยุดการผลิตบางส่วนเพื่อปรับปรุงและซ่อมบำรุงอุปกรณ์ประจำปี ระหว่างวันที่ 11-17 เม.ย. 2562 รวมระยะเวลา 7 วันนั้น ไม่ส่งผลกระทบต่อเชื้อเพลิงในการผลิตไฟฟ้าของไทย เพราะหน่วยงานที่เกี่ยวข้องทั้งบริษัท ปตท. จำกัด (มหาชน) และการไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทย (กฟผ.) เตรียมแผนรองรับไว้แล้ว โดยเบื้องต้น ปตท. เจรจาให้ผู้ผลิตก๊าซธรรมชาติในแหล่งอื่นดำเนินการในช่วงเทศกาลสงกรานต์ ประกอบกับเป็นช่วงที่ประชาชนเดินทางท่องเที่ยว กลับบ้านต่างจังหวัด ทำให้ความต้องการใช้ไฟฟ้าของประเทศโดยรวมอยู่ในระดับลดลง ส่งผลให้ กฟผ. ไม่จำเป็นต้องใช้น้ำมันเตาและน้ำมันดีเซลเพื่อผลิตไฟฟ้าทดแทน รวมทั้งไม่กระทบต่อต้นทุนค่าไฟฟ้า และไม่ส่งผลกระทบต่อผู้ใช้ก๊าซทั้งภาคอุตสาหกรรมและภาคขนส่งแต่อย่างใด ส่วนทางกฟผ. หลังทราบข่าวจาก ปตท. ได้เตรียมมาตรการรองรับ โดยลดการเดินเครื่องโรงไฟฟ้ากลุ่มที่ใช้ก๊าซธรรมชาติฝั่งตะวันตก ได้แก่ โรงไฟฟ้าราชบุรี โรงไฟฟ้าราชบุรีเพาเวอร์ โรงไฟฟ้าไตรเอนเนอร์ยี่ และเตรียมเพิ่มการเดินเครื่องโรงไฟฟ้าซึ่งใช้ก๊าซธรรมชาติฝั่งอ่าวไทย ทำหน้าที่เดินเครื่องหลัก เพื่อรักษาความมั่นคงของระบบไฟฟ้าในเขตนครหลวง แต่ทั้งนี้ ขอความร่วมมือจากประชาชนให้ใช้ไฟฟ้าในช่วง 7 วันดังกล่าวอย่างประหยัด เพื่อช่วยเสริมความมั่นคงทางด้านพลังงานของประเทศอีกทางหนึ่ง” ผู้อำนวยการกล่าวในที่สุด

ปลัดกระทรวงพลังงาน พร้อมด้วยผู้บริหารระดับสูงจากกระทรวงพลังงาน ประชุมและหารือกับกระทรวงอุตสาหกรรม

วันนี้ (21 ก.พ.) นายกุลิศ สมบัติศิริ ปลัดกระทรวงพลังงาน พร้อมด้วยผู้บริหารระดับสูงจากกระทรวงพลังงาน อาทิ ดร.ทวารัฐ สูตะบุตร ผู้ตรวจราชการกระทรวงพลังงาน นายสราวุธ แก้วตาทิพย์ รองอธิบดีกรมเชื้อเพลิงธรรมชาติ(ชธ.) นางอุษา ผ่องลักษณา รองอธิบดีกรมธุรกิจพลังงาน(ธพ.) นายวัฒนพงษ์ คุโรวาท รองผู้อำนวยการสำนักงานนโยบายและแผนพลังงาน(สนพ.) นายวันชัย บันลือสินธุ์ รองอธิบดีกรมพัฒนาพลังงานทดแทนและอนุรักษ์พลังงาน(พพ.) ร่วมประชุมและหารือกับนายพสุ โลหารชุน ปลัดกระทรวงอุตสาหกรรม และคณะผู้บริหาร ณ ห้องประชุม อก. 1 อาคารสำนักงานปลัดกระทรวงอุตสาหกรรม

ทั้งนี้ การประชุมร่วมระหว่างกระทรวงพลังงาน และกระทรวงอุตสาหกรรม มีประเด็นการหารือที่สำคัญๆ ได้แก่ แนวทางการพัฒนายานยนต์ไฟฟ้า การบริหารจัดการขยะอุตสาหกรรมจากภาคพลังงานให้เกิดประโยชน์สูงสุดรวมถึงการนำไปผลิตพลังงาน เช่น แผงโซลาร์เซลล์ แบตเตอรี่ แท่นขุดเจาะปิโตรเลียมที่หมดอายุ รวมทั้งความร่วมมือการอนุรักษ์พลังงานในภาคอุตสาหกรรม เป็นต้น

ปลัดกระทรวงพลังงาน พร้อมด้วยผู้บริหารระดับสูงจากกระทรวงพลังงาน ประชุมและหารือกับกระทรวงเกษตรและสหกรณ์

วันนี้ (18 ก.พ.) นายกุลิศ สมบัติศิริ ปลัดกระทรวงพลังงาน พร้อมด้วยผู้บริหารระดับสูงจากกระทรวงพลังงาน อาทิ นางเปรมฤทัย วินัยแพทย์ อธิบดีกรมเชื้อเพลิงธรรมชาติ(ชธ.) นางสาวนันธิกา ทังสุพานิช อธิบดีกรมธุรกิจพลังงาน (ธพ.) นายวันชัย บันลือสินธุ์ รองอธิบดีกรมพัฒนาพลังงานทดแทนและอนุรักษ์พลังงาน(พพ.) ร่วมประชุมและหารือกับนายอนันต์ สุวรรณรัตน์ ปลัดกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ และคณะ ฯ ณ ห้องประชุม 134 สำนักงานปลัดกระทรวงเกษตรและสหกรณ์

ทั้งนี้ การประชุมร่วมระหว่างกระทรวงพลังงาน และกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ มีประเด็นการหารือที่สำคัญ ได้แก่ การสร้างต้นแบบชุมชนเกษตรกรที่ประยุกษ์ใช้เทคโนโลยีด้านพลังงาน เช่น ระบบสูบน้ำแสงอาทิตย์ในพื้นที่ไฟฟ้าเข้าไม่ถึง การใช้พลังงานทดแทนในฟาร์ม/การเกษตร ระบบ Smart Farming การนำผลผลิตทางการเกษตรเป็นพลังงาน รวมถึงการใช้ประโยชน์ในพื้นที่สปก. เพื่อการพัฒนาพลังงานทดแทน เป็นต้น

ปลัดกระทรวงพลังงาน เป็นประธานในการประชุม (ร่าง)แผนแม่บทของกระทรวงพลังงาน

5 ก.พ.62 กระทรวงพลังงาน กรุงเทพฯ นายกุลิศ สมบัติศิริ ปลัดกระทรวงพลังงาน เป็นประธานในการประชุม (ร่าง)แผนแม่บทของกระทรวงพลังงาน ณ ห้องประชุม1 ชั้น 15 กระทรวงพลังงาน โดยมีผู้บริหาร ข้าราชการ และเจ้าหน้าที่ที่เกี่ยวข้อง เข้าร่วมประชุมโดยพร้อมเพียง

ปลัดกระทรวงพลังงาน พร้อมด้วยคณะผู้บริหารกระทรวงพลังงาน ร่วมลงนามถวายพระพร พระเจ้าวรวงศ์เธอพระองค์เจ้าโสมสวลี พระวรราชาทินัดดามาตุ

วันที่ 5 กุมภาพันธ์ 2562 นายกุลิศ สมบัติศิริ ปลัดกระทรวงพลังงาน พร้อมด้วยคณะผู้บริหารกระทรวงพลังงาน ร่วมลงนามถวายพระพร พระเจ้าวรวงศ์เธอพระองค์เจ้าโสมสวลี พระวรราชาทินัดดามาตุ ขอให้ทรงหายจากพระอาการประชวร ณ อาคารภูมิสิริมังคลานุสรณ์ โรงพยาบาลจุฬาลงกรณ์

ปลัดกระทรวงพลังงานติวเข้มข้าราชการและเจ้าหน้าที่ขับเคลื่อนนโยบายปี 2562 สู่การปฎิบัติ มุ่งประสิทธิภาพ

ปลัดกระทรวงพลังงานติวเข้มข้าราชการและเจ้าหน้าที่ขับเคลื่อนนโยบายปี 2562 สู่การปฎิบัติ มุ่งประสิทธิภาพ

วันนี้ (4 มกราคม 2562) นายกุลิศ สมบัติศิริ ปลัดกระทรวงพลังงาน กล่าวภายหลังเป็นประธานเปิด การสัมมนา “การสื่อสารนโยบายสู่ภาคปฏิบัติของกระทรวงพลังงาน ปี 2562”ว่า การสัมมนาดังกล่าว กระทรวงพลังงานจัดขึ้นเป็นประจำทุกปีเพื่อให้บุคลากรของกระทรวงพลังงานทั้งในส่วนกลางและภูมิภาค โดยเฉพาะพลังงานจังหวัดซึ่งถือเป็นด่านหน้าที่สำคัญ ช่วยนำข้อมูล ข้อเท็จจริงด้านพลังงานต่าง ๆ ไปสื่อสารต่อยังประชาชนในพื้นที่ โดยเฉพาะนโยบายที่สำคัญที่อยู่ในความสนใจของสาธารณะ อาทิ การประมูลแหล่งปิโตรเลียมเอราวัณ-บงกช แผนพัฒนากำลังผลิตไฟฟ้าของประเทศไทย (PDP2018) การบริหารปาล์มน้ำมันผ่าน B7 B20 ตลอดจนโครงการโซลาร์เซลล์บนหลังคา เป็นต้น ทั้งนี้เพื่อเป็นการสร้างความรู้ด้านพลังงาน ช่วยส่งเสริมให้ประชาชน เกิดทัศนคติที่ดีต่อกระทรวงพลังงาน พร้อมให้ความร่วมมือในการพัฒนาโครงการต่างๆ ของกระทรวงพลังงาน และให้การสนับสนุนนโยบายต่างๆ ทางด้านพลังงานอย่างต่อเนื่อง
“พลังงานจังหวัดมีบทบาทสำคัญในการขับเคลื่อนสร้างความเข้าใจและทัศนคติที่ดีต่อนโยบาย ด้านพลังงานให้เกิดขึ้นกับภาคประชาชน โดยประเด็นที่พลังงานจังหวัดต้องคำนึงถึงในการปฏิบัติงานคือ การมีข้อมูลพื้นฐานด้านพลังงานในพื้นที่จังหวัด ติดตามนโยบาย/มาตรการของส่วนกลาง การมีส่วนร่วมในการจัดทำยุทธศาสตร์การพัฒนาจังหวัดอย่างสม่ำเสมอ การสร้างเครือข่ายการทำงานในพื้นที่กับภาครัฐ ภาคเอกชน และสถาบันการศึกษา การบริหารงบประมาณอย่างมีประสิทธิภาพ การถ่ายทอดความรู้ระหว่างบุคลากร รวมทั้งการมีธรรมาภิบาล และความโปร่งใสในการปฏิบัติงาน” ปลัดกระทรวงพลังงานกล่าว
ในโอกาสนี้ ปลัดกระทรวงพลังงานยังได้กล่าวในการปาฐกถาเกี่ยวกับนโยบายพลังงานสู่การปฏิบัติว่า ทิศทางการดำเนินงานที่สำคัญๆ ในปี 2562 มีดังนี้ ด้านไฟฟ้า หลังจากจัดทำร่างแผน PDP ฉบับใหม่แล้ว ก็มีโครงการศึกษาการปรับโครงสร้างเพื่อรองรับผู้ใช้ไฟฟ้าที่ผลิตไฟฟ้าใช้เองและส่งขายให้การไฟฟ้า(Prosumer) โครงการศึกษา SPP Power Pool การสร้างโรงไฟฟ้าพระนครใต้ทดแทนเครื่องที่ 1-5 การศึกษาความเหมาะสมของโซลาร์ลอยน้ำ การจัดตั้ง One Stop Service การจัดตั้งโรงไฟฟ้าและก๊าซธรรมชาติ

ด้านน้ำมัน เห็นชอบและประกาศใช้กฎหมายว่าด้วยกองทุนน้ำมันเชื้อเพลิง พ.ศ…. การศึกษาการสำรองน้ำมันเชิงยุทธศาสตร์ ปรับโครงสร้างราคาน้ำมันเชื้อเพลิงให้สะท้อนและเกิดการแข่งขันเพิ่มขึ้น โครงการระบบขนส่งน้ำมันทางท่อไปยังภาคเหนือและภาคตะวันออกเฉียงเหนือ และศึกษาแนวทางการส่งเสริมการใช้ B10
ด้านก๊าซธรรมชาติ หลังจากเปิดประมูลแหล่งปิโตรเลียมเอราวัณ-บงกชสำเร็จในปีที่ผ่านมา ปีนี้ก็มีภารกิจต่อเนื่องในการพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานเรื่องการนำเข้า LNG โดยปี 2562 จะดูเรื่องการนำเข้า LNG 1.5 ล้านตันเพื่อทดสอบระบบเชื่อมต่อระบบส่งก๊าซธรรมชาติและสถานี LNG แก่บุคคลที่สาม (Third Party Access -TPA)
ด้านพลังงานและอนุรักษ์พลังงาน มีแผนขับเคลื่อนรถยนต์ไฟฟ้า (EV) และระบบกักเก็บพลังงาน (Energy Storage System-ESS) รวมถึงมีการบังคับใช้เกณฑ์มาตรฐานอาคารด้านพลังงานสำหรับอาคารที่มีพื้นที่ใช้สอยขนาด 10,000 ตารางเมตรขึ้นไป
นอกจากนี้ ด้านองค์กร จะจัดทำแนวทางปฏิบัติที่ดี (Code of Conduct) การพัฒนาศูนย์สารสนเทศแห่งชาติ

โอกาสนี้ ปลัดกระทรวงพลังงาน พร้อมด้วยคณะผู้บริหาร และบุคลากรกระทรวงพลังงาน ได้ร่วมกันแสดงสัญลักษณ์ต่อต้านการคอรัปชั่น เพื่อแสดงเจตจำนงในการบริหารงานด้วยความสุจริต โปร่งใส และมีธรรมาภิบาล

 

 

 

 

 

 

 

วันนี้ (18 ตุลาคม) นายกุลิศ สมบัติศิริ ปลัดกระทรวงพลังงาน ร่วมพบปะและพูดคุยกับสื่อมวลชนสายอุตสาหกรรม – พลังงาน

วันนี้ (18 ตุลาคม) นายกุลิศ สมบัติศิริ ปลัดกระทรวงพลังงาน ร่วมพบปะและพูดคุยกับสื่อมวลชนสายอุตสาหกรรม – พลังงาน เพื่อทำความรู้จักและสร้างความคุ้นเคยต่อสื่อมวลชน โดยได้ชี้แจงถึงภาพรวมนโยบายและแนวทางการปฏิบัติงานของกระทรวงพลังงาน ซึ่งเบื้องต้นจะยึดถือผลประโยชน์ของประเทศ และประชาชนเป็นหลัก อยู่บนพื้นฐานความโปร่งใส สามารถตรวจสอบได้ รวมทั้งจะสอดคล้องกับแผนยุทธศาสตร์ชาติ และแผนปฏิรูปประเทศด้านพลังงาน เพื่อสร้างความมั่นคงด้านพลังงานของประเทศในระยะยาวต่อไป

ปลัดกระทรวงพลังงาน เป็นประธานในการประชุมคณะทำงานพิเศษประสานเชื่อมโยง คณะกรรมการยุทธศาสตร์ชาติและคณะกรรมการปฏิรูปประเทศ

วันนี้ (10 ต.ค.61 ) นายกุลิศ  สมบัติศิริ ปลัดกระทรวงพลังงาน เป็นประธานในการประชุมคณะทำงานพิเศษประสานเชื่อมโยง คณะกรรมการยุทธศาสตร์ชาติและคณะกรรมการปฏิรูปประเทศ กระทรวงพลังงาน ครั้งที่4/2561 ณ ห้องประชุม9 ชั้น15 กระทรวงพลังงาน  โดยมีพล.อ.เลิศรัตน์ รัตนวานิช  นายดนุชา พิชยนันท์ นายกวิน ทังสุพานิช คณะกรรมการปฏิรูปประเทศด้านพลังงาน  ผู้บริหารกระทรวงพลังงาน ผู้บริหารหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง เข้าร่วมประชุมโดยพร้อมเพรียง  ซึ่งที่ประชุมมีวาระสำคัญเกี่ยวกับการบริหารจัดงานงบประมาณโครงการ การติดตามประเมินผลโครงการ และโครงการสำคัญเร่งด่วนที่ต้องขับเคลื่อนตามกรอบระยะเวลาที่กำหนด

วันที่ 1 ตุลาคม 2561 นายกุลิศ สมบัติศิริ ปลัดกระทรวงพลังงาน เข้ารับตำแหน่งในการทำงานปลัดกระทรวงพลังงานวันแรก

 

วันที่ 1 ตุลาคม 2561 นายกุลิศ สมบัติศิริ ปลัดกระทรวงพลังงาน เข้ารับตำแหน่งในการทำงานปลัดกระทรวงพลังงานวันแรก โดยช่วงเช้านำทีมผู้บริหารระดับสูงจากหน่วยงานในสังกัด พร้อมข้าราชการและเจ้าหน้าที่ สักการะพระพรหม ซึ่งเป็นสิ่งศักดิ์สิทธิ์ประจำกระทรวงพลังงาน ณ ศาลพระพรหม ภายในศูนย์เอนเนอร์ยี่คอมเพล็กซ์เพื่อเป็นศิริมงคลในการปฏิบัติหน้าที่

จากนั้น เวลา 11.30 น. ได้เข้าร่วมกับรัฐมนตรีว่าการกระทรวงพลังงานประชุมหารือข้อราชการ ณ ห้องประชุม 9 ชั้น 15 โดยมีผู้บริหารระดับสูงจากทุกส่วนราชการในสังกัด คณะกรรมการกำกับกิจการพลังงาน สถาบันบริหารกองทุนพลังงาน สำนักงานบริหารกองทุนเพื่อส่งเสริมการอนุรักษ์พลังงานเข้าร่วมโดยพร้อมเพรียง

 

ก.พลังงาน ระดมสมอง พลังงานจังหวัดทั่วประเทศ ร่วมรับฟังและเตรียมความพร้อม แผนปฏิรูปประเทศด้านพลังงาน 6 ด้าน 17 ประเด็น

ก.พลังงาน ระดมสมอง พลังงานจังหวัดทั่วประเทศ ผู้บริหารและข้าราชการจากกรมต่างๆ พร้อมรัฐวิสาหกิจในสังกัด กว่า 300 คน ร่วมรับฟังและเตรียมความพร้อม แผนปฏิรูปประเทศด้านพลังงาน 6 ด้าน 17 ประเด็น หวังร่วมขับเคลื่อนภาพรวมการเปลี่ยนแปลงด้านพลังงานสู่ความยั่งยืน พร้อมสร้างความเข้าใจให้ประชาชนทั่วประเทศ

วันนี้ (21กย.) นางสาวนันธิกา ทังสุพานิช รองปลัดกระทรวงพลังงาน เป็นประธานเปิดงานสัมมนา “สื่อสารนโยบายปฏิรูปประเทศด้านพลังงานสู่การปฏิบัติ”โดยมีพลังงานจังหวัดทั่วประเทศ ผู้แทนจากหน่วยงานภายในกรมและรัฐวิสาหกิจสังกัดกระทรวงพลังงาน กว่า 300 คน ร่วมสัมมนา พร้อมทั้งคณะกรรมการปฏิรูปประเทศด้านพลังงาน ได้แก่ นายพรชัย รุจิประภา ประธานคณะกรรมการ พลเอกเลิศรัตน์  รัตนวานิช รองประธาน และนายมนูญ ศิริวรรณ คณะกรรมการ เข้าร่วมเป็นวิทยากรบรรยาย สร้างความรู้ความเข้าใจในแนวทางปฏิบัติ

นางสาวนันธิกา เปิดเผยว่า กระทรวงพลังงานได้ดำเนินการตามแผนปฏิรูปประเทศด้านพลังงาน (ปี 2561 – 2565) ซึ่งครอบคลุม 6 ด้าน 17 ประเด็น โดยจะเป็นการเปลี่ยนแปลงเชิงนโยบายด้านพลังงานที่สำคัญเพื่อนำไปสู่การปฏิบัติ  และจะเป็นแผนงานที่เน้นการปรับปรุงโครงสร้างการบริหารจัดการเพื่อสร้างความเชื่อมั่นการยอมรับของประชาชน ส่งเสริมด้านเทคโนโลยีและการมีส่วนร่วมของประชาชนให้การบริหารจัดการด้านพลังงานมีธรรมาภิบาล ก่อให้เกิดการลงทุนโครงสร้างพื้นฐานพลังงานและการลงทุนในอุตสาหกรรมที่เกี่ยวข้อง

ทั้งนี้ กรอบการปฏิรูปฯ  ที่ต้องเร่งดำเนินการในช่วงแรกที่สำคัญ ๆ อาทิ การจัดหาพลังงาน โดยเฉพาะการสำรวจและผลิตก๊าซธรรมชาติจากแหล่งในประเทศ  ให้เกิดความต่อเนื่อง เดินหน้าปลดล๊อคกฎระเบียบ เพื่อให้การพัฒนาพลังงานทางเลือกเกิดความคล่องตัวและเติบโตยิ่งขึ้น การยกระดับการออกแบบอาคารเพื่อการอนุรักษ์พลังงาน รับเกณฑ์มาตรฐานการออกแบบอาคาร (BEC)  รวมถึงเพิ่มประสิทธิภาพพลังงานอาคารรัฐด้วยกลไก ESCO  การจัดตั้งศูนย์สารสนเทศพลังงานแห่งชาติ เพื่อเผยแพร่ข้อมูลพลังงานที่เชื่อถือได้สู่การวิเคราะห์รอบด้าน และลดการบิดเบือนข้อมูลพลังงาน เป็นต้น

โดยในช่วงปลายของการปฏิรูปฯ จะเกิดเป้าหมายการพัฒนาพลังงานที่ชัดเจน ทั้งด้านยานยนต์ไฟฟ้า ระบบเก็บกักพลังงาน การลงทุนในโครงสร้างพื้นฐาน  เสริมสร้างเศรษฐกิจในระยะยาว การสร้างโรงไฟฟ้า สายส่งที่ล้ำสมัย การลงทุนธุรกิจปิโตรเคมีระยะใหม่ ประชาชนจะเกิดทางเลือกที่สามารถผลิตและใช้พลังงานทดแทนอย่างเสรี ลดการผูกขาด สร้างการแข่งขันในทุกกิจการพลังงาน ในขณะเดียวกันสามารถบังคับใช้กฎหมาย หรือระเบียบด้านการอนุรักษ์และใช้พลังงานอย่างมีประสิทธิภาพต่อทุกภาคส่วน

นางสาวนันธิกา กล่าวเพิ่มว่า การดำเนินการตามแผนปฏิรูปประเทศด้านพลังงานดังกล่าว จะมีเป้าหมาย หน่วยงานที่รับผิดชอบ และกรอบระยะเวลาที่ชัดเจน เน้นการปรับปรุงภารกิจด้านพลังงานให้มีความชัดเจน มีประสิทธิภาพ และสอดรับการเปลี่ยนแปลงของโลกในปัจจุบัน  ซึ่งการขับเคลื่อนประเด็นต่างๆ ในการปฏิรูปประเทศด้านพลังงาน จะต้องสื่อสารไปถึงประชาชนในพื้นที่ ส่วนราชการและหน่วยงานที่เกี่ยวข้องในภูมิภาค โดยกลุ่มพลังงานจังหวัดที่เข้าร่วมสัมมนาในวันนี้ จะเป็นแรงผลักดันสำคัญที่จะถ่ายทอดการดำเนินงานด้านการปฏิรูปฯ ของกระทรวงพลังงานครั้งนี้ ให้ขยายผลสู่วงกว้าง และเข้าถึงกลุ่มเป้าหมายต่าง ๆ ให้เกิดความรู้ ความเข้าใจ และความร่วมมือในการปฏิรูปประเทศด้านพลังงานครั้งนี้เพื่อพลังงานมั่นคง เศรษฐกิจมั่งคั่ง สังคมไทยยั่งยืน ต่อไป

Page 2 of 3
1 2 3