การจัดทำมาตรฐานการให้บริการ

การจัดทำมาตรฐานการให้บริการ

          ศูนย์บริการร่วม กระทรวงพลังงาน ได้จัดทำมาตรฐานการให้บริการเพื่อเป็นแนวทางในการปฏิบัติงานด้านบริการให้ถูกต้อง รวดเร็ว และเกิดประสิทธิภาพในการปฏิบัติงาน โดยมีรายละเอียด ดังนี้

1. มาตรฐานการให้บริการ
     1.1 มาตรฐานกระบวนการ/ขั้นตอนการให้บริการ
          1) ขั้นตอนการให้บริการ ระยะเวลาในการให้บริการ
– แผนผัง และสื่อสิ่งพิมพ์ต่าง ๆ ที่แสดงข้อมูลการให้บริการของหน่วยงาน

1.1) ขั้นตอนการให้บริการข้อมูลข่าวสาร/เอกสารเผยแพร่ต่างๆ
1) ประชาชนติดต่อเจ้าหน้าที่ประจำศูนย์บริการร่วม แจ้งเรื่องข้อมูล/เอกสารที่ต้องการ
2) เจ้าหน้าที่ประจำศูนย์บริการร่วมจัดหาข้อมูล/เอกสารตามต้องการ ภายใน 15 นาที
3) ถ้ามีข้อมูล เจ้าหน้าที่อธิบายข้อมูลและ/หรือให้เอกสารประกอบ โดยให้ผู้รับบริการคัดเลือกเอกสารด้วยตนเอง (ไม่จำกัดเวลา) ถ้าไม่มีข้อมูล เจ้าหน้าที่สอบถามไปยังหน่วยงานเจ้าของเรื่องรวบรวมข้อมูล แล้วแจ้งผู้รับบริการ และจัดส่งเอกสารหรือข้อมูลให้ส่วนราชการเจ้าของเรื่องดำเนินการ
4) ประเมินความพึงพอใจแก่ผู้รับบริการหลังได้รับบริการ ณ จุดให้บริการ

1.2) ขั้นตอนการให้บริการรับเรื่อง-ส่งต่อ
1) ผู้รับบริการยื่นคำขอและเอกสารหลักฐานประกอบ
2) เจ้าหน้าที่ศูนย์บริการร่วมตรวจสอบความถูกต้องครบถ้วนของเอกสาร และทำเรื่องส่งต่อให้ศูนย์รับเรื่องร้องเรียน พน. (กองตรวจและประเมินผล) ดำเนินการภายใน 1 วันทำการ
3) ส่วนราชการเจ้าของเรื่องดำเนินการตามขั้นตอนแล้วแจ้งให้ผู้รับบริการและศูนย์บริการร่วมทราบ ภายใน 30 วันทำการ

1.3) ขั้นตอนการให้บริการเบ็ดเสร็จ
1) ผู้รับบริการเดินทางมาขอรับคำปรึกษา/ขอรับเอกสารเผยแพร่ด้านพลังงาน
2) เจ้าหน้าที่ศูนย์บริการร่วมจัดระบบคิวเพื่ออำนวยความสะดวกต่อการรับบริการของประชาชน
3) เจ้าหน้าที่วิเคราะห์เรื่องที่ประชาชนมาขอรับบริการ หากเป็นการรับการปรึกษาด้านพลังงานเบื้องต้น เจ้าหน้าที่สามารถให้คำปรึกษาแก่ประชาชนตามที่ร้องขอได้เลย หากเป็นการขอรับเอกสารเผยแพร่ของหน่วยงานในสังกัดกระทรวงพลังงาน ประชาชนสามารถขอรับได้ ณ ศูนย์บริการร่วม กระทรวงพลังงาน

2) ระบบบัตรคิวให้บริการตามลำดับขั้นตอนการให้บริการ

จุดที่ 1 ติดต่อสอบถาม/รับบัตรคิว

จุดที่ 2 และ 3 บริการข้อมูลข่าวสาร

จุดที่ 4 และ 5 บริการรับเรื่องส่งต่อ

จุดที่ 6 และ 7 บริการเบ็ดเสร็จ

3) ให้บริการด้วยระยะเวลาที่เหมาะสมกับลักษณะงานบริการ

4) มีคู่มือการให้บริการ เอกสาร แผ่นพับต่างๆ สำหรับเผยแพร่ให้กับผู้รับบริการ

5) มีการประเมินผลความพึงพอใจในการให้บริการ

1.2 มาตรฐานสิ่งอำนวยความสะดวก
1) มีเคาน์เตอร์หรือจุดให้บริการอย่างเพียงพอต่อผู้รับบริการ และให้คำปรึกษาแก่ผู้รับบริการ

2) มีอุปกรณ์และเครื่องมือที่พร้อมสำหรับให้บริการ
– มีเครื่องคอมพิวเตอร์ไว้ให้ผู้รับบริการใช้งาน

3) มีมุมบริการน้ำดื่ม

4) มีที่นั่งรอสำหรับผู้รับบริการอย่างเพียงพอ

5) มีป้ายแสดงรายชื่อเจ้าหน้าที่ผู้ให้บริการ

  -*-*-*-*-*-*-*-*-*-*-*-*-*-*-*-*-*-*-*-*-*-*-*-*-*-*-

2. ขั้นตอนการให้บริการประเภทต่างๆ

ขั้นตอนการให้บริการกรณีขอรับบริการด้วยตนเองโดยตรง (Walk in)
ณ ศูนย์บริการร่วม กระทรวงพลังงาน

ขั้นตอนการให้บริการข้อมูลข่าวสาร/เอกสารเผยแพร่ต่างๆ
ขั้นตอนการให้บริการรับเรื่อง-ส่งต่อ

ศูนย์ข้อมูลข่าวสารของหน่วยงาน ภายใต้กำกับกระทรวงพลังงาน

ความเป็นมาของศูนย์ข้อมูลข่าวสารของราชการ

ตามมาตรา 9 แห่งพระราชบัญญัติข้อมูลข่าวสารของราชการ พ.ศ. 2540 บัญญัติให้หน่วยงานของรัฐต้องจัดให้มีข้อมูลข่าวสารของราชการอย่างน้อยตามที่กฎหมายกำหนดไว้ให้ประชาชนเข้าตรวจดูได้ ประกอบกับได้มีประกาศคณะกรรมการข้อมูลข่าวสารของราชการ เรื่อง หลักเกณฑ์และวิธีการเกี่ยวกับการจัดให้มีข้อมูลข่าวสารของราชการไว้ให้ประชาชนเข้าตรวจดู ณ ที่ทำการของหน่วยงานของรัฐ โดยเรียกสถานที่ที่จัดเก็บรวบรวมข้อมูลข่าวสารและให้บริการว่า ศูนย์ข้อมูลข่าวสาร

ศูนย์ข้อมูลข่าวสารเป็นสถานที่ที่หน่วยงานของรัฐจัดรวบรวมข้อมูลข่าวสารไว้ให้ประชาชนสามารถค้นหาข้อมูลข่าวสารของราชการได้เอง ในเบื้องต้นคณะกรรมการข้อมูลข่าวสารของราชการพิจารณาเห็นว่า เพื่อไม่ให้เป็นภาระกับหน่วยงานของรัฐทั้งในด้านบุคลากร สถานที่และงบประมาณ จึงกำหนดให้หน่วยงานของรัฐที่ต้องจัดตั้งศูนย์ข้อมูลข่าวสารเฉพาะหน่วยงานของรัฐที่เป็นนิติบุคคลเท่านั้น ซึ่งหมายถึงหน่วยงานของรัฐที่เป็นราชการส่วนกลาง คือ กรม หน่วยงานเทียบเท่า ราชการส่วนภูมิภาค คือ จังหวัด และราชการส่วนท้องถิ่น คือ องค์การบริหารส่วนจังหวัด เทศบาล องค์การบริหารส่วนตำบล กรุงเทพมหานครและเมืองพัทยา จึงมีหน้าที่ตามกฎหมายที่จะต้องจัดตั้ง ศูนย์ข้อมูลข่าวสาร ตามประกาศ คณะกรรมการข้อมูลข่าวสารของราชการ

สำหรับหน่วยงานของราชการส่วนกลางที่ไปตั้งอยู่ในจังหวัดต่างๆ และไม่ขึ้นกับราชการส่วนภูมิภาค เช่น สำนักงานของส่วนราชการ สังกัด กระทรวงการคลัง สำนักงานเขต หรือ สำนักงานภาคของหน่วยงานต่างๆ เป็นต้น ต้องจัดตั้งศูนย์ข้อมูลข่าวสารของหน่วยงานขึ้น โดยต้องมีข้อมูลข่าวสารตามมาตรา 7 และมาตรา 9 เท่าที่หน่วยงานนั้น มีอยู่ แสดงไว้ด้วย

จากเหตุผลของการประกาศใช้พระราชบัญญัติ คือ การให้ประชาชนมีโอกาสอย่างกว้างขวางในการได้รับรู้ข้อมูลข่าวสารเกี่ยวกับการดำเนินการต่างๆ ของรัฐ หลักการและแนวคิด ประการหนึ่ง ก็คือ ต้องให้ประชาชนได้รับความสะดวกในการเข้าถึงข้อมูลข่าวสารของราชการ โดยเฉพาะอย่างยิ่งข้อมูลข่าวสารตามมาตรา 9 ที่กฎหมายบังคับให้หน่วยงานของรัฐต้องจัดไว้ให้ประชาชนเข้าตรวจดูได้ เพราะเป็นเรื่องที่ประชาชนควรรู้ ดังนั้น การจัดศูนย์ข้อมูลข่าวสารนั้น การจัดสถานที่ การจัดข้อมูลข่าวสาร วิธีการค้นหา ทั้งจากบัตรดัชนีรายการ/ระบบคอมพิวเตอร์ รวมทั้งการค้นหา หยิบเอกสารตรวจดูและศึกษา ต้องคำนึงถึงความสะดวกของประชาชนเป็นสำคัญ สามารถค้นหา ศึกษาได้โดยสะดวก มิใช่ต้องคอยสอบถามหรือขอให้เจ้าหน้าที่ช่วยเหลือมากเกินสมควร อันจะทำให้การตรวจดูหยุดชะงัก และขาดความเป็นส่วนตัว

3 ข้อควรรู้ เกี่ยวกับถ่านหินเทคโนโลยีสะอาด

 

1. เชื้อเพลิงถ่านหินเป็นเชื้อเพลิงที่ราคาไม่แพง เมื่อเทียบกับเชื้อเพลิงก๊าซปิโตรเลียมเหลว หรือ LNGรวมทั้งถ่านหินยังมีแหล่งที่มา ซึ่งมีความหลากหลาย และมีสำรองอยู่มากในโลก ข้อดี คือ ต้นทุนต่ำ และมีราคาค่อนข้างเสถียร
2. มีเทคโนโลยีที่ดีสามารถบริหารจัดการได้ ปัจจุบันได้มีเทคโนโลยีที่มีความก้าวหน้าในการดักจับมลสาร และมีเทคโนโลยีที่ทำให้การเผาไหม้หมดจดมากขึ้นโดยทางเลือกโรงไฟฟ้าถ่านหินเทคโนโลยีสะอาด ซึ่งเป็นทางเลือกโรงไฟฟ้าตามแผนพัฒนากำลังผลิตไฟฟ้าหรือ PDP เช่นที่ อ.เทพา จังหวัดสงขลาและที่จังหวัดกระบี่ ของการไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทย (กฟผ.) จะได้ใช้เทคโนโลยีซึ่งขณะนี้มีความทันสมัยที่สุดในโลก คือ เทคโนโลยี Ultra Super Critical หรือ USC ซึ่งเป็นเทคโนโลยีที่สูงกว่ารุ่นเก่ามากและยืนยันได้ว่าจะลดการปลดปล่อยมลสาร อาทิ ก๊าซซัลเฟอร์ไดออกไซด์ให้ออกสู่บรรยากาศ ได้เทียบเคียงกับมาตรฐานสากล
3. กระจายความเสี่ยงด้านเชื้อเพลิงพลังงาน ประเทศไทย ยังมีความจำเป็นต้องเพิ่มทางเลือกด้านเชื้อเพลิงพลังงานมาใช้ในการผลิตไฟฟ้า เนื่องจากต้องกระจายความเสี่ยงด้านการพึ่งพาพลังงานชนิดใดชนิดหนึ่งมากเกินไป ซึ่งประเทศไทย ใช้ก๊าซธรรมชาติในการผลิตไฟฟ้าในสัดส่วนที่มากเกินไปและเราต้องสร้างสมดุลใหม่ในการเลือกใช้เชื้อเพลิงผลิตไฟฟ้าให้มีความหลากหลายมากขึ้น โดยมีแผนการที่จะกำหนดเชื้อเพลิงทางเลือกอื่นๆ มาผลิตไฟฟ้าผสมผสานกันด้วย