พระราชบัญญัติข้อมูลข่าวสารของราชการ พ.ศ.2540
ผู้เขียน: narin_p
ศูนย์ข้อมูลข่าวสารของหน่วยงาน ภายใต้กำกับกระทรวงพลังงาน
- สำนักงานปลัดกระทรวงพลังงาน
- กรมพัฒนาพลังงานทดแทนและอนุรักษ์พลังงาน
- กรมธุรกิจพลังงาน
- กรมเชื้อเพลิงธรรมชาติ
- สำนักงานนโยบายและแผนพลังงาน
- บริษัท ปตท. จำกัด (มหาชน)
- การไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทย
- สำนักงานคณะกรรมการกำกับกิจการพลังงาน
E-Learning: การเรียนรู้ผ่านสื่ออิเล็กทรอนิกส์ : พระราชบัญญัติข้อมูลข่าวสารของราชการ พ.ศ. 2540
บทความเผยแพร่ความรู้ พ.ร.บ. ข้อมูลข่าวสารของราชการ พ.ศ. 2540
ความเป็นมาของศูนย์ข้อมูลข่าวสารของราชการ
ตามมาตรา 9 แห่งพระราชบัญญัติข้อมูลข่าวสารของราชการ พ.ศ. 2540 บัญญัติให้หน่วยงานของรัฐต้องจัดให้มีข้อมูลข่าวสารของราชการอย่างน้อยตามที่กฎหมายกำหนดไว้ให้ประชาชนเข้าตรวจดูได้ ประกอบกับได้มีประกาศคณะกรรมการข้อมูลข่าวสารของราชการ เรื่อง หลักเกณฑ์และวิธีการเกี่ยวกับการจัดให้มีข้อมูลข่าวสารของราชการไว้ให้ประชาชนเข้าตรวจดู ณ ที่ทำการของหน่วยงานของรัฐ โดยเรียกสถานที่ที่จัดเก็บรวบรวมข้อมูลข่าวสารและให้บริการว่า ศูนย์ข้อมูลข่าวสาร
ศูนย์ข้อมูลข่าวสารเป็นสถานที่ที่หน่วยงานของรัฐจัดรวบรวมข้อมูลข่าวสารไว้ให้ประชาชนสามารถค้นหาข้อมูลข่าวสารของราชการได้เอง ในเบื้องต้นคณะกรรมการข้อมูลข่าวสารของราชการพิจารณาเห็นว่า เพื่อไม่ให้เป็นภาระกับหน่วยงานของรัฐทั้งในด้านบุคลากร สถานที่และงบประมาณ จึงกำหนดให้หน่วยงานของรัฐที่ต้องจัดตั้งศูนย์ข้อมูลข่าวสารเฉพาะหน่วยงานของรัฐที่เป็นนิติบุคคลเท่านั้น ซึ่งหมายถึงหน่วยงานของรัฐที่เป็นราชการส่วนกลาง คือ กรม หน่วยงานเทียบเท่า ราชการส่วนภูมิภาค คือ จังหวัด และราชการส่วนท้องถิ่น คือ องค์การบริหารส่วนจังหวัด เทศบาล องค์การบริหารส่วนตำบล กรุงเทพมหานครและเมืองพัทยา จึงมีหน้าที่ตามกฎหมายที่จะต้องจัดตั้ง ศูนย์ข้อมูลข่าวสาร ตามประกาศ คณะกรรมการข้อมูลข่าวสารของราชการ
สำหรับหน่วยงานของราชการส่วนกลางที่ไปตั้งอยู่ในจังหวัดต่างๆ และไม่ขึ้นกับราชการส่วนภูมิภาค เช่น สำนักงานของส่วนราชการ สังกัด กระทรวงการคลัง สำนักงานเขต หรือ สำนักงานภาคของหน่วยงานต่างๆ เป็นต้น ต้องจัดตั้งศูนย์ข้อมูลข่าวสารของหน่วยงานขึ้น โดยต้องมีข้อมูลข่าวสารตามมาตรา 7 และมาตรา 9 เท่าที่หน่วยงานนั้น มีอยู่ แสดงไว้ด้วย
จากเหตุผลของการประกาศใช้พระราชบัญญัติ คือ การให้ประชาชนมีโอกาสอย่างกว้างขวางในการได้รับรู้ข้อมูลข่าวสารเกี่ยวกับการดำเนินการต่างๆ ของรัฐ หลักการและแนวคิด ประการหนึ่ง ก็คือ ต้องให้ประชาชนได้รับความสะดวกในการเข้าถึงข้อมูลข่าวสารของราชการ โดยเฉพาะอย่างยิ่งข้อมูลข่าวสารตามมาตรา 9 ที่กฎหมายบังคับให้หน่วยงานของรัฐต้องจัดไว้ให้ประชาชนเข้าตรวจดูได้ เพราะเป็นเรื่องที่ประชาชนควรรู้ ดังนั้น การจัดศูนย์ข้อมูลข่าวสารนั้น การจัดสถานที่ การจัดข้อมูลข่าวสาร วิธีการค้นหา ทั้งจากบัตรดัชนีรายการ/ระบบคอมพิวเตอร์ รวมทั้งการค้นหา หยิบเอกสารตรวจดูและศึกษา ต้องคำนึงถึงความสะดวกของประชาชนเป็นสำคัญ สามารถค้นหา ศึกษาได้โดยสะดวก มิใช่ต้องคอยสอบถามหรือขอให้เจ้าหน้าที่ช่วยเหลือมากเกินสมควร อันจะทำให้การตรวจดูหยุดชะงัก และขาดความเป็นส่วนตัว
3 ข้อควรรู้ เกี่ยวกับถ่านหินเทคโนโลยีสะอาด
1. เชื้อเพลิงถ่านหินเป็นเชื้อเพลิงที่ราคาไม่แพง เมื่อเทียบกับเชื้อเพลิงก๊าซปิโตรเลียมเหลว หรือ LNGรวมทั้งถ่านหินยังมีแหล่งที่มา ซึ่งมีความหลากหลาย และมีสำรองอยู่มากในโลก ข้อดี คือ ต้นทุนต่ำ และมีราคาค่อนข้างเสถียร
2. มีเทคโนโลยีที่ดีสามารถบริหารจัดการได้ ปัจจุบันได้มีเทคโนโลยีที่มีความก้าวหน้าในการดักจับมลสาร และมีเทคโนโลยีที่ทำให้การเผาไหม้หมดจดมากขึ้นโดยทางเลือกโรงไฟฟ้าถ่านหินเทคโนโลยีสะอาด ซึ่งเป็นทางเลือกโรงไฟฟ้าตามแผนพัฒนากำลังผลิตไฟฟ้าหรือ PDP เช่นที่ อ.เทพา จังหวัดสงขลาและที่จังหวัดกระบี่ ของการไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทย (กฟผ.) จะได้ใช้เทคโนโลยีซึ่งขณะนี้มีความทันสมัยที่สุดในโลก คือ เทคโนโลยี Ultra Super Critical หรือ USC ซึ่งเป็นเทคโนโลยีที่สูงกว่ารุ่นเก่ามากและยืนยันได้ว่าจะลดการปลดปล่อยมลสาร อาทิ ก๊าซซัลเฟอร์ไดออกไซด์ให้ออกสู่บรรยากาศ ได้เทียบเคียงกับมาตรฐานสากล
3. กระจายความเสี่ยงด้านเชื้อเพลิงพลังงาน ประเทศไทย ยังมีความจำเป็นต้องเพิ่มทางเลือกด้านเชื้อเพลิงพลังงานมาใช้ในการผลิตไฟฟ้า เนื่องจากต้องกระจายความเสี่ยงด้านการพึ่งพาพลังงานชนิดใดชนิดหนึ่งมากเกินไป ซึ่งประเทศไทย ใช้ก๊าซธรรมชาติในการผลิตไฟฟ้าในสัดส่วนที่มากเกินไปและเราต้องสร้างสมดุลใหม่ในการเลือกใช้เชื้อเพลิงผลิตไฟฟ้าให้มีความหลากหลายมากขึ้น โดยมีแผนการที่จะกำหนดเชื้อเพลิงทางเลือกอื่นๆ มาผลิตไฟฟ้าผสมผสานกันด้วย