กระทรวงพลังงาน มอบรางวัลชนะเลิศประกวดภาพวาด “พลังงานเพื่อชีวิต” ปีที่ 6

กระทรวงพลังงาน มอบรางวัลชนะเลิศประกวดภาพวาด “พลังงานเพื่อชีวิต” ปีที่ 6 พร้อมเปิดให้เข้าชมผลงาน ฟรี ตั้งแต่วันนี้ถึงวันที่ 19 กันยายน 2561 ณ วีรันดา ฮอลล์ ชั้น 1  เดอะคริสตัล (เอกมัย-รามอินทรา)  กรุงเทพฯ

กระทรวงพลังงาน จัดพิธีมอบรางวัลชนะเลิศประกวดภาพวาด ปีที่ 6 “พลังงานเพื่อชีวิต” มูลค่ารางวัลรวมกว่า 1 ล้านบาท เพื่อรณรงค์สร้างจิตสำนึกด้านการประหยัดและรู้คุณค่าของพลังงาน ให้กับเยาวชนในสถานศึกษาและประชาชนทั่วไป  เผยมีผลงานเข้าร่วมแข่งขันจำนวน 493 ภาพ จาก 130 สถาบันการศึกษา 66 จังหวัด  ระบุฝีมือผู้แข่งขันมีพัฒนาการสูงขึ้นต่อเนื่องทุกปี

พิธีมอบรางวัลชนะเลิศประกวดภาพวาดปีที่ 6 “พลังงานเพื่อชีวิต”  มี นายธรรมยศ ศรีช่วย ปลัดกระทรวงพลังงาน เป็นประธานในพิธี ร่วมด้วย นางสาวนันทิกา ทังสุพานิช รองปลัดกระทรวงพลังงาน ในฐานะประธานคณะกรรมการตัดสิน มอบโล่ เงินรางวัล และใบประกาศเกียรติคุณให้กับผู้ชนะการประกวด พร้อมด้วยศิลปินผู้ทรงคุณวุฒิ เช่น ศาสตรเมธี ดร.เฉลิมชัย โฆษิตพิพัฒน์ ศิลปินแห่งชาติ สาขาทัศนศิลป์ (จิตรกรรม) ศาสตราจารย์วิโชค มุกดามณี ศิลปินแห่งชาติ สาขาทัศนศิลป์ (สื่อผสม) ดร.สังคม ทองมี ผู้อำนวยการศูนย์ศิลป์สิรินธร และนายประทีป คชบัว ศิลปินอิสระ ซึ่งเป็นคณะกรรมการในการตัดสิน

นายธรรมยศ ศรีช่วย ปลัดกระทรวงพลังงาน เปิดเผยว่า  โครงการประกวดวาดภาพเทิดพระเกียรติด้านการอนุรักษ์พลังงานและพลังงานทดแทน กระทรวงพลังงาน จัดขึ้นเป็นปีที่ 6  ภายใต้หัวข้อ “พลังงานพื่อชีวิต” โดยเป็นกิจกรรมที่จัดขึ้นเพื่อเทิดพระเกียรติสถาบันพระมหากษัตริย์ ซึ่งมีความสำคัญต่อคนไทย    เป็นอย่างมาก ทรงเป็นศูนย์รวมจิตใจของปวงชนชาวไทยตลอดเวลาที่ผ่านมาพระบรมวงศานุวงศ์ทุกพระองค์ ได้ปฏิบัติพระราชกรณียกิจที่สร้างคุณูปการต่อพสกนิกรชาวไทยอย่างมาก และทรงเป็นแบบอย่างที่ดีของประชาชนในทุกๆ ด้านมาโดยตลอด โดยเฉพาะอย่างยิ่งด้านการอนุรักษ์พลังงานและพลังงานทดแทน พร้อมน้อมนำเอาพระราชกรณียกิจมาถ่ายทอดให้ประชาชนได้ตระหนักถึงการประหยัด พอเพียง และพึ่งพาตนเอง  ตามวิถีปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง

การประกวดวาดภาพในปีที่ 6 นี้ มีนักเรียน นักศึกษาและประชาชนทั่วไป ส่งผลงานเข้าร่วมทั้งสิ้น 493 ภาพ  จาก 130 สถาบันการศึกษา  66 จังหวัด  การประกวดแบ่งเป็น 4 ประเภท ได้แก่  ประเภทมัธยมศึกษาตอนต้น ประเภทมัธยมศึกษาตอนปลาย ประเภทอุดมศึกษาและปวส. และประเภทประชาชนทั่วไป โดยมีผู้ผ่านรอบแรก ประเภทละ 16 คน รวมเป็น 64 คน ซึ่งทั้ง 64 คน ได้เข้าร่วมอบรมเชิงปฏิบัติการหรือ Workshop ซึ่งเป็นการสร้างสรรค์ผลงานแบบต่อหน้ากรรมการ (วาดสด)

“โครงการประกวดวาดภาพเทิดพระเกียรติ  ด้านการอนุรักษ์พลังงานและพลังงานทดแทน ที่กระทรวงพลังงาน จัดมาอย่างต่อเนื่องนั้น เป็นกิจกรรมวาดภาพแห่งเดียวของประเทศไทยที่มีการสร้างสรรค์ผลงาน ในรอบชิงชนะเลิศแบบต่อหน้ากรรมการ (วาดสด) และเป็นเวทีการประกวดวาดภาพที่เปิดโอกาสให้ผู้เข้าร่วมประกวดได้ถ่ายทอดความนึกคิด จินตนาการด้านพลังงานในทุกมิติผ่านงานศิลปะ  ที่เปิดกว้างในทุกรูปแบบ”  ปลัดกระทรวงพลังงาน กล่าว

นอกเหนือจากผลงานที่ได้รับรางวัล 64 ภาพแล้ว กระทรวงพลังงาน ได้คัดเลือกภาพวาดจากโครงการดังกล่าว เข้าร่วมจัดแสดงนิทรรศการภาพวาดเทิดพระเกียรติด้านการอนุรักษ์พลังงานและพลังงานทดแทน ปีที่ 6 “พลังงาน เพื่อชีวิต” รวมแล้วจำนวน 124 ภาพวาด ตั้งแต่วันที่ 17-19 กันยายนนี้  ณ บริเวณ วีรันดา ฮอลล์ ชั้น 1 เดอะคริสตัล (เอกมัย-รามอินทรา) เพื่อเปิดโอกาสให้ประชาชนและผู้ที่สนใจได้เข้าชมผลงานอย่างใกล้ชิด หรือสามารถเข้าชมผลงานภาพวาดจากการประกวดได้ที่ www.energy.go.th / FB Energypaintingcontest

 

พิธีเปิดการสัมมนาภายใต้โครงการพัฒนาระบบสนับสนุนการขับเคลื่อนแผนยุทธศาสตร์พลังงานระดับจังหวัดตามยุทธศาสตร์ประเทศ

วันนี้ (10 กันยายน 2561) นายหร่อหยา จันทรัตนา ผู้ตรวจราชการกระทรวงพลังงาน ให้เกียรติเป็นประธานในพิธีเปิดการสัมมนาภายใต้โครงการพัฒนาระบบสนับสนุนการขับเคลื่อนแผนยุทธศาสตร์พลังงานระดับจังหวัดตามยุทธศาสตร์ประเทศ หรือ โครงการแผนพลังงานระดับจังหวัด  ณ โรงแรมเอบีน่า เฮ้าส์ กรุงเทพมหานคร  ซึ่งจัดต่อเนื่องสองวัน ได้แก่ “การอบรมการใช้งานระบบบริหารจัดการข้อมูลด้านพลังงาน” ในวันที่ 10 กันยายน 2561  เพื่อให้พลังงานจังหวัดและเจ้าหน้าที่ได้ทบทวนความรู้ และความเข้าใจในแหล่งที่มาของข้อมูลปฐมภูมิและทุติยภูมิด้านพลังงานต่าง ๆ ตลอดจนวิธีการประมวลผลและนำข้อมูลไปใช้  และ “การสัมมนาเชิงปฏิบัติการเพื่อจัดทำแผนปฏิบัติการด้านพลังงานระดับจังหวัดให้สอดคล้องกับยุทธศาสตร์ระยะ 20 ปี และแผนปฏิบัติรูปประเทศด้านพลังงาน” ในวันที่ 11 กันยายน 2561 เพื่อให้ความรู้ด้านแผนยุทธศาสตร์ชาติ 20 ปี แผนปฏิรูปประเทศด้านพลังงาน และการสรุปการถอดบทเรียนประสบการณ์การจัดทำและขับเคลื่อนโครงการตามแผนปฏิบัติการด้านพลังงานระดับจังหวัดในปี พ.ศ. 2561 เพื่อสร้างแนวทางการทำงานร่วมกันให้มีประสิทธิภาพยิ่งขึ้นในอนาคต ซึ่งงานนี้จัดขึ้นโดย สำนักนโยบายและยุทธศาสตร์ สำนักงานปลัดกระทรวงพลังงาน

การสัมมนาในครั้งนี้มีผู้แทนจากสำนักงานพลังงานจังหวัด 76 จังหวัดเข้าร่วมการสัมมนากว่า 100 คน ซึ่งผลจากการอบรมและสัมมนาในครั้งนี้ จะนำไปสู่การวางแผนเพื่อพัฒนาระบบและการจัดทำแผนปฏิบัติการระดับจังหวัดให้มีประสิทธิภาพและสอดคล้องกับแนวนโยบายต่อไป

พพ. จัดกิจกรรมเฉลิมพระชนมพรรษา สมเด็จพระเจ้าอยู่หัว มหาวชิราลงกรณ บดินทรเทพยวรางกูร ครบ 66 พรรษา

กรมพัฒนาพลังงานทดแทนและอนุรักษ์พลังงาน (พพ.) จัดกิจกรรมเฉลิมพระชนมพรรษา สมเด็จพระเจ้าอยู่หัว มหาวชิราลงกรณ บดินทรเทพยวรางกูร ครบ 66 พรรษา

โดยมี นายธรรมยศ ศรีช่วย ปลัดกระทรวงพลังงาน นายประพนธ์ วงษ์ท่าเรือ อธิบดีกรมพัฒนาพลังงานทดแทนและอนุรักษ์พลังงาน พร้อมคณะผู้บริหาร ข้าราชการ พพ. ร่วมถวายภัตตาหารเพล พร้อมเครื่องไทยธรรมแด่พระภิกษุ เพื่อถวายเป็นพระราชกุศลแด่สมเด็จพระเจ้าอยู่หัว เนื่องในวโรกาสวันเฉลิมพระชนมพรรษา 28 กรกฎาคม 2561 ณ โรงพยาบาลสงฆ์ อาคารมูลนิธิ ชั้น 2 ห้อง 3

กรมพัฒนาพลังงานทดแทนและอนุรักษ์พลังงาน นำจิตอาสา ทำความดี ด้วยหัวใจ

กรมพัฒนาพลังงานทดแทนและอนุรักษ์พลังงาน นำจิตอาสา ทำความดี ด้วยหัวใจ

กรมพัฒนาพลังงานทดแทนและอนุรักษ์พลังงาน (พพ.) จัดกิจกรรม “จิตอาสา เราทำความดี ด้วยหัวใจ” ถวายเป็นพระราชกุศลแด่สมเด็จพระเจ้าอยู่หัว เนื่องในวโรกาส วันเฉลิมพระชนมพรรษา
28 กรกฎาคม 2561 โดยมีนายธรรมยศ ศรีช่วย ปลัดกระทรวงพลังงาน นายยงยุทธ จันทรโรทัย รองปลัดกระทรวงพลังงาน และนายประพนธ์ วงษ์ท่าเรือ อธิบดีกรมพัฒนาพลังงานทดแทนและอนุรักษ์พลังงาน รวมถึงผู้บริหาร คณะจิตอาสา เจ้าหน้าที่ กรมพัฒนาพลังงานทดแทนและอนุรักษ์พลังงาน ร่วมใส่บาตรอาหารแห้งแด่พระภิกษุสงฆ์ โดยพร้อมเพรียงกัน ณ บริเวณหน้าอาคาร 7

 

นอกจากนี้ยังได้ร่วมแรง ร่วมใจทำกิจกรรมบำเพ็ญสาธารณะประโยชน์ อาทิ การช่วยกันเก็บขยะ เปลี่ยนหลอดไฟประหยัดพลังงาน ทำความสะอาดพื้นและถนนบริเวณตลาดชุมชนชาวชูชีพ บริเวณวัดชำนิหัตถการ และบริเวณวัดสระบัว ทำให้การปฏิบัติศาสนกิจของพระสงฆ์และการบำเพ็ญกุศลของประชาชนโดยรอบได้รับความสะดวกสบาย เป็นแบบอย่างในการพัฒนาสภาพแวดล้อม และความเป็นอยู่ในชุมชนให้มีสภาพที่ดีขึ้น

ผู้ตรวจราชการกระทรวงพลังงาน ศึกษาดูงานประเด็นการมีส่วนร่วมและการสร้างความเข้าใจแก่ประชาชนเรื่องโรงไฟฟ้านิวเคลียร์ในประเทศญี่ปุ่น

ระหว่างวันที่ 3 – 9 มิถุนายน 2561 ที่ผ่านมา นายประเสริฐ สินสุขประเสริฐ ผู้ตรวจราชการกระทรวงพลังงาน ได้เป็นหัวหน้าคณะ ศึกษาดูงานประเด็นการมีส่วนร่วมและการสร้างความเข้าใจแก่ประชาชนเรื่องโรงไฟฟ้านิวเคลียร์ในประเทศญี่ปุ่นหลังอุบัติเหตุฟุกุชิม่า ไดอิจิ ณ ประเทศญี่ปุ่น  การเข้าเยี่ยมชมศูนย์ตรวจสอบผลิตผลทางการเกษตรฟุกุชิม่า โรงไฟฟ้านิวเคลียร์โออิ (Ohi) และ โรงไฟฟ้านิวเคลียร์มิฮาม่า (Mihama) ของบริษัทผลิตไฟฟ้าแห่งคันไซ (Kansai Electric Power) ศูนย์ให้ความรู้ด้านพลังงานชุมชุนแก่ครอบครัว “At Home” ของเทศบาลเมืองทสึรุกะ (Tsuruga) รวมทั้งการเข้าพบนายอัทสึชิ ทาเคทานิ Deputy Commissioner for International Affaires, ANRE (เทียบเท่ารองปลัดกระทรวง) กระทรวงเศรษฐกิจ การค้าและอุตสาหกรรมของญี่ปุ่น (Ministry of Economy, Trade and Industry: METI) เพื่อหารือด้านความร่วมมือการแลกเปลี่ยนองค์ความรู้ด้านพลังงานนิวเคลียร์

ทั้งนี้ กระทรวงพลังงาน ได้รับทราบความคืบหน้า การฟื้นฟูความเชื่อมั่นด้านอาหารในพื้นที่ประสบอุบัติเหตุโรงไฟฟ้าฟุกุชิม่า ไดอิจิ เมื่อ 11 มีนาคม 2554 โดยเบื้องต้น พบว่าผลการตรวจสอบปริมาณกัมตภาพรังสีในข้าวสารทุกกระสอบของข้าวที่เพาะปลูกในฟุกุชิม่า ไม่ปรากฏปริมาณรังสีเกินมาตรฐานตั้งแต่ปีแรกหลังเกิดอุบัติเหตุ  การเร่งดำเนินการยกระดับด้านความปลอดภัยของโรงไฟฟ้านิวเคลียร์ตามกฎหมายใหม่ที่เข้มข้นขึ้น อาทิ ติดตั้งระบบเครื่องกำเนิดไฟฟ้าดีเซลสำรองและก่อสร้างกำแพงป้องกันคลื่นสึนามิตามข้อมูลการทำนายภัยพิบัติที่ทันสมัย ที่สำคัญที่สุดคือการสร้างความเชื่อมั่นในมาตรฐานความปลอดภัยและการยอมรับแก่ประชาชนที่อาศัยในพื้นที่รอบโรงไฟฟ้า ซึ่งโรงไฟฟ้าร่วมกับองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นมีหน้าที่สื่อสารเปิดเผยข้อมูลโดยไม่ปกปิดแก่ประชาชนอย่างสม่ำเสมอ  โดยปัจจุบัน (มิถุนายน  2561) ประเทศญี่ปุ่นมีเตาปฏิกรณ์นิวเคลียร์ (nuclear reactor) ที่ผ่านได้รับการยอมรับจากประชาชน ผ่านมาตรฐานความปลอดภัยใหม่ และเปิดเดินเครื่องเพื่อผลิตกระแสไฟฟ้าอีกครั้งแล้วจำนวน 8 โรง จากจำนวน 45 โรงทั่วประเทศ

โดยการเดินทางครั้งนี้ ประกอบด้วยผู้แทนจากกระทรวงพลังงาน ผู้แทนการไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทย และผู้แทนสมาคมนิวเคลียร์แห่งประเทศไทย จำนวนรวม 15 คน เป็นการตอบรับคำเชิญจาก Japan Atomic Industrial Forum International Cooperation Center (JICC) ภายใต้การสนับสนุนจาก METI

ปลัดกระทรวงพลังงาน เป็นประธานการประชุมคณะทำงานพิเศษประสานเชื่อมโยงคณะกรรมการยุทธศาสตร์ชาติและคณะกรรมการปฏิรูปประเทศ กระทรวงพลังงาน

วันนี้ (25 พค. 61) นายธรรมยศ ศรีช่วย ปลัดกระทรวงพลังงาน เป็นประธานการประชุมคณะทำงานพิเศษประสานเชื่อมโยงคณะกรรมการยุทธศาสตร์ชาติและคณะกรรมการปฏิรูปประเทศ กระทรวงพลังงาน โดยมีผู้แทนจากคณะกรรมการปฏิรูปประเทศด้านพลังงานเข้าร่วม การประชุมครั้งนี้ถือเป็นการดำเนินการตามนโยบายของรัฐบาลในการผลักดันและขับเคลื่อนการปฏิรูปด้านพลังงาน ใน 6 ด้าน 17 ประเด็น โดยในการประชุมครั้งนี้จะพิจารณารายละเอียดแผนปฏิบัติการ เพื่อนำใช้เป็นกรอบการดำเนินการร่วมกันของทุกหน่วยงานที่เกี่ยวข้องให้เป็นไปในทิศทางเดียวกันและสามารถปฏิรูปการพัฒนาด้านพลังงานให้แล้วเสร็จตามระยะเวลาที่รัฐบาลกำหนด ต่อไป

กระทรวงพลังงาน ร่วมงาน สื่ออยากรู้ รัฐบาลอยากเล่า “มุมมองของรองนายกฯ ประจิน”

วันนี้ (10พค.) กระทรวงพลังงาน นำโดยนายธรรมยศ ศรีช่วย ปลัดกระทรวงพลังงาน เข้าร่วมกิจกรรม สื่ออยากรู้ รัฐบาลอยากเล่า “มุมมองของรองนายกประจินฯ” ณ ตึกภักดีบดินทร์ ทำเนียบรัฐบาล โดยเป็นการเชิญสื่อมวลชนร่วมรับฟัง ภาพรวมของบริบทประเทศไทย เชื่อมโยงกับภารกิจภายใต้การกำกับดูแลแต่ละด้านของ พลอากาศเอก ประจิน จั่นตอง รองนายกรัฐมนตรีที่รับผิดชอบกระทรวงสำคัญๆ ได้แก่ กระทรวงศึกษาธิการ กระทรวงพลังงาน กระทรวงดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคม และกระทรวงยุติธรรม

ทั้งนี้ ในส่วนของกระทรวงพลังงานนั้น  ได้มีการนำเสนอประเด็นสำคัญ ๆ 2 ด้านคือ 1.) การเปิดประมูลสัมปทานปิโตรเลียมบงกช-เอราวัณ ซึ่งเป็นภารกิจครั้งสำคัญของกระทรวงพลังงาน การดำเนินการในขั้นตอนต่างๆ ทั้งหมด มีความพร้อมและมีความชัดเจนมากพอที่จะให้ความมั่นใจได้ว่าจะสามารถดำเนินการเปิดประมูลแหล่งเอราวัณและบงกชได้สำเร็จตามแผนที่วางไว้ เพราะว่า ขั้นตอนคัดเลือกผู้เข้าร่วมประมูล ผู้ที่ได้รับการคัดเลือกจะมีความสามารถ ความเชี่ยวชาญ และเงินทุนเพียงพอที่จะทำได้

สำหรับกรอบระยะเวลาเบื้องต้นในการเปิดประมูลฯ  ระหว่างเดือนพ.ค. จะตรวจสอบคุณสมบัติเบื้องต้นผู้เข้าร่วมประมูลฯ ในเดือนมิ.ย. คาดว่าจะประกาศรายชื่อผู้ผ่านคุณสมบัติและเปิดให้มีการยื่นประมูลโดยผู้ยื่นประมูล สามารถเข้าศึกษาข้อมูลพื้นที่แปลงสำรวจ G1/61 (แหล่งเอราวัณ) และ G2/61 (แหล่งบงกช)  ได้ตั้งแต่ 7 มิ.ย.- 21 ก.ย. 2561 เดือนธ.ค. คาดว่าจะคัดเลือกผู้ชนะการประมูล และคาดว่าในเดือน ก.พ.2562 จะสามารถลงนามสัญญากับผู้ชนะการประมูล  โดยการเปิดประมูลฯ ครั้งนี้ ส่งผลดีกับประเทศชาติ เพราะเพิ่มโอกาส การผลิตก๊าซธรรมชาติในอ่าวไทย เกิดความมั่นคงด้านพลังงานในระยะยาว ก๊าซธรรมชาติเป็นเชื้อเพลิงในการผลิตไฟฟ้าในต้นทุนที่เกิดการแข่งขันได้ ไม่กระทบต่อการพัฒนาเศรษฐกิจ เกิดการผลิตก๊าซปิโตรเลียมเหลว (แอลพีจี) ป้อนประเทศ  รวมไปถึงการสร้างมูลค่าเพิ่มให้อุตสาหกรรมปิโตรเคมี ที่เป็นสิ่งจำเป็นในชีวิตประจำวันต่างๆ และที่สำคัญสร้างรายได้ให้แก่ประเทศ

2.) แผนพัฒนากำลังผลิตไฟฟ้า (PDP) ของประเทศฉบับใหม่ ที่จะให้ความสำคัญใน 3 ด้าน คือ 1. ด้านความมั่นคงทางพลังงาน ทั้งระบบผลิตไฟฟ้า ระบบส่งไฟฟ้า และระบบจำหน่ายไฟฟ้า รายพื้นที่ โดยคำนึงถึงอัตราการเจริญเติบโตทางเศรษฐกิจ อัตราเพิ่มของประชากร และอัตราการขยายตัว ของเขตเมืองในระดับประเทศและระดับภูมิภาค การกระจายสัดส่วนเชื้อเพลิง และ มีโรงไฟฟ้าเพื่อความมั่นคงในระดับที่ เหมาะสมมีการพัฒนาระบบโครงข่ายไฟฟ้าสมาร์ทกริด เพื่อรองรับการพัฒนาระบบไฟฟ้าขนาดเล็กแบบกระจายศูนย์ ส่งเสริมการใช้พลังงานอย่างมีประสิทธิภาพ

2. ด้านเศรษฐกิจ คำนึงถึงต้นทุนการผลิตไฟฟ้าที่เหมาะสม ส่งเสริมการผลิตไฟฟ้าที่มีต้นทุนต่ำ เพื่อลดภาระผู้ใช้ไฟฟ้า และมีการปรับปรุงการบริหารจัดการต้นทุนการผลิตไฟฟ้าของประเทศอย่างมีประสิทธิภาพ และ 3. ด้านสิ่งแวดล้อม ลดผลกระทบ ด้านสิ่งแวดล้อม โดยมีเป้าหมายในการลดการปลดปล่อยก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ต่อหน่วยการผลิตไฟฟ้าของโรงไฟฟ้าในปลายแผนไม่เกิน 0.319 kgCO2/kWh ส่งเสริมระบบไฟฟ้าแบบไมโครกริด ในพื้นที่ห่างไกล พื้นที่นิคมอุตสาหกรรมหรือเขตเศรษฐกิจพิเศษ ส่งเสริมประสิทธิภาพในระบบไฟฟ้าจะสามารถชะลอการสร้างโรงไฟฟ้าใหม่

กระทรวงพลังงาน เป็นเจ้าภาพประชุมเวที ASEAN + 3 ด้านตลาดน้ำมัน ก๊าซธรรมชาติ แผนการสำรองน้ำมัน และหารือเพื่อสร้างความมั่นคงด้านพลังงาน

ก.พลังงาน เป็นเจ้าภาพประชุมเวที ASEAN + 3 ด้านตลาดน้ำมัน ก๊าซธรรมชาติ แผนการสำรองน้ำมัน และหารือเพื่อสร้างความมั่นคงด้านพลังงาน ระหว่าง 27 – 30 มี.ค. ชี้ที่ประชุมฯ เชื่อน้ำมันยังเป็นเชื้อเพลิงสำคัญ ที่มีการลงทุนต่อเนื่องท่ามกลางยุคยานยนต์ไฟฟ้า พร้อม LNG จะเกิดการพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานต่อเนื่อง ระบุในอนาคตมีโอกาสสำรองน้ำมันร่วมกันในภูมิภาค

ระหว่างวันที่ 27 – 30 มี.ค. 2561 ที่ผ่านมา กระทรวงพลังงานได้รับเกียรติเป็นเจ้าภาพจัดการประชุมสำคัญด้านตลาดการค้าน้ำมันและก๊าซธรรมชาติ แผนงานการสำรองน้ำมัน และด้านความมั่นคงด้านพลังงาน ภายใต้ความร่วมมือ ASEAN+3 ได้แก่ การประชุม The 7th ASEAN+3 Oil Market and Natural Gas Forum (OM&NG) and Business dialogue , The 6th Workshop of the ASEAN+3 Oil Stockpiling Road Map (OSRM) , The 15th ASEAN+3 Energy Security Forum (ESF) การประชุมฯ ครั้งนี้ มีผู้แทนจากประเทศสมาชิกอาเซียนบวก 3 (จีน ญี่ปุ่น และเกาหลีใต้) คณะมนตรีอาเซียนด้านปิโตรเลียม หรือ ASEAN Council on Petroleum (ASCOPE) ศูนย์พลังงานอาเซียน ASEAN Centre on Energy (ACE) และสถาบันการเงิน อาทิ Asian Development Bank (ADB) เป็นต้น ซึ่งในที่ประชุม ฯ มีการหารือเกี่ยวกับการส่งเสริมความมั่นคงด้านพลังงาน แลกเปลี่ยนข้อมูล ประสบการณ์และข้อคิดเห็น ตลอดจนแนวทางความร่วมมือระหว่างชาติสมาชิกอาเซียนบวกสามในอนาคต และพิธีเปิดการประชุมฯ เมื่อวันที่ 27 มีค. ได้รับเกียรติจากนายประเสริฐ สินสุขประเสริฐ ผู้ตรวจราชการกระทรวงพลังงาน เป็นประธาน ทั้งนี้ ข้อสรุปจากการหารือร่วมกันในประชุม ฯ ที่สำคัญ ๆ ได้แก่

1.) เวทีด้านตลาดน้ำมันก๊าซธรรมชาติ และการหารือภาคธุรกิจพลังงาน ที่ประชุม ฯ มีความเห็นว่า ปัจจุบันน้ำมันยังเป็นเชื้อเพลิงสำคัญ แม้ว่าจะมีพลังงานทดแทนและเทคโนโลยีสมัยใหม่เข้ามา เช่น พลังงานแสงอาทิตย์ พลังงานลม รถยนต์ไฟฟ้า และระบบกักเก็บพลังงาน โดยโดยสถาบันวิจัยระหว่างประเทศหลายแห่ง คาดการณ์ว่าความต้องการด้านน้ำมันและก๊าซธรรมชาติ และLNG ในภูมิภาคอาเซียนจะเพิ่มขึ้น โดยเฉพาะก๊าซธรรมชาติคาดว่าจะเพิ่มขึ้นอย่างน้อย 33% ในปี 2573 (หากการดำเนินธุรกิจเป็นเช่นนี้ในอนาคต) และศักยภาพในการลงทุนด้านโครงสร้างพื้นฐานยังมีสูง เช่น ท่าเรือรองรับ LNG และโครงข่ายท่อก๊าซธรรมชาติ ซึ่งสะท้อนถึงโอกาสในการลงทุนที่เพิ่มขึ้นของตลาดน้ำมันและก๊าซธรรมชาติในภูมิภาค โดยในเวทีการประชุมฯ ยังได้เชิญสถาบันการเงิน เช่น ADB หรือผู้เชี่ยวชาญจากญี่ปุ่นในการนำเสนอแหล่งทุนจากญี่ปุ่น ซึ่งได้เปิดโอกาสให้สมาชิกอาเซียนพบปะ และถือโอกาสรับการสนับสนุนทางด้านการเงินในการลงทุนในมิติต่างๆ อาทิ โรงไฟฟ้าจากเชื้อเพลิงก๊าซธรรมชาติที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม การพัฒนาแหล่งก๊าซธรรมชาติ การขนส่งและกระจายก๊าซธรรมชาติไปยังโรงแยกก๊าซ การกระจายผลิตภัณฑ์จากปิโตรเลียม ตลอดจน การพัฒนาเพื่อเพิ่มประสิทธิภาพและความปลอดภัยในด้านการขนส่งน้ำมันและ LNG ซึ่งถือว่าเป็นการส่งเสริมเรื่องการซื้อขายไฟฟ้าและก๊าซธรรมชาติในภูมิภาคอีกด้วย นอกจากนี้ ตลาดในภูมิภาคอาเซียน ซึ่งเป็นตลาดใหม่ด้าน LNG จะได้รับการช่วยเหลือจากญี่ปุ่น โดย Japan Oil, Gas and Metals National Corporation (JOGMEC) ในการจัด Capacity Building Training Programme on LNG รวมทั้งด้านต่างๆ ที่เกี่ยวข้อง ซึ่งจะเริ่มดำเนินการในปี 2561 และประเทศไทยจะได้ประโยชน์จากกิจกรรมนี้ เพื่อส่งเสริมในเรื่องการเป็นตลาด LNG ของภูมิภาคในอนาคตต่อไป

2.) เวทีด้านการสำรองน้ำมัน ที่ประชุม ฯ ได้หารือแนวทางการจัดทำยุทธศาสตร์การสำรองน้ำมันในภูมิภาคอาเซียน ซึ่งถือว่ามีความจำเป็นในการเสริมสร้างความมั่นคงทางด้านพลังงานของอาเซียนในอนาคต เนื่องจากระดับการพัฒนาการสำรองน้ำมันในแต่ละประเทศในภูมิภาคนี้มีความแตกต่างกัน ทั้งในเชิงนโยบาย กฎหมายและแนวทางปฏิบัติ ซึ่งประเทศญี่ปุ่นโดย The Institute of Electrical Engineers of Japan (IEEJ) ได้นำเสนอผลการศึกษาศักยภาพของการสำรองน้ำมัน รวมทั้งหารือแนวทางความร่วมมือในการสำรองน้ำมันทางยุทธศาสตร์ และการพัฒนาขีดความสามารถของสมาชิกอาเซียนต่อไปในอนาคต ทั้งนี้ ชาติในอาเซียนยังคงต้องการเงินลงทุน และการเสริมสร้างศักยภาพจากประเทศจีน ญี่ปุ่น และเกาหลีใต้ เพื่อพัฒนาการสำรองน้ำมันเชิงยุทธศาสตร์ โดยญี่ปุ่นได้เสนอแนวทางการศึกษา และพัฒนาขีดความสามารถให้บุคลากรอาเซียน ซึ่งไทยจะได้รับประโยชน์ในการเข้าร่วมดังกล่าวด้วย

3.) เวทีด้านความมั่นคงพลังงาน ที่ประชุม ฯ ได้มีการนำเสนอผลการศึกษาเกี่ยวกับแนวโน้มของตลาดพลังงานโลกและอาเซียน ซึ่งคาดว่าความต้องการใช้พลังงานในภูมิภาคอาเซียนและบวกสาม (จีน ญี่ปุ่น เกาหลี) ยังคงเป็นภูมิภาคที่มีความต้องการใช้พลังงานมากที่สุดภูมิภาคหนึ่งของโลก โดยถ่านหินและเทคโนโลยีถ่านหินสะอาดยังเป็นแหล่งเชื้อเพลิงสำคัญในภูมิภาคนี้ในอนาคต นอกจากนี้ ที่ประชุมได้มีการหารือแนวทางในการส่งเสริมความมั่นคงด้านพลังงานในมิติของน้ำมันและก๊าซธรรมชาติ ในเชิงการสำรองน้ำมันในอาเซียนและการพัฒนาความตกลงอาเซียนว่าด้วยความมั่นคงทางปิโตรเลียม (ASEAN Petroleum Security Agreement : APSA) ให้สามารถนำมาใช้ในเชิงปฏิบัติได้ในอนาคต ตลอดจนหาแนวทางเพิ่มศักยภาพของอาเซียนโดยนำมิติของเทคโนโลยีถ่านหินสะอาด รวมทั้งสนับสนุนความร่วมมือให้มากขึ้นจากประเทศบวกสาม (จีน ญี่ปุ่น เกาหลี)

ปลัดกระทรวงพลังงาน ตรวจติดตามโครงการผลิตก๊าซชีวภาพจากน้ำเสียกระบวนการผลิตยางแผ่นรมควัน

วันที่ 28 พฤศจิกายน 2560 ​นายธรรมยศ ศรีช่วย ปลัดกระทรวงพลังงาน และคณะผู้บริหารกระทรวงพลังงาน ได้ตรวจติดตามโครงการผลิตก๊าซชีวภาพจากน้ำเสียกระบวนการผลิตยางแผ่นรมควันทอนไม้ไผ่ จากสหกรณ์กองทุนสวนยาง บ้านทอนไม้ไผ่ จำกัด จ.สงขลา ซึ่งเป็นสหกรณ์ ฯ นำร่องของโครงการส่งเสริมสาธิตการผลิตก๊าซชีวภาพในสหกรณ์กองทุนสวนยาง ระยะที่ 1 จากการส่งเสริมของกองทุนอนุรักษ์พลังงาน โดยมีระบบผลิตก๊าซชีวภาพจากน้ำเสีย ขนาด 521 ลูกบาศก์เมตร (กว้าง 15 เมตร ยาว 21 เมตร ลึก 3.5เมตร) ซึ่งสหกรณ์ ฯ ได้นำก๊าซชีวภาพไปใช้ประโยชน์ในการรมยางร่วมกับไม้ฟืน ทำให้ลดการใช้ไม้ฟืนได้เฉลี่ยร้อยละ 30 โดยทดแทนไม้ฟืนได้ 203.86 ตันต่อปี คิดเป็นมูลค่าที่ประหยัดได้ 132,510 บาทต่อปี และก๊าซชีวภาพบางส่วนย้ำสามารถนำไปใช้ทดแทนก๊าซหุงต้ม(LPG) ในการประกอบอาหารของคนงานในสหกรณ์ฯ รวมทั้งในภาพรวมยังช่วยลดการปลดปล่อยก๊าซเรือนกระจกออกสู่สิ่งแวดล้อมได้ 127.2 ตันต่อปี

ปลัดกระทรวงพลังงาน เข้าเยี่ยมฐานสนับสนุนการพัฒนาปิโตเลียม จ.สงขลา

วันที่ 27 พฤศจิกายน 2560 นายธรรมยศ ศรีช่วย ปลัดกระทรวงพลังงาน นำคณะผู้บริหารกระทรวงพลังงาน เข้าเยี่ยมฐานสนับสนุนการพัฒนาปิโตรเลียม ในพื้นที่จังหวัดสงขลา ซึ่งดำเนินงานโดยบริษัทย่อยของบริษัท ปตท.สำรวจและผลิตปิโตรเลียม จำกัด (มหาชน) หรือ ปตท.สผ. ฐานสนับสนุนการพัฒนาปิโตรเลียมดังกล่าวทำหน้าที่สนับสนุนการดำเนินงานโครงการสำรวจและผลิตปิโตรเลียมของโครงการบงกช โครงการอาทิตย์ โครงการพื้นที่ร่วมไทยมาเลเซีย รวมถึงโครงการอื่นๆ ในอ่าวไทย โดยเป็นท่าเรือรับส่งสินค้าและพัสดุอุปกรณ์ และให้บริการสนับสนุนการดำเนินงานแบบครบวงจร ได้มาตรฐานของฐานสนับสนุนการปฏิบัติการนอกชายฝั่ง และมีระบบจัดการตามระบบสากลที่มุ่งเน้นความปลอดภัยของเรือและท่าเรือระหว่างประเทศ โดยมีท่าเทียบเรือความยาว 380 เมตร สามารถรองรับเรือขนาดมากกว่า 500 ตันกรอสได้จำนวน 6 ลำพร้อมกัน ซึ่งถือว่ามีความพร้อมในการบริการและสนับสนุนการสำรวจและผลิตปิโตรเลียม เพื่อสร้างความมั่นคงด้านพลังงานให้แก่ประเทศไทยในระยะยาวต่อไป

ปลัดกระทรวงพลังงาน เข้าเยี่ยมชมโครงการส่งเสริมการผลิตไบโอมีเทนแบบอัด

​วันที่ 27 พฤศจิกายน 2560 นายธรรมยศ ศรีช่วย ปลัดกระทรวงพลังงาน ได้มีภารกิจลงพื้นที่ จ.นครศรีธรรมราช เพื่อเยี่ยมชมและติดตาม ความคืบหน้าการดำเนินโครงการด้านพลังงานทดแทนในหลายเทคโนโลยี ซึ่งจะเป็นการสร้างชีวิตความเป็นอยู่ที่ดีขึ้นให้แก่ประชาชนโดยได้เข้าเยี่ยมชม​โครงการส่งเสริมการผลิตไบโอมีเทนแบบอัด (Compressed Bio-Methane Gas) หรือ CBG บริษัท เกษตรลุ่มน้ำ จำกัด จ.นครศรีธรรมราช ซึ่งดำเนินธุรกิจโรงงานสกัดน้ำมันปาล์ม และได้รับเงินสนับสนุนจากกองทุนเพื่อส่งเสริมการอนุรักษ์พลังงานเพื่อลงทุนในระบบปรับปรุงคุณภาพก๊าซชีวภาพ และระบบบรรจุก๊าซ CBG โดยปัจจุบัน มีปริมาณน้ำเสียจากโรงงาน ที่สามารถผลิตก๊าซ CBG ได้ประมาณ 3 ตันต่อวัน และได้นำไปใช้เป็นเชื้อเพลิงทดแทนในรถบรรทุกของบริษัท เพื่อขนส่งน้ำมันปาล์มดิบไปส่งจังหวัดชุมพรและจังหวัดชลบุรี รวมทั้งมีการขนส่งสินค้าทั่วไป เช่น แผ่นพื้นคอนกรีต เป็นต้น ซึ่งช่วยให้ประหยัดต้นทุนค่าใช้จ่ายด้านพลังงานสูงถึง 14.27 ล้านบาทต่อปี โดยแนวทางการ ส่งเสริมการใช้ CBG ดังกล่าว กระทรวงพลังงานได้มีเป้าหมายตามแผนพัฒนาพลังงานทดแทนและพลังงานทางเลือก (AEDP) ให้เกิดการใช้ CBG ที่มีประสิทธิภาพ ประมาณ 4,800 ตันต่อวัน ในปี 2579 เพื่อลดการใช้น้ำมันเบนซิน ดีเซล และก๊าซธรรมชาติสำหรับยานยนต์(NGV) ที่มีข้อจำกัดในหลายพื้นที่ซึ่งไกลจากสถานีแม่หรือแนวท่อส่งก๊าซธรรมชาติ รวมทั้งการผลิต CBG ดังกล่าวจากน้ำเสีย/ของเสีย จากโรงงาน ประเทศไทยยังมีศักยภาพที่จะผลิต CBG เพื่อใช้ในภาคขนส่ง เพื่อลดต้นทุนด้านพลังงานและรักษาคุณภาพสิ่งแวดล้อมอีกด้วย

     ​ทั้งนี้ โครงการส่งเสริมการผลิตไบโอมีเทนอัด (CBG) ของบริษัท เกษตรลุ่มน้ำ จำกัด ยังเป็นความร่วมมือด้านเทคโนโลยีของเอกชนไทย-ญี่ปุ่นด้วย โดยบริษัท เกษตรลุ่มน้ำ จำกัด ได้ร่วมมือกับ บริษัท โอซาก้าแก๊ส จำกัด ซึ่งเป็นบริษัทแก๊สขนาดใหญ่อันดับ 2 ของประเทศญี่ปุ่น ในการพัฒนาเทคโนโลยีระบบก๊าซชีวภาพเป็นก๊าซ CBG ได้เป็นผลสำเร็จ จนสามารถเปิดเป็นสถานีบริการก๊าซ CBG แห่งแรกของภาคใต้

ปลัดกระทรวงพลังงาน เป็นประธานพิธีสักการะพระพรหม

วันนี้ (2 ต.ค. 60) นายธรรมยศ ศรีช่วย ปลัดกระทรวงพลังงาน พร้อมผู้บริหารกระทรวงพลังงาน เข้าร่วมพิธีสักการะพระพรหมทั้ง 4 ทิศ ณ บริเวณศาลพระพรหม ศูนย์เอนเนอร์ยี่คอมเพล็กซ์ กระทรวงพลังงาน

ปลัดกระทรวงพลังงาน ร่วมพิธีถวายพระพรชัยมงคล ณ บริเวณอาคารเอ็นเนอร์ยี่ คอมเพล็กซ์ บี

วันนี้ (11 สิงหาคม 2560) นายอารีพงศ์ ภู่ชอุ่ม ปลัดกระทรวงพลังงาน พร้อมด้วย ผู้บริหารระดับสูง ข้าราชการ ลูกจ้าง พนักงาน และเจ้าหน้าที่กระทรวงพลังงาน เข้าร่วมงานพระราชพิธีถวายพระพรชัยมงคล และร่วมกันกล่าวราชสดุดีเฉลิมพระเกียรติ สมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ พระบรมราชินีนาถ ในรัชกาลที่ 9 เนื่องในวันเฉลิมพระชนมพรรษา 85 พรรษา 12 สิงหาคม 2560 ณ อาคารเอนเนอร์ยี คอมเพล็กซ์ ที่ตั้งของกระทรวงพลังงาน

 

ปลัดกระทรวงพลังงาน ลงพื้นที่เยี่ยมชมโรงไฟฟ้าเชื้อเพลิง RDF

วันนี้ (9 ส.ค.60) นายอารีพงศ์ ภู่ชอุ่ม ปลัดกระทรวงพลังงาน พร้อมคณะผู้บริหาร ลงพื้นที่เยี่ยมชมโรงไฟฟ้าเชื้อเพลิง RDF (Refuse Derived Fuel) พื้นที่บ่อขยะ ตำบลแพรกษาใหม่ จ.สมุทรปราการ บริษัท อีสเทิร์น เอเนอร์ จี้ พลัส จำกัด โดยมีนายชาติชาย อุทัยพันธ์ ผู้ว่าราชการจังหวัดสมุทรปราการ และนายคณพศ นิจสิริภัช ประธานเจ้าหน้าที่บริหารบริษัท อีสเทิร์น เอเนอร์ จี้ พลัส จำกัด ให้การต้อนรับ ปัจจุบันขีดความสามารถในการบริหารจัดการขยะในศูนย์บริหารจัดการขยะชุมชนแบบครบวงจรสามารถผลิตเป็นเชื้อเพลิง RDF ได้ประมาณ 500 ตันต่อวัน โดยเป็นการคัดแยกทั้งขยะเก่า 1,000 ตันต่อวัน เพื่อป้อนเชื้อเพลิง RDF เข้าสู่โรงไฟฟ้าที่มีขนาดกำลังการผลิต 9.9 เมกกะวัตต์ ซึ่งเป็นผู้ผลิตไฟฟ้าขนาดเล็กมาก (VSPP) และได้รับการสนับสนุนรับซื้อ ไฟฟ้าจากขยะชุมชนอัตราพิเศษในรูปแบบ Feed-in Tariff (FiT) ตามสัญญาซื้อ-ขายไฟฟ้า 20 ปีที่ได้เริ่ม เดินเครื่องและสามารถขายไฟฟ้าในเชิงพาณิชย์ให้กับ การไฟฟ้านครหลวง (กฟน.) เมื่อวันที่ 30 มิถุนายน ที่ผ่านมา นายอารีพงศ์ ภู่ชอุ่ม ปลัดกระทรวงพลังงาน กล่าวว่า “ศูนย์ฯ มีการรวบรวมขยะชุมชนในพื้นที่ เพื่อนำมาสู่การคัดแยกขยะมูลฝอยประเภทต่างๆ นำไปสู่การรีไซเคิล และส่วนหนึ่งนำมาผ่านกระบวนการแปรรูปและจัดการต่างๆ เพื่อปรับปรุงคุณสมบัติทางกายภาพและคุณสมบัติทางเคมีให้กลายเป็นเชื้อเพลิงขยะหรือ RDF มาผลิตไฟฟ้า ซึ่งแนวทางการบริหารจัดการขยะ นับเป็นนโยบายรัฐบาลที่ต้องการผลักดันให้เกิดขึ้นเพื่อลดปัญหาปริมาณขยะ และปัญหาการจัดหาพื้นที่ฝังกลบ โดยควบคุมและบริหารจัดการด้านสิ่งแวดล้อมอย่างมีประสิทธิภาพ นับเป็นวิธีการอย่างหนึ่งในการแก้ไข ปัญหาขยะได้เป็นอย่างดี”

 

กระทรวงพลังงาน เดินสายมอบรางวัล “สุดยอดคนพลังงาน” ในโอกาสครบรอบการดำเนินโครงการพลังงานชุมชน 10 ปี

กระทรวงพลังงาน เดินสายมอบรางวัล “สุดยอดคนพลังงาน” ในโอกาสครบรอบการดำเนินโครงการพลังงานชุมชน 10 ปี สร้างการมีส่วนร่วมกับชุมชนจำนวน 1,676 แห่ง เผยจัดมอบรางวัลสุดยอดคนพลังงานผ่านตลาดนัดพลังงานชุมชนครบทุก 4 ภาค โดยจัดงานครั้งที่ 2 มอบรางวัลภาคเหนือ 4 สาขา 17 จังหวัด เตรียมพร้อมผู้ชนะระดับภาคเข้าแข่งขันสุดยอด คนพลังงานระดับประเทศต่อไป

นายสมนึก บำรุงสาลี รองปลัดกระทรวงพลังงาน เปิดเผยว่า การจัดกิจกรรมพิเศษ มอบรางวัลสุดยอดคนพลังงาน ในโอกาสครบรอบ 10 ปีพลังงานชุมชน โดยครั้งนี้เป็นครั้งที่ 2 ที่จัดมอบรางวัลในภาคเหนือ ซึ่งมีจังหวัดผู้ชนะในภาคเหนือทั้งหมด 17 จังหวัด และคัดเลือกผู้ชนะที่เป็นสุดยอดระดับภาคอีกใน 4 สาขา สาขาละ 3 รางวัล รวมทั้งสิ้นแชมป์ภาคเหนือทั้งหมด 12 รางวัล เพื่อเดินหน้าเข้าแข่งขันสุดยอดคนพลังงานระดับประเทศต่อไป

“ในโอกาสครบรอบ 10 ปี พลังงานชุมชน กระทรวงพลังงานได้จัดกิจกรรมพิเศษมอบรางวัล “สุดยอดคนพลังงาน” ผ่านแนวคิด พลังงานสร้างคน คนสร้างพลังงานยั่งยืน เพื่อยกย่องบุคคลและองค์กรที่มีผลการดำเนินงานยอดเยี่ยม เป็นต้นแบบในการจัดการพลังงานที่ดีแก่สังคม ในระดับจังหวัด ระดับภูมิภาค และระดับประเทศ โดยจัดมอบรางวัลครั้งแรกไปแล้วที่ภาคกลาง 25 จังหวัด ครั้งที่ 2 นี้ที่ภาคเหนือ มีผู้ชนะเข้ารอบ 17 จังหวัด และมาคัดเลือกผู้ชนะระดับภาคที่เป็นสุดยอดทั้ง 4 สาขาที่ร่วมแข่งขัน ซึ่งภาคเหนือก็เป็นอีกภาคหนึ่งที่มีความตื่นตัวมากเรื่องของพลังงานทดแทน มีการนำความรู้ที่ได้จากกระทรวงพลังงานไปต่อยอดพัฒนาพลังงานด้านต่างๆ ในท้องที่ของตนเองได้อย่างดี”

เกณฑ์การคัดเลือกและมอบรางวัล “สุดยอดคนพลังงาน” ผ่านแนวคิด “พลังงานสร้างคน คนสร้างพลังงานยั่งยืน” ประจำปี พ.ศ. 2560 แบ่งเป็น ระดับจังหวัด ระดับภูมิภาค และระดับประเทศ โดยเริ่มมอบรางวัลครั้งที่ 1 ที่ภาคกลาง (จากทั้งหมด 4 ภาคทั่วประเทศ) เมื่อวันที่ 5 กรกฎาคม 2560 ที่ผ่านมา สำหรับครั้งนี้เป็นการมอบรางวัลสุดยอดคนพลังงาน ครั้งที่ 2 ในภาคเหนือ จัดขึ้น ณ มหาวิทยาลัยราชภัฏพิบูลสงคราม จังหวัดพิษณุโลก เริ่มจากมอบรางวัลผู้ชนะระดับจังหวัด และคัดสุดยอดของแต่ละจังหวัด เป็นผู้ชนะรางวัลระดับภาค โดยภาคเหนือนั้นมีจังหวัดผู้ชนะที่เข้าร่วม 17 จังหวัด ใน 4 สาขา และนำสุดยอดในแต่ละสาขา มาคัดเลือกเป็นผู้ชนะระดับภาคเพื่อเข้าสู่การแข่งขันในระดับประเทศต่อไป
โดย 4 สาขาที่มีการมอบรางวัล ประกอบด้วย 1.สาขาอาสาสมัครพลังงานชุมชนยอดเยี่ยม 2.สาขาองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นจัดการพลังงานครบวงจรยอดเยี่ยม 3. สาขาวิสาหกิจลดใช้พลังงานยอดเยี่ยม 4.สาขาโครงการพลังงานชุมชนแบบมีส่วนร่วมยอดเยี่ยม และสำหรับผู้ที่ได้รับรางวัลระดับภาค และสำนักงานพลังงานจังหวัดจะได้รับเชิญเข้าร่วมในพิธีมอบรางวัล “สุดยอดคนพลังงาน” ระดับประเทศต่อไป โดยจะจัดขึ้นระหว่างวันที่ 13-17 กันยายน 2560
ณ ห้องไดมอน ศูนย์การค้าเซียร์รังสิต อีกทั้ง ภายในงานยังจัดให้มีกิจกรรม Open House “กิจกรรมเปิดบ้าน…พลังงานชุมชน” อีกด้วย

ด้านนายตามเฉลิมฬ์ จันทนาคร พลังงานจังหวัดพิษณุโลก เปิดเผยว่า จังหวัดได้นำนโยบายของกระทรวงพลังงานมาขยายผลในพื้นที่จังหวัดพิษณุโลก ภายใต้การดำเนินงานโครงการวางแผนพลังงานชุมชนที่ทำมาอย่างต่อเนื่อง โดยจังหวัดให้ความสำคัญกับพลังงานทดแทนประเภทก๊าซชีวภาพ ล่าสุดมีการส่งเสริม 20 ชุมชนในพื้นที่ 9 อำเภอ ใช้เทคโนโลยี ก๊าซชีวภาพ เปลี่ยนของเสียเป็นพลังงานทดแทน ลดการใช้ก๊าซ LPG ประหยัดค่าใช้จ่าย สร้างความมั่นคงด้านพลังงานและความเป็นอยู่ที่ดีของชุมชน อีกทั้งขยายผลการสร้างปราชญ์ชุมชนด้านพลังงานเพื่อสั่งสมองค์ความรู้ และคอยเป็นพี่เลี้ยงให้คำปรึกษาแนะนำชุมชนที่สนใจต่อไป

“โครงการพลังงานชุมชนเป็นโครงการที่มีประโยชน์มาก ทำให้แผนขับเคลื่อนด้านพลังงานของจังหวัดมีการพัฒนาอย่างรวดเร็ว เพราะเล็งเห็นศักยภาพของทรัพยากรในพื้นที่ชัดเจนขึ้น อย่างเช่นในภาคเหนือ ประกอบอาชีพเกษตรกรรมและการเลี้ยงสัตว์ ซึ่งมีตั้งแต่ขนาดครัวเรือนไปจนถึงฟาร์มขนาดเล็ก ทำให้สามารถนำมูลสัตว์และของเสีย มาเปลี่ยนเป็นเชื้อเพลิงทดแทนก๊าซหุงต้มด้วยเทคโนโลยีก๊าซชีวภาพ เพื่อส่งเสริมให้ชุมชนหันมาใช้พลังงานทดแทน แทนการใช้ก๊าซ LPG สำหรับการหุงต้มในครัวเรือน ช่วยลดค่าใช้จ่ายเรื่องพลังงานในครัวเรือนลงได้ร้อยละ 80 และยังช่วยลดปัญหาสิ่งแวดล้อมจาก
กลิ่นเหม็นของมูลสัตว์และแมลงต่างๆ ให้กับชุมชนได้อีกด้วย”

ปัจจุบัน โครงการวางแผนพลังงานชุมชน : Local Energy Planning (LEP) 2549 – 2560 ได้สร้างอาสาสมัครพลังงานชุมชน (อสพน.) จำนวนกว่า 6,042 คน โดย อสพน. คือประชาชนที่มีจิตอาสาทำงานร่วมกับกระทรวงพลังงาน
ในการขับเคลื่อน และพัฒนาพลังงานไทย ด้วยแนวคิด รู้-รักษ์-ตระหนัก-สร้าง กระจายในชุมชนต่างๆ ทั่วประเทศ โดยพัฒนาตนเองต่อยอดไปสู่นักวิจัยพลังงาน 380 คน ช่างเทคโนโลยีพลังงานชุมชน 172 คน นักสื่อสารพลังงาน 2,879 คน วิทยากร 514 คน และได้สร้างการมีส่วนร่วมกับชุมชน จำนวน 1,676 ชุมชน ก่อเกิดแหล่งเรียนรู้ด้านพลังงาน 210 แห่ง เกิดอาชีพด้านพลังงานที่ผลิตและจัดจำหน่ายเทคโนโลยีพลังงานระดับชุมชนจำนวน 172 แห่ง สร้างนวัตกรรมเทคโนโลยีพลังงาน 56 สร้างโอกาสพัฒนาต่อยอดสู่วิสาหกิจชุมชนลดใช้พลังงานกว่า 188 กลุ่ม สามารถลดค่าใช้จ่ายพลังงานได้ 5 ล้านบาทต่อปี และลดจากการประหยัดพลังงานของบ้านตัวอย่างได้ 28 ล้านบาทต่อปี เพิ่มสัดส่วนการใช้พลังงานทดแทนของครัวเรือนที่เข้าร่วมโครงการได้กว่า 8 แสนบาทต่อปี

ปลัดกระทรวงพลังงานนำทีมคณะผู้แทนจากไทย ร่วมการประชุมเจ้าหน้าที่อาวุโสอาเซียนด้านพลังงาน ครั้งที่ 35

ปลัดกระทรวงพลังงานนำทีมคณะผู้แทนจากไทย ร่วมการประชุมเจ้าหน้าที่อาวุโสอาเซียนด้านพลังงาน ครั้งที่ 35 สร้างความร่วมมือด้านพลังงานในภูมิภาคอาเซียน

นายอารีพงศ์ ภู่ชอุ่ม ปลัดกระทรวงพลังงาน นำทีมคณะผู้แทนจากประเทศไทย เข้าร่วมการประชุมเจ้าหน้าที่อาวุโสอาเซียนด้านพลังงาน ครั้งที่ 35 และการประชุมอื่น ๆ ที่เกี่ยวข้อง (35th ASEAN Senior Officials Meeting on Energy: 35th SOME) ซึ่งจัดขึ้นระหว่างวันที่ 17-21 กรกฎาคม 2560 ณ กรุงมะนิลา ประเทศฟิลิปปินส์ โดยมีปลัดกระทรวงพลังงานและผู้แทนจากประเทศสมาชิก 10 ประเทศ เข้าร่วมประชุม ภายใต้หัวข้อ “One ASEAN Community Through Resilient and Sustainable Energy”

การประชุมครั้งนี้ นับเป็นการประชุมด้านพลังงานของอาเซียนที่สำคัญ เนื่องจาก จะเป็นการติดตามการดำเนินงานตามแผนปฏิบัติการว่าด้วยความร่วมมือด้านพลังงานอาเซียน (ASEAN Plan of Action on Energy Cooperation: APAEC) ปี 2016-2025 ระยะที่ 1 ระหว่างปี 2016-2020 ซึ่งมุ่งเน้นการสร้างความมั่นคงและการบูรณาการด้านพลังงาน ผ่านการซื้อขายไฟฟ้าพหุภาคี รวมถึงการเชื่อมโยงก๊าซธรรมชาติอาเซียน เพื่อความยั่งยืนด้านพลังงานในภูมิภาคอาเซียน

โดยการติดตามผลการดำเนินงานจากที่ประชุมครั้งนี้มีประเด็นสำคัญที่เกี่ยวข้องกับการพัฒนาด้านพลังงานของไทยอยู่ด้วย คือ 1.ด้านโครงข่ายสายส่งไฟฟ้าอาเซียน ซึ่งที่ประชุมอาเซียนแสดงความยินดีกับไทย มาเลเซีย และสปป. ลาว ในการดำเนินโครงการบูรณาการซื้อขายไฟฟ้าข้ามพรมแดน ซึ่งนับเป็นครั้งแรกของอาเซียน ที่จะมีการซื้อขายไฟฟ้าจำนวน 100 เมกะวัตต์ โดยผลิตจาก สปป. ลาว ไปยังมาเลเซีย โดยผ่านประเทศไทย และจะมีการลงนามลงนามในสัญญา Energy Purchase and Wheeling Agreement (EPWA) ในการประชุมรัฐมนตรีอาเซียนด้านพลังงาน ครั้งที่ 35 (35th ASEAN Ministers on Energy Meeting: 35th AMEM) ในเดือนกันยายน 2560 ณ กรุงมะนิลา ประเทศฟิลิปปินส์ นอกจากนี้ประเทศไทยยังได้รับเลือกให้เป็นประธานคณะกรรมการเชื่อมโยงไฟฟ้าอาเซียน (ASEAN Power Grid Consultative Committee: APGCC) ทำหน้าที่ในการดำเนินงานและอำนวยความสะดวกด้านความเชื่อมโยงระบบไฟฟ้าอาเซียน การจัดทำแผนปฏิบัติการสำหรับการพัฒนาโครงข่ายสายส่งไฟฟ้าอาเซียน (ASEAN Power Grid: APG) เพื่อรองรับการซื้อขายไฟฟ้าระหว่างภูมิภาคในรูปแบบพหุภาคีให้เกิดขึ้นอย่างเป็นรูปธรรมในอนาคต

2.โครงการท่อส่งก๊าซธรรมชาติอาเซียน อาเซียนได้ดำเนินการแล้วเสร็จเร็วกว่าแผน APAEC ที่กำหนดเป้าหมายไว้ว่าในปี 2020 จะสามารถผลักดันให้มีกฎหมายเปิดให้บุคคลสามารถเข้ามาใช้หรือเชื่อมต่อระบบท่อส่งก๊าซธรรมชาติและสถานีแปรสภาพก๊าซธรรมชาติเหลว (Third Party Access Code) ให้ได้อย่างน้อย 1 ประเทศ ทั้งนี้ ในปัจจุบัน ไทย สิงคโปร์ และมาเลเซีย ได้มีกฎหมายฉบับดังกล่าวแล้ว และ 3.ด้านพลังงานทดแทนและด้านประสิทธิภาพและอนุรักษ์พลังงาน ซึ่งอาเซียนมีเป้าหมายในการเพิ่มสัดส่วนการใช้พลังงานหมุนเวียนให้ได้ร้อยละ 23 ของการใช้พลังงานขั้นสุดท้ายภายในปี 2025 ซึ่งในปัจจุบัน อาเซียนมีสัดส่วนการใช้พลังงานหมุนเวียนอยู่ที่ร้อยละ 12-13 สำหรับการลดความเข้มข้นในการใช้พลังงานลงร้อยละ 30 ภายในปี 2025 อาเซียนสามารถลดความเข้มข้นในการใช้พลังงานลงได้ร้อยละ 15.92 อย่างไรก็ดี ที่ประชุมได้

แสดงถึงความมุ่งมั่นในการดำเนินการให้บรรลุตามเป้าหมายที่ตั้งไว้ พร้อมทั้งให้มีการติดตามและรายงานข้อมูลดังกล่าวอย่างต่อเนื่อง

ในส่วนของการส่งโครงการเข้าประกวดเพื่อรับรางวัล ASEAN Energy Awards 2107 ไทยส่งโครงการด้านการอนุรักษ์พลังงานและประสิทธิภาพพลังงาน จำนวน 13 รางวัล ด้านพลังงานทดแทน จำนวน 11 รางวัล เข้าร่วมประกวด ASEAN Energy Awards รวมถึง ส่งโครงการที่ได้รับรางวัลจาก Thailand Coal Awards 2017 เข้าร่วมประกวดรางวัล ASEAN Coal Awards 2017 จำนวน 7 รางวัล ซึ่งการส่งโครงการเข้าประกวดในครั้งนี้ แสดงถึงความตั้งใจและการสนับสนุนต่อผู้ประกอบการ หน่วยงานต่างๆ ให้เกิดความตระหนักรู้ในการใช้พลังงานอย่างมีประสิทธิภาพ ส่งเสริมการประกอบการที่ดีด้านถ่านหินในอาเซียน พร้อมทั้งเป็นการแสดงความเป็นผู้นำของไทยในด้านพัฒนาพลังงานทดแทน ทั้งนี้ จะมีการประกาศผลโครงการที่ได้รับรางวัลในช่วงการประชุมรัฐมนตรีอาเซียนด้านพลังงาน ครั้งที่ 35 ในเดือนกันยายน 2560 ณ กรุงมะนิลา ประเทศฟิลิปปินส์ ต่อไป

กระทรวงพลังงาน “สืบสานพระราชปณิธาน คุ้งบางกะเจ้า”

กระทรวงพลังงาน “สืบสานพระราชปณิธาน คุ้งบางกะเจ้า”
จัดกิจกรรมในศูนย์เด็กเล็กรอบคุ้งฯ

กระทรวงพลังงาน ขับเคลื่อนกิจกรรม CSR รวมพลังทำความดีถวายเป็นพระราชกุศล ณ “ศูนย์เด็กเล็กในอบต.บางยอ” และตรวจเช็คอุปกรณ์ ถังแก๊สหุงต้ม LPG ตรวจเช็คระบบไฟฟ้า ในศูนย์เด็กเล็กรอบคุ้งบางกะเจ้า เพื่อแสดงความจงรักภักดีต่อสถาบันพระมหากษัตริย์ และถวายเป็นพระราชกุศล

​วันนี้ (5ก.ค.60) นายสมนึก บำรุงสาลี รองปลัดกระทรวงพลังงาน เป็นประธานในกิจกรรมรวมพลังทำความดี เพื่อถวายเป็นพระราชกุศล “สืบสานพระราชปณิธาน คุ้งบางกะเจ้า” ณ ศูนย์พัฒนาเด็กเล็กองค์การบริหารส่วนตำบลบางยอ (วัดบางกะเจ้ากลาง) คุ้งบางกะเจ้า จ.สมุทรปราการ พร้อมด้วยข้าราชการ เจ้าหน้าที่จากกระทรวงพลังงาน และผู้นำท้องถิ่น เพื่อแสดงความจงรักภักดีต่อสถาบันพระมหากษัตริย์ เนื่องในโอกาสวันเฉลิมพระชนมพรรษาสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวมหาวชิราลงกรณบดินทรเทพยวรางกูร วันที่ 28 กรกฎาคม 2560 นี้

​นายสมนึก กล่าวว่า กระทรวงพลังงานและภาคีเครือข่าย ได้จัดกิจกรรมพัฒนาศูนย์เด็กเล็กองค์การบริหารส่วนตำบลบางยอ ในการปรับภูมิทัศน์ เช่น การทาสีอาคารศูนย์พัฒนาเด็กเล็ก การปรับพื้นที่รอบศูนย์ ปลูกต้นไม้และเปลี่ยนหลอดไฟฟ้าแบบประหยัดพลังงาน เพื่อให้ศูนย์พัฒนาเด็กเล็กแห่งนี้มีคุณภาพชีวิตทีดี ในพื้นที่เพิ่มขึ้น รวมทั้งกระทรวงพลังงาน ยังได้ตรวจเช็คอุปกรณ์ ถังแก๊สหุงต้ม เปลี่ยนหลอดไฟประหยัดพลังงาน พร้อมตรวจเช็คอุปกรณ์ไฟฟ้าให้มีสภาพความพร้อม เพื่อรองรับในช่วงฤดูฝน ภายในศูนย์เด็กเล็กรอบพื้นที่คุ้งบางกะเจ้า ทั้งนี้ โดยความร่วมมือจากทุกฝ่ายทั้งหน่วยงานภายใต้สังกัด ชุมชน และประชาชนในพื้นที่

​“กระทรวงพลังงานได้เล็งเห็นความสำคัญของการอนุรักษ์และพัฒนาพื้นที่สีเขียวของคุ้งบางกะเจ้า ประกอบด้วย 6 ตำบล ได้แก่ ตำบลบางกะเจ้า ตำบลบางน้ำผึ้ง ตำบลบางกอบัว ตำบลบางกระสอบ ตำบลบางยอ และตำบลทรงคะนอง อำเภอพระประแดง จังหวัดสมุทรปราการ ซึ่งเป็นพื้นที่สีเขียวผืนสุดท้ายของพื้นที่ใกล้เคียงกรุงเทพมหานคร และปริมณฑล รวมทั้งต้องการส่งเสริมให้เกิดการอนุรักษ์วิถีชุมชนดั้งเดิมตามแนวพระราชดำริ และเป็นต้นแบบการพัฒนาแบบมีส่วนร่วมของคนในท้องถิ่น อันจะนำมาซึ่งการพัฒนาอย่างยั่งยืนต่อไป” นายสมนึกกล่าว

กระทรวงพลังงาน มอบรางวัลประกวดออกแบบตราสัญลักษณ์ หัวข้อ “ผลิตภัณฑ์ชุมชน ลดใช้พลังงาน”

          กระทรวงพลังงาน จัดพิธีมอบรางวัลประกวดออกแบบตราสัญลักษณ์ ในหัวข้อ “ผลิตภัณฑ์ชุมชนลดใช้พลังงาน” เงินรางวัลกว่า 50,000 บาท โดยมี ดร.อารีพงศ์ ภู่ชอุ่ม ปลัดกระทรวงพลังงาน เป็นประธานในพิธี พร้อมด้วยผู้บริหารกระทรวงพลังงาน มอบโล่ เงินรางวัล ณ ห้องประชุม 9 ชั้น 15 สำนักงานปลัดกระทรวงพลังงาน
          ดร.อารีพงศ์ ภู่ชอุ่ม ปลัดกระทรวงพลังงาน เปิดเผยว่า “การประกวดออกแบบตราสัญลักษณ์ ในหัวข้อ “ผลิตภัณฑ์ชุมชน ลดใช้พลังงาน” เป็นอีกหนึ่งกิจกรรมในการลดการใช้พลังงานในกลุ่มแปรรูปผลิตภัณฑ์ของชุมชน ปัจจุบันมีการดำเนินงานส่งเสริมไปแล้วประมาณ 188 กลุ่ม ทำให้เกิดการลดการใช้พลังงานมากกว่า 5 ล้านบาท/ปี และเพื่อเป็นการสร้างเอกลักษณ์พร้อมกับประชาสัมพันธ์ผลิตภัณฑ์ที่สามารถลดการใช้พลังงานในขั้นตอนการผลิตได้ และยังเพื่อสร้างโอกาสการขยายผลทางตลาดของกลุ่มผลิตภัณฑ์ชุมชน ลดใช้พลังงาน ทั้งในแง่ของผู้ผลิตและผู้บริโภค ที่ห่วงใยในการใช้พลังงานและทรัพยากรของโลก ทั้งนี้ผลงานตราสัญลักษณ์ที่ชนะการประกวด จะถูกนำไปใช้งานบนบรรจุภัณฑ์หรือผลิตภัณฑ์ที่เข้าร่วมโครงการกับกระทรวงพลังงาน ที่มีการพัฒนาหรือเปลี่ยนแปลงกระบวนการผลิตหรือการแปรรูป โดยคุณสมบัติของผลิตภัณฑ์ที่จะได้รับตราสัญลักษณ์ฯ จะต้องสามารถลดการใช้พลังงานหรือประหยัดเงินค่าพลังงาน จากเดิมลงได้ไม่น้อยกว่าร้อยละ 25 หรือสามารถลดระยะเวลาการแปรรูป จากเดิมลงได้ไม่น้อยกว่าร้อยละ 25 หรือใช้พลังงานหมุนเวียนแทนพลังงานฟอสซิล ซึ่งการประกวดตราสัญลักษณ์ได้รับความสนใจจากเยาวชนและประชาชนทั่วประเทศเป็นจำนวนมาก เข้าร่วมส่งผลงานกว่า 74 ผลงาน โดยตราสัญลักษณ์ต้องสามารถสื่อความหมายตามหัวข้อ “สัญลักษณ์ผลิตภัณฑ์ชุมชน ลดใช้พลังงาน” มีความคิดริเริ่มสร้างสรรค์ สวยงาม จดจำง่าย สามารถนำไปใช้ได้จริง และสอดคล้องกับ LOGO กระทรวงพลังงาน”

 

ผลงานที่ชนะการประกวดออกแบบตราสัญลักษณ์ “ผลิตภัณฑ์ชุมชน ลดใช้พลังงาน”
ชื่อผลงานการประกวด Reduce Nergy โดย นางสาวธัญชนก ศิรนันทสกุล
แนวความคิด 
Reduce คือการลด Nergy มาจากคำว่า Energy โดยการตัด E หน้า Energy ออก เพื่อไม่ให้มีคำอ่านที่นำหน้าว่า End (สิ้นสุด) ของพลังงานซ่อนอยู่
ในส่วนของการออกแบบได้นำสัญลักษณ์กระทรวงพลังงานมาดัดแปลง เพื่อให้     โลโก้มีกลิ่นอายไม่หลุดจากความเป็นกระทรวงพลังงาน ซึ่งนำมาใช้เป็นตัวแทนของผลิตภัณฑ์ชุมชนมาผสมผสานกับพลังงานสีเขียวในลักษณะห้อมล้อมกัน หมายถึงผลิตภัณฑ์ที่มีความมุ่งมั่นในการตัดลดทอนการใช้ทรัพยากรในกระบวนการผลิตแปรรูป
 ทั้งนี้ ผลงาน Reduce Nergy โดย นางสาวธัญชนก ศิรนันทสกุล ที่ชนะการประกวด จะถูกนำไปใช้งานบนบรรจุภัณฑ์หรือผลิตภัณฑ์ที่เข้าร่วมโครงการกับกระทรวงพลังงาน และจัดแสดงในงานมหกรรมตลาดนัดพลังงานชุมชน “10 ปี พลังงานชุมชน” 4 จังหวัด ในทั่วทุกภูมิภาค โดยภายในงานจะมีการแสดงผลงานความก้าวหน้าด้านเทคโนโลยีพลังงานชุมชน ที่ใช้ได้ผลแล้วจริง เหมาะสมตามบริบทของแต่ละภูมิภาค เป็นประโยชน์สำหรับการศึกษาของผู้สนใจเกี่ยวกับความรู้ด้านพลังงาน สามารถนำมาประยุกต์ใช้ในการจัดการพลังงานในครัวเรือน ลดต้นทุนการผลิตในภาคการเกษตร และวิสาหกิจชุมชน ครั้งที่ 1 : วันที่ 5-7 กรกฏาคม ณ จังหวัดสุพรรณบุรี ครั้งที่ 2 :                       วันที่ 19-21 กรกฎาคม ณ จังหวัดพิษณุโลก ครั้งที่ 3 : วันที่ 2-4 สิงหาคม ณ จังหวัดสุราษฏร์ธานี และครั้งที่ 4 : วันที่ 16-18 สิงหาคม ณ จังหวัดอุดรธานี

รองปลัดกระทรวงพลังงาน แถลงเปิดงานแสดงเทคโนโลยีและการประชุม พลังงานเพื่ออนาคตแห่งเอเชีย “ฟิวเจอร์ เอนเนอร์ยี่ เอเชีย”

วันที่ 26 มิถุนายน 2560 นายธรรมยศ ศรีช่วย รองปลัดกระทรวงพลังงานแถลงเปิดงานแสดงเทคโนโลยีและการประชุม พลังงานเพื่ออนาคตแห่งเอเชีย “ฟิวเจอร์ เอนเนอร์ยี่ เอเชีย” ซึ่งจะเป็นก้าวสำคัญไปสู่ไทยแลนด์ เอนเนอร์ยี่ 4.0 โดยวางการเปลี่ยนแปลงและพัฒนาประเทศไทยให้เป็นนโยบายหลักที่สำคัญของรัฐบาล ซึ่งจะสร้างโอกาสทางธุรกิจมหาศาลให้แก่บริษัทด้านพลังงาน ทั้งบริษัทแบบบูรณาการและเฉพาะทางจากทั่วโลก จึงทำให้งานแสดงเทคโนโลยีและการประชุม “ฟิวเจอร์ เอนเนอร์ยี่ เอเชีย” เป็นแพลตฟอร์มที่สมบูรณ์แบบสำหรับ บริษัทน้ำมันแห่งชาติ (National Oil Companies – NOCs) และบริษัทน้ำมันสากล (International Oil Companies – IOCs) ในการส่งเสริมและพัฒนาการเปลี่ยนแปลงจากการเป็นเพียงผู้ผลิตน้ำมันแบบดั้งเดิมสู่การเป็นผู้จัดหาพลังงานแบบบูรณาการ เพื่อให้เกิดการกำหนดสัดส่วนพลังงานที่มีประสิทธิภาพและมีความยั่งยืนมากขึ้นในเอเชีย

ฟิวเจอร์ เอนเนอร์ยี่ เอเชีย ภายใต้การสนับสนุนจากกระทรวงพลังงาน จะเป็นการรวมตัวกันของอุตสาหกรรมด้านพลังงานที่ใหญ่ที่สุดในเอเชีย โดยจะเน้นไปที่อุตสาหกรรมด้านน้ำมัน ก๊าซ และพลังงานทดแทน และเป็นเวทีจัดแสดงที่นำเอาการผสมผสานของพลังงานหลายประเภทและเทคโนโลยีที่มีความสมบูรณ์แบบ เพื่อตอบสนองต่อความต้องการที่เพิ่มขึ้น รวมถึงการเพิ่มประสิทธิภาพ และสนับสนุนให้เกิดการเปลี่ยนแปลงสู่ระบบเศรษฐกิจคาร์บอนต่ำ งานจะจัดขึ้นในวันที่ 12-14 ธันวาคม 2561 ณ ศูนย์นิทรรศการและการประชุมไบเทค กรุงเทพฯ โดยมีกระทรวงพลังงานเป็นประธานเปิดงานท่ามกลางผู้ทรงเกียรติในทุกภาคส่วน อาทิ ผู้แทนภาครัฐ ผู้นำด้านอุตสาหกรรมพลังงาน ร่วมกับบริษัท ดีเอ็มจี อีเว้นท์ ผู้จัดงานแสดงสินค้าระดับนานาชาติ และบริษัท เอ็กซ์โปซิส จำกัด ผู้ร่วมจัดงานที่เชี่ยวชาญจากประเทศไทย

นายธรรมยศ ศรีช่วย กล่าวว่า “เรารู้สึกยินดีจะได้เป็นเจ้าภาพจัดงานฟิวเจอร์ เอนเนอร์ยี่ เอเชีย 2018 และรอต้อนรับผู้แทนองค์กรต่างๆ ที่จะไปร่วมในงาน เพื่อการพัฒนาอย่างต่อเนื่องในอุตสาหกรรมด้านพลังงานของโลก การตัดสินใจและความสัมพันธ์ที่จะบังเกิดขึ้น จะช่วยให้เกิดความร่วมมือกันและผลักดันเชิงเศรษฐกิจของอุตสาหกรรมด้านพลังงานในอนาคตให้เติบโตขึ้นได้ ไทยแลนด์ 4.0 หมายถึงโอกาสและการเปลี่ยนแปลงของภาคส่วนพลังงานของประเทศเช่นกัน ในขณะที่เรากำลังก้าวเข้าสู่โลกที่ไร้คาร์บอนเข้าไปทุกที การผลิตและการบริโภคพลังงานจะต้องปรับตัวครั้งใหญ่เพื่อเป็นการรับประกันว่าจะสามารถตอบสนองต่อความต้องการของประชากรที่เพิ่มจำนวนขึ้น โดยการจัดงานในประเทศไทยครั้งนี้สะท้อนให้เห็นถึงความพยายามอย่างต่อเนื่องของประเทศในการส่งเสริมโครงการใหม่ ดึงดูดการลงทุนในภาคส่วนพลังงาน และสื่อสารองค์รวมให้แก่นักลงทุนระดับนานาชาติขนาดใหญ่ ซึ่งเป็นตัวแปรสำคัญที่จะทำให้ประเทศเข้าไปอยู่บนแผนที่ของโอกาสแห่งการลงทุน”

 

ปลัดกระทรวงพลังงาน เป็นประธานเปิดการปฐมนิเทศหลักสูตรตามTraining Roadmap สำหรับบุคลากรกระทรวงพลังงาน

เมื่อวันที่ 18 มิถุนายน 2560 ดร.อารีพงศ์ ภู่ชอุ่ม ปลัดกระทรวงพลังงาน เป็นประธานเปิดการปฐมนิเทศหลักสูตรตามTraining Roadmap สำหรับบุคลากรกระทรวงพลังงาน (จำนวน 4 หลักสูตร หลักสูตรละ  60 คน รวม 240 คน) พร้อมทั้งให้โอวาทแก่ผู้เข้ารับการอบรมเกี่ยวกับแนวทางการพัฒนาบุคลากรตาม Training Roadmap ซึ่งการปฐมนิเทศจัดขึ้นระหว่างวันที่ 17 – 18 มิถุนายน 2560 ณ โรงแรม
มิราเคิลแกรนด์ คอนเวนชั่น กรุงเทพมหานคร

โครงการออกแบบและพัฒนาหลักสูตรตาม Training Roadmap สำหรับบุคลากรกระทรวงพลังงาน จัดขึ้นตามนโยบายของผู้บริหารกระทรวงพลังงาน มีวัตถุประสงค์เพื่อใช้เป็นแนวทางพัฒนาข้าราชการให้มีความพร้อมทางด้านความรู้ ความสามารถ ทักษะและสมรรถนะที่เหมาะสมต่อการปฏิบัติงานเพื่อขับเคลื่อนภารกิจของกระทรวงพลังงาน โดยมีการพัฒนาข้าราชการอย่างเป็นระบบและต่อเนื่อง ตั้งแต่ช่วงทดลองราชการ จนถึงระดับผู้บริหาร ซึ่งสอดคล้องกับอายุงานและตำแหน่งที่สูงขึ้น และในปี 2560 ได้มีการจัดฝึกอบรม จำนวน 4 หลักสูตร ดังนี้

  1. หลักสูตร Young Energy Program (YP) ระหว่างวันที่ 24 – 29 มิถุนายน 2560
    ณ โรงแรมราวินทรา บีช รีสอร์ท แอนด์ สปา (พัทยา) จังหวัดชลบุรี
  2. หลักสูตร Energy Professional 1 (EP1) ระหว่างวันที่ 2 – 5 กรกฎาคม 2560
    ณ โรงแรมราวินทรา บีช รีสอร์ท แอนด์ สปา (พัทยา) จังหวัดชลบุรี
  3. หลักสูตร Energy Professional 2 (EP2) ระหว่างวันที่ 12 – 16 กรกฎาคม 2560
    ณ โรงแรมราวินทรา บีช รีสอร์ท แอนด์ สปา (พัทยา) จังหวัดชลบุรี

หลักสูตร Managerial Energy Management (MEM) ระหว่างวันที่ 30 กรกฎาคม – 11 สิงหาคม 2560 ณ โรงแรมราวินทรา บีช รีสอร์ท แอนด์ สปา (พัทยา) จังหวัดชลบุรี

ปลัดกระทรวงพลังงาน เป็นประธานเปิดการบรรยายพิเศษเรื่อง Scenario in Shell – Mapping the Geopolitical Contex and the Global Energy Landscape – Implication for Thailand

วันที่ 19 มิถุนายน 2560 ดร.อารีพงศ์ ภู่ชอุ่ม ปลัดกระทรวงพลังงาน เป็นประธานเปิดการบรรยายพิเศษเรื่อง Scenario in Shell – Mapping the Geopolitical Contex and the Global Energy Landscape – Implication for Thailand โดยมี ดร.โช คง หัวหน้าส่วนงานวิเคราะห์การเมือง บริษัท เชลล์อินเตอร์เนชั่นแนล จำกัด เป็นวิทยากรบรรยาย ณ กระทรวงพลังงาน ถ.วิภาวดีรังสิต

การบรรยายพิเศษครั้งนี้เป็นการถ่ายทอดความรู้เกี่ยวกับแผนจำลองสถานการณ์ด้านพลังงาน ซึ่งเป็นหนึ่งในพันธกิจของ สนพ. ในฐานะหน่วยงานในการกำหนดนโยบายด้านพลังงานของประเทศ เพื่อขับเคลื่อนแนวนโยบายด้านพลังงานของรัฐภายใต้แผน Energy 4.0 ซึ่งการบรรยายดังกล่าวได้รับความสนใจจากผู้บริหารของกระทรวงพลังงาน เจ้าหน้าที่ และหน่วยงานภาคเอกชนเข้าร่วมเป็นจำนวนมาก

กระทรวงพลังงานเปิดเวทีรับฟังความคิดเห็น “ร่างพ.ร.บ.กองทุนน้ำมันเชื้อเพลิง พ.ศ. ….

วันนี้ (1 มิถุนายน 2560 ) ดร.ทวารัฐ สูตะบุตร ผู้อำนวยการสำนักงานนโยบายและแผนพลังงาน (สนพ.)

และโฆษกกระทรวงพลังงาน กล่าวแสดงความขอบคุณผู้เข้าร่วมการสัมมนาภายหลังจาก สนพ.

ได้จัดให้มีการรับฟังความคิดเห็นต่อร่างพระราชบัญญัติกองทุนน้ำมันเชื้อเพลิง

ที่ได้ผ่านการพิจารณาของคณะกรรมการกฤษฎีกาแล้ว

และเพื่อให้เป็นไปตามบทบัญญัติมาตรา 77 ของรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทยที่กำหนดให้ ก่อนการตรากฎหมาย

ทุกฉบับ รัฐพึงจัดให้มีการรับฟังความคิดเห็นของผู้เกี่ยวข้อง

ซึ่งสำนักงานนโยบายและแผนพลังงานได้จัดให้มีการรับฟังความคิดเห็นใน 3 ช่องทาง คือ 1) ผ่านเว็บไซต์

www.eppo.go.th ตั้งแต่วันที่ 2 พฤษภาคม – 1 มิถุนายน 2560 และ www.lawamendment.go.th 2)

การแสดงความคิดเห็นเป็นเอกสาร ตั้งแต่วันที่ 2 พฤษภาคม – 1 มิถุนายน 2560

ส่งทางไปรษณีย์ลงทะเบียนมาที่สำนักงานนโยบายและแผนพลังงาน (สนพ.) หรือ โทรสาร 02-612 1391 และ

3) การจัดสัมมนารับฟังความคิดเห็นในครั้งนี้ มีผู้เข้าร่วมสัมมนาจากหน่วยงานภาครัฐ ผู้ค้าน้ำมัน โรงกลั่นน้ำมัน สมาคม

มูลนิธิ ภาควิชาการ รวมถึงประชาชนทั่วไป รวมกว่า 300 คน

โดยขั้นตอนต่อจากนี้ไปภายหลังรับฟังความคิดเห็นจากผู้เกี่ยวข้องแล้ว สนพ.

จะจัดทำรายงานสรุปผลการรับฟังความคิดเห็นประเด็นที่มีการแสดงความคิดเห็น

ประกอบการจัดทำคำชี้แจงตามหลักเกณฑ์การตรวจสอบความจำเป็นใน การตราพระราชบัญญัติ (Checklist)

โดยเมื่อดำเนินการดังกล่าวแล้วเสร็จจะได้นำเสนอต่อคณะกรรมการกฤษฎีกา คณะรัฐมนตรี และสภานิติบัญญัติแห่งชาติ

ตามลำดับต่อไป ดร.ทวารัฐ กล่าวในท้ายที่สุด

ปลัดกระทรวงพลังงาน เข้าร่วมเปิดงานการประชุมคณะกรรมการพลังงาน (First Session of Committee on Energy) ครั้งที่ 1 และการเสวนาระดับสูงด้านพลังงาน ณ ศูนย์การประชุมสหประชาชาติ กรุงเทพฯ เอสแคป  

 

เมื่อวันที่ 17 มกราคม 2560 นายอารีพงศ์ ภู่ชอุ่ม ปลัดกระทรวงพลังงาน ได้รับเชิญไปกล่าวเปิดการประชุมคณะกรรมการพลังงาน ครั้งที่ 1 (First Session of Committee on Energy) และเข้าร่วมการประชุมเสวนาระดับสูงด้านพลังงาน ในหัวข้อ “โอกาสและความท้าทายของการปรับเปลี่ยนโครงสร้างภาคพลังงานในภูมิภาคเอเชียและแปซิฟิก: ภูมิภาคจะสามารถก้าวไปได้ไกลและเร็วเพียงใด” ณ ศูนย์การประชุมสหประชาชาติ กรุงเทพฯ เอสแคป ในการประชุมดังกล่าวมีวัตถุประสงค์เพื่อเป็นการหารือแลกเปลี่ยนความรู้และวิสัยทัศน์ด้านแนวทางการดำเนินงานในภาคพลังงานที่สอดคล้องกับการส่งเสริมการพัฒนาอย่างยั่งยืนด้านพลังงานขององค์การสหประชาชาติ (เอสแคป) โดยมีผู้นำระดับรัฐมนตรีพลังงาน เจ้าหน้าที่อาวุโสจากองค์กรต่างๆ ทั้งภาครัฐ องค์การระหว่างประเทศ และผู้มีบทบาทในการกำหนดแนวทางนโยบายด้านพลังงานในภูมิภาคเอเชียและแปซิฟิก เข้าร่วมการประชุมกว่า 53 ประเทศ

 

อธิบดีกรมเชื้อเพลิงธรรมชาติ เป็นประธานเปิดการประชุมเชิงปฏิบัติการ โครงการ DMF Networking

วันที่ 21 ธันวาคม 2559 นายวีระศักดิ์ พึ่งรัศมี อธิบดีกรมเชื้อเพลิงธรรมชาติ เป็นประธานเปิดการประชุมเชิงปฏิบัติการ โครงการ DMF Networking และบรรยายพิเศษ การสร้างความร่วมมือกับทุกภาคส่วน ร่วมกับ สำนักงานพลังงานจังหวัด 7 จังหวัด ได้แก่ จังหวัดอุบลราชธานี อุดรธานี กาฬสินธุ์ ยโสธร ร้อยเอ็ด สกลนคร และมหาสารคาม เพื่อสร้างเครือข่ายด้านปิโตรเลียม ณ ห้องประชุม 5 ศูนย์เอนเนอร์ยี่คอมเพล็กซ์

กระทรวงพลังงานจัดพิธีทำบุญตักบาตร พระสงฆ์ 89 รูป

วันนี้ (1 ธ.ค. 59) ดร.อารีพงศ์ ภู่ชอุ่ม ปลัดกระทรวงพลังงาน พร้อมด้วยคณะผู้บริหาร ข้าราชการ และบุคลากรสังกัดกระทรวงพลังงาน เข้าร่วมพิธีทำบุญตักบาตรเนื่องในวันพระราชพิธีทรงบำเพ็ญพระราชกุศลปัญญาสมวาร พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช พระสงฆ์จำนวน 89 รูป บริเวณลานพระพรหม ศูนย์เอนเนอร์ยี่ คอมเพล็กซ์


กระทรวงพลังงาน จัดกิจกรรม “รวมพลังแห่งความภักดี”

วันนี้ (22 พ.ย.59) เวลา 7.45 น. กระทรวงพลังงาน จัดกิจกรรม “รวมพลังแห่งความภักดี” ร่วมร้องเพลงสรรเสริญพระบารมี และร่วมแปรอักษรพระบิดาแห่งการพัฒนาพลังงานไทย โดยมีนายอารีพงศ์ ภู่ชอุ่ม ปลัดกระทรวงพลังงาน เป็นประธาน นำกล่าวคำถวายสัตย์ปฏิญาณเบื้องหน้าพระบรมฉายาลักษณ์ของพระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช โดยมีผู้บริหารระดับสูง ข้าราชการ เจ้าหน้าที่หน่วยงานต่าง ๆ ในสังกัดกระทรวงพลังงานเข้าร่วมกิจกรรมเป็นจำนวนมาก ทั้งนี้เพื่อน้อมถวายพระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช เนื่องในโอกาสวันคล้ายวันพระราชสมภพ 89 พรรษา 5 ธันวาคม 2559 แสดงความรัก สามัคคี และเป็นการแสดงออกถึงความจงรักภักดี ตามพระราชปณิธาน โดยพร้อมเพรียงกัน ณ บริเวณหน้าอาคารบี ศูนย์เอนเนอร์ยี่คอมเพล็กซ์

 

 

 

 

ดร.อารีพงศ์ ภู่ชอุ่ม ปลัดกระทรวงพลังงาน กล่าวเปิดงานและแสดงปาฐกถาพิเศษ เรื่อง นโยบายรัฐกับพลังงาน 4.0

 

ดร.อารีพงศ์ ภู่ชอุ่ม ปลัดกระทรวงพลังงาน ได้ให้เกียรติกล่าวเปิดงานและแสดงปาฐกถาพิเศษ เรื่อง นโยบายรัฐกับพลังงาน 4.0 จัดโดย IEEE Power & Energy Society Thailand ในวันที่ 16 พฤศจิกายน 2559 ณ ห้องวิภาวดี บอลรูม โรงแรมเซ็นทาราแกรนด์ แอท เซ็นทรัลพลาซ่า ลาดพร้าว กรุงเทพฯ

กระทรวงพลังงาน หนุนงบกว่า 20 ล้านบาท สานพลังประชารัฐ ยกระดับคุณภาพชีวิตชุมชน ส่งเสริมผลิตพลังงานทดแทน ลดรายจ่าย สร้างรายได้ครัวเรือน

กระทรวงพลังงาน เดินหน้าขับเคลื่อนโครงการประชารัฐตามนโยบายรัฐบาล ส่งเสริมการผลิตพลังงานทดแทนในระดับชุมชน 6 ประเภท ได้แก่ พลังงานแสงอาทิตย์ ชีวมวล น้ำ ลม ก๊าซชีวภาพ และขยะ ในระดับชุมชนทั่วประเทศ จำนวน 26 โครงการ ซึ่งชุมชนต้องร่วมลงทุนบางส่วน ภายใต้งบประมาณสนับสนุนจากกองทุนเพื่อส่งเสริมการอนุรักษ์พลังงาน กว่า 20 ล้านบาท สอดรับเป้าหมายแผนพัฒนาพลังงานทดแทนและพลังงานทางเลือก พ.ศ.2558-2579

นายธรรมยศ ศรีช่วย รองปลัดกระทรวงพลังงาน เปิดเผยว่า ตามที่รัฐบาลภายใต้การนำของ พลเอก ประยุทธ์ จันทร์โอชา ได้มีนโยบายในการเดินหน้าขับเคลื่อนประเทศโดยใช้ยุทธศาสตร์ประชารัฐ ซึ่งจะเป็นการรวมพลังของภาคประชาชน ภาคธุรกิจ และภาครัฐ ในการแก้ไขปัญหาเศรษฐกิจ สังคม และขับเคลื่อน การพัฒนาชุมชน ท้องถิ่น เพื่อให้ประเทศชาติเจริญก้าวหน้าอย่างมั่นคงและยั่งยืน ในส่วนของ กระทรวงพลังงาน ได้ดำเนินโครงการต่างๆ ตามนโยบายประชารัฐ ด้วยการส่งเสริมการผลิตพลังงานทดแทน ในระดับชุมชนภายใต้งบประมาณสนับสนุนจากกองทุนเพื่อส่งเสริมการอนุรักษ์พลังงานสำหรับพัฒนาพื้นที่ต้นแบบด้านพลังงานทดแทน โดยให้ประชาชนได้มีส่วนร่วมในการร่วมคิด ร่วมตัดสินใจ ร่วมดำเนินการ โดยเป็นเจ้าของโครงการพลังงานทดแทนที่มุ่งเน้นการนำทรัพยากรและสิ่งเหลือใช้ในท้องถิ่นมาแปลงเป็นพลังงาน เพื่อลดรายจ่าย สร้างรายได้ให้กับชุมชน และยังเป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม
โดยโครงการดังกล่าว กระทรวงพลังงานให้การสนับสนุนงบประมาณ 30-70% ส่วนที่เหลือชุมชนจะออกงบประมาณเอง ปัจจุบันมีชุมชนจากทั่วประเทศเข้าร่วม จำนวน 26 โครงการ ดำเนินการแล้วเสร็จทุกโครงการประกอบด้วย 6 ประเภทพลังงานทดแทน รวมกำลังการผลิต 931 กิโลวัตต์ ได้แก่
ประเภทพลังงานแสงอาทิตย์ จำนวน 7 โครงการ วงเงินสนับสนุน จำนวนรวม 3.24 ล้านบาท กำลังการผลิตเทียบเท่ารวม 73 กิโลวัตต์ อาทิ โครงการพัฒนาโรงอบเยื่อไผ่ด้วยพลังงานแสงอาทิตย์ โดย มูลนิธิพัฒนาชุมชนผาปัง จ.ลำปาง กำลังการผลิตเทียบเท่า 16 กิโลวัตต์ มูลค่าโครงการ 774,000 บาท กระทรวงพลังงานสนับสนุน 70% เป็นเงิน 541,800 บาท และโครงการแปรรูปมะม่วงอบแห้งโดยโรงอบแห้งพลังงานแสงอาทิตย์ โดย องค์การบริหารส่วนตำบลอบทม จ.อ่างทอง กำลังการผลิตเทียบเท่า 5 กิโลวัตต์ มูลค่าโครงการ 600,300 บาท กระทรวงพลังงานสนับสนุนงบประมาณ จำนวน 420,210 บาท คิดเป็น 70% เป็นต้น
ประเภทพลังงานชีวมวล จำนวน 3 โครงการ วงเงินสนับสนุนรวม 4.75 แสนบาท กำลังการผลิตเทียบเท่ารวม 362 กิโลวัตต์ อาทิ โครงการเปลี่ยนของเสียจากกระบวนการผลิตเป็นแหล่งพลังงานในโรงแปรรูปเมล็ดมะม่วงหิมพานต์และชาสมุนไพร โดย สหกรณ์กรีนเนท จำกัด จ.ยโสธร กำลังการผลิต 17 กิโลวัตต์ มูลค่าโครงการ 880,807 บาท กระทรวงพลังงานสนับสนุนงบประมาณ 30% เป็นเงินจำนวน 264,242 บาท เป็นต้น                  ประเภทพลังงานน้ำ จำนวน 3 โครงการ วงเงินสนับสนุนรวม 2.15 ล้านบาท กำลังการผลิตรวม 60 กิโลวัตต์ ได้แก่ โครงการผลิตไฟฟ้าจากกังหันน้ำในพื้นที่ชุมชนคีรีวงและตำบลกำโลน โดย กองทุนหมู่บ้าน คีรีธรรม จ.นครศรีธรรมราช กำลังการผลิต 60 กิโลวัตต์ มูลค่าโครงการ 3,842,000 บาท วงเงินสนับสนุน 2,148,960 บาท เป็นต้น

ประเภทพลังงานลม จำนวน 1 โครงการ วงเงินสนับสนุนจำนวนรวม 3.7 แสนบาท ผลิตพลังงานทดแทนรวมได้เท่ากับ 2 กิโลวัตต์ ได้แก่ โครงการผลิตไฟฟ้าด้วยพลังงานลม โดย มูลนิธิสุข-แก้ว แก้วแดง จ.ยะลา (2 กิโลวัตต์) มูลค่าโครงการ 529,000 บาท วงเงินสนับสนุน 70% เป็นเงินจำนวน 370,300 บาท
ประเภทพลังงานก๊าซชีวภาพ จำนวน 10 โครงการ วงเงินสนับสนุนรวม 8.3 ล้านบาท กำลัง การผลิตเทียบเท่ารวม 194 กิโลวัตต์ อาทิ โครงการผลิตก๊าซชีวภาพจากมูลวัวเพื่อผลิตไฟฟ้า โดยมูลนิธิ สุข-แก้ว แก้วแดง จ.ยะลา กำลังการผลิต 12 กิโลวัตต์ มูลค่าโครงการ 2,566,000 บาท วงเงินสนับสนุน 1,539,600 บาท หรือ 60% และโครงการผลิตก๊าซชีวภาพจากน้ำเสียกระบวนการผลิตยางแผ่นรมควัน สหกรณ์พัฒนาคุณภาพยางพารา ต.ห้วยแร้ง จ.ตราด กำลังการผลิตเทียบเท่า 11 กิโลวัตต์ มูลค่าโครงการ 1,455,987 บาท วงเงินสนับสนุน 60% เป็นเงินจำนวน 873,592 บาท เป็นต้น
ประเภทพลังงานขยะ จำนวน 2 โครงการ วงเงินสนับสนุนรวม 6 ล้านบาท กำลังการผลิตรวม 240 กิโลวัตต์ ได้แก่ โครงการเพิ่มประสิทธิภาพระบบผลิตก๊าซชีวภาพจากพลังงานขยะ เพื่อขยายการใช้งานพลังงานทดแทนในภาคครัวเรือนบ้านป่าขามโดย กลุ่มเกษตรกรทำสวนบ้านตาล จ.เชียงใหม่ กำลังการผลิตเทียบเท่า 120 กิโลวัตต์ มูลค่าโครงการ 4,615,312 บาท วงเงินสนับสนุน 3,000,000 บาท หรือร้อยละ 65 และโครงการเพิ่ม                ประสิทธิภาพระบบผลิตก๊าซชีวภาพจากพลังงานขยะ เพื่อขยายการใช้งานพลังงานทดแทน ในภาคครัวเรือน และภาคการเกษตรบ้านแม่ยุย โดย กลุ่มเกษตรกรทำสวนบ้านตาล จ.เชียงใหม่ กำลังการผลิตเทียบเท่า 120 กิโลวัตต์ มูลค่าโครงการ 5,097,497 บาท วงเงินสนับสนุน 60% เป็นเงินจำนวน 3,000,000 บาท
“โครงการส่งเสริมการผลิตพลังงานทดแทนในระดับชุมชน มุ่งเน้นการลดรายจ่ายด้านพลังงาน และช่วยเพิ่มรายได้ให้แก่ชุมชน โดยการนำทรัพยากรหรือสิ่งเหลือใช้ในท้องถิ่นมาผลิตเป็นพลังงานทดแทน ซึ่งสอดคล้องกับหลักปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงของพระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช โดยให้ชุมชนมีส่วนร่วมในการวางแผนและร่วมลงทุนกับภาครัฐ เรียกได้ว่าเป็นเป็นมิติใหม่ของการพัฒนาพลังงานอย่างยั่งยืนและเป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม ช่วยลดการพึ่งพาการนำเข้าเชื้อเพลิงจากต่างประเทศ และยังสอดคล้องกับทิศทางของประเทศที่เดินหน้าขับเคลื่อนการพัฒนาพลังงานทดแทน ให้เป็นไปตามเป้าหมายของแผนพัฒนาพลังงานทดแทนและพลังงานทางเลือก พ.ศ.2558-2579 อีกด้วย” รองปลัดกระทรวงพลังงานกล่าว
นอกจากนี้ นายสราวุธ แก้วตาทิพย์ รองโฆษกกระทรวงพลังงาน ได้กล่าวเสริมว่า เพื่อเป็นการสรุปบทเรียนจากการดำเนินโครงการส่งเสริมการผลิตพลังงานทดแทนข้างต้น ในโอกาสเดียวกันนี้ กระทรวงพลังงาน ได้สัมมนาเพื่อให้ชุมชนที่เข้าร่วมโครงการทั้ง 26 โครงการ และเจ้าหน้าที่กระทรวงพลังงาน ทั้งส่วนกลางและส่วนภูมิภาค ได้แลกเปลี่ยนขัอมูล ข้อคิดเห็น เกี่ยวกับปัจจัยที่ผลักดันให้สามารถสร้างชุมชนต้นแบบด้านพลังงานทดแทนได้ และประเด็นปัญหาอุปสรรคที่เกิดขึ้นจากการดำเนินงาน เพื่อนำไปสู่การพัฒนารูปแบบการดำเนินโครงการในอนาคต และการขยายผลการส่งเสริมชุมชนในรูปแบบประชารัฐ ที่ให้ชุมชนร่วมลงทุนและเป็นเจ้าของโครงการ ซึ่งจะช่วยสร้างความยั่งยืนให้กับการพัฒนาโครงการด้านพลังงานทดแทนระดับชุมชนต่อไป


 

ปลัดกระทรวงพลังงาน ให้กำลังใจเจ้าหน้าที่จุดบริการประชาชนที่สนามหลวง

วันนี้ (3 พฤศจิกายน 2559) ดร.อารีพงศ์ ภู่ชอุ่ม ปลัดกระทรวงพลังงาน มาตรวจเยี่ยมและให้กำลังใจเจ้าหน้าที่ที่คอยให้บริการประชาชนที่เดินทางมาร่วมลงนามถวายอาลัยพระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช พระผู้เสด็จสู่สวรรคาลัย ณ บริเวณท้องสนามหลวง จุดบริการประชาชน เต็นท์ที่ 29-30
โดยได้จัดอาหารและเครื่องดื่มบริการฟรี อาทิ ข้าวกล้องไข่เจียว น้ำดื่ม กาแฟอเมซอน ในโอกาสนี้ปลัดกระทรวงพลังงาน ยังได้ลงมือทอดไข่เจียวแจกประชาชนที่มาเข้าแถวรับบริการอีกด้วย

ปลัดกระทรวงพลังงาน เข้าเยี่ยมชมและให้กำลังใจเจ้าหน้าที่ที่ให้บริการประชาชนในบูธกระทรวงพลังงาน

ดร.อารีพงศ์ ภู่ชอุ่ม ปลัดกระทรวงพลังงาน เข้าเยี่ยมชมและให้กำลังใจเจ้าหน้าที่ที่ให้บริการประชาชนในบูธกระทรวงพลังงาน ทั้งนี้ ประชาชนที่จะไปร่วมสักการะพระบรมศพ พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช ที่พระบรมมหาราชวัง สามารถรับอาหารและเครื่องดื่ม อาทิ กาแฟอเมซอน น้ำดื่ม ข้าวไข่เจียว ได้ที่จุดรับรองประชาชนของกระทรวงพลังงาน (ร่วมกับ กฟผ. และ ปตท.) บริเวณสนามหลวง ฝั่งสะพานสมเด็จพระปิ่นเกล้า โดยจะให้บริการเวลา 9.00 – 20.00 น. ตั้งแต่บัดนี้เป็นต้นไป

 

 

 

 

 

 

 

 

 

ปลัดกระทรวงพลังงาน เป็นประธานพิธีถวายอาลัย พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวในพระบรมโกศ

วันนี้ (14 ตุลาคม 2559) ดร.อารีพงศ์ ภู่ชอุ่ม ปลัดกระทรวงพลังงาน พร้อมด้วยผู้บริหารระดับสูง ข้าราชการและเจ้าหน้าที่ เข้าร่วมพิธีถวายอาลัย พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช มหิตลาธิเบศรรามาธิบดี จักรีนฤบดินทร สยามินทราธิราช บรมนาถบพิตร น้อมเกล้าน้อมกระหม่อมส่งเสด็จสู่สวรรคาลัย เบื้องหน้าพระบรมฉายาลักษณ์ ณ บริเวณล็อบบี้ อาคารบี ศูนย์เอนเนอร์ยี่คอมเพล็กซ์ กระทรวงพลังงาน

ปลัดกระทรวงพลังงาน เข้าร่วมงาน World Energy Council ณ กรุงอิสตันบุล ประเทศตุรกี

วันนี้ (10 ตุลาคม 2559) นายอารีพงศ์ ภู่ชอุ่ม ปลัดกระทรวงพลังงาน พร้อมด้วยนายธรรมยศ ศรีช่วย รองปลัดกระทรวงพลังงาน พร้อมคณะ เข้าร่วมงาน World Energy Council ณ กรุงอิสตันบุล ประเทศตุรกี ทั้งนี้ นายอารีพงศ์ ภู่ชอุ่ม ได้กล่าวปาฐกถาในหัวข้อ Asia Regional Crossroads: Resilence and Regional Integration

 

 

ปลัดกระทรวงพลังงาน ได้พบปะหารือกับผู้แทนคณะ Silk Road Fund

ปลัดกระทรวงพลังงาน

เมื่อวันนี้ 7 กันยายน 2559 นายอารีพงศ์ ภู่ชอุ่ม ปลัดกระทรวงพลังงาน ได้พบปะหารือกับผู้แทนคณะจากสาธารณรัฐประชาชนจีน นำโดย Mr. Yang Zejun ประธานคณะกรรมการของ Silk Road Fund ของจีน ณ กระทรวงพลังงาน เกี่ยวกับที่ฝ่ายจีนได้นำเสนอความเป็นมาของ Silk Road Fund ซึ่งเป็นกองทุนเพื่อการลงทุนด้านการสร้างโครงสร้างพื้นฐานต่างๆ เช่น ด้านพลังงาน ด้านอุตสาหกรรม ด้านการก่อสร้าง ในประเทศต่างๆตามเส้นทางสายไหม โดยฝ่ายไทยได้มีการแลกเปลี่ยนข้อมูลด้านนโยบายพลังงานของไทยที่ดำเนินการอยู่ในปัจจุบันและแผนการในอนาคต รวมถึงการแลกเปลี่ยนความคิดเห็นเรื่องความเป็นไปได้ในการทำงานร่วมกันด้านพลังงานระหว่างไทยและจีนในอนาคต

กระทรวงพลังงาน ย้ำทางเลือกเชื้อเพลิงถ่านหินสะอาด

นายชวลิต พิชาลัย รองปลัดกระทรวงพลังงาน

วันจันทร์ที่ 5 กันยายน 2559 กระทรวงพลังงาน ย้ำทางเลือกเชื้อเพลิงถ่านหินสะอาด มีการใช้เทคโนโลยีทันสมัยช่วยลดผลกระทบสิ่งแวดล้อมที่เชื่อถือและไว้ใจได้ โดยค่าปลดปล่อยซัลเฟอร์ไดออกไซด์ดีกว่าค่ามาตรฐานที่กรมควบคุมมลพิษกำหนด มากกว่า 3 เท่าตัว และค่าฝุ่นละออง ดีกว่าถึง 2 เท่าตัว ยันถ่านหินสะอาดยังเป็นทางเลือกผลิตไฟฟ้าที่ช่วยกระจายแหล่งเชื้อเพลิงและประเทศชั้นนำของโลกยังคงพัฒนาต่อเนื่อง
นายชวลิต พิชาลัย รองปลัดกระทรวงพลังงาน เปิดเผยว่า การจัดทำแผนพัฒนากำลังผลิตไฟฟ้าของประเทศไทย หรือ PDP 2015 กระทรวงพลังงาน ได้เน้นในมิติการบริหารจัดการเพื่อรักษาความสมดุลย์ในการกระจายแหล่งเชื้อเพลิงควบคู่ไปกับการดูแลสิ่งแวดล้อมอย่างเข้มข้นและจริงจัง เพื่อดูแลชีวิตและสุขภาพของประชาชนควบคู่ไปกับการจัดหาพลังงานเพื่อความมั่นคงของประเทศ โดยจะเพิ่มสัดส่วนการใช้เทคโนโลยีถ่านหินสะอาดในการผลิตไฟฟ้าจาก 19% ในปัจจุบัน เป็น 20 – 25% ในปลายปี 2579 ซึ่งจากการติดตามเทคโนโลยีถ่านหินสะอาดดังกล่าว พบว่า ปัจจุบันได้มีการนำเทคโนโลยีที่ทันสมัยเข้ามาบริหารจัดการ และมีการพัฒนามาอย่างต่อเนื่องจึงสามารถลดปริมาณการปล่อยมลพิษ
ทั้งนี้ จากข้อมูลโรงไฟฟ้าเทคโนโลยีถ่านหินสะอาดจากการไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทย(กฟผ.) ในช่วงที่ผ่านมา ระบุว่าจะมีค่าปลดปล่อยก๊าซซัลเฟอร์ไดออกไซด์เพียง 50 ส่วนในล้านส่วน ซึ่งดีกว่าค่ามาตรฐานที่กรมควบคุมมลพิษกำหนดไว้ที่ 180 ส่วนในล้านส่วน หรือดีกว่าค่ามาตรฐานกำหนดมากกว่า 3 เท่าตัว รวมทั้งยังมีค่าการปลดปล่อยฝุ่นละอองเพียง 30 มิลลิกรัมต่อลูกบาศก์เมตร ซึ่งดีกว่าค่ามาตรฐานที่กรมควบคุมมลพิษกำหนดไว้ที่ 80 มิลลิกรัมต่อลูกบาศก์เมตร หรือดีกว่าค่ามาตรฐานกำหนดมากกว่า 2 เท่าตัว เป็นต้น
นอกจากนี้ เทคโนโลยีถ่านหินสะอาดตามแผนการสร้างโรงไฟฟ้า ที่กฟผ.จะได้เตรียมนำมาใช้ คือเทคโนโลยี ultra super critical ซึ่งถือเป็นเทคโนโลยีที่มีประสิทธิภาพสูงและทันสมัยที่สุด ทําให้ใช้เชื้อเพลิงน้อยลง จึงมีผลให้ลดการปลดปล่อยมลพิษทางอากาศลงได้มาก โดยกระทรวงพลังงานยืนยันได้ว่า การผลิตไฟฟ้าจากเทคโนโลยีถ่านหินสะอาด จะสะอาดตั้งแต่ต้นน้ำคือ การนำเข้าถ่านหินสะอาดที่มีคุณภาพสูงมีปริมาณซัลเฟอร์ต่ำและค่าความร้อนสูง ซึ่งเบื้องต้นจะพิจารณานำเข้าจากประเทศอินโดนีเซีย ออสเตรเลียหรือ แอฟริกาใต้ เป็นต้น รวมทั้งกลางน้ำ ด้วยเทคโนโลยีดังกล่าว จะช่วยลดการปลดปล่อยก๊าซไนโตรเจนไดออกไซด์ ก๊าซซัลเฟอร์ไดออกไซด์ และฝุ่นละอองในกระบวนการผลิตไฟฟ้าได้เกือบทั้งหมด 100% และปลายน้ำ คือ มีการตรวจสอบวัดมลพิษและกระบวนการเฝ้าระวังอย่างใกล้ชิด มีการปลูกต้นไม้ เพื่อเป็นแนวป้องกันอีกด้วย
นายชวลิต กล่าวเพิ่มว่า ขณะนี้ประเทศชั้นนำของโลก อย่าง ประเทศญีปุ่น จีน และเกาหลีใต้ ยังคงมีแผนการพัฒนาเชื้อเพลิงจากถ่านหินในการผลิตไฟฟ้า เพื่อเป็นทางเลือกในการสร้างความมั่นคงด้านพลังงานอย่างต่อเนื่อง สำหรับประเทศไทย ตามแผน PDP 2015 จะมีการพัฒนาโครงการโรงไฟฟ้าเทคโนโลยีถ่านหินสะอาดใหม่เพิ่มเติม จำนวน 2 โรง เพื่อความมั่นคงของระบบไฟฟ้าในภาคใต้ ได้แก่ โครงการโรงไฟฟ้าถ่านหินกระบี่ กำลังผลิต 800 เมกะวัตต์ ซึ่งขณะนี้ได้ผ่านการรับฟังความคิดเห็นจากประชาชนแล้ว 3 ครั้ง และได้จัดทำรายงานการวิเคราะห์ผลกระทบสิ่งแวดล้อมหรืออีไอเอแล้ว โดยอยู่ระหว่างประชุมและหาข้อยุติของคณะกรรมการไตรภาคี และโครงการโรงไฟฟ้าถ่านหินเทพา กำลังผลิต 2,000 เมกะวัตต์ ซึ่งขณะนี้ได้รับฟังความเห็นของประชาชนในพื้นที่เรียบร้อยแล้ว และเตรียมเสนอรายงานวิเคราะห์ผลกระทบสิ่งแวดล้อมหรือ อีไอเอต่อไป

รองปลัดกระทรวงพลังงาน ให้เกียรติเป็นประธานในการประชุม 1st ASEAN Petroleum Security Agreement (APSA)

รองปลัดกระทรวงพลังงาน

วันนี้ (25 สิงหาคม 2559) นายชวลิต พิชาลัย รองปลัดกระทรวงพลังงาน ให้เกียรติเป็นประธานในการประชุม 1st ASEAN Petroleum Security Agreement (APSA) Task Force Phase II Meeting กำหนดจัดขึ้นระหว่างวันที่ 25-26 สิงหาคม 2559 ณ ห้องประชุม กระทรวงพลังงาน โดยการประชุมดังกล่าว เป็นครั้งแรกที่เชิญ 10 ประเทศอาเซียนเข้าร่วม และมีผู้จากคณะมนตรีด้านปิโตรเลียมของอาเซียน (ASEAN Council on Petroleum: ASCOPE) คือบริษัท ปตท. จำกัด (มหาชน)  กระทรวงเศรษฐกิจ การค้า และอุตสาหกรรม ประเทศญี่ปุ่น (Ministry of Economy, Trade and Industry: METI) ทบวงการพลังงานระหว่างประเทศ (International Energy Agency: IEA) สถาบันวิจัยทางเศรษฐกิจเพื่ออาเซียนและเอเชียตะวันออก (Economic Research Institute for ASEAN and East Asia: ERIA) และศูนย์พลังงานอาเซียน (ASEAN Centre of Energy: ACE) ประชุมร่วมกันเพื่อหารือถึงแนวทางการดำเนินงานเพื่อเสริมสร้างความมั่นคงทางด้านพลังงานในการสำรองน้ำมัน และการช่วยเหลือประเทศสมาชิกในอาเซียนเมื่อเกิดเหตุฉุกเฉินหรือเมื่อภาวะน้ำมันขาดแคลนขึ้น ซึ่งที่ประชุมได้มีการแลกเปลี่ยนข้อมูล สถานะความคืบหน้าของการดำเนินงาน การหารือในรูปแบบ กรอบแนวทางการดำเนินการ และมุมมองจากผู้เชี่ยวชาญระดับโลกในด้านการสำรองน้ำมัน


Mr. Rapil Zhoshybayev เข้าพบหารือกับปลัดกระทรวงพลังงาน

วันจันทร์ที่ 8 สิงหาคม 2559 Mr. Rapil Zhoshybayev ตำแหน่ง Commissioner of the Exhibition Astana EXPO-2017 ของสาธารณรัฐคาซัคสถาน ได้เข้าพบหารือกับปลัดกระทรวงพลังงาน ในฐานะ Commissioner General of Section ของประเทศไทย เพื่อรับทราบข้อมูล ติดตามความคืบหน้าในการดำเนินงานและเป็นการแลกเปลี่ยนประเด็นที่เกี่ยวข้องเพื่อประโยชน์ในการเข้าร่วมงานนิทรรศการนานาชาติ Astana Expo 2017 ณ กรุงอัสตานา สาธารณรัฐคาซัคสถาน ระหว่างวันที่ 10 มิถุนายน – 10 กันยายน 2560

 

 

 

 

ผู้บริหารกระทรวงพลังงาน พบปะสื่อ TPBS

นายชวลิต พิชาลัย  รองปลัดกระทรวงพลังงาน ได้นำคณะผู้บริหารกระทรวงพลังงาน และการไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทย เข้าเยี่ยมพบปะสื่อมวลชน สถานีโทรทัศน์ Thai PBS เพื่อนำเสนอประเด็นของการก่อสร้างโรงไฟฟ้าเทคโนโลยีถ่านหินสะอาด โดยมีนายเชิดชาย มากบำรุง รองผู้อำนวยการสำนักข่าว พร้อมด้วยบรรณาธิการข่าว และผู้สื่อข่าว Thai PBS ให้การต้อนรับและร่วมกันหารือถึงประเด็นดังกล่าว

ทั้งนี้ ประเด็นสำคัญ ๆ ที่กระทรวงพลังงาน ได้ไปให้ข้อมูล ได้แก่

  1. ยืนยันว่าไม่ได้มีการย้าย มัสยิดและกุโบร์ ออกจากพื้นที่การก่อสร้างโรงไฟฟ้าเทคโนโลยีถ่านหินสะอาด ที่อ.เทพา จ.สงขลา
  2. การดำเนินการจัดซื้อที่ดิน และอพยพย้ายราษฎรมีแนวทางที่ชัดเจน และดำเนินการที่ได้รับอนุมัติจากคณะรัฐมนตรีแล้วเท่านั้น
  3. สิ่งปลูกสร้างในทะเลถูกออกแบบให้ไม่กระทบต่อกระแสลมและไม่กีดขวางการไหลของน้ำ และสะพานเชื่อมท่าเทียบเรือของโครงการฯ ไม่มีผลกระทบต่ออาชีพประมง และการกัดเซาะชายฝั่ง
  4. การจับปลาในช่วงการก่อสร้าง และในบริเวณก่อสร้าง อาจมีจำนวนปลาลดลง แต่หลังจากก่อสร้างแล้วเสร็จ จำนวนปลาจะกลับมาปกติเช่นท่าเทียบเรืออื่น ๆ
  5. ให้ความมั่นใจได้ว่า น้ำทะเลที่อยู่ในระบบหล่อเย็นของโรงไฟฟ้าฯ จะถูกควบคุมคุณภาพให้มีเกณฑ์มาตรฐานใกล้เคียงกับสภาพธรรมชาติมากที่สุด
  6. โครงการโรงไฟฟ้าฯ เทพา ได้ศึกษาผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อมอย่างรอบด้าน สามารถยืนยันว่าได้ว่าอยู่ในเกณฑ์ค่ามาตรฐาน และไม่มีผลต่อสุขภาพประชาชน
  7. ข้อกังวลต่อคำสั่ง คสช. ฉบับ 9/2559 ยืนยันว่าโครงการโรงไฟฟ้าเทคโนโลยีถ่านหินสะอาด ทั้งที่ อ. เทพา จ.สงขลา และที่ จ.กระบี่ ยังจำเป็นต้องเดินหน้าจัดทำรายงานผลกระทบสิ่งแวดล้อมหรือ EIA ตามกฎหมาย เพราะเป็นกิจการที่ไม่ได้รับการยกเว้นตามคำสั่งคสช. ดังกล่าว
  8. ทางเลือกโรงไฟฟ้าถ่านหิน ที่ปะนาเระ จ.ปัตตานี ยังไม่มีความจำเป็นในขณะนี้ โดยกระทรวงพลังงานจะให้ความสำคัญกับพื้นที่ อ.เทพา และที่กระบี่ ให้ประชาชนยอมรับการใช้เทคโนโลยีถ่านหินสะอาด และสามารถสร้างโรงไฟฟ้าได้ตามแผน PDP 2015 ก่อน

 

โดยกระทรวงพลังงาน และการไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทย ขอยืนยันว่า การจัดทำโครงการใดๆ จะต้องเป็นไปตามหลักเกณฑ์ตามกฎหมาย โดยคำนึงถึงผลประโยชน์ของประชาชนและประเทศชาติเป็นสำคัญ

 

ผลการประชุมคณะกรรมการบริหารนโยบายพลังงาน (กบง.)


วันนี้ (7 กรกฎาคม 2559) ดร.ทวารัฐ สูตะบุตร ผู้อำนวยการสำนักงานนโยบายและแผนพลังงาน (สนพ.) และโฆษกกระทรวงพลังงาน เปิดเผยภายหลังการประชุมคณะกรรมการบริหารนโยบายพลังงาน (กบง.) ซึ่งมี พล.อ.อนันตพร กาญจนรัตน์ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงพลังงาน เป็นประธาน ว่า ที่ประชุม กบง. ได้มีการพิจารณาวาระสำคัญต่างๆ ดังนี้

*** โครงสร้างราคาก๊าซ LPG เดือนกรกฎาคม 2559
สถานการณ์ราคาก๊าซ LPG ตลาดโลก (CP) เดือนกรกฎาคม 2559 อยู่ที่ระดับ 301 เหรียญสหรัฐฯ/ตัน ปรับตัวลดลงจากเดือนก่อน 43 เหรียญสหรัฐฯ/ตัน ในขณะที่อัตราแลกเปลี่ยนเฉลี่ยเดือนมิถุนายน 2559 แข็งค่าขึ้นจากเดือนก่อน 0.1418 บาท/เหรียญสหรัฐฯ มาอยู่ที่ 35.4733 บาท/เหรียญสหรัฐฯ ส่งผลให้ราคาต้นทุนเฉลี่ยการจัดหาก๊าซ LPG ทั้งระบบ ซึ่งเป็นราคาซื้อตั้งต้นของก๊าซ LPG (LPG Pool) ปรับตัวลดลง 0.6607 บาท/กก. จาก 13.9150 บาท/กก. เป็น 13.2543 บาท/กก. แต่เนื่องจากในช่วง 5 เดือนที่ผ่านมา (ตั้งแต่เดือนกุมภาพันธ์ – มิถุนายน 2559) ได้มีการใช้เงินกองทุนน้ำมันฯ ชดเชยราคาเพื่อรักษาระดับราคาขายปลีกก๊าซ LPG ในประเทศ ดังนั้น ที่ประชุม กบง. จึงเห็นควรให้คงราคาขายปลีกก๊าซ LPG เดือนกรกฎาคม 2559 ไว้ที่ 20.29 บาท/กก. โดยปรับอัตราเงินส่งเข้ากองทุนน้ำมันฯ เพิ่มขึ้น 0.6607 บาท/กก. จากเดิมกองทุนน้ำมันฯ ชดเชย 0.5960 บาท/กก. เป็นส่งเงินเข้ากองทุนน้ำมันฯ ที่ 0.0647 บาท/กก. ให้มีผลบังคับใช้ตั้งแต่วันที่ 8 กรกฎาคม 2559 เป็นต้นไป

จากการปรับอัตราเงินส่งเข้ากองทุนน้ำมันฯ ดังกล่าว ส่งผลทำให้กองทุนน้ำมันฯ ในส่วนของก๊าซ LPG มีรายรับประมาณ 22 ล้านบาท/เดือน โดยฐานะสุทธิของกองทุนน้ำมันเชื้อเพลิง ณ วันที่ 3 กรกฎาคม 2559 อยู่ที่ 44,461 ล้านบาท แบ่งเป็น 1) ในส่วนของบัญชีก๊าซ LPG อยู่ที่ 7,128 ล้านบาท และ 2) ในส่วนของบัญชีน้ำมันสำเร็จรูป อยู่ที่ 37,333 ล้านบาท

*** การปรับอัตราเงินส่งเข้ากองทุนน้ำมันเชื้อเพลิง
มติ ครม. เมื่อวันที่ 5 กรกฎาคม 2559 ได้เห็นชอบหลักการของร่างประกาศกระทรวงการคลังเรื่อง ปรับลดอัตราภาษีสรรพสามิต (ฉบับที่ ..) เพื่อปรับอัตราภาษีสรรพสามิตน้ำมันเบนซินและน้ำมันอื่นที่คล้ายกัน และน้ำมันดีเซลและน้ำมันอื่นที่คล้ายกัน โดยเป็นการดำเนินการให้มีผลบังคับสอดคล้องกับสภาวการณ์ทางเศรษฐกิจในปัจจุบันและเสริมสร้างเสถียรภาพทางการคลังของประเทศ ซึ่งมีรายละเอียดในการปรับอัตราภาษีสรรพสามิต ดังนี้
ดังนั้น เพื่อให้การดำเนินงานสอดคล้องกับการปรับอัตราสรรพสามิตในข้างต้น และไม่กระทบกับราคาขายปลีกน้ำมันเชื้อเพลิงซึ่งจะเป็นการสร้างภาระให้แก่ผู้บริโภค ที่ประชุม กบง. จึงเห็นชอบให้ปรับอัตราเงินส่งเข้ากองทุนน้ำมันเชื้อเพลิงของน้ำมันเบนซิน น้ำมันแก๊สโซฮอล และน้ำมันดีเซลหมุนเร็ว ดังนี้ (ตามรูปตาราง)


จากการปรับอัตราเงินส่งเข้ากองทุนน้ำมันฯ ดังกล่าว จะส่งผลให้กองทุนน้ำมันฯ มีสภาพคล่องลดลงประมาณ 383 ล้านบาทต่อเดือน จากมีรายรับ 13 ล้านบาทต่อเดือน เป็นมีรายจ่าย 371 ล้านบาทต่อเดือน
ทั้งนี้ จากการโอนอัตราเงินกองทุนน้ำมันฯ เป็นอัตราภาษีสรรพสามิตจะทำให้รัฐมีรายได้เพิ่มขึ้น 800 ล้านบาทต่อเดือน จาก 15,252 ล้านบาทต่อเดือน เป็น 16,053 ล้านบาทต่อเดือน เพื่อนำไปใช้ประโยชน์ในการพัฒนาเศรษฐกิจของประเทศ รักษาสิ่งแวดล้อม ก่อสร้างและซ่อมบำรุงถนน และลดอุบัติเหตุจากการจราจร

*** รายงานการบริหารจัดการกรณีแหล่งก๊าซธรรมชาติ JDA – A18 ปิดซ่อมบำรุง ปี 2559
ที่ประชุม กบง. รับทราบแนวทางการบริหารจัดการและมาตรการรองรับกรณีแหล่งก๊าซธรรมชาติในพื้นที่พัฒนาร่วมไทย-มาเลเซีย (JDA – A18) หยุดซ่อมบำรุงประจำปี ระหว่างวันที่ 20 – 31 สิงหาคม 2559 รวม 12 วัน ซึ่งจะทำให้ปริมาณก๊าซหายไปจากระบบ ประมาณ 421 ล้านลูกบาศก์ฟุต/วัน และจะส่งผลกระทบต่อการผลิตไฟฟ้าในภาคใต้ ได้แก่ โรงไฟฟ้าจะนะ จังหวัดสงขลา ที่ต้องเปลี่ยนไปใช้เชื้อเพลิงอื่นทดแทน และบางส่วนจำเป็นต้องหยุดผลิต และผลกระทบต่อการจำหน่ายก๊าซฯ ของสถานีบริการก๊าซ NGV ในพื้นที่ภาคใต้ตอนล่าง (จังหวัดสุราษฎร์ธานี นครศรีธรรมราช และสงขลา) จำนวน 14 สถานี

เพื่อรองรับผลกระทบจากการหยุดซ่อมแหล่งก๊าซฯ ดังกล่าว กระทรวงพลังงานจึงได้เตรียมความพร้อม ดังนี้
– ด้านพลังงานไฟฟ้า –
—– ระบบผลิต ดำเนินการโดยให้โรงไฟฟ้าจะนะพร้อมเดินเครื่องด้วยดีเซล ตรวจสอบโรงไฟฟ้าภาคใต้ทั้งหมดให้พร้อมใช้งาน งดการหยุดเครื่องบำรุงรักษาโรงไฟฟ้า และประสานการไฟฟ้ามาเลเซียขอซื้อไฟฟ้าในกรณีฉุกเฉิน
—– เชื้อเพลิงสำรอง เตรียมการโดยให้มีการสำรองน้ำมันให้เพียงพอและเต็มความสามารถในการจัดเก็บ พร้อมทั้งประสานงานให้ ปตท. จัดส่งน้ำมันระหว่างการดำเนินงานเพื่อให้สามารถรองรับความล่าช้า 3 วัน
—– ระบบส่ง เตรียมความพร้อมโดยให้มีการตรวจสอบสายส่งและอุปกรณ์สำคัญในภาคใต้ให้พร้อมใช้งาน และงดการทำงานบำรุงรักษาระบบส่งในช่วงเวลาหยุดจ่ายก๊าซธรรมชาติ

– ด้านก๊าซ NGV –
—– การสำรอง NGV โดยให้มีการจัดส่งก๊าซ NGV จากสถานีหลักในเขตกรุงเทพ และปริมณฑล พร้อมสำรองก๊าซฯ ไว้ล่วงหน้าที่สถานีก๊าซฯ หลักจะนะ

– ด้านการประชาสัมพันธ์ –
เพื่อรณรงค์ให้ทุกภาคส่วนร่วมกันประหยัดพลังงานในช่วงที่มีการหยุดจ่ายก๊าซฯโดยเฉพาะการลดใช้ไฟฟ้าในช่วงเวลา 18.00 – 21.30 น. ซึ่งเป็นชั่วโมงที่ในพื้นที่ภาคใต้มีความต้องการใช้ไฟฟ้าสูงสุดของวัน ผ่านช่องทางการสื่อสารในรูปแบบต่างๆ อาทิ การติดป้าย Banner โปสเตอร์ การแจกใบปลิว การเผยแพร่ข่าวผ่านสื่อวิทยุและโทรทัศน์ การจัดประชุม/สัมมนา การพบปะสื่อมวลชนท้องถิ่น และการส่งจดหมายแจ้งผู้ที่เกี่ยวข้อง ฯลฯ

“พลังงานทดแทนในไทยยังมีศักยภาพสูงหลายด้าน และพร้อมส่งเสริมตามแผน AEDP”

ก.พลังงาน เผยข่าวดีภาคเอกชนสนใจลงทุนผลิตไฟฟ้าจากกระแสน้ำ ซึ่งเป็นพลังงานทดแทนรูปแบบใหม่ที่คาดว่าจะมีศักยภาพในหลายพื้นที่ ย้ำศักยภาพพลังงานทดแทนในไทยยังมีเหลือ และพร้อมส่งเสริมรอบด้านตามแผน AEDP

​นายสราวุธ แก้วตาทิพย์ ผู้อำนวยการสำนักนโยบายและยุทธศาสตร์ ในฐานะรองโฆษกกระทรวงพลังงาน เปิดเผยว่า นอกจากกลุ่มพลังงานทดแทนหลัก ๆ อาทิ แสงอาทิตย์ ลม ชีวมวล ก๊าซชีวภาพ ที่ประเทศไทยมีศักยภาพ และได้พัฒนาจนถือได้ว่า อยู่ลำดับต้นๆ ของกลุ่มประเทศในระดับอาเซี่ยนแล้วนั้น กระทรวงพลังงานพบว่า ขณะนี้ได้มีผู้ประกอบการภาคเอกชนได้สนใจและเริ่มลงทุน การผลิตไฟฟ้าจากกระแสน้ำ (Hydro kinetic electrical generation system) ซึ่งเป็นเทคโนโลยพลังงานทดแทนที่ใช้กังหันน้ำสร้างพลังงานจากการเคลื่อนไหวของน้ำ โดยแรงดันของน้ำจะส่งผลให้ใบพัดกังหันหมุน ซึ่งหากกระแสน้ำไหลแรงเท่าไร แรงหมุนของใบพัดก็จะแรงขึ้น โดยการหมุนของใบพัดดังกล่าวจะทำให้เกิดพลังงานไฟฟ้า
​ทั้งนี้ เทคโนโลยีการผลิตไฟฟ้าจากกระแสน้ำนี้ เป็นเทคโนโลยีที่ไม่มีความซับซ้อน ซึ่งขณะนี้ได้มีภาคเอกชน ได้ประยุกต์และเริ่มทดลองลงทุนติดตั้งระบบไว้แล้ว 2 จุด ประกอบด้วย ในบริเวณแพกลางแม่น้ำ จ.หนองคาย และในทะเล ที่พัทยา จ.ชลบุรี เป็นโครงการนำร่อง ขนาดกำลังผลิตประมาณ 330 กิโลวัตต์ โดยถือเป็นพลังงานทดแทนที่สร้างขึ้นจากการไหลของแม่น้ำในธรรมชาติ ซึ่งโดยปกติเทคโนโลยีนี้ ต้องการการไหลของน้ำอยู่ที่ 2.2 เมตรต่อวินาที และการผลิตพลังงานทดแทนจากกระแสน้ำนี้ จะสามารถผลิตพลังงานได้คงที่ และอาจจะผลิตได้ตลอด 24 ชั่วโมงเพื่อลดข้อจำกัดของพลังงานทดแทน ซึ่งปัจจุบันต่อ 1 เมกะวัตต์ จะต้องลงทุนประมาณ 300- 350 ล้านบาท จึงจำเป็นต้องมีการศึกษาถึงความคุ้มค่าในอนาคตต่อไป

สัมภาษณ์ ดร.อารีพงศ์ ภู่ชอุ่ม ปลัดกระทรวงพลังงาน “ผลิตไฟฟ้า พัฒนาเศรษฐกิจ ต้องหมั่นคิดให้รอบด้าน”

สกู๊ปสารคดีสั้น 2 นาที ชุด “เศรษฐกิจเดินหน้า ไฟฟ้ามั่นคง ส่งผลยั่งยืน” ตอน “ผลิตไฟฟ้า พัฒนาเศรษฐกิจ ต้องหมั่นคิดให้รอบด้าน” สัมภาษณ์ ดร.อารีพงศ์ ภู่ชอุ่ม ปลัดกระทรวงพลังงาน ออกอากาศในรายการ “เจาะประเด็นข่าวค่ำ”

ปลัดกระทรวงพลังงานของไทยประชุมร่วมกับปลัดกระทรวงพลังงานและไฟฟ้าของเมียนมาร์

ปลัดกระทรวงพลังงาน (ดร.อารีพงศ์ ภู่ชอุ่ม)เป็นประธานการประชุม The 4th Myanmar-Thailand Joint Working Committee Meeting on Electric Power Cooperation และ The 2nd Joint Working Committee Meeting on Energy Cooperation โดยมี U Htein Lwin ปลัดกระทรวงพลังงานและไฟฟ้าของเมียนมาร์เป็นประธานร่วม โดยหารือโอกาสในการลงทุน/ความร่วมมือทางด้านโรงไฟฟ้าพลังน้ำ การเชื่อมโยงโครงข่ายสายส่งพลังงาน/ปิโตรเลียม การพัฒนาบุคลากร เพื่อส่งเสริมความมั่นคงด้านพลังงานของทั้งสองประเทศและในภูมิภาคนี้ ณ กระทรวงพลังงาน เมื่อเช้าวันที่ 10 มิถุนายน 2559

 

ปลัดกระทรวงพลังงาน พร้อมทั้งคณะเจ้าหน้าที่กระทรวงพลังงานร่วมลงนามถวายพระพร พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว

 

วันนี้ (2 มิถุนายน 2559) ดร.อารีพงศ์ ภู่ชอุ่ม ปลัดกระทรวงพลังงาน พร้อมทั้งคณะเจ้าหน้าที่กระทรวงพลังงานร่วมลงนามถวายพระพร พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ณ ศาลาสหทัยสมาคม ในพระบรมมหาราชวัง ให้พระองค์ทรงมีพระพลานามัยสมบูรณ์แข็งแรง ด้วยสำนึกในพระมหากรุณาธิคุณของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ที่ทรงมีต่อประเทศชาติและปวงชนชาวไทยอย่างหาที่สุดมิได้

“พลังงาน” เร่งผลักดันมาตรการ Building Energy Code หวังเพิ่มประสิทธิภาพการใช้พลังงานในอาคารอย่างยั่งยืน


 

“พลังงาน” เร่งผลักดันมาตรการ Building Energy Code
หวังเพิ่มประสิทธิภาพการใช้พลังงานในอาคารอย่างยั่งยืน (เพิ่มเติม…)

“พลังงาน” และ “วช.” จัดพิธีปิดตลาดเพลินพลังงาน งานวิจัยขายได้ อย่างเป็นทางการ เผยยอดรายได้ตลอดการจัดงานกว่า 24 ล้านบาท ยอดประชาชนเที่ยวชมงานกว่า 5 หมื่นคน

“พลังงาน” และ “วช.” จัดพิธีปิดตลาดเพลินพลังงาน งานวิจัยขายได้ อย่างเป็นทางการ  เผยยอดรายได้ตลอดการจัดงานกว่า 24 ล้านบาท ยอดประชาชนเที่ยวชมงานกว่า 5 หมื่นคน พร้อมจัด MOU ต่อยอดงานวิจัยแก้ไขปัญหาขยะและกระตุ้นการลงทุนด้านพลังงานปิดท้าย ก่อนส่งป้ายต่อให้ “ก.ศึกษา” เป็นเจ้าภาพจัดงานต่อไป (เพิ่มเติม…)

การประชุมเชิงปฏิบัติการ เรื่อง ยุทธศาสตร์การส่งเสริมการค้าการลงทุนด้านพลังงาน

การประชุมเชิงปฏิบัติการ เรื่อง ยุทธศาสตร์การส่งเสริมการค้าการลงทุนด้านพลังงาน

สำนักความร่วมมือระหว่างประเทศ สำนักงานปลัดกระทรวงพลังงาน ได้จัดการประชุมเชิงปฏิบัติการ เรื่อง ยุทธศาสตร์การส่งเสริมการค้าการลงทุนด้านพลังงาน ของศูนย์ความร่วมมือด้านพลังงานระหว่างประเทศ โดยมีนายชวลิต พิชาลัย รองปลัดกระทรวงพลังงาน เป็นประธานกล่าวเปิดงาน (เพิ่มเติม…)

ผู้แทนกระทรวงพลังงาน ร่วมงานวันชาติรัฐกาตาร์

เมื่อวันที่ 17 ธันวาคม 2558 พลเอก อนันตพร กาญจนรัตน์ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงพลังงาน ได้มอบหมายให้ พลเอก สุรศักดิ์ ศรีศักดิ์ ที่ปรึกษารัฐมนตรีว่าการกระทรวงพลังงาน   เป็นผู้แทนของรัฐมนตรีว่าการกระทรวงพลังงาน เข้าร่วมแสดงความยินดีในโอกาสเฉลิมฉลองวันสถาปนาหรือวันชาติของรัฐกาตาร์ ครบรอบ 147 ปี นับตั้งแต่ปี พ.ศ. 2411 (ค.ศ. 1868)

(เพิ่มเติม…)

ปลัด กระทรวงพลังงานยืนยัน ครม. รับทราบการดำเนินงานชี้แจงทำความเข้าใจของกระทรวงพลังงาน

ปลัดกระทรวงพลังงานยืนยัน ครม. รับทราบการดำเนินงานชี้แจงทำความเข้าใจของกระทรวงพลังงานชี้ให้นำความเห็นจากการหารือส่งให้คณะกรรมการกฤษฎีกาพิจารณาก่อนนำเสนอ สนช. ต่อไป

ปลัดกระทรวงพลังงานยืนยันว่า เมื่อวันที่ 8 ธันวาคม 2558 คณะรัฐมนตรี (ครม.) รับทราบการดำเนินงานตามมติเมื่อวันที่ 4 สิงหาคม 2558 ที่ให้กระทรวงพลังงานชี้แจงทำความเข้าใจกับ คณะกรรมการวิสามัญศึกษาปัญหาการบังคับใช้พระราชบัญญัติปิโตรเลียม พ.ศ. 2514 และพระราชบัญญัติภาษีเงินได้ปิโตรเลียม พ.ศ. 2514  สภานิติบัญญัติแห่งชาติ และเพื่อให้เกิดความรอบคอบ ครอบคลุม  และครบถ้วนทางด้านกฎหมาย ที่ประชุมจึงมีมติให้คณะกรรมการกฤษฎีกาพิจารณาในรายละเอียด  ก่อนเสนอ สนช. ออกเป็นกฎหมายต่อไป

(เพิ่มเติม…)

ดร.คุรุจิต นาครทรรพ ปลัดกระทรวงพลังงาน พร้อมผู้บริหาร ข้าราชการ และเจ้าหน้าที่ ร่วมกิจกรรม Bike For Mom

วันนี้ 16 สิงหาคม 2558 ดร.คุรุจิต นาครทรรพ ปลัดกระทรวงพลังงาน พร้อมผู้บริหาร ข้าราชการ และเจ้าหน้าที่ ร่วมกิจกรรม Bike For Mom ปั่นเพื่อแม่กิจกรรมปั่นจักรยานเฉลิมพระเกียรติ สมเด็จพระนางเจ้าฯพระบรมราชินีนาถ

อ่านต่อคลิก

 

 

 

 

 

Page 3 of 3
1 2 3