รัฐมนตรีว่าการกระทรวงพลังงาน ลงพื้นที่ตรวจราชการ จ.นครศรีธรรมราช และชุมพร ติดตามการดำเนินงานโรงแยกก๊าซธรรมชาติขนอม-โรงไฟฟ้าขนอม เพื่อสร้างความมั่นคงด้านพลังงานอย่างยั่งยืนในพื้นที่ภาคใต้

กระทรวงพลังงาน โดย รัฐมนตรีว่าการกระทรวงพลังงาน ดร. ศิริ จิระพงษ์พันธ์ พร้อมด้วยผู้บริหารระดับสูงของกระทรวงพลังงาน ได้ให้การต้อนรับ พลอากาศเอกประจิน จั่นตอง รองนายกรัฐมนตรี ในการตรวจเยี่ยมโรงแยกก๊าซธรรมชาติขนอม และโรงไฟฟ้าขนอม จ.นครศรีธรรมราช ในวันที่ 20 สิงหาคม 2561 ซึ่งเป็นภารกิจส่วนหนึ่งของการประชุมคณะรัฐมนตรีนอกสถานที่ โดยติดตามโครงการด้านพลังงาน เพื่อรับทราบผลการดำเนินงาน ความก้าวหน้าต่างๆ ของโครงการ และความเป็นอยู่ของชุมชนโดยรอบ

ทั้งนี้ โรงแยกก๊าซธรรมชาติขนอม เป็นโรงแยกก๊าซหน่วยที่ 4 ของบริษัท ปตท.จำกัด (มหาชน) สร้างขึ้นเพื่อรองรับความต้องการใช้ก๊าซปิโตรเลียมเหลว (LPG) ในเขตภาคใต้ และก๊าซโซลีนธรรมชาติ (NGL) ในประเทศที่มีปริมาณสูงขึ้น โดย ปตท. ได้ดำเนินการวางท่อส่งก๊าซฯ จากแหล่งก๊าซธรรมชาติในอ่าวไทย มาขึ้นฝั่งที่บริเวณโรงแยกก๊าซธรรมชาติขนอมโดยตรง เพื่อขนส่งก๊าซธรรมชาติที่จะเป็นเชื้อเพลิงหลักในการผลิตกระแสไฟฟ้าที่โรงไฟฟ้าขนอม

โดยปัจจุบันโรงแยกก๊าซธรรมชาติขนอม แยกก๊าซธรรมชาติอยู่ที่ 160 ล้านลูกบาศก์ฟุตต่อวัน ได้ผลิตภัณฑ์ก๊าซปิโตรเลียมเหลว (LPG) สำหรับใช้เป็นเชื้อเพลิงหรือก๊าซหุงต้มประมาณ 203,000 ตันต่อปี ใช้ในภาคครัวเรือนและโรงงานอุตสาหกรรม ซึ่งจะขนส่งทางเรือไปยังคลังปิโตรเลียมสุราษฎร์ธานีและคลังปิโตรเลียมสงขลา เพื่อจำหน่ายให้กับประชาชนในภาคใต้ อีกทั้งยังได้ก๊าซโซลีนธรรมชาติ (NGL) ประมาณ 45,000 ตัน ที่ใช้เป็นวัตถุดิบในอุตสาหกรรมตัวทำละลาย ใช้เป็นส่วนหนึ่งของ วัตถุดิบป้อนเข้าโรงกลั่นน้ำมัน รวมทั้งโรงแยกก๊าซธรรมชาติขนอม ยังสามารถอยู่ร่วมกับพื้นที่ และมีส่วนในการพัฒนาคุณภาพชีวิตของชุมชนโดยรอบอย่างต่อเนื่อง

ส่วนโรงไฟฟ้าขนอม ที่ดำเนินการโดยบริษัท ผลิตไฟฟ้า จำกัด (EGCO)  มีกำลังการผลิตตามสัญญาซื้อขายไฟฟ้ารวม 930 เมกะวัตต์ ใช้ก๊าซธรรมชาติเป็นเชื้อเพลิงประมาณ 150 ล้านลูกบาศก์ฟุตต่อวัน โดยโรงไฟฟ้าขนอมแห่งนี้ ถือเป็นโรงไฟฟ้าหลักที่เสริมสร้างความมั่นคงของระบบไฟฟ้าในภาคใต้สามารถรองรับความต้องการ ใช้ไฟฟ้าอย่างเพียงพอมีเสถียรภาพ รวมทั้งยังช่วยลดการสูญเสียพลังงานไฟฟ้าที่ส่งผ่านสายส่งจากภาคกลาง

นอกจากนี้ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงพลังงาน ยังได้ร่วมศึกษาและเยี่ยมชมพื้นที่ที่อาจมีความเป็นไปได้ในการก่อสร้าง สถานีเก็บรักษาและแปรสภาพก๊าซธรรมชาติจากของเหลวเป็นก๊าซแบบลอยน้ำ (Floating Storage and Regasification Unit : FSRU) เพื่อสร้างความมั่นคงในการจัดหาก๊าซธรรมชาติระยะยาว จากปริมาณก๊าซธรรมชาติในอ่าวไทยที่เริ่มลดลง โดยจะนำเข้าก๊าซธรรมชาติเหลว (LNG) จากต่างประเทศ ขนส่งมายังท่าเทียบเรือแล้วขนถ่ายเข้าสู่ FSRU ดังกล่าว เพื่อแปลงสภาพเป็นก๊าซก่อนเข้าสู่ระบบท่อส่งก๊าซธรรมชาติ และขนส่งไปยังโรงไฟฟ้าและลูกค้าก๊าซธรรมชาติต่อไป

ทำไมต้องปฏิรูปพลังงาน

ทำไมต้องปฏิรูปพลังงาน

จากสถานการณ์พลังงานที่การจัดหาพลังงานไม่เป็นไปตามเป้าหมาย ตลาดไม่เอื้อต่อการแข่งขัน การเปลี่ยนแปลงเทคโนโลยีใหม่ที่จะมีผลต่อการใช้ และการจัดหาพลังงานยังไม่มีการประเมินผลกระทบและการกำหนดทิศทางพัฒนาที่ชัดเจน ตลอดจนการบริหารจัดการภาครัฐที่ผ่านมาขาดการยอมรับของประชาชนก่อให้เกิดความขัดแย้งและนำไปสู่การชะงักของการลงทุนด้านพลังงานที่สำคัญของประเทศ อาทิ การสำรวจและผลิตปิโตรเลียม และการลงทุนโรงไฟฟ้า เป็นต้น

คณะกรรมการปฏิรูปประเทศด้านพลังงานพิจารณาแล้วเห็นว่าหากไม่เร่งแก้ปัญหาและปรับเปลี่ยนการพัฒนาด้านพลังงานใหม่ทั้งระบบ อาจส่งผลกระทบต่อเศรษฐกิจของประเทศอย่างมีนัยสำคัญ เนื่องจาก “พลังงาน” ถือเป็นสาขาการผลิตที่สำคัญในการขับเคลื่อนเศรษฐกิจของประเทศ คณะกรรมการฯ จึงวิเคราะห์สถานการณ์ ปัญหา อย่างครบวงจร และกำหนดโรดแมปการปฏิรูป 5 ปี (พ.ศ.2561- 2565) เพื่อมุ่งปรับการบริหารจัดการพลังงานของภาครัฐใหม่ที่เน้นการมีส่วนร่วมของประชาชน ปรับรูปแบบการวางแผนจัดหาพลังงานเพื่อสร้างความมั่นคงด้านพลังงาน ปรับโครงสร้างกิจการพลังงานให้มีการแข่งขันเพิ่มขึ้น พัฒนาพลังงานทดแทนเพื่อเป็นทางเลือกให้ประชาชนมีอิสระด้านพลังงานในการผลิตเอง ใช้เอง เหลือขาย ส่งเสริมการใช้พลังงานอย่างมีประสิทธิภาพในทุกภาคส่วน ตลอดจนผลักดันการสร้างฐานรายได้ใหม่ของประเทศจากอุตสาหกรรมพลังงาน โดยมีสาระสำคัญการดำเนินการปฏิรูปประเทศด้านพลังงาน 6 ด้าน 17 ประเด็นปฏิรูป ที่จะต้องผลักดันให้เริ่มดำเนินการภายในปี 2561 และผลประโยชน์ที่ประเทศและประชาชนจะได้รับ

รายละเอียดทั้งหมด สามารถดาวน์โหลดได้ที่นี่

กระทรวงพลังงาน เปิดงาน “พระมิ่งมารดา ศรีแห่งแผ่นดิน” เฉลิมพระเกียรติสมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ พระบรมราชินีนาถ ในรัชกาลที่ 9

วันที่ 8 สิงหาคม 2561 ณ ล็อบบี้ อาคารซี ศูนย์เอนเนอร์ยี่คอมเพล็กซ์  กระทรวงพลังงานจัดพิธีเปิดงาน “พระมิ่งมารดา ศรีแห่งแผ่นดิน” เพื่อเฉลิมพระเกียรติสมเด็จ พระนางเจ้าสิริกิติ์ พระบรมราชินีนาถ ในรัชกาลที่ 9 เนื่องในโอกาสมหามงคลเฉลิมพระชนมพรรษา 86 พรรษา ภายใต้โครงการตามรอยศาสตร์พระราชาด้านการพัฒนาพลังงาน พร้อมน้อมนำพระราชดำรัสและ พระราชกรณียกิจมาประยุกต์ใช้ในชีวิตประจำวัน

โดยภายในงานได้รับเกียรติจาก ดร.ศิริ จิระพงษ์พันธ์ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงพลังงาน  เป็นประธานในพิธีเปิดงาน

ทั้งนี้ ภายในงานประกอบด้วยกิจกรรมหลักๆ 3 โซน ได้แก่

โซนที่ 1 การจัดแสดงนิทรรศการ “พระมิ่งมารดา ศรีแห่งแผ่นดิน” ถ่ายทอดเรื่องราวพระราชกรณียกิจที่สื่อให้เห็นถึงพระปรีชาสามารถและพระอัจฉริยภาพของสมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ พระบรมราชินีนาถ ในรัชกาลที่ 9 ในบทบาท “แม่ของแผ่นดิน” ได้ทรงมอบความรักความห่วงใยต่อพสกนิกรชาวไทย ให้มีความอยู่ดีกินดี สนับสนุน ภูมิปัญญาท้องถิ่น การสร้างอาชีพ สร้างรายได้อย่างพอเพียง เพื่อเป็นการสร้างขวัญและกำลังใจแก่เหล่าประชาชน

โซนที่ 2 การจัดแสดงนิทรรศการผ่านภาพเสมือนจริง เพื่อนำเสนอเรื่องราวของสมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ พระบรมราชินีนาถ ในรัชกาลที่ 9 จานวน 3 ตอน ได้แก่ คู่พระบารมีศรีแผ่นดิน , พระราชินีแห่งสยาม และสายใยรักจาก “แม่สู่ลูก” เพื่อตระหนักถึงพระมหากรุณาธิคุณของพระองค์ท่านที่มีต่อปวงชนชาวไทย

โซนที่ 3 กิจกรรมเวิร์คช็อป D.I.Y บอกรักแม่ด้วยการทำของขวัญให้กับแม่ ได้แก่ การจัดทำโปสการ์ด ประดิษฐ์ดอกมะลิ และการทำผ้ามัดย้อม

นอกจากนี้ยังมีกิจกรรมเวที ที่มีเหล่าศิลปินชื่อดังมาร่วมถ่ายทอดบทเพลงบอกรักแม่ อาทิ กัน-นภัทร อินทร์ใจเอื้อ , ขนมจีน กุลมาศ , เบน ชลาทิศ และยังมีการแสดงจากเหล่าเยาวชนที่มีความสามารถมากมายมาร่วมสร้างสีสันภายในงาน

ทั้งนี้ งาน “พระมิ่งมารดา ศรีแห่งแผ่นดิน” กำหนดจัดขึ้นตั้งแต่วันนี้ – 10 สิงหาคม 2561  ณ ล็อบบี้ อาคารซี ศูนย์เอนเนอร์ยี่คอมเพล็กซ์ กระทรวงพลังงาน

สอบถามรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่  โทร. 02 140 7000 ดูรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่เพจเฟซบุ๊คแฟนเพจ “ศูนย์บริการร่วม กระทรวงพลังงาน”

“เอกสาร ป.ย.ป. กระทรวงพลังงาน”

เอกสารประกอบการประชุมปฏิรูปประเทศด้านพลังงาน

ห้องประชุม 3 ชั้น 15 ศูนย์เอนเนอร์ยี่คอมเพล็กซ์  อาคารบี

เอกสารประกอบการประชุม คลิกที่นี่

 

——————————————————————————————————————

เอกสารการประชุมติดตามแผนปฏิรูปประเทศ โดย คณะกรรมาธิการบริหารราชการแผ่นดิน วุฒิสภา

วันที่ 24 กุมภาพันธ์ 2563 เวลา 09.00 น.   ห้อง 3 ชั้น 15 ศูนย์เอนเนอร์ยี่คอมเพล็กซ์ อาคารบี

หนังสือขอติดตามแผนปฏิรูปประเทศ คลิกที่นี่

แบบฟอร์ม_1 ตารางติดตามข้อมูลแผนปฏิบัติราชการ คลิกที่นี่

แบบฟอร์ม_2 ประเด็นคำถามเพิ่มเติม 1  คลิกที่นี่

แบบฟอร์ม_3 ประเด็นคำถามเพิ่มเติม 2 คลิกที่นี่

 

————————————————————————————————–

 

 

 

การประชุมกลุ่ม ป.ย.ป. กระทรวงพลังงาน ครั้งที่ 2/2562  วันที่ 8 พ.ย. 62 

วาระ คลิกที่นี่ 

ร่างรายงานการประชุม คลิกที่นี่

ร่างบัญชีรายชื่อกลุ่ม-ป.ย.ป. คลิกที่นี่

 

การประชุมกลุ่ม ป.ย.ป. กระทรวงพลังงาน  ครั้งที่ 1/2562  วันที่ 11 ต.ค. 62 

บันทึก-เวียนแนว-eMENSCR-ป.ย.ป..pdf คลิกที่นี่

ครุฑ-เวียนแนว-eMENSCR-ป.ย.ป..pdf คลิกที่นี่

(ร่าง) รายงานการประชุม คลิกที่นี่

วาระการประชุม คลิกที่นี่

เอกสารการประชุม คลิกที่นี่

เอกกสารสัดส่วน contribution gas คลิกที่นี่

หนังสือเวียนสำนักงานสภาพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ คลิกที่นี่

คำสั่งกระทรวงพลังงานที่ 22/2561 คลิกที่นี่

คำสั่งกระทรวงพลังงานที่ 23/2561 คลิกที่นี่

 

 

เอกสาร (ป.ย.ป) กระทรวงพลังงาน

ประชุมคณะทำงานพิเศษฯ ครั้งที่ 1 – 4  Click here

พ.ร.บ.แนวทางการปฏิรูปประเทศ 2560    Click here

แผนปฏิรูปประเทศด้านพลังงาน 2560    Click here

ประกาศ พน._22-2561_กลุ่ม ป.ย.ป.     Click here

ประกาศ พน._23-2561_รายชื่อกลุม ป.ย.ป.     Click here

ประกาศ พน._28-2561 คณะอนุทำงานขับเคลื่อนปฏิรูปพลังงาน    Click  here

ฟอร์ม1_รายละเอียดโครงการรายไตรมาส    Click  here

ฟอร์ม2_แบบคำของบประมาณแผ่นดิน    Click  here

ฟอร์ม3_แบบคำของบสัมมปทาน    Click  here

ฟอร์ม4_แบบคำของบกองทุนอนุรักษ์    Click  here

PPT_โครงการขอรับงบกองทุนอนุรักษ์   Click here

ฟอร์ม5_สนย.1-แบบติดตามผลโครงการปฏิรูป  Click here

จุลสาร_แผนปฏิรูปพลังงานย่อ  Click here

ฟอร์ม6-แบบติดตามผลแผนปฏิรูปปี 2562  Click here

แผนปฏิบัติการตามแผนปฏิรูปพลังงาน ระยะ 5 ปี 2561-2565    Click  here

แผนปฏิการด้านพลังงาน ระยะ 5 ปี 2561-2565  Click here

 

 

รมว.พลังงาน เยี่ยมโรงกำจัดขยะผลิตไฟฟ้า หนองแขม

ดร. ศิริ จิระพงษ์พันธ์ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงพลังงาน พร้อมด้วยนายประพนธ์ วงษ์ท่าเรือ อธิบดีกรมพัฒนาพลังงานทดแทนและอนุรักษ์พลังงาน (พพ.) เยี่ยมชมโครงการโรงไฟฟ้ากำจัดขยะผลิตไฟฟ้าเพื่อสิ่งแวดล้อม หนองแขม โดยมี นายเหอ หนิง ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร บริษัท ซีแอนด์จี เอ็นไวรอนเมนทอล โปรเท็คชั่น (ประเทศไทย) จำกัด ผู้ดูแลโครงการให้การต้อนรับ

ปัจจุบัน บริษัทฯ รับขยะจาก กทม.ใน 5 เขต ได้แก่ ทวีวัฒนา หนองแขม จอมทอง ภาษีเจริญ และบางกอกใหญ่ ในปริมาณ 500 ตันต่อวัน มากำจัดด้วยเทคโนโลยีเตาเผาแบบตะกรับจากประเทศสวิตเซอร์แลนด์ ใช้อุณหภูมิในการเผาไหม้ 1,000 องศาเซลเซียส สามารถนำขยะที่กำจัดมาผลิตเป็นไฟฟ้าได้วันละ 200,000 ยูนิต ส่งขายให้การไฟฟ้านครหลวง (กฟน.) วันละ 7 เมกะวัตต์ ส่วนที่เหลือจะนำไปใช้ในโรงกำจัดขยะต่อไป

โดยบริษัทได้รับการรับรองมาตรฐานระบบบริหารงานคุณภาพ ISO 9001 ระบบการจัดการสิ่งแวดล้อม ISO 14001 และ ระบบการจัดการอาชีวอนามัยและความปลอดภัย OHSAS 18001 เป็นไปตามมาตรฐานทั้งในประเทศและระดับสากล

ดร. ศิริ จิระพงษ์พันธ์ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงพลังงาน ร่วมเปิดงาน ส่งเสริมการใช้น้ำมันบางจากดีเซลเกรดพิเศษ B20

ดร. ศิริ จิระพงษ์พันธ์ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงพลังงาน เป็นประธานในพิธีเปิด “โครงการส่งเสริมการใช้น้ำมันบางจากดีเซลเกรดพิเศษ B20” โดยมี นายชัยวัฒน์ โควาวิสารัช ประธานเจ้าหน้าที่บริหารและกรรมการผู้จัดการใหญ่ บริษัท บางจาก คอร์เปอเรชั่น จำกัด (มหาชน), นายประชัย เลี่ยวไพรัตน์  ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร บริษัท ทีพีไอ โพลีน จำกัด (มหาชน) พร้อมคณะผู้บริหารระดับสูงของกระทรวงพลังงาน บางจากฯ ทีพีไอฯ และผู้ประกอบการขนส่ง เข้าร่วมพิธีฯ ณ บมจ.ทีพีไอ โพลีน เพาเวอร์ จังหวัดสระบุรี เพื่อสนับสนุนนโยบายรัฐ ช่วยเหลือเกษตรกรสวนปาล์ม ในภาวะน้ำมันปาล์มดิบล้นตลาด ราคาตกต่ำ ลดต้นทุนค่าขนส่ง ค่าโดยสารในยามน้ำมันแพงช่วยรักษาสิ่งแวดล้อม โดยมีผู้ประกอบการกลุ่มขนส่งสินค้า รถและเรือโดยสาร เข้าร่วมโครงการจำนวนมาก

 

 

 

 

 

 

คู่มือการปฏิบัติงาน ตามพระราชบัญญัติการจัดซื้อจัดจ้างและการบริหารพัสดุภาครัฐ พ.ศ.2560

คู่มือปฏิบัติงานตามพระราชบัญญัติการจัดซื้อจัดจ้างและการบริหารพัสดุภาครัฐ พ.ศ. 2560   คลิกที่นี่

พระราชบัญญัติการจัดซื้อจัดจ้างและการบริหารพัสดุภาครัฐ พ.ศ. 2560  คลิกที่นี่

กฎกระทรวง  คลิกที่นี่

ระเบียบ   คลิกที่นี่

ประกาศ   คลิกที่นี่

หนังสือเวียนต่างๆ ที่เกี่ยวข้อง  คลิกที่นี่

คำถาม – คำตอบ  (ที่พบบ่อย)   คลิกที่นี่

 

รัฐมนตรีว่าการกระทรวงพลังงานและผู้บริหารระดับสูงร่วมลงนามถวายพระพรเนื่องในโอกาสวันเฉลิมพระชนมพรรษาสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว

วันนี้ (28 ก.ค. 61) คณะผู้บริหาร ข้าราชการ และเจ้าหน้าที่กระทรวงพลังงาน นำโดยดร.ศิริ จิระพงษ์พันธ์ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงพลังงานและนายธรรมยศ ศรีช่วย ปลัดกระทรวงพลังงาน เข้าร่วมพิธีทำบุญตักบาตร พิธีถวายสัตย์ปฏิญาณเพื่อเป็นข้าราชการที่ดีและพลังของแผ่นดิน และร่วมลงนามถวายพระพร เนื่องในโอกาสวันเฉลิมพระชนมพรรษาสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว 66 พรรษา 28 กรกฎาคม 2561 ณ ท้องสนามหลวง และพระบรมมหาราชวัง

รมว. พลังงาน ลงพื้นที่ตรวจราชการ จ.อุบลราชธานี – ศรีสะเกษ

ดร. ศิริ จิระพงษ์พันธ์ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงพลังงาน พร้อมด้วยปลัด และผู้บริหารระดับสูงของกระทรวงพลังงานได้เดินทางลงพื้นที่ตรวจราชการในจังหวัดอุบลราชธานี และจังหวัดศรีสะเกษ เมื่อวันที่ 23 กรกฎาคม 2561 ซึ่งเป็นภารกิจส่วนหนึ่งของการประชุมคณะรัฐมนตรีนอกสถานที่ โดยกระทรวงพลังงานได้ติดตามตรวจเยี่ยมโครงการระบบสูบน้ำพลังงานแสงอาทิตย์สู้ภัยแล้ง (ระบบเกษตร) ณ กลุ่มเกษตรกรบ้านหนองห้าง ต.หนองห้าง อ.อุทุมพรพิสัย จ. ศรีสะเกษและระดมสมอง work shop กับตัวแทนเกษตรกรกว่า 400 คน เพื่อสร้างการเรียนรู้ สร้างการมีส่วนร่วมแบบไทยนิยมยั่งยืน ทั้งนี้ระบบสูบน้ำเพื่อการเกษตรดังกล่าว จะช่วยสูบน้ำจากบ่อบาดาลโดยใช้เครื่องสูบน้ำพลังงานไฟฟ้าจากเซลล์แสงอาทิตย์ ช่วยเกษตรกรในพื้นที่ไม่ต้องเสียค่าใช้จ่ายด้านพลังงานในการจัดหาน้ำเพื่อการเพาะปลูกพืชที่สำคัญ ๆ อาทิ กระเทียม หัวหอม ที่สามารถสร้างรายได้และพัฒนาคุณภาพชีวิตให้กับเกษตรกรในพื้นที่ที่ห่างไกล เพื่อสร้างความมั่นคงด้านรายได้และความกินดีอยู่ดีของประชาชนในชนบท ที่จะมีน้ำใช้เพื่อกิจการการเกษตรถึงแม้จะมีภัยแล้ง

     ทั้งนี้ มีการสาธิตช่วยกลุ่มเกษตรกร ในการกรอกข้อมูลทำคำขอติดตั้งระบบการใช้พลังงานแสงอาทิตย์ในการสูบน้ำบาดาลเพื่อการเกษตรสู้ภัยแล้ง ซึ่งสำนักงานกองทุนเพื่อส่งเสริมการอนุรักษ์พลังงาน ได้ประกาศหลักเกณฑ์การให้การสนับสนุนระบบการใช้พลังงานแสงอาทิตย์ในการสูบน้ำบาดาลเพื่อการเกษตรสู้ภัยแล้งให้กับกลุ่มเกษตรกรที่จะรวมตัวกัน เกิน 7 ครัวเรือน ในพื้นที่ไม่ต่ำกว่า 15 ไร่ และมีน้ำบาดาลจำนวน 5,000 จุดทั่วประเทศ โดยกระทรวงพลังงานร่วมกับ กอ.รมน. องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น ได้ทำการสาธิตติดตั้งของกลุ่มเกษตรกร อุทุมพรพิสัย จ.ศรีสะเกษ ให้กับกลุ่มเกษตรกรรวมทั้งจาก จ.ศรีสะเกษ ยโสธร บุรีรัมย์ อุบลราชธานี อำนาจเจริญ มหาสารคาม เข้ามาร่วมรวมทั้งหมด 140 กลุ่ม ทำการศึกษาเรียนรู้เกี่ยวกับโครงการฯ และร่วมกันกรอกข้อมูล โดยกระทรวงพลังงานมีเป้าหมายที่จะช่วยเกษตรกรในการติดตั้งระบบทั้งหมด 5,000 จุด ภายในปีนี้ โดยให้งบประมาณ 3,000 ล้านบาท เพื่อให้เป็นประโยชน์ต่อเกษตรกร 35,000 ครัวเรือน ให้มีความมั่นคงในการดำเนินชีวิต และมีรายได้จากการเกษตรที่มั่นคง โดยเกษตรกรผู้สนใจสามารถติดต่อขอรับใบสมัครเข้าร่วมโครงการได้ที่ 02 -612 1555 ต่อ 370 หรือ 214 ตั้งแต่บัดนี้จนถึง 10 ส.ค. 2561 นี้ หรือติดตามรายละเอียดที่ www.enconfund.go.th

นอกจากนี้ คณะรัฐมนตรีว่าการกระทรวงพลังงาน พร้อมด้วย รองผู้ว่าการนโยบายและแผน การไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทย (กฟผ.) ยังได้ติดตามความก้าวหน้าโครงการผลิตไฟฟ้าเซลล์แสงอาทิตย์บนทุ่นลอยน้ำเขื่อนสิรินธร จ.อุบลราชธานี ซึ่งกฟผ. ร่วมกับ บริษัทกันกุลเอ็นจิเนียริ่ง จำกัด (มหาชน) ได้ติดตั้งระบบผลิตไฟฟ้าจากเซลล์แสงอาทิตย์แบบทุ่นลอยน้ำขนาด 250 กิโลวัตต์ ซึ่งจะเป็นต้นแบบในการดำเนินโครงการนำร่อง Hydro floating Solar Hybrid ขนาด 45 เมกะวัตต์ ซึ่งเป็นการบริหารจัดการที่เชื่อมโยงกับระบบเขื่อนเพื่อให้เกิดประสิทธิภาพสูงสุด โดยการผลิตไฟฟ้าสามารถสนองกับความต้องการใช้ไฟฟ้าทั้งในช่วงเวลากลางวันและช่วงหัวค่ำ ได้เพิ่มมากขึ้นตามกำลังศักยภาพสูงสุดของแต่ละเขื่อน

กระทรวงพลังงาน การไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทย และชาวกาญจนบุรี ร่วมกิจกรรม “เราทำความดีด้วยหัวใจ”ต้นรวงผึ้ง ต้นยางนา พร้อมปล่อยพันธุ์ปลา เฉลิมพระเกียรติสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวมหาวชิราลงกรณ บดินทรเทพยวรางกูร เนื่องในโอกาสวันเฉลิมพระชนมพรรษา 66 พรรษา ณ เขื่อนวชิราลงกรณ จังหวัดกาญจนบุรี

ดร.ศิริ จิระพงษ์พันธ์ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงพลังงาน พร้อมด้วยคณะผู้บริหารและเจ้าหน้าที่กระทรวงพลังงาน ตลอดจนผู้บริหารการไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทย (กฟผ.) และประชาชนจังหวัดกาญจนบุรี  ร่วมกิจกรรม “เราทำความดีด้วยหัวใจ” เพื่อเฉลิมพระเกียรติสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวมหาวชิราลงกรณ บดินทรเทพยวรางกูร เนื่องในโอกาส  วันเฉลิมพระชนมพรรษา 66 พรรษา 28 กรกฎาคม 2561 ณ เขื่อนวชิราลงกรณ จังหวัดกาญจนบุรี

ดร.ศิริ จิระพงษ์พันธ์ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงพลังงาน กล่าวว่า เขื่อนวชิราลงกรณ เป็นเขื่อนที่ในหลวงรัชกาลที่ 9 ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ พระราชทานนามตามพระนามาภิไธยในสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวมหาวชิราลงกรณ บดินทรเทพยวรางกูร เมื่อวันที่ 13 กรกฎาคม 2544 แทนชื่อเขื่อนเขาแหลมเดิม ยังความปลาบปลื้มให้กับปวงชนชาวไทย และเนื่องในโอกาสวันเฉลิม พระชนมพรรษา 66 พรรษา กระทรวงพลังงาน จึงได้ร่วมกับ กฟผ. และประชาชนชาวกาญจนบุรี จัดกิจกรรม “เราทำความดีด้วยหัวใจ” เพื่อแสดงออกถึงความจงรักภักดีและสำนึกในพระมหากรุณาธิคุณสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ด้วยการทำความดี โดยร่วมกันปลูกต้นรวงผึ้ง ซึ่งเป็นต้นไม้ประจำรัชกาล จำนวน 100 ต้น ปลูกต้นยาง จำนวน 100 ต้น เพื่อเพิ่มพื้นที่สีเขียวและช่วยลดโลกร้อน และปล่อยพันธุ์ปลา จำนวน 660,000 ตัว เพื่อช่วยขยายพันธุ์ปลาน้ำจืด สามารถสร้างอาชีพและรายได้ให้กับชุมชน รวมถึงสร้างระบบนิเวศและเป็นแหล่งอาหารให้กับชุมชนอีกทางหนึ่ง ซึ่งการทำความดีด้วยหัวใจนี้จะทำให้ประเทศชาติเจริญรุ่งเรืองและมีความผาสุกตลอดไป

 

 

นายวิบูลย์ ฤกษ์ศิระทัย ผู้ว่าการ กฟผ. กล่าวเพิ่มเติมว่า นับตั้งแต่พิธีเปิดเขื่อนวชิราลงกรณอย่างเป็นทางการเมื่อปี 2529 จนถึงปัจจุบัน เป็นเวลากว่า 30 ปีแล้วที่เขื่อนวชิราลงกรณ ได้อำนวยประโยชน์ด้านการชลประทาน การคมนาคม การประมง ตลอดจนช่วยขับไล่น้ำเสียและผลักดันน้ำเค็มให้สภาพน้ำในแม่น้ำแม่กลองมีคุณภาพดีขึ้น และยังสามารถผลิตไฟฟ้าเสริมความมั่นคงให้กับระบบไฟฟ้าของประเทศ ซึ่งในวันนี้ก็ได้มีการจัดนิทรรศการความเป็นมาเขื่อนวชิราลงกรณ การพัฒนาพลังงานทดแทน รวมทั้งการดำเนินโครงการอนุรักษ์พันธุกรรมพืชอันเนื่องมาจากพระราชดำริ สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี (อพ.สธ.) เพื่อเพิ่มพูนองค์ความรู้ให้กับผู้มาร่วมงาน พร้อมจัดแสดงผลิตภัณฑ์ชุมชน อาทิ หมูสมุนไพรบ้านปรังกาสี กล้วยฉาบบ้านห้วยต่อ ข้าวเกรียบฟักทองบ้านห้วยมาลัย เพื่อส่งเสริมอาชีพของชุมชนโดยรอบอีกด้วย

นอกจากนี้ กฟผ. ยังมีการจัดกิจกรรม “เราทำความดีด้วยหัวใจ” ตลอดทั้งเดือนกรกฎาคม คือ วันที่ 10 กรกฎาคม 2561 คณะผู้บริหาร และพนักงาน กฟผ.ทั่วประเทศ ร่วมถวายสัตย์ปฏิญาณและแสดงเจตนารมณ์ “คน กฟผ. ร่วมอาสาทำความดีด้วยหัวใจ” เพื่อเป็นพนักงานที่ดีและเป็นพลังของแผ่นดิน  วันที่ 19 กรกฎาคม 2561 จัดกิจกรรม “เราทำความดีด้วยหัวใจ ปลูกป่าชายเลน  เทิดไท้องค์ราชัน” ณ อุทยานแห่งชาติหมู่เกาะชุมพร จังหวัดชุมพร  วันที่ 22 กรกฎาคม 2561 จะจัดกิจกรรมพัฒนาชุมชนและบำเพ็ญประโยชน์สาธารณะบริเวณชุมชนต่าง ๆ และในวันที่ 26 กรกฎาคม 2561 จะจัดพิธีถวายผ้าป่ามหากุศลเฉลิมพระเกียรติฯ เพื่อสนับสนุนโครงการทุนเล่าเรียนหลวงสำหรับพระสงฆ์ไทย ณ สำนักงานใหญ่ กฟผ. อีกด้วย

 

กระทรวงพลังงาน โดยดร.ศิริ จิระพงษ์พันธ์ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงพลังงาน ได้ให้ การต้อนรับ ดร.ฟาร์ตี้ ไบโรล์ ผู้อำนวยการทบวงการพลังงานระหว่างประเทศ (Dr.Fatih Birol Executive Director of International Energy Agency : IEA)

 

กระทรวงพลังงาน โดยดร.ศิริ จิระพงษ์พันธ์ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงพลังงาน ได้ให้  การต้อนรับ ดร.ฟาร์ตี้ ไบโรล์ ผู้อำนวยการทบวงการพลังงานระหว่างประเทศ (Dr.Fatih Birol Executive Director of  International Energy Agency : IEA)  ซึ่งได้ให้เกียรติเยือนกระทรวงพลังงานอย่างเป็นทางการ พร้อมบรรยายพิเศษ ในหัวข้อ สถานการณ์ทิศทางพลังงานโลก ตลาดน้ำมัน เทคโนโลยีด้านพลังงาน ตลอดจนแลกเปลี่ยนความคิดเห็น  ในประเด็นพลังงานโลกที่สำคัญ ๆ โดยมีผู้บริหารจากกระทรวงพลังงาน รวมทั้งผู้บริหารตลอดจนเจ้าหน้าที่จากหน่วยงานด้านพลังงานที่เกี่ยวข้องเข้าร่วม

ทั้งนี้ ภายหลังการบรรยายพิเศษ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงพลังงาน พร้อมด้วยผู้บริหารระดับสูงกระทรวงพลังงาน ได้ทำการหารือร่วมกับ ดร.ฟาร์ตี ไบโรล์ ผู้อำนวยการ IEA ดังกล่าว โดยมีประเด็นและกรอบการหารือด้านพลังงานที่สำคัญ ๆ ประกอบด้วย แนวโน้มและทิศทางของตลาดน้ำมัน ทิศทางของตลาดพลังงานในปัจจุบันและอนาคต  การพัฒนาพลังงานทดแทน ทิศทางของการใช้เทคโนโลยีที่ก้าวกระโดดเพื่อเพิ่มประสิทธิภาพการใช้พลังงาน อาทิ เทคโนโลยียานยนต์ไฟฟ้า (EV) และรูปแบบการผลิตไฟฟ้าจากพลังงานแสงอาทิตย์ซึ่งเทคโนโลยีได้พัฒนาอย่างรวดเร็ว เป็นต้น

นอกจากนี้ กระทรวงพลังงานได้ใช้โอกาสในการมาเยือนของผู้อำนวยการ IEA ครั้งนี้  หารือประเด็นสำคัญ เช่น  ทิศทางความร่วมมือระหว่างไทย และทบวงพลังงานระหว่างประเทศ ทั้งในปัจจุบันและอนาคต ซึ่งเบื้องต้นกระทรวงพลังงาน ได้ขอความร่วมมือให้ทบวงพลังงานระหว่างประเทศ ร่วมพัฒนาและศึกษานโยบาย องค์ความรู้ ข้อมูล และ การจัดส่งผู้เชี่ยวชาญด้านพลังงานในสาขาต่างๆ เข้ามาให้คำปรึกษากับไทย โดยเฉพาะในด้านการวางแผนแม่บทการพัฒนาพลังงานระยะยาวของไทย การจัดทำเป้าหมายการพัฒนาที่ยั่งยืน (Sustainable Development Goals–SDGs) และ  การวางแผนด้านการจัดทำสำรองน้ำมัน เป็นต้น โดยองค์ความรู้จาก IEA กระทรวงพลังงานจะได้นำไปปรับใช้ในกระบวนการวางแผนและกำหนดยุทธศาสตร์ด้านพลังงานอย่างเป็นมาตรฐาน เพื่อสร้างความมั่นคงด้านพลังงานให้  แก่ประเทศในระยะยาว

สำหรับการมาเยือนของผู้บริหารระดับสูงจากทบวงพลังงานระหว่างประเทศหรือ IEA นี้ แสดงให้เห็นถึงความสำเร็จของการกำหนดนโยบายด้านพลังงานของไทยในเวทีโลก และย้ำถึงการเป็นพันธมิตรที่ดีระหว่างไทยและ IEA ที่แม้ประเทศไทยจะไม่ใช่สมาชิกหลัก แต่ถือได้ว่าที่ผ่านมาประเทศไทยได้รับความร่วมมือและการช่วยเหลือด้านการแบ่งปันองค์ความรู้ด้านพลังงานในระดับสากลด้วยดีมาโดยตลอด

พพ. จัดกิจกรรมเฉลิมพระชนมพรรษา สมเด็จพระเจ้าอยู่หัว มหาวชิราลงกรณ บดินทรเทพยวรางกูร ครบ 66 พรรษา

กรมพัฒนาพลังงานทดแทนและอนุรักษ์พลังงาน (พพ.) จัดกิจกรรมเฉลิมพระชนมพรรษา สมเด็จพระเจ้าอยู่หัว มหาวชิราลงกรณ บดินทรเทพยวรางกูร ครบ 66 พรรษา

โดยมี นายธรรมยศ ศรีช่วย ปลัดกระทรวงพลังงาน นายประพนธ์ วงษ์ท่าเรือ อธิบดีกรมพัฒนาพลังงานทดแทนและอนุรักษ์พลังงาน พร้อมคณะผู้บริหาร ข้าราชการ พพ. ร่วมถวายภัตตาหารเพล พร้อมเครื่องไทยธรรมแด่พระภิกษุ เพื่อถวายเป็นพระราชกุศลแด่สมเด็จพระเจ้าอยู่หัว เนื่องในวโรกาสวันเฉลิมพระชนมพรรษา 28 กรกฎาคม 2561 ณ โรงพยาบาลสงฆ์ อาคารมูลนิธิ ชั้น 2 ห้อง 3

กระทรวงพลังงาน จัดโครงการสาธารณะประโยชน์ “ทำดีด้วยหัวใจ จากใจชาว สนพ.”

วันที่ 17 ก.ค. 61 ดร.ทวารัฐ สูตะบุตร ผู้อำนวยการสำนักงานนโยบายและแผนพลังงาน พร้อมด้วยคณะผู้บริหาร ข้าราชการ และเจ้าหน้าที่ สำนักงานนโยบายและแผนพลังงาน (สนพ.) กระทรวงพลังงาน จัดโครงการสาธารณะประโยชน์ “ทำดีด้วยหัวใจ จากใจชาว สนพ.” เฉลิมพระเกียรติ สมเด็จพระเจ้าอยู่หัวมหาวชิราลงกรณ บดินทรเทพยวรางกูร เนื่องในโอกาสวันเฉลิมพระชนมพรรษา 66 พรรษา 28 กรกฎาคม 2561 ณ โรงเรียนกิ่งเพชร เขตราชเทวี กรุงเทพฯ

โดย สนพ. ได้จัดกิจกรรมให้ความรู้ด้านการประหยัดพลังงานแก่นักเรียน พร้อมทั้งมอบหลอดไฟ LED สื่อประชาสัมพันธ์ และสื่อการเรียนการสอนด้านพลังงานให้โรงเรียนได้ใช้ประโยชน์ในการศึกษา โดยได้ร่วมกันติดตั้งหลอดไฟ LED ที่บริเวณห้องประชุมและห้องสมุด และเยี่ยมชมการเรียนของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 ที่นำสื่อการเรียนการสอน ของ สนพ. มาใช้ในการสอน

ในโอกาสนี้ ดร.ทวารัฐ สูตะบุตร ผู้อำนวยการสำนักงานนโยบายและแผนพลังงาน ได้ร่วมพิธีเปิดงานวิชาการโครงการพัฒนาคุณภาพเครือข่ายโรงเรียน เครือข่ายโรงเรียนที่ 10 ประจำปีการศึกษา 2561 โดยมี นายธีรยุทธ ภูมิศักดิ์ ผู้อำนวยการเขตราชเทวี เป็นประธาน และมีนายทวีศักดิ์ น้อยดี ผู้อำนวยการโรงเรียนกิ่งเพชร ให้การต้อนรับ

ปลัดกระทรวงพลังงาน เป็นประธานในกิจกรรม “จิตอาสา พพ. เราทำความดี ด้วยหัวใจ”

นายธรรมยศ ศรีช่วย ปลัดกระทรวงพลังงาน เป็นประธานในกิจกรรม “จิตอาสา พพ. เราทำความดี ด้วยหัวใจ” เพื่อถวายเป็นพระราชกุศล เนื่องในวโรกาสวันเฉลิมพระช นมพรรษาสมเด็จพระเจ้าอยู่หั ว มหาวชิราลงกรณ บดินทรเทพยวรางกูร ครบ 66 พรรษา

โดยมีคณะผู้บริหารระดับสูง นายยงยุทธ จันทโรทัย รองปลัดกระทรวงพลังงาน และนายประพนธ์ วงษ์ท่าเรือ อธิบดีกรมพัฒนาพลังงานทดแทน และอนุรักษ์พลังงาน (พพ.) ผู้แทนจากชุมชนใกล้เคียงบริ เวณเชิงสะพานกษัตริย์ศึก สื่อมวลชน เข้าร่วมกิจกรรมนี้ด้วย

โดยในช่วงเช้ามีการใส่บาตรอ าหารแห้งแด่พระภิกษุสงฆ์ พร้อมกิจกรรมบำเพ็ญประโยชน์  โดยคณะผู้บริหารและเจ้าหน้า ที่ พพ. และหน่วยงานชุมชนใกล้เคียงก ว่า 150 คน จะแบ่งกลุ่มทำความสะอาดใน 3 พื้นที่ ได้แก่ ตลาดชุมชนชาวชูชีพ วัดชำนิหัตถการ และวัดสระบัว รวมทั้งได้ร่วมกันเปลี่ยนหล อดไฟในชุมชน ให้เป็นหลอดไฟประหยัดพลังงา น ถือเป็นการรวมพลังระหว่างชุ มชนและภาครัฐเพื่อสร้างประโ ยชน์ให้แก่ชุมชนอย่างแท้จริ ง

ประชาสัมพันธ์ โครงการส่งเสริมการใช้น้ำมันดีเซลหมุนเร็ว บี 20

จากสถานการณ์น้ำมันปาล์มดิบล้นตลาดและมีราคาตกต่ำ กระทรวงพลังงานได้หาแนวทางการช่วยเหลือเกษตรกรผู้ปลูกปาล์มน้ำมันและส่งเสริมการใช้น้ำมันดีเซลหมุนเร็ว บี 20 ซึ่งมีเป้าหมายในการจำหน่ายที่ 15 ล้านลิตรต่อวัน และคาดว่าจะสามารถเพิ่มปริมาณการใช้น้ำมันปาล์มดิบได้มากขึ้น จากเดิม 1.3 ล้านตันต่อปี เป็น 2 ล้านตันต่อปี โดยกำหนดให้ราคาขายปลีกน้ำมัน บี 20 ต่ำกว่าน้ำมันดีเซลหมุนเร็วปกติ 3 บาทต่อลิตร เพื่อช่วยลดค่าใช้จ่ายในส่วนของน้ำมันเชื้อเพลิง ส่งผลต่อการลดต้นทุนการขนส่งสินค้าและค่าโดยสาร รวมถึงค่าครองชีพของประชาชนที่จะลดลงได้อีกด้วย ซึ่งจากการศึกษาทดลองใช้น้ำมัน บี 20 ในรถยนต์บรรทุกขนาดใหญ่บางยี่ห้อบางรุ่น พบว่าไม่มีผลกระทบต่อเครื่องยนต์ อีกทั้งยังทำให้ระบบการเผาไหม้ของเครื่องยนต์สะอาดและเป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม

 

 

 

รัฐมนตรีว่าการกระทรวงพลังงาน พร้อมคณะผู้บริหารกระทรวงพลังงาน ร่วมกันปลูกต้นรวงผึ้งเฉลิมพระเกียรติ

ดร.ศิริ จิระพงษ์พันธ์ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงพลังงาน พร้อมคณะผู้บริหารกระทรวงพลังงาน ร่วมกันปลูกต้นรวงผึ้งเฉลิมพระเกียรติ เฉลิมพระชนมพรรษา สมเด็จพระเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 10 พร้อมเยี่ยมชมพื้นที่ของกรมธุรกิจพลังงาน ที่จะถูกพัฒนาให้เป็น Smart City

รัฐมนตรีว่าการกระทรวงพลังงาน เป็นประธานในพิธีเปิดโครงการส่งเสริมการใช้น้ำมันดีเซลหมุนเร็ว บี 20

ดร.ศิริ จิระพงษ์พันธ์ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงพลังงาน เป็นประธานในพิธีเปิดโครงการส่งเสริมการใช้น้ำมันดีเซลหมุนเร็ว บี 20 ณ บริษัท เอส ซี แคริเออร์ จำกัด อำเภอบางละมุง จังหวัดชลบุรี โดยมี นายอรรถพล ฤกษ์พิบูลย์ ประธานเจ้าหน้าที่ปฏิบัติการกลุ่มปิโตรเลียมขั้นปลาย บริษัท ปตท. จำกัด (มหาชน) นางสาวจิราพร ขาวสวัสดิ์ รักษาการแทนประธานเจ้าหน้าที่บริหารและกรรมการผู้จัดการใหญ่ บริษัท ปตท. น้ำมันและการค้าปลีก จำกัด (มหาชน) (PTTOR) นายณัฐภพ รัตนสุวรรณทวี ผู้บริหารบริษัท เอส ซี แคริเออร์ จำกัด ร่วมพิธี

ดร.ศิริ เปิดเผยว่า จากสถานการณ์น้ำมันปาล์มดิบล้นตลาดและมีราคาตกต่ำ กระทรวงพลังงานได้หาแนวทางการช่วยเหลือเกษตรกรผู้ปลูกปาล์มน้ำมันและส่งเสริมการใช้น้ำมันดีเซลหมุนเร็ว บี 20 ซึ่งมีเป้าหมายในการจำหน่ายที่ 15 ล้านลิตรต่อวัน และคาดว่าจะสามารถเพิ่มปริมาณการใช้น้ำมันปาล์มดิบได้มากขึ้น จากเดิม 1.3 ล้านตันต่อปี เป็น 2 ล้านตันต่อปี โดยกำหนดให้ราคาขายปลีกน้ำมัน บี 20 ต่ำกว่าน้ำมันดีเซลหมุนเร็วปกติ 3 บาทต่อลิตร เพื่อช่วยลดค่าใช้จ่ายในส่วนของน้ำมันเชื้อเพลิง ส่งผลต่อการลดต้นทุนการขนส่งสินค้าและค่าโดยสาร รวมถึงค่าครองชีพของประชาชนที่จะลดลงได้อีกด้วย ซึ่งจากการศึกษาทดลองใช้น้ำมัน บี 20 ในรถยนต์บรรทุกขนาดใหญ่บางยี่ห้อบางรุ่น พบว่าไม่มีผลกระทบต่อเครื่องยนต์ อีกทั้งยังทำให้ระบบการเผาไหม้ของเครื่องยนต์สะอาดและเป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม

นางสาวจิราพร กล่าวว่า PTTOR มีความยินดีที่ได้เข้าร่วมโครงการส่งเสริมการใช้น้ำมันดีเซลหมุนเร็ว บี 20 สำหรับรถบรรทุกขนส่งขนาดใหญ่ เพื่อสนับสนุนการใช้พลังงานทดแทนและช่วยเหลือเกษตรกรผู้ปลูกปาล์มน้ำมัน โดย PTTOR ให้ความสำคัญกับกระบวนการควบคุมคุณภาพของกระบวนการผลิต จัดเก็บ และจำหน่ายน้ำมันดีเซลหมุนเร็ว บี 20 ให้ได้มาตรฐานตลอดทั้งกระบวนการ โดยผลิตน้ำมันดีเซลหมุนเร็ว บี 20 จากคลังน้ำมันลำลูกกา จังหวัดปทุมธานีเพียงแห่งเดียว เพื่อสร้างความมั่นใจในคุณภาพและประสิทธิภาพของผลิตภัณฑ์ และได้เริ่มจำหน่ายน้ำมันดีเซลหมุนเร็ว บี 20 แล้วตั้งแต่วันที่ 2 กรกฎาคมที่ผ่านมา รวมจำนวนการผลิตและจำหน่ายน้ำมันทั้งสิ้นประมาณ 270,000 ลิตรต่อเดือน ซึ่งจะช่วยเพิ่มปริมาณการใช้น้ำมันปาล์มดิบซึ่งเป็นวัตถุดิบในการผลิตไบโอดีเซล ประมาณ 30 ตันต่อเดือน หรือ 360 ตันต่อปี และมีแผนจะขยายผลโครงการด้วยการเชิญชวนผู้ประกอบการรถขนส่งรายอื่นเข้าร่วมโครงการ เพื่อเพิ่มปริมาณการใช้ไบโอดีเซลให้มากขึ้นต่อไป

กรมพัฒนาพลังงานทดแทนและอนุรักษ์พลังงาน นำจิตอาสา ทำความดี ด้วยหัวใจ

กรมพัฒนาพลังงานทดแทนและอนุรักษ์พลังงาน นำจิตอาสา ทำความดี ด้วยหัวใจ

กรมพัฒนาพลังงานทดแทนและอนุรักษ์พลังงาน (พพ.) จัดกิจกรรม “จิตอาสา เราทำความดี ด้วยหัวใจ” ถวายเป็นพระราชกุศลแด่สมเด็จพระเจ้าอยู่หัว เนื่องในวโรกาส วันเฉลิมพระชนมพรรษา
28 กรกฎาคม 2561 โดยมีนายธรรมยศ ศรีช่วย ปลัดกระทรวงพลังงาน นายยงยุทธ จันทรโรทัย รองปลัดกระทรวงพลังงาน และนายประพนธ์ วงษ์ท่าเรือ อธิบดีกรมพัฒนาพลังงานทดแทนและอนุรักษ์พลังงาน รวมถึงผู้บริหาร คณะจิตอาสา เจ้าหน้าที่ กรมพัฒนาพลังงานทดแทนและอนุรักษ์พลังงาน ร่วมใส่บาตรอาหารแห้งแด่พระภิกษุสงฆ์ โดยพร้อมเพรียงกัน ณ บริเวณหน้าอาคาร 7

 

นอกจากนี้ยังได้ร่วมแรง ร่วมใจทำกิจกรรมบำเพ็ญสาธารณะประโยชน์ อาทิ การช่วยกันเก็บขยะ เปลี่ยนหลอดไฟประหยัดพลังงาน ทำความสะอาดพื้นและถนนบริเวณตลาดชุมชนชาวชูชีพ บริเวณวัดชำนิหัตถการ และบริเวณวัดสระบัว ทำให้การปฏิบัติศาสนกิจของพระสงฆ์และการบำเพ็ญกุศลของประชาชนโดยรอบได้รับความสะดวกสบาย เป็นแบบอย่างในการพัฒนาสภาพแวดล้อม และความเป็นอยู่ในชุมชนให้มีสภาพที่ดีขึ้น

รองนายกรัฐมนตรี เป็นประธานในพิธีเปิดโรงงานผลิตไฟฟ้าพลังงานก๊าซชีวภาพ กองบิน 2

เมื่อวันที่ 6 กรกฎาคม 2561 พลอากาศเอก ประจิน จั่นตอง รองนายกรัฐมนตรี เป็นประธานในพิธีเปิดโรงงานผลิตไฟฟ้าพลังงานก๊าซชีวภาพ กองบิน 2 กองทัพอากาศ ณ กองบิน 2 จังหวัดลพบุรี โดยมีพลอากาศเอก จอม รุ่งสว่าง ผู้บัญชาการทหารอากาศ ให้การต้อนรับ ในโอกาสนี้ นายศิริ จิระพงษ์พันธ์ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงพลังงาน นายหร่อหยา จันทรัตนา ผู้ตรวจราชการกระทรวงพลังงาน และนายผดุงศักดิ์ หาญปรีชาสวัสดิ์ รองผู้ว่าราชการจังหวัดลพบุรี ร่วมเป็นเกียรติในพิธี

โรงงานผลิตไฟฟ้าพลังงานก๊าซชีวภาพ กองบิน 2 เป็นโรงไฟฟ้าพลังงานก๊าซชีวภาพจากระบบหมักย่อยขยะอินทรีย์แบบแห้ง ซึ่งถือเป็นโครงการต้นแบบแห่งแรกของประเทศไทย โดยกองทัพอากาศได้รับงบประมาณในการดำเนินโครงการฯ จากกองทุนเพื่อส่งเสริมการอนุรักษ์พลังงาน กระทรวงพลังงาน โดยมีสถาบันวิจัยและพัฒนาพลังงานนครพิงค์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ เป็นผู้ดำเนินการศึกษาความเป็นไปได้และความเหมาะสมเบื้องต้นด้านสิ่งแวดล้อม รวมทั้งออกแบบระบบของโครงการฯ โดยมีวัตถุประสงค์ที่สำคัญ ในการสร้างเสริมความมั่นคง
ด้านพลังงานไฟฟ้าสำหรับการปฏิบัติภารกิจของหน่วยงานภายในกองบิน 2 และกระจายพื้นที่การใช้ประโยชน์เทคโนโลยีพลังงานทดแทนให้มากขึ้น อีกทั้งยังเป็นการส่งเสริมให้เกิดต้นแบบและแหล่งเรียนรู้การบริหารจัดการโรงไฟฟ้าพลังงานก๊าซชีวภาพจากการหมักย่อยขยะอินทรีย์แบบแห้งขนาดเล็กให้กับชุมชนอีกด้วย

สำหรับการดำเนินโครงการฯ เป็นการใช้เทคโนโลยีใหม่เพื่อจัดการขยะ ซึ่งกำลังแพร่หลายในต่างประเทศ เช่น ประเทศเยอรมนี และประเทศสวีเดน เป็นต้น ใช้พื้นที่ในการก่อสร้างน้อยเมื่อเทียบกับเทคโนโลยีแบบอื่น โดยอาศัยกระบวนการหมักย่อยสลายทางชีวภาพจากจุลินทรีย์ที่มีอยู่ในธรรมชาติ เพื่อย่อยสลายสารอินทรีย์หรือความสกปรก ทำให้ความสกปรกลดลงและได้ก๊าซชีวภาพ ซึ่งเป็นกระบวนการที่เกิดขึ้นตามธรรมชาติ โดยขยะอินทรีย์ที่คัดแยกออกมาได้จะถูกนำเข้าระบบหมักย่อย ส่วนขยะประเภทอื่น เช่น โลหะหรือพลาสติกที่ย่อยสลายยาก จะถูกคัดแยกและรวบรวมไปจัดการต่อไป

โดยสามารถแยกกระบวนการทำงานได้เป็น 4 ระบบ ได้แก่

1. ระบบบริหารจัดการขยะ ด้วยการใช้เทคนิคการแยกวัสดุออกจากกัน สามารถแยกขยะออกเป็น 3 ส่วน ประกอบด้วย 1) ขยะส่วนที่หนัก (Heavy Fraction) ได้แก่ โลหะ ไม้ ขวดพลาสติก และวัสดุ
อนินทรีย์ที่มีน้ำหนักค่อนข้างมาก เช่น เศษผัก, เปลือกผลไม้ 2) ขยะส่วนที่เบา (Light Fraction) จะถูกส่งต่อไปแยกขยะ เช่น กระดาษ และถุงพลาสติก 3) ขยะส่วนที่ละเอียด ขยะส่วนที่เหลือมาจะถูกส่งไปตามสายพานและแยกชิ้นส่วนโลหะขนาดเล็กที่ปะปนด้วยเทคนิคแยกวัสดุด้วยแม่เหล็กดูด เช่น เศษฝาเบียร์ ตะปู ออกไป โดยทุกๆ ขั้นตอนในระบบแยกขยะ จะมีระบบดูดกลิ่นและฝุ่นละออง เพื่อลดกลิ่นและการฟุ้งกระจายของฝุ่นภายในอาคาร

2. ระบบผลิตก๊าซชีวภาพ ในขั้นตอนต่อไป ขยะอินทรีย์จะถูกนำไปหมักย่อยในถังปฏิกรณ์แบบแห้ง โดยมีปริมาตร 900 ลบ.ม. รองรับอัตราการป้อนวัสดุหมัก 10 ตัน/วัน สามารถผลิตก๊าซชีวภาพได้วันละ 1,550 ลบ.ม./วัน ผลิตกระแสไฟฟ้าได้วันละ 2,500 หน่วย โดยก๊าซชีวภาพที่เกิดขึ้นจะถูกกักเก็บไว้ในบอลลูนพลาสติกแบบ 2 ชั้น อยู่ส่วนบนของบ่อหมัก สามารถกักเก็บก๊าซชีวภาพได้ 800 ลบ.ม. รองรับแรงดัน 2,000 Pascal  สำหรับตะกอนส่วนที่ย่อยสลายไม่หมดจากระบบก๊าซชีวภาพ จะถูกนำมาผลิตเป็นปุ๋ยอินทรีย์ โดยดูดส่งไปที่ระบบหมักย่อยแบบปิดที่ใช้ในการบำบัดน้ำเสียแบบไร้อากาศ เช่น น้ำซะขยะ น้ำเสียจากศูนย์กสิกรรม และน้ำส่วนหนึ่งที่หมักย่อยแล้วจะถูกสูบไปพ่นในระบบหมักย่อยแบบแห้ง เพื่อสร้างปัจจัยที่เอื้อต่อการทำงานของจุลินทรีย์ในถังหมัก Hybrid Biogas Digester

3. ระบบบำบัดก๊าซ กรองก๊าซ ดูดก๊าซ และระบบเผาก๊าซ จากนั้น ก๊าซชีวภาพที่ผลิตได้ จะถูกนำไปเก็บในถังสำรองก๊าซชีวภาพ โดยมีการติดตั้งถังควบคุมแรงดัน ซึ่งถ้ามีก๊าซส่วนเกินที่เหลือใช้ หรือไม่ได้นำมาผลิตไฟฟ้าในบางช่วงเวลา จะถูกนำไปเผาทิ้งอัตโนมัติที่ชุดเผาทิ้งก๊าซชีวภาพ ก๊าซที่อยู่ในถังสำรองนี้ จะถูกนำมาปรับปรุงคุณภาพก่อนนำมาเป็นเชื้อเพลิงเพื่อผลิตกระแสไฟฟ้า Hydrogen sulfide เพื่อดักฝุ่น ไอน้ำ และก๊าซไข่เน่า

4. ระบบผลิตและส่งไฟฟ้า ก๊าซชีวภาพที่รวบรวมไว้จะถูกผลิตกระแสไฟฟ้าผ่านเครื่องยนต์ขนาด
250 kW จำนวน 2 ชุด และส่งไปที่หม้อแปลงไฟฟ้าขนาด 800 kva 3 phase 50 Hz เพื่อใช้ประโยชน์ภายในพื้นที่กองบิน 2 ต่อไป

 

ทั้งนี้ หากโรงงานผลิตไฟฟ้าพลังงานก๊าซชีวภาพเดินเครื่องเต็มกำลังการผลิต คาดว่าจะช่วยลดภาระค่าใช้จ่ายเรื่องค่าไฟฟ้าให้กับกองบิน 2 ได้ประมาณ 180,000 บาทต่อเดือน และยังช่วยลดค่าใช้จ่ายในการจัดการขยะ ตลอดจนสร้างสิ่งแวดล้อมที่ดีให้กับข้าราชการและครอบครัวของกองบิน 2 ที่สำคัญยังเป็นการเสริมสร้างความมั่นคงด้านพลังงานไฟฟ้า หากระบบไฟฟ้าหลักเกิดความเสียหายหรือไม่สามารถจ่ายกระแสไฟฟ้าได้ กองบิน 2 จะยังคงมีระบบไฟฟ้าสำรองเพื่อดำรงภารกิจด้านความมั่นคงได้อย่างมีประสิทธิภาพ

 

จากนโยบายผู้บัญชาการทหารอากาศ ปี 2560 – 2561 ได้กำหนดเป้าหมายแนวทางการพัฒนาเทคโนโลยีและสร้างความร่วมมือด้านพลังงานทดแทน รวมทั้งการอนุรักษ์พลังงานกับหน่วยงานภายนอก เพื่อพัฒนาหน่วยงานระดับกองบินและโรงเรียนการบิน ให้เป็น “Smart Wing” ด้วยเทคโนโลยี “Smart Grid” ที่จะบริหารจัดการพลังงานไฟฟ้าให้สามารถตอบสนองต่อการปฏิบัติภารกิจได้อย่างมีประสิทธิภาพแต่ใช้ทรัพยากรที่น้อยลง (Doing More with Less) รวมทั้งมีความน่าเชื่อถือ ความปลอดภัย ความยั่งยืน และเป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม โดยกองบิน 2 จะเป็นต้นแบบสำหรับการพัฒนาเทคโนโลยีด้านพลังงานทดแทนของกองทัพอากาศ ให้เป็น “Smart Wing 2” ต่อไป

กระทรวงพลังงาน แถลงข่าว “โครงการส่งเสริมการใช้น้ำมันดีเซลหมุนเร็ว B20”

กระทรวงพลังงาน แถลงข่าว “โครงการส่งเสริมการใช้น้ำมันดีเซลหมุนเร็ว B20” เพื่อส่งเสริมความเชื่อมั่นต่อการใช้น้ำมันดีเซลหมุนเร็ว ที่มีส่วนผสมของน้ำมันไบโอดีเซล ร้อยละ 20 ในรถยนต์บรรทุกขนาดใหญ่ กระตุ้นความต้องการใช้น้ำมันไบโอดีเซลเพิ่มขึ้น
วันที่ 2 กรกฎาคม 2561 ดร.ศิริ จิระพงษ์พันธ์ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงพลังงาน ได้เป็นประธานในพิธีแถลงข่าวเปิด “โครงการส่งเสริมการใช้น้ำมันดีเซลหมุนเร็ว B20” พร้อมด้วย ผู้บริหารกระทรวงพลังงาน ผู้ค้าน้ำมันมาตรา 7 ผู้ประกอบการรถขนส่งที่เข้าร่วมโครงการ ผู้ผลิตไบโอดีเซล ผู้แทนเกษตรกรผู้ปลูกปาล์มน้ำมัน ณ ศูนย์เอนเนอร์ยี่คอมเพล็กซ์ กระทรวงพลังงาน โดยมีสื่อมวลชน สนใจเข้าร่วมกิจกรรมการแถลงข่าวครั้งนี้เป็นจำนวนมาก
จากสถานการณ์น้ำมันปาล์มดิบล้นตลาดและราคาตกต่ำ กระทรวงพลังงานได้หาแนวทางในการช่วยเหลือเกษตรกรผู้ปลูกผลปาล์มน้ำมัน โดยดำเนินการจัดให้มีการจำหน่ายน้ำมันดีเซลหมุนเร็ว B20 ให้กับรถเฉพาะกลุ่ม เช่น กลุ่มรถบรรทุกขนส่งสินค้า รถโดยสาร เรือโดยสาร โดยมีเป้าหมายในการจำหน่าย B20 ที่ 15 ล้านลิตรต่อวัน ซึ่งคาดว่าจะสามารถเพิ่มปริมาณการใช้น้ำมันปาล์มดิบได้มากขึ้น จากเดิม 1.3 ล้านตันต่อปี เป็น 2 ล้านตันต่อปี
ในเบื้องต้นมีผู้ค้าน้ำมันตามมาตรา 7 จำนวน 5 ราย ได้แก่ บริษัท ปตท. น้ำมันและการค้าปลีก บางจาก ไออาร์พีซี ซัสโก้ และบริษัท ซัสโก้ดีลเลอร์ ได้แจ้งความประสงค์เข้าร่วมโครงการเพื่อจำหน่ายน้ำมัน B20 ให้กับผู้ประกอบการ fleet รถบรรทุก จำนวน 24 ราย และเรือด่วน อีก 1 ราย ซึ่งกระทรวงพลังงาน คาดว่าจะมีผู้เข้าร่วมโครงการเพิ่มขึ้นอีกในอนาคต
โครงการส่งเสริมการใช้น้ำมัน B20 กำหนดให้ราคาขายปลีกน้ำมัน B20 ต่ำกว่าน้ำมันดีเซลปกติ 3 บาทต่อลิตร มีวัตถุประสงค์เพื่อลดค่าใช้จ่ายในส่วนของน้ำมันเชื้อเพลิง ซึ่งเป็นต้นทุนหลักในภาคการขนส่ง เป็นผลให้ลดต้นทุนการขนส่งสินค้าและค่าโดยสาร อันจะเป็นการช่วยลดผลกระทบต่อค่าครองชีพของประชาชน

ทั้งนี้ กระทรวงพลังงานได้ทำการศึกษาทดลองใช้ B20 ในรถยนต์บรรทุกขนาดใหญ่บางยี่ห้อบางรุ่นแล้ว พบว่าไม่มีผลกระทบต่อเครื่องยนต์ และอัตราสิ้นเปลืองน้ำมันเชื้อเพลิงไม่แตกต่างกับการใช้น้ำมันดีเซล หมุนเร็วปกติ นอกจากนี้ยังทำให้ระบบการเผาไหม้ของเครื่องยนต์สะอาดยิ่งขึ้น เป็นการช่วยลดมลภาวะและส่งผลดีต่อสิ่งแวดล้อมอีกด้วย แต่ทั้งนี้ต้องเปลี่ยนไส้กรองน้ำมันเชื้อเพลิงและน้ำมันหล่อลื่น พร้อมทั้งเปลี่ยนถ่ายน้ำมันหล่อลื่นเร็วขึ้นกว่าปกติ
อนึ่ง รถบรรทุกที่เข้าร่วมโครงการควรมีความสามารถในการดูแลรักษาเครื่องยนต์ของตนเองได้ ส่วนรถยนต์ส่วนบุคคล รถปิกอัพ รถบรรทุกขนาดเล็ก ขณะนี้ยังไม่มีผลการทดสอบที่แน่ชัด กระทรวงพลังงาน จึงยังไม่แนะนำให้ใช้ในขณะนี้

เชิญร่วมงานสัมมนา และนิทรรศการของ สพธอ. “Future Economy and Internet Governance: Big Change to Big Chance”

ขอเรียนเชิญร่วมงานสัมมนา และนิทรรศการของ สพธอ. ETDA ก้าวสู่ปีที่ 8 จัด BIG EVENT แห่งปี “FUTURE ECONOMY & INTERNET GOVERNANCE : BIG CHANGE TO BIG CHANCE” ชวนทุกคนมาเรียนรู้ เปิดใจ และปรับตัว…วาร์ปไปสู่อนาคต WARP…TO THE FUTURE เต็มอิ่มกับ SPEAKER จากทั่วโลกกว่า 40 SESSIONS ฟังปาฐกถาพิเศษจากผู้กำหนดนโยบายระดับประเทศ ชม EXHIBITION & SHOWCASE จากหน่วยงานและองค์กรชั้นนำเพื่อมุ่งสู่ FUTURE ECONOMY แถลงผลร้อน ๆ ตัวเลขสำคัญทางเศรษฐกิจ BASELINE ที่บอกว่าประเทศไทยอยู่ตรงไหน ควรรุกต่ออย่างไร พร้อมเปิดเวที PUBLIC HEARING ร่าง กม.สำคัญเพื่อขับเคลื่อนเศรษฐกิจและสังคมดิจิทัล รวมทั้งการทำปฏิญญาความร่วมมือสู่ความพร้อมของธุรกิจไทยในเรื่อง GDPR พบกันวันที่ 23-25 กรกฎาคม 2561 ณ รอยัล พารากอน ฮอลล์ สยามพารากอน
ผู้สนใจเข้าร่วมงานสามารถดูข้อมูลเพิ่มเติม และลงทะเบียนได้ทางเว็บไซต์ www.etda.or.th/bigchange2018

รมว.พลังงาน ลงพื้นที่ตรวจราชการ จ.นครสวรรค์

รมว.พลังงาน ลงพื้นที่ตรวจราชการ จ.นครสวรรค์ ตรวจเยี่ยมโครงการสูบน้ำพลังงานแสงอาทิตย์ช่วยภัยแล้ง และระบบอบแห้งพลังงานแสงอาทิตย์ รวมทั้งติดตามผลการผลิตของโรงงานเอทานอลจากกากน้ำตาล

​ดร.ศิริ จิระพงษ์พันธ์ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงพลังงาน พร้อมด้วยปลัดกระทรวงพลังงานและผู้บริหารระดับสูงของกระทรวงพลังงานได้เดินทางลงพื้นที่ตรวจราชการในจังหวัดนครสวรรค์ เมื่อวันที่ 11 มิถุนายน 2561 ซึ่งเป็นภารกิจส่วนหนึ่งของการประชุมคณะรัฐมนตรีนอกสถานที่ โดยกระทรวงพลังงานได้ติดตามโครงการด้านพลังงานที่สำคัญ ๆ ทั้งด้านการใช้พลังงานแสงอาทิตย์ในการสูบน้ำให้กับเกษตรกรในพื้นที่ห่างไกล และพัฒนาอาชีพเสริมด้วยระบบอบแห้งพลังงานแสงอาทิตย์ รวมทั้งติดตามต้นทุนการผลิตเอทานอลจากโรงงานที่ใช้กากน้ำตาลเป็นวัตถุดิบ โดยการตรวจเยี่ยมโครงการที่สำคัญๆ ได้แก่ ​โครงการระบบสูบน้ำพลังงานแสงอาทิตย์สู้ภัยแล้ง ณ บ้านหนองขาม ต.ตาคลี อ.ตาคลี จำนวน 2 แห่ง เป็นระบบสูบน้ำเพื่อการเกษตร ที่ช่วยสูบน้ำจากบ่อบาดาลโดยใช้เครื่องสูบน้ำพลังงานไฟฟ้าจากเซลล์แสงอาทิตย์ ไม่มีค่าใช้จ่ายด้านพลังงาน และเยี่ยมชมโครงการ “ส่งเสริมการใช้เทคโนโลยีพลังงานแสงอาทิตย์” ให้กับกลุ่มครัวเรือน กลุ่มเกษตรกร กลุ่มวิสาหกิจชุมชน/OTOP” ณ กลุ่มวิสาหกิจชุมชนบ้านทัพชุมพล หมู่ที่ 1 ต.หนองกรด อ.เมือง จ.นครสวรรค์
​โดยการตรวจเยี่ยมทั้งสองโครงการจะเป็นประโยชน์ในการเก็บข้อมูลการนำพลังงานแสงอาทิตย์ไปใช้ประโยชน์ในการเสริมฐานสร้างรายได้อย่างยั่งยืนให้แก่เกษตรกรตามแนวทางของโครงการ “ไทยนิยม ยั่งยืน” ซึ่งในอนาคตกระทรวงพลังงานจะมีการติดตั้งระบบสูบน้ำพลังงานแสงอาทิตย์ อีกจำนวน 5,000 ระบบ ภายใต้วงเงินงบประมาณ 3,500 ล้านบาท ภายในปี 2561 เมื่อรวมกับที่มีอยู่แล้ว จำนวน 1,088 ระบบ รวมเป็น 6,088 ระบบ ซึ่งจะทำให้ประชาชนได้ประโยชน์รวมทั้งประเทศไม่ต่ำกว่า 350,000 ครัวเรือน รวมพื้นที่กว่า 1 ล้านไร่ ส่วนโครงการระบบอบแห้งพลังงานแสงอาทิตย์ให้แก่เกษตรกรและผู้ประกอบการรายย่อย (SMEs) กว่า 300 แห่ง ในปี 2561 จะช่วยลดระยะเวลาการอบแห้งในกระบวนการแปรรูปผลิตภัณฑ์ได้มากกว่า 50% และเพิ่มคุณภาพของผลิตผลการเกษตรตามความต้องการของตลาดโดยทั้งสองโครงการมีเป้าหมายเพื่อสร้างฐานรายได้ให้กับเกษตรกรทั้งประเทศไม่ต่ำกว่า 1,300 ล้านบาทต่อปี ทั้งนี้ โครงการดังกล่าวจะเป็นการเสริมฐานความมั่นคงทางรายได้ให้กับเกษตรกร ทำให้เกษตรกรทั้งประเทศมีรายได้ที่แน่นอนส่งผลให้มีคุณภาพชีวิตดีขึ้น
​นอกจากนี้ ยังได้ตรวจเยี่ยมการผลิตเชื้อเพลิงชีวภาพเอทานอลจากกากน้ำตาลที่เป็นผลิตภัณฑ์ผลพลอยได้จากการผลิตน้ำตาล ของบริษัท เคทิส ไบโอเอทานอล จำกัด ที่ ต.หนองโพ อ.ตาคลี ซึ่งมีโครงการขยายกำลังการผลิตจาก 230,000 ลิตร/วัน เป็นประมาณ 1 ล้านลิตร/วัน เพื่อศึกษาต้นทุนในการผลิตเอทานอลที่จะลดลงจากการใช้เทคโนโลยีใหม่ให้ปริมาณการผลิตเพิ่มขึ้น ​
นอกจากเข้าเยี่ยมชมโครงการด้านพลังงานต่าง ๆ ดังกล่าวแล้ว รัฐมนตรีว่าการกระทรวงพลังงาน ยังได้มอบนโยบายการดำเนินงานให้แก่ พลังงานจังหวัดในเขตพื้นที่ ได้แก่ กำแพงเพชร พิจิตร อุทัยธานี นครสวรรค์ ลพบุรี ชัยนาท สิงห์บุรี อ่างทอง และสระบุรี และตรวจความพร้อมในการดำเนินโครงการ “ไทยนิยม ยั่งยืน”

เชิญชวนส่งประกวดบทความ และวีดีทัศน์

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

ดาวน์โหลด   ใบสมัครและเงื่อนไข การประกวดบทความ

ดาวน์โหลด   ใบสมัครและเงื่อนไข การประกวดวีดิทัศน์

ดาวน์โหลด   หนังสือรับรองนักเรียน

ผู้ตรวจราชการกระทรวงพลังงาน ศึกษาดูงานประเด็นการมีส่วนร่วมและการสร้างความเข้าใจแก่ประชาชนเรื่องโรงไฟฟ้านิวเคลียร์ในประเทศญี่ปุ่น

ระหว่างวันที่ 3 – 9 มิถุนายน 2561 ที่ผ่านมา นายประเสริฐ สินสุขประเสริฐ ผู้ตรวจราชการกระทรวงพลังงาน ได้เป็นหัวหน้าคณะ ศึกษาดูงานประเด็นการมีส่วนร่วมและการสร้างความเข้าใจแก่ประชาชนเรื่องโรงไฟฟ้านิวเคลียร์ในประเทศญี่ปุ่นหลังอุบัติเหตุฟุกุชิม่า ไดอิจิ ณ ประเทศญี่ปุ่น  การเข้าเยี่ยมชมศูนย์ตรวจสอบผลิตผลทางการเกษตรฟุกุชิม่า โรงไฟฟ้านิวเคลียร์โออิ (Ohi) และ โรงไฟฟ้านิวเคลียร์มิฮาม่า (Mihama) ของบริษัทผลิตไฟฟ้าแห่งคันไซ (Kansai Electric Power) ศูนย์ให้ความรู้ด้านพลังงานชุมชุนแก่ครอบครัว “At Home” ของเทศบาลเมืองทสึรุกะ (Tsuruga) รวมทั้งการเข้าพบนายอัทสึชิ ทาเคทานิ Deputy Commissioner for International Affaires, ANRE (เทียบเท่ารองปลัดกระทรวง) กระทรวงเศรษฐกิจ การค้าและอุตสาหกรรมของญี่ปุ่น (Ministry of Economy, Trade and Industry: METI) เพื่อหารือด้านความร่วมมือการแลกเปลี่ยนองค์ความรู้ด้านพลังงานนิวเคลียร์

ทั้งนี้ กระทรวงพลังงาน ได้รับทราบความคืบหน้า การฟื้นฟูความเชื่อมั่นด้านอาหารในพื้นที่ประสบอุบัติเหตุโรงไฟฟ้าฟุกุชิม่า ไดอิจิ เมื่อ 11 มีนาคม 2554 โดยเบื้องต้น พบว่าผลการตรวจสอบปริมาณกัมตภาพรังสีในข้าวสารทุกกระสอบของข้าวที่เพาะปลูกในฟุกุชิม่า ไม่ปรากฏปริมาณรังสีเกินมาตรฐานตั้งแต่ปีแรกหลังเกิดอุบัติเหตุ  การเร่งดำเนินการยกระดับด้านความปลอดภัยของโรงไฟฟ้านิวเคลียร์ตามกฎหมายใหม่ที่เข้มข้นขึ้น อาทิ ติดตั้งระบบเครื่องกำเนิดไฟฟ้าดีเซลสำรองและก่อสร้างกำแพงป้องกันคลื่นสึนามิตามข้อมูลการทำนายภัยพิบัติที่ทันสมัย ที่สำคัญที่สุดคือการสร้างความเชื่อมั่นในมาตรฐานความปลอดภัยและการยอมรับแก่ประชาชนที่อาศัยในพื้นที่รอบโรงไฟฟ้า ซึ่งโรงไฟฟ้าร่วมกับองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นมีหน้าที่สื่อสารเปิดเผยข้อมูลโดยไม่ปกปิดแก่ประชาชนอย่างสม่ำเสมอ  โดยปัจจุบัน (มิถุนายน  2561) ประเทศญี่ปุ่นมีเตาปฏิกรณ์นิวเคลียร์ (nuclear reactor) ที่ผ่านได้รับการยอมรับจากประชาชน ผ่านมาตรฐานความปลอดภัยใหม่ และเปิดเดินเครื่องเพื่อผลิตกระแสไฟฟ้าอีกครั้งแล้วจำนวน 8 โรง จากจำนวน 45 โรงทั่วประเทศ

โดยการเดินทางครั้งนี้ ประกอบด้วยผู้แทนจากกระทรวงพลังงาน ผู้แทนการไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทย และผู้แทนสมาคมนิวเคลียร์แห่งประเทศไทย จำนวนรวม 15 คน เป็นการตอบรับคำเชิญจาก Japan Atomic Industrial Forum International Cooperation Center (JICC) ภายใต้การสนับสนุนจาก METI

กระทรวงพลังงาน ขอชี้แจงประเด็นข้อกล่าวหาการบริหารนโยบายพลังงานเอื้อประโยชน์ให้กลุ่มทุน

กระทรวงพลังงาน ขอชี้แจงประเด็นข้อกล่าวหาการบริหารนโยบายพลังงานเอื้อประโยชน์ให้กลุ่มทุน

  1. กรณีรัฐบาลใช้กองทุนน้ำมันที่ไม่มีกฎหมายรองรับเป็นเครื่องมืออำพรางกลไกตลาด แต่สร้างกำไรให้กลุ่มทุนน้ำมันจริงหรือไม่

คำชี้แจง

1.1 การจัดตั้งกองทุนน้ำมันเชื้อเพลิงถูกต้องตามกฎหมาย เนื่องจากกองทุนน้ำมันเชื้อเพลิง จัดตั้งขึ้นตามคำสั่งนายกรัฐมนตรีที่ 4/2547 ลงวันที่ 23 ธันวาคม 2547 เรื่อง กำหนดมาตรการเพื่อการแก้ไขและป้องกันภาวะการขาดแคลนน้ำมันเชื้อเพลิง โดยอาศัยอำนาจตามความในมาตรา 3 แห่งพระราชกำหนดแก้ไขและป้องกันภาวะการขาดแคลนน้ำมันเชื้อเพลิง พ.ศ. 2516 และกองทุนฯดำเนินการตั้งแต่ 2519 มิใช่เป็นกองทุนเถื่อนแต่อย่างใด

อนึ่ง พระราชกำหนดแก้ไขและป้องกันภาวะการขาดแคลนน้ำมันเชื้อเพลิง พ.ศ. 2516 ฉบับดังกล่าวได้มีการนำเสนอต่อ สภานิติบัญญัติแห่งชาติ ซึ่งได้ลงมติอนุมัติ เมื่อวันที่ 25 มกราคม 2517 และได้ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง การอนุมัติพระราชกำหนดแก้ไขและป้องกันภาวะการขาดแคลนน้ำมันเชื้อเพลิง พ.ศ. 2516 และประกาศในราชกิจจานุเบกษา เมื่อวันที่ 12 กุมภาพันธ์ 2517 เรียบร้อยนานแล้ว

1.2 กองทุนน้ำมันฯ มีวัตถุประสงค์ที่จะเป็นเครื่องมือของรัฐในการรับประกันความมั่นคงด้านพลังงานของประเทศ และป้องกันภาวะน้ำมันขาดแคลน ซึ่งกลไกการใช้กองทุนฯ จะใช้ประกอบให้สอดคล้องกับกลไกตลาด ลดการบิดเบือนโครงสร้างการใช้น้ำมัน (ดังเช่น รัฐบาลในอดีต เคยใช้กลไกกองทุนฯ ทำให้ราคาเบนซินและดีเซลบิดเบือนและต่างกันมากถึง 40%) และสร้างความเป็นธรรมให้ทุกภาคส่วน

  1. มีการระบุว่ารัฐบาลทำการชดเชยราคาข้ามเชื้อเพลิง (Cross-Subsidy) เพื่อชดเชยค่าการตลาด E20, E85

คำชี้แจง

2.1 กระทรวงพลังงาน ได้มีนโยบายส่งเสริมพลังงานทดแทนอย่างยั่งยืนตามแผนพัฒนาพลังงานทดแทนและพลังงานทางเลือก (AEDP) โดยเป้าหมายภายในปี 2579 ต้องมีการใช้เอทานอล 11.3 ล้านลิตรต่อวัน โดยกรมธุรกิจพลังงานประกาศกำหนดให้น้ำมันแก๊สโซฮอล มีส่วนผสมของเอทานอลตั้งแต่ร้อยละ 10 ถึงร้อยละ 85 และสำหรับกลยุทธ์นโยบายด้านราคาจะ “กำหนดให้น้ำมันแก๊สโซฮอลที่มีส่วนผสมของเอทานอลมากกว่า ให้มีราคาถูกกว่าน้ำมันแก๊สโซฮอลที่มีส่วนผสมของเอทานอลน้อยกว่า” ทั้งๆ ที่ต้นทุนน้ำมันแก๊สโซฮอล E85 สูงกว่าแก๊สโซฮอล E20 และแก๊สโซฮอล E10 ตามลำดับ แต่เมื่อภาครัฐได้ยกเว้นภาษีสรรพสามิตและใช้กองทุนน้ำมันเข้ามาสร้างส่วนต่างราคา ตลอดจนบริหารจัดการค่าการตลาดที่เหมาะสม จึงทำให้น้ำมันแก๊สโซฮอล E85 กลับมามีราคาถูกกว่าแก๊สโซฮอล E20 และแก๊สโซฮอล E10 ตามลำดับ

ดังนั้นสิ่งที่กระทรวงพลังงานดำเนินการคือ “การสร้างส่วนต่างราคา” มิใช่ชดเชยค่าการตลาดให้แก่น้ำมันแก๊สโซฮอล E20  และน้ำมันแก๊สโซฮอล E85 ดังที่กล่าวหาแต่อย่างใด

2.2 ทั้งนี้ หากปล่อยให้กลไกราคาเป็นไปตามธรรมชาติ (ราคาเรียงลำดับตามต้นทุนเนื้อน้ำมันของ

แต่ละประเภท) แผน AEDP ที่จะส่งเสริมการใช้น้ำมันที่มีส่วนผสมของเอทานอลหรือที่ผสมน้อยกว่า (E10) คือ E20 และ E85 จะไม่สามารถบรรลุเป้าหมายตามนโยบายได้เลย เนื่องจากราคา E85 และ E20 จะสูงกว่าน้ำมันเบนซินที่ไม่ผสมเอทานอล น้ำมัน E85 มีอัตราการสิ้นเปลืองสูงกว่าน้ำมันชนิดอื่น ดังนั้น การสร้างส่วนต่างราคาระหว่าง E10 และ E85 จึงต้องให้ครอบคลุมการชดเชยอัตราสิ้นเปลือง พร้อมทั้งเพื่อเป็นสิ่งจูงใจให้ประชาชนเปลี่ยนมาใช้พลังงานทดแทนเพิ่มมากขึ้น การใช้กลไกของภาครัฐที่ทำให้มีราคาที่ต่ำกว่าก็ถือว่ามีความคุ้มค่า และเป็นประโยชน์ต่อประชาชนอีกทางหนึ่งด้วย

2.3 ภาครัฐได้มีนโยบายสนับสนุนให้คนไทยใช้น้ำมันแก๊สโซฮอลอย่างต่อเนื่อง ยิ่งเพิ่มสัดส่วนการใช้เอทานอลมากขึ้นเท่าใด ยิ่งเป็นการสร้างทางเลือกในการใช้ประโยชน์จากพืชผลทางการเกษตร เสริมสร้างเสถียรภาพราคาพืชผลการเกษตรในทางอ้อม ลดการใช้เชื้อเพลิงฟอสซิล อีกทั้งช่วยชาติลดการพึ่งพาพลังงานจากต่างประเทศ ส่งเสริมสิ่งแวดล้อม และสร้างความมั่นคงทางพลังงานให้กับประเทศมากเท่านั้น

  1. กล่าวหาว่าบิดเบือนกลไกตลาดของเอทานอล ทำให้มีราคาแพงกว่าปกติ

คำชี้แจง

3.1 ราคาเอทานอลที่ใช้ในการคำนวณโครงสร้างราคาน้ำมันในปัจจุบันเป็นราคาที่มีการปรับกลไกแล้ว จากเดิมที่เป็นระบบประกันต้นทุนการผลิตหรือ Cost Plus มาเป็นระบบที่สะท้อนกลไกตลาดมากขึ้น โดยเป็นระบบที่เลือกราคาต่ำสุดระหว่างราคาที่ผู้ผลิตเอทานอลรายงานต่อกรมสรรพสามิตกับราคาเอทานอลที่ผู้ค้ามาตรา 7 (บริษัทน้ำมันในฐานะผู้ซื้อเอทานอล) รายงานตรงต่อ สนพ. โดยเดิมที่เคยใช้ระบบ Cost Plus จะคำนวณราคาเอทานอลเพื่อนำไปใช้ในการคำนวณโครงสร้างราคาน้ำมันกลุ่มแก๊สโซฮอล (E10, E20 และ E85) ได้ใช้ระบบการประกันต้นทุนการผลิต (Cost Plus) โดยใช้ต้นทุนวัตถุดิบการผลิต 2 ชนิดคือ

มันสำปะหลังและกากน้ำตาลแต่พบปัญหาของการคำนวณคือราคากากน้ำตาลที่ใช้เป็นราคากากน้ำตาลส่งออกและมีราคาสูงซึ่งไม่สะท้อนตลาดภายในประเทศ อีกทั้งในช่วงต่อๆ มาได้มีจำนวนผู้ผลิตเอทานอลเพิ่มมากขึ้น เพื่อส่งเสริมให้เกิดการแข่งขันและการผลิตที่มีประสิทธิภาพมากขึ้นจึงได้มีการปรับเปลี่ยนหลักเกณฑ์การคำนวณราคาเอทานอลจากระบบ Cost Plus มาเป็นระบบปัจจุบัน โดยเป็นระบบที่เลือกตัวต่ำสุดของข้อมูลจากสองแหล่ง ทำให้ได้ราคาเอทานอลที่มีฐานต่ำสุดเป็นเกณฑ์ในการนำไปคำนวณโครงสร้างราคาน้ำมันกลุ่มแก๊สโซฮอล

สำหรับการสร้าง “ส่วนต่างราคา” เป็นกลยุทธ์สำคัญในการส่งเสริมที่ใช้ขับเคลื่อนการใช้เอทานอลในภาคขนส่งเป็นส่วนหนึ่งของการดำเนินการตามแผนพัฒนาพลังงานทดแทนและพลังงานทางเลือก (AEDP 2015) ในการสนับสนุนการใช้เชื้อเพลิงชีวภาพตามศักยภาพการผลิตของวัตถุดิบทางการเกษตรโดยมีการประมาณว่าจะมีศักยภาพในการผลิตและใช้เอทานอล 11.3 ล้านลิตรต่อวันในปี 2579 ปัจจุบันมีการใช้เอทานอลในประเทศอยู่ในระดับ 3.90 ล้านลิตรต่อวัน ดังนั้นการมีกลไกการสร้าง “ส่วนต่างราคา” ระหว่าง E10, E20 และ E85 จะคำนวณให้สะท้อนถึงค่าความร้อนหรืออัตราการสิ้นเปลืองเชื้อเพลิง รวมทั้งการสร้างความจูงใจในการขยายปั๊มที่จำหน่าย  E20 และ E85 ซึ่งเป็นกลยุทธ์สำคัญในการขับเคลื่อนยุทธศาสตร์เชื้อเพลิงชีวภาพ

4.กรณีระบุว่า รัฐบาลบริหารนโยบายพลังงานผิดพลาด เพราะการยกเลิกเพดานราคาก๊าซหุงต้ม (LPG) จากโรงแยกก๊าซที่เคยกำหนดไว้ต่ำกว่าราคาตลาดโลกที่ 333 เหรียญสหรัฐฯ ต่อตัน กำหนดใหม่เป็น 498 เหรียญสหรัฐฯ ต่อตัน สูงกว่าราคาตลาดโลก แล้วยังยกเลิกสูตรตั้งราคาก๊าซฯ จากโรงกลั่น 76-24 เปลี่ยนเป็นใช้ราคานำเข้าบวกค่าขนส่ง-ค่าใช้จ่าย-ค่าประกัน ส่งผลราคาก๊าซพุ่งสูงขึ้น ทำให้ประชาชนได้รับความเดือดร้อน พร้อมระบุว่าการใช้กองทุนน้ำมันตรึงราคาก๊าซหุงต้ม ให้อยู่ถังละ 363 บาท เท่ากับเอาเงินประชาชนไปจ่ายให้กลุ่มทุน แทนที่จะกลับไปใช้การสร้างสมดุลแบบเดิม

คำชี้แจง

กระทรวงพลังงาน ได้มีการปรับกลไกราคา LPG มาอย่างเป็นขั้นเป็นตอนหลายครั้ง ทั้งนี้เพื่อวัตถุประสงค์ที่จะส่งเสริมการแข่งขัน ลดการผูกขาดและมุ่งหวังให้ราคาสะท้อนต้นทุนอย่างแท้จริง โดย

1) ยกเลิกการควบคุมราคา

2) ปรับให้มีมาตรฐานราคาอ้างอิง – (ปัจจุบันใช้ราคา FOB Arab Gulf หรือที่เรียกย่อว่า LPG Cargo) แทนการควบคุมราคาแบบกำหนดตายตัว ตามที่ผู้ร้องกล่าวอ้าง พร้อมกับให้มีกลไกการกำกับราคา LPG จากโรงแยกก๊าซ (ซึ่งต้นทุนต่ำ) โดยให้มีราคาตามต้นทุนการผลิตที่แท้จริง (อ้างอิงระบบราคา Cost Plus ที่ สนพ. ศึกษาไว้เมื่อปี 2558) และหากราคาตามต้นทุนฯ นี้ ต่ำกว่าราคาอ้างอิง ก็จะเก็บเงินจากโรงแยกก๊าซฯ เข้ากองทุนน้ำมันฯ (ใช้ย่อว่า “กองทุน#1) เพื่อนำเงินที่เก็บเข้าส่วนนี้มาแบ่งเบาภาระอุดหนุนราคาที่ปลายทาง (ใช้ย่อว่า “กองทุน#2”) ถือว่าเป็นการสร้างสมดุล เพราะเป็นการเก็บเงินจากผู้ผลิตที่มีต้นทุนต่ำ นำมาช่วยจ่ายการอุดหนุนราคา ทั้งนี้ ในช่วงแรกเริ่มของการปรับระบบลักษณะนี้ จะปรับปรุงทุกๆ เดือน จนเมื่อพฤศจิกายน 2560 ที่ได้เริ่มทดลองเป็นรายสัปดาห์ ด้วยคาดหวังว่า กลไกการค้าก๊าซ LPG จะคล้ายกลไกการค้าน้ำมันเชื้อเพลิง และนำมาสู่การแข่งขันที่เข้มข้นมากขึ้น

 

ปลัดกระทรวงพลังงาน เป็นประธานการประชุมคณะทำงานพิเศษประสานเชื่อมโยงคณะกรรมการยุทธศาสตร์ชาติและคณะกรรมการปฏิรูปประเทศ กระทรวงพลังงาน

วันนี้ (25 พค. 61) นายธรรมยศ ศรีช่วย ปลัดกระทรวงพลังงาน เป็นประธานการประชุมคณะทำงานพิเศษประสานเชื่อมโยงคณะกรรมการยุทธศาสตร์ชาติและคณะกรรมการปฏิรูปประเทศ กระทรวงพลังงาน โดยมีผู้แทนจากคณะกรรมการปฏิรูปประเทศด้านพลังงานเข้าร่วม การประชุมครั้งนี้ถือเป็นการดำเนินการตามนโยบายของรัฐบาลในการผลักดันและขับเคลื่อนการปฏิรูปด้านพลังงาน ใน 6 ด้าน 17 ประเด็น โดยในการประชุมครั้งนี้จะพิจารณารายละเอียดแผนปฏิบัติการ เพื่อนำใช้เป็นกรอบการดำเนินการร่วมกันของทุกหน่วยงานที่เกี่ยวข้องให้เป็นไปในทิศทางเดียวกันและสามารถปฏิรูปการพัฒนาด้านพลังงานให้แล้วเสร็จตามระยะเวลาที่รัฐบาลกำหนด ต่อไป

ผลกระทบจากน้ำมันและก๊าซหุงต้มปรับขึ้นราคา

ผลกระทบจากน้ำมันและก๊าซหุงต้มปรับขึ้นราคา

สาระสำคัญ : โซเชียลมีเดียและตัวแทนบุคคลจากภาคส่วนต่างๆ ตั้งข้อสังเกตถึงผลกระทบจากน้ำมันและก๊าซหุงต้มปรับขึ้นราคา ในประเด็นดังนี้

1. น.ส.รสนา โตสิตระกูล อดีต ส.ว.กรุงเทพฯ วิเคราะห์ว่าการปรับขึ้นราคาน้ำมันและก๊าซหุงต้มอย่างผิดปกติในช่วงเดือน พ.ค. เป็นการเอื้อประโยชน์ให้แก่กลุ่มทุนพลังงาน โดยเปิดประเด็น ดังนี้

1.1 ตั้งข้อสังเกตว่าการที่กระทรวงพลังงาน ประกาศไม่ให้แจ้งการปรับลดราคาน้ำมันล่วงหน้า ขณะที่คณะกรรมการบริหารนโยบายพลังงาน (กบง.) สั่งให้ทำโครงสร้างราคาน้ำมันเฉพาะราคาขายส่งรวมแวตเท่านั้น ไม่ให้แจ้งราคาขายปลีกซึ่งจะเห็นการบวกค่าการตลาดด้วย สะท้อนถึงเจตนาว่าต้องการจะปิดบังทั้งการปรับลดราคาและการบวกกำไรของราคาขายปลีกน้ำมันจากการรับรู้ของประชาชนทั่วไปใช่หรือไม่

·     กระทรวงพลังงานไม่มีเจตนาปิดบังการรับรู้ของประชาชน แต่มีวัตถุประสงค์ที่จะส่งเสริมการแข่งขันด้านราคา ซึ่งในระยะยาวจะส่งผลดีต่อประชาชน  เนื่องจากที่ผ่านมา บริษัทน้ำมันต่างๆ จะมีการตั้งราคาที่เท่ากันและมีการปรับราคาขึ้นลงพร้อมกัน  พอมีการประกาศราคาล่วงหน้า ทุกสถานีบริการก็จะปรับราคาตามกัน ไม่เกิดการแข่งขันด้านราคาโดยตรง แต่เน้นไปแข่งขันทางอ้อมผ่านการโปรโมชั่น เช่น การแจกน้ำดื่มขวด เป็นต้น

·     กระทรวงพลังงานมีวัตถุประสงค์ให้บริษัทน้ำมันมีกลยุทธ์ในการตั้งราคาตามต้นทุนของตนเอง
ซึ่งจะสะท้อนได้จากราคาจำหน่ายปลีกที่แตกต่างกันของแต่ละแบรนด์   ดังนั้น การที่ภาครัฐจะใช้ราคาจำหน่ายปลีกของบริษัทหนึ่งในการจัดทำโครงสร้างราคาก็อาจไม่สอดคล้องกับวัถุประสงค์ที่ต้องการเห็นตลาดน้ำมันของประเทศมีการแข่งขันด้านราคา  คณะกรรมการบริหารนโยบายพลังงาน (กบง.) จึงเห็นควรให้ยกเลิกการเผยแพร่ราคาขายปลีกและค่าการตลาดในโครงสร้างราคา   ทั้งนี้ ราคาขายปลีกของแต่ละบริษัทน้ำมันก็ยังคงมีการเผยแพร่บนหน้าเว็ปไซต์ของ สนพ. (www.eppo.go.th) ตามปรกติ  ซึ่งก็ทำให้สามารถคำนวณค่าการตลาดได้ดังเดิม

1.2 จากการตรวจสอบพบว่าราคาก๊าชหุงต้มตลาดโลก อยู่ที่ราคาประมาณ 15 บาท/ก.ก. แต่ราคาในประเทศที่มาจากก๊าชอ่าวไทยกลับมีราคาหน้าโรงแยกก๊าชที่ 18 บาท/ก.ก. ซึ่งสูงกว่าราคาตลาดโลกกว่า 3 บาท/ก.ก. สะท้อนว่ารัฐได้ตั้งราคาจากโรงแยกก๊าชสูงกว่าตลาดโลก และนำกองทุนน้ำมันมาชดเชยให้เพียงกิโลกรัมละ 2.74 บาท ส่งผลให้กองทุนน้ำมันเป็นกองทุนอำพรางกำไรให้แก่โรงแยกก๊าช มากกว่าเป็นกองทุนที่ผู้ใช้เก็บออมเงินไว้เพื่อชดเชยราคาที่ปรับสูงขึ้นตามราคาแข่งขันในตลาดโลก

·     ราคาต้นทุนก๊าซหุงต้มตลาดโลกในช่วงต้นเดือนพฤษภาคม 61 อยู่ที่ประมาณกิโลกรัมละ
16 บาท ซึ่งเมื่อรวมค่าใช้จ่ายในการนำเข้าจะอยู่ที่กิโลกรัมละ 17.5 บาท มิใช่กิโลกรัมละ 15 บาทแต่อย่างใด

·     ราคา ณ โรงกลั่นของก๊าซหุงต้มในสัปดาห์ที่ผ่านมา (15-21 พ.ค. 61) อยู่ที่กิโลกรัมละ 18.08 บาท ราคาดังกล่าวอ้างอิงจากราคานำเข้า  มิใช่เป็นราคาต้นทุนของโรงแยกก๊าซธรรมชาติ ซึ่งมีต้นทุนที่ต่ำกว่าและต้องส่งเงินเข้ากองทุนน้ำมันเชื้อเพลิง (อยู่ที่อัตรากิโลกรัมละ 4.0991 บาทในสัปดาห์ที่ผ่านมา) ซึ่งเงินที่เก็บจากโรงแยกก๊าซฯ ดังกล่าวก็นำมาใช้ในการชดเชยผ่านกองทุนน้ำมันฯ (กิโลกรัมละ 2.7424 บาท) ให้ราคาก๊าซ LPG ในประเทศถูกกว่าราคานำเข้า

1.3 พบข้อมูลจากคนขายก๊าซฝั่งพม่าระบุว่า ก๊าซหุงต้มที่ไทยขายให้ มีราคาอยู่ที่เพียง 23.20 บาทต่อกิโลกรัมเท่านั้น ขณะที่คนไทยต้องซื้อในราคาสูงกว่า ทั้งที่ประเทศไทยมีทั้งก๊าซในอ่าวไทย และโรงแยกก๊าซถึง 6 โรงในประเทศ

จากข้อมูลที่ระบุไม่แน่ใจว่าเป็นราคาของเดือนใด และไม่ทราบว่าเป็นราคาเนื้อก๊าซ LPG หรือเป็นราคาขายปลีก   แต่จากข้อมูลในเดือนพฤษภาคม 61 จะเห็นได้ว่าราคาจำหน่ายปลีกก๊าซ LPG ของประเทศไทยยังคงถูกกว่าของประเทศพม่า มิได้แพงกว่าตามข้อกล่าวอ้างแต่อย่างใด ดังแสดงในรูป

2. นายยู เจียรยืนยงพงศ์ ประธานสหพันธ์การขนส่งทางรถบรรทุกแห่งอาเซียน (ATF) กล่าวว่าได้รับผลกระทบจากราคาต้นทุนน้ำมันที่เพิ่มขึ้น พร้อมเรียกร้องให้กระทรวงพลังงาน นำเงินกองทุนพลังงาน มาช่วยเหลือบรรเทาความเดือดร้อนของผู้ประกอบการขนส่ง

·     กระทรวงพลังงานได้ออกมาตรการส่งเสริมดีเซลหมุนเร็ว (B20) เกรดพิเศษ เพื่อช่วยลดต้นทุนภาคขนส่งและบรรเทาผลกระทบจากการที่ราคาน้ำมันตลาดโลกมีแนวโน้มปรับตัวสูงขึ้น โดยสนับสนุนการใช้น้ำมันดีเซลหมุนเร็ว (B20) ให้เป็นน้ำมันเกรดพิเศษ สำหรับกลุ่มรถยนต์ขนาดใหญ่ เช่น รถบรรทุก ฟีดคาร์ รถโดยสารขนาดใหญ่ ซึ่งมีราคาถูกกว่าน้ำมันดีเซลปรกติ (B7) 3 บาท/ลิตร

 

3. โซเชียลมีเดียส่วนใหญ่ วิจารณ์ว่าราคาน้ำมันที่สูง เกิดจากการจัดเก็บภาษีน้ำมัน พร้อมสะท้อนว่าสาเหตุที่รัฐบาลต้องจัดเก็บภาษีน้ำมัน สะท้อนถึงภาวะการคลังที่ถดถอย

·     ภาครัฐมิได้เพิ่มการจัดเก็บภาษีแต่อย่างใดตั้งแต่เดือนพฤศจิกายน 2559  แต่ราคาน้ำมันในประเทศที่สูงขึ้นเกิดจากราคาน้ำมันตลาดโลกที่ปรับตัวสูงขึ้น จากปัจจัยหลายประการ เช่น การตรึงกำลังการผลิตน้ำมันดิบของกลุ่มโอเปคและประเทศนอกกลุ่มโอเปคในช่วงปีที่ผ่านมา สถานการณ์ประเทศเวเนซุเอลาเกิดวิกฤติเศรษฐกิจในประเทศและไม่สามารถส่งออกน้ำมันดิบได้  จนล่าสุดเหตุการณ์ที่ประเทศสหรัฐอเมริกาได้ดำเนินการคว่ำบาตรประเทศอิหร่านทำให้คาดการณ์ว่าน้ำมันดิบจะออกสู่ตลาดโลกน้อยลง   จากปัจจัย
ที่กล่าวมาทำให้ราคาน้ำมันดิบดูไบปรับตัวสูงขึ้นจากระดับ 50 เหรียญสหรัฐต่อบาร์เรล ในเดือนกันยายนปีที่แล้ว เป็นอยู่ที่ระดับ 70 เหรียญสหรัฐต่อบาร์เรลในปัจจุบัน หรือเพิ่มขึ้นถึงร้อยละ 40

แนวทางบรรเทาผลกระทบจากวิกฤติราคาน้ำมัน

·       ความผันผวนเพิ่มขึ้นของราคาน้ำมันในตลาดโลกตลอดระยะเวลากว่า 2 เดือนที่ผ่านมา โดยที่น้ำมันดิบดูไบ (Dubai) มีราคาเพิ่มขึ้น 15.30 เหรียญสหรัฐฯ/บาร์เรล (จาก 61.75 เหรียญสหรัฐฯ/บาร์เรล  เมื่อวันที่ 16 มีนาคม 2018 เป็น 77.05 เหรียญสหรัฐฯ/ต่อบาร์เรล เมื่อวันที่ 19 พฤษภาคม 2018) ส่งผลให้ราคาดีเซลอ้างอิง Platts ในตลาดอาเซียน เพิ่มขึ้น 16.69 เหรียญสหรัฐฯ/บาร์เรล (จาก 76.55 เหรียญสหรัฐฯ/บาร์เรล เมื่อวันที่ 16 มีนาคม 2018 เป็น 93.24 เหรียญสหรัฐฯ/บาร์เรล เมื่อวันที่ 19 พฤษภาคม 2018) ในช่วงเวลาเดียวกัน เท่ากับ 3.30 บาท/ลิตร เมื่อคำนวณที่อัตราแลกเปลี่ยน ณ วันที่ 16 มีนาคม 2018 ที่ 31.40 บาทต่อเหรียญสหรัฐ ในขณะที่อัตราแลกเปลี่ยนได้อ่อนตัวลงเป็น 32.29 บาท/เหรียญสหรัฐ เมื่อวันที่ 19 พฤษภาคม 2018 ส่งผลให้ราคาดีเซลอ้างอิง Platts ในตลาดอาเซียน เพิ่มขึ้นอีก 0.52 บาท/ลิตร เป็น 3.82 บาท/ลิตร

·       แต่ด้วยการปรับสูตรการคำนวณราคาอ้างอิง ณ โรงกลั่น และการลดจำนวนเงินจัดเก็บเข้ากองทุนอนุรักษ์พลังงาน 0.15 บาท/ลิตร เมื่อวันที่ 21 เมษายน 2018 ส่งผลให้ราคาดีเซลขายปลีกในประเทศ เพิ่มขึ้นต่ำกว่าที่ควรเป็น 0.62 บาท/ลิตร คือเพิ่มขึ้นสุทธิจริงเท่ากับ 3.20 บาท/ลิตร เป็น 29.79 บาท/ลิตร

·       ในขณะเดียวกัน กระทรวงพลังงานได้ริเริ่มโครงการช่วยดูดซับปริมาณผลิตน้ำมันปาล์มดิบส่วนเกินด้วยการผลิตน้ำมันดีเซลเกรดพิเศษที่มีส่วนผสม ไบโอดีเซลเพิ่มจาก 7% สำหรับดีเซลเกรดทั่วไป (B7) เป็น 20% (B20) เพื่อใช้ในกลุ่มรถบรรทุกและรถโดยสารขนาดใหญ่ โดยจะมีมาตรการจูงใจด้วยราคาขายปลีกต่ำกว่าน้ำมันดีเซลเกรดปกติที่ 3 บาท/ลิตร ซึ่งคาดว่าจะเริ่มจำหน่ายได้ประมาณต้นเดือนกรกฎาคม 2018

·       การจำหน่ายน้ำมันดีเซลเกรดพิเศษ (B20) โดยมีส่วนลดให้ราคาขายปลีกต่ำกว่าน้ำมันดีเซลเกรดปกติที่ 3 บาท/ลิตร จะส่งผลให้ราคาต้นทุนน้ำมันของกลุ่มรถบรรทุกและรถโดยสารขนาดใหญ่ อยู่ในระดับต่ำประมาณ 27 บาท/ลิตร จึงไม่มีความจำเป็นต้องขึ้นค่ารถโดยสารสาธารณะหรือค่าขนส่ง

·       ในระหว่างที่ยังไม่มีการจำหน่ายน้ำมัน B20 กระทรวงพลังงานจะใช้กลไกของกองทุนน้ำมันเป็นเครื่องมือในการรักษาระดับราคาน้ำมันดีเซลไม่ให้เกินกว่า 30 บาท/ลิตร เป็นระยะเวลาสั้นๆก่อนมีการจำหน่ายน้ำมัน B20

·       และเพื่อลดผลกระทบจากราคาน้ำมันที่อาจจะมีการปรับตัวเพิ่มขึ้นสูงกว่า 80 เหรียญสหรัฐฯ/บาร์เรล กระทรวงพลังงานจักได้เตรียมมาตรการดูแลกรณีวิกฤตราคาผันผวนอย่างรวดเร็วต่อผู้บริโภค โดยการใช้กองทุนช่วยลดภาระให้ขึ้นราคาขายปลีกเท่ากับ 50% ของราคาที่ควรจะเพิ่มขึ้น กล่าวคือหากราคาน้ำมันตลาดโลกขึ้น 1 บาท จะใช้กองทุนช่วยลดภาระ 50 สตางค์ และขึ้นราคา 50 สตางค์

·       โดยที่หากราคาน้ำมันดิบเบรนท์ (Brent) เพิ่มขึ้นถึง 90 เหรียญสหรัฐฯ/บาร์เรล  ซึ่งส่งผลให้ราคาดีเซลอ้างอิง Platts ในตลาดอาเซียน เพิ่มขึ้นเป็น 105 เหรียญสหรัฐฯ/บาร์เรล  และด้วยฐานะกองทุนน้ำมันที่มีคงเหลือประมาณ 30,000 ล้านบาท จะเพียงพอสำหรับมาตรการการใช้กองทุนช่วยลดภาระการขึ้นราคาขายปลีก 50% ของราคาที่ควรจะเพิ่มดังกล่าว ได้ประมาณ 10 เดือน

ข้อกำหนดการศึกษา (Term of Reference: TOR)การประเมินสิ่งแวดล้อมระดับยุทธศาสตร์ฯ (Thai/English)

ข้อกำหนดการศึกษา (Term of Reference: TOR)การประเมินสิ่งแวดล้อมระดับยุทธศาสตร์ฯ (Thai Version) คลิกที่นี่

ข้อกำหนดการศึกษา (Term of Reference: TOR)การประเมินสิ่งแวดล้อมระดับยุทธศาสตร์ฯ (English Version)
Download  Click

 

ประเด็นคำถาม
การศึกษาการประเมินสิ่งแวดล้อมระดับยุทธศาสตร์สำหรับพื้นที่จัดตั้งโรงไฟฟ้าถ่านหินในภาคใต้  คลิกที่นี่

ประเด็นเรื่องการรับซื้อไฟฟ้าจากพลังงานทดแทน

สำหรับประเด็นเรื่องการรับซื้อไฟฟ้าจากพลังงานทดแทนตามที่ ร.ต.อ. วัฒนรักษ์ สุรนาทยุทธ์ หัวหน้าคณะทำงานด้านสิ่งแวดล้อม พรรคเพื่อไทยให้ความเห็นกรณี รมว. พลังงานมีนโยบายให้ระงับการรับซื้อไฟฟ้าจากพลังงานทดแทนไว้ชั่วคราวนั้น กระทรวงพลังงานใคร่ขอชี้แจงดังนี้

1. กระทรวงพลังงานยังคงจะให้มีการรับซื้อไฟฟ้าจากพลังงานทดแทนสำหรับโครงการที่ได้ผูกพันไว้แล้วเหมือนเดิม ไม่ได้มีการระงับแต่อย่างใด แต่ในส่วนของการรับซื้อพลังงานทดแทนในอนาคตที่ยังไม่มีภาระผูกพันทางสัญญาหรือที่ยังไม่ได้พัฒนาเป็นโครงการนั้น ทางกระทรวงพลังงานยังคงให้การสนับสนุน ตามแผนแม่บมพลังงานทดแทน (AEDP2015) แต่จะมีการพิจารณาปรับปรุงจัดทำหลักเกณฑ์การรับซื้อไฟฟ้าและราคาเป้าหมายใหม่ เพื่อให้ได้ต้นทุนไฟฟ้าจากพลังงานทดแทนที่มีต้นทุนที่ต่ำที่สุด ราคาไม่เกินราคาขายส่งเฉลี่ย (Grid Parity) และจะได้ส่งผลประโยชน์แก่ประชาชนมากที่สุด

2. กระทรวงพลังงานยังคงยึดหลักการดำเนินการในส่วนของนโยบายและแผนด้านพลังงานตามที่ประเทศไทยได้ให้สัตยาบันแสดงเจตจำนงการลดก๊าซเรือนกระจกในการประชุม COP21

3. ในส่วนของโรงไฟฟ้าถ่านหินนั้น ทางกระทรวงพลังงานได้อยู่ระหว่างการดำเนินผลกระทบเชิงยุทธศาสตร์หรือ SEA ซึ่งใช้เวลาในการดำเนินการประมาณ 9 เดือน ซึ่งในการดำเนินการทำ SEA นั้นประกอบด้วยผู้แทนของผู้มีส่วนได้ส่วนเสียที่ประกอบด้วยผู้ที่เห็นด้วยและไม่เห็นด้วย ซึ่งผลการทำ SEA นั้นจะต้องได้รับการยอมรับจากทุกฝ่าย

กระทรวงพลังงาน ร่วมงาน สื่ออยากรู้ รัฐบาลอยากเล่า “มุมมองของรองนายกฯ ประจิน”

วันนี้ (10พค.) กระทรวงพลังงาน นำโดยนายธรรมยศ ศรีช่วย ปลัดกระทรวงพลังงาน เข้าร่วมกิจกรรม สื่ออยากรู้ รัฐบาลอยากเล่า “มุมมองของรองนายกประจินฯ” ณ ตึกภักดีบดินทร์ ทำเนียบรัฐบาล โดยเป็นการเชิญสื่อมวลชนร่วมรับฟัง ภาพรวมของบริบทประเทศไทย เชื่อมโยงกับภารกิจภายใต้การกำกับดูแลแต่ละด้านของ พลอากาศเอก ประจิน จั่นตอง รองนายกรัฐมนตรีที่รับผิดชอบกระทรวงสำคัญๆ ได้แก่ กระทรวงศึกษาธิการ กระทรวงพลังงาน กระทรวงดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคม และกระทรวงยุติธรรม

ทั้งนี้ ในส่วนของกระทรวงพลังงานนั้น  ได้มีการนำเสนอประเด็นสำคัญ ๆ 2 ด้านคือ 1.) การเปิดประมูลสัมปทานปิโตรเลียมบงกช-เอราวัณ ซึ่งเป็นภารกิจครั้งสำคัญของกระทรวงพลังงาน การดำเนินการในขั้นตอนต่างๆ ทั้งหมด มีความพร้อมและมีความชัดเจนมากพอที่จะให้ความมั่นใจได้ว่าจะสามารถดำเนินการเปิดประมูลแหล่งเอราวัณและบงกชได้สำเร็จตามแผนที่วางไว้ เพราะว่า ขั้นตอนคัดเลือกผู้เข้าร่วมประมูล ผู้ที่ได้รับการคัดเลือกจะมีความสามารถ ความเชี่ยวชาญ และเงินทุนเพียงพอที่จะทำได้

สำหรับกรอบระยะเวลาเบื้องต้นในการเปิดประมูลฯ  ระหว่างเดือนพ.ค. จะตรวจสอบคุณสมบัติเบื้องต้นผู้เข้าร่วมประมูลฯ ในเดือนมิ.ย. คาดว่าจะประกาศรายชื่อผู้ผ่านคุณสมบัติและเปิดให้มีการยื่นประมูลโดยผู้ยื่นประมูล สามารถเข้าศึกษาข้อมูลพื้นที่แปลงสำรวจ G1/61 (แหล่งเอราวัณ) และ G2/61 (แหล่งบงกช)  ได้ตั้งแต่ 7 มิ.ย.- 21 ก.ย. 2561 เดือนธ.ค. คาดว่าจะคัดเลือกผู้ชนะการประมูล และคาดว่าในเดือน ก.พ.2562 จะสามารถลงนามสัญญากับผู้ชนะการประมูล  โดยการเปิดประมูลฯ ครั้งนี้ ส่งผลดีกับประเทศชาติ เพราะเพิ่มโอกาส การผลิตก๊าซธรรมชาติในอ่าวไทย เกิดความมั่นคงด้านพลังงานในระยะยาว ก๊าซธรรมชาติเป็นเชื้อเพลิงในการผลิตไฟฟ้าในต้นทุนที่เกิดการแข่งขันได้ ไม่กระทบต่อการพัฒนาเศรษฐกิจ เกิดการผลิตก๊าซปิโตรเลียมเหลว (แอลพีจี) ป้อนประเทศ  รวมไปถึงการสร้างมูลค่าเพิ่มให้อุตสาหกรรมปิโตรเคมี ที่เป็นสิ่งจำเป็นในชีวิตประจำวันต่างๆ และที่สำคัญสร้างรายได้ให้แก่ประเทศ

2.) แผนพัฒนากำลังผลิตไฟฟ้า (PDP) ของประเทศฉบับใหม่ ที่จะให้ความสำคัญใน 3 ด้าน คือ 1. ด้านความมั่นคงทางพลังงาน ทั้งระบบผลิตไฟฟ้า ระบบส่งไฟฟ้า และระบบจำหน่ายไฟฟ้า รายพื้นที่ โดยคำนึงถึงอัตราการเจริญเติบโตทางเศรษฐกิจ อัตราเพิ่มของประชากร และอัตราการขยายตัว ของเขตเมืองในระดับประเทศและระดับภูมิภาค การกระจายสัดส่วนเชื้อเพลิง และ มีโรงไฟฟ้าเพื่อความมั่นคงในระดับที่ เหมาะสมมีการพัฒนาระบบโครงข่ายไฟฟ้าสมาร์ทกริด เพื่อรองรับการพัฒนาระบบไฟฟ้าขนาดเล็กแบบกระจายศูนย์ ส่งเสริมการใช้พลังงานอย่างมีประสิทธิภาพ

2. ด้านเศรษฐกิจ คำนึงถึงต้นทุนการผลิตไฟฟ้าที่เหมาะสม ส่งเสริมการผลิตไฟฟ้าที่มีต้นทุนต่ำ เพื่อลดภาระผู้ใช้ไฟฟ้า และมีการปรับปรุงการบริหารจัดการต้นทุนการผลิตไฟฟ้าของประเทศอย่างมีประสิทธิภาพ และ 3. ด้านสิ่งแวดล้อม ลดผลกระทบ ด้านสิ่งแวดล้อม โดยมีเป้าหมายในการลดการปลดปล่อยก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ต่อหน่วยการผลิตไฟฟ้าของโรงไฟฟ้าในปลายแผนไม่เกิน 0.319 kgCO2/kWh ส่งเสริมระบบไฟฟ้าแบบไมโครกริด ในพื้นที่ห่างไกล พื้นที่นิคมอุตสาหกรรมหรือเขตเศรษฐกิจพิเศษ ส่งเสริมประสิทธิภาพในระบบไฟฟ้าจะสามารถชะลอการสร้างโรงไฟฟ้าใหม่

รมว.พลังงาน ลงพื้นที่ตรวจราชการ จ.บุรีรัมย์ และสุรินทร์ ติดตามโครงการสนับสนุนลงทุนปรับเปลี่ยนอุปกรณ์ในโรงพยาบาลภาครัฐ

รมว.พลังงาน ลงพื้นที่ตรวจราชการ จ.บุรีรัมย์ และสุรินทร์ ติดตามโครงการสนับสนุนลงทุนปรับเปลี่ยนอุปกรณ์ในโรงพยาบาลภาครัฐ ชี้โรงพยาบาลสตึก หลังเข้าร่วมโครงการฯ สามารถลดค่าไฟฟ้าได้ประมาณ 360,000 บาท/ปี ด้วยเงินลงทุนรวม 560,000 บาท พร้อมตรวจเยี่ยมโครงการสูบน้ำพลังงานแสงอาทิตย์ช่วยภัยแล้ง ซึ่งกระทรวงพลังงานได้ดำเนินการสร้างในจังหวัดบุรีรัมย์รวม 35 ระบบ ครอบคลุมพื้นที่ 8,433 ไร่ มั่นใจภาพรวมสร้างคุณภาพชีวิตเกษตรกรให้ดีขึ้น รวมทั้งเข้าเยี่ยมชมโรงไฟฟ้ามุ่งเจริญกรีนพาวเวอร์ โรงไฟฟ้าชีวมวลที่รับซื้อวัสดุเหลือใช้ภาคเกษตรกรรมปีละประมาณ 130 ล้านบาท และจ้างงาน ในท้องถิ่นกว่า 170 ตำแหน่ง
​นายศิริ จิระพงษ์พันธ์ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงพลังงาน พร้อมด้วยคณะผู้บริหารระดับสูงจากกระทรวงพลังงาน ได้เดินทางลงพื้นที่ตรวจราชการในจังหวัดบุรีรัมย์และสุรินทร์ (ระหว่างวันที่ 7-8 พ.ค.2561) ซึ่งเป็นภารกิจก่อนการประชุมคณะรัฐมนตรีนอกสถานที่ โดยกระทรวงพลังงานได้ติดตามโครงการด้านพลังงานที่สำคัญ ๆ ทั้งด้านการสนับสนุนการเพิ่มประสิทธิภาพการใช้พลังงาน การใช้ประโยชน์จากพลังงานทดแทน เพื่อสร้างคุณภาพชีวิตที่ดีขึ้นให้แก่ประชาชนในพื้นที่ โดยการตรวจเยี่ยมโครงการที่สำคัญๆ ได้แก่
​โครงการสนับสนุนการลงทุนการปรับเปลี่ยนอุปกรณ์ในโรงพยาบาลของรัฐ (Matching Fund) ซึ่งดำเนินการโดยกรมพัฒนาพลังงานทดแทนและอนุรักษ์พลังงาน (พพ.) ที่ได้เข้าสนับสนุนการปรับเปลี่ยนอุปกรณ์ด้านพลังงานในโรงพยาบาลสตึก อ.สตึก จ.บุรีรัมย์ โดยลักษณะโครงการฯ พพ. ได้ให้การสนับสนุนเงินลงทุนร้อยละ 70 ของการเงินลงทุน โดยได้สนับสนุนใน 2 มาตรการที่สำคัญ ได้แก่ การเปลี่ยนหลอดฟลูออเรสเซนต์ 36 วัตต์ เป็นหลอดแอลอีดี 18 วัตต์ จำนวน 1,047 หลอด เปลี่ยนหลอดฟลูออเรสเซนต์ 18 วัตต์ เป็นหลอดแอลดีดี 9 วัตต์ จำนวน 30 หลอด และการติดตั้งเครื่องปรับอากาศแบบอินเวอร์เตอร์ ทดแทนเครื่องปรับอากาศแบบเดิม ซึ่งจากการสนับสนุนดังกล่าว โรงพยาบาลสตึกสามารถลดการใช้ไฟฟ้าได้ประมาณ 92,000 กิโลวัตต์ชั่วโมงต่อปี คิดเป็นเงินที่ประหยัดได้สูงถึงประมาณปีละ 360,000 บาท และสามารถคืนทุนได้เพียง 1 ปีเศษ
​ โครงการระบบสูบน้ำพลังงานแสงอาทิตย์สู้ภัยแล้ง ณ กลุ่มวิสาหกิจชุมชนกลุ่มอินทรีย์บ้านโนนสำราญ อ.ลำปลายมาศ จ.บุรีรัมย์ ที่เป็นตัวอย่างวิสาหกิจที่ประสบความสำเร็จ โดยจากภาพรวมโครงการหลักทั้งหมด ซึ่งกระทรวงพลังงานได้สนับสนุนทั่วพื้นที่จังหวัดบุรีรัมย์ทั้งสิ้น 35 ระบบ ครอบคลุมพื้นที่ 8,433 ไร่ และมีเกษตรกรได้ประโยชน์ถึง 279 ราย นอกจากนี้ยังได้เพิ่มการใช้พลังงานแสงอาทิตย์ 54,000 วัตต์ ช่วยให้เกษตรกรลดการใช้น้ำมันดีเซล 13,211 ลิตรต่อปี หรือช่วยลดค่าใช้จ่ายได้ประมาณปีละ 340,000 บาท
​การเข้าเยี่ยมชมโรงไฟฟ้าชีวมวลมุ่งเจริญ ไบโอแมส ซึ่งมีกำลังการผลิตกระแสไฟฟ้า 17 เมกะวัตต์ และได้ตอบสนองความต้องการใช้ไฟฟ้าของชาว อ.เมือง จ.สุรินทร์ ได้ประมาณ 33% โดยโรงไฟฟ้าชีวมวลมุ่งเจริญ ฯ ได้ทำสัญญาขายไฟฟ้ากับการไฟฟ้า ฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทย (กฟผ.) 15.5 เมกะวัตต์ เป็นระยะเวลา 25 ปี เริ่มจำหน่ายไฟฟ้าเชิงพาณิชย์ระบบ 115 เควี ของการไฟฟ้าส่วนภูมิภาค เมื่อวันที่ 5 กันยายน 2555
​โดยโรงไฟฟ้าฯ ใช้เชื้อเพลิงแกลบเป็นหลัก ปีละประมาณ 100,000 ตัน ประมาณร้อยละ 40-60% ส่วนวัตถุดิบที่เหลือ เป็นเศษไม้และเปลือกไม้ ทำให้เกิดมูลค่าเพิ่มในวัสดุเหลือใช้ภาคเกษตรกรรมปีละประมาณ 130 ล้านบาท ลดก๊าซเรือนกระจก ปีละประมาณ 70,000 ตัน ลดการใช้ก๊าซธรรมชาติปีละประมาณ 10,000 ล้านลูกบาศก์ฟุต หรือคิดเป็นเงินกว่า 300 ล้านบาท จ้างงานแรงงานในท้องถิ่นกว่า 170 ตำแหน่ง ช่วยลดปัญหาการอพยพแรงงาน ส่งผลให้สถาบันครอบครัวมีความอบอุ่น และเข้มแข็งขึ้น
​นอกจากนี้ ภายหลังการประชุมครม. นอกสถานที่ (ในวันอังคารที่ 8 พ.ค.) รัฐมนตรีว่าการกระทรวงพลังงาน จะได้มอบนโยบายการดำเนินงานให้แก่พลังงานจังหวัดในเขตพื้นที่ (สุรินทร์ บุรีรัมย์ นครราชสีมา ชัยภูมิ อุบลราชธานี ยโสธร ศรีสะเกษ อำนาจเจริญ รวมทั้งยังได้เดินทางไปตรวจเยี่ยมโครงการเจาะสำรวจปิโตรเลียมบนบก แปลงสำรวจหมายเลข L31/50 หลุมเจาะสำรวจ YPT7 ณ บ้านหนองสรวง อ.แคนดง จ.บุรีรัมย์

กระทรวงพลังงาน เปิดให้ดาวน์โหลด เพื่อรับเอกสารการประมูลยื่นขอสิทธิสำรวจและผลิตปิโตรเลียมแปลงสำรวจในทะเลอ่าวไทย

กรมเชื้อเพลิงธรรมชาติ กระทรวงพลังงาน เปิดให้ดาวน์โหลด เพื่อรับเอกสารการประมูลยื่นขอสิทธิสำรวจและผลิตปิโตรเลียมแปลงสำรวจในทะเลอ่าวไทย หมายเลข G1/61 และ G2/61

ผู้สนใจสามารถดาวน์โหลดได้ที่เว็บไซต์ http:// bidding2018.dmf.go.th/

กพช. มีมติรับทราบ การดำเนินงานของกรมเชื้อเพลิงธรรมชาติ

กพช. มีมติรับทราบ การดำเนินงานของกรมเชื้อเพลิงธรรมชาติ กระทรวงพลังงาน ในการเปิดประมูลแหล่งก๊าซธรรมชาติ ที่กำลังจะสิ้นอายุสัมปทาน ในปี 2665-2566 (แหล่งเอราวัณและแหล่งบงกช) โดยออกประกาศเชิญชวน ในวันที่ 24 เมษายน 2561

วันนี้ (23 เมษายน 61) ณ ทำเนียบรัฐบาล การประชุมคณะกรรมการนโยบายพลังงานแห่งชาติ (กพช.) ครั้งที่ 2/2561 (ครั้งที่ 15) ซึ่งมี พลเอก ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรี เป็นประธาน ได้รับทราบการดำเนินงานของกรมเชื้อเพลิงธรรมชาติ กระทรวงพลังงาน ในการเปิดประมูลแหล่งก๊าซธรรมชาติ ที่กำลังจะสิ้นอายุสัมปทาน ในปี 2565-2566 (แหล่งเอราวัณและแหล่งบงกช) โดยให้ออกประกาศเชิญชวนผู้ประกอบการที่สนใจเข้าร่วมประมูล ในวันที่ 24 เมษายน 2561 ตามทีโออาร์การเปิดประมูลระบบสัญญาแบ่งปันผลผลิต (Production Sharing Contract : PSC) โดยได้กำหนดหลักเกณฑ์และเงื่อนไขหลักในการประมูลไว้ ดังนี้

·       ผู้รับสัญญาแบ่งปันผลผลิตต้องผลิตก๊าซธรรมชาติปริมาณการผลิตขั้นต่ำ 800 ล้านลูกบาศก์ฟุตต่อวัน ต่อเนื่องเป็นระยะเวลา10 ปี ในแปลงสำรวจหมายเลข G1/61 และต้องผลิตก๊าซธรรมชาติในปริมาณการผลิตขั้นต่ำ 700 ล้านลูกบาศก์ฟุตต่อวัน ต่อเนื่องเป็นระยะเวลา 10 ปี ในแปลงสำรวจหมายเลข G2/61

·       ผู้เข้าร่วมประมูลจะต้องเสนอราคาก๊าซธรรมชาติที่ไม่สูงไปกว่าราคาเฉลี่ยของราคาก๊าซธรรมชาติในปัจจุบัน ตามสูตรราคาที่กำหนดในเงื่อนไขการประมูล

·       ให้ผู้เข้าร่วมประมูลเสนอสัดส่วนการแบ่งกำไรให้แก่รัฐ ซึ่งจะต้องไม่ต่ำกว่า 50% และเสนอผลประโยชน์พิเศษต่าง ๆ เช่น โบนัสการลงนาม โบนัสการผลิต  และผลประโยชน์พิเศษอื่นๆ

·       ผู้เข้าร่วมประมูลจะต้องเสนอสัดส่วนการจ้างพนักงานไทยไม่ต่ำกว่า 80% ในสิ้นปีที่ 1 และไม่ต่ำกว่า 90% ในสิ้นปีที่ 5 ของการดำเนินงาน

ทั้งนี้ แหล่งก๊าซธรรมชาติเอราวัณและบงกช เป็นแหล่งก๊าซธรรมชาติหลักของประเทศ โดยปัจจุบัน ทั้ง 2 แหล่ง  มีกำลังการผลิตรวมอยู่ที่ 2,110 ล้านลูกบาศก์ฟุตต่อวัน คิดเป็น 75% ของก๊าซธรรมชาติที่ผลิตได้ในอ่าวไทย สำหรับกลุ่มแหล่งเอราวัณมีปริมาณการผลิต 1,240 ล้านลูกบาศก์ฟุตต่อวัน ซึ่งอยู่ภายใต้ การดำเนินงานของบริษัท เชฟรอนประเทศไทยสำรวจและผลิต จำกัด ตามสัญญาสัมปทาน เลขที่ 1/2515/5 และเลขที่ 2/2515/6 ซึ่งจะสิ้นอายุสัมปทาน วันที่ 23 เมษายน 2565 ขณะที่กลุ่มแหล่งบงกชมีปริมาณการผลิต 870 ล้านลูกบาศก์ฟุตต่อวัน ซึ่งอยู่ภายใต้การดำเนินงานของ บริษัท ปตท.สำรวจและผลิตปิโตรเลียม จำกัด (มหาชน) ตามสัญญาสัมปทาน เลขที่ 5/2515/9  โดยจะสิ้นอายุสัมปทาน วันที่ 23 เมษายน 2565 และสัญญาสัมปทาน เลขที่ 3/2515/7 และจะสิ้นอายุสัมปทาน วันที่ 7 มีนาคม 2566

รายงานการประชุมคณะกรรมการบริหารนโยบายพลังงาน (กบง.)

รายงานการประชุมคณะกรรมการบริหารนโยบายพลังงาน (กบง.)
วันศุกร์ที่ 20 เมษายน 2561

*****************************

การปรับปรุงหลักเกณฑ์การคำนวณ ราคา ณ โรงกลั่น สำหรับน้ำมันเชื้อเพลิง

วันนี้ (20 เมษายน 2561) ที่กระทรวงพลังงาน ดร. ศิริ จิระพงษ์พันธ์ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงพลังงาน
ได้กล่าวถึงการพิจารณาของคณะกรรมการบริหารนโยบายพลังงาน (กบง.) เกี่ยวกับการปรับปรุงหลักเกณฑ์การคำนวณ ราคา ณ โรงกลั่น สำหรับน้ำมันเชื้อเพลิง ว่า

“จากรายงานการศึกษาของสำนักงานนโยบายและแผนพลังงาน (สนพ.) เปรียบเทียบการคำนวณราคา ณ โรงกลั่น สำหรับน้ำมันเชื้อเพลิง (ดีเซล เบนซิน และ แก๊สโซฮอล) ระหว่างเกณฑ์ที่ใช้ในปัจจุบัน ซึ่งใช้ราคา FOB สิงคโปร์ สำหรับเกรดน้ำมัน Euro III เป็นฐาน แล้วบวกด้วยค่าปรับปรุงคุณภาพให้เป็นเกรดน้ำมัน Euro IV ที่ใช้ในเมืองไทย และบวกด้วยค่าใช้จ่าย (เทียบเท่า) การขนส่งน้ำมันเชื้อเพลิงจากสิงคโปร์ กับการอ้างอิงราคา FOB สิงคโปร์ สำหรับเกรดน้ำมัน Euro IV เป็นฐาน แล้วบวกเฉพาะค่าใช้จ่าย (เทียบเท่า) การขนส่งน้ำมันเชื้อเพลิงจากสิงคโปร์ ซึ่งที่ประชุม กบง. ได้มีมติเห็นชอบให้ใช้เกณฑ์ราคา Euro IV เป็นฐาน เนื่องจากสามารถสะท้อนสภาวะการแข่งขันในตลาดสากลได้ใกล้เคียงตามความเป็นจริงได้มากกว่า และหากเปรียบเทียบราคา ณ โรงกลั่น ของวันนี้
(20 เมษายน 2561) ที่คำนวณตามวิธีเดิม (ใช้ Euro III เป็นฐาน) กับ ตามวิธีใหม่ (ใช้ Euro IV เป็นฐาน) แล้ว
จะส่งผลให้ราคา ณ โรงกลั่น สำหรับน้ำมันเชื้อเพลิง ลดลง 41 สตางค์ต่อลิตร สำหรับน้ำมันดีเซล และ 61 สตางค์ต่อลิตร สำหรับแก๊สโซฮอล 91 (E10)

ประกอบกับการที่ได้มีการประกาศในราชกิจจานุเบกษาในวันนี้ ถึงมติคณะกรรมการนโยบายพลังงานแห่งชาติ (กพช.) ที่อนุมัติให้ปรับลดอัตราเงินส่งเข้ากองทุนเพื่อส่งเสริมการอนุรักษ์พลังงาน สำหรับน้ำมันเบนซิน แก๊สโซฮอล และดีเซล ลง 15 สตางค์ต่อลิตร เป็นระยะเวลา 2 ปี จะส่งผลให้ราคาขายส่ง (ก่อนรวมค่าการตลาดและ
จัดจำหน่ายตามสถานีบริการ) สามารถลดลงได้ 60 – 80 สตางค์ต่อลิตร

ทั้งนี้ ดร. ศิริ ได้กล่าวเสริมว่า การปรับโครงสร้างเกณฑ์การคำนวณราคา ณ โรงกลั่น และการปรับลดอัตราเงิน
ส่งเข้ากองทุนเพื่อส่งเสริมการอนุรักษ์พลังงาน ในวันนี้ จะช่วยลดผลกระทบของการที่ราคาน้ำมันดิบในตลาดโลก
ได้เพิ่มขึ้นมากในช่วง 2-3 สัปดาห์ ที่ผ่านมา ต่อผู้บริโภค เทียบเท่ากับราคาน้ำมันดิบเพิ่มขึ้น/ลดลง 3.00 – 4.00 เหรียญต่อบาเรล”

 

รัฐมนตรีว่าการกระทรวงพลังงาน เข้าร่วมงานสืบสานวัฒนธรรมประเพณีสงกรานต์ ประจำปี 2561

วันนี้ (10 เม.ย. 61) พลเอก ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรี เป็นประธานในพิธีงานสืบสานวัฒนธรรมประเพณีสงกรานต์ ประจำปี 2561 ซึ่งในงานประกอบด้วยพิธีสงฆ์เจริญพระพุทธมนต์ พิธีทำบุญตักบาตร พิธีสรงน้ำพระ และพิธีรดน้ำดำหัว เพื่อเป็นการแสดงความเคารพ ความกตัญญูต่อผู้ใหญ่และผู้มีพระคุณ โดยนายศิริ จิระพงษ์พันธ์ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงพลังงาน เข้าร่วมงาน ณ ทำเนียบรัฐบาล

รัฐมนตรีว่าการกระทรวงพลังงาน เป็นประธานเปิดตัวโครงการตรวจเช็คเครื่องยนต์เพื่อประหยัดพลังงาน PTT Engine Tune Up

ตรวจสภาพรถยนต์ฟรีกับ ปตท. เพิ่มความปลอดภัยพร้อมรับสงกรานต์ ด้วยบริการตรวจเช็คเครื่องยนต์ฟรี 25 รายการ 138 แห่งทั่วประเทศ ณ สถานีบริการ ปตท. 57 แห่ง ศูนย์บริการ  Pro Check 47 แห่ง และศูนย์บริการ FIT Auto 34 แห่งทั่วประเทศที่ร่วมโครงการ ตั้งแต่วันนี้ถึงวันที่ 5 เมษายน 61 เตรียมพร้อมรับการเดินทางช่วงเทศกาลสงกรานต์

ดร.ศิริ  จิระพงษ์พันธ์ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงพลังงาน เป็นประธานในพิธีเปิดตัวโครงการตรวจเช็คเครื่องยนต์เพื่อประหยัดพลังงาน PTT Engine Tune Up พร้อมด้วย นายอรรถพล ฤกษ์พิบูลย์  ประธานเจ้าหน้าที่ปฏิบัติการกลุ่มธุรกิจปิโตรเลียมขั้นปลาย บริษัท ปตท. จำกัด (มหาชน) เพื่อร่วมรณรงค์สร้างจิตสำนึกด้านความปลอดภัยด้วยการตรวจเช็คเครื่องยนต์ตามมาตรฐานก่อนการเดินทาง ลดใช้พลังงาน ลดผลกระทบจากมลภาวะทางอากาศ และเพิ่มความปลอดภัยในการเดินทางแก่ผู้ใช้รถใช้ถนน ตั้งแต่วันนี้ถึงวันที่ 5 เมษายน 2561

ดร.ศิริ เปิดเผยว่า รัฐบาลมีความตระหนักถึงปัญหาด้านความปลอดภัยในการใช้รถใช้ถนนซึ่งสาเหตุประการหนึ่งเกิดขึ้นจากสภาพเครื่องยนต์ที่ไม่มีความพร้อมสำหรับการเดินทางไกลในช่วงเทศกาลวันหยุดสงกรานต์นี้ จึงสนับสนุนในการดำเนิน โครงการ “PTT ENGINE TUNE UP” ขึ้น โดย ปตท. จัดโครงการอย่างต่อเนื่อง นับเป็นตัวอย่างอันดีที่จะช่วยขับเคลื่อนให้สังคมไทยเกิดการตื่นตัวเรื่องความปลอดภัยในการใช้รถใช้ถนน โดยหันมาใส่ใจตรวจเช็คเพื่อเพิ่มประสิทธิภาพของเครื่องยนต์ให้มีความพร้อม สร้างจิตสำนึกแก่ผู้ใช้รถให้เห็นความสำคัญของการดูแลรักษาสภาพเครื่องยนต์ ช่วยเพิ่มความปลอดภัยและช่วยประหยัดพลังงาน เตรียมพร้อมให้ช่วงเทศกาลสงกรานต์นี้ เป็นช่วงเวลาแห่งความสุขของครอบครัวที่จะได้เดินทางพบปะ ท่องเที่ยวอยู่อย่างพร้อมหน้าพร้อมตากัน

นายอรรถพล เปิดเผยว่า ปตท. จัดกิจกรรมให้บริการตรวจสภาพรถยนต์ฟรีแก่ประชาชน ภายใต้ โครงการ PTT Engine Tune Up ตั้งแต่ปี 2547 เป็นต้นมา เกิดขึ้นด้วยเจตนารมณ์ในการลดอุบัติเหตุจากการขับขี่ซึ่งมีสาเหตุจากสภาพเครื่องยนต์รถที่ไม่มีความพร้อมในการเดินทาง และเพื่อให้ประชาชนตระหนักถึงการใช้น้ำมันเชื้อเพลิงอย่างมีประสิทธิภาพสูงสุดเพราะรถที่เข้ารับการตรวจสภาพจะช่วยประหยัดน้ำมันได้ถึงร้อยละ 5 อีกทั้งยังช่วยลดปัญหามลภาวะทางอากาศเนื่องจากรถยนต์ที่ผ่านการตรวจสภาพแล้ว จะมีการปล่อยไอเสียลดลง ช่วยบรรเทาภาวะโลกร้อน รวมถึงเป็นการสนับสนุนให้อาจารย์และนักศึกษาอาชีวศึกษาทั่วประเทศ จำนวน 399 คน ใช้เวลาว่างจากการปิดภาคเรียนให้เกิดประโยชน์แก่สังคม ตลอดจนมีรายได้เสริม โดยผู้สนใจสามารถตรวจสอบรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ www.pttplc.com และ PTT Contact Center โทร. 1365

กระทรวงพลังงาน เป็นเจ้าภาพประชุมเวที ASEAN + 3

กระทรวงพลังงาน เป็นเจ้าภาพประชุมเวที ASEAN + 3 ด้านตลาดน้ำมัน ก๊าซธรรมชาติ แผนการสำรองน้ำมัน และหารือเพื่อสร้างความมั่นคงด้านพลังงาน ระหว่าง 27 – 30 มี.ค. ชี้ที่ประชุมฯ เชื่อน้ำมันยังเป็นเชื้อเพลิงสำคัญ ที่มีการลงทุนต่อเนื่องท่ามกลางยุคยานยนต์ไฟฟ้า พร้อม LNG จะเกิดการพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานต่อเนื่อง ระบุในอนาคตมีโอกาสสำรองน้ำมันร่วมกันในภูมิภาค

ระหว่างวันที่ 27 – 30 มี.ค. 2561 ที่ผ่านมา กระทรวงพลังงานได้รับเกียรติเป็นเจ้าภาพจัดการประชุมสำคัญด้านตลาดการค้าน้ำมันและก๊าซธรรมชาติ แผนงานการสำรองน้ำมัน และด้านความมั่นคงด้านพลังงาน ภายใต้ความร่วมมือ ASEAN+3 ได้แก่ การประชุม The 7th ASEAN+3 Oil Market and Natural Gas Forum (OM&NG) and Business dialogue , The 6th Workshop of the ASEAN+3 Oil Stockpiling Road Map (OSRM) , The 15th ASEAN+3 Energy Security Forum (ESF)

การประชุมฯ ครั้งนี้ มีผู้แทนจากประเทศสมาชิกอาเซียนบวก 3 (จีน ญี่ปุ่น และเกาหลีใต้) คณะมนตรีอาเซียนด้านปิโตรเลียม หรือ ASEAN Council on Petroleum (ASCOPE) ศูนย์พลังงานอาเซียน ASEAN Centre on Energy (ACE) และสถาบันการเงิน อาทิ Asian Development Bank (ADB) เป็นต้น ซึ่งในที่ประชุม ฯ มีการหารือเกี่ยวกับการส่งเสริมความมั่นคงด้านพลังงาน แลกเปลี่ยนข้อมูล ประสบการณ์ และข้อคิดเห็น ตลอดจนแนวทางความร่วมมือระหว่างชาติสมาชิกอาเซียนบวกสามในอนาคต และพิธีเปิดการประชุมฯ เมื่อวันที่ 27 มีค. ได้รับเกียรติจากนายประเสริฐ สินสุขประเสริฐ ผู้ตรวจราชการกระทรวงพลังงานเป็นประธาน

ทั้งนี้ ข้อสรุปจากการหารือร่วมกันในประชุม ฯ ที่สำคัญ ๆ ได้แก่
1.) เวทีด้านตลาดน้ำมันก๊าซธรรมชาติ และการหารือภาคธุรกิจพลังงาน
ที่ประชุม ฯ มีความเห็นว่า ปัจจุบันน้ำมันยังเป็นเชื้อเพลิงสำคัญ แม้ว่าจะมีพลังงานทดแทนและเทคโนโลยีสมัยใหม่เข้ามา เช่น พลังงานแสงอาทิตย์ พลังงานลม รถยนต์ไฟฟ้า และระบบกักเก็บพลังงาน โดยโดยสถาบันวิจัยระหว่างประเทศหลายแห่ง คาดการณ์ว่าความต้องการด้านน้ำมันและก๊าซธรรมชาติ และLNG ในภูมิภาคอาเซียนจะเพิ่มขึ้น โดยเฉพาะก๊าซธรรมชาติคาดว่าจะเพิ่มขึ้นอย่างน้อย 33% ในปี 2573 (หากการดำเนินธุรกิจเป็นเช่นนี้ในอนาคต) และศักยภาพในการลงทุนด้านโครงสร้างพื้นฐานยังมีสูง เช่น ท่าเรือรองรับ LNG และโครงข่ายท่อก๊าซธรรมชาติ ซึ่งสะท้อนถึงโอกาสในการลงทุนที่เพิ่มขึ้นของตลาดน้ำมันและก๊าซธรรมชาติในภูมิภาค

โดยในเวทีการประชุมฯ ยังได้เชิญสถาบันการเงิน เช่น ADB หรือผู้เชี่ยวชาญจากญี่ปุ่นในการนำเสนอแหล่งทุนจากญี่ปุ่น ซึ่งได้เปิดโอกาสให้สมาชิกอาเซียนพบปะ และถือโอกาสรับการสนับสนุนทางด้านการเงิน ในการลงทุนในมิติต่างๆ อาทิ โรงไฟฟ้าจากเชื้อเพลิงก๊าซธรรมชาติที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม การพัฒนาแหล่งก๊าซธรรมชาติ การขนส่งและกระจายก๊าซธรรมชาติไปยังโรงแยกก๊าซ การกระจายผลิตภัณฑ์จากปิโตรเลียม ตลอดจน การพัฒนาเพื่อเพิ่มประสิทธิภาพและความปลอดภัยในด้านการขนส่งน้ำมันและ LNG ซึ่งถือว่าเป็นการส่งเสริมเรื่องการซื้อขายไฟฟ้าและก๊าซธรรมชาติในภูมิภาคอีกด้วย

นอกจากนี้ ตลาดในภูมิภาคอาเซียน ซึ่งเป็นตลาดใหม่ด้าน LNG จะได้รับการช่วยเหลือจากญี่ปุ่น โดย Japan Oil, Gas and Metals National Corporation (JOGMEC) ในการจัด Capacity Building Training Programme on LNG รวมทั้งด้านต่างๆ ที่เกี่ยวข้อง ซึ่งจะเริ่มดำเนินการในปี 2561 และประเทศไทยจะได้ประโยชน์จากกิจกรรมนี้ เพื่อส่งเสริมในเรื่องการเป็นตลาด LNG ของภูมิภาคในอนาคตต่อไป

2.) เวทีด้านการสำรองน้ำมัน
ที่ประชุม ฯ ได้หารือแนวทางการจัดทำยุทธศาสตร์การสำรองน้ำมันในภูมิภาคอาเซียน ซึ่งถือว่ามีความจำเป็นในการเสริมสร้างความมั่นคงทางด้านพลังงานของอาเซียนในอนาคต เนื่องจากระดับการพัฒนาการสำรองน้ำมันในแต่ละประเทศในภูมิภาคนี้มีความแตกต่างกัน ทั้งในเชิงนโยบาย กฎหมายและแนวทางปฏิบัติ ซึ่งประเทศญี่ปุ่นโดย The Institute of Electrical Engineers of Japan (IEEJ) ได้นำเสนอผลการศึกษาศักยภาพของการสำรองน้ำมัน รวมทั้งหารือแนวทางความร่วมมือในการสำรองน้ำมันทางยุทธศาสตร์ และการพัฒนาขีดความสามารถของสมาชิกอาเซียนต่อไปในอนาคต ทั้งนี้ ชาติในอาเซียนยังคงต้องการเงินลงทุน และการเสริมสร้างศักยภาพจากประเทศจีน ญี่ปุ่น และเกาหลีใต้ เพื่อพัฒนาการสำรองน้ำมันเชิงยุทธศาสตร์ โดยญี่ปุ่นได้เสนอแนวทางการศึกษา และพัฒนาขีดความสามารถให้บุคลากรอาเซียน ซึ่งไทยจะได้รับประโยชน์ในการเข้าร่วมดังกล่าวด้วย
3.) เวทีด้านความมั่นคงพลังงาน ที่ประชุม ฯ ได้มีการนำเสนอผลการศึกษาเกี่ยวกับแนวโน้มของตลาดพลังงานโลกและอาเซียน ซึ่งคาดว่าความต้องการใช้พลังงานในภูมิภาคอาเซียนและบวกสาม (จีน ญี่ปุ่น เกาหลี) ยังคงเป็นภูมิภาคที่มีความต้องการใช้พลังงานมากที่สุดภูมิภาคหนึ่งของโลก โดยถ่านหินและเทคโนโลยีถ่านหินสะอาดยังเป็นแหล่งเชื้อเพลิงสำคัญในภูมิภาคนี้ในอนาคต นอกจากนี้ ที่ประชุมได้มีการหารือแนวทางในการส่งเสริมความมั่นคงด้านพลังงานในมิติของน้ำมันและก๊าซธรรมชาติ ในเชิงการสำรองน้ำมันในอาเซียนและการพัฒนาความตกลงอาเซียนว่าด้วยความมั่นคงทางปิโตรเลียม (ASEAN Petroleum Security Agreement : APSA) ให้สามารถนำมาใช้ในเชิงปฏิบัติได้ในอนาคต ตลอดจนหาแนวทางเพิ่มศักยภาพของอาเซียนโดยนำมิติของเทคโนโลยีถ่านหินสะอาด รวมทั้งสนับสนุนความร่วมมือให้มากขึ้นจากประเทศบวกสาม (จีน ญี่ปุ่น เกาหลี)

กระทรวงพลังงาน เป็นเจ้าภาพประชุมเวที ASEAN + 3 ด้านตลาดน้ำมัน ก๊าซธรรมชาติ แผนการสำรองน้ำมัน และหารือเพื่อสร้างความมั่นคงด้านพลังงาน

ก.พลังงาน เป็นเจ้าภาพประชุมเวที ASEAN + 3 ด้านตลาดน้ำมัน ก๊าซธรรมชาติ แผนการสำรองน้ำมัน และหารือเพื่อสร้างความมั่นคงด้านพลังงาน ระหว่าง 27 – 30 มี.ค. ชี้ที่ประชุมฯ เชื่อน้ำมันยังเป็นเชื้อเพลิงสำคัญ ที่มีการลงทุนต่อเนื่องท่ามกลางยุคยานยนต์ไฟฟ้า พร้อม LNG จะเกิดการพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานต่อเนื่อง ระบุในอนาคตมีโอกาสสำรองน้ำมันร่วมกันในภูมิภาค

ระหว่างวันที่ 27 – 30 มี.ค. 2561 ที่ผ่านมา กระทรวงพลังงานได้รับเกียรติเป็นเจ้าภาพจัดการประชุมสำคัญด้านตลาดการค้าน้ำมันและก๊าซธรรมชาติ แผนงานการสำรองน้ำมัน และด้านความมั่นคงด้านพลังงาน ภายใต้ความร่วมมือ ASEAN+3 ได้แก่ การประชุม The 7th ASEAN+3 Oil Market and Natural Gas Forum (OM&NG) and Business dialogue , The 6th Workshop of the ASEAN+3 Oil Stockpiling Road Map (OSRM) , The 15th ASEAN+3 Energy Security Forum (ESF) การประชุมฯ ครั้งนี้ มีผู้แทนจากประเทศสมาชิกอาเซียนบวก 3 (จีน ญี่ปุ่น และเกาหลีใต้) คณะมนตรีอาเซียนด้านปิโตรเลียม หรือ ASEAN Council on Petroleum (ASCOPE) ศูนย์พลังงานอาเซียน ASEAN Centre on Energy (ACE) และสถาบันการเงิน อาทิ Asian Development Bank (ADB) เป็นต้น ซึ่งในที่ประชุม ฯ มีการหารือเกี่ยวกับการส่งเสริมความมั่นคงด้านพลังงาน แลกเปลี่ยนข้อมูล ประสบการณ์และข้อคิดเห็น ตลอดจนแนวทางความร่วมมือระหว่างชาติสมาชิกอาเซียนบวกสามในอนาคต และพิธีเปิดการประชุมฯ เมื่อวันที่ 27 มีค. ได้รับเกียรติจากนายประเสริฐ สินสุขประเสริฐ ผู้ตรวจราชการกระทรวงพลังงาน เป็นประธาน ทั้งนี้ ข้อสรุปจากการหารือร่วมกันในประชุม ฯ ที่สำคัญ ๆ ได้แก่

1.) เวทีด้านตลาดน้ำมันก๊าซธรรมชาติ และการหารือภาคธุรกิจพลังงาน ที่ประชุม ฯ มีความเห็นว่า ปัจจุบันน้ำมันยังเป็นเชื้อเพลิงสำคัญ แม้ว่าจะมีพลังงานทดแทนและเทคโนโลยีสมัยใหม่เข้ามา เช่น พลังงานแสงอาทิตย์ พลังงานลม รถยนต์ไฟฟ้า และระบบกักเก็บพลังงาน โดยโดยสถาบันวิจัยระหว่างประเทศหลายแห่ง คาดการณ์ว่าความต้องการด้านน้ำมันและก๊าซธรรมชาติ และLNG ในภูมิภาคอาเซียนจะเพิ่มขึ้น โดยเฉพาะก๊าซธรรมชาติคาดว่าจะเพิ่มขึ้นอย่างน้อย 33% ในปี 2573 (หากการดำเนินธุรกิจเป็นเช่นนี้ในอนาคต) และศักยภาพในการลงทุนด้านโครงสร้างพื้นฐานยังมีสูง เช่น ท่าเรือรองรับ LNG และโครงข่ายท่อก๊าซธรรมชาติ ซึ่งสะท้อนถึงโอกาสในการลงทุนที่เพิ่มขึ้นของตลาดน้ำมันและก๊าซธรรมชาติในภูมิภาค โดยในเวทีการประชุมฯ ยังได้เชิญสถาบันการเงิน เช่น ADB หรือผู้เชี่ยวชาญจากญี่ปุ่นในการนำเสนอแหล่งทุนจากญี่ปุ่น ซึ่งได้เปิดโอกาสให้สมาชิกอาเซียนพบปะ และถือโอกาสรับการสนับสนุนทางด้านการเงินในการลงทุนในมิติต่างๆ อาทิ โรงไฟฟ้าจากเชื้อเพลิงก๊าซธรรมชาติที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม การพัฒนาแหล่งก๊าซธรรมชาติ การขนส่งและกระจายก๊าซธรรมชาติไปยังโรงแยกก๊าซ การกระจายผลิตภัณฑ์จากปิโตรเลียม ตลอดจน การพัฒนาเพื่อเพิ่มประสิทธิภาพและความปลอดภัยในด้านการขนส่งน้ำมันและ LNG ซึ่งถือว่าเป็นการส่งเสริมเรื่องการซื้อขายไฟฟ้าและก๊าซธรรมชาติในภูมิภาคอีกด้วย นอกจากนี้ ตลาดในภูมิภาคอาเซียน ซึ่งเป็นตลาดใหม่ด้าน LNG จะได้รับการช่วยเหลือจากญี่ปุ่น โดย Japan Oil, Gas and Metals National Corporation (JOGMEC) ในการจัด Capacity Building Training Programme on LNG รวมทั้งด้านต่างๆ ที่เกี่ยวข้อง ซึ่งจะเริ่มดำเนินการในปี 2561 และประเทศไทยจะได้ประโยชน์จากกิจกรรมนี้ เพื่อส่งเสริมในเรื่องการเป็นตลาด LNG ของภูมิภาคในอนาคตต่อไป

2.) เวทีด้านการสำรองน้ำมัน ที่ประชุม ฯ ได้หารือแนวทางการจัดทำยุทธศาสตร์การสำรองน้ำมันในภูมิภาคอาเซียน ซึ่งถือว่ามีความจำเป็นในการเสริมสร้างความมั่นคงทางด้านพลังงานของอาเซียนในอนาคต เนื่องจากระดับการพัฒนาการสำรองน้ำมันในแต่ละประเทศในภูมิภาคนี้มีความแตกต่างกัน ทั้งในเชิงนโยบาย กฎหมายและแนวทางปฏิบัติ ซึ่งประเทศญี่ปุ่นโดย The Institute of Electrical Engineers of Japan (IEEJ) ได้นำเสนอผลการศึกษาศักยภาพของการสำรองน้ำมัน รวมทั้งหารือแนวทางความร่วมมือในการสำรองน้ำมันทางยุทธศาสตร์ และการพัฒนาขีดความสามารถของสมาชิกอาเซียนต่อไปในอนาคต ทั้งนี้ ชาติในอาเซียนยังคงต้องการเงินลงทุน และการเสริมสร้างศักยภาพจากประเทศจีน ญี่ปุ่น และเกาหลีใต้ เพื่อพัฒนาการสำรองน้ำมันเชิงยุทธศาสตร์ โดยญี่ปุ่นได้เสนอแนวทางการศึกษา และพัฒนาขีดความสามารถให้บุคลากรอาเซียน ซึ่งไทยจะได้รับประโยชน์ในการเข้าร่วมดังกล่าวด้วย

3.) เวทีด้านความมั่นคงพลังงาน ที่ประชุม ฯ ได้มีการนำเสนอผลการศึกษาเกี่ยวกับแนวโน้มของตลาดพลังงานโลกและอาเซียน ซึ่งคาดว่าความต้องการใช้พลังงานในภูมิภาคอาเซียนและบวกสาม (จีน ญี่ปุ่น เกาหลี) ยังคงเป็นภูมิภาคที่มีความต้องการใช้พลังงานมากที่สุดภูมิภาคหนึ่งของโลก โดยถ่านหินและเทคโนโลยีถ่านหินสะอาดยังเป็นแหล่งเชื้อเพลิงสำคัญในภูมิภาคนี้ในอนาคต นอกจากนี้ ที่ประชุมได้มีการหารือแนวทางในการส่งเสริมความมั่นคงด้านพลังงานในมิติของน้ำมันและก๊าซธรรมชาติ ในเชิงการสำรองน้ำมันในอาเซียนและการพัฒนาความตกลงอาเซียนว่าด้วยความมั่นคงทางปิโตรเลียม (ASEAN Petroleum Security Agreement : APSA) ให้สามารถนำมาใช้ในเชิงปฏิบัติได้ในอนาคต ตลอดจนหาแนวทางเพิ่มศักยภาพของอาเซียนโดยนำมิติของเทคโนโลยีถ่านหินสะอาด รวมทั้งสนับสนุนความร่วมมือให้มากขึ้นจากประเทศบวกสาม (จีน ญี่ปุ่น เกาหลี)

OMNG

The Ministry of Energy, Thailand is honored and privileged to host the 7th ASEAN +3 Oil market and natural gas forum and businesses dialogue/the 6th workshop of the ASEAN+3 oil stockpiling road map/15th ASEAN+3 Energy Security forum from 27-30 March 2018. For your further information, please click on the link below to download the related documents.

Day 1 (27 March 2018)

 

Day 2 (28 March 2018)

 

Day 3 (29 March 2018)

Day 4 (30 March 2018)

 

 

 

 

 

รมว.พลังงาน ร่วมคณะนายกรัฐมนตรี ลงพื้นที่ จ.หนองบัวลำภู ขับเคลื่อนระบบสูบน้ำด้วยพลังงานแสงอาทิตย์

รมว.พลังงาน ร่วมคณะนายกรัฐมนตรี ลงพื้นที่ จ.หนองบัวลำภู ขับเคลื่อนระบบสูบน้ำด้วยพลังงานแสงอาทิตย์ ช่วยชุมชนในพื้นที่เกษตรกรรมรวมกว่า 3,000 ไร่ เกิดรายได้ที่มั่นคงคุณภาพชีวิตดีขึ้น ตามแนวทางไทยนิยมยั่งยืน

วันที่ 22 มี.ค. 61 นายศิริ จิระพงษ์พันธ์ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงพลังงาน ร่วมคณะตรวจราชการของนายกรัฐมนตรี ติดตามความคืบหน้า การใช้ระบบสูบน้ำบาดาลด้วยพลังงานจากแสงอาทิตย์ เพื่อใช้ในการปลูกผักอินทรีย์ สร้างความมั่นคงด้านรายได้และผลกำไรให้กับชุมชนอย่างมั่นคง โดยชุมชนไม่ต้องเสียงค่าใช้จ่ายในการจัดหาน้ำ เพื่อขับเคลื่อนชุมชนโพธิ์ศรีสำราญ เป็นเมืองเกษตรอินทรีย์ ตามแนวทางไทยนิยมยั่งยืน และเป็นต้นแบบการขยายผล การใช้พลังงานแสงอาทิตย์สูบน้ำ สู้ภัยแล้ง ในพื้นที่เกษตรกรรม กว่า 3,000 ไร่ ทั่วจังหวัดหนองบัวลำภู

โดยระบบสูบน้ำบาดาลด้วยพลังงานจากแสงอาทิตย์ ใช้เงินลงทุน 1.267 ล้านบาท และประกอบด้วย บ่อน้ำบาดาล (ขนาด 5 ลูกบาศก์เมตรต่อชั่วโมง) แผงแปลงพลังงานแสงอาทิตย์ เป็นไฟฟ้า (ขนาด 2,000 วัตต์) ปั้มน้ำ (ขนาด 1.8 แรงม้า) และระบบถังพักน้ำใหญ่เล็ก (รวม 60 ลูกบาศก์เมตร) กระจายพื้นที่กว่า 8 ไร่ ของโครงการเกษตรอินทรีย์โพธิ์ศรีสำราญ สำหรับผู้ร่วมโครงการ 38 ราย และเมื่อขยายโครงการครบ 3,478 ไร่ จะสามารถช่วยเหลือเกษตรได้ถึง 1,868 คน

 

รมว.พน. เป็นประธานเปิดโครงการอบรมให้ความรู้การป้องกันการทุจริต และผลประโยชน์ทับซ้อน

รัฐมนตรีว่าการกระทรวงพลังงาน ให้โอวาทในการเปิดการอบรมให้ความรู้การป้องกันการทุจริต และผลประโยชน์ทับซ้อนแก่ข้าราชการและเจ้าหน้าที่กระทรวงพลังงาน ย้ำให้เจ้าหน้าที่รัฐยึดมั่นในหลักธรรมาภิบาล โปร่งใส สร้างความเชื่อมั่นแก่ประชาชน

วันนี้ (15 มี.ค. 61) ดร.ศิริ จิระพงษ์พันธ์ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงพลังงาน ได้เป็นประธานในการกล่าวเปิดโครงการอบรมให้ความรู้การป้องกันการทุจริต และผลประโยชน์ทับซ้อน เรื่อง “ส่องกล้อง มองไกล กฎหมายคอร์รัปชั่น” โดยมีผู้บริหารระดับสูง ข้าราชการและเจ้าหน้าที่กระทรวงพลังงาน จำนวนกว่า 200 คน เข้าร่วมการอบรม ณ ห้องประชุมชั้น 15 ศูนย์เอนเนอร์ยี่คอมเพล็กซ์ อาคารบี ในการนี้ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงพลังงาน ได้มอบนโยบายในการปฏิบัติงานให้ ข้าราชการและเจ้าหน้าที่กระทรวงพลังงานยึดมั่นในหลักธรรมาภิบาล โปร่งใสตรวจสอบได้ และรับฟังความเห็นของประชาชน เพื่อให้การผลักดันนโยบายด้านพลังงานได้รับการยอมรับและสามารถขับเคลื่อนได้อย่างเป็นรูปธรรม ในโอกาสนี้ได้ร่วมแสดงสัญลักษณ์ การต่อต้านการทุจริตคอร์รัปชั่น พร้อมกับผู้บริหารกระทรวงพลังงาน เพื่อแสดงพลังในการต่อต้านการทุจริตคอร์รัปชั่น

สำหรับโครงการอบรมในครั้งนี้ จัดโดยศูนย์ปฏิบัติการต่อต้านการทุจริต (ศปท.) กระทรวงพลังงาน มีวัตถุประสงค์เพื่อให้ความรู้การป้องกันการทุจริต และผลประโยชน์ทับซ้อนแก่ข้าราชการและเจ้าหน้าที่กระทรวงพลังงาน ซึ่งเป็นหนึ่งในยุทธศาสตร์ชาติว่าด้วยการป้องกันและปราบปรามการทุจริต ระยะที่ 3 (พ.ศ.2560-2564) โดยได้เชิญ พลอากาศเอกวีรวิท คงศักดิ์ กรรมการปฏิรูปประเทศด้านการป้องกัน และปราบปรามการทุจริต ในรัฐบาลชุดปัจจุบัน เป็นวิทยากรบรรยายถ่ายทอดความรู้และประสบการณ์ รวมถึงกระตุ้นจิตสำนึกและสร้างค่านิยมแก่ข้าราชการและเจ้าหน้าที่กระทรวงพลังงาน เพื่อผลักดันให้เกิดสังคมที่ไม่ทนต่อการทุจริตสมตามเจตนารมณ์ของยุทธศาสตร์ชาติ

กระทรวงพลังงาน ชี้แจง แนวทางการสร้างความมั่นคงด้านไฟฟ้าในพื้นที่ภาคใต้

กระทรวงพลังงาน ชี้แจง แนวทางการสร้างความมั่นคงด้านไฟฟ้าในพื้นที่ภาคใต้

ตามที่ ได้มีการเคลื่อนไหวของสหภาพแรงงานรัฐวิสาหกิจการไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทย (สร.กฟผ.) เพื่อขอทราบความชัดเจนในนโยบายและทิศทางพลังงานไฟฟ้าของประเทศ โดยเฉพาะในพื้นที่ภาคใต้นั้น กระทรวงพลังงาน ขอชี้แจงเพื่อสร้างความเข้าใจ ดังนี้

– กรณีการพัฒนาโรงไฟฟ้าถ่านหินกระบี่ และเทพาฯ กระทรวงพลังงานได้พิจารณาแล้ว การพัฒนาโครงการฯ ดังกล่าว มีทั้งกลุ่มคนที่เห็นด้วย และเห็นต่าง ซึ่งแนวทางการพัฒนาประเทศ จำเป็นต้องมีการรับฟังความคิดเห็นจากทุกฝ่าย และอยู่บนพื้นฐานประโยชน์สูงสุดของประเทศชาติ ในกรณีดังกล่าว กระทรวงพลังงานขอย้ำว่า ได้สั่งการให้หน่วยงานที่เกี่ยวข้อง ศึกษาทบทวนความเหมาะสมในเรื่องของที่ตั้งโรงไฟฟ้า ให้มีการจัดทำ SEA (การประเมินสิ่งแวดล้อมระดับยุทธศาสตร์) ซึ่งเป็นการดำเนินงานทางวิชาการ เพื่อหาพื้นที่ที่เหมาะสม ในการก่อสร้างโครงการโรงไฟฟ้าถ่านหินขนาดใหญ่

– ในส่วนของความมั่นคงด้านไฟฟ้าในพื้นที่ภาคใต้ ในช่วง 5 ปีข้างหน้า   การไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทย (กฟผ.) เป็นผู้พิจารณาเสนอ แนวทางการรักษาความมั่นคงด้านไฟฟ้าในพื้นที่ภาคใต้ โดยเสนอให้มีการขยายสายส่งไฟฟ้า ให้เพียงพอและมีความมั่นคงมากขึ้น ขณะเดียวกันจะมีการพัฒนาโรงไฟฟ้าชีวมวล 300 เมกะวัตต์ ในพื้นที่จังหวัดชายแดนภาคใต้ เพื่อรองรับความต้องการในพื้นที่และมีการพัฒนาระบบโครงข่ายไฟฟ้าเฉพาะในพื้นที่ดังกล่าว

– กระทรวงพลังงานให้ความสำคัญในการกระจายประเภทเชื้อเพลิงในการผลิตไฟฟ้า ทั้งก๊าซธรรมชาติ ถ่านหิน และพลังงานทดแทน ในสัดส่วนที่เหมาะสม โดยปัจจุบันยังมีความเหมาะสมที่จะต้องเพิ่มสัดส่วนการใช้ถ่านหิน เพื่อการผลิตไฟฟ้า

ท้ายสุดนี้ กระทรวงพลังงาน พร้อมเปิดรับทุกความคิดเห็นที่ก่อให้เกิดประโยชน์ต่อประชาชนและประเทศชาติโดยรวม

28 กุมภาพันธ์ 2561

พิธีทำบุญตักบาตร อุทิศถวายเป็นพระราชกุศล แด่พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช บรมนาถบพิตร ณ พระที่นั่งทรงธรรม มณฑลพิธีท้องสนามหลวง

วันนี้ (11 ม.ค. 61) พลเอก ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรี เป็นประธานในพิธีทำบุญตักบาตร อุทิศถวายเป็นพระราชกุศล แด่พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช บรมนาถบพิตร มีพระสงฆ์ จำนวน 89 รูป ออกรับบิณฑบาต รอบพระเมรุมาศ โดย ดร.ศิริ จิระพงษ์พันธ์ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงพลังงาน และนายธรรมยศ ศรีช่วย ปลัดกระทรวงพลังงาน เข้าร่วมพิธี ณ พระที่นั่งทรงธรรม มณฑลพิธีท้องสนามหลวง

รับสมัครบุคคลขึ้นทะเบียนผู้ทรงคุณวุฒิ ประจำปี 2561

รับสมัครบุคคลขึ้นทะเบียนผู้ทรงคุณวุฒิ ประจำปี 2561 เพื่อเข้ารับกำรพิจารณาเป็น “คณะกรรมการรับฟังความคิดเห็นของประชาชนและผู้มีส่วนได้เสียสำหรับโครงการหรือกิจการที่อาจก่อให้เกิดผลกระทบต่อชุมชนอย่างรุนแรงทั้งทางด้านคุณภาพสิ่งแวดล้อม ทรัพยากรธรรมชาติและสุขภาพ” ตามประกำศกระทรวงทรัพยากรธรรมชำติและสิ่งแวดล้อม

รายละเอียดเพิ่มเติม คลิกที่นี่

กระทรวงพลังงาน ชี้แจง เรื่อง การช่วยลดสต๊อกน้ำมันปาล์มดิบ

กระทรวงพลังงาน ชี้แจง เรื่อง การช่วยลดสต๊อกน้ำมันปาล์มดิบ

ตามที่ มีการเผยแพร่ข้อมูลที่ตั้งใจให้เข้าใจผิดว่า รัฐบาล คสช. มีนโยบายให้โรงไฟฟ้ากระบี่นำน้ำมันปาล์มมาใช้เป็นเชื้อเพลิงในการผลิตไฟฟ้านั้น

กระทรวงพลังงาน ขอชี้แจงว่า ข้อมูลที่เผยแพร่ดังกล่าวไม่เป็นความจริง ข้อเท็จจริงคือ รัฐบาลมีมติ “ไม่ให้” นำน้ำมันปาล์มดิบมาเผาที่โรงไฟฟ้ากระบี่เพราะเป็นมาตรการที่ช่วยเกษตรกรได้เพียงเล็กน้อยแต่มีผลเสียหายให้ประชาชนทุกคนต้องจ่ายค่าไฟฟ้าแพงขึ้น มากกว่าประโยชน์ที่ได้รับกว่า “10 เท่า”

ทั้งนี้ กระทรวงพลังงานมีมาตรการช่วยลดปริมาณน้ำมันปาล์มดิบด้วยการเร่งรัดให้โรงงานผลิตไบโอดีเซลเพิ่มปริมาณการใช้น้ำมันปาล์มดิบ โดยให้ผลิตไบโอดีเซลเพิ่มมากกว่าปกติ    อีก 50% เพื่อเก็บสำรอง ซึ่งจะช่วยดูดซับสต๊อกน้ำมันปาล์มดิบที่ล้นให้ลดลงได้มากถึง 50,000      ตันต่อเดือน โดยมีแผนที่จะใช้น้ำมันปาล์มดิบเพิ่มจากปกติอีก 100,000 ตัน ภายในระยะเวลา  2 เดือน และได้เริ่มดำเนินการแล้วตั้งแต่วันที่ 20 ธันวาคม 2560 ที่ผ่านมา ทำให้ราคาน้ำมันปาล์มดิบขยับขึ้นเล็กน้อยจาก 19 บาทต่อกิโลกรัม เป็น 19.25 บาทต่อกิโลกรัม ในขณะที่ราคาในมาเลเซียอ่อนตัวลง

กระทรวงพลังงานจับมือ ปตท. แจกข้าวใหม่เมื่อเติมน้ำมันที่ปั๊ม ปตท.ทั่วประเทศรับปีใหม่

กระทรวงพลังงานจับมือ ปตท. แจกข้าวใหม่เมื่อเติมน้ำมันที่ปั๊ม ปตท.ทั่วประเทศรับปีใหม่
สนับสนุนข้าวสารจากชาวนาไทยมอบความสุขช่วงปีใหม่แจกข้าวใหม่ 1 ล้านกิโลกรัมผ่านโครงการ
“ปีใหม่ ข้าวใหม่… อิ่มท้อง อิ่มใจ ช่วยชาวนา”
วันนี้ (24 ธันวาคม 2560) นายศิริ จิระพงษ์พันธ์รัฐมนตรีว่าการกระทรวงพลังงาน เป็นประธานในพิธีเปิดโครงการ“ปีใหม่ ข้าวใหม่… อิ่มท้อง อิ่มใจ ช่วยชาวนา”โดยมี นายธรรมยศ ศรีช่วยปลัดกระทรวงพลังงาน นายนิมิต วันไชยธนวงศ์ผู้ว่าราชการจังหวัดสุพรรณบุรี และนายเทวินทร์ วงศ์วานิช ประธานเจ้าหน้าที่บริหารและกรรมการผู้จัดการใหญ่ บริษัท ปตท. จำกัด (มหาชน) ร่วมในพิธีเปิดโครงการฯ ณ สถานีบริการน้ำมันปตท.บจก.หลักเมืองถาวรพาณิชย์ อำเภอเมือง จังหวัดสุพรรณบุรี

นายศิริเปิดเผยว่า โครงการ “ปีใหม่ ข้าวใหม่…อิ่มท้อง อิ่มใจ ช่วยชาวนา” เป็นโครงการที่กระทรวงพลังงาน โดยบริษัท ปตท. จำกัด (มหาชน)จัดขึ้นเพื่อมอบข้าวใหม่ 1 ถุง ขนาดบรรจุ 500กรัมเป็นของขวัญปีใหม่สำหรับประชาชนที่เข้ามาใช้บริการ ณ สถานีบริการน้ำมัน ปตท. โดยเริ่มโครงการตั้งแต่วันที่ 1 ม.ค. 2561 เป็นต้นไป ซึ่งนอกจากจะเป็นการมอบความสุขให้กับประชาชนในช่วงเทศกาลปีใหม่แล้ว ยังเป็นการช่วยสนับสนุนข้าวจากชาวนาไทยอีกด้วย ซึ่งคาดว่าการแจกข้าว1 ล้านกิโลกรัมหรือประมาณ 2 ล้านถุง จะช่วยเกษตรกรชาวนาไทยให้มีรายได้และมีช่องทางกระจายข้าวให้ถึงมือผู้บริโภคโดยตรง

ด้าน นายเทวินทร์ กล่าวเพิ่มเติมว่าปตท. จะมอบข้าวใหม่ให้แก่ประชาชนผู้ใช้บริการในสถานีบริการน้ำมัน ปตท. 1,500 แห่งทั่วประเทศในโครงการ “ปีใหม่ ข้าวใหม่…อิ่มท้อง อิ่มใจ ช่วยชาวนา” โดยข้าวที่นำมาแจกในโครงการนี้เป็นข้าวที่ ปตท. จัดซื้อมาจากเกษตรกร หรือกลุ่มเกษตรกรโดยตรง ซึ่งแต่ละสถานีบริการจะรับซื้อข้าวจากเกษตรกรสถานีละ 650กิโลกรัม ราคากิโลกรัมละประมาณ 35บาทซึ่งนอกจากการมอบข้าวใหม่เป็นของขวัญปีใหม่แล้ว ปตท. ยังเปิดพื้นที่ภายในสถานีบริการน้ำมัน ปตท. โดยไม่คิดค่าใช้จ่าย ให้เกษตรกรชาวนาทั่วประเทศมาจำหน่ายข้าวสารส่งตรงถึงมือผู้บริโภคในช่วงปีใหม่นี้อีกด้วย
“ปตท. ภาคภูมิใจที่ได้เป็นส่วนหนึ่งในการสนับสนุนเกษตรกรชาวนาไทย ให้มีช่องทางการจำหน่ายข้าว มีรายได้ และมีองค์ความรู้ด้านการจัดการสินค้า อีกทั้ง ยังมีส่วนในการสืบสานประเพณี วัฒนธรรม “ข้าว” ซึ่งผูกพันกับวิถีชีวิตความเป็นอยู่ของคนไทยมาช้านาน นอกจากนี้ ปตท. พร้อมเป็นส่วนหนึ่งของการร่วมทำความดี เพื่อส่งเสริมความเป็นอยู่ที่ดีของประชาชน และมุ่งมั่นที่จะร่วมดูแลชุมชน สังคม และสิ่งแวดล้อมของประเทศตลอดไป”นายเทวินทร์ กล่าวในตอนท้าย

Page 12 of 15
1 10 11 12 13 14 15