Code of Conduct

การจัดทำระเบียบปฏิบัติงานตามภารกิจ Code of Conduct ของ กระทรวงพลังงาน คลิกที่นี่

ผลการสำรวจการทับซ้อนการปฏิบัติงานตามภารกิจ (Code of Conduct) คลิกที่นี่

ปลัดกระทรวงพลังงาน พร้อมด้วยคณะผู้บริหารกระทรวงพลังงาน ร่วมลงนามถวายพระพรสมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ พระบรมราชินีนาถ ในรัชกาลที่ 9

วันที่ 24 เมษายน 2562 นายกุลิศ สมบัติศิริ ปลัดกระทรวงพลังงาน พร้อมด้วยคณะผู้บริหารกระทรวงพลังงาน ร่วมลงนามถวายพระพรสมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ พระบรมราชินีนาถ ในรัชกาลที่ 9 ขอให้ทรงหายจากพระอาการประชวร ณ อาคารภูมิสิริมังคลานุสรณ์ ชั้น 1 โรงพยาบาลจุฬาลงกรณ์

การจัดทำมาตรฐานการให้บริการ

การจัดทำมาตรฐานการให้บริการ

          ศูนย์บริการร่วม กระทรวงพลังงาน ได้จัดทำมาตรฐานการให้บริการเพื่อเป็นแนวทางในการปฏิบัติงานด้านบริการให้ถูกต้อง รวดเร็ว และเกิดประสิทธิภาพในการปฏิบัติงาน โดยมีรายละเอียด ดังนี้

1. มาตรฐานการให้บริการ
     1.1 มาตรฐานกระบวนการ/ขั้นตอนการให้บริการ
          1) ขั้นตอนการให้บริการ ระยะเวลาในการให้บริการ
– แผนผัง และสื่อสิ่งพิมพ์ต่าง ๆ ที่แสดงข้อมูลการให้บริการของหน่วยงาน

1.1) ขั้นตอนการให้บริการข้อมูลข่าวสาร/เอกสารเผยแพร่ต่างๆ
1) ประชาชนติดต่อเจ้าหน้าที่ประจำศูนย์บริการร่วม แจ้งเรื่องข้อมูล/เอกสารที่ต้องการ
2) เจ้าหน้าที่ประจำศูนย์บริการร่วมจัดหาข้อมูล/เอกสารตามต้องการ ภายใน 15 นาที
3) ถ้ามีข้อมูล เจ้าหน้าที่อธิบายข้อมูลและ/หรือให้เอกสารประกอบ โดยให้ผู้รับบริการคัดเลือกเอกสารด้วยตนเอง (ไม่จำกัดเวลา) ถ้าไม่มีข้อมูล เจ้าหน้าที่สอบถามไปยังหน่วยงานเจ้าของเรื่องรวบรวมข้อมูล แล้วแจ้งผู้รับบริการ และจัดส่งเอกสารหรือข้อมูลให้ส่วนราชการเจ้าของเรื่องดำเนินการ
4) ประเมินความพึงพอใจแก่ผู้รับบริการหลังได้รับบริการ ณ จุดให้บริการ

1.2) ขั้นตอนการให้บริการรับเรื่อง-ส่งต่อ
1) ผู้รับบริการยื่นคำขอและเอกสารหลักฐานประกอบ
2) เจ้าหน้าที่ศูนย์บริการร่วมตรวจสอบความถูกต้องครบถ้วนของเอกสาร และทำเรื่องส่งต่อให้ศูนย์รับเรื่องร้องเรียน พน. (กองตรวจและประเมินผล) ดำเนินการภายใน 1 วันทำการ
3) ส่วนราชการเจ้าของเรื่องดำเนินการตามขั้นตอนแล้วแจ้งให้ผู้รับบริการและศูนย์บริการร่วมทราบ ภายใน 30 วันทำการ

1.3) ขั้นตอนการให้บริการเบ็ดเสร็จ
1) ผู้รับบริการเดินทางมาขอรับคำปรึกษา/ขอรับเอกสารเผยแพร่ด้านพลังงาน
2) เจ้าหน้าที่ศูนย์บริการร่วมจัดระบบคิวเพื่ออำนวยความสะดวกต่อการรับบริการของประชาชน
3) เจ้าหน้าที่วิเคราะห์เรื่องที่ประชาชนมาขอรับบริการ หากเป็นการรับการปรึกษาด้านพลังงานเบื้องต้น เจ้าหน้าที่สามารถให้คำปรึกษาแก่ประชาชนตามที่ร้องขอได้เลย หากเป็นการขอรับเอกสารเผยแพร่ของหน่วยงานในสังกัดกระทรวงพลังงาน ประชาชนสามารถขอรับได้ ณ ศูนย์บริการร่วม กระทรวงพลังงาน

2) ระบบบัตรคิวให้บริการตามลำดับขั้นตอนการให้บริการ

จุดที่ 1 ติดต่อสอบถาม/รับบัตรคิว

จุดที่ 2 และ 3 บริการข้อมูลข่าวสาร

จุดที่ 4 และ 5 บริการรับเรื่องส่งต่อ

จุดที่ 6 และ 7 บริการเบ็ดเสร็จ

3) ให้บริการด้วยระยะเวลาที่เหมาะสมกับลักษณะงานบริการ

4) มีคู่มือการให้บริการ เอกสาร แผ่นพับต่างๆ สำหรับเผยแพร่ให้กับผู้รับบริการ

5) มีการประเมินผลความพึงพอใจในการให้บริการ

1.2 มาตรฐานสิ่งอำนวยความสะดวก
1) มีเคาน์เตอร์หรือจุดให้บริการอย่างเพียงพอต่อผู้รับบริการ และให้คำปรึกษาแก่ผู้รับบริการ

2) มีอุปกรณ์และเครื่องมือที่พร้อมสำหรับให้บริการ
– มีเครื่องคอมพิวเตอร์ไว้ให้ผู้รับบริการใช้งาน

3) มีมุมบริการน้ำดื่ม

4) มีที่นั่งรอสำหรับผู้รับบริการอย่างเพียงพอ

5) มีป้ายแสดงรายชื่อเจ้าหน้าที่ผู้ให้บริการ

  -*-*-*-*-*-*-*-*-*-*-*-*-*-*-*-*-*-*-*-*-*-*-*-*-*-*-

2. ขั้นตอนการให้บริการประเภทต่างๆ

ขั้นตอนการให้บริการกรณีขอรับบริการด้วยตนเองโดยตรง (Walk in)
ณ ศูนย์บริการร่วม กระทรวงพลังงาน

ขั้นตอนการให้บริการข้อมูลข่าวสาร/เอกสารเผยแพร่ต่างๆ
ขั้นตอนการให้บริการรับเรื่อง-ส่งต่อ

ป้องกัน: ็Hot Issue 2562

บทความนี้มีรหัสผ่านป้องกันอยู่ การจะดูบทความโปรดใส่รหัสผ่านของคุณด้านล่าง

กระทรวงพลังงาน พร้อมรับมือพีคไฟฟ้าหน้าร้อนนี้

กระทรวงพลังงาน สำนักงานนโยบายและแผนพลังงาน (สนพ.) และการไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทย (กฟผ.) พร้อมรับมือพีคไฟฟ้าหน้าร้อนนี้ คาดการณ์ความต้องการใช้ไฟฟ้าช่วงฤดูร้อนเพิ่มสูงขึ้นตามอุณหภูมิที่เพิ่มขึ้น โดยสูงสุดอยู่ที่ประมาณ 35,889 เมกะวัตต์ โตขึ้นจากปีก่อน (2561) ประมาณ 4.6% และคาดว่าจะเกิดขึ้นในช่วงระหว่างปลายเดือนเมษายน – ต้นเดือนพฤษภาคม 2562 จึงขอความร่วมมือประชาชน เอกชน และภาคอุตสาหกรรม ช่วยกันประหยัดไฟฟ้าในช่วงฤดูร้อนเป็นพิเศษเพื่อความมั่นคงของระบบไฟฟ้าโดยรวม

ดร. สราวุธ แก้วตาทิพย์ รองปลัดกระทรวงพลังงานเปิดเผยว่า “สถานการณ์การผลิตไฟฟ้าในเดือนมกราคม 2562  มีกำลังผลิตในระบบไฟฟ้าไทย อยู่ที่ 56,034 เมกะวัตต์ และมีการผลิตไฟฟ้าอยู่ที่ 18,939 GWh ลดลง 0.3% โดยมีสัดส่วนการผลิตจากก๊าซธรรมชาติสูงสุด 57% ส่วนสถานการณ์การใช้ไฟฟ้าอยู่ที่ 17,600 GWh เพิ่มขึ้น 1.6% ทั้งนี้ การใช้ไฟฟ้าเพิ่มขึ้นในสาขาเศรษฐกิจสำคัญทั้งภาคธุรกิจ บ้านอยู่อาศัย ในขณะที่การใช้ไฟฟ้าในกลุ่มผู้ผลิตไฟฟ้าใช้เอง (IPS) ซึ่งคิดเป็นสัดส่วนถึง 13% ของการใช้ไฟฟ้าทั้งประเทศในเดือนนี้มีอัตราการใช้ไฟฟ้าลดลง โดยสาขาอุตสาหกรรม มีสัดส่วนการใช้ไฟฟ้า 40% การใช้ลดลงที่ 1.1% ตามดัชนีผลผลิตอุตสาหกรรมที่ลดลง สาขาธุรกิจ มีสัดส่วนการใช้ไฟฟ้า 22% การใช้เพิ่มขึ้น 7.3% ตามการขยายตัวของการบริโภคในภาคเอกชนและการท่องเที่ยว โดยกลุ่มธุรกิจหลักที่มีการใช้ไฟฟ้าในสัดส่วนที่สูง ได้แก่ ห้างสรรพสินค้า อพาร์ตเมนต์และเกสต์เฮาส์ และโรงแรม มีการใช้ไฟฟ้าเพิ่มขึ้น 3.0% 11.8% และ 2.9% ตามลำดับ ทั้งนี้ การใช้ไฟฟ้าในส่วนของโรงแรมเพิ่มขึ้นค่อนข้างสูงสอดคล้องกับจำนวนนักท่องเที่ยวต่างชาติที่เพิ่มมากขึ้น อีกทั้งมีการแข่งขันเพิ่มขึ้นในธุรกิจอพาร์ตเมนต์ให้เช่าสำหรับชาวต่างชาติใน กทม. และสาขาครัวเรือน มีสัดส่วนการใช้ไฟฟ้า 20% การใช้เพิ่มขึ้น 14.6% คาดว่าเป็นผลมาจากการหยุดยาวต่อเนื่องในช่วงเทศกาลปีใหม่

สำหรับหน้าร้อนในปีนี้ คาดการณ์ว่า ความต้องการใช้ไฟฟ้าสูงสุดของประเทศ (พีค) จะเกิดขึ้นระหว่างปลายเดือนเมษายน – ต้นเดือนพฤษภาคม 2562 ซึ่งในปีที่ผ่านมา อยู่ที่ระดับ 34,317 เมกะวัตต์ เมื่อวันที่ 24 เมษายน 2561 เวลา 13.51 น. โดยปัจจัยสำคัญที่จะส่งผลให้พยากรณ์ความต้องการใช้ไฟฟ้าเบี่ยงเบนไปจากคาดการณ์ คือ กลุ่มผู้ผลิตไฟฟ้าใช้เอง (IPS) ที่อาจเติบโตขึ้น ประเทศไทยเข้าสู่ฤดูร้อนเร็วกว่าปกติ โดยปีนี้เริ่มเข้าสู่ฤดูร้อนตั้งแต่ปลายเดือนกุมภาพันธ์ถึงกลางเดือนพฤษภาคม 2562 และสภาพอากาศที่แปรปรวน คณะทำงานจัดทำค่าพยากรณ์ความต้องการไฟฟ้า จึงประมาณความต้องการใช้ไฟฟ้าสูงสุดของประเทศ (พีค) ในปี 2562 คาดว่าจะอยู่ที่ 35,889 เมกะวัตต์ เพิ่มขึ้นร้อยละ 4.6 จากปี 2561 ซึ่งในปีนี้กรมอุตุนิยมวิทยาคาดการณ์ว่าอุณหภูมิช่วงหน้าร้อนอยู่ที่ 42-43 องศาเซลเซียส แต่หากอุณหภูมิเปลี่ยนแปลงขึ้นหรือลดลง 1 องศาเซลเซียสจะมีผลต่อการใช้ไฟฟ้าประมาณ 400 เมกะวัตต์” รองปลัดกระทรวงกล่าว

ทางด้านนายวัฒนพงษ์ คุโรวาท ผู้อำนวยการสำนักงานนโยบายและแผนพลังงาน (สนพ.) กล่าวว่า “ขณะนี้ได้จัดเตรียมมาตรการสร้างความตระหนักในการประหยัดพลังงานและขอความร่วมมือจากภาคประชาชน เอกชน และอุตสาหกรรม ให้ช่วยกันลดใช้ไฟฟ้าอย่างจริงจัง โดยได้มีการประชาสัมพันธ์ผ่านมาตรการ 4 ป. “ปิด-ปรับ-ปลด-เปลี่ยน” ตั้งแต่วันนี้เป็นต้นไป เพื่อช่วยลดปริมาณความต้องการใช้ไฟฟ้าสูงสุดของประเทศ (พีค) ไม่ให้สูงขึ้นจนทำสถิติรอบใหม่ อันจะทำให้เกิดความเสี่ยงต่อความมั่นคงระบบไฟฟ้าของประเทศ ซึ่งมาตรการลดพีคไฟฟ้า เป็นการปรับเปลี่ยนปริมาณและลักษณะการใช้ไฟฟ้าของผู้ใช้เพื่อให้สมดุลกับการผลิตไฟฟ้า สำหรับมาตรการ 4 ป. เป็นมาตรการที่ทุกคนสามารถทำได้ทันที ได้แก่ ปิดอุปกรณ์ไฟฟ้าที่ไม่จำเป็น ปรับอุณหภูมิเครื่องปรับอากาศเป็น 26 องศา ซึ่งการเพิ่ม 1 องศาจะช่วยประหยัดไฟเพิ่มได้ 10% ปลดปลั๊กอุปกรณ์ไฟฟ้าเมื่อเลิกใช้ เปลี่ยนมาใช้อุปกรณ์ประหยัดไฟเบอร์ 5 แบบใหม่ ที่มี 1 – 3 ดาว โดยแต่ละดาวจะมีประสิทธิภาพการประหยัดไฟฟ้าได้เฉลี่ยเพิ่มขึ้น 10% และเปลี่ยนเวลาที่ใช้ไฟฟ้า คือ หลีกเลี่ยงการใช้เครื่องใช้ไฟฟ้าที่ไม่จำเป็นใน 2 ช่วงเวลา คือ 13.00 – 15.00 น. เพื่อลดพีคไฟฟ้าช่วงกลางวัน และ 19.00 –21.00 น. เพื่อลดพีคไฟฟ้าช่วงกลางคืน”

ขณะที่ นายจรรยง วงศ์จันทร์พงษ์ ผู้ช่วยผู้ว่าการปฏิบัติการควบคุมระบบ การไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทย (กฟผ.) เปิดเผยว่า “สำหรับการเตรียมความพร้อมในส่วนของระบบผลิตไฟฟ้า กฟผ.บริหารจัดการโรงไฟฟ้าในระบบทั้งโรงไฟฟ้าของ กฟผ. โรงไฟฟ้า IPP และ SPP ให้มีการทำงานบำรุงรักษาเท่าที่จำเป็น และขอความร่วมมืองดบำรุงรักษานอกแผนที่ไม่มีความจำเป็นเร่งด่วนตลอดช่วงฤดูร้อน โดยเฉพาะอย่างยิ่งในช่วงเดือนมีนาคมถึง พฤษภาคม ที่มีความต้องการใช้ไฟฟ้าสูงเพื่อรักษาความมั่นคง โดยในช่วงฤดูร้อนปีนี้ จะมีกำลังผลิตสำรองพร้อมจ่ายเพียงพอสำหรับรองรับเหตุการณ์ฉุกเฉินซ้ำซ้อนที่อาจเกิดขึ้น รวมทั้งได้ประสานงานกับ ปตท. ในการเพิ่มความสามารถในการส่งเชื้อเพลิงก๊าซธรรมชาติ ให้มีความเพียงพอต่อความต้องการใช้ผลิตไฟฟ้าที่เพิ่มขึ้น ในส่วนของระบบส่งไฟฟ้าของ กฟผ. มีความพร้อมใช้งานเต็มความสามารถ โดยงดทำงานบำรุงรักษาสถานีไฟฟ้า และอุปกรณ์ในระบบส่งที่มีความสำคัญ เพื่อไม่ให้ส่งผลกระทบต่อการส่งไฟฟ้าในช่วงดังกล่าว

ขอให้ทุกภาคส่วนมั่นใจว่า กฟผ. จะดูแลระบบผลิตและส่งไฟฟ้าของประเทศให้เพียงพอต่อความต้องการใช้ไฟฟ้า และขอความร่วมมือจากทุกภาคส่วนช่วยกันลดการใช้ไฟฟ้าเพื่อช่วยให้การใช้ไฟฟ้าในระบบไม่สูงจนเกินไป”

นายวัฒนพงษ์ คุโรวาท  ผู้อำนวยการสำนักงานนโยบายและแผนพลังงาน (สนพ.) กล่าวเพิ่มเติมว่า “ในช่วงเทศกาลสงกรานต์ กรณีผู้ผลิตก๊าซธรรมชาติแหล่งยาดานา ประเทศเมียนมา มีแผนหยุดการผลิตบางส่วนเพื่อปรับปรุงและซ่อมบำรุงอุปกรณ์ประจำปี ระหว่างวันที่ 11-17 เม.ย. 2562 รวมระยะเวลา 7 วันนั้น ไม่ส่งผลกระทบต่อเชื้อเพลิงในการผลิตไฟฟ้าของไทย เพราะหน่วยงานที่เกี่ยวข้องทั้งบริษัท ปตท. จำกัด (มหาชน) และการไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทย (กฟผ.) เตรียมแผนรองรับไว้แล้ว โดยเบื้องต้น ปตท. เจรจาให้ผู้ผลิตก๊าซธรรมชาติในแหล่งอื่นดำเนินการในช่วงเทศกาลสงกรานต์ ประกอบกับเป็นช่วงที่ประชาชนเดินทางท่องเที่ยว กลับบ้านต่างจังหวัด ทำให้ความต้องการใช้ไฟฟ้าของประเทศโดยรวมอยู่ในระดับลดลง ส่งผลให้ กฟผ. ไม่จำเป็นต้องใช้น้ำมันเตาและน้ำมันดีเซลเพื่อผลิตไฟฟ้าทดแทน รวมทั้งไม่กระทบต่อต้นทุนค่าไฟฟ้า และไม่ส่งผลกระทบต่อผู้ใช้ก๊าซทั้งภาคอุตสาหกรรมและภาคขนส่งแต่อย่างใด ส่วนทางกฟผ. หลังทราบข่าวจาก ปตท. ได้เตรียมมาตรการรองรับ โดยลดการเดินเครื่องโรงไฟฟ้ากลุ่มที่ใช้ก๊าซธรรมชาติฝั่งตะวันตก ได้แก่ โรงไฟฟ้าราชบุรี โรงไฟฟ้าราชบุรีเพาเวอร์ โรงไฟฟ้าไตรเอนเนอร์ยี่ และเตรียมเพิ่มการเดินเครื่องโรงไฟฟ้าซึ่งใช้ก๊าซธรรมชาติฝั่งอ่าวไทย ทำหน้าที่เดินเครื่องหลัก เพื่อรักษาความมั่นคงของระบบไฟฟ้าในเขตนครหลวง แต่ทั้งนี้ ขอความร่วมมือจากประชาชนให้ใช้ไฟฟ้าในช่วง 7 วันดังกล่าวอย่างประหยัด เพื่อช่วยเสริมความมั่นคงทางด้านพลังงานของประเทศอีกทางหนึ่ง” ผู้อำนวยการกล่าวในที่สุด

รัฐมนตรีว่าการกระทรวงพลังงาน ผลักดันแผนการบริหารจัดการน้ำมันปาล์มด้านพลังงาน

การนำน้ำมันปาล์มดิบเพื่อการผลิตไฟฟ้า

– กฟผ.ใช้น้ำมันปาล์มดิบผลิตไฟฟ้า ณ โรงไฟฟ้าบางปะกงโดยเพิ่มปริมาณการผลิตไฟฟ้าที่ใช้น้ำมันปาล์มจากวันละ 1000 ตัน เป็น วันละ 1500 ตัน ซึ่งส่งผลให้ปริมาณการใช้น้ำมันปาล์มเพิ่มสูงขึ้น และสามารถลดปริมาณสต๊อกน้ำมันปาล์มในระบบได้เร็วขึ้นซึ่งปัจจุบันใช้เพื่อผลิตไฟฟ้าที่โรงไฟฟ้าบางปะกงไปแล้วกว่า 50,000 ตัน และคาดว่าจะสามารถรับซื้อน้ำมันปาล์มดิบ ตามมติ กนป เมื่อวันที่ 13 มีนาคม 2562 ได้ครบตามเป้า 160,000 ตัน ภายในวันที่
20 เมษายน 2562  และ กฟผ จะใช้น้ำมันปาล์มทั้งหมดในการผลิตไฟฟ้าได้ภายในเดือนปลายเดือนพฤษภาคมถึงต้นเดือนมิถุนายนนี้

 

          การส่งออกน้ำมันไบโอดีเซล B100

– ปตท. ได้รับมอบหมาย ให้พิจารณาการรับซื้อน้ำมันปาล์มดิบ( CPO) จำนวน 100,000 ตัน มาเก็บสต๊อกไว้เพื่อนำมาผลิตเป็น B100 ส่งออก  โดยให้หารือแนวทางการดำเนินการร่วมกับกระทรวงพาณิชย์ในเรื่องแนวทางการชดเชยค่าใช้จ่ายที่เกี่ยวข้องในกระบวนการดังกล่าว ซึ่งจะมีการรายงานแนวทางการดำเนินการต่อรัฐมนตรีว่าการกระทรวงพลังงานและรัฐมนตรีว่าการกระทรวงพาณิชย์ เพื่อนำเสนอขออนุมัติต่อคณะรัฐมนตรี เป็นการต่อไป

 

          นโยบายการส่งเสริมน้ำมันดีเซล B20

          -กรมธุรกิจพลังงาน คาดว่าในเดือนมีนาคมนี้จะมีปริมาณการใช้น้ำมัน B20 ปริมาณ 25 ล้านลิตร โดยตั้งเป้าจะขยายกลุ่มผู้ใช้ไปยังกลุ่มรถยนต์ดีเซลขนาดเล็กให้สามารถใช้น้ำมัน B20 ได้ โดยจะทราบผลการหารือกับผู้จำหน่ายรถยนต์ได้ภายในสัปดาห์หน้า ซึ่งปัจจุบันมีสถานีที่จำหน่ายน้ำมัน B20 จำนวน 116 สถานี และ Fleet ที่ใช้ 173 แห่ง  ในอนาคตกระทรวงพลังงานจะมีการผลักดันให้ใช้ B20 ปริมาณ 15 ล้านลิตร/วัน และ B7 ที่50 ล้านลิตร/วัน ซึ่งจะสามารถดูดซับ CPO ได้ 2 ล้านตัน/ปี

รัฐมนตรีว่าการกระทรวงพลังงาน ผลักดันแผนการบริหารจัดการน้ำมันปาล์มด้านพลังงาน

การผลักดันแผนการบริหารจัดการน้ำมันปาล์มด้านพลังงาน

การนำน้ำมันปาล์มดิบเพื่อการผลิตไฟฟ้า

– กฟผ.ใช้น้ำมันปาล์มดิบผลิตไฟฟ้า ณ โรงไฟฟ้าบางปะกงโดยเพิ่มปริมาณการผลิตไฟฟ้าที่ใช้น้ำมันปาล์มจากวันละ 1000 ตัน เป็น วันละ 1500 ตัน ซึ่งส่งผลให้ปริมาณการใช้น้ำมันปาล์มเพิ่มสูงขึ้น และสามารถลดปริมาณสต๊อกน้ำมันปาล์มในระบบได้เร็วขึ้นซึ่งปัจจุบันใช้เพื่อผลิตไฟฟ้าที่โรงไฟฟ้าบางปะกงไปแล้วกว่า 50,000 ตัน และคาดว่าจะสามารถรับซื้อน้ำมันปาล์มดิบ ตามมติ กนป เมื่อวันที่ 13 มีนาคม 2562 ได้ครบตามเป้า 160,000 ตัน ภายในวันที่
20 เมษายน 2562  และ กฟผ จะใช้น้ำมันปาล์มทั้งหมดในการผลิตไฟฟ้าได้ภายในเดือนปลายเดือนพฤษภาคมถึงต้นเดือนมิถุนายนนี้

การส่งออกน้ำมันไบโอดีเซล B100

– ปตท. ได้รับมอบหมาย ให้พิจารณาการรับซื้อน้ำมันปาล์มดิบ( CPO) จำนวน 100,000 ตัน มาเก็บสต๊อกไว้เพื่อนำมาผลิตเป็น B100 ส่งออก  โดยให้หารือแนวทางการดำเนินการร่วมกับกระทรวงพาณิชย์ในเรื่องแนวทางการชดเชยค่าใช้จ่ายที่เกี่ยวข้องในกระบวนการดังกล่าว ซึ่งจะมีการรายงานแนวทางการดำเนินการต่อรัฐมนตรีว่าการกระทรวงพลังงานและรัฐมนตรีว่าการกระทรวงพาณิชย์ เพื่อนำเสนอขออนุมัติต่อคณะรัฐมนตรี เป็นการต่อไป

นโยบายการส่งเสริมน้ำมันดีเซล B20

          -กรมธุรกิจพลังงาน คาดว่าในเดือนมีนาคมนี้จะมีปริมาณการใช้น้ำมัน B20 ปริมาณ 25 ล้านลิตร โดยตั้งเป้าจะขยายกลุ่มผู้ใช้ไปยังกลุ่มรถยนต์ดีเซลขนาดเล็กให้สามารถใช้น้ำมัน B20 ได้ โดยจะทราบผลการหารือกับผู้จำหน่ายรถยนต์ได้ภายในสัปดาห์หน้า ซึ่งปัจจุบันมีสถานีที่จำหน่ายน้ำมัน B20 จำนวน 116 สถานี และ Fleet ที่ใช้ 173 แห่ง  ในอนาคตกระทรวงพลังงานจะมีการผลักดันให้ใช้ B20 ปริมาณ 15 ล้านลิตร/วัน และ B7 ที่50 ล้านลิตร/วัน ซึ่งจะสามารถดูดซับ CPO ได้ 2 ล้านตัน/ปี

ก.พลังงาน จับมือ World Economic Forum ชูบทบาทอาเซียนพร้อมเป็นผู้นำระดับภูมิภาค ด้านระบบพลังงานต่อการเปลี่ยนแปลงสู่อนาคต

ก.พลังงาน จับมือ World Economic Forum ชูบทบาทอาเซียนพร้อมเป็นผู้นำระดับภูมิภาคด้านระบบพลังงานต่อการเปลี่ยนแปลงสู่อนาคต
แจงข่าวดี ไทยได้เลื่อนลำดับประเทศที่มีความพร้อมสู่ระบบพลังงานในอนาคตเกินค่ามาตรฐานโลก

วันนี้ (25 มี.ค. 2562) ดร.ศิริ จิระพงษ์พันธ์ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงพลังงาน และ Mr.Roberto Bocca, Head of Future of Energy and Materials, Member of the Executive Committee, World Economic Forum (นายโรแบรโต้ บาคคา ประธานด้านพลังงานและผลิตภัณฑ์แห่งอนาคตและกรรมการบริหารสภาเศรษฐกิจโลก) ร่วมกันแถลงข่าว “อาเซียนกับการเป็นผู้นำระดับภูมิภาคด้านระบบพลังงานต่อการเปลี่ยนแปลงสู่อนาคต” ณ ศูนย์เอ็นเนอร์ยี่คอมเพล็กซ์ ชั้น 6 อาคารซี ถนนวิภาวดี กรุงเทพฯ

ดร.ศิริ จิระพงษ์พันธ์ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงพลังงาน เปิดเผยว่า จากผลการสรุปภาพรวมรายงานประจำปี  (Global Energy Transitions Index 2019) ของ World Economic Forum (WEF) หรือสภาเศรษฐกิจโลก เรื่องการสนับสนุนระบบพลังงานต่อการเปลี่ยนแปลงสู่อนาคตอย่างมีประสิทธิภาพ  โดยผลสรุปรายงานฯ นี้ จะเป็นการวัดความพร้อมของระบบพลังงานต่อการเปลี่ยนแปลงสู่อนาคต โดยในปี 2562 มีการจัดลำดับทั้งหมด 115 ประเทศทั่วโลก และเป็นที่น่ายินดีเป็นอย่างยิ่งว่า ประเทศไทยได้รับการจัดลำดับที่ดีเพิ่มขึ้นถึง 3 ลำดับ โดยมาอยู่ที่ลำดับที่ 51 จากเดิมลำดับที่ 54 ในปี 2561 ที่ผ่านมา ซึ่งการเลื่อนลำดับดังกล่าว เป็นผลสืบเนื่องมาจากการเปลี่ยนแปลงที่ดีขึ้นของการขยายตัวทางเศรษฐกิจ ความมั่นคงและการเข้าถึงพลังงาน และความยั่งยืนทางสิ่งแวดล้อม โดยประเทศไทย ยังมีคะแนนด้านประสิทธิภาพของระบบพลังงาน และความพร้อมสู่ระบบพลังงานในอนาคตเกินกว่าค่ามาตรฐานโลกอีกด้วย

ทั้งนี้ การจัดลำดับในรายงานของ WEF ครั้งนี้ ถือเป็นการวัดด้านประสิทธิภาพของระบบพลังงาน มีผลวิเคราะห์ข้อมูลที่ตรวจสอบอ้างอิงได้ โดยที่ผู้กำหนดนโยบายสามารถนำข้อมูลไปเพิ่มประสิทธิภาพของระบบพลังงานของประเทศได้ โดยลำดับ 1 – 5 ของประเทศที่มีความพร้อมของระบบพลังงานต่อการเปลี่ยนแปลงสู่อนาคต ได้แก่ ประเทศสวีเดน รองลงมาได้แก่ ประเทศสวิตเซอร์แลนด์ นอร์เวย์ ฟินแลนด์ และเดนมาร์ก ตามลำดับ

Mr.Roberto Bocca  กล่าวว่า  World Economic Forum เชื่อมั่นว่า ชาติในอาเซียนจะมีบทบาทสำคัญต่อการเป็นผู้นำระดับภูมิภาคด้านระบบพลังงานต่อการเปลี่ยนแปลงที่จะเกิดขึ้นในอนาคต และจะเป็นชาติที่มีความพร้อมในการปฏิบัติการดังกล่าวเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่อง โดยการริเริ่มแนวทางการกำหนดนโยบายพลังงานในรูปแบบใหม่ๆ  และการหาพันธมิตรความร่วมมือทางพลังงาน จะเป็นแก่นสำคัญของการรับมือความท้าทายทางพลังงานของอาเซียน เนื่องจากจะไม่มีประเทศใดประเทศหนึ่งที่ระบบพลังงานจะพร้อมต่อการเปลี่ยนแปลงสู่อนาคตได้เพียงประเทศเดียว และถือได้ว่าชาติในอาเซียน อยู่ในตำแหน่งที่ดีที่แสดงความเป็นผู้นำในการผลักดันกลยุทธ์ระดับประเทศและระดับภูมิภาคอย่างมีประสิทธิภาพ

โดยภายใต้การเป็นประธานอาเซียนของประเทศไทย ในปี 2562 นี้  World Economic Forum พร้อมจะให้การสนับสนุนแผนพัฒนาความพร้อมสู่ระบบพลังงานในอนาคตของอาเซียน โดยจะได้ใช้ประโยชน์จากดัชนีวัดความพร้อมของระบบพลังงานของประเทศต่อการเปลี่ยนแปลงสู่อนาคต  ควบคู่ไปกับความร่วมมือด้าน

ฐานข้อมูลพลังงานรายภูมิภาค

กระทรวงพลังงาน ได้ปรับรูปโฉมใหม่  Provincial Energy Data “ฐานข้อมูลพลังงานรายภูมิภาค” ที่เป็นแหล่งบริการข้อมูลพลังงานไทยในระดับจังหวัด กลุ่มจังหวัด ภูมิภาค

สามารถดูรายละเอียดได้ที่นี่

ดร.ศิริ จิระพงษ์พันธ์ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงพลังงาน รมว.พลังงาน (ดร.ศิริ จิระพงษ์พันธ์) ร่วมกับ คณะกรรมการกำกับกิจการพลังงาน (กกพ.) เปิดตัวโครงการ “โซลาร์ภาคประชาชน”

ดร.ศิริ จิระพงษ์พันธ์ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงพลังงาน รมว.พลังงาน (ดร.ศิริ จิระพงษ์พันธ์) ร่วมกับ คณะกรรมการกำกับกิจการพลังงาน (กกพ.) เปิดตัวโครงการ “โซลาร์ภาคประชาชน” ให้เจ้าของบ้านและอาคารที่อยู่อาศัยที่ต้องการติดตั้งแผงเซลล์ผลิตไฟฟ้าด้วยพลังงานแสงอาทิตย์เพื่อใช้เอง สามารถเชื่อมกับระบบไฟฟ้าของประเทศ และขายผลผลิตไฟฟ้าส่วนที่เหลือใช้เข้าสู่ระบบได้

รมว.พลังงาน (ดร.ศิริ จิระพงษ์พันธ์) ได้กล่าวเปิดการแถลงข่าว เปิดตัวโครงการ “โซลาร์ภาคประชาชน” ของคณะกรรมการกำกับกิจการพลังงาน (กกพ.) ว่า ตามที่คณะกรรมการนโยบายพลังงานแห่งชาติ (กพช.) ในการประชุมเมื่อวันที่ 24 มกราคม 2562 ได้มีมติเห็นชอบแผนการพัฒนาระบบไฟฟ้าฉบับใหม่ PDP2018 ในการเสริมสร้างระบบพลังงานไฟฟ้าของประเทศที่มั่นคง ตอบสนองความต้องการของผู้บริโภค ในราคาที่ส่งเสริมให้ระบบเศรษฐกิจของประเทศสามารถแข่งขันได้ และเป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อมอย่างยั่งยืน ด้วยการใช้วิวัฒนาการด้านเทคโนโลยีตามแนวพัฒนาประเทศสู่ Thailand 4.0 ให้เป็นระบบไฟฟ้าทันสมัยให้สามารถรองรับสัดส่วนการผลิตไฟฟ้าจากพลังงานหมุนเวียนและมาตรการอนุรักษ์พลังงานได้สูงถึง 35% ในปี 2580 ซึ่งการใช้ แผงเซลล์ผลิตไฟฟ้าด้วยพลังงานแสงอาทิตย์ (Photo Voltaic Solar Cell) ถือเป็นส่วนสำคัญของแผนการผลิตไฟฟ้าจากพลังงานหมุนเวียนดังกล่าว ในสัดส่วนมากกว่า 50% ด้วยกำลังผลิตติดตั้งรวม 12,725 MW และจากนโยบายของรัฐบาลในการสนับสนุนให้ประชาชนที่ต้องการมีส่วนร่วมในการผลิตไฟฟ้าเพื่อใช้เอง ให้สามารถเชื่อมเข้าเป็นส่วนหนึ่งของระบบไฟฟ้าของประเทศ และขายผลผลิตไฟฟ้าส่วนที่เหลือใช้ในบางเวลาเข้าสู่ระบบได้   ซึ่งนอกจากจะประหยัดค่าไฟฟ้าแล้ว ยังมีรายได้เสริมจากการขายไฟฟ้าส่วนที่เหลืออีกด้วย

โครงการ “โซลาร์ภาคประชาชน” ที่ กกพ. เปิดตัวในวันนี้ เป็นการดำเนินการตามมติคณะกรรมการบริหารนโยบายพลังงาน (กบง.) ที่ได้กำหนดหลักการโครงการนำร่องการรับจดทะเบียนเจ้าของบ้านและอาคาร  ที่เป็นเจ้าของมิเตอร์ ประเภทบ้านอยู่อาศัย ที่ต้องการติดตั้งแผงเซลล์ผลิตไฟฟ้าด้วยพลังงานแสงอาทิตย์เพื่อใช้เอง สามารถเชื่อมกับระบบไฟฟ้าของประเทศ และขายผลผลิตไฟฟ้าส่วนเกินความต้องการใช้ เข้าสู่ระบบได้ ในขนาดการติดตั้งประมาณ 100 MW ต่อปี เป็นระยะเวลา 10 ปี โดยคาดว่าจะเริ่มรับจดทะเบียนได้ตั้งแต่ เดือนพฤษภาคมนี้ เป็นต้นไป และในขณะเดียวกัน รัฐบาลก็จะได้ออกมาตรการสนับสนุนให้ผู้ผลิตแผงโซล่าเซลล์และผู้ประกอบการติดตั้งระบบในประเทศ และสถาบันอาชีวะศึกษา ให้มีส่วนร่วมในธุรกิจการติดตั้งและบำรุงรักษาระบบ ที่ในแต่ละปีคาดว่าจะมีการติดตั้งประมาณ 10,000 – 20,000 ระบบ เป็นมูลค่าประมาณ 4,000 ล้านบาท/ปี หรือประมาณ 40,000 ล้านบาท ตลอดระยะเวลาโครงการ 10 ปี ทั้งนี้หลักการของโครงการจะได้มีการนำเสนอ  โดย กกพ. ในลำดับต่อไป

นายเสมอใจ ศุขสุเมฆ ประธานกรรมการกำกับกิจการพลังงาน (กกพ.)  เปิดเผยว่า ภายใต้นโยบายของ กกพ.  ได้แก่ การเปิดเผยข้อมูล การสร้างความเข้าใจ และการสร้างความโปร่งใส ในกระบวนการพิจารณาทุกขั้นตอน ให้กับประชาชนที่ต้องการเข้าร่วมโครงการโซลาร์ภาคประชาชน จะเป็นปัจจัยสำคัญที่จะทำให้โครงการฯประสบความสำเร็จและเกิดประโยชน์สูงสุดเป็นไปตามเป้าหมาย และนโยบายของรัฐบาล

“การประกาศรับซื้อไฟฟ้าภายใต้โครงการโซลาร์ภาคประชาชนครั้งนี้ จะเป็นมิติใหม่ในการกำกับดูแลภาคพลังงานของ กกพ. เพราะนอกเหนือจากการที่ กกพ. ออกระเบียบและหลักเกณฑ์ในการจัดหาไฟฟ้า และออกประกาศเชิญชวนตามปกติแล้ว กกพ. ยังจะอำนวยความสะดวกด้านการให้ข้อมูล และการสร้างความเข้าใจให้กับประชาชน เพื่อให้ประชาชนมีข้อมูลครบถ้วนในการตัดสินใจ และยืนยันทุกคนจะได้รับการพิจารณาอย่างโปร่งใส และเป็นธรรม” นายเสมอใจกล่าว

สำหรับขั้นตอนในการดำเนินการ ประกอบด้วย

  1. สำนักงานคณะกรรมการกำกับกิจการพลังงาน (สำนักงาน กกพ.) จะเริ่มกระบวนการเผยแพร่ประชาสัมพันธ์โครงการฯ ตั้งแต่เดือนมีนาคม 2562 โดยประชาชนผู้สนใจเข้าร่วมโครงการสามารถติดต่อเพื่อสอบถามข้อมูลได้ที่ 02-207-3599 หรือติดตามจากเว็บไซต์ สำนักงาน กกพ. ที่ www.erc.or.th และเว็บไซต์ของการไฟฟ้าฝ่ายจำหน่ายทั้ง 2 แห่ง
  2. เปิดรับลงทะเบียนสำหรับผู้สนใจเข้าร่วมโครงการผ่านเว็บไซต์ของการไฟฟ้านครหลวงและเว็บไซต์ ของการไฟฟ้าส่วนภูมิภาคทั่วประเทศ ตั้งแต่เดือนพฤษภาคม และหมดเขตรับลงทะเบียนภายในปี 2562
  3. ทยอยประกาศรายชื่อผู้ผ่านการพิจารณาโดยการไฟฟ้าฝ่ายจำหน่าย ตั้งแต่เดือนมิถุนายน 2562
  4. กำหนดจ่ายไฟฟ้าเข้าระบบเชิงพาณิชย์ ภายในปี 2562

นายเสมอใจ กล่าวว่า อยากให้ประชาชนได้มีการศึกษาข้อมูลที่เกี่ยวข้องอย่างละเอียดถี่ถ้วนด้วย โดยเฉพาะการพิจารณาผลประโยชน์ที่จะได้รับ ซึ่งโครงการฯ ดังกล่าวประชาชน จะต้องมีการลงทุนเพื่อติดตั้งระบบ ดังนั้น ควรต้องคำนึงถึงความคุ้มทุนที่จะเกิดขึ้นกับการลงทุนด้วย ซึ่งความคุ้มค่าการลงทุนจะขึ้นกับพฤติกรรมการใช้ไฟฟ้าของครัวเรือนเป็นหลัก และอยากให้มีการเปรียบเทียบ กับปริมาณความต้องการ และช่วงเวลา ในการใช้ไฟฟ้า เช่น หากมีปริมาณการใช้ไฟฟ้าช่วงกลางวันมากอยู่แล้ว ระยะเวลาในการคุ้มทุนย่อมเร็วกว่า เป็นต้น

นางสาวนฤภัทร อมรโฆษิต เลขาธิการสำนักงาน กกพ. เปิดเผยถึงหลักเกณฑ์การประกาศรับซื้อไฟฟ้าภายใต้โครงการฯ ประกอบด้วย

  1. คุณสมบัติผู้เข้าร่วมโครงการ :

1.1 บุคคลหรือนิติบุคคลที่เป็นเจ้าของเครื่องวัดหน่วยไฟฟ้า

1.2 เป็นผู้ที่มีเครื่องวัดหน่วยไฟฟ้าประเภทที่ 1 ตามประกาศอัตราค่าไฟฟ้าของการไฟฟ้าฝ่ายจำหน่าย

ไม่เกิน 10 KW ต่อครัวเรือน

  1. เป้าหมาย และปริมาณการรับซื้อรวม 100 เมกะวัตต์ :

2.1. พื้นที่การไฟฟ้านครหลวงรวม 30 เมกะวัตต์

2.2. พื้นที่การไฟฟ้าส่วนภูมิภาครวม 70 เมกะวัตต์

  1. เงื่อนไขในการพิจารณา และข้อยกเว้น :

การพิจารณาแบบเรียงลำดับก่อนหลังตามความพร้อม (First come First served) โดยจะยึดถือวันและเวลาที่ได้รับแบบคำขอที่มีความครบถ้วนสมบูรณ์ของเอกสารหลักฐานที่กำหนดเป็นสำคัญ

  1. ราคารับซื้อไฟฟ้าส่วนเกินในอัตราไม่เกิน 1.68 บาท/หน่วย ระยะเวลารับซื้อ 10 ปี

รัฐมนตรีว่าการกระทรวงพลังงาน แถลงข่าวติดตามความคืบหน้าโครงการพลังงานแสงอาทิตย์บนทุ่นลอยน้ำในพื้นที่เขื่อน กฟผ.

วันนี้ (18 มีนาคม 2562) ดร.ศิริ จิระพงษ์พันธ์ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงพลังงาน (รมว.พน.) แถลงข่าวติดตามความคืบหน้าโครงการพลังงานแสงอาทิตย์บนทุ่นลอยน้ำในพื้นที่เขื่อน กฟผ. โดยมี นายกุลิศ สมบัติศิริ ปลัดกระทรวงพลังงาน นายวิบูลย์ ฤกษ์ศิระทัย ผู้ว่าการการไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทย (กฟผ.) นายธวัชชัย จักรไพศาล รองผู้ว่าการเชื้อเพลิง กฟผ. และนายเทพรัตน์ เทพพิทักษ์ รองผู้ว่าการพัฒนาโรงไฟฟ้าและพลังงานหมุนเวียน กฟผ. ร่วมให้ข้อมูล ณ ห้องประชุม 201 อาคาร ท.100 สำนักงานใหญ่ กฟผ. อำเภอบางกรวย จังหวัดนนทบุรี
ดร.ศิริ จิระพงษ์พันธ์ รมว.พน. กล่าวว่า ในแผนพัฒนากำลังการผลิตไฟฟ้าของประเทศไทย (PDP 2018) ในสัดส่วนของการผลิตไฟฟ้าจากพลังงานหมุนเวียน ได้มอบหมายให้ กฟผ. ดำเนินงานโครงการโรงไฟฟ้าพลังงานแสงอาทิตย์ บนทุ่นลอยน้ำร่วมกับโรงไฟฟ้าพลังน้ำ หรือ Hydro-Floating Solar Hybrid รวมกำลังการผลิต 2,725 เมกะวัตต์ ซึ่งจะดำเนินการให้แล้วเสร็จภายใน 10 ปี โดยให้นำร่องโครงการแรกที่เขื่อนสิรินธร ขนาด 45 เมกะวัตต์ ซึ่งเป็นโครงการไฮบริดแห่งแรกที่ใหญ่ที่สุดในโลก ที่จะช่วยให้เกิดความมั่นคงของระบบไฟฟ้าและบริหารจัดการน้ำให้เกิดประสิทธิภาพสูงสุด
ด้าน นายวิบูลย์ ฤกษ์ศิระทัย ผู้ว่าการ กฟผ. กล่าวถึงแผนนำร่องโครงการโรงไฟฟ้าพลังงานแสงอาทิตย์ บนทุ่นลอยน้ำร่วมกับโรงไฟฟ้าพลังน้ำโครงการแรกที่เขื่อนสิรินธร จังหวัดอุบลราชธานี กำลังการผลิต 45 เมกะวัตต์ ใช้พื้นที่ผิวน้ำในการติดตั้ง 450 ไร่ ซึ่งเชื่อมโยงระบบพลังน้ำ โดยใช้ทรัพยากรร่วมกับเขื่อน ได้แก่ หม้อแปลง สายส่ง และสถานีไฟฟ้าแรงสูง เป็นการใช้ทรัพยากรให้เกิดประโยชน์สูงสุด ลดการระเหยของน้ำ ช่วยเสริมความมั่นคงในระบบไฟฟ้า ช่วยเพิ่มความยืดหยุ่นในการบริหารจัดการน้ำ เสริมความต้องการใช้ไฟฟ้าสูงสุดในระบบช่วงกลางคืนเพื่อลดการผลิตไฟฟ้าจากเชื้อเพลิงฟอสซิล ลดการใช้พื้นที่ทางการเกษตร เพิ่มประสิทธิภาพการผลิตไฟฟ้าของแผงโซล่าเซลล์เนื่องจากมีอุณหภูมิต่ำที่ผิวน้ำ และเป็นจุดแลนมาร์คใหม่สำหรับการท่องเที่ยว
โดยรายละเอียดโครงการเป็นการออกแบบติดตั้งอุปกรณ์ทั้งหมดบนทุ่นลอยน้ำ และใช้แผงโซลาร์เซลล์ชนิด Double glass เนื่องจากมีความเหมาะสมกับสภาพการใช้งานที่วางแผงโซลาร์เซลล์ใกล้ผิวน้ำ ซึ่งมีความชื้นสูงและยังมีการเคลื่อนไหวของผิวน้ำตลอดเวลา ทั้งนี้ กฟผ. จะออกประกาศเชิญชวนในวันที่ 15พฤษภาคม 2562และยื่นซองประมูลภายในสิ้นเดือนกรกฎาคม 2562 และจะประกาศผู้ชนะภายในสิ้นเดือนตุลาคม 2562คาดว่าจะเริ่มดำเนินการโครงการเดือนมกราคม 2563 เพื่อให้สามารถจ่ายไฟฟ้าเชิงพาณิชย์ได้ทันตามแผนในเดือนธันวาคม 2563

 

 

รัฐมนตรีว่าการกระทรวงพลังงาน แถลงข่าวเพิ่มการใช้น้ำมันปาล์มผลิตกระแสไฟฟ้าที่โรงไฟฟ้าบางปะกง

วันนี้ (18 มีนาคม 2562) ดร.ศิริ จิระพงษ์พันธ์ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงพลังงาน (รมว.พน.) แถลงข่าวเพิ่มการใช้น้ำมันปาล์มผลิตกระแสไฟฟ้าที่โรงไฟฟ้าบางปะกง จังหวัดฉะเชิงเทรา และพิจารณาเพิ่มจุดรับซื้อน้ำมันปาล์มเพิ่มเติม โดยมี นายกุลิศ สมบัติศิริ ปลัดกระทรวงพลังงาน นายวิบูลย์ ฤกษ์ศิระทัย ผู้ว่าการการไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทย (กฟผ.) นายธวัชชัย จักรไพศาล รองผู้ว่าการเชื้อเพลิง กฟผ. และนายเทพรัตน์ เทพพิทักษ์ รองผู้ว่าการพัฒนาโรงไฟฟ้าและพลังงานหมุนเวียน กฟผ. ร่วมให้ข้อมูล ณ ห้องประชุม 201 อาคาร ท.100 สำนักงานใหญ่ กฟผ. อำเภอบางกรวย จังหวัดนนทบุรี

ดร.ศิริ จิระพงษ์พันธ์ รมว.พน. กล่าวว่า จากมาตรการปรับสมดุลน้ำมันปาล์มในประเทศของรัฐบาล
ที่กระทรวงพลังงานได้มอบหมายให้ กฟผ. ดำเนินการรับซื้อน้ำมันปาล์มดิบจากโรงงานสกัดน้ำมันปาล์มมาผลิตไฟฟ้าที่โรงไฟฟ้าบางปะกง ล่าสุดคณะกรรมการนโยบายปาล์มน้ำมันแห่งชาติ (กนป.) ได้มีมติเมื่อวันที่ 13 มีนาคม 2562 มอบหมายให้ กระทรวงพลังงาน โดย กฟผ. เพิ่มปริมาณการใช้น้ำมันปาล์มดิบเดินเครื่องผลิตกระแสไฟฟ้า จากวันละ 1,000 ตัน เพิ่มกำลังการผลิตเป็นวันละ 1,500 ตัน เพื่อเร่งดูดซับปริมาณน้ำมันปาล์มดิบออกจากระบบได้เร็วยิ่งขึ้น ซึ่งจะช่วยกระตุ้นราคาผลปาล์มให้มีราคาสูงขึ้น และขอให้ กฟผ. ดำเนินการเพิ่มจุดรับน้ำมันปาล์มดิบที่ จ.สุราษฎร์ธานี อย่างเร่งด่วน คาดว่าจะทำให้เกษตรกรสามารถขายปาล์มดิบได้ในราคากิโลกรัมละ 3 บาท – 3.2 บาท อย่างต่อเนื่อง

ด้าน นายวิบูลย์ ฤกษ์ศิระทัย ผู้ว่าการ กฟผ. เปิดเผยถึงความคืบหน้าแนวทางการเพิ่มปริมาณการใช้น้ำมันปาล์มดิบ ในการผลิตไฟฟ้าของโรงไฟฟ้าพลังความร้อนบางปะกง หน่วยที่ 3 ว่า ขณะนี้ กฟผ. อยู่ระหว่างการขอใบอนุญาตเพื่อให้สามารถรองรับการเดินเครื่องที่เพิ่มขึ้นจาก คณะกรรมการกำกับกิจการพลังงาน (กกพ.) โดย กฟผ. ได้ดำเนินการทดสอบระบบการเดินเครื่องทางเทคนิครองรับการเพิ่มปริมาณการใช้น้ำมันปาล์มดิบเดินเครื่องผลิตกระแสไฟฟ้าเป็นวันละ 1,500 ตัน เรียบร้อยแล้ว ซึ่งจะใช้น้ำมันปาล์มดิบได้หมดภายในต้นเดือนมิถุนายน 2562 ซึ่งเร็วขึ้นประมาณ 2 เดือน จากเดิมที่กำหนดไว้ปลายเดือนกรกฎาคม 2562

ในส่วนการรับซื้อน้ำมันปาล์มมีผู้จำหน่ายน้ำมันปาล์มดิบให้ กฟผ. จำนวนทั้งสิ้น 31 ราย รวมปริมาณ 155,000 ตัน โดย กฟผ. ได้ดำเนินการจัดทำสัญญาร่วมกับผู้จำหน่ายน้ำมันปาล์มดิบเรียบร้อยแล้ว ปริมาณ 126,000 ตัน คงเหลือปริมาณที่อยู่ระหว่างการจัดทำสัญญา 29,000 ตัน และอยู่ระหว่างกรมการค้าภายในจะแจ้งมาอีก 5,000 ตัน ซึ่งจะทำให้ครบ 160,000 ตัน ทั้งนี้ กฟผ. ได้รับมอบน้ำมันปาล์มดิบแล้วจำนวน 42,000 ตัน โดยใช้ผลิตกระแสไฟฟ้าประมาณ วันละ 1,000 ตัน รวมปริมาณที่ใช้เพื่อผลิตกระแสไฟฟ้าแล้ว 34,000 ตัน (ข้อมูล ณ วันที่ 16 มี.ค.62) และอยู่ระหว่างการส่งมอบ 118,000 ตัน นอกจากนั้น กฟผ. กำลังดำเนินการพิจารณาเพิ่มจุดรับซื้อเพิ่มเติมที่คลัง จ.สุราษฎร์ธานี โดยจะเร่งดำเนินการชำระเงินให้แก่โรงสกัดที่จัดทำเอกสารเรียกเก็บเงินครบถ้วนให้แล้วเสร็จภายใน 7 วันทำการ (จากเดิม 15 วันทำการ) เพื่อให้โรงงานสกัดน้ำมันปาล์มมีความสามารถในการรับซื้อผลปาล์มทะลายจากเกษตรกรได้มากขึ้น

ด้าน นายกุลิศ สมบัติศิริ ปลัดกระทรวงพลังงาน กล่าวว่า กระทรวงพลังงานได้ประสานงานกับกระทรวงพาณิชย์ในการดำเนินงานรับซื้อน้ำมันปาล์มดิบจากโรงงานสกัดน้ำมันปาล์ม เพื่อใช้น้ำมันปาล์มดิบในการผลิตไฟฟ้าของโรงไฟฟ้าพลังความร้อนบางปะกง หน่วยที่ 3 อย่างต่อเนื่อง เพื่อช่วยเหลือเกษตรกร ให้ราคาผลปาล์มไม่ต่ำกว่า 3 บาทต่อกิโลกรัม ตามนโยบายรัฐบาล และขอบคุณ กฟผ. ที่สนองตอบการดำเนินงานตามแนวทางของกระทรวงพลังงาน

 

กระทรวงพลังงาน หารือร่วมกับผู้ประกอบการผลิตและจำหน่ายแผงโซล่าเซลล์ ส่งเสริมนโยบายการผลิตไฟฟ้าจากพลังงานแสงอาทิตย์

วันนี้ (13 มีค.2562) ดร.ศิริ จิระพงษ์พันธ์ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงพลังงาน ได้ประชุมร่วมกับผู้ประกอบการผลิตและจำหน่ายแผงโซล่าเซลล์ มากกว่า 50 ราย ในประเด็นเรื่อง “นโยบายการผลิตไฟฟ้าจากพลังงานแสงอาทิตย์” ซึ่งการประชุม ฯ ในวันนี้ เป็นการให้ข้อมูลสถานการณ์ปัจจุบันที่เกี่ยวกับแผนงานของรัฐบาลในเรื่องของการผลิตไฟฟ้าจากพลังงานแสงอาทิตย์ ให้ผู้ประกอบการรับทราบข้อมูล เพื่อให้เกิดความมั่นใจในการนำไปพัฒนา และวางแผนการลงทุนในอนาคต

ดร.ศิริ กล่าวว่า ปัจจุบันประเทศไทยมีการติดตั้งโซลาร์เซลล์ไปแล้วทั้งสิ้น 3,449 MW (ข้อมูล ธ.ค.2561) ประกอบด้วย solar farm, solar PV rooftop และโครงการต่างๆ ของภาครัฐ ซึ่งกระทรวงพลังงานได้มีการส่งเสริมและสนับสนุนการผลิตไฟฟ้าจากพลังงานแสงอาทิตย์ ติดตั้งไปแล้ว 3,250 MW จากเป้าหมายการผลิตไฟฟ้าจากพลังงานแสงอาทิตย์ 6,000 MW ตามแผน PDP 2015 ทำให้ยังคงเหลืออีก 2,750 MW ต่อมาได้จัดทำแผน PDP 2018 โดยมีเป้าหมายการผลิตไฟฟ้าจากพลังงานแสงอาทิตย์เพิ่มขึ้นอีก 12,725 MW ในอีก 18 ปี ข้างหน้า โดยแบ่งแยกเป็น 2 ส่วนใหญ่ๆ คือ โซลาร์ภาคประชาชน 10,000 MW และจากการไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทยในโครงการผลิตไฟฟ้าเซลล์แสงอาทิตย์บนทุ่นลอยน้ำ 2,725 MW ทั้งมีการมอบหมายให้ กกพ. พิจารณากำหนดหลักเกณฑ์ในกรณีการไฟฟ้ารับซื้อไฟฟ้าส่วนที่เหลือจากที่ใช้เองจากครัวเรือนต่างๆ ด้วย เพื่อให้สร้างความเข้าใจที่ตรงกันทุกฝ่าย นำมาซึ่งการบรรลุเป้าหมายที่วางไว้
ทั้งนี้ กระทรวงพลังงาน ยังได้มีการดำเนินการส่งเสริมพลังงานแสงอาทิตย์เพื่อชุมชน เช่น โครงการระบบสูบน้ำพลังงานแสงอาทิตย์ โดยติดตั้งแล้วเสร็จ 1,087 แห่ง กำลังจะติดตั้งเพิ่มเติมอีก 1,446 แห่งในปี 2562 นอกจากนี้ยังมีการส่งเสริมโครงการระบบผลิตไฟฟ้าพลังงานแสงอาทิตย์ในโรงเรียนห่างไกล 439 แห่ง, และโครงการระบบผลิตไฟฟ้าพลังงานแสงอาทิตย์ในโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลที่ห่างไกล 239 แห่ง

ดร.วีรพัฒน์ เกียรติเฟื่องฟู ผู้อำนวยการสำนักนโยบายไฟฟ้า สำนักงานนโยบายและแผนพลังงาน กล่าวว่า ครม. เมื่อวันที่ 12 มีนาคม 2562 รับทราบมติ กพช. ที่เห็นชอบ PDP 2018 ซึ่งตาม PDP 2018 พบว่า ตั้งแต่ปี 2568 มีความจำเป็นต้องลงทุนโรงไฟฟ้าเพิ่มเติมเพื่อรองรับความต้องการใช้ไฟฟ้าของประเทศ โดยมีการพิจารณาการลงทุนเพิ่มนั้นจะพิจารณาเป็นรายภาค สำหรับโรงไฟฟ้าพลังงานหมุนเวียนนั้นจะมีการพิจารณาศักยภาพเชื้อเพลิงรายพื้นที่นั้นๆ โดยตาม PDP 2018 ในระยะยาวมีเป้าหมายกำลังการผลิตติดตั้งรวม 18,175 MW โดยเป็นการผลิตไฟฟ้าจากพลังงานแสงอาทิตย์รวมประมาณ 12,275 MW แบ่งเป็น โซลาร์ภาคประชาชน 10,000 MW และ Floating Solar อีกประมาณ 2,725 MW

นายคมกฤช ตันตระวาณิชย์ รองเลขาธิการสำนักงานคณะกรรมการกำกับกิจการพลังงาน (กกพ.) กล่าวว่า ในระยะแรก กกพ. จักมีโครงการทดลอง โซล่าร์ภาคประชาชน สำหรับภาคครัวเรือน ไม่เกิน 100 MW ภายในปี 2562 ด้วยราคารับซื้อไฟฟ้าส่วนเกินในอัตราไม่เกิน 1.68 บาท/หน่วยในระยะเวลารับซื้อส่วนเกิน 10 ปี โดยผู้เข้าร่วมโครงการต้องมีการเปลี่ยนมิเตอร์เป็นแบบสองทางด้วย ทั้งนี้ กกพ.จะมีการจัดรับฟังความเห็นร่างระเบียบการรับซื้อไฟฟ้าฯตั้งแต่ 16 มีนาคม 2562 – 1 เมษายน 2562 หลังจากนั้นการไฟฟ้าฝ่ายจำหน่ายจะเปิดลงทะเบียนและรับข้อเสนอโครงการข่วงเดือน พฤษภาคม – กรกฎาคม 2562 และจะมีการประกาศรายชื่อผู้ที่ผ่านการพิจารณา รวมทั้งลงนามในสัญญาซื้อขายไฟฟ้าให้แล้วเสร็จภายในตุลาคม 2562

นายเทพรัตน์ เทพพิทักษ์ รองผู้ว่าการการไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทย กล่าวว่า ตามแผน PDP2015 กฟผ. จะเริ่มโครงการนำร่อง Hydro Floating Solar Hybrid ที่เขื่อนสิริธร ขนาดกำลังการผลิต 45 MW โดยมีแผนเปิดดำเนินงาน (COD) ภายในธันวาคม 2563 ในพื้นที่โครงการวม 760 ไร่ เป็นพื้นที่ผิวน้ำประมาณ 45 ไร่สำหรับติดตั้งแผงโซล่าร์เซลล์ ไม่รวมส่วนยึดโยงต่างๆ โดยปัจจุบัน กฟผ. อยู่ระหว่างการออกแบบโครงการเบื้องต้น ซึ่งส่วนประกอบสำคัญได้แก่ (1) Double Glass Type PV Panel (2) HDPE Pontoon (3) ระบบยึดโยงที่รองรับระดับน้ำที่มีการเปลี่ยนแปลงขึ้นลงอย่างมา โดยใช้แบบ Bottom Anchoring ที้งนี้ กฟผ. มีแผนการเปิดประมูลจัดซื้อจัดจ้างในเดือนพฤษภาคม 2562

นายวิรัช มณีขาว ผู้อำนวยการกลุ่มออกแบบมาตรฐานและทดสอบ กรมพัฒนาพลังงานทดแทนและอนุรักษ์พลังงาน กล่าวว่า ที่ผ่านมากระทรวงพลังงานมีโครงการหลัก 2 โครงการได้แก่
(1) โครงการสูบน้ำพลังงานแสงอาทิตย์ในเขตพื้นที่ชนบทตั้งแต่ปีงบประมาณ 2546 – 2558 รวม 100 แห่ง ระบบละไม่น้อยกว่า 2 kW
(2) โครงการสูบน้ำพลังงานแสงอาทิตย์สู้ภัยแล้งตั้งแต่ปีงบประมาณ 2559 ซึ่งรวมดำเนินการแล้ว 846 แห่ง ระบบละไม่น้อยกว่า 2.5 kW ครอบคลุม 56 จังหวัด

และนายธนธัช จังพานิช ผู้จัดการสำนักงานบริหารกองทุนเพื่อส่งเสริมการอนุรักษ์พลังงาน กล่าวว่า กิจกรรมส่งเสริมการพัฒนาคุณภาพขีวิตของประชาชนและลดความเหลื่อมล้ำด้วยพลังงานแสงอาทิตย์ (สนับสนุนโครงการไทยนิยมยั่งยืน) มีวัตถุประสงค์ (1) ระบบสูบน้ำพลังงานแสงอาทิตย์เพื่อลดต้นทุนและขยายโอกาสทางการเกษตร (2) ระบบผลิตไฟฟ้าพลังงานแสงอาทิตย์ เพื่อสร้างโอกาสการเข้าถึงแหล่งเรียนรู้ทางไกลและนวัตกรรมทางการศึกษา (3) ระบบผลิตไฟฟ้าพลังงานแสงอาทิตย์ เพื่อพัฒนาคุณภาพชีวิตของประชาชนในชนบท โดยมีกำลังการผลิตรวมของทั้ง 3 ระบบเป็น 7,709 kW และ 13,407 kW สำหรับผลการดำเนินงานปีงบประมาณ 2561 (เพิ่มเติม) และปีงบประมาณ 2562 ตามลำดับ

ก.พลังงาน จับมือ ก.พาณิชย์ เดินหน้าดูดซับสต๊อกน้ำมันปาล์มดิบ สร้างสมดุลย์ราคาช่วยเหลือเกษตรกรปาล์มน้ำมันต่อเนื่อง

ในวันนี้ (1 มี.ค. 2562) ณ ห้องประชุมชั้น 15 กระทรวงพลังงาน  ดร. ศิริ จิระพงษ์พันธ์ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงพลังงาน ได้ร่วมกับ นางสาวชุติมา บุณยประภัศร รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงพาณิชย์ ประชุมกับหน่วยราชการของทั้ง     2 กระทรวง การไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทย (กฟผ.) และผู้ค้าน้ำมันตามมาตรา 7 เพื่อติดตามผลการดำเนินงานตามมาตรการปรับสมดุลน้ำมันปาล์มของรัฐบาลในการกระตุ้นให้ราคาทลายปาล์มสดอยู่ในระดับไม่ต่ำกว่า 3 บาท/กก อย่างต่อเนื่อง โดยมีผลการประชุมสรุปได้ดังนี้

  1. เพื่อรณรงค์เพิ่มการใช้น้ำมัน B20 ให้มากยิ่งขึ้นอย่างต่อเนื่อง คณะกรรมการบริหารนโยบายพลังงาน ในการประชุมเมื่อวันที่ 25 กุมภาพันธ์ 2562 ได้มีมติขยายระยะเวลาการใช้เงินกองทุนน้ำมันเชื้อเพลิงสร้างส่วนลดราคาน้ำมันดีเซล B20 ให้ต่ำกว่าน้ำมันดีเซลเกรดทั่วไป ลิตรละ 5 บาท ต่อไปอีก 3 เดือน ตั้งแต่วันที่ 1 มีนาคม 62 ถึง 31 พฤษภาคม 62
  2. ให้ผู้ค้าน้ำมันตามมาตรา 7 เร่งขยายเครือข่ายสถานีบริการ (ปั๊มน้ำมัน) ที่มีหัวจ่ายน้ำมันดีเซล B20 เพิ่มเติม จากปัจจุบันที่มีจำหน่ายแล้ว รวม 42 แห่ง (ประกอบด้วย บมจ. ปตท.น้ำมันและค้าปลีก 5 แห่ง บมจ.บางจาก 21 แห่ง บจ.ซัสโก้ ดิลเลอร์ 1 แห่ง และบมจ.ซัสโก้ 15 แห่ง) นอกจากนี้ ยังได้รับแจ้งจาก บจ.เชลล์แห่งประเทศไทย และ บมจ.พีทีจี เอ็นเนอร์ยี่ ที่มีแผนงานจะเริ่มจำหน่ายน้ำมัน B20 ในสถานีบริการ ภายในเดือนมีนาคม 62 นี้
  3. รับทราบรายงานสถิติยอดจำหน่ายน้ำมันดีเซล B20 ในเดือนกุมภาพันธ์ 62 ที่กว่า 15 ล้านลิตร ซึ่งเพิ่มขึ้นเท่าตัวจากยอดจำหน่ายประมาณ 8 ล้านลิตรในเดือนมกราคม โดยกระทรวงพลังงานได้ตั้งเป้าหมายการจำหน่ายน้ำมัน B20 ในเดือนมีนาคมที่ 30 ล้านลิตร และจะเพิ่มเป็น 90 ล้านลิตร/เดือน ภายในเดือนพฤษภาคม 2562 นี้ ซึ่งคาดว่าจะช่วยเพิ่มการดูดซับน้ำมันปาล์มดิบได้สูงถึงประมาณ 1.6 ล้านตัน/ปี
  4. รับทราบความคืบหน้าในการจัดหาน้ำมันปาล์มดิบของการไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทย (กฟผ.) เพื่อใช้เป็นเชื้อเพลิงในการผลิตไฟฟ้าที่โรงไฟฟ้าบางปะกง ซึ่งปัจจุบันได้ทำสัญญาซื้อน้ำมันปาล์มดิบกับโรงสกัดน้ำมันปาล์มผู้ขาย 23 ราย รวมปริมาณน้ำมันปาล์มดิบตามสัญญาเท่ากับ 118,000 ตัน โดยมีกำหนดการจัดส่งอย่างต่อเนื่องในอัตรา 30,000 ตัน/เดือน และได้จัดส่งจากโรงสกัดน้ำมันปาล์มผู้ขายถึงโรงไฟฟ้าบางปะกงแล้ว 24,000 ตัน และใช้เป็นเชื้อเพลิงแล้ว 16,000 ตัน ทั้งนี้ได้ร่วมมือกับกรมการค้าภายใน กระทรวงพาณิชย์ จัดหาน้ำมันปาล์มดิบครบ แล้ว 160,000 ตัน ในวันที่ 1 มีนาคม 62 รวมทั้งติดตามให้มั่นใจว่าโรงสกัดน้ำมันปาล์มผู้ขายจะรับซื้อทลายปาล์มสดจากเกษตรกรสวนปาล์ม ในราคา 20-3.24 บาท/กก ตามสัญญา

ปลัดกระทรวงพลังงาน พร้อมด้วยผู้บริหารระดับสูงจากกระทรวงพลังงาน ประชุมและหารือกับกระทรวงอุตสาหกรรม

วันนี้ (21 ก.พ.) นายกุลิศ สมบัติศิริ ปลัดกระทรวงพลังงาน พร้อมด้วยผู้บริหารระดับสูงจากกระทรวงพลังงาน อาทิ ดร.ทวารัฐ สูตะบุตร ผู้ตรวจราชการกระทรวงพลังงาน นายสราวุธ แก้วตาทิพย์ รองอธิบดีกรมเชื้อเพลิงธรรมชาติ(ชธ.) นางอุษา ผ่องลักษณา รองอธิบดีกรมธุรกิจพลังงาน(ธพ.) นายวัฒนพงษ์ คุโรวาท รองผู้อำนวยการสำนักงานนโยบายและแผนพลังงาน(สนพ.) นายวันชัย บันลือสินธุ์ รองอธิบดีกรมพัฒนาพลังงานทดแทนและอนุรักษ์พลังงาน(พพ.) ร่วมประชุมและหารือกับนายพสุ โลหารชุน ปลัดกระทรวงอุตสาหกรรม และคณะผู้บริหาร ณ ห้องประชุม อก. 1 อาคารสำนักงานปลัดกระทรวงอุตสาหกรรม

ทั้งนี้ การประชุมร่วมระหว่างกระทรวงพลังงาน และกระทรวงอุตสาหกรรม มีประเด็นการหารือที่สำคัญๆ ได้แก่ แนวทางการพัฒนายานยนต์ไฟฟ้า การบริหารจัดการขยะอุตสาหกรรมจากภาคพลังงานให้เกิดประโยชน์สูงสุดรวมถึงการนำไปผลิตพลังงาน เช่น แผงโซลาร์เซลล์ แบตเตอรี่ แท่นขุดเจาะปิโตรเลียมที่หมดอายุ รวมทั้งความร่วมมือการอนุรักษ์พลังงานในภาคอุตสาหกรรม เป็นต้น

ปลัดกระทรวงพลังงาน พร้อมด้วยผู้บริหารระดับสูงจากกระทรวงพลังงาน ประชุมและหารือกับกระทรวงเกษตรและสหกรณ์

วันนี้ (18 ก.พ.) นายกุลิศ สมบัติศิริ ปลัดกระทรวงพลังงาน พร้อมด้วยผู้บริหารระดับสูงจากกระทรวงพลังงาน อาทิ นางเปรมฤทัย วินัยแพทย์ อธิบดีกรมเชื้อเพลิงธรรมชาติ(ชธ.) นางสาวนันธิกา ทังสุพานิช อธิบดีกรมธุรกิจพลังงาน (ธพ.) นายวันชัย บันลือสินธุ์ รองอธิบดีกรมพัฒนาพลังงานทดแทนและอนุรักษ์พลังงาน(พพ.) ร่วมประชุมและหารือกับนายอนันต์ สุวรรณรัตน์ ปลัดกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ และคณะ ฯ ณ ห้องประชุม 134 สำนักงานปลัดกระทรวงเกษตรและสหกรณ์

ทั้งนี้ การประชุมร่วมระหว่างกระทรวงพลังงาน และกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ มีประเด็นการหารือที่สำคัญ ได้แก่ การสร้างต้นแบบชุมชนเกษตรกรที่ประยุกษ์ใช้เทคโนโลยีด้านพลังงาน เช่น ระบบสูบน้ำแสงอาทิตย์ในพื้นที่ไฟฟ้าเข้าไม่ถึง การใช้พลังงานทดแทนในฟาร์ม/การเกษตร ระบบ Smart Farming การนำผลผลิตทางการเกษตรเป็นพลังงาน รวมถึงการใช้ประโยชน์ในพื้นที่สปก. เพื่อการพัฒนาพลังงานทดแทน เป็นต้น

รัฐมนตรีว่าการกระทรวงพลังงาน เป็นประธานในพิธีลงนามสัญญาซื้อขายน้ำมันปาล์มดิบระหว่างการไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทย (กฟผ.) กับผู้จำหน่ายน้ำมันปาล์มดิบ

ก.พลังงาน ชูความร่วมมือกฟผ. กรมการค้าภายใน และผู้จำหน่าย 22 ราย ลงนามซื้อขายน้ำมันปาล์มดิบ 83,000 ตัน เพื่อเร่งปรับสมดุลและพยุงราคาน้ำมันปาล์มช่วยเหลือเกษตรกรต่อเนื่อง

ดร. ศิริ จิระพงษ์พันธ์ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงพลังงาน เป็นประธานในพิธีลงนามสัญญาซื้อขายน้ำมันปาล์มดิบระหว่างการไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทย (กฟผ.) กับผู้จำหน่ายน้ำมันปาล์มดิบ จำนวน 22 ราย ในปริมาณรวม 83,000 ตัน ซึ่งเป็นส่วนหนึ่งของการดำเนินการตามมาตรการปรับสมดุลน้ำมันปาล์มในประเทศของรัฐบาล โดยมีนางจินตนา ชัยวรรณาการ ผู้ช่วยรัฐมนตรีประจำสำนักนายกรัฐมนตรี กระทรวงพาณิชย์ นายวิชัย โภชนกิจ อธิบดีกรมการค้าภายใน นายยงยุทธ จันทรโรทัย อธิบดีกรมพัฒนาพลังงานทดแทนและอนุรักษ์พลังงาน นายวิบูลย์ ฤกษ์ศิระทัย ผู้ว่าการ กฟผ. และผู้บริหาร กฟผ. เข้าร่วมในพิธี ณ สำนักงานใหญ่ กฟผ.

โดยความร่วมมือกฟผ. กับกรมการค้าภายในครั้งนี้ สามารถดำเนินการได้ตามที่รัฐบาลมีมาตรการปรับสมดุลน้ำมันปาล์มในประเทศเพื่อช่วยเหลือเกษตรกรแก้ไขปัญหาราคาปาล์มน้ำมันตกต่ำ ซึ่งให้กฟผ.รับซื้อน้ำมันปาล์มดิบจำนวน 160,000 ตัน ในราคากิโลกรัมละ 18 บาท เพื่อใช้ในการผลิตกระแสไฟฟ้าสำหรับโรงไฟฟ้าพลังความร้อนบางปะกง หน่วยที่ 3 เป็นไปได้ตามแผนด้วยดี และการนำน้ำมันปาล์มดิบมาใช้ในการผลิตไฟฟ้า จะไม่กระทบต่อค่าไฟฟ้าของประชาชนแต่อย่างใด เนื่องจากค่าใช้จ่ายในการดำเนินการจะไม่นำไปคิดรวมกับค่าเอฟที

สำหรับผู้จำหน่ายน้ำมันปาล์มดิบทั้ง 22 ราย เป็นผู้ที่ผ่านการคัดเลือกจากกรมการค้าภายในว่ามีคุณสมบัติครบถ้วนตามหลักเกณฑ์ที่คณะอนุกรรมการบริหารและกำกับดูแลมาตรการปรับสมดุลน้ำมันปาล์มในประเทศกำหนด คือ ต้องมีสต๊อกน้ำมันปาล์มดิบขั้นต่ำไม่น้อยกว่าร้อยละ 50 ของปริมาณที่เสนอจำหน่าย และเป็นผู้มีความสามารถในการขนส่ง เก็บรักษา และส่งมอบน้ำมันปาล์มดิบให้กับ กฟผ. โดยผู้ที่มีสิทธิ์เสนอจำหน่ายน้ำมันปาล์มดิบได้เสนอราคารับซื้อผลปาล์มน้ำมันจากเกษตรกรที่ขึ้นทะเบียนไว้กับกรมส่งเสริมการเกษตร ตั้งแต่กิโลกรัมละ 3.10-3.25 บาท ซึ่งสามารถช่วยพยุงราคาผลปาล์มน้ำมันให้สูงกว่า 3 บาทต่อกิโลกรัมตามแผนที่วางไว้

ก.พลังงาน ยืนยันใช้น้ำมันดีเซล คุณภาพยูโร 5 ลดปัญหาฝุ่นละออง PM 2.5 อย่างยั่งยืน

เพื่อเร่งรัดมาตรการลดปัญหาฝุ่นละอองขนาดเล็กเกินมาตรฐานหรือ PM 2.5 โดยเร็วและยั่งยืน กระทรวงพลังงานโดยรัฐมนตรีว่าการกระทรวงพลังงาน (ดร.ศิริ จิระพงษ์พันธ์)  จึงได้จัดการประชุมร่วมกับผู้ค้าน้ำมันเชื้อเพลิง และผู้ประกอบการโรงกลั่นน้ำมัน ในการพิจารณามาตรการร่วมมือกันลดปริมาณฝุ่นละอองขนาดเล็ก PM 2.5 จากรถยนต์ ซึ่งได้ข้อสรุปยืนยันว่า ผู้ประกอบการโรงกลั่นน้ำมันในประเทศทั้ง 6 ราย พร้อมที่จะผลิตน้ำมันดีเซลคุณภาพยูโร 5 ได้ทั้งหมดภายในปี 2566 โดยในระหว่างที่ยังไม่สามารถผลิตน้ำมันดีเซลคุณภาพยูโร 5 ได้เพียงพอ ก็จะร่วมมือกันในมาตรการเร่งด่วน ดังนี้

  • พิจารณาหามาตรการสร้างแรงจูงใจ เพื่อให้ผู้ประกอบการโรงกลั่นน้ำมันในประเทศ เกิดการจำหน่ายน้ำมันดีเซลคุณภาพยูโร 5 ให้แพร่หลายยิ่งขึ้น
  • ศึกษาแนวทางการปรับลดสัดส่วนกำมะถันในน้ำมันดีเซล มาตรฐานยูโร 4 โดยให้ลดในระดับต่ำสุดเท่าที่จะดำเนินการได้ เพื่อให้มาตรฐานน้ำมันเชื้อเพลิงสูงขึ้น ลดการปล่อยมลพิษในอากาศ โดยคาดว่าจะมีผลการศึกษาภายในสิ้นเดือนกุมภาพันธ์ 2562 นี้ ซึ่งเบื้องต้น จะศึกษาถึงแนวทางการลด จากค่ามาตรฐานเดิม 50 พีพีเอ็มซัลเฟอร์ ลดลงเหลือประมาณ 30 พีพีเอ็มซัลเฟอร์ ซึ่งจะช่วยรักษาคุณภาพอากาศให้ดียิ่งขึ้นต่อไป
  • เร่งรณรงค์เพิ่มการใช้น้ำมันดีเซลเกรดพิเศษ B20 ให้มากยิ่งขึ้น โดยเตรียมความพร้อมถึงการทดสอบในกลุ่มรถยนต์ทั่วไป จากปัจจุบันที่มีการใช้เฉพาะในกลุ่มรถบรรทุก รถโดยสารขนาดใหญ่ และเรือโดยสารสาธารณะ ว่าผลการทดสอบ B20 ไม่มีผลต่อเครื่องยนต์ และค่ายรถยนต์ให้การยอมรับมาตรฐาน โดยขณะนี้จากผลทดสอบการใช้ B20 ในรถของขสมก. จำนวน 2,075 คัน พบว่าสามารถลดปัญหาการปล่อยควันดำไอเสีย ได้สูงถึงร้อยละ 50 ซึ่งนอกจากจะช่วยบรรเทาปัญหาฝุ่นละอองขนาดเล็ก PM 5 ดังกล่าวแล้ว ยังเป็นการช่วยรักษาสมดุลย์ราคาปาล์มน้ำมัน และช่วยเหลือเกษตรกรได้อีกทางหนึ่งด้วย

ปลัดกระทรวงพลังงาน เป็นประธานในการประชุม (ร่าง)แผนแม่บทของกระทรวงพลังงาน

5 ก.พ.62 กระทรวงพลังงาน กรุงเทพฯ นายกุลิศ สมบัติศิริ ปลัดกระทรวงพลังงาน เป็นประธานในการประชุม (ร่าง)แผนแม่บทของกระทรวงพลังงาน ณ ห้องประชุม1 ชั้น 15 กระทรวงพลังงาน โดยมีผู้บริหาร ข้าราชการ และเจ้าหน้าที่ที่เกี่ยวข้อง เข้าร่วมประชุมโดยพร้อมเพียง

ปลัดกระทรวงพลังงาน พร้อมด้วยคณะผู้บริหารกระทรวงพลังงาน ร่วมลงนามถวายพระพร พระเจ้าวรวงศ์เธอพระองค์เจ้าโสมสวลี พระวรราชาทินัดดามาตุ

วันที่ 5 กุมภาพันธ์ 2562 นายกุลิศ สมบัติศิริ ปลัดกระทรวงพลังงาน พร้อมด้วยคณะผู้บริหารกระทรวงพลังงาน ร่วมลงนามถวายพระพร พระเจ้าวรวงศ์เธอพระองค์เจ้าโสมสวลี พระวรราชาทินัดดามาตุ ขอให้ทรงหายจากพระอาการประชวร ณ อาคารภูมิสิริมังคลานุสรณ์ โรงพยาบาลจุฬาลงกรณ์

กระทรวงพลังงาน พาชุมชนรวย ช่วยชาติ ช่วยประชาชนด้วย “พาราโบล่าโดม”

ต้อนรับเทศกาลวันตรุษจีน (4 กพ.) ด้วยเรื่องราวดีๆ จากดร.ศิริ จิระพงษ์พันธ์ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงพลังงาน ที่ได้เป็นประธานเปิดสัมมนาโครงการเผยแพร่ผลการดำเนินงานโครงการสนับสนุนการลงทุนติดตั้งใช้งานระบบอบแห้งพลังงานแสงอาทิตย์ และการจัดตลาดนัดสินค้าอบแห้งจากพาราโบล่าโดม เพื่อให้เห็นถึงความสำคัญของการใช้พลังงานทางเลือกในการแปรรูปผลผลิตทางการเกษตร และร่วมกันขยายผล และส่งเสริมการใช้งานระบบอบแห้งฯ ดังกล่าวอย่างต่อเนื่อง
โดยโครงการฯ (เริ่มตั้งแต่ปี 2554 – 2561) ได้ให้การสนับสนุนส่งเสริมการใช้งานระบบอบแห้งฯ รวม 256 ระบบ คิดเป็นพื้นที่ประมาณ 30,417.9 ตารางเมตร เป็นจำนวนเงินสนับสนุนจากกองทุนอนุรักษ์พลังงาน ประมาณ 102 ล้านบาท เกิดการเงินลงทุนรวม 340 ล้านบาท ก่อให้เกิดผลสัมฤทธิ์ในการใช้งานอบแห้งผลิตภัณฑ์ได้หลากหลายชนิด อาทิ กล้วยตาก ข้าวแต๋น ผัก ผลไม้อบแห้ง ถั่วลิสงอบแห้ง แมคคาเดเมีย ลูกเดือย งา เครื่องเทศ สมุนไพร ชา กาแฟ เนื้อสัตว์ ปลา อาหารทะเล อาหารเสริมสุขภาพจากมังคุด และผลิตภัณฑ์อื่นๆที่ไม่ใช่อาหารเช่น ลูกประคบ อาหารสุนัข หมอนยางพารา และกากของเสียที่ได้ภายหลังจากการผลิตก๊าซชีวภาพ เป็นต้น
ผลที่ได้รับจากโครงการ ฯ เกิดผลประโยชน์รวม 66 ล้านบาทต่อปี จากการประหยัดเชื้อเพลิง 4 ล้านบาทต่อปี ลดความเสียหายผลิตภัณฑ์ 22 ล้านบาทต่อปี เพิ่มมูลค่าผลิตภัณฑ์ 40 ล้านบาท และลดการปล่อยก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์สูงถึง 4,942 ตัน/ปี รวมทั้งก่อให้เกิดประโยชน์หลายด้าน เช่น การลดการสูญเสียผลิตผลทางการเกษตร การเพิ่มประสิทธิภาพการผลิตโดยลดระยะเวลาในการอบแห้ง สามารถอบแห้งได้ในฤดูฝน ลดต้นทุนด้านพลังงาน เพิ่มคุณภาพสินค้า ตลอดจนเกิดแหล่งเรียนรู้การใช้พลังงานแสงอาทิตย์แปรรูปสินค้าเกษตรหลายแห่ง
สำหรับผู้สนใจรายละเอียด สามารถศึกษาข้อมูลเพิ่มเติมได้ที่ www.solardryerdede.com

ดร. ศิริ จิระพงษ์พันธ์ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงพลังงาน ร่วมเป็นประธานในพิธีเปิดการจำหน่ายน้ำมันดีเซล บี20 ภายในสถานีบริการน้ำมัน เป็นครั้งแรกในประเทศไทย

ดร. ศิริ จิระพงษ์พันธ์ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงพลังงาน ให้เกียรติร่วมเป็นประธานใน พิธีเปิดการจำหน่ายน้ำมันดีเซล บี20 ภายในสถานีบริการน้ำมัน เป็นครั้งแรกในประเทศไทย   ณ สถานีบริการน้ำมัน พีทีที สเตชั่น สาขาวงแหวนตะวันตก (ขาเข้า) จังหวัดปทุมธานี  โดยมี นายกุลิศ  สมบัติศิริ  ปลัดกระทรวงพลังงานนายชาญศิลป์ ตรีนุชกร ประธานเจ้าหน้าที่บริหารและกรรมการผู้จัดการใหญ่ บริษัท ปตท. จำกัด (มหาชน)  และ นายอรรถพล ฤกษ์พิบูลย์ ประธานกรรมการ บริษัท ปตท. น้ำมันและการค้าปลีก จำกัด (มหาชน) หรือ พีทีที โออาร์ ร่วมพิธีเปิดการจำหน่ายฯ

รัฐมนตรีว่าการกระทรวงพลังงาน กล่าวถึง สถานการณ์ค่าฝุ่นละอองขนาดเล็ก PM 2.5 เกินมาตรฐาน ในหลายพื้นที่ โดยเฉพาะเขตกรุงเทพมหานครและปริมณฑล ที่ก่อให้เกิดผลกระทบด้านสุขภาพและสร้างความกังวลใจให้กับประชาชนเป็นอย่างมาก กระทรวงพลังงานจึงเร่งสนองนโยบายรัฐบาล ขอความร่วมมือจากทุกภาคส่วนที่เกี่ยวข้องในด้านพลังงาน เพื่อร่วมกันช่วยเหลือบรรเทาความเดือดร้อนให้ประชาชน ผ่านพ้นวิกฤตการณ์นี้ไปได้โดยปลอดภัยโดยเร็วที่สุด  อีกทั้งยังได้ มีการปรับราคาจำหน่ายน้ำมันดีเซล บี20 ระหว่างเดือน ธันวาคม 2561 – กุมภาพันธ์ 2562 ให้ต่ำกว่าน้ำมันดีเซล บี7 อยู่ 5 บาทต่อลิตร และหลังจากนั้นจะต่ำกว่า 3 บาทต่อลิตร โดยเป็นผลจากการลดอัตราการเรียกเก็บเงินเข้ากองทุนน้ำมันเชื้อเพลิง และการลดภาษีสรรพสามิต ซึ่งคาดว่าราคาจำหน่ายน้ำมันดีเซล บี20 นี้ จะสามารถช่วยลดต้นทุนของผู้ประกอบการรถขนส่งอันจะทำให้ไม่ส่งผลกระทบต่อราคาค่าโดยสาร และค่าครองชีพด้านอื่น ๆ ของประชาชน   และในการนี้ ยังได้แสดงความขอบคุณ กลุ่ม ปตท. และพีทีที โออาร์ ที่ให้ความร่วมมือส่งเสริมการจำหน่ายน้ำมันดีเซล บี20 ในทุกช่องทาง  โดยเฉพาะอย่างยิ่ง ใน สถานีบริการน้ำมัน พีทีที สเตชั่น  และคาดว่าการเปิดจำหน่ายน้ำมันดีเซล บี20 ในสถานีบริการน้ำมัน พีทีที สเตชั่น ในครั้งนี้จะประสบความสำเร็จ สามารถช่วยบรรเทาความเดือดร้อนด้านสภาพอากาศที่มีฝุ่นละอองขนาดเล็กเกินมาตรฐานในพื้นที่ต่างๆ  รวมถึงช่วยส่งเสริมคุณภาพสิ่งแวดล้อมโดยรวมให้ดีขึ้นได้เป็นอย่างดี

ประธานกรรมการ  บริษัท ปตท.น้ำมันและการค้าปลีก จำกัด (มหาชน) กล่าว รายงานถึง การสนับสนุนนโยบายภาครัฐ  โดยได้ เปิดจำหน่ายน้ำมันดีเซล บี20  ภายในสถานีบริการน้ำมัน เป็นครั้งแรกในประเทศไทย   นำร่อง   ณ สถานีบริการน้ำมัน พีทีที สเตชั่น ทั่วประเทศ  จำนวน 5 แห่ง เพื่อช่วยบรรเทาลดฝุ่นละอองขนาดเล็กเกินมาตรฐาน  ได้แก่  สถานีบริการน้ำมัน พีทีที สเตชั่น สาขา วงแหวนตะวันตก (ขาเข้า) ปทุมธานี   พีทีที สเตชั่น สาขา พระราม 2  (ขาออก) กรุงเทพมหานคร   พีทีที สเตชั่น สาขาปากช่อง นครราชสีมา   พีทีที สเตชั่น สาขา เขาคันทรง ศรีราชา ชลบุรี    และ พีทีที สเตชั่น สาขา สวี ชุมพร  ให้กับประชาชนรายย่อยที่ใช้รถขนาดใหญ่ ทั้งนี้ พีทีที โออาร์ ในฐานะ บริษัทเรือธง ของกลุ่ม ปตท. ในด้านการค้าน้ำมันและการค้าปลีก   ได้เริ่มจำหน่ายน้ำมันดีเซล บี20  โดยเตรียมความพร้อมอย่างครบวงจรทั้งด้าน คลังผลิต ถังเก็บ การขนส่ง รวมถึงตู้จ่าย  เพื่อให้สามารถรองรับความต้องการในการใช้น้ำมันดีเซล บี20 จากทั่วประเทศได้อย่างเพียงพอ โดยเฉพาะลูกค้าเฉพาะกลุ่ม อาทิ กลุ่มรถบรรทุก และเรือขนส่ง ซึ่งได้เริ่มจำหน่ายแล้วตั้งแต่เดือน กรกฎาคม 2561 เป็นต้นมา รวมถึงการเตรียมความพร้อมในการจำหน่ายให้   องค์การขนส่งมวลชนกรุงเทพฯ หรือ ขสมก. และ บริษัท ขนส่ง จำกัด หรือ  บขส.  โดยปัจจุบัน พีทีที โออาร์ มีความพร้อมสามารถจำหน่ายน้ำมันดีเซล บี 20 ให้กับกลุ่มลูกค้าดังกล่าวข้างต้นได้ทันที  โดยที่ผ่านมา พีทีที โออาร์ ได้ตอบสนองเรื่องการผลักดันการจำหน่ายผลิตภัณฑ์ บี20   มาโดยตลอด เพื่อร่วมเป็นส่วนหนึ่งในการรักษาสิ่งแวดล้อม อีกทั้งยังเป็นการช่วยเหลือเกษตรกรจากภาวะปาล์มล้นตลาดอีกด้วย  โดยในปี 2561 ได้ช่วยซื้อน้ำมันไบโอดีเซล บี100 เข้ามาเก็บสำรอง เพิ่มขึ้น 40 ล้านลิตร รวมเป็นน้ำมันไบโอดีเซล บี100 ที่ได้ช่วยซื้อเพิ่มเติมจากความต้องการปกติแล้วกว่า 63 ล้านลิตร นอกจากนี้ ยังได้ดำเนินโครงการทดสอบการใช้น้ำมันดีเซล บี10 และน้ำมันดีเซล บี20 ในเครื่องจักรรถไฟอีกด้วย

ประธานเจ้าหน้าที่บริหารและกรรมการผู้จัดการใหญ่ บริษัท ปตท. จำกัด (มหาชน) กล่าวในตอนท้าย  ถึง ความพร้อมของกลุ่ม ปตท. ในการเป็นส่วนหนึ่งที่จะช่วยป้องกัน แก้ไขปัญหา ผ่านผลิตภัณฑ์และบริการ ที่  ปตท. ได้พัฒนามาโดยตลอด  รวมถึงกิจกรรมเชิญชวนให้ประชาชนตรวจเช็กสภาพรถฟรี 30 รายการ พร้อมด้วยการมอบส่วนลดพิเศษแก่ประชาชน จาก ศูนย์บริการยานยนต์  ฟิต ออโต้ ในพื้นที่กรุงเทพฯและเขตปริมณฑล  พร้อมขอบคุณ กระทรวงพลังงาน และทุกภาคส่วนที่เกี่ยวข้องที่ช่วยกันสนับสนุน ผลักดันจนทำให้วันนี้ น้ำมันดีเซล บี20 ได้มีช่องทางการจำหน่ายสามารถเข้าถึงผู้บริโภคทุกกลุ่มได้ทั่วถึงมากยิ่งขึ้น

 

กระทรวงพลังงานและกระทรวงคมนาคม ส่งเสริมการใช้ B20 ในรถโดยสารสาธารณะ เร่งลดปริมาณฝุ่นละอองขนาดเล็ก

วันนี้ (31 มกราคม 2562) ณ บริษัท ปตท. จำกัด (มหาชน) สำนักงานใหญ่ นายอาคม เติมพิทยาไพสิฐ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงคมนาคม และ ดร. ศิริ จิระพงษ์พันธ์ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงพลังงาน ให้เกียรติร่วมเป็นประธานใน พิธีแถลงข่าว ปตท. ร่วมกับ ขสมก. ประกาศความพร้อมรถโดยสารใช้น้ำมัน B20 โดยมี นายชาญศิลป์ ตรีนุชกร ประธานเจ้าหน้าที่บริหารและกรรมการผู้จัดการใหญ่ บริษัท ปตท. จำกัด (มหาชน) พร้อมด้วย นายประยูร ช่วยแก้ว รองผู้อำนวยการฝ่ายการเดินรถองค์กร รักษาการในตำแหน่งผู้อำนวยการองค์การขนส่งมวลชนกรุงเทพ นายอำนวย พงษ์วิจารณ์ กรรมการรองกรรมการผู้จัดการใหญ่ บริษัท ฮีโน่ มอเตอร์สเซลล์ (ประเทศไทย) และ นายวิชัย สินอนันต์พัฒน์ กรรมการบริหาร บริษัท ตรีเพชร อีซูซุ เซลล์ จำกัด ร่วมพิธีฯ
รัฐมนตรีว่าการกระทรวงพลังงาน กล่าวว่า จากปัญหาสถานการณ์น้ำมันปาล์มดิบล้นตลาดและมีราคาตกต่ำ กระทรวงพลังงานได้ดำเนินการพิจารณาเพิ่มการใช้น้ำมันปาล์มในการผลิตไบโอดีเซลสำหรับภาคขนส่ง ตั้งแต่การเพิ่มสัดส่วนน้ำมันไบโอดีเซลสำหรับใช้ในรถยนต์ทั่วไปจากร้อยละ 6.6 เป็นร้อยละ 6.9 และการดำเนินการให้มีการจำหน่ายน้ำมันดีเซลที่มีส่วนผสมไบโอดีเซล ร้อยละ 20 สำหรับรถใหญ่ในสถานีบริการทั่วไป ซึ่งจะพร้อมจำหน่ายในเขต กทม. ตั้งแต่วันที่ 1 กุมภาพันธ์ เป็นต้นไป เพื่อช่วยลดมลพิษฝุ่นละอองขนาดเล็ก PM 2.5 ที่มีปริมาณสะสมสูงเกินค่ามาตรฐานในขณะนี้ โดยที่ผ่านมาได้มีการทดลองใช้น้ำมันดีเซลเกรดพิเศษ B20 กับรถ ขสมก. ซึ่งพบว่าไม่มีผลกระทบต่อเครื่องยนต์และอัตราสิ้นเปลืองเชื้อเพลิงไม่แตกต่างกับการใช้น้ำมันดีเซลหมุนเร็วปกติ อีกทั้งยังทำให้ระบบเผาไหม้ของเครื่องยนต์สะอาด และเป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อมในการลดฝุ่นละอองจากท่อไอเสียของยานยนต์ สำหรับมาตรการระยะยาวเพื่อแก้ปัญหามลภาวะทางอากาศ กรมธุรกิจพลังงานได้ขอความร่วมมือให้โรงกลั่นน้ำมันภายในประเทศจัดทำแผนปรับปรุงมาตรฐานคุณภาพน้ำมัน EURO4 (ค่ากำมะถันไม่เกิน 50 ppm) เป็นมาตรฐาน EURO5 (ค่ากำมะถันไม่เกิน 10 ppm) ซึ่งจะช่วยให้การเผาไหม้เครื่องยนต์สะอาดมากขึ้น
รัฐมนตรีว่าการกระทรวงคมนาคม กล่าวว่า กระทรวงคมนาคมได้สั่งการให้ทุกหน่วยงานในสังกัดออกมาตรการเพื่อบรรเทาสถานการณ์ค่าฝุ่นละออง PM 2.5 เกินมาตรฐานโดยเร่งด่วน เริ่มจากให้กรมการขนส่ง
ทางบก จัดทีมตรวจสภาพรถ ขสมก. โดยต้องไม่เกิดปัญหาควันดำโดยเด็ดขาด ให้ ขสมก. ปรับเครื่องยนต์โดยสารทุกคันให้ใช้น้ำมันไบโอดีเซล B20 เพื่อลดมลพิษจำนวน 2,075 คัน รวมถึงเร่งประสานขอรับรถ NGV ในส่วนที่เหลืออีก 119 คัน เพื่อให้บริการประชาชนและเร่งจัดหารถที่ใช้พลังงานสะอาด ประกอบด้วย รถโดยสาร NGV รถไฮบริด รถไฟฟ้า (EV) เพื่อแก้ปัญหาต่อเนื่อง ให้การรถไฟฟ้าขนส่งมวลชนแห่งประเทศไทย เข้มงวดมาตรการลดฝุ่นละอองในพื้นที่ก่อสร้างรถไฟฟ้า 3 โครงการ ให้การทางพิเศษแห่งประเทศไทย แก้ปัญหาฝุ่นละอองหน้าด่านเก็บค่าผ่านทางพิเศษ ด้านกรมทางหลวงและกรมทางหลวงชนบท ให้เข้มงวดตามมาตรการด้านสิ่งแวดล้อม และให้กรมเจ้าท่า ประสานผู้ประกอบการขนส่งทางน้ำให้ตรวจสอบการใช้เครื่องยนต์เรือโดยสาร
รองผู้อำนวยการฝ่ายการเดินรถองค์กร รักษาการในตำแหน่งผู้อำนวยการองค์การขนส่งมวลชลกรุงเทพ กล่าวว่า องค์การขนส่งมวลชนกรุงเทพ (ขสมก.) ได้ดำเนินการตามนโยบายกระทรวงพลังงานและกระทรวงคมนาคม ที่ต้องการสนับสนุนการใช้น้ำมันปาล์มภายในประเทศ เพื่อช่วยเหลือเกษตรกรชาวสวนปาล์ม และลดฝุ่นละอองขนาดเล็กไม่เกิน 2.5 ไมครอน (PM 2.5) ซึ่งส่งผลต่อสุขภาพของประชาชน โดยเมื่อช่วงเดือนตุลาคม – ธันวาคม 2561 ที่ผ่านมา ขสมก. ได้ทดลองใช้น้ำมัน B20 กับรถโดยสารธรรมดา จำนวน 17 คัน พบว่าเครื่องยนต์สามารถทำงานได้ตามปกติ และมีอัตราการสิ้นเปลืองน้ำมันใกล้เคียงกับน้ำมันดีเซล B7 ที่ใช้อยู่ในปัจจุบัน ขสมก. จึงได้มีแผนนำน้ำมันดีเซล B20 มาใช้กับรถโดยสารธรรมดาและรถโดยสารปรับอากาศ จำนวน 2,075 คัน แบ่งเป็น 2 ระยะคือ ระยะที่ 1 ใช้น้ำมันดีเซล B20 กับรถโดยสารธรรมดา จำนวน 815 คัน เมื่อวันที่
15 มกราคม 2562 ที่ผ่านมา และระยะที่ 2 ใช้น้ำมันดีเซล B20 กับรถโดยสารธรรมดาและรถโดยสารปรับอากาศ จำนวน 1,260 คัน ตั้งแต่วันที่ 1 กุมภาพันธ์ 2562 เป็นต้นไป
ประธานเจ้าหน้าที่บริหารและกรรมการผู้จัดการใหญ่ บริษัท ปตท. จำกัด (มหาชน) กล่าวในตอนท้ายว่า ปตท. ขอร่วมเป็นส่วนหนึ่งในการสนับสนุนมาตรการภาครัฐ สนับสนุนการใช้น้ำมันปาล์มภายในประเทศ เพื่อช่วยเหลือเกษตรกรชาวสวนปาล์ม อีกทั้งแก้ไขปัญหามลพิษจากฝุ่นละอองขนาดเล็ก PM 2.5 เกินมาตรฐาน โดยในกลุ่มเชื้อเพลิงรถโดยสารสาธารณะขนาดใหญ่ ปตท. มีความพร้อมในการจัดหาและขนส่งน้ำมัน B20 ซึ่งเป็นน้ำมันดีเซลที่มีส่วนผสมของน้ำมันปาล์มบริสุทธิ์ในสัดส่วนร้อยละ 20 ให้กับรถโดยสารสาธารณะของ ขสมก. จำนวน 2,075 คัน ประมาณการใช้น้ำมันทั้งสิ้น 187,000 ลิตรต่อวัน สร้างเสถียรภาพราคาปาล์มน้ำมัน ช่วยเหลือเกษตรกรน้ำมันปาล์มได้อีกด้วย ทั้งนี้ ปตท. บริษัทพลังงานแห่งชาติ ภายใต้การกำกับดูแลของกระทรวงพลังงาน จะยังคงเดินหน้าพัฒนาเชื้อเพลิงสะอาดเพื่อสภาพแวดล้อมและความเป็นอยู่ที่ดีขึ้นของคนไทย

ประกาศกรมธุรกิจพลังงาน เรื่อง กำหนดลักษณะและคุณภาพน้ำมันดีเซล ปี 2562

ประกาศกรมธุรกิจพลังงาน เรื่อง กำหนดลักษณะและคุณภาพน้ำมันดีเซล ปี 2562 โดยในประกาศฉบับนี้ จะชี้แจงข้อกำหนดต่างๆ และ รถยนต์ที่ผู้ผลิตรถยนต์รับรองให้สามารถใช้น้ำมันดีเซลหมุนเร็ว B20 ได้

ดาวน์โหลดประกาศ คลิกที่นี่ 

ค้นหาข้อมูลอื่นๆ เกี่ยวกับโครงการส่งเสริมการใช้น้ำมันดีเซลหมุนเร็ว บี 20 คลิกที่นี่

“รัฐมนตรีพลังงานเปิดงานประชุมสัมมนาทางวิชาการนานาชาติ ชูพลังงาน 4.0 สู่ทิศทางพลังงานไทยในอนาคต”

วันนี้ (24 มกราคม 2562)  ดร.ศิริ จิระพงษ์พันธ์ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงพลังงาน ได้เป็นประธานในพิธีเปิดงานประชุมสัมมนาทางวิชาการเรื่องพลังงาน 4.0 : ทิศทางภาคพลังงานประเทศไทยในอนาคต (International conference on Energy 4.0 : Designing the Future of Thailand’s Power Sector) ซึ่งกระทรวงพลังงานร่วมกับธนาคารพัฒนาเชีย (ADB) จัดขึ้นในระหว่างวันที่ 24 – 25 มกราคม 2562 ณ ศูนย์ประชุมแห่งชาติสิริกิติ์
ซึ่งการประชุมดังกล่าวจะเป็นการนำเสนอแนวทางการพัฒนาด้านพลังงานไฟฟ้าของประเทศไทยจากหลากหลายแง่มุม ทั้งในเชิงของการคมนาคมและการขนส่ง การพัฒนาพลังงานทดแทนและการอนุรักษ์พลังงาน รวมทั้งการใช้เทคโนโลยีดิจิทัล ซึ่งล้วนแล้วแต่เป็นปัจจัยสำคัญที่จะช่วยกำหนดอนาคตของการพัฒนาด้านพลังงานไฟฟ้าของประเทศไทย โดยการถ่ายทอด นำเสนอ และแลกเปลี่ยนประสบการณ์ของผู้เชี่ยวชาญจากประเทศไทย และผู้เชี่ยวชาญอื่น ๆ ในระดับภูมิภาค

นอกจากนั้น ในงานนี้ จะมีผู้เชี่ยวชาญเข้าร่วมบรรยายและถ่ายทอดประสบการณ์มากกว่า 50 คน ซึ่งจะมีการบรรยายหลักทั้งหมด 3 หัวข้อ ได้แก่ การคมนาคมและขนส่ง การพัฒนาพลังงานทดแทน และการอนุรักษ์พลังงาน โดยมี
ผู้บริหารจากธนาคารพัฒนาเอเชีย และผู้ทรงคุณวุฒิจากหลากหลายสาขาเข้าร่วมบรรยาย อาทิเช่น

  • ดร. ศิริ จิระพงษ์พันธ์ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงพลังงาน ประเทศไทย
  • นาง โดนิกา ปอตติ เอกอัครราชทูตแคนาดา ประจำประเทศไทย
  • นาย ฮาราลด์ ลิงค์ ประธานบริษัท บี.กริม พาวเวอร์ จำกัด (มหาชน) ประเทศไทย
  • นาย สมโภชน์ อาหุนัย ผู้ก่อตั้งและประธานเจ้าหน้าที่บริหาร บริษัท พลังงานบริสุทธิ์ จำกัด (มหาชน) ประเทศไทย
  • นาย ฌอน คิดนีส์ ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร Climate Bond Initiative ลอนดอน
  • นาง แคสซิลา โคฮาลมิ-มอนฟิลส์ รองประธานกรรมการบริหาร ENGIE Asia Pacific ประเทศไทย
  • นาย แอนดรู เวสซี ที่ปรึกษาอาวุโส AGL Energy ประเทศออสเตรเลีย

การจัดงานในครั้งนี้ คาดว่าจะมีผู้เข้าร่วมงานกว่า 500 คน ซึ่งจะทำให้สามารถถ่ายทอดข้อมูลและความรู้ด้านพลังงานสู่ภาคธุรกิจและประชาชนที่สนใจต่อไป

กพช. เห็นชอบแผนพัฒนากำลังผลิตไฟฟ้าของประเทศไทยพ.ศ. 2561 – 2580 (PDP 2018)

วันนี้ (วันพุธที่ 24 มกราคม 2562) ณ ตึกภักดีบดินทร์ ทำเนียบรัฐบาล การประชุมคณะกรรมการนโยบายพลังงานแห่งชาติ (กพช.) ครั้งที่ 1/2562(ครั้งที่ 16)ซึ่งมี พลเอกประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรีเป็นประธานได้พิจารณาวาระที่สำคัญด้านพลังงาน ดังนี้

  • แผนพัฒนากำลังผลิตไฟฟ้าของประเทศไทย พ.ศ. 2561 – 2580 (PDP2018)

ที่ประชุม กพช. เห็นชอบแผนพัฒนากำลังผลิตไฟฟ้าของประเทศไทยพ.ศ. 2561 – 2580 (PDP 2018)ตามที่กระทรวงพลังงาน (พน.) เสนอ โดยการทบทวนสถานการณ์กำลังผลิตไฟฟ้าในปัจจุบัน และได้จัดทำการพยากรณ์ค่าความต้องการใช้ไฟฟ้าระยะยาว 20 ปี ประกอบด้วย ความต้องการใช้ไฟฟ้าของระบบ 3 การไฟฟ้า และความต้องการใช้ไฟฟ้าที่มาจากการผลิตไฟฟ้าเพื่อใช้เองหรือขายตรง  (Independent Power Supply: IPS) ทั้งในระดับประเทศและระดับภูมิภาค ได้สะท้อนแนวนโยบายของรัฐบาลและการเจริญเติบโตทางเศรษฐกิจที่คาดว่าจะเกิดขึ้นในอนาคต ซึ่งสอดคล้องกับแนวทางของแผนปฏิรูปด้านพลังงานและได้รับฟังความคิดเห็นจากผู้มีส่วนได้เสียทุกภาคส่วนแล้ว มีสาระสำคัญคือ

  • ภาพรวมของกำลังการผลิตไฟฟ้าในช่วง ปี 2561 – 2580

กำลังผลิตไฟฟ้าสิ้นปี 2560   จำนวน  46,090  เมกะวัตต์

กำลังผลิตไฟฟ้าที่ปลดออกจากระบบ ในช่วงปี  2561 – 2580   จำนวน  -25,310  เมกะวัตต์

กำลังผลิตไฟฟ้าใหม่ ในช่วงปี 2561 –2580  จำนวน   56,431 เมกะวัตต์

รวมกำลังผลิตไฟฟ้าทั้งสิ้นถึงปี 2580   จำนวน  77,211  เมกะวัตต์

 

  • สรุปกำลังผลิตไฟฟ้าใหม่ในช่วงปี พ.ศ. 2561 – 2580 แยกตามประเภทโรงไฟฟ้า

ประเภทโรงไฟฟ้า                         กำลังผลิตไฟฟ้าใหม่  (หน่วย: เมกะวัตต์)

โรงไฟฟ้าพลังงานหมุนเวียน                20,766

โรงไฟฟ้าพลังน้ำสูบกลับ                      500

โรงไฟฟ้าระบบโคเจนเนอเรชั่น            2,112

โรงไฟฟ้าความร้อนร่วม                       13,156

โรงไฟฟ้าถ่านหิน/ลิกไนต์                   1,740

รับซื้อจากต่างประเทศ                        5,857

โรงไฟฟ้าใหม่/ทดแทน                      8,300

แผนอนุรักษ์พลังงาน                          4,000

รวมทั้งสิ้น                                         56,431   เมกะวัตต์

  • โรงไฟฟ้าตามนโยบายการส่งเสริมของภาครัฐ ในช่วงปี 2561 – 2580ประกอบด้วย โรงไฟฟ้าขยะ400เมกะวัตต์โรงไฟฟ้าชีวมวลประชารัฐ120เมกะวัตต์ รวม 520 เมกะวัตต์
  • โรงไฟฟ้าพลังงานหมุนเวียนตามแผน AEDP ประกอบด้วย ชีวมวล3,376เมกะวัตต์ก๊าซชีวภาพ546เมกะวัตต์พลังงานแสงอาทิตย์10,000 เมกะวัตต์พลังงานแสงอาทิตย์ทุ่นลอยน้ำร่วมกับโรงไฟฟ้าพลังน้ำ2,725เมกะวัตต์พลังงานลม1,485 เมกะวัตต์ขยะอุตสาหกรรม 44เมกะวัตต์กำลังผลิตไฟฟ้าใหม่ 18,176เมกะวัตต์
  • สัดส่วนการผลิตพลังงานไฟฟ้าแยกตามประเภทเชื้อเพลิงณ ปี 2580 ที่ไม่ได้มาจากเชื้อเพลิงฟอสซิล มีสัดส่วนร้อยละ 35 คือ พลังน้ำต่างประเทศ (ร้อยละ 9) พลังงานหมุนเวียน (ร้อยละ 20) การอนุรักษ์พลังงาน (ร้อยละ 6)สัดส่วนการผลิตไฟฟ้าจากถ่านหินลดลงเหลือร้อยละ12การปลดปล่อยก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ (CO2)จะสอดคล้องกับข้อตกลงของ COP21ณ ปี 2580 เท่ากับ 283 kgCO2/kWhหรือ 103,845พันตัน
  • ประมาณการค่าไฟฟ้าขายปลีกในช่วงปี 2561 – 2580 อยู่ระหว่าง 3.50-3.63 บาทต่อหน่วยหรือเฉลี่ย 3.58บาทต่อหน่วย
  • ให้ พน. มีการทบทวนใหม่ทุก 5 ปี หรือเมื่อมีการเปลี่ยนแปลงปัจจัยที่ส่งผลกระทบต่อเป้าหมายของแผนอย่างมีนัยสำคัญโดยให้การไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทย (กฟผ.) ไปดูแลความมั่นคงของระบบไฟฟ้าการเป็นศูนย์กลางซื้อขายไฟฟ้าในภูมิภาค การเชื่อมโยงกับระบบจำหน่าย เพื่อรองรับพลังงานหมุนเวียนในอนาคต
  • ให้ กบง. พิจารณาแนวทางการจัดหาโรงไฟฟ้าให้เป็นไปตามแผน PDP2018 ในหลักเกณฑ์และเงื่อนไขในการรับซื้อไฟฟ้า ระยะเวลา พื้นที่ ปริมาณและราคารับซื้อไฟฟ้า เทคโนโลยีและเชื้อเพลิงในการผลิตไฟฟ้า รวมถึงประเด็นอื่นๆโดยคำนึงถึงความมั่นคงของระบบไฟฟ้าภาคตะวันตกและภาคใต้ ความพร้อมและการยอมรับชนิดของเชื้อเพลิงในด้านสิ่งแวดล้อมเป็นต้น
  • มอบ กฟผ. ดำเนินการศึกษาและจัดทำแผนการพัฒนาระบบส่งไฟฟ้าของประเทศเพื่อเสริมความมั่นคงของระบบไฟฟ้า เพิ่มประสิทธิภาพ เป็นศูนย์กลางซื้อขายไฟฟ้า (Grid connection) ในภูมิภาค รวมถึงการเชื่อมโยงกับระบบจำหน่าย เพื่อให้สามารถรองรับการเพิ่มขึ้นของพลังงานหมุนเวียนในอนาคต (Grid Modernization)
  • ให้ กบง. และ กกพ. พิจารณาแนวทางการดำเนินการโครงการพลังงานแสงอาทิตย์โซลาร์ภาคประชาชน ปีละ100 เมกะวัตต์ 10 ปี ตั้งแต่ปี 2562 เป็นต้นไป เพื่อให้เกิดผลในทางปฏิบัติ

ข้อกำหนดพื้นที่ตั้งโครงการโรงไฟฟ้าขยะของผู้ผลิตไฟฟ้ารายเล็ก (SPP)

กพช.เห็นชอบตามที่กระทรวงมหาดไทย (มท.)โดยกรมส่งเสริมการปกครองท้องถิ่น (สถ.) เสนอขอปรับปรุงเงื่อนไขการรับซื้อไฟฟ้าจากขยะชุมชนในรูปแบบ FiT สำหรับ SPP ในสถานที่ที่ตั้งโรงไฟฟ้า เป็นกรรมสิทธิ์ของ อปท. รูปแบบพิเศษหรือเอกชน

แนวทางการดำเนินการกับผู้ผลิตไฟฟ้ารายเล็ก (SPP)ระบบ Cogeneration ที่สิ้นสุดอายุสัญญา

กพช. เห็นชอบการปรับปรุงช่วงเวลาการสิ้นสุดอายุสัญญาของ SPP ระบบ Cogeneration กลุ่มต่ออายุสัญญาให้ครอบคลุม SPP ระบบ Cogeneration เป็นปี 2559 – 2561 เพื่อให้สอดคล้องตามเจตนารมณ์ของมติ กพช. เมื่อวันที่ 30 พฤษภาคม 2559ประเภทสัญญา Firm ระบบ Cogeneration จำนวน 25 ราย โดยให้ SPP ระบบ Cogeneration ที่สิ้นสุดอายุสัญญาในปี 2559 -2568 ได้รับการต่ออายุสัญญาหรือก่อสร้างโรงไฟฟ้าใหม่ โดยให้ใช้เชื้อเพลิงตามสัญญาเดิมและได้รับอัตรารับซื้อไฟฟ้าสอดคล้องกับประเภทเชื้อเพลิง

และมอบ กกพ. พิจารณาต่ออายุสัญญาโรงไฟฟ้าภายใต้หลักการตามมติ กพช. ดังกล่าวสำหรับโรงไฟฟ้าที่กำลังจะสิ้นสุดอายุสัญญาในปี 2562-2564 และไม่สามารถดำเนินการก่อสร้างโรงไฟฟ้าใหม่ได้ทัน เพื่อให้สามารถก่อสร้างโรงไฟฟ้าใหม่ได้

สัญญาซื้อขายไฟฟ้าระหว่างการไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทยกับรัฐวิสาหกิจไฟฟ้าลาว

  • กพช. เห็นชอบหลักการคิดอัตราค่าไฟฟ้า และหลักการของสัญญาซื้อขายไฟฟ้าโครงการน้ำงึม 1 และโครงการเขื่อนเซเสด ฉบับใหม่มีสาระสำคัญหลัก คือ หลักการคิดอัตราค่าไฟฟ้าใหม่ที่เป๊นปัจจุบันมีอายุสัญญา 1 ปี และสามารถต่อสัญญาต่อเนื่อง

 

กระทรวงพลังงานขับเคลื่อน B20 เข้าปั๊ม ประชุมด่วนหารือค่ายรถ ผู้ค้าน้ำมัน หนุนรถขนาดใหญ่ใช้มากขึ้น

กระทรวงพลังงานขับเคลื่อน B20 เข้าปั๊ม ประชุมด่วนหารือค่ายรถ ผู้ค้าน้ำมัน หนุนรถขนาดใหญ่ใช้มากขึ้น

วันที่ 22 มกราคม 2562 ดร.ศิริ จิระพงษ์พันธ์ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงพลังงาน
เรียกประชุมค่ายรถบรรทุกขนาดใหญ่ และผู้ค้าน้ำมัน หารือเตรียมความพร้อมขานรับนโยบายนายกรัฐมนตรี ในการขยายการใช้น้ำมัน B20 ในรถขนาดใหญ่ สารพัดประโยชน์ ทั้งช่วยเกษตรกรสวนปาล์ม
ลดค่าใช้จ่ายภาคขนส่ง และยังสามารถช่วยลดค่าฝุ่นละอองขนาดเล็ก (PM.2.5)
ดร.ศิริ เปิดเผยว่า กระทรวงพลังงาน โดยกรมธุรกิจพลังงาน ได้นัดค่ายรถบรรทุกขนาดใหญ่ นำโดยนายกสมาคมอุตสาหกรรมยานยนต์ไทย บจ. ฮีโน่มอเตอร์เซลล์ (ประเทศไทย) บจ. เดมเลอร์ คอมเมอร์เชียล วีอีเคิลส์ (ประเทศไทย) และ บจ.ตรีเพชรอีซูซุเซลส์ ผู้ค้าน้ำมันดีเซล 16 ราย ได้แก่ บมจ. ปตท บจ. เซลล์แห่งประเทศไทย บมจ. เอสโซ่ (ประเทศไทย) บจ. เชฟรอน (ไทย) บมจ. บางจาก
คอร์ปอเรชั่น บมจ. ไทยออยล์ บมจ. ไออาร์พีซี บมจ. ซัสโก้ บจ. ซัสโก้ดีลเลอร์ส บจ. พี.ซี. สยามปิโตรเลียม บมจ. สยามเฆมี บมจ.พีทีที โกลบอล เคมิคอล บมจ.สตาร์ปิโตรเลียม บมจ.พีทีจี เอ็นเนอยี บมจ. ปตท.น้ำมันและการค้าปลีก และ บมจ. ปตท.บริหารธุรกิจค้าปลีก ประชุมหารือแนวทางขับเคลื่อนนโยบายขยายการใช้ B20 ในรถขนาดใหญ่ ให้มากขึ้น โดยได้ข้อสรุปคือ ให้ค่ายรถยนต์ดังกล่าวเสนอรุ่นรถในเครือตนเองที่สามารถใช้ B20 ได้ ภายในวันพรุ่งนี้ (23 ม.ค.62)
ส่วนด้านสถานีบริการ ปตท. บางจาก ซัสโก้ ประกาศความพร้อม สามารถให้บริการได้รวมมากกว่า 10 แห่ง เร็วๆนี้

รมว. พลังงาน ลงพื้นที่ตรวจราชการ จ.เชียงใหม่ ตรวจเยี่ยมการลงทุนติดตั้งระบบอบแห้งแสงอาทิตย์ และ การผลิตไฟฟ้าด้วยเซลล์แสงอาทิตย์ในโรงเรียนชนบท สร้างรายได้ให้เกษตรกรและสร้างคุณภาพชีวิตที่ดี ให้แก่ประชาชนในพื้นที่ห่างไกล

ดร. ศิริ จิระพงษ์พันธ์ รัฐมนตรีว่ากระทรวงพลังงาน พร้อมด้วยผู้บริหารระดับสูงของกระทรวงพลังงาน เดินทาง ตรวจราชการในจังหวัดเชียงใหม่ ลำพูน ลำปาง ระหว่างวันที่ 13-15 มกราคม 2562 ซึ่งเป็นส่วนหนึ่งของการประชุมคณะรัฐมนตรีนอกสถานที่ เพื่อติดตามผลสัมฤทธิ์ของโครงการด้านพลังงานในการสนับสนุนการพัฒนา ชุมชนในที่ต่างๆ ดังนี้

ในวันที่ 13 มกราคม 2562  รัฐมนตรีว่าการกระทรวงพลังงานได้ติดตามการใช้งานระบบอบแห้งพลังงานแสงอาทิตย์ (พาราโบลาโดม) ของบริษัทชาวไทยภูเขา (ฮิลล์คอฟฟ์) อ.แม่แตง จ.เชียงใหม่ ซึ่งเป็นโครงการที่กรมพัฒนาพลังงานทดแทนและอนุรักษ์พลังงาน (พพ.) ได้พัฒนาออกแบบและช่วยเงินลงทุนติดตั้งระบบ ในสัดส่วน 30% เป็นเงิน 485,800 บาท เพื่อใช้ในการเพิ่มประสิทธิภาพการผลิตและพัฒนาคุณภาพเมล็ดกาแฟได้ให้สูงยิ่งขึ้น โดยพาราโบลาโดมจะช่วยลดระยะเวลาการตากเมล็ดกาแฟลงได้ถึง 5-10 วัน และทำให้ได้เมล็ดกาแฟ     มีรสชาติใหม่ ถูกสุขอนามัย ลดความเสียหาย ทำให้ผลผลิตออกมาเป็นเมล็ดกาแฟแบบ Honey process Wet process และ Dry Process สามารถสร้างรายได้ให้เกษตรกรชาวเขาในพื้นที่ที่เพาะปลูกกาแฟได้อย่างต่อเนื่องตลอดทั้งปี และพาราโบลาโดมยังถูกนำไปใช้เพื่อทำกล้วยตากได้ถึง 220 กิโลกรัมต่อปีอีกด้วย  นอกจากนี้ ยังได้     นำระบบเทคโนโลยีเพื่อมาต่อยอดให้เป็นสมาร์ทโดมที่สามารถรายงานผลและสั่งการผ่านโทรศัพท์มือถือ ในการควบคุมอุณหภูมิให้เหมาะสมกับผลิตภัณฑ์ในระยะต่างๆ ของการอบแห้งกาแฟได้

โครงการจัดตั้งระบบผลิตไฟฟ้าด้วยเซลล์แสงอาทิตย์สำหรับโรงเรียนชนบท ณ โรงเรียนบ้านห้วยต้นตอง   อ.ไชยปราการ จ.เชียงใหม่ ที่ตั้งอยู่ในพื้นที่ห่างไกลและไฟฟ้าเข้าไม่ถึง โดยเมื่อปี 2549 พพ. ได้สนับสนุนค่าใช้จ่ายทั้งหมดในวงเงินประมาณ 1.4 ล้านบาท เพื่อติดตั้งระบบผลิตไฟฟ้าด้วยเซลล์แสงอาทิตย์ ขนาดกำลังผลิตพร้อมแบตเตอรี่ขนาด 36 กิโลวัตต์ชั่วโมง ใช้กับอาคารเรียน 2 ชั้น และในปี 2553 ได้ขยายผลกำลังการผลิตไฟฟ้า ของโครงการขึ้นอีก 3 กิโลวัตต์ เพื่อใช้กับอาคารเรียนชั้นอนุบาล อาคารสำนักงาน และโรงอาหาร และในปี 2561 พพ. ได้รับการสนับสนุนจากกองทุนเพื่อส่งเสริมการอนุรักษ์พลังงานเพื่อเพิ่มกำลังการผลิตไฟฟ้าขึ้นอีก 10 กิโลวัตต์ พร้อมกับแบตเตอรี่ลิเทียมไอออนขนาด 100 กิโลวัตต์ชั่วโมง ทั้งนี้ กำลังการผลิตไฟฟ้าจากพลังงานแสงอาทิตย์ที่ได้นอกจากจะช่วยเพิ่มคุณภาพการศึกษาของนักเรียนระดับประถมศึกษากว่า 117 คน แล้วพลังงาน   ที่กักเก็บไว้ในแบตเตอร์รี่จะถูกนำมาช่วยเพื่อเตรียมการสอนของครูในช่วงค่ำ นอกจากนี้ ในบางโอกาสไฟฟ้าที่ผลิตได้ทั้งหมดนำไปใช้ในกิจกรรมของชุมชนชาวเขาที่อยู่บริเวณโดยรอบกว่า 800 คน จาก150 ครัวเรือน ซึ่งจะช่วยยกระดับความมั่นคงและคุณภาพชีวิตที่ดีขึ้นของประชาชนจากการมีไฟฟ้าใช้จากระบบเซลล์แสงอาทิตย์ได้เป็นอย่างดี

ก.พลังงาน ชี้แจงประเด็นข่าวการเตรียมเปิดประมูล IPP ตามแผน PDP ใหม่

ก.พลังงาน  ขอย้ำยังอยู่ในขั้นตอนการศึกษา และต้องรอการพิจารณาจาก กพช. และนำเสนอ ครม. ก่อน จึงนำมาจัดทำแผนดำเนินการได้

ดร. สมภพ  พัฒนอริยางกูล  ผู้อำนวยการสำนักนโยบายและยุทธศาสตร์ ในฐานะโฆษกกระทรวงพลังงาน เปิดเผยว่า  ตามที่ปรากฎข่าวจากสื่อมวลชน ในวันนี้ (11 มค.) ว่า กระทรวงพลังงาน ได้เตรียมพร้อมเปิดการประมูลโรงไฟฟ้าขนาดใหญ่ (IPP) รอบที่ 4 ในภาคตะวันตก กำลังการผลิตไม่ต่ำกว่า 1,400 เมกะวัตต์ ในช่วงปี 2562 – 2563 และจะจ่ายไฟฟ้าเข้าสู่ระบบประมาณปี 2568 ซึ่งเป็นประเด็นเผยแพร่เนื้อหาข่าวในสื่อต่าง ๆ นั้น

ทั้งนี้ กระทรวงพลังงงาน โดยสำนักงานนโยบายและแผนพลังงาน (สนพ.) ขอชี้แจงว่า ขณะนี้แผนพัฒนากำลังผลิตไฟฟ้าของประเทศไทยฉบับใหม่ (PDP) ยังอยู่ในระหว่างขั้นตอนการนำเสนอคณะกรรมการนโยบายพลังงานแห่งชาติ (กพช.) ให้ความเห็นชอบ ซึ่งเบื้องต้น จะมีกำหนดการประชุมในวันพฤหัสบดีที่ 24 มกราคม 2562  โดยกระทรวงพลังงานอยู่ระหว่างการศึกษาความเหมาะสมในแนวทางต่างๆ ทั้งในการประมูล หรือต่ออายุสัญญาโรงไฟฟ้าทุกประเภทให้สอดคล้องกับแผน PDP ฉบับใหม่ รวมทั้งจะพิจารณาความต้องการไฟฟ้าในภาพรวมของประเทศในช่วงขณะนั้นประกอบด้วย โดยเมื่อ กพช. ให้ความเห็นชอบและนำเสนอคณะรัฐมนตรีแล้ว กระทรวงพลังงานจะนำแผน PDP มาหารือกับหน่วยงานที่เกี่ยวข้องในการจัดทำแผนดำเนินการหรือ Action Plan ต่อไป

แถลงการณ์กระทรวงพลังงานฉบับที่ 5/2562 สถานการณ์พายุโซนร้อน “ปาบึก”

แถลงการณ์กระทรวงพลังงานฉบับที่ 5/2562
สถานการณ์พายุโซนร้อน “ปาบึก” ที่ส่งผลต่อการผลิตปิโตรเลียมในอ่าวไทย

กระทรวงพลังงาน : วันที่ 6 มกราคม 2562 เวลา 16.00 น.

รายงานความคืบหน้าสถานการณ์พายุโซนร้อนปาบึก (PABUK) ขณะนี้พายุได้เคลื่อนที่ผ่านประเทศไทยไปแล้ว ภาพรวมของการบริหารจัดการด้านพลังงานนั้น ได้รับความเสียหายเพียงเล็กน้อย ทำให้สามารถผลิต ก๊าซธรรมชาติและกระแสไฟฟ้าได้ใกล้เคียงปริมาณปกติ รายละเอียดในแต่ละด้านประกอบด้วย

ด้านการผลิตก๊าซธรรมชาติ อุปกรณ์การผลิตก๊าซธรรมชาติในอ่าวไทยได้รับความเสียหายเพียงเล็กน้อย ปัจจุบันสามารถเริ่มผลิตก๊าซธรรมชาติได้ตามปกติแล้ว และจากการตรวจสอบโดยละเอียด คาดว่าจะสามารถผลิตเต็มที่ได้ในวันที่ 7 มกราคม 2562 ทั้งนี้ได้ใช้การผลิตก๊าซ LNG เต็มกำลังสำรอง 1,400 ล้านลูกบาศก์ฟุตต่อไปตลอดช่วงฉุกเฉิน

ด้านไฟฟ้า ในส่วนของโรงไฟฟ้าไม่มีความเสียหายและสามารถผลิตไฟฟ้าได้ตามปกติ แต่จะมีเพียง บางพื้นที่ที่เสาไฟฟ้าของการไฟฟ้าส่วนภูมิภาคได้รับความเสียหาย คาดว่าจะสามารถกู้กลับคืนสู่สภาวะปกติโดยเร็ว

ด้านน้ำมันและสถานีบริการ สถานีบริการในทุกพื้นที่สามารถเปิดบริการได้ตามปกติ

ด้านการให้ความช่วยเหลือ การไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทย และกลุ่มบริษัท ปตท. ยังคงให้ ความช่วยเหลือประชาชนด้วยการแจกจ่ายถุงยังชีพและน้ำดื่ม

ทั้งนี้ กระทรวงพลังงาน คาดว่า การบริหารจัดการด้านพลังงานในทุกๆ ด้านจะสามารถกลับสู่สภาวะปกติภายใน 1 – 2 วันนี้ กระทรวงพลังงานและหน่วยงานในสังกัดได้เร่งประสานให้ความช่วยเหลือประชาชนอย่างต่อเนื่อง

แถลงการณ์กระทรวงพลังงานฉบับที่ 4/2562 สถานการณ์พายุโซนร้อน “ปาบึก”

แถลงการณ์กระทรวงพลังงานฉบับที่ 4/2562
สถานการณ์พายุโซนร้อน “ปาบึก” ที่ส่งผลต่อการผลิตปิโตรเลียมในอ่าวไทย

กระทรวงพลังงาน : วันที่ 5 มกราคม 2562 เวลา 16.00 น.

รายงานความคืบหน้าสถานการณ์พายุโซนร้อนปาบึก (PABUK) ต่อการผลิตปิโตรเลียมในทะเลอ่าวไทย ซึ่งขณะนี้ สถานการณ์ในส่วนของการผลิตปิโตรเลียมในพื้นที่อ่าวไทยถือว่าได้คลี่คลายแล้ว บริษัท ผู้ประกอบกิจการพลังงานได้จัดส่งเจ้าหน้าที่เข้าสำรวจอุปกรณ์บนทุกแท่นผลิตปิโตรเลียมและเร่งดำเนินการให้สามารถกลับมาผลิตปิโตรเลียมเพื่อรองรับการใช้ของประชาชน รายละเอียดการดำเนินการมีดังนี้

ด้านการผลิตก๊าซธรรมชาติ จากการเข้าตรวจสอบ พบว่า ไม่มีอะไรเสียหาย สามารถกลับมาผลิตก๊าซธรรมชาติได้ในวันที่ 6 มกราคม 2562 และจะสามารถผลิตได้อย่างเต็มที่ วันที่ 7 มกราคม 2562

ด้านไฟฟ้า ในส่วนของโรงไฟฟ้าไม่มีความเสียหายและสามารถผลิตไฟฟ้าได้ตามปกติ
แม้สถานการณ์จะคลี่คลายแล้ว กระทรวงพลังงานและหน่วยงานในสังกัด จะได้เตรียมความพร้อมในการช่วยเหลือเยียวยาผู้ประสบภัย ร่วมกับรัฐบาล อย่างต่อเนื่องจนกว่าสถานการณ์จะเข้าสู่ภาวะปกติ ต่อไป

ทั้งนี้ กระทรวงพลังงานและหน่วยงานในสังกัด ยังคงติดตามสถานการณ์อย่างใกล้ชิด และพร้อมให้ความช่วยเหลือประชาชนที่ประสบภัยในพื้นที่เพื่อบรรเทาความเดือดร้อน

ปลัดกระทรวงพลังงานติวเข้มข้าราชการและเจ้าหน้าที่ขับเคลื่อนนโยบายปี 2562 สู่การปฎิบัติ มุ่งประสิทธิภาพ

ปลัดกระทรวงพลังงานติวเข้มข้าราชการและเจ้าหน้าที่ขับเคลื่อนนโยบายปี 2562 สู่การปฎิบัติ มุ่งประสิทธิภาพ

วันนี้ (4 มกราคม 2562) นายกุลิศ สมบัติศิริ ปลัดกระทรวงพลังงาน กล่าวภายหลังเป็นประธานเปิด การสัมมนา “การสื่อสารนโยบายสู่ภาคปฏิบัติของกระทรวงพลังงาน ปี 2562”ว่า การสัมมนาดังกล่าว กระทรวงพลังงานจัดขึ้นเป็นประจำทุกปีเพื่อให้บุคลากรของกระทรวงพลังงานทั้งในส่วนกลางและภูมิภาค โดยเฉพาะพลังงานจังหวัดซึ่งถือเป็นด่านหน้าที่สำคัญ ช่วยนำข้อมูล ข้อเท็จจริงด้านพลังงานต่าง ๆ ไปสื่อสารต่อยังประชาชนในพื้นที่ โดยเฉพาะนโยบายที่สำคัญที่อยู่ในความสนใจของสาธารณะ อาทิ การประมูลแหล่งปิโตรเลียมเอราวัณ-บงกช แผนพัฒนากำลังผลิตไฟฟ้าของประเทศไทย (PDP2018) การบริหารปาล์มน้ำมันผ่าน B7 B20 ตลอดจนโครงการโซลาร์เซลล์บนหลังคา เป็นต้น ทั้งนี้เพื่อเป็นการสร้างความรู้ด้านพลังงาน ช่วยส่งเสริมให้ประชาชน เกิดทัศนคติที่ดีต่อกระทรวงพลังงาน พร้อมให้ความร่วมมือในการพัฒนาโครงการต่างๆ ของกระทรวงพลังงาน และให้การสนับสนุนนโยบายต่างๆ ทางด้านพลังงานอย่างต่อเนื่อง
“พลังงานจังหวัดมีบทบาทสำคัญในการขับเคลื่อนสร้างความเข้าใจและทัศนคติที่ดีต่อนโยบาย ด้านพลังงานให้เกิดขึ้นกับภาคประชาชน โดยประเด็นที่พลังงานจังหวัดต้องคำนึงถึงในการปฏิบัติงานคือ การมีข้อมูลพื้นฐานด้านพลังงานในพื้นที่จังหวัด ติดตามนโยบาย/มาตรการของส่วนกลาง การมีส่วนร่วมในการจัดทำยุทธศาสตร์การพัฒนาจังหวัดอย่างสม่ำเสมอ การสร้างเครือข่ายการทำงานในพื้นที่กับภาครัฐ ภาคเอกชน และสถาบันการศึกษา การบริหารงบประมาณอย่างมีประสิทธิภาพ การถ่ายทอดความรู้ระหว่างบุคลากร รวมทั้งการมีธรรมาภิบาล และความโปร่งใสในการปฏิบัติงาน” ปลัดกระทรวงพลังงานกล่าว
ในโอกาสนี้ ปลัดกระทรวงพลังงานยังได้กล่าวในการปาฐกถาเกี่ยวกับนโยบายพลังงานสู่การปฏิบัติว่า ทิศทางการดำเนินงานที่สำคัญๆ ในปี 2562 มีดังนี้ ด้านไฟฟ้า หลังจากจัดทำร่างแผน PDP ฉบับใหม่แล้ว ก็มีโครงการศึกษาการปรับโครงสร้างเพื่อรองรับผู้ใช้ไฟฟ้าที่ผลิตไฟฟ้าใช้เองและส่งขายให้การไฟฟ้า(Prosumer) โครงการศึกษา SPP Power Pool การสร้างโรงไฟฟ้าพระนครใต้ทดแทนเครื่องที่ 1-5 การศึกษาความเหมาะสมของโซลาร์ลอยน้ำ การจัดตั้ง One Stop Service การจัดตั้งโรงไฟฟ้าและก๊าซธรรมชาติ

ด้านน้ำมัน เห็นชอบและประกาศใช้กฎหมายว่าด้วยกองทุนน้ำมันเชื้อเพลิง พ.ศ…. การศึกษาการสำรองน้ำมันเชิงยุทธศาสตร์ ปรับโครงสร้างราคาน้ำมันเชื้อเพลิงให้สะท้อนและเกิดการแข่งขันเพิ่มขึ้น โครงการระบบขนส่งน้ำมันทางท่อไปยังภาคเหนือและภาคตะวันออกเฉียงเหนือ และศึกษาแนวทางการส่งเสริมการใช้ B10
ด้านก๊าซธรรมชาติ หลังจากเปิดประมูลแหล่งปิโตรเลียมเอราวัณ-บงกชสำเร็จในปีที่ผ่านมา ปีนี้ก็มีภารกิจต่อเนื่องในการพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานเรื่องการนำเข้า LNG โดยปี 2562 จะดูเรื่องการนำเข้า LNG 1.5 ล้านตันเพื่อทดสอบระบบเชื่อมต่อระบบส่งก๊าซธรรมชาติและสถานี LNG แก่บุคคลที่สาม (Third Party Access -TPA)
ด้านพลังงานและอนุรักษ์พลังงาน มีแผนขับเคลื่อนรถยนต์ไฟฟ้า (EV) และระบบกักเก็บพลังงาน (Energy Storage System-ESS) รวมถึงมีการบังคับใช้เกณฑ์มาตรฐานอาคารด้านพลังงานสำหรับอาคารที่มีพื้นที่ใช้สอยขนาด 10,000 ตารางเมตรขึ้นไป
นอกจากนี้ ด้านองค์กร จะจัดทำแนวทางปฏิบัติที่ดี (Code of Conduct) การพัฒนาศูนย์สารสนเทศแห่งชาติ

โอกาสนี้ ปลัดกระทรวงพลังงาน พร้อมด้วยคณะผู้บริหาร และบุคลากรกระทรวงพลังงาน ได้ร่วมกันแสดงสัญลักษณ์ต่อต้านการคอรัปชั่น เพื่อแสดงเจตจำนงในการบริหารงานด้วยความสุจริต โปร่งใส และมีธรรมาภิบาล

 

 

 

 

 

 

 

แถลงการณ์กระทรวงพลังงานฉบับที่ 3/2562 สถานการณ์พายุโซนร้อน “ปาบึก”

แถลงการณ์กระทรวงพลังงานฉบับที่ 3/2562
สถานการณ์พายุโซนร้อน “ปาบึก ” ที่ส่งผลต่อการผลิตปิโตรเลียมในอ่าวไทย

​กระทรวงพลังงาน : วันที่ 4 มกราคม 2562 เวลา 16.00 น.

รายงานความคืบหน้าสถานการณ์พายุโซนร้อนปาบึก (PABUK) ต่อการผลิตปิโตรเลียมในทะเลอ่าวไทย ขณะนี้พายุได้เคลื่อนตัวผ่านบริเวณแท่นผลิตปิโตรเลียมโดยไม่ได้สร้างความเสียหาย ซึ่งถือว่าผ่านช่วงที่วิกฤตที่สุดต่อการผลิตปิโตรเลียมไปแล้ว และได้ส่งพนักงานเข้าไปสำรวจเพื่อเตรียมการผลิต ส่วนความคืบหน้าการติดตามและบริหารสถานการณ์พลังงานมีรายละเอียด ดังนี้
ด้านการผลิตก๊าซธรรมชาติ การผลิตจากอ่าวไทย พื้นที่พัฒนาร่วมไทย-มาเลเซีย (JDA) และจากสหภาพเมียนมา อยู่ที่ระดับประมาณ 2,725 ล้านลูกบาศก์ฟุตต่อวัน ซึ่งต่ำกว่าระดับการผลิตตามปกติ โดยได้มีการบริหารจัดการด้วยการส่ง LNG เข้าสู่ระบบเพิ่มขึ้นเป็นระดับ 1,400 ล้านลูกบาศก์ฟุตต่อวัน และลดการส่งไปในภาคปิโตรเคมี ทำให้สามารถจัดสรรก๊าซฯ ไปยังภาคไฟฟ้า ภาคอุตสาหกรรมและ NGV ได้ตามแผน และมีปริมาณก๊าซฯ เพียงพอที่จะรองรับสถานการณ์จนกว่าจะกลับเข้าสู่ภาวะปกติ ทั้งนี้ บริษัทผู้ประกอบกิจการปิโตรเลียมมีแผนที่จะส่งพนักงานเข้าไปสำรวจสภาพแท่นและความพร้อมของอุปกรณ์ และ จะเคลื่อนย้ายพนักงานบางส่วนกลับเข้าไปทำงานนอกชายฝั่งตั้งแต่วันนี้ และมีแผนที่จะเริ่มการผลิตตั้งแต่วันที่ 6 มกราคม และคาดว่าจะทยอยกลับมาผลิตได้ตามปกติตั้งแต่วันที่ 7 มกราคม เป็นต้นไป
​ด้านไฟฟ้า การไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทย (กฟผ.) โดยศูนย์บริหารสถานการณ์ฉุกเฉินดูแลระบบไฟฟ้าตลอด 24 ชั่วโมง ครอบคลุมทั้งโรงไฟฟ้า สถานีส่งและระบบส่งไฟฟ้า โดยเฉพาะการเฝ้าระวังระดับน้ำ ที่ท่วมในพื้นที่ซึ่งอาจส่งผลต่อสถานีส่งไฟฟ้า และมีมาตรการรองรับกรณีระดับน้ำสูงไว้แล้ว
ด้านน้ำมันเชื้อเพลิงและก๊าซหุงต้ม ประชาชนได้รับทราบว่ามีการจัดเตรียมน้ำมันสำรองเพียงพอต่อความต้องการใช้ ทำให้ไม่เกิดความตระหนกและกักตุนน้ำมันและก๊าซหุงต้ม รวมถึงผู้ค้าน้ำมันได้มีการจัดส่งน้ำมันอย่างเพียงพอ
ด้านการให้ความช่วยเหลือผู้ประสบภัยในพื้นที่ การไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทย (กฟผ.) ได้จัดเตรียมถุงยังชีพ จำนวน 1,000 ถุง และ กลุ่มบริษัท ปตท. ได้จัดส่งถุงยังชีพ จำนวน 2,000 ถุง ซึ่งจัดส่งถึงพื้นที่ภาคใต้เรียบร้อยแล้ว และจะจัดส่งเพิ่มเติมอีก 4,000 ชุด ลงไปในพื้นที่อีกภายในวันที่ 5 มกราคม ต่อไป
​ทั้งนี้ กระทรวงพลังงานและหน่วยงานในสังกัด ยังคงติดตามสถานการณ์อย่างใกล้ชิด และพร้อมให้ความช่วยเหลือประชาชนที่ประสบภัยในพื้นที่เพื่อบรรเทาความเดือดร้อน

แถลงการณ์กระทรวงพลังงานฉบับที่ 2/2562 สถานการณ์พายุโซนร้อน “ปาบึก”

แถลงการณ์กระทรวงพลังงานฉบับที่ 2/2562

สถานการณ์พายุโซนร้อน “ปาบึก” ที่ส่งผลต่อการผลิตปิโตรเลียมในอ่าวไทย

 กระทรวงพลังงาน : วันที่ 3 มกราคม 2562 เวลา 16.00 น.

รายงานความคืบหน้าสถานการณ์พายุโซนร้อนปาบึก (PABUK) ต่อการผลิตปิโตรเลียมในทะเลอ่าวไทย ณ ปัจจุบันมีการอพยพเจ้าหน้าที่แล้ว 2,635 คน และเหลือปฏิบัติหน้าที่อยู่ 246 คน การอพยพของเจ้าหน้าที่แต่ละบริษัทเป็นไปโดยสวัสดิภาพ โดยพายุอยู่ห่างจากแท่นบงกชประมาณ 500 km คาดว่าจะผ่านแท่นในเวลา 04:00 น. ของวันที่ 4 ม.ค.62

ด้านการผลิตก๊าซธรรมชาติและน้ำมันดิบ ขณะนี้ยังไม่มีการหยุดผลิตเพิ่มเติม ข้อมูลล่าสุด ก๊าซธรรมชาติลดลงในปริมาณเท่าเดิมที่ 600 ล้านลูกบาศก์ฟุต/วันจากการหยุดผลิตของแหล่งบงกชเหนือ (แหล่งบงกชใต้ หยุดซ่อมบำรุงตั้งแต่ช่วงเดือนธันวาคม) และน้ำมันดิบลดลง 27,000 บาร์เรล/วัน  อย่างไรก็ตาม ในส่วนของแหล่งก๊าซธรรมชาติไพลินเหนือสามารถกลับมาผลิตได้อีกครั้งเร็วกว่าแผนหลังจากหยุดซ่อมบำรุง ทำให้มีก๊าซธรรมชาติจากอ่าวไทยเข้าระบบมากขึ้น รวมถึงในส่วนของก๊าซ LNG มีความพร้อมจ่ายได้สูงสุด 1,400 ล้านลูกบาศก์ฟุตต่อวัน และในวันนี้เรือขนส่ง LNG ได้เข้าเทียบท่าแล้ว ซึ่งจะสามารถ    ส่งก๊าซ LNG เข้าระบบได้ เมื่อรวมกับ Inventory มีปริมาณ 10,800 ล้านลูกบาศก์ฟุต (ทั้งนี้เรือลำถัดไป      จะเทียบท่าในวันที่ 7 ม.ค. 62) ทำให้ปริมาณสำรอง LNG มีมากเพียงพอในการรองรับสถานการณ์การหยุดผลิตจากพายุ รวมถึงสามารถจัดสรรก๊าซธรรมชาติให้กับภาคไฟฟ้า ภาคอุตสาหกรรม และ NGV ได้ตามแผน

ด้านไฟฟ้า การไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทย (กฟผ.) มีมาตรการเฝ้าระวังสถานการณ์ทั้งในส่วนของสถานีผลิตไฟฟ้าและระบบส่ง และสำรองจากเชื้อเพลิงอื่นเพิ่มมากขึ้น ทั้งน้ำมันดีเซล และน้ำมันเตาเพื่อให้สามารถผลิตไฟฟ้าได้อย่างเพียงพอ รวมถึงการนำเข้าไฟฟ้าพลังน้ำจาก สปป.ลาว ในปริมาณสูงสุด นอกจากนี้ได้มีการประสานกับประเทศมาเลเซียเพื่อขอซื้อไฟฟ้าในกรณีฉุกเฉิน และจัดเตรียมอุปกรณ์หนักสำหรับแก้ไขปัญหาหากระบบผลิตและระบบส่งไฟฟ้าได้รับความเสียหายจากพายุ

ด้านน้ำมันเชื้อเพลิงและก๊าซหุงต้ม กระทรวงพลังงานได้สั่งการให้ผู้ค้าน้ำมัน สำรองน้ำมันและจัดส่งให้เพียงพอ โดยเฉพาะในพื้นที่ที่อาจได้รับผลกระทบจากสถานการณ์พายุ ในส่วนของก๊าซหุงต้มมีปริมาณเพียงพอสำหรับการใช้ของประชาชน

ทั้งนี้ กระทรวงพลังงาน ได้จัดตั้ง ศูนย์เฝ้าระวังสถานการณ์ฉุกเฉินด้านพลังงาน โดยจะหารือหน่วยงานที่เกี่ยวข้องเพื่อติดตามและรายงานสถานการณ์อย่างใกล้ชิด ้

แถลงการณ์กระทรวงพลังงานฉบับที่ 1/2562 สถานการณ์พายุโซนร้อน “ปาบึก”

แถลงการณ์กระทรวงพลังงานฉบับที่ 1/2562
สถานการณ์พายุโซนร้อน “ปาบึก” ที่ส่งผลต่อการผลิตปิโตรเลียมในอ่าวไทย

จากเหตุการณ์พายุโซนร้อนปาบึก (PABUK) บริเวณอ่าวไทย เมื่อวันที่ 2 มกราคม 2562 ซึ่งอาจส่ง ผลกระทบต่อกิจกรรมการผลิตปิโตรเลียมในทะเลอ่าวไทย กระทรวงพลังงานได้ประสานข้อมูล สั่งการและติดตามร่วมกับบริษัทผู้ประกอบกิจการปิโตรเลียมในทะเลอ่าวไทยทั้ง 8 กลุ่มบริษัทอย่างใกล้ชิด ซึ่งขณะนี้ได้ มีการถอนตัวเจ้าหน้าที่ที่ไม่จำเป็นในการผลิตกลับขึ้นฝั่ง ณ จังหวัดสงขลาและจังหวัดชลบุรีโดยเรือและเฮลิคอปเตอร์ เรียบร้อยแล้วอย่างปลอดภัย

ผลจากพายุโซนร้อนครั้งนี้ บริษัทผู้ประกอบการจำเป็นต้องหยุดผลิตก๊าซธรรมชาติและน้ำมันดิบบางส่วนเพื่อความปลอดภัย ทำให้ปริมาณการผลิตก๊าซธรรมชาติในอ่าวไทยลดลงจากการที่แหล่งบงกชเหนือหยุดการผลิตประมาณ 600 ล้านลูกบาศก์ฟุตต่อวันจากปริมาณการผลิตทั้งหมดในอ่าวไทยจำนวน 2,400 ล้านลูกบาศก์ฟุตต่อวัน สำหรับน้ำมันดิบหยุดการผลิตประมาณ 27,000 บาร์เรลต่อวันจากปริมาณการผลิตปัจจุบัน 100,000 บาร์เรลต่อวัน ซึ่งในส่วนการผลิตน้ำมันดิบที่ลดลงนั้นยังไม่ส่งผลกระทบต่อการใช้ในประเทศ

กระทรวงพลังงานได้เตรียมรับมือกับสถานการณ์ดังกล่าวร่วมกับหน่วยงานที่เกี่ยวข้องแล้ว โดยใน การบริหารจัดการก๊าซธรรมชาตินั้น บริษัท ปตท.จำกัด (มหาชน) จะส่งก๊าซธรรมชาติที่ถูกทำให้เหลว (LNG) เข้าระบบเพิ่มขึ้น เพื่อทดแทนปริมาณการผลิตก๊าซธรรมชาติที่ลดลง ในส่วนการผลิตไฟฟ้า การไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทย (กฟผ.) ได้สำรองจากเชื้อเพลิงอื่นมากขึ้น โดยได้สำรองน้ำมันดีเซล และน้ำมันเตาทดแทนการใช้ก๊าซธรรมชาติในการผลิตไฟฟ้าอย่างเพียงพอหากจำเป็น รวมถึงการนำเข้าไฟฟ้าพลังน้ำจากต่างประเทศ สำหรับก๊าซหุงต้ม หรือ LPG ซึ่งอาจได้รับผลกระทบจากปริมาณก๊าซธรรมชาติที่ส่งเข้าโรงแยกก๊าซลดลง กรมธุรกิจพลังงานและบริษัท ปตท.จำกัด (มหาชน) จะบริหารจัดการให้มีปริมาณ LPG เพียงพอต่อการใช้ของประชาชน

ในภาพรวมกระทรวงพลังงานสามารถบริหารจัดการโดยไม่ส่งผลกระทบต่อประชาชน และจะติดตามสถานการณ์อย่างใกล้ชิดและจะแจ้งให้ทราบอย่างต่อเนื่องต่อไป

……………………………………………………………………

รัฐมนตรีว่าการกระทรวงพลังงาน ร่วมพิธีทำบุญตักบาตรเนื่องในวันขึ้นปีใหม่ พ.ศ.2562

วันนี้ (2 ม.ค. 62) พลเอก ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรี เป็นประธานในพิธีทำบุญตักบาตรพระสงฆ์ จำนวน 62 รูป เนื่องในโอกาสวันขึ้นปีใหม่ พุทธศักราช 2562 โดยมี ดร.ศิริ จิระพงษ์พันธ์ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงพลังงาน เข้าร่วมพิธี ณ ตึกสันติไมตรี ทำเนียบรัฐบาล

กระทรวงพลังงาน และกระทรวงพาณิชย์ ลงนาม MOU ขับเคลื่อนมาตรการปรับสมดุลน้ำมันปาล์มในประเทศ โดยใช้น้ำมันปาล์มเพื่อผลิตไฟฟ้า

กระทรวงพลังงาน และกระทรวงพาณิชย์ ลงนาม MOU ขับเคลื่อนมาตรการปรับสมดุลน้ำมันปาล์มในประเทศ โดยใช้น้ำมันปาล์มเพื่อผลิตไฟฟ้า

ดร.ศิริ จิระพงษ์พันธ์ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงพลังงาน และนายสนธิรัตน์ สนธิจิรวงศ์ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงพาณิชย์ เป็นประธานร่วมในพิธีลงนามบันทึกข้อตกลงความร่วมมือ (MOU) มาตรการปรับสมดุลน้ำมันปาล์มในประเทศ โดยการใช้น้ำมันปาล์มดิบผลิตกระแสไฟฟ้า ระหว่างกรมการค้าภายใน และการไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทย (กฟผ.) โดยมีผู้บริหารระดับสูงจากทั้งสองหน่วยงานร่วมเป็นสักขีพยาน

สำหรับการ MOU ครั้งนี้ กฟผ. จะเป็นผู้รับซื้อน้ำมันปาล์มดิบ จำนวน 160,000 ตัน ในราคากิโลกรัมละ 18 บาท ส่งที่ท่าเทียบเรือโรงไฟฟ้าบางปะกง เพื่อนำไปเป็นเชื้อเพลิงในการผลิตกระแสไฟฟ้าที่โรงไฟฟ้าบางปะกง

ด้านกรมการค้าภายใน จะสนับสนุนการจัดหาน้ำมันปาล์มดิบให้แก่ กฟผ. ตั้งแต่ขั้นตอนการกำหนดหลักเกณฑ์ เงื่อนไข และวิธีดำเนินมาตรการ รับสมัครผู้ประสงค์เสนอขายน้ำมันปาล์มดิบให้แก่ กฟผ. คัดเลือก และจัดสรรปริมาณขาย เพื่อให้ กฟผ. ทำสัญญาณจัดซื้อจัดจ้าง ทั้งนี้ เพื่อให้ราคาผลปาล์มน้ำมันที่เกษตรกรได้รับอยู่ในระดับสูงกว่า 3 บาทต่อกิโลกรัม

ดร. ศิริ จิระพงษ์พันธ์ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงพลังงาน เป็นประธานคณะกรรมการบริหารนโยบายพลังงาน (กบง.) ปรับลดราคาขายปลีกน้ำมันเชื้อเพลิง

 

วันนี้ ( 24 ธันวาคม 2561)  ที่ ประชุมคณะกรรมการบริหารนโยบายพลังงาน (กบง.) ซึ่งมี ดร. ศิริ จิระพงษ์พันธ์ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงพลังงาน เป็นประธานฯ ได้พิจารณา เรื่อง สำคัญ สรุปประเด็นได้ ดังนี้

ลดราคาขายปลีกน้ำมันเชื้อเพลิงทั้งในกลุ่มดีเซลและเบนซินลิตรละ 1 บาท โดย 50 สตางค์จากกองทุนน้ำมันฯและอีก 50 สตางค์จากค่าการตลาด

ที่ประชุม กบง. ได้ติดตามสถานการณ์ราคาน้ำมันดิบในตลาดโลก ตั้งแต่ปลายเดือนกันยายน 2561 มีแนวโน้มราคาลดลงอย่างต่อเนื่อง เนื่องจากผ่อนปรนเงื่อนไขการคว่ำบาตรอิหร่านโดยสหรัฐและการผลิตน้ำมันดิบของสหรัฐฯ และกลุ่มโอเปกพลัส ที่เพิ่มขึ้นในเดือนมกราคม 2562 นี้ ส่งผลให้ราคาน้ำมันดิบดูไบลดจาก 80.05 เหรียญสหรัฐฯ ต่อบาร์เรล เมื่อวันที่ 26 กันยายน 2561 คงเหลือที่ 53.56 เหรียญสหรัฐฯ ต่อบาร์เรล ณ วันที่ 21 ธันวาคม 2561

เทียบเท่ากับราคาส่วนลดประมาณ 5.00 บาทต่อลิตร โดยที่เมื่อรวมส่วนลดราคาขายปลีกในวันนี้แล้ว ราคาขายปลีกดีเซลจะลดลง 4.60 บาทต่อลิตร และเรียกเก็บเข้ากองทุนน้ำมันฯ 0.35 บาทต่อลิตร และสำหรับราคาขายปลีกน้ำมันเบนซินลดลง 5.00 บาทต่อลิตร และเรียกเก็บเข้ากองทุนน้ำมันฯ 1.40 บาทต่อลิตร

 

เนื่องจากมีเผยแพร่เอกสารเกี่ยวกับการเชิญชวนดำเนินการก่อสร้างโครงการกังหันลมผลิตกระแสไฟฟ้า(ดังแนบ) ซึ่งเป็นการแอบอ้าง ปลอมแปลงลายมือชื่อผู้บริหารกระทรวงพลังงาน
กระทรวงพลังงานขอเรียนว่าเอกสารฉบับดังกล่าว ไม่เป็นความจริง ซึ่งจะดำเนินการทางกฎหมายกับผู้จัดทำอย่างเด็ดขาด
จึงเรียนมาเพื่อทราบ และไม่หลงเชื่อข้อมูลจากกลุ่มผู้กระทำการดังกล่าว

หากพบเจอโปรดแจ้งเบาะแสให้สำนักงานปลัดกระทรวงพลังงานทราบ ที่เบอร์ 0 2140 7000  ขอบคุณครับ

นายกรัฐมนตรีเยี่ยมชม “บ้านรักษ์พลังงาน” ในงานอุ่นไอรัก คลายความหนาว “สายน้ำแห่งรัตนโกสินทร์”

วันนี้ (18 ธันวาคม 2561 ) พลเอกประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรี ให้เกียรติเยี่ยมชม “บ้านรักษ์พลังงาน” ภายในงาน “อุ่นไอรัก คลายความหนาว สายน้ำแห่งรัตนโกสินทร์” ณ พระราชวังดุสิตและสนามเสือป่า โดยมี ดร.ศิริ จิระพงษ์พันธ์ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงพลังงาน พร้อมคณะผู้บริหาร ให้การต้อนรับ  ทั้งนี้ “บ้านรักษ์พลังงาน” เป็นความร่วมมือระหว่าง กระทรวงพลังงาน การไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทย และบริษัท ปตท. จำกัด (มหาชน) ก่อสร้างขึ้นเพื่อให้ประชาชนได้รับความรู้เกี่ยวกับการประหยัดพลังงานภายในบ้าน รวมทั้งการก่อสร้างบ้าน การเลือกใช้วัสดุ การใช้พลังงานจากธรรมชาติอย่างเซลล์แสงอาทิตย์ ผู้สนใจสามารถเข้าชม “บ้านรักษ์พลังงาน” ภายในงานอุ่นไอรัก คลายความหนาว ได้ตั้งแต่บัดนี้ จนถึงวันที่ 19 มกราคม 2562 และสามารถดาวน์โหลดแบบบ้านประหยัดพลังงานได้ที่ www.dede.go.th

 

 

กระทรวงพลังงานร่วมกิจกรรมจิตอาสา ““เราทำความ ดี ด้วยหัวใจ””

วันนี้ (15 ธ.ค. 61) พลเอก ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรี เป็นประธานเปิดกิจกรรมจิตอาสาในนามรัฐบาล “เราทำความ ดี ด้วยหัวใจ” เดินรณรงค์ “คน รัก คลอง” … “ไม่ทิ้ง ไม่เท ทุ่มทำความดี” โดย ดร.ศิริ จิระพงษ์พันธ์ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงพลังงาน และนายกุลิศ สมบัติศิริ ปลัดกระทรวงพลังงาน นำคณะผู้บริหารระดับสูง ข้าราชการ และเจ้าหน้าที่ในสังกัดกระทรวงพลังงาน เข้าร่วมกิจกรรม ณ ทำเนียบรัฐบาล และบริเวณรอบคลองเปรมประชากร

รมว.เข้าร่วมงาน ไทย – ลาว ร่วมใจ จัดงาน “50 ปี สายส่ง สานสัมพันธ์ พลังงาน ลาว – ไทย มั่นยืน”

รำลึกเหตุการณ์สำคัญในอดีต จุดเริ่มต้นสัมพันธภาพพลังงานไฟฟ้าสองฝั่งโขง พร้อมผนึกพลังสานต่อความมั่นคงไฟฟ้าสู่อาเซียนในอนาคต และร่วมอนุรักษ์และปลูกฝังการใช้พลังงานอย่างมีประสิทธิภาพ ด้วยการใช้หลอด LED ประหยัดพลังงาน เพื่อมุ่งสู่การพัฒนาที่ยั่งยืนของประชาชนสองฝั่งโขง

ในปีนี้นับเป็นโอกาสพิเศษที่ครบรอบ 50 ปีความสัมพันธ์ด้านพลังงานไทย – ลาว กระทรวงพลังงานของไทย และกระทรวงพลังงานและบ่อแร่ของสปป.ลาว พร้อมทั้ง กฟผ. ฟฟล. และ จ.หนองคาย ได้ร่วมกันจัดกิจกรรมรำลึกถึงรัฐพิธีเปิดสายส่งไฟฟ้าแรงสูงต้นแรก โดยจัดงานขึ้นทั้งในฝั่งไทยและฝั่งลาว ระหว่างวันที่ 13 – 14 ธันวาคม 2561 ภายใต้ชื่องาน “50 ปี สายส่ง สานสัมพันธ์ พลังงาน ลาว – ไทย มั่นยืน”  โดยในวันที่ 13 ธันวาคม 2561

กิจกรรมช่วงเช้าในฝั่งไทย ได้แก่ กิจกรรมนุ่งไทยใส่บาตรริมแม่น้ำโขง ที่ชุมชนตลาดท่าเสด็จ จ.หนองคาย เพื่อถวายเป็นพระราชกุศลฯ พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช บรมนาถบพิตร และพิธีเปิดนิทรรศการ “50 ปี ท่าเสด็จรำลึก ดุจแสงทองสาดส่องสองฝั่งโขงมหานที” ณ ชุมชนตลาดท่าเสด็จ อ.เมือง จ.หนองคาย เพื่อรำลึกถึงรัฐพิธีเปิดสายส่งไฟฟ้าแรงสูง และพระราชกรณียกิจเกี่ยวกับกิจการด้านพลังงาน รวมถึงวิถีชีวิตของประชาชนริมฝั่งแม่น้ำโขงตั้งแต่อดีตจนถึงปัจจุบัน นอกจากนี้ยังมีพิธีรำลึกถึงพระมหากรุณาธิคุณ ในหลวง ร.9 โดยได้รับเกียรติจาก อ.เนาวรัตน์ พงษ์ไพบูลย์ และ อ.ธนิสร์ ศรีกลิ่นดี ศิลปินแห่งชาติ ร่วมกันขับลำนำบทสดุดีกวีรำลึก และมีกิจกรรมจากชุมชนตลาดท่าเสด็จอีกมากมาย โดยนิทรรศการดังกล่าวจะเปิดให้ประชาชนเข้าชมได้ ระหว่างวันที่ 13 – 16 ธันวาคม 2561

สำหรับกิจกรรมช่วงบ่ายจัดขึ้นที่ฝั่ง สปป.ลาว ดร.ศิริ จิระพงษ์พันธ์ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงพลังงานไทย ท่านปริญญาเอกคำมะนี อินทิลาด รัฐมนตรีว่าการกระทรวงพลังงานและบ่อแร่สปป.ลาว ศาสตราจารย์คลินิกเกียรติคุณ นายแพทย์ปิยะสกล สกลสัตยาทร รัฐมนตรีว่าการกระทรวงสาธารณสุขไทย ดร.สนอง ทองซะนะ ผู้อำนวยการโรงพยาบาลมิตรภาพ พร้อมด้วยปลัดกระทรวงพลังงานไทย เอกอัครราชทูตไทยประจำสปป.ลาว และผู้ว่าการ กฟผ. ร่วมกิจกรรม “ร่วมประหยัดพลังงานวันนี้ เพื่ออนาคตและสิ่งแวดล้อมที่ดีวันหน้า” โดยร่วมเปลี่ยนหลอด LED ประหยัดพลังงาน ณ โรงพยาบาลมิตรภาพ นครหลวงเวียงจันทน์ ทั้งนี้ กฟผ. สนับสนุนงบประมาณ จำนวน 1,652,240 บาท บาท เพื่อเปลี่ยนหลอด LED ประหยัดพลังงาน จำนวน 4,793 หลอด ซึ่งภายหลังการติดตั้งแล้วเสร็จจะช่วยให้โรงพยาบาลมิตรภาพสามารถประหยัดพลังงานไฟฟ้าได้ประมาณ 393,816 หน่วยต่อปี คิดเป็นค่าไฟฟ้าที่ลดลงประมาณ 1,070,597 บาทต่อปี และช่วยบรรเทาปัญหาภาวะโลกร้อน ด้วยการลดการปล่อยก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ได้ประมาณ 257 ตันต่อปี นับเป็นการส่งเสริมให้เกิดการใช้ไฟฟ้าอย่างมีประสิทธิภาพ และเป็นพื้นฐานการพัฒนาที่ยั่งยืนให้กับประชาชนทั้งสองฝั่งโขงในรุ่นต่อไป

รมว. ลงพื้นที่ตรวจราชการจังหวัดขอนแก่น

รมว. พลังงาน ลงพื้นที่ตรวจราชการ จ.ขอนแก่น เยี่ยมชมอาคารต้นแบบอนุรักษ์พลังงานใช้พลังงานเป็นศูนย์ ติดตามโรงแปรรูปขยะชุมชนเพื่อผลิตเป็นไฟฟ้า กำลังผลิต 6 เมกะวัตต์ ช่วยกำจัดขยะในเทศบาลขอนแก่นได้สูงถึง 600 ตัน/วัน พร้อมรับทราบความคืบหน้าการบริหารจัดการก๊าซธรรมชาติแหล่งสินภูฮ่อม เพื่อผลิตไฟฟ้าในภาคอีสาน

ดร.ศิริ จิระพงษ์พันธ์ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงพลังงาน พร้อมด้วยผู้บริหารระดับสูงของกระทรวงพลังงาน เดินทางตรวจราชการในจังหวัดขอนแก่น วันที่ 12 ธันวาคม 2561 ซึ่งเป็นภารกิจส่วนหนึ่งของการประชุมคณะรัฐมนตรีนอกสถานที่ โดยติดตามโครงการด้านพลังงานที่สำคัญๆ ในพื้นที่ ได้แก่ โครงการอาคารต้นแบบที่ใช้พลังงานสุทธิเป็นศูนย์ (Net Zero Energy Building) ซึ่งเป็นอาคารสำนักงานของกองสื่อสารองค์กร มหาวิทยาลัยขอนแก่น เป็นอาคารที่มีแนวคิดปริมาณไฟฟ้าที่ใช้ซึ่งมาจากภายนอกอาคาร เมื่อหักลบกับปริมาณไฟฟ้าที่ผลิตได้เองจากอาคาร คิดคำนวณในแต่ละรอบปีต้องมีค่าเท่ากับศูนย์ ซึ่งถือเป็นแนวทางการประหยัดพลังงานไฟฟ้าภายในอาคารได้สูงสุด โดยเบื้องต้นอาคารจะสามารถผลิตไฟฟ้าใช้เองได้ประมาณ 28,000 หน่วย/ปี เฉลี่ย 80 หน่วย/วัน หรือมีการผลิตไฟฟ้าได้มากกว่าปริมาณการใช้งานประมาณ 8%

ทั้งนี้ อาคารต้นแบบฯ แห่งนี้ ได้ดำเนินมาตรการเพื่อการอนุรักษ์พลังงานที่สำคัญ ๆ อาทิ ปรับปรุงหลังคาอาคารเพื่อป้องกันความร้อน และติดตั้งแผ่นโซลาร์เซลล์เพื่อผลิตไฟฟ้า ติดตั้งฟิล์มลดความร้อน ปรับปรุงระบบปรับอากาศ ด้วยเครื่องปรับอากาศชนิดไฮบริดจ์ ที่มีหลักการทำความเย็นด้วยความร้อนจากรังสีของแสงอาทิตย์ (Solar Cooling) ร่วมกับการใช้พลังงานไฟฟ้า ติดตั้งอุปกรณ์นำแสงธรรมชาติ (Skylight) มาผ่านตัวกรองรังสี UV และตัวกรองความร้อนไม่ให้เข้าสู่อาคาร เป็นต้น ภายหลังการปรับปรุงโครงสร้างอาคารและปรับเปลี่ยนอุปกรณ์ดังกล่าวแล้ว อาคารมีการใช้พลังงานลดลงถึง 40% รวมทั้งพลังงานที่ใช้จริงประมาณ 60% ยังได้มาจากระบบการผลิตไฟฟ้าพลังงานแสงอาทิตย์ โดยอาคารของมหาวิทยาลัยขอนแก่นนี้ ยังเป็นสถานที่ถ่ายทอดความรู้อาคารต้นแบบด้านการใช้พลังงานสุทธิเป็นศูนย์อีกด้วย
การเยี่ยมชมโรงงานแปรรูปขยะมูลฝอยชุมชนเป็นพลังงานไฟฟ้าระบบปิด ที่ตำบลโนนท่อน อำเภอเมือง จังหวัดขอนแก่น โดยมีการใช้เทคโนโลยี เตาเผาแบบตะกรับ (Stoker Type) ซึ่งเป็นระบบปิดทั้งหมดไม่ส่งผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อมในการแปรรูปขยะ โดยโรงงานสามารถกำจัดขยะมูลฝอยจากชุมชนได้ 600 ตันต่อวัน มีการผลิตกระแสไฟฟ้า กำลังผลิตติดตั้ง 6 เมกะวัตต์ และปริมาณเสนอขายไฟฟ้า 4.5 เมกะวัตต์ ช่วยให้เกิดการกำจัดขยะในเทศบาลเมืองขอนแก่น ลดปัญหาผลกระทบสิ่งแวดล้อม
กระทรวงพลังงาน ยังได้ตรวจเยี่ยมสถานีผลิตก๊าซธรรมชาติสินภูฮ่อม ที่ตำบลกุดน้ำใส อำเภอน้ำพอง จังหวัดขอนแก่น ดำเนินโครงการโดย พีทีทีอีพี เอสพี ลิมิเต็ด มีอัตราการผลิตก๊าซธรรมชาติเฉลี่ย 110 ล้านลูกบาศก์ฟุตต่อวัน โดยแหล่งก๊าซธรรมชาติสินภูฮ่อม ถือเป็นแหล่งก๊าซธรรมชาติทีสำคัญของภาคอีสาน และในปี 2562 บริษัท พีทีทีอีพี เอสพี ลิมิเต็ด มีแผนดำเนินโครงการพัฒนา โดยเจาะหลุมเพื่อรักษากำลังผลิตปิโตรเลียมเพิ่มเติมอีกจำนวน 2 หลุม จากปัจจุบันที่มีจำนวนหลุมผลิต 5 หลุม นอกจากนี้ด้านผลตอบแทนจากค่าภาคหลวงปิโตรเลียม จากแหล่งสินภูฮ่อมที่ได้เริ่มดำเนินการมาตั้งแต่ปี 2550- 2561 พบว่าสามารถจัดเก็บค่าภาคหลวงได้ทั้งสิ้นประมาณ 10,676 ล้านบาท

ดร.ศิริ จิระพงษ์พันธ์ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงพลังงาน ให้เกียรติเป็นประธานเปิดงานนิทรรศการและการประชุมFuture Energy Asia 2018

ดร.ศิริ จิระพงษ์พันธ์ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงพลังงาน เป็นประธานเปิดงานนิทรรศการและการประชุม Future Energy Asia 2018 ณ ศูนย์นิทรรศการและการประชุมไบเทคบางนา  งานนิทรรศการ ฯ จัดขึ้นภายใต้จุดมุ่งหมายในการประสานความร่วมมือและส่งเสริมการเจรจาทางธุรกิจด้านพลังงานของภูมิภาคทั้งในส่วนของก๊าซธรรมชาติแอลเอ็นจีและโรงไฟฟ้าเพื่อประสานความร่วมมือกันระหว่างผู้นำในท้องถิ่นและระดับประเทศจากอุตสาหกรรมพลังงาน

งานจัดขึ้นระหว่างวันที่ 12 – 14 ธันวาคม 2561 ณ ศูนย์นิทรรศการและการประชุมไบเทคบางนา  โดยคาดว่าจะดึงดูดผู้ประกอบการภาคธุรกิจมากกว่า 15,000 คนบริษัทร่วมออกงานกว่า 600 รายและผู้เข้าร่วมประชุมกว่า 4,000 คน

กระทรวงพลังงาน ขอเชิญร่วมชมนิทรรศการ และรับฟังความรู้เรื่อง “บ้านรักษ์พลังงาน” ณ งานอุ่นไอรัก คลายความหนาว “สายน้ำแห่งรัตนโกสินทร์” ระหว่างวันที่ 9 ธันวาคม 2561 ถึงวันที่ 19 มกราคม 2562

จากพระราชปณิธานที่หมายมั่นของสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ที่จะสืบสาน รักษา ต่อยอดพระราชกรณียกิจของสมเด็จพระบูรพมหากษัตริยาธิราช ที่จะทรงบำบัดทุกข์ บำรุงสุข ให้กับอาณาประชาราษฎร์ ให้อยู่รอดปลอดภัยจากภยันตรายนานัปการ มีผืนแผ่นดินให้ประชาราษฏร์ได้อยู่อาศัย และดำเนินวิถีชีวิตอย่างมีความสุข จึงได้ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าโปรดกระหม่อม  ให้หน่วยงานราชการในพระองค์ฯ หน่วยงานทั้งภาครัฐ และเอกชน จัดงานพระราชทานความสุข ความรื่นเริงให้กับประชาชน ภายใต้ชื่องานว่า “อุ่นไอรัก คลายความหนาว สายน้ำแห่งรัตนโกสินทร์ ขึ้น ระหว่างวันที่ 9 ธันวาคม 2561 ถึงวันที่ 19 มกราคม 2562 ณ พระลานพระราชวังดุสิต และสนามเสือป่า เพื่อเผยแพร่ความรู้ ความงดงามของความเป็นไทย ช่วยกันอนุรักษ์ ฟื้นฟู และเผยแพร่ศิลปวัฒนธรรมประเพณีไทย ภายในงานประชาชนจะได้สัมผัสกับบรรยากาศย้อนยุค ร่มรื่นด้วยต้นไม้นานานาพันธุ์ และความฉ่ำเย็นแห่งสายน้ำ

ทั้งนี้ กระทรวงพลังงาน ร่วมกับการไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทย (กฟผ.) และบริษัท ปตท. จำกัด (มหาชน) ได้ร่วมเป็นส่วนหนึ่งของงานอุ่นไอรัก คลายความหนาว “สายน้ำแห่งรัตนโกสินทร์” ครั้งนี้  โดยได้ดำเนินการจัดนิทรรศการ “บ้านรักษ์พลังงาน” ที่มีแนวคิดเป็น บ้านของคนรุ่นใหม่ หัวใจสีเขียว และเป็นบ้านที่ผ่านการออกแบบเพื่อการประหยัดพลังงาน ตั้งแต่โครงสร้างและวัสดุ เครื่องใช้ไฟฟ้าประหยัดพลังงาน รวมถึงมีการใช้พลังงานทดแทนภายในบ้าน และการใช้ระบบบำบัดน้ำเพื่อการอนุรักษ์พลังงาน และสิ่งแวดล้อม

รายละเอียดสำคัญๆ ภายในนิทรรศการ “บ้านรักษ์พลังงาน” ณ งานอุ่นไอรัก ฯ ครั้งนี้ ได้แก่ ส่วนโครงสร้างและวัสดุ ผนัง จะใช้อิฐมวลเบาประหยัดพลังงานเบอร์ 5 ฉาบปูนและทาสีอ่อนเพื่อช่วยลดความร้อน กระจก เป็นกระจกโฟลตสีตัดแสงพร้อมติดฟิล์มกรองแสงอาคาร ฝ้าใช้ใช้ยิปชั่มบอร์ดฉาบเรียบทาสี บุฉนวนใยแก้วกันความร้อน ซึ่งวัสุดทั้งหมดจะมีฉลากประสิทธิภาพสูงจากกระทรวงพลังงานรับรองว่าใช้แล้วช่วยประหยัดพลังงานแน่นอน

เครื่องใช้ไฟฟ้าทั้งหมดภายในบ้าน จะมีฉลากประหยัดไฟฟ้าเบอร์ 5 ช่วยประหยัดค่าไฟฟ้าให้ผู้อยู่อาศัย บนหลังคาบ้านจะมีการติดตั้งแผงโซลาร์เซลล์ เพื่อเปลี่ยนพลังงานแสงอาทิตย์เป็นพลังงานไฟฟ้า ซึ่งจะช่วยแบ่งเบาการใช้ไฟฟ้าภายในบ้านได้ รวมไปถึงน้ำเสียที่ใช้แล้วภายในบ้านรักษ์พลังงานแห่งนี้ ยังผ่านระบบบำบัดน้ำ ที่สามารถนำกลับมาใช้ใหม่ในโถสุขภัณฑ์และยังสามารถนำกลับมารดน้ำต้นไม้โดยรอบบ้านได้ด้วย

กระทรวงพลังงาน จึงจะขอเชิญชวน ประชาชนที่เข้าร่วมงานอุ่นไอรักฯ  ครั้งนี้ ได้มาร่วมเยี่ยมชม และรับฟังความรู้เรื่องบ้านรักษ์พลังงานแห่งนี้  ซึ่งจะช่วยให้เป็นต้นแบบ  ตัวอย่างของบ้านที่สามารถลดการใช้ไฟฟ้า ลดการใช้น้ำ และยังจะช่วยประหยัดค่าไฟฟ้าของผู้อยู่อาศัย แถมยังช่วยลดโลกร้อนได้อีกด้วย

 

ประกาศรายชื่อผู้ได้รับการคัดเลือกให้ไปศึกษาดูงาน ณ ประเทศญี่ปุ่น

ประกาศสำนักงานปลัดกระทรวงพลังงาน

เรื่อง ประกาศรายชื่อผู้ได้รับการคัดเลือกให้ไปศึกษาดูงาน ณ ประเทศญี่ปุ่น

Download (PDF, 544KB)

 

ดูรายละเอียดเพิ่มเติม  คลิกที่นี่

พิธีทำบุญตักบาตรและถวายพานพุ่ม เนื่องในวันคล้ายวันเฉลิมพระชนมพรรษา ร.9 ณ ท้องสนามหลวง

วันนี้ (5 ธ.ค. 61) ดร.ศิริ จิระพงษ์พันธ์ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงพลังงาน พร้อมด้วย นายกุลิศ สมบัติศิริ ปลัดกระทรวงพลังงาน และผู้บริหารระดับสูงของกระทรวงพลังงาน เข้าร่วมพิธีทำบุญตักบาตรและถวายพานพุ่มราชสักการะ เนื่องในวันคล้ายวันเฉลิมพระชนมพรรษาพระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช บรมนาถบพิตร วันชาติ และวันพ่อแห่งชาติ พุทธศักราช 2561 โดยมี พลเอก ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรีเป็นประธานในพิธี ณ ท้องสนามหลวง

Page 11 of 15
1 9 10 11 12 13 15