พลเอก ธนะศักดิ์ ปฏิมาประกร รองนายกรัฐมนตรี และ พลอากาศเอก ประจิน จั่นตอง รองนายกรัฐมนตรี ให้เกียรติเป็นประธานในพิธีเปิดงานวันวัฒนธรรมไทย (Thai Cultural Day) ภายในงานนิทรรศการโลก Astana Expo 2017

(12สิงหาคม 2560) พลเอก ธนะศักดิ์ ปฏิมาประกร รองนายกรัฐมนตรี และ พลอากาศเอก ประจิน จั่นตอง รองนายกรัฐมนตรี ให้เกียรติเป็นประธานในพิธีเปิดงานวันวัฒนธรรมไทย (Thai Cultural Day) ภายในงานนิทรรศการโลก Astana Expo 2017 ณ กรุงอัสตานา สาธารณรัฐคาซัคสถาน โดยมี Mr. Yelzhan Birtanov รัฐมนตรีว่าการกระทรวงสาธารณสุข สาธารณรัฐคาซัคสถาน ดร.พิเชฐ ดุรงคเวโรจน์ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคม นายณัช ภิญโญวัฒนชีพ เอกอัครราชทูตไทยประจำกรุงอัสตานา และผู้บริหารจากกระทรวงพลังงาน ร่วมพิธีเปิด

พร้อมกันนี้ ได้เข้าเยี่ยมชมห้องนิทรรศการห้องต่างๆ ของอาคารศาลาไทย (Thailand Pavilion) และพาวิลเลี่ยนของประเทศที่เข้าร่วมงานในครั้งนี้ อาทิ Kazakhstan Pavilion และ Thematic Pavilion ฯลฯ

สำหรับการจัดงาน “วัฒนธรรมไทย” ในวันนี้ มีวัตถุประสงค์หลักเพื่อเป็นการเผยแพร่วัฒนธรรมของประเทศไทยให้นานาประเทศได้รู้จัก โดยได้มีการนำประเพณีสงกรานต์ ซึ่งถือเป็นเทศกาลวันขึ้นปีใหม่ของคนไทย และยังเป็นที่รู้จักไปทั่วโลก มาใช้เป็นแนวคิดของการจัดกิจกรรม ซึ่งตลอดทั้งวัน ณ อาคารศาลาไทยจะจัดให้มีขบวนรดน้ำดำหัว การเล่นน้ำสงกรานต์ การทดลองใส่ชุดไทยและถ่ายภาพเป็นที่ระลึก เพื่อสร้างสีสันและความสนุกสนานให้กับผู้เข้าร่วมงาน

ทั้งนี้ อาคารศาลาไทย (Thailand Pavilion) สร้างสรรค์ขึ้นภายใต้แนวคิด “การพัฒนาด้านพลังงานชีวภาพเพื่อมนุษยชาติ (Bioenergy for All)” เพื่อแสดงศักยภาพอันโดดเด่นในการพัฒนาพลังงานทดแทนจากการนำผลผลิตทางการเกษตรที่เหลือจากการบริโภคมาผลิตเป็นพลังงาน และเป็นการใช้ทรัพยากรธรรมชาติที่มีอยู่ให้เกิดประโยชน์สูงสุด โดยได้น้อมนำพระราชดำริของพระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช รัชกาลที่ 9 ที่ทรงเป็น “พระบิดาแห่งการพัฒนาพลังงานไทย” และเป็นต้นแบบในเรื่องปรัชญา “ความพอเพียง” มาใช้เป็นแนวทางในการใช้ทรัพยากรในประเทศที่มีอยู่อย่างคุ้มค่า มุ่งเน้นการพึ่งพาตนเองได้อย่างยั่งยืนในอนาคต สอดคล้องกับแนวคิดหลักของ Expo ที่ว่า “พลังงานแห่งอนาคต”

ซึ่งตลอด 2 เดือนที่ผ่านมามีผู้ชมจากนานาประเทศให้ความสนใจเข้าชมอาคารศาลาไทยเป็นจำนวนมาก มีผู้เข้าชมแล้วกว่า 420,000 คน โดยประเทศไทยติดอันดับ 1 ใน 5 ของพาวิลเลี่ยนที่ได้รับความนิยมสูงสุด จากประเทศที่เข้าร่วมงาน 115 ประเทศ คาดว่าจนกว่าจะจบการจัดงานในวันที่ 10 กันยายน 2560 จะมีผู้เข้าชมอาคารไทยรวมทั้งสิ้นไม่ต่ำกว่า 5 แสนคน นอกจากนี้ จากการจัดอันดับอาคารนิทรรศการที่เป็นที่นิยมชื่นชอบของเยาวชนโดย Chanel Astana Expo TV พบว่า อาคารศาลาไทยได้รับความนิยมเป็นอันดับ 2 และในขณะที่มาสคอต “น้องพลัง” ยังได้รับคัดเลือกให้เข้าสู่ Museum World Expo ภายหลังการจัดงาน ซึ่งถือเป็นความสำเร็จในประวัติศาสตร์ที่สำคัญอีกครั้งของประเทศไทยในการจัดงาน Expo ในระดับโลก

พลเอกประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรี พร้อมด้วยภริยา เป็นประธานในพิธีทำบุญตักบาตรถวายพระราชกุศล ถวายพระพรชัยมงคล สมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ พระบรมราชินีนาถ ในรัชกาลที่ 9

วันนี้ (12 สิงหาคม 2560 ) พลเอกประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรี พร้อมด้วยภริยา เป็นประธานในพิธีทำบุญตักบาตรถวายพระราชกุศล ถวายพระพรชัยมงคล สมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ พระบรมราชินีนาถ ในรัชกาลที่ 9 เนื่องในวันเฉลิมพระชนมพรรษา 85 พรรษา 12 สิงหาคม 2560 ณ พระลานพระราชวังดุสิต โดยมี ดร.อารีพงศ์ ภู่ชอุ่ม ปลัดกระทรวงพลังงาน และคณะผู้บริหารระดับสูงของกระทรวงพลังงาน เข้าร่วมพิธี

ปลัดกระทรวงพลังงาน ร่วมพิธีถวายพระพรชัยมงคล ณ บริเวณอาคารเอ็นเนอร์ยี่ คอมเพล็กซ์ บี

วันนี้ (11 สิงหาคม 2560) นายอารีพงศ์ ภู่ชอุ่ม ปลัดกระทรวงพลังงาน พร้อมด้วย ผู้บริหารระดับสูง ข้าราชการ ลูกจ้าง พนักงาน และเจ้าหน้าที่กระทรวงพลังงาน เข้าร่วมงานพระราชพิธีถวายพระพรชัยมงคล และร่วมกันกล่าวราชสดุดีเฉลิมพระเกียรติ สมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ พระบรมราชินีนาถ ในรัชกาลที่ 9 เนื่องในวันเฉลิมพระชนมพรรษา 85 พรรษา 12 สิงหาคม 2560 ณ อาคารเอนเนอร์ยี คอมเพล็กซ์ ที่ตั้งของกระทรวงพลังงาน

 

กระทรวงพลังงาน นำสื่อมวลชนเยี่ยมชมโครงการวิสาหกิจชุมชนตำบลดอนตูม จ.นครปฐม

สำนักงานพลังงานจังหวัดนครปฐม กระทรวงพลังงาน นำสื่อมวลชนเยี่ยมชมโครงการวิสาหกิจชุมชนตำบลดอนตูม พร้อมยกเป็นตัวอย่างชุมชนที่ประสบผลสำเร็จจากโครงการติดตั้งใช้งานระบบอบแห้งพลังงานแสงอาทิตย์ ชี้ชุมชนสามารถผลิต มะเขือเทศแช่อิ่มอบแห้งเป็นผลิตภัณฑ์หลัก ที่สามารถลดรายจ่ายค่าพลังงาน และสร้างรายได้ให้ชุมชนอย่างยั่งยืน

จังหวัดนครปฐม (11 สิงหาคม 2560) นายวาทินทร์ ทองแก้ว พลังงานจังหวัดนครปฐม กระทรวงพลังงาน เปิดเผยว่า สำนักงานพลังงานจังหวัดนครปฐม ได้นำสื่อมวลชนในพื้นที่ เข้าเยี่ยมชมโครงการวิสาหกิจชุมชนตำบลดอนตูม ซึ่งมีการผลิต มะเขือเทศอบแห้งด้วยพลังงานแสงอาทิตย์ ณ ตำบลดอนตูม อำเภอบางเลน จังหวัดนครปฐม ซึ่งเป็นโครงการสำคัญที่ชุมชน ฯ ได้รับการสนับสนุนการลงทุนติดตั้งใช้งานระบบอบแห้งพลังงานแสงอาทิตย์ จากกรมพัฒนาพลังงานทดแทนและอนุรักษ์พลังงาน (พพ.) ซึ่งโครงการ ฯ นี้ถือเป็นโครงการสำคัญตามแผนพัฒนาพลังงานทดแทนและพลังงานทางเลือก หรือ AEDP

ทั้งนี้ วิสาหกิจชุมชนตำบลดอนตูมแห่งนี้ ได้เข้าร่วมโครงการจากกรม พพ. ดังกล่าว ในปี 2555 และได้ติดตั้งใช้งานระบบอบแห้งพลังงานแสงอาทิตย์ และผลิตมะเขือเทศแช่อิ่มอบแห้ง ซึ่งถือเป็นผลิตภัณฑ์หลักในชุมชน โดยได้รับระบบอบแห้งพลังงานแสงอาทิตย์ พพ.3 ขนาด 166.4 ตารางเมตร ซึ่งช่วยให้การผลิตมะเขือเทศแช่อิ่มอบแห้ง มีประสิทธิภาพเพิ่มขึ้น จากเดิมที่ตากโดยวิธีธรรมชาติ โดยช่วยให้ชุมชนสามารถเพิ่มปริมาณการผลิตด้วยวัตถุดิบได้สูงถึง 84 ตันต่อปี มูลค่าผลประหยัดค่าเชื้อเพลิงที่ได้ เพื่อทดแทนการใช้ก๊าซหุงต้ม ช่วยทำให้ประหยัดค่าเชื้อเพลิงได้ 31,915 บาทต่อปี รวมทั้งมูลค่าลดค่าใช้จ่ายค่าแรงงานด้านการอบแห้ง 50,400 บาทต่อปี

นายวาทินทร์ กล่าวเพิ่มว่า ผลประโยชน์ที่ได้รับจากโครงการฯ นี้ สำนักงานพลังงานจังหวัดนครปฐม เชื่อว่าจะช่วยสามารถช่วยลดรายจ่ายสร้างรายได้ในครัวเรือนได้อย่างยั่งยืน เพราะชุมชนจะสามารถใช้ระบบอบแห้งจากพลังงานแสงอาทิตย์ ซึ่งเป็นการใช้ประโยชน์จากพลังงานทดแทนได้ เกิดการลดการใช้ก๊าซหุงต้มลง โดยใช้พลังงานทดแทนที่มีอยู่ได้อย่างคุ้มค่า ชุมชนจะมีทางเลือกใหม่ในการอบแห้งมะเขือเทศ สร้างมูลค่าเพิ่มให้แก่ผลิตภัณฑ์ ลดต้นทุนในการผลิต และที่สำคัญ โครงการฯ นี้ จะสามารถสร้างรายได้จากผลิตภัณฑ์ที่ผลิตได้ภายในชุมชน สร้างความเข้มแข็งให้กับชุมชนในการดูแลและบริหารจัดการทรัพยากรที่มีอยู่ให้เกิดประโยชน์สูงสุดต่อไป

กิจกรรมสื่อมวลชนสัญจร@นครปฐม “มีพลังงาน มีความสุข”

ปลัดกระทรวงพลังงาน ลงพื้นที่เยี่ยมชมโรงไฟฟ้าเชื้อเพลิง RDF

วันนี้ (9 ส.ค.60) นายอารีพงศ์ ภู่ชอุ่ม ปลัดกระทรวงพลังงาน พร้อมคณะผู้บริหาร ลงพื้นที่เยี่ยมชมโรงไฟฟ้าเชื้อเพลิง RDF (Refuse Derived Fuel) พื้นที่บ่อขยะ ตำบลแพรกษาใหม่ จ.สมุทรปราการ บริษัท อีสเทิร์น เอเนอร์ จี้ พลัส จำกัด โดยมีนายชาติชาย อุทัยพันธ์ ผู้ว่าราชการจังหวัดสมุทรปราการ และนายคณพศ นิจสิริภัช ประธานเจ้าหน้าที่บริหารบริษัท อีสเทิร์น เอเนอร์ จี้ พลัส จำกัด ให้การต้อนรับ ปัจจุบันขีดความสามารถในการบริหารจัดการขยะในศูนย์บริหารจัดการขยะชุมชนแบบครบวงจรสามารถผลิตเป็นเชื้อเพลิง RDF ได้ประมาณ 500 ตันต่อวัน โดยเป็นการคัดแยกทั้งขยะเก่า 1,000 ตันต่อวัน เพื่อป้อนเชื้อเพลิง RDF เข้าสู่โรงไฟฟ้าที่มีขนาดกำลังการผลิต 9.9 เมกกะวัตต์ ซึ่งเป็นผู้ผลิตไฟฟ้าขนาดเล็กมาก (VSPP) และได้รับการสนับสนุนรับซื้อ ไฟฟ้าจากขยะชุมชนอัตราพิเศษในรูปแบบ Feed-in Tariff (FiT) ตามสัญญาซื้อ-ขายไฟฟ้า 20 ปีที่ได้เริ่ม เดินเครื่องและสามารถขายไฟฟ้าในเชิงพาณิชย์ให้กับ การไฟฟ้านครหลวง (กฟน.) เมื่อวันที่ 30 มิถุนายน ที่ผ่านมา นายอารีพงศ์ ภู่ชอุ่ม ปลัดกระทรวงพลังงาน กล่าวว่า “ศูนย์ฯ มีการรวบรวมขยะชุมชนในพื้นที่ เพื่อนำมาสู่การคัดแยกขยะมูลฝอยประเภทต่างๆ นำไปสู่การรีไซเคิล และส่วนหนึ่งนำมาผ่านกระบวนการแปรรูปและจัดการต่างๆ เพื่อปรับปรุงคุณสมบัติทางกายภาพและคุณสมบัติทางเคมีให้กลายเป็นเชื้อเพลิงขยะหรือ RDF มาผลิตไฟฟ้า ซึ่งแนวทางการบริหารจัดการขยะ นับเป็นนโยบายรัฐบาลที่ต้องการผลักดันให้เกิดขึ้นเพื่อลดปัญหาปริมาณขยะ และปัญหาการจัดหาพื้นที่ฝังกลบ โดยควบคุมและบริหารจัดการด้านสิ่งแวดล้อมอย่างมีประสิทธิภาพ นับเป็นวิธีการอย่างหนึ่งในการแก้ไข ปัญหาขยะได้เป็นอย่างดี”

 

รัฐมนตรีว่าการกระทรวงพลังงาน เป็นประธานในพิธีมอบรางวัลองค์กรที่มีความเป็นเลิศในด้านต่างๆ ของกิจการถ่านหินของไทย (Thailand Coal Awards) ครั้งที่ 3

พลเอก อนันตพร  กาญจนรัตน์ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงพลังงาน เปิดเผยว่า ในวันนี้ (2 สิงหาคม 2560) กระทรวงพลังงาน โดยกรมเชื้อเพลิงธรรมชาติ ได้จัดพิธีมอบรางวัลองค์กรที่มีความเป็นเลิศในด้านต่างๆ ของกิจการถ่านหินของไทย (Thailand Coal Awards) ครั้งที่ 3  ให้กับองค์กรที่เป็นเลิศในด้านต่าง ๆ โดยเป็นไปตามนโยบายของกระทรวงพลังงานในด้านการบริหารจัดการของผู้ประกอบการถ่านหินตั้งแต่ต้นน้ำจนถึงปลายน้ำ ไม่ว่าจะเป็นเหมืองถ่านหิน การใช้ถ่านหินในอุตสาหกรรม และผลิตกระแสไฟฟ้า ให้เกิดประสิทธิภาพ ไม่มีผลกระทบต่อชุมชนและสิ่งแวดล้อม รวมถึงการถ่ายทอดองค์ความรู้ให้กับประชาชน และชุมชนผู้มีส่วนได้ส่วนเสีย ให้เกิดความเข้าใจในประโยชน์ของการใช้ถ่านหิน ที่ปัจจุบันมีเทคโนโลยีเพื่อการควบคุม และดูแลได้อย่างมีประสิทธิภาพ

“ปัจจุบันมีการนำเทคโนโลยีด้านถ่านหินมาเป็นเชื้อเพลิงในเชิงอุตสาหกรรมหรือผลิตกระแสไฟฟ้า ที่สามารถควบคุมและดูแลกระบวนการผลิตไม่ให้ส่งผลกระทบไปสู่ภายนอก หรือสิ่งแวดล้อมได้อย่างมีประสิทธิภาพ ซึ่งนานาชาติให้การรับรอง โดยปัจจุบันหลายประเทศใช้โรงไฟฟ้าถ่านหินเป็นเชื้อเพลิงหลัก ในการผลิตกระแสไฟฟ้า ไม่ว่าจะเป็นญี่ปุ่น สหรัฐอเมริกา ยุโรป ที่มีการสัดส่วนการใช้ถ่านหินสูงถึง 25-50%  และการใช้ถ่านหินเพื่อการผลิตกระแสไฟฟ้าทั่วโลกมีสัดส่วนสูงถึง 40%  รวมทั้งในบางประเทศที่มีแหล่งพลังงานขนาดใหญ่ เช่น สหรัฐอเมริกา ก็ยังใช้ถ่านหินเพื่อสร้างความมั่นคงด้านพลังงานของประเทศด้วย ดังนั้นการใช้ถ่านหินเป็นเชื้อเพลิงไม่ใช่สิ่งที่น่ากังวลเหมือนในอดีต เพราะทุกอย่างสามารถควบคุมได้ด้วยเทคโนโลยี ที่ทันสมัย”

พลเอก อนันตพร กล่าวต่อไปว่า ปัจจุบันประเทศไทยมีกฎหมายด้านสิ่งแวดล้อมที่เข้มข้น รวมทั้งระบบ   การบริหารจัดการที่มีคุณภาพไม่ว่าจะเป็นการขนถ่าย  การเก็บรักษาถ่านหิน ต้องทำด้วยระบบปิดแบบครบวงจร  นับว่าเป็นต้นแบบที่ดีสำหรับผู้ประกอบการไทย เพื่อสร้างความเชื่อมั่นและการยอมรับให้กับชุมชนได้อย่างดี ซึ่งการมอบรางวัลองค์กรที่มีความเป็นเลิศในด้านต่างๆ ของกิจการถ่านหินของไทย  (Thailand Coal Awards) ในครั้งนี้ จะเป็นต้นแบบที่ดีให้กับหน่วยงานอื่นๆ ได้นำไปประยุกต์ใช้ และขยายเครือข่ายองค์กรที่ดำเนินงานอย่างมีประสิทธิภาพได้ในอนาคต

นายวีระศักดิ์  พึ่งรัศมี  อธิบดีกรมเชื้อเพลิงธรรมชาติ กล่าวเพิ่มเติมว่า ในปีนี้มีการแบ่งรางวัลเป็น 3 ประเภท โดยมีผู้ได้รับรางวัลทั้งหมด 9 รางวัล ดังนี้

ประเภทการดำเนินการด้านถ่านหินเป็นเลิศ (Best Practice Category) ได้แก่

– Mae Moh Lignite Mine จากเหมืองแม่เมาะ การไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทย

– BLCP 2x 717MW Coal-fired Power Station จากบริษัท บีแอลซีพี เพาเวอร์ จำกัด

– SKIC Closed-Sytem Coal Operation for Sustainable Development (Ban Pong Dome Coal Storage) จากบริษัท สยามคราฟอุตสาหกรรม จำกัด

 

ประเภทการมีส่วนร่วมต่อชุมชนและสังคม (Corporate Social Responsibility Catagery) ได้แก่

– The Environmental Collaboration for Sustainable Development in Mae Moh District  จากการไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทย

– TPIPL intend continuing commitment to CSR จากบริษัท ทีพีไอ โพลีน  จำกัด(มหาชน)

– Sustainable Social Participation of BLCP Coal Fired Power Plant จากบริษัท บีแอลซีพี เพาเวอร์ จำกัด

– Asia Green Energy : Green Society จากบริษัท เอเชีย กรีน เอนเนอจี จำกัด(มหาชน)

 

ประเภทหัวข้อพิเศษ (Special Submission Category) ได้แก่

– Distribution Bunker Cleaning Equipment จากการไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทย

– Specific energy consumption Improvement of kiln plant จากบริษัท ทีพีไอ โพลีน จำกัด (มหาชน)

รัฐมนตรีว่าการกระทรวงพลังงาน ร่วมพิธีถวายพระพรชัยมงคล ณ อาคารเอนเนอร์ยี่ คอมเพล็กซ์

วันนี้ (28 กรกฎาคม 2560) พลเอก อนันตพร กาญจนรัตน์ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงพลังงาน พร้อมด้วย ผู้บริหารระดับสูง ข้าราขการ ลูกจ้าง พนักงาน และเจ้าหน้าที่กระทรวงพลังงาน เข้าร่วมงานพระราชพิธีถวายพระพรชัยมงคล และร่วมกันกล่าวราชสดุดีเฉลิมพระเกียรติ สมเด็จพระเจ้าอยู่หัวมหาวชิราลงกรณ บดินทรเทพยวรางกูร ในโอกาสมหามงคลเฉลิมพระชนมพรรษาครบ 65 พรรษา วันศุกร์ที่ 28 กรกฎาคม 2560 ณ อาคารเอนเนอร์ยี คอมเพล็กซ์ ที่ตั้งของกระทรวงพลังงาน

กระทรวงพลังงาน ร่วมพิธีทำบุญตักบาตร ณ พระลานพระราชวังดุสิต

วันนี้ (28 ก.ค. 60) พลเอกประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรี พร้อมด้วยภริยา เป็นประธานในพิธีทำบุญตักบาตรถวายพระราชกุศล พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช บรมนาถบพิตร และถวายพระพรชัยมงคลกับถวายพระราชกุศล สมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ พระบรมราชินีนาถ ในรัชกาลที่ 9 และสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว เนื่องในโอกาสวันเฉลิมพระชนมพรรษา 65 พรรษา 28 กรกฎาคม 2560 ณ พระลานพระราชวังดุสิต โดยมี พลเอก อนันตพร กาญจนรัตน์ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงพลังงาน พร้อมภริยา และ ดร.อารีพงศ์ ภู่ชอุ่ม ปลัดกระทรวงพลังงาน และคณะผู้บริหารระดับสูงของกระทรวงพลังงาน เข้าร่วมพิธี

กระทรวงพลังงาน เดินสายมอบรางวัล “สุดยอดคนพลังงาน” ในโอกาสครบรอบการดำเนินโครงการพลังงานชุมชน 10 ปี

กระทรวงพลังงาน เดินสายมอบรางวัล “สุดยอดคนพลังงาน” ในโอกาสครบรอบการดำเนินโครงการพลังงานชุมชน 10 ปี สร้างการมีส่วนร่วมกับชุมชนจำนวน 1,676 แห่ง เผยจัดมอบรางวัลสุดยอดคนพลังงานผ่านตลาดนัดพลังงานชุมชนครบทุก 4 ภาค โดยจัดงานครั้งที่ 2 มอบรางวัลภาคเหนือ 4 สาขา 17 จังหวัด เตรียมพร้อมผู้ชนะระดับภาคเข้าแข่งขันสุดยอด คนพลังงานระดับประเทศต่อไป

นายสมนึก บำรุงสาลี รองปลัดกระทรวงพลังงาน เปิดเผยว่า การจัดกิจกรรมพิเศษ มอบรางวัลสุดยอดคนพลังงาน ในโอกาสครบรอบ 10 ปีพลังงานชุมชน โดยครั้งนี้เป็นครั้งที่ 2 ที่จัดมอบรางวัลในภาคเหนือ ซึ่งมีจังหวัดผู้ชนะในภาคเหนือทั้งหมด 17 จังหวัด และคัดเลือกผู้ชนะที่เป็นสุดยอดระดับภาคอีกใน 4 สาขา สาขาละ 3 รางวัล รวมทั้งสิ้นแชมป์ภาคเหนือทั้งหมด 12 รางวัล เพื่อเดินหน้าเข้าแข่งขันสุดยอดคนพลังงานระดับประเทศต่อไป

“ในโอกาสครบรอบ 10 ปี พลังงานชุมชน กระทรวงพลังงานได้จัดกิจกรรมพิเศษมอบรางวัล “สุดยอดคนพลังงาน” ผ่านแนวคิด พลังงานสร้างคน คนสร้างพลังงานยั่งยืน เพื่อยกย่องบุคคลและองค์กรที่มีผลการดำเนินงานยอดเยี่ยม เป็นต้นแบบในการจัดการพลังงานที่ดีแก่สังคม ในระดับจังหวัด ระดับภูมิภาค และระดับประเทศ โดยจัดมอบรางวัลครั้งแรกไปแล้วที่ภาคกลาง 25 จังหวัด ครั้งที่ 2 นี้ที่ภาคเหนือ มีผู้ชนะเข้ารอบ 17 จังหวัด และมาคัดเลือกผู้ชนะระดับภาคที่เป็นสุดยอดทั้ง 4 สาขาที่ร่วมแข่งขัน ซึ่งภาคเหนือก็เป็นอีกภาคหนึ่งที่มีความตื่นตัวมากเรื่องของพลังงานทดแทน มีการนำความรู้ที่ได้จากกระทรวงพลังงานไปต่อยอดพัฒนาพลังงานด้านต่างๆ ในท้องที่ของตนเองได้อย่างดี”

เกณฑ์การคัดเลือกและมอบรางวัล “สุดยอดคนพลังงาน” ผ่านแนวคิด “พลังงานสร้างคน คนสร้างพลังงานยั่งยืน” ประจำปี พ.ศ. 2560 แบ่งเป็น ระดับจังหวัด ระดับภูมิภาค และระดับประเทศ โดยเริ่มมอบรางวัลครั้งที่ 1 ที่ภาคกลาง (จากทั้งหมด 4 ภาคทั่วประเทศ) เมื่อวันที่ 5 กรกฎาคม 2560 ที่ผ่านมา สำหรับครั้งนี้เป็นการมอบรางวัลสุดยอดคนพลังงาน ครั้งที่ 2 ในภาคเหนือ จัดขึ้น ณ มหาวิทยาลัยราชภัฏพิบูลสงคราม จังหวัดพิษณุโลก เริ่มจากมอบรางวัลผู้ชนะระดับจังหวัด และคัดสุดยอดของแต่ละจังหวัด เป็นผู้ชนะรางวัลระดับภาค โดยภาคเหนือนั้นมีจังหวัดผู้ชนะที่เข้าร่วม 17 จังหวัด ใน 4 สาขา และนำสุดยอดในแต่ละสาขา มาคัดเลือกเป็นผู้ชนะระดับภาคเพื่อเข้าสู่การแข่งขันในระดับประเทศต่อไป
โดย 4 สาขาที่มีการมอบรางวัล ประกอบด้วย 1.สาขาอาสาสมัครพลังงานชุมชนยอดเยี่ยม 2.สาขาองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นจัดการพลังงานครบวงจรยอดเยี่ยม 3. สาขาวิสาหกิจลดใช้พลังงานยอดเยี่ยม 4.สาขาโครงการพลังงานชุมชนแบบมีส่วนร่วมยอดเยี่ยม และสำหรับผู้ที่ได้รับรางวัลระดับภาค และสำนักงานพลังงานจังหวัดจะได้รับเชิญเข้าร่วมในพิธีมอบรางวัล “สุดยอดคนพลังงาน” ระดับประเทศต่อไป โดยจะจัดขึ้นระหว่างวันที่ 13-17 กันยายน 2560
ณ ห้องไดมอน ศูนย์การค้าเซียร์รังสิต อีกทั้ง ภายในงานยังจัดให้มีกิจกรรม Open House “กิจกรรมเปิดบ้าน…พลังงานชุมชน” อีกด้วย

ด้านนายตามเฉลิมฬ์ จันทนาคร พลังงานจังหวัดพิษณุโลก เปิดเผยว่า จังหวัดได้นำนโยบายของกระทรวงพลังงานมาขยายผลในพื้นที่จังหวัดพิษณุโลก ภายใต้การดำเนินงานโครงการวางแผนพลังงานชุมชนที่ทำมาอย่างต่อเนื่อง โดยจังหวัดให้ความสำคัญกับพลังงานทดแทนประเภทก๊าซชีวภาพ ล่าสุดมีการส่งเสริม 20 ชุมชนในพื้นที่ 9 อำเภอ ใช้เทคโนโลยี ก๊าซชีวภาพ เปลี่ยนของเสียเป็นพลังงานทดแทน ลดการใช้ก๊าซ LPG ประหยัดค่าใช้จ่าย สร้างความมั่นคงด้านพลังงานและความเป็นอยู่ที่ดีของชุมชน อีกทั้งขยายผลการสร้างปราชญ์ชุมชนด้านพลังงานเพื่อสั่งสมองค์ความรู้ และคอยเป็นพี่เลี้ยงให้คำปรึกษาแนะนำชุมชนที่สนใจต่อไป

“โครงการพลังงานชุมชนเป็นโครงการที่มีประโยชน์มาก ทำให้แผนขับเคลื่อนด้านพลังงานของจังหวัดมีการพัฒนาอย่างรวดเร็ว เพราะเล็งเห็นศักยภาพของทรัพยากรในพื้นที่ชัดเจนขึ้น อย่างเช่นในภาคเหนือ ประกอบอาชีพเกษตรกรรมและการเลี้ยงสัตว์ ซึ่งมีตั้งแต่ขนาดครัวเรือนไปจนถึงฟาร์มขนาดเล็ก ทำให้สามารถนำมูลสัตว์และของเสีย มาเปลี่ยนเป็นเชื้อเพลิงทดแทนก๊าซหุงต้มด้วยเทคโนโลยีก๊าซชีวภาพ เพื่อส่งเสริมให้ชุมชนหันมาใช้พลังงานทดแทน แทนการใช้ก๊าซ LPG สำหรับการหุงต้มในครัวเรือน ช่วยลดค่าใช้จ่ายเรื่องพลังงานในครัวเรือนลงได้ร้อยละ 80 และยังช่วยลดปัญหาสิ่งแวดล้อมจาก
กลิ่นเหม็นของมูลสัตว์และแมลงต่างๆ ให้กับชุมชนได้อีกด้วย”

ปัจจุบัน โครงการวางแผนพลังงานชุมชน : Local Energy Planning (LEP) 2549 – 2560 ได้สร้างอาสาสมัครพลังงานชุมชน (อสพน.) จำนวนกว่า 6,042 คน โดย อสพน. คือประชาชนที่มีจิตอาสาทำงานร่วมกับกระทรวงพลังงาน
ในการขับเคลื่อน และพัฒนาพลังงานไทย ด้วยแนวคิด รู้-รักษ์-ตระหนัก-สร้าง กระจายในชุมชนต่างๆ ทั่วประเทศ โดยพัฒนาตนเองต่อยอดไปสู่นักวิจัยพลังงาน 380 คน ช่างเทคโนโลยีพลังงานชุมชน 172 คน นักสื่อสารพลังงาน 2,879 คน วิทยากร 514 คน และได้สร้างการมีส่วนร่วมกับชุมชน จำนวน 1,676 ชุมชน ก่อเกิดแหล่งเรียนรู้ด้านพลังงาน 210 แห่ง เกิดอาชีพด้านพลังงานที่ผลิตและจัดจำหน่ายเทคโนโลยีพลังงานระดับชุมชนจำนวน 172 แห่ง สร้างนวัตกรรมเทคโนโลยีพลังงาน 56 สร้างโอกาสพัฒนาต่อยอดสู่วิสาหกิจชุมชนลดใช้พลังงานกว่า 188 กลุ่ม สามารถลดค่าใช้จ่ายพลังงานได้ 5 ล้านบาทต่อปี และลดจากการประหยัดพลังงานของบ้านตัวอย่างได้ 28 ล้านบาทต่อปี เพิ่มสัดส่วนการใช้พลังงานทดแทนของครัวเรือนที่เข้าร่วมโครงการได้กว่า 8 แสนบาทต่อปี

ปลัดกระทรวงพลังงานนำทีมคณะผู้แทนจากไทย ร่วมการประชุมเจ้าหน้าที่อาวุโสอาเซียนด้านพลังงาน ครั้งที่ 35

ปลัดกระทรวงพลังงานนำทีมคณะผู้แทนจากไทย ร่วมการประชุมเจ้าหน้าที่อาวุโสอาเซียนด้านพลังงาน ครั้งที่ 35 สร้างความร่วมมือด้านพลังงานในภูมิภาคอาเซียน

นายอารีพงศ์ ภู่ชอุ่ม ปลัดกระทรวงพลังงาน นำทีมคณะผู้แทนจากประเทศไทย เข้าร่วมการประชุมเจ้าหน้าที่อาวุโสอาเซียนด้านพลังงาน ครั้งที่ 35 และการประชุมอื่น ๆ ที่เกี่ยวข้อง (35th ASEAN Senior Officials Meeting on Energy: 35th SOME) ซึ่งจัดขึ้นระหว่างวันที่ 17-21 กรกฎาคม 2560 ณ กรุงมะนิลา ประเทศฟิลิปปินส์ โดยมีปลัดกระทรวงพลังงานและผู้แทนจากประเทศสมาชิก 10 ประเทศ เข้าร่วมประชุม ภายใต้หัวข้อ “One ASEAN Community Through Resilient and Sustainable Energy”

การประชุมครั้งนี้ นับเป็นการประชุมด้านพลังงานของอาเซียนที่สำคัญ เนื่องจาก จะเป็นการติดตามการดำเนินงานตามแผนปฏิบัติการว่าด้วยความร่วมมือด้านพลังงานอาเซียน (ASEAN Plan of Action on Energy Cooperation: APAEC) ปี 2016-2025 ระยะที่ 1 ระหว่างปี 2016-2020 ซึ่งมุ่งเน้นการสร้างความมั่นคงและการบูรณาการด้านพลังงาน ผ่านการซื้อขายไฟฟ้าพหุภาคี รวมถึงการเชื่อมโยงก๊าซธรรมชาติอาเซียน เพื่อความยั่งยืนด้านพลังงานในภูมิภาคอาเซียน

โดยการติดตามผลการดำเนินงานจากที่ประชุมครั้งนี้มีประเด็นสำคัญที่เกี่ยวข้องกับการพัฒนาด้านพลังงานของไทยอยู่ด้วย คือ 1.ด้านโครงข่ายสายส่งไฟฟ้าอาเซียน ซึ่งที่ประชุมอาเซียนแสดงความยินดีกับไทย มาเลเซีย และสปป. ลาว ในการดำเนินโครงการบูรณาการซื้อขายไฟฟ้าข้ามพรมแดน ซึ่งนับเป็นครั้งแรกของอาเซียน ที่จะมีการซื้อขายไฟฟ้าจำนวน 100 เมกะวัตต์ โดยผลิตจาก สปป. ลาว ไปยังมาเลเซีย โดยผ่านประเทศไทย และจะมีการลงนามลงนามในสัญญา Energy Purchase and Wheeling Agreement (EPWA) ในการประชุมรัฐมนตรีอาเซียนด้านพลังงาน ครั้งที่ 35 (35th ASEAN Ministers on Energy Meeting: 35th AMEM) ในเดือนกันยายน 2560 ณ กรุงมะนิลา ประเทศฟิลิปปินส์ นอกจากนี้ประเทศไทยยังได้รับเลือกให้เป็นประธานคณะกรรมการเชื่อมโยงไฟฟ้าอาเซียน (ASEAN Power Grid Consultative Committee: APGCC) ทำหน้าที่ในการดำเนินงานและอำนวยความสะดวกด้านความเชื่อมโยงระบบไฟฟ้าอาเซียน การจัดทำแผนปฏิบัติการสำหรับการพัฒนาโครงข่ายสายส่งไฟฟ้าอาเซียน (ASEAN Power Grid: APG) เพื่อรองรับการซื้อขายไฟฟ้าระหว่างภูมิภาคในรูปแบบพหุภาคีให้เกิดขึ้นอย่างเป็นรูปธรรมในอนาคต

2.โครงการท่อส่งก๊าซธรรมชาติอาเซียน อาเซียนได้ดำเนินการแล้วเสร็จเร็วกว่าแผน APAEC ที่กำหนดเป้าหมายไว้ว่าในปี 2020 จะสามารถผลักดันให้มีกฎหมายเปิดให้บุคคลสามารถเข้ามาใช้หรือเชื่อมต่อระบบท่อส่งก๊าซธรรมชาติและสถานีแปรสภาพก๊าซธรรมชาติเหลว (Third Party Access Code) ให้ได้อย่างน้อย 1 ประเทศ ทั้งนี้ ในปัจจุบัน ไทย สิงคโปร์ และมาเลเซีย ได้มีกฎหมายฉบับดังกล่าวแล้ว และ 3.ด้านพลังงานทดแทนและด้านประสิทธิภาพและอนุรักษ์พลังงาน ซึ่งอาเซียนมีเป้าหมายในการเพิ่มสัดส่วนการใช้พลังงานหมุนเวียนให้ได้ร้อยละ 23 ของการใช้พลังงานขั้นสุดท้ายภายในปี 2025 ซึ่งในปัจจุบัน อาเซียนมีสัดส่วนการใช้พลังงานหมุนเวียนอยู่ที่ร้อยละ 12-13 สำหรับการลดความเข้มข้นในการใช้พลังงานลงร้อยละ 30 ภายในปี 2025 อาเซียนสามารถลดความเข้มข้นในการใช้พลังงานลงได้ร้อยละ 15.92 อย่างไรก็ดี ที่ประชุมได้

แสดงถึงความมุ่งมั่นในการดำเนินการให้บรรลุตามเป้าหมายที่ตั้งไว้ พร้อมทั้งให้มีการติดตามและรายงานข้อมูลดังกล่าวอย่างต่อเนื่อง

ในส่วนของการส่งโครงการเข้าประกวดเพื่อรับรางวัล ASEAN Energy Awards 2107 ไทยส่งโครงการด้านการอนุรักษ์พลังงานและประสิทธิภาพพลังงาน จำนวน 13 รางวัล ด้านพลังงานทดแทน จำนวน 11 รางวัล เข้าร่วมประกวด ASEAN Energy Awards รวมถึง ส่งโครงการที่ได้รับรางวัลจาก Thailand Coal Awards 2017 เข้าร่วมประกวดรางวัล ASEAN Coal Awards 2017 จำนวน 7 รางวัล ซึ่งการส่งโครงการเข้าประกวดในครั้งนี้ แสดงถึงความตั้งใจและการสนับสนุนต่อผู้ประกอบการ หน่วยงานต่างๆ ให้เกิดความตระหนักรู้ในการใช้พลังงานอย่างมีประสิทธิภาพ ส่งเสริมการประกอบการที่ดีด้านถ่านหินในอาเซียน พร้อมทั้งเป็นการแสดงความเป็นผู้นำของไทยในด้านพัฒนาพลังงานทดแทน ทั้งนี้ จะมีการประกาศผลโครงการที่ได้รับรางวัลในช่วงการประชุมรัฐมนตรีอาเซียนด้านพลังงาน ครั้งที่ 35 ในเดือนกันยายน 2560 ณ กรุงมะนิลา ประเทศฟิลิปปินส์ ต่อไป

กิจกรรมประกวดวาดภาพเทิดพระเกียรติฯ ปีที่ 5 ในหัวข้อ “มีพลังงาน มีความสุข”

ขอเชิญทุกท่านส่งภาพวาดเข้าประกวด กิจกรรมประกวดวาดภาพเทิดพระเกียรติฯ ปีที่ 5 ในหัวข้อ “มีพลังงาน มีความสุข” สามารถอ่านรายละเอียดการส่งเข้าประกวดจากโปสเตอร์ และสามารถดาวน์โหลดใบสมัครเข้าร่วมโครงการได้ที่นี่ … ใบสมัคร
โดยการส่งผลงานเข้าร่วมโครงการได้ตั้งแต่บัดนี้ – วันที่ 30 กันยายน 2560 โดยสามารถส่งผลงานได้ที่พิพิธภัณฑ์ศิลปะไทยร่วมสมัย MOCA
ถนนวิภาวดีรังสิต หรือทางไปรษณีย์ ตู้ ปณ.47 ปณฝ.สายไหม กทม. 10224 โดยจะ (ถือวันประทับตราไปรษณีย์เป็นสำคัญ)

รัฐมนตรีว่าการกระทรวงพลังงาน และภริยา เข้าเฝ้าถวายพระพร สมเด็จพระราชาธิบดีฮัจญี ฮัสซานัล โบลเกียห์ มูอิซซัดดิน วัดเดาละห์แห่งบรูไนดารุสซาลาม

เมื่อวันที่ 15 กรกฎาคม 2560 พลเอกอนันตพร กาญจนรัตน์ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงพลังงาน  และภริยา เข้าเฝ้าถวายพระพร สมเด็จพระราชาธิบดีฮัจญี ฮัสซานัล โบลเกียห์ มูอิซซัดดิน วัดเดาละห์แห่งบรูไนดารุสซาลามเนื่องในวโรกาสวันเฉลิมพระชนมพรรษา 71 พรรษา และเข้าร่วมงานพระราชทานเลี้ยงพระกระยาหารค่ำ ณ พระราชวังอิสตานา นูรูล อิมาน บันดาร์เสรีเบกาวันประเทศบรูไน

กระทรวงพลังงาน จับมือ กระทรวงวิทย์ ร่วมพัฒนา เทคโนโลยีระบบกักเก็บพลังงาน ขับเคลื่อนนโยบายพลังงาน 4.0 สำหรับประเทศไทย

14 กรกฎาคม 2560 กระทรวงพลังงาน โดย สำนักงานนโยบายและแผนพลังงาน (สนพ.) ร่วมกับ กระทรวงวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี โดย สำนักงานพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งชาติ (สวทช.) จัดสัมมนา “ความพร้อมของประเทศไทยกับการประยุกต์ใช้เทคโนโลยีระบบกักเก็บพลังงาน” เพื่อเป็นเวทีให้นักวิจัย นักวิชาการ ผู้ประกอบการ องค์กรภาครัฐ และเอกชน ได้ทราบถึงทิศทางการวิจัยและพัฒนาเทคโนโลยีและอุตสาหกรรมด้านระบบกักเก็บพลังงานในระดับสากล รวมถึงกรณีศึกษาและแนวทางปฏิบัติที่ดีสำหรับประยุกต์ใช้ในประเทศไทย ซึ่งระบบกักเก็บพลังงานเป็นเทคโนโลยีที่จะช่วยในการเก็บพลังงานไฟฟ้าไว้ใช้ได้นานขึ้น รองรับ Thailand 4.0 ที่จะใช้พลังงานเพิ่มสูงขึ้น โดยได้รับเกียรติจาก พลเอกสุรศักดิ์ ศรีศักดิ์ ผู้ช่วยรัฐมนตรีประจำกระทรวงพลังงาน เป็นประธานเปิดงานและปาฐกถาพิเศษ “เทคโนโลยีระบบกักเก็บพลังงานภายใต้การขับเคลื่อนนโยบายพลังงาน 4.0 สำหรับประเทศไทย” พร้อมด้วยวิทยากรผู้เชี่ยวชาญด้านเทคโนโลยีระบบกักเก็บพลังงานจากต่างประเทศ

พลเอกสุรศักดิ์ ศรีศักดิ์ ผู้ช่วยรัฐมนตรีประจำกระทรวงพลังงาน กล่าวว่า นโยบาย Thailand 4.0 ของรัฐบาล เป็นโมเดลทางธุรกิจที่เปลี่ยนเศรษฐกิจแบบเดิมไปสู่เศรษฐกิจที่ขับเคลื่อนด้วยนวัตกรรม ซึ่ง กระทรวงพลังงาน มีนโยบายในการเตรียมความพร้อมในการขับเคลื่อนนโยบายพลังงาน 4.0 หรือ Energy 4.0 ให้มีความสอดคล้องกับนโยบาย Thailand 4.0 ด้วยการใช้ “การวิจัย พัฒนา เทคโนโลยี และนวัตกรรม” ดังจะเห็นได้จากนวัตกรรมที่เพิ่มมากขึ้นในปัจจุบัน และมีผลกระทบต่อการผลิตและใช้พลังงานของประเทศ เช่น การพัฒนายานยนต์ไฟฟ้า ที่เปลี่ยนการใช้พลังงานน้ำมันเป็นไฟฟ้า หรือการนำพลังงานจากธรรมชาติ เช่น แสงแดด ลม หรือชีวมวลมาใช้ผลิตไฟฟ้าแทนพลังงานน้ำจากเขื่อน ฉะนั้น ประเทศไทยจำเป็นต้องมีการวิจัย พัฒนา เทคโนโลยี และนวัตกรรม เพื่อรับมือให้ทันต่อกระแสการเปลี่ยนแปลงนี้

“กระทรวงพลังงาน มีเป้าหมายหลักในการขับเคลื่อนนโยบาย Energy 4.0 มอบหมายให้สำนักงานนโยบายและแผนพลังงาน (สนพ.) เป็นผู้ดำเนินกการ โดยมุ่งเน้นนวัตกรรมไปที่กรอบแผนงาน 4 ด้าน คือ (1) Firm Renewable Energy หรือพลังงานทดแทน ซึ่งในด้านการผลิตไฟฟ้า มุ่งใช้พลังงานทดแทนที่เป็นพลังงานสะอาด เช่น แสงอาทิตย์ ลม หรือชีวมวล แต่ยังมีข้อจำกัดการใช้งานอยู่บ้าง ดังนั้น ต้องทำให้พลังงานดังกล่าว มีความเสถียร สามารถใช้เป็นพลังงานหลักของประเทศได้ (2) EV (Electric Vehicle) หรือยานยนต์ไฟฟ้า ซึ่งจะช่วยลดมลพิษที่เกิดจากการเผาผลาญน้ำมัน รัฐบาลไทยประกาศสนับสนุนการผลิตและใช้ยานยนต์ไฟฟ้าอย่างเต็มที่ มีการพัฒนาอุตสาหกรรมเพื่อรองรับอุตสาหกรรมยานยนต์ไฟฟ้า ทำให้สามารถชาร์จไฟฟ้าได้ทั้งจากบ้านเรือนที่พักอาศัย หรือที่ปั๊มชาร์จไฟฟ้า โดยขณะนี้กระทรวงพลังงานอยู่ระหว่างการผลักดันให้ภาคเอกชนสร้างปั๊มชาร์จไฟฟ้าให้ได้ 150 หัวจ่าย (3) Smart City – Smart Grid คือการพัฒนาชุมชนหรือเมืองอัจฉริยะ ให้ผลิตและใช้ไฟฟ้าได้เอง ทำให้สามารถบริหารจัดการพลังงานได้อย่างมีประสิทธิภาพ และ (4) Energy Storage หรือระบบกักเก็บพลังงาน ซึ่งเป็นเรื่องที่จัดสัมมนาในวันนี้ เป็นตัวจักรสำคัญ ที่จะทำให้เป้าหมายทั้ง 3 เรื่องข้างต้นสำเร็จ เนื่องจาก energy storage เป็นส่วนประกอบหลักที่จะทำให้เกิดการเก็บพลังงานไฟฟ้าไว้ให้ใช้ได้นาน ทำให้การบริหารจัดการพลังงานทดแทนให้มีความเสถียร (Firm Renewable) ทำให้ยานยนต์ไฟฟ้า (EV : Electric Vehicle) ใช้งานได้นานขึ้น ปัจจุบันเทคโนโลยี Energy storage มีความหลากหลาย ทั้งเทคโนโลยีเดิมที่มีการใช้มานาน หรือเทคโนโลยีที่กำลังได้รับความสนใจ เช่น แบตเตอรี่ลิเที่ยม รวมถึงเทคโนโลยีอนาคต เช่น supercapacitor แต่การมุ่งสร้างความสามารถของประเทศไทยให้มีความพร้อมทั้งในการผลิต และการประยุกต์ใช้นั้น จำเป็นต้องคำนึงถึงปัจจัยหลักๆ คือ ราคาต้นทุนเป็นสำคัญ นอกจากนี้การลงทุนสร้างโรงงานผลิตแบตเตอรี่ในประเทศไทย ต้องคำนึงถึงการมีวัตถุดิบในประเทศ หรือการมี supply chain ที่ครบถ้วน รวมถึงการมีนโยบายและมาตรการสนับสนุนจากภาครัฐ การสัมมนาในวันนี้ ถือเป็นโอกาสดี ที่จะได้สำรวจองค์ความรู้และหารือแลกเปลี่ยนความรู้เกี่ยวกับเทคโนโลยี นโยบาย มาตรการส่งเสริม และทิศทางการลงทุนในอุตสาหกรรม Energy storage เพื่อประเมินความพร้อมและกำหนดบริบทการพัฒนาเทคโนโลยี Energy storage ที่เหมาะสมกับประเทศไทย ทำให้เรารู้ว่า ประเทศไทยควรจะเดินอย่างไร จะเตรียมความพร้อมเรื่อง Energy storage อย่างไร เพื่อให้สอดคล้องกับนโยบาย Energy 4.0 เพื่อการพัฒนาให้ประเทศมีความยั่งยืน” ผู้ช่วยรัฐมนตรีประจำกระทรวงพลังงาน กล่าว

ด้าน นางเอมอร ชีพสุมล รองผู้อำนวยการสำนักงานนโยบายและแผนพลังงาน (สนพ.) กล่าวว่า “สืบเนื่องจากคณะกรรมการกองทุนเพื่อส่งเสริมการอนุรักษ์พลังงาน เล็งเห็นความจำเป็นในการใช้เทคโนโลยีระบบกักเก็บพลังงาน (Energy Storage) ที่มีประสิทธิภาพ สำหรับประยุกต์ใช้ร่วมกับระบบผลิตไฟฟ้าและพลังงานจากแหล่งพลังงานทดแทน เพื่อเพิ่มเสถียรภาพการผลิตและใช้พลังงานของประเทศ จึงมีมติอนุมัติงบประมาณ 765 ล้านบาท เพื่อนำไปจัดทำโครงการสนับสนุนการศึกษาวิจัยพัฒนาเทคโนโลยีระบบกักเก็บพลังงาน (Energy Storage System) ภายในระยะเวลา 2 ปี เพื่อสนับสนุนให้เกิดการประยุกต์ใช้เทคโนโลยีกักเก็บพลังงานในด้านต่างๆ โดยนำร่องการใช้งานในด้านความมั่นคงและภัยพิบัติ ด้านอุตสาหกรรม และยานยนต์ไฟฟ้า ตลอดจนการสร้างความเข้มแข็งด้านการวิจัยและพัฒนาเทคโนโลยีระบบกักเก็บพลังงานตลอดห่วงโซ่คุณค่า เพื่อสร้างฐานการพัฒนาเทคโนโลยีระบบกักเก็บพลังงานให้มีความเข้มแข็งและแข่งขันได้ในระยะยาว ทั้งนี้ได้ร่วมมือและมอบหมายให้ สำนักงานพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งชาติ (สวทช.) ซึ่งเป็นหน่วยงานวิจัยและพัฒนาเป็นผู้บริหารจัดการโครงการ”

“การดำเนินงานระยะที่ผ่านมา ตั้งแต่เดือนตุลาคม 2559 สวทช. เปิดรับข้อเสนอโครงการจัดกระบวนการพิจารณา และเสนอคณะทำงานกำกับงานวิจัยพัฒนาเทคโนโลยีระบบกักเก็บพลังงาน (Steering Committee) อนุมัติการสนับสนุนโครงการแล้ว รวม 32 โครงการ งบประมาณรวม 301,897,000 บาท เป็นงบประมาณจากกองทุนฯ 295,634,000 บาท และงบประมาณร่วมสนับสนุนจากภาคเอกชน 6,263,000 ซึ่งยังมีงบประมาณคงเหลืออีก 400,320,000 ล้านบาท ดังนั้น เพื่อให้ทิศทางและแนวทางในการดำเนินงานมีความสอดคล้องและต่อเนื่องสอดคล้องกับนโยบายของรัฐบาล สนพ. ในฐานะเลขานุการกองทุนฯ จึงร่วมมือกับ สวทช. จัดสัมมนาขึ้น เพื่อสำรวจองค์ความรู้เกี่ยวกับเทคโนโลยี นโยบาย มาตรการส่งเสริม และทิศทางการลงทุนในอุตสาหกรรมด้านระบบกักเก็บพลังงานที่มีอยู่ในปัจจุบัน ทั้งในประเทศและต่างประเทศ พร้อมแลกเปลี่ยนประสบการณ์ด้านการวิจัยและพัฒนา การกำหนดนโยบายและมาตรการส่งเสริมด้านระบบกักเก็บพลังงาน สำหรับเป็นกรณีศึกษาและแนวทางปฏิบัติที่ดีสำหรับประยุกต์ใช้ในประเทศไทย”

ภายในงานสัมมนา ได้เชิญผู้เชี่ยวชาญจากกระทรวงพลังงาน ประเทศสหรัฐอเมริกา มาบรรยายเรื่อง A review of U.S. market reforms for renewable integration, flexibility, and storage และผู้เชี่ยวชาญจาก DNV GL Clean Technology Center ประเทศสิงคโปร์ มาบรรยายเรื่อง Evolution of Energy Storage Systems Technology: Current and future รวมทั้งการเสวนาหัวข้อ “ความพร้อมของประเทศไทยกับการประยุกต์ใช้เทคโนโลยีระบบกักเก็บพลังงาน” โดยมีผู้เชี่ยวชาญด้านเทคโนโลยี ผู้แทนจากหน่วยงานดูแลกำกับนโยบาย และผู้แทนจากภาคอุตสาหกรรมในประเทศ มาแลกเปลี่ยนความรู้และอภิปรายร่วมกัน เพื่อหารือถึงบริบทการพัฒนาเทคโนโลยีระบบกักเก็บพลังงานที่เหมาะสมกับประเทศไทยต่อไป นอกจากนี้ ยังจัดแสดงนิทรรศการโครงการวิจัยที่ได้รับอนุมัติทุนสนับสนุนไปแล้ว เพื่อเป็นข้อมูลประกอบการสัมมนา ประกอบด้วย ผู้แทนทั้งจากภาครัฐ ภาคเอกชน และภาคการศึกษา

กระทรวงพลังงาน “สืบสานพระราชปณิธาน คุ้งบางกะเจ้า”

กระทรวงพลังงาน “สืบสานพระราชปณิธาน คุ้งบางกะเจ้า”
จัดกิจกรรมในศูนย์เด็กเล็กรอบคุ้งฯ

กระทรวงพลังงาน ขับเคลื่อนกิจกรรม CSR รวมพลังทำความดีถวายเป็นพระราชกุศล ณ “ศูนย์เด็กเล็กในอบต.บางยอ” และตรวจเช็คอุปกรณ์ ถังแก๊สหุงต้ม LPG ตรวจเช็คระบบไฟฟ้า ในศูนย์เด็กเล็กรอบคุ้งบางกะเจ้า เพื่อแสดงความจงรักภักดีต่อสถาบันพระมหากษัตริย์ และถวายเป็นพระราชกุศล

​วันนี้ (5ก.ค.60) นายสมนึก บำรุงสาลี รองปลัดกระทรวงพลังงาน เป็นประธานในกิจกรรมรวมพลังทำความดี เพื่อถวายเป็นพระราชกุศล “สืบสานพระราชปณิธาน คุ้งบางกะเจ้า” ณ ศูนย์พัฒนาเด็กเล็กองค์การบริหารส่วนตำบลบางยอ (วัดบางกะเจ้ากลาง) คุ้งบางกะเจ้า จ.สมุทรปราการ พร้อมด้วยข้าราชการ เจ้าหน้าที่จากกระทรวงพลังงาน และผู้นำท้องถิ่น เพื่อแสดงความจงรักภักดีต่อสถาบันพระมหากษัตริย์ เนื่องในโอกาสวันเฉลิมพระชนมพรรษาสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวมหาวชิราลงกรณบดินทรเทพยวรางกูร วันที่ 28 กรกฎาคม 2560 นี้

​นายสมนึก กล่าวว่า กระทรวงพลังงานและภาคีเครือข่าย ได้จัดกิจกรรมพัฒนาศูนย์เด็กเล็กองค์การบริหารส่วนตำบลบางยอ ในการปรับภูมิทัศน์ เช่น การทาสีอาคารศูนย์พัฒนาเด็กเล็ก การปรับพื้นที่รอบศูนย์ ปลูกต้นไม้และเปลี่ยนหลอดไฟฟ้าแบบประหยัดพลังงาน เพื่อให้ศูนย์พัฒนาเด็กเล็กแห่งนี้มีคุณภาพชีวิตทีดี ในพื้นที่เพิ่มขึ้น รวมทั้งกระทรวงพลังงาน ยังได้ตรวจเช็คอุปกรณ์ ถังแก๊สหุงต้ม เปลี่ยนหลอดไฟประหยัดพลังงาน พร้อมตรวจเช็คอุปกรณ์ไฟฟ้าให้มีสภาพความพร้อม เพื่อรองรับในช่วงฤดูฝน ภายในศูนย์เด็กเล็กรอบพื้นที่คุ้งบางกะเจ้า ทั้งนี้ โดยความร่วมมือจากทุกฝ่ายทั้งหน่วยงานภายใต้สังกัด ชุมชน และประชาชนในพื้นที่

​“กระทรวงพลังงานได้เล็งเห็นความสำคัญของการอนุรักษ์และพัฒนาพื้นที่สีเขียวของคุ้งบางกะเจ้า ประกอบด้วย 6 ตำบล ได้แก่ ตำบลบางกะเจ้า ตำบลบางน้ำผึ้ง ตำบลบางกอบัว ตำบลบางกระสอบ ตำบลบางยอ และตำบลทรงคะนอง อำเภอพระประแดง จังหวัดสมุทรปราการ ซึ่งเป็นพื้นที่สีเขียวผืนสุดท้ายของพื้นที่ใกล้เคียงกรุงเทพมหานคร และปริมณฑล รวมทั้งต้องการส่งเสริมให้เกิดการอนุรักษ์วิถีชุมชนดั้งเดิมตามแนวพระราชดำริ และเป็นต้นแบบการพัฒนาแบบมีส่วนร่วมของคนในท้องถิ่น อันจะนำมาซึ่งการพัฒนาอย่างยั่งยืนต่อไป” นายสมนึกกล่าว

กระทรวงพลังงานนำคณะสื่อมวลชนในพื้นที่จังหวัดสมุทรสงคราม ร่วมศึกษาดูงานวิสาหกิจชุมชนกลุ่มแป้งร่ำ ตำบลบางนางลี่ อำเภออัมพวา และศูนย์เรียนรู้เพื่อการพัฒนาเศรษฐกิจพอเพียงบ้านสารภี อำเภอบางคนที จังหวัดสมุทรสงคราม

สำนักงานพลังงานจังหวัดสมุทรสงคราม นำคณะสื่อมวลชนในพื้นที่จังหวัดสมุทรสงคราม ร่วมศึกษาดูงานวิสาหกิจชุมชนกลุ่มแป้งร่ำ ตำบลบางนางลี่ อำเภออัมพวา และศูนย์เรียนรู้เพื่อการพัฒนาเศรษฐกิจพอเพียงบ้านสารภี อำเภอบางคนที จังหวัดสมุทรสงคราม ส่งเสริมพลังงานทดแทนเพิ่มมูลค่าผลิตภัณฑ์ สร้างรายได้ ลดรายจ่ายในท้องถิ่น และการส่งเสริมองค์ความรู้ด้านเทคโนโลยีพลังงานทดแทนต่อยอดสู่การบริหารจัดการพลังงานในชุมชนอย่างครบวงจร เพื่อสร้างความมั่นคงด้านพลังงานในชุมชนอย่างยั่งยืน

​จังหวัดสมุทรสงคราม-วันนี้( 3 กรกฎาคม 2560) ว่าที่ร้อยเอกศตวรรธน์ ดุษฎีเสนีย์ พลังงานจังหวัดสมุทรสงคราม เปิดเผยว่า โครงการส่งเสริมพลังงานทดแทนในชุมชนของวิสาหกิจชุมชนกลุ่มแป้งร่ำ ตำบลบางนางลี่ อำเภออัมพวา และศูนย์เรียนรู้เพื่อการพัฒนาเศรษฐกิจพอเพียงบ้านสารภี ตำบลจอมปลวก อำเภอบางคนที จังหวัดสมุทรสงคราม ถือเป็นโครงการที่สำนักงานพลังงานจังหวัดสมุทรสงคราม กระทรวงพลังงาน ได้ดำเนินการต่อยอดตามนโยบายกระทรวงพลังงานที่ต้องการสนับสนุนการใช้พลังงานทดแทนในชุมชน เพื่อยกระดับให้ชุนชนเป็นชุมชนบริหารจัดการตนเองด้านพลังงานอย่างครบวงจร
โดยในกลุ่มของวิสาหกิจชุมชนกลุ่มแป้งร่ำ ตำบลบางนางลี่ อำเภออัมพวา เป็นกลุ่มที่นำผลิตภัณฑ์จากเกลือจืดมาแปรรูปเป็นผลผลิตภัณฑ์แป้งร่ำ และต่อยอดเป็นผลิตภัณฑ์อื่นๆ ได้แก่ แป้งพอกหน้า แป้งขัดผิว แป้งแต้มสิว และแป้งหอมพฤกษาพรรณ เป็นต้น ซึ่งในการผลิตสินค้าต่างๆ ทางชุมชนจะประสบปัญหาเรื่องมาตรฐานผลิตภัณฑ์ และใช้เวลานานในการอบแห้งผลิตภัณฑ์เนื่องจากต้องพึ่งพาแสงแดดจากธรรมชาติ ซึ่งในวันที่ฝนตกก็ไม่สามารถดำเนินการได้ นอกจากนี้ ยังใช้แรงงานจำนวนมากในการผลิตแต่ละครั้ง ทำให้มีต้นทุนสูง ดังนั้น เพื่อเป็นการแก้ปัญหาดังกล่าว กรมพัฒนาพลังงานทดแทนและอนุรักษ์พลังงาน (พพ.) จึงได้สนับสนุนโรงอบแห้งพลังงานแสงอาทิตย์ให้กับกลุ่มวิสาหกิจชุมชนกลุ่มแป้งร่ำ จำนวน 2 โรง ขนาด 8.00 เมตรx12.40 เมตร โดยงบประมาณกองทุนส่งเสริมการอนุรักษ์พลังงานจำนวน 1,600,000 บาท ซึ่งภายหลังจากการสนับสนุนเทคโนโลยีดังกล่าวช่วยให้สามารถลดระยะเวลาในขั้นตอนผลิตจาก 4 วัน เหลือเพียง 2 วัน ช่วยลดต้นทุนการผลิต เช่น ค่าใช้จ่ายด้านพลังงานและค่าแรงงาน รวมประมาณ 500,000 บาทต่อปี ที่สำคัญทำให้ผลิตภัณฑ์ได้มาตรฐาน
สร้างมูลค่าเพิ่มผลิตภัณฑ์ และเพิ่มรายได้ให้กับกลุ่มวิสาหกิจชุมชนกลุ่มแป้งร่ำอีกด้วย

พลังงานจังหวัดสมุทรสงคราม กล่าวว่า สำหรับศูนย์เรียนรู้เพื่อการพัฒนาเศรษฐกิจพอเพียงบ้านสารภีตำบลจอมปลวก อำเภอบางคนที จังหวัดสมุทรสงคราม ถูกพัฒนาขึ้นมาโดยนายสุชล สุขเกษม เกตรกรในพื้นที่อำเภอบางคนทีเพื่อให้เป็นศูนย์การเรียนรู้และถ่ายทอดเทคโนโลยีด้านเศรษฐกิจพอเพียงและเทคโนโลยีพลังงานชุมชน โดยมีเป้าหมายเพื่อสร้างความรู้และเป็นต้นแบบการพัฒนาอาชีพและคุณภาพชีวิตของคนในชุมชนอย่างครบวงจร ซึ่งทางสำนักงานพลังงานจังหวัดสมุทรสงคราม ได้เล็งเห็นถึงประโยชน์ในการร่วมสร้างองค์ความรู้ด้านพลังงานทดแทนสู่ชุมชน และส่งเสริมให้ชุมชนในพื้นที่สามารถยกระดับเป็นชุมชนบริหารจัดการตนเองด้านพลังงานอย่างครบวงวร จึงได้ร่วมสนับสนุนเทคโนโลยีพลังงาน ประกอบด้วย ตู้อบแห้งพลังงานแสงอาทิตย์ จักรยานสูบน้ำ แผงโซลาร์สำหรับการสูบน้ำ แผงโซลาร์เพื่อการเพิ่มออกซิเจนในน้ำ

เตาเผาถ่าน 200 ลิตรแบบตั้งและนอน เตาชีวมวล เตาเศรษฐกิจ ตลอดจนข่าวสาร เอกสารทางวิชาการด้านเทคโนโลยีพลังงาน และด้านการอนุรักษ์พลังงาน และชุดสาธิตไบโอดีเซลแบบถังกวนเล็ก เป็นต้น เพื่อใช้เป็นต้นแบบในการอบรม และการสาธิต
เป็นองค์ความรู้ให้กับผู้ที่สนใจ ซึ่งปัจจุบันมีชุมชน หน่วยงานต่างๆ ทั้งภาครัฐ เอกชน และสถาบันการศึกษา ทั้งภายในจังหวัดสมุทรสงคราม และจังหวัดอื่นๆ ให้ความสนใจมาศึกษาดูงานภายในศูนย์เป็นจำนวนมาก เนื่องจากสามารถนำไปต่อยอดพัฒนาคุณภาพชีวิตทั้งในภาคครัวเรือน และชุมชนได้อย่างครบวงจร

กระทรวงพลังงานพาสื่อมวลชนท้องถิ่นดูงานศูนย์การศึกษาพัฒนาอ่าวคุ้งกระเบน

สำนักงานพลังงานจังหวัดจันทบุรี ติดตั้งระบบโซลาร์เซลล์ ลดค่าใช้จ่ายด้านพลังาน และเพิ่มประชากร ปูม้าไข่ ส่งเสริมการทำประมงชายฝั่ง สร้างความอุดมสมบูรณ์ในศูนย์การศึกษาพัฒนาอ่าวคุ้งกระเบน

สำนักงานพลังงานจังหวัดจันทบุรี กระทรวงพลังงาน นำคณะสื่อมวลชนในพื้นที่จังหวัดจันทบุรี ร่วมศึกษาดูงาน โครงการส่งเสริมการใช้พลังงานทดแทนในศูนย์ศึกษาการพัฒนาอ่าวคุ้งกระเบนอันเนื่องมาจากพระราชดำริ ตำบลคลองขุด อำเภอท่าใหม่ จังหวัดจันทบุรี ชมศักยภาพพลังงานทดแทนเพื่อส่งเสริมการอนุรักษ์และเพิ่มทรัพยากรปูไข่ ในการทำประมงชายฝั่ง สร้างรายได้และความเป็นอยู่ที่ดีอย่างยั่งยืนให้ประชาชนในพื้นที่

จังหวัดจันทบุรี-วันนี้ ( 30 มิถุนายน 2560) นางจันทร์ทิพย์ แสนเขียววงศ์ พลังงานจังหวัดจันทบุรี เปิดเผยว่า โครงการส่งเสริมการใช้พลังงานทดแทนในศูนย์ศึกษาการพัฒนาอ่าวคุ้งกระเบนอันเนื่องมาจากพระราชดำริ สำหรับธนาคารปูม้าไข่ เป็นโครงการภายใต้โครงการพลังงานชุมชนเพื่อชุมชนจัดการตนเองด้านพลังงาน ปี 2560 (Block grant) งบประมาณโดยกองทุนส่งเสริมการอนุรักษ์พลังงาน จำนวน 840,000 บาท เพื่อดำเนินการสนับสนุนการจัดหาและติดตั้งระบบเติมอากาศในบ่ออนุบาลปูม้าไข่ด้วยพลังงานแสงอาทิตย์ขนาด 1,500 วัตต์ และอุปกรณ์อื่นๆ ที่เกี่ยวข้อง จำนวน 4 ระบบ เพื่อการอนุรักษ์และเพิ่มทรัพยากรปูไข่ในการทำประมงชายฝั่ง ในพื้นที่ตำบลท่าใหม่ อำเภอคลองขุด จังหวัดจันทบุรี รวมถึงการสนับสนุนให้เกิดการใช้พลังงานทดแทนในการบริหารจัดการทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมที่มีความเหมาะสม
ทั้งนี้ โครงการดังกล่าวสามารถลดภาระค่าใช้จ่ายด้านพลังงานได้กว่า 29,500 บาทต่อปี และสามารถเพิ่มสัดส่วนการผลิตและการใช้พลังงานไฟฟ้าจากพลังงานทดแทนตามนโยบายของกระทรวงพลังงานได้ไม่น้อยกว่า 0.67 toeต่อปี หรือ คิดเป็น 7,800 หน่วยต่อปี ที่สำคัญยังส่งผลให้ประชาชนได้รับประโยชน์จากการทำประมงชายฝั่งโดยเพิ่มความอุดมสมบูรณ์ของสัตว์น้ำในพื้นที่มากยิ่งขึ้น สร้างรายได้และความเป็นอยู่ที่ดีอย่างยั่งยืนให้กับประชาชนในพื้นที่ นอกจากนี้ ยังสร้างสิ่งแวดล้อมและระบบนิเวศที่ดีเนื่องจากสามารถลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจกจากการใช้พลังงานไฟฟ้าได้อีกด้วย
“ศูนย์ศึกษาการพัฒนาอ่าวคุ้งกระเบน อันเนื่องมาจากพระราชดำริ และชาวประมงพื้นบ้าน ริเริ่มจัดทำโครงการธนาคารปูไข่เพื่ออนุรักษ์และเพิ่มทรัพยากรปูม้า มาตั้งแต่ปี พ.ศ. 2559 โดยจะนำปูม้าไข่แก่นอกกระดองที่ชาวประมง จับได้มาแยกไข่ออกจากแม่ปู จากนั้นนำไข่มาฟักและอนุบาลตัวอ่อนก่อนปล่อยกลับคืนสู่ธรรมชาติ โดยขั้นตอน การดำเนินการดังกล่าวจำเป็นต้องใช้ระบบและอุปกรณ์ที่ต้องใช้พลังงานไฟฟ้าและไฟฟ้า ซึ่งทำให้โครงการมีต้นทุนค่าไฟฟ้าสูงพอสมควร นอกจากนนี้ บางครั้งยังประสบปัญหาไฟฟ้าตกดับทำให้ลูกปูม้าไข่ที่อนุบาลไว้ขาดออกซิเจนเกิดความเสียหายอย่างมาก ทางสำนักงานพลังงานจังหวัดจันทบุรีเห็นว่า โครงการดังกล่าวเป็นประโยชน์ต่อประชาชนในพื้นที่ เพราะใช้พลังงานทดแทนช่วยบริหารจัดการทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมที่มีความเหมาะสม จึงได้ร่วมสนับสนุนการใช้พลังงานทดแทนขึ้นในศูนย์ศึกษาการพัฒนาอ่าวคุ้งกระเบนอันเนื่องมาจากพระราชดำริ เพื่อส่งเสริมให้โครงการดังกล่าวสามารถเป็นต้นแบบการทำประมงพื้นบ้านที่มีความยั่งยืน และขยายผลไปสู่กลุ่มชาวประมงพื้นบ้านในพื้นที่อื่นอีกต่อไป” พลังงานจังหวัดจันทบุรี กล่าว

กระทรวงพลังงาน มอบรางวัลประกวดออกแบบตราสัญลักษณ์ หัวข้อ “ผลิตภัณฑ์ชุมชน ลดใช้พลังงาน”

          กระทรวงพลังงาน จัดพิธีมอบรางวัลประกวดออกแบบตราสัญลักษณ์ ในหัวข้อ “ผลิตภัณฑ์ชุมชนลดใช้พลังงาน” เงินรางวัลกว่า 50,000 บาท โดยมี ดร.อารีพงศ์ ภู่ชอุ่ม ปลัดกระทรวงพลังงาน เป็นประธานในพิธี พร้อมด้วยผู้บริหารกระทรวงพลังงาน มอบโล่ เงินรางวัล ณ ห้องประชุม 9 ชั้น 15 สำนักงานปลัดกระทรวงพลังงาน
          ดร.อารีพงศ์ ภู่ชอุ่ม ปลัดกระทรวงพลังงาน เปิดเผยว่า “การประกวดออกแบบตราสัญลักษณ์ ในหัวข้อ “ผลิตภัณฑ์ชุมชน ลดใช้พลังงาน” เป็นอีกหนึ่งกิจกรรมในการลดการใช้พลังงานในกลุ่มแปรรูปผลิตภัณฑ์ของชุมชน ปัจจุบันมีการดำเนินงานส่งเสริมไปแล้วประมาณ 188 กลุ่ม ทำให้เกิดการลดการใช้พลังงานมากกว่า 5 ล้านบาท/ปี และเพื่อเป็นการสร้างเอกลักษณ์พร้อมกับประชาสัมพันธ์ผลิตภัณฑ์ที่สามารถลดการใช้พลังงานในขั้นตอนการผลิตได้ และยังเพื่อสร้างโอกาสการขยายผลทางตลาดของกลุ่มผลิตภัณฑ์ชุมชน ลดใช้พลังงาน ทั้งในแง่ของผู้ผลิตและผู้บริโภค ที่ห่วงใยในการใช้พลังงานและทรัพยากรของโลก ทั้งนี้ผลงานตราสัญลักษณ์ที่ชนะการประกวด จะถูกนำไปใช้งานบนบรรจุภัณฑ์หรือผลิตภัณฑ์ที่เข้าร่วมโครงการกับกระทรวงพลังงาน ที่มีการพัฒนาหรือเปลี่ยนแปลงกระบวนการผลิตหรือการแปรรูป โดยคุณสมบัติของผลิตภัณฑ์ที่จะได้รับตราสัญลักษณ์ฯ จะต้องสามารถลดการใช้พลังงานหรือประหยัดเงินค่าพลังงาน จากเดิมลงได้ไม่น้อยกว่าร้อยละ 25 หรือสามารถลดระยะเวลาการแปรรูป จากเดิมลงได้ไม่น้อยกว่าร้อยละ 25 หรือใช้พลังงานหมุนเวียนแทนพลังงานฟอสซิล ซึ่งการประกวดตราสัญลักษณ์ได้รับความสนใจจากเยาวชนและประชาชนทั่วประเทศเป็นจำนวนมาก เข้าร่วมส่งผลงานกว่า 74 ผลงาน โดยตราสัญลักษณ์ต้องสามารถสื่อความหมายตามหัวข้อ “สัญลักษณ์ผลิตภัณฑ์ชุมชน ลดใช้พลังงาน” มีความคิดริเริ่มสร้างสรรค์ สวยงาม จดจำง่าย สามารถนำไปใช้ได้จริง และสอดคล้องกับ LOGO กระทรวงพลังงาน”

 

ผลงานที่ชนะการประกวดออกแบบตราสัญลักษณ์ “ผลิตภัณฑ์ชุมชน ลดใช้พลังงาน”
ชื่อผลงานการประกวด Reduce Nergy โดย นางสาวธัญชนก ศิรนันทสกุล
แนวความคิด 
Reduce คือการลด Nergy มาจากคำว่า Energy โดยการตัด E หน้า Energy ออก เพื่อไม่ให้มีคำอ่านที่นำหน้าว่า End (สิ้นสุด) ของพลังงานซ่อนอยู่
ในส่วนของการออกแบบได้นำสัญลักษณ์กระทรวงพลังงานมาดัดแปลง เพื่อให้     โลโก้มีกลิ่นอายไม่หลุดจากความเป็นกระทรวงพลังงาน ซึ่งนำมาใช้เป็นตัวแทนของผลิตภัณฑ์ชุมชนมาผสมผสานกับพลังงานสีเขียวในลักษณะห้อมล้อมกัน หมายถึงผลิตภัณฑ์ที่มีความมุ่งมั่นในการตัดลดทอนการใช้ทรัพยากรในกระบวนการผลิตแปรรูป
 ทั้งนี้ ผลงาน Reduce Nergy โดย นางสาวธัญชนก ศิรนันทสกุล ที่ชนะการประกวด จะถูกนำไปใช้งานบนบรรจุภัณฑ์หรือผลิตภัณฑ์ที่เข้าร่วมโครงการกับกระทรวงพลังงาน และจัดแสดงในงานมหกรรมตลาดนัดพลังงานชุมชน “10 ปี พลังงานชุมชน” 4 จังหวัด ในทั่วทุกภูมิภาค โดยภายในงานจะมีการแสดงผลงานความก้าวหน้าด้านเทคโนโลยีพลังงานชุมชน ที่ใช้ได้ผลแล้วจริง เหมาะสมตามบริบทของแต่ละภูมิภาค เป็นประโยชน์สำหรับการศึกษาของผู้สนใจเกี่ยวกับความรู้ด้านพลังงาน สามารถนำมาประยุกต์ใช้ในการจัดการพลังงานในครัวเรือน ลดต้นทุนการผลิตในภาคการเกษตร และวิสาหกิจชุมชน ครั้งที่ 1 : วันที่ 5-7 กรกฏาคม ณ จังหวัดสุพรรณบุรี ครั้งที่ 2 :                       วันที่ 19-21 กรกฎาคม ณ จังหวัดพิษณุโลก ครั้งที่ 3 : วันที่ 2-4 สิงหาคม ณ จังหวัดสุราษฏร์ธานี และครั้งที่ 4 : วันที่ 16-18 สิงหาคม ณ จังหวัดอุดรธานี

รมว.พน. เป็นประธานโครงการเยาวชนกับการอนุรักษ์พลังงาน

พลเอกอนันตพร กาญจนรัตน์ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงพลังงาน เป็นประธานในพิธีปิด และมอบรางวัลโครงการความร่วมมือด้านความรับผิดชอบต่อสังคม ระหว่างการไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทย การไฟฟ้านครหลวง และการไฟฟ้าส่วนภูมิภาค ในโครงการเยาวชนกับการอนุรักษ์พลังงาน โดยมีโรงเรียนเข้าร่วมโครงการทั้งสิ้น 89 แห่งทั่วประเทศ และเครือข่ายรวมกว่า 8870 คน เป็นผลให้โรงเรียนที่เข้าร่วมโครงการสามารถประหยัดพลังงานโดยเฉลี่ย 11,890 หน่วยต่อเดือน คิดเป็นเงิน 499,380 บาทต่อปี

รองปลัดกระทรวงพลังงาน แถลงเปิดงานแสดงเทคโนโลยีและการประชุม พลังงานเพื่ออนาคตแห่งเอเชีย “ฟิวเจอร์ เอนเนอร์ยี่ เอเชีย”

วันที่ 26 มิถุนายน 2560 นายธรรมยศ ศรีช่วย รองปลัดกระทรวงพลังงานแถลงเปิดงานแสดงเทคโนโลยีและการประชุม พลังงานเพื่ออนาคตแห่งเอเชีย “ฟิวเจอร์ เอนเนอร์ยี่ เอเชีย” ซึ่งจะเป็นก้าวสำคัญไปสู่ไทยแลนด์ เอนเนอร์ยี่ 4.0 โดยวางการเปลี่ยนแปลงและพัฒนาประเทศไทยให้เป็นนโยบายหลักที่สำคัญของรัฐบาล ซึ่งจะสร้างโอกาสทางธุรกิจมหาศาลให้แก่บริษัทด้านพลังงาน ทั้งบริษัทแบบบูรณาการและเฉพาะทางจากทั่วโลก จึงทำให้งานแสดงเทคโนโลยีและการประชุม “ฟิวเจอร์ เอนเนอร์ยี่ เอเชีย” เป็นแพลตฟอร์มที่สมบูรณ์แบบสำหรับ บริษัทน้ำมันแห่งชาติ (National Oil Companies – NOCs) และบริษัทน้ำมันสากล (International Oil Companies – IOCs) ในการส่งเสริมและพัฒนาการเปลี่ยนแปลงจากการเป็นเพียงผู้ผลิตน้ำมันแบบดั้งเดิมสู่การเป็นผู้จัดหาพลังงานแบบบูรณาการ เพื่อให้เกิดการกำหนดสัดส่วนพลังงานที่มีประสิทธิภาพและมีความยั่งยืนมากขึ้นในเอเชีย

ฟิวเจอร์ เอนเนอร์ยี่ เอเชีย ภายใต้การสนับสนุนจากกระทรวงพลังงาน จะเป็นการรวมตัวกันของอุตสาหกรรมด้านพลังงานที่ใหญ่ที่สุดในเอเชีย โดยจะเน้นไปที่อุตสาหกรรมด้านน้ำมัน ก๊าซ และพลังงานทดแทน และเป็นเวทีจัดแสดงที่นำเอาการผสมผสานของพลังงานหลายประเภทและเทคโนโลยีที่มีความสมบูรณ์แบบ เพื่อตอบสนองต่อความต้องการที่เพิ่มขึ้น รวมถึงการเพิ่มประสิทธิภาพ และสนับสนุนให้เกิดการเปลี่ยนแปลงสู่ระบบเศรษฐกิจคาร์บอนต่ำ งานจะจัดขึ้นในวันที่ 12-14 ธันวาคม 2561 ณ ศูนย์นิทรรศการและการประชุมไบเทค กรุงเทพฯ โดยมีกระทรวงพลังงานเป็นประธานเปิดงานท่ามกลางผู้ทรงเกียรติในทุกภาคส่วน อาทิ ผู้แทนภาครัฐ ผู้นำด้านอุตสาหกรรมพลังงาน ร่วมกับบริษัท ดีเอ็มจี อีเว้นท์ ผู้จัดงานแสดงสินค้าระดับนานาชาติ และบริษัท เอ็กซ์โปซิส จำกัด ผู้ร่วมจัดงานที่เชี่ยวชาญจากประเทศไทย

นายธรรมยศ ศรีช่วย กล่าวว่า “เรารู้สึกยินดีจะได้เป็นเจ้าภาพจัดงานฟิวเจอร์ เอนเนอร์ยี่ เอเชีย 2018 และรอต้อนรับผู้แทนองค์กรต่างๆ ที่จะไปร่วมในงาน เพื่อการพัฒนาอย่างต่อเนื่องในอุตสาหกรรมด้านพลังงานของโลก การตัดสินใจและความสัมพันธ์ที่จะบังเกิดขึ้น จะช่วยให้เกิดความร่วมมือกันและผลักดันเชิงเศรษฐกิจของอุตสาหกรรมด้านพลังงานในอนาคตให้เติบโตขึ้นได้ ไทยแลนด์ 4.0 หมายถึงโอกาสและการเปลี่ยนแปลงของภาคส่วนพลังงานของประเทศเช่นกัน ในขณะที่เรากำลังก้าวเข้าสู่โลกที่ไร้คาร์บอนเข้าไปทุกที การผลิตและการบริโภคพลังงานจะต้องปรับตัวครั้งใหญ่เพื่อเป็นการรับประกันว่าจะสามารถตอบสนองต่อความต้องการของประชากรที่เพิ่มจำนวนขึ้น โดยการจัดงานในประเทศไทยครั้งนี้สะท้อนให้เห็นถึงความพยายามอย่างต่อเนื่องของประเทศในการส่งเสริมโครงการใหม่ ดึงดูดการลงทุนในภาคส่วนพลังงาน และสื่อสารองค์รวมให้แก่นักลงทุนระดับนานาชาติขนาดใหญ่ ซึ่งเป็นตัวแปรสำคัญที่จะทำให้ประเทศเข้าไปอยู่บนแผนที่ของโอกาสแห่งการลงทุน”

 

กระทรวงพลังงาน ร่วมกับประเทศนอร์เวย์ เดินหน้าเร่งสร้างความรู้ความเข้าใจด้าน LNG เพื่อรองรับการนำเข้าที่เพิ่มขึ้น

วันจันทร์ที่ 26 มิถุนายน 2560 พลเอก อนันตพร กาญจนรัตน์ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงพลังงาน เป็นประธานในพิธีเปิดงานสัมมนาความร่วมมือด้าน LNG ระหว่างประเทศนอร์เวย์และประเทศไทย ณ ห้องประชุม 9 ชั้น 15 ศูนย์เอนเนอร์ยี่ คอมเพล็กซ์ อาคารบี กรุงเทพฯ โดยมีเจ้าหน้าที่กระทรวงพลังงาน กรมเชื้อเพลิงธรรมชาติ หน่วยงานราชการ รัฐวิสาหกิจ มหาวิทยาลัย บริษัทเอกชน และสื่อมวลชน เข้าร่วมการสัมมนาดังกล่าว จัดขึ้นโดยความร่วมมือระหว่างกระทรวงพลังงาน โดยกรมเชื้อเพลิงธรรมชาติ และกระทรวงการต่างประเทศ กับประเทศนอร์เวย์ โดยสถานฑูตนอร์เวย์ประจำประเทศไทย ซึ่งมีวัตถุประสงค์เพื่อสร้างความรู้ความเข้าใจในธุรกิจ LNG และเทคโนโลยีที่ทันสมัย รวมถึงการกำกับดูแลของภาครัฐ ทั้งนี้เนื่องจากประเทศนอร์เวย์เป็นประเทศที่มีทรัพยากรทั้งน้ำมันและก๊าซธรรมชาติ จึงเป็นการสร้างโอกาสในการแลกเปลี่ยนเรียนรู้แนวทางการใช้ LNG ในรูปแบบอื่นๆ ร่วมกัน อาทิ สถานีแปรสภาพก๊าซธรรมชาติที่ถูกทำให้เหลวเป็นก๊าซธรรมชาติแบบลอยน้ำ (Floating Storage Regasification Unit : FSRU หรือ Small scale LNG)


พลเอก อนันตพร กาญจนรัตน์ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงพลังงาน กล่าวว่า รัฐบาลไทย โดยกระทรวงพลังงาน กำหนดแผนบริหารจัดการก๊าซธรรมชาติ (Gas Plan 2015) เพื่อบริหารจัดการทั้งด้านความต้องการและการจัดหา โดยในส่วนของ LNG จะมีความสำคัญสำหรับประเทศไทยในอนาคตเพิ่มขึ้นเรื่อยๆ ซึ่งทางรัฐบาลได้กำหนดนโยบายในการพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานเพื่อรองรับการนำเข้า รวมทั้งนโยบายด้านการเปิดให้มีผู้สนใจเข้ามาสู่ในระบบโครงข่ายด้านก๊าซมากขึ้น ในการเตรียมความพร้อมแนวทางการแข่งขันเสรีกิจการก๊าซธรรมชาติ เพื่อให้เกิดประโยชน์ต่อประเทศและประชาชนในที่สุด


“โดยการสัมมนาในวันนี้ นอกจากจะเป็นการแลกเปลี่ยนความคิดเห็นด้านธุรกิจ LNG แล้ว ยังเป็นการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ด้านการกำกับดูแลเกี่ยวกับการดำเนินงานด้านปิโตรเลียม เพื่อให้เกิดองค์ความรู้ที่ชัดเจนและรอบด้านในการนำมาประยุกต์ใช้กับประเทศไทยให้เกิดประโยชน์สูงสุด เนื่องจากประเทศนอร์เวย์มีระบบการให้สิทธิและสำรวจปิโตรเลียมทั้งระบบสัมปทานและระบบแบ่งปันผลผลิต ซึ่งประเทศไทยก็ได้มีการปรับปรุงให้มีระบบสัญญาแบ่งปันผลผลิต (Production Sharing Contact, PSC) และสัญญาจ้างบริการ (Service Contact, SC) เพิ่มขึ้นมาใช้ร่วมกับระบบสัมปทานเดิม โดยปัจจุบันอยู่ในช่วงการปรับปรุงและดำเนินงานด้านกฎหมายต่างๆ ที่เกี่ยวข้อง รวมทั้งการเตรียมเปิดประมูลแหล่งสิ้นสุดสัมปทานแหล่งก๊าซธรรมชาติในอ่าวไทย 2 แหล่งใหญ่ คือแหล่งบงกช และแหล่งเอราวัณ ที่คาดว่าจะสามารถเปิดให้สิทธิปิโตรเลียมรอบใหม่ในช่วงปลายปี 2560” พลเอก อนันตพร กล่าว

 

สื่อมวลชนเยี่ยมชมวิสาหกิจชุมชนเปลี่ยนขยะและของเสียเป็นพลังงานงานทดแทน

สำนักงานพลังงานจังหวัดอุตรดิตถ์ ร่วมกับ วิสาหกิจชุมชนคนรักษ์พลังงาน และเทศบาลตำบลป่าเซ่า ส่งเสริมเทคโนโลยีก๊าซชีวภาพเปลี่ยนขยะและของเสียเป็นพลังงานทดแทน ลดค่าใช้จ่ายพลังงานในชุมชน

สำนักงานพลังงานจังหวัดอุตรดิตถ์ ร่วมกับ กลุ่มวิสาหกิจชุมชนคนรักษ์พลังงาน และเทศบาลตำบลป่าเซ่า ส่งเสริมการผลิตก๊าซชีวภาพจากขยะและมูลสัตว์ สร้างพลังงานทดแทนใช้ในชุมชน ช่วยลดต้นทุนค่าใช้จ่ายด้านพลังงานในครัวเรือน แก้ปัญหามลภาวะทางกลิ่นจากขยะและมูลสัตว์ พร้อมสร้างสิ่งแวดล้อมสีเขียว

จังหวัดอุตรดิตถ์ -วันนี้ (26 มิถุนายน 2560) นางสาวพัฒน์นรี กมลสุรเชษฐ์ พลังงานจังหวัดอุตรดิตถ์ เปิดเผยว่า ชุมชนบ้านห้วยบง ในพื้นที่หมู่ 7 ตำบลป่าเซ่า อำเภอเมือง จังหวัดอุตรดิตถ์ ส่วนใหญ่ประกอบอาชีพเลี้ยงสัตว์ เช่น วัว สุกร โค-กระบือ เป็ด-ไก่ เป็นต้น ซึ่งทำให้ชุมชนประสบปัญหาจากกลิ่นเหม็นของมูลสัตว์ที่ส่งผลกระทบต่อคนและสิ่งแวดล้อมในชุมชน ดังนั้น เพื่อเป็นการแก้ไขปัญหาดังกล่าว ทางสำนักงานพลังงานจังหวัดอุตรดิตถ์จึงได้ร่วมกับ กลุ่มวิสาหกิจชุมชนคนรักษ์พลังงาน และเทศบาลตำบลป่าเซ่า ในการจัดทำโครงการบ่อหมักก๊าซชีวภาพ เพื่อส่งเสริมการใช้เทคโนโลยีก๊าซชีวภาพในการเปลี่ยนมูลสัตว์ต่างๆ เป็นพลังงานทดแทนสำหรับใช้ในชุมชน

โดยสำนักงานพลังงานจังหวัดอุตรดิตถ์ กระทรวงพลังงานได้สนับสนุนงบประมาณภายใต้โครงการเพิ่มสมรรถนะด้านการบริหารและจัดการพลังงานครบวงจรในชุมชนระดับตำบลและวิสาหกิจชุมชนชน และงบประมาณภายใต้โครงการส่งเสริมและพัฒนาพลังงานทดแทน จำนวน 750,000 บาท ในการก่อสร้างบ่อหมักก๊าซชีวภาพจำนวน 50 บ่อ กระจายทั่วพื้นที่หมู่ 7 พร้อมเดินระบบท่อส่งก๊าซชีวภาพไปยังครัวเรือนในชุมชนจำนวน 50 หลังคาเรือน

ทั้งนี้ โครงการบ่อหมักก๊าซชีวภาพ มีกำลังการผลิตก๊าซชีวภาพเพื่อใช้เป็นพลังงานทดแทนรวมทั้ง 50 บ่อ จำนวน 150 ลูกบาศก์เมตรต่อวัน หรือเทียบเท่าก๊าซแอลพีจีจำนวน 69 กิโลกรัมต่อวัน ซึ่งผลผลิตดังกล่าวสามารถช่วยให้ครัวเรือนในชุมชนห้วยบงลดใช้ก๊าซแอลพีจึได้ 100% จากปกติที่ 1 ครัวเรือนจะมีปริมาณการใช้ก๊าซแอลพีจีอยู่ที่ 4 เดือนต่อ 1 ถัง (ถังละ 15 กิโลกรัม) ปัจจุบัน ครัวเรือนในพื้นที่ชุมชนห้วยบงไม่ต้องพึ่งพาก๊าซแอลพีจีจากภายนอกอีกต่อไป

“แม้ว่าของเสียจากมูลสัตว์ต่างๆ จะสร้างปัญหาให้กับสิ่งแวดล้อมในชุมชน แต่ในมุมกลับกันก็มีศักยภาพที่จะแปรเปลี่ยนเป็นพลังงานทดแทนได้ สำนักงานพลังงานจังหวัดอุตรดิตถ์จึงได้ส่งเสริมให้นำมาบริหารจัดการให้เกิดประโยชน์ จึงได้สนับสนุนให้เกิดโครงการบ่อหมักก๊าซชีวภาพขึ้นมา โดยมีเป้าหมายหลักคือ ช่วยลดรายจ่ายค่าก๊าซแอลพีจีและสนับสนุนให้ชุมชนตระหนักถึงการพึ่งพาแหล่งพลังงานที่มีศักยภาพในชุมชนแทนการการพึ่งพาพลังงานจากแหล่งภายนอก ช่วยลดกลิ่นรบกวนชุมชนที่เกิดจากมูลสัตว์ เปลี่ยนมลภาวะทางสิ่งแวดล้อมให้เป็นชุมชนสีเขียว และสร้างความมั่นคงด้านพลังงานอย่างยั่งยืนในชุมชน ตลอดจนเกิดผลพลอยได้เป็นผลิตภัณฑ์ปุ๋ยชีวภาพอัดแท่งจำหน่ายสร้างรายได้ให้กับกลุ่มวิสาหกิจชุมชนในพื้นที่ได้อีกด้วย” พลังงานจังหวัดอุตรดิตถ์ กล่าว

กระทรวงพลังงานพาสื่อมวลชนท้องถิ่นดูงานหมู่บ้านปลอดแอลพีจี

สำนักงานพลังงานจังหวัดสุโขทัย ส่งเสริมการบริหารจัดการของเสียด้วยเทคโนโลยีก๊าซชีวภาพหนุนชุมชนบ้านเสาหิน เป็นหมู่บ้านปลอดแอลพีจี ตามวิถีชีวิตชุมชนพอเพียง

สำนักงานพลังงานจังหวัดสุโขทัย กระทรวงพลังงาน ร่วมส่งเสริมเทคโนโลยีก๊าซชีวภาพเปลี่ยนมูลสัตว์และของเสียในฟาร์มเลี้ยงสัตว์ เป็นเชื้อเพลิงทดแทนก๊าซหุงต้มใช้ในฟาร์มและส่งกระจายสู่ครัวเรือนในชุมชน ยกระดับชุมชนบ้านเสาหิน อำเภอกงไกรลาศ จังหวัดสุโขทัย เป็นหมู่บ้านปลอดแอลพีจี สร้างความมั่นคงและยั่งยืนด้านพลังงานให้ชุมชนจังหวัดสุโขทัย

วันนี้ (23 มิถุนายน 2560) นายจารุเกียรติ ปัญญาดี พลังงานจังหวัดสุโขทัย กระทรวงพลังงาน เปิดเผยว่า จากข้อมูลปศุสัตว์ในพื้นที่จังหวัดสุโขทัย พบว่า มีเกษตรกรที่ประกอบอาชีพเลี้ยงสัตว์ เช่น โคนมและสุกรขุนเป็นอาชีพเสริมจากการทำนาเป็นจำนวนมาก ตั้งแต่ขนาดเล็กไปจนถึงระดับฟาร์ม ซึ่งตั้งอยู่ในบริเวณใกล้เคียงกับแหล่งอาศัยของชุมชน ทำให้ชุมชนประสบปัญหาจากกลิ่นเหม็นของมูลสัตว์และแมลงต่างๆ ดังนั้น  เพื่อเป็นการแก้ปัญหาดังกล่าว ทางสำนักงานพลังงานจังหวัดสุโขทัย กระทรวงพลังงาน จึงได้ลงพื้นที่เพื่อสำรวจ
แหล่งฟาร์มโคนมและสุกรที่มีศักยภาพสามารถผลิตก๊าซชีวภาพเพื่อเป็นพลังงานทดแทนได้  โดยได้คัดเลือกฟาร์มที่มีความสนใจและมีความพร้อมที่จะเข้าร่วมโครงการนำร่องในการบริหารจัดการของเสียที่เกิดขึ้นในฟาร์ม เพื่อเปลี่ยนเป็นเชื้อเพลิงทดแทนก๊าซหุงต้มด้วยเทคโนโลยีก๊าซชีวภาพ ซึ่งมีเป้าหมายหลักคือ ช่วยลดรายจ่ายค่าก๊าซหุงต้ม (LPG) และสนับสนุนให้ชุมชนตระหนักถึงการพึ่งพาแหล่งพลังงานที่มีศักยภาพในชุมชนแทนการการพึ่งพาพลังงานจากแหล่งภายนอก อีกทั้งยังช่วยลดกลิ่นรบกวนที่เกิดจากมูลสัตว์ และสร้างความมั่นคงด้านพลังงานอย่างยั่งยืนในชุมชนได้อีกด้วย

ทั้งนี้ อัจฉราฟาร์ม ซึ่งเป็นฟาร์มสุกรของนางอัจฉรา สุขแท้ ตั้งในพื้นที่หมู่ที่ 9 ชุมชนบ้านเสาหิน ตำบลป่าแฝก อำเภอกงไกรลาศ จังหวัดสุโขทัย นับเป็นหนึ่งในฟาร์มนำร่องที่ได้รับคัดเลือกให้เข้าร่วมโครงการส่งเสริมการรวมกลุ่มสร้างเครือข่ายกลุ่มผู้ผลิตและใช้พลังงานทดแทน ภายใต้โครงการส่งเสริมการผลิตพลังงานทดแทนในระดับชุมชน งบประประมาณโดยกองทุนเพื่อส่งเสริมการอนุรักษ์พลังงาน ที่ประสบความสำเร็จและได้ถูกยกระดับให้เป็นหมู่บ้านต้นแบบในการบริหารจัดการพลังงานอย่างครบวงจร เพื่อเป็นต้นแบบให้กับหมู่บ้านใกล้เคียงหรือ
ผู้ที่สนใจได้เข้ามาศึกษาและนำไปขยายผลในชุมชนอื่นๆ ทั่วประเทศต่อไป  โดยโครงการดังกล่าวได้รับงบประมาณสนับสนุนจำนวนทั้งสิ้น 381,037 บาท ในการก่อสร้างบ่อหมักก๊าซชีวภาพประเภทโดมคงที่ (Fixed Dome) ขนาด 100 ลูกบาศก์เมตร พร้อมเดินระบบท่อส่งก๊าซชีวภาพไปยังชุมชนจำนวน 33 ครัวเรือน โดยชุมชนให้ความร่วมมือในการขุดดินเพื่อวางแนวท่อหลักไปยังครัวเรือนแต่ละหลังคาเรือน และร่วมกันกำกับดูแลความปลอดภัยของแนวท่อส่งก๊าซชีวภาพ

“ปัจจุบัน จากการเข้าร่วมชุมชนดังกล่าว ชุมชนบ้านเสาหินสามารถลดการใช้ก๊าซหุงต้มได้ 100% จากเดิมที่มีปริมาณการใช้ก๊าซแอลพีจีอยู่ที่ 2,550 กิโลกรัมต่อปี คิดเป็นผลประหยัดค่าใช้จ่ายประมาณ 49,300 บาทต่อปี หรือคิดเป็น 2.44 ตันเทียบเท่าน้ำมันดิบ นอกจากนี้ ยังสามารถลดมลภาวะสิ่งแวดล้อมจากกลิ่นมูลสัตว์และของเสียจากฟาร์ม ทำให้ชุมชน ฟาร์ม และกลุ่มผู้ประกอบอาชีพเลี้ยงสัตว์สามารถอยู่ร่วมกันได้ และยกระดับให้เป็นหมู่บ้านปลอดแอลพีจี สามารถลดการพึ่งพาพลังงานจากภายนอก แต่พึ่งพาพลังงานทดแทนที่ชุมชนมีศักยภาพ ตามวิถีชีวิตชุมชนพอเพียง” พลังงานจังหวัดสุโขทัย กล่าว

ASTANA Expo 2017

เมื่อวันที่ 12 มิถุนายน 2560 พลเอกสุรศักดิ์ ศรีศักดิ์ ผู้ช่วยรัฐมนตรีว่าการกระทรวงพลังงาน พร้อมคณะเข้าเยี่ยมชม และให้กำลังใจเจ้าหน้าที่ในบูธ THAILAND PAVILION พร้อมเข้าเยี่ยมชมส่วนการจัดแสดงของประเทศสิงคโปร์ สวิตเซอร์แลนด์ และรัสเซีย ซึ่งได้รับฟังคำอธิบาย และการต้อนรับ เป็นอย่างดี”

รัฐมนตรีว่าการกระทรวงพลังงาน และคณะ เข้าเยี่ยมชมและรับฟังการบรรยาย ผลการดำเนินงานและแผนงานของบริษัท ผลิตไฟฟ้าราชบุรีโฮลดิ้ง จำกัด (มหาชน)

วันนี้ (21 มิถุนายน 2560) พลเอกอนันตพร กาญจนรัตน์ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงพลังงาน และคณะ เข้าเยี่ยมชมและรับฟังการบรรยาย ผลการดำเนินงานและแผนงานของบริษัท ผลิตไฟฟ้าราชบุรีโฮลดิ้ง จำกัด (มหาชน) พร้อมทั้งได้หารือร่วมกับนายกิจจา ศรีพัฑฒางกุระ กรรมการผู้จัดการใหญ่ ถึงนโยบายด้านพลังงาน และแผนการดำเนินงานในอนาคต

 

ปลัดกระทรวงพลังงาน เป็นประธานเปิดการปฐมนิเทศหลักสูตรตามTraining Roadmap สำหรับบุคลากรกระทรวงพลังงาน

เมื่อวันที่ 18 มิถุนายน 2560 ดร.อารีพงศ์ ภู่ชอุ่ม ปลัดกระทรวงพลังงาน เป็นประธานเปิดการปฐมนิเทศหลักสูตรตามTraining Roadmap สำหรับบุคลากรกระทรวงพลังงาน (จำนวน 4 หลักสูตร หลักสูตรละ  60 คน รวม 240 คน) พร้อมทั้งให้โอวาทแก่ผู้เข้ารับการอบรมเกี่ยวกับแนวทางการพัฒนาบุคลากรตาม Training Roadmap ซึ่งการปฐมนิเทศจัดขึ้นระหว่างวันที่ 17 – 18 มิถุนายน 2560 ณ โรงแรม
มิราเคิลแกรนด์ คอนเวนชั่น กรุงเทพมหานคร

โครงการออกแบบและพัฒนาหลักสูตรตาม Training Roadmap สำหรับบุคลากรกระทรวงพลังงาน จัดขึ้นตามนโยบายของผู้บริหารกระทรวงพลังงาน มีวัตถุประสงค์เพื่อใช้เป็นแนวทางพัฒนาข้าราชการให้มีความพร้อมทางด้านความรู้ ความสามารถ ทักษะและสมรรถนะที่เหมาะสมต่อการปฏิบัติงานเพื่อขับเคลื่อนภารกิจของกระทรวงพลังงาน โดยมีการพัฒนาข้าราชการอย่างเป็นระบบและต่อเนื่อง ตั้งแต่ช่วงทดลองราชการ จนถึงระดับผู้บริหาร ซึ่งสอดคล้องกับอายุงานและตำแหน่งที่สูงขึ้น และในปี 2560 ได้มีการจัดฝึกอบรม จำนวน 4 หลักสูตร ดังนี้

  1. หลักสูตร Young Energy Program (YP) ระหว่างวันที่ 24 – 29 มิถุนายน 2560
    ณ โรงแรมราวินทรา บีช รีสอร์ท แอนด์ สปา (พัทยา) จังหวัดชลบุรี
  2. หลักสูตร Energy Professional 1 (EP1) ระหว่างวันที่ 2 – 5 กรกฎาคม 2560
    ณ โรงแรมราวินทรา บีช รีสอร์ท แอนด์ สปา (พัทยา) จังหวัดชลบุรี
  3. หลักสูตร Energy Professional 2 (EP2) ระหว่างวันที่ 12 – 16 กรกฎาคม 2560
    ณ โรงแรมราวินทรา บีช รีสอร์ท แอนด์ สปา (พัทยา) จังหวัดชลบุรี

หลักสูตร Managerial Energy Management (MEM) ระหว่างวันที่ 30 กรกฎาคม – 11 สิงหาคม 2560 ณ โรงแรมราวินทรา บีช รีสอร์ท แอนด์ สปา (พัทยา) จังหวัดชลบุรี

ปลัดกระทรวงพลังงาน เป็นประธานเปิดการบรรยายพิเศษเรื่อง Scenario in Shell – Mapping the Geopolitical Contex and the Global Energy Landscape – Implication for Thailand

วันที่ 19 มิถุนายน 2560 ดร.อารีพงศ์ ภู่ชอุ่ม ปลัดกระทรวงพลังงาน เป็นประธานเปิดการบรรยายพิเศษเรื่อง Scenario in Shell – Mapping the Geopolitical Contex and the Global Energy Landscape – Implication for Thailand โดยมี ดร.โช คง หัวหน้าส่วนงานวิเคราะห์การเมือง บริษัท เชลล์อินเตอร์เนชั่นแนล จำกัด เป็นวิทยากรบรรยาย ณ กระทรวงพลังงาน ถ.วิภาวดีรังสิต

การบรรยายพิเศษครั้งนี้เป็นการถ่ายทอดความรู้เกี่ยวกับแผนจำลองสถานการณ์ด้านพลังงาน ซึ่งเป็นหนึ่งในพันธกิจของ สนพ. ในฐานะหน่วยงานในการกำหนดนโยบายด้านพลังงานของประเทศ เพื่อขับเคลื่อนแนวนโยบายด้านพลังงานของรัฐภายใต้แผน Energy 4.0 ซึ่งการบรรยายดังกล่าวได้รับความสนใจจากผู้บริหารของกระทรวงพลังงาน เจ้าหน้าที่ และหน่วยงานภาคเอกชนเข้าร่วมเป็นจำนวนมาก

กระทรวงพลังงานเปิดเวทีรับฟังความคิดเห็น “ร่างพ.ร.บ.กองทุนน้ำมันเชื้อเพลิง พ.ศ. ….

วันนี้ (1 มิถุนายน 2560 ) ดร.ทวารัฐ สูตะบุตร ผู้อำนวยการสำนักงานนโยบายและแผนพลังงาน (สนพ.)

และโฆษกกระทรวงพลังงาน กล่าวแสดงความขอบคุณผู้เข้าร่วมการสัมมนาภายหลังจาก สนพ.

ได้จัดให้มีการรับฟังความคิดเห็นต่อร่างพระราชบัญญัติกองทุนน้ำมันเชื้อเพลิง

ที่ได้ผ่านการพิจารณาของคณะกรรมการกฤษฎีกาแล้ว

และเพื่อให้เป็นไปตามบทบัญญัติมาตรา 77 ของรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทยที่กำหนดให้ ก่อนการตรากฎหมาย

ทุกฉบับ รัฐพึงจัดให้มีการรับฟังความคิดเห็นของผู้เกี่ยวข้อง

ซึ่งสำนักงานนโยบายและแผนพลังงานได้จัดให้มีการรับฟังความคิดเห็นใน 3 ช่องทาง คือ 1) ผ่านเว็บไซต์

www.eppo.go.th ตั้งแต่วันที่ 2 พฤษภาคม – 1 มิถุนายน 2560 และ www.lawamendment.go.th 2)

การแสดงความคิดเห็นเป็นเอกสาร ตั้งแต่วันที่ 2 พฤษภาคม – 1 มิถุนายน 2560

ส่งทางไปรษณีย์ลงทะเบียนมาที่สำนักงานนโยบายและแผนพลังงาน (สนพ.) หรือ โทรสาร 02-612 1391 และ

3) การจัดสัมมนารับฟังความคิดเห็นในครั้งนี้ มีผู้เข้าร่วมสัมมนาจากหน่วยงานภาครัฐ ผู้ค้าน้ำมัน โรงกลั่นน้ำมัน สมาคม

มูลนิธิ ภาควิชาการ รวมถึงประชาชนทั่วไป รวมกว่า 300 คน

โดยขั้นตอนต่อจากนี้ไปภายหลังรับฟังความคิดเห็นจากผู้เกี่ยวข้องแล้ว สนพ.

จะจัดทำรายงานสรุปผลการรับฟังความคิดเห็นประเด็นที่มีการแสดงความคิดเห็น

ประกอบการจัดทำคำชี้แจงตามหลักเกณฑ์การตรวจสอบความจำเป็นใน การตราพระราชบัญญัติ (Checklist)

โดยเมื่อดำเนินการดังกล่าวแล้วเสร็จจะได้นำเสนอต่อคณะกรรมการกฤษฎีกา คณะรัฐมนตรี และสภานิติบัญญัติแห่งชาติ

ตามลำดับต่อไป ดร.ทวารัฐ กล่าวในท้ายที่สุด

กระทรวงพลังงานส่งเสริมการใช้พลังงานทางเลือก

พลเอก อนันตพร กาญจนรัตน์ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงพลังงาน เป็นประธานเปิดงาน “พีทีที กรุ๊ป อีวี บัส รถโดยสารพลังงานไฟฟ้า” พร้อมผู้บริหารกระทรวงพลังงาน โดยมี นายเทวินทร์ วงศ์วานิช ประธานเจ้าหน้าที่บริษัทและกรรมการผู้จัดการใหญ่ บริษัท ปตท. จำกัด (มหาชน) ให้การต้อนรับ ซึ่งถือเป็นโครงการนำร่องการใช้พลังงานเชื้อเพลิงไฟฟ้าในกลุ่มรถโดยสารสาธารณะ ตามแผนการขับเคลื่อนภารกิจด้านพลังงาน เพื่อส่งเสริมการใช้ยานยนต์ไฟฟ้า (EV) ในประเทศไทย

กระทรวงพลังงานเนรมิต “อาคารศาลาไทย” พร้อมโชว์ “พลังงานชีวภาพ เพื่อมนุษยชาติ” ใน Astana Expo 2017

กระทรวงพลังงาน เตรียมโชว์ศักยภาพการพัฒนาพลังงานชีวภาพของประเทศไทย ดินแดนแห่งพืชผลพลังงาน ในงาน Astana Expo2017 ณ กรุงอัสตานา สาธารณรัฐคาซัคสถาน พร้อมเนรมิตอาคารศาลาไทย ภายใต้แนวคิด “Bioenergy for All” ดึงนานาชาติพัฒนาพลังงานชีวภาพเพื่อมนุษยชาติ ตั้งเป้าอาคารศาลาไทยติดอันดับพาวิลเลียนที่มีผู้เข้าชมสูงสุด

(22 พ.ค.60) พลเอกอนันตพร กาญจนรัตน์ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงพลังงาน เปิดเผยว่าขณะนี้ประเทศไทยมีความพร้อมในการเข้าร่วมงาน International Exposition 2017 หรือ Astana Expo 2017 ซึ่งจัดขึ้นภายใต้หัวข้อหลัก “พลังงานแห่งอนาคต (Future Energy)” ณ กรุงอัสตานา สาธารณรัฐคาซัคสถาน ระหว่างวันที่ 10 มิถุนายนถึงวันที่ 10 กันยายน 2560 โดย “อาคารศาลาไทย” (Thailand pavilion) พร้อมเปิดให้ผู้เข้าร่วมงานจากประเทศต่างๆ กว่า 115 ประเทศ ทั่วโลก เข้าชมเต็มรูปแบบ มั่นใจว่าอาคารศาลาไทยจะเป็นหนึ่งในพาวิลเลียนยอดนิยมที่มีจำนวนผู้เยี่ยมชมกว่า 5 แสนคน

“ประเทศไทยเรามีศักยภาพในด้านพลังงานชีวภาพอย่างมาก เพราะเราเป็นประเทศที่อุดมสมบูรณ์ทางด้านเกษตรกรรม การไปโชว์ศักยภาพในงานระดับโลกครั้งนี้ กระทรวงพลังงานจึงได้นำข้อมูล ความรู้ ความเข้าใจด้านพลังงานชีวภาพของไทย รวมทั้งข้อมูลด้านการเกษตรที่เชื่อมโยงไปสู่การพัฒนาพลังงาน ซึ่งประเทศไทยมีความก้าวหน้าอย่างมากในการพัฒนาพลังงานชีวภาพ (Bioenergy) จากการน้อมนำพระราชดำริของพระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลเดช พระบิดาแห่งการพัฒนาพลังงานไทยมาเป็นแนวทางในการพัฒนาโครงการด้านพลังงาน และปัจจุบันกระทรวงพลังงานก็มีนโยบายในการผลักดันให้เกิดนวัตกรรมด้านพลังงานใหม่ๆ การส่งเสริมการวิจัยและพัฒนาเกี่ยวกับด้านพลังงาน เพื่อต่อยอดธุรกิจเกี่ยวกับพลังงานของประเทศให้เติบโตและก้าวหน้า อีกทั้งยังได้แสดงศักยภาพการท่องเที่ยว การผลิตอาหารในฐานะครัวของโลกของประเทศไทย รวมทั้งยังกระชับความสัมพันธ์กับหลากหลายประเทศ โดยเฉพาะสาธารณรัฐคาซัคสถาน และกลุ่มประเทศเครือรัฐเอกราช (CIS)”

ปัจจุบัน เศรษฐกิจของคาซัคสถานยังไม่หลากหลาย ส่วนใหญ่ยังคงพึ่งพารายได้การส่งออกจากภาคพลังงานเป็นหลัก ในขณะที่เศรษฐกิจภาคการเกษตรของคาซัคสถานยังมีขนาดเล็ก ทำให้ผลผลิตทางการเกษตรที่ผลิตได้ไม่เพียงพอต่อการบริโภคภายในประเทศ จึงต้องนำเข้าสินค้าอาหาร และเกษตรจากต่างประเทศจำนวนมาก ในขณะเดียวกันประเทศไทยมีศักยภาพทางการผลิตสินค้าเกษตร จึงเป็นโอกาสของไทยที่จะขยายการส่งออกสินค้าเกษตรและอาหารไปยังคาซัคสถาน รวมถึงสินค้าฮาลาล เนื่องจากคาซัคสถานมีประชากรที่นับถือศาสนาอิสลามกว่าร้อยละ 50 ของจำนวนประชากรทั้งหมด การจัดงานครั้งนี้ยังถือเป็นจุดเริ่มต้นในการ เปิดตลาดทางด้านการค้าและการลงทุนระหว่างกันอีกด้วย

 

ด้านนายอารีพงศ์ ภู่ชอุ่ม ปลัดกระทรวงพลังงาน กล่าวว่า สำหรับ“อาคารศาลาไทย” (Thailand Pavilion) จัดขึ้นภายใต้แนวคิด“การพัฒนาด้านพลังงานชีวภาพเพื่อมนุษยชาติ (Bioenergy for All)”ต้องการสื่อถึงพลังงานเพื่ออนาคตที่ยั่งยืน และศักยภาพของประเทศไทยในด้านการพัฒนาพลังงานทดแทนและความก้าวหน้าในการพัฒนาพลังงานชีวภาพ (Bioenergy)จากการน้อมนำพระราชดำริของพระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดชที่ทรงเป็นพระบิดาแห่งพลังงานไทย และเป็นต้นแบบในเรื่องปรัชญา“ความพอเพียง”มาใช้เป็นแนวทางในการใช้ทรัพยากรในประเทศที่มีอยู่อย่างคุ้มค่า บนขนาดพื้นที่ 974.67 ตารางเมตร แบ่งเป็น 2 ชั้นการจัดแสดงผ่านการนำเสนอในรูปแบบ “EDUTAINMENT” หรือการเรียนรู้ ควบคู่ความสนุกผ่าน 3 ห้องนิทรรศการหลัก ได้แก่นิทรรศการห้องที่1: Our Ways, Our Thai สัมผัสวิถีความเป็นไทย เอกลักษณ์ความงดงามของธรรมชาติ และวัฒนธรรม ควบคู่กับการพัฒนาด้านพลังงานทดแทนในรูปแบบ Live Exhibition, นิทรรศการห้องที่ 2 : Farming the Future Energy ห้องสรุปเรื่องราวแนวคิดของ Thailand Pavilion ในรูปแบบ 3D Theater และถือเป็นไฮไลท์สำคัญบอกเล่าเรื่องราวในห้องทดลองสุดมหัศจรรย์ และการกำเนิดของพลังงานแห่งอนาคต‘พลัง’ข้าวโพดน้อยในรูปแบบหุ่นยนต์ Animatronic เคลื่อนไหวเสมือนจริงและนิทรรศการห้องที่ 3 : Energy Creation Lab พบกับพลังงานชีวภาพ และชีวมวลจากพืชพลังงานทั้งหมด 9 ชนิด ประกอบด้วย อ้อย ยูคาลิปตัส ยางพารา หญ้าเนเปียร์ ข้าว ข้าวโพด มูลสัตว์ ของเสีย มันสำปะหลัง ปาล์มน้ำมัน ในรูปแบบ Interactive Exhibition

ส่วนการจัดแสดงชั้นที่ 2 เป็นพื้นที่รับรองแขกพิเศษ ร้านค้าอาหารไทย กาแฟ และพื้นที่สำหรับการจัด Business Matching และ Investment Clinic และการสาธิตการนวดแผนไทย ซึ่งการจัดงานในครั้งนี้ยังได้คัดเลือกตัวแทนอาสาสมัครโครงการ Thailand Pavilion Ambassador 2017 จำนวน 10 คน เพื่อเป็นเสมือนทูตเยาวชนที่จะประสานความสัมพันธ์อันดีระหว่างทั้ง 2 ประเทศอีกด้วย

สำหรับความคืบหน้าการก่อสร้าง “อาคารศาลาไทย” ขณะนี้อาคารศาลาไทยเสร็จสมบูรณ์ไปกว่า 90% โดยเฉพาะงานโครงสร้างเหลือเพียงงานตกแต่งเท่านั้น มั่นใจว่าประเทศไทยจะเป็น 1 ใน 10 ประเทศที่สามารถเข้าพื้นที่และดำเนินการก่อสร้างเสร็จก่อนกำหนด โดยอาคารศาลาไทยจะเปิดทดลองระบบทั้งหมดได้ภายในต้นเดือนมิถุนายนนี้ และพร้อมที่จะประกาศศักยภาพบนเวทีระดับโลกอย่างเป็นทางการในวันที่ 10 มิถุนายน 2560

ขณะที่การประชาสัมพันธ์อาคารศาลาไทยในสาธารณรัฐคาซัคสถานถือว่าได้รับการตอบรับเป็นอย่างดี โดยใช้กลยุทธ์การนำเสนอที่ผสมผสานเน้นสร้างการรับรู้และความประทับใจในอาคารศาลาไทยอาทิ การโรดโชว์และประชาสัมพันธ์การจัดงานด้วยเทคนิค VR 360 Thailand Pavilion พร้อมด้วยมาสคอต“น้องพลัง” เพื่อสร้างการมีส่วนร่วมกับชาวคาซัคสถานไปยังสถานที่สำคัญต่างๆ ตั้งแต่ก่อนเริ่มงานในเมืองอัสมาตี และเมืองอัสตานาอย่างต่อเนื่อง

ประกวดออกแบบตราสัญลักษณ์ “ผลิตภัณฑ์ชุมชน ลดใช้พลังงาน”

สำนักส่งเสริมการมีส่วนร่วมของประชาชนชน สำนักงานปลัดกระทรวงพลังงาน ขอเรียนเชิญนักเรียน นิสิต และประชาชนทั่วไป ส่งผลงานประกวดออกแบบตราสัญลักษณ์ “ผลิตภัณฑ์ชุมชน ลดใช้พลังงาน

ตราสัญลักษณ์ดังกล่าว จะถูกนำไปใช้งานบนบรรจุภัณฑ์ ที่มีการลดใช้พลังงานจากการเปลี่ยนแปลงกระบวนการผลิตหรือการแปรรูป เพื่อให้เกิดเป็นเอกลักษณ์เฉพาะของผลิตภัณฑ์ และเป็นการประชาสัมพันธ์ให้ประชาชนได้รับทราบในวงกว้าง

สามารถส่งผลงานได้ตั้งแต่วันนี้ จนถึงวันที่ 28 พฤษภาคม 2560

Click !!! ดาวน์โหลดใบสมัครและกติกา

Click !!! ดาวน์โหลดโปสเตอร์โครงการ

รัฐมนตรีว่าการกระทรวงพลังงาน ร่วมตักบาตรพระสงฆ์และเยี่ยมชมโครงการเศรษฐกิจพอเพียงของชุมชน

วันนี้ (25 มี.ค.60) เมื่อเวลา 07.15 น. พลเอก อนันตพร กาญจนรัตน์ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงพลังงาน และคณะผู้บริหารกระทรวงพลังงาน พร้อมด้วย นายกรศิษฏ์ ภัคโชตานนท์ ผู้ว่าการการไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทย ร่วมตักบาตรพระสงฆ์จำนวน 10 รูป ณ บริเวณหน้าหน้าร้านอาหารเรือนน้ำพรม เขื่อนจุฬาภรณ์

จากนั้นได้เดินทางไปสักการะพระพุทธสิริรัตตราช หรือหลวงพ่อเจ็ดกษัตริย์ ที่ประดิษฐานอยู่ในบริเวณสวนเขื่อนจุฬาภรณ์ และร่วมปลูกต้นประดู่แดง ณ บริเวณดังกล่าวด้วย

ต่อมาในเวลา 09.30 น. รัฐมนตรีว่าการกระทรวงพลังงาน และผู้ว่าการไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทย ได้เดินทางไปพบปะชาวบ้านชุมชนทุ่งลุยลาย เพื่อเยี่ยมชมโครงการเศรษฐกิจพอเพียงของชุมชน โดยมี นายสุขสันต์ ชาติทหาร นายกเทศมนตรีเทศบาลตำบลทุ่งลุยลาย และชาวบ้านขุมชนทุ่งลุยลายให้การต้อนรับ ณ โรงเรียนทุ่งลาย

ในโอกาสที่เดินทางมาตรวจติดตามการดำเนินงานโครงการเขื่อนจุฬาภรณ์ ของการไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทย ณ อำเภอคอนสาร จังหวัดชัยภูมิ

 







รมว.พลังงาน ตรวจเยี่ยมงาน กฟผ. ติดตามความก้าวหน้า โครงการโรงไฟฟ้าพลังน้ำท้ายเขื่อนจุฬาภรณ์

รมว.พลังงาน ตรวจเยี่ยมงาน กฟผ. ติดตามความก้าวหน้า
โครงการโรงไฟฟ้าพลังน้ำท้ายเขื่อนจุฬาภรณ์ และโรงไฟฟ้าพลังน้ำเขื่อนจุฬาภรณ์แบบสูบกลับ

รัฐมนตรีว่าการกระทรวงพลังงาน พร้อมด้วยคณะผู้บริหารกระทรวงพลังงาน ตรวจเยี่ยมการดำเนินงานของเขื่อนจุฬาภรณ์ กฟผ. ติดตามความก้าวหน้าโครงการโรงไฟฟ้าพลังน้ำท้ายเขื่อนจุฬาภรณ์ และโรงไฟฟ้าพลังน้ำเขื่อนจุฬาภรณ์แบบสูบกลับ เพิ่มสัดส่วนพลังงานหมุนเวียน ขับเคลื่อนสู่ยุคพลังงาน 4.0 มั่นคง มั่งคั่ง ยั่งยืน
วันนี้ (25 มีนาคม 2560) พลเอก อนันตพร กาญจนรัตน์ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงพลังงาน และคณะผู้บริหารกระทรวงพลังงาน เดินทางเข้าตรวจเยี่ยมการดำเนินงานของเขื่อนจุฬาภรณ์ การไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทย (กฟผ.) รวมทั้งติดตามความก้าวหน้าโครงการโรงไฟฟ้าพลังน้ำท้ายเขื่อนจุฬาภรณ์ และโครงการโรงไฟฟ้าพลังน้ำเขื่อนจุฬาภรณ์แบบสูบกลับ โดยมี นายกรศิษฏ์ ภัคโชตานนท์ ผู้ว่าการ กฟผ. นำชม ณ เขื่อนจุฬาภรณ์ อำเภอคอนสาร จังหวัดชัยภูมิ
พลเอก อนันตพร กาญจนรัตน์ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงพลังงาน เปิดเผยว่า ในการบริหารจัดการภาคพลังงานของประเทศนั้น กระทรวงพลังงานได้ดำเนินการตามแผนบูรณาการพลังงานระยะยาว เพื่อให้ภาคพลังงานมีความมั่นคง มั่งคั่ง และยังยืน โดยในการสร้างความมั่นคงด้านพลังงานไฟฟ้านั้น การไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทย หรือ กฟผ. ซึ่งเป็นหน่วยงานภายใต้สังกัดกระทรวงพลังงาน และเป็นหน่วยงานหลักที่ดำเนินภารกิจสอดรับกับนโยบายของกระทรวงพลังงานในการสร้างความมั่นคงให้กับภาคพลังงานไฟฟ้าของประเทศมาโดยตลอด ที่ผ่านมา กฟผ. ได้พัฒนาโรงไฟฟ้าพลังงานหมุนเวียนอย่างต่อเนื่อง เพื่อตอบสนองนโยบายพลังงาน 4.0 ของกระทรวงพลังงาน ที่ส่งเสริมการผลิตไฟฟ้าจากพลังงานหมุนเวียน และลดการใช้เชื้อเพลิงฟอสซิลในการผลิตไฟฟ้า สอดคล้องตามแผนพัฒนาพลังงานทดแทนและพลังงานทางเลือก (AEDP 2015) และแผนพัฒนากำลังการผลิตไฟฟ้าของประเทศ (PDP 2015) สำหรับเขื่อนจุฬาภรณ์ มีจำนวน 2 โครงการ คือโครงการโรงไฟฟ้าพลังน้ำท้ายเขื่อนจุฬาภรณ์ กำลังผลิตติดตั้งรวม 1.25 เมกะวัตต์ คาดว่าจะแล้วเสร็จและสามารถจ่ายไฟฟ้าเข้าสู่ระบบเชิงพาณิชย์ได้ภายในปี 2562 ซึ่งสามารถผลิตพลังงานไฟฟ้าได้ปีละประมาณ 4 ล้านหน่วย และโครงการโรงไฟฟ้าพลังน้ำเขื่อนจุฬาภรณ์แบบสูบกลับ กำลังผลิตติดตั้งรวม 800 เมกะวัตต์ มีแผนจะเริ่มก่อสร้างภายในปี 2564 คาดว่าจะแล้วเสร็จและสามารถจ่ายไฟฟ้าเข้าสู่ระบบเชิงพาณิชย์ได้ภายในปี 2569 ซึ่งสามารถผลิตพลังงานไฟฟ้าได้ปีละประมาณ 1,900 ล้านหน่วย ถือเป็นโรงไฟฟ้าใต้ดินแห่งที่ 2 ถัดจากโรงไฟฟ้าพลังน้ำลำตะคองชลภาวัฒนาแบบสูบกลับ จังหวัดนครราชสีมา โดยยึดแนวทางการใช้ประโยชน์จากทรัพยากรน้ำให้เกิดประสิทธิภาพสูงสุดอย่างยั่งยืน และช่วยเสริมความมั่นคงของระบบไฟฟ้าในภาคตะวันออกเฉียงเหนืออีกด้วย
นายกรศิษฏ์ ภัคโชตานนท์ ผู้ว่าการ กฟผ. กล่าวเสริมว่า ตลอดระยะเวลา 43 ปีที่ผ่านมา เขื่อนจุฬาภรณ์ได้อยู่คู่กับชุมชนและสร้างประโยชน์สุขให้แก่ประชาชนในจังหวัดชัยภูมิและจังหวัดขอนแก่น โดยเฉพาะในพื้นที่ชุมชนทุ่งลุยลาย อำเภอคอนสาร จังหวัดชัยภูมิ ครอบคลุมพื้นที่ 7 หมู่บ้าน 30,000 กว่าครัวเรือน ทั้งในด้านชลประทาน อุปโภคบริโภค เกษตรกรรม อุตสาหกรรม บรรเทาอุทกภัย การประมง และผลพลอยได้จากการระบายน้ำที่นำไปใช้ในการผลิตกระแสไฟฟ้า เพื่อเสริมความมั่นคงระบบไฟฟ้าของภาคตะวันออกเฉียงเหนือ รวมทั้งดูแลและพัฒนาคุณภาพชีวิตของชุมชนโดยรอบผ่านโครงการต่าง ๆ มาอย่างต่อเนื่อง อาทิ โครงการ “เยี่ยมยามถามข่าว ชุมชนลุ่มน้ำพรม-เชิญ” โครงการฝึกอบรมส่งเสริมอาชีพให้แก่ราษฎร และการจัดตั้งศูนย์สาธิตโครงการชีววิถีเขื่อนจุฬาภรณ์เพื่อการพัฒนาอย่างยั่งยืน เป็นต้น
สำหรับการตรวจเยี่ยมในครั้งนี้ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงพลังงานและคณะ ได้เดินทางไปพบปะกับผู้นำชุมชน
ทุ่งลุยลาย อำเภอคอนสาร จังหวัดชัยภูมิ และตรวจเยี่ยมโครงการเศรษฐกิจพอเพียงของชุมชนดังกล่าวด้วย

 

กระทรวงพลังงาน เชิญร่วมงาน SETA 2017

โครงการพลังงานและเทคโนโลยีที่ยั่งยืนแห่งเอเชีย 2560 หรือ SETA 2017

ภายใต้ธีม “Towards A Low-Carbon Society” ชูเทรนด์พลังงานไฮบริด รถพลังงานไฟฟ้า

 

กระทรวงพลังงาน ร่วมกับ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ร่วมด้วย กระทรวงวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี กระทรวงคมนาคม และ กระทรวงอุตสาหกรรม ประกาศความพร้อมเดินหน้าการจัดประชุมวิชาการและนิทรรศการนานาชาติ “โครงการพลังงานและเทคโนโลยีที่ยั่งยืนแห่งเอเชีย 2560” หรือ “SETA 2017” ต่อเนื่องเป็นปีที่ 2 ภายใต้ธีม “Towards A Low-Carbon Society” ใน 4 หัวข้อหลัก ได้แก่ นโยบายและการวางแผนด้านพลังงาน เทคโนโลยีระบบผลิตกระแสไฟฟ้าเพื่อปล่อยคาร์บอนต่ำ พลังงานเพื่อการคมนาคมขนส่งเพื่อปล่อยคาร์บอนต่ำ และ เมืองอัจฉริยะและอุตสาหกรรมสีเขียว เพื่อผลักดันและพัฒนาองค์ความรู้ด้านพลังงานและเทคโนโลยีอย่างต่อเนื่อง โดยในปีนี้เน้นเทรนด์อุตสาหกรรมไฮบริด และรถยนต์พลังงานไฟฟ้า

งานประชุมวิชาการและนิทรรศการนานาชาติ “โครงการพลังงานและเทคโนโลยีที่ยั่งยืนแห่งเอเชีย 2560” หรือ “SETA 2017” เปิดโอกาสให้ผู้บริหารภาครัฐและภาคเอกชน ผู้ผลิต บริษัทผู้ผลิตไฟฟ้า นักวิชาการ ผู้เชี่ยวชาญ บริษัทผู้ผลิตพลังงานทดแทน ธนาคาร นักลงทุน จากทุกภาคส่วนและผู้สนใจทั่วไป ทั้งในและต่างประเทศ ได้รู้จักเทคโนโลยีด้านพลังงานล้ำหน้า พร้อมรับคำปรึกษาจากผู้เชี่ยวชาญในหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง ทั้งด้านวิชาการ และด้านธุรกิจ

ดร. อารีพงศ์ ภู่ชอุ่ม ปลัดกระทรวงพลังงาน กล่าวว่า “ภาครัฐมีเป้าหมายและนโยบายส่งเสริมและผลักดันให้อุตสาหกรรมพลังงานสามารถสร้างรายได้ให้ประเทศ ซึ่งถือเป็นอุตสาหกรรมเชิงยุทธศาสตร์ เพิ่มการลงทุนในโครงสร้างพื้นฐานด้านพลังงานและพัฒนาให้เป็นศูนย์กลางธุรกิจพลังงานของภูมิภาค โดยแสวงหาและพัฒนาแหล่งพลังงานและเทคโนโลยีเพื่อผลิตกระแสไฟฟ้าจากทั้งในและต่างประเทศ รวมทั้งให้มีการกระจายแหล่งและประเภทพลังงานให้มีความหลากหลาย เหมาะสม และยั่งยืน ส่งเสริมให้มีการใช้แหล่งพลังงานเพื่อปล่อยคาร์บอนต่ำมากขึ้นในภาคขนส่ง การใช้พลังงานไฟฟ้าในภาคคมนาคม และส่งเสริมการใช้แก๊สโซฮอล์และไบโอดีเซลในภาคครัวเรือน ส่งเสริมการผลิต การใช้ ตลอดจนการวิจัยและพัฒนาพลังงานทดแทนและพลังงานทางเลือก ทั้งนี้ ให้มีการพัฒนาอุตสาหกรรมอย่างครบวงจร ส่งเสริมและผลักดันการอนุรักษ์พลังงานอย่างเต็มรูปแบบ กระทรวงพลังงานมีความยินดีเป็นอย่างยิ่ง ในการสนับสนุนและร่วมจัดงานประชุมวิชาการและนิทรรศการนานาชาติ “โครงการพลังงานและเทคโนโลยีที่ยั่งยืนแห่งเอเชีย 2560” หรือ “SETA 2017” ซึ่งเป็นงานแสดงนิทรรศการพลังงานที่นำเสนอองค์ความรู้ นวัตกรรม ประสบการณ์ที่หลากหลายและครบถ้วน

ประเทศไทยเป็นศูนย์กลางชั้นนำในการดำเนินการพัฒนาประสิทธิภาพของการใช้พลังงานและการพัฒนาพลังงานทางเลือก โดยเฉพาะอย่างยิ่ง ในเรื่องการลดผลกระทบที่เกิดจากคาร์บอนไดออกไซด์ในอากาศจากภาคอุตสาหกรรมต่าง ๆ เช่น การคมนาคม การขนส่ง พลังงานไฟฟ้า อุตสาหกรรม ที่อยู่อาศัย เป็นต้น ในครั้งนี้ การจัดงานจะเน้นอภิปรายเรื่อง “พลังงานคาร์บอนต่ำ ” ซึ่งการจัดการให้ประสบความสำเร็จ จะต้องอาศัยทั้งเทคโนโลยีและโซลูชั่น หาทางออกร่วมกันเพื่อปรับปรุงประสิทธิภาพและความยั่งยืนของทั้งการผลิตพลังงานและการใช้พลังงาน ที่เป็นความท้าทายของประเทศไทยและทุกประเทศทั่วโลก การพัฒนาพลังงานหมุนเวียนที่จะทำให้มีการปล่อยคาร์บอนไดออกไซด์ต่ำ แนวทางการลดใช้พลังงานที่ไม่มีประสิทธิภาพ นโยบายการแก้ปัญหาเหล่านี้เป็นสิ่งสำคัญที่เราจะเน้นย้ำในงานครั้งนี้ เป็นโอกาสอันดี ที่จะทำให้ประชาชนไทย ทั้งผู้ที่มีบทบาทในเชิงนโยบาย การบริหาร ตลอดจนประชาชนทั่วไป ได้แลกเปลี่ยนองค์ความรู้ ประสบการณ์จากผู้เชี่ยวชาญทั้งจากในและต่างประเทศ เปิดมุมมอง และมิติแห่งการพัฒนาด้านพลังงานอย่างเต็มรูปแบบ”

รศ.ดร.ธัชชัย สุมิตร ประธานคณะกรรมการดำเนินงานโครงการพลังงานและเทคโนโลยีที่ยั่งยืนแห่งเอเชีย 2560 กล่าวว่า “งาน SETA 2017 เป็นการจัดงานระดับนานาชาติ โดยในปีนี้จัดต่อเนื่องเป็นปีที่ 2  จากการประสบความสำเร็จในการจัดงานในปีแรกที่ผ่านมา ถือเป็นอีกก้าวที่สำคัญในความร่วมมือของหน่วยงานหลักของประเทศ โดยกระทรวงพลังงาน กระทรวงคมนาคม กระทรวงวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี และกระทรวงอุตสาหกรรม รวมทั้งองค์กรรัฐวิสาหกิจ และภาคเอกชน ผู้มีส่วนร่วมต่อการสร้างบทบาทและความร่วมมือระหว่างหน่วยงานในการผลักดันประเทศไทยให้ก้าวสู่ความเป็นผู้นำด้านพลังงานในภูมิภาคอาเซียนอย่างแท้จริง โดยมีวัตถุประสงค์ในการสร้างเวทีพูดคุย และร่วมหาคำตอบตั้งแต่การหาแหล่งพลังงาน ตลอดจนการใช้ ระบบผลิตกระแสไฟฟ้า ภาคขนส่ง ภาคอุตสาหกรรม และภาคครัวเรือน โดยในงานประชุมครั้งนี้จะมุ่งเน้นไปในประเด็นที่ทั้งเอเชียและทั่วโลกล้วนให้ความสำคัญ โดยเฉพาะประเด็นด้านแหล่งพลังงานคาร์บอนต่ำ ในปีนี้มีการเพิ่มพื้นที่แสดงนิทรรศการอีกเท่าตัว โดยมีความเป็นพิเศษ มุ่งเน้นถึงอุตสาหกรรมและเทคโนโลยีไฮบริด และรถที่ใช้พลังงานไฟฟ้า และกิจกรรมการจับคู่ธุรกิจ กว่า 200บริษัท เพื่อส่งเสริมการลงทุนและการถ่ายทอดเทคโนโลยีด้านพลังงานให้กับประเทศ โดยตั้งเป้าผู้เข้าชมและร่วมงานตลอดทั้ง 3 วัน จำนวนกว่า 10,000 คน จาก 50 ประเทศทั่วโลก”

ด้านกิจกรรมในงานประชุมวิชาการและนิทรรศการนานาชาติ “โครงการพลังงานและเทคโนโลยีที่ยั่งยืนแห่งเอเชีย 2560” หรือ “SETA 2017” ได้รับเกียรติจากวิทยากรปาฐกถาหลัก ได้แก่ พลเอก อนันตพร กาญจนรัตน์ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงพลังงาน  นาย อาคม เติมพิทยาไพสิฐ รัฐมนตรีกระทรวงคมนาคม ดร.พิเชฐ ดุรงคเวโรจน์ รัฐมนตรีกระทรวงวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี

ดอกเตอร์แมกซิมัส จอนนิตี้ อองกิลิ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงพลังงาน น้ำ และเทคโนโลยีเพื่อสิ่งแวดล้อม ประเทศมาเลเซีย (Dr. Maximus Johnity Ongkili,  Minister of Energy, Green Technology and Water, Malaysia) ฯพณฯ เฆซุส มิเกล ซันส์  เอกอัครราชทูตแห่งสหภาพยุโรปประจำประเทศไทย (H.E. Jesús Miguel Sanz, Ambassador and Head of Delegation of the European Union in Thailand) แอคเนตา ไรซิ่ง ผู้อำนวยการใหญ่สมาคมนิวเคลียร์โลก (Ms. Agneta Rising, Director General of World Nuclear Association) และฯพณฯ  ชิโร ซะโดะชิมะ เอกอัคราชทูตญี่ปุ่นประจำประเทศไทย (H.E. Mr.Shiro Sadoshima, Ambassador of Japan in Thailand)

นอกจากนี้ ยังมีการจัดให้มีการบรรยาย ประชุมสัมมนา และเวิร์คช็อปจากองค์กรระดับนานาชาติ และบริษัทที่เป็นผู้นำในหัวข้อต่างๆ อาทิ “CEO Energy Forum” “CLMVT Energy Forum“ Financing in Energy โดย มูดีส์ (Moodys)” “Hybrid & EV Technology” เป็นต้น ผู้สนใจสามารถดูรายละเอียดเพิ่มเติม และลงทะเบียนร่วมงานได้ในเว็บไซต์ www.SETA.Asia

งานประชุมวิชาการและนิทรรศการนานาชาติ “โครงการพลังงานและเทคโนโลยีที่ยั่งยืนแห่งเอเชีย 2560” หรือ “SETA 2017” จะมีผู้เข้าร่วมงานเป็นผู้บริหาร ภาครัฐ รัฐวิสาหกิจ และภาคเอกชน ผู้ผลิต บริษัทผู้ผลิตไฟฟ้า นักวิชาการ ผู้เชี่ยวชาญ บริษัทผู้ผลิตพลังงานทดแทน ธนาคาร นักลงทุน จากทุกภาคส่วนและผู้สนใจทั่วไป ทั้งในและต่างประเทศ กว่า 10,000 คน พื้นที่จัดงาน 9,600 ตารางเมตร บูธจัดงาน กว่า 200 บูธ โดยมีโซนไฮบริดและเทคโนโลยีรถยนต์ไฟฟ้า โซนโซล่าเซลส์ และโซนระบบเมืองอัฉริยะ จากเมืองโตเกียวและกรุงเทพมหานคร รวมไปถึงพาวิเลียนจากต่างประเทศ อีก 11 ประเทศ พร้อมกิจกรรมการจับคู่ธุรกิจ  อาทิ ประเทศแคนาดา เยอรมัน ไต้หวัน เกาหลี จีน ญี่ปุ่น อินเดีย มาเลเซีย สิงคโปร์ จะจัดขึ้นระหว่างวันที่ 8-10  มีนาคม 2560 เวลา 8.30-18.00 น. ณ ฮอลล์ 103-104 ศูนย์นิทรรศการและการประชุมไบเทค บางนา

กระทรวงพลังงาน ขอเชิญเข้าเยี่ยมชมงานนิทรรศการโลก “อัสตานา เอ็กซ์โป 2017”

กระทรวงพลังงาน ขอเชิญเข้าเยี่ยมชมงานนิทรรศการโลก “อัสตานา เอ็กซ์โป 2017” (Astana Expo 2017) และเยี่ยมชมอาคารศาลาไทย ภายใต้แนวคิด “Bioenergy for All” ณ กรุงอัสตานา สาธารณรัฐคาซัคสถาน ระหว่างวันที่ 10 มิถุนายน 2560 ถึง 10 กันยายน 2560

กระทรวงพลังงานได้รับเกียรติให้เป็นตัวแทนประเทศไทยในการเข้าร่วมงาน International Recognized Exhibition Expo 2017 Astana หรือ Astana Expo 2017 ณ กรุงอัสตานา สาธารณรัฐคาซัคสถาน ระหว่างวันที่ 10 มิถุนายนถึง 10 กันยายน 2560 เพื่อแสดงศักยภาพด้านพลังงานประเทศไทยให้ทั่วโลกได้รับรู้
สำหรับงาน Astana Expo 2017 จัดขึ้นภายใต้หัวข้อหลัก “พลังงานแห่งอนาคต (Future Energy)” มีประเทศเข้าร่วมงานกว่า 100 ประเทศ และองค์กรระดับโลกกว่า 10 หน่วยงาน รวมมากกว่า 110 พาวิลเลียน บนพื้นที่การจัดงานทั้งหมด 1,740,000 ตร.ม. (1,087.5 ไร่) และในส่วนของพื้นที่จัดงานนิทรรศการ 250,000 ตร.ม. (156.25 ไร่) ซึ่งประเทศไทยได้รับการจัดสรรพื้นที่จำนวน 934.05 ตารางเมตร ซึ่งถือเป็นการร่วมงานใหญ่ระดับโลกอีกครั้งของประเทศไทย เนื่องจากงานเวิลด์เอ็กซ์โปถือเป็น 1 ใน 3 งานใหญ่ของโลก เช่นเดียวกับการแข่งขันกีฬาโอลิมปิค และฟุตบอลโลก โดยประเทศเจ้าภาพคาดว่า จะมีผู้ร่วมเข้าชมงานมากกว่า 5 ล้านคน
การเข้าร่วมงาน Astana Expo 2017 ครั้งนี้ ถือเป็นการประชาสัมพันธ์ภาพลักษณ์ประเทศไทยเกี่ยวกับโยบายการส่งเสริมการใช้พลังงานทดแทน การสร้างความมั่นคงด้านพลังงาน และลดการปล่อยก๊าซคาร์บอนไดอ็อกไซด์ของประเทศให้สอดคล้องกับวิถีชีวิตและวัฒนธรรมไทย นอกจากนั้นยังเป็นประโยชน์กับประเทศไทย ทั้งในเรื่องของการวิจัยและพัฒนาด้านพลังงานของไทย โดยเฉพาะเทคโนโลยีพลังงานชีวภาพ การท่องเที่ยว การส่งเสริมเศรษฐกิจของประเทศ และยังกระชับความสัมพันธ์กับหลากหลายประเทศ โดยเฉพาะกับสาธารณรัฐคาซัคสถาน

กระทรวงพลังงานได้สร้างสรรค์อาคารศาลาไทย (Thailand Pavilion) ภายในอาคารที่ประเทศเจ้าภาพจัดไว้ให้บนพื้นที่ 934.05 ตารางเมตร ประกอบด้วยส่วนแสดงนิทรรศการ ชั้น 1 ขนาด 734.05 ตารางเมตร และพื้นที่เชิงพาณิชย์ ชั้น 2 ขนาด 200 เมตรโดยในส่วนของอาคารนิทรรศการไทย ชั้น 1 จัดขึ้นภายใต้แนวคิด“การพัฒนาด้านพลังงานชีวภาพเพื่อมนุษยชาติ (Bioenergy for All)” ที่ต้องการสื่อถึงพลังงานเพื่ออนาคตที่ยั่งยืน เพื่อแสดงศักยภาพของประเทศไทยในด้านการพัฒนาพลังงานทดแทน และความก้าวหน้าในการพัฒนาพลังงานชีวภาพ (Bioenergy) จากการน้อมนำพระราชดำริของพระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพล อดุลยเดชที่ทรงเป็นพระบิดาแห่งพลังงานไทย และเป็นต้นแบบในเรื่องปรัชญา“ความพอเพียง”มาใช้เป็นแนวทางในการใช้ทรัพยากรในประเทศที่มีอยู่อย่างคุ้มค่า โดยมุ่งหวังให้สามารถพึ่งพาตนเองได้อย่างยั่งยืนในอนาคต โดยนำเสนอในรูปแบบ “EDUTAINMENT” หรือ การเรียนรู้ควบคู่ความสนุกประกอบ ด้วย 3 ห้องนิทรรศการหลัก ได้แก่

นิทรรศการห้องที่ 1: นำเสนอเรื่องราวและภาพของประเทศไทยโดยรวมผ่าน Live Exhibition หรือนิทรรศการสร้างประสบการณ์เสมือนจริง ภายใต้เนื้อหา Our Ways, Our Thai หรือ วิถีเรา วิถีไทย เพื่อนำเสนอเรื่องราววิถีของประเทศไทย ภาพรวมของประเทศให้ผู้เยี่ยมชมได้ทำความรู้จักประเทศไทยมากยิ่งขึ้น ความเป็นอยู่ ลักษณะบ้านเมือง สิ่งแวดล้อมของประเทศไทย ทรัพยากรธรรมชาติที่งดงาม รวมไปถึงแสดงศักยภาพด้านการเกษตร และการท่องเที่ยวที่เป็นส่วนสำคัญในการขับเคลื่อนเศรษฐกิจ ของประเทศ ควบคู่กับการพัฒนาด้านพลังงาน เพื่อให้เกิดการใช้ทรัพยากรที่มีอยู่ได้คุ้มค่ามีประสิทธิภาพสูงสุด ซึ่งการพัฒนาด้านพลังงานนี้เป็นอีกหนึ่งหัวใจหลักสำคัญในการดำรงชีวิต และผลักดันวิถีไทย ให้ยั่งยืน

นิทรรศการห้องที่ 2 : นำเสนอในรูปแบบของห้องฉายหนังภาพยนตร์ (Theater) แบบ 3D พร้อมด้วยหุ่นยนต์มาสคอต “พลัง” เป็นตัวเล่าเรื่องภายใต้เนื้อหา Farming the Future Energy หรือ ปลูกพลังงาน ปลูกอนาคต นำเสนอเรื่องรางผ่านการเล่าเรื่องแบบสนุกสนาน เกี่ยวกับพลังงานแห่งอนาคตที่ถูกพัฒนาจากทรัพยากรธรรมชาติอันอุดมสมบูรณ์ในประเทศไทยการน้อมนำแนวคิดของพระบาทสมเด็จ พระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช ในการพัฒนาเป็นโครงการด้านพลังงาน อาทิ มาตรการสนับสนุนการ

พัฒนาพลังงานชีวภาพ การพัฒนาพลังงานในชุมชนโครงการสถานีผลิตพลังงานสีเขียว (Distributed Green Generation) การพัฒนาเมืองอัจฉริยะ (Smart Cities Clean Energy) การพัฒนาโครงข่าย การใช้ก๊าซชีวภาพ (Biogas Network) เป็นต้น

นิทรรศการห้องที่ 3 : นำเสนอในรูปแบบนิทรรศการที่ทุกคนสามารถมีส่วนร่วมได้ หรือ Interactive Exhibition ภายใต้แนวคิด “Energy Creation Lab” สร้างพลังงาน สร้างพลังไทย ซึ่งมีเนื้อหาเกี่ยวกับพลังงานชีวมวล และชีวภาพทั้งหมด 9 ชนิด ได้แก่ อ้อย ยูคาลิปตัส ยางพารา หญ้าโตเร็ว ข้าว ข้าวโพด มูลสัตว์ หรือของเสีย มันสำปะหลัง และปาล์ม รวมถึงเรื่องของการส่งเสริม สนับสนุนและพัฒนา ด้านพลังงานทดแทน พลังงานชีวมวล พลังงานก๊าซชีวภาพ และพลังงานเชื้อเพลิงชีวภาพ (Biomass, Biogas, Biofuel) เพื่อตอบโจทย์การแก้ปัญหาความมั่นคงทางพลังงานของประเทศไทย และยังเป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อมอีกด้วย

นอกจากนี้ กระทรวงพลังงาน ยังได้รับความร่วมมือจากหน่วยงานต่างๆ ในการเข้าร่วมการ จัดงาน อาทิ กระทรวงวัฒนธรรม กระทรวงพาณิชย์ สำนักงานคณะกรรมการส่งเสริมการลงทุน หรือ BOI การท่องเที่ยวแห่งประเทศไทย กรมการพัฒนาชุมชน การไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทย บริษัท ปตท.จำกัด (มหาชน) และ บริษัท การบินไทย จำกัด (มหาชน) โดยกระทรวงพลังงาน มั่นใจว่าอาคารศาลาไทยในครั้งนี้ จะได้รับการตอบรับอย่างดี และคาดว่าจำนวนผู้เข้าเยี่ยมชมศาลาไทย คิดเป็น 10% จากจำนวนผู้เข้าชมทั้งหมดที่ทางประเทศเจ้าภาพคาดการณ์ โดยประมาณ 5 แสนคน ตลอดระยะการจัดงาน ตั้งเป้าว่าจะเป็น 1 ใน 10 พาวิลเลียนที่มีผู้สนใจเข้าชมมากที่สุด

ทั้งนี้ สามารถติดตามรายละเอียดความเคลื่อนไหวของอาคารศาลาไทย และการจัดงานนิทรรศการโลกได้ทางช่องทางต่างๆ

http://www.thailandpavilion2017.com/ หรือ Facebook: thailandpavilion2017

รับสมัครตัวแทนประเทศไทยเข้าร่วมงาน ASTANA EXPO 2017

กระทรวงพลังงานเปิดรับสมัครบุคคลทั่วไป
นิสิต นักศึกษาเป็นตัวแทนประเทศไทย
ที่มีความสามารถด้านภาษา
รัสเซีย หรือ คาซัค หรือ อังกฤษ
ผู้มีใจรักความเป็นไทย ไปเผยแพร่วัฒนธรรม และนวัตกรรมพลังงานไทย
ในบทบาทเจ้าหน้าที่ส่วนนิทรรศการ 

ระหว่างวันที่ 10 มิถุนายน – 10 กันยายน 2560
ณ กรุงอัสตานา สาธารณรัฐคาซัคสถาน
พร้อมค่าตอบแทน และประสบการณ์สุดล้ำค่า

ตรวจสอบคุณสมบัติดาวน์โหลดใบสมัครได้แล้วที่นี่ http://www.thailandpavilion2017.com/th/volunteer

หมดเขต 21 กุมภาพันธ์ 2560 นี้นะครับ….

อธิบดีกรมเชื้อเพลิงธรรมชาติ เป็นประธานเปิดการประชุมเชิงปฏิบัติการ โครงการ DMF Networking

วันที่ 21 ธันวาคม 2559 นายวีระศักดิ์ พึ่งรัศมี อธิบดีกรมเชื้อเพลิงธรรมชาติ เป็นประธานเปิดการประชุมเชิงปฏิบัติการ โครงการ DMF Networking และบรรยายพิเศษ การสร้างความร่วมมือกับทุกภาคส่วน ร่วมกับ สำนักงานพลังงานจังหวัด 7 จังหวัด ได้แก่ จังหวัดอุบลราชธานี อุดรธานี กาฬสินธุ์ ยโสธร ร้อยเอ็ด สกลนคร และมหาสารคาม เพื่อสร้างเครือข่ายด้านปิโตรเลียม ณ ห้องประชุม 5 ศูนย์เอนเนอร์ยี่คอมเพล็กซ์

“อนันตพร” ลงพื้นที่จังหวัดจันทบุรี ตรวจติดตามสถานการณ์พลังงานภาคตะวันออก และศักยภาพการดำเนินงานโรงไฟฟ้าพลังน้ำคิรีธาร-คลองทุ่งเพล

วันนี้ (16 ธันวาคม 2559) พลเอก อนันตพร กาญจนรัตน์ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงพลังงาน พร้อมด้วย นายอารีพงศ์ ภู่ชอุ่ม ปลัดกระทรวงพลังงาน นำคณะผู้บริหาร ข้าราชการ เจ้าหน้าที่กระทรวงพลังงาน และสื่อมวลชน ลงพื้นที่จังหวัดจันทบุรี เพื่อร่วมหารือข้อราชการกับพลังงานจังหวัดในพื้นที่และ ตรวจติดตามสถานการณ์พลังงาน 7 จังหวัดในกลุ่มภาคตะวันออก ได้แก่ ฉะเชิงเทรา ชลบุรี ระยอง จันทบุรี ตราด ปราจีนบุรี และสระแก้ว และเยี่ยมชมศักยภาพการดำเนินงานโครงการไฟฟ้าพลังน้ำคิรีธาร และโครงการไฟฟ้าพลังน้ำคลองทุ่งเพล โครงการอันเนื่องมาจากพระราชดำริ จากพระมหากรุณาธิคุณของพระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช ที่กระทรวงพลังงานน้อมนำมาสืบสานพระราชปณิธานเพื่อประโยชน์ของประชาชนในพื้นที่ โดยมี นายวิทูรัช ศรีนาม ผู้ว่าราชการจังหวัดจันทบุรี พร้อมด้วยนายประพนธ์ วงษ์ท่าเรือ อธิบดีกรมพัฒนาพลังงานทดแทนและอนุรักษ์พลังงาน และข้าราชการในพื้นที่ให้การต้อนรับ ณ อำเภอมะขาม จังหวัดจันทบุรี
พลเอก อนันตพร กาญจนรัตน์ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงพลังงาน เปิดเผยว่า การลงพื้นที่ จังหวัดจันทบุรี เป็นการติดตามสถานการณ์พลังงานของภาคตะวันออก ซึ่งจากการพูดคุยกับพลังงานจังหวัดในกลุ่มภาคตะวันออกทั้ง 7 จังหวัด ได้แก่ ฉะเชิงเทรา ชลบุรี ระยอง จันทบุรี ตราด ปราจีนบุรี และสระแก้ว เบื้องต้นไม่พบว่าประสบปัญหาอะไร แต่ก็ได้กำชับพลังงานจังหวัด และเจ้าหน้าที่กระทรวงพลังงาน ในพื้นที่ ให้มุ่งเน้นการทำงานอย่างบูรณาการตามแผนยุทธศาสตร์กระทรวง ติดตามดูแลสถานการณ์พลังงาน อย่างใกล้ชิดไม่ให้เกิดผลกระทบต่อประชาชนผู้บริโภค เนื่องจากภาคตะวันออกเป็นภาคที่มีธุรกิจที่หลากหลาย มีทั้งภาคอุตสาหกรรม การท่องเที่ยว อัญมณี และการเกษตร อีกทั้งบางพื้นที่ยังเป็นเขตเศรษฐกิจพิเศษอีกด้วย ซึ่งเรียกได้ว่าพื้นที่ภาคตะวันออกเป็นอีกหนึ่งกลไกที่สำคัญในการขับเคลื่อนเศรษฐกิจของประเทศด้วยเช่นกัน
รัฐมนตรีว่าการกระทรวงพลังงาน กล่าวต่อว่า นอกจากนี้ ยังได้ตรวจเยี่ยมการดำเนินงานโครงการไฟฟ้าพลังน้ำคิรีธาร และโครงการไฟฟ้าพลังน้ำคลองทุ่งเพล ซึ่งทั้ง 2 โครงการมีความสำคัญต่อการพัฒนาคุณภาพชีวิตของประชาชนชาวจังหวัดจันทบุรี ในการจัดหาน้ำในช่วงหน้าแล้ง การป้องกันน้ำเค็มจากทะเล และป้องกันน้ำท่วมในช่วงหน้าฝนให้กับเกษตรกรสวนผลไม้ในจังหวัดจันทบุรี ตลอดจนช่วยลดปัญหาเรื่องปริมาณกระแสไฟฟ้าไม่เพียงพอในพื้นที่ด้วย ที่สำคัญโครงการไฟฟ้าพลังน้ำคิรีธาร เป็นโครงการที่ได้รับ พระมหากรุณาธิคุณจากพระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช ในการเสด็จประกอบพิธีเปิด เมื่อวันที่ 21 มิถุนายน 2531 และพระราชทานนามว่า “เขื่อนไฟฟ้าพลังน้ำคิรีธาร” ซึ่งโครงการดังกล่าวสามารถผลิตไฟฟ้าได้ปีละ 27 ล้านหน่วย สามารถช่วยเสริมกับระบบไฟฟ้าที่มีอยู่โดยเชื่อมโยงที่สถานีจ่ายไฟฟ้าจันทบุรี บ้านหนองหว้า อำเภอเมือง จังหวัดจันทบุรี รวมถึงทดแทนการใช้น้ำมันเชื้อเพลิงในการผลิตไฟฟ้า ได้ประมาณปีละ 6.95 ล้านลิตรต่อปี และลดการนำเข้าน้ำมันดิบจากต่างประเทศได้ปีละ 5.98 ktoe (พันตันเทียบเท่าน้ำมันดิบ) นอกจากนี้ ยังก่อให้เกิดประโยชน์ทางด้านการเกษตรกรรมในเขตจังหวัดจันทบุรีเป็นพื้นที่ 35,000 ไร่

ทั้งนี้ โครงการไฟฟ้าพลังน้ำคิรีธาร ได้เดินเครื่องผลิตและจำหน่ายกระแสไฟฟ้าเข้าสู่ระบบของ การไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทย ตั้งแต่วันที่ 4 ธันวาคม 2529 ในรูปแบบ Non-Firm ปัจจุบันได้ทำสัญญา ซื้อขายไฟฟ้ากับ กฟผ. ตั้งแต่วันที่ 21 มีนาคม 2554 ซึ่งมีผลการดำเนินงานตั้งแต่เริ่มโครงการจนถึงปัจจุบัน ในด้านกำลังการผลิตรวมอยู่ที่ 823 ล้านหน่วย มีการจำหน่ายไฟฟ้าเข้าระบบรวมอยู่ที่ 811 ล้านหน่วย มีรายได้รวมเป็นเงินกว่า 1,500 ล้านบาท
ส่วนโครงการไฟฟ้าพลังน้ำคลองทุ่งเพล เป็นโครงการอันเนื่องมาจากพระราชดำริของพระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช เนื่องในวโรกาสที่พระองค์ทรงเสด็จประกอบพิธีเปิดเขื่อนและโครงการไฟฟ้าพลังน้ำคิรีธาร เมื่อปี 2531 โดยทรงมีพระราชดำริเกี่ยวกับเรื่องการนำน้ำจากห้วยสะตอมายัง เขื่อนคิรีธาร และโครงการไฟฟ้าพลังน้ำคลองทุ่งเพล เพื่อประโยชน์ในการเกษตรและการผลิตไฟฟ้าให้กับประชาชนในพื้นที่ ซึ่งทางสำนักงานพลังงานแห่งชาติในขณะนั้น หรือ กรมพัฒนาพลังงานทดแทนและอนุรักษ์พลังงานในปัจจุบัน ได้น้อมนำพระราชดำริมาศึกษาและจัดทำเป็นโครงการไฟฟ้าพลังน้ำคลองทุ่งเพล โดยสามารถผลิตไฟฟ้าได้ปีละ 28.16 ล้านหน่วย ช่วยลดการสูญเสียในระบบสายส่ง และส่งเสริมความมั่นคง ในระบบสายส่งของประเทศ รวมถึงได้ส่งน้ำเพื่อการเกษตรในพื้นที่ 58,822 ไร่ ครอบคลุม 4 ตำบล ในอำเภอเขาคิชฌกูฏ และอำเภอมะขาม คือ ตำบลพลวง ตำบลตะเคียนทอง (บางส่วน) อำเภอเขาคิชฌกูฏ และตำบลวังแซ้ม ตำบลฉมัน อำเภอมะขาม
นอกจากนี้ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงพลังงาน ยังได้กล่าวว่า กระทรวงพลังงานมีแนวทางที่จะพิจารณาให้มีการรับซื้อไฟฟ้าจากโครงการไฟฟ้าพลังน้ำขนาดเล็กในชุมชน จำนวน 25 แห่ง ขนาดกำลังผลิตรวม 2.97 เมกะวัตต์ เข้าระบบของการไฟฟ้าส่วนภูมิภาค (PEA) เพื่อให้เป็นไปตามแผน AEDP ที่มีเป้าหมายจะเพิ่มสัดส่วนการใช้พลังงานทดแทนเป็น 30% ในปี 2579 ซึ่งขณะนี้อยู่ระหว่างการหารือในระดับนโยบายเพื่อหาข้อสรุปต่อไป
ในโอกาสเดียวกันนี้ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงพลังงาน ยังได้ไปเยี่ยมชมสวนผลไม้ของนางสมปอง พร้อมพวก เกษตรกรที่ได้รับประโยชน์จากโครงการไฟฟ้าคลองทุ่งเพล พร้อมพบปะกับตัวแทนกลุ่มผู้ใช้น้ำจาก 4 ตำบล คือ ตำบลพลวง ตำบลตะเคียนทอง (บางส่วน) อำเภอเขาคิชฌกูฏ และตำบลวังแซ้ม ตำบลฉมัน อำเภอมะขาม อีกด้วย

 

กระทรวงพลังงาน มอบรางวัลประกวดภาพวาด “รักษ์น้ำ รักษ์ป่า รักษ์พลังงาน”

วันนี้ (2 ธันวาคม 2559) กระทรวงพลังงาน จัดพิธีมอบรางวัลประกวดวาดภาพเฉลิมพระเกียรติด้านการอนุรักษ์พลังงานและพลังงานทดแทน ปีที่ 4 ในหัวข้อ “รักษ์น้ำ รักษ์ป่า รักษ์พลังงาน”เงินรางวัลกว่า 8 แสนบาทโดยมี พลเอก สุรศักดิ์ ศรีศักดิ์ ที่ปรึกษารัฐมนตรีว่าการกระทรวงพลังงาน เป็นประธานในพิธี พร้อมด้วย ดร.อารีพงศ์ ภู่ชอุ่ม ปลัดกระทรวงพลังงานมอบโล่ เงินรางวัล และศิลปินผู้ทรงคุณวุฒิ ดร. เฉลิมชัย โฆษิตพิพัฒน์ ศิลปินแห่งชาติ เป็นคณะกรรมการในการตัดสิน ณ บริเวณลานอเนกประสงค์ ชั้น M ศูนย์การค้าเกตเวย์ เอกมัย
พลเอก สุรศักดิ์ ศรีศักดิ์ ที่ปรึกษารัฐมนตรีว่าการกระทรวงพลังงาน เปิดเผยว่า โครงการประกวดวาดภาพเฉลิมพระเกียรติด้านการอนุรักษ์พลังงานและพลังงานทดแทน กระทรวงพลังงานจัดขึ้นต่อเนื่องเป็นปีที่ 4 เพื่อเฉลิมพระเกียรติพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ผู้ทรงเป็นแบบอย่างที่ดีแก่ประชาชนชาวไทยด้านการอนุรักษ์พลังงาน และสร้างการมีส่วนร่วมของประชาชนในการถ่ายทอดความคิดสร้างสรรค์ด้านพลังงานผ่านศิลปะภาพวาด โดยในปีนี้จัดประกวดในหัวข้อ “รักษ์น้ำ รักษ์ป่า รักษ์พลังงาน”ซึ่งได้รับความสนใจจากเยาวชนและประชาชนทั่วประเทศเป็นจำนวนมาก ส่งผลงานเข้าร่วมกว่า 498 ผลงาน โดยรูปภาพที่ส่งเข้าประกวดล้วนถ่ายทอดความคิดสร้างสรรค์ด้านพลังงานผ่านทางศิลปะภาพวาด เพื่อรำลึกในพระมหากรุณาธิคุณ และน้อมนำแนวพระราชดำริ รวมทั้งพระราชกรณียกิจต่างๆ ด้านการอนุรักษ์พลังงานและการพัฒนาพลังงานทดแทนมาถ่ายทอด ผสมผสานกับจินตนาการออกมาเป็นงานศิลปะที่ทรงคุณค่า และสามารถเล่าเรื่องราวได้อย่างครบถ้วน
สำหรับผลการประกวดกิจกรรมประกวดวาดภาพเฉลิมพระเกียรติด้านการอนุรักษ์พลังงานและพลังงานทดแทน ปีที่ 4 ในหัวข้อ “รักษ์น้ำ รักษ์ป่า รักษ์พลังงาน”แบ่งออกเป็น 4 ประเภท ดังนี้
ประเภทมัธยมศึกษาตอนต้น
รางวัลชนะเลิศ ได้แก่ ด.ญ.จันทกานต์ จันทรโกมล
รางวัลรองชนะเลิศอันดับ 1 ได้แก่ ด.ญ.ลักษ์คณา มีพารา
รางวัลรองชนะเลิศอันดับ 2 ได้แก่ ด.ญ.ไอริณ เหลืองอ่อน
และรางวัลชมเชยอีก 13 รางวัล
1.ด.ญ.ศิริญากร นิลลออ
2.ด.ช.ศักรินทร์ ดาราสม
3.นายโสภณัฐ สังพาลี
4.ด.ญ.ธัญลักษณ์ โอษธีศ
5.นางสาวปาณิสรา สุวรรณธาดา
6.ด.ญ.วลัยลักษณ์ ปิ่นทอง
7.ด.ช.อนันท์ วงษ์ศิลป์
8.ด.ช.พิเชษฐ์ เชื้อสายดวง
9.นางสาวปิยาภรณ์ จันทร์ไทรรอด

10.ด.ญ.สุดารัตน์ ปานพูล
11.นางสาวภัทรวรรณ พลซา
12.นางสาวพรนภา หารโงน
13.นายพุฒิพงศ์ คำภาพล
ประเภทมัธยมศึกษาตอนปลาย / ปวช.
รางวัลชนะเลิศ ได้แก่ นายวรุฒม์ ผ่องภักต์
รางวัลรองชนะเลิศอันดับ 1 ได้แก่ นางสาวพิสชา พ่วงลาภ
รางวัลรองชนะเลิศอันดับ 2 ได้แก่ นางสาวรุจิรา อุบลชัย
และรางวัลชมเชยอีก 13 รางวัล
1.นางสาวจุฑามาศ รัตนะพิบูลย์กุล
2.นายเกริกเกียรติ ตรีเนตร์
3.นายภาณุพงศ์ อินทะชาติ
4.นายพรดนัย วัฒนาประดิษฐชัย
5.นางสาวศศิธร เข็มศิริ
6.นางสาวปิยาภรณ์ ปานแป้น
7.นางสาวภัทรวรรณ เหลืองสะอาด
8.นายทรัพย์สถิตย์ อภิบาลศรี
9.นายพลวัฒน์ สามิดี
10.นายศิริโรจน์ โคตรรวงษา
11.นายภาณุวัฒน์ ไชยรถ
12.นายธนโชติ พิลา
13.นายธนากร ขวัญปาก

ประเภทอุดมศึกษา
รางวัลชนะเลิศ ได้แก่ นางสาวจันทร์ทิมา สุทธิประภา
รางวัลรองชนะเลิศอันดับ 1 ได้แก่ นายปรัชญา พลซา
รางวัลรองชนะเลิศอันดับ 2 ได้แก่ นายเกรียงไกร แก้วสุวรรณ
และรางวัลชมเชยอีก 13 รางวัล
1.นายธันยธรณ์ อมราลักษณ์
2.นายวชิร รุจิพงษ์
3.นายภัทร บุญล้อม
4.นายสารัช ศรีบุรินทร์
5.นายสมบูรณ์ อุ่นประชา
6.นายอภิวัฒน์ มัชฌิมา
7.นายธาวินวิชญ์ เชาวน์ธนกิจ
8.นายชาญณรงค์ แดงประคำ
9.นางสาวอลิสา ผลาพล
10.นายชลวิทย์ อินทะวงษ์
11.นายไชยอนันต์ จันต๊ะนัน
12.นายอาณัติ สามัคคี
13.นายชัยชนะ ลือตระกูล

ประเภทประชาชนทั่วไป
รางวัลชนะเลิศ ได้แก่ นายธีรวัฒน์ จันทร์แสตมป์
รางวัลรองชนะเลิศอันดับ 1 ได้แก่ นายธวัชชัย สาริสุทธิ์
รางวัลรองชนะเลิศอันดับ 2 ได้แก่ นายสุกิจ เชื้อสายดวง
และรางวัลชมเชยอีก 13 รางวัล
1.นายรังษี เลาหสูต
2.นายอภิเดช ศิริบุรี
3.นายจักรกฤษณ์ ศรีสงคราม
4.นายณัฐวุฒิ ชุ่มพรมราช
5.นางสาวนุตศุภางค์ ภู่ทัยกุล
6.นายเอกภาพ วรชินา
7.นายสมบัติ น้อยโนนทอง
8.นายกฤษตฌาพนธ์ วัชระไชยสกุล
9.นายอรรณพ รัตตมณี
10.นายรัตน ไวยะราบุตร
11.นายจรัญ บุญประเดิม
12.นายสรพงษ์ สีชมพู
13.นายศุภณัฐ ลาดศิลป์
ทั้งนี้ กิจกรรมจัดประกวดวาดภาพเฉลิมพระเกียรติด้านการอนุรักษ์พลังงานและพลังงานทดแทน ปีที่ 4 หัวข้อ “รักษ์น้ำ รักษ์ป่า รักษ์พลังงาน” แบ่งการประกวดเป็น 4 ประเภท คือ ประเภทมัธยมศึกษาตอนต้น ประเภทมัธยมศึกษาตอนปลาย และ ปวช. ประเภทอุดมศึกษา และ ปวส. และประเภทประชาชนทั่วไป รวม 64 รางวัล โดยมีเงินรางวัลสำหรับผู้ชนะทั้งหมด จำนวนกว่า 8 แสนบาท พร้อมการจัดนิทรรศการวาดภาพที่ได้รับรางวัล และภาพวาดที่ได้รับการคัดเลือกรวม 100 ผลงาน ระหว่างวันที่ 2-5 ธันวาคม 2559 ณ ศูนย์การค้าเกตเวย์ เอกมัย
โดยผลงานทั้งหมดผ่านการพิจารณาคัดเลือกแบ่งเป็นสองรอบ รอบแรกคณะกรรมการจะพิจารณาจากผลงานที่ส่งเข้าร่วมประกวดทั้งหมด 498 ผลงาน ซึ่งจะต้องตรงตามหัวข้อที่กำหนดไว้ และต้องเป็นภาพที่มีความคิดสร้างสรรค์ที่สื่อถึงพระราชกรณียกิจในกิจการด้านการอนุรักษ์พลังงานหรือการส่งเสริมพลังงาน
ทดแทน ของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวฯ โดยคัดเลือกผลงานจำนวน 100 ผลงาน แบ่งเป็นผลงานที่เข้ารอบเพื่อร่วมกิจกรรมต่างๆของการประกวด อาทิ การศึกษาดูงานศิลปะ ณ พิพิธภัณฑ์ศิลปะไทยร่วมสมัย (โมกา) การอบรมและสร้างสรรค์ผลงานวาดภาพ โดยวิทยากรผู้ทรงคุณวุฒิให้คำแนะนำอย่างใกล้ชิด ส่วนการตัดสินในรอบที่สองจะเป็นการตัดสินผลงานรอบสุดท้ายในแต่ละประเภทเพื่อคัดเลือกผู้ชนะเลิศ รองชนะเลิศอันดับ1 รองชนะเลิศอันดับ 2 และรางวัลชมเชยประเภทละ 13 รางวัล




ที่ปรึกษารัฐมนตรีว่าการกระทรวงพลังงาน เป็นประธานในพิธี ในพิธี kick off friendly design พลังงานไทย ในเวทีโลก

วันนี้ (2 ธันวาคม 2559) พลเอก สุรศักดิ์ ศรีศักดิ์ ที่ปรึกษารัฐมนตรีว่าการกระทรวงพลังงาน ได้ให้เกียรติมาเป็นประธาน ในพิธี kick off friendly design พลังงานไทย ในเวทีโลก ซึ่งเป็นหนึ่งกิจกรรมในงาน Thailand Friendly Design Expo 2016 มหกรรมอารยสถาปัตย์ และนวัตกรรมสุขภาพเพื่อคนทั้งมวล ครั้งที่ 1 พร้อมกันนี้ประธานในพิธีได้มอบป้าย อารยสถาปัตย์ ให้กับองค์กร ที่ส่งเสริมการจัดทำสิ่งอำนวยความสะดวกต่างๆให้กับประชาชน และยังได้ร่วมเดินชม บูธสินค้า ผลิตภัณฑ์เทคโนโลยี นวัตกรรม อุตสาหกรรม รวมถึงธุรกิจบริการ และการออกแบบที่เกี่ยวกับอารยสถาปัตย์ ณ ฮอลล์ 6 อิมแพ็ค เมืองทองธานี



รัฐมนตรีว่าการกระทรวงพลังงาน เป็นประธานพิธีเปิดโครงการโซลาร์รูฟท็อป ของมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ขนาดใหญ่อันดับหนึ่งของมหาวิทยาลัยในเอเชีย และที่ 4 ของมหาวิทยาลัยโลก

พลเอก อนันตพร กาญจนรัตน์ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงพลังงาน         เป็นประธานในพิธีเปิด “การจ่ายไฟฟ้าจากพลังงานแสงอาทิตย์ จาก Solar Rooftop เข้าสู่ระบบใน                อาคารราชการขนาดใหญ่ที่สุดในประเทศไทย” ซึ่งเป็นโครงการผลิตไฟฟ้าพลังงานแสงอาทิตย์ในอาคารราชการ ที่ใหญ่ที่สุดในประเทศไทย และเป็นที่หนึ่งของมหาวิทยาลัยในเอเชีย และเป็นที่ 4 มหาวิทยาลัยของโลก                  ภายใต้ความร่วมมือระหว่าง มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ และ บริษัท โซลาร์ตรอน จำกัด (มหาชน) โดยมีเป้าหมายผลิตไฟฟ้าให้ได้ 15 เมกะวัตต์ ภายในปี 2560 ซึ่งโครงการดังกล่าวนับเป็นต้นแบบที่ดีในด้านการพึ่งพาตนเอง          ในด้านพลังงาน ซึ่งสอดรับกับนโยบายของกระทรวงพลังงานที่รณรงค์ให้ภาครัฐ เอกชน ชุมชน มีการพัฒนาพลังงานทดแทน เพื่อลดรายจ่าย และสร้างความมั่นคงด้านพลังงานได้ด้วยตัวเอง โดยมี ศ.ดร.สมคิด เลิศไพฑูรย์ อธิการบดีมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์  พร้อมด้วย รศ.นพ.จิตตินัดด์ หะวานนท์  ผู้อำนวยการโรงพยาบาลธรรมศาสตร์เฉลิมพระเกียรติ ศ.ดร.สุรพล นิติไกรพจน์ ประธานคณะกรรมการบริหารโรงพยาบาล                      นายเชิดพงษ์ สิริวิชช์ ประธานกรรมการ  บริษัท โซลาร์ตรอน จำกัด (มหาชน)   ให้การต้อนรับ ณ บริเวณโถง ชั้น 1 อาคาร ม.ร.ว.สุวพรรณ สนิทวงศ์ โรงพยาบาลธรรมศาสตร์เฉลิมพระเกียรติ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์              ศูนย์รังสิต

ในโอกาสนี้ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงพลังงาน ยังได้เยี่ยมชมนิทรรศการ การออกบูธ ให้ความรู้เกี่ยวกับการติดตั้งโซลาร์รูฟท็อป และเยี่ยมชมระบบติดตั้งแผงเซลล์แสงอาทิตย์บนหลังคา บริเวณดาดฟ้า                          อาคารดุลโสภาคย์อีกด้วย












 

เตือนประชาชน อย่าหลงเชื่อธุรกิจขายตรง แผ่นการ์ดประหยัดพลังงาน

 

 

 

กระทรวงพลังงาน เตือนประชาชน อย่าหลงเชื่อธุรกิจขายตรง แผ่นการ์ดประหยัดพลังงาน ที่อ้างลดใช้ไฟฟ้า น้ำมัน ก๊าซหุงต้ม ได้ 10-30% ชี้ยังไม่มีหน่วยงานใดรับรอง ยันไม่สามารถลดใช้พลังงานได้จริง เตรียมให้พลังงานจังหวัดแจ้งประชาชนในพื้นที่ หากพบอย่าหลงเชื่อ แนะให้ใช้อุปกรณ์ไฟฟ้าที่มีฉลากเบอร์ 5 และวิธีประหยัดพลังงาน

ดร.สมภพ พัฒนอริยางกูล นักวิเคราะห์นโยบายและแผนชำนาญการพิเศษ กระทรวงพลังงาน เปิดเผยว่า ปัจจุบันได้เกิดธุรกิจขายตรงสินค้า แผ่นการ์ดประหยัดพลังงาน ที่แอบอ้างว่า จะช่วยให้เกิดการลดใช้ไฟฟ้า น้ำมัน และก๊าซหุงต้ม ได้สูง 10-30% ซึ่งประชาชนได้หลงเชื่อและซื้อสินค้าดังกล่าวพบว่าไม่สามารถใช้งานได้จริง และเกิดความเสียหายแล้วหลายแสนบาท โดยกระทรวงพลังงาน ขอเตือนว่า อย่าหลงเชื่อธุรกิจแผ่นการ์ดประหยัดพลังงานนี้ เนื่องจากยังไม่มีหน่วยงานใด ออกมาตรวจสอบและยืนยันว่าใช้ได้จริง จึงไม่แนะนำให้ประชาชนนำไปใช้ และหากพบการกระทำดังกล่าว สามารถแจ้งมายังศูนย์บริการร่วมกระทรวงพลังงาน หรือที่พลังงานจังหวัดได้
ทั้งนี้ กระทรวงพลังงาน จะได้เร่งทำความเข้าใจกับประชาชน โดยเฉพาะในพื้นที่ต่างจังหวัด ซึ่งได้หลงเชื่อธุรกิจแผ่นการ์ดประหยัดพลังงาน และพบผู้เสียหายแล้วหลายราย ซึ่งเบื้องต้นกระทรวงพลังงาน จะได้ประสานไปยังพลังงานจังหวัด ให้ลงพื้นที่ให้ข้อเท็จจริงกับประชาชน รวมทั้งจะได้แนะนำถึงวิธีการประหยัดพลังงานที่เห็นผลได้จริง อาทิ การเลือกซื้ออุปกรณ์ไฟฟ้าที่มีฉลากประหยัดพลังงานเบอร์ 5 การปรับอุณหภูมิเครื่องปรับอากาศเพิ่มขึ้น การลดใช้น้ำมัน เช่น การขับรถไม่เกิน 90 กิโลเมตรต่อชั่วโมง การเติมลมยางให้พอดี การตรวจเช็คเครื่องยนต์อย่างน้อยปีละ 2 ครั้ง การตรวจสอบเส้นทางสภาพจราจรก่อนเดินทาง เป็นต้น

“กระทรวงพลังงาน ได้มีการติดฉลากประหยัดพลังงาน เบอร์ 5 ในอุปกรณ์ไฟฟ้า ที่มีการตรวจสอบด้วยมาตรฐานสากล ยืนยันว่าประหยัดพลังงานได้จริง แต่แผ่นการ์ดพลังงานดังกล่าว ไม่สามารถช่วยลดใช้พลังงานได้ตามคำกล่าวอ้าง และมักยกทฤษฎีให้คนเชื่อถือ กระทรวงพลังงานจึงขอให้ประชาชนพิจารณาอย่างรอบคอบโดยไม่ควรหลงเชื่อการโฆษณาเกินจริง” ดร. สมภพกล่าว

กระทรวงพลังงาน ร่วมสืบสานราชประเพณี ถวายผ้าพระกฐินพระราชทาน ประจำปี 2559 ที่จังหวัดลพบุรี

วันนี้ (4 พฤศจิกายน 59) พลเอก อนันตพร กาญจนรัตน์ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงพลังงาน พร้อมด้วย ดร. อารีพงศ์ ภู่ชอุ่ม ปลัดกระทรวงพลังงาน นำคณะผู้บริหาร ข้าราชการ และเจ้าหน้าที่ เดินทางไปถวายผ้าพระกฐินพระราชทาน ประจำปี 2559 ณ วัดกวิศรารามราชวรวิหาร ตำบลท่าหิน อำเภอเมือง จังหวัดลพบุรี
พลเอก อนันตพร กาญจนรัตน์ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงพลังงาน เปิดเผยว่า ตามราชประเพณีที่ สืบต่อกันมา พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดชฯ ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ พระราชทาน ผ้าพระกฐินให้ส่วนราชการ รัฐวิสาหกิจ องค์กร สมาคม มูลนิธิ บริษัทห้างร้าน และประชาชนทั่วไป ที่มีจิตศรัทธานำไปถวายพระสงฆ์ที่จำพรรษาในพระอารามหลวงทั่วประเทศ ซึ่งกรมการศาสนาในฐานะหน่วยงานที่รับผิดชอบ ได้ออกประกาศเชิญชวนให้รับทราบทุกปี และที่ผ่านมากระทรวงพลังงาน ได้ขอรับพระราชทานผ้าพระกฐิน เป็นประจำต่อเนื่องทุกปี โดยในปีนี้ได้นำผ้ากฐินพระราชทานมาถวายแด่พระภิกษุสงฆ์ที่จำพรรษา ที่วัดกวิศราราม ราชวรวิหาร ตำบลท่าหิน อำเภอเมือง จังหวัดลพบุรี
นอกจากนี้ กระทรวงพลังงาน ยังได้ถวายจตุปัจจัยเพื่อทำนุบำรุงพระพุทธศาสนา พร้อมทั้งร่วมทำบุญด้วยการถวายภัตตาหารเพลแด่พระภิกษุสงฆ์ เพื่อถวายเป็นพระราชกุศล และน้อมสำนึกในพระมหากรุณาธิคุณหาที่สุดมิได้แห่งองค์พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดชฯ พระผู้เสด็จสู่สวรรคาลัย
ในโอกาสเดียวกันนี้ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงพลังงานและปลัดกระทรวงพลังงาน ยังได้ร่วม มอบทุนการศึกษาและเงินบำรุงเรียนให้กับ 2 โรงเรียนในเขตเทศบาลเมืองลพบุรี คือ โรงเรียนวินิตศึกษาใน พระราชูปถัมภ์ จำนวน 50,000 บาท และโรงเรียนเทศบาล 2 จำนวน 50,000 บาท

รมว.พลังงานให้กำลังใจเจ้าหน้าที่จุดบริการประชาชนที่สนามหลวง

วันนี้ (25 ตุลาคม 2559) พลเอกอนันตพร กาญจนรัตน์ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงพลังงาน พร้อมด้วยนายสำนึก บำรุงสาลี รองปลัดกระทรวงพลังงาน ผู้บริหารกระทรวงพลังงาน และนายกฤษณ์ อิ่มแสง รองกรรมการผู้จัดการใหญ่ทรัพยากรบุคลและศักยภาพองค์กร บริษัท ปตท. จำกัด (มหาชน) และนายวรพจน์ มานะพันธุ์พงศ์ ผู้ช่วยผู้ว่าการบริการ การไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทย ร่วมตรวจเยี่ยมและให้กำลังใจเจ้าหน้าที่ที่คอยให้บริการประชาชนที่เดินทางมาร่วมลงนามถวายอาลัยพระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช พระผู้เสด็จสู่สวรรคาลัย ณ บริเวณท้องสนามหลวง จุดบริการประชาชน เต็นท์ที่ 29-30

          พลเอก อนันตพร กาญจนรัตน์ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงพลังงาน เปิดเผยว่ากระทรวงพลังงาน ได้ร่วมกับ การไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทย และบริษัท ปตท.จำกัด (มหาชน) ให้บริการและอำนวยความสะดวกให้กับประชาชนที่เดินทางมาร่วมลงนามถวายอาลัยพระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช โดยได้จัดอาหารและเครื่องดื่มบริการฟรี อาทิ ข้าวกล้องไข่เจียว น้ำดื่ม โดนัทแด๊ดดี้โด กาแฟอเมซอน และการให้บริการชาร์จแบตเตอรี่มือถือพลังงานแสงอาทิตย์ เพื่อถวายเป็นพระราชกุศลแด่พระผู้เสด็จสู่สวรรคาลัย ที่เป็นศูนย์รวมใจของคนไทยทั้งประเทศ ซึ่งประชาชนสามารถมารับบริการได้ทุกวันตั้งแต่เวลา 10.00 น.ถึงเวลาประมาณ 14.00 น.ในโอกาสนี้ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงพลังงาน ยังได้ลงมือทอดไข่เจียวแจกประชาชน ที่มาเข้าแถวรับบริการอีกด้วย

กระทรวงพลังงานเปิดบูธให้บริการประชาชนที่จะไปร่วมสักการะพระบรมศพ พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช

 

กระทรวงพลังงาน ร่วมกับ การไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทย และ บริษัท ปตท จำกัด (มหาชน) เปิดบูธให้บริการประชาชนที่จะไปร่วมสักการะพระบรมศพ พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช ที่พระบรมมหาราชวัง สามารถรับอาหารและเครื่องดื่ม อาทิ กาแฟอเมซอน น้ำดื่ม ข้าวไข่เจียว ที่จุดรับรองประชาชน บริเวณสนามหลวง ฝั่งสะพานสมเด็จพระปิ่นเกล้า (ดังตำแหน่งที่แสดงในแผนที่) โดยจะให้บริการเวลา 9.00 – 20.00 น. ตั้งแต่บัดนี้เป็นต้นไปจนครบกำหนด 100 วัน (ครบกำหนด 100 วัน 20 ม.ค.2560)

ปลัดกระทรวงพลังงาน เข้าเยี่ยมชมและให้กำลังใจเจ้าหน้าที่ที่ให้บริการประชาชนในบูธกระทรวงพลังงาน

ดร.อารีพงศ์ ภู่ชอุ่ม ปลัดกระทรวงพลังงาน เข้าเยี่ยมชมและให้กำลังใจเจ้าหน้าที่ที่ให้บริการประชาชนในบูธกระทรวงพลังงาน ทั้งนี้ ประชาชนที่จะไปร่วมสักการะพระบรมศพ พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช ที่พระบรมมหาราชวัง สามารถรับอาหารและเครื่องดื่ม อาทิ กาแฟอเมซอน น้ำดื่ม ข้าวไข่เจียว ได้ที่จุดรับรองประชาชนของกระทรวงพลังงาน (ร่วมกับ กฟผ. และ ปตท.) บริเวณสนามหลวง ฝั่งสะพานสมเด็จพระปิ่นเกล้า โดยจะให้บริการเวลา 9.00 – 20.00 น. ตั้งแต่บัดนี้เป็นต้นไป

 

 

 

 

 

 

 

 

 

รัฐมนตรีว่าการกระทรวงพลังงาน พร้อมคณะ เข้าร่วมพิธีถวายน้ำสรงพระบรมศพฯ

เช้าวันนี้ (14 ตุลาคม 2559) พลเอกอนันตพร กาญจนรัตน์ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงพลังงาน ดร.อารีพงศ์ ภู่ชอุ่ม ปลัดกระทรวงพลังงาน พร้อมด้วยผู้บริหารระดับสูง ข้าราชการและเจ้าหน้าที่ เข้าร่วมพิธีถวายน้ำสรงพระบรมศพ พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช มหิตลาธิเบศรรามาธิบดี จักรีนฤบดินทร สยามินทราธิราช บรมนาถบพิตร น้อมเกล้าน้อมกระหม่อมส่งเสด็จสู่สวรรคาลัย เบื้องหน้าพระบรมฉายาลักษณ์ ซึ่งประดิษฐาน ณ ศาลาสหทัยสมาคม ในพระบรมมหาราชวัง

ขอเชิญข้าราชการ เจ้าหน้าที่ และประชาชนทั่วไป เข้าถวายน้ำสรงพระบรมศพ พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช มหิตลาธิเบศรรามาธิบดี จักรีนฤบดินทร สยามินทราธิราช บรมนาถบพิตร

ขอเชิญข้าราชการ เจ้าหน้าที่ และประชาชนทั่วไป เข้าถวายน้ำสรงพระบรมศพ พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช มหิตลาธิเบศรรามาธิบดี จักรีนฤบดินทร สยามินทราธิราช บรมนาถบพิตร น้อมเกล้าน้อมกระหม่อมส่งเสด็จสู่สวรรคาลัย เบื้องหน้าพระบรมฉายาลักษณ์ ซึ่งประดิษฐาน ณ ศาลาสหทัยสมาคม ในพระบรมมหาราชวัง วันนี้ (14 ตุลาคม 2559) ตั้งแต่เวลา 8.30 น. ถึง 12.00 น.

แถลงการณ์จาก ฯพณฯ นายกรัฐมนตรี พลเอก ประยุทธ์ จันทร์โอชา

พี่น้องประชาชนชาวไทย ที่อยู่ในราชอาณาจักร และในต่างประเทศ ทั่วโลกทุกท่าน วันที่ชาวไทยทั้งปวงไม่ต้องการแม้แต่จะนึกคิด และไม่ปรารถนาแม้แต่จะได้ยิน ก็มาถึง เมื่อสำนักพระราชวังได้ออกแถลงการณ์อย่างเป็นทางการ ว่า พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช มหิตลาธิเบศรรามาธิบดี จักรีนฤบดินทร สยามินทราธิราช บรมนาถบพิตร เสด็จสวรรคตแล้วในวันนี้ ณ โรงพยาบาลศิริราช

ถือว่าเป็นการสูญเสียและความวิปโยคที่ยิ่งใหญ่ที่สุดในชีวิตของปวงชนชาวไทยทั้งประเทศ นับตั้งแต่การเสด็จสวรรคตของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ ๘ เมื่อวันที่ ๙ มิถุนายน พุทธศักราช ๒๔๘๙

พี่น้องประชาชนชาวไทยทุกคนได้ติดตามข่าวสารและรับทราบมาเป็นลำดับว่า ในห้วงหลายปีที่ผ่านมา พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ทรงพระประชวร และได้เสด็จฯ ไปประทับที่โรงพยาบาลศิริราช เป็นระยะ เมื่อพระอาการบรรเทาลง ก็จะทรงปฏิบัติพระราชภารกิจตามปกติ ด้วยพระวิริยะอุตสาหะ เพื่อความผาสุกของพสกนิกร

ตลอดเวลาที่ผ่านมา คณะแพทย์ได้ถวายการรักษาอย่างใกล้ชิด จนพระอาการดีขึ้นเป็นลำดับ ยังความปลาบปลื้มแก่ประชาชนคนไทยทั้งชาติ แต่ในที่สุดพระอาการประชวรหาคลายไม่ ประกอบกับพระชนมพรรษามาก พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว เสด็จสวรรคต พระชนมพรรษาปีที่ ๘๙ เสด็จดำรงสิริราชสมบัติ ๗๐ พรรษา ในวันที่ ๑๓ ตุลาคม ซึ่งจะเป็นวันที่อยู่ในความทรงจำของประชาชนชาวไทยตลอดไปนานแสนนาน ดุจวันปิยมหาราช ๒๓ ตุลาคม

พี่น้องที่เคารพทั้งหลาย ระยะเวลา ๗๐ ปี ในรัชสมัยของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวภูมิพลอดุลยเดช เริ่มต้นขึ้นภายหลังจากที่มหาสงครามโลกเพิ่งสิ้นสุดลง ประเทศชาติกำลังฟื้นตัวจากภัยสงคราม ประชาชนเปี่ยมด้วยความหวัง เมื่อประเทศไทยมีพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว พระองค์ใหม่ครองราชย์ เป็นผู้นำ เปลี่ยนความท้อแท้ของผู้คน กลายเป็นความแน่วแน่ มั่นคง องอาจ ที่จะยืนหยัดต่อสู้กับอุปสรรคต่างๆ ตลอดรัชสมัย เป็นช่วงเวลาที่มีการพัฒนาประเทศในทุกด้าน ทรงเป็นกษัตริย์ผู้เป็นที่รัก เทิดทูน ทรงเป็นศูนย์รวมใจของคนไทยทั้งชาติ นับเป็น ๗๐ ปี ที่ทรงครองแผ่นดินโดยธรรม เพื่อประโยชน์สุขแห่งมหาชนชาวสยาม โดยแท้

บัดนี้ ๗๐ ปี ในรัชสมัยของสมเด็จพระภัทรมหาราช พระมหากษัตริย์ผู้ประเสริฐยิ่ง ของปวงชนชาวไทย ได้สิ้นสุดลงแล้ว พระมหากรุณาธิคุณที่ทรงมีต่อพสกนิกรชาวไทย มากมาย ล้นพ้น หาที่สุดมิได้ มากเพียงใด ความวิปโยคอาลัยของพสกนิกรชาวไทยก็มากมาย ท่วมท้น หาที่สุดมิได้เพียงนั้น

รัฐบาลขอเชิญชวนให้พวกเราทุกคนร่วมกันตั้งจิตภาวนาตามศาสนาที่ทุกท่านนับถือ ดังที่เราเคยร่วมกันภาวนาถวายพระพร และอัญเชิญสิ่งศักดิ์สิทธิ์ที่ทุกท่านเคารพนับถือ ให้อภิบาลคุ้มครองตลอดเวลาที่ทรงพระประชวร เพื่ออธิษฐาน ภาวนา ขอให้ดวงพระวิญญาณของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ในพระบรมโกศ สถิตในสรวงสวรรค์ และทรงอภิบาลคุ้มครองราชอาณาจักรไทย ประชาชนชาวไทย ผู้เป็นพสกนิกรของพระองค์ ให้มีความสงบสุขและความสันติสุข ดุจดังที่ประเทศไทยและประชาชนชาวไทยมีมาโดยตลอด ภายใต้ร่มพระบารมียาวนาน ๗๐ ปี

พี่น้องประชาชนที่เคารพ ถึงแม้ว่าเราจะอยู่ในยามทุกข์โศก น้ำตานองหน้าทั่วกันเพียงใด ประเทศไทยอันเป็นที่รักของพวกเรา และพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ในพระบรมโกศ ต้องดำรงต่อไป อย่าให้การเสด็จสวรรคตครั้งนี้ทำให้พระราชปณิธานที่จะเห็นราชอาณาจักรของพระองค์มีความเจริญรุ่งเรือง พสกนิกรมีความผาสุกสวัสดี มีเมตตาและไมตรีต่อกัน ต้องหยุดชะงักลง

การจะแสดงความจงรักภักดีและความอาลัยที่ดีที่สุด คือเจริญรอยตามพระยุคลบาท สืบสานพระราชปณิธานที่จะรักษาเอกราช อธิปไตย ความสมบูรณ์พูนสุข และความเจริญรุ่งเรืองของบ้านเมือง ตลอดจนการปฏิบัติตามพระบรมราโชวาท พระราชดำรัส ที่เคยพระราชทานไว้

ภารกิจสำคัญที่จะต้องดำเนินการในวันนี้ มี ๒ ประการ คือ การดำเนินการให้เป็นไปตามรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย และตามกฎมณเฑียรบาล ว่าด้วยการสืบราชสันตติวงศ์ พุทธศักราช ๒๔๖๗ ตลอดจนตามพระราชประเพณี ในส่วนของการสืบราชสันตติวงศ์ ซึ่งสอดคล้องกับเพื่อให้การปกครองในระบอบประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุข ดำเนินต่อไปอย่างต่อเนื่อง โดยรัฐบาลจะแจ้งไปยังสภานิติบัญญัติแห่งชาติ ว่าพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ในพระบรมโกศ ได้ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าโปรดกระหม่อม สถาปนาพระรัชทายาท ตามกฎมณเฑียรบาลไว้แล้ว เมื่อวันที่ ๒๘ ธันวาคม ๒๕๑๕ จากนั้นสภานิติบัญญัติแห่งชาติ จะดำเนินการในส่วนที่เกี่ยวข้องต่อไป

อีกประการหนึ่ง คือ การเตรียมงานพระบรมศพ ในส่วนของรัฐบาลและประชาชน ให้สมพระเกียรติยศ และสมกับความจงรักภักดีของประชาชนชาวไทยที่มีต่อพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ในพระบรมโกศ

ทั้งนี้ การดำเนินการทั้ง ๒ ประการนี้ รัฐบาลจะแจ้งให้พี่น้องประชาชนทราบเป็นระยะต่อไป

ในช่วงเวลาต่อจากนี้ เป็นช่วงเวลาที่รัฐบาลและผู้เกี่ยวข้องจะต้องดำเนินการเรื่องต่างๆ ให้เป็นไปตามกฎหมายและราชประเพณี รัฐบาลจึงขอให้พี่น้องประชาชนทั้งหลายรับฟังข่าวสารอย่างเป็นทางการจากหน่วยงานราชการ อย่าเชื่อข่าวที่ลือ ที่ไม่ปรากฏแหล่งอ้างอิง พร้อมกันนี้ รัฐบาลขอเชิญชวนให้พี่น้องประชาชนคนไทยที่รักทุกท่านแต่งกายถวายความอาลัยเป็นเวลา ๑ ปี สถานที่ราชการลดธงครึ่งเสา เป็นเวลา ๓๐ วัน และทุกภาคส่วนควรพิจารณางดการจัดงานรื่นเริงต่างๆ เป็นเวลา ๓๐ วัน

ทั้งนี้ ท่านทั้งหลายอาจเข้าร่วมพิธี หรือจัดกิจกรรมทางศาสนาของตน ถวายเป็นพระราชกุศล หรือจัดเป็นพระบรมราชานุสรณ์ อีกทั้งควรใช้โอกาสนี้ให้กำลังใจแก่กันและกัน เพราะทุกคนต่างก็มีหัวอกเดียวกัน เพราะมีพ่อของแผ่นดินร่วมกัน และโปรดช่วยกันรักษาความสงบเรียบร้อยของบ้านเมือง มิให้ผู้ใดฉวยโอกาสแทรกเข้ามาก่อความขัดแย้งจนกลายเป็นความวุ่นวาย

ขอพี่น้องประชาชนทุกคนร่วมส่งเสด็จ พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ในพระบรมโกศ ด้วยการรักษาแผ่นดินของพ่อด้วยความรักและความสามัคคีตลอดไป

พี่น้องประชาชนชาวไทยทั้งหลาย พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ภูมิพลอดุลยเดชมหาราช รัชกาลที่ ๙ เสด็จสวรรคตแล้ว ขอพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวรัชกาลใหม่ ทรงพระเจริญ

ปลัดกระทรวงพลังงาน เข้าร่วมงาน World Energy Council ณ กรุงอิสตันบุล ประเทศตุรกี

วันนี้ (10 ตุลาคม 2559) นายอารีพงศ์ ภู่ชอุ่ม ปลัดกระทรวงพลังงาน พร้อมด้วยนายธรรมยศ ศรีช่วย รองปลัดกระทรวงพลังงาน พร้อมคณะ เข้าร่วมงาน World Energy Council ณ กรุงอิสตันบุล ประเทศตุรกี ทั้งนี้ นายอารีพงศ์ ภู่ชอุ่ม ได้กล่าวปาฐกถาในหัวข้อ Asia Regional Crossroads: Resilence and Regional Integration

 

 

Page 14 of 15
1 12 13 14 15