กระทรวงพลังงาน ขอชี้แจงประเด็นข้อกล่าวหาการบริหารนโยบายพลังงานเอื้อประโยชน์ให้กลุ่มทุน

กระทรวงพลังงาน ขอชี้แจงประเด็นข้อกล่าวหาการบริหารนโยบายพลังงานเอื้อประโยชน์ให้กลุ่มทุน

  1. กรณีรัฐบาลใช้กองทุนน้ำมันที่ไม่มีกฎหมายรองรับเป็นเครื่องมืออำพรางกลไกตลาด แต่สร้างกำไรให้กลุ่มทุนน้ำมันจริงหรือไม่

คำชี้แจง

1.1 การจัดตั้งกองทุนน้ำมันเชื้อเพลิงถูกต้องตามกฎหมาย เนื่องจากกองทุนน้ำมันเชื้อเพลิง จัดตั้งขึ้นตามคำสั่งนายกรัฐมนตรีที่ 4/2547 ลงวันที่ 23 ธันวาคม 2547 เรื่อง กำหนดมาตรการเพื่อการแก้ไขและป้องกันภาวะการขาดแคลนน้ำมันเชื้อเพลิง โดยอาศัยอำนาจตามความในมาตรา 3 แห่งพระราชกำหนดแก้ไขและป้องกันภาวะการขาดแคลนน้ำมันเชื้อเพลิง พ.ศ. 2516 และกองทุนฯดำเนินการตั้งแต่ 2519 มิใช่เป็นกองทุนเถื่อนแต่อย่างใด

อนึ่ง พระราชกำหนดแก้ไขและป้องกันภาวะการขาดแคลนน้ำมันเชื้อเพลิง พ.ศ. 2516 ฉบับดังกล่าวได้มีการนำเสนอต่อ สภานิติบัญญัติแห่งชาติ ซึ่งได้ลงมติอนุมัติ เมื่อวันที่ 25 มกราคม 2517 และได้ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง การอนุมัติพระราชกำหนดแก้ไขและป้องกันภาวะการขาดแคลนน้ำมันเชื้อเพลิง พ.ศ. 2516 และประกาศในราชกิจจานุเบกษา เมื่อวันที่ 12 กุมภาพันธ์ 2517 เรียบร้อยนานแล้ว

1.2 กองทุนน้ำมันฯ มีวัตถุประสงค์ที่จะเป็นเครื่องมือของรัฐในการรับประกันความมั่นคงด้านพลังงานของประเทศ และป้องกันภาวะน้ำมันขาดแคลน ซึ่งกลไกการใช้กองทุนฯ จะใช้ประกอบให้สอดคล้องกับกลไกตลาด ลดการบิดเบือนโครงสร้างการใช้น้ำมัน (ดังเช่น รัฐบาลในอดีต เคยใช้กลไกกองทุนฯ ทำให้ราคาเบนซินและดีเซลบิดเบือนและต่างกันมากถึง 40%) และสร้างความเป็นธรรมให้ทุกภาคส่วน

  1. มีการระบุว่ารัฐบาลทำการชดเชยราคาข้ามเชื้อเพลิง (Cross-Subsidy) เพื่อชดเชยค่าการตลาด E20, E85

คำชี้แจง

2.1 กระทรวงพลังงาน ได้มีนโยบายส่งเสริมพลังงานทดแทนอย่างยั่งยืนตามแผนพัฒนาพลังงานทดแทนและพลังงานทางเลือก (AEDP) โดยเป้าหมายภายในปี 2579 ต้องมีการใช้เอทานอล 11.3 ล้านลิตรต่อวัน โดยกรมธุรกิจพลังงานประกาศกำหนดให้น้ำมันแก๊สโซฮอล มีส่วนผสมของเอทานอลตั้งแต่ร้อยละ 10 ถึงร้อยละ 85 และสำหรับกลยุทธ์นโยบายด้านราคาจะ “กำหนดให้น้ำมันแก๊สโซฮอลที่มีส่วนผสมของเอทานอลมากกว่า ให้มีราคาถูกกว่าน้ำมันแก๊สโซฮอลที่มีส่วนผสมของเอทานอลน้อยกว่า” ทั้งๆ ที่ต้นทุนน้ำมันแก๊สโซฮอล E85 สูงกว่าแก๊สโซฮอล E20 และแก๊สโซฮอล E10 ตามลำดับ แต่เมื่อภาครัฐได้ยกเว้นภาษีสรรพสามิตและใช้กองทุนน้ำมันเข้ามาสร้างส่วนต่างราคา ตลอดจนบริหารจัดการค่าการตลาดที่เหมาะสม จึงทำให้น้ำมันแก๊สโซฮอล E85 กลับมามีราคาถูกกว่าแก๊สโซฮอล E20 และแก๊สโซฮอล E10 ตามลำดับ

ดังนั้นสิ่งที่กระทรวงพลังงานดำเนินการคือ “การสร้างส่วนต่างราคา” มิใช่ชดเชยค่าการตลาดให้แก่น้ำมันแก๊สโซฮอล E20  และน้ำมันแก๊สโซฮอล E85 ดังที่กล่าวหาแต่อย่างใด

2.2 ทั้งนี้ หากปล่อยให้กลไกราคาเป็นไปตามธรรมชาติ (ราคาเรียงลำดับตามต้นทุนเนื้อน้ำมันของ

แต่ละประเภท) แผน AEDP ที่จะส่งเสริมการใช้น้ำมันที่มีส่วนผสมของเอทานอลหรือที่ผสมน้อยกว่า (E10) คือ E20 และ E85 จะไม่สามารถบรรลุเป้าหมายตามนโยบายได้เลย เนื่องจากราคา E85 และ E20 จะสูงกว่าน้ำมันเบนซินที่ไม่ผสมเอทานอล น้ำมัน E85 มีอัตราการสิ้นเปลืองสูงกว่าน้ำมันชนิดอื่น ดังนั้น การสร้างส่วนต่างราคาระหว่าง E10 และ E85 จึงต้องให้ครอบคลุมการชดเชยอัตราสิ้นเปลือง พร้อมทั้งเพื่อเป็นสิ่งจูงใจให้ประชาชนเปลี่ยนมาใช้พลังงานทดแทนเพิ่มมากขึ้น การใช้กลไกของภาครัฐที่ทำให้มีราคาที่ต่ำกว่าก็ถือว่ามีความคุ้มค่า และเป็นประโยชน์ต่อประชาชนอีกทางหนึ่งด้วย

2.3 ภาครัฐได้มีนโยบายสนับสนุนให้คนไทยใช้น้ำมันแก๊สโซฮอลอย่างต่อเนื่อง ยิ่งเพิ่มสัดส่วนการใช้เอทานอลมากขึ้นเท่าใด ยิ่งเป็นการสร้างทางเลือกในการใช้ประโยชน์จากพืชผลทางการเกษตร เสริมสร้างเสถียรภาพราคาพืชผลการเกษตรในทางอ้อม ลดการใช้เชื้อเพลิงฟอสซิล อีกทั้งช่วยชาติลดการพึ่งพาพลังงานจากต่างประเทศ ส่งเสริมสิ่งแวดล้อม และสร้างความมั่นคงทางพลังงานให้กับประเทศมากเท่านั้น

  1. กล่าวหาว่าบิดเบือนกลไกตลาดของเอทานอล ทำให้มีราคาแพงกว่าปกติ

คำชี้แจง

3.1 ราคาเอทานอลที่ใช้ในการคำนวณโครงสร้างราคาน้ำมันในปัจจุบันเป็นราคาที่มีการปรับกลไกแล้ว จากเดิมที่เป็นระบบประกันต้นทุนการผลิตหรือ Cost Plus มาเป็นระบบที่สะท้อนกลไกตลาดมากขึ้น โดยเป็นระบบที่เลือกราคาต่ำสุดระหว่างราคาที่ผู้ผลิตเอทานอลรายงานต่อกรมสรรพสามิตกับราคาเอทานอลที่ผู้ค้ามาตรา 7 (บริษัทน้ำมันในฐานะผู้ซื้อเอทานอล) รายงานตรงต่อ สนพ. โดยเดิมที่เคยใช้ระบบ Cost Plus จะคำนวณราคาเอทานอลเพื่อนำไปใช้ในการคำนวณโครงสร้างราคาน้ำมันกลุ่มแก๊สโซฮอล (E10, E20 และ E85) ได้ใช้ระบบการประกันต้นทุนการผลิต (Cost Plus) โดยใช้ต้นทุนวัตถุดิบการผลิต 2 ชนิดคือ

มันสำปะหลังและกากน้ำตาลแต่พบปัญหาของการคำนวณคือราคากากน้ำตาลที่ใช้เป็นราคากากน้ำตาลส่งออกและมีราคาสูงซึ่งไม่สะท้อนตลาดภายในประเทศ อีกทั้งในช่วงต่อๆ มาได้มีจำนวนผู้ผลิตเอทานอลเพิ่มมากขึ้น เพื่อส่งเสริมให้เกิดการแข่งขันและการผลิตที่มีประสิทธิภาพมากขึ้นจึงได้มีการปรับเปลี่ยนหลักเกณฑ์การคำนวณราคาเอทานอลจากระบบ Cost Plus มาเป็นระบบปัจจุบัน โดยเป็นระบบที่เลือกตัวต่ำสุดของข้อมูลจากสองแหล่ง ทำให้ได้ราคาเอทานอลที่มีฐานต่ำสุดเป็นเกณฑ์ในการนำไปคำนวณโครงสร้างราคาน้ำมันกลุ่มแก๊สโซฮอล

สำหรับการสร้าง “ส่วนต่างราคา” เป็นกลยุทธ์สำคัญในการส่งเสริมที่ใช้ขับเคลื่อนการใช้เอทานอลในภาคขนส่งเป็นส่วนหนึ่งของการดำเนินการตามแผนพัฒนาพลังงานทดแทนและพลังงานทางเลือก (AEDP 2015) ในการสนับสนุนการใช้เชื้อเพลิงชีวภาพตามศักยภาพการผลิตของวัตถุดิบทางการเกษตรโดยมีการประมาณว่าจะมีศักยภาพในการผลิตและใช้เอทานอล 11.3 ล้านลิตรต่อวันในปี 2579 ปัจจุบันมีการใช้เอทานอลในประเทศอยู่ในระดับ 3.90 ล้านลิตรต่อวัน ดังนั้นการมีกลไกการสร้าง “ส่วนต่างราคา” ระหว่าง E10, E20 และ E85 จะคำนวณให้สะท้อนถึงค่าความร้อนหรืออัตราการสิ้นเปลืองเชื้อเพลิง รวมทั้งการสร้างความจูงใจในการขยายปั๊มที่จำหน่าย  E20 และ E85 ซึ่งเป็นกลยุทธ์สำคัญในการขับเคลื่อนยุทธศาสตร์เชื้อเพลิงชีวภาพ

4.กรณีระบุว่า รัฐบาลบริหารนโยบายพลังงานผิดพลาด เพราะการยกเลิกเพดานราคาก๊าซหุงต้ม (LPG) จากโรงแยกก๊าซที่เคยกำหนดไว้ต่ำกว่าราคาตลาดโลกที่ 333 เหรียญสหรัฐฯ ต่อตัน กำหนดใหม่เป็น 498 เหรียญสหรัฐฯ ต่อตัน สูงกว่าราคาตลาดโลก แล้วยังยกเลิกสูตรตั้งราคาก๊าซฯ จากโรงกลั่น 76-24 เปลี่ยนเป็นใช้ราคานำเข้าบวกค่าขนส่ง-ค่าใช้จ่าย-ค่าประกัน ส่งผลราคาก๊าซพุ่งสูงขึ้น ทำให้ประชาชนได้รับความเดือดร้อน พร้อมระบุว่าการใช้กองทุนน้ำมันตรึงราคาก๊าซหุงต้ม ให้อยู่ถังละ 363 บาท เท่ากับเอาเงินประชาชนไปจ่ายให้กลุ่มทุน แทนที่จะกลับไปใช้การสร้างสมดุลแบบเดิม

คำชี้แจง

กระทรวงพลังงาน ได้มีการปรับกลไกราคา LPG มาอย่างเป็นขั้นเป็นตอนหลายครั้ง ทั้งนี้เพื่อวัตถุประสงค์ที่จะส่งเสริมการแข่งขัน ลดการผูกขาดและมุ่งหวังให้ราคาสะท้อนต้นทุนอย่างแท้จริง โดย

1) ยกเลิกการควบคุมราคา

2) ปรับให้มีมาตรฐานราคาอ้างอิง – (ปัจจุบันใช้ราคา FOB Arab Gulf หรือที่เรียกย่อว่า LPG Cargo) แทนการควบคุมราคาแบบกำหนดตายตัว ตามที่ผู้ร้องกล่าวอ้าง พร้อมกับให้มีกลไกการกำกับราคา LPG จากโรงแยกก๊าซ (ซึ่งต้นทุนต่ำ) โดยให้มีราคาตามต้นทุนการผลิตที่แท้จริง (อ้างอิงระบบราคา Cost Plus ที่ สนพ. ศึกษาไว้เมื่อปี 2558) และหากราคาตามต้นทุนฯ นี้ ต่ำกว่าราคาอ้างอิง ก็จะเก็บเงินจากโรงแยกก๊าซฯ เข้ากองทุนน้ำมันฯ (ใช้ย่อว่า “กองทุน#1) เพื่อนำเงินที่เก็บเข้าส่วนนี้มาแบ่งเบาภาระอุดหนุนราคาที่ปลายทาง (ใช้ย่อว่า “กองทุน#2”) ถือว่าเป็นการสร้างสมดุล เพราะเป็นการเก็บเงินจากผู้ผลิตที่มีต้นทุนต่ำ นำมาช่วยจ่ายการอุดหนุนราคา ทั้งนี้ ในช่วงแรกเริ่มของการปรับระบบลักษณะนี้ จะปรับปรุงทุกๆ เดือน จนเมื่อพฤศจิกายน 2560 ที่ได้เริ่มทดลองเป็นรายสัปดาห์ ด้วยคาดหวังว่า กลไกการค้าก๊าซ LPG จะคล้ายกลไกการค้าน้ำมันเชื้อเพลิง และนำมาสู่การแข่งขันที่เข้มข้นมากขึ้น

 

ข้อกำหนดการศึกษา (Term of Reference: TOR)การประเมินสิ่งแวดล้อมระดับยุทธศาสตร์ฯ (Thai/English)

ข้อกำหนดการศึกษา (Term of Reference: TOR)การประเมินสิ่งแวดล้อมระดับยุทธศาสตร์ฯ (Thai Version) คลิกที่นี่

ข้อกำหนดการศึกษา (Term of Reference: TOR)การประเมินสิ่งแวดล้อมระดับยุทธศาสตร์ฯ (English Version)
Download  Click

 

ประเด็นคำถาม
การศึกษาการประเมินสิ่งแวดล้อมระดับยุทธศาสตร์สำหรับพื้นที่จัดตั้งโรงไฟฟ้าถ่านหินในภาคใต้  คลิกที่นี่

กระทรวงพลังงาน เป็นเจ้าภาพประชุมเวที ASEAN + 3

กระทรวงพลังงาน เป็นเจ้าภาพประชุมเวที ASEAN + 3 ด้านตลาดน้ำมัน ก๊าซธรรมชาติ แผนการสำรองน้ำมัน และหารือเพื่อสร้างความมั่นคงด้านพลังงาน ระหว่าง 27 – 30 มี.ค. ชี้ที่ประชุมฯ เชื่อน้ำมันยังเป็นเชื้อเพลิงสำคัญ ที่มีการลงทุนต่อเนื่องท่ามกลางยุคยานยนต์ไฟฟ้า พร้อม LNG จะเกิดการพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานต่อเนื่อง ระบุในอนาคตมีโอกาสสำรองน้ำมันร่วมกันในภูมิภาค

ระหว่างวันที่ 27 – 30 มี.ค. 2561 ที่ผ่านมา กระทรวงพลังงานได้รับเกียรติเป็นเจ้าภาพจัดการประชุมสำคัญด้านตลาดการค้าน้ำมันและก๊าซธรรมชาติ แผนงานการสำรองน้ำมัน และด้านความมั่นคงด้านพลังงาน ภายใต้ความร่วมมือ ASEAN+3 ได้แก่ การประชุม The 7th ASEAN+3 Oil Market and Natural Gas Forum (OM&NG) and Business dialogue , The 6th Workshop of the ASEAN+3 Oil Stockpiling Road Map (OSRM) , The 15th ASEAN+3 Energy Security Forum (ESF)

การประชุมฯ ครั้งนี้ มีผู้แทนจากประเทศสมาชิกอาเซียนบวก 3 (จีน ญี่ปุ่น และเกาหลีใต้) คณะมนตรีอาเซียนด้านปิโตรเลียม หรือ ASEAN Council on Petroleum (ASCOPE) ศูนย์พลังงานอาเซียน ASEAN Centre on Energy (ACE) และสถาบันการเงิน อาทิ Asian Development Bank (ADB) เป็นต้น ซึ่งในที่ประชุม ฯ มีการหารือเกี่ยวกับการส่งเสริมความมั่นคงด้านพลังงาน แลกเปลี่ยนข้อมูล ประสบการณ์ และข้อคิดเห็น ตลอดจนแนวทางความร่วมมือระหว่างชาติสมาชิกอาเซียนบวกสามในอนาคต และพิธีเปิดการประชุมฯ เมื่อวันที่ 27 มีค. ได้รับเกียรติจากนายประเสริฐ สินสุขประเสริฐ ผู้ตรวจราชการกระทรวงพลังงานเป็นประธาน

ทั้งนี้ ข้อสรุปจากการหารือร่วมกันในประชุม ฯ ที่สำคัญ ๆ ได้แก่
1.) เวทีด้านตลาดน้ำมันก๊าซธรรมชาติ และการหารือภาคธุรกิจพลังงาน
ที่ประชุม ฯ มีความเห็นว่า ปัจจุบันน้ำมันยังเป็นเชื้อเพลิงสำคัญ แม้ว่าจะมีพลังงานทดแทนและเทคโนโลยีสมัยใหม่เข้ามา เช่น พลังงานแสงอาทิตย์ พลังงานลม รถยนต์ไฟฟ้า และระบบกักเก็บพลังงาน โดยโดยสถาบันวิจัยระหว่างประเทศหลายแห่ง คาดการณ์ว่าความต้องการด้านน้ำมันและก๊าซธรรมชาติ และLNG ในภูมิภาคอาเซียนจะเพิ่มขึ้น โดยเฉพาะก๊าซธรรมชาติคาดว่าจะเพิ่มขึ้นอย่างน้อย 33% ในปี 2573 (หากการดำเนินธุรกิจเป็นเช่นนี้ในอนาคต) และศักยภาพในการลงทุนด้านโครงสร้างพื้นฐานยังมีสูง เช่น ท่าเรือรองรับ LNG และโครงข่ายท่อก๊าซธรรมชาติ ซึ่งสะท้อนถึงโอกาสในการลงทุนที่เพิ่มขึ้นของตลาดน้ำมันและก๊าซธรรมชาติในภูมิภาค

โดยในเวทีการประชุมฯ ยังได้เชิญสถาบันการเงิน เช่น ADB หรือผู้เชี่ยวชาญจากญี่ปุ่นในการนำเสนอแหล่งทุนจากญี่ปุ่น ซึ่งได้เปิดโอกาสให้สมาชิกอาเซียนพบปะ และถือโอกาสรับการสนับสนุนทางด้านการเงิน ในการลงทุนในมิติต่างๆ อาทิ โรงไฟฟ้าจากเชื้อเพลิงก๊าซธรรมชาติที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม การพัฒนาแหล่งก๊าซธรรมชาติ การขนส่งและกระจายก๊าซธรรมชาติไปยังโรงแยกก๊าซ การกระจายผลิตภัณฑ์จากปิโตรเลียม ตลอดจน การพัฒนาเพื่อเพิ่มประสิทธิภาพและความปลอดภัยในด้านการขนส่งน้ำมันและ LNG ซึ่งถือว่าเป็นการส่งเสริมเรื่องการซื้อขายไฟฟ้าและก๊าซธรรมชาติในภูมิภาคอีกด้วย

นอกจากนี้ ตลาดในภูมิภาคอาเซียน ซึ่งเป็นตลาดใหม่ด้าน LNG จะได้รับการช่วยเหลือจากญี่ปุ่น โดย Japan Oil, Gas and Metals National Corporation (JOGMEC) ในการจัด Capacity Building Training Programme on LNG รวมทั้งด้านต่างๆ ที่เกี่ยวข้อง ซึ่งจะเริ่มดำเนินการในปี 2561 และประเทศไทยจะได้ประโยชน์จากกิจกรรมนี้ เพื่อส่งเสริมในเรื่องการเป็นตลาด LNG ของภูมิภาคในอนาคตต่อไป

2.) เวทีด้านการสำรองน้ำมัน
ที่ประชุม ฯ ได้หารือแนวทางการจัดทำยุทธศาสตร์การสำรองน้ำมันในภูมิภาคอาเซียน ซึ่งถือว่ามีความจำเป็นในการเสริมสร้างความมั่นคงทางด้านพลังงานของอาเซียนในอนาคต เนื่องจากระดับการพัฒนาการสำรองน้ำมันในแต่ละประเทศในภูมิภาคนี้มีความแตกต่างกัน ทั้งในเชิงนโยบาย กฎหมายและแนวทางปฏิบัติ ซึ่งประเทศญี่ปุ่นโดย The Institute of Electrical Engineers of Japan (IEEJ) ได้นำเสนอผลการศึกษาศักยภาพของการสำรองน้ำมัน รวมทั้งหารือแนวทางความร่วมมือในการสำรองน้ำมันทางยุทธศาสตร์ และการพัฒนาขีดความสามารถของสมาชิกอาเซียนต่อไปในอนาคต ทั้งนี้ ชาติในอาเซียนยังคงต้องการเงินลงทุน และการเสริมสร้างศักยภาพจากประเทศจีน ญี่ปุ่น และเกาหลีใต้ เพื่อพัฒนาการสำรองน้ำมันเชิงยุทธศาสตร์ โดยญี่ปุ่นได้เสนอแนวทางการศึกษา และพัฒนาขีดความสามารถให้บุคลากรอาเซียน ซึ่งไทยจะได้รับประโยชน์ในการเข้าร่วมดังกล่าวด้วย
3.) เวทีด้านความมั่นคงพลังงาน ที่ประชุม ฯ ได้มีการนำเสนอผลการศึกษาเกี่ยวกับแนวโน้มของตลาดพลังงานโลกและอาเซียน ซึ่งคาดว่าความต้องการใช้พลังงานในภูมิภาคอาเซียนและบวกสาม (จีน ญี่ปุ่น เกาหลี) ยังคงเป็นภูมิภาคที่มีความต้องการใช้พลังงานมากที่สุดภูมิภาคหนึ่งของโลก โดยถ่านหินและเทคโนโลยีถ่านหินสะอาดยังเป็นแหล่งเชื้อเพลิงสำคัญในภูมิภาคนี้ในอนาคต นอกจากนี้ ที่ประชุมได้มีการหารือแนวทางในการส่งเสริมความมั่นคงด้านพลังงานในมิติของน้ำมันและก๊าซธรรมชาติ ในเชิงการสำรองน้ำมันในอาเซียนและการพัฒนาความตกลงอาเซียนว่าด้วยความมั่นคงทางปิโตรเลียม (ASEAN Petroleum Security Agreement : APSA) ให้สามารถนำมาใช้ในเชิงปฏิบัติได้ในอนาคต ตลอดจนหาแนวทางเพิ่มศักยภาพของอาเซียนโดยนำมิติของเทคโนโลยีถ่านหินสะอาด รวมทั้งสนับสนุนความร่วมมือให้มากขึ้นจากประเทศบวกสาม (จีน ญี่ปุ่น เกาหลี)

การพัฒนาศูนย์ข้อมูลภาครัฐ Government Data Center Modernization และตอบแบบสารวจการพัฒนาศูนย์ข้อมูล

เอกสารประกอบศูนย์ข้อมูลภาครัฐ Government Data Center Modernization:

แบบสำรวจศูนย์ข้อมูลภาครัฐ Government Data Center Modernization :

สำนักงานรัฐบาลอิเล็กทรอนิกส์ (องค์การมหาชน) (สรอ.)ได้ดำเนินการสำรวจกับหน่วยงาน ปี 2558 และ 2560 โดยสามารถดาวน์โหลดผลการสำรวจฯ ของหน่วยงาน ได้จาก Link ดังนี้

คำถามที่พบบ่อยเกี่ยวกับแบบสอบถาม :

เอกสารอ้างอิง :

วีดีโอการบรรยาย :

ณ บริษัท กสท โทรคมนาคม จำกัด (มหาชน) ห้องประชุมใหญ่ ชั้น 30 อาคารแคททาวเวอร์ (CAT Tower) เลขที่ 72 ถนนเจริญกรุง แขวงบางรัก เขตบางรัก กรุงเทพมหานคร

OMNG

The Ministry of Energy, Thailand is honored and privileged to host the 7th ASEAN +3 Oil market and natural gas forum and businesses dialogue/the 6th workshop of the ASEAN+3 oil stockpiling road map/15th ASEAN+3 Energy Security forum from 27-30 March 2018. For your further information, please click on the link below to download the related documents.

Day 1 (27 March 2018)

 

Day 2 (28 March 2018)

 

Day 3 (29 March 2018)

Day 4 (30 March 2018)

 

 

 

 

 

รับสมัครบุคคลขึ้นทะเบียนผู้ทรงคุณวุฒิ ประจำปี 2561

รับสมัครบุคคลขึ้นทะเบียนผู้ทรงคุณวุฒิ ประจำปี 2561 เพื่อเข้ารับกำรพิจารณาเป็น “คณะกรรมการรับฟังความคิดเห็นของประชาชนและผู้มีส่วนได้เสียสำหรับโครงการหรือกิจการที่อาจก่อให้เกิดผลกระทบต่อชุมชนอย่างรุนแรงทั้งทางด้านคุณภาพสิ่งแวดล้อม ทรัพยากรธรรมชาติและสุขภาพ” ตามประกำศกระทรวงทรัพยากรธรรมชำติและสิ่งแวดล้อม

รายละเอียดเพิ่มเติม คลิกที่นี่

รายชื่อร้านค้าที่จำหน่ายก๊าซหุงต้ม ที่ได้รับการติดตั้งเครื่อง EDC เรียบร้อยแล้ว

รายชื่อร้านค้าที่จำหน่ายก๊าซหุงต้ม ที่ได้รับการติดตั้งเครื่อง EDC เรียบร้อยแล้ว   คลิกที่นี่

แนวทางการจัดการประชารัฐสวัสดิการ การให้ความช่วยเหลือผ่านบัตรสวัสดิการแห่งรัฐ (ส่วนลดค่าซื้อก๊าซหุงต้ม) คลิกที่นี่

กระทรวงพลังงานเนรมิต “อาคารศาลาไทย” พร้อมโชว์ “พลังงานชีวภาพ เพื่อมนุษยชาติ” ใน Astana Expo 2017

กระทรวงพลังงาน เตรียมโชว์ศักยภาพการพัฒนาพลังงานชีวภาพของประเทศไทย ดินแดนแห่งพืชผลพลังงาน ในงาน Astana Expo2017 ณ กรุงอัสตานา สาธารณรัฐคาซัคสถาน พร้อมเนรมิตอาคารศาลาไทย ภายใต้แนวคิด “Bioenergy for All” ดึงนานาชาติพัฒนาพลังงานชีวภาพเพื่อมนุษยชาติ ตั้งเป้าอาคารศาลาไทยติดอันดับพาวิลเลียนที่มีผู้เข้าชมสูงสุด

(22 พ.ค.60) พลเอกอนันตพร กาญจนรัตน์ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงพลังงาน เปิดเผยว่าขณะนี้ประเทศไทยมีความพร้อมในการเข้าร่วมงาน International Exposition 2017 หรือ Astana Expo 2017 ซึ่งจัดขึ้นภายใต้หัวข้อหลัก “พลังงานแห่งอนาคต (Future Energy)” ณ กรุงอัสตานา สาธารณรัฐคาซัคสถาน ระหว่างวันที่ 10 มิถุนายนถึงวันที่ 10 กันยายน 2560 โดย “อาคารศาลาไทย” (Thailand pavilion) พร้อมเปิดให้ผู้เข้าร่วมงานจากประเทศต่างๆ กว่า 115 ประเทศ ทั่วโลก เข้าชมเต็มรูปแบบ มั่นใจว่าอาคารศาลาไทยจะเป็นหนึ่งในพาวิลเลียนยอดนิยมที่มีจำนวนผู้เยี่ยมชมกว่า 5 แสนคน

“ประเทศไทยเรามีศักยภาพในด้านพลังงานชีวภาพอย่างมาก เพราะเราเป็นประเทศที่อุดมสมบูรณ์ทางด้านเกษตรกรรม การไปโชว์ศักยภาพในงานระดับโลกครั้งนี้ กระทรวงพลังงานจึงได้นำข้อมูล ความรู้ ความเข้าใจด้านพลังงานชีวภาพของไทย รวมทั้งข้อมูลด้านการเกษตรที่เชื่อมโยงไปสู่การพัฒนาพลังงาน ซึ่งประเทศไทยมีความก้าวหน้าอย่างมากในการพัฒนาพลังงานชีวภาพ (Bioenergy) จากการน้อมนำพระราชดำริของพระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลเดช พระบิดาแห่งการพัฒนาพลังงานไทยมาเป็นแนวทางในการพัฒนาโครงการด้านพลังงาน และปัจจุบันกระทรวงพลังงานก็มีนโยบายในการผลักดันให้เกิดนวัตกรรมด้านพลังงานใหม่ๆ การส่งเสริมการวิจัยและพัฒนาเกี่ยวกับด้านพลังงาน เพื่อต่อยอดธุรกิจเกี่ยวกับพลังงานของประเทศให้เติบโตและก้าวหน้า อีกทั้งยังได้แสดงศักยภาพการท่องเที่ยว การผลิตอาหารในฐานะครัวของโลกของประเทศไทย รวมทั้งยังกระชับความสัมพันธ์กับหลากหลายประเทศ โดยเฉพาะสาธารณรัฐคาซัคสถาน และกลุ่มประเทศเครือรัฐเอกราช (CIS)”

ปัจจุบัน เศรษฐกิจของคาซัคสถานยังไม่หลากหลาย ส่วนใหญ่ยังคงพึ่งพารายได้การส่งออกจากภาคพลังงานเป็นหลัก ในขณะที่เศรษฐกิจภาคการเกษตรของคาซัคสถานยังมีขนาดเล็ก ทำให้ผลผลิตทางการเกษตรที่ผลิตได้ไม่เพียงพอต่อการบริโภคภายในประเทศ จึงต้องนำเข้าสินค้าอาหาร และเกษตรจากต่างประเทศจำนวนมาก ในขณะเดียวกันประเทศไทยมีศักยภาพทางการผลิตสินค้าเกษตร จึงเป็นโอกาสของไทยที่จะขยายการส่งออกสินค้าเกษตรและอาหารไปยังคาซัคสถาน รวมถึงสินค้าฮาลาล เนื่องจากคาซัคสถานมีประชากรที่นับถือศาสนาอิสลามกว่าร้อยละ 50 ของจำนวนประชากรทั้งหมด การจัดงานครั้งนี้ยังถือเป็นจุดเริ่มต้นในการ เปิดตลาดทางด้านการค้าและการลงทุนระหว่างกันอีกด้วย

 

ด้านนายอารีพงศ์ ภู่ชอุ่ม ปลัดกระทรวงพลังงาน กล่าวว่า สำหรับ“อาคารศาลาไทย” (Thailand Pavilion) จัดขึ้นภายใต้แนวคิด“การพัฒนาด้านพลังงานชีวภาพเพื่อมนุษยชาติ (Bioenergy for All)”ต้องการสื่อถึงพลังงานเพื่ออนาคตที่ยั่งยืน และศักยภาพของประเทศไทยในด้านการพัฒนาพลังงานทดแทนและความก้าวหน้าในการพัฒนาพลังงานชีวภาพ (Bioenergy)จากการน้อมนำพระราชดำริของพระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดชที่ทรงเป็นพระบิดาแห่งพลังงานไทย และเป็นต้นแบบในเรื่องปรัชญา“ความพอเพียง”มาใช้เป็นแนวทางในการใช้ทรัพยากรในประเทศที่มีอยู่อย่างคุ้มค่า บนขนาดพื้นที่ 974.67 ตารางเมตร แบ่งเป็น 2 ชั้นการจัดแสดงผ่านการนำเสนอในรูปแบบ “EDUTAINMENT” หรือการเรียนรู้ ควบคู่ความสนุกผ่าน 3 ห้องนิทรรศการหลัก ได้แก่นิทรรศการห้องที่1: Our Ways, Our Thai สัมผัสวิถีความเป็นไทย เอกลักษณ์ความงดงามของธรรมชาติ และวัฒนธรรม ควบคู่กับการพัฒนาด้านพลังงานทดแทนในรูปแบบ Live Exhibition, นิทรรศการห้องที่ 2 : Farming the Future Energy ห้องสรุปเรื่องราวแนวคิดของ Thailand Pavilion ในรูปแบบ 3D Theater และถือเป็นไฮไลท์สำคัญบอกเล่าเรื่องราวในห้องทดลองสุดมหัศจรรย์ และการกำเนิดของพลังงานแห่งอนาคต‘พลัง’ข้าวโพดน้อยในรูปแบบหุ่นยนต์ Animatronic เคลื่อนไหวเสมือนจริงและนิทรรศการห้องที่ 3 : Energy Creation Lab พบกับพลังงานชีวภาพ และชีวมวลจากพืชพลังงานทั้งหมด 9 ชนิด ประกอบด้วย อ้อย ยูคาลิปตัส ยางพารา หญ้าเนเปียร์ ข้าว ข้าวโพด มูลสัตว์ ของเสีย มันสำปะหลัง ปาล์มน้ำมัน ในรูปแบบ Interactive Exhibition

ส่วนการจัดแสดงชั้นที่ 2 เป็นพื้นที่รับรองแขกพิเศษ ร้านค้าอาหารไทย กาแฟ และพื้นที่สำหรับการจัด Business Matching และ Investment Clinic และการสาธิตการนวดแผนไทย ซึ่งการจัดงานในครั้งนี้ยังได้คัดเลือกตัวแทนอาสาสมัครโครงการ Thailand Pavilion Ambassador 2017 จำนวน 10 คน เพื่อเป็นเสมือนทูตเยาวชนที่จะประสานความสัมพันธ์อันดีระหว่างทั้ง 2 ประเทศอีกด้วย

สำหรับความคืบหน้าการก่อสร้าง “อาคารศาลาไทย” ขณะนี้อาคารศาลาไทยเสร็จสมบูรณ์ไปกว่า 90% โดยเฉพาะงานโครงสร้างเหลือเพียงงานตกแต่งเท่านั้น มั่นใจว่าประเทศไทยจะเป็น 1 ใน 10 ประเทศที่สามารถเข้าพื้นที่และดำเนินการก่อสร้างเสร็จก่อนกำหนด โดยอาคารศาลาไทยจะเปิดทดลองระบบทั้งหมดได้ภายในต้นเดือนมิถุนายนนี้ และพร้อมที่จะประกาศศักยภาพบนเวทีระดับโลกอย่างเป็นทางการในวันที่ 10 มิถุนายน 2560

ขณะที่การประชาสัมพันธ์อาคารศาลาไทยในสาธารณรัฐคาซัคสถานถือว่าได้รับการตอบรับเป็นอย่างดี โดยใช้กลยุทธ์การนำเสนอที่ผสมผสานเน้นสร้างการรับรู้และความประทับใจในอาคารศาลาไทยอาทิ การโรดโชว์และประชาสัมพันธ์การจัดงานด้วยเทคนิค VR 360 Thailand Pavilion พร้อมด้วยมาสคอต“น้องพลัง” เพื่อสร้างการมีส่วนร่วมกับชาวคาซัคสถานไปยังสถานที่สำคัญต่างๆ ตั้งแต่ก่อนเริ่มงานในเมืองอัสมาตี และเมืองอัสตานาอย่างต่อเนื่อง

ข่าวประชาประสัมพันธ์โครงการฝึกอบรมสัมมนา ส่วนพัฒนาทรัพยากรบุคคล 2560

หลักสูตร
ระยะเวลา
สถานที่
ดาวน์โหลด
1.หลักสูตร “การพัฒนาข้าราชการใหม่” ครั้งที่ 1/2560
วันที่ 21 – 25 ธันวาคม 2559
ห้องประชุม 9 ชั้น 15 สป.พน. และโรงแรมจันทรา รีสอร์ท จังหวัดนครนายก
รายชื่อ
– กำหนดการ
2.โครงการ สบก.สัญจรสู่ภูมิภาคประจำปีงบประมาณ 2560

 

สรุปประเด็น
– กำหนดการ
ครั้งที่ 1 ภาคอีสาน (จังหวัดอุดรธานี)
วันที่ 18 – 20 พฤศจิกายน 2559
โรงแรมพาราไดซ์ จังหวัดอุดรธานี
ครั้งที่ 2 ภาคเหนือ (จังหวัดเชียงใหม่)
วันที่ 16 – 18 ธันวาคม 2559
โรงแรมเชียงใหม่แกรนด์วิลล์
ครั้งที่ 3 ภาคกลาง (จังหวัดชลบุรี)
วันที่ 17 – 19 กุมภาพันธ์ 2560
โรงแรมเอวัน บางกอก พัทยา
ครั้งที่ 4 ภาคใต้ (จ.สุราษฎร์ธานี)
วันที่ 10 – 12 มีนาคม 2560
โรงแรมไดมอนด์พลาซ่า
3.โครงการเสริมสร้างศักยภาพของนักทรัพยากรบุคคลกระทรวงพลังงาน
3.1หลักสูตร ระเบียบฯ หลักเกณฑ์ หนังสือเวียนที่เกี่ยวข้องกับงานบริหารทรัพยากรบุคคล ที่ควรรู้
วันที่ 7 – 8 มีนาคม 2560
โรงแรมรอยัลปริ๊นเซส หลานหลวง กรุงเทพมหานคร
– รายชื่อ
– กำหนดการ
3.2หลักสูตร Modern HR Strategy
วันที่ 23 – 25 มีนาคม 2560
โรงแรมมิราเคิล แกรนด์คอนเวนชั่น กรุงเทพมหานคร
– รายชื่อ
– กำหนดการ
3.3หลักสูตร กลยุทธ์การจัดทำแผนที่ฝึกอบรม (Strategy for Training Roadmap)
วันที่ 21 – 23 เมษายน 2560
โรงแรมอมารี ดอนเมือง
– รายชื่อ
– กำหนดการ
4. หลักสูตร “การพัฒนาข้าราชการใหม่” ครั้งที่ 2/2560
27 – 31 พฤษภาคม 2560
ห้องประชุม 9 ชั้น 15 สป.พน. และโรงแรมจันทรา รีสอร์ท จังหวัดนครนายก
– รายชื่อ
– กำหนดการ
5.โครงการพัฒนาผู้บริหารและผู้มีศักยภาพ
5.1 หลักสูตร Leadership for Long Term Effectiveness
– รุ่นที่ 1
– รุ่นที่ 2
วันที่ 18 – 19 พฤษภาคม 2560
วันที่ 15 – 16 มิถุนายน 2560
โรงแรมมิราเคิล แกรนด์
คอนเวนชั่น กรุงเทพมหานคร
– กำหนดการ

– รายชื่อรุ่น 1

– รายชื่อรุ่น 2

5.2 หลักสูตร Presentation Advantage
– รุ่นที่ 1
– รุ่นที่ 2
– รุ่นที่ 3
วันที่ 19 – 20 มิถุนายน 2560
วันที่ 22 – 23 มิถุนายน 2560
วันที่ 6 – 7 กรกฎาคม 2560
โรงแรมอมารี ดอนเมือง
– กำหนดการ

– รายชื่อรุ่น 1

– รายชื่อรุ่น 2

– รายชื่อรุ่น 3

6. โครงการ Training Roadmap
การปฐมนิเทศ 4 หลักสูตร
วันที่ 17 – 18 มิถุนายน 2560
โรงแรมมิราเคิล แกรนด์
คอนเวนชั่น กรุงเทพมหานคร

 – คุณสมบัติผู้เข้ารับการอบรม

 – หลักสูตร

6.1 หลักสูตร Young Energy Program (YP)
วันที่ 24 – 29 มิถุนายน 2560
โรงแรมราวินทรา บีช รีสอร์ท แอนด์ สปา (พัทยา)
6.2 หลักสูตร Energy Professional 1 (EP1)
วันที่ 2 – 5 กรกฎาคม 2560
โรงแรมราวินทรา บีช รีสอร์ท แอนด์ สปา (พัทยา)
6.3 หลักสูตร Energy Professional 2 (EP2)
วันที่ 12 – 16 กรกฎาคม 2560
โรงแรมราวินทรา บีช รีสอร์ท แอนด์ สปา (พัทยา)
6.4 หลักสูตร Managerial Energy
Management (MEM)
วันที่ 30 กรกฎาคม – 11 สิงหาคม 2560
โรงแรมราวินทรา บีช รีสอร์ท แอนด์ สปา (พัทยา)
7. หลักสูตร Executive Energy
Management (EEM)
ประมาณเดือนสิงหาคม
โรงแรมราวินทรา บีช รีสอร์ท แอนด์ สปา (พัทยา)
หลักสูตร
8. หลักสูตร Orientation Program (OP)
วันที่ 21 – 25 สิงหาคม 2560
– รายชื่อ
– กำหนดการ
Page 7 of 7
1 5 6 7