แนวทางบรรเทาผลกระทบจากวิกฤติราคาน้ำมัน

·       ความผันผวนเพิ่มขึ้นของราคาน้ำมันในตลาดโลกตลอดระยะเวลากว่า 2 เดือนที่ผ่านมา โดยที่น้ำมันดิบดูไบ (Dubai) มีราคาเพิ่มขึ้น 15.30 เหรียญสหรัฐฯ/บาร์เรล (จาก 61.75 เหรียญสหรัฐฯ/บาร์เรล  เมื่อวันที่ 16 มีนาคม 2018 เป็น 77.05 เหรียญสหรัฐฯ/ต่อบาร์เรล เมื่อวันที่ 19 พฤษภาคม 2018) ส่งผลให้ราคาดีเซลอ้างอิง Platts ในตลาดอาเซียน เพิ่มขึ้น 16.69 เหรียญสหรัฐฯ/บาร์เรล (จาก 76.55 เหรียญสหรัฐฯ/บาร์เรล เมื่อวันที่ 16 มีนาคม 2018 เป็น 93.24 เหรียญสหรัฐฯ/บาร์เรล เมื่อวันที่ 19 พฤษภาคม 2018) ในช่วงเวลาเดียวกัน เท่ากับ 3.30 บาท/ลิตร เมื่อคำนวณที่อัตราแลกเปลี่ยน ณ วันที่ 16 มีนาคม 2018 ที่ 31.40 บาทต่อเหรียญสหรัฐ ในขณะที่อัตราแลกเปลี่ยนได้อ่อนตัวลงเป็น 32.29 บาท/เหรียญสหรัฐ เมื่อวันที่ 19 พฤษภาคม 2018 ส่งผลให้ราคาดีเซลอ้างอิง Platts ในตลาดอาเซียน เพิ่มขึ้นอีก 0.52 บาท/ลิตร เป็น 3.82 บาท/ลิตร

·       แต่ด้วยการปรับสูตรการคำนวณราคาอ้างอิง ณ โรงกลั่น และการลดจำนวนเงินจัดเก็บเข้ากองทุนอนุรักษ์พลังงาน 0.15 บาท/ลิตร เมื่อวันที่ 21 เมษายน 2018 ส่งผลให้ราคาดีเซลขายปลีกในประเทศ เพิ่มขึ้นต่ำกว่าที่ควรเป็น 0.62 บาท/ลิตร คือเพิ่มขึ้นสุทธิจริงเท่ากับ 3.20 บาท/ลิตร เป็น 29.79 บาท/ลิตร

·       ในขณะเดียวกัน กระทรวงพลังงานได้ริเริ่มโครงการช่วยดูดซับปริมาณผลิตน้ำมันปาล์มดิบส่วนเกินด้วยการผลิตน้ำมันดีเซลเกรดพิเศษที่มีส่วนผสม ไบโอดีเซลเพิ่มจาก 7% สำหรับดีเซลเกรดทั่วไป (B7) เป็น 20% (B20) เพื่อใช้ในกลุ่มรถบรรทุกและรถโดยสารขนาดใหญ่ โดยจะมีมาตรการจูงใจด้วยราคาขายปลีกต่ำกว่าน้ำมันดีเซลเกรดปกติที่ 3 บาท/ลิตร ซึ่งคาดว่าจะเริ่มจำหน่ายได้ประมาณต้นเดือนกรกฎาคม 2018

·       การจำหน่ายน้ำมันดีเซลเกรดพิเศษ (B20) โดยมีส่วนลดให้ราคาขายปลีกต่ำกว่าน้ำมันดีเซลเกรดปกติที่ 3 บาท/ลิตร จะส่งผลให้ราคาต้นทุนน้ำมันของกลุ่มรถบรรทุกและรถโดยสารขนาดใหญ่ อยู่ในระดับต่ำประมาณ 27 บาท/ลิตร จึงไม่มีความจำเป็นต้องขึ้นค่ารถโดยสารสาธารณะหรือค่าขนส่ง

·       ในระหว่างที่ยังไม่มีการจำหน่ายน้ำมัน B20 กระทรวงพลังงานจะใช้กลไกของกองทุนน้ำมันเป็นเครื่องมือในการรักษาระดับราคาน้ำมันดีเซลไม่ให้เกินกว่า 30 บาท/ลิตร เป็นระยะเวลาสั้นๆก่อนมีการจำหน่ายน้ำมัน B20

·       และเพื่อลดผลกระทบจากราคาน้ำมันที่อาจจะมีการปรับตัวเพิ่มขึ้นสูงกว่า 80 เหรียญสหรัฐฯ/บาร์เรล กระทรวงพลังงานจักได้เตรียมมาตรการดูแลกรณีวิกฤตราคาผันผวนอย่างรวดเร็วต่อผู้บริโภค โดยการใช้กองทุนช่วยลดภาระให้ขึ้นราคาขายปลีกเท่ากับ 50% ของราคาที่ควรจะเพิ่มขึ้น กล่าวคือหากราคาน้ำมันตลาดโลกขึ้น 1 บาท จะใช้กองทุนช่วยลดภาระ 50 สตางค์ และขึ้นราคา 50 สตางค์

·       โดยที่หากราคาน้ำมันดิบเบรนท์ (Brent) เพิ่มขึ้นถึง 90 เหรียญสหรัฐฯ/บาร์เรล  ซึ่งส่งผลให้ราคาดีเซลอ้างอิง Platts ในตลาดอาเซียน เพิ่มขึ้นเป็น 105 เหรียญสหรัฐฯ/บาร์เรล  และด้วยฐานะกองทุนน้ำมันที่มีคงเหลือประมาณ 30,000 ล้านบาท จะเพียงพอสำหรับมาตรการการใช้กองทุนช่วยลดภาระการขึ้นราคาขายปลีก 50% ของราคาที่ควรจะเพิ่มดังกล่าว ได้ประมาณ 10 เดือน

ข้อกำหนดการศึกษา (Term of Reference: TOR)การประเมินสิ่งแวดล้อมระดับยุทธศาสตร์ฯ (Thai/English)

ข้อกำหนดการศึกษา (Term of Reference: TOR)การประเมินสิ่งแวดล้อมระดับยุทธศาสตร์ฯ (Thai Version) คลิกที่นี่

ข้อกำหนดการศึกษา (Term of Reference: TOR)การประเมินสิ่งแวดล้อมระดับยุทธศาสตร์ฯ (English Version)
Download  Click

 

ประเด็นคำถาม
การศึกษาการประเมินสิ่งแวดล้อมระดับยุทธศาสตร์สำหรับพื้นที่จัดตั้งโรงไฟฟ้าถ่านหินในภาคใต้  คลิกที่นี่

ประเด็นเรื่องการรับซื้อไฟฟ้าจากพลังงานทดแทน

สำหรับประเด็นเรื่องการรับซื้อไฟฟ้าจากพลังงานทดแทนตามที่ ร.ต.อ. วัฒนรักษ์ สุรนาทยุทธ์ หัวหน้าคณะทำงานด้านสิ่งแวดล้อม พรรคเพื่อไทยให้ความเห็นกรณี รมว. พลังงานมีนโยบายให้ระงับการรับซื้อไฟฟ้าจากพลังงานทดแทนไว้ชั่วคราวนั้น กระทรวงพลังงานใคร่ขอชี้แจงดังนี้

1. กระทรวงพลังงานยังคงจะให้มีการรับซื้อไฟฟ้าจากพลังงานทดแทนสำหรับโครงการที่ได้ผูกพันไว้แล้วเหมือนเดิม ไม่ได้มีการระงับแต่อย่างใด แต่ในส่วนของการรับซื้อพลังงานทดแทนในอนาคตที่ยังไม่มีภาระผูกพันทางสัญญาหรือที่ยังไม่ได้พัฒนาเป็นโครงการนั้น ทางกระทรวงพลังงานยังคงให้การสนับสนุน ตามแผนแม่บมพลังงานทดแทน (AEDP2015) แต่จะมีการพิจารณาปรับปรุงจัดทำหลักเกณฑ์การรับซื้อไฟฟ้าและราคาเป้าหมายใหม่ เพื่อให้ได้ต้นทุนไฟฟ้าจากพลังงานทดแทนที่มีต้นทุนที่ต่ำที่สุด ราคาไม่เกินราคาขายส่งเฉลี่ย (Grid Parity) และจะได้ส่งผลประโยชน์แก่ประชาชนมากที่สุด

2. กระทรวงพลังงานยังคงยึดหลักการดำเนินการในส่วนของนโยบายและแผนด้านพลังงานตามที่ประเทศไทยได้ให้สัตยาบันแสดงเจตจำนงการลดก๊าซเรือนกระจกในการประชุม COP21

3. ในส่วนของโรงไฟฟ้าถ่านหินนั้น ทางกระทรวงพลังงานได้อยู่ระหว่างการดำเนินผลกระทบเชิงยุทธศาสตร์หรือ SEA ซึ่งใช้เวลาในการดำเนินการประมาณ 9 เดือน ซึ่งในการดำเนินการทำ SEA นั้นประกอบด้วยผู้แทนของผู้มีส่วนได้ส่วนเสียที่ประกอบด้วยผู้ที่เห็นด้วยและไม่เห็นด้วย ซึ่งผลการทำ SEA นั้นจะต้องได้รับการยอมรับจากทุกฝ่าย

กระทรวงพลังงาน ร่วมงาน สื่ออยากรู้ รัฐบาลอยากเล่า “มุมมองของรองนายกฯ ประจิน”

วันนี้ (10พค.) กระทรวงพลังงาน นำโดยนายธรรมยศ ศรีช่วย ปลัดกระทรวงพลังงาน เข้าร่วมกิจกรรม สื่ออยากรู้ รัฐบาลอยากเล่า “มุมมองของรองนายกประจินฯ” ณ ตึกภักดีบดินทร์ ทำเนียบรัฐบาล โดยเป็นการเชิญสื่อมวลชนร่วมรับฟัง ภาพรวมของบริบทประเทศไทย เชื่อมโยงกับภารกิจภายใต้การกำกับดูแลแต่ละด้านของ พลอากาศเอก ประจิน จั่นตอง รองนายกรัฐมนตรีที่รับผิดชอบกระทรวงสำคัญๆ ได้แก่ กระทรวงศึกษาธิการ กระทรวงพลังงาน กระทรวงดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคม และกระทรวงยุติธรรม

ทั้งนี้ ในส่วนของกระทรวงพลังงานนั้น  ได้มีการนำเสนอประเด็นสำคัญ ๆ 2 ด้านคือ 1.) การเปิดประมูลสัมปทานปิโตรเลียมบงกช-เอราวัณ ซึ่งเป็นภารกิจครั้งสำคัญของกระทรวงพลังงาน การดำเนินการในขั้นตอนต่างๆ ทั้งหมด มีความพร้อมและมีความชัดเจนมากพอที่จะให้ความมั่นใจได้ว่าจะสามารถดำเนินการเปิดประมูลแหล่งเอราวัณและบงกชได้สำเร็จตามแผนที่วางไว้ เพราะว่า ขั้นตอนคัดเลือกผู้เข้าร่วมประมูล ผู้ที่ได้รับการคัดเลือกจะมีความสามารถ ความเชี่ยวชาญ และเงินทุนเพียงพอที่จะทำได้

สำหรับกรอบระยะเวลาเบื้องต้นในการเปิดประมูลฯ  ระหว่างเดือนพ.ค. จะตรวจสอบคุณสมบัติเบื้องต้นผู้เข้าร่วมประมูลฯ ในเดือนมิ.ย. คาดว่าจะประกาศรายชื่อผู้ผ่านคุณสมบัติและเปิดให้มีการยื่นประมูลโดยผู้ยื่นประมูล สามารถเข้าศึกษาข้อมูลพื้นที่แปลงสำรวจ G1/61 (แหล่งเอราวัณ) และ G2/61 (แหล่งบงกช)  ได้ตั้งแต่ 7 มิ.ย.- 21 ก.ย. 2561 เดือนธ.ค. คาดว่าจะคัดเลือกผู้ชนะการประมูล และคาดว่าในเดือน ก.พ.2562 จะสามารถลงนามสัญญากับผู้ชนะการประมูล  โดยการเปิดประมูลฯ ครั้งนี้ ส่งผลดีกับประเทศชาติ เพราะเพิ่มโอกาส การผลิตก๊าซธรรมชาติในอ่าวไทย เกิดความมั่นคงด้านพลังงานในระยะยาว ก๊าซธรรมชาติเป็นเชื้อเพลิงในการผลิตไฟฟ้าในต้นทุนที่เกิดการแข่งขันได้ ไม่กระทบต่อการพัฒนาเศรษฐกิจ เกิดการผลิตก๊าซปิโตรเลียมเหลว (แอลพีจี) ป้อนประเทศ  รวมไปถึงการสร้างมูลค่าเพิ่มให้อุตสาหกรรมปิโตรเคมี ที่เป็นสิ่งจำเป็นในชีวิตประจำวันต่างๆ และที่สำคัญสร้างรายได้ให้แก่ประเทศ

2.) แผนพัฒนากำลังผลิตไฟฟ้า (PDP) ของประเทศฉบับใหม่ ที่จะให้ความสำคัญใน 3 ด้าน คือ 1. ด้านความมั่นคงทางพลังงาน ทั้งระบบผลิตไฟฟ้า ระบบส่งไฟฟ้า และระบบจำหน่ายไฟฟ้า รายพื้นที่ โดยคำนึงถึงอัตราการเจริญเติบโตทางเศรษฐกิจ อัตราเพิ่มของประชากร และอัตราการขยายตัว ของเขตเมืองในระดับประเทศและระดับภูมิภาค การกระจายสัดส่วนเชื้อเพลิง และ มีโรงไฟฟ้าเพื่อความมั่นคงในระดับที่ เหมาะสมมีการพัฒนาระบบโครงข่ายไฟฟ้าสมาร์ทกริด เพื่อรองรับการพัฒนาระบบไฟฟ้าขนาดเล็กแบบกระจายศูนย์ ส่งเสริมการใช้พลังงานอย่างมีประสิทธิภาพ

2. ด้านเศรษฐกิจ คำนึงถึงต้นทุนการผลิตไฟฟ้าที่เหมาะสม ส่งเสริมการผลิตไฟฟ้าที่มีต้นทุนต่ำ เพื่อลดภาระผู้ใช้ไฟฟ้า และมีการปรับปรุงการบริหารจัดการต้นทุนการผลิตไฟฟ้าของประเทศอย่างมีประสิทธิภาพ และ 3. ด้านสิ่งแวดล้อม ลดผลกระทบ ด้านสิ่งแวดล้อม โดยมีเป้าหมายในการลดการปลดปล่อยก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ต่อหน่วยการผลิตไฟฟ้าของโรงไฟฟ้าในปลายแผนไม่เกิน 0.319 kgCO2/kWh ส่งเสริมระบบไฟฟ้าแบบไมโครกริด ในพื้นที่ห่างไกล พื้นที่นิคมอุตสาหกรรมหรือเขตเศรษฐกิจพิเศษ ส่งเสริมประสิทธิภาพในระบบไฟฟ้าจะสามารถชะลอการสร้างโรงไฟฟ้าใหม่

รมว.พลังงาน ลงพื้นที่ตรวจราชการ จ.บุรีรัมย์ และสุรินทร์ ติดตามโครงการสนับสนุนลงทุนปรับเปลี่ยนอุปกรณ์ในโรงพยาบาลภาครัฐ

รมว.พลังงาน ลงพื้นที่ตรวจราชการ จ.บุรีรัมย์ และสุรินทร์ ติดตามโครงการสนับสนุนลงทุนปรับเปลี่ยนอุปกรณ์ในโรงพยาบาลภาครัฐ ชี้โรงพยาบาลสตึก หลังเข้าร่วมโครงการฯ สามารถลดค่าไฟฟ้าได้ประมาณ 360,000 บาท/ปี ด้วยเงินลงทุนรวม 560,000 บาท พร้อมตรวจเยี่ยมโครงการสูบน้ำพลังงานแสงอาทิตย์ช่วยภัยแล้ง ซึ่งกระทรวงพลังงานได้ดำเนินการสร้างในจังหวัดบุรีรัมย์รวม 35 ระบบ ครอบคลุมพื้นที่ 8,433 ไร่ มั่นใจภาพรวมสร้างคุณภาพชีวิตเกษตรกรให้ดีขึ้น รวมทั้งเข้าเยี่ยมชมโรงไฟฟ้ามุ่งเจริญกรีนพาวเวอร์ โรงไฟฟ้าชีวมวลที่รับซื้อวัสดุเหลือใช้ภาคเกษตรกรรมปีละประมาณ 130 ล้านบาท และจ้างงาน ในท้องถิ่นกว่า 170 ตำแหน่ง
​นายศิริ จิระพงษ์พันธ์ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงพลังงาน พร้อมด้วยคณะผู้บริหารระดับสูงจากกระทรวงพลังงาน ได้เดินทางลงพื้นที่ตรวจราชการในจังหวัดบุรีรัมย์และสุรินทร์ (ระหว่างวันที่ 7-8 พ.ค.2561) ซึ่งเป็นภารกิจก่อนการประชุมคณะรัฐมนตรีนอกสถานที่ โดยกระทรวงพลังงานได้ติดตามโครงการด้านพลังงานที่สำคัญ ๆ ทั้งด้านการสนับสนุนการเพิ่มประสิทธิภาพการใช้พลังงาน การใช้ประโยชน์จากพลังงานทดแทน เพื่อสร้างคุณภาพชีวิตที่ดีขึ้นให้แก่ประชาชนในพื้นที่ โดยการตรวจเยี่ยมโครงการที่สำคัญๆ ได้แก่
​โครงการสนับสนุนการลงทุนการปรับเปลี่ยนอุปกรณ์ในโรงพยาบาลของรัฐ (Matching Fund) ซึ่งดำเนินการโดยกรมพัฒนาพลังงานทดแทนและอนุรักษ์พลังงาน (พพ.) ที่ได้เข้าสนับสนุนการปรับเปลี่ยนอุปกรณ์ด้านพลังงานในโรงพยาบาลสตึก อ.สตึก จ.บุรีรัมย์ โดยลักษณะโครงการฯ พพ. ได้ให้การสนับสนุนเงินลงทุนร้อยละ 70 ของการเงินลงทุน โดยได้สนับสนุนใน 2 มาตรการที่สำคัญ ได้แก่ การเปลี่ยนหลอดฟลูออเรสเซนต์ 36 วัตต์ เป็นหลอดแอลอีดี 18 วัตต์ จำนวน 1,047 หลอด เปลี่ยนหลอดฟลูออเรสเซนต์ 18 วัตต์ เป็นหลอดแอลดีดี 9 วัตต์ จำนวน 30 หลอด และการติดตั้งเครื่องปรับอากาศแบบอินเวอร์เตอร์ ทดแทนเครื่องปรับอากาศแบบเดิม ซึ่งจากการสนับสนุนดังกล่าว โรงพยาบาลสตึกสามารถลดการใช้ไฟฟ้าได้ประมาณ 92,000 กิโลวัตต์ชั่วโมงต่อปี คิดเป็นเงินที่ประหยัดได้สูงถึงประมาณปีละ 360,000 บาท และสามารถคืนทุนได้เพียง 1 ปีเศษ
​ โครงการระบบสูบน้ำพลังงานแสงอาทิตย์สู้ภัยแล้ง ณ กลุ่มวิสาหกิจชุมชนกลุ่มอินทรีย์บ้านโนนสำราญ อ.ลำปลายมาศ จ.บุรีรัมย์ ที่เป็นตัวอย่างวิสาหกิจที่ประสบความสำเร็จ โดยจากภาพรวมโครงการหลักทั้งหมด ซึ่งกระทรวงพลังงานได้สนับสนุนทั่วพื้นที่จังหวัดบุรีรัมย์ทั้งสิ้น 35 ระบบ ครอบคลุมพื้นที่ 8,433 ไร่ และมีเกษตรกรได้ประโยชน์ถึง 279 ราย นอกจากนี้ยังได้เพิ่มการใช้พลังงานแสงอาทิตย์ 54,000 วัตต์ ช่วยให้เกษตรกรลดการใช้น้ำมันดีเซล 13,211 ลิตรต่อปี หรือช่วยลดค่าใช้จ่ายได้ประมาณปีละ 340,000 บาท
​การเข้าเยี่ยมชมโรงไฟฟ้าชีวมวลมุ่งเจริญ ไบโอแมส ซึ่งมีกำลังการผลิตกระแสไฟฟ้า 17 เมกะวัตต์ และได้ตอบสนองความต้องการใช้ไฟฟ้าของชาว อ.เมือง จ.สุรินทร์ ได้ประมาณ 33% โดยโรงไฟฟ้าชีวมวลมุ่งเจริญ ฯ ได้ทำสัญญาขายไฟฟ้ากับการไฟฟ้า ฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทย (กฟผ.) 15.5 เมกะวัตต์ เป็นระยะเวลา 25 ปี เริ่มจำหน่ายไฟฟ้าเชิงพาณิชย์ระบบ 115 เควี ของการไฟฟ้าส่วนภูมิภาค เมื่อวันที่ 5 กันยายน 2555
​โดยโรงไฟฟ้าฯ ใช้เชื้อเพลิงแกลบเป็นหลัก ปีละประมาณ 100,000 ตัน ประมาณร้อยละ 40-60% ส่วนวัตถุดิบที่เหลือ เป็นเศษไม้และเปลือกไม้ ทำให้เกิดมูลค่าเพิ่มในวัสดุเหลือใช้ภาคเกษตรกรรมปีละประมาณ 130 ล้านบาท ลดก๊าซเรือนกระจก ปีละประมาณ 70,000 ตัน ลดการใช้ก๊าซธรรมชาติปีละประมาณ 10,000 ล้านลูกบาศก์ฟุต หรือคิดเป็นเงินกว่า 300 ล้านบาท จ้างงานแรงงานในท้องถิ่นกว่า 170 ตำแหน่ง ช่วยลดปัญหาการอพยพแรงงาน ส่งผลให้สถาบันครอบครัวมีความอบอุ่น และเข้มแข็งขึ้น
​นอกจากนี้ ภายหลังการประชุมครม. นอกสถานที่ (ในวันอังคารที่ 8 พ.ค.) รัฐมนตรีว่าการกระทรวงพลังงาน จะได้มอบนโยบายการดำเนินงานให้แก่พลังงานจังหวัดในเขตพื้นที่ (สุรินทร์ บุรีรัมย์ นครราชสีมา ชัยภูมิ อุบลราชธานี ยโสธร ศรีสะเกษ อำนาจเจริญ รวมทั้งยังได้เดินทางไปตรวจเยี่ยมโครงการเจาะสำรวจปิโตรเลียมบนบก แปลงสำรวจหมายเลข L31/50 หลุมเจาะสำรวจ YPT7 ณ บ้านหนองสรวง อ.แคนดง จ.บุรีรัมย์

กระทรวงพลังงาน เปิดให้ดาวน์โหลด เพื่อรับเอกสารการประมูลยื่นขอสิทธิสำรวจและผลิตปิโตรเลียมแปลงสำรวจในทะเลอ่าวไทย

กรมเชื้อเพลิงธรรมชาติ กระทรวงพลังงาน เปิดให้ดาวน์โหลด เพื่อรับเอกสารการประมูลยื่นขอสิทธิสำรวจและผลิตปิโตรเลียมแปลงสำรวจในทะเลอ่าวไทย หมายเลข G1/61 และ G2/61

ผู้สนใจสามารถดาวน์โหลดได้ที่เว็บไซต์ http:// bidding2018.dmf.go.th/

กพช. มีมติรับทราบ การดำเนินงานของกรมเชื้อเพลิงธรรมชาติ

กพช. มีมติรับทราบ การดำเนินงานของกรมเชื้อเพลิงธรรมชาติ กระทรวงพลังงาน ในการเปิดประมูลแหล่งก๊าซธรรมชาติ ที่กำลังจะสิ้นอายุสัมปทาน ในปี 2665-2566 (แหล่งเอราวัณและแหล่งบงกช) โดยออกประกาศเชิญชวน ในวันที่ 24 เมษายน 2561

วันนี้ (23 เมษายน 61) ณ ทำเนียบรัฐบาล การประชุมคณะกรรมการนโยบายพลังงานแห่งชาติ (กพช.) ครั้งที่ 2/2561 (ครั้งที่ 15) ซึ่งมี พลเอก ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรี เป็นประธาน ได้รับทราบการดำเนินงานของกรมเชื้อเพลิงธรรมชาติ กระทรวงพลังงาน ในการเปิดประมูลแหล่งก๊าซธรรมชาติ ที่กำลังจะสิ้นอายุสัมปทาน ในปี 2565-2566 (แหล่งเอราวัณและแหล่งบงกช) โดยให้ออกประกาศเชิญชวนผู้ประกอบการที่สนใจเข้าร่วมประมูล ในวันที่ 24 เมษายน 2561 ตามทีโออาร์การเปิดประมูลระบบสัญญาแบ่งปันผลผลิต (Production Sharing Contract : PSC) โดยได้กำหนดหลักเกณฑ์และเงื่อนไขหลักในการประมูลไว้ ดังนี้

·       ผู้รับสัญญาแบ่งปันผลผลิตต้องผลิตก๊าซธรรมชาติปริมาณการผลิตขั้นต่ำ 800 ล้านลูกบาศก์ฟุตต่อวัน ต่อเนื่องเป็นระยะเวลา10 ปี ในแปลงสำรวจหมายเลข G1/61 และต้องผลิตก๊าซธรรมชาติในปริมาณการผลิตขั้นต่ำ 700 ล้านลูกบาศก์ฟุตต่อวัน ต่อเนื่องเป็นระยะเวลา 10 ปี ในแปลงสำรวจหมายเลข G2/61

·       ผู้เข้าร่วมประมูลจะต้องเสนอราคาก๊าซธรรมชาติที่ไม่สูงไปกว่าราคาเฉลี่ยของราคาก๊าซธรรมชาติในปัจจุบัน ตามสูตรราคาที่กำหนดในเงื่อนไขการประมูล

·       ให้ผู้เข้าร่วมประมูลเสนอสัดส่วนการแบ่งกำไรให้แก่รัฐ ซึ่งจะต้องไม่ต่ำกว่า 50% และเสนอผลประโยชน์พิเศษต่าง ๆ เช่น โบนัสการลงนาม โบนัสการผลิต  และผลประโยชน์พิเศษอื่นๆ

·       ผู้เข้าร่วมประมูลจะต้องเสนอสัดส่วนการจ้างพนักงานไทยไม่ต่ำกว่า 80% ในสิ้นปีที่ 1 และไม่ต่ำกว่า 90% ในสิ้นปีที่ 5 ของการดำเนินงาน

ทั้งนี้ แหล่งก๊าซธรรมชาติเอราวัณและบงกช เป็นแหล่งก๊าซธรรมชาติหลักของประเทศ โดยปัจจุบัน ทั้ง 2 แหล่ง  มีกำลังการผลิตรวมอยู่ที่ 2,110 ล้านลูกบาศก์ฟุตต่อวัน คิดเป็น 75% ของก๊าซธรรมชาติที่ผลิตได้ในอ่าวไทย สำหรับกลุ่มแหล่งเอราวัณมีปริมาณการผลิต 1,240 ล้านลูกบาศก์ฟุตต่อวัน ซึ่งอยู่ภายใต้ การดำเนินงานของบริษัท เชฟรอนประเทศไทยสำรวจและผลิต จำกัด ตามสัญญาสัมปทาน เลขที่ 1/2515/5 และเลขที่ 2/2515/6 ซึ่งจะสิ้นอายุสัมปทาน วันที่ 23 เมษายน 2565 ขณะที่กลุ่มแหล่งบงกชมีปริมาณการผลิต 870 ล้านลูกบาศก์ฟุตต่อวัน ซึ่งอยู่ภายใต้การดำเนินงานของ บริษัท ปตท.สำรวจและผลิตปิโตรเลียม จำกัด (มหาชน) ตามสัญญาสัมปทาน เลขที่ 5/2515/9  โดยจะสิ้นอายุสัมปทาน วันที่ 23 เมษายน 2565 และสัญญาสัมปทาน เลขที่ 3/2515/7 และจะสิ้นอายุสัมปทาน วันที่ 7 มีนาคม 2566

รายงานการประชุมคณะกรรมการบริหารนโยบายพลังงาน (กบง.)

รายงานการประชุมคณะกรรมการบริหารนโยบายพลังงาน (กบง.)
วันศุกร์ที่ 20 เมษายน 2561

*****************************

การปรับปรุงหลักเกณฑ์การคำนวณ ราคา ณ โรงกลั่น สำหรับน้ำมันเชื้อเพลิง

วันนี้ (20 เมษายน 2561) ที่กระทรวงพลังงาน ดร. ศิริ จิระพงษ์พันธ์ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงพลังงาน
ได้กล่าวถึงการพิจารณาของคณะกรรมการบริหารนโยบายพลังงาน (กบง.) เกี่ยวกับการปรับปรุงหลักเกณฑ์การคำนวณ ราคา ณ โรงกลั่น สำหรับน้ำมันเชื้อเพลิง ว่า

“จากรายงานการศึกษาของสำนักงานนโยบายและแผนพลังงาน (สนพ.) เปรียบเทียบการคำนวณราคา ณ โรงกลั่น สำหรับน้ำมันเชื้อเพลิง (ดีเซล เบนซิน และ แก๊สโซฮอล) ระหว่างเกณฑ์ที่ใช้ในปัจจุบัน ซึ่งใช้ราคา FOB สิงคโปร์ สำหรับเกรดน้ำมัน Euro III เป็นฐาน แล้วบวกด้วยค่าปรับปรุงคุณภาพให้เป็นเกรดน้ำมัน Euro IV ที่ใช้ในเมืองไทย และบวกด้วยค่าใช้จ่าย (เทียบเท่า) การขนส่งน้ำมันเชื้อเพลิงจากสิงคโปร์ กับการอ้างอิงราคา FOB สิงคโปร์ สำหรับเกรดน้ำมัน Euro IV เป็นฐาน แล้วบวกเฉพาะค่าใช้จ่าย (เทียบเท่า) การขนส่งน้ำมันเชื้อเพลิงจากสิงคโปร์ ซึ่งที่ประชุม กบง. ได้มีมติเห็นชอบให้ใช้เกณฑ์ราคา Euro IV เป็นฐาน เนื่องจากสามารถสะท้อนสภาวะการแข่งขันในตลาดสากลได้ใกล้เคียงตามความเป็นจริงได้มากกว่า และหากเปรียบเทียบราคา ณ โรงกลั่น ของวันนี้
(20 เมษายน 2561) ที่คำนวณตามวิธีเดิม (ใช้ Euro III เป็นฐาน) กับ ตามวิธีใหม่ (ใช้ Euro IV เป็นฐาน) แล้ว
จะส่งผลให้ราคา ณ โรงกลั่น สำหรับน้ำมันเชื้อเพลิง ลดลง 41 สตางค์ต่อลิตร สำหรับน้ำมันดีเซล และ 61 สตางค์ต่อลิตร สำหรับแก๊สโซฮอล 91 (E10)

ประกอบกับการที่ได้มีการประกาศในราชกิจจานุเบกษาในวันนี้ ถึงมติคณะกรรมการนโยบายพลังงานแห่งชาติ (กพช.) ที่อนุมัติให้ปรับลดอัตราเงินส่งเข้ากองทุนเพื่อส่งเสริมการอนุรักษ์พลังงาน สำหรับน้ำมันเบนซิน แก๊สโซฮอล และดีเซล ลง 15 สตางค์ต่อลิตร เป็นระยะเวลา 2 ปี จะส่งผลให้ราคาขายส่ง (ก่อนรวมค่าการตลาดและ
จัดจำหน่ายตามสถานีบริการ) สามารถลดลงได้ 60 – 80 สตางค์ต่อลิตร

ทั้งนี้ ดร. ศิริ ได้กล่าวเสริมว่า การปรับโครงสร้างเกณฑ์การคำนวณราคา ณ โรงกลั่น และการปรับลดอัตราเงิน
ส่งเข้ากองทุนเพื่อส่งเสริมการอนุรักษ์พลังงาน ในวันนี้ จะช่วยลดผลกระทบของการที่ราคาน้ำมันดิบในตลาดโลก
ได้เพิ่มขึ้นมากในช่วง 2-3 สัปดาห์ ที่ผ่านมา ต่อผู้บริโภค เทียบเท่ากับราคาน้ำมันดิบเพิ่มขึ้น/ลดลง 3.00 – 4.00 เหรียญต่อบาเรล”

 

รัฐมนตรีว่าการกระทรวงพลังงาน เข้าร่วมงานสืบสานวัฒนธรรมประเพณีสงกรานต์ ประจำปี 2561

วันนี้ (10 เม.ย. 61) พลเอก ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรี เป็นประธานในพิธีงานสืบสานวัฒนธรรมประเพณีสงกรานต์ ประจำปี 2561 ซึ่งในงานประกอบด้วยพิธีสงฆ์เจริญพระพุทธมนต์ พิธีทำบุญตักบาตร พิธีสรงน้ำพระ และพิธีรดน้ำดำหัว เพื่อเป็นการแสดงความเคารพ ความกตัญญูต่อผู้ใหญ่และผู้มีพระคุณ โดยนายศิริ จิระพงษ์พันธ์ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงพลังงาน เข้าร่วมงาน ณ ทำเนียบรัฐบาล

รัฐมนตรีว่าการกระทรวงพลังงาน เป็นประธานเปิดตัวโครงการตรวจเช็คเครื่องยนต์เพื่อประหยัดพลังงาน PTT Engine Tune Up

ตรวจสภาพรถยนต์ฟรีกับ ปตท. เพิ่มความปลอดภัยพร้อมรับสงกรานต์ ด้วยบริการตรวจเช็คเครื่องยนต์ฟรี 25 รายการ 138 แห่งทั่วประเทศ ณ สถานีบริการ ปตท. 57 แห่ง ศูนย์บริการ  Pro Check 47 แห่ง และศูนย์บริการ FIT Auto 34 แห่งทั่วประเทศที่ร่วมโครงการ ตั้งแต่วันนี้ถึงวันที่ 5 เมษายน 61 เตรียมพร้อมรับการเดินทางช่วงเทศกาลสงกรานต์

ดร.ศิริ  จิระพงษ์พันธ์ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงพลังงาน เป็นประธานในพิธีเปิดตัวโครงการตรวจเช็คเครื่องยนต์เพื่อประหยัดพลังงาน PTT Engine Tune Up พร้อมด้วย นายอรรถพล ฤกษ์พิบูลย์  ประธานเจ้าหน้าที่ปฏิบัติการกลุ่มธุรกิจปิโตรเลียมขั้นปลาย บริษัท ปตท. จำกัด (มหาชน) เพื่อร่วมรณรงค์สร้างจิตสำนึกด้านความปลอดภัยด้วยการตรวจเช็คเครื่องยนต์ตามมาตรฐานก่อนการเดินทาง ลดใช้พลังงาน ลดผลกระทบจากมลภาวะทางอากาศ และเพิ่มความปลอดภัยในการเดินทางแก่ผู้ใช้รถใช้ถนน ตั้งแต่วันนี้ถึงวันที่ 5 เมษายน 2561

ดร.ศิริ เปิดเผยว่า รัฐบาลมีความตระหนักถึงปัญหาด้านความปลอดภัยในการใช้รถใช้ถนนซึ่งสาเหตุประการหนึ่งเกิดขึ้นจากสภาพเครื่องยนต์ที่ไม่มีความพร้อมสำหรับการเดินทางไกลในช่วงเทศกาลวันหยุดสงกรานต์นี้ จึงสนับสนุนในการดำเนิน โครงการ “PTT ENGINE TUNE UP” ขึ้น โดย ปตท. จัดโครงการอย่างต่อเนื่อง นับเป็นตัวอย่างอันดีที่จะช่วยขับเคลื่อนให้สังคมไทยเกิดการตื่นตัวเรื่องความปลอดภัยในการใช้รถใช้ถนน โดยหันมาใส่ใจตรวจเช็คเพื่อเพิ่มประสิทธิภาพของเครื่องยนต์ให้มีความพร้อม สร้างจิตสำนึกแก่ผู้ใช้รถให้เห็นความสำคัญของการดูแลรักษาสภาพเครื่องยนต์ ช่วยเพิ่มความปลอดภัยและช่วยประหยัดพลังงาน เตรียมพร้อมให้ช่วงเทศกาลสงกรานต์นี้ เป็นช่วงเวลาแห่งความสุขของครอบครัวที่จะได้เดินทางพบปะ ท่องเที่ยวอยู่อย่างพร้อมหน้าพร้อมตากัน

นายอรรถพล เปิดเผยว่า ปตท. จัดกิจกรรมให้บริการตรวจสภาพรถยนต์ฟรีแก่ประชาชน ภายใต้ โครงการ PTT Engine Tune Up ตั้งแต่ปี 2547 เป็นต้นมา เกิดขึ้นด้วยเจตนารมณ์ในการลดอุบัติเหตุจากการขับขี่ซึ่งมีสาเหตุจากสภาพเครื่องยนต์รถที่ไม่มีความพร้อมในการเดินทาง และเพื่อให้ประชาชนตระหนักถึงการใช้น้ำมันเชื้อเพลิงอย่างมีประสิทธิภาพสูงสุดเพราะรถที่เข้ารับการตรวจสภาพจะช่วยประหยัดน้ำมันได้ถึงร้อยละ 5 อีกทั้งยังช่วยลดปัญหามลภาวะทางอากาศเนื่องจากรถยนต์ที่ผ่านการตรวจสภาพแล้ว จะมีการปล่อยไอเสียลดลง ช่วยบรรเทาภาวะโลกร้อน รวมถึงเป็นการสนับสนุนให้อาจารย์และนักศึกษาอาชีวศึกษาทั่วประเทศ จำนวน 399 คน ใช้เวลาว่างจากการปิดภาคเรียนให้เกิดประโยชน์แก่สังคม ตลอดจนมีรายได้เสริม โดยผู้สนใจสามารถตรวจสอบรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ www.pttplc.com และ PTT Contact Center โทร. 1365

กระทรวงพลังงาน เป็นเจ้าภาพประชุมเวที ASEAN + 3

กระทรวงพลังงาน เป็นเจ้าภาพประชุมเวที ASEAN + 3 ด้านตลาดน้ำมัน ก๊าซธรรมชาติ แผนการสำรองน้ำมัน และหารือเพื่อสร้างความมั่นคงด้านพลังงาน ระหว่าง 27 – 30 มี.ค. ชี้ที่ประชุมฯ เชื่อน้ำมันยังเป็นเชื้อเพลิงสำคัญ ที่มีการลงทุนต่อเนื่องท่ามกลางยุคยานยนต์ไฟฟ้า พร้อม LNG จะเกิดการพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานต่อเนื่อง ระบุในอนาคตมีโอกาสสำรองน้ำมันร่วมกันในภูมิภาค

ระหว่างวันที่ 27 – 30 มี.ค. 2561 ที่ผ่านมา กระทรวงพลังงานได้รับเกียรติเป็นเจ้าภาพจัดการประชุมสำคัญด้านตลาดการค้าน้ำมันและก๊าซธรรมชาติ แผนงานการสำรองน้ำมัน และด้านความมั่นคงด้านพลังงาน ภายใต้ความร่วมมือ ASEAN+3 ได้แก่ การประชุม The 7th ASEAN+3 Oil Market and Natural Gas Forum (OM&NG) and Business dialogue , The 6th Workshop of the ASEAN+3 Oil Stockpiling Road Map (OSRM) , The 15th ASEAN+3 Energy Security Forum (ESF)

การประชุมฯ ครั้งนี้ มีผู้แทนจากประเทศสมาชิกอาเซียนบวก 3 (จีน ญี่ปุ่น และเกาหลีใต้) คณะมนตรีอาเซียนด้านปิโตรเลียม หรือ ASEAN Council on Petroleum (ASCOPE) ศูนย์พลังงานอาเซียน ASEAN Centre on Energy (ACE) และสถาบันการเงิน อาทิ Asian Development Bank (ADB) เป็นต้น ซึ่งในที่ประชุม ฯ มีการหารือเกี่ยวกับการส่งเสริมความมั่นคงด้านพลังงาน แลกเปลี่ยนข้อมูล ประสบการณ์ และข้อคิดเห็น ตลอดจนแนวทางความร่วมมือระหว่างชาติสมาชิกอาเซียนบวกสามในอนาคต และพิธีเปิดการประชุมฯ เมื่อวันที่ 27 มีค. ได้รับเกียรติจากนายประเสริฐ สินสุขประเสริฐ ผู้ตรวจราชการกระทรวงพลังงานเป็นประธาน

ทั้งนี้ ข้อสรุปจากการหารือร่วมกันในประชุม ฯ ที่สำคัญ ๆ ได้แก่
1.) เวทีด้านตลาดน้ำมันก๊าซธรรมชาติ และการหารือภาคธุรกิจพลังงาน
ที่ประชุม ฯ มีความเห็นว่า ปัจจุบันน้ำมันยังเป็นเชื้อเพลิงสำคัญ แม้ว่าจะมีพลังงานทดแทนและเทคโนโลยีสมัยใหม่เข้ามา เช่น พลังงานแสงอาทิตย์ พลังงานลม รถยนต์ไฟฟ้า และระบบกักเก็บพลังงาน โดยโดยสถาบันวิจัยระหว่างประเทศหลายแห่ง คาดการณ์ว่าความต้องการด้านน้ำมันและก๊าซธรรมชาติ และLNG ในภูมิภาคอาเซียนจะเพิ่มขึ้น โดยเฉพาะก๊าซธรรมชาติคาดว่าจะเพิ่มขึ้นอย่างน้อย 33% ในปี 2573 (หากการดำเนินธุรกิจเป็นเช่นนี้ในอนาคต) และศักยภาพในการลงทุนด้านโครงสร้างพื้นฐานยังมีสูง เช่น ท่าเรือรองรับ LNG และโครงข่ายท่อก๊าซธรรมชาติ ซึ่งสะท้อนถึงโอกาสในการลงทุนที่เพิ่มขึ้นของตลาดน้ำมันและก๊าซธรรมชาติในภูมิภาค

โดยในเวทีการประชุมฯ ยังได้เชิญสถาบันการเงิน เช่น ADB หรือผู้เชี่ยวชาญจากญี่ปุ่นในการนำเสนอแหล่งทุนจากญี่ปุ่น ซึ่งได้เปิดโอกาสให้สมาชิกอาเซียนพบปะ และถือโอกาสรับการสนับสนุนทางด้านการเงิน ในการลงทุนในมิติต่างๆ อาทิ โรงไฟฟ้าจากเชื้อเพลิงก๊าซธรรมชาติที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม การพัฒนาแหล่งก๊าซธรรมชาติ การขนส่งและกระจายก๊าซธรรมชาติไปยังโรงแยกก๊าซ การกระจายผลิตภัณฑ์จากปิโตรเลียม ตลอดจน การพัฒนาเพื่อเพิ่มประสิทธิภาพและความปลอดภัยในด้านการขนส่งน้ำมันและ LNG ซึ่งถือว่าเป็นการส่งเสริมเรื่องการซื้อขายไฟฟ้าและก๊าซธรรมชาติในภูมิภาคอีกด้วย

นอกจากนี้ ตลาดในภูมิภาคอาเซียน ซึ่งเป็นตลาดใหม่ด้าน LNG จะได้รับการช่วยเหลือจากญี่ปุ่น โดย Japan Oil, Gas and Metals National Corporation (JOGMEC) ในการจัด Capacity Building Training Programme on LNG รวมทั้งด้านต่างๆ ที่เกี่ยวข้อง ซึ่งจะเริ่มดำเนินการในปี 2561 และประเทศไทยจะได้ประโยชน์จากกิจกรรมนี้ เพื่อส่งเสริมในเรื่องการเป็นตลาด LNG ของภูมิภาคในอนาคตต่อไป

2.) เวทีด้านการสำรองน้ำมัน
ที่ประชุม ฯ ได้หารือแนวทางการจัดทำยุทธศาสตร์การสำรองน้ำมันในภูมิภาคอาเซียน ซึ่งถือว่ามีความจำเป็นในการเสริมสร้างความมั่นคงทางด้านพลังงานของอาเซียนในอนาคต เนื่องจากระดับการพัฒนาการสำรองน้ำมันในแต่ละประเทศในภูมิภาคนี้มีความแตกต่างกัน ทั้งในเชิงนโยบาย กฎหมายและแนวทางปฏิบัติ ซึ่งประเทศญี่ปุ่นโดย The Institute of Electrical Engineers of Japan (IEEJ) ได้นำเสนอผลการศึกษาศักยภาพของการสำรองน้ำมัน รวมทั้งหารือแนวทางความร่วมมือในการสำรองน้ำมันทางยุทธศาสตร์ และการพัฒนาขีดความสามารถของสมาชิกอาเซียนต่อไปในอนาคต ทั้งนี้ ชาติในอาเซียนยังคงต้องการเงินลงทุน และการเสริมสร้างศักยภาพจากประเทศจีน ญี่ปุ่น และเกาหลีใต้ เพื่อพัฒนาการสำรองน้ำมันเชิงยุทธศาสตร์ โดยญี่ปุ่นได้เสนอแนวทางการศึกษา และพัฒนาขีดความสามารถให้บุคลากรอาเซียน ซึ่งไทยจะได้รับประโยชน์ในการเข้าร่วมดังกล่าวด้วย
3.) เวทีด้านความมั่นคงพลังงาน ที่ประชุม ฯ ได้มีการนำเสนอผลการศึกษาเกี่ยวกับแนวโน้มของตลาดพลังงานโลกและอาเซียน ซึ่งคาดว่าความต้องการใช้พลังงานในภูมิภาคอาเซียนและบวกสาม (จีน ญี่ปุ่น เกาหลี) ยังคงเป็นภูมิภาคที่มีความต้องการใช้พลังงานมากที่สุดภูมิภาคหนึ่งของโลก โดยถ่านหินและเทคโนโลยีถ่านหินสะอาดยังเป็นแหล่งเชื้อเพลิงสำคัญในภูมิภาคนี้ในอนาคต นอกจากนี้ ที่ประชุมได้มีการหารือแนวทางในการส่งเสริมความมั่นคงด้านพลังงานในมิติของน้ำมันและก๊าซธรรมชาติ ในเชิงการสำรองน้ำมันในอาเซียนและการพัฒนาความตกลงอาเซียนว่าด้วยความมั่นคงทางปิโตรเลียม (ASEAN Petroleum Security Agreement : APSA) ให้สามารถนำมาใช้ในเชิงปฏิบัติได้ในอนาคต ตลอดจนหาแนวทางเพิ่มศักยภาพของอาเซียนโดยนำมิติของเทคโนโลยีถ่านหินสะอาด รวมทั้งสนับสนุนความร่วมมือให้มากขึ้นจากประเทศบวกสาม (จีน ญี่ปุ่น เกาหลี)

กระทรวงพลังงาน เป็นเจ้าภาพประชุมเวที ASEAN + 3 ด้านตลาดน้ำมัน ก๊าซธรรมชาติ แผนการสำรองน้ำมัน และหารือเพื่อสร้างความมั่นคงด้านพลังงาน

ก.พลังงาน เป็นเจ้าภาพประชุมเวที ASEAN + 3 ด้านตลาดน้ำมัน ก๊าซธรรมชาติ แผนการสำรองน้ำมัน และหารือเพื่อสร้างความมั่นคงด้านพลังงาน ระหว่าง 27 – 30 มี.ค. ชี้ที่ประชุมฯ เชื่อน้ำมันยังเป็นเชื้อเพลิงสำคัญ ที่มีการลงทุนต่อเนื่องท่ามกลางยุคยานยนต์ไฟฟ้า พร้อม LNG จะเกิดการพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานต่อเนื่อง ระบุในอนาคตมีโอกาสสำรองน้ำมันร่วมกันในภูมิภาค

ระหว่างวันที่ 27 – 30 มี.ค. 2561 ที่ผ่านมา กระทรวงพลังงานได้รับเกียรติเป็นเจ้าภาพจัดการประชุมสำคัญด้านตลาดการค้าน้ำมันและก๊าซธรรมชาติ แผนงานการสำรองน้ำมัน และด้านความมั่นคงด้านพลังงาน ภายใต้ความร่วมมือ ASEAN+3 ได้แก่ การประชุม The 7th ASEAN+3 Oil Market and Natural Gas Forum (OM&NG) and Business dialogue , The 6th Workshop of the ASEAN+3 Oil Stockpiling Road Map (OSRM) , The 15th ASEAN+3 Energy Security Forum (ESF) การประชุมฯ ครั้งนี้ มีผู้แทนจากประเทศสมาชิกอาเซียนบวก 3 (จีน ญี่ปุ่น และเกาหลีใต้) คณะมนตรีอาเซียนด้านปิโตรเลียม หรือ ASEAN Council on Petroleum (ASCOPE) ศูนย์พลังงานอาเซียน ASEAN Centre on Energy (ACE) และสถาบันการเงิน อาทิ Asian Development Bank (ADB) เป็นต้น ซึ่งในที่ประชุม ฯ มีการหารือเกี่ยวกับการส่งเสริมความมั่นคงด้านพลังงาน แลกเปลี่ยนข้อมูล ประสบการณ์และข้อคิดเห็น ตลอดจนแนวทางความร่วมมือระหว่างชาติสมาชิกอาเซียนบวกสามในอนาคต และพิธีเปิดการประชุมฯ เมื่อวันที่ 27 มีค. ได้รับเกียรติจากนายประเสริฐ สินสุขประเสริฐ ผู้ตรวจราชการกระทรวงพลังงาน เป็นประธาน ทั้งนี้ ข้อสรุปจากการหารือร่วมกันในประชุม ฯ ที่สำคัญ ๆ ได้แก่

1.) เวทีด้านตลาดน้ำมันก๊าซธรรมชาติ และการหารือภาคธุรกิจพลังงาน ที่ประชุม ฯ มีความเห็นว่า ปัจจุบันน้ำมันยังเป็นเชื้อเพลิงสำคัญ แม้ว่าจะมีพลังงานทดแทนและเทคโนโลยีสมัยใหม่เข้ามา เช่น พลังงานแสงอาทิตย์ พลังงานลม รถยนต์ไฟฟ้า และระบบกักเก็บพลังงาน โดยโดยสถาบันวิจัยระหว่างประเทศหลายแห่ง คาดการณ์ว่าความต้องการด้านน้ำมันและก๊าซธรรมชาติ และLNG ในภูมิภาคอาเซียนจะเพิ่มขึ้น โดยเฉพาะก๊าซธรรมชาติคาดว่าจะเพิ่มขึ้นอย่างน้อย 33% ในปี 2573 (หากการดำเนินธุรกิจเป็นเช่นนี้ในอนาคต) และศักยภาพในการลงทุนด้านโครงสร้างพื้นฐานยังมีสูง เช่น ท่าเรือรองรับ LNG และโครงข่ายท่อก๊าซธรรมชาติ ซึ่งสะท้อนถึงโอกาสในการลงทุนที่เพิ่มขึ้นของตลาดน้ำมันและก๊าซธรรมชาติในภูมิภาค โดยในเวทีการประชุมฯ ยังได้เชิญสถาบันการเงิน เช่น ADB หรือผู้เชี่ยวชาญจากญี่ปุ่นในการนำเสนอแหล่งทุนจากญี่ปุ่น ซึ่งได้เปิดโอกาสให้สมาชิกอาเซียนพบปะ และถือโอกาสรับการสนับสนุนทางด้านการเงินในการลงทุนในมิติต่างๆ อาทิ โรงไฟฟ้าจากเชื้อเพลิงก๊าซธรรมชาติที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม การพัฒนาแหล่งก๊าซธรรมชาติ การขนส่งและกระจายก๊าซธรรมชาติไปยังโรงแยกก๊าซ การกระจายผลิตภัณฑ์จากปิโตรเลียม ตลอดจน การพัฒนาเพื่อเพิ่มประสิทธิภาพและความปลอดภัยในด้านการขนส่งน้ำมันและ LNG ซึ่งถือว่าเป็นการส่งเสริมเรื่องการซื้อขายไฟฟ้าและก๊าซธรรมชาติในภูมิภาคอีกด้วย นอกจากนี้ ตลาดในภูมิภาคอาเซียน ซึ่งเป็นตลาดใหม่ด้าน LNG จะได้รับการช่วยเหลือจากญี่ปุ่น โดย Japan Oil, Gas and Metals National Corporation (JOGMEC) ในการจัด Capacity Building Training Programme on LNG รวมทั้งด้านต่างๆ ที่เกี่ยวข้อง ซึ่งจะเริ่มดำเนินการในปี 2561 และประเทศไทยจะได้ประโยชน์จากกิจกรรมนี้ เพื่อส่งเสริมในเรื่องการเป็นตลาด LNG ของภูมิภาคในอนาคตต่อไป

2.) เวทีด้านการสำรองน้ำมัน ที่ประชุม ฯ ได้หารือแนวทางการจัดทำยุทธศาสตร์การสำรองน้ำมันในภูมิภาคอาเซียน ซึ่งถือว่ามีความจำเป็นในการเสริมสร้างความมั่นคงทางด้านพลังงานของอาเซียนในอนาคต เนื่องจากระดับการพัฒนาการสำรองน้ำมันในแต่ละประเทศในภูมิภาคนี้มีความแตกต่างกัน ทั้งในเชิงนโยบาย กฎหมายและแนวทางปฏิบัติ ซึ่งประเทศญี่ปุ่นโดย The Institute of Electrical Engineers of Japan (IEEJ) ได้นำเสนอผลการศึกษาศักยภาพของการสำรองน้ำมัน รวมทั้งหารือแนวทางความร่วมมือในการสำรองน้ำมันทางยุทธศาสตร์ และการพัฒนาขีดความสามารถของสมาชิกอาเซียนต่อไปในอนาคต ทั้งนี้ ชาติในอาเซียนยังคงต้องการเงินลงทุน และการเสริมสร้างศักยภาพจากประเทศจีน ญี่ปุ่น และเกาหลีใต้ เพื่อพัฒนาการสำรองน้ำมันเชิงยุทธศาสตร์ โดยญี่ปุ่นได้เสนอแนวทางการศึกษา และพัฒนาขีดความสามารถให้บุคลากรอาเซียน ซึ่งไทยจะได้รับประโยชน์ในการเข้าร่วมดังกล่าวด้วย

3.) เวทีด้านความมั่นคงพลังงาน ที่ประชุม ฯ ได้มีการนำเสนอผลการศึกษาเกี่ยวกับแนวโน้มของตลาดพลังงานโลกและอาเซียน ซึ่งคาดว่าความต้องการใช้พลังงานในภูมิภาคอาเซียนและบวกสาม (จีน ญี่ปุ่น เกาหลี) ยังคงเป็นภูมิภาคที่มีความต้องการใช้พลังงานมากที่สุดภูมิภาคหนึ่งของโลก โดยถ่านหินและเทคโนโลยีถ่านหินสะอาดยังเป็นแหล่งเชื้อเพลิงสำคัญในภูมิภาคนี้ในอนาคต นอกจากนี้ ที่ประชุมได้มีการหารือแนวทางในการส่งเสริมความมั่นคงด้านพลังงานในมิติของน้ำมันและก๊าซธรรมชาติ ในเชิงการสำรองน้ำมันในอาเซียนและการพัฒนาความตกลงอาเซียนว่าด้วยความมั่นคงทางปิโตรเลียม (ASEAN Petroleum Security Agreement : APSA) ให้สามารถนำมาใช้ในเชิงปฏิบัติได้ในอนาคต ตลอดจนหาแนวทางเพิ่มศักยภาพของอาเซียนโดยนำมิติของเทคโนโลยีถ่านหินสะอาด รวมทั้งสนับสนุนความร่วมมือให้มากขึ้นจากประเทศบวกสาม (จีน ญี่ปุ่น เกาหลี)

OMNG

The Ministry of Energy, Thailand is honored and privileged to host the 7th ASEAN +3 Oil market and natural gas forum and businesses dialogue/the 6th workshop of the ASEAN+3 oil stockpiling road map/15th ASEAN+3 Energy Security forum from 27-30 March 2018. For your further information, please click on the link below to download the related documents.

Day 1 (27 March 2018)

 

Day 2 (28 March 2018)

 

Day 3 (29 March 2018)

Day 4 (30 March 2018)

 

 

 

 

 

รมว.พลังงาน ร่วมคณะนายกรัฐมนตรี ลงพื้นที่ จ.หนองบัวลำภู ขับเคลื่อนระบบสูบน้ำด้วยพลังงานแสงอาทิตย์

รมว.พลังงาน ร่วมคณะนายกรัฐมนตรี ลงพื้นที่ จ.หนองบัวลำภู ขับเคลื่อนระบบสูบน้ำด้วยพลังงานแสงอาทิตย์ ช่วยชุมชนในพื้นที่เกษตรกรรมรวมกว่า 3,000 ไร่ เกิดรายได้ที่มั่นคงคุณภาพชีวิตดีขึ้น ตามแนวทางไทยนิยมยั่งยืน

วันที่ 22 มี.ค. 61 นายศิริ จิระพงษ์พันธ์ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงพลังงาน ร่วมคณะตรวจราชการของนายกรัฐมนตรี ติดตามความคืบหน้า การใช้ระบบสูบน้ำบาดาลด้วยพลังงานจากแสงอาทิตย์ เพื่อใช้ในการปลูกผักอินทรีย์ สร้างความมั่นคงด้านรายได้และผลกำไรให้กับชุมชนอย่างมั่นคง โดยชุมชนไม่ต้องเสียงค่าใช้จ่ายในการจัดหาน้ำ เพื่อขับเคลื่อนชุมชนโพธิ์ศรีสำราญ เป็นเมืองเกษตรอินทรีย์ ตามแนวทางไทยนิยมยั่งยืน และเป็นต้นแบบการขยายผล การใช้พลังงานแสงอาทิตย์สูบน้ำ สู้ภัยแล้ง ในพื้นที่เกษตรกรรม กว่า 3,000 ไร่ ทั่วจังหวัดหนองบัวลำภู

โดยระบบสูบน้ำบาดาลด้วยพลังงานจากแสงอาทิตย์ ใช้เงินลงทุน 1.267 ล้านบาท และประกอบด้วย บ่อน้ำบาดาล (ขนาด 5 ลูกบาศก์เมตรต่อชั่วโมง) แผงแปลงพลังงานแสงอาทิตย์ เป็นไฟฟ้า (ขนาด 2,000 วัตต์) ปั้มน้ำ (ขนาด 1.8 แรงม้า) และระบบถังพักน้ำใหญ่เล็ก (รวม 60 ลูกบาศก์เมตร) กระจายพื้นที่กว่า 8 ไร่ ของโครงการเกษตรอินทรีย์โพธิ์ศรีสำราญ สำหรับผู้ร่วมโครงการ 38 ราย และเมื่อขยายโครงการครบ 3,478 ไร่ จะสามารถช่วยเหลือเกษตรได้ถึง 1,868 คน

 

รมว.พน. เป็นประธานเปิดโครงการอบรมให้ความรู้การป้องกันการทุจริต และผลประโยชน์ทับซ้อน

รัฐมนตรีว่าการกระทรวงพลังงาน ให้โอวาทในการเปิดการอบรมให้ความรู้การป้องกันการทุจริต และผลประโยชน์ทับซ้อนแก่ข้าราชการและเจ้าหน้าที่กระทรวงพลังงาน ย้ำให้เจ้าหน้าที่รัฐยึดมั่นในหลักธรรมาภิบาล โปร่งใส สร้างความเชื่อมั่นแก่ประชาชน

วันนี้ (15 มี.ค. 61) ดร.ศิริ จิระพงษ์พันธ์ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงพลังงาน ได้เป็นประธานในการกล่าวเปิดโครงการอบรมให้ความรู้การป้องกันการทุจริต และผลประโยชน์ทับซ้อน เรื่อง “ส่องกล้อง มองไกล กฎหมายคอร์รัปชั่น” โดยมีผู้บริหารระดับสูง ข้าราชการและเจ้าหน้าที่กระทรวงพลังงาน จำนวนกว่า 200 คน เข้าร่วมการอบรม ณ ห้องประชุมชั้น 15 ศูนย์เอนเนอร์ยี่คอมเพล็กซ์ อาคารบี ในการนี้ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงพลังงาน ได้มอบนโยบายในการปฏิบัติงานให้ ข้าราชการและเจ้าหน้าที่กระทรวงพลังงานยึดมั่นในหลักธรรมาภิบาล โปร่งใสตรวจสอบได้ และรับฟังความเห็นของประชาชน เพื่อให้การผลักดันนโยบายด้านพลังงานได้รับการยอมรับและสามารถขับเคลื่อนได้อย่างเป็นรูปธรรม ในโอกาสนี้ได้ร่วมแสดงสัญลักษณ์ การต่อต้านการทุจริตคอร์รัปชั่น พร้อมกับผู้บริหารกระทรวงพลังงาน เพื่อแสดงพลังในการต่อต้านการทุจริตคอร์รัปชั่น

สำหรับโครงการอบรมในครั้งนี้ จัดโดยศูนย์ปฏิบัติการต่อต้านการทุจริต (ศปท.) กระทรวงพลังงาน มีวัตถุประสงค์เพื่อให้ความรู้การป้องกันการทุจริต และผลประโยชน์ทับซ้อนแก่ข้าราชการและเจ้าหน้าที่กระทรวงพลังงาน ซึ่งเป็นหนึ่งในยุทธศาสตร์ชาติว่าด้วยการป้องกันและปราบปรามการทุจริต ระยะที่ 3 (พ.ศ.2560-2564) โดยได้เชิญ พลอากาศเอกวีรวิท คงศักดิ์ กรรมการปฏิรูปประเทศด้านการป้องกัน และปราบปรามการทุจริต ในรัฐบาลชุดปัจจุบัน เป็นวิทยากรบรรยายถ่ายทอดความรู้และประสบการณ์ รวมถึงกระตุ้นจิตสำนึกและสร้างค่านิยมแก่ข้าราชการและเจ้าหน้าที่กระทรวงพลังงาน เพื่อผลักดันให้เกิดสังคมที่ไม่ทนต่อการทุจริตสมตามเจตนารมณ์ของยุทธศาสตร์ชาติ

กระทรวงพลังงาน ชี้แจง แนวทางการสร้างความมั่นคงด้านไฟฟ้าในพื้นที่ภาคใต้

กระทรวงพลังงาน ชี้แจง แนวทางการสร้างความมั่นคงด้านไฟฟ้าในพื้นที่ภาคใต้

ตามที่ ได้มีการเคลื่อนไหวของสหภาพแรงงานรัฐวิสาหกิจการไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทย (สร.กฟผ.) เพื่อขอทราบความชัดเจนในนโยบายและทิศทางพลังงานไฟฟ้าของประเทศ โดยเฉพาะในพื้นที่ภาคใต้นั้น กระทรวงพลังงาน ขอชี้แจงเพื่อสร้างความเข้าใจ ดังนี้

– กรณีการพัฒนาโรงไฟฟ้าถ่านหินกระบี่ และเทพาฯ กระทรวงพลังงานได้พิจารณาแล้ว การพัฒนาโครงการฯ ดังกล่าว มีทั้งกลุ่มคนที่เห็นด้วย และเห็นต่าง ซึ่งแนวทางการพัฒนาประเทศ จำเป็นต้องมีการรับฟังความคิดเห็นจากทุกฝ่าย และอยู่บนพื้นฐานประโยชน์สูงสุดของประเทศชาติ ในกรณีดังกล่าว กระทรวงพลังงานขอย้ำว่า ได้สั่งการให้หน่วยงานที่เกี่ยวข้อง ศึกษาทบทวนความเหมาะสมในเรื่องของที่ตั้งโรงไฟฟ้า ให้มีการจัดทำ SEA (การประเมินสิ่งแวดล้อมระดับยุทธศาสตร์) ซึ่งเป็นการดำเนินงานทางวิชาการ เพื่อหาพื้นที่ที่เหมาะสม ในการก่อสร้างโครงการโรงไฟฟ้าถ่านหินขนาดใหญ่

– ในส่วนของความมั่นคงด้านไฟฟ้าในพื้นที่ภาคใต้ ในช่วง 5 ปีข้างหน้า   การไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทย (กฟผ.) เป็นผู้พิจารณาเสนอ แนวทางการรักษาความมั่นคงด้านไฟฟ้าในพื้นที่ภาคใต้ โดยเสนอให้มีการขยายสายส่งไฟฟ้า ให้เพียงพอและมีความมั่นคงมากขึ้น ขณะเดียวกันจะมีการพัฒนาโรงไฟฟ้าชีวมวล 300 เมกะวัตต์ ในพื้นที่จังหวัดชายแดนภาคใต้ เพื่อรองรับความต้องการในพื้นที่และมีการพัฒนาระบบโครงข่ายไฟฟ้าเฉพาะในพื้นที่ดังกล่าว

– กระทรวงพลังงานให้ความสำคัญในการกระจายประเภทเชื้อเพลิงในการผลิตไฟฟ้า ทั้งก๊าซธรรมชาติ ถ่านหิน และพลังงานทดแทน ในสัดส่วนที่เหมาะสม โดยปัจจุบันยังมีความเหมาะสมที่จะต้องเพิ่มสัดส่วนการใช้ถ่านหิน เพื่อการผลิตไฟฟ้า

ท้ายสุดนี้ กระทรวงพลังงาน พร้อมเปิดรับทุกความคิดเห็นที่ก่อให้เกิดประโยชน์ต่อประชาชนและประเทศชาติโดยรวม

28 กุมภาพันธ์ 2561

พิธีทำบุญตักบาตร อุทิศถวายเป็นพระราชกุศล แด่พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช บรมนาถบพิตร ณ พระที่นั่งทรงธรรม มณฑลพิธีท้องสนามหลวง

วันนี้ (11 ม.ค. 61) พลเอก ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรี เป็นประธานในพิธีทำบุญตักบาตร อุทิศถวายเป็นพระราชกุศล แด่พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช บรมนาถบพิตร มีพระสงฆ์ จำนวน 89 รูป ออกรับบิณฑบาต รอบพระเมรุมาศ โดย ดร.ศิริ จิระพงษ์พันธ์ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงพลังงาน และนายธรรมยศ ศรีช่วย ปลัดกระทรวงพลังงาน เข้าร่วมพิธี ณ พระที่นั่งทรงธรรม มณฑลพิธีท้องสนามหลวง

รับสมัครบุคคลขึ้นทะเบียนผู้ทรงคุณวุฒิ ประจำปี 2561

รับสมัครบุคคลขึ้นทะเบียนผู้ทรงคุณวุฒิ ประจำปี 2561 เพื่อเข้ารับกำรพิจารณาเป็น “คณะกรรมการรับฟังความคิดเห็นของประชาชนและผู้มีส่วนได้เสียสำหรับโครงการหรือกิจการที่อาจก่อให้เกิดผลกระทบต่อชุมชนอย่างรุนแรงทั้งทางด้านคุณภาพสิ่งแวดล้อม ทรัพยากรธรรมชาติและสุขภาพ” ตามประกำศกระทรวงทรัพยากรธรรมชำติและสิ่งแวดล้อม

รายละเอียดเพิ่มเติม คลิกที่นี่

กระทรวงพลังงาน ชี้แจง เรื่อง การช่วยลดสต๊อกน้ำมันปาล์มดิบ

กระทรวงพลังงาน ชี้แจง เรื่อง การช่วยลดสต๊อกน้ำมันปาล์มดิบ

ตามที่ มีการเผยแพร่ข้อมูลที่ตั้งใจให้เข้าใจผิดว่า รัฐบาล คสช. มีนโยบายให้โรงไฟฟ้ากระบี่นำน้ำมันปาล์มมาใช้เป็นเชื้อเพลิงในการผลิตไฟฟ้านั้น

กระทรวงพลังงาน ขอชี้แจงว่า ข้อมูลที่เผยแพร่ดังกล่าวไม่เป็นความจริง ข้อเท็จจริงคือ รัฐบาลมีมติ “ไม่ให้” นำน้ำมันปาล์มดิบมาเผาที่โรงไฟฟ้ากระบี่เพราะเป็นมาตรการที่ช่วยเกษตรกรได้เพียงเล็กน้อยแต่มีผลเสียหายให้ประชาชนทุกคนต้องจ่ายค่าไฟฟ้าแพงขึ้น มากกว่าประโยชน์ที่ได้รับกว่า “10 เท่า”

ทั้งนี้ กระทรวงพลังงานมีมาตรการช่วยลดปริมาณน้ำมันปาล์มดิบด้วยการเร่งรัดให้โรงงานผลิตไบโอดีเซลเพิ่มปริมาณการใช้น้ำมันปาล์มดิบ โดยให้ผลิตไบโอดีเซลเพิ่มมากกว่าปกติ    อีก 50% เพื่อเก็บสำรอง ซึ่งจะช่วยดูดซับสต๊อกน้ำมันปาล์มดิบที่ล้นให้ลดลงได้มากถึง 50,000      ตันต่อเดือน โดยมีแผนที่จะใช้น้ำมันปาล์มดิบเพิ่มจากปกติอีก 100,000 ตัน ภายในระยะเวลา  2 เดือน และได้เริ่มดำเนินการแล้วตั้งแต่วันที่ 20 ธันวาคม 2560 ที่ผ่านมา ทำให้ราคาน้ำมันปาล์มดิบขยับขึ้นเล็กน้อยจาก 19 บาทต่อกิโลกรัม เป็น 19.25 บาทต่อกิโลกรัม ในขณะที่ราคาในมาเลเซียอ่อนตัวลง

กระทรวงพลังงานจับมือ ปตท. แจกข้าวใหม่เมื่อเติมน้ำมันที่ปั๊ม ปตท.ทั่วประเทศรับปีใหม่

กระทรวงพลังงานจับมือ ปตท. แจกข้าวใหม่เมื่อเติมน้ำมันที่ปั๊ม ปตท.ทั่วประเทศรับปีใหม่
สนับสนุนข้าวสารจากชาวนาไทยมอบความสุขช่วงปีใหม่แจกข้าวใหม่ 1 ล้านกิโลกรัมผ่านโครงการ
“ปีใหม่ ข้าวใหม่… อิ่มท้อง อิ่มใจ ช่วยชาวนา”
วันนี้ (24 ธันวาคม 2560) นายศิริ จิระพงษ์พันธ์รัฐมนตรีว่าการกระทรวงพลังงาน เป็นประธานในพิธีเปิดโครงการ“ปีใหม่ ข้าวใหม่… อิ่มท้อง อิ่มใจ ช่วยชาวนา”โดยมี นายธรรมยศ ศรีช่วยปลัดกระทรวงพลังงาน นายนิมิต วันไชยธนวงศ์ผู้ว่าราชการจังหวัดสุพรรณบุรี และนายเทวินทร์ วงศ์วานิช ประธานเจ้าหน้าที่บริหารและกรรมการผู้จัดการใหญ่ บริษัท ปตท. จำกัด (มหาชน) ร่วมในพิธีเปิดโครงการฯ ณ สถานีบริการน้ำมันปตท.บจก.หลักเมืองถาวรพาณิชย์ อำเภอเมือง จังหวัดสุพรรณบุรี

นายศิริเปิดเผยว่า โครงการ “ปีใหม่ ข้าวใหม่…อิ่มท้อง อิ่มใจ ช่วยชาวนา” เป็นโครงการที่กระทรวงพลังงาน โดยบริษัท ปตท. จำกัด (มหาชน)จัดขึ้นเพื่อมอบข้าวใหม่ 1 ถุง ขนาดบรรจุ 500กรัมเป็นของขวัญปีใหม่สำหรับประชาชนที่เข้ามาใช้บริการ ณ สถานีบริการน้ำมัน ปตท. โดยเริ่มโครงการตั้งแต่วันที่ 1 ม.ค. 2561 เป็นต้นไป ซึ่งนอกจากจะเป็นการมอบความสุขให้กับประชาชนในช่วงเทศกาลปีใหม่แล้ว ยังเป็นการช่วยสนับสนุนข้าวจากชาวนาไทยอีกด้วย ซึ่งคาดว่าการแจกข้าว1 ล้านกิโลกรัมหรือประมาณ 2 ล้านถุง จะช่วยเกษตรกรชาวนาไทยให้มีรายได้และมีช่องทางกระจายข้าวให้ถึงมือผู้บริโภคโดยตรง

ด้าน นายเทวินทร์ กล่าวเพิ่มเติมว่าปตท. จะมอบข้าวใหม่ให้แก่ประชาชนผู้ใช้บริการในสถานีบริการน้ำมัน ปตท. 1,500 แห่งทั่วประเทศในโครงการ “ปีใหม่ ข้าวใหม่…อิ่มท้อง อิ่มใจ ช่วยชาวนา” โดยข้าวที่นำมาแจกในโครงการนี้เป็นข้าวที่ ปตท. จัดซื้อมาจากเกษตรกร หรือกลุ่มเกษตรกรโดยตรง ซึ่งแต่ละสถานีบริการจะรับซื้อข้าวจากเกษตรกรสถานีละ 650กิโลกรัม ราคากิโลกรัมละประมาณ 35บาทซึ่งนอกจากการมอบข้าวใหม่เป็นของขวัญปีใหม่แล้ว ปตท. ยังเปิดพื้นที่ภายในสถานีบริการน้ำมัน ปตท. โดยไม่คิดค่าใช้จ่าย ให้เกษตรกรชาวนาทั่วประเทศมาจำหน่ายข้าวสารส่งตรงถึงมือผู้บริโภคในช่วงปีใหม่นี้อีกด้วย
“ปตท. ภาคภูมิใจที่ได้เป็นส่วนหนึ่งในการสนับสนุนเกษตรกรชาวนาไทย ให้มีช่องทางการจำหน่ายข้าว มีรายได้ และมีองค์ความรู้ด้านการจัดการสินค้า อีกทั้ง ยังมีส่วนในการสืบสานประเพณี วัฒนธรรม “ข้าว” ซึ่งผูกพันกับวิถีชีวิตความเป็นอยู่ของคนไทยมาช้านาน นอกจากนี้ ปตท. พร้อมเป็นส่วนหนึ่งของการร่วมทำความดี เพื่อส่งเสริมความเป็นอยู่ที่ดีของประชาชน และมุ่งมั่นที่จะร่วมดูแลชุมชน สังคม และสิ่งแวดล้อมของประเทศตลอดไป”นายเทวินทร์ กล่าวในตอนท้าย

รัฐมนตรีว่าการกระทรวงพลังงาน พบปะสื่อมวลชนประจำสัปดาห์

กระทรวงพลังงาน แถลงความคืบหน้าการเตรียมประมูลแหล่งปิโตรเลียม เอราวัณ-บงกช และแจงสถานการณ์ไฟฟ้าภาคใต้มอบของขวัญปีใหม่ พร้อมร่วม ปตท. แจกข้าวใหม่ 1 ถุง (0.5 กก.) ให้ผู้เติมน้ำมันชนิดใด ราคาเท่าไรก็ได้ เริ่ม 1 ม.ค. 2561 แจกรวม 2 ล้านถุง หรือ 1 ล้านกิโลกรัม ชี้ส่งสุขคนใช้น้ำมัน และได้ช่วยชาวนาโดยตรง
นายศิริ จิระพงษ์พันธ์ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงพลังงาน เปิดเผยภายในการพบปะสื่อมวลชนประจำสัปดาห์ของกระทรวงพลังงาน โดยสรุปประเด็นสำคัญ ได้ดังนี้
1.) ความคืบหน้าของการเตรียมประมูลแหล่งปิโตรเลียม เอราวัณ-บงกช หลังจากกระทรวงพลังงาน ได้จัดทำ Workshop เมื่อวันที่ 16 ธค. 2560 ที่ผ่านมา ซึ่งได้ทบทวนหลักการและเงื่อนไขขององค์ประกอบที่สำคัญของการประมูลปิโตรเลียมใน 2 แหล่งดังกล่าว เพื่อพัฒนาทรัพยากรทีเหลืออยู่ให้ประเทศได้ประโยชน์สูงสุด โดยเบื้องตน กระทรวงพลังงานจึงได้กำหนดให้การรักษาการผลิตก๊าซธรรมชาติขั้นต่ำจากแหล่งเอราวัณ และบงกช ในช่วงเวลาทั้งก่อนและหลังสิ้นอายุสัมปทานในปี 2565 -66 ให้เพียงพอต่อความต้องการของโรงแยกก๊าซ เป็นเงื่อนไขในการประมูล ซึ่งได้กำหนดไว้ประมาณ 1,500 ล้านลูกบาศก์ฟุตต่อวัน
​ปัจจุบัน การผลิตก๊าซธรรมชาติจากแหล่งเอราวัณ และบงกช อยู่ในระดับวันละ 2,100 ล้านลูกบาศก์ฟุตต่อวัน ซึ่งแนวโน้มจะเริ่มทยอยลดลง โดยการเปิดประมูลจากทั้ง 2 แหล่งดังกล่าว กระทรวงพลังงาน จึงมีความต้องการคุณสมบัติของผู้มาลงทุนที่ต้องมีความเชี่ยวชาญ และต้องสำรวจและผลิตก๊าซธรรมชาติให้ได้เพียงพอ 1,500 ล้านลูกบาศก์ฟุตต่อวันดังกล่าว และคาดว่าจะสามารถรักษาระดับการผลิตดังกล่าวไว้ได้ในระดับ 10 ปี ภายหลังที่จะเปิดให้มีการประมูลและได้ผู้ดำเนินการสำรวจและผลิตในแหล่งเอราวัณ และบงกชดังกล่าว
2.) ด้านสถานการณ์ไฟฟ้าในภาคใต้ของประเทศไทย จากรายงานของการไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทย ความต้องการใช้ไฟฟ้าภาคใต้ ปัจจุบัน การใช้ไฟฟ้าสูงสุดหรือ Peak อยู่ที่ระดับ 2,624 เมกะวัตต์ (เมื่อวันที่ 18 มี.ค. 2560) โดยความต้องการใช้ไฟฟ้ามีแนวโน้มเพิ่มขึ้นเฉลี่ยปีละ 3.4 % ต่อปี ทั้งนี้ การผลิตไฟฟ้ามาจาก 3 ส่วนที่สำคัญ คือ โรงไฟฟ้าหลัก (โรงไฟฟ้าขนอม – โรงไฟฟ้าจะนะ) กำลังผลิตรวม 2,024 เมกะวัตต์ ไฟฟ้าส่งจากภาคกลาง จำนวน 460 เมกะวัตต์ และพลังงานทดแทน(พลังน้ำ – ชีวมวล และลม) กำลังผลิตรวม 140 เมกะวัตต์ โดยการใช้ไฟฟ้าสูงสุดในภาคการท่องเที่ยว มีการใช้สูงถึง 36% ซึ่งถือเป็นภาคส่วนสำคัญที่สร้างรายได้หลักให้แก่พื้นที่ และประเทศไทย
​จากข้อสรุปในข้อมูลดังกล่าว กระทรวงพลังงานเห็นว่า ควรจะมีการเพิ่มกำลังผลิตไฟฟ้าที่เชื่อถือได้ (Firm) ในพื้นที่ภาคใต้ โดยต้องเป็นโรงไฟฟ้าหลักที่จะมาช่วยสร้างความมั่นคงให้แก่พื้นที่ภาคใต้ เพื่อสร้างคุณภาพให้แก่ภาคการท่องเที่ยว และคุณภาพชีวิตของประชาชนของชาวภาคใต้ เพราะจาก
ข้อมูลที่ปรากฎ หากเกิดเหตุไม่คาดฝันพร้อมกัน เช่น อุบัติเหตุเรือขนส่งลากไปโดยแนวท่อส่งก๊าซธรรมชาติ และเกิดเหตุฟ้าผ่าที่จุดเชื่อมต่อสายส่ง ภาคใต้ก็จะเกิดเหตุการณ์ไฟฟ้าดับ เป็นวงกว้าง ซึ่งคาดว่าจะสร้างความเสียหายต่อภาคการท่องเที่ยว และการใช้ชีวิตของประชาชน โดยกระทรวงพลังงาน จะศึกษาถึงผลดีผลเสียอย่างรอบด้าน ในการสร้างความมั่นคงภาคใต้ และคาดว่าจะได้รับความชัดเจนทั้งหมด ภายหลังการจัดทำแผนพัฒนากำลังผลิตไฟฟ้า หรือ PDP ฉบับใหม่ ที่เบื้องต้นจะให้แล้วเสร็จในวันที่ 31 มีนาคม 2561 นี้
3.)กระทรวงพลังงาน ได้ร่วมกับ บริษัท ปตท. จำกัด(มหาชน) เตรียมมอบขวัญให้แก่ประชาชน เพื่อเป็น
การส่งความสุขในวันปีใหม่ 2561 นี้ ผ่านโครงการ “ปีใหม่ ข้าวใหม่… อิ่มท้อง อิ่มใจ ช่วยชาวนา” ซึ่งจะ
ดำเนินการแจกข้าวใหม่ 1 ถุง (0.5 กก.) ให้กับผู้ที่เข้ามาเติมน้ำมันชนิดใดก็ได้ จำนวนเท่าใดก็ได้ ณ สถานี
บริการน้ำมัน ปตท. ในวันที่ 1 มกราคม 2561 หรือจนกว่าของจะหมด (รวม 2 ล้านถุง หรือ 1ล้าน
กิโลกรัม) ซึ่งนอกจากจะเป็นของขวัญแห่งความสุขของประชาชนแล้ว ส่วนหนึ่งยังได้ช่วยเกษตรกรชาวนา
ได้ขายข้าวได้โดยตรงอีกด้วย
​หลักการในการจัดหาข้าวเพื่อนำมาแจกตามโครงการ ฯ ดังกล่าว คือต้องเป็นข้าวจากเกษตรกร หรือกลุ่มเกษตรกรโดยตรง ไม่เป็นการจัดหาจากคนกลางใดๆ โดยจะเปิดจุดรับซื้อข้าวจากเกษตรกร ณ สถานีบริการน้ำมัน ปตท. 1,500 แห่งทั่วประเทศ ให้แต่ละสถานีฯ รับซื้อข้าวจากเกษตรกรสถานีละ 650 กิโลกรัม ราคากิโลกรัมละประมาณ 35 บาท โดยแบ่งรับซื้อจากเกษตรกรรายละ 65 กิโลกรัม เป็นจำนวน 10 ราย การรับซื้อต้องมีการเก็บหลักฐานการรับเงินของเกษตรกรอย่างชัดเจน พิสูจน์ได้ว่าซื้อข้าวจากเกษตรกรจริงๆ เช่น เอกสารใบรับเงินพร้อมสำเนาบัตรประชาชน ภาพถ่ายการรับซื้อ เป็นต้น โดยรายละเอียดเพิ่มเติมติดต่อได้ที่ PTT Contact Center โทร. 1365

รายชื่อร้านค้าที่จำหน่ายก๊าซหุงต้ม ที่ได้รับการติดตั้งเครื่อง EDC เรียบร้อยแล้ว

รายชื่อร้านค้าที่จำหน่ายก๊าซหุงต้ม ที่ได้รับการติดตั้งเครื่อง EDC เรียบร้อยแล้ว   คลิกที่นี่

แนวทางการจัดการประชารัฐสวัสดิการ การให้ความช่วยเหลือผ่านบัตรสวัสดิการแห่งรัฐ (ส่วนลดค่าซื้อก๊าซหุงต้ม) คลิกที่นี่

ปลัดกระทรวงพลังงาน ตรวจติดตามโครงการผลิตก๊าซชีวภาพจากน้ำเสียกระบวนการผลิตยางแผ่นรมควัน

วันที่ 28 พฤศจิกายน 2560 ​นายธรรมยศ ศรีช่วย ปลัดกระทรวงพลังงาน และคณะผู้บริหารกระทรวงพลังงาน ได้ตรวจติดตามโครงการผลิตก๊าซชีวภาพจากน้ำเสียกระบวนการผลิตยางแผ่นรมควันทอนไม้ไผ่ จากสหกรณ์กองทุนสวนยาง บ้านทอนไม้ไผ่ จำกัด จ.สงขลา ซึ่งเป็นสหกรณ์ ฯ นำร่องของโครงการส่งเสริมสาธิตการผลิตก๊าซชีวภาพในสหกรณ์กองทุนสวนยาง ระยะที่ 1 จากการส่งเสริมของกองทุนอนุรักษ์พลังงาน โดยมีระบบผลิตก๊าซชีวภาพจากน้ำเสีย ขนาด 521 ลูกบาศก์เมตร (กว้าง 15 เมตร ยาว 21 เมตร ลึก 3.5เมตร) ซึ่งสหกรณ์ ฯ ได้นำก๊าซชีวภาพไปใช้ประโยชน์ในการรมยางร่วมกับไม้ฟืน ทำให้ลดการใช้ไม้ฟืนได้เฉลี่ยร้อยละ 30 โดยทดแทนไม้ฟืนได้ 203.86 ตันต่อปี คิดเป็นมูลค่าที่ประหยัดได้ 132,510 บาทต่อปี และก๊าซชีวภาพบางส่วนย้ำสามารถนำไปใช้ทดแทนก๊าซหุงต้ม(LPG) ในการประกอบอาหารของคนงานในสหกรณ์ฯ รวมทั้งในภาพรวมยังช่วยลดการปลดปล่อยก๊าซเรือนกระจกออกสู่สิ่งแวดล้อมได้ 127.2 ตันต่อปี

ปลัดกระทรวงพลังงาน เข้าเยี่ยมฐานสนับสนุนการพัฒนาปิโตเลียม จ.สงขลา

วันที่ 27 พฤศจิกายน 2560 นายธรรมยศ ศรีช่วย ปลัดกระทรวงพลังงาน นำคณะผู้บริหารกระทรวงพลังงาน เข้าเยี่ยมฐานสนับสนุนการพัฒนาปิโตรเลียม ในพื้นที่จังหวัดสงขลา ซึ่งดำเนินงานโดยบริษัทย่อยของบริษัท ปตท.สำรวจและผลิตปิโตรเลียม จำกัด (มหาชน) หรือ ปตท.สผ. ฐานสนับสนุนการพัฒนาปิโตรเลียมดังกล่าวทำหน้าที่สนับสนุนการดำเนินงานโครงการสำรวจและผลิตปิโตรเลียมของโครงการบงกช โครงการอาทิตย์ โครงการพื้นที่ร่วมไทยมาเลเซีย รวมถึงโครงการอื่นๆ ในอ่าวไทย โดยเป็นท่าเรือรับส่งสินค้าและพัสดุอุปกรณ์ และให้บริการสนับสนุนการดำเนินงานแบบครบวงจร ได้มาตรฐานของฐานสนับสนุนการปฏิบัติการนอกชายฝั่ง และมีระบบจัดการตามระบบสากลที่มุ่งเน้นความปลอดภัยของเรือและท่าเรือระหว่างประเทศ โดยมีท่าเทียบเรือความยาว 380 เมตร สามารถรองรับเรือขนาดมากกว่า 500 ตันกรอสได้จำนวน 6 ลำพร้อมกัน ซึ่งถือว่ามีความพร้อมในการบริการและสนับสนุนการสำรวจและผลิตปิโตรเลียม เพื่อสร้างความมั่นคงด้านพลังงานให้แก่ประเทศไทยในระยะยาวต่อไป

ปลัดกระทรวงพลังงาน เข้าเยี่ยมชมโครงการส่งเสริมการผลิตไบโอมีเทนแบบอัด

​วันที่ 27 พฤศจิกายน 2560 นายธรรมยศ ศรีช่วย ปลัดกระทรวงพลังงาน ได้มีภารกิจลงพื้นที่ จ.นครศรีธรรมราช เพื่อเยี่ยมชมและติดตาม ความคืบหน้าการดำเนินโครงการด้านพลังงานทดแทนในหลายเทคโนโลยี ซึ่งจะเป็นการสร้างชีวิตความเป็นอยู่ที่ดีขึ้นให้แก่ประชาชนโดยได้เข้าเยี่ยมชม​โครงการส่งเสริมการผลิตไบโอมีเทนแบบอัด (Compressed Bio-Methane Gas) หรือ CBG บริษัท เกษตรลุ่มน้ำ จำกัด จ.นครศรีธรรมราช ซึ่งดำเนินธุรกิจโรงงานสกัดน้ำมันปาล์ม และได้รับเงินสนับสนุนจากกองทุนเพื่อส่งเสริมการอนุรักษ์พลังงานเพื่อลงทุนในระบบปรับปรุงคุณภาพก๊าซชีวภาพ และระบบบรรจุก๊าซ CBG โดยปัจจุบัน มีปริมาณน้ำเสียจากโรงงาน ที่สามารถผลิตก๊าซ CBG ได้ประมาณ 3 ตันต่อวัน และได้นำไปใช้เป็นเชื้อเพลิงทดแทนในรถบรรทุกของบริษัท เพื่อขนส่งน้ำมันปาล์มดิบไปส่งจังหวัดชุมพรและจังหวัดชลบุรี รวมทั้งมีการขนส่งสินค้าทั่วไป เช่น แผ่นพื้นคอนกรีต เป็นต้น ซึ่งช่วยให้ประหยัดต้นทุนค่าใช้จ่ายด้านพลังงานสูงถึง 14.27 ล้านบาทต่อปี โดยแนวทางการ ส่งเสริมการใช้ CBG ดังกล่าว กระทรวงพลังงานได้มีเป้าหมายตามแผนพัฒนาพลังงานทดแทนและพลังงานทางเลือก (AEDP) ให้เกิดการใช้ CBG ที่มีประสิทธิภาพ ประมาณ 4,800 ตันต่อวัน ในปี 2579 เพื่อลดการใช้น้ำมันเบนซิน ดีเซล และก๊าซธรรมชาติสำหรับยานยนต์(NGV) ที่มีข้อจำกัดในหลายพื้นที่ซึ่งไกลจากสถานีแม่หรือแนวท่อส่งก๊าซธรรมชาติ รวมทั้งการผลิต CBG ดังกล่าวจากน้ำเสีย/ของเสีย จากโรงงาน ประเทศไทยยังมีศักยภาพที่จะผลิต CBG เพื่อใช้ในภาคขนส่ง เพื่อลดต้นทุนด้านพลังงานและรักษาคุณภาพสิ่งแวดล้อมอีกด้วย

     ​ทั้งนี้ โครงการส่งเสริมการผลิตไบโอมีเทนอัด (CBG) ของบริษัท เกษตรลุ่มน้ำ จำกัด ยังเป็นความร่วมมือด้านเทคโนโลยีของเอกชนไทย-ญี่ปุ่นด้วย โดยบริษัท เกษตรลุ่มน้ำ จำกัด ได้ร่วมมือกับ บริษัท โอซาก้าแก๊ส จำกัด ซึ่งเป็นบริษัทแก๊สขนาดใหญ่อันดับ 2 ของประเทศญี่ปุ่น ในการพัฒนาเทคโนโลยีระบบก๊าซชีวภาพเป็นก๊าซ CBG ได้เป็นผลสำเร็จ จนสามารถเปิดเป็นสถานีบริการก๊าซ CBG แห่งแรกของภาคใต้

การรับข้อเสนอโครงการสนับสนุน การศึกษา วิจัย พัฒนาเทคโนโลยีอนุรักษ์พลังงาน ปีงบประมาณ 2561

การรับข้อเสนอโครงการสนับสนุน การศึกษา วิจัย พัฒนาเทคโนโลยีอนุรักษ์พลังงาน ปีงบประมาณ 2561 คลิ๊กที่นี่

รัฐมนตรีว่าการกระทรวงพลังงาน ร่วมงานเปิดตัวแอปพลิเคชัน “กระทรวงพลังงาน”

   

      กระทรวงพลังงาน เปิดประสบการณ์ใหม่ให้คนไทยได้รับรู้ข่าวสารและความรู้ด้านพลังงาน ได้รวดเร็วทันเหตุการณ์ ในยุค 4.0 กับการเปิดตัวแอปพลิเคชั่นใหม่ “กระทรวงพลังงาน”บนอุปกรณ์เครื่องมือสื่อสารผ่านระบบปฏิบัติการ iOS – Android  ที่เข้าถึงข้อมูลการแจ้งเตือนการเปลี่ยนแปลงราคาน้ำมัน ปริมาณการใช้ไฟฟ้าทั้งประเทศแบบ Real time สถานการณ์พลังงานไฟฟ้า สินค้าพลังงานต่างๆ ข่าวสารเรื่องเด่นประเด็นร้อน เพิ่มพื้นที่สนุกๆ ด้วยกิจกรรมตอบคำถามชิงรางวัลพิเศษทุกเดือน

      พลเอก อนันตพร กาญจนรัตน์ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงพลังงาน เปิดเผยว่า ตามนโยบายรัฐบาลที่ประกาศแผนพัฒนาดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคม โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อขับเคลื่อนปฏิรูปประเทศไทยสู่ Digital Thailand นั่นหมายถึงประเทศไทยสามารถสร้างสรรค์ และใช้ประโยชน์จากเทคโนโลยีดิจิทัลอย่างเต็มศักยภาพในการพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานต่างๆ เพื่อขับเคลื่อนการพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมของประเทศไปสู่ความมั่นคง มั่งคั่ง และยั่งยืน ดังนั้นเพื่อให้สอดรับกับนโยบายดังกล่าว กระทรวงพลังงาน ได้เพิ่มช่องทางการสื่อสารด้านพลังงาน ใหม่ให้กับคนไทย ยุค 4.0 โดยรวบรวมข้อมูลต่างๆจากหน่วยงานในสังกัดกระทรวงพลังงาน เช่นหน้าที่ ภารกิจ ผลผลิตของแต่ละหน่วยงาน เป็นต้น นอกจากนั้นยังมีช่องทางการติดต่อสื่อสารเพื่อรับข้อเสนอแนะคำแนะนำหรือร้องเรียน ทั้งผ่านทางแอปพลิเคชันโดยตรงหรือเบอร์โทรสายด่วนของแต่ละหน่วยงาน ได้อีกหนึ่งช่องทาง

นายธรรมยศ ศรีช่วย ปลัดกระทรวงพลังงาน กล่าวถึงความพร้อมของกระทรวงพลังงานในการขับเคลื่อน Energy  4.0 ว่า มีการปรับกลยุทธ์ เพื่อสร้างมิติใหม่ ให้สอดรับนโยบายรัฐบาลและแผนพัฒนาดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคม เพื่อการปฏิรูปประเทศสู่ Digital Thailand ด้วยการใช้เทคโนโลยีมาสร้างสรรค์ให้เกิดประโยชน์ เพื่อการพัฒนาให้เต็มศักยภาพในโครงสร้างพื้นฐาน นวัตกรรม และการพัฒนาแอปพลิเคชันกระทรวงพลังงาน ช่วยให้ประชาชนได้รู้ถึงข้อมูลที่เป็นข้อเท็จจริง ถูกต้อง แม่นยำ และตระหนักในสภาวการณ์พลังงานที่เกิดขึ้นทั้งในประเทศ และอัพเดทสถานการณ์ต่างประเทศด้วย  ดังนั้นแอปพลิเคชั่นใหม่กระทรวงพลังงานนี้จะเข้ามาตอบโจทย์การสื่อสารในวงกว้าง และเป็นอีกกลไกหนึ่งในการสร้างความยั่งยืนและโดดเด่นในการรวบรวมข้อมูลด้านการอนุรักษ์พลังงาน พลังงานทดแทน การกำกับดูแลความปลอดภัยมาตรฐานเชื้อเพลิง การพัฒนาแหล่งผลิตพลังงาน เป็นช่องทางส่งผ่านข้อความสำคัญได้อย่างมีประสิทธิภาพ

รัฐมนตรีว่าการกระทรวงพลังงาน เข้าเยี่ยมชมบริษัท พีทีที โกลบอล เคมิคอล จำกัด(มหาชน)

วันนี้ (15 พ.ย. 60) พลเอก อนันตพร กาญจนรัตน์ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงพลังงาน พร้อมด้วยคณะ เดินทางเข้าเยี่ยมชม บริษัท พีทีที โกลบอล เคมิคอล จำกัด (มหาชน) โดยมีผู้บริหารของบริษัทให้การต้อนรับ และบรรยายภาพรวมการดำเนินงาน

ประกาศคณะกรรมการกำกับกิจการพลังงาน เรื่อง การจัดหาไฟฟ้าโครงการผลิตไฟฟ้าจากขยะชุมชนในรูปแบบ Feed-in Tariff (FIT) ฉบับที่ 2 พ.ศ.2560

ประกาศคณะกรรมการกำกับกิจการพลังงาน เรื่อง การจัดหาไฟฟ้าโครงการผลิตไฟฟ้าจากขยะชุมชนในรูปแบบ Feed-in Tariff (FIT) ฉบับที่ 2 พ.ศ.2560  คลิ๊กที่นี้

ประกาศต่างๆ เกี่ยวกับการจัดหาไฟฟ้าโครงการผลิตไฟฟ้าจากขยะชุมชน ในรูปแบบ Feed-in Tariff (FiT)  คลิ๊กที่นี้ 

 

 

 

รายชื่อร้านจำหน่ายก๊าซหุงต้ม ที่ได้รับการติดตั้งเครื่อง EDC เรียบร้อยแล้ว

รายชื่อร้านจำหน่ายก๊าซหุงต้ม ที่ได้รับการติดตั้งเครื่อง EDC เรียบร้อยแล้ว  คลิ๊กที่นี่  ข้อมูล ณ วันที่ 19 ธันวาคม 2560

แนวทางการจัดประชารัฐสวัสดิการ การให้ความช่วยเหลือผ่านบัตรสวัสดิการแห่งรัฐ (ส่วนลดค่าซื้อก๊าซหุงต้ม)  คลิ๊กที่นี้

 

การประชุมโต๊ะกลมรัฐมนตรีพลังงานแห่งเอเชีย ครั้งที่ 7 (AMER 7)

วันที่ 2 พฤศจิกายน 2560 การประชุมโต๊ะกลมรัฐมนตรีพลังงานแห่งเอเชีย ครั้งที่ 7 โดยมี พล.อ.อ. ประจิ่น จั่นตอง รองนายกรัฐมนตรี เป็นประธานเปิดการประชุม

“ผมรู้สึกเป็นเกียรติเป็นอย่างยิ่งและมีความยินดีที่ได้มาต้อนรับทุกท่านเข้าสู่การประชุมโต๊ะกลมรัฐมนตรีพลังงานเอเชีย ครั้งที่ 7 ซึ่งจัดขึ้น ณ กรุงเทพมหานคร ประเทศไทย โดยมีประเทศสหรัฐอาหรับเอมิเรตส์เป็นเจ้าภาพร่วม

ผมรู้สึกภูมิใจที่ประเทศไทยได้รับเกียรติเป็นเจ้าภาพการจัดประชุมในครั้งนี้ ซึ่งถือเป็นการประชุมระหว่างประเทศที่สำคัญครั้งหนึ่งของประเทศไทย ผมขอขอบคุณรัฐมนตรีพลังงานเอเชีย และผู้บริหารจากองค์การระหว่างประเทศทุกท่านที่สละเวลาอันมีค่าของท่านเดินทางมา ณ ที่นี้ พร้อมทั้งขอต้อนรับทุกท่านสู่กรุงเทพมหานคร ประเทศไทย ดินแดนแห่งรอยยิ้มอย่างเป็นทางการ

หัวข้อการประชุมในวันนี้ คือ Global Market in Transition : From Vision to Action ซึ่งสะท้อนสถานการณ์พลังงานของโลกในยุคปัจจุบันได้เป็นอย่างดี เนื่องจากโลกของเรากำลังเข้าสู่ยุคเปลี่ยนผ่านด้านพลังงาน ประเทศต่างๆ โดยเฉพาะประเทศในเอเชีย จะมีแนวทางดำเนินการอย่างไรเพื่อให้การเปลี่ยนผ่านเป็นไปอย่างราบรื่น

เพื่อให้สอดคล้องกับหัวข้อการประชุมในวันนี้ ผมจะจึงขอกล่าวถึง 3 ประเด็นสำคัญเพื่อเป็นแนวทางสำหรับการหารือ โดยประเด็นที่ผมจะกล่าวถึง ประกอบไปด้วย (1) สถานการณ์พลังงานของโลกและของภูมิภาค (2) การเปลี่ยนผ่านด้านพลังงาน (3) การดำเนินการของประเทศไทยต่อการเปลี่ยนผ่านด้านพลังงานดังกล่าว

ท่านผู้มีเกียรติทุกท่านครับ

(1) สถานการณ์พลังงานของโลกและของภูมิภาค

ปัจจุบันอัตราการเจริญเติบโตของการใช้พลังงานมาจากประเทศกำลังพัฒนาเป็นส่วนใหญ่ ได้แก่ กลุ่มประเทศ Non-OECD ซึ่งการเจริญเติบโตที่เกิดขึ้นนั้นเป็นผลมาจากการเพิ่มขึ้นของจำนวนประชากร การย้ายถิ่นฐาน การขยายตัวของเมือง รวมถึงการพัฒนาความเป็นอยู่ที่ดีขึ้นของมนุษย์ ทั้งนี้ คงไม่สามารถปฏิเสธได้ว่าโลกของเราก็ยังคงต้องมีการใช้พลังงานฟอสซิลเป็นหลัก

สำหรับภูมิภาคเอเชียของเรา ถือว่าเป็นภูมิภาคที่มีสัดส่วนการใช้พลังงานมากที่สุดภูมิภาคหนึ่ง โดยมีการเจริญเติบโตของการใช้พลังงาน คิดเป็น 2 ใน 3 ของโลก เนื่องมาจากการเจริญเติบโตของประเทศเศรษฐกิจขนาดใหญ่ไม่ว่าจะเป็นจีน หรือ อินเดีย รวมทั้งประเทศที่อยู่ในช่วงการพัฒนาเศรษฐกิจอย่างรวดเร็ว เช่น ประเทศในภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ ในขณะเดียวกัน ภูมิภาคเอเชียก็ยังคงมีทรัพยากรพลังงานทั้งน้ำมัน และก๊าซธรรมชาติ ดังนั้น จะเห็นได้ว่า ภูมิภาคเอเชียเป็นภูมิภาคที่ประกอบไปด้วยทั้งผู้ซื้อและผู้ขายพลังงานรายใหญ่ ซึ่งทำให้เอเชียจะมีความสำคัญต่อตลาดพลังงานโลกและควรก้าวขึ้นมามีบทบาทนำในการกำหนดทิศทางด้านพลังงานของโลกต่อไป สอดคล้องกับการขนานนามยุคนี้ว่าเป็น “ศตวรรษของเอเชีย”

ทั้งนี้ จากการคาดการณ์สถานการณ์พลังงานโลกของทบวงการพลังงานระหว่างประเทศ (International Energy Agency: IEA) ความต้องการพลังงานของโลกจะเพิ่มขึ้นอีกร้อยละ 30 ในปี 2040 โดยพลังงานที่มีอัตราการใช้เพิ่มขึ้นอย่างรวดเร็วที่สุด คือ พลังงานหมุนเวียน ซึ่งคาดว่าจะมีสัดส่วนกำลังการผลิตไฟฟ้าที่ได้จากพลังงานหมุนเวียนคิดเป็นร้อยละ 60 โดยส่วนใหญ่มาจากพลังงานลม และแสงอาทิตย์ ด้านพลังงานฟอสซิลนั้น ก๊าซธรรมชาติจะมีการเจริญเติบโตมากที่สุด โดยเพิ่มสูงขึ้นอีกร้อยละ 50 จากแนวโน้มดังกล่าวจะเห็นได้ว่าเรากำลังเข้าสู่ยุคเปลี่ยนผ่านทางด้านพลังงาน จากยุคที่โลกถูกกำหนดด้วยพลังงานฟอสซิลมาสู่โลกที่พลังงานสะอาดเข้ามามีบทบาทสำคัญเพิ่มมากขึ้น

ท่านผู้มีเกียรติทุกท่านครับ

(2) ช่วงเปลี่ยนผ่านด้านพลังงาน (Energy Transition)

ในช่วง 10 ปีที่ผ่านมา โลกของเราเผชิญการเปลี่ยนแปลงมากมาย รวมถึงด้านพลังงาน ซึ่งเป็นผลมาจากการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศเนื่องจากภาวะโลกร้อน ข้อตกลงปารีสว่าด้วยการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ เป็นข้อตกลงที่มีผลกระทบต่อภาคพลังงานโดยตรง เนื่องจาก 2 ใน 3 ของการปล่อยก๊าซเรือนกระจกมาจากภาคพลังงาน ด้วยเหตุนี้ หลากหลายประเทศจึงได้ให้ความสำคัญกับการเปลี่ยนระบบเศรษฐกิจไปสู่เศรษฐกิจสีเขียว โดยเน้นการแสวงหาทางเลือกในการผลิตพลังงานอย่างสะอาดและยั่งยืน เพื่อพัฒนาไปสู่การเป็นสังคมคาร์บอนต่ำ

นอกจากนี้ การพัฒนาเทคโนโลยีก็เจริญเติบโตอย่างรวดเร็ว เกิด Disruptive Technology ต่างๆ มากมายในด้านพลังงาน ไม่ว่าจะเป็นยานยนต์ไฟฟ้า เทคโนโลยีระบบกักเก็บพลังงาน รวมถึงการพัฒนาเทคโนโลยีและนวัตกรรมด้านพลังงานหมุนเวียนต่างๆ ที่ทำให้ต้นทุนลดต่ำลง นอกจากนี้ ยังเกิดกระแสการผลิตพลังงานไฟฟ้าและใช้ด้วยตัวเอง หรือ Prosumer ดังนั้น สัดส่วนการใช้พลังงานของโลกจะเริ่มเปลี่ยนแปลงไป การใช้พลังงานฟอสซิลแม้ว่ายังมีความสำคัญแต่สัดส่วนการใช้จะค่อยๆ ลดลง ในขณะที่พลังงานหมุนเวียน รวมถึงพลังงานสะอาดในรูปแบบอื่นๆ จะมีสัดส่วนการใช้เพิ่มมากขึ้น นอกจากนี้ การเลือกใช้เทคโนโลยีสะอาดต่างๆ รวมทั้งการส่งเสริมการใช้พลังงานอย่างมีประสิทธิภาพและการอนุรักษ์พลังงานจะมีบทบาทมากขึ้น

การเปลี่ยนผ่านของตลาดพลังงานก็เป็นสิ่งที่หลีกเลี่ยงไม่ได้เช่นกัน เมื่อแนวโน้มการผลิตและการบริโภคพลังงานเปลี่ยนไป ตลาดพลังงานในรูปแบบเดิมๆ จึงต้องปรับตัวตามความท้าทายหรือเทคโนโลยีใหม่ๆ ที่เกิดขึ้น ตลาดพลังงานในปัจจุบัน ไม่ว่าจะเป็นตลาดน้ำมันหรือก๊าซธรรมชาติมีการแข่งขันเพิ่มมากขึ้นเนื่องจากมีผู้ผลิตรายใหม่เข้ามาในตลาด และในขณะเดียวกันปัจจัยความไม่แน่นอนในตลาดก็มีสูงด้วยเช่นกัน ไม่ว่าจะเป็นเรื่องของเทคโนโลยีการประหยัดพลังงานใหม่ๆ การมาถึงของยานยนต์ไฟฟ้า หรือกระแสการใช้พลังงานสะอาด ซึ่งทำให้ความต้องการพลังงานในรูปแบบดั้งเดิมลดลง

จากความท้าทายและการเปลี่ยนแปลงที่ได้กล่าวไปในข้างต้น จะเห็นได้ว่าเรากำลังเข้าสู่ยุคเปลี่ยนผ่านด้านพลังงานอย่างหลีกเลี่ยงไม่ได้ ซึ่งการเปลี่ยนแปลงดังกล่าวจะเป็นไปอย่างราบรื่นหรือไม่นั้นต้องอาศัยบทบาทและการดำเนินการจากทางภาครัฐในการกำหนดแนวทาง และวางนโยบาย พร้อมทั้งจะทำอย่างไรที่จะให้เกิดสภาพแวดล้อมที่เอื้อต่อการลงทุนจากภาคเอกชนในภาคพลังงาน ทั้งนี้ การหารือและแลกเปลี่ยนความคิดเห็นระหว่างประเทศผู้ผลิต และประเทศผู้นำเข้า เพื่อหาแนวทางในการสร้างความร่วมมือเพื่อให้การเปลี่ยนผ่านดังกล่าวเกิดความสมดุล เกิดเสถียรภาพ และที่สำคัญที่สุดคือ เกิดประโยชน์แก่ทั้งสองฝ่าย จึงเป็นสิ่งที่สำคัญยิ่ง

ท่านผู้มีเกียรติทุกท่านครับ

(3) การดำเนินงานของประเทศไทยต่อการเปลี่ยนผ่านด้านพลังงาน

นับเป็นระยะเวลา 1 ปีแล้วที่ประเทศไทยได้สูญเสียพระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช รัชกาลที่ 9 “พระบิดาแห่งการพัฒนาพลังงานไทย” พระองค์ท่านได้ทรงวางรากฐานแนวคิดการพัฒนาด้านพลังงาน โดยส่งเสริมการใช้พลังงานทดแทน และเป็นต้นแบบในเรื่อง “ปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง” ซึ่งรัฐบาลได้น้อมนำหลักการดังกล่าวมาเป็นแนวทางในการใช้ทรัพยากรในประเทศที่มีอยู่อย่างคุ้มค่า

จากหลักการของพระองค์ในเรื่องดังกล่าว ประเทศไทยโดยกระทรวงพลังงานจึงมีการจัดทำ “แผนบูรณาการพลังงานระยะยาว” ขึนเพื่อเป็นแผนหลักในการขับเคลื่อนประเทศไปสู่ความมั่นคงทางพลังงาน ความมั่งคั่งทางเศรษฐกิจ และความยั่งยืนทางสิ่งแวดล้อม

นอกเหนือไปจากนั้น รัฐบาลไทยในปัจจุบันได้มีนโยบายที่เรียกว่า Thailand 4.0 ซึ่งเป็นความพยายามในการฟื้นฟูเศรษฐกิจของประเทศ เพิ่มศักยภาพในการแข่งขัน หนีกับดักประเทศรายได้ปานกลาง โดยปรับเปลี่ยนโครงสร้างเศรษฐกิจของประเทศไปสู่เศรษฐกิจที่เน้นคุณค่า และเน้นการขับเคลื่อนด้วยนวัตกรรม โดยในปัจจุบัน รัฐบาลให้ความสำคัญกับแนวนโยบายการพัฒนาพื้นที่ระเบียงเศรษฐกิจพิเศษภาคตะวันออก (Eastern Economic Corridor: EEC) เพื่อรองรับการลงทุนและการขยายตัวทางเศรษฐกิจ

เพื่อให้สอดคล้องไปกับแนวนโยบายในข้างต้น รัฐบาลโดยกระทรวงพลังงาน จึงได้มีการจัดทำแผนงานเพื่อรองรับการดำเนินนโยบาย Thailand 4.0 ซึ่งเรียกว่า Energy 4.0 ขึ้น โดยแผนงานดังกล่าวประกอบไปด้วยการดำเนินงาน 4 ด้านด้วยกัน ได้แก่ การส่งเสริมยานยนต์ไฟฟ้า เช่น รถ E-Tuk Tuk การพัฒนาระบบกักเก็บพลังงาน การส่งเสริมการผลิตไฟฟ้าอย่างผสมผสาน และการพัฒนาเมืองอัจฉริยะ และโครงข่ายไฟฟ้าอัจฉริยะ

จากแผนการดำเนินงานดังกล่าว ประเทศไทยจึงก้าวเข้ามาสู่ช่วงเปลี่ยนผ่านที่สำคัญ (Transition Period) โดยเรามุ่งที่จะขับเคลื่อนภาคพลังงานไปสู่อนาคตที่มีความทันสมัยและความอัจฉริยะมากยิ่งขึ้น ซึ่งจะเป็นความท้าทายของภาครัฐในการบริหารจัดการให้ระบบพลังงานของประเทศมีความมั่นคง มีต้นทุนที่แข่งขันได้ และเป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม

ท่านผู้มีเกียรติทุกท่านครับ

ผมขอให้การประชุมโต๊ะกลมรัฐมนตรีพลังงานแห่งเอเชีย ครั้งที่ 7ประสบความสำเร็จตามความมุ่งหมายทุกประการ ผมหวังเป็นอย่างยิ่งว่าการประชุมโต๊ะกลมในครั้งนี้ จะเป็นจุดเริ่มต้นของความร่วมมือที่แนบแน่น และข้อริเริ่มต่างๆ ที่สร้างสรรค์ด้านพลังงานในภูมิภาคเอเชีย ซึ่งนอกจากจะช่วยสร้างความมั่นคงด้านพลังงานให้แก่ภูมิภาคของเราแล้ว ยังช่วยขับเคลื่อนให้ภูมิภาคของเรามีบทบาทนำด้านพลังงานในเวทีโลก

นอกเหนือไปจากนี้ จะมีการจัดประชุมสำคัญที่เกี่ยวข้องกับพลังงานอีกการประชุมหนึ่งต่อเนื่องไปกับการประชุม AMER 7 นั้นคือการประชุมเชิงปฏิบัติด้านพลังงานในกรอบความร่วมมือเอเชีย (ACD) ภายใต้หัวข้อ“ACD Energy Action Plan: Towards Global Energy Challenges” ซึ่งจะถูกจัดขึ้นในสถานที่เดียวกันนี้ ในวันที่ 4 พฤศจิกายน และผมขอเชิญชวนให้ทุกท่านอยู่นานขึ้นเพื่อเข้าร่วมงานดังกล่าว

ผมขอขอบคุณรัฐมนตรีพลังงานจากแต่ละประเทศ ผู้บริหารจากองค์การระหว่างประเทศ แขกผู้มีเกียรติทุกท่าน ที่เดินทางมาเข้าร่วมงานในวันนี้ พร้อมทั้งขอขอบคุณกระทรวงพลังงาน ประเทศไทย ประเทศสหรัฐอาหรับเอมิเรตส์ และ IEF ที่มีส่วนร่วมในการจัดการประชุมครั้งสำคัญในวันนี้ และในโอกาสนี้ผมขอเปิดงานการประชุมโต๊ะกลมรัฐมนตรีพลังงานแห่งเอเชีย ครั้งที่ 7 อย่างเป็นทางการ

รัฐมนตรีว่าการกระทรวงพลังงาน ร่วมพิธีบำเพ็ญกุศลเพื่อถวายพระราชกุศลครบรอบ 1 ปีวันสวรรคต พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช บรมนาถบพิตร ณ ทำเนียบรัฐบาล

วันนี้ (13 ต.ค. 60) พลเอก อนันตพร กาญจนรัตน์ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงพลังงานและภริยา พร้อมด้วยนายธรรมยศ ศรีช่วย ปลัดกระทรวงพลังงาน เข้าร่วมพิธีบำเพ็ญกุศลเพื่อถวายพระราชกุศลครบรอบ 1 ปี วันสวรรคต พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช บรมนาถบพิตร และร่วมตักบาตรพระสงฆ์ จำนวน 89 รูป ณ บริเวณด้านหน้าตึกสันติไมตรี ทำเนียบรัฐบาล

 

พิธีทำบุญตักบาตรเนื่องในวันพระราชพิธีทรงบำเพ็ญพระราชกุศลครบรอบ 1 ปี วันสวรรคต พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช บรมนาถบพิตร

วันนี้ (12 ตุลาคม 2560) พล.อ.อนันตพร กาญจนรัตน์ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงพลังงาน นำคณะผู้บริหารระดับสูง ข้าราชการ และเจ้าหน้าที่ในสังกัดกระทรวงพลังงาน จำนวน 999 คน ร่วมทำบุญตักบาตรพระสงฆ์ 89 รูป เนื่องในวันพระราชพิธีทรงบำเพ็ญพระราชกุศลครบรอบ 1 ปี วันสวรรคตพระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช บรมนาถบพิตร เพื่อถวายเป็นพระราชกุศล และน้อมรำลึกในพระมหากรุณาธิคุณของพระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช ที่ทรงอุทิศพระวรกายประกอบพระราชกรณียกิจซึ่งนำมายังประโยชน์สุขและความเจริญรุ่งเรืองแก่ประชาชนชาวไทยและประเทศชาติตลอดช่วงเวลาที่พระองค์ทรงครองราชย์
โดยก่อนเริ่มพิธีทำบุญตักบาตร รัฐมนตรีว่าการกระทรวงพลังงานได้นำคณะผู้บริหาร และผู้เข้าร่วมงาน ถวายความเคารพเบื้องหน้าพระบรมฉายาลักษณ์ พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช บรมนาถบพิตร พร้อมยืนสงบนิ่งเป็นเวลา 89 วินาที ณ บริเวณด้านหน้าอาคารบี-อาคารเอ ศูนย์เอนเนอร์ยี่คอมเพล็กซ์
พร้อมกันนี้ กระทรวงพลังงาน ยังได้จัดนิทรรศการ “ภูมิพลังแห่งแผ่นดิน นวมินทร์กลางใจไทยนิรันดร์” จะจัดขึ้นในระหว่างวันที่ 9 – 12 และ 16 ตุลาคม 2560 ซึ่งเป็นนิทรรศการที่ฉายภาพพระปรีชาสามารถ และพระอัจฉริยะภาพของ พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช โดยเฉพาะในด้านพลังงานที่พระองค์ได้ ทรงพระราชทานพระดำริด้านการพัฒนาพลังงานทดแทน โดยใช้ทรัพยากรธรรมชาติที่มีอยู่ในประเทศให้เกิดประโยชน์ เกิดการพัฒนาพลังงานยั่งยืน ซึ่งจากสายพระเนตรที่กว้างไกลที่ทรงเล็งเห็นว่าพลังงานของโลกจะใกล้หมดไป และจะมีราคาแพงขึ้น จึงได้พัฒนาพลังงานทดแทนหลายรูปแบบให้เกิดขึ้น อาทิ เชื้อเพลิงชีวภาพ จากเอทานอลและไบโอดีเซล ที่ปัจจุบันกลายเป็นเชื้อเพลิงหลักในภาคขนส่งของไทย รวมทั้งแนวทางการพัฒนาพลังงานน้ำ ลม และแสงอาทิตย์ อันก่อให้เกิดประโยชน์ต่อการสร้างความมั่นคงด้านพลังงานให้แก่ประเทศอย่างยั่งยืน ณ ลานชั้นล่าง อาคาร C ศูนย์เอนเนอร์ยี่คอมเพล็กซ์ กระทรวงพลังงาน

รัฐมนตรีว่าการกระทรวงพลังงาน เป็นประธานเปิด งานนิทรรศการ “ภูมิพลังแห่งแผ่นดิน นวมินทร์กลางใจไทยนิรันดร์”

วันนี้ (9 ต.ค.60) พลเอกอนันตพร กาญจนรัตน์ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงพลังงาน เป็นประธานเปิด งานนิทรรศการ “ภูมิพลังแห่งแผ่นดิน นวมินทร์กลางใจไทยนิรันดร์” เพื่อน้อมรำลึกในพระมหากรุณาธิคุณ และถวายความอาลัยแด่ พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช ที่ทรงอุทิศพระวรกายประกอบพระราช กรณียกิจซึ่งนำมาซึ่งประโยชน์สุขและความเจริญรุ่งเรืองแก่ราษฎรและประเทศชาติ โดยภายในงานฯ มีผู้บริหารระดับสูงจากกระทรวงพลังงาน ข้าราชการและเจ้าหน้าที่ในสังกัดกระทรวงพลังงานเข้าร่วม

พลเอกอนันตพร กล่าวว่า การจัดแสดงนิทรรศการฯ ครั้งนี้ เพื่อเป็นการฉายภาพพระปรีชาสามารถ และพระอัจฉริยะภาพของ พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช โดยเฉพาะในด้านพลังงานที่พระองค์ได้ ทรงพระราชทานพระดำริด้านการพัฒนาพลังงานทดแทน โดยใช้ทรัพยากรธรรมชาติที่มีอยู่ในประเทศให้เกิดประโยชน์ เกิดการพัฒนาพลังงานยั่งยืน ซึ่งจากสายพระเนตรที่กว้างไกลที่ทรงเล็งเห็นว่าพลังงานของโลกจะใกล้หมดไป และจะมีราคาแพงขึ้น จึงได้พัฒนาพลังงานทดแทนหลายรูปแบบให้เกิดขึ้น อาทิ เชื้อเพลิงชีวภาพ จากเอทานอลและไบโอดีเซล ที่ปัจจุบันกลายเป็นเชื้อเพลิงหลักในภาคขนส่งของไทย รวมทั้งแนวทางการพัฒนาพลังงานน้ำ ลม และแสงอาทิตย์ อันก่อให้เกิดประโยชน์ต่อการสร้างความมั่นคงด้านพลังงานให้แก่ประเทศอย่างยั่งยืน

ทั้งนี้ ภายในงานจะประกอบด้วยนิทรรศการในส่วนต่างๆ ได้แก่ นิทรรศการภายใต้แนวคิด “ดิน น้ำ ลม แสง พลังแห่งพระบารมี”  ซึ่งจะนำเสนอการริเริ่มพัฒนาพลังงานทดแทนในด้านต่างๆ จากพระองค์ท่าน แนวคิดการใช้พลังงานอย่างพอเพียงและยั่งยืน รวมถึงความรู้ด้านอนุรักษ์พลังงาน และพลังงานทดแทน ในรูปแบบอินเตอร์แอคทีฟ นอกจากนี้ยังมีกิจกรรมพิเศษที่สำคัญอื่นๆ เช่น การประดิษฐ์ดอกไม้จันทร์ วันละ 500 ดอก  เวทีเสวนาเทิดพระเกียรติจากผู้ที่ได้รับแรงบันดาลใจจากพระองค์ในด้านต่างๆ อาทิ ด้านเศษฐกิจพอเพียง โดย พลเรือตรี ดร.สมัย ใจอินทร์ จากกรมอู่ทหารเรือ ดร.เกริก  มีมุ่งกิจ และด้านดนตรีและกีฬา โดยศาตราจารย์ (พิเศษ)เจริญ วรรธนะสิน  รองศาสตราจารย์ ดร.ภาธร ศรีกรานนท์ และศิลปินรับเชิญที่มาร่วมงาน

โดยการจัดนิทรรศการ “ภูมิพลังแห่งแผ่นดิน นวมินทร์กลางใจไทยนิรันดร์” จะจัดขึ้นในระหว่างวันที่ 9 – 16 ตุลาคม 2560 ณ ลานชั้นล่าง อาคาร C ศูนย์เอนเนอร์ยี่คอมเพล็กซ์ กระทรวงพลังงาน สามารถสอบถามข้อมูลเพิ่มเติมได้ที่ ศูนย์บริการร่วมกระทรวงพลังงาน โทร. 02 140 6286 หรือติดตามรายละเอียดได้ที่ www.energy.go.th

กระทรวงพลังงาน จัดงานครบรอบ 15 ปี วันคล้ายวันสถาปนา

วันนี้ (3 ต.ค.60) พลเอก อนันตพร กาญจนรัตน์ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงพลังงาน พร้อมด้วยผู้บริหารระดับสูง ข้าราชการและเจ้าหน้าที่ในสังกัดกระทรวงพลังงาน ร่วมพิธีบวงสรวงสักการะพระพรหม และพิธีเจริญพระพุทธมนต์ เนื่องในโอกาสวันคล้ายวันสถาปนากระทรวงพลังงาน ครบรอบ 15 ปี โดยนายธรรมยศ ศรีช่วย ปลัดกระทรวงพลังงาน รับมอบกระเช้าดอกไม้จากหน่วยงานต่าง ๆ ที่มาแสดงความยินดีเป็นจำนวนมาก ณ ห้องประชุม 9 ชั้น 15 ศูนย์เอนเนอร์ยี่คอมเพล็กซ์ อาคารบี

 

รัฐมนตรีว่าการกระทรวงพลังงาน มอบนโยบายการขับเคลื่อนภารกิจกระทรวงพลังงานปี 2561

วันนี้(2 ต.ค. 60) พลเอก อนันตพร กาญจนรัตน์ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงพลังงาน มอบนโยบายการขับเคลื่อนภารกิจกระทรวงพลังงานปี 2561 โดยมีนายธรรมยศ ศรีช่วย ปลัดกระทรวงพลังงาน และผู้บริหาร ข้าราชการ เจ้าหน้าที่จากทุกหน่วยงานในสังกัดเข้าร่วม ซึ่งได้กำชับให้บุคลากรกระทรวงพลังงานทุกคนปฏิบัติหน้าที่เพื่อประโยชน์ประชาชนและประเทศชาติเป็นหลัก มีผลสัมฤทธิ์สามารถประเมินผลได้ อย่างเป็นรูปธรรม พร้อมร่วมแสดงสัญลักษณ์การต่อต้านการทุจริตคอรัปชั่น ในโอกาสครบรอบ 15 ปี วันคล้ายวันสถาปนากระทรวงพลังงาน และก้าวสู่ปีที่ 16 ในวันที่ 3 ตุลาคม 2560 เพื่อย้ำเตือนให้ทุกคนยึดถือเป็นหลักในการทำงาน

    พลเอก อนันตพร กาญจนรัตน์ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงพลังงาน เปิดเผยว่า ปัจจุบัน รัฐบาลมีแนวทางการขับเคลื่อนการพัฒนาประเทศระยะยาวภายใต้กรอบการทำงานที่สำคัญ 2 ส่วน คือ พระราชบัญญัติการจัดทำยุทธศาสตร์ชาติ และพระราชบัญญัติแผนและขั้นตอนการปฏิรูปประเทศ ที่ผ่านมา การขับเคลื่อนการดำเนินงานของกระทรวงพลังงานดำเนินการตามกรอบและสอดคล้องกับเป้าหมายใหญ่ของรัฐบาล โดยมีการทบทวนยุทธศาสตร์กระทรวงทุกปี เพื่อพัฒนาประเทศชาติให้มีความมั่นคง มั่งคั่ง และยั่งยืน ซึ่งกระทรวงพลังงานมีบทบาทสำคัญในการพัฒนาประเทศใน 2 มิติ คือ มีบทบาทในการเพิ่มขีดความสามารถในการแข่งขันของประเทศ โดยเฉพาะระบบพลังงานที่มีความมั่นคง มีพลังงานใช้อย่างต่อเนื่องและมีต้นทุนพลังงานที่แข่งขันได้ และบทบาทในการขับเคลื่อนการเติบโตทางเศรษฐกิจจากการลงทุนของภาคพลังงาน ที่ปัจจุบันภาคพลังงานมีมูลค่าการลงทุนปีละหลายแสนล้านบาท

สำหรับการขับเคลื่อนนโยบายของกระทรวงพลังงานในปี 2561 นี้ ยังคงเดินหน้าการขับเคลื่อนนโยบาย Energy 4.0 โดยให้ทุกหน่วยงานดำเนินโครงการต่างๆ ตามแผนและเป้าหมายที่วางไว้ แต่ให้มีการต่อยอดไปสู่การเป็นผู้ผลิตนวัตกรรมและเทคโนโลยีพลังงานเพื่อทดแทนการนำเข้าจากต่างประเทศ และการปรับแผนบูรณาการ ซึ่งเป็นการปรับเปลี่ยนแผนให้สามารถรองรับตามสถานการณ์ที่เปลี่ยนแปลงไปโดยเฉพาะการเปลี่ยนแปลงด้านเทคโนโลยี ตลอดจนการดำเนินงานตามข้อตกลงผูกมัดในเชิงพันธสัญญากับต่างประเทศ อาทิ การลดการปล่อย CO2 ตามข้อตกลง COP21 เป็นต้น

การจะบรรลุภารกิจตามที่กล่าวได้ จำเป็นต้องมีการพัฒนาการทำงานของข้าราชการ และพนักงาน เจ้าหน้าที่ในทุกระดับ เพื่อให้เป็นองค์กรที่มีผลการปฏิบัติงานสูง โดยปฏิบัติงานอย่างมืออาชีพในเชิงรุก มีการติดตามประเมินผลอย่างเป็นรูปธรรมภายใต้หลักธรรมาภิบาล ดังนั้น การมอบนโยบายของ พลเอก อนันตพรฯ ในวันนี้จึงครอบคลุมใน 2 ส่วนหลัก กล่าวคือ นโยบายการบริหารงานด้านพลังงาน และนโยบายด้านการบริหารและปฏิบัติงานภายในกระทรวงและหน่วยงานในสังกัด โดยเน้นย้ำเรื่องการป้องกันและแก้ไขปัญหาการทุจริตประพฤติมิชอบ การจัดซื้อจัดจ้างต้องมีความโปร่งใสนำระบบสัญญาคุณธรรมมาใช้ สำหรับการพัฒนาบุคลากรนั้น จะต้องสร้างคนให้สามารถคิดในเชิงกลยุทธ์ได้และมีทักษะการปฏิบัติงาน สามารถทำงานให้ทันต่อการเปลี่ยนแปลงและเกิดการบูรณาการอย่างยั่งยืน

รัฐมนตรีว่าการกระทรวงพลังงาน ยังได้กล่าวเสริมอีกว่า ในวันนี้ยังจัดให้มีการบรรยายสรุปการทบทวนยุทธศาสตร์ประจำปี 2561-2564 ให้ผู้บริหารและผู้เข้าร่วมประชุมได้รับทราบเพื่อเป็นทิศทางในการปฏิบัติงานต่อไป

ปลัดกระทรวงพลังงาน เป็นประธานพิธีสักการะพระพรหม

วันนี้ (2 ต.ค. 60) นายธรรมยศ ศรีช่วย ปลัดกระทรวงพลังงาน พร้อมผู้บริหารกระทรวงพลังงาน เข้าร่วมพิธีสักการะพระพรหมทั้ง 4 ทิศ ณ บริเวณศาลพระพรหม ศูนย์เอนเนอร์ยี่คอมเพล็กซ์ กระทรวงพลังงาน

รัฐมนตรีว่าการกระทรวงพลังงาน ลงพื้นที่จ.อยุธยา

วันนี้ (18 กันยายน 2560) พลเอก อนันตพร กาญจนรัตน์ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงพลังงาน พร้อมด้วย ผู้บริหารกระทรวงพลังงาน ข้าราชการ เจ้าหน้าที่ และสื่อมวลชน ลงพื้นที่จังหวัดพระนครศรีอยุธยา ตรวจติดตามการใช้งบประมาณ Block Grant ส่งเสริมโครงการพลังงานทดทนชุมชน โครงการระบบสูบน้ำพลังงานแสงอาทิตย์ อบต.สิงหนาท จังหวัดพระนครศรีอยุธยา พร้อมเยี่ยมชมศักยภาพการดำเนินงานโครงการผลิตไบโอดีเซลจากน้ำมันปาล์ม บริษัท บางจากไบโอฟูเอล จำกัด อำเภอบางปะอิน จังหวัดพระนครศรีอยุธยา ก่อนการเข้าร่วมประชุมคณะรัฐมนตรีนอกสถานที่(ครม.สัญจร) ในวันที่ 19 กันยายน 2560 นี้ พล.อ.อนันตพร กาญจนรัตน์ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงพลังงาน เปิดเผยว่า การลงพื้นที่ตรวจราชการจังหวัดพระนครศรีอยุธยาครั้งนี้ เป็นการติดตามการส่งเสริมพลังงานทดแทนในชุมชนเพื่อลดต้นทุนด้านพลังงานให้กับภาคเกษตรกรด้วยพลังงานสะอาด ภายใต้งบประมาณโครงการพลังงานชุมชนจัดการตนเองด้านพลังงาน ปี 2558 (Block Grant) และเยี่ยมชมศักยภาพการดำเนินงานโครงการผลิตไบโอดีเซลจากน้ำมันปาล์ม บริษัท บางจากไบโอฟูเอล จำกัด อำเภอบางปะอิน จังหวัดพระนครศรีอยุธยา ซึ่งเป็นการปฏิบัติราชการก่อนการเข้าร่วมประชุมคณะรัฐมนตรีนอกสถานที่(ครม.สัญจร) ในวันที่ 19 กันยายน 2560 นี้ โดยโครงการระบบสูบน้ำพลังงานแสงอาทิตย์ อบต.สิงหนาทอ.ลาดบัวหลวง จ.พระนครศรีอยุธยาเป็นโครงการที่ดำเนินการตามยุทธศาสตร์กระทรวงพลังงานปี 2557 – 2561 ยุทธศาสตร์ที่ 4 ที่มุ่งเน้นการพัฒนาพลังงานที่ยั่งยืนและเป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพการบริหารจัดการน้ำ เพิ่มผลผลิตและลดต้นทุนด้านพลังงานให้กับเกษตรกรในพื้นที่อย่างยั่งยืน โครงการดังกล่าว สามารถจัดสรรน้ำเพื่อใช้ในการเกษตรให้กับเกษตรกรครอบคลุมพื้นที่หมู่ 4 5 6 และ 7 จำนวน 320 ครัวเรือน คิดเป็นพื้นที่ประมาณ 4,900 ไร่ ทั้งนี้ เกษตรกรประกอบอาชีพทำนา ปีละ 3 ครั้ง มีค่าใช้จ่ายในการสูบน้ำประมาณปีละ 3.6 ล้านบาท แต่ภายหลังจากทำการติดตั้งระบบสูบน้ำพลังงานแสงอาทิตย์ด้วยท่อพญานาคจำนวน 10 ชุด ทำให้ชุมชนสามารถประหยัดค่าใช้จ่ายในการสูบน้ำประมาณปีละ 1.15 ล้านบาท นอกเหนือจากประโยชน์เรื่องการลดค่าใช้จ่ายด้านพลังงานแล้ว โครงการระบบสูบน้ำพลังงานแสงอาทิตย์ ยังส่งเสริมให้ชุมชนสามารถพึ่งพาตนเองได้ ลดการใช้น้ำมันเพื่อการสูบน้ำในการทำนาข้าวระยะยาว ต่อยอดเป็นตำบลต้นแบบพลังงานทดแทนและอนุรักษ์พลังงานของจังหวัด ตลอดจนเกิดกระบวนการมีส่วนร่วมของประชาชนในชุมชน และการสร้างสิ่งแวดล้อมสีเขียว นอกจากนี้ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงพลังงาน ยังได้กล่าวถึงการเยี่ยมชมศักยภาพการดำเนินงานของโรงงานผลิตก๊าซชีวภาพ บริษัท บางจากไบโอฟูเอล จำกัด (BBF) อำเภอบางปะอิน จังหวัดพระนครศรีอยุธยา ว่า การผลิตเชื้อเพลิงชีวภาพ ของ บริษัท บางจากไบโอฟูเอล จำกัด (BBF) เป็นการประกอบกิจการพลังงานที่สอดคล้องแนวนโยบายการส่งเสริมการใช้พลังงานทดแทนของกระทรวงพลังงาน ตามแผนพัฒนาพลังงานทดแทนและพลังงานทางเลือก หรือ AEDP 2015 ที่มีเป้าหมายส่งเสริมการใช้พลังงานทดแทน 30% ในปี 2579 นอกจากนี้ ยังเป็นส่วนสำคัญในการสร้างรายได้ให้กับเกษตรกรที่ปลูกปาล์มน้ำมันในพื้นที่ภาคใต้ เนื่องจากมีการรับวัตถุดิบน้ำมันปาล์มจากเกษตรกรในพื้นที่ภาคใต้ 100 เปอร์เซ็นต์ โดยบริษัทฯ ได้ผลิตน้ำมันไบโอดีเซล B100 เพื่อเป็นส่วนผสมของน้ำมันไบโอดีเซล ตามนโยบายการส่งเสริมการใช้พลังงานทดแทนของกระทรวงพลังงานในสัดส่วนไม่เกินร้อยละ 7 ซึ่งปัจจุบันบริษัทฯ มีกำลังการผลิต 810,000 ลิตรต่อวัน

รัฐมนตรีว่าการกระทรวงพลังงาน ลงพื้นที่จ.สุพรรณบุรี

วันที่ 15 กันยายน 2560 พลเอก อนันตพร กาญจนรัตน์ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงพลังงาน พร้อมด้วย นายอารีพงศ์ ภู่ชอุ่ม ปลัดกระทรวงพลังงาน ผู้บริหารกระทรวงพลังงาน ข้าราชการ เจ้าหน้าที่ และสื่อมวลชน ลงพื้นที่จังหวัดสุพรรณบุรี เพื่อติดตามการดำเนินงานด้านการสร้างความมั่นคงด้านพลังงานตั้งแต่ระดับชุมชนจนถึงระดับประเทศ โดยตรวจติดตาม การใช้งบประมาณ Block Grant โครงการส่งเสริมพลังงานทดแทนชุมชน โรงอบแห้งพลังงานแสงอาทิตย์ กลุ่มวิสาหกิจชุมชนสวนกล้วยอู่ทอง อำเภออู่ทอง จังหวัดสุพรรณบุรี เพื่อยกระดับคุณภาพชีวิตเกษตรกรในพื้นที่ ด้วยเทคโนโลยีพลังงานทดแทน และเยี่ยมชมศักยภาพการดำเนินงานแหล่งผลิตอู่ทอง 1-7 โครงการ PTTEP 1 อำเภอเมือง จังหวัดสุพรรณบุรี ของ บริษัท ปตท.สำรวจและผลิตปิโตรเลียม จำกัด (มหาชน) หรือ ปตท.สผ.

พล.อ.อนันตพร กาญจนรัตน์ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงพลังงาน เปิดเผยว่า ในการสร้างความมั่นคงให้กับภาคพลังงานของประเทศ กระทรวงพลังงานมุ่งเน้นการส่งเสริมให้เกิดความมั่นคงตั้งแต่ระดับรากหญ้าไปจนถึงการประกอบกิจการพลังงานระดับประเทศ การลงพื้นที่จังหวัดสุพรรณบุรีในครั้งนี้ เป็นการติดตามโครงการส่งเสริมการใช้พลังงานทดแทนในชุมชน เพื่อยกระดับคุณภาพชีวิตของชุมชนในพื้นที่อย่างยั่งยืน และเพื่อตรวจติดตามศักยภาพของแหล่งพลังงานบนบกของประเทศ โดยกลุ่มวิสาหกิจชุมชนสวนกล้วยอู่ทอง ตำบลจรเข้สามพัน อำเภออู่ทอง จังหวัดสุพรรณบุรี ถือเป็นกลุ่มที่ประสบความสำเร็จและเป็นต้นแบบการใช้พลังงานทดแทนในการพัฒนาคุณภาพชีวิตของชุมชนอย่างชัดเจน นอกจากนี้ ยังได้ต่อยอดการพัฒนาบุคลากร เทคโนโลยี และการจัดการองค์ความรู้ จนสามารถพัฒนาไปสู่การเป็นศูนย์เรียนรู้ด้านพลังงานและเป็นแหล่งท่องเที่ยวเชิงเกษตรแบบครบวงจร

โดยกลุ่มดังกล่าว เกิดจากการรวมตัวกันของเกษตรกรในพื้นที่ เพื่อสร้างมูลค่าเพิ่มผลผลิตทางเกษตรให้ชุมชนมีรายได้ที่เพิ่มขึ้น ด้วยกระบวนการแปรรูป อาทิ กล้วยอบ กล้วยตาก ข้าวเกรียบรสต่างๆ เป็นต้น แต่ด้วยกระบวนการผลิตแบบดั้งเดิมทำให้ประสบปัญหาเรื่องผลิตภัณฑ์ที่ไม่ได้คุณภาพตามมาตรฐาน และยังมีต้นทุนค่าพลังงานค่อนข้างสูงจากการพึ่งพาเชื้อเพลิงแอลพีจีเป็นหลัก ซึ่งการดำเนินงานของกลุ่มวิสาหกิจสวนกล้วยอู่ทองมีศักยภาพที่จะส่งเสริมด้านพลังงานทดแทนในกระบวนการผลิตและแปรรูปผลิตภัณฑ์ กระทรวงพลังงานจึงได้สนับสนุนระบบอบแห้งพลังงานแสงอาทิตย์ ภายใต้งบประมาณ Block Grant ปี 2560 เพื่อช่วยลดปริมาณการใช้ก๊าซแอลพีจีในขั้นตอนการผลิต ซึ่งสามารถลดได้ จำนวน 20 ถังต่อเดือน คิดเป็นเงินจำนวน 84,000 บาทต่อปี ตลอดจนสามารถประหยัดเวลาต่อรอบการผลิตจากเดิมที่ต้องใช้เวลาใช้เวลามากถึง 4 วัน เหลือเพียง 2 วัน และยังสามารถลดความเสียหายของวัตถุดิบลงได้ 5% หรือคิดเป็นเงินจำนวน 3,500 บาทต่อเดือน ปัจจุบัน ด้วยระบบการผลิตที่มีศักยภาพเพิ่มขึ้นทำให้สามารถต่อยอดไปสู่การแปรรูปผลิตภัณฑ์ประเภทอื่นๆ อาทิ ก้านเผือก มะเขือเทศเชอรี่อบแห้ง และข้าวแต๋น เป็นต้น สร้างรายได้จากการขายผลิตภัณฑ์แปรรูป 4-5 หมื่นบาทต่อเดือน ยกระดับคุณภาพชีวิตชุมชนได้อย่างยั่งยืน

นอกจากนี้ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงพลังงาน ยังได้กล่าวถึงความสำคัญและศักยภาพของ แหล่งอู่ทอง ซึ่งเป็นแหล่งน้ำมันดิบแหล่งหนึ่งในแปลงสำรวจปิโตรเลียม PTTEP 1 ว่า “แหล่งอู่ทองเป็น แหล่งพลังงานบนบกที่ช่วยเสริมความมั่นคงด้านพลังงานแก่ประเทศไทย โดยแหล่งอู่ทอง และแหล่งข้างเคียง ที่อยู่ในแปลงเดียวกัน ได้แก่ แหล่งสังฆจาย และแหล่งกำแพงแสน มีปริมาณการผลิตน้ำมันดิบตั้งแต่เริ่มผลิตจนถึงสิ้นปี 2559 จำนวนรวม 5.8 ล้านบาร์เรล สร้างรายได้เข้ารัฐในรูปแบบของค่าภาคหลวงคิดเป็นจำนวนเงินรวม 313 ล้านบาท”

แปลงสำรวจปิโตรเลียม PTTEP 1 อยู่ภายใต้สัมปทานเลขที่ 2/2528/27 นอกจากนี้ยังมีแปลงสำรวจปิโตรเลียม L53/43 คือ แหล่งบึงกระเทียม และแปลงสำรวจปิโตรเลียม L54/43 คือ แหล่งหนองผักชี อีกด้วย ซึ่งทั้ง 3 แปลงสำรวจ มีบริษัท ปตท.สผ.อินเตอร์เนชั่นแนล จำกัด เป็นผู้รับสัมปทาน (100%) และผู้ดำเนินการ โดยมีกำลังการผลิตน้ำมันดิบรวมทั้ง 3 แปลงสำรวจ ประมาณ 850 บาร์เรลต่อวัน ประกอบด้วยแปลง PTTEP 1 (แหล่งน้ำมันดิบอู่ทอง แหล่งสังฆจาย และแหล่งกำแพงแสน) จำนวน 200 บาร์เรลต่อวัน แปลง L54/43 (แหล่งหนองผักชี) จำนวน 650 บาร์เรลต่อวัน และแปลง L53/43 (แหล่งบึงกระเทียม) หยุดการผลิตปิโตรเลียมชั่วคราว โดยน้ำมันดิบที่ผลิตได้ทั้งหมดจะขายให้บริษัท ปตท. จำกัด (มหาชน) เพื่อเข้าสู่โรงกลั่นบางจาก

ทั้งนี้ แปลง PTTEP 1 ได้สิ้นระยะเวลาผลิตปิโตรเลียม 20 ปีเมื่อวันที่ 4 กุมภาพันธ์ 2560 และได้รับการต่อระยะเวลาผลิตอีก 10 ปี ซึ่งจะสิ้นอายุสัมปทาน ในวันที่ 4 กุมภาพันธ์ 2570

รัฐมนตรีว่าการกระทรวงพลังงาน เป็นประธานเปิดงานเสวนาหัวข้อ เศรษฐกิจฟื้นแต่…พลังงานฟุบ?

วันนี้ (14 ก.ย. 60) พลเอกอนันตพร กาญจนรัตน์ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงพลังงาน เป็นประธานเปิดงานเสวนาทางวิชาการ ในหัวข้อ “เศรษฐกิจฟื้นแต่…พลังงานฟุบ?” โดยมีเข้าผู้ร่วมเสวนา ดังนี้ ดร.ทวารัฐ สูตะบุตร ผู้อำนวยการสำนักงานนโยบายและแผนพลังงาน ดร.เอกนิติ นิติทัณฑ์ประภาศ ผู้อำนวยการสำนังานคณะกรรมการนโยบายรัฐวิสาหกิจ นายเจน นำชัยศิริ ประธานสภาอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย (ส.อ.ท.) นายนินนาท ไชยธีรภิญโญ ประธานคณะกรรมการ บริษัท โตโยต้า มอเตอร์ ประเทศไทย จำกัด นายสหรัฐ บุญโพธิภักดี รองผู้ว่าการ การไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทย ณ ห้อง Synergy Hall ชั้น 6 ศูนย์เอนเนอร์ยี่ คอมเพล็กซ์ กระทรวงพลังงาน

รมว.พน. เป็นประธานกิจกรรมการปลูกต้นไม้เพื่อพัฒนาพื้นที่สีเขียว ภายใต้โครงการคุ้งบางกะเจ้าเฉลิมพระเกียรติ ณ สวนเฉลิมพระเกียรติ 80 พรรษา

วันนี้ (25 ส.ค. 2560)  พล.อ.อนันตพร กาญจนรัตน์ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงพลังงาน เป็นประธานกิจกรรมการปลูกต้นไม้เพื่อพัฒนาพื้นที่สีเขียว ภายใต้โครงการคุ้งบางกะเจ้าเฉลิมพระเกียรติ ณ สวนเฉลิมพระเกียรติ 80 พรรษา พื้นที่แปลงปลูก อ.พระประแดง จ.สมุทรปราการ โดยมีผู้ว่าราชการจังหวัดสมุทรปราการ ผู้บริหารจากกระทรวงพลังงาน บริษัท ปตท. จำกัด(มหาชน) การไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทย (กฟผ.) พร้อมด้วยคณะสื่อมวลชนเข้าร่วมงาน

พล.อ. อนันตพร กล่าวว่า  การดำเนินกิจกรรมการปลูกป่า ในคุ้งบางกะเจ้าในวันนี้ ถือเป็นการต่อยอดการพัฒนาสวนเฉลิมพระเกียรติพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว รัชกาล 9 ในครั้งเฉลิมพระชนมพรรษา 80 พรรษา ซึ่งจะเป็นส่วนหนึ่งของการพัฒนาพื้นที่คุ้งบางกะเจ้า ให้มีพื้นที่สีเขียวเพิ่มขึ้น และยังเป็นการสืบสานพระราชปณิธานด้านการอนุรักษ์ทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม ควบคู่ไปกับการสร้างความเข้มแข็งให้กับสังคมในพื้นที่คุ้งบางกะเจ้าอย่างต่อเนื่อง โดยความร่วมมือจากทุกฝ่ายทั้งหน่วยงานภายใต้สังกัด ชุมชน และประชาชนในพื้นที่ต่อไป

ทั้งนี้  นอกจากการปลูกป่าแล้วในวันนี้ ยังได้มาติดตามความคืบหน้า ความร่วมมือของหน่วยงานต่าง ๆ ภายใต้ภาคีเครือข่าย ที่ได้ร่วมมือกันพัฒนาพื้นที่คุ้งบางกะเจ้าแห่งนี้ โดยมีการพัฒนาที่สำคัญ ๆ  3 ด้านหลัก  ได้แก่ การติดตั้งแผงโซลาร์เซลล์บนหลังคาอาคารอำนวยการ เพื่อชดเชยค่าไฟฟ้าบางส่วน ซึ่งการไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทยได้ดำเนินการ การฟื้นฟูพื้นที่สีเขียวให้มีความหลากหลายของชนิดพันธุ์พืชในลุ่มแม่น้ำเจ้าพระยาตอนล่าง ซึ่งดำเนินการโดย บริษัท ปตท. จำกัด (มหาชน) และงานวิจัยการป้องกันการกัดเซาะพื้นที่ชายฝั่งและพื้นฟูป่าชายเลน ซึ่งได้ร่วมกับมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ รวมทั้งการปรับปรุงภูมิทัศน์ของศูนย์พัฒนาเด็กเล็กก่อนวัยเรียน ในอำเภอบางยอ ของสำนักงานปลัดกระทรวงพลังงาน เป็นต้น

นายสมนึก บำรุงสาลี  รองปลัดกระทรวงพลังงาน กล่าวว่า วัตถุประสงค์การจัดกิจกรรมในครั้งนี้ กระทรวงพลังงาน ซึ่งได้ร่วมกับภาคีเครือข่าย จะได้ดำเนินกิจกรรมเพื่อสืบสานพระราชปณิธานด้านการอนุรักษ์ทรัพยากรและสิ่งแวดล้อม โดยการจัดกิจกรรมการปลูกต้นไม้เพื่อพัฒนาพื้นที่สีเขียวในคุ้งบางกะเจ้าแห่งนี้ ที่จะมีกิจกรรมการปลูกป่า 19 ไร่ ควบคู่ไปกับการปรับปรุงอาคารสิ่งปลูกสร้าง และระบบสาธารณูปโภคให้สามารถใช้ประโยชน์ได้ดีขึ้น รวมไปถึงการสร้างความเข้มแข็งให้กับสังคมในพื้นที่คุ้งบางกระเจ้าอย่างต่อเนื่อง เพื่อสร้างคุณภาพชีวิตที่ดีให้ชุมชนในพื้นที่เพิ่มขึ้น

“ในอนาคตทุกหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง ทั้งกระทรวงพลังงาน กรมป่าไม้ บริษัท ปตท. จำกัด (มหาชน) การไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทย ภาคีเครือข่ายชุมชนและหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง ในพื้นที่สีเขียว “คุ้งบางกะเจ้า”  ยังจะคงประสานความร่วมมือกันในการรักษาพื้นที่สีเขียวนี้ไว้ เพื่อร่วมกันรักษาสภาพแวดล้อม ความสมดุลของธรรมชาติที่สมบูรณ์ของพื้นที่ รวมถึงเพื่อป้องกันการสูญเสียที่อาจเกิดขึ้นจากภัยพิบัติธรรมชาติ เช่น การกัดเซาะพื้นที่ชายฝั่งทางทะเลของประเทศ” รองปลัดกระทรวงพลังงาน กล่าวในตอนท้าย

นายเทวินทร์ วงศ์วานิช ประธานเจ้าหน้าที่บริหารและกรรมการผู้จัดการใหญ่ บริษัท ปตท. จำกัด (มหาชน) กล่าวว่า ปตท.  ร่วมกิจกรรมในโครงการ “คุ้งบางกะเจ้าเฉลิมพระเกียรติฯ” ของกระทรวงพลังงาน ในชื่อโครงการ “รักษ์น้ำ รักษ์ป่า รักษ์คุ้งบางกะเจ้า” ซึ่งมีหลักการดำเนินงานภายใต้หลักปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงและหลักการมีส่วนร่วมกับกลุ่มผู้มีส่วนได้เสียสำคัญ โดยได้รับเกียรติจากมูลนิธิชัยพัฒนาเป็นที่ปรึกษาโครงการ ทำงานร่วมกับกระทรวงพลังงาน กรมป่าไม้ กฟผ. และภาคีเครือข่ายอื่นๆ ที่สำคัญคือชุมชนคุ้งบางกะเจ้า ที่มีการสานต่อความร่วมมืออย่างต่อเนื่อง

“วันนี้ถือเป็นโอกาสอันดีที่ท่านรัฐมนตรีว่าการกระทรวงพลังงาน มาตรวจเยี่ยมความก้าวหน้าของโครงการ โดยเฉพาะการพัฒนาพื้นที่สวนเฉลิมพระเกียรติฯ 80 พรรษา ที่ ปตท. จะดำเนินการเสร็จสิ้นเดือนในสิงหาคมนี้ รวมทั้งเล็งเห็นความสำคัญของพื้นที่สีเขียวในคุ้งบางกะเจ้า ทำให้เกิดการจัดกิจกรรม “การปลูกต้นไม้เพื่อพัฒนาพื้นที่สีเขียวคุ้งบางกะเจ้า” ณ ตำบลบางกระสอบ อีก 19 ไร่ โดยกระทรวงพลังงาน ร่วมกับ ปตท. กฟผ. ภาคีเครือข่ายอื่นๆ ด้วยกระบวนการมีส่วนร่วมกับชุมชนในพื้นที่ ซึ่ง ปตท. ยินดีที่จะร่วมมือร่วมใจในการพัฒนาพื้นที่คุ้งบางกะเจ้า เพื่อสร้างความยั่งยืนต่อไป” นายเทวินทร์ กล่าว

รัฐมนตรีว่าการกระทรวงพลังงาน เป็นประธานเปิดการสัมมนา “อนาคตธุรกิจพลังงานไทย”

วันที่ 24 ส.ค. 60 พลเอกอนันตพร กาญจนรัตน์ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงพลังงาน เป็นประธานเปิดการสัมมนา “อนาคตธุรกิจพลังงานไทย” และปาฐกถาพิเศษหัวข้อ “นโยบายชาติกับยุทธศาสตร์พลังงานทางเลือก” โดยมี นายอารีพงศ์ ภู่ชอุ่ม ปลัดกระทรวงพลังงาน ร่วมบรรยายพิเศษหัวข้อ “Energy 4.0” ณ ห้องฟอร์จูนบอลรูม ชั้น 3 โรงแรมแกรนด์ เมอร์เคียว กรุงเทพฯ

กระทรวงพลังงานมอบรางวัล 66 สุดยอดผลงาน Thailand Energy Awards 2017 สอดรับการขับเคลื่อนนโยบายพลังงาน 4.0 สู่ความสำเร็จ

วันนี้ (21 ส.ค.60) พลอากาศเอกประจิน จั่นตอง รองนายกรัฐมนตรี ให้เกียรติเป็นประธานมอบรางวัลแก่ผู้ชนะการประกวด Thailand Energy Awards 2017 จำนวน 66 ราย โดยมีตัวแทนจากหน่วยงานภาครัฐและเอกชน ผู้ประกอบการ ผู้ที่อยู่แวดวงด้านพลังงาน รวมทั้งสื่อมวลชนจำนวนมาก ร่วมแสดงความยินดีแก่ผู้ได้รับรางวัล จัดขึ้น ณ ศูนย์การประชุมแห่งชาติสิริกิติ์

นายประพนธ์ วงษ์ท่าเรือ อธิบดีกรมพัฒนาพลังงานทดแทนและอนุรักษ์พลังงาน กระทรวงพลังงาน กล่าวรายงานว่า “Thailand Energy Awards สุดยอดรางวัลด้านพลังงานไทยระดับสากล เป็นการประกวดด้านพลังงานของประเทศไทยที่กระทรวงพลังงานได้ส่งเสริมให้มีการจัดการประกวดต่อเนื่องกันมาเป็นปีที่ 18 แล้ว เป็นกิจกรรมที่เปิดกว้างให้ทุกภาคส่วนที่มีการใช้พลังงานหรือมีส่วนร่วมสนับสนุนการอนุรักษ์พลังงานและการพัฒนาพลังงานทดแทน ได้แสดงศักยภาพและเผยแพร่ผลงานความสำเร็จของตนเอง ให้แก่ผู้อื่นได้นำไปใช้เป็นแบบอย่างในการนำไปปฏิบัติ ให้เกิดผลอย่างเป็นรูปธรรม และมีส่วนสำคัญในการผลักดันให้ผู้ประกอบการ วิจัย พัฒนา เทคโนโลยีและนวัตกรรมการอนุรักษ์พลังงานควบคู่ไปกับการใช้พลังงานทดแทนที่เป็นพลังงานสะอาดให้เกิดประสิทธิภาพสูงสุด ซึ่งสอดรับกับการขับเคลื่อนนโยบายพลังงาน 4.0 นำมาสู่ความสำเร็จที่ยิ่งใหญ่ในวันนี้”

โครงการ Thailand Energy Awards แบ่งการประกวดออกเป็น 5 ด้าน ได้แก่ ด้านพลังงานทดแทน ด้านอนุรักษ์พลังงาน ด้านบุคลากร ด้านพลังงานสร้างสรรค์ และด้านผู้ส่งเสริมการอนุรักษ์พลังงานและพลังงานทดแทน สำหรับปีนี้ มีผู้สนใจส่งผลงานเข้าประกวดจำนวน 262 ราย และได้รับเกียรติจากผู้ทรงคุณวุฒิ ผู้เชี่ยวชาญ นักวิชาการจากหน่วยงานต่างๆ ร่วมกันพิจารณาคัดเลือกผลงานดีเด่นสมควรแก่การได้รับรางวัล จำนวน 66 รางวัล คิดเป็นมูลค่าผลประหยัดรวมได้มากกว่า 420 ล้านบาทต่อปี สามารถลดก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ได้มากกว่า 290,000 ตันต่อปี

นอกจากนี้ ยังได้คัดเลือกผู้แทนที่มีผลงานโดดเด่น ร่วมประกวดในระดับอาเซียนจำนวน 24 ผลงาน และสามารถคว้ารางวัลมาครองได้อย่างน่าภาคภูมิใจถึง 19 รางวัล มากที่สุดในเวที ASEAN Energy Awards ทำให้ประเทศไทยครองความเป็นที่หนึ่งมาอย่างต่อเนื่อง ด้วยพลังความสำเร็จอันยิ่งใหญ่ข้างต้น สามารถนำไปขยายผลให้ประเทศเกิดการพัฒนาด้านพลังงานอย่างยั่งยืนสืบไป

ทั้งนี้สามารถตรวจสอบรายชื่อผู้ชนะการประกวด Thailand Energy Awards 2017 และพบผลงานแห่งความภาคภูมิใจ ด้านการอนุรักษ์พลังงานและพัฒนาพลังงานทดแทนได้ที่ www.thailandenergyaward.com

พล.อ.อนันตพร กาญจนรัตน์ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงพลังงาน ได้เดินทางไปยังจังหวัดนครราชสีมา เพื่อเข้าร่วมประชุมคณะรัฐมนตรีอย่างเป็นทางการนอกสถานที่(ครม.สัญจร)

วันนี้ (21ส.ค.60) พล.อ.อนันตพร กาญจนรัตน์ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงพลังงาน ได้เดินทางไปยังจังหวัดนครราชสีมา เพื่อเข้าร่วมประชุมคณะรัฐมนตรีอย่างเป็นทางการนอกสถานที่(ครม.สัญจร) ระหว่างวันที่ 21 -22 สิงหาคม 2560 โดยได้ปฏิบัติราชการในพื้นที่ เข้าเยี่ยมชมและรับทราบความคืบหน้าโครงการศูนย์กำจัดขยะแบบครบวงจร ที่เทศบาลเมืองสีคิ้ว เยี่ยมชมกระบวนการผลิตเอทานอล บริษัท เคไอ เอทานอล จำกัด และความสำเร็จจากโครงการระบบสูบน้ำแสงอาทิตย์ เพื่อแก้ไขปัญหาภัยแล้งของชุมชน บ้านหนองพฤกษ์ ซึ่งถือเป็นต้นแบบโครงการประชารัฐด้านพลังงาน

 

พล.อ.อนันตพร กล่าวว่า การเยี่ยมชมโครงการที่จังหวัดนครราชสีมาครั้งนี้ ถือเป็นโอกาสที่ดีในการต่อยอดโครงการประชารัฐด้านพลังงาน โดยกระทรวงพลังงาน ได้สนับสนุนโครงการนำร่องที่สำคัญๆ ในพื้นที่ ซึ่งวันนี้ได้เข้ารับทราบข้อมูลและความคืบหน้าที่สำคัญๆ  ได้แก่ โครงการนำร่องการจัดการขยะมูลฝอยชุมชนแบบครบวงจร (แบบกระจายศูนย์) โดยมีการก่อสร้างโรงงานจัดการขยะ เพื่อผลิตเป็นเชื้อเพลิง (Refuse Derived Fuel : RDF) และปุ๋ยอินทรีย์ จำนวน 4 แห่ง ตั้งอยู่ที่ สีคิ้ว

ด่านขุนทด เมืองปัก และเทศบาลแชะ  โดยปัจจุบันทั้ง 4 แห่งได้ดำเนินการแล้วเสร็จ และเริ่มทดลองใช้งานแล้ว โดยมีขยะเข้าสู่โรงงานทั้ง 4 แห่ง รวม 140 ตันต่อวัน ผลิตเชื้อเพลิง RDF ได้วันละ 50 ตัน

 

ทั้งนี้ เพื่อต่อยอดการผลิตเชื้อเพลิง RDF ดังกล่าว จึงได้มีการก่อสร้างศูนย์สาธิตการผลิตพลังงานจากของเสียและขยะชุมชน ตั้งอยู่ในมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีสุรนารี และจะมีโรงไฟฟ้าขนาด 1 เมกะวัตต์ ภายในศูนย์สาธิตฯ โดยอยู่ระหว่างก่อสร้างใกล้แล้วเสร็จ และอยู่ระหว่างทดสอบระบบ ซึ่งจะได้ใช้เชื้อเพลิง RDF จากโรงงานจัดการขยะทั้ง 4 แห่งดังกล่าว สำหรับใช้เป็นเชื้อเพลิงผลิตไฟฟ้าเพื่อจำหน่ายให้แก่มหาวิทยาลัย ฯ โดยปัจจุบันเชื้อเพลิง RDF ที่ผลิตได้ 50 ตันต่อวัน ยังสามารถจำหน่ายให้เป็นเชื้อเพลิงในโรงงานปูนซิเมนต์ ทีพีไอ และสยามซีเมนต์ ในราคาตันละ 1,000 บาท

นอกจากนี้ ยังได้เข้าเยี่ยมชมและติดตามความคืบหน้าของโครงการใช้ระบบสูบน้ำด้วยพลังงานแสงอาทิตย์ เพื่อแก้ปัญหาภัยแล้งของชุมชน กรณีศึกษาบ้านหนองพฤกษ์ อำเภอจักราช ซึ่งเป็นความร่วมมือรูปแบบประชารัฐ ระหว่าง สำนักงานพลังงานจังหวัดนครราชสีมา สมาคมพัฒนาประชากรและชุมชน สาขานครราชสีมา และชาวบ้านชุมชนบ้านหนองพฤกษ์ โดยเป็นโครงการที่ใช้ระบบสูบน้ำด้วยพลังงานแสงอาทิตย์ สูบน้ำบาดาลขึ้นมาจากใต้ดินเพื่อใช้ในระบบประปาของหมู่บ้าน การสูบน้ำได้ปริมาณน้ำ 28.64 ลูกบาศก์เมตรต่อชั่วโมง ทดแทนการใช้กระแสไฟฟ้าซึ่งเป็นต้นทุนราคาสูงให้ลดลง

โดยจากข้อมูลพบว่า โครงการฯ ได้เริ่มติดตั้งระบบตั้งแต่เดือนมกราคม 2553 จนถึงเดือนพฤษภาคม 2559 ที่ผ่านมา ช่วยให้ชุมชนประหยัดค่าไฟรวมทั้งสิ้น 351,261 บาท ลดการใช้ไฟฟ้าลงได้ 87,815 หน่วย ชาวบ้านหนองพฤกษ์ สามารถประหยัดค่าน้ำได้ 491,412 บาท ซึ่งเป็นผลมาจากการลดค่าน้ำประปาจากหน่วยละ 5 บาท เหลือเพียงหน่วยละ 2 บาท จากการกำหนดของโครงการฯ ซึ่งประโยชน์โดยรวมที่ได้รับ ชาวบ้านหนองพฤกษ์ได้แก้ปัญหาภัยแล้งได้อย่างยั่งยืน มีน้ำเพียงพออุปโภคบริโภค ลดต้นทุนด้านพลังงาน ได้ใช้น้ำราคาถูกเพาะปลูกพืชสร้างรายได้ที่เพียงพอต่อการดำรงชีวิต

 

“การตรวจเยี่ยมโครงการฯ ในครั้งนี้ ถือเป็นการต่อยอดโครงการประชารัฐ โดยกระทรวงพลังงานได้ส่งเสริมการผลิตพลังงานทดแทนในระดับชุมชน มุ่งเน้นลดรายจ่ายด้านพลังงาน ช่วยเพิ่มรายได้ให้แก่ชุมชน ใช้ทรัพยากรในท้องถิ่น และประโยชน์จากพลังงานทดแทน รวมทั้งยังให้ชุมชนมีส่วนร่วมในการลงทุนร่วมกับภาครัฐ ซึ่งคือมิติใหม่แห่งการพัฒนาพลังงงานอย่างยั่งยืน  ลดการนำเข้าพลังงาน และช่วยให้การผลิตและใช้พลังงานมีความมั่นคงยิ่งขึ้นในอนาคต” พล.อ.อนันตพร กล่าว

รัฐมนตรีว่าการกระทรวงพลังงาน พร้อมผู้บริหารและสื่อมวลชน ติดตามความคืบหน้าโครงการส่งเสริมการลงทุนด้านอนุรักษ์พลังงานทดแทนด้วยเงินทุนหมุนเวียน (ESCO Revolving Fund)

เย็นวันนี้ (17 ส.ค.60) พลเอกอนันตพร กาญจนรัตน์ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงพลังงาน นำคณะผู้บริหาร ข้าราชการ เจ้าหน้าที่กระทรวงพลังงาน และสื่อมวลชน ติดตามความคืบหน้าโครงการส่งเสริมการลงทุนด้านอนุรักษ์พลังงานทดแทนด้วยเงินทุนหมุนเวียน (ESCO Revolving Fund) ปีงบประมาณ 2558 ณ บริษัท พี.พี. แพคเกจจิ้ง จำกัด จ.นครปฐมโดยมีนายสุพจน์ ยศสิงห์คำ รองผู้ว่าราชการจังหวัดนครปฐม และนายชัยณรงค์ เทียนชัยกุล กรรมการผู้จัดการบริษัทฯให้การต้อนรับ

ซึ่งโครงการดังกล่าว ของ พพ. ได้สนับสนุนเงินลงทุนในลักษณะเงินกู้ดอกเบี้ยอัตราคงที่ 3.5% ต่อปี (Flat Rate) โดยมีระยะเวลาการผ่อนชำระคืนไม่เกิน 5 ปี ให้กับบริษัท พี.พี. แพคเกจจิ้ง จำกัด ซึ่งเป็นผู้ผลิตและจำหน่ายผลิตภัณฑ์พลาสติกและโฟมสำหรับบรรจุอาหารนั้น ที่ได้มีการส่งเสริมการลงทุนโดยการให้เช่าซื้ออุปกรณ์ประหยัดพลังงาน ในโครงการติดตั้งอุปกรณ์ปรับลดแรงดันไฟฟ้า จำนวน 2 เครื่อง คือ ขนาดพิกัด 1,000 kVA และขนาดพิกัด 1,500 kVA ภายใต้งบประมาณส่งเสริมจำนวน 6,452,100 บาท ซึ่งการเข้าร่วมโครงการดังกล่าวส่งผลให้บริษัทสามารถประหยัดพลังงานไฟฟ้าได้เท่ากับ 464,000 kWhต่อปี หรือเทียบเท่า 0.04 ktoe ต่อปี คิดเป็นเงินที่ประหยัดได้ 1.78 ล้านบาทต่อปี นอกจากนี้ยังสามารถช่วยลดการปล่อยก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ ได้ 0.0003 กิโลกรัมคาร์บอนไดออกไซด์ต่อปี

พลเอก อนันตพร รัฐมนตรีว่าการกระทรวงพลังงานกล่าวว่า “ที่ผ่านมาโรงงานดังกล่าวมีการใช้พลังงานไฟฟ้าในกระบวนการผลิตเฉลี่ย 8,640,000 kWh ต่อปี คิดเป็นเงินค่าใช้จ่ายด้านพลังงานไฟฟ้าสูงถึง 33.16 ล้านบาทต่อปี แต่ภายหลังจากการเข้าร่วมโครงการส่งเสริมการลงทุนด้านอนุรักษ์พลังงานและพลังงานทดแทนด้วยเงินทุนหมุนเวียนแล้ว ช่วยให้เกิดการใช้พลังงานที่มีประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้น ซึ่งนับเป็นอีกหนึ่งตัวอย่างความสำเร็จในการขับเคลื่อนแผนอนุรักษ์พลังงานให้เป็นไปตามเป้าหมายของแผนที่ต้องการลดความเข้มการใช้พลังงานลง 30% ในปี 2579” พลเอก อนันตพร กล่าว

ทั้งนี้ โครงการส่งเสริมการลงทุนด้านอนุรักษ์พลังงานทดแทนด้วยเงินทุนหมุนเวียน พพ. ได้ดำเนินการส่งเสริมไปแล้วทั้งหมด 23 ราย สามารถประหยัดพลังงานไฟฟ้าให้กับประเทศได้เท่ากับ 17.63 GWh ต่อปี คิดเป็นเงินที่ประหยัดได้ 45 ล้านบาทต่อปี หรือลดการนำเข้าน้ำมันดิบ 6.25 พันตันเทียบเท่าน้ำมันดิบ

รัฐมนตรีว่าการกระทรวงพลังงาน พร้อมผู้บริหารและสื่อมวลชน ลงพื้นที่จังหวัดกาญจนบุรี ติดตามสถานการณ์พลังงานภาคกลาง พร้อมเยี่ยมชมศักยภาพการดำเนินงานโรงไฟฟ้าพลังงานน้ำเขื่อนศรีนครินทร์ และร่วมกิจกรรมปลูกป่า “โครงการประชารัฐร่วมใจ ปลูกต้นไม้ให้แผ่นดิน”

วันนี้ (17 ส.ค.60) พลเอก อนันตพร กาญจนรัตน์ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงพลังงาน พร้อมด้วยนายอารีพงศ์ ภู่ชอุ่ม ปลัดกระทรวงพลังงาน นำคณะผู้บริหาร ข้าราชการ เจ้าหน้าที่กระทรวงพลังงาน และสื่อมวลชน ลงพื้นที่จังหวัดกาญจนบุรี เพื่อตรวจติดตามสถานการณ์พลังงานภาคกลาง พร้อมเยี่ยมชมศักยภาพการดำเนินงานโรงไฟฟ้าพลังงานน้ำเขื่อนศรีนครินทร์ และร่วมกิจกรรมปลูกป่า “โครงการประชารัฐร่วมใจ ปลูกต้นไม้ให้แผ่นดิน” ณ บริเวณเขื่อนศรีนครินทร์ ในพื้นที่ ต.ท่ากระดาน อ.ศรีสวัสดิ์ จ.กาญจนบุรี โดยมี นายนิกูล ศิลาสุวรรณ รองผู้ว่าการ การไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทย และข้าราชการในพื้นที่ให้การต้อนรับ

พลเอกอนันตพร รัฐมนตรีว่าการกระทรวงพลังงาน กล่าวว่า “กิจกรรมปลูกป่าโครงการประชารัฐร่วมใจ ปลูกต้นไม้ให้แผ่นดิน ตามนโยบายของรัฐบาลที่รณรงค์ให้ ภาครัฐ เอกชน และประชาชนทั่วประเทศ ร่วมปลูกต้นไม้ เพื่อฟื้นฟูและอนุรักษ์ป่าไม้ บนพื้นที่สาธารณะ พื้นที่ป่า หรือพื้นที่รัฐที่ทางราชการกำหนดไว้ โดยเริ่มดำเนินการมาตั้งแต่วันที่ 7 สิงหาคม ไปจนถึงวันที่ 30 กันยายน 2560 เพื่อเฉลิมพระเกียรติ สมเด็จพระเจ้าอยู่หัวมหาวชิราลงกรณ บดินทรเทพยวรางกูร เนื่องในโอกาสเฉลิมพระชนมพรรษา ครบรอบ 65 พรรษา และร่วมสืบสานแนวพระราชดำริพระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช และสมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ พระบรมราชินีนาถ ในรัชกาลที่ 9 ในการฟื้นคืนความอุดมสมบูรณ์ของทรัพยากรป่าไม้” พลเอก อนันตพร รัฐมนตรีว่าการกระทรวงพลังงานกล่าว

สำหรับการพูดคุยกับพลังงานจังหวัดในกลุ่มภาคกลางทั้ง 20 จังหวัด ได้แก่ จังหวัดปทุมธานี สระบุรี พระนครศรีอยุธยา นนทบุรี ลพบุรี ชัยนาท อ่างทอง สิงห์บุรี กาญจนบุรี นครปฐม สุพรรณบุรี ราชบุรี สมุทรสงคราม สมุทรสาคร เพชรบุรี ประจวบคีรีขันธ์ พิจิตร กำแพงเพชร นครสวรรค์ และอุทัยธานี เบื้องต้นไม่พบว่าประสบปัญหาอะไร แต่ได้มีการกำชับพลังงานจังหวัด และเจ้าหน้าที่กระทรวงพลังงานในพื้นที่ทุกคนให้มุ่งเน้นการทำงานอย่างบูรณาการ ติดตามดูแลสถานการณ์พลังงานอย่างใกล้ชิด และเตรียมพร้อมรับมือกับทุกสถานการณ์ เช่น ภัยธรรมชาติ เหตุฉุกเฉิน เพื่อไม่ให้เกิดผลกระทบด้านพลังงานต่อประชาชนผู้บริโภค เนื่องจากพลังงานถือเป็นหนึ่งในกลไกลสำคัญในการขับเคลื่อนภาคเศรษฐกิจ และสังคมของประเทศให้มีความมั่นคง มั่งคั่ง และยั่งยืน

Page 13 of 15
1 11 12 13 14 15