การประชุมโต๊ะกลมรัฐมนตรีพลังงานแห่งเอเชีย ครั้งที่ 7 (AMER 7)

วันที่ 2 พฤศจิกายน 2560 การประชุมโต๊ะกลมรัฐมนตรีพลังงานแห่งเอเชีย ครั้งที่ 7 โดยมี พล.อ.อ. ประจิ่น จั่นตอง รองนายกรัฐมนตรี เป็นประธานเปิดการประชุม

“ผมรู้สึกเป็นเกียรติเป็นอย่างยิ่งและมีความยินดีที่ได้มาต้อนรับทุกท่านเข้าสู่การประชุมโต๊ะกลมรัฐมนตรีพลังงานเอเชีย ครั้งที่ 7 ซึ่งจัดขึ้น ณ กรุงเทพมหานคร ประเทศไทย โดยมีประเทศสหรัฐอาหรับเอมิเรตส์เป็นเจ้าภาพร่วม

ผมรู้สึกภูมิใจที่ประเทศไทยได้รับเกียรติเป็นเจ้าภาพการจัดประชุมในครั้งนี้ ซึ่งถือเป็นการประชุมระหว่างประเทศที่สำคัญครั้งหนึ่งของประเทศไทย ผมขอขอบคุณรัฐมนตรีพลังงานเอเชีย และผู้บริหารจากองค์การระหว่างประเทศทุกท่านที่สละเวลาอันมีค่าของท่านเดินทางมา ณ ที่นี้ พร้อมทั้งขอต้อนรับทุกท่านสู่กรุงเทพมหานคร ประเทศไทย ดินแดนแห่งรอยยิ้มอย่างเป็นทางการ

หัวข้อการประชุมในวันนี้ คือ Global Market in Transition : From Vision to Action ซึ่งสะท้อนสถานการณ์พลังงานของโลกในยุคปัจจุบันได้เป็นอย่างดี เนื่องจากโลกของเรากำลังเข้าสู่ยุคเปลี่ยนผ่านด้านพลังงาน ประเทศต่างๆ โดยเฉพาะประเทศในเอเชีย จะมีแนวทางดำเนินการอย่างไรเพื่อให้การเปลี่ยนผ่านเป็นไปอย่างราบรื่น

เพื่อให้สอดคล้องกับหัวข้อการประชุมในวันนี้ ผมจะจึงขอกล่าวถึง 3 ประเด็นสำคัญเพื่อเป็นแนวทางสำหรับการหารือ โดยประเด็นที่ผมจะกล่าวถึง ประกอบไปด้วย (1) สถานการณ์พลังงานของโลกและของภูมิภาค (2) การเปลี่ยนผ่านด้านพลังงาน (3) การดำเนินการของประเทศไทยต่อการเปลี่ยนผ่านด้านพลังงานดังกล่าว

ท่านผู้มีเกียรติทุกท่านครับ

(1) สถานการณ์พลังงานของโลกและของภูมิภาค

ปัจจุบันอัตราการเจริญเติบโตของการใช้พลังงานมาจากประเทศกำลังพัฒนาเป็นส่วนใหญ่ ได้แก่ กลุ่มประเทศ Non-OECD ซึ่งการเจริญเติบโตที่เกิดขึ้นนั้นเป็นผลมาจากการเพิ่มขึ้นของจำนวนประชากร การย้ายถิ่นฐาน การขยายตัวของเมือง รวมถึงการพัฒนาความเป็นอยู่ที่ดีขึ้นของมนุษย์ ทั้งนี้ คงไม่สามารถปฏิเสธได้ว่าโลกของเราก็ยังคงต้องมีการใช้พลังงานฟอสซิลเป็นหลัก

สำหรับภูมิภาคเอเชียของเรา ถือว่าเป็นภูมิภาคที่มีสัดส่วนการใช้พลังงานมากที่สุดภูมิภาคหนึ่ง โดยมีการเจริญเติบโตของการใช้พลังงาน คิดเป็น 2 ใน 3 ของโลก เนื่องมาจากการเจริญเติบโตของประเทศเศรษฐกิจขนาดใหญ่ไม่ว่าจะเป็นจีน หรือ อินเดีย รวมทั้งประเทศที่อยู่ในช่วงการพัฒนาเศรษฐกิจอย่างรวดเร็ว เช่น ประเทศในภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ ในขณะเดียวกัน ภูมิภาคเอเชียก็ยังคงมีทรัพยากรพลังงานทั้งน้ำมัน และก๊าซธรรมชาติ ดังนั้น จะเห็นได้ว่า ภูมิภาคเอเชียเป็นภูมิภาคที่ประกอบไปด้วยทั้งผู้ซื้อและผู้ขายพลังงานรายใหญ่ ซึ่งทำให้เอเชียจะมีความสำคัญต่อตลาดพลังงานโลกและควรก้าวขึ้นมามีบทบาทนำในการกำหนดทิศทางด้านพลังงานของโลกต่อไป สอดคล้องกับการขนานนามยุคนี้ว่าเป็น “ศตวรรษของเอเชีย”

ทั้งนี้ จากการคาดการณ์สถานการณ์พลังงานโลกของทบวงการพลังงานระหว่างประเทศ (International Energy Agency: IEA) ความต้องการพลังงานของโลกจะเพิ่มขึ้นอีกร้อยละ 30 ในปี 2040 โดยพลังงานที่มีอัตราการใช้เพิ่มขึ้นอย่างรวดเร็วที่สุด คือ พลังงานหมุนเวียน ซึ่งคาดว่าจะมีสัดส่วนกำลังการผลิตไฟฟ้าที่ได้จากพลังงานหมุนเวียนคิดเป็นร้อยละ 60 โดยส่วนใหญ่มาจากพลังงานลม และแสงอาทิตย์ ด้านพลังงานฟอสซิลนั้น ก๊าซธรรมชาติจะมีการเจริญเติบโตมากที่สุด โดยเพิ่มสูงขึ้นอีกร้อยละ 50 จากแนวโน้มดังกล่าวจะเห็นได้ว่าเรากำลังเข้าสู่ยุคเปลี่ยนผ่านทางด้านพลังงาน จากยุคที่โลกถูกกำหนดด้วยพลังงานฟอสซิลมาสู่โลกที่พลังงานสะอาดเข้ามามีบทบาทสำคัญเพิ่มมากขึ้น

ท่านผู้มีเกียรติทุกท่านครับ

(2) ช่วงเปลี่ยนผ่านด้านพลังงาน (Energy Transition)

ในช่วง 10 ปีที่ผ่านมา โลกของเราเผชิญการเปลี่ยนแปลงมากมาย รวมถึงด้านพลังงาน ซึ่งเป็นผลมาจากการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศเนื่องจากภาวะโลกร้อน ข้อตกลงปารีสว่าด้วยการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ เป็นข้อตกลงที่มีผลกระทบต่อภาคพลังงานโดยตรง เนื่องจาก 2 ใน 3 ของการปล่อยก๊าซเรือนกระจกมาจากภาคพลังงาน ด้วยเหตุนี้ หลากหลายประเทศจึงได้ให้ความสำคัญกับการเปลี่ยนระบบเศรษฐกิจไปสู่เศรษฐกิจสีเขียว โดยเน้นการแสวงหาทางเลือกในการผลิตพลังงานอย่างสะอาดและยั่งยืน เพื่อพัฒนาไปสู่การเป็นสังคมคาร์บอนต่ำ

นอกจากนี้ การพัฒนาเทคโนโลยีก็เจริญเติบโตอย่างรวดเร็ว เกิด Disruptive Technology ต่างๆ มากมายในด้านพลังงาน ไม่ว่าจะเป็นยานยนต์ไฟฟ้า เทคโนโลยีระบบกักเก็บพลังงาน รวมถึงการพัฒนาเทคโนโลยีและนวัตกรรมด้านพลังงานหมุนเวียนต่างๆ ที่ทำให้ต้นทุนลดต่ำลง นอกจากนี้ ยังเกิดกระแสการผลิตพลังงานไฟฟ้าและใช้ด้วยตัวเอง หรือ Prosumer ดังนั้น สัดส่วนการใช้พลังงานของโลกจะเริ่มเปลี่ยนแปลงไป การใช้พลังงานฟอสซิลแม้ว่ายังมีความสำคัญแต่สัดส่วนการใช้จะค่อยๆ ลดลง ในขณะที่พลังงานหมุนเวียน รวมถึงพลังงานสะอาดในรูปแบบอื่นๆ จะมีสัดส่วนการใช้เพิ่มมากขึ้น นอกจากนี้ การเลือกใช้เทคโนโลยีสะอาดต่างๆ รวมทั้งการส่งเสริมการใช้พลังงานอย่างมีประสิทธิภาพและการอนุรักษ์พลังงานจะมีบทบาทมากขึ้น

การเปลี่ยนผ่านของตลาดพลังงานก็เป็นสิ่งที่หลีกเลี่ยงไม่ได้เช่นกัน เมื่อแนวโน้มการผลิตและการบริโภคพลังงานเปลี่ยนไป ตลาดพลังงานในรูปแบบเดิมๆ จึงต้องปรับตัวตามความท้าทายหรือเทคโนโลยีใหม่ๆ ที่เกิดขึ้น ตลาดพลังงานในปัจจุบัน ไม่ว่าจะเป็นตลาดน้ำมันหรือก๊าซธรรมชาติมีการแข่งขันเพิ่มมากขึ้นเนื่องจากมีผู้ผลิตรายใหม่เข้ามาในตลาด และในขณะเดียวกันปัจจัยความไม่แน่นอนในตลาดก็มีสูงด้วยเช่นกัน ไม่ว่าจะเป็นเรื่องของเทคโนโลยีการประหยัดพลังงานใหม่ๆ การมาถึงของยานยนต์ไฟฟ้า หรือกระแสการใช้พลังงานสะอาด ซึ่งทำให้ความต้องการพลังงานในรูปแบบดั้งเดิมลดลง

จากความท้าทายและการเปลี่ยนแปลงที่ได้กล่าวไปในข้างต้น จะเห็นได้ว่าเรากำลังเข้าสู่ยุคเปลี่ยนผ่านด้านพลังงานอย่างหลีกเลี่ยงไม่ได้ ซึ่งการเปลี่ยนแปลงดังกล่าวจะเป็นไปอย่างราบรื่นหรือไม่นั้นต้องอาศัยบทบาทและการดำเนินการจากทางภาครัฐในการกำหนดแนวทาง และวางนโยบาย พร้อมทั้งจะทำอย่างไรที่จะให้เกิดสภาพแวดล้อมที่เอื้อต่อการลงทุนจากภาคเอกชนในภาคพลังงาน ทั้งนี้ การหารือและแลกเปลี่ยนความคิดเห็นระหว่างประเทศผู้ผลิต และประเทศผู้นำเข้า เพื่อหาแนวทางในการสร้างความร่วมมือเพื่อให้การเปลี่ยนผ่านดังกล่าวเกิดความสมดุล เกิดเสถียรภาพ และที่สำคัญที่สุดคือ เกิดประโยชน์แก่ทั้งสองฝ่าย จึงเป็นสิ่งที่สำคัญยิ่ง

ท่านผู้มีเกียรติทุกท่านครับ

(3) การดำเนินงานของประเทศไทยต่อการเปลี่ยนผ่านด้านพลังงาน

นับเป็นระยะเวลา 1 ปีแล้วที่ประเทศไทยได้สูญเสียพระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช รัชกาลที่ 9 “พระบิดาแห่งการพัฒนาพลังงานไทย” พระองค์ท่านได้ทรงวางรากฐานแนวคิดการพัฒนาด้านพลังงาน โดยส่งเสริมการใช้พลังงานทดแทน และเป็นต้นแบบในเรื่อง “ปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง” ซึ่งรัฐบาลได้น้อมนำหลักการดังกล่าวมาเป็นแนวทางในการใช้ทรัพยากรในประเทศที่มีอยู่อย่างคุ้มค่า

จากหลักการของพระองค์ในเรื่องดังกล่าว ประเทศไทยโดยกระทรวงพลังงานจึงมีการจัดทำ “แผนบูรณาการพลังงานระยะยาว” ขึนเพื่อเป็นแผนหลักในการขับเคลื่อนประเทศไปสู่ความมั่นคงทางพลังงาน ความมั่งคั่งทางเศรษฐกิจ และความยั่งยืนทางสิ่งแวดล้อม

นอกเหนือไปจากนั้น รัฐบาลไทยในปัจจุบันได้มีนโยบายที่เรียกว่า Thailand 4.0 ซึ่งเป็นความพยายามในการฟื้นฟูเศรษฐกิจของประเทศ เพิ่มศักยภาพในการแข่งขัน หนีกับดักประเทศรายได้ปานกลาง โดยปรับเปลี่ยนโครงสร้างเศรษฐกิจของประเทศไปสู่เศรษฐกิจที่เน้นคุณค่า และเน้นการขับเคลื่อนด้วยนวัตกรรม โดยในปัจจุบัน รัฐบาลให้ความสำคัญกับแนวนโยบายการพัฒนาพื้นที่ระเบียงเศรษฐกิจพิเศษภาคตะวันออก (Eastern Economic Corridor: EEC) เพื่อรองรับการลงทุนและการขยายตัวทางเศรษฐกิจ

เพื่อให้สอดคล้องไปกับแนวนโยบายในข้างต้น รัฐบาลโดยกระทรวงพลังงาน จึงได้มีการจัดทำแผนงานเพื่อรองรับการดำเนินนโยบาย Thailand 4.0 ซึ่งเรียกว่า Energy 4.0 ขึ้น โดยแผนงานดังกล่าวประกอบไปด้วยการดำเนินงาน 4 ด้านด้วยกัน ได้แก่ การส่งเสริมยานยนต์ไฟฟ้า เช่น รถ E-Tuk Tuk การพัฒนาระบบกักเก็บพลังงาน การส่งเสริมการผลิตไฟฟ้าอย่างผสมผสาน และการพัฒนาเมืองอัจฉริยะ และโครงข่ายไฟฟ้าอัจฉริยะ

จากแผนการดำเนินงานดังกล่าว ประเทศไทยจึงก้าวเข้ามาสู่ช่วงเปลี่ยนผ่านที่สำคัญ (Transition Period) โดยเรามุ่งที่จะขับเคลื่อนภาคพลังงานไปสู่อนาคตที่มีความทันสมัยและความอัจฉริยะมากยิ่งขึ้น ซึ่งจะเป็นความท้าทายของภาครัฐในการบริหารจัดการให้ระบบพลังงานของประเทศมีความมั่นคง มีต้นทุนที่แข่งขันได้ และเป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม

ท่านผู้มีเกียรติทุกท่านครับ

ผมขอให้การประชุมโต๊ะกลมรัฐมนตรีพลังงานแห่งเอเชีย ครั้งที่ 7ประสบความสำเร็จตามความมุ่งหมายทุกประการ ผมหวังเป็นอย่างยิ่งว่าการประชุมโต๊ะกลมในครั้งนี้ จะเป็นจุดเริ่มต้นของความร่วมมือที่แนบแน่น และข้อริเริ่มต่างๆ ที่สร้างสรรค์ด้านพลังงานในภูมิภาคเอเชีย ซึ่งนอกจากจะช่วยสร้างความมั่นคงด้านพลังงานให้แก่ภูมิภาคของเราแล้ว ยังช่วยขับเคลื่อนให้ภูมิภาคของเรามีบทบาทนำด้านพลังงานในเวทีโลก

นอกเหนือไปจากนี้ จะมีการจัดประชุมสำคัญที่เกี่ยวข้องกับพลังงานอีกการประชุมหนึ่งต่อเนื่องไปกับการประชุม AMER 7 นั้นคือการประชุมเชิงปฏิบัติด้านพลังงานในกรอบความร่วมมือเอเชีย (ACD) ภายใต้หัวข้อ“ACD Energy Action Plan: Towards Global Energy Challenges” ซึ่งจะถูกจัดขึ้นในสถานที่เดียวกันนี้ ในวันที่ 4 พฤศจิกายน และผมขอเชิญชวนให้ทุกท่านอยู่นานขึ้นเพื่อเข้าร่วมงานดังกล่าว

ผมขอขอบคุณรัฐมนตรีพลังงานจากแต่ละประเทศ ผู้บริหารจากองค์การระหว่างประเทศ แขกผู้มีเกียรติทุกท่าน ที่เดินทางมาเข้าร่วมงานในวันนี้ พร้อมทั้งขอขอบคุณกระทรวงพลังงาน ประเทศไทย ประเทศสหรัฐอาหรับเอมิเรตส์ และ IEF ที่มีส่วนร่วมในการจัดการประชุมครั้งสำคัญในวันนี้ และในโอกาสนี้ผมขอเปิดงานการประชุมโต๊ะกลมรัฐมนตรีพลังงานแห่งเอเชีย ครั้งที่ 7 อย่างเป็นทางการ

รัฐมนตรีว่าการกระทรวงพลังงาน ร่วมพิธีบำเพ็ญกุศลเพื่อถวายพระราชกุศลครบรอบ 1 ปีวันสวรรคต พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช บรมนาถบพิตร ณ ทำเนียบรัฐบาล

วันนี้ (13 ต.ค. 60) พลเอก อนันตพร กาญจนรัตน์ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงพลังงานและภริยา พร้อมด้วยนายธรรมยศ ศรีช่วย ปลัดกระทรวงพลังงาน เข้าร่วมพิธีบำเพ็ญกุศลเพื่อถวายพระราชกุศลครบรอบ 1 ปี วันสวรรคต พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช บรมนาถบพิตร และร่วมตักบาตรพระสงฆ์ จำนวน 89 รูป ณ บริเวณด้านหน้าตึกสันติไมตรี ทำเนียบรัฐบาล

 

พิธีทำบุญตักบาตรเนื่องในวันพระราชพิธีทรงบำเพ็ญพระราชกุศลครบรอบ 1 ปี วันสวรรคต พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช บรมนาถบพิตร

วันนี้ (12 ตุลาคม 2560) พล.อ.อนันตพร กาญจนรัตน์ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงพลังงาน นำคณะผู้บริหารระดับสูง ข้าราชการ และเจ้าหน้าที่ในสังกัดกระทรวงพลังงาน จำนวน 999 คน ร่วมทำบุญตักบาตรพระสงฆ์ 89 รูป เนื่องในวันพระราชพิธีทรงบำเพ็ญพระราชกุศลครบรอบ 1 ปี วันสวรรคตพระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช บรมนาถบพิตร เพื่อถวายเป็นพระราชกุศล และน้อมรำลึกในพระมหากรุณาธิคุณของพระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช ที่ทรงอุทิศพระวรกายประกอบพระราชกรณียกิจซึ่งนำมายังประโยชน์สุขและความเจริญรุ่งเรืองแก่ประชาชนชาวไทยและประเทศชาติตลอดช่วงเวลาที่พระองค์ทรงครองราชย์
โดยก่อนเริ่มพิธีทำบุญตักบาตร รัฐมนตรีว่าการกระทรวงพลังงานได้นำคณะผู้บริหาร และผู้เข้าร่วมงาน ถวายความเคารพเบื้องหน้าพระบรมฉายาลักษณ์ พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช บรมนาถบพิตร พร้อมยืนสงบนิ่งเป็นเวลา 89 วินาที ณ บริเวณด้านหน้าอาคารบี-อาคารเอ ศูนย์เอนเนอร์ยี่คอมเพล็กซ์
พร้อมกันนี้ กระทรวงพลังงาน ยังได้จัดนิทรรศการ “ภูมิพลังแห่งแผ่นดิน นวมินทร์กลางใจไทยนิรันดร์” จะจัดขึ้นในระหว่างวันที่ 9 – 12 และ 16 ตุลาคม 2560 ซึ่งเป็นนิทรรศการที่ฉายภาพพระปรีชาสามารถ และพระอัจฉริยะภาพของ พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช โดยเฉพาะในด้านพลังงานที่พระองค์ได้ ทรงพระราชทานพระดำริด้านการพัฒนาพลังงานทดแทน โดยใช้ทรัพยากรธรรมชาติที่มีอยู่ในประเทศให้เกิดประโยชน์ เกิดการพัฒนาพลังงานยั่งยืน ซึ่งจากสายพระเนตรที่กว้างไกลที่ทรงเล็งเห็นว่าพลังงานของโลกจะใกล้หมดไป และจะมีราคาแพงขึ้น จึงได้พัฒนาพลังงานทดแทนหลายรูปแบบให้เกิดขึ้น อาทิ เชื้อเพลิงชีวภาพ จากเอทานอลและไบโอดีเซล ที่ปัจจุบันกลายเป็นเชื้อเพลิงหลักในภาคขนส่งของไทย รวมทั้งแนวทางการพัฒนาพลังงานน้ำ ลม และแสงอาทิตย์ อันก่อให้เกิดประโยชน์ต่อการสร้างความมั่นคงด้านพลังงานให้แก่ประเทศอย่างยั่งยืน ณ ลานชั้นล่าง อาคาร C ศูนย์เอนเนอร์ยี่คอมเพล็กซ์ กระทรวงพลังงาน

รัฐมนตรีว่าการกระทรวงพลังงาน เป็นประธานเปิด งานนิทรรศการ “ภูมิพลังแห่งแผ่นดิน นวมินทร์กลางใจไทยนิรันดร์”

วันนี้ (9 ต.ค.60) พลเอกอนันตพร กาญจนรัตน์ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงพลังงาน เป็นประธานเปิด งานนิทรรศการ “ภูมิพลังแห่งแผ่นดิน นวมินทร์กลางใจไทยนิรันดร์” เพื่อน้อมรำลึกในพระมหากรุณาธิคุณ และถวายความอาลัยแด่ พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช ที่ทรงอุทิศพระวรกายประกอบพระราช กรณียกิจซึ่งนำมาซึ่งประโยชน์สุขและความเจริญรุ่งเรืองแก่ราษฎรและประเทศชาติ โดยภายในงานฯ มีผู้บริหารระดับสูงจากกระทรวงพลังงาน ข้าราชการและเจ้าหน้าที่ในสังกัดกระทรวงพลังงานเข้าร่วม

พลเอกอนันตพร กล่าวว่า การจัดแสดงนิทรรศการฯ ครั้งนี้ เพื่อเป็นการฉายภาพพระปรีชาสามารถ และพระอัจฉริยะภาพของ พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช โดยเฉพาะในด้านพลังงานที่พระองค์ได้ ทรงพระราชทานพระดำริด้านการพัฒนาพลังงานทดแทน โดยใช้ทรัพยากรธรรมชาติที่มีอยู่ในประเทศให้เกิดประโยชน์ เกิดการพัฒนาพลังงานยั่งยืน ซึ่งจากสายพระเนตรที่กว้างไกลที่ทรงเล็งเห็นว่าพลังงานของโลกจะใกล้หมดไป และจะมีราคาแพงขึ้น จึงได้พัฒนาพลังงานทดแทนหลายรูปแบบให้เกิดขึ้น อาทิ เชื้อเพลิงชีวภาพ จากเอทานอลและไบโอดีเซล ที่ปัจจุบันกลายเป็นเชื้อเพลิงหลักในภาคขนส่งของไทย รวมทั้งแนวทางการพัฒนาพลังงานน้ำ ลม และแสงอาทิตย์ อันก่อให้เกิดประโยชน์ต่อการสร้างความมั่นคงด้านพลังงานให้แก่ประเทศอย่างยั่งยืน

ทั้งนี้ ภายในงานจะประกอบด้วยนิทรรศการในส่วนต่างๆ ได้แก่ นิทรรศการภายใต้แนวคิด “ดิน น้ำ ลม แสง พลังแห่งพระบารมี”  ซึ่งจะนำเสนอการริเริ่มพัฒนาพลังงานทดแทนในด้านต่างๆ จากพระองค์ท่าน แนวคิดการใช้พลังงานอย่างพอเพียงและยั่งยืน รวมถึงความรู้ด้านอนุรักษ์พลังงาน และพลังงานทดแทน ในรูปแบบอินเตอร์แอคทีฟ นอกจากนี้ยังมีกิจกรรมพิเศษที่สำคัญอื่นๆ เช่น การประดิษฐ์ดอกไม้จันทร์ วันละ 500 ดอก  เวทีเสวนาเทิดพระเกียรติจากผู้ที่ได้รับแรงบันดาลใจจากพระองค์ในด้านต่างๆ อาทิ ด้านเศษฐกิจพอเพียง โดย พลเรือตรี ดร.สมัย ใจอินทร์ จากกรมอู่ทหารเรือ ดร.เกริก  มีมุ่งกิจ และด้านดนตรีและกีฬา โดยศาตราจารย์ (พิเศษ)เจริญ วรรธนะสิน  รองศาสตราจารย์ ดร.ภาธร ศรีกรานนท์ และศิลปินรับเชิญที่มาร่วมงาน

โดยการจัดนิทรรศการ “ภูมิพลังแห่งแผ่นดิน นวมินทร์กลางใจไทยนิรันดร์” จะจัดขึ้นในระหว่างวันที่ 9 – 16 ตุลาคม 2560 ณ ลานชั้นล่าง อาคาร C ศูนย์เอนเนอร์ยี่คอมเพล็กซ์ กระทรวงพลังงาน สามารถสอบถามข้อมูลเพิ่มเติมได้ที่ ศูนย์บริการร่วมกระทรวงพลังงาน โทร. 02 140 6286 หรือติดตามรายละเอียดได้ที่ www.energy.go.th

กระทรวงพลังงาน จัดงานครบรอบ 15 ปี วันคล้ายวันสถาปนา

วันนี้ (3 ต.ค.60) พลเอก อนันตพร กาญจนรัตน์ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงพลังงาน พร้อมด้วยผู้บริหารระดับสูง ข้าราชการและเจ้าหน้าที่ในสังกัดกระทรวงพลังงาน ร่วมพิธีบวงสรวงสักการะพระพรหม และพิธีเจริญพระพุทธมนต์ เนื่องในโอกาสวันคล้ายวันสถาปนากระทรวงพลังงาน ครบรอบ 15 ปี โดยนายธรรมยศ ศรีช่วย ปลัดกระทรวงพลังงาน รับมอบกระเช้าดอกไม้จากหน่วยงานต่าง ๆ ที่มาแสดงความยินดีเป็นจำนวนมาก ณ ห้องประชุม 9 ชั้น 15 ศูนย์เอนเนอร์ยี่คอมเพล็กซ์ อาคารบี

 

รัฐมนตรีว่าการกระทรวงพลังงาน มอบนโยบายการขับเคลื่อนภารกิจกระทรวงพลังงานปี 2561

วันนี้(2 ต.ค. 60) พลเอก อนันตพร กาญจนรัตน์ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงพลังงาน มอบนโยบายการขับเคลื่อนภารกิจกระทรวงพลังงานปี 2561 โดยมีนายธรรมยศ ศรีช่วย ปลัดกระทรวงพลังงาน และผู้บริหาร ข้าราชการ เจ้าหน้าที่จากทุกหน่วยงานในสังกัดเข้าร่วม ซึ่งได้กำชับให้บุคลากรกระทรวงพลังงานทุกคนปฏิบัติหน้าที่เพื่อประโยชน์ประชาชนและประเทศชาติเป็นหลัก มีผลสัมฤทธิ์สามารถประเมินผลได้ อย่างเป็นรูปธรรม พร้อมร่วมแสดงสัญลักษณ์การต่อต้านการทุจริตคอรัปชั่น ในโอกาสครบรอบ 15 ปี วันคล้ายวันสถาปนากระทรวงพลังงาน และก้าวสู่ปีที่ 16 ในวันที่ 3 ตุลาคม 2560 เพื่อย้ำเตือนให้ทุกคนยึดถือเป็นหลักในการทำงาน

    พลเอก อนันตพร กาญจนรัตน์ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงพลังงาน เปิดเผยว่า ปัจจุบัน รัฐบาลมีแนวทางการขับเคลื่อนการพัฒนาประเทศระยะยาวภายใต้กรอบการทำงานที่สำคัญ 2 ส่วน คือ พระราชบัญญัติการจัดทำยุทธศาสตร์ชาติ และพระราชบัญญัติแผนและขั้นตอนการปฏิรูปประเทศ ที่ผ่านมา การขับเคลื่อนการดำเนินงานของกระทรวงพลังงานดำเนินการตามกรอบและสอดคล้องกับเป้าหมายใหญ่ของรัฐบาล โดยมีการทบทวนยุทธศาสตร์กระทรวงทุกปี เพื่อพัฒนาประเทศชาติให้มีความมั่นคง มั่งคั่ง และยั่งยืน ซึ่งกระทรวงพลังงานมีบทบาทสำคัญในการพัฒนาประเทศใน 2 มิติ คือ มีบทบาทในการเพิ่มขีดความสามารถในการแข่งขันของประเทศ โดยเฉพาะระบบพลังงานที่มีความมั่นคง มีพลังงานใช้อย่างต่อเนื่องและมีต้นทุนพลังงานที่แข่งขันได้ และบทบาทในการขับเคลื่อนการเติบโตทางเศรษฐกิจจากการลงทุนของภาคพลังงาน ที่ปัจจุบันภาคพลังงานมีมูลค่าการลงทุนปีละหลายแสนล้านบาท

สำหรับการขับเคลื่อนนโยบายของกระทรวงพลังงานในปี 2561 นี้ ยังคงเดินหน้าการขับเคลื่อนนโยบาย Energy 4.0 โดยให้ทุกหน่วยงานดำเนินโครงการต่างๆ ตามแผนและเป้าหมายที่วางไว้ แต่ให้มีการต่อยอดไปสู่การเป็นผู้ผลิตนวัตกรรมและเทคโนโลยีพลังงานเพื่อทดแทนการนำเข้าจากต่างประเทศ และการปรับแผนบูรณาการ ซึ่งเป็นการปรับเปลี่ยนแผนให้สามารถรองรับตามสถานการณ์ที่เปลี่ยนแปลงไปโดยเฉพาะการเปลี่ยนแปลงด้านเทคโนโลยี ตลอดจนการดำเนินงานตามข้อตกลงผูกมัดในเชิงพันธสัญญากับต่างประเทศ อาทิ การลดการปล่อย CO2 ตามข้อตกลง COP21 เป็นต้น

การจะบรรลุภารกิจตามที่กล่าวได้ จำเป็นต้องมีการพัฒนาการทำงานของข้าราชการ และพนักงาน เจ้าหน้าที่ในทุกระดับ เพื่อให้เป็นองค์กรที่มีผลการปฏิบัติงานสูง โดยปฏิบัติงานอย่างมืออาชีพในเชิงรุก มีการติดตามประเมินผลอย่างเป็นรูปธรรมภายใต้หลักธรรมาภิบาล ดังนั้น การมอบนโยบายของ พลเอก อนันตพรฯ ในวันนี้จึงครอบคลุมใน 2 ส่วนหลัก กล่าวคือ นโยบายการบริหารงานด้านพลังงาน และนโยบายด้านการบริหารและปฏิบัติงานภายในกระทรวงและหน่วยงานในสังกัด โดยเน้นย้ำเรื่องการป้องกันและแก้ไขปัญหาการทุจริตประพฤติมิชอบ การจัดซื้อจัดจ้างต้องมีความโปร่งใสนำระบบสัญญาคุณธรรมมาใช้ สำหรับการพัฒนาบุคลากรนั้น จะต้องสร้างคนให้สามารถคิดในเชิงกลยุทธ์ได้และมีทักษะการปฏิบัติงาน สามารถทำงานให้ทันต่อการเปลี่ยนแปลงและเกิดการบูรณาการอย่างยั่งยืน

รัฐมนตรีว่าการกระทรวงพลังงาน ยังได้กล่าวเสริมอีกว่า ในวันนี้ยังจัดให้มีการบรรยายสรุปการทบทวนยุทธศาสตร์ประจำปี 2561-2564 ให้ผู้บริหารและผู้เข้าร่วมประชุมได้รับทราบเพื่อเป็นทิศทางในการปฏิบัติงานต่อไป

รัฐมนตรีว่าการกระทรวงพลังงาน ลงพื้นที่จ.อยุธยา

วันนี้ (18 กันยายน 2560) พลเอก อนันตพร กาญจนรัตน์ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงพลังงาน พร้อมด้วย ผู้บริหารกระทรวงพลังงาน ข้าราชการ เจ้าหน้าที่ และสื่อมวลชน ลงพื้นที่จังหวัดพระนครศรีอยุธยา ตรวจติดตามการใช้งบประมาณ Block Grant ส่งเสริมโครงการพลังงานทดทนชุมชน โครงการระบบสูบน้ำพลังงานแสงอาทิตย์ อบต.สิงหนาท จังหวัดพระนครศรีอยุธยา พร้อมเยี่ยมชมศักยภาพการดำเนินงานโครงการผลิตไบโอดีเซลจากน้ำมันปาล์ม บริษัท บางจากไบโอฟูเอล จำกัด อำเภอบางปะอิน จังหวัดพระนครศรีอยุธยา ก่อนการเข้าร่วมประชุมคณะรัฐมนตรีนอกสถานที่(ครม.สัญจร) ในวันที่ 19 กันยายน 2560 นี้ พล.อ.อนันตพร กาญจนรัตน์ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงพลังงาน เปิดเผยว่า การลงพื้นที่ตรวจราชการจังหวัดพระนครศรีอยุธยาครั้งนี้ เป็นการติดตามการส่งเสริมพลังงานทดแทนในชุมชนเพื่อลดต้นทุนด้านพลังงานให้กับภาคเกษตรกรด้วยพลังงานสะอาด ภายใต้งบประมาณโครงการพลังงานชุมชนจัดการตนเองด้านพลังงาน ปี 2558 (Block Grant) และเยี่ยมชมศักยภาพการดำเนินงานโครงการผลิตไบโอดีเซลจากน้ำมันปาล์ม บริษัท บางจากไบโอฟูเอล จำกัด อำเภอบางปะอิน จังหวัดพระนครศรีอยุธยา ซึ่งเป็นการปฏิบัติราชการก่อนการเข้าร่วมประชุมคณะรัฐมนตรีนอกสถานที่(ครม.สัญจร) ในวันที่ 19 กันยายน 2560 นี้ โดยโครงการระบบสูบน้ำพลังงานแสงอาทิตย์ อบต.สิงหนาทอ.ลาดบัวหลวง จ.พระนครศรีอยุธยาเป็นโครงการที่ดำเนินการตามยุทธศาสตร์กระทรวงพลังงานปี 2557 – 2561 ยุทธศาสตร์ที่ 4 ที่มุ่งเน้นการพัฒนาพลังงานที่ยั่งยืนและเป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพการบริหารจัดการน้ำ เพิ่มผลผลิตและลดต้นทุนด้านพลังงานให้กับเกษตรกรในพื้นที่อย่างยั่งยืน โครงการดังกล่าว สามารถจัดสรรน้ำเพื่อใช้ในการเกษตรให้กับเกษตรกรครอบคลุมพื้นที่หมู่ 4 5 6 และ 7 จำนวน 320 ครัวเรือน คิดเป็นพื้นที่ประมาณ 4,900 ไร่ ทั้งนี้ เกษตรกรประกอบอาชีพทำนา ปีละ 3 ครั้ง มีค่าใช้จ่ายในการสูบน้ำประมาณปีละ 3.6 ล้านบาท แต่ภายหลังจากทำการติดตั้งระบบสูบน้ำพลังงานแสงอาทิตย์ด้วยท่อพญานาคจำนวน 10 ชุด ทำให้ชุมชนสามารถประหยัดค่าใช้จ่ายในการสูบน้ำประมาณปีละ 1.15 ล้านบาท นอกเหนือจากประโยชน์เรื่องการลดค่าใช้จ่ายด้านพลังงานแล้ว โครงการระบบสูบน้ำพลังงานแสงอาทิตย์ ยังส่งเสริมให้ชุมชนสามารถพึ่งพาตนเองได้ ลดการใช้น้ำมันเพื่อการสูบน้ำในการทำนาข้าวระยะยาว ต่อยอดเป็นตำบลต้นแบบพลังงานทดแทนและอนุรักษ์พลังงานของจังหวัด ตลอดจนเกิดกระบวนการมีส่วนร่วมของประชาชนในชุมชน และการสร้างสิ่งแวดล้อมสีเขียว นอกจากนี้ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงพลังงาน ยังได้กล่าวถึงการเยี่ยมชมศักยภาพการดำเนินงานของโรงงานผลิตก๊าซชีวภาพ บริษัท บางจากไบโอฟูเอล จำกัด (BBF) อำเภอบางปะอิน จังหวัดพระนครศรีอยุธยา ว่า การผลิตเชื้อเพลิงชีวภาพ ของ บริษัท บางจากไบโอฟูเอล จำกัด (BBF) เป็นการประกอบกิจการพลังงานที่สอดคล้องแนวนโยบายการส่งเสริมการใช้พลังงานทดแทนของกระทรวงพลังงาน ตามแผนพัฒนาพลังงานทดแทนและพลังงานทางเลือก หรือ AEDP 2015 ที่มีเป้าหมายส่งเสริมการใช้พลังงานทดแทน 30% ในปี 2579 นอกจากนี้ ยังเป็นส่วนสำคัญในการสร้างรายได้ให้กับเกษตรกรที่ปลูกปาล์มน้ำมันในพื้นที่ภาคใต้ เนื่องจากมีการรับวัตถุดิบน้ำมันปาล์มจากเกษตรกรในพื้นที่ภาคใต้ 100 เปอร์เซ็นต์ โดยบริษัทฯ ได้ผลิตน้ำมันไบโอดีเซล B100 เพื่อเป็นส่วนผสมของน้ำมันไบโอดีเซล ตามนโยบายการส่งเสริมการใช้พลังงานทดแทนของกระทรวงพลังงานในสัดส่วนไม่เกินร้อยละ 7 ซึ่งปัจจุบันบริษัทฯ มีกำลังการผลิต 810,000 ลิตรต่อวัน

รัฐมนตรีว่าการกระทรวงพลังงาน ลงพื้นที่จ.สุพรรณบุรี

วันที่ 15 กันยายน 2560 พลเอก อนันตพร กาญจนรัตน์ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงพลังงาน พร้อมด้วย นายอารีพงศ์ ภู่ชอุ่ม ปลัดกระทรวงพลังงาน ผู้บริหารกระทรวงพลังงาน ข้าราชการ เจ้าหน้าที่ และสื่อมวลชน ลงพื้นที่จังหวัดสุพรรณบุรี เพื่อติดตามการดำเนินงานด้านการสร้างความมั่นคงด้านพลังงานตั้งแต่ระดับชุมชนจนถึงระดับประเทศ โดยตรวจติดตาม การใช้งบประมาณ Block Grant โครงการส่งเสริมพลังงานทดแทนชุมชน โรงอบแห้งพลังงานแสงอาทิตย์ กลุ่มวิสาหกิจชุมชนสวนกล้วยอู่ทอง อำเภออู่ทอง จังหวัดสุพรรณบุรี เพื่อยกระดับคุณภาพชีวิตเกษตรกรในพื้นที่ ด้วยเทคโนโลยีพลังงานทดแทน และเยี่ยมชมศักยภาพการดำเนินงานแหล่งผลิตอู่ทอง 1-7 โครงการ PTTEP 1 อำเภอเมือง จังหวัดสุพรรณบุรี ของ บริษัท ปตท.สำรวจและผลิตปิโตรเลียม จำกัด (มหาชน) หรือ ปตท.สผ.

พล.อ.อนันตพร กาญจนรัตน์ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงพลังงาน เปิดเผยว่า ในการสร้างความมั่นคงให้กับภาคพลังงานของประเทศ กระทรวงพลังงานมุ่งเน้นการส่งเสริมให้เกิดความมั่นคงตั้งแต่ระดับรากหญ้าไปจนถึงการประกอบกิจการพลังงานระดับประเทศ การลงพื้นที่จังหวัดสุพรรณบุรีในครั้งนี้ เป็นการติดตามโครงการส่งเสริมการใช้พลังงานทดแทนในชุมชน เพื่อยกระดับคุณภาพชีวิตของชุมชนในพื้นที่อย่างยั่งยืน และเพื่อตรวจติดตามศักยภาพของแหล่งพลังงานบนบกของประเทศ โดยกลุ่มวิสาหกิจชุมชนสวนกล้วยอู่ทอง ตำบลจรเข้สามพัน อำเภออู่ทอง จังหวัดสุพรรณบุรี ถือเป็นกลุ่มที่ประสบความสำเร็จและเป็นต้นแบบการใช้พลังงานทดแทนในการพัฒนาคุณภาพชีวิตของชุมชนอย่างชัดเจน นอกจากนี้ ยังได้ต่อยอดการพัฒนาบุคลากร เทคโนโลยี และการจัดการองค์ความรู้ จนสามารถพัฒนาไปสู่การเป็นศูนย์เรียนรู้ด้านพลังงานและเป็นแหล่งท่องเที่ยวเชิงเกษตรแบบครบวงจร

โดยกลุ่มดังกล่าว เกิดจากการรวมตัวกันของเกษตรกรในพื้นที่ เพื่อสร้างมูลค่าเพิ่มผลผลิตทางเกษตรให้ชุมชนมีรายได้ที่เพิ่มขึ้น ด้วยกระบวนการแปรรูป อาทิ กล้วยอบ กล้วยตาก ข้าวเกรียบรสต่างๆ เป็นต้น แต่ด้วยกระบวนการผลิตแบบดั้งเดิมทำให้ประสบปัญหาเรื่องผลิตภัณฑ์ที่ไม่ได้คุณภาพตามมาตรฐาน และยังมีต้นทุนค่าพลังงานค่อนข้างสูงจากการพึ่งพาเชื้อเพลิงแอลพีจีเป็นหลัก ซึ่งการดำเนินงานของกลุ่มวิสาหกิจสวนกล้วยอู่ทองมีศักยภาพที่จะส่งเสริมด้านพลังงานทดแทนในกระบวนการผลิตและแปรรูปผลิตภัณฑ์ กระทรวงพลังงานจึงได้สนับสนุนระบบอบแห้งพลังงานแสงอาทิตย์ ภายใต้งบประมาณ Block Grant ปี 2560 เพื่อช่วยลดปริมาณการใช้ก๊าซแอลพีจีในขั้นตอนการผลิต ซึ่งสามารถลดได้ จำนวน 20 ถังต่อเดือน คิดเป็นเงินจำนวน 84,000 บาทต่อปี ตลอดจนสามารถประหยัดเวลาต่อรอบการผลิตจากเดิมที่ต้องใช้เวลาใช้เวลามากถึง 4 วัน เหลือเพียง 2 วัน และยังสามารถลดความเสียหายของวัตถุดิบลงได้ 5% หรือคิดเป็นเงินจำนวน 3,500 บาทต่อเดือน ปัจจุบัน ด้วยระบบการผลิตที่มีศักยภาพเพิ่มขึ้นทำให้สามารถต่อยอดไปสู่การแปรรูปผลิตภัณฑ์ประเภทอื่นๆ อาทิ ก้านเผือก มะเขือเทศเชอรี่อบแห้ง และข้าวแต๋น เป็นต้น สร้างรายได้จากการขายผลิตภัณฑ์แปรรูป 4-5 หมื่นบาทต่อเดือน ยกระดับคุณภาพชีวิตชุมชนได้อย่างยั่งยืน

นอกจากนี้ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงพลังงาน ยังได้กล่าวถึงความสำคัญและศักยภาพของ แหล่งอู่ทอง ซึ่งเป็นแหล่งน้ำมันดิบแหล่งหนึ่งในแปลงสำรวจปิโตรเลียม PTTEP 1 ว่า “แหล่งอู่ทองเป็น แหล่งพลังงานบนบกที่ช่วยเสริมความมั่นคงด้านพลังงานแก่ประเทศไทย โดยแหล่งอู่ทอง และแหล่งข้างเคียง ที่อยู่ในแปลงเดียวกัน ได้แก่ แหล่งสังฆจาย และแหล่งกำแพงแสน มีปริมาณการผลิตน้ำมันดิบตั้งแต่เริ่มผลิตจนถึงสิ้นปี 2559 จำนวนรวม 5.8 ล้านบาร์เรล สร้างรายได้เข้ารัฐในรูปแบบของค่าภาคหลวงคิดเป็นจำนวนเงินรวม 313 ล้านบาท”

แปลงสำรวจปิโตรเลียม PTTEP 1 อยู่ภายใต้สัมปทานเลขที่ 2/2528/27 นอกจากนี้ยังมีแปลงสำรวจปิโตรเลียม L53/43 คือ แหล่งบึงกระเทียม และแปลงสำรวจปิโตรเลียม L54/43 คือ แหล่งหนองผักชี อีกด้วย ซึ่งทั้ง 3 แปลงสำรวจ มีบริษัท ปตท.สผ.อินเตอร์เนชั่นแนล จำกัด เป็นผู้รับสัมปทาน (100%) และผู้ดำเนินการ โดยมีกำลังการผลิตน้ำมันดิบรวมทั้ง 3 แปลงสำรวจ ประมาณ 850 บาร์เรลต่อวัน ประกอบด้วยแปลง PTTEP 1 (แหล่งน้ำมันดิบอู่ทอง แหล่งสังฆจาย และแหล่งกำแพงแสน) จำนวน 200 บาร์เรลต่อวัน แปลง L54/43 (แหล่งหนองผักชี) จำนวน 650 บาร์เรลต่อวัน และแปลง L53/43 (แหล่งบึงกระเทียม) หยุดการผลิตปิโตรเลียมชั่วคราว โดยน้ำมันดิบที่ผลิตได้ทั้งหมดจะขายให้บริษัท ปตท. จำกัด (มหาชน) เพื่อเข้าสู่โรงกลั่นบางจาก

ทั้งนี้ แปลง PTTEP 1 ได้สิ้นระยะเวลาผลิตปิโตรเลียม 20 ปีเมื่อวันที่ 4 กุมภาพันธ์ 2560 และได้รับการต่อระยะเวลาผลิตอีก 10 ปี ซึ่งจะสิ้นอายุสัมปทาน ในวันที่ 4 กุมภาพันธ์ 2570

รัฐมนตรีว่าการกระทรวงพลังงาน เป็นประธานเปิดงานเสวนาหัวข้อ เศรษฐกิจฟื้นแต่…พลังงานฟุบ?

วันนี้ (14 ก.ย. 60) พลเอกอนันตพร กาญจนรัตน์ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงพลังงาน เป็นประธานเปิดงานเสวนาทางวิชาการ ในหัวข้อ “เศรษฐกิจฟื้นแต่…พลังงานฟุบ?” โดยมีเข้าผู้ร่วมเสวนา ดังนี้ ดร.ทวารัฐ สูตะบุตร ผู้อำนวยการสำนักงานนโยบายและแผนพลังงาน ดร.เอกนิติ นิติทัณฑ์ประภาศ ผู้อำนวยการสำนังานคณะกรรมการนโยบายรัฐวิสาหกิจ นายเจน นำชัยศิริ ประธานสภาอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย (ส.อ.ท.) นายนินนาท ไชยธีรภิญโญ ประธานคณะกรรมการ บริษัท โตโยต้า มอเตอร์ ประเทศไทย จำกัด นายสหรัฐ บุญโพธิภักดี รองผู้ว่าการ การไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทย ณ ห้อง Synergy Hall ชั้น 6 ศูนย์เอนเนอร์ยี่ คอมเพล็กซ์ กระทรวงพลังงาน

รมว.พน. เป็นประธานกิจกรรมการปลูกต้นไม้เพื่อพัฒนาพื้นที่สีเขียว ภายใต้โครงการคุ้งบางกะเจ้าเฉลิมพระเกียรติ ณ สวนเฉลิมพระเกียรติ 80 พรรษา

วันนี้ (25 ส.ค. 2560)  พล.อ.อนันตพร กาญจนรัตน์ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงพลังงาน เป็นประธานกิจกรรมการปลูกต้นไม้เพื่อพัฒนาพื้นที่สีเขียว ภายใต้โครงการคุ้งบางกะเจ้าเฉลิมพระเกียรติ ณ สวนเฉลิมพระเกียรติ 80 พรรษา พื้นที่แปลงปลูก อ.พระประแดง จ.สมุทรปราการ โดยมีผู้ว่าราชการจังหวัดสมุทรปราการ ผู้บริหารจากกระทรวงพลังงาน บริษัท ปตท. จำกัด(มหาชน) การไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทย (กฟผ.) พร้อมด้วยคณะสื่อมวลชนเข้าร่วมงาน

พล.อ. อนันตพร กล่าวว่า  การดำเนินกิจกรรมการปลูกป่า ในคุ้งบางกะเจ้าในวันนี้ ถือเป็นการต่อยอดการพัฒนาสวนเฉลิมพระเกียรติพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว รัชกาล 9 ในครั้งเฉลิมพระชนมพรรษา 80 พรรษา ซึ่งจะเป็นส่วนหนึ่งของการพัฒนาพื้นที่คุ้งบางกะเจ้า ให้มีพื้นที่สีเขียวเพิ่มขึ้น และยังเป็นการสืบสานพระราชปณิธานด้านการอนุรักษ์ทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม ควบคู่ไปกับการสร้างความเข้มแข็งให้กับสังคมในพื้นที่คุ้งบางกะเจ้าอย่างต่อเนื่อง โดยความร่วมมือจากทุกฝ่ายทั้งหน่วยงานภายใต้สังกัด ชุมชน และประชาชนในพื้นที่ต่อไป

ทั้งนี้  นอกจากการปลูกป่าแล้วในวันนี้ ยังได้มาติดตามความคืบหน้า ความร่วมมือของหน่วยงานต่าง ๆ ภายใต้ภาคีเครือข่าย ที่ได้ร่วมมือกันพัฒนาพื้นที่คุ้งบางกะเจ้าแห่งนี้ โดยมีการพัฒนาที่สำคัญ ๆ  3 ด้านหลัก  ได้แก่ การติดตั้งแผงโซลาร์เซลล์บนหลังคาอาคารอำนวยการ เพื่อชดเชยค่าไฟฟ้าบางส่วน ซึ่งการไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทยได้ดำเนินการ การฟื้นฟูพื้นที่สีเขียวให้มีความหลากหลายของชนิดพันธุ์พืชในลุ่มแม่น้ำเจ้าพระยาตอนล่าง ซึ่งดำเนินการโดย บริษัท ปตท. จำกัด (มหาชน) และงานวิจัยการป้องกันการกัดเซาะพื้นที่ชายฝั่งและพื้นฟูป่าชายเลน ซึ่งได้ร่วมกับมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ รวมทั้งการปรับปรุงภูมิทัศน์ของศูนย์พัฒนาเด็กเล็กก่อนวัยเรียน ในอำเภอบางยอ ของสำนักงานปลัดกระทรวงพลังงาน เป็นต้น

นายสมนึก บำรุงสาลี  รองปลัดกระทรวงพลังงาน กล่าวว่า วัตถุประสงค์การจัดกิจกรรมในครั้งนี้ กระทรวงพลังงาน ซึ่งได้ร่วมกับภาคีเครือข่าย จะได้ดำเนินกิจกรรมเพื่อสืบสานพระราชปณิธานด้านการอนุรักษ์ทรัพยากรและสิ่งแวดล้อม โดยการจัดกิจกรรมการปลูกต้นไม้เพื่อพัฒนาพื้นที่สีเขียวในคุ้งบางกะเจ้าแห่งนี้ ที่จะมีกิจกรรมการปลูกป่า 19 ไร่ ควบคู่ไปกับการปรับปรุงอาคารสิ่งปลูกสร้าง และระบบสาธารณูปโภคให้สามารถใช้ประโยชน์ได้ดีขึ้น รวมไปถึงการสร้างความเข้มแข็งให้กับสังคมในพื้นที่คุ้งบางกระเจ้าอย่างต่อเนื่อง เพื่อสร้างคุณภาพชีวิตที่ดีให้ชุมชนในพื้นที่เพิ่มขึ้น

“ในอนาคตทุกหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง ทั้งกระทรวงพลังงาน กรมป่าไม้ บริษัท ปตท. จำกัด (มหาชน) การไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทย ภาคีเครือข่ายชุมชนและหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง ในพื้นที่สีเขียว “คุ้งบางกะเจ้า”  ยังจะคงประสานความร่วมมือกันในการรักษาพื้นที่สีเขียวนี้ไว้ เพื่อร่วมกันรักษาสภาพแวดล้อม ความสมดุลของธรรมชาติที่สมบูรณ์ของพื้นที่ รวมถึงเพื่อป้องกันการสูญเสียที่อาจเกิดขึ้นจากภัยพิบัติธรรมชาติ เช่น การกัดเซาะพื้นที่ชายฝั่งทางทะเลของประเทศ” รองปลัดกระทรวงพลังงาน กล่าวในตอนท้าย

นายเทวินทร์ วงศ์วานิช ประธานเจ้าหน้าที่บริหารและกรรมการผู้จัดการใหญ่ บริษัท ปตท. จำกัด (มหาชน) กล่าวว่า ปตท.  ร่วมกิจกรรมในโครงการ “คุ้งบางกะเจ้าเฉลิมพระเกียรติฯ” ของกระทรวงพลังงาน ในชื่อโครงการ “รักษ์น้ำ รักษ์ป่า รักษ์คุ้งบางกะเจ้า” ซึ่งมีหลักการดำเนินงานภายใต้หลักปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงและหลักการมีส่วนร่วมกับกลุ่มผู้มีส่วนได้เสียสำคัญ โดยได้รับเกียรติจากมูลนิธิชัยพัฒนาเป็นที่ปรึกษาโครงการ ทำงานร่วมกับกระทรวงพลังงาน กรมป่าไม้ กฟผ. และภาคีเครือข่ายอื่นๆ ที่สำคัญคือชุมชนคุ้งบางกะเจ้า ที่มีการสานต่อความร่วมมืออย่างต่อเนื่อง

“วันนี้ถือเป็นโอกาสอันดีที่ท่านรัฐมนตรีว่าการกระทรวงพลังงาน มาตรวจเยี่ยมความก้าวหน้าของโครงการ โดยเฉพาะการพัฒนาพื้นที่สวนเฉลิมพระเกียรติฯ 80 พรรษา ที่ ปตท. จะดำเนินการเสร็จสิ้นเดือนในสิงหาคมนี้ รวมทั้งเล็งเห็นความสำคัญของพื้นที่สีเขียวในคุ้งบางกะเจ้า ทำให้เกิดการจัดกิจกรรม “การปลูกต้นไม้เพื่อพัฒนาพื้นที่สีเขียวคุ้งบางกะเจ้า” ณ ตำบลบางกระสอบ อีก 19 ไร่ โดยกระทรวงพลังงาน ร่วมกับ ปตท. กฟผ. ภาคีเครือข่ายอื่นๆ ด้วยกระบวนการมีส่วนร่วมกับชุมชนในพื้นที่ ซึ่ง ปตท. ยินดีที่จะร่วมมือร่วมใจในการพัฒนาพื้นที่คุ้งบางกะเจ้า เพื่อสร้างความยั่งยืนต่อไป” นายเทวินทร์ กล่าว

รัฐมนตรีว่าการกระทรวงพลังงาน เป็นประธานเปิดการสัมมนา “อนาคตธุรกิจพลังงานไทย”

วันที่ 24 ส.ค. 60 พลเอกอนันตพร กาญจนรัตน์ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงพลังงาน เป็นประธานเปิดการสัมมนา “อนาคตธุรกิจพลังงานไทย” และปาฐกถาพิเศษหัวข้อ “นโยบายชาติกับยุทธศาสตร์พลังงานทางเลือก” โดยมี นายอารีพงศ์ ภู่ชอุ่ม ปลัดกระทรวงพลังงาน ร่วมบรรยายพิเศษหัวข้อ “Energy 4.0” ณ ห้องฟอร์จูนบอลรูม ชั้น 3 โรงแรมแกรนด์ เมอร์เคียว กรุงเทพฯ

กระทรวงพลังงานมอบรางวัล 66 สุดยอดผลงาน Thailand Energy Awards 2017 สอดรับการขับเคลื่อนนโยบายพลังงาน 4.0 สู่ความสำเร็จ

วันนี้ (21 ส.ค.60) พลอากาศเอกประจิน จั่นตอง รองนายกรัฐมนตรี ให้เกียรติเป็นประธานมอบรางวัลแก่ผู้ชนะการประกวด Thailand Energy Awards 2017 จำนวน 66 ราย โดยมีตัวแทนจากหน่วยงานภาครัฐและเอกชน ผู้ประกอบการ ผู้ที่อยู่แวดวงด้านพลังงาน รวมทั้งสื่อมวลชนจำนวนมาก ร่วมแสดงความยินดีแก่ผู้ได้รับรางวัล จัดขึ้น ณ ศูนย์การประชุมแห่งชาติสิริกิติ์

นายประพนธ์ วงษ์ท่าเรือ อธิบดีกรมพัฒนาพลังงานทดแทนและอนุรักษ์พลังงาน กระทรวงพลังงาน กล่าวรายงานว่า “Thailand Energy Awards สุดยอดรางวัลด้านพลังงานไทยระดับสากล เป็นการประกวดด้านพลังงานของประเทศไทยที่กระทรวงพลังงานได้ส่งเสริมให้มีการจัดการประกวดต่อเนื่องกันมาเป็นปีที่ 18 แล้ว เป็นกิจกรรมที่เปิดกว้างให้ทุกภาคส่วนที่มีการใช้พลังงานหรือมีส่วนร่วมสนับสนุนการอนุรักษ์พลังงานและการพัฒนาพลังงานทดแทน ได้แสดงศักยภาพและเผยแพร่ผลงานความสำเร็จของตนเอง ให้แก่ผู้อื่นได้นำไปใช้เป็นแบบอย่างในการนำไปปฏิบัติ ให้เกิดผลอย่างเป็นรูปธรรม และมีส่วนสำคัญในการผลักดันให้ผู้ประกอบการ วิจัย พัฒนา เทคโนโลยีและนวัตกรรมการอนุรักษ์พลังงานควบคู่ไปกับการใช้พลังงานทดแทนที่เป็นพลังงานสะอาดให้เกิดประสิทธิภาพสูงสุด ซึ่งสอดรับกับการขับเคลื่อนนโยบายพลังงาน 4.0 นำมาสู่ความสำเร็จที่ยิ่งใหญ่ในวันนี้”

โครงการ Thailand Energy Awards แบ่งการประกวดออกเป็น 5 ด้าน ได้แก่ ด้านพลังงานทดแทน ด้านอนุรักษ์พลังงาน ด้านบุคลากร ด้านพลังงานสร้างสรรค์ และด้านผู้ส่งเสริมการอนุรักษ์พลังงานและพลังงานทดแทน สำหรับปีนี้ มีผู้สนใจส่งผลงานเข้าประกวดจำนวน 262 ราย และได้รับเกียรติจากผู้ทรงคุณวุฒิ ผู้เชี่ยวชาญ นักวิชาการจากหน่วยงานต่างๆ ร่วมกันพิจารณาคัดเลือกผลงานดีเด่นสมควรแก่การได้รับรางวัล จำนวน 66 รางวัล คิดเป็นมูลค่าผลประหยัดรวมได้มากกว่า 420 ล้านบาทต่อปี สามารถลดก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ได้มากกว่า 290,000 ตันต่อปี

นอกจากนี้ ยังได้คัดเลือกผู้แทนที่มีผลงานโดดเด่น ร่วมประกวดในระดับอาเซียนจำนวน 24 ผลงาน และสามารถคว้ารางวัลมาครองได้อย่างน่าภาคภูมิใจถึง 19 รางวัล มากที่สุดในเวที ASEAN Energy Awards ทำให้ประเทศไทยครองความเป็นที่หนึ่งมาอย่างต่อเนื่อง ด้วยพลังความสำเร็จอันยิ่งใหญ่ข้างต้น สามารถนำไปขยายผลให้ประเทศเกิดการพัฒนาด้านพลังงานอย่างยั่งยืนสืบไป

ทั้งนี้สามารถตรวจสอบรายชื่อผู้ชนะการประกวด Thailand Energy Awards 2017 และพบผลงานแห่งความภาคภูมิใจ ด้านการอนุรักษ์พลังงานและพัฒนาพลังงานทดแทนได้ที่ www.thailandenergyaward.com

พล.อ.อนันตพร กาญจนรัตน์ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงพลังงาน ได้เดินทางไปยังจังหวัดนครราชสีมา เพื่อเข้าร่วมประชุมคณะรัฐมนตรีอย่างเป็นทางการนอกสถานที่(ครม.สัญจร)

วันนี้ (21ส.ค.60) พล.อ.อนันตพร กาญจนรัตน์ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงพลังงาน ได้เดินทางไปยังจังหวัดนครราชสีมา เพื่อเข้าร่วมประชุมคณะรัฐมนตรีอย่างเป็นทางการนอกสถานที่(ครม.สัญจร) ระหว่างวันที่ 21 -22 สิงหาคม 2560 โดยได้ปฏิบัติราชการในพื้นที่ เข้าเยี่ยมชมและรับทราบความคืบหน้าโครงการศูนย์กำจัดขยะแบบครบวงจร ที่เทศบาลเมืองสีคิ้ว เยี่ยมชมกระบวนการผลิตเอทานอล บริษัท เคไอ เอทานอล จำกัด และความสำเร็จจากโครงการระบบสูบน้ำแสงอาทิตย์ เพื่อแก้ไขปัญหาภัยแล้งของชุมชน บ้านหนองพฤกษ์ ซึ่งถือเป็นต้นแบบโครงการประชารัฐด้านพลังงาน

 

พล.อ.อนันตพร กล่าวว่า การเยี่ยมชมโครงการที่จังหวัดนครราชสีมาครั้งนี้ ถือเป็นโอกาสที่ดีในการต่อยอดโครงการประชารัฐด้านพลังงาน โดยกระทรวงพลังงาน ได้สนับสนุนโครงการนำร่องที่สำคัญๆ ในพื้นที่ ซึ่งวันนี้ได้เข้ารับทราบข้อมูลและความคืบหน้าที่สำคัญๆ  ได้แก่ โครงการนำร่องการจัดการขยะมูลฝอยชุมชนแบบครบวงจร (แบบกระจายศูนย์) โดยมีการก่อสร้างโรงงานจัดการขยะ เพื่อผลิตเป็นเชื้อเพลิง (Refuse Derived Fuel : RDF) และปุ๋ยอินทรีย์ จำนวน 4 แห่ง ตั้งอยู่ที่ สีคิ้ว

ด่านขุนทด เมืองปัก และเทศบาลแชะ  โดยปัจจุบันทั้ง 4 แห่งได้ดำเนินการแล้วเสร็จ และเริ่มทดลองใช้งานแล้ว โดยมีขยะเข้าสู่โรงงานทั้ง 4 แห่ง รวม 140 ตันต่อวัน ผลิตเชื้อเพลิง RDF ได้วันละ 50 ตัน

 

ทั้งนี้ เพื่อต่อยอดการผลิตเชื้อเพลิง RDF ดังกล่าว จึงได้มีการก่อสร้างศูนย์สาธิตการผลิตพลังงานจากของเสียและขยะชุมชน ตั้งอยู่ในมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีสุรนารี และจะมีโรงไฟฟ้าขนาด 1 เมกะวัตต์ ภายในศูนย์สาธิตฯ โดยอยู่ระหว่างก่อสร้างใกล้แล้วเสร็จ และอยู่ระหว่างทดสอบระบบ ซึ่งจะได้ใช้เชื้อเพลิง RDF จากโรงงานจัดการขยะทั้ง 4 แห่งดังกล่าว สำหรับใช้เป็นเชื้อเพลิงผลิตไฟฟ้าเพื่อจำหน่ายให้แก่มหาวิทยาลัย ฯ โดยปัจจุบันเชื้อเพลิง RDF ที่ผลิตได้ 50 ตันต่อวัน ยังสามารถจำหน่ายให้เป็นเชื้อเพลิงในโรงงานปูนซิเมนต์ ทีพีไอ และสยามซีเมนต์ ในราคาตันละ 1,000 บาท

นอกจากนี้ ยังได้เข้าเยี่ยมชมและติดตามความคืบหน้าของโครงการใช้ระบบสูบน้ำด้วยพลังงานแสงอาทิตย์ เพื่อแก้ปัญหาภัยแล้งของชุมชน กรณีศึกษาบ้านหนองพฤกษ์ อำเภอจักราช ซึ่งเป็นความร่วมมือรูปแบบประชารัฐ ระหว่าง สำนักงานพลังงานจังหวัดนครราชสีมา สมาคมพัฒนาประชากรและชุมชน สาขานครราชสีมา และชาวบ้านชุมชนบ้านหนองพฤกษ์ โดยเป็นโครงการที่ใช้ระบบสูบน้ำด้วยพลังงานแสงอาทิตย์ สูบน้ำบาดาลขึ้นมาจากใต้ดินเพื่อใช้ในระบบประปาของหมู่บ้าน การสูบน้ำได้ปริมาณน้ำ 28.64 ลูกบาศก์เมตรต่อชั่วโมง ทดแทนการใช้กระแสไฟฟ้าซึ่งเป็นต้นทุนราคาสูงให้ลดลง

โดยจากข้อมูลพบว่า โครงการฯ ได้เริ่มติดตั้งระบบตั้งแต่เดือนมกราคม 2553 จนถึงเดือนพฤษภาคม 2559 ที่ผ่านมา ช่วยให้ชุมชนประหยัดค่าไฟรวมทั้งสิ้น 351,261 บาท ลดการใช้ไฟฟ้าลงได้ 87,815 หน่วย ชาวบ้านหนองพฤกษ์ สามารถประหยัดค่าน้ำได้ 491,412 บาท ซึ่งเป็นผลมาจากการลดค่าน้ำประปาจากหน่วยละ 5 บาท เหลือเพียงหน่วยละ 2 บาท จากการกำหนดของโครงการฯ ซึ่งประโยชน์โดยรวมที่ได้รับ ชาวบ้านหนองพฤกษ์ได้แก้ปัญหาภัยแล้งได้อย่างยั่งยืน มีน้ำเพียงพออุปโภคบริโภค ลดต้นทุนด้านพลังงาน ได้ใช้น้ำราคาถูกเพาะปลูกพืชสร้างรายได้ที่เพียงพอต่อการดำรงชีวิต

 

“การตรวจเยี่ยมโครงการฯ ในครั้งนี้ ถือเป็นการต่อยอดโครงการประชารัฐ โดยกระทรวงพลังงานได้ส่งเสริมการผลิตพลังงานทดแทนในระดับชุมชน มุ่งเน้นลดรายจ่ายด้านพลังงาน ช่วยเพิ่มรายได้ให้แก่ชุมชน ใช้ทรัพยากรในท้องถิ่น และประโยชน์จากพลังงานทดแทน รวมทั้งยังให้ชุมชนมีส่วนร่วมในการลงทุนร่วมกับภาครัฐ ซึ่งคือมิติใหม่แห่งการพัฒนาพลังงงานอย่างยั่งยืน  ลดการนำเข้าพลังงาน และช่วยให้การผลิตและใช้พลังงานมีความมั่นคงยิ่งขึ้นในอนาคต” พล.อ.อนันตพร กล่าว

รัฐมนตรีว่าการกระทรวงพลังงาน พร้อมผู้บริหารและสื่อมวลชน ติดตามความคืบหน้าโครงการส่งเสริมการลงทุนด้านอนุรักษ์พลังงานทดแทนด้วยเงินทุนหมุนเวียน (ESCO Revolving Fund)

เย็นวันนี้ (17 ส.ค.60) พลเอกอนันตพร กาญจนรัตน์ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงพลังงาน นำคณะผู้บริหาร ข้าราชการ เจ้าหน้าที่กระทรวงพลังงาน และสื่อมวลชน ติดตามความคืบหน้าโครงการส่งเสริมการลงทุนด้านอนุรักษ์พลังงานทดแทนด้วยเงินทุนหมุนเวียน (ESCO Revolving Fund) ปีงบประมาณ 2558 ณ บริษัท พี.พี. แพคเกจจิ้ง จำกัด จ.นครปฐมโดยมีนายสุพจน์ ยศสิงห์คำ รองผู้ว่าราชการจังหวัดนครปฐม และนายชัยณรงค์ เทียนชัยกุล กรรมการผู้จัดการบริษัทฯให้การต้อนรับ

ซึ่งโครงการดังกล่าว ของ พพ. ได้สนับสนุนเงินลงทุนในลักษณะเงินกู้ดอกเบี้ยอัตราคงที่ 3.5% ต่อปี (Flat Rate) โดยมีระยะเวลาการผ่อนชำระคืนไม่เกิน 5 ปี ให้กับบริษัท พี.พี. แพคเกจจิ้ง จำกัด ซึ่งเป็นผู้ผลิตและจำหน่ายผลิตภัณฑ์พลาสติกและโฟมสำหรับบรรจุอาหารนั้น ที่ได้มีการส่งเสริมการลงทุนโดยการให้เช่าซื้ออุปกรณ์ประหยัดพลังงาน ในโครงการติดตั้งอุปกรณ์ปรับลดแรงดันไฟฟ้า จำนวน 2 เครื่อง คือ ขนาดพิกัด 1,000 kVA และขนาดพิกัด 1,500 kVA ภายใต้งบประมาณส่งเสริมจำนวน 6,452,100 บาท ซึ่งการเข้าร่วมโครงการดังกล่าวส่งผลให้บริษัทสามารถประหยัดพลังงานไฟฟ้าได้เท่ากับ 464,000 kWhต่อปี หรือเทียบเท่า 0.04 ktoe ต่อปี คิดเป็นเงินที่ประหยัดได้ 1.78 ล้านบาทต่อปี นอกจากนี้ยังสามารถช่วยลดการปล่อยก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ ได้ 0.0003 กิโลกรัมคาร์บอนไดออกไซด์ต่อปี

พลเอก อนันตพร รัฐมนตรีว่าการกระทรวงพลังงานกล่าวว่า “ที่ผ่านมาโรงงานดังกล่าวมีการใช้พลังงานไฟฟ้าในกระบวนการผลิตเฉลี่ย 8,640,000 kWh ต่อปี คิดเป็นเงินค่าใช้จ่ายด้านพลังงานไฟฟ้าสูงถึง 33.16 ล้านบาทต่อปี แต่ภายหลังจากการเข้าร่วมโครงการส่งเสริมการลงทุนด้านอนุรักษ์พลังงานและพลังงานทดแทนด้วยเงินทุนหมุนเวียนแล้ว ช่วยให้เกิดการใช้พลังงานที่มีประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้น ซึ่งนับเป็นอีกหนึ่งตัวอย่างความสำเร็จในการขับเคลื่อนแผนอนุรักษ์พลังงานให้เป็นไปตามเป้าหมายของแผนที่ต้องการลดความเข้มการใช้พลังงานลง 30% ในปี 2579” พลเอก อนันตพร กล่าว

ทั้งนี้ โครงการส่งเสริมการลงทุนด้านอนุรักษ์พลังงานทดแทนด้วยเงินทุนหมุนเวียน พพ. ได้ดำเนินการส่งเสริมไปแล้วทั้งหมด 23 ราย สามารถประหยัดพลังงานไฟฟ้าให้กับประเทศได้เท่ากับ 17.63 GWh ต่อปี คิดเป็นเงินที่ประหยัดได้ 45 ล้านบาทต่อปี หรือลดการนำเข้าน้ำมันดิบ 6.25 พันตันเทียบเท่าน้ำมันดิบ

รัฐมนตรีว่าการกระทรวงพลังงาน พร้อมผู้บริหารและสื่อมวลชน ลงพื้นที่จังหวัดกาญจนบุรี ติดตามสถานการณ์พลังงานภาคกลาง พร้อมเยี่ยมชมศักยภาพการดำเนินงานโรงไฟฟ้าพลังงานน้ำเขื่อนศรีนครินทร์ และร่วมกิจกรรมปลูกป่า “โครงการประชารัฐร่วมใจ ปลูกต้นไม้ให้แผ่นดิน”

วันนี้ (17 ส.ค.60) พลเอก อนันตพร กาญจนรัตน์ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงพลังงาน พร้อมด้วยนายอารีพงศ์ ภู่ชอุ่ม ปลัดกระทรวงพลังงาน นำคณะผู้บริหาร ข้าราชการ เจ้าหน้าที่กระทรวงพลังงาน และสื่อมวลชน ลงพื้นที่จังหวัดกาญจนบุรี เพื่อตรวจติดตามสถานการณ์พลังงานภาคกลาง พร้อมเยี่ยมชมศักยภาพการดำเนินงานโรงไฟฟ้าพลังงานน้ำเขื่อนศรีนครินทร์ และร่วมกิจกรรมปลูกป่า “โครงการประชารัฐร่วมใจ ปลูกต้นไม้ให้แผ่นดิน” ณ บริเวณเขื่อนศรีนครินทร์ ในพื้นที่ ต.ท่ากระดาน อ.ศรีสวัสดิ์ จ.กาญจนบุรี โดยมี นายนิกูล ศิลาสุวรรณ รองผู้ว่าการ การไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทย และข้าราชการในพื้นที่ให้การต้อนรับ

พลเอกอนันตพร รัฐมนตรีว่าการกระทรวงพลังงาน กล่าวว่า “กิจกรรมปลูกป่าโครงการประชารัฐร่วมใจ ปลูกต้นไม้ให้แผ่นดิน ตามนโยบายของรัฐบาลที่รณรงค์ให้ ภาครัฐ เอกชน และประชาชนทั่วประเทศ ร่วมปลูกต้นไม้ เพื่อฟื้นฟูและอนุรักษ์ป่าไม้ บนพื้นที่สาธารณะ พื้นที่ป่า หรือพื้นที่รัฐที่ทางราชการกำหนดไว้ โดยเริ่มดำเนินการมาตั้งแต่วันที่ 7 สิงหาคม ไปจนถึงวันที่ 30 กันยายน 2560 เพื่อเฉลิมพระเกียรติ สมเด็จพระเจ้าอยู่หัวมหาวชิราลงกรณ บดินทรเทพยวรางกูร เนื่องในโอกาสเฉลิมพระชนมพรรษา ครบรอบ 65 พรรษา และร่วมสืบสานแนวพระราชดำริพระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช และสมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ พระบรมราชินีนาถ ในรัชกาลที่ 9 ในการฟื้นคืนความอุดมสมบูรณ์ของทรัพยากรป่าไม้” พลเอก อนันตพร รัฐมนตรีว่าการกระทรวงพลังงานกล่าว

สำหรับการพูดคุยกับพลังงานจังหวัดในกลุ่มภาคกลางทั้ง 20 จังหวัด ได้แก่ จังหวัดปทุมธานี สระบุรี พระนครศรีอยุธยา นนทบุรี ลพบุรี ชัยนาท อ่างทอง สิงห์บุรี กาญจนบุรี นครปฐม สุพรรณบุรี ราชบุรี สมุทรสงคราม สมุทรสาคร เพชรบุรี ประจวบคีรีขันธ์ พิจิตร กำแพงเพชร นครสวรรค์ และอุทัยธานี เบื้องต้นไม่พบว่าประสบปัญหาอะไร แต่ได้มีการกำชับพลังงานจังหวัด และเจ้าหน้าที่กระทรวงพลังงานในพื้นที่ทุกคนให้มุ่งเน้นการทำงานอย่างบูรณาการ ติดตามดูแลสถานการณ์พลังงานอย่างใกล้ชิด และเตรียมพร้อมรับมือกับทุกสถานการณ์ เช่น ภัยธรรมชาติ เหตุฉุกเฉิน เพื่อไม่ให้เกิดผลกระทบด้านพลังงานต่อประชาชนผู้บริโภค เนื่องจากพลังงานถือเป็นหนึ่งในกลไกลสำคัญในการขับเคลื่อนภาคเศรษฐกิจ และสังคมของประเทศให้มีความมั่นคง มั่งคั่ง และยั่งยืน

พลเอก ธนะศักดิ์ ปฏิมาประกร รองนายกรัฐมนตรี และ พลอากาศเอก ประจิน จั่นตอง รองนายกรัฐมนตรี ให้เกียรติเป็นประธานในพิธีเปิดงานวันวัฒนธรรมไทย (Thai Cultural Day) ภายในงานนิทรรศการโลก Astana Expo 2017

(12สิงหาคม 2560) พลเอก ธนะศักดิ์ ปฏิมาประกร รองนายกรัฐมนตรี และ พลอากาศเอก ประจิน จั่นตอง รองนายกรัฐมนตรี ให้เกียรติเป็นประธานในพิธีเปิดงานวันวัฒนธรรมไทย (Thai Cultural Day) ภายในงานนิทรรศการโลก Astana Expo 2017 ณ กรุงอัสตานา สาธารณรัฐคาซัคสถาน โดยมี Mr. Yelzhan Birtanov รัฐมนตรีว่าการกระทรวงสาธารณสุข สาธารณรัฐคาซัคสถาน ดร.พิเชฐ ดุรงคเวโรจน์ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคม นายณัช ภิญโญวัฒนชีพ เอกอัครราชทูตไทยประจำกรุงอัสตานา และผู้บริหารจากกระทรวงพลังงาน ร่วมพิธีเปิด

พร้อมกันนี้ ได้เข้าเยี่ยมชมห้องนิทรรศการห้องต่างๆ ของอาคารศาลาไทย (Thailand Pavilion) และพาวิลเลี่ยนของประเทศที่เข้าร่วมงานในครั้งนี้ อาทิ Kazakhstan Pavilion และ Thematic Pavilion ฯลฯ

สำหรับการจัดงาน “วัฒนธรรมไทย” ในวันนี้ มีวัตถุประสงค์หลักเพื่อเป็นการเผยแพร่วัฒนธรรมของประเทศไทยให้นานาประเทศได้รู้จัก โดยได้มีการนำประเพณีสงกรานต์ ซึ่งถือเป็นเทศกาลวันขึ้นปีใหม่ของคนไทย และยังเป็นที่รู้จักไปทั่วโลก มาใช้เป็นแนวคิดของการจัดกิจกรรม ซึ่งตลอดทั้งวัน ณ อาคารศาลาไทยจะจัดให้มีขบวนรดน้ำดำหัว การเล่นน้ำสงกรานต์ การทดลองใส่ชุดไทยและถ่ายภาพเป็นที่ระลึก เพื่อสร้างสีสันและความสนุกสนานให้กับผู้เข้าร่วมงาน

ทั้งนี้ อาคารศาลาไทย (Thailand Pavilion) สร้างสรรค์ขึ้นภายใต้แนวคิด “การพัฒนาด้านพลังงานชีวภาพเพื่อมนุษยชาติ (Bioenergy for All)” เพื่อแสดงศักยภาพอันโดดเด่นในการพัฒนาพลังงานทดแทนจากการนำผลผลิตทางการเกษตรที่เหลือจากการบริโภคมาผลิตเป็นพลังงาน และเป็นการใช้ทรัพยากรธรรมชาติที่มีอยู่ให้เกิดประโยชน์สูงสุด โดยได้น้อมนำพระราชดำริของพระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช รัชกาลที่ 9 ที่ทรงเป็น “พระบิดาแห่งการพัฒนาพลังงานไทย” และเป็นต้นแบบในเรื่องปรัชญา “ความพอเพียง” มาใช้เป็นแนวทางในการใช้ทรัพยากรในประเทศที่มีอยู่อย่างคุ้มค่า มุ่งเน้นการพึ่งพาตนเองได้อย่างยั่งยืนในอนาคต สอดคล้องกับแนวคิดหลักของ Expo ที่ว่า “พลังงานแห่งอนาคต”

ซึ่งตลอด 2 เดือนที่ผ่านมามีผู้ชมจากนานาประเทศให้ความสนใจเข้าชมอาคารศาลาไทยเป็นจำนวนมาก มีผู้เข้าชมแล้วกว่า 420,000 คน โดยประเทศไทยติดอันดับ 1 ใน 5 ของพาวิลเลี่ยนที่ได้รับความนิยมสูงสุด จากประเทศที่เข้าร่วมงาน 115 ประเทศ คาดว่าจนกว่าจะจบการจัดงานในวันที่ 10 กันยายน 2560 จะมีผู้เข้าชมอาคารไทยรวมทั้งสิ้นไม่ต่ำกว่า 5 แสนคน นอกจากนี้ จากการจัดอันดับอาคารนิทรรศการที่เป็นที่นิยมชื่นชอบของเยาวชนโดย Chanel Astana Expo TV พบว่า อาคารศาลาไทยได้รับความนิยมเป็นอันดับ 2 และในขณะที่มาสคอต “น้องพลัง” ยังได้รับคัดเลือกให้เข้าสู่ Museum World Expo ภายหลังการจัดงาน ซึ่งถือเป็นความสำเร็จในประวัติศาสตร์ที่สำคัญอีกครั้งของประเทศไทยในการจัดงาน Expo ในระดับโลก

พลเอกประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรี พร้อมด้วยภริยา เป็นประธานในพิธีทำบุญตักบาตรถวายพระราชกุศล ถวายพระพรชัยมงคล สมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ พระบรมราชินีนาถ ในรัชกาลที่ 9

วันนี้ (12 สิงหาคม 2560 ) พลเอกประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรี พร้อมด้วยภริยา เป็นประธานในพิธีทำบุญตักบาตรถวายพระราชกุศล ถวายพระพรชัยมงคล สมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ พระบรมราชินีนาถ ในรัชกาลที่ 9 เนื่องในวันเฉลิมพระชนมพรรษา 85 พรรษา 12 สิงหาคม 2560 ณ พระลานพระราชวังดุสิต โดยมี ดร.อารีพงศ์ ภู่ชอุ่ม ปลัดกระทรวงพลังงาน และคณะผู้บริหารระดับสูงของกระทรวงพลังงาน เข้าร่วมพิธี

รัฐมนตรีว่าการกระทรวงพลังงาน เป็นประธานในพิธีมอบรางวัลองค์กรที่มีความเป็นเลิศในด้านต่างๆ ของกิจการถ่านหินของไทย (Thailand Coal Awards) ครั้งที่ 3

พลเอก อนันตพร  กาญจนรัตน์ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงพลังงาน เปิดเผยว่า ในวันนี้ (2 สิงหาคม 2560) กระทรวงพลังงาน โดยกรมเชื้อเพลิงธรรมชาติ ได้จัดพิธีมอบรางวัลองค์กรที่มีความเป็นเลิศในด้านต่างๆ ของกิจการถ่านหินของไทย (Thailand Coal Awards) ครั้งที่ 3  ให้กับองค์กรที่เป็นเลิศในด้านต่าง ๆ โดยเป็นไปตามนโยบายของกระทรวงพลังงานในด้านการบริหารจัดการของผู้ประกอบการถ่านหินตั้งแต่ต้นน้ำจนถึงปลายน้ำ ไม่ว่าจะเป็นเหมืองถ่านหิน การใช้ถ่านหินในอุตสาหกรรม และผลิตกระแสไฟฟ้า ให้เกิดประสิทธิภาพ ไม่มีผลกระทบต่อชุมชนและสิ่งแวดล้อม รวมถึงการถ่ายทอดองค์ความรู้ให้กับประชาชน และชุมชนผู้มีส่วนได้ส่วนเสีย ให้เกิดความเข้าใจในประโยชน์ของการใช้ถ่านหิน ที่ปัจจุบันมีเทคโนโลยีเพื่อการควบคุม และดูแลได้อย่างมีประสิทธิภาพ

“ปัจจุบันมีการนำเทคโนโลยีด้านถ่านหินมาเป็นเชื้อเพลิงในเชิงอุตสาหกรรมหรือผลิตกระแสไฟฟ้า ที่สามารถควบคุมและดูแลกระบวนการผลิตไม่ให้ส่งผลกระทบไปสู่ภายนอก หรือสิ่งแวดล้อมได้อย่างมีประสิทธิภาพ ซึ่งนานาชาติให้การรับรอง โดยปัจจุบันหลายประเทศใช้โรงไฟฟ้าถ่านหินเป็นเชื้อเพลิงหลัก ในการผลิตกระแสไฟฟ้า ไม่ว่าจะเป็นญี่ปุ่น สหรัฐอเมริกา ยุโรป ที่มีการสัดส่วนการใช้ถ่านหินสูงถึง 25-50%  และการใช้ถ่านหินเพื่อการผลิตกระแสไฟฟ้าทั่วโลกมีสัดส่วนสูงถึง 40%  รวมทั้งในบางประเทศที่มีแหล่งพลังงานขนาดใหญ่ เช่น สหรัฐอเมริกา ก็ยังใช้ถ่านหินเพื่อสร้างความมั่นคงด้านพลังงานของประเทศด้วย ดังนั้นการใช้ถ่านหินเป็นเชื้อเพลิงไม่ใช่สิ่งที่น่ากังวลเหมือนในอดีต เพราะทุกอย่างสามารถควบคุมได้ด้วยเทคโนโลยี ที่ทันสมัย”

พลเอก อนันตพร กล่าวต่อไปว่า ปัจจุบันประเทศไทยมีกฎหมายด้านสิ่งแวดล้อมที่เข้มข้น รวมทั้งระบบ   การบริหารจัดการที่มีคุณภาพไม่ว่าจะเป็นการขนถ่าย  การเก็บรักษาถ่านหิน ต้องทำด้วยระบบปิดแบบครบวงจร  นับว่าเป็นต้นแบบที่ดีสำหรับผู้ประกอบการไทย เพื่อสร้างความเชื่อมั่นและการยอมรับให้กับชุมชนได้อย่างดี ซึ่งการมอบรางวัลองค์กรที่มีความเป็นเลิศในด้านต่างๆ ของกิจการถ่านหินของไทย  (Thailand Coal Awards) ในครั้งนี้ จะเป็นต้นแบบที่ดีให้กับหน่วยงานอื่นๆ ได้นำไปประยุกต์ใช้ และขยายเครือข่ายองค์กรที่ดำเนินงานอย่างมีประสิทธิภาพได้ในอนาคต

นายวีระศักดิ์  พึ่งรัศมี  อธิบดีกรมเชื้อเพลิงธรรมชาติ กล่าวเพิ่มเติมว่า ในปีนี้มีการแบ่งรางวัลเป็น 3 ประเภท โดยมีผู้ได้รับรางวัลทั้งหมด 9 รางวัล ดังนี้

ประเภทการดำเนินการด้านถ่านหินเป็นเลิศ (Best Practice Category) ได้แก่

– Mae Moh Lignite Mine จากเหมืองแม่เมาะ การไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทย

– BLCP 2x 717MW Coal-fired Power Station จากบริษัท บีแอลซีพี เพาเวอร์ จำกัด

– SKIC Closed-Sytem Coal Operation for Sustainable Development (Ban Pong Dome Coal Storage) จากบริษัท สยามคราฟอุตสาหกรรม จำกัด

 

ประเภทการมีส่วนร่วมต่อชุมชนและสังคม (Corporate Social Responsibility Catagery) ได้แก่

– The Environmental Collaboration for Sustainable Development in Mae Moh District  จากการไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทย

– TPIPL intend continuing commitment to CSR จากบริษัท ทีพีไอ โพลีน  จำกัด(มหาชน)

– Sustainable Social Participation of BLCP Coal Fired Power Plant จากบริษัท บีแอลซีพี เพาเวอร์ จำกัด

– Asia Green Energy : Green Society จากบริษัท เอเชีย กรีน เอนเนอจี จำกัด(มหาชน)

 

ประเภทหัวข้อพิเศษ (Special Submission Category) ได้แก่

– Distribution Bunker Cleaning Equipment จากการไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทย

– Specific energy consumption Improvement of kiln plant จากบริษัท ทีพีไอ โพลีน จำกัด (มหาชน)

รัฐมนตรีว่าการกระทรวงพลังงาน ร่วมพิธีถวายพระพรชัยมงคล ณ อาคารเอนเนอร์ยี่ คอมเพล็กซ์

วันนี้ (28 กรกฎาคม 2560) พลเอก อนันตพร กาญจนรัตน์ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงพลังงาน พร้อมด้วย ผู้บริหารระดับสูง ข้าราขการ ลูกจ้าง พนักงาน และเจ้าหน้าที่กระทรวงพลังงาน เข้าร่วมงานพระราชพิธีถวายพระพรชัยมงคล และร่วมกันกล่าวราชสดุดีเฉลิมพระเกียรติ สมเด็จพระเจ้าอยู่หัวมหาวชิราลงกรณ บดินทรเทพยวรางกูร ในโอกาสมหามงคลเฉลิมพระชนมพรรษาครบ 65 พรรษา วันศุกร์ที่ 28 กรกฎาคม 2560 ณ อาคารเอนเนอร์ยี คอมเพล็กซ์ ที่ตั้งของกระทรวงพลังงาน

กระทรวงพลังงาน ร่วมพิธีทำบุญตักบาตร ณ พระลานพระราชวังดุสิต

วันนี้ (28 ก.ค. 60) พลเอกประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรี พร้อมด้วยภริยา เป็นประธานในพิธีทำบุญตักบาตรถวายพระราชกุศล พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช บรมนาถบพิตร และถวายพระพรชัยมงคลกับถวายพระราชกุศล สมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ พระบรมราชินีนาถ ในรัชกาลที่ 9 และสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว เนื่องในโอกาสวันเฉลิมพระชนมพรรษา 65 พรรษา 28 กรกฎาคม 2560 ณ พระลานพระราชวังดุสิต โดยมี พลเอก อนันตพร กาญจนรัตน์ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงพลังงาน พร้อมภริยา และ ดร.อารีพงศ์ ภู่ชอุ่ม ปลัดกระทรวงพลังงาน และคณะผู้บริหารระดับสูงของกระทรวงพลังงาน เข้าร่วมพิธี

รัฐมนตรีว่าการกระทรวงพลังงาน และภริยา เข้าเฝ้าถวายพระพร สมเด็จพระราชาธิบดีฮัจญี ฮัสซานัล โบลเกียห์ มูอิซซัดดิน วัดเดาละห์แห่งบรูไนดารุสซาลาม

เมื่อวันที่ 15 กรกฎาคม 2560 พลเอกอนันตพร กาญจนรัตน์ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงพลังงาน  และภริยา เข้าเฝ้าถวายพระพร สมเด็จพระราชาธิบดีฮัจญี ฮัสซานัล โบลเกียห์ มูอิซซัดดิน วัดเดาละห์แห่งบรูไนดารุสซาลามเนื่องในวโรกาสวันเฉลิมพระชนมพรรษา 71 พรรษา และเข้าร่วมงานพระราชทานเลี้ยงพระกระยาหารค่ำ ณ พระราชวังอิสตานา นูรูล อิมาน บันดาร์เสรีเบกาวันประเทศบรูไน

กระทรวงพลังงาน จับมือ กระทรวงวิทย์ ร่วมพัฒนา เทคโนโลยีระบบกักเก็บพลังงาน ขับเคลื่อนนโยบายพลังงาน 4.0 สำหรับประเทศไทย

14 กรกฎาคม 2560 กระทรวงพลังงาน โดย สำนักงานนโยบายและแผนพลังงาน (สนพ.) ร่วมกับ กระทรวงวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี โดย สำนักงานพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งชาติ (สวทช.) จัดสัมมนา “ความพร้อมของประเทศไทยกับการประยุกต์ใช้เทคโนโลยีระบบกักเก็บพลังงาน” เพื่อเป็นเวทีให้นักวิจัย นักวิชาการ ผู้ประกอบการ องค์กรภาครัฐ และเอกชน ได้ทราบถึงทิศทางการวิจัยและพัฒนาเทคโนโลยีและอุตสาหกรรมด้านระบบกักเก็บพลังงานในระดับสากล รวมถึงกรณีศึกษาและแนวทางปฏิบัติที่ดีสำหรับประยุกต์ใช้ในประเทศไทย ซึ่งระบบกักเก็บพลังงานเป็นเทคโนโลยีที่จะช่วยในการเก็บพลังงานไฟฟ้าไว้ใช้ได้นานขึ้น รองรับ Thailand 4.0 ที่จะใช้พลังงานเพิ่มสูงขึ้น โดยได้รับเกียรติจาก พลเอกสุรศักดิ์ ศรีศักดิ์ ผู้ช่วยรัฐมนตรีประจำกระทรวงพลังงาน เป็นประธานเปิดงานและปาฐกถาพิเศษ “เทคโนโลยีระบบกักเก็บพลังงานภายใต้การขับเคลื่อนนโยบายพลังงาน 4.0 สำหรับประเทศไทย” พร้อมด้วยวิทยากรผู้เชี่ยวชาญด้านเทคโนโลยีระบบกักเก็บพลังงานจากต่างประเทศ

พลเอกสุรศักดิ์ ศรีศักดิ์ ผู้ช่วยรัฐมนตรีประจำกระทรวงพลังงาน กล่าวว่า นโยบาย Thailand 4.0 ของรัฐบาล เป็นโมเดลทางธุรกิจที่เปลี่ยนเศรษฐกิจแบบเดิมไปสู่เศรษฐกิจที่ขับเคลื่อนด้วยนวัตกรรม ซึ่ง กระทรวงพลังงาน มีนโยบายในการเตรียมความพร้อมในการขับเคลื่อนนโยบายพลังงาน 4.0 หรือ Energy 4.0 ให้มีความสอดคล้องกับนโยบาย Thailand 4.0 ด้วยการใช้ “การวิจัย พัฒนา เทคโนโลยี และนวัตกรรม” ดังจะเห็นได้จากนวัตกรรมที่เพิ่มมากขึ้นในปัจจุบัน และมีผลกระทบต่อการผลิตและใช้พลังงานของประเทศ เช่น การพัฒนายานยนต์ไฟฟ้า ที่เปลี่ยนการใช้พลังงานน้ำมันเป็นไฟฟ้า หรือการนำพลังงานจากธรรมชาติ เช่น แสงแดด ลม หรือชีวมวลมาใช้ผลิตไฟฟ้าแทนพลังงานน้ำจากเขื่อน ฉะนั้น ประเทศไทยจำเป็นต้องมีการวิจัย พัฒนา เทคโนโลยี และนวัตกรรม เพื่อรับมือให้ทันต่อกระแสการเปลี่ยนแปลงนี้

“กระทรวงพลังงาน มีเป้าหมายหลักในการขับเคลื่อนนโยบาย Energy 4.0 มอบหมายให้สำนักงานนโยบายและแผนพลังงาน (สนพ.) เป็นผู้ดำเนินกการ โดยมุ่งเน้นนวัตกรรมไปที่กรอบแผนงาน 4 ด้าน คือ (1) Firm Renewable Energy หรือพลังงานทดแทน ซึ่งในด้านการผลิตไฟฟ้า มุ่งใช้พลังงานทดแทนที่เป็นพลังงานสะอาด เช่น แสงอาทิตย์ ลม หรือชีวมวล แต่ยังมีข้อจำกัดการใช้งานอยู่บ้าง ดังนั้น ต้องทำให้พลังงานดังกล่าว มีความเสถียร สามารถใช้เป็นพลังงานหลักของประเทศได้ (2) EV (Electric Vehicle) หรือยานยนต์ไฟฟ้า ซึ่งจะช่วยลดมลพิษที่เกิดจากการเผาผลาญน้ำมัน รัฐบาลไทยประกาศสนับสนุนการผลิตและใช้ยานยนต์ไฟฟ้าอย่างเต็มที่ มีการพัฒนาอุตสาหกรรมเพื่อรองรับอุตสาหกรรมยานยนต์ไฟฟ้า ทำให้สามารถชาร์จไฟฟ้าได้ทั้งจากบ้านเรือนที่พักอาศัย หรือที่ปั๊มชาร์จไฟฟ้า โดยขณะนี้กระทรวงพลังงานอยู่ระหว่างการผลักดันให้ภาคเอกชนสร้างปั๊มชาร์จไฟฟ้าให้ได้ 150 หัวจ่าย (3) Smart City – Smart Grid คือการพัฒนาชุมชนหรือเมืองอัจฉริยะ ให้ผลิตและใช้ไฟฟ้าได้เอง ทำให้สามารถบริหารจัดการพลังงานได้อย่างมีประสิทธิภาพ และ (4) Energy Storage หรือระบบกักเก็บพลังงาน ซึ่งเป็นเรื่องที่จัดสัมมนาในวันนี้ เป็นตัวจักรสำคัญ ที่จะทำให้เป้าหมายทั้ง 3 เรื่องข้างต้นสำเร็จ เนื่องจาก energy storage เป็นส่วนประกอบหลักที่จะทำให้เกิดการเก็บพลังงานไฟฟ้าไว้ให้ใช้ได้นาน ทำให้การบริหารจัดการพลังงานทดแทนให้มีความเสถียร (Firm Renewable) ทำให้ยานยนต์ไฟฟ้า (EV : Electric Vehicle) ใช้งานได้นานขึ้น ปัจจุบันเทคโนโลยี Energy storage มีความหลากหลาย ทั้งเทคโนโลยีเดิมที่มีการใช้มานาน หรือเทคโนโลยีที่กำลังได้รับความสนใจ เช่น แบตเตอรี่ลิเที่ยม รวมถึงเทคโนโลยีอนาคต เช่น supercapacitor แต่การมุ่งสร้างความสามารถของประเทศไทยให้มีความพร้อมทั้งในการผลิต และการประยุกต์ใช้นั้น จำเป็นต้องคำนึงถึงปัจจัยหลักๆ คือ ราคาต้นทุนเป็นสำคัญ นอกจากนี้การลงทุนสร้างโรงงานผลิตแบตเตอรี่ในประเทศไทย ต้องคำนึงถึงการมีวัตถุดิบในประเทศ หรือการมี supply chain ที่ครบถ้วน รวมถึงการมีนโยบายและมาตรการสนับสนุนจากภาครัฐ การสัมมนาในวันนี้ ถือเป็นโอกาสดี ที่จะได้สำรวจองค์ความรู้และหารือแลกเปลี่ยนความรู้เกี่ยวกับเทคโนโลยี นโยบาย มาตรการส่งเสริม และทิศทางการลงทุนในอุตสาหกรรม Energy storage เพื่อประเมินความพร้อมและกำหนดบริบทการพัฒนาเทคโนโลยี Energy storage ที่เหมาะสมกับประเทศไทย ทำให้เรารู้ว่า ประเทศไทยควรจะเดินอย่างไร จะเตรียมความพร้อมเรื่อง Energy storage อย่างไร เพื่อให้สอดคล้องกับนโยบาย Energy 4.0 เพื่อการพัฒนาให้ประเทศมีความยั่งยืน” ผู้ช่วยรัฐมนตรีประจำกระทรวงพลังงาน กล่าว

ด้าน นางเอมอร ชีพสุมล รองผู้อำนวยการสำนักงานนโยบายและแผนพลังงาน (สนพ.) กล่าวว่า “สืบเนื่องจากคณะกรรมการกองทุนเพื่อส่งเสริมการอนุรักษ์พลังงาน เล็งเห็นความจำเป็นในการใช้เทคโนโลยีระบบกักเก็บพลังงาน (Energy Storage) ที่มีประสิทธิภาพ สำหรับประยุกต์ใช้ร่วมกับระบบผลิตไฟฟ้าและพลังงานจากแหล่งพลังงานทดแทน เพื่อเพิ่มเสถียรภาพการผลิตและใช้พลังงานของประเทศ จึงมีมติอนุมัติงบประมาณ 765 ล้านบาท เพื่อนำไปจัดทำโครงการสนับสนุนการศึกษาวิจัยพัฒนาเทคโนโลยีระบบกักเก็บพลังงาน (Energy Storage System) ภายในระยะเวลา 2 ปี เพื่อสนับสนุนให้เกิดการประยุกต์ใช้เทคโนโลยีกักเก็บพลังงานในด้านต่างๆ โดยนำร่องการใช้งานในด้านความมั่นคงและภัยพิบัติ ด้านอุตสาหกรรม และยานยนต์ไฟฟ้า ตลอดจนการสร้างความเข้มแข็งด้านการวิจัยและพัฒนาเทคโนโลยีระบบกักเก็บพลังงานตลอดห่วงโซ่คุณค่า เพื่อสร้างฐานการพัฒนาเทคโนโลยีระบบกักเก็บพลังงานให้มีความเข้มแข็งและแข่งขันได้ในระยะยาว ทั้งนี้ได้ร่วมมือและมอบหมายให้ สำนักงานพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งชาติ (สวทช.) ซึ่งเป็นหน่วยงานวิจัยและพัฒนาเป็นผู้บริหารจัดการโครงการ”

“การดำเนินงานระยะที่ผ่านมา ตั้งแต่เดือนตุลาคม 2559 สวทช. เปิดรับข้อเสนอโครงการจัดกระบวนการพิจารณา และเสนอคณะทำงานกำกับงานวิจัยพัฒนาเทคโนโลยีระบบกักเก็บพลังงาน (Steering Committee) อนุมัติการสนับสนุนโครงการแล้ว รวม 32 โครงการ งบประมาณรวม 301,897,000 บาท เป็นงบประมาณจากกองทุนฯ 295,634,000 บาท และงบประมาณร่วมสนับสนุนจากภาคเอกชน 6,263,000 ซึ่งยังมีงบประมาณคงเหลืออีก 400,320,000 ล้านบาท ดังนั้น เพื่อให้ทิศทางและแนวทางในการดำเนินงานมีความสอดคล้องและต่อเนื่องสอดคล้องกับนโยบายของรัฐบาล สนพ. ในฐานะเลขานุการกองทุนฯ จึงร่วมมือกับ สวทช. จัดสัมมนาขึ้น เพื่อสำรวจองค์ความรู้เกี่ยวกับเทคโนโลยี นโยบาย มาตรการส่งเสริม และทิศทางการลงทุนในอุตสาหกรรมด้านระบบกักเก็บพลังงานที่มีอยู่ในปัจจุบัน ทั้งในประเทศและต่างประเทศ พร้อมแลกเปลี่ยนประสบการณ์ด้านการวิจัยและพัฒนา การกำหนดนโยบายและมาตรการส่งเสริมด้านระบบกักเก็บพลังงาน สำหรับเป็นกรณีศึกษาและแนวทางปฏิบัติที่ดีสำหรับประยุกต์ใช้ในประเทศไทย”

ภายในงานสัมมนา ได้เชิญผู้เชี่ยวชาญจากกระทรวงพลังงาน ประเทศสหรัฐอเมริกา มาบรรยายเรื่อง A review of U.S. market reforms for renewable integration, flexibility, and storage และผู้เชี่ยวชาญจาก DNV GL Clean Technology Center ประเทศสิงคโปร์ มาบรรยายเรื่อง Evolution of Energy Storage Systems Technology: Current and future รวมทั้งการเสวนาหัวข้อ “ความพร้อมของประเทศไทยกับการประยุกต์ใช้เทคโนโลยีระบบกักเก็บพลังงาน” โดยมีผู้เชี่ยวชาญด้านเทคโนโลยี ผู้แทนจากหน่วยงานดูแลกำกับนโยบาย และผู้แทนจากภาคอุตสาหกรรมในประเทศ มาแลกเปลี่ยนความรู้และอภิปรายร่วมกัน เพื่อหารือถึงบริบทการพัฒนาเทคโนโลยีระบบกักเก็บพลังงานที่เหมาะสมกับประเทศไทยต่อไป นอกจากนี้ ยังจัดแสดงนิทรรศการโครงการวิจัยที่ได้รับอนุมัติทุนสนับสนุนไปแล้ว เพื่อเป็นข้อมูลประกอบการสัมมนา ประกอบด้วย ผู้แทนทั้งจากภาครัฐ ภาคเอกชน และภาคการศึกษา

รมว.พน. เป็นประธานโครงการเยาวชนกับการอนุรักษ์พลังงาน

พลเอกอนันตพร กาญจนรัตน์ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงพลังงาน เป็นประธานในพิธีปิด และมอบรางวัลโครงการความร่วมมือด้านความรับผิดชอบต่อสังคม ระหว่างการไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทย การไฟฟ้านครหลวง และการไฟฟ้าส่วนภูมิภาค ในโครงการเยาวชนกับการอนุรักษ์พลังงาน โดยมีโรงเรียนเข้าร่วมโครงการทั้งสิ้น 89 แห่งทั่วประเทศ และเครือข่ายรวมกว่า 8870 คน เป็นผลให้โรงเรียนที่เข้าร่วมโครงการสามารถประหยัดพลังงานโดยเฉลี่ย 11,890 หน่วยต่อเดือน คิดเป็นเงิน 499,380 บาทต่อปี

กระทรวงพลังงาน ร่วมกับประเทศนอร์เวย์ เดินหน้าเร่งสร้างความรู้ความเข้าใจด้าน LNG เพื่อรองรับการนำเข้าที่เพิ่มขึ้น

วันจันทร์ที่ 26 มิถุนายน 2560 พลเอก อนันตพร กาญจนรัตน์ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงพลังงาน เป็นประธานในพิธีเปิดงานสัมมนาความร่วมมือด้าน LNG ระหว่างประเทศนอร์เวย์และประเทศไทย ณ ห้องประชุม 9 ชั้น 15 ศูนย์เอนเนอร์ยี่ คอมเพล็กซ์ อาคารบี กรุงเทพฯ โดยมีเจ้าหน้าที่กระทรวงพลังงาน กรมเชื้อเพลิงธรรมชาติ หน่วยงานราชการ รัฐวิสาหกิจ มหาวิทยาลัย บริษัทเอกชน และสื่อมวลชน เข้าร่วมการสัมมนาดังกล่าว จัดขึ้นโดยความร่วมมือระหว่างกระทรวงพลังงาน โดยกรมเชื้อเพลิงธรรมชาติ และกระทรวงการต่างประเทศ กับประเทศนอร์เวย์ โดยสถานฑูตนอร์เวย์ประจำประเทศไทย ซึ่งมีวัตถุประสงค์เพื่อสร้างความรู้ความเข้าใจในธุรกิจ LNG และเทคโนโลยีที่ทันสมัย รวมถึงการกำกับดูแลของภาครัฐ ทั้งนี้เนื่องจากประเทศนอร์เวย์เป็นประเทศที่มีทรัพยากรทั้งน้ำมันและก๊าซธรรมชาติ จึงเป็นการสร้างโอกาสในการแลกเปลี่ยนเรียนรู้แนวทางการใช้ LNG ในรูปแบบอื่นๆ ร่วมกัน อาทิ สถานีแปรสภาพก๊าซธรรมชาติที่ถูกทำให้เหลวเป็นก๊าซธรรมชาติแบบลอยน้ำ (Floating Storage Regasification Unit : FSRU หรือ Small scale LNG)


พลเอก อนันตพร กาญจนรัตน์ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงพลังงาน กล่าวว่า รัฐบาลไทย โดยกระทรวงพลังงาน กำหนดแผนบริหารจัดการก๊าซธรรมชาติ (Gas Plan 2015) เพื่อบริหารจัดการทั้งด้านความต้องการและการจัดหา โดยในส่วนของ LNG จะมีความสำคัญสำหรับประเทศไทยในอนาคตเพิ่มขึ้นเรื่อยๆ ซึ่งทางรัฐบาลได้กำหนดนโยบายในการพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานเพื่อรองรับการนำเข้า รวมทั้งนโยบายด้านการเปิดให้มีผู้สนใจเข้ามาสู่ในระบบโครงข่ายด้านก๊าซมากขึ้น ในการเตรียมความพร้อมแนวทางการแข่งขันเสรีกิจการก๊าซธรรมชาติ เพื่อให้เกิดประโยชน์ต่อประเทศและประชาชนในที่สุด


“โดยการสัมมนาในวันนี้ นอกจากจะเป็นการแลกเปลี่ยนความคิดเห็นด้านธุรกิจ LNG แล้ว ยังเป็นการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ด้านการกำกับดูแลเกี่ยวกับการดำเนินงานด้านปิโตรเลียม เพื่อให้เกิดองค์ความรู้ที่ชัดเจนและรอบด้านในการนำมาประยุกต์ใช้กับประเทศไทยให้เกิดประโยชน์สูงสุด เนื่องจากประเทศนอร์เวย์มีระบบการให้สิทธิและสำรวจปิโตรเลียมทั้งระบบสัมปทานและระบบแบ่งปันผลผลิต ซึ่งประเทศไทยก็ได้มีการปรับปรุงให้มีระบบสัญญาแบ่งปันผลผลิต (Production Sharing Contact, PSC) และสัญญาจ้างบริการ (Service Contact, SC) เพิ่มขึ้นมาใช้ร่วมกับระบบสัมปทานเดิม โดยปัจจุบันอยู่ในช่วงการปรับปรุงและดำเนินงานด้านกฎหมายต่างๆ ที่เกี่ยวข้อง รวมทั้งการเตรียมเปิดประมูลแหล่งสิ้นสุดสัมปทานแหล่งก๊าซธรรมชาติในอ่าวไทย 2 แหล่งใหญ่ คือแหล่งบงกช และแหล่งเอราวัณ ที่คาดว่าจะสามารถเปิดให้สิทธิปิโตรเลียมรอบใหม่ในช่วงปลายปี 2560” พลเอก อนันตพร กล่าว

 

รัฐมนตรีว่าการกระทรวงพลังงาน และคณะ เข้าเยี่ยมชมและรับฟังการบรรยาย ผลการดำเนินงานและแผนงานของบริษัท ผลิตไฟฟ้าราชบุรีโฮลดิ้ง จำกัด (มหาชน)

วันนี้ (21 มิถุนายน 2560) พลเอกอนันตพร กาญจนรัตน์ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงพลังงาน และคณะ เข้าเยี่ยมชมและรับฟังการบรรยาย ผลการดำเนินงานและแผนงานของบริษัท ผลิตไฟฟ้าราชบุรีโฮลดิ้ง จำกัด (มหาชน) พร้อมทั้งได้หารือร่วมกับนายกิจจา ศรีพัฑฒางกุระ กรรมการผู้จัดการใหญ่ ถึงนโยบายด้านพลังงาน และแผนการดำเนินงานในอนาคต

 

กระทรวงพลังงานส่งเสริมการใช้พลังงานทางเลือก

พลเอก อนันตพร กาญจนรัตน์ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงพลังงาน เป็นประธานเปิดงาน “พีทีที กรุ๊ป อีวี บัส รถโดยสารพลังงานไฟฟ้า” พร้อมผู้บริหารกระทรวงพลังงาน โดยมี นายเทวินทร์ วงศ์วานิช ประธานเจ้าหน้าที่บริษัทและกรรมการผู้จัดการใหญ่ บริษัท ปตท. จำกัด (มหาชน) ให้การต้อนรับ ซึ่งถือเป็นโครงการนำร่องการใช้พลังงานเชื้อเพลิงไฟฟ้าในกลุ่มรถโดยสารสาธารณะ ตามแผนการขับเคลื่อนภารกิจด้านพลังงาน เพื่อส่งเสริมการใช้ยานยนต์ไฟฟ้า (EV) ในประเทศไทย

กระทรวงพลังงาน ร่วมกับมูลนิธิอาคารเขียวไทย ประกาศ 7 โครงการที่เข้ารอบการคัดเลือกในขั้นตอนที่ 2 ที่ได้รับการสนับสนุนจากกองทุนเพื่อส่งเสริมการอนุรักษ์พลังงาน รายละไม่เกิน 10 ล้านบาท

พลเอก อนันตพร กาญจนรัตน์ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงพลังงาน เปิดเผยว่า จากการที่ กระทรวงพลังงาน โดย กองทุนเพื่อส่งเสริมการอนุรักษ์พลังงาน ร่วมกับมูลนิธิอาคารเขียวไทย จัดโครงการสนับสนุนการออกแบบเมืองอัจฉริยะ (Smart cities – Clean Energy) เพื่อเป็นแนวทางหรือแบบรายละเอียดเบื้องต้น (Schematic Design) การพัฒนาเมืองของชุมชนสู่เมืองอัจฉริยะ โดยเชื่อมโยงกับการใช้พลังงานในชุมชนอย่างมีประสิทธิภาพ มุ่งสู่การเป็น Clean Energy และ Green City ให้สามารถเป็นต้นแบบลดการใช้พลังงาน และลดคาร์บอนไดออกไซด์ตามเจตนารมณ์ของรัฐ และยังเป็นการสร้างมิติใหม่ของการพัฒนาเมือง โดยมีผู้เข้าร่วมโครงการถึง 36 โครงการ นับเป็นความสำเร็จในเบื้องต้นที่มีจำนวนโครงการให้ความสนใจมากขนาดนี้ จนกระทั่งผ่านการคัดเลือกในขั้นตอนที่1 ไปแล้ว 16 โครงการ ซึ่งแต่ละโครงการล้วนมีความตั้งใจในการสร้างสรรค์แนวคิดที่จะนำสู่การเป็นต้นแบบเมืองอัจฉริยะอย่างเป็นรูปธรรม และบัดนี้นับเป็นอีกก้าวหนึ่งที่คณะกรรมการผู้ทรงคุณวุฒิจะต้องทำงานอย่างถี่ถ้วนที่จะคัดเหลือเพียง 7 โครงการเท่านั้น เพื่อจัดทำโมเดลธุรกิจ ที่นำไปปฏิบัติได้จริงต่อไป

ผู้ผ่านการคัดเลือกได้จัดเตรียมโครงการในขั้นตอนที่ 2 คือ การจัดทำผังแม่บทการพัฒนาเมืองอัจฉริยะ (Smart City Development Master Plan) ที่มีรายละเอียดเบื้องต้นที่ครอบคลุม ผังการใช้พื้นที่ แผนผังโครงการการจัดวางอาคาร และแผนผังต่างๆ ได้แก่ อาคารภูมิสถาปัตย์ ระบบสาธารณูปโภค ระบบผลิต ส่ง และจ่ายพลังงาน ระบบเครื่องกล และไฟฟ้า ระบบสุขาภิบาล ระบบจัดการน้ำเสีย ระบบนำน้ำกลับมาใช้ ระบบระบายน้ำ ระบบกักเก็บน้ำฝน ระบบอัจฉริยะ เป็นต้น รวมทั้งขนาดของระบบต่างๆ เช่น ระบบไฟฟ้า ระบบทำความเย็น ระบบทำความร้อน ระบบน้ำประปา ระบบน้ำเสีย ระบบนำน้ำกลับมาใช้ ปริมาณขยะ ปริมาณขยะที่สามารถนำกลับมาใช้ ระบบพลังงานสะอาด พร้อมทั้งจัดทำรายงานเปรียบเทียบเพื่อแสดงการคำนวณตัวเลขของการประหยัดพลังงาน การประหยัดน้ำการลดปริมาณคาร์บอน การประหยัดค่าก่อสร้าง  เป็นต้น

สำหรับผู้ผ่านการคัดเลือกขั้นตอนที่ 1 ทั้ง 16 โครงการ คณะกรรมการได้ทำการคัดเลือกเหลือ 7 โครงการและทุกโครงการจะได้รับการสนับสนุนเงินจากกองทุนฯ เพื่อใช้ในการดำเนินการขั้นต่อไป รายละไม่เกิน 10 ล้านบาท โดยมีโครงการที่เข้ารอบดังนี้

  1. นิด้า : มหาวิทยาลัยอัจฉริยะ รู้รักษ์พลังงาน สู่การพัฒนาที่ยั่งยืน
  2. มช. (เมือง) มหาวิทยาลัยอัจฉริยะพลังงานสะอาด
  3. เมืองจุฬาฯ อัจฉริยะ
  4. ธรรมศาสตร์ ศูนย์รังสิต : ต้นแบบเมืองมหาวิทยาลัยอัจฉริยะ
  5. วิสซ์ดอม วัน-โอ-วัน
  6. ขอนแก่น Smart City (ระยะที่ 1) : ขนส่งสาธารณะเปลี่ยนแปลงเมือง
  7. เมืองใหม่อัจฉริยะบ้านฉาง

ผู้ที่ได้รับเงินสนับสนุนจากกองทุนฯ ในขั้นตอนที่ 2 จะต้องดำเนินการจัดทำโมเดลธุรกิจ (Business model) อันประกอบด้วย รายละเอียดเบื้องต้น (Schematic design) ประเมินค่าก่อสร้างเบื้องต้น (Construction budget estimation) วิเคราะห์ค่าใช้จ่ายตลอดอายุโครงการ (Life cycle cost analysis) รายงานการวิเคราะห์ทางด้านเศรษฐศาสตร์ (Financial feasibility study) เพื่อให้สามารถนำไปใช้เป็นโมเดลธุรกิจ (Business model) และนำไปสู่การจัดหาผู้ร่วมทุนและการพัฒนา “เมืองอัจฉริยะ” หรือ “Smart City” ให้เป็นรูปธรรมต่อไป

สอบถามข้อมูลเพิ่มเติมได้ที่ สถาบันอาคารเขียวไทย E-mail : Smartcities.th@gmail.com หรือ www.thailandsmartcities.com

กระทรวงพลังงานเนรมิต “อาคารศาลาไทย” พร้อมโชว์ “พลังงานชีวภาพ เพื่อมนุษยชาติ” ใน Astana Expo 2017

กระทรวงพลังงาน เตรียมโชว์ศักยภาพการพัฒนาพลังงานชีวภาพของประเทศไทย ดินแดนแห่งพืชผลพลังงาน ในงาน Astana Expo2017 ณ กรุงอัสตานา สาธารณรัฐคาซัคสถาน พร้อมเนรมิตอาคารศาลาไทย ภายใต้แนวคิด “Bioenergy for All” ดึงนานาชาติพัฒนาพลังงานชีวภาพเพื่อมนุษยชาติ ตั้งเป้าอาคารศาลาไทยติดอันดับพาวิลเลียนที่มีผู้เข้าชมสูงสุด

(22 พ.ค.60) พลเอกอนันตพร กาญจนรัตน์ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงพลังงาน เปิดเผยว่าขณะนี้ประเทศไทยมีความพร้อมในการเข้าร่วมงาน International Exposition 2017 หรือ Astana Expo 2017 ซึ่งจัดขึ้นภายใต้หัวข้อหลัก “พลังงานแห่งอนาคต (Future Energy)” ณ กรุงอัสตานา สาธารณรัฐคาซัคสถาน ระหว่างวันที่ 10 มิถุนายนถึงวันที่ 10 กันยายน 2560 โดย “อาคารศาลาไทย” (Thailand pavilion) พร้อมเปิดให้ผู้เข้าร่วมงานจากประเทศต่างๆ กว่า 115 ประเทศ ทั่วโลก เข้าชมเต็มรูปแบบ มั่นใจว่าอาคารศาลาไทยจะเป็นหนึ่งในพาวิลเลียนยอดนิยมที่มีจำนวนผู้เยี่ยมชมกว่า 5 แสนคน

“ประเทศไทยเรามีศักยภาพในด้านพลังงานชีวภาพอย่างมาก เพราะเราเป็นประเทศที่อุดมสมบูรณ์ทางด้านเกษตรกรรม การไปโชว์ศักยภาพในงานระดับโลกครั้งนี้ กระทรวงพลังงานจึงได้นำข้อมูล ความรู้ ความเข้าใจด้านพลังงานชีวภาพของไทย รวมทั้งข้อมูลด้านการเกษตรที่เชื่อมโยงไปสู่การพัฒนาพลังงาน ซึ่งประเทศไทยมีความก้าวหน้าอย่างมากในการพัฒนาพลังงานชีวภาพ (Bioenergy) จากการน้อมนำพระราชดำริของพระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลเดช พระบิดาแห่งการพัฒนาพลังงานไทยมาเป็นแนวทางในการพัฒนาโครงการด้านพลังงาน และปัจจุบันกระทรวงพลังงานก็มีนโยบายในการผลักดันให้เกิดนวัตกรรมด้านพลังงานใหม่ๆ การส่งเสริมการวิจัยและพัฒนาเกี่ยวกับด้านพลังงาน เพื่อต่อยอดธุรกิจเกี่ยวกับพลังงานของประเทศให้เติบโตและก้าวหน้า อีกทั้งยังได้แสดงศักยภาพการท่องเที่ยว การผลิตอาหารในฐานะครัวของโลกของประเทศไทย รวมทั้งยังกระชับความสัมพันธ์กับหลากหลายประเทศ โดยเฉพาะสาธารณรัฐคาซัคสถาน และกลุ่มประเทศเครือรัฐเอกราช (CIS)”

ปัจจุบัน เศรษฐกิจของคาซัคสถานยังไม่หลากหลาย ส่วนใหญ่ยังคงพึ่งพารายได้การส่งออกจากภาคพลังงานเป็นหลัก ในขณะที่เศรษฐกิจภาคการเกษตรของคาซัคสถานยังมีขนาดเล็ก ทำให้ผลผลิตทางการเกษตรที่ผลิตได้ไม่เพียงพอต่อการบริโภคภายในประเทศ จึงต้องนำเข้าสินค้าอาหาร และเกษตรจากต่างประเทศจำนวนมาก ในขณะเดียวกันประเทศไทยมีศักยภาพทางการผลิตสินค้าเกษตร จึงเป็นโอกาสของไทยที่จะขยายการส่งออกสินค้าเกษตรและอาหารไปยังคาซัคสถาน รวมถึงสินค้าฮาลาล เนื่องจากคาซัคสถานมีประชากรที่นับถือศาสนาอิสลามกว่าร้อยละ 50 ของจำนวนประชากรทั้งหมด การจัดงานครั้งนี้ยังถือเป็นจุดเริ่มต้นในการ เปิดตลาดทางด้านการค้าและการลงทุนระหว่างกันอีกด้วย

 

ด้านนายอารีพงศ์ ภู่ชอุ่ม ปลัดกระทรวงพลังงาน กล่าวว่า สำหรับ“อาคารศาลาไทย” (Thailand Pavilion) จัดขึ้นภายใต้แนวคิด“การพัฒนาด้านพลังงานชีวภาพเพื่อมนุษยชาติ (Bioenergy for All)”ต้องการสื่อถึงพลังงานเพื่ออนาคตที่ยั่งยืน และศักยภาพของประเทศไทยในด้านการพัฒนาพลังงานทดแทนและความก้าวหน้าในการพัฒนาพลังงานชีวภาพ (Bioenergy)จากการน้อมนำพระราชดำริของพระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดชที่ทรงเป็นพระบิดาแห่งพลังงานไทย และเป็นต้นแบบในเรื่องปรัชญา“ความพอเพียง”มาใช้เป็นแนวทางในการใช้ทรัพยากรในประเทศที่มีอยู่อย่างคุ้มค่า บนขนาดพื้นที่ 974.67 ตารางเมตร แบ่งเป็น 2 ชั้นการจัดแสดงผ่านการนำเสนอในรูปแบบ “EDUTAINMENT” หรือการเรียนรู้ ควบคู่ความสนุกผ่าน 3 ห้องนิทรรศการหลัก ได้แก่นิทรรศการห้องที่1: Our Ways, Our Thai สัมผัสวิถีความเป็นไทย เอกลักษณ์ความงดงามของธรรมชาติ และวัฒนธรรม ควบคู่กับการพัฒนาด้านพลังงานทดแทนในรูปแบบ Live Exhibition, นิทรรศการห้องที่ 2 : Farming the Future Energy ห้องสรุปเรื่องราวแนวคิดของ Thailand Pavilion ในรูปแบบ 3D Theater และถือเป็นไฮไลท์สำคัญบอกเล่าเรื่องราวในห้องทดลองสุดมหัศจรรย์ และการกำเนิดของพลังงานแห่งอนาคต‘พลัง’ข้าวโพดน้อยในรูปแบบหุ่นยนต์ Animatronic เคลื่อนไหวเสมือนจริงและนิทรรศการห้องที่ 3 : Energy Creation Lab พบกับพลังงานชีวภาพ และชีวมวลจากพืชพลังงานทั้งหมด 9 ชนิด ประกอบด้วย อ้อย ยูคาลิปตัส ยางพารา หญ้าเนเปียร์ ข้าว ข้าวโพด มูลสัตว์ ของเสีย มันสำปะหลัง ปาล์มน้ำมัน ในรูปแบบ Interactive Exhibition

ส่วนการจัดแสดงชั้นที่ 2 เป็นพื้นที่รับรองแขกพิเศษ ร้านค้าอาหารไทย กาแฟ และพื้นที่สำหรับการจัด Business Matching และ Investment Clinic และการสาธิตการนวดแผนไทย ซึ่งการจัดงานในครั้งนี้ยังได้คัดเลือกตัวแทนอาสาสมัครโครงการ Thailand Pavilion Ambassador 2017 จำนวน 10 คน เพื่อเป็นเสมือนทูตเยาวชนที่จะประสานความสัมพันธ์อันดีระหว่างทั้ง 2 ประเทศอีกด้วย

สำหรับความคืบหน้าการก่อสร้าง “อาคารศาลาไทย” ขณะนี้อาคารศาลาไทยเสร็จสมบูรณ์ไปกว่า 90% โดยเฉพาะงานโครงสร้างเหลือเพียงงานตกแต่งเท่านั้น มั่นใจว่าประเทศไทยจะเป็น 1 ใน 10 ประเทศที่สามารถเข้าพื้นที่และดำเนินการก่อสร้างเสร็จก่อนกำหนด โดยอาคารศาลาไทยจะเปิดทดลองระบบทั้งหมดได้ภายในต้นเดือนมิถุนายนนี้ และพร้อมที่จะประกาศศักยภาพบนเวทีระดับโลกอย่างเป็นทางการในวันที่ 10 มิถุนายน 2560

ขณะที่การประชาสัมพันธ์อาคารศาลาไทยในสาธารณรัฐคาซัคสถานถือว่าได้รับการตอบรับเป็นอย่างดี โดยใช้กลยุทธ์การนำเสนอที่ผสมผสานเน้นสร้างการรับรู้และความประทับใจในอาคารศาลาไทยอาทิ การโรดโชว์และประชาสัมพันธ์การจัดงานด้วยเทคนิค VR 360 Thailand Pavilion พร้อมด้วยมาสคอต“น้องพลัง” เพื่อสร้างการมีส่วนร่วมกับชาวคาซัคสถานไปยังสถานที่สำคัญต่างๆ ตั้งแต่ก่อนเริ่มงานในเมืองอัสมาตี และเมืองอัสตานาอย่างต่อเนื่อง

พลเอกประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรี ให้โอวาทฑูตพลังไทยในโครงการ “ไทยแลนด์ พาวิลเลียนแอมบาสเดอร์”

(15พ.ค.60 ทำเนียบรัฐบาล) พลเอกประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรี ได้ให้โอวาทฑูตพลังไทยในโครงการ “ไทยแลนด์ พาวิลเลียนแอมบาสเดอร์” ก่อนไปปฏิบัติหน้าที่ตัวแทนประเทศไทย ในงาน Astana Expo 2017 ณ กรุงอัสตานา สาธารณรัฐคาซัคสถาน ระหว่างวันที่ 10 มิถุนายน ถึง 10 กันยายน 2560

โดยทูตพลังไทยทั้ง 10 คน เป็นเยาวชนที่มีความรู้ด้านภาษารัสเซีย คาซัค และภาษาอังกฤษ ที่ผ่านการคัดเลือกจากผู้สมัครกว่า 300 คน โดยก่อนหน้านี้ยังได้รับการติวเข้ม เพื่อเสริมความรู้เจาะลึกเรื่องพลังงานของประเทศไทย จากกูรูด้านพลังงานชั้นนำของเมืองไทยจากหน่วยงานภาครัฐและเอกชน อาทิ กระทรวงพลังงาน บมจ.การบินไทย กระทรวงพานิชย์ กระทรวงวัฒนธรรม กรมการพัฒนาชุมชน กฟผ. เป็นต้น พร้อมทั้งได้ศึกษาดูงานด้านการอนุรักษ์พลังงานและพลังงานชีวภาพต้นแบบ เพื่อนำความรู้ดังกล่าว ไปแสดงศัยภาพด้านพลังงานของไทยให้ทั่วโลกได้รับรู้

กระทรวงพลังงาน ร่วมกับ บริษัท เชลล์ แห่งประเทศไทย จำกัด จัดงานต้อนรับและแสดงความยินดีกับนักศึกษาไทย ฮีโร่รุ่นเยาว์ ผู้คว้าชัยชนะจากการแข่งขันเชลล์ อีโค-มาราธอน เอเชีย 2017

กระทรวงพลังงาน นำโดย พลเอก อนันตพร กาญจนรัตน์ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงพลังงาน ร่วมกับ บริษัท เชลล์ แห่งประเทศไทย จำกัด โดย นายอัษฎา หะรินสุต ประธานกรรมการ จัดงานต้อนรับและแสดงความยินดีกับนักศึกษาไทย ฮีโร่รุ่นเยาว์ ผู้คว้าชัยชนะจากการแข่งขันเชลล์ อีโค-มาราธอน เอเชีย 2017 ที่ประเทศสิงคโปร์ เมื่อวันที่ 16 – 19 มีนาคมที่ผ่านมา สนับสนุนเยาวชนด้านการพัฒนานวัตกรรมประหยัดพลังงานที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม
พลเอก อนันตพร กาญจนรัตน์ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงพลังงาน กล่าวว่า “ในฐานะตัวแทนของกระทรวงพลังงาน ผมมีความยินดีและภูมิใจเป็นอย่างยิ่งกับความสำเร็จของนักศึกษาไทยจากการแข่งขันเชลล์ อีโค มาราธอน เอเชีย ในปีนี้ “เชลล์ อีโค-มาราธอน เอเชีย” เป็นกิจกรรมที่ส่งเสริมให้นักศึกษาได้แสดงความสามารถด้านการพัฒนานวัตกรรมประหยัดพลังงานและเป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม พร้อมทั้งส่งเสริมการพัฒนาเทคโนโลยีในการใช้พลังงานอย่างมีประสิทธิภาพสูงสุด ซึ่งสอดคล้องกับนโยบายของรัฐบาลและกระทรวงพลังงาน ที่มีความมุ่งมั่นในการพัฒนาพลังงานที่ยั่งยืนและเป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม รวมถึงการแสวงหาพลังงานด้วยวิธีการที่มีประสิทธิภาพยิ่งขึ้น กิจกรรมนี้ได้เปิดเวทีให้เยาวชนไทยคิดสร้างสรรค์ผลงานอย่างจริงจัง เกิดผลงานใหม่ๆ ที่จะเป็นประโยชน์ต่อวงการพลังงานและประเทศไทยในอนาคต ที่สำคัญเยาวชนของชาติยังมีโอกาสได้ออกไปเรียนรู้และหาประสบการณ์กับเพื่อนต่างชาติ นับว่าเป็นกิจกรรมที่ควรสนับสนุนอย่างต่อเนื่อง เราเชื่อมั่นว่าความร่วมมือนี้จะนำมาซึ่งความสำเร็จในการพัฒนาอุตสาหกรรมพลังงานในประเทศ และพร้อมรับความท้าทายด้านพลังงานในปัจจุบันและอนาคตต่อไป”
นายอัษฎา หะรินสุต ประธานกรรมการ บริษัท เชลล์แห่งประเทศไทย จำกัด กล่าวว่า “ผมรู้สึกยินดีและภาคภูมิใจมากที่ทีมไทยสามารถคว้าชัยชนะมาจากการแข่งขันเชลล์ อีโค-มาราธอน เอเชียในปีนี้ ซึ่งเป็นสนามที่นักศึกษาไทย ได้พัฒนานวัตกรรมและความคิดสร้างสรรค์ พร้อมทั้งใช้ทักษะในการค้นคว้าหาเทคโนโลยีเพื่อการใช้พลังงานอย่างมีประสิทธิภาพมากที่สุด ทำให้ทีมไทยคว้าขัยขนะมาอย่างต่อเนื่องเป็นปีที่ 7 แล้ว และจากความสามารถของนักเรียนนักศึกษานี้ จะช่วยสร้างแรงบันดาลใจให้แก่วิศวกรรุ่นต่อไปในการตอบสนองต่อความต้องการด้านพลังงานในอนาคตอย่างแน่นอน เชลล์จะยังคงจัดกิจกรรมที่เป็นประโยชน์ที่ช่วยสนับสนุนเยาวชนของชาติในการพัฒนาต่อยอดความรู้ มาเป็นการพัฒนาพลังงานอย่างยั่งยืนและเป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อมต่อไป”
การแข่งขันเชลล์ อีโค-มาราธอน เอเชีย ประจำปี 2017 จัดขึ้นวันที่ 16-19 มีนาคมที่ผ่านมา เป็นเวทีการแข่งขันระดับโลกที่เปิดโอกาสให้แก่เยาวชนที่มีอายุตั้งแต่ 16-28 ปี ได้พัฒนาความคิด สร้างสรรค์นวัตกรรมและส่งเสริมการพัฒนาเทคโนโลยี พร้อมกับสนับสนุนให้นักเรียนนักศึกษาได้เรียนรู้จากประสบการณ์จริง เพื่อทำให้การใช้พลังงานมีประสิทธิภาพมากขึ้นและเป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม โดยการแข่งขันจะแบ่งเป็น 2 ประเภท คือ ประเภท Prototype เป็นการออกแบบและสร้างสรรค์รถต้นแบบแห่งอนาคต มุ่งเน้นการใช้ความคิดสร้างสรรค์ทางด้านเทคนิค เพื่อให้ใช้พลังงานอย่างมีประสิทธิภาพสูงสุด และ
ประเภท Urban concept มุ่งเน้นการออกแบบรถประหยัดเชื้อเพลิงโดยคำนึงการใช้งานจริงบนท้องถนน ตัวรถยนต์จะมีลักษณะใกล้เคียงกับรถยนต์ในปัจจุบัน

ในปีนี้ทีมจากประเทศไทย 2 ทีมได้รับรางวัลมาจากการแข่งขันประเภท Prototype คือ ทีม Virgin จาก วิทยาลัยเทคนิคสกลนคร คว้ารางวัลชนะเลิศ จากประเภท Internal Combustion Engine หรือ เชื้อเพลิง เบนซิน ดีเซล ทำสถิติวิ่งได้ไกลทีสุดด้วยความเร็วที่ 2,288 กิโลเมตรต่อ 1 ลิตร และ ทีม NSTRU Eco-Racing จาก มหาวิทยาลัยราชภัฏนครศรีธรรมราช คว้าตำแหน่งรองชนะเลิศอันดับ 2 จากเชื้อเพลิงประเภท Battery Electric ด้วยความเร็วที่ 391.2 กิโลเมตรต่อ 1 ลิตร

……………………………………………………………………………

เกี่ยวกับการแข่งขันเชลล์ อีโค-มาราธอน
เชลล์ อีโค-มาราธอนเป็นเวทีการแข่งขันระดับโลกที่มีเอกลักษณ์เฉพาะตัว ท้าทายให้นักเรียน นักศึกษา ก้าวข้ามขีดจำกัดของการใช้พลังงานอย่างมีประสิทธิภาพบนท้องถนน การจัดการแข่งขันเชลล์ อีโค-มาราธอน มีขึ้นทั้งสิ้นสามเวทีตลอดทั้งปี คือ เอเชีย อเมริกา และยุโรป การแข่งขันเชลล์ อีโค-มาราธอนเป็นสนามทดลองให้นักเรียน นักศึกษา ทดสอบการใช้งานยานพาหนะที่พวกเขาออกแบบและสร้างขึ้นเอง โดยมีเป้าหมายเพื่อสร้างแรงบันดาลใจให้คนรุ่นใหม่กลายเป็นนักวิทยาศาสตร์และวิศวกรในอนาคต

การแข่งขันเชลล์ อีโค-มาราธอนเริ่มขึ้นในปี พ.ศ. 2482 ที่ห้องปฏิบัติการด้านการวิจัยในสหรัฐอเมริกาโดยเป็นการแข่งขันระหว่างเพื่อนนักวิทยาศาสตร์ด้วยกัน เพื่อดูว่ารถของใครจะวิ่งไปได้ไกลที่สุดด้วยน้ำมันหนึ่งแกลลอน พ.ศ. 2528 การแข่งขันเชลล์ อีโค-มาราธอนที่เรารู้จักกันในวันนี้ได้ถือกำเนิดขึ้น ครั้งแรก ที่ประเทศฝรั่งเศส ต่อมาในเดือนเมษายนปี พ.ศ. 2550 ปฐมฤกษ์ของการแข่งขันเชลล์ อีโค-มาราธอน อเมริกา ได้เริ่มขึ้นที่ประเทศสหรัฐอเมริกาและในปี พ.ศ. 2553 การแข่งขันเชลล์ อีโค-มาราธอน เอเชียได้เริ่มขึ้นเป็นครั้งแรกที่ประเทศมาเลเซีย ซึ่งเป็นเจ้าภาพการแข่งขันเชลล์ อีโค-มาราธอนจนถึงปี พ.ศ. 2556 และในปีพ.ศ. 2557 – 2559 การแข่งขันจัดขึ้นขึ้นที่กรุงมะนิลา ประเทศฟิลิปปินส์ และจัดขึ้นที่ประเทศสิงคโปร์เป็นครั้งแรกเป็นส่วนหนึ่งของเทศกาล Make the Future ในปี พ.ศ. 2560

กระทรวงพลังงาน MOU ผู้พัฒนาอสังหาริมทรัพย์ 5 รายใหญ่ ต้นแบบอาคาร-บ้านอนุรักษ์พลังงานสอดรับกฎหมายใหม่ปี’60

“กระทรวงพลังงาน” โดย กรมพัฒนาพลังงานทดแทนและอนุรักษ์พลังงาน ลงนาม MOU กลุ่มผู้พัฒนาอสังหาริมทรัพย์ 5 แห่ง เพื่อส่งเสริมการออกแบบอาคาร-บ้านประหยัดพลังงาน เล็งคลอดกฎหมายนำร่องอาคารขนาดใหญ่มีผลบังคับใช้ภายในปี 2560

พลเอก อนันตพร กาญจนรัตน์ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงพลังงาน เปิดเผยว่า ในวันนี้ (7เม.ย.60) ได้มีพิธีลงนามบันทึกความเข้าใจว่าด้วยความร่วมมือ “การส่งเสริมการออกแบบอาคารเพื่อการอนุรักษ์พลังงานตามกฏหมายและการส่งเสริมบ้านที่อยู่อาศัยเพื่อการอนุรักษ์พลังงาน” เป็นความร่วมมือของกระทรวงพลังงาน โดย กรมพัฒนาพลังงานทดแทนและอนุรักษ์พลังงาน (พพ.) และภาคเอกชน ได้แก่ บริษัท ปูนซิเมนต์ไทย จำกัด (มหาชน) บริษัท พฤกษา เรียลเอสเตท จำกัด (มหาชน) บริษัท เซ็นทรัล พัฒนา จำกัด (มหาชน) บริษัท อนันดา ดีเวลลอปเม้นท์ จำกัด (มหาชน) บริษัท นารายณ์พร็อพเพอร์ตี้ จำกัด เพื่อเป็นจุดเริ่มต้นในการส่งเสริม ให้ภาคเอกชนมีการออกแบบอาคารเพื่อการอนุรักษ์พลังงานตามกฎหมาย และส่งเสริมบ้านที่อยู่อาศัยเพื่อการอนุรักษ์พลังงาน ก่อให้เกิดการประหยัดพลังงานในอาคารและบ้านที่อยู่อาศัยอย่างเป็นรูปธรรม สอดคล้องกับ แผนบูรณาการพลังงานของประเทศ (TIEB)

“ความร่วมมือครั้งนี้ เป็นไปตามยุทธศาสตร์และถือเป็นนโยบายเร่งด่วนของรัฐบาล เพื่อให้เป็นไปตามแนวทางส่งเสริมการอนุรักษ์พลังงาน ภายใต้แผนอนุรักษ์พลังงานของประเทศ ( EEP 2015 ) พ.ศ. 2558 -2579 ที่เห็นความสำคัญในการใช้พลังงานให้เกิดประสิทธิภาพสูงสุด โดยเฉพาะในกลุ่มที่มีการใช้พลังงานมาก ได้แก่ ภาคขนส่ง ภาคอุตสาหกรรม ภาคอาคารธุรกิจ และภาคบ้านอยู่อาศัย” พลเอก อนันตพร กล่าว

ที่ผ่านมา กระทรวงพลังงาน โดย พพ. ได้ดำเนินการร่วมกับกรมโยธาธิการและผังเมือง กระทรวงมหาดไทย ปรับปรุงแก้ไขร่างกฎหมายให้มีผลบังคับใช้ภายในปี 2560 โดยนำร่องใช้กับอาคารขนาดใหญ่พื้นที่ตั้งแต่ 10,000 ตร.ม.ขึ้นไปก่อน และทยอยบังคับใช้กับอาคารพื้นที่ตั้งแต่ 2,000 ตร.ม. ภายในปี 2562

นายประพนธ์ วงษ์ท่าเรือ อธิบดีกรมพัฒนาพลังงานทดแทนและอนุรักษ์พลังงาน(พพ.) กล่าวว่า การลงนามความร่วมมือในครั้งนี้ ถือเป็นความก้าวหน้าของการดำเนินงานตามแผนอนุรักษ์พลังงาน ซึ่งพพ. มีแผนปฎิบัติการเชิงรุกใน 2 รูปแบบ ทั้งการจัดทำมาตรการบังคับใช้ในทางกฎหมาย และแผนการรณรงค์ส่งเสริมโดยเชิญชวนภาคเอกชนขนาดใหญ่เข้าร่วม เป็นเครือข่ายความร่วมมือ และขยายเครือข่ายไปยังผู้พัฒนาอสังหาริมทรัพย์รายอื่นต่อไป โดยแนวทางที่ พพ. จะร่วมมือกับผู้ประกอบการ จะครอบคลุมในเรื่องการจัดกิจกรรมให้ความรู้การประชาสัมพันธ์เรื่องอาคารและบ้านประหยัดพลังงานสู่ผู้บริโภค การส่งเสริมและพัฒนาบุคลากรในการออกแบบอาคารและบ้านประหยัดพลังงาน การผลักดันและกระตุ้นตลาดการก่อสร้างอาคาร และบ้านประหยัดพลังงานให้แพร่หลาย ซึ่งทั้งสองแนวทางจะนำไปสู่การเพิ่มประสิทธิภาพการใช้พลังงานของประเทศ และสามารถเป็นไปตามเป้าหมายที่ได้กำหนดไว้ตามแผน EEP 2015 ที่จะต้องลดสัดส่วนการใช้พลังงานให้ได้ 30% ภายในปี 2579

แผนการดำเนินงานที่ผ่านมา พพ. ได้มีการส่งเสริมและสนับสนุนการออกแบบอาคารเพื่อการอนุรักษ์พลังงานให้กับหน่วยงานรัฐ สถาบันการศึกษา และหน่วยงานปกครองท้องถิ่น 9 แห่ง อาทิ กรุงเทพมหานคร เทศบาลนครราชสีมา และเมืองพัทยา เป็นต้น ส่วนความร่วมมือกับสถาบันการศึกษา 6 แห่ง เป็นเรื่องของการบรรจุองค์ความรู้ด้านการอนุรักษ์พลังงานลงไปในหลักสูตรการศึกษา ประกอบด้วยมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ สถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้าเจ้าคุณทหารลาดกระบัง มหาวิทยาลัยรังสิต และมหาวิทยาลัยเทคโนดลยีราชมงคลธัญบุรี เป็นต้น และภาคเอกชน 1 แห่ง ได้แก่ บริษัท แอล.พี.เอ็น ดีเวลลอปเมนท์ จำกัด (มหาชน)

ที่ผ่านมา พพ. ได้เตรียมความพร้อมเพื่อรองรับการบังคับใช้กฎหมายดังกล่าว โดยอยู่ระหว่างการสร้างความรู้ ความเข้าใจ และส่งเสริมในเรื่องการออกแบบอาคารเพื่อการอนุรักษ์พลังงาน เตรียมความพร้อมบุคลากรผู้ออกแบบอาคาร สถาปนิก วิศวกร เจ้าหน้าที่รัฐที่มีหน้าที่อนุญาตการก่อสร้าง รวมถึงผู้ประกอบธุรกิจอสังหาริมทรัพย์ขนาดใหญ่ ให้มีความรู้ความเข้าใจในนโยบายและทิศทางการดำเนินงานของภาครัฐ ซึ่งได้ดำเนินการอย่างต่อเนื่องมาตั้งแต่ปี 2552




รัฐมนตรีว่าการกระทรวงพลังงาน ร่วมตักบาตรพระสงฆ์และเยี่ยมชมโครงการเศรษฐกิจพอเพียงของชุมชน

วันนี้ (25 มี.ค.60) เมื่อเวลา 07.15 น. พลเอก อนันตพร กาญจนรัตน์ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงพลังงาน และคณะผู้บริหารกระทรวงพลังงาน พร้อมด้วย นายกรศิษฏ์ ภัคโชตานนท์ ผู้ว่าการการไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทย ร่วมตักบาตรพระสงฆ์จำนวน 10 รูป ณ บริเวณหน้าหน้าร้านอาหารเรือนน้ำพรม เขื่อนจุฬาภรณ์

จากนั้นได้เดินทางไปสักการะพระพุทธสิริรัตตราช หรือหลวงพ่อเจ็ดกษัตริย์ ที่ประดิษฐานอยู่ในบริเวณสวนเขื่อนจุฬาภรณ์ และร่วมปลูกต้นประดู่แดง ณ บริเวณดังกล่าวด้วย

ต่อมาในเวลา 09.30 น. รัฐมนตรีว่าการกระทรวงพลังงาน และผู้ว่าการไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทย ได้เดินทางไปพบปะชาวบ้านชุมชนทุ่งลุยลาย เพื่อเยี่ยมชมโครงการเศรษฐกิจพอเพียงของชุมชน โดยมี นายสุขสันต์ ชาติทหาร นายกเทศมนตรีเทศบาลตำบลทุ่งลุยลาย และชาวบ้านขุมชนทุ่งลุยลายให้การต้อนรับ ณ โรงเรียนทุ่งลาย

ในโอกาสที่เดินทางมาตรวจติดตามการดำเนินงานโครงการเขื่อนจุฬาภรณ์ ของการไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทย ณ อำเภอคอนสาร จังหวัดชัยภูมิ

 







รมว.พลังงาน ตรวจเยี่ยมงาน กฟผ. ติดตามความก้าวหน้า โครงการโรงไฟฟ้าพลังน้ำท้ายเขื่อนจุฬาภรณ์

รมว.พลังงาน ตรวจเยี่ยมงาน กฟผ. ติดตามความก้าวหน้า
โครงการโรงไฟฟ้าพลังน้ำท้ายเขื่อนจุฬาภรณ์ และโรงไฟฟ้าพลังน้ำเขื่อนจุฬาภรณ์แบบสูบกลับ

รัฐมนตรีว่าการกระทรวงพลังงาน พร้อมด้วยคณะผู้บริหารกระทรวงพลังงาน ตรวจเยี่ยมการดำเนินงานของเขื่อนจุฬาภรณ์ กฟผ. ติดตามความก้าวหน้าโครงการโรงไฟฟ้าพลังน้ำท้ายเขื่อนจุฬาภรณ์ และโรงไฟฟ้าพลังน้ำเขื่อนจุฬาภรณ์แบบสูบกลับ เพิ่มสัดส่วนพลังงานหมุนเวียน ขับเคลื่อนสู่ยุคพลังงาน 4.0 มั่นคง มั่งคั่ง ยั่งยืน
วันนี้ (25 มีนาคม 2560) พลเอก อนันตพร กาญจนรัตน์ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงพลังงาน และคณะผู้บริหารกระทรวงพลังงาน เดินทางเข้าตรวจเยี่ยมการดำเนินงานของเขื่อนจุฬาภรณ์ การไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทย (กฟผ.) รวมทั้งติดตามความก้าวหน้าโครงการโรงไฟฟ้าพลังน้ำท้ายเขื่อนจุฬาภรณ์ และโครงการโรงไฟฟ้าพลังน้ำเขื่อนจุฬาภรณ์แบบสูบกลับ โดยมี นายกรศิษฏ์ ภัคโชตานนท์ ผู้ว่าการ กฟผ. นำชม ณ เขื่อนจุฬาภรณ์ อำเภอคอนสาร จังหวัดชัยภูมิ
พลเอก อนันตพร กาญจนรัตน์ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงพลังงาน เปิดเผยว่า ในการบริหารจัดการภาคพลังงานของประเทศนั้น กระทรวงพลังงานได้ดำเนินการตามแผนบูรณาการพลังงานระยะยาว เพื่อให้ภาคพลังงานมีความมั่นคง มั่งคั่ง และยังยืน โดยในการสร้างความมั่นคงด้านพลังงานไฟฟ้านั้น การไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทย หรือ กฟผ. ซึ่งเป็นหน่วยงานภายใต้สังกัดกระทรวงพลังงาน และเป็นหน่วยงานหลักที่ดำเนินภารกิจสอดรับกับนโยบายของกระทรวงพลังงานในการสร้างความมั่นคงให้กับภาคพลังงานไฟฟ้าของประเทศมาโดยตลอด ที่ผ่านมา กฟผ. ได้พัฒนาโรงไฟฟ้าพลังงานหมุนเวียนอย่างต่อเนื่อง เพื่อตอบสนองนโยบายพลังงาน 4.0 ของกระทรวงพลังงาน ที่ส่งเสริมการผลิตไฟฟ้าจากพลังงานหมุนเวียน และลดการใช้เชื้อเพลิงฟอสซิลในการผลิตไฟฟ้า สอดคล้องตามแผนพัฒนาพลังงานทดแทนและพลังงานทางเลือก (AEDP 2015) และแผนพัฒนากำลังการผลิตไฟฟ้าของประเทศ (PDP 2015) สำหรับเขื่อนจุฬาภรณ์ มีจำนวน 2 โครงการ คือโครงการโรงไฟฟ้าพลังน้ำท้ายเขื่อนจุฬาภรณ์ กำลังผลิตติดตั้งรวม 1.25 เมกะวัตต์ คาดว่าจะแล้วเสร็จและสามารถจ่ายไฟฟ้าเข้าสู่ระบบเชิงพาณิชย์ได้ภายในปี 2562 ซึ่งสามารถผลิตพลังงานไฟฟ้าได้ปีละประมาณ 4 ล้านหน่วย และโครงการโรงไฟฟ้าพลังน้ำเขื่อนจุฬาภรณ์แบบสูบกลับ กำลังผลิตติดตั้งรวม 800 เมกะวัตต์ มีแผนจะเริ่มก่อสร้างภายในปี 2564 คาดว่าจะแล้วเสร็จและสามารถจ่ายไฟฟ้าเข้าสู่ระบบเชิงพาณิชย์ได้ภายในปี 2569 ซึ่งสามารถผลิตพลังงานไฟฟ้าได้ปีละประมาณ 1,900 ล้านหน่วย ถือเป็นโรงไฟฟ้าใต้ดินแห่งที่ 2 ถัดจากโรงไฟฟ้าพลังน้ำลำตะคองชลภาวัฒนาแบบสูบกลับ จังหวัดนครราชสีมา โดยยึดแนวทางการใช้ประโยชน์จากทรัพยากรน้ำให้เกิดประสิทธิภาพสูงสุดอย่างยั่งยืน และช่วยเสริมความมั่นคงของระบบไฟฟ้าในภาคตะวันออกเฉียงเหนืออีกด้วย
นายกรศิษฏ์ ภัคโชตานนท์ ผู้ว่าการ กฟผ. กล่าวเสริมว่า ตลอดระยะเวลา 43 ปีที่ผ่านมา เขื่อนจุฬาภรณ์ได้อยู่คู่กับชุมชนและสร้างประโยชน์สุขให้แก่ประชาชนในจังหวัดชัยภูมิและจังหวัดขอนแก่น โดยเฉพาะในพื้นที่ชุมชนทุ่งลุยลาย อำเภอคอนสาร จังหวัดชัยภูมิ ครอบคลุมพื้นที่ 7 หมู่บ้าน 30,000 กว่าครัวเรือน ทั้งในด้านชลประทาน อุปโภคบริโภค เกษตรกรรม อุตสาหกรรม บรรเทาอุทกภัย การประมง และผลพลอยได้จากการระบายน้ำที่นำไปใช้ในการผลิตกระแสไฟฟ้า เพื่อเสริมความมั่นคงระบบไฟฟ้าของภาคตะวันออกเฉียงเหนือ รวมทั้งดูแลและพัฒนาคุณภาพชีวิตของชุมชนโดยรอบผ่านโครงการต่าง ๆ มาอย่างต่อเนื่อง อาทิ โครงการ “เยี่ยมยามถามข่าว ชุมชนลุ่มน้ำพรม-เชิญ” โครงการฝึกอบรมส่งเสริมอาชีพให้แก่ราษฎร และการจัดตั้งศูนย์สาธิตโครงการชีววิถีเขื่อนจุฬาภรณ์เพื่อการพัฒนาอย่างยั่งยืน เป็นต้น
สำหรับการตรวจเยี่ยมในครั้งนี้ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงพลังงานและคณะ ได้เดินทางไปพบปะกับผู้นำชุมชน
ทุ่งลุยลาย อำเภอคอนสาร จังหวัดชัยภูมิ และตรวจเยี่ยมโครงการเศรษฐกิจพอเพียงของชุมชนดังกล่าวด้วย

 

รัฐมนตรีว่าการกระทรวงพลังงาน ลงพื้นที่จังหวัดนครศรีธรรมราชเพื่อให้ความช่วยเหลือและฟื้นฟูผู้ประสบอุทกภัย พร้อมตรวจติดตามสถานการณ์พลังงานในกลุ่มภาคใต้

วันนี้ ( 10 มีนาคม 2560) พลเอก อนันตพร กาญจนรัตน์ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงพลังงาน พร้อมด้วย นายอารีพงศ์ ภู่ชอุ่ม ปลัดกระทรวงพลังงาน นำคณะผู้บริหารระดับสูง ข้าราชการ เจ้าหน้าที่ในสังกัดกระทรวงพลังงาน และสื่อมวลชน ลงพื้นที่จังหวัดนครศรีธรรมราช เพื่อให้ความช่วยเหลือและฟื้นฟูผู้ประสบอุทกภัยในจังหวัดนครศรีธรรมราช พร้อมตรวจติดตามสถานการณ์พลังงาน 9 จังหวัดในกลุ่มภาคใต้ ได้แก่ สุราษฎร์ธานี ชุมพร นครศรีธรรมราช พัทลุง กระบี่ พังงา ระนอง ภูเก็ต และตรัง เพื่อสร้างความมั่นใจประชาชนผู้ใช้พลังงานครอบคลุมทุกกลุ่มพลังงาน ได้แก่ ไฟฟ้า น้ำมัน ก๊าชธรรมชาติ โดยมี นายขจรเกียรติ รักพานิชมณี รองผู้ว่าราชการจังหวัดนครศรีธรรมราช และพลังงานจังหวัดจาก 9 จังหวัดในกลุ่มภาคใต้ ให้การต้อนรับ ณ โรงแรมทวินโลตัส อำเภอเมือง จังหวัดนครศรีธรรมราช

พลเอก อนันตพร กาญจนรัตน์ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงพลังงาน เปิดเผยว่า การลงพื้นที่จังหวัดนครศรีธรรมราชในครั้ง เพื่อให้ความช่วยเหลือและฟื้นฟูพื้นที่ประสบภัยในจังหวัดนครศรีธรรมราช จากสถานการณ์น้ำท่วมในช่วง 3 เดือนที่ผ่านมา พร้อมทั้งติดตามการบำรุงรักษาสถานที่ด้านพลังงานที่ได้รับความเสียหาย และตรวจสอบศักยภาพของการให้บริการเกี่ยวกับด้านพลังงานภายหลังสถานการณ์น้ำท่วม เพื่อสร้างความมั่นใจให้กับประชาชน โดยได้มีการตรวจสอบคุณภาพน้ำมันและสถานีบริการน้ำมัน การตรวจสอบสภาพถังก๊าซหุงต้ม การสนับสนุนหน่วยแพทย์เคลื่อนที่เพื่อให้บริการประชาชน รวมถึงการฟื้นฟูและมอบอุปกรณ์การเรียนการสอนให้กับโรงเรียนมัชฌิมภูผา ในพื้นที่อำเภอร่อนพิบูลย์ จังหวัดนครศรีธรรมราช

นอกจากนี้ ยังได้มีการหารือข้อราชการเกี่ยวกับสถานการณ์พลังงานของกลุ่มภาคใต้ 9 จังหวัด ได้แก่ สุราษฎร์ธานี ชุมพร นครศรีธรรมราช พัทลุง กระบี่ พังงา ระนอง ภูเก็ต และตรัง โดยได้มีการมอบหมายให้พลังงานจังหวัดและเจ้าหน้าที่กระทรวงพลังงานในพื้นที่ภาคใต้ มุ่งเน้นการทำงานอย่างบูรณาการติดตามดูแลสถานการณ์พลังงานอย่างใกล้ชิด ไม่ให้เกิดผลกระทบต่อประชาชนในพื้นที่ พร้อมทั้งให้ดำเนินการช่วยเหลือ ฟื้นฟู ผู้ประสบภัยจากสถานการณ์น้ำท่วมทั้งในส่วนของโครงการพลังงานต่างๆ ที่อยู่ในความดูแลของกระทรวงพลังงาน สถานที่ราชการ โรงเรียน วัด และที่อยู่อาศัยของชาวบ้านในพื้นที่ เพื่อบรรเทาความเดือดร้อนอย่างต่อเนื่องจนกระทั่งเข้าสู่ภาวะปกติ
รัฐมนตรีว่าการกระทรวงพลังงาน กล่าวต่อว่า สำหรับการให้ความช่วยเหลือผู้ประสบภัย และฟื้นฟูสถานที่ประสบภัยหลังสถานการณ์น้ำท่วมในพื้นที่ภาคใต้ กระทรวงพลังงาน ได้ร่วมกับบริษัท ปตท. จำกัด (มหาชน) การไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทย และหน่วยงานเครือข่ายด้านพลังงานต่างๆ ให้ความช่วยเหลือกระจายไปยังทุกจังหวัดที่ได้รับผลกระทบ โดยมุ่งเน้นพื้นที่ที่ความช่วยเหลือยังเข้าไม่ถึง เพื่อบรรเทาความเดือดร้อนทั่วทุกพื้นที่อย่างแท้จริง ได้แก่ การสนับสนุนรถน้ำทำความสะอาด จำนวน 8 คัน การช่วยทำความสะอาดที่อยู่อาศัยกว่า 100 ครัวเรือน การซ่อมแซมระบบไฟฟ้าที่อยู่อาศัย 17 หลังคาเรือน การสนับสนุนหน่วยแพทย์เคลื่อนที่พร้อมจ่ายยา โดยการสนับสนุนทีมบุคลากรทางการแพทย์จากโรงพยาบาลสุราษฎร์ธานี และ
โรงพยาบาลกรุงเทพ หาดใหญ่ การสนับสนุนหน่วยซ่อมแซมจักรยานยนต์และเครื่องใช้ไฟฟ้าร่วมกับวิทยาลัยสารพัดช่างสุราษฏร์ธานีและวิทยาลัยสารพัดช่างนครศรีธรรมราช การให้ความช่วยเหลือซ่อมแซมระบบไฟฟ้า อาคารเรียน และการมอบอุปกรณ์การเรียนการสอน อุปกรณ์กีฬา เพื่อทดแทนอุปกรณ์เดิมที่เสียหายไปกับสถานการณ์น้ำท่วมให้กับโรงเรียนต่างๆ ในจังหวัด อาทิ ประจวบคีรีขันธ์ นครศรีธรรมราช สุราษฏรธานี ตรัง ชุมพร สงขลา พัทลุง กระบี่ ปัตตานี นราธิวาส เป็นต้น
“ในสถานการณ์น้ำท่วมภาคใต้ที่ผ่านมา กระทรวงพลังงาน ได้ติดตามผลกระทบในด้านพลังงานอย่างใกล้ชิด และได้มอบหมายให้หน่วยงานในสังกัดทั้งส่วนกลางและในพื้นที่ รวมถึงบริษัท ปตท. จำกัด (มหาชน) การไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทย เฝ้าระวังสถานที่และบริการด้านพลังงานให้ครอบคลุมทั้งในเรื่องไฟฟ้า น้ำมัน และก๊าซธรรมชาติ ไม่ให้เกิดผลกระทบต่อประชาชนผู้ใช้บริการ พร้อมทั้งดำเนินการให้ความช่วยเหลือเพื่อบรรเทาความเดือดร้อนของชาวบ้านที่ประสบภัยมาอย่างต่อเนื่องตั้งแต่เกิดเหตุการณ์น้ำท่วม เช่น การมอบเงินช่วยเหลือผ่านโครงการ “ประชารัฐร่วมใจ ช่วยอุทกภัยใต้” กว่า 47 ล้านบาท การสนับสนุนเรือท้องแบน 3 ลำ มอบถุงยังชีพ 37,393 ถุง น้ำดื่มกว่า 5 แสนขวด หลอดไฟ LED 74 ชุด อาหารกล่องกว่า 2 หมื่นกล่อง ยาสามัญประจำบ้านกว่า 1 หมื่นชุด เครื่องนุ่งห่มกว่า 2 หมื่นชุด ตลอดจนการให้ความร่วมมือกับจังหวัดต่างๆ ในพื้นที่ประสบภัย เพื่อป้องกันอันตรายทั้งในชีวิตและทรัพย์สินของประชาชนจากระบบไฟฟ้าในช่วงที่เกิดสถานการณ์น้ำท่วม” รัฐมนตรีว่าการกระทรวงพลังงานกล่าว


“โครงการพลังงานและเทคโนโลยีที่ยั่งยืนแห่งเอเชีย 2560” SETA 2017

วันนี้ (8 มี.ค.60) พลอากาศเอก ประจิน จั่นตอง รองนายกรัฐมนตรี เป็นประธานในพิธีเปิดงาน “โครงการพลังงานและเทคโนโลยีที่ยั่งยืนแห่งเอเชีย 2560” (Sustainable Energy & Technology Asia 2017 (SETA 2017) ภายใต้ธีม “Towards A Low-Carbon Society” ใน 4 หัวข้อหลัก ได้แก่ นโยบายและการวางแผนด้านพลังงาน เทคโนโลยีระบบผลิตกระแสไฟฟ้าเพื่อปล่อยคาร์บอนต่ำ พลังงานเพื่อการคมนาคมขนส่งเพื่อปล่อยคาร์บอนต่ำและ เมืองอัจฉริยะและอุตสาหกรรมสีเขียว เพื่อผลักดันและพัฒนาองค์ความรู้ด้านพลังงาน และเทคโนโลยีอย่างต่อเนื่อง โดยในปีนี้เน้นเทรนด์อุตสาหกรรมไฮบริด และรถยนต์พลังงานไฟฟ้า ณ ห้องแกรนด์ฮอลล์ ชั้น 2 ศูนย์นิทรรศการและการประชุมไบเทค บางนา พลอากาศเอก ประจิน จั่นตอง รองนายกรัฐมนตรี กล่าวว่า “รัฐบาลมีการดำเนินงานเพื่อให้พลังงานทีเสถียรภาพที่เหมาะสมโดยสร้างความมั่นคงในด้านพลังงานทุกรูปแบบของประเทศที่ครอบคลุมตั้งแต่กระบวนการผลิต ขนส่ง จำหน่าย และการกระจายให้ต้นทุนราคาพลังงานอยู่ในระดับที่เหมาะสม สะท้อนต้นทุนที่แท้จริง ประชาชนไม่แบกรับภาระมากเกินไป ไม่เป็นอุปสรรคต่อการพัฒนาประเทศในระยะยาว ลดผลกระทบด้านสิ่งแวดล้อม โดยส่งเสริมการประหยัดพลังงานเพื่อให้เกิดการพัฒนาอย่างยั่งยืน สำหรับงาน SETA 2017 นับเป็นปีที่ 2 แล้ว ที่ประเทศไทยจะได้แสดงถึงความก้าวหน้าในการพัฒนาภาคพลังงานของประเทศ และศักยภาพในการพัฒนาสู่ความเป็นศูนย์กลางพลังงานในภูมิภาคเอเชีย เชื่อมความร่วมมือของประเทศในเอเชีย โดยมีผู้นำประเทศและผู้นำทางความคิดจากทั่วโลกเข้าร่วมประชุม เปิดโอกาสให้นักลงทุนทั้งในและต่างประเทศได้เรียนรู้แนวความคิด การพัฒนาเทคโนโลยีที่ทันสมัยและนวัตกรรมใหม่ ๆ อีกด้วย” พลเอก อนันตพร กาญจนรัตน์ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงพลังงาน กล่าวว่า “นโยบาย Energy 4.0 ซึ่งสอดคล้องกับนโยบาย Thailand 4.0 เป็นนโยบายภาพใหญ่เพื่อยกระดับประชาชนให้มีความสามารถทางการแข่งขัน และมีรายได้สูงขึ้น ในส่วนของการบริหารจัดการพลังงานใน
ประเทศไทยนั้นมีปัจจัยที่เป็นตัวแปรหลายอย่าง กระทรวงพลังงานได้ดำเนินการให้เกิดความสมดุลทั้งด้านความมั่นคง ความเป็นธรรมและสิ่งแวดล้อม ซึ่งจะนำไปสู่ความสำเร็จอย่างยั่งยืน”


 

กระทรวงพลังงาน มอบสัญญา Charging Station 20 หน่วยงาน

กระทรวงพลังงาน เดินหน้านโยบาย Energy 4.0 เร่งขับเคลื่อนโครงการยานยนต์ไฟฟ้าเต็มกำลัง จัดพิธีมอบสัญญาแก่ผู้ได้รับการสนับสนุนในโครงการสนับสนุนสถานีอัดประจุไฟฟ้า (Charging Station) ให้กับ 20 หน่วยงาน โดยในส่วนของรอบแรกนั้นคาดว่าจะแล้วเสร็จช่วงต้นปี 2561 วันนี้ (23ก.พ.60) พลเอก อนันตพร กาญจนรัตน์ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงพลังงาน ให้เกียรติ เป็นประธานในพิธีมอบสัญญาแก่ผู้ได้รับการสนับสนุนในโครงการสนับสนุนการลงทุนสถานีอัดประจุไฟฟ้า (Charging Station) ในรอบที่ 1 โดยมีหน่วยงานทั้งส่วนราชการ หน่วยงานรัฐวิสาหกิจ องค์การมหาชน สถาบันการศึกษา และภาคเอกชน ที่สนใจเข้าร่วมงาน ดร.ทวารัฐ สูตะบุตร ผู้อำนวยการสำนักงานนโยบายและแผนพลังงาน และโฆษกกระทรวงพลังงาน เปิดเผยว่า “กระทรวงพลังงานให้ความสำคัญและสนับสนุนการใช้ยานยนต์ไฟฟ้าตามกรอบแผนบูรณาการพลังงานของประเทศ ในส่วนของการส่งเสริมการใช้ยานยนต์ไฟฟ้าภายในประเทศ ซึ่งได้ตั้งเป้าหมายไว้ที่ 1.2 ล้านคัน ทั้งแบบยานยนต์ไฟฟ้าปลั๊กอินไฮบริด (Plug-in Hybrid Electric Vehicle) และยานยนต์ไฟฟ้าแบตเตอรี่ (Battery Electric Vehicle) ภายในปี พ.ศ. 2579 โดยมีแผนการส่งเสริมการใช้งานยานยนต์ไฟฟ้า และการจัดตั้งสถานีอัดประจุไฟฟ้าสำหรับหน่วยงานราชการ รัฐวิสาหกิจ และภาคเอกชน เพื่อเป็นสถานีนำร่องสำหรับรองรับยานยนต์ไฟฟ้าที่จะเพิ่มมากขึ้นในอนาคต ซึ่งภาครัฐจะสนับสนุนเงินในโครงการสนับสนุนการลงทุนสถานีอัดประจุไฟฟ้า (Charging Station) โดยมีเป้าหมายอย่างน้อย 150 หัวจ่าย” ดร.ยศพงษ์ ลออนวล นายกสมาคมยานยนต์ไฟฟ้าไทย กล่าวเพิ่มเติมว่า “สมาคมยานยนต์ไฟฟ้าไทยมีเป้าหมายในการส่งเสริมให้เกิดการใช้ยานยนต์ไฟฟ้าในประเทศไทย โดยได้รับมอบหมายจากกองทุนเพื่อส่งเสริมการอนุรักษ์พลังงาน สำนักงานนโยบายและแผนพลังงาน ให้ดำเนินโครงการสนับสนุนการลงทุนสถานีอัดประจุไฟฟ้า (Charging Station) ซึ่งได้เปิดรับสมัครระยะที่ 1 ระหว่างเดือนตุลาคม 2559 – เดือนกุมภาพันธ์ 2560 เป็นจำนวน 3 รอบ โดยมีหน่วยงานทั้งส่วนราชการ หน่วยงานรัฐวิสาหกิจ สถาบันการศึกษา และภาคเอกชน สนใจเข้าร่วมสมัครเป็นจำนวนมาก โดยในวันนี้มีผู้ผ่านการคัดเลือกรอบที่ 1 และร่วมลงนามสัญญารวมทั้งสิ้น 20 หน่วยงาน เป็นหัวจ่ายประจุไฟฟ้าแบบธรรมดา (Normal Charge) 10 หัวจ่าย และหัวจ่ายประจุไฟฟ้าแบบเร่งด่วน (Quick Charge) 13 หัวจ่าย รวมหัวจ่ายทั้งหมด 23 หัวจ่าย และทางสมาคมอยู่ระหว่างการเตรียมการทำสัญญากับหน่วยงานผู้ผ่านการคัดเลือกในรอบที่ 2 จำนวนทั้งสิ้น 15 หน่วยงาน เป็นหัวจ่ายประจุไฟฟ้าแบบธรรมดา (Normal Charge) 10 หัวจ่าย และหัวจ่ายประจุไฟฟ้าแบบเร่งด่วน (Quick Charge) 7 หัวจ่าย รวมหัวจ่ายทั้งหมด 17 หัวจ่าย สำหรับในรอบที่ 3 อยู่ระหว่างการพิจารณาของโครงการฯ และจะเปิดรับสมัครในระยะที่ 2 เพื่อให้ได้ครบ 150 หัวจ่าย ซึ่งจะทำให้มีสถานีอัดประจุไฟฟ้า (Charging Station) สาธารณะนำรองเพื่อรองรับรถยนต์ไฟฟ้าในอนาคต”


กพช. เดินหน้าสร้างความมั่นคงของระบบไฟฟ้าภาคใต้ ตามแผน PDP 2015 พร้อมหนุนพลังงานทดแทนผ่านโครงการโรงไฟฟ้าประชารัฐ

คณะกรรมการนโยบายพลังงานแห่งชาติ (กพช.) เห็นชอบแนวทางการสร้างความมั่นคงด้านไฟฟ้าภาคใต้ตามแผน PDP 2015 รวมทั้งสนับสนุนการผลิตไฟฟ้าจากพลังงานทดแทนผ่านโครงการโรงไฟฟ้าประชารัฐ เพื่อรองรับความต้องการใช้ไฟฟ้า
ที่เพิ่มสูงขึ้นในพื้นที่ภาคใต้

วันนี้ (17 กุมภาพันธ์ 2560) ที่ทำเนียบรัฐบาล การประชุมคณะกรรมการนโยบายพลังงานแห่งชาติ (กพช.) ซึ่งมี
พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรี เป็นประธาน ได้พิจารณาแนวทางการสร้างความมั่นคงด้านไฟฟ้าภาคใต้ ซึ่งปัจจุบันกำลังผลิตไฟฟ้าในพื้นที่ภาคใต้ อยู่ที่ 3,089.5 เมกะวัตต์ ขณะที่ความต้องการไฟฟ้าสูงสุดของระบบการไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทย (กฟผ.) อยู่ที่ 2,713 เมกะวัตต์ และหากเกิดกรณีวิกฤติหรือเหตุสุดวิสัยที่ทำให้โรงไฟฟ้าหลักในพื้นที่หยุดกะทันหัน จะส่งผลให้ภาคใต้มีกำลังผลิตไฟฟ้าสำรองไม่เพียงพอ ดังนั้น เพื่อเพิ่มความมั่นคงให้ระบบไฟฟ้าของภาคใต้ สนองความต้องการไฟฟ้าที่เพิ่มสูงขึ้นในอนาคต แผนพัฒนากำลังผลิตไฟฟ้าของประเทศไทย พ.ศ. 2558-2579 (PDP 2015) จึงได้บรรจุโครงการโรงไฟฟ้าถ่านหินกระบี่ กำลังผลิตไฟฟ้า 800 เมกะวัตต์ มีกำหนดการจ่ายไฟฟ้าเชิงพาณิชย์ในปี 2562 และโครงการโรงไฟฟ้าถ่านหินเทพา กำลังผลิตไฟฟ้า 2,000 เมกะวัตต์ มีกำหนดการจ่ายไฟฟ้าเชิงพาณิชย์ ตั้งแต่ปี 2564 แต่เนื่องจากมีประชาชนบางส่วนยังไม่เห็นด้วย ทำให้ กฟผ. ไม่สามารถก่อสร้างโรงไฟฟ้าในพื้นที่ภาคใต้ได้ตามแผน จึงได้มีการจัดตั้งคณะกรรมการไตรภาคีฯ เพื่อศึกษาและเสนอแนะแนวทางการดำเนินโครงการให้สอดคล้องกับความต้องการของคนในพื้นที่ โดยมีข้อเสนอแนะให้มีตัวแทนภาคประชาชนเข้าร่วมเป็นกรรมการติดตามตรวจสอบการทำงานของโรงไฟฟ้า ขยายเขตกองทุนพัฒนาพื้นที่โดยรอบโรงไฟฟ้าเกินกว่ารัศมี 5 กิโลเมตรรอบโรงไฟฟ้า ให้ครอบคลุมพื้นที่ที่อาจจะได้รับผลกระทบจากการขนส่งถ่านหิน และให้ กฟผ. ส่งเสริมการผลิตไฟฟ้าจากพลังงานทดแทนในพื้นที่ รวมทั้งบริหารจัดการพื้นที่โครงการตามที่กฎหมายกำหนดอย่างเคร่งครัด นอกจากนี้ นายกรัฐมนตรียังได้มี
ข้อสั่งการ ให้ กฟผ. ไปดำเนินการให้เกิดกระบวนการมีส่วนร่วมของประชาชนในพื้นที่ สร้างความเข้าใจและการยอมรับก่อนเริ่มดำเนินโครงการ ซึ่ง กฟผ. ได้ดำเนินการตามข้อเสนอแนะของคณะกรรมการไตรภาคีฯ และข้อสั่งการดังกล่าวแล้ว ดังนั้น ที่ประชุม กพช. จึงเห็นชอบให้ดำเนินโครงการโรงไฟฟ้าถ่านหินกระบี่ ตามแผน PDP 2015 เพื่อเพิ่มความมั่นคงให้ระบบไฟฟ้าภาคใต้

พร้อมกันนี้ ที่ประชุม กพช. ยังได้เห็นชอบโครงการโรงไฟฟ้าประชารัฐ สำหรับพื้นที่ 3 จังหวัดชายแดนภาคใต้ จากการผลิตไฟฟ้าชีวมวล และก๊าซชีวภาพ (พืชพลังงาน) โดยรับซื้อไฟฟ้าจากการผลิตไฟฟ้าชีวมวล ไม่เกิน 12 เมกะวัตต์ และจากการผลิตไฟฟ้าจากก๊าซชีวภาพ (พืชพลังงาน) ไม่เกิน 30 เมกะวัตต์ ทั้งนี้ มอบหมายให้กระทรวงพลังงาน คณะกรรมการกำกับกิจการพลังงาน (กกพ.) กำหนดอัตราราคารับซื้อไฟฟ้า เสนอต่อ กบง. พิจารณา โดยคำนึงถึงความเหมาะสมและเป็นธรรม พร้อมให้ กฟผ. บริหารต้นทุนการผลิตไฟฟ้า เพื่อให้สามารถรับซื้อไฟฟ้าจากโครงการโรงไฟฟ้าประชารัฐฯ โดยให้มีผลกระทบต่อผู้ใช้ไฟฟ้าน้อยที่สุด สำหรับการดำเนินโครงการโรงไฟฟ้าประชารัฐฯ ดังกล่าว สอดคล้องกับนโยบายรัฐบาลเพื่อแก้ไขปัญหาพื้นที่ชายแดนภาคใต้ โดยเพิ่มการสร้างงาน สร้างรายได้ ส่งเสริมระบบป้องกันตนเองของประชาชนในพื้นที่ ตลอดจนส่งเสริมการผลิตไฟฟ้าในรูปแบบกระจายศูนย์ ซึ่งจะเป็นการสร้างความมั่นคงในการผลิตไฟฟ้าจากเชื้อเพลิงในชุมชนอย่างยั่งยืน

รัฐมนตรีว่าการกระทรวงพลังงาน เป็นประธานในพิธีมอบฉลากประหยัดพลังงานประสิทธิภาพสูง

วันนี้ (16 ก.พ. 60 ) พลเอก อนันตพร กาญจนรัตน์ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงพลังงาน เป็นประธานในพิธีมอบฉลากประหยัดพลังงานประสิทธิภาพสูง ณ โรงแรมมิราเคิล แกรนด์ คอนเวนชั่น โดยในปีนี้มีผู้ประกอบการได้รับฉลากฯ จากกรมพัฒนาพลังงานทดแทนและอนุรักษ์พลังงาน (พพ.) รวม 77 ราย จาก 11 ผลิตภัณฑ์ คาดช่วยชาติประหยัดพลังงาน 167.8ktoe หรือคิดเป็นเงินกว่า 5,100 ล้านบาท

พลเอกอนันตพร กล่าวว่า “การที่ พพ.ได้ติดฉลากประหยัดพลังงานประสิทธิภาพสูง ในผลิตภัณท์ต่างๆนี้ นับว่าเป็นมาตรการที่จะเป็นประโยชน์ต่อผู้บริโภค ในการเลือกซื้ออุปกรณ์ที่ประหยัดพลังงาน ซึ่งสามารถดูค่าตัวเลขได้ในฉลาก เพื่อพิจารณาเปรียบเที่ยบค่าประสิทธิภาพพลังงาน และเลือกใช้ผลิตภัณฑ์ได้อย่างถูกต้อง ทำให้ประชาชนมีความมั่นใจ ผู้ประกอบการก็ได้รับการยืนยันว่าอุปกรณ์ที่ผลิตมานี้ประหยัดพลังงานได้จริง”

นายประพนธ์ วงษ์ท่าเรือ อธิบดีกรมพัฒนาพลังงานทดแทนและอนุรักษ์พลังงาน ได้ให้รายละเอียดเพิ่มเติมว่า “ในปี 2559 พพ.ได้ออกฉลากรวมทั้งสิ้น 6.7 ล้านใบ ให้กับผลิตภัณฑ์จำนวน 149 ยี่ห้อ 1,802 รุ่น ซึ่งในครั้งนี้มีผู้ประกอบการที่ได้รับฉลากรวม 77 ราย ส่งผลให้สามารถลดการใช้พลังงานไฟฟ้าของประเทศลงได้ 1,430 ล้านหน่วยต่อปี ก๊าซปิโตรเลียมเหลว 32.5 ล้านกิโลกรัมต่อปี และน้ำมันเชื้อเพลิง 6.5 ล้านลิตรต่อปี คิดเป็นพลังงาน 164.8 พันตันเทียบเท่าน้ำมันดิบ หรือคิดเป็นเงิน 5,100 ล้านบาทต่อปี และยังสามารถลดการปล่อยก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ 0.8 ล้านตันต่อปี”

“ที่ผ่านมา พพ. ได้ริเริ่มมาตรการติดฉลากประหยัดพลังงานประสิทธิภาพสูงครั้งแรกในปี พ.ศ.2550 ได้มอบฉลากฯ รวมกว่า 17 ล้านใบ สามารถลดการใช้พลังงานกว่า 423 พันล้านตัน เทียบเท่าน้ำมันดิบ โดยในปีแรกนั้นได้นำร่องการติดฉลากบนเตาหุงต้มในครัวเรือนใช้กับก๊าซปิโตรเลียมเหลว เป็นผลิตภัณฑ์แรก และดำเนินการต่อเนื่องโดยเพิ่มผลิตภัณฑ์ใหม่ ๆ มาโดยลำดับจนถึงปัจจุบันได้ดำเนินงานติดฉลากไปแล้วทั้งหมด 11 ผลิตภัณฑ์ ได้แก่ เตาหุงต้มในครัวเรือนใช้กับก๊าซปิโตรเลียมเหลว อุปกรณ์ปรับความเร็วรอบมอเตอร์ กระจก ฉนวนใยแก้ว มอเตอร์เหนี่ยวนำสามเฟส เครื่องยนต์ดีเซลขนาดเล็กระบายความร้อนด้วยน้ำ เครื่องยนต์แก๊ซโซลีนขนาดเล็กระบายความร้อนด้วยอากาศ เตาก๊าซความดังสูง สีทาผนังอาคาร ปั๊มความร้อน และเครื่องอัดอากาศขนาดเล็กแบบลูกสูบ” อธิบดี พพ. กล่าว


รมว.พน. ร่วมงานผนึกพลังประชารัฐ เดินหน้า “เศรษฐกิจชีวภาพ” ขับเคลื่อนการลงทุนและนวัตกรรม สร้างความเข้มแข็งเศรษฐกิจชาติ

ภาครัฐ เอกชน และสถาบันการศึกษาและการวิจัย ประกาศเจตนารมณ์พร้อมสร้าง “เศรษฐกิจชีวภาพ (Bioeconomy)” เศรษฐกิจคลื่นลูกใหม่ตามนโยบายประชารัฐ สู่การพัฒนา คลัสเตอร์อุตสาหกรรม New S-Curve เพื่อเป็นกลไกสำคัญในการขับเคลื่อนเศรษฐกิจและอุตสาหกรรม ตอบโจทย์ยุทธศาสตร์ประเทศไทย 4.0 โดยใช้พืชเศรษฐกิจที่ไทยมีความพร้อม     อยู่แล้ว อาทิ มันสำปะหลังและอ้อยเป็นพืชนำร่อง พร้อมบริหารจัดการในรูปแบบเกษตรสมัยใหม่ (Modern Farming) เพื่อให้เกษตรกร สามารถปลูกพืชเกษตรที่มีคุณภาพและผลผลิตสูงด้วยต้นทุนต่ำลง อีกทั้งยังสามารถเปลี่ยนวัตถุดิบทางการเกษตรให้เป็นผลิตภัณฑ์ชีวภาพมูลค่าสูง (Biorefinery) และสร้างเมืองใหม่บนเศรษฐกิจชีวภาพและนวัตกรรมครบวงจร (Biopolis) ที่มีระบบคมนาคมทันสมัย ระบบสาธารณูปโภคและสาธารณูปการครบวงจร และสถาบันวิจัยขั้นสูง พร้อมประกาศแผนการลงทุนของกลุ่มอุตสาหกรรมชีวภาพในระยะเวลา 10 ปี มูลค่าประมาณ      4 แสนล้านบาท ทั้งนี้ในเฟสที่ 1 ระหว่างปี 2560-2561 มีเม็ดเงินลงทุนจำนวน 51,000 ล้านบาท สามารถเริ่มต้นได้ทันทีที่จังหวัดระยอง  พร้อมขยายสู่เขตอีสานตอนกลาง ในพื้นที่จังหวัดขอนแก่นและจังหวัดใกล้เคียง

วันจันทร์ที่ 23 มกราคม 2560 ณ โรงแรมเซนทารา แกรนด์ เซ็นทรัล ลาดพร้าว คณะทำงานด้านการพัฒนาคลัสเตอร์ ภาคอุตสาหกรรมแห่งอนาคต (New S-Curve) ซึ่งมี นายอุตตม สาวนายน รัฐมนตรีว่าการกระทรวงอุตสาหกรรม หัวหน้าทีมภาครัฐ และ นายประเสริฐ บุญสัมพันธ์ ประธานกรรมการ บริษัท พีทีที โกลบอล เคมิคอล จำกัด (มหาชน) หัวหน้าทีมภาคเอกชน ได้จัดให้มีพิธี    ลงนามบันทึกความเข้าใจ ระหว่างหน่วยงานภาครัฐ ภาคเอกชน และสถาบันการศึกษาและวิจัย รวมทั้งสิ้น 23 หน่วยงาน เพื่อเป็นจุดเริ่มต้นในการขับเคลื่อนการลงทุนด้านเศรษฐกิจชีวภาพของประเทศไทย โดยมี นายสมคิด จาตุศรีพิทักษ์ รองนายกรัฐมนตรี ในฐานะหัวหน้าทีมคณะกรรมการสานพลังประชารัฐ เป็นประธานในพิธี  โดยมี พลเอก อนันตพร กาญจนรัตน์ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงพลังงาน      นางอรรชกา สีบุญเรือง รัฐมนตรีว่าการกระทรวงวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี และ นายอิสระ                   ว่องกุศลกิจ หัวหน้าทีมภาคเอกชนสานพลังประชารัฐ ให้เกียรติเข้าร่วมในการลงนามครั้งนี้ด้วย

Bioeconomy เป็นการนำ 2 ตัวแปรสำคัญ ได้แก่ เกษตรกรรมสมัยใหม่ และ Biorefinery  มาบริหารจัดการ ด้วย Technology และ Research and Development เพื่อให้เกิดคุณค่าและสร้างมูลค่าเพิ่ม ซึ่งจะเป็นการเปลี่ยนจากเศรษฐกิจฐานเกษตรกรรมไปเป็นเศรษฐกิจฐานนวัตกรรม โดย Bioeconomy จะใช้สินค้าเกษตรจากมันสำปะหลังและอ้อย ซึ่งเป็นสินค้าเกษตรไทยที่ส่งออกเป็นอันดับ 1 และ 2 ของโลก เป็นตัวนำร่อง ซึ่งจะก่อให้เกิดอุตสาหกรรมในลักษณะห่วงโซ่ที่เพิ่มมูลค่า (Value Chain)

ได้หลากหลาย ไม่ว่าจะเป็นการพัฒนาพลังงานชีวภาพ เช่น เอทานอล พลังงานไฟฟ้าชีวมวล เพื่อเป็นพลังงานทางเลือกที่มั่นคงและแข่งขันได้ อุตสาหกรรมชีวเคมี ได้แก่ พลาสติกชีวภาพ อุตสาหกรรมอาหารแห่งอนาคต ที่จะเข้ามาเป็น Ingredient ผสมในอาหารแทนการใช้สารเคมี หรือแม้แต่ผสมในอาหารสัตว์ เพื่อให้สัตว์ได้รับโปรตีนจากธรรมชาติที่ดีมีความสมบูรณ์ ตลอดจนอุตสาหกรรมทางชีวเภสัชภัณฑ์ ซึ่งเป็นอุตสาหกรรมใหม่และ มีอนาคต และต้องมีการลงทุนทางด้าน Research and Development สูง

ทั้งนี้ ภายใน 10 ปีจะมีมูลค่าการลงทุนตลอด Value Chain กว่า 4 แสนล้านบาท และในปีที่ 10 จะสามารถเพิ่มมูลค่าให้กับอ้อยได้มากกว่า 3 แสนล้านบาทต่อปี มันสำปะหลังกว่า 1 แสนล้านบาทต่อปี โดยเกษตรกรจะมีรายได้เพิ่มเป็น 75,000 บาท ต่อคนต่อปี มีการจ้างงานเพิ่มขึ้นทั้งในโรงงานผลิตและ    การวิจัยที่เกี่ยวข้องไม่ต่ำกว่า 20,000 ตำแหน่ง และที่สำคัญ ยังเป็นการลดคาร์บอนไดออกไซด์ที่เกิดจากการใช้ฟอสซิลได้มากถึง 70 ล้านตัน เป็นการสนับสนุนนโยบายของรัฐบาลที่มีต่อประชาคมโลกที่นายกรัฐมนตรีสนับสนุนให้ความร่วมมือเกี่ยวกับเรื่องนี้ไว้ ณ ประเทศฝรั่งเศส

 

นายอุตตม สาวนายน รัฐมนตรีว่าการกระทรวงอุตสาหกรรม  หัวหน้าทีมภาครัฐคณะทำงานด้านการพัฒนาคลัสเตอร์ภาคอุตสาหกรรมแห่งอนาคต กล่าวว่า  ในระยะ 10 ปีที่ผ่านมา Bioeconomy เป็นกระแสโลกที่ถูกกล่าวถึงมากที่สุด เนื่องจากภาวะโลกร้อน ความต้องการอาหารและพลังงานสะอาดที่เพิ่มขึ้นเพื่อรองรับจำนวนประชากรโลกที่เพิ่มขึ้นเรื่อยๆ ในขณะที่พื้นที่เพาะปลูกลดลง หลายประเทศจึงเร่งจัดทำ Bioeconomy Blueprint ของประเทศอย่างจริงจังและนำเทคโนโลยีในด้านเกษตรกรรม เทคโนโลยีชีวภาพและสหเวชศาสตร์ (Health science) มาใช้สร้างผลิตภัณฑ์ชีวภาพที่มีมูลค่าสูงและหลากหลายเพื่อผลักดันเศรษฐกิจชีวภาพให้กับประเทศ นอกจากนี้  World Economic Forum ยังได้ประมาณการศักยภาพของห่วงโซ่คุณค่าของเศรษฐกิจชีวภาพของโลกว่า จะมีมูลค่าสูงกว่า 2 แสนล้านยูโร หรือ 7.5 ล้านล้านบาท ภายในปี 2563 ตัวอย่างผลิตภัณฑ์ชีวภาพ ที่มีมูลค่าสูง ได้แก่ พลาสติกย่อยสลายได้ ที่ผลิตจากวัตถุดิบชีวภาพ อาหารแห่งอนาคตที่ผลิตพิเศษตรงตามความต้องการเฉพาะบุคคล ยารักษาโรคที่ผลิตขึ้นสอดคล้องกับ DNA ของคนไข้แต่ละราย (Personalized medicines) และพลังงานไฮโดรเจน (พลังงานแห่งอนาคต) ที่ผลิตจากกลูโคส เป็นต้น

สำหรับประเทศไทยนั้น มีความได้เปรียบในการแข่งขันจากความหลากหลายทางชีวภาพ (Biodiversity) เรามีกลุ่มเกษตรกรที่มีความสามารถสร้างผลิตผลการเกษตรที่มีคุณภาพ มีความเข้มแข็ง ในอุตสาหกรรมอาหารและพลังงานชีวภาพที่มีความพร้อมเพื่อพัฒนาไปสู่กลุ่มอุตสาหกรรมใหม่ที่เรียกว่า Bioeconomy ซึ่งกลุ่มประชารัฐกำลังจัดทำ Roadmap สำหรับ Bioeconomy ทั้งนี้ การขับเคลื่อน Bioeconomy จะเริ่มต้นในพื้นที่ระเบียงเศรษฐกิจภาคตะวันออก (EEC: Eastern Economic Corridor)   ซึ่งเป็นกลไกสำคัญของรัฐบาลที่จะขับเคลื่อนการลงทุนขนาดใหญ่ ที่เชื่อมโยงการพัฒนาอุตสาหกรรมเป้าหมาย ระบบการขนส่ง การพัฒนาการพื้นที่ ในบูรณาการ Bioeconomy ถูกกำหนดให้เป็นหนึ่งในอุตสาหกรรมเป้าหมายใน EEC ที่มีฐานอยู่เดิม ได้แก่ อุตสาหกรรมปิโตรเคมี ยานยนต์และอิเล็กทรอนิกส์ และยังรวมถึงอุตสาหกรรมใหม่ ได้แก่ อุตสาหกรรมการแพทย์ครบวงจร หุ่นยนต์ และอากาศยาน  การเริ่มต้นของ Bioeconomy สามารถเริ่มต้นได้ทันทีที่จังหวัดระยอง และจาก Roadmap ที่วางไว้จะสามารถขยายไปยังภาคอีสาน อีกด้วย

การลงนามความร่วมมือนี้นับเป็นจุดเริ่มต้นของอีกหนึ่งพลังใหม่ ในการขับเคลื่อนสู่การมีส่วนร่วมและการสร้างผลประโยชน์ให้เกิดแก่ทุกภาคส่วน (Inclusive Growth)  การสร้างความแข็งแกร่งจากภายในประเทศและจากความสามารถในการแข่งขันในระยะยาว (Productive Growth) รวมความเป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม (Green Growth) ที่จะเกื้อหนุนประเทศไทยให้เปลี่ยนผ่านไปสู่ความ “มั่นคง มั่งคั่ง ยั่งยืน”

 

พลเอกอนันตพร กาญจนรัตน์ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงพลังงาน กล่าวว่า โครงการ Bioeconomy ประกอบด้วยภาคเกษตรกรรม และ 5 อุตสาหกรรม ได้แก่ (1) พลังงานชีวภาพ  (2) ชีวเคมีภัณฑ์ (3) อาหารแห่งอนาคต (4) อาหารสัตว์แห่งอนาคต และ (5) ชีวเภสัชภัณฑ์  โดยกระทรวงพลังงานได้เข้าไปเกี่ยวข้องกับอุตสาหกรรมพลังงานชีวภาพที่จะสามารถพัฒนาต่อยอดได้ก่อน เนื่องจากได้มีการดำเนินการพัฒนามาได้ในระดับหนึ่งแล้ว ภายใต้แผนพัฒนาพลังงานทดแทน พ.ศ. 2558-2579 (Alternative Energy Development Plan 2015) ที่มีเป้าหมายที่จะลดการพึ่งพาการนำเข้าพลังงาน การกำหนดให้มีการใช้พลังงานทดแทนในอัตราร้อยละ 30 ของการใช้พลังงานของประเทศ และการลดการปล่อยก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ลง 70 ล้านตัน

ทั้งนี้ พลังงานชีวภาพจากโครงการประชารัฐ นับเป็นการพัฒนาต่อยอดจากการใช้พลังงานทดแทนที่มีการใช้อยู่ในปัจจุบัน ทั้งนี้จะเริ่มต้นจากพืชเกษตรเป้าหมายที่ทางคณะกรรมการประชารัฐ D5 เห็นว่ามีความเหมาะสมในการนำไปพัฒนาเพื่อสร้างมูลค่าได้ก่อน ได้แก่ มันสำปะหลังและอ้อย ซึ่งเป็นสินค้าเกษตรต้นน้ำที่ส่งออกเป็นอันดับ 1 และ 2 ของโลก ซึ่งพืชเกษตรทั้งสองชนิดนี้ทางกระทรวงพลังงานได้นำมาใช้เป็นวัตถุดิบเชื้อเพลิงชีวภาพอยู่แล้วคือเอทานอลที่นำไปผสมกับน้ำมันเบนซินเป็นน้ำมัน    แก๊สโซฮอล E10 E20 และ E85 แต่ภายใต้โครงการนี้ กระทรวงพลังงานเห็นว่าพืชเกษตรทั้งสองชนิดนี้  ยังสามารถพัฒนาต่อยอดขึ้นไปได้อีก อาทิ การนำเอทานอลไปผสมกับน้ำมันดีเซลหรือที่เรียกว่าดีโซฮอล โดยเป็นการผสมน้ำมันไบโอดีเซล B7 ร้อยละ 90 กับเอทานอลในอัตราส่วนร้อยละ 10 การพัฒนาก๊าซมีเทนชีวภาพอัด (Compressed Bio-Methane Gas หรือ CBG) ทั้งจากน้ำเสียและวัตถุดิบที่มาจากอุตสาหกรรมอ้อยและมันสำปะหลังเพื่อนำมาใช้แทนก๊าซ NGV ในภาคขนส่ง รวมถึงการเข้าไปปรับปรุงประสิทธิภาพโรงไฟฟ้าในโรงงานน้ำตาลเพี่อให้สามารถผลิตไฟฟ้าได้มากขึ้น

 

นางอรรชกา สีบุญเรือง รัฐมนตรีว่าการกระทรวงวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี กล่าวว่า หลักการของเศรษฐกิจชีวภาพมุ่งเน้นการสร้างสมดุลระหว่างการเติบโตทางเศรษฐกิจกับความยั่งยืน เศรษฐกิจชีวภาพจึงเป็นรูปแบบการพัฒนาที่สอดคล้องตามกระบวนทัศน์ของเป้าหมายการพัฒนาที่ยั่งยืน หรือ SDGs “เศรษฐกิจชีวภาพ” จึงเป็นทิศทางการพัฒนาเศรษฐกิจแห่งอนาคตของทั่วโลกรวมถึงประเทศไทย ที่นำไปสู่การเพิ่มมูลค่าให้กับวัตถุดิบชีวภาพและทรัพยากรชีวภาพที่มีอยู่มากของแต่ละประเทศ

กระทรวงวิทยาศาสตร์ฯ พร้อมให้การสนับสนุนในทุกๆด้าน ทั้งในส่วนของการร่วมวิจัยพัฒนา และการให้เข้าถึงโครงสร้างพื้นฐานที่สำคัญ เช่น อุทยานวิทยาศาสตร์ประเทศไทย มีเมืองอุตสาหกรรมอาหาร (Food Innopolis)  มีศูนย์นวัตกรรมอาหารและอาหารสัตว์ (Food Feed Innovation Center) ที่เป็น   One-Stop Service ส่งเสริมให้ SMEs ใช้วิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีเพื่อสร้างความสามารถในการแข่งขัน  ศูนย์ชีววัสดุแห่งประเทศไทยที่ให้บริการจุลินทรีย์ที่ได้มาตรฐานสากล มีจุลินทรีย์ที่พร้อมให้บริการมากกว่า 70,000 สายพันธุ์ นอกจากนี้ กระทรวงวิทยาศาสตร์ฯ ได้พัฒนาระบบการให้บริการเทคนิคด้านวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแบบเบ็ดเสร็จ (MOST One Stop Service) ที่เชื่อมโยงและบูรณาการเครื่องมือและปัจจัยเอื้อต่างๆ ที่มีอยู่ภายใน

 

นายประเสริฐ บุญสัมพันธ์ ประธานกรรมการ บริษัท พีทีที โกลบอล เคมิคอล จำกัด (มหาชน) หรือ PTTGC หัวหน้าทีมภาคเอกชน คณะทำงานด้านการพัฒนาคลัสเตอร์ภาคอุตสาหกรรมแห่งอนาคต  กล่าวถึงความคืบหน้าการพัฒนาคลัสเตอร์อุตสาหกรรมแห่งอนาคต (New S-Curve) ว่า คณะทำงานกลุ่ม Bioeconomy ที่มีนายอนนต์ สิริแสงทักษิณ เป็นหัวหน้าทีมทำงานของภาคเอกชนที่เกิดจากการรวมตัวกันของภาคเอกชนจากหลายภาคอุตสาหกรรม ต่างเล็งเห็นถึงความจำเป็น ความเร่งด่วนในการร่วมกันแก้ไขปัญหา และมุ่งมั่นที่จะนำประเทศไทยก้าวข้ามผ่านความท้าทายเหล่านี้ไปให้ได้

แผนการดำเนินงานเพื่อพัฒนา Bioeconomy ในระยะเวลา 10 ปี มีกรอบการลงทุนคิดเป็นมูลค่าประมาณ 4 แสนล้านบาท แบ่งออกเป็น 3 ระยะ คือ ระยะที่ 1 ปี 2560-2561 เงินลงทุนประมาณ 51,000 ล้านบาท เพื่อต่อยอดการพัฒนาพลังงานชีวภาพ เคมีชีวภาพ อาหาร และชีวเภสัชภัณฑ์ ผลักดันการสร้างอุปสงค์และตลาด ระยะที่ 2 ปี 2562-2564 เงินลงทุนประมาณ 182,000 ล้านบาท เพื่อสร้าง Biorefinery Complexes ที่ครบวงจร และเมืองใหม่บนเศรษฐกิจชีวภาพและนวัตกรรมอย่างครบวงจร Biopolis และระยะที่ 3 ปี 2565-2569 เม็ดเงินลงทุนประมาณ 132,000 ล้านบาท เพื่อยกระดับสู่ Regional Hub เป็นต้นแบบอุตสาหกรรมแห่งอนาคต

การลงนามบันทึกข้อตกลงความร่วมมือระหว่างภาครัฐ ภาคเอกชน และสถาบันการศึกษาและ วิจัย ในครั้งนี้ เป็นความร่วมมือของทั้ง 3 ภาคส่วน ทำหน้าที่ร่วมกันสร้าง เศรษฐกิจชีวภาพ ซึ่งเป็น เศรษฐกิจคลื่นลูกใหม่ ตามนโยบายประชารัฐ ซึ่งทั้ง 3 ภาคส่วน จะร่วมมือกันทำให้เกิดความเชื่อมโยง   ทั้งภาครัฐและภาคเอกชนจะเข้าใจความต้องการของกันและกันมากขึ้น ภาคการศึกษาและวิจัย จะมีโจทย์ที่ชัดเจนขึ้น  ในการพัฒนา เทคโนโลยีที่สำคัญและจำเป็นต่อการพัฒนา  Bioeconomy หรือ เศรษฐกิจชีวภาพ  ตั้งแต่ Lab-scale ไปจนถึงโรงงานต้นแบบ ซึ่งจะนำไปสู่ความสำเร็จที่ยั่งยืน อย่างแท้จริง และส่งผลให้ประเทศไทยก้าวขึ้นเป็น    Bio Hub ของโลก ซึ่งหมายความว่า เมื่อนั้น ประเทศไทยจะเป็นผู้นำทั้งการเป็นผู้ผลิตอาหารแห่งอนาคตของโลก เป็นศูนย์กลางนวัตกรรมด้าน Bioeconomy ของโลก รวมทั้งพัฒนาอุตสาหกรรมชีวการแพทย์ และเป็นส่วนหนึ่งของ Global Supply Chain ได้ในที่สุด

กระทรวงพลังงานจัดพิธีทำบุญตักบาตรเนื่องในวันพระราชพิธีทรงบำเพ็ญพระราชกุศลสตมวาร (100 วัน)

วันนี้ (20 ม.ค. 60) พลเอก อนันตพร กาญจนรัตน์ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงพลังงาน พร้อมด้วย ดร.อารีพงศ์ ภู่ชอุ่ม ปลัดกระทรวงพลังงาน นำผู้บริหารระดับสูง ข้าราชการ และเจ้าหน้าที่ในสังกัดกระทรวงพลังงาน ร่วมทำบุญตักบาตรพระสงฆ์ 89 รูป เนื่องในวันพระราชพิธีทรงบำเพ็ญพระราชกุศลสตมวาร (100 วัน) เพื่อถวายเป็นพระราชกุศลแด่พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช ณ บริเวณลานพระพรหม ศูนย์เอนเนอร์ยี่คอมเพล็กซ์

รัฐมนตรีว่าการกระทรวงพลังงาน ร่วมพิธีบำเพ็ญกุศลสตมวาร (100 วัน) เพื่อถวายเป็นพระราชกุศลแด่พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช

วันนี้ (20 ม.ค.60) พลเอก อนันตพร กาญจนรัตน์ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงพลังงาน ร่วมพิธีบำเพ็ญกุศลสตมวาร (100 วัน) เพื่อถวายเป็นพระราชกุศลแด่พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช พร้อมคณะรัฐมนตรี โดยมี พลเอก ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรี เป็นประธาน ณ ทำเนียบรัฐบาล

 

กระทรวงพลังงานเพิ่มทางเลือกใหม่แก่ผู้บริโภค กับแบบบ้านที่ได้รับรางวัล“บ้านจัดสรรอนุรักษ์พลังงานดีเด่น” พร้อมเปิดตัว “บ้านต้นแบบดีดี (DEDE) รักษ์พลังงาน” หวังกระตุ้นให้ผู้บริโภคหันมาใส่ใจการเลือกบ้านอยู่อาศัยแบบประหยัดพลังงานมากขึ้น

 

 

วันที่ 19 มกราคม 2559 กรมพัฒนาพลังงานทดแทนและอนุรักษ์พลังงาน (พพ.) ได้จัดให้มีการมอบโล่รางวัลเกียตรติยศให้กับผู้ได้รับรางวัลจำนวน 22 รางวัลจากการประกวดบ้านจัดสรรอนุรักษ์พลังงานดีเด่น ปี 2559 โดยมี รัฐมนตรีว่าการกระทรวงพลังงาน พลเอกอนันตพร กาญจนรัตน์ เป็นประธาน ณ ห้องวายุภักษ์ 6 อาคารศูนย์ประชุม โรงแรมเซ็นทรา ศูนย์ราชการและคอนเวนชันเซ็นเตอร์ แจ้งวัฒนะ ซึ่งวัตถุประสงค์ของการจัดประกวด บ้านจัดสรรอนุรักษ์พลังงานดีเด่นนั้นก็เพื่อเป็นการส่งเสริมและสนับสนุนให้ผู้ประกอบการบ้านจัดสรรและธุรกิจรับสร้างบ้าน ให้ความสำคัญกับการออกแบบบ้านประหยัดพลังงาน และเพื่อให้ความรู้แก่ประชาชนในการเลือกซื้อบ้าน ตลอดจนการเลือกใช้วัสดุและอุปกรณ์ที่ประหยัดพลังงานในบ้านอยู่อาศัยโดยในงานมีผู้ประกอบการที่เป็นเจ้าของโครงการบ้านจัดสรรธุรกิจรับสร้างบ้าน และสมาคม องค์กรที่เกี่ยวข้องเข้าร่วมงานเป็นจำนวนมาก

พลเอกอนันตพร กาญจนรัตน์ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงพลังงานกล่าวว่า เรื่องพลังงานถือเป็นภาระหน้าที่ของกระทรวงพลังงานในการจัดหาและส่งเสริมการใช้พลังงานอย่างมีประสิทธิภาพเพื่อพัฒนาประเทศและส่งเสริมคุณภาพชีวิตที่ดีของประชาชนที่ผ่านมา พพ. ให้ความสำคัญเกี่ยวกับแนวคิดเรื่องบ้านประหยัดพลังงาน และการส่งเสริมความรู้ความเข้าใจสู่ประชาชนอย่างต่อเนื่อง ทั้งนี้ผู้ประกอบการด้านที่อยู่อาศัย  ทั้งที่เป็นผู้ประกอบการบ้านจัดสรร  และบริษัทรับสร้างบ้าน  เป็นผู้มีส่วนสำคัญในการสนับสนุนกิจกรรมและภารกิจในเรื่องการอนุรักษ์พลังงานในบ้านอยู่อาศัย ในการมุ่งมั่นพัฒนาบ้านประหยัดพลังงานสู่ประชาชนผู้บริโภค และหวังว่าจะได้ร่วมกันส่งเสริมและให้ความรู้แก่ประชาชน
ว่าการสร้างบ้านประหยัดพลังงานไม่ได้ยากหรือมีราคาแพงอย่างที่หลายคนเข้าใจ การออกแบบที่ดีการเลือกใช้วัสดุอุปกรณ์ที่เหมาะสมตั้งแต่
การก่อสร้างนั้นจะช่วยให้ผู้อยู่อาศัยมีความอยู่สบายและลดค่าใช้จ่ายด้านพลังงานไปพร้อมกันด้วย

นายประพนธ์  วงษ์ท่าเรือ  อธิบดีกรมพัฒนาพลังงานและอนุรักษ์พลังงาน  ได้กล่าวใจความสำคัญไว้ดังนี้  “บ้านที่ได้รับรางวัลสามารถประหยัดพลังงานได้เฉลี่ยร้อยละ 30 เมื่อเปรียบเทียบกับบ้านทั่วไปที่ไม่ได้คำนึงถึงการอนุรักษ์พลังงาน  บ้านอนุรักษ์พลังงานอาจมีต้นทุนสูงขึ้นเฉลี่ยร้อยละ 10 ถึง 15 แต่สามารถคืนทุนได้ในระยะเวลาเพียง 4 ถึง 5 ปี  จากค่าไฟฟ้าที่ลดลง”

นอกจากการมอบรางวัลบ้านจัดสรรอนุรักษ์พลังงานดีเด่นแล้ว ทาง พพ. ได้มีการเปิดตัวแบบบ้านประหยัดพลังงาน จำนวน 12 แบบ กับการแจกแบบบ้านดีดี (DEDE) รักษ์พลังงาน ที่มีการออกแบบสวยงาม ทันสมัย และประหยัดพลังงาน โดยทีมอาจารย์ผู้เชี่ยวชาญ
จากคณะสถาปัตยกรรมศาสตร์ สถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้าเจ้าคุณทหารลาดกระบัง

ในส่วนของบ้านต้นแบบประหยัดพลังงานภายใต้ชื่อ“บ้านดีดี(DEDE)รักษ์พลังงาน” นายประพนธ์วงษ์ท่าเรืออธิบดีกรมพัฒนาพลังงานทดแทนและอนุรักษ์พลังงาน (DEDE)ได้กล่าวว่า ประเทศไทยในปัจจุบันมีจำนวนครัวเรือนประมาณ 20 ล้านครัวเรือน มีการใช้พลังงาน
คิดเป็นสัดส่วนร้อยละ 15 ของการใช้พลังงานทั้งหมดของประเทศ  กระทรวงพลังงานมีเป้าหมายลดการใช้พลังงานภาคบ้านพักอาศัยในปี พ.ศ. 2579 ลดลง 13,633 GWh ตามแผนอนุรักษ์พลังงาน พ.ศ. 2558–2579  ดังนั้นเพื่อให้บรรลุแผนนโยบายการอนุรักษ์พลังงาน 20 ปี การกำหนดเกณฑ์มาตรฐานการใช้พลังงานสำหรับบ้านอยู่อาศัยและการสร้างต้นแบบบ้านประหยัดพลังงานนับเป็นเครื่องมือที่สำคัญในการส่งเสริมเรื่องบ้านประหยัดพลังงานต่อไปในอนาคต

                   ผู้ช่วยศาสตราจารย์ รุ่งโรจน์ วงศ์มหาศิริ สาขาวิชาสถาปัตยกรรมและการวางแผน  คณะสถาปัตยกรรมศาสตร์ สถาบันเทคโนโลยี
พระจอมเกล้าเจ้าคุณทหารลาดกระบัง หัวหน้าทีมศึกษาและออกแบบบ้านต้นแบบดีดี(DEDE) รักษ์พลังงาน ได้กล่าวว่า ทางโครงการได้นำผลจากการศึกษาและการสำรวจอาคารที่อยู่อาศัยจำนวน 1,800 หลังทั่วประเทศมากำหนดเกณฑ์มาตรฐานการใช้พลังงานสำหรับบ้านอยู่อาศัย
และออกแบบบ้านต้นแบบดีดี(DEDE) รักษ์พลังงาน โดยคำนึงถึงความยืดหยุ่นและเหมาะสมกับเทคนิคการก่อสร้างโดยช่างก่อสร้างพื้นฐาน และการเลือกใช้วัสดุที่มีความแพร่หลายสามารถจัดหาได้ง่ายในทุกพื้นที่ของประเทศ นอกจากปัจจัยเรื่องความสวยงามแล้ว ยังต้องเหมาะสมกับภูมิอากาศของประเทศไทยไม่ว่าจะถูกสร้างที่ไหนบ้านนั้นต้องอยู่สบายและประหยัดพลังงานในเวลาเดียวกันทั้งในระดับครัวเรือนและช่วยประหยัดพลังงานในระดับประเทศ โดยคาดว่า ด้วยแนวคิดและวิธีการออกแบบจะทำให้บ้านต้นแบบดีดี (DEDE) รักษ์พลังงาน สามารถประหยัดค่าไฟได้ถึง 20-50%  “แบบบ้านดีดี(DEDE)รักษ์พลังงาน ทั้ง 12 แบบ มีที่มาจาก 4 แนวคิด ได้แก่ 1. การลดปริมาณรังสีจากแสงอาทิตย์เข้าสู่ตัวบ้าน
2. การแบ่งโซนพื้นที่ใช้พลังงานและช่วงเวลาการใช้พลังงานที่แตกต่างกันออกจากกัน 3. การเลือกใช้วัสดุก่อสร้างและอุปกรณ์ไฟฟ้าแสงสว่างประสิทธิภาพสูง โดยเฉพาะอย่างยิ่งมีฉลากประหยัดพลังงานรับรอง 4. การสร้างทางเลือกในการติดตั้งแผงพลังงานทดแทนบนหลังคาที่ได้รับการออกแบบให้มีมุมเอียง 20 องศาเป็นมุมที่สามารถติดตั้งแผงโซล่าเซลส์ได้ทุกทิศทางภูมิประเทศ ทำให้โซลาเซลส์สามารถผลิตพลังงาน
ได้มีประสิทธิภาพสูงไม่ว่าจะหันหน้าบ้านไปทิศทางใด”

ภายในงานยังจัดให้มีการแสดง 20 แม่ไม้สำคัญในการเลือกซื้อบ้านประหยัดพลังงานนิทรรศการ 22 ผลงานที่ได้รับรางวัลบ้านจัดสรรอนุรักษ์พลังงานดีเด่นการเสวนาในหัวข้อ “บ้านอนุรักษ์พลังงาน” รวมถึงบ้านต้นแบบดีดี (DEDE) รักษ์พลังงาน12 แบบ ถือเป็นทางเลือกใหม่ให้กับประชาชนที่สามารถเลือกซื้อบ้านจากโครงการบ้านจัดสรร หรือเลือกผู้ประกอบการรับสร้างบ้านที่ได้รับรางวัล หรือดาวน์โหลดแบบบ้านต้นแบบดีดี (DEDE) รักษ์พลังงานได้ที่เว็บไซต์ของกรมพัฒนาพลังงานทดแทนและอนุรักษ์พลังงานกระทรวงพลังงานwww.dede.go.th

 

กระทรวงพลังงาน เตรียมโชว์ “Bioenergy” ศักยภาพพลังงานชีวภาพไทย ในงาน “Astana Expo 2017”

 

กระทรวงพลังงาน เตรียมโชว์ศักยภาพพลังงานชีวภาพของไทย บนเวทีเวิลด์เอ็กซ์โป ในงาน “อัสตานา เอ็กซ์โป 2017”(Astana Expo 2017) ณ กรุงอัสตานา สาธารณรัฐคาซัคสถาน พร้อมเนรมิตอาคารศาลาไทย ภายใต้แนวคิด “Bioenergy for All” ดึงนานาชาติ พัฒนาพลังงานชีวภาพ เพื่อมนุษยชาติ

(18 ม.ค.60: กระทรวงพลังงาน) พลเอกอนันตพร กาญจนรัตน์ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงพลังงาน กล่าวว่า “กระทรวงพลังงานได้รับเกียรติให้เป็นตัวแทนประเทศไทยในการเข้าร่วมงาน International Recognized Exhibition Expo 2017 Astana หรือ Astana Expo 2017 ณ กรุงอัสตานา สาธารณ รัฐคาซัคสถาน ระหว่างวันที่ 10 มิถุนายนถึง 10 กันยายน 2560 เพื่อแสดงศักยภาพด้านพลังงานประเทศไทยให้ทั่วโลกได้รับรู้”

“ประเทศไทยเรามีศักยภาพในด้านพลังงานชีวภาพอย่างมาก เพราะเราเป็นประเทศที่อุดมสมบูรณ์ทางด้านเกษตรกรรม การไปโชว์ศักยภาพในงานระดับโลกครั้งนี้ ทางกระทรวงพลังงานจึงได้นำข้อมูล ความรู้ ความเข้าใจด้านพลังงานชีวภาพของไทย รวมทั้งข้อมูลด้านการเกษตรที่เชื่อมโยงไปสู่การพัฒนาพลังงาน ซึ่งประเทศไทยมีความก้าวหน้าอย่างมากในการพัฒนาพลังงานชีวภาพ (Bioenergy) จากการน้อมนำพระราชดำริของพระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช พระบิดาแห่งการพัฒนาพลังงานไทย มาเป็นแนวทางในการพัฒนาโครงการด้านพลังงาน และปัจจุบันกระทรวงพลังงานก็มีนโยบายในการผลักดันให้เกิดนวัตกรรมด้านพลังงานใหม่ๆ การส่งเสริมการวิจัยและพัฒนาเกี่ยวกับด้านพลังงาน เพื่อต่อยอดธุรกิจเกี่ยวกับพลังงานของประเทศให้เติบโตและก้าวหน้า สอดรับการขับเคลื่อนแนวนโยบาย Energy 4.0”

สำหรับงาน Astana Expo 2017 จัดขึ้นภายใต้หัวข้อหลัก “พลังงานแห่งอนาคต (Future Energy)” มีประเทศเข้าร่วมงานกว่า100 ประเทศ และองค์กรระดับโลกกว่า 10 หน่วยงาน รวมมากกว่า110 พาวิลเลียน บนพื้นที่การจัดงานทั้งหมด 1,740,000 ตร.ม. (1,087.5ไร่) และในส่วนของพื้นที่จัดงานนิทรรศการ 250,000 ตร.ม. (156.25ไร่) ซึ่งประเทศไทยได้รับการจัดสรรพื้นที่จำนวน 934.05 ตารางเมตรถือเป็นการร่วมงานใหญ่ระดับโลกอีกครั้งของประเทศไทย เนื่องจากงานเวิลด์เอ็กซ์โปถือเป็น 1 ใน 3 งานใหญ่ของโลก เช่นเดียวกับการแข่งขันกีฬาโอลิมปิค และฟุตบอลโลก โดยประเทศเจ้าภาพคาดว่า จะมีผู้ร่วมเข้าชมงานมากกว่า 5 ล้านคน

“การเข้าร่วมงาน Astana Expo 2017 ครั้งนี้ ถือเป็นการประชาสัมพันธ์ภาพลักษณ์ประเทศไทยเกี่ยวกับโยบายการส่งเสริมการใช้พลังงานทดแทน การสร้างความมั่นคงด้านพลังงาน และลดการปล่อยก๊าซคาร์บอนไดอ็อกไซด์ของประเทศให้สอดคล้องกับวิถีชีวิตและวัฒนธรรมไทย นอกจากนั้นยังเป็นประโยชน์กับประเทศไทย ทั้งในเรื่องของการวิจัยและพัฒนาด้านพลังงานของไทย โดยเฉพาะเทคโนโลยีพลังงานชีวภาพ การท่องเที่ยว การส่งเสริมเศรษฐกิจของประเทศ และยังกระชับความสัมพันธ์กับหลากหลายประเทศ โดยเฉพาะกับสาธารณรัฐคาซัคสถาน” รัฐมนตรีว่าการกระทรวงพลังงานกล่าว

ด้านนายธรรมยศ ศรีช่วย รองปลัดกระทรวงพลังงาน กล่าวว่า “กระทรวงพลังงานได้สร้างสรรค์อาคารศาลาไทย (Thailand Pavilion) ภายในอาคารที่ประเทศเจ้าภาพจัดไว้ให้บนพื้นที่ 934.05 ตารางเมตร ประกอบด้วยส่วนแสดงนิทรรศการ ชั้น 1 ขนาด 734.05 ตารางเมตร และพื้นที่เชิงพาณิชย์ ชั้น 2 ขนาด 200 เมตรโดยในส่วนของอาคารนิทรรศการไทย ชั้น 1 จัดขึ้นภายใต้แนวคิด“การพัฒนาด้านพลังงานชีวภาพเพื่อมนุษยชาติ (Bioenergy for All)” ที่ต้องการสื่อถึงพลังงานเพื่ออนาคตที่ยั่งยืน เพื่อแสดงศักยภาพของประเทศไทยในด้านการพัฒนาพลังงานทดแทน และความก้าวหน้าในการพัฒนาพลังงานชีวภาพ (Bioenergy) จากการน้อมนำพระราชดำริของพระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพล อดุลยเดชที่ทรงเป็นพระบิดาแห่งพลังงานไทย และเป็นต้นแบบในเรื่องปรัชญา“ความพอเพียง”มาใช้เป็นแนวทางในการใช้ทรัพยากรในประเทศที่มีอยู่อย่างคุ้มค่า โดยมุ่งหวังให้สามารถพึ่งพาตนเองได้อย่างยั่งยืนในอนาคต โดยนำเสนอในรูปแบบ “EDUTAINMENT” หรือ การเรียนรู้ควบคู่ความสนุกประกอบ ด้วย 3 ห้องนิทรรศการหลัก ได้แก่

นิทรรศการห้องที่ 1: นำเสนอเรื่องราวและภาพของประเทศไทยโดยรวมผ่าน Live Exhibition หรือนิทรรศการสร้างประสบการณ์เสมือนจริง ภายใต้เนื้อหา Our Ways, Our Thai หรือ วิถีเรา วิถีไทย เพื่อนำเสนอเรื่องราววิถีของประเทศไทย ภาพรวมของประเทศให้ผู้เยี่ยมชมได้ทำความรู้จักประเทศไทยมากยิ่งขึ้น ความเป็นอยู่ ลักษณะบ้านเมือง สิ่งแวดล้อมของประเทศไทย ทรัพยากรธรรมชาติที่งดงาม รวมไปถึงแสดงศักยภาพด้านการเกษตร และการท่องเที่ยวที่เป็นส่วนสำคัญในการขับเคลื่อนเศรษฐกิจ ของประเทศ ควบคู่กับการพัฒนาด้านพลังงาน เพื่อให้เกิดการใช้ทรัพยากรที่มีอยู่ได้คุ้มค่ามีประสิทธิภาพสูงสุด ซึ่งการพัฒนาด้านพลังงานนี้เป็นอีกหนึ่งหัวใจหลักสำคัญในการดำรงชีวิต และผลักดันวิถีไทย ให้ยั่งยืน

นิทรรศการห้องที่ 2 : นำเสนอในรูปแบบของห้องฉายหนังภาพยนตร์ (Theater) แบบ 3D พร้อมด้วยหุ่นยนต์มาสคอต “พลัง” เป็นตัวเล่าเรื่องภายใต้เนื้อหา Farming the Future Energy หรือ ปลูกพลังงาน ปลูกอนาคต นำเสนอเรื่องรางผ่านการเล่าเรื่องแบบสนุกสนาน เกี่ยวกับพลังงานแห่งอนาคตที่ถูกพัฒนาจากทรัพยากรธรรมชาติอันอุดมสมบูรณ์ในประเทศไทยการน้อมนำแนวคิดของพระบาทสมเด็จ พระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช ในการพัฒนาเป็นโครงการด้านพลังงาน อาทิ มาตรการสนับสนุนการ

พัฒนาพลังงานชีวภาพ การพัฒนาพลังงานในชุมชนโครงการสถานีผลิตพลังงานสีเขียว (Distributed Green Generation) การพัฒนาเมืองอัจฉริยะ (Smart Cities Clean Energy) การพัฒนาโครงข่าย การใช้ก๊าซชีวภาพ (Biogas Network) เป็นต้น

นิทรรศการห้องที่ 3 : นำเสนอในรูปแบบนิทรรศการที่ทุกคนสามารถมีส่วนร่วมได้ หรือ Interactive Exhibition ภายใต้แนวคิด “Energy Creation Lab” สร้างพลังงาน สร้างพลังไทย ซึ่งมีเนื้อหาเกี่ยวกับพลังงานชีวมวล และชีวภาพทั้งหมด 9 ชนิด ได้แก่ อ้อย ยูคาลิปตัส ยางพารา หญ้าโตเร็ว ข้าว ข้าวโพด มูลสัตว์ หรือของเสีย มันสำปะหลัง และปาล์ม รวมถึงเรื่องของการส่งเสริม สนับสนุนและพัฒนา ด้านพลังงานทดแทน พลังงานชีวมวล พลังงานก๊าซชีวภาพ และพลังงานเชื้อเพลิงชีวภาพ (Biomass, Biogas, Biofuel) เพื่อตอบโจทย์การแก้ปัญหาความมั่นคงทางพลังงานของประเทศไทย และยังเป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อมอีกด้วย

“นอกจากนี้ กระทรวงพลังงาน ยังได้รับความร่วมมือจากหน่วยงานต่างๆ ในการเข้าร่วมการ จัดงาน อาทิ กระทรวงวัฒนธรรม กระทรวงพาณิชย์ สำนักงานคณะกรรมการส่งเสริมการลงทุน หรือ BOI การท่องเที่ยวแห่งประเทศไทย กรมพัฒนาชุมชน การไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทย และบริษัท ปตท.จำกัด (มหาชน) โดยกระทรวงพลังงาน มั่นใจว่าอาคารศาลาไทยในครั้งนี้ จะได้รับการตอบรับอย่างดี และคาดว่าจำนวนผู้เข้าเยี่ยมชมศาลาไทย คิดเป็น 10% จากจำนวนผู้เข้าชมทั้งหมดที่ทางประเทศเจ้าภาพคาดการณ์ โดยประมาณ 5 แสนคน ตลอดระยะการจัดงาน ตั้งเป้าว่าจะเป็น 1 ใน 10 พาวิลเลียนที่มีผู้สนใจเข้าชมมากที่สุด” รองปลัดกระทรวงพลังงานกล่าว

สรรหาตัวแทนคนไทย แลกเปลี่ยนวัฒนธรรมคาซัคสถาน

นายธรรมยศ กล่าวว่า กระทรวงพลังงานได้สร้างการมีส่วนร่วมของเยาวชนไทยและคนไทย โดยได้สรรหา “ไทยแลนด์ พาวิลเลียน แอมบาสเดอร์” เพื่อเป็นตัวแทนประเทศไทยไปทำหน้าที่ ทูตวัฒนธรรม โดยเปิดรับสมัครบุคคลทั่วไป นิสิต นักศึกษา อายุ 18-30 ปี มีความรู้ความสามารถ ทางด้านภาษารัสเซีย หรือ คาซัค หรือ ภาษาอังกฤษ รวมทั้งมีใจรักและภูมิใจในการนำเสนอประเทศไทยผ่านการทำงานในบทบาทของเจ้าหน้าที่ส่วนนิทรรศการประจำอาคารศาลาไทย ในงาน Astana Expo 2017 ณ กรุงอัสตานา สาธารณรัฐคาซัคสถาน ถือเป็นการแลกเปลี่ยนวัฒนธรรมไทยกับคาซัคสถาน และนับเป็นประสบการณ์ที่ยิ่งใหญ่ รวมทั้งส่งเสริมเยาวชนไทยให้เกิดความตระหนักรู้คุณค่าการอนุรักษ์พลังงาน เพื่อโลกอย่างยั่งยืน และวัฒนธรรมไทยที่เป็นสมบัติที่ล้ำค่าของประเทศ

ทั้งนี้การสรรหา “ไทยแลนด์ พาวิลเลียน แอมบาสเดอร์” เปิดรับสมัครตั้งแต่นี้ ไปจนถึงวันอังคารที่ 14กุมภาพันธ์ 2560ผู้ที่สนใจสามารถตรวจสอบคุณสมบัติและดาวน์โหลดใบสมัคร ได้ที่ http://www.thailandpavilion2017.com หรือ โทร 02-725-9333 ต่อ 439, 342

 

รัฐมนตรีว่าการกระทรวงพลังงาน เข้าร่วมประชุมสมัชชาทบวงการพลังงานหมุนเวียนระหว่างประเทศ ครั้งที่ 7 ณ กรุงอาบูดาบี สหรัฐอาหรับเอมิเรตส์

เมื่อระหว่างวันที่ 14-15 มกราคม 2560 พลเอก อนันตพร กาญจนรัตน์ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงพลังงาน และคณะผู้บริหารกระทรวงพลังงาน ประกอบด้วย พลเอก สุรศักดิ์ ศรีศักดิ์ ที่ปรึกษารัฐมนตรีว่าการกระทรวงพลังงาน นายสมนึก บำรุงสาลี รองปลัดกระทรวงพลังงาน นายประพนธ์ วงษ์ท่าเรือ อธิบดีกรมพัฒนาพลังงานทดแทนและอนุรักษ์พลังงาน พร้อมด้วย เรือโท โกเมศ กมลนาวิน เอกอัครราชทูตไทย ประจำสหรัฐอาหรับเอมิเรตส์     ได้เข้าร่วมประชุมสมัชชาทบวงการพลังงานหมุนเวียนระหว่างประเทศ ครั้งที่ 7 (The Seventh Session of the Assembly of the International Renewable Energy Agency: IRENA) ณ กรุงอาบูดาบี ประเทศสหรัฐอาหรับเอมิเรตส์ ในการประชุมดังกล่าวมีวัตถุประสงค์เพื่อเป็นการหารือแลกเปลี่ยนความรู้และวิสัยทัศน์ ทางด้านการพัฒนาพลังงานทดแทน โดยมีผู้นำระดับรัฐมนตรีพลังงาน และเจ้าหน้าที่อาวุโส ทั้งภาครัฐ ภาควิชาการ และองค์การระหว่างประเทศเข้าร่วมประชุมกว่า 150 ประเทศ โดยมีผู้เข้าร่วมมากกว่า 2,000 คน

ที่ประชุมได้มุ่งเน้นให้มีการพัฒนาพลังงานทดแทนให้มากขึ้น ซึ่งจะช่วยส่งเสริมให้ประสบความสำเร็จตามเป้าหมายการพัฒนาอย่างยั่งยืน (SDGs) ขององค์การสหประชาชาติ ที่มุ่งส่งเสริมการขจัดความยากจน และการแก้ไขปัญหาภาวะเรือนกระจก การลดคาร์บอนไดออกไซด์และรักษาสิ่งแวดล้อม ซึ่งอุปสรรคของการพัฒนาพลังงานทดแทน ที่ประชุมทั้งภาครัฐและภาคเอกชนได้พูดถึงมากที่สุดคือ เรื่องของราคาต้นทุนการผลิต การลงทุนระบบโครงสร้างพื้นฐาน นวัตกรรมด้านไฟฟ้า Market Design และในช่วงเปลี่ยนผ่าน พลังงานฟอสซิลยังคงต้อง Back Up อยู่ เพื่อที่จะทำให้พลังงานทดแทนมีความเสถียร และมาแทนพลังงานแบบดั้งเดิมได้อย่างแท้จริง

ในโอกาสนี้ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงพลังงานได้กล่าวในที่ประชุมว่าประเทศไทยมุ่งเน้นในการส่งเสริมความมั่นคงทางด้านพลังงานและการพึ่งพาตนเองมากขึ้น โดยพยายามพัฒนาการใช้พลังงานทดแทน ทั้งนี้ได้กำหนดให้มีสัดส่วนการใช้พลังงานขั้นสุดท้ายให้ได้ที่ร้อยละ 30 ภายในปี ค.ศ. 2036 โดยกำหนดให้มีสัดส่วนการใช้พลังงานไฟฟ้าให้ได้ร้อยละ 20 ภายในปี ค.ศ. 2036 และในปัจจุบันประเทศไทยได้ส่งเสริมพลังงานทดแทนในภาคไฟฟ้ามากขึ้นเพื่อชดเชยในช่วงที่มีการใช้ไฟฟ้ามาก (Peak demand) โดยได้ส่งเสริมในรูปแบบ RE hybrid และมีระบบที่ Firm มากขึ้น และมีการบริหารจัดการที่ยืดหยุ่นได้ ส่งเสริมให้พลังงานทดแทนจ่ายเข้าไปในระบบเชื่อมไฟฟ้า (power grid) และส่งเสริมด้านการพัฒนา Smart Grid และ energy storage และการพัฒนานวัตกรรมด้านพลังงานใหม่ๆ นอกจากนี้ ยังกล่าวเพิ่มเติมว่า ประเทศไทยมีการมุ่งส่งเสริมพลังงานทดแทนที่ได้จากเชื้อเพลิงชีวภาพ เช่น ชีวมวล ชีวแก๊ส และน้ำมันเชื้อเพลิงชีวภาพ เพื่อช่วยเหลือเกษตรกรและชุมชนในการเพิ่มรายได้และสร้างงานในชุมชน เพื่อให้ประชาชนกินดีอยู่ดี ซึ่งจะสอดคล้องกับเป้าหมายการพัฒนาอย่างยั่งยืนของยูเอ็น นอกจากนี้ ยังได้แจ้งว่าไทยได้เป็นสมาชิก IRENA โดยสมบูรณ์แล้ว เมื่อวันที่ 1 พฤษภาคม 2559 โดยปัจจุบัน กระทรวงพลังงานของไทยและ IRENA ได้ร่วมมือในโครงการประเมินศักยภาพพลังงานทดแทนของไทย (Renewables Readiness Assessment: RRA) เพื่อเป็นแผนที่นำทาง (Remaps) ในการพัฒนาพลังงานทดแทนของไทย และไทยจะร่วมมือกับ IRENA ในการพัฒนากิจกรรมด้านพลังงานทดแทนให้มากขึ้นต่อไป

กระทรวงพลังงาน จัดนิทรรศการ “น้อมใจรักและภักดี” เพื่อรำลึกในพระมหากรุณาธิคุณพระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช

พลเอกอนันตพร กาญจนรัตน์ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงพลังงาน เป็นประธานเปิดงานนิทรรศการ “น้อมใจรักและภักดี” พร้อมผู้บริหารกระทรวงพลังงาน เพื่อน้อมรำลึกในพระมหากรุณาธิคุณพระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช ณ บริเวณหน้าอาคารบี ศูนย์เอนเนอร์ยี่คอมเพล็กซ์

พลเอกอนันตพร กาญจนรัตน์ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงพลังงาน เปิดเผยว่า กระทรวงพลังงานจัดนิทรรศการ “น้อมใจรักและภักดี” ขึ้นเพื่อเป็นการน้อมรำลึกในพระมหากรุณาธิคุณพระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช และเป็นการแสดงออกถึงความจงรักภักดีต่อสถาบันพระมหากษัตริย์ โดยตลอดระยะเวลา 70 ปี พระองค์ทรงเป็นพระมหากษัตริย์ที่พรั่งพร้อมด้วยทศพิธราชธรรม ทรงตรากตรำพระวรกาย เพื่อประชาชนคนไทย ทรงพระราชทานความช่วยเหลือบำบัดทุกข์ บำรุงสุขแก่ราษฎรด้วยพระอัจฉริยภาพเปี่ยมด้วยพระปรีชาในทุกๆ ด้าน รวมถึงด้านพลังงาน ทรงค้นคว้า วิจัย และพัฒนาโครงการพระราชดำริต่างๆ ผสมผสานหลักวิชาการและเทคโนโลยีสมัยใหม่มาประยุกต์ใช้ในการแก้ไขปัญหาความเดือนร้อนของประชาชน จนสัมฤทธิ์ผลในทางปฏิบัติ ทั้งในด้านที่เกี่ยวข้องกับด้านพลังงาน อาทิ โครงการไบโอดีเซล โครงการแก๊สโซฮอล์ โครงการโรงไฟฟ้าพลังน้ำ นำมาซึ่งการยกระดับคุณภาพชีวิตของประชาชนชาวไทย

สำหรับกิจกรรม “น้อมใจรักและภักดี” จัดขึ้นระหว่างวันที่ 12-18 มกราคม 2560 ณ อาคารซี ศูนย์เอนเนอร์ยี่คอมเพล็กซ์ ภายในงานประกอบด้วยนิทรรศการส่วนต่างๆ อาทิ นิทรรศการ ธ สถิตในดวงใจไทยนิรันดร์ ซึ่งเป็นการประมวลภาพเหตุการณ์ในช่วงวันที่ 13 ตุลาคม 2559 เป็นต้นมา นอกจากนี้ ยังมีนิทรรศการพระบิดาแห่งการพัฒนาพลังงานไทย การให้ความรู้ด้านการอนุรักษ์พลังงานและพลังงานทดแทน ในรูปแบบ Interactive การจัดแสดงภาพพระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช เป็นต้น


สัมภาษณ์พิเศษ ประเด็น “สถานการณ์และอนาคตพลังงานไทย” รายการเคลียร์ คัด ชัดเจน

เทปสัมภาษณ์พิเศษ ประเด็น “สถานการณ์และอนาคตพลังงานไทย” รายการเคลียร์ คัด ชัดเจน สถานีวิทยุโทรทัศน์แห่งประเทศไทย

งานแถลงผลการดำเนินงานของกระทรวงพลังงานในปี 2559 และการขับเคลื่อนนโยบาย Energy 4.0 ประจำปี 2560

กระทรวงพลังงาน แถลงผลการดำเนินงานในรอบปี 2559 ย้ำ มุ่งเน้นการบริหารเพื่อสร้างความมั่นคง มั่งคั่ง และยั่งยืน เป็นหลัก ยึดกรอบประโยชน์ประเทศชาติ ทั้งด้าน เศรษฐกิจ สังคม และประชาชน ชี้ ปี 2560 เดินหน้าขับเคลื่อน Energy 4.0 ควบคู่โครงการประชารัฐ สอดรับนโยบายรัฐ Thailand 4.0
พลเอก อนันตพร กาญจนรัตน์ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงพลังงาน เปิดเผยถึงผลการดำเนินงานของกระทรวงพลังงานในรอบปี 2559 ว่า ที่ผ่านมากระทรวงพลังงานมุ่งเน้นการทำงานเพื่อเป้าหมายในการสร้างความมั่นคง มั่งคั่ง และยั่งยืน ให้กับภาคพลังงานของประเทศ เพื่อให้เกิดประโยชน์สูงสุดทั้งด้านเศรษฐกิจ สังคม และประชาชน อย่างรอบด้าน สำหรับภาพรวมผลงานในรอบปี 2559 ของกระทรวงพลังงานแบ่งตามผลงานทั้งด้านความมั่นคง มั่งคั่ง และยั่งยืน รายละเอียด ดังนี้
ผลงานด้านความมั่นคง ได้ดำเนินการการสร้างความมั่นคงด้านไฟฟ้า และการพัฒนาความมั่นคง ด้านปิโตรเลียม โดยในส่วนการสร้างความมั่นคงด้านไฟฟ้า ได้มีการบูรณาการตั้งแต่ระบบผลิตด้วยการเร่งรัด ผลักดัน การพัฒนาโรงไฟฟ้าให้เป็นไปตามแผน PDP 2015 พร้อมทั้งพัฒนาระบบสายส่งให้สามารถรองรับความต้องการที่เพิ่มขึ้นและรองรับพลังงานทดแทนได้ รวมถึงมีการสร้างความร่วมมือด้านพลังงานกับประเทศเพื่อนบ้าน เช่น ดำเนินขยายกรอบการรับซื้อไฟฟ้าจาก สาธารณรัฐประชาธิปไตยประชาชนลาว จากเดิม 7,000 เมกะวัตต์เพิ่มเป็น 9,000 เมกะวัตต์ ขณะที่การพัฒนาความมั่นคงด้านปิโตรเลียม ได้ดำเนินการต่อระยะเวลาผลิตปิโตรเลียม จำนวน 2 แปลง ได้แก่ แปลง B8/32 ในพื้นที่อ่าวไทย และแปลง SW1 ในพื้นที่จังหวัดเพชรบูรณ์ นอกจากนี้ ยังได้มีการพัฒนาระบบขนส่งน้ำมันทางท่อ สายเหนือ เส้นทาง อยุธยา-กำแพงเพชร-ลำปาง และสายอีสาน เส้นทาง สระบุรี-ขอนแก่น
ผลงานด้านความมั่งคั่ง ได้ดำเนินมาตรการลดภาระค่าใช้จ่ายด้านพลังงานให้กับประชาชน โดยได้มีการปรับลดค่า Ft ตั้งแต่ช่วงเดือนมกราคม 2558 – ธันวาคม 2559 ลงจำนวน 52.68 สตางค์ต่อหน่วย ส่งผลให้ประเทศประหยัดค่าไฟฟ้าได้จำนวน 92,103 ล้านบาท/ปี สนับสนุนให้เกิดการแข่งขันในกิจการ ก๊าซเสรี อาทิ เปิดให้มีการนำเข้า LPG เสรี โดยแบ่งการดำเนินการออกเป็น 2 ระยะ คือ ระยะที่ 1 ช่วงเวลาเปลี่ยนผ่านก่อนเปิดเสรีทั้งระบบ และระยะที่ 2 เปิดเสรีทั้งระบบ ซึ่งเบื้องต้นให้ดำเนินการในระยะที่ 1 ตั้งแต่เดือนมกราคม 2560 เป็นต้นไป พร้อมทั้งมีการผลักดันให้เกิดผู้เล่นรายใหม่ในกิจการก๊าซธรรมชาติ โดยอนุมัติให้ การไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทยดำเนินโครงการ Floating Storage and Regasification Unit (FSRU) เพื่อรองรับการนำเข้า LNG ตอนบน และผลักดัน พ.ร.บ.กองทุนน้ำมันเชื้อเพลิง เพื่อปรับปรุงโครงสร้างในการบริหารกองทุนน้ำมันเชื้อเพลิงให้มีความชัดเจนและมีกฎหมายรองรับ ล่าสุด พ.ร.บ.กองทุนน้ำมันเชื้อเพลิงอยู่ระหว่างการพิจารณาของคณะกรรมการกฤษฎีกา
ผลงานด้านการสร้างความยั่งยืน ได้มีการส่งเสริมพลังงานทดแทน การเพิ่มประสิทธิภาพการใช้พลังงาน และการผลักดันโครงการประชารัฐ โดยการส่งเสริมพลังงานทดแทนมีการดำเนินการ อาทิ การปรับลดอัตราการ รับซื้อไฟฟ้าพลังงานแสงอาทิตย์ในรูปแบบ Feed- in Tariff ให้สะท้อนต้นทุนที่แท้จริงเพื่อลดภาระค่าไฟฟ้าให้กับประชาชน การเปิดโครงการโซลาร์เสรี จำนวน 100 เมกะวัตต์ และส่งเสริมให้ประชาชนผลิตไฟฟ้าใช้เองด้วยการติดตั้ง Solar rooftop บนหลังคาบ้านเรือนและอาคารธุรกิจรวมถึงการรับซื้อไฟฟ้าจากชีวมวลในพื้นที่ภาคใต้ และการรับซื้อไฟฟ้าจากขยะอุตสาหกรรม ส่วนการดำเนินมาตรการเพิ่มประสิทธิภาพการอนุรักษ์พลังงาน ประกอบด้วย การจัดการพลังงานในโรงงานและอาคารควบคุม จำนวน 8,600 ราย คิดเป็นผลการประหยัดพลังงานอยู่ที่ 320 ktoe การผลักดันการบังคับใช้กฎหมายร่วมกับกระทรวงมหาดไทย เพื่อดำเนินการมาตรการ Building Energy Code โดยเริ่มบังคับอาคารตั้งแต่ 10,000 ตารางเมตร ภายในปี 2560 การส่งเสริมการติดฉลากอุปกรณ์ประสิทธิภาพสูงและวัสดุเพื่อการอนุรักษ์พลังงาน จำนวน 26 ล้านใบ คิดเป็นผลประหยัดอยู่ที่ 207.9 ktoe นอกจากนี้ยังมีมาตรการสนับสนุนทางการเงิน อาทิ โครงการเงินทุนหมุนเวียนดอกเบี้ยต่ำเพื่อการอนุรักษ์พลังงาน ปล่อยกู้แล้ว 1,037 ล้านบาท คิดเป็นผลประหยัด 6.84 ktoe ต่อปี ช่วยประหยัดค่าใช้จ่ายด้านพลังงาน จำนวน 210 ล้านบาทต่อปี สำหรับการผลักดันโครงการประชารัฐ มุ่งเน้นการเพิ่มมูลค่าผลิตภัณฑ์ ลดรายจ่าย และเพิ่มรายได้เกษตรกร โดยได้มีการส่งเสริมให้ประชาชนเข้าถึงพลังงานทดแทน เช่น การเพิ่มมูลค่าสินค้าเกษตรด้วยระบบอบแห้งพลังงานแสงอาทิตย์ ยกระดับคุณภาพชีวิตผ่านโครงการไฟฟ้าพลังน้ำชุมชน การนำของเหลือใช้มาผลิตพลังงาน และเพิ่มประสิทธิภาพการใช้พลังงานเพื่อลดรายจ่ายชุมชน และสร้างรายได้ให้กับเกษตรกรจากพืชพลังงาน สิ่งเหลือใช้ เพื่อผลิตก๊าซชีวภาพและชีวมวล
รัฐมนตรีว่าการกระทรวงพลังงาน กล่าวต่อว่า สำหรับภาพรวมการขับเคลื่อนนโยบายพลังงานปี 2560 นั้น กระทรวงพลังงานจะขับเคลื่อนภาคพลังงานของประเทศตามแนวนโยบาย Energy 4.0 ซึ่งมีเป้าหมายคือ การสร้างรายได้ให้กับประชาชนและประเทศ เพื่อให้ประเทศชาติในภาพรวมหลุดพ้นจากการเป็นประเทศรายได้ระดับปานกลาง สอดรับกับนโยบาย Thailand 4.0 ของรัฐบาล ให้เป็นรูปธรรมตามแผนที่วางไว้
ส่วนแนวทางการขับเคลื่อนนโยบาย Energy 4.0 ของกระทรวงพลังงานในปี 2560 นายอารีพงศ์ ภู่ชอุ่ม ปลัดกระทรวงพลังงาน เปิดเผยว่า การขับเคลื่อนนโยบาย Energy 4.0 มีหลักการ ที่สำคัญ คือ การยกระดับประสิทธิภาพของระบบพลังงานในปัจจุบัน และการนำนวัตกรรมที่เหมาะสม มาใช้ในการพัฒนา ส่วนองค์ประกอบสำคัญในการขับเคลื่อนไปสู่เป้าหมาย กระทรวงพลังงานได้คำนึงให้ครอบคลุมระบบพลังงานทั้งระบบ (Energy Supply Chain) ตั้งแต่การผลิต จัดหา แปรรูป ขนส่งไปจนถึงการใช้ โดยได้แบ่งตามประเภทพลังงาน ซึ่งจะครอบคลุมถึงแผนพลังงานระยะยาว ได้แก่ แผนบริหารจัดการน้ำมันเชื้อเพลิง แผนบริหารจัดการก๊าซธรรมชาติ และแผนพัฒนากำลังผลิตไฟฟ้า ควบคู่ไปกับแนวนโยบายประชารัฐ

โดยในด้านเชื้อเพลิงภาคขนส่ง มาตรการสำคัญที่จะขับเคลื่อนในปี 2560-2561 อาทิ การส่งเสริมการผลิตและการใช้เชื้อเพลิงชีวภาพ ซึ่งจะดำเนินการศึกษาต้นทุนร่วมกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ การกำหนดแนวทางการใช้เชื้อเพลิงชีวภาพอย่างยั่งยืน และการเพิ่มสัดส่วนการใช้เอทานอล และไบโอดีเซลด้วยการพัฒนาเทคโนโลยีให้ดีขึ้น การเพิ่มศักยภาพการขนส่งน้ำมันทางท่อ โดยในเดือนเมษายน 2560 จะเริ่มดำเนินการก่อสร้างในเส้นทางสายเหนือ คือ อยุธยา –กำแพงเพชร-พิจิตร และกำแพงเพชร-ลำปาง ส่วนในปี 2561 จะเริ่มก่อสร้างในสายอีสาน เส้นทาง สระบุรี-ขอนแก่น นอกจากนี้ยังจะดำเนินการสรุปแนวทางการสำรองน้ำมันทางยุทธศาสตร์ภายในเดือนสิงหาคม 2560
ด้านไฟฟ้า มาตรการสำคัญที่จะขับเคลื่อนในปี 2560-2561 อาทิ การจัดทำแผนการผลิตไฟฟ้าพลังงานทดแทนรายภาค การสร้างตลาดซื้อขายไฟให้โรงไฟฟ้าเก่าที่มีศักยภาพ การบริหารจัดการให้ผลิตไฟฟ้าจากโรงไฟฟ้าต้นทุนต่ำให้มากที่สุด การประกวด Smart City ต้นแบบ และการกำหนดรูปแบบทางธุรกิจไมโครกริด และเริ่มโครงการไมโครกริดที่จังหวัดแม่ฮ่องสอน
ด้านเชื้อเพลิงผลิตความร้อน มาตรการสำคัญที่จะขับเคลื่อนในปี 2560-2561 อาทิ การเปิดเสรี ก๊าซธรรมชาติ และการขับเคลื่อน Third Party Access Code การสร้างความต่อเนื่องการผลิต ก๊าซธรรมชาติในประเทศ และการขยาย LNG Terminal และท่อก๊าซธรรมชาติ
สำหรับโครงการประชารัฐ มาตรการสำคัญที่จะขับเคลื่อนในปี 2560-2561 อาทิ การส่งเสริมกลุ่มวิสาหกิจชุมชนลดการใช้พลังงานในการผลิต 326 แห่ง ส่งเสริมครัวเรือนต้นแบบ 15,200 ครัวเรือนในการลดใช้พลังงานลงให้ได้ 10% และส่งเสริมชุมชนผลิตชีวมวลป้อนภาคอุตสาหกรรม
ปลัดกระทรวงพลังงาน กล่าวต่อว่า การขับเคลื่อน Energy 4.0 มีเป้าหมายเพื่อยกระดับการบริหารจัดการระบบพลังงาน ส่งผลให้การผลิต การจัดหาพลังงานเป็นไปอย่างมีประสิทธิภาพ โดยใน ปี 2560-2561 ได้ตั้งเป้าการลดใช้พลังงานในภาคต่างๆ อาทิ ภาคการผลิตไฟฟ้าลดลง 24 ล้านตัน/ปี ภาคพลังงานในครัวเรือนลดลง 4 ล้านตัน/ปี ภาคพลังงานในอาคารลดลง 1 ล้านตัน/ปี ภาคพลังงานพลังงานอุตสาหกรรมลดลง 41 ล้านตัน/ปี และภาคขนส่งลดลง 41 ล้านตัน/ปี เป็นต้น

กระทรวงพลังงาน จับมือ ปตท. “รวมพลัง ช่วยเหลือผู้ประสบภัยภาคใต้”

วันนี้ (10 มกราคม 2560) พลเอก อนันตพรกาญจนรัตน์ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงพลังงาน พร้อมด้วย นายเทวินทร์ วงศ์วาณิช ประธานเจ้าหน้าที่บริหารและกรรมการผู้จัดการใหญ่ บริษัท ปตท. จำกัด (มหาชน) ร่วมบรรจุถุงยังชีพร่วมกับอาสาสมัครกลุ่มพลังไทยใจอาสา พร้อมทั้ง เป็นประธานพิธีปล่อยรถ “รวมพลัง ช่วยผู้ประสบภัยภาคใต้” ซึ่งจะบรรทุกถุงยังชีพ จำนวน 2,000 ถุง ไปช่วยเหลือและบรรเทาความเดือดร้อนให้กับประชาชนที่ประสบอุทกภัยในพื้นที่จังหวัดสุราษฎร์ธานี ณ บริเวณพื้นที่ลานเข็มทิศ อาคาร ปตท. สำนักงานใหญ่ ถนนวิภาวดี

ทั้งนี้ กระทรวงพลังงานและหน่วยงานในสังกัดกระทรวงพลังงาน ได้ติดตามสถานการณ์น้ำท่วมในพื้นที่ภาคใต้อย่างใกล้ชิด และเตรียมความพร้อมในการให้ความช่วยเหลือพร้อมกำชับบุคลากรในพื้นที่เข้าไปช่วยเหลือประชาชนที่ประสบภัยอย่างทันทีและต่อเนื่อ

 

รัฐมนตรีว่าการกระทรวงพลังงาน เป็นประธานในพิธีทำบุญตักบาตรเนื่องในวันขึ้นปีใหม่ 2560

วันนี้ (6 ม.ค.60) พลเอก อนันตพร กาญจนรัตน์ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงพลังงาน พร้อมด้วย ดร.อารีพงศ์ ภู่ชอุ่ม ปลัดกระทรวงพลังงาน นำผู้บริหารระดับสูง ข้าราชการ และเจ้าหน้าที่ทุกหน่วยงานในสังกัดกระทรวงพลังงาน ร่วมทำบุญตักบาตรพระสงฆ์ จำนวน 58 รูป เนื่องในโอกาสวันขึ้นปีใหม่พุทธศักราช 2560 ณ บริเวณลานพระพรหม ศูนย์เอนเนอร์ยีคอมเพล็กซ์

       

รัฐมนตรีว่าการกระทรวงพลังงาน ร่วมพิธีทำบุญตักบาตรพระสงฆ์เนื่องในโอกาสวันขึ้นปีใหม่

(4 ม.ค.2560) พลเอก อนันตพร กาญจนรัตน์ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงพลังงาน ร่วมพิธีทำบุญตักบาตรพระสงฆ์เนื่องในโอกาสวันขึ้นปีใหม่ เพื่อเป็นสิริมงคลรับศักราชใหม่ พร้อมคณะรัฐมนตรี โดยมี พลเอก ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรี เป็นประธาน ก่อนการเข้าร่วมประชุมคณะรัฐมนตรี ครั้งแรกของปี 2560 ณ ทำเนียบรัฐบาล

Page 5 of 7
1 3 4 5 6 7