กระทรวงพลังงานหารือกับหน่วยงานที่เกี่ยวข้องพัฒนาระบบโครงข่ายไฟฟ้าให้มีความทันสมัยและบูรณาการร่วมกันทั้ง 3 การไฟฟ้า

วันนี้ (18 มิถุนายน 2562 ) นายกุลิศ สมบัติศิริ ปลัดกระทรวงพลังงาน หารือกับหน่วยงานที่เกี่ยวข้องพัฒนาระบบโครงข่ายไฟฟ้าให้มีความทันสมัยและบูรณาการร่วมกันทั้ง 3 การไฟฟ้า

 

กระทรวงพลังงานได้หารือร่วมกับหน่วยงานที่เกี่ยวข้องได้แก่ กรรมการกำกับกิจการพลังงาน การไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทย การไฟฟ้านครหลวง การไฟฟ้าส่วนภูมิภาค สำนักงานสภาพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ สำนักงานคณะกรรมการนโยบายรัฐวิสาหกิจ ถึงแนวทางการพัฒนาระบบโครงข่ายไฟฟ้าในอนาคต
มีผู้บริหารระดับสูงที่เข้าร่วมอาทิ กรรมการกำกับกิจการพลังงาน (นายสุธรรม อยู่ในธรรม) ประธานกรรมการ กฟผ. (นายดิสทัต โหตระกิตย์) ผู้ว่าการ กฟผ. ผู้ว่าการ กฟน. รองปลัดกระทรวงพลังงาน (นายสราวุธ  แก้วตาทิพย์)  ผู้อำนวยการสำนักงานนโยบายและแผนพลังงาน (นายวัฒนพงษ์ คุโรวาท) และเลขาธิการสำนักงาน กกพ. ณ สำนักงานการไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทย

โดยมีวัตถุเพื่อกำหนดแนวทางและทิศทางของการพัฒนาระบบโครงข่ายไฟฟ้า ให้สอดรับกับแผนพัฒนากำลังการผลิตไฟฟ้าและรองรับความท้าทายในอนาคต อาทิ การเข้ามาของพลังงานทดแทนที่มากขึ้น การผลิตไฟฟ้าใช้เอง (Prosumer) การเชื่อมโยงซื้อขายไฟฟ้าในภูมิภาค รวมถึงการพัฒนาสู่สังคมดิจิทัล (Digitalization) และ Big data

ที่ประชุมได้มีการศึกษาทบทวนทิศทางความเปลี่ยนแปลงของระบบไฟฟ้าในโลก  ตัวอย่างการพัฒนาของต่างประเทศ รวมถึงการดำเนินงาน ณ ปัจจุบัน และมีความเห็นสอดคล้องร่วมกันถึงการพัฒนาระบบโครงข่ายไฟฟ้าร่วมกันของทั้ง 3 การไฟฟ้าให้สู่ระบบที่ทันสมัยในทิศทางเดียวกันที่เหมาะสมกับบริบทของประเทศไทย รองรับความเปลี่ยนแปลงของระบบไฟฟ้า ทั้งทางด้านการรองรับพลังงานทดแทนที่จะเข้ามาในระบบมากขึ้น บทบาทของไทยที่มากขึ้นในการเป็นจุดเชื่อมต่อด้านไฟฟ้าของภูมิภาค รวมถึงให้มีการลงทุนอย่างมีประสิทธิภาพ ไม่มีความซ้ำซ้อน

การประชุมดังกล่าวจะเป็นจุดเริ่มต้นในการทำงานร่วมกันของส่วนราชการที่เกี่ยวข้อง และการไฟฟ้าทั้ง 3 แห่ง โดยได้มีการมอบหมายให้สำนักงานนโยบายและแผนพลังงานจัดทำกรอบในการหารือร่วมกันในประเด็นที่เกี่ยวข้องต่อไป

ก.พลังงาน พร้อมรับมือ JDA-A18 ปิดซ่อมบำรุงประจำปี

นายสมภพ พัฒนอริยางกูล ผู้อำนวยการกองยุทธศาสตร์และแผนงาน โฆษกกระทรวงพลังงาน เปิดเผยถึงการปิดซ่อมบำรุงแหล่งก๊าซธรรมชาติพื้นที่พัฒนาร่วมไทย- มาเลเซีย (JDA A-18) ที่จะหยุดซ่อมบำรุงประจำปี ในช่วงวันที่ 7-21 กรกฎาคม 2562 รวม 14 วัน ส่งผลให้ปริมาณก๊าซธรรมชาติหายไปจากระบบประมาณ 440 ล้านลูกบาศก์ฟุต/วัน ทำให้เกิดผลกระทบทั้งด้านเชื้อเพลิงเพื่อใช้ในการผลิตไฟฟ้าและการผลิตก๊าซ NGV โดยกระทรวงพลังงานได้ประสานไปยัง บริษัท ปตท.จำกัด (มหาชน) และ
การไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทย (กฟผ.) ออกมาตรการรองรับทั้งด้านความพร้อมในการผลิตไฟฟ้า และบริหารจัดการก๊าซ NGV เพื่อไม่ให้กระทบต่อการใช้ไฟฟ้าและการใช้ก๊าซ NGV ในพื้นที่ภาคใต้ ดังนี้

1.ระบบผลิต ให้ใช้น้ำมันดีเซลเป็นเชื้อเพลิงในช่วงที่ไม่มีก๊าซธรรมชาติจ่ายให้โรงไฟฟ้าจะนะ ชุดที่ 1 และ 2 ส่วนโรงไฟฟ้าภาคใต้ทุกโรง ได้แก่ โรงไฟฟ้าขนอม โรงไฟฟ้ากระบี่ เขื่อนรัชชประภา เขื่อนบางลาง และโรงไฟฟ้าเอกชนขนาดเล็ก (SPP) พร้อมเดินเครื่อง และงดการหยุดซ่อมบำรุงทุกกรณีในช่วงที่แหล่งJDA-A18 หยุดจ่ายก๊าซธรรมชาติ ประสานการไฟฟ้ามาเลเซียเพื่อซื้อไฟฟ้าผ่านระบบ HVDC ในกรณีฉุกเฉิน

2.ด้านเชื้อเพลิง ให้สำรองน้ำมันดีเซล และน้ำมันเตาให้เพียงพอ โดยน้ำมันดีเซลที่โรงไฟฟ้าจะนะ สำรองขั้นต่ำ 18.6 ล้านลิตร น้ำมันเตาที่โรงไฟฟ้ากระบี่ สำรองขั้นต่ำ 10 ล้านลิตร ประสาน ปตท.เตรียมพร้อมจัดส่งน้ำมันเพิ่มเติมต่อเนื่องตลอดการซ่อมบำรุงระบบส่งไฟฟ้า เตรียมความพร้อมระบบสายส่งไฟฟ้าจากภาคกลางที่จ่ายไฟลงมาภาคใต้ให้พร้อมใช้งาน 100% และงดการทำงานบำรุงรักษา

3.บุคลากร เตรียมทีมงานพร้อมเข้าแก้ไขสถานการณ์ทันทีกรณีมีเหตุฉุกเฉิน ประสานงานการไฟฟ้าส่วนภูมิภาคอย่างใกล้ชิดและเตรียมแผนรองรับกรณีที่เกิดเหตุไฟฟ้าดับ

สำหรับมาตรการรองรับด้านก๊าซ NGV ปตท. ได้เตรียมการบรรจุก๊าซ NGV จัดเก็บใส่รถขนส่งก๊าซฯ เพื่อสำรองไว้ก่อนการหยุดผลิต รวมถึงมีการวางแผนจัดสรรก๊าซฯ จากพื้นที่ส่วนกลางขนส่งลงมายังพื้นที่ภาคใต้ตอนล่าง เพื่อให้เพียงพอต่อการให้บริการประชาชนในพื้นที่ครอบคลุมสถานีบริการก๊าซ NGV ใน 4 จังหวัด จำนวน 12 แห่ง ได้แก่ จังหวัดสุราษฎร์ธานี 4 แห่ง จังหวัด นครศรีธรรมราช 3 แห่ง จังหวัดสงขลา 4 แห่ง และจังหวัดปัตตานี 1 แห่ง ซึ่งปัจจุบันมีความต้องการใช้อยู่ที่ 90 ตัน/วัน

“นอกเหนือจากมาตรการข้างต้นแล้ว เพื่อให้เกิดการใช้ไฟฟ้าอย่างมีประสิทธิภาพ ทางกระทรวงพลังงาน
ขอความร่วมมือจากภาคธุรกิจ ภาคอุตสาหกรรม และประชาชนในพื้นที่ภาคใต้ร่วมประหยัดพลังงานในช่วงเวลา 18.00-21.30 น. ในช่วงที่มีการหยุดจ่ายก๊าซฯจากแหล่ง JDA-A18 และขอยืนยันว่าได้เตรียมพร้อมทุกมาตรการเพื่อสร้างความมั่นคงให้ระบบไฟฟ้าในพื้นที่ภาคใต้ในช่วงการหยุดซ่อมบำรุงครั้งนี้”     โฆษกกระทรวงพลังงานกล่าว

การพัฒนาระบบโครงข่ายไฟฟ้าในอนาคต

วาระการประชุมการพัฒนาระบบโครงข่ายไฟฟ้าในอนาคต คลิกที่นี่

เอกสารการพัฒนาระบบโครงข่ายไฟฟ้าในอนาคต ของ กฟภ. คลิกที่นี่

การพัฒนาระบบ-Smart-Grid-กฟน. คลิกที่นี่

การพัฒนาระบบโครงข่ายไฟฟ้าในอนาคตของ กฟผ คลิกที่นี่

ทิศทางการผลิตภาคไฟฟ้าในอนาคตและกรณีศึกษาจากต่างประเทศ โดย บริษัท McKinsey & Company คลิกที่นี่

ปลัดกระทรวงพลังงานเข้าร่วมการประชุมรัฐมนตรี G20 ด้านพลังงานและสิ่งแวดล้อม

ปลัดกระทรวงพลังงานเข้าร่วมการประชุมรัฐมนตรี G20 ด้านพลังงานและสิ่งแวดล้อม

เมื่อวันที่ 15-16 มิถุนายน 2562 ณ เมืองคารุอิซาวา ประเทศญี่ปุ่น นายกุลิศ สมบัติศิริ ปลัดกระทรวงพลังงาน เป็นผู้แทนรัฐมนตรีว่าการกระทรวงพลังงาน เข้าร่วมการประชุม G20 ระดับรัฐมนตรีพลังงานและสิ่งแวดล้อม (The G20 Ministerial Meeting on Energy Transitions and Global Environment for Sustainable Growth) โดยที่ประชุมได้เน้นย้ำถึงความสำคัญของการเปลี่ยนผ่านพลังงานและมิติปัญหาและการจัดการที่ยั่งยืนด้านสิ่งแวดล้อม โดยตระหนักถึง 3E+S (ความมั่นคงด้านพลังงาน ประสิทธิภาพทางเศรษฐกิจ สิ่งแวดล้อม และความปลอดภ้ย) รวมถึงการร่วมมือกันในการแก้ไขปัญหาต่างๆ เช่น ขยะพลาสติก การเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ เป็นต้น ทั้งนี้ เพื่อการบรรลุเป้าหมายการพัฒนาที่ยั่งยืน (SDGs) โดยมิติพลังงานมุ่งส่งเสริมการพัฒนาทางด้านเทคโนโลยีและนวัตกรรมด้านพลังงานทดแทน การส่งเสริมการใช้พลังงานไฮโดรเจน เป็นต้น

ปลัดกระทรวงพลังงาน ได้กล่าวต่อที่ประชุม G20 ว่า ไทยได้วางนโยบายและพัฒนาด้านพลังงานในช่วงการเปลี่ยนผ่านพลังงาน (Energy Transition) โดยการส่งเสริมการใช้สายส่งอัจฉริยะ (Smart Grid) เทคโนโลยีการกักเก็บพลังงาน (Energy Storage) และการนำ Big Data และ Blockchain มาใช้ในภาคพลังงานของไทย ทั้งนี้ ในปี 2562 นี้ ประเทศไทยในฐานะประธานอาเซียน และกระทรวงพลังงานไทยจะเป็นเจ้าภาพจัดการประชุมรัฐมนตรีอาเซียนด้านพลังงาน ครั้งที่ 37 โดยที่ประชุมจะมีการหารือกันเกี่ยวกับการร่วมมือกันในการพัฒนาการเชื่อมโยงพลังงานไฟฟ้าในภูมิภาค การส่งเสริมประสิทธิภาพพลังงาน และการพัฒนาพลังงานทดแทน ทั้งนี้ ประเทศไทยตั้งอยู่ในจุดยุทธศาสตร์ของภูมิภาคอาเซียน ซึ่งไทยมีความพร้อมและยินดีที่จะเป็นจุดเชื่อมโยงพลังงานระหว่างภูมิภาค (Regional Energy Connector : REC) เพื่อเสริมสร้างความมั่นคงทางพลังงานและการเติบโตที่ยั่งยืนทางเศรษฐกิจในภูมิภาคต่อไป อนึ่ง มีผู้แทนระดับรัฐมตรีและระดับสูงจากประเทศสมาชิกและประเทศรับเชิญ รวมทั้งองค์กรระหว่างประเทศด้านพลังงานและสิ่งแวดล้อม เข้าร่วมประชุม 25 ประเทศ และ 10 องค์กรระหว่างประเทศ รวมจำนวนผู้แทนเข้าร่วมราว 400 คน

กระทรวงพลังงาน เตรียมพร้อมรับมือ สถานการณ์ราคาน้ำมับดิบในตลาดโลกผันผวน

กระทรวงพลังงาน เตรียมพร้อมรับมือ สถานการณ์ราคาน้ำมับดิบในตลาดโลกผันผวน
หลังเหตุการณ์เรือบรรทุกน้ำมัน/เคมี 2 ลำ ถูกลอบโจมตีแถบอ่าวโอมาน เมื่อวันที่ 13 มิถุนายนที่ผ่านมา

จากกรณีที่เรือบรรทุกน้ำมัน/เคมี 2 ลำ (เป็นเรือบรรทุกแนฟทา และเมทานอล) ได้รับความเสียหายจากการถูกลอบโจมตีบริเวณอ่าวโอมาน เมื่อวันที่ 13 มิถุนายนที่ผ่านมา กรณีที่เรือบรรทุกน้ำมันที่ถูกโจมตี
ห่างจากชายฝั่งอิหร่านประมาณ 14 ไมล์ระหว่างขนส่งสินค้าจากตะวันออกกลางไปยังสิงคโปร์และไต้หวัน นั้น
กระทรวงพลังงานได้มีการประชุมสอบทานปริมาณสต๊อกน้ำมันสำรองในประเทศแบ่งเป็นชนิดต่างๆดังนี้ เตรียมความพร้อมรับมือกับสถานการณ์ดังกล่าว ดังนี้
ซึ่งสรุปได้ว่า
1.มีปริมาณเชื้อเพลิงสำเร็จรูป (เบนซิน -ดีเซล) เพียงพอต่อความต้องการใช้  13 วัน

2.มีปริมาณน้ำมันดิบเพียงพอต่อการใช้ เพื่อผลิตป้อนตามความต้องการใช้ในประเทศได้ 24 วัน และอยู่ระหว่างขนส่งทางเรือได้อีก 13 วัน

3.รวมปริมาณสำรองน้ำมัน ทั้งหมด ใช้ได้ 50 วัน

4.สามารถผลิตน้ำมันดิบและคอนเดนเสทจากแหล่งในประเทศ ป้อนความต้องการใช้ได้ประมาณ 35%

5.มีสต๊อก LPG พร้อมใช้สำหรับครัวเรือน 20 วัน

ทั้งนี้ โรงแยกแก๊ส ปตท.สามารถผลิตได้เพียงพอต่อความต้องการใช้ในภาคครัวเรือนโดยไม่ขาดแคลน

สำหรับเหตุการณ์ในครั้งนี้ ซึ่งผลจากการซ้อมเตรียมความพร้อมกระทรวงพลังงานมีความมั่นใจว่าประเทศไทยมีปริมาณสำรองน้ำมันที่พร้อมนำมาใช้ได้เพียงพอต่อความต้องการใช้ในประเทศ กระทรวงพลังงานมีมาตรการในการกำกับ บริหารปริมาณสำรองให้มีผลกระทบต่อผู้บริโภคน้อยที่สุด

กระทรวงพลังงาน “เตือน” ประชาชน อย่าหลงเชื่อสรรพคุณบัตรพลังงาน ยืนยัน ไม่สามารถช่วยประหยัดค่าไฟฟ้า ค่าน้ำมัน ค่าแก๊ส LPG และ NGV ได้ตามที่กล่าวอ้าง

กระทรวงพลังงาน “เตือน” ประชาชน อย่าหลงเชื่อสรรพคุณบัตรพลังงาน

ยืนยัน  ไม่สามารถช่วยประหยัดค่าไฟฟ้า ค่าน้ำมัน ค่าแก๊ส LPG และ NGV ได้ตามที่กล่าวอ้าง

 

ตามที่มีการโฆษณาเผยแพร่ในโลกออนไลน์เกี่ยวกับเรื่องบัตรพลังงาน  หรือ บัตรพลัง หรือ การ์ดวิเศษ ว่ามีคุณสมบัติพิเศษ สามารถช่วยค่าไฟฟ้า ค่าแก๊ส LPG NGV และน้ำมัน ได้เพียงแค่นำไปแปะไว้ที่อุปกรณ์ไฟฟ้า ถังน้ำมัน หรือถังแก๊สนั้น  กระทรวงพลังงานขอยืนยันว่า ไม่เป็นความจริงแต่อย่างใด  ขอประชาชนอย่าหลงเชื่อ และตกเป็นเครื่องมือของมิจฉาชีพจนทำให้ต้องสูญเสียเงินทองโดยไม่จำเป็น

ทั้งนี้  ระบบไฟฟ้า อุปกรณ์ไฟฟ้า หรือ ยานพาหนะ ต่างๆ มีระบบระบบควบคุมและการวัดค่าการใช้งานที่มีมาตรฐาน ตามการใช้งานจริง สำหรับการประหยัดพลังงานนั้น สามารถทำได้ด้วยวิธีง่ายๆ โดยปรับพฤติกรรมการใช้พลังงานให้มีประสิทธิภาพ ก็สามารถลดค่าใช้จ่ายด้านพลังงานได้โดยไม่ต้องเสียเงินเพิ่ม

หากมีข้อสงสัยเกี่ยวกับเรื่องพลังงาน สามารถสอบถามข้อมูลได้ที่  ศูนย์บริการร่วมกระทรวงพลังงาน โทร 02 -140-7000

“ประชุมทบทวน โครงสร้าง บทบาท”

วันนี้ (13 มิ.ย.62) นายกุลิศ สมบัติศิริ ปลัดกระทรวงพลังงาน เป็นประธานในการประชุมคณะกรรมการทบทวนโครงสร้าง บทบาท อำนาจและภารกิจของกระทรวงพลังงาน เพื่อยกระดับการทำงานของหน่วยงาน ลดภารกิจที่ซ้ำซ้อน ทำงานบูรณาการ ให้มีประสิทธิภาพยิ่งขึ้น

ดร.ศิริ จิระพงษ์พันธ์ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงพลังงาน เป็นประธานในพิธี เปิดจำหน่ายน้ำมันคาลเท็กซ์ดีเซล B20

วันนี้ ( 12 มิถุนายน 2562 ) ดร.ศิริ จิระพงษ์พันธ์ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงพลังงาน เป็นประธานในพิธี เปิดจำหน่ายน้ำมันคาลเท็กซ์ดีเซล B20 ณ สถานีบริการน้ำมันคาลเท็กซ์ กระบี่ บี.พี. 1999 อำเภออ่าวลึก จังหวัดกระบี่

นายซาลมาน ซาดัต ประธานกรรมการและผู้จัดการใหญ่ บริษัท เชฟรอน (ไทย) จำกัด ผู้ให้บริการสถานีบริการน้ำมันคุณภาพระดับโลกภายใต้ แบรนด์ “คาลเท็กซ์” กล่าวเพิ่มเติมว่า การเปิดจำหน่ายน้ำมันคาลเท็กซ์ดีเซล B20 เพื่อร่วมเป็นส่วนหนึ่งในการแก้ไขปัญหาสถานการณ์น้ำมันปาล์มดิบของไทยล้นตลาดมากที่สุดเป็นประวัติการณ์ ส่งผลกระทบต่อเกษตรกรผู้ปลูกปาล์มน้ำมันอย่างมาก ทางบริษัทฯ จึงร่วมตอบรับนโยบายของรัฐบาลในการส่งเสริมการใช้น้ำมันดีเซล B20 เพื่อสร้างสมดุลให้ราคาปาล์มน้ำมันมีเสถียรภาพที่ดี ช่วยสร้างคุณภาพชีวิตเกษตรกรให้ดีขึ้นตามไปด้วย นอกจากนั้นยังเป็นการบรรเทาปัญหาฝุ่นละอองขนาดเล็ก PM 2.5 เกินมาตรฐานในหลายพื้นที่ เนื่องจากน้ำมันดีเซล B20 เป็นน้ำมันดีเซลที่มีส่วนผสมของไบโอดีเซล B100 พลังงานสะอาดที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม นายซาลมานฯ กล่าว

รัฐมนตรีว่าการกระทรวงพลังงาน และ รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงคมนาคม “เยี่ยมชมโครงการพัฒนาอุปกรณ์กักเก็บพลังงานต้นแบบสำหรับรถตุ๊กตุ๊กไฟฟ้า”

วันนี้ ( 10 มิถุนายน 2562 ) ดร.ศิริ จิระพงษ์พันธ์ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงพลังงาน และ ดร.ไพรินทร์ ชูโชติถาวร รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงคมนาคม พร้อมด้วยผู้บริหารระดับสูงของกระทรวงพลังงาน เยี่ยมชมโครงการพัฒนาอุปกรณ์กักเก็บพลังงานต้นแบบสำหรับรถตุ๊กตุ๊กไฟฟ้า
ณ ศูนย์ความเป็นเลิศด้านเทคโนโลยีกักเก็บพลังงาน  สถาบันวิทยสิริเมธี (VISTEC) วังจันทร์วัลเลย์ จังหวัดระยอง

กระทรวงพลังงานประกาศความพร้อมเจ้าภาพ“SOME” ครั้งที่ 37 เตรียมหารือประเด็นความร่วมมืออาเซียนส่งต่อที่ประชุมรัฐมนตรีพลังงานอาเซียน


กระทรวงพลังงานเตรียมความพร้อมจัดการประชุมเจ้าหน้าที่อาวุโสอาเซียนด้านพลังงานและการประชุมอื่นที่เกี่ยวข้อง ครั้งที่ 37( 37thSenior Official Meeting on Energy and associated meetings : The 37thSOME) ระหว่างวันที่ 24– 28 มิถุนายน 2562 ที่กรุงเทพฯ เพื่อหารือประเด็นและความร่วมมือด้านพลังงานระดับภูมิภาค เตรียมการสำหรับการประชุมรัฐมนตรีอาเซียนด้านพลังงาน (ASEAN Ministers on Energy Meeting : AMEM) ที่จะมีขึ้นในเดือนกันยายนปีนี้ โดยประเทศไทยเป็นเจ้าภาพ

          นายกุลิศ สมบัติศิริ ปลัดกระทรวงพลังงาน เปิดเผยว่า กระทรวงพลังงานเตรียมพร้อมสำหรับการจัดประชุมเจ้าหน้าที่อาวุโสอาเซียนด้านพลังงานและการประชุมอื่นที่เกี่ยวข้อง หรือ SOME ครั้งที่ 37 ที่จะมีขึ้นในระหว่างวันที่ 24-28 มิถุนายน 2562 นี้ ภายใต้แนวคิดหลัก “Advancing Energy Transition through Partnership and Innovation” หรือ “ก้าวสู่ยุคเปลี่ยนผ่านด้านพลังงานด้วยความเป็นหุ้นส่วนที่แข็งแกร่งและนวัตกรรมแห่งอนาคต”โดยจะมีการหารือเพื่อจัดเตรียมประเด็นเนื้อหาทั้งเชิงนโยบายที่สำคัญในระดับภูมิภาค รวมถึงแนวทางการพัฒนากิจกรรมความร่วมมือด้านพลังงานภายใต้กรอบของอาเซียน ทั้งนี้เพื่อรายงานต่อที่ประชุมรัฐมนตรีอาเซียนด้านพลังงาน ซึ่งจะมีการประชุมในเดือนกันยายนที่จะถึงนี้

การประชุม SOME ครั้งที่ 37 จะหารือถึงประเด็นเชิงนโยบายที่สำคัญในระดับภูมิภาคที่จะต้องร่วมกันผลักดันให้เกิดขึ้น อาทิ เป้าหมายด้านการอนุรักษ์พลังงาน การเพิ่มสัดส่วนการใช้พลังงานทดแทนในอาเซียน ซึ่งคาดว่าจะมีการผลักดันกิจกรรมความร่วมมือด้านพลังงานในอาเซียนให้เป็นรูปธรรม ไม่ว่าจะเป็นการขยายการเชื่อมโยงโครงข่ายสายส่งไฟฟ้า แผนการเชื่อมโยงโครงสร้างพื้นฐานก๊าซธรรมชาติ การส่งเสริมพลังงานทดแทนและอนุรักษ์พลังงาน การสร้างความรู้ความเข้าใจในเรื่องเทคโนโลยีถ่านหินสะอาด และนิวเคลียร์ ตลอดจนการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ การริเริ่มโครงการด้านพลังงานใหม่ ๆ ร่วมกับประเทศคู่เจรจาปลัดกระทรวงพลังงานกล่าว

          สำหรับการรายงานประเด็นด้านพลังงานที่ประเทศไทยให้ความสำคัญและเป็นผู้นำในการผลักดันให้เกิดผลเป็นรูปธรรมในปี 2562 (Priority Deliverables) จำนวน 4 ด้าน 9 ประเด็น โดยสรุปดังนี้

ด้านไฟฟ้า ประกอบด้วย การส่งเสริมขยายการเชื่อมโยงโครงข่ายไฟฟ้าพหุภาคี (LTMS-PIP phase 1) เพื่อขยายเพดานปริมาณการซื้อขายไฟฟ้าให้เพิ่มมากขึ้นการจัดทำรายงานศึกษาความเป็นไปได้เรื่องการซื้อ-ขายไฟฟ้าพหุภาคีในอาเซียนให้เกิดเป็นรูปธรรมมากขึ้น และการจัดทำข้อเสนอแนะด้านการส่งเสริมให้เกิดการเพิ่มสัดส่วนพลังงานหมุนเวียนในโครงข่ายอาเซียน (RE Integration to grid) ร่วมกับการศึกษาความเป็นไปได้ในการซื้อ-ขายไฟฟ้าพหุภาคีอาเซียน

โดยประเทศไทยมีความพร้อมในการเป็นผู้นำผลักดันให้เกิดโครงข่ายไฟฟ้าอาเซียนที่สามารถเชื่อมโยงการซื้อขายไฟฟ้าได้ครอบคลุมภูมิภาคอาเซียน เพื่อให้เกิดประโยชน์ต่อการเติบโตทางเศรษฐกิจและยกระดับคุณภาพชีวิตประชาชนในประเทศอาเซียนในอนาคต

ด้านการเพิ่มประสิทธิภาพพลังงาน ประกอบด้วย การจัดทำข้อเสนอแนะเพื่อปรับปรุงการใช้พลังงานอย่างมีประสิทธิภาพสำหรับเครื่องปรับอากาศ และเครื่องทำความเย็นในตลาดอาเซียนให้เป็นมาตรฐานเดียวกัน การจัดทำมาตรฐานห้องปฏิบัติการ (Lab Test) สำหรับทดสอบประสิทธิภาพเครื่องปรับอากาศในครัวเรือน และการศึกษามาตรการด้านการเงิน เพื่อสนับสนุนโครงการใช้พลังงานอย่างมีประสิทธิภาพและอนุรักษ์พลังงาน

ด้านพลังงานทดแทนประกอบด้วย การลงนาม MOU ระหว่าง ศูนย์พลังงานอาเซียน และสถาบันพันธมิตรของอาเซียนเพื่อสนับสนุนการจัดตั้งศูนย์เครือข่ายวิจัยและพัฒนาพลังงานชีวภาพอาเซียน และการรายงาน กรณีศึกษาห่วงโซ่อุปทานพลังงานชีวมวลสำหรับโครงการผลิตไฟฟ้าชีวมวลในพื้นที่ 3 จังหวัดชายแดนใต้ของไทย เพื่อนำไปขยายผลปรับใช้ในพื้นที่ที่มีลักษณะเดียวกันในอาเซียน

ด้านก๊าซธรรมชาติ ประกอบด้วย การจัดทำข้อเสนอแนะ เรื่อง การศึกษาโครงสร้างพื้นฐานขนาดเล็กเพื่อรองรับก๊าซธรรมชาติ (Small-scale LNG) ภายใต้ผลการศึกษา Gas Advocacy White Paper

สำหรับการประชุมครั้งนี้มีประเทศสมาชิกอาเซียนเข้าร่วม10 ประเทศ ได้แก่ บรูไน กัมพูชา อินโดนีเซีย สปป.ลาว มาเลเซีย เมียนมา ฟิลิปปินส์ สิงคโปร์ ไทยและเวียดนาม นอกจากนี้ ยังมีประเทศคู่เจรจาที่สำคัญกับอาเซียน อาทิ จีน ญี่ปุ่น  เกาหลีใต้ รัสเซีย และสหรัฐฯ กลุ่มประเทศความร่วมมือในระดับพหุภาคี ได้แก่ อาเซียนบวกสาม และอาเซียนบวกแปด รวมทั้ง องค์กรระหว่างประเทศ อาทิ ทบวงพลังงานระหว่างประเทศ (IEA) และทบวงการพลังงานหมุนเวียนระหว่างประเทศ (IRENA) เป็นต้น

โดยสรุปการประชุม SOME เพื่อนำไปสู่การประชุม AMEM โดยมีจุดมุ่งหมายให้ระบบพลังงานในภูมิภาคอาเซียนสามารถเปิดเชื่อมโยงเครือข่ายดิจิทัลที่ทันสมัยภายในภูมิภาคอาเซียน โดยมีประเทศไทยเป็นจุดประสานเชื่อมต่อในทุกๆ ด้าน  นอกจากความร่วมมือด้านพลังงานที่จะเกิดขึ้นแล้ว การประชุมเจ้าหน้าที่อาวุโสอาเซียนด้านพลังงานนี้ยังเป็นการช่วยกระตุ้นเศรษฐกิจและการท่องเที่ยวของไทย ตลอดจนสร้างภาพลักษณ์ที่ดีให้ปรากฎแก่สายตานานาประเทศ จึงขอเชิญชวนประชาชนคนไทยทุกคนร่วมกันเป็นเจ้าภาพที่ดี สร้างความประทับใจกับแขกต่างชาติที่เข้าร่วม” ปลัดกระทรวงพลังงาน กล่าวในท้ายที่สุด

“โซล่าร์ภาคประชาชน” สามารถลงทะเบียนออนไลน์ได้แล้ววันนี้

“โซล่าร์ภาคประชาชน” สามารถลงทะเบียนออนไลน์ได้แล้ววันนี้
โดยหากอยู่ในพื้นที่ของการไฟฟ้านครหลวงให้ลงทะเบียนที่
☀️☀️ https://spv.mea.or.th/
และสำหรับในพื้นที่ การไฟฟ้าส่วนภูมิภาค สามารถลงทะเบียนได้ที่
☀️☀️ https://ppim.pea.co.th/
โดยสามารถลงทะเบียนได้ตั้งแต่บัดนี้เป็นต้นไป และหมดเขตรับลงทะเบียนภายในปี 2562
โดยการไฟฟ้าทั้ง 2 แห่งจะทยอยประกาศรายชื่อผู้ที่ผ่านการพิจารณา ทางเว็บไซต์ของการไฟฟ้าทั้ง 2 แห่ง  รวมทั้งส่งผลให้ผู้สมัครได้รับทราบทางอีเมลที่ได้แจ้งไว้ และลงนามในสัญญาซื้อขายไฟฟ้าต่อไป

สำหรับผู้ที่สนใจเข้าร่วมโครงการ สามารถติดต่อเพื่อสอบถามข้อมูลเพิ่มเติมได้ที่
02-207-3599 หรือติดตามจากเว็บไซต์ สำนักงานคณะกรรมการกำกับกิจการพลังงาน http://solar.erc.or.th/solar62/index.html

การไฟฟ้านครหลวง
ติดต่อสอบถามรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ ฝ่ายเศรษฐกิจพลังไฟฟ้า
โทร. 0-2220-5774, 0-2220-5775, 0-2220-5000 ต่อ 4848
ในวันและเวลาทำการ (07.30 – 15.30 น.)

การไฟฟ้าส่วนภูมิภาค
กองส่งเสริมพลังงานทดแทนและผู้ผลิตไฟฟ้าขนาดเล็ก
ฝ่ายส่งเสริมพลังงานทดแทนและอนุรักษ์พลังงาน (PEA)
โทร. 02-590-9753, 02-590-9763 และ 02-009-6053
1129 PEA Call Center

รัฐมนตรีว่าการกระทรรงพลังงาน เป็นประธานเปิดงาน ASEAN Sustainable Energy Week (ASE) 2019

ดร.ศิริ จิระพงษ์พันธ์ รัฐมนตรีว่าการกระทรรงพลังงาน เป็นประธานเปิดงาน ASEAN Sustainable Energy Week (ASE) 2019
ASEAN Sustainable Energy Week (ASE) งานแสดงเทคโนโลยีและการประชุมนานาชาติด้านพลังงานทดแทน การใช้พลังงานอย่างมีประสิทธิภาพ และ การอนุรักษ์สิ่งแวดล้อมที่ใหญ่และครบวงจรที่สุดในภูมิภาคอาเซียน ณ ศูนย์นิทรรศการและการประชุมไบเทคบางนา

ปลัดกระทรวงพลังงาน ร่วมลงนามถวายพระพรสมเด็จพระนางเจ้าฯ พระบรมราชินี

วันนี้ (3 มิ.ย. 62) นายกุลิศ สมบัติศิริ ปลัดกระทรวงพลังงาน พร้อมด้วยผู้บริหารระดับสูงของกระทรวงพลังงาน ร่วมลงนามถวายพระพรสมเด็จพระนางเจ้าฯ พระบรมราชินี เนื่องในโอกาสวันเฉลิมพระชนมพรรษา 3 มิถุนายน 2562 ณ พระบรมมหาราชวัง

 

 

รัฐมนตรีว่าการกระทรวงพลังงาน ร่วมพิธีทำบุญตักบาตรถวายพระราชกุศล เนื่องในโอกาสวันเฉลิมพระชนมพรรษาสมเด็จพระนางเจ้าฯ พระบรมราชินี

วันนี้ (3 มิ.ย. 62) ดร.ศิริ จิระพงษ์พันธ์ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงพลังงาน พร้อมด้วย นายกุลิศ สมบัติศิริ ปลัดกระทรวงพลังงาน และผู้บริหารระดับสูงของกระทรวงพลังงาน เข้าร่วมพิธีทำบุญตักบาตรถวายพระราชกุศล เนื่องในโอกาสวันเฉลิมพระชนมพรรษาสมเด็จพระนางเจ้าฯ พระบรมราชินี ประจำปีพุทธศักราช 2562 ณ ท้องสนามหลวง

ปลัดกระทรวงพลังงาน พร้อมด้วยคณะผู้บริหารกระทรวงพลังงาน เข้าร่วมการถวายพระพรชัยมงคล

วันที่ 27 พฤษภาคม 2562 นายกุลิศ สมบัติศิริ ปลัดกระทรวงพลังงาน พร้อมด้วยคณะผู้บริหารกระทรวงพลังงาน เข้าร่วมการถวายพระพรชัยมงคลสมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ พระบรมราชินีนาถ พระบรมราชชนนีพันปีหลวง และพระเจ้าวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้าโสมสวลี กรมหมื่นสุทธนารีนาถ ณ อาคารภูมิสิริมังคลานุสรณ์ โรงพยาบาลจุฬาลงกรณ์ สภากาชาดไทย และเดินทางเข้าร่วมการถวายพระพรชัยมงคลสมเด็จพระเจ้าน้องนางเธอ เจ้าฟ้าจุฬาภรณวลัยลักษณ์ อัครราชกุมารี กรมพระศรีสวางควัฒน ขัตติยราชนารี พระเจ้าวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้าสิริภาจุฑาภรณ์ และพระเจ้าวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้าอทิตยาทรกิติคุณ ณ สถาบันวิจัยจุฬาภรณ์

ปลัดกระทรวงพลังงาน พร้อมด้วยคณะผู้บริหารกระทรวงพลังงาน เข้าร่วมการถวาย พระพรชัยมงคล

วันพุธที่ 22 พฤษภาคม 2562 เวลา 13.30 น. นายกุลิศ สมบัติศิริ ปลัดกระทรวงพลังงาน พร้อมด้วยคณะผู้บริหาร ร่วมถวายพระพรชัยมงคลแด่พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว สมเด็จพระนางเจ้าฯพระบรมราชินี และสมเด็จพระเจ้าลูกยาเธอ เจ้าฟ้าทีปังกรรัศมีโชติ มหาวชิโรตตมางกูร สิริวิบูลยราชกุมาร ณ พระที่นั่งอัมพรสถาน

ต่อมา เวลา 14.45 น. เข้าร่วมการถวาย พระพรชัยมงคลสมเด็จพระกนิษฐาธิราชเจ้า กรมสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดา เจ้าฟ้ามหาจักรีสิรินธร มหาวชิราลงกรณวรราชภักดี สิริกิจการิณีพีรยพัฒน รัฐสีมาคุณากรปิยชาติ สยามบรมราชกุมารี ณ กองงาน ในพระองค์ ฯ พระตำหนักสวนจิตรลดา

ต่อมา เวลา 15.00 น. เข้าร่วมการถวาย พระพรชัยมงคลสมเด็จพระเจ้าลูกเธอ เจ้าฟ้าพัชรกิติยาภา นเรนทิราเทพยวดี และสมเด็จพระเจ้าลูกเธอ เจ้าฟ้าสิริวัณณวรี นารีรัตนราชกัญญา ณ วังศุโขทัย

การประชุม ทบทวนโครงสร้าง บทบาท อำนาจ พน. 1/2562

วาระการประชุมคณะกรรมการทบทวนโครงสร้าง บทบาท อำนาจ และภารกิจ ของกระทรวงพลังงาน ครั้งที่ 1/2562    คลิกที่นี่

 

คณะกรรมการทบทวนโครงสร้าง บทบาท อำนาจ และภารกิจของกระทรวงพลังงาน  (คำสั่งกระทรวงพลังงานที่ 23/2562)    คลิกที่นี่

 

สรุปผลสำรวจการทับซ้อนการปฏิบัติงานตามภารกิจ   คลิกที่นี่

 

เอกสารประกอบการประชุมคณะกรรมการฯ     คลิกที่นี่


กฎกระทรวงแบ่งส่วนราชการ ที่เกี่ยวข้อง

สำนักงานปลัดกระทรวงพลังงาน   คลิกที่นี่

กรมเชื้อเพลิงธรรมชาติ   คลิกที่นี่

กรมธุรกิจพลังงาน  คลิกที่นี่

กรมพัฒนาพลังงานทดแทนและอนุรักษ์พลังงาน  คลิกที่นี่

สำนักงานนโยบายและแผนพลังงาน  คลิกที่นี่

 

Microgrid เกาะพะลวย

โครงการพัฒนาระบบไฟฟ้าแบบโครงข่ายไฟฟ้าขนาดเล็กมาก (Microgrid) บนพื้นที่เกาะพะลวย ล่าสุด    คลิกที่นี่

 

สรุปย่อ FS โครงการพัฒนาระบบไฟฟ้าแบบโครงข่ายไฟฟ้าขนาดเล็กมาก (Microgrid)บนพื้นที่เกาะพะลวย  คลิกที่นี่

ดร.ศิริ จิระพงษ์พันธ์ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงพลังงาน เปิดจำหน่ายน้ำมันดีเซล บี10 เป็นครั้งแรกในประเทศไทยในสถานีบริการน้ำมัน”

วันที่ 29 พฤษภาคม 2562  ดร.ศิริ จิระพงษ์พันธ์ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงพลังงาน  นายกุลิศ สมบัติศิริ ปลัดกระทรวงพลังงาน นางสาวนันธิกา ทังสุพานิช อธิบดีกรมธุรกิจพลังงาน และนางสาวจิราพร ขาวสวัสดิ์ ประธานเจ้าหน้าที่บริหารและกรรมการผู้จัดการใหญ่  บริษัท  ปตท. น้ำมันและการค้าปลีก จำกัด (มหาชน)   ร่วม “พิธีเปิดจำหน่ายน้ำมันดีเซล บี10 เป็นครั้งแรกในประเทศไทยในสถานีบริการน้ำมัน” ณ สถานีบริการน้ำมัน พีทีที สเตชั่น อีสเทิร์นซีบอร์ด จังหวัดชลบุรี

ดร.ศิริ จิระพงษ์พันธ์ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงพลังงาน เปิดเผยว่า กระทรวงพลังงานมีแผนงานให้น้ำมันดีเซลหมุนเร็ว บี10 เป็นน้ำมันประเภทหลักของประเทศไทยทดแทนน้ำมันดีเซลหมุนเร็ว บี7 ในปี 2564 โดย กระทรวงการคลังลดภาษีสรรพสามิตน้ำมันดีเซลหมุนเร็ว B10 และ กองทุนน้ำมันเชื้อเพลิงได้อุดหนุนราคา
ทำให้ราคาขายปลีกน้ำมันดีเซลหมุนเร็ว บี10 ถูกกว่าน้ำมันดีเซลหมุนเร็วธรรมดา 1 บาทต่อลิตร ซึ่งหากเป็นไปตามที่วางแผนไว้ จะทำให้มีการใช้น้ำมันปาล์มดิบรวม 2 ล้านตันต่อปี เป็นไปตามยุทธศาสตร์ปาล์มน้ำมันของประเทศ จากปัจจุบันอยู่ที่ประมาณ 1.5 ล้านตันต่อปี ทั้งนี้ กระทรวงพลังงานมั่นใจว่าจากคุณภาพมาตรฐานของน้ำมันดีเซลหมุนเร็ว บี10 ความพร้อมของสถานีบริการน้ำมัน พีทีที สเตชั่น รวมถึงความพร้อมของค่ายรถยนต์ที่ปัจจุบันให้การรับรองว่ารถยนต์ของตนสามารถใช้น้ำมันดีเซลหมุนเร็ว บี10 ซึ่งมีถึง 12 ยี่ห้อ รวม 944 รุ่น นั้น จะช่วยให้ผู้ใช้รถดีเซลมั่นใจในคุณภาพของน้ำมันดีเซลหมุนเร็ว บี10 มากยิ่งขึ้น

นางสาวจิราพร ขาวสวัสดิ์ ประธานเจ้าหน้าที่บริหารและกรรมการผู้จัดการใหญ่ บริษัท ปตท. น้ำมันและการค้าปลีก จำกัด (มหาชน) หรือ พีทีที โออาร์ กล่าวว่า พีทีที โออาร์ พร้อมจำหน่ายน้ำมัน พีทีที อัลตร้าฟอร์ซ ดีเซล บี10 ในสถานีบริการน้ำมัน พีทีที สเตชั่น ตั้งแต่วันนี้เป็นต้นไป โดยจะเริ่มจำหน่ายในภาคตะวันออกและภาคใต้ และมีแผนงานขยายการจำหน่ายน้ำมันดีเซลหมุนเร็ว บี10 ให้เป็นน้ำมันดีเซลประเภทหลักของประเทศตามแผนของกระทรวงพลังงานให้ได้เร็วที่สุด ทั้งนี้ พีทีที โออาร์  เชื่อมั่นว่า ด้วยคุณภาพของน้ำมัน พีทีที อัลตร้าฟอร์ซ ดีเซล บี10 ที่ทั้งกระทรวงพลังงานและค่ายรถยนต์ต่างก็ให้การรับรองนั้น จะไม่ส่งผลกระทบต่อเครื่องยนต์ และการใส่สารเพิ่มค่าซีเทน ทำให้เครื่องยนต์มีกำลังแรงเพิ่มขึ้น อีกทั้งคุณสมบัติของน้ำมัน พีทีที อัลตร้าฟอร์ซ ดีเซล บี10 ที่เผาไหม้สมบูรณ์ ลดควันดำได้ร้อยละ 42 เมื่อเทียบกับน้ำมันดีเซลปกติ จึงช่วยรักษาสิ่งแวดล้อม นอกจากนี้ น้ำมันดีเซลหมุนเร็ว บี10 ยังมีราคาถูกกว่าน้ำมันดีเซลหมุนเร็วธรรมดา 1 บาทต่อลิตร ถือเป็นการช่วยลดภาระค่าใช้จ่ายน้ำมันของผู้ใช้รถอีกด้วย การสนับสนุนการใช้น้ำมันปาล์มดิบมาผลิตเป็นไบโอดีเซล บี100 และนำมาผสมเป็นน้ำมันดีเซลหมุนเร็ว บี 10 นี้ นับเป็นการช่วยเหลือเกษตรกรไทยผู้ปลูกปาล์มได้โดยตรง “พีทีที อัลตร้าฟอร์ซ ดีเซล บี10 แรง คุ้มค่า รักษาสิ่งแวดล้อม พร้อมดูแลเกษตรกรไทย”

ก.พลังงาน ร่วมบันทึกเทปถวายพระพรชัยมงคล เนื่องในโอกาส วันเฉลิมพระชนมพรรษา สมเด็จพระนางเจ้าสุทิดา พัชรสุธาพิมลลักษณ พระบรมราชินี

วันที่ 23 พฤษภาคม 2562 ดร.ศิริ จิระพงษ์พันธ์ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงพลังงาน พร้อมด้วย นายกุลิศ สมบัติศิริ ปลัดกระทรวงพลังงาน และผู้บริหารระดับสูงของกระทรวงพลังงาน เข้าร่วมบันทึกเทปถวายพระพรชัยมงคล สมเด็จพระนางเจ้าสุทิดา พัชรสุธาพิมลลักษณ พระบรมราชินี เนื่องในโอกาสมหามงคลเฉลิมพระชนมพรรษา ในวันที่ 3 มิถุนายน 2562 ณ สถานีโทรทัศน์โมเดิร์นไนน์ทีวี ถนนพระราม 9

รัฐมนตรีว่าการกระทรวงพลังงาน ร่วมปลูกต้นรวงผึ้งเฉลิมพระเกียรติ พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว

วันที่ 26 พฤษภาคม 2562 ดร.ศิริ จิระพงษ์พันธ์ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงพลังงาน นายกุลิศ สมบัติศิริ (ปลัดกระทรวงพลังงาน) นายสมบูรณ์ หน่อแก้ว (รองปลัดกระทรวงพลังงาน) นายยงยุทธ จันทรโรทัย (อธิบดีกรมพัฒนาพลังงานทดแทนและอนุรักษ์พลังงาน)  นายวัฒนพงษ์  คุโรวาท (ผู้อำนวยการสำนักงานสำนักนโยบายและแผนพลังงาน )นางอุษา ผ่องลักษณา (รองอธิบดีกรมธุรกิจพลังงาน) นายภูมี ศรีสุวรรณ (รองอธิบดีกรมเชื้อเพลิงธรรมชาติ) นายวิบูลย์ ฤกษ์ศิระทัย (ผู้ว่าการการไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทย) และนายวุฒิกร สติฐิต (รองกรรมการผู้จัดการใหญ่หน่วยธุรกิจก๊าซธรรมชาติ บริษัท ปตท. จำกัด (มหาชน)) และผู้บริหารกระทรวงพลังงานเข้าร่วมกิจกรรม “ปลูกต้นรวงผึ้งเฉลิมพระเกียรติ พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว” เนื่องในโอกาสพระราชพิธีบรมราชาภิเษก ณ อาคารอนุรักษ์พลังงานเฉลิมพระเกียรติ ตำบลคลองห้า อำเภอคลองหลวง จังหวัดปทุมธานี พร้อมเยี่ยมชมภายในอาคารอนุรักษ์พลังงานเฉลิมพระเกียรติ

กระทรวงพลังงาน จัดนิทรรศการ “พลังสายธารแห่งพระบารมี”

กระทรวงพลังงาน จัดนิทรรศการ “พลังสายธารแห่งพระบารมี” เนื่องในโอกาสมหามงคลพระราชพิธีบรมราชาภิเษก พุทธศักราช 2562 พระบาทสมเด็จพระวชิรเกล้าเจ้าอยู่หัว

วันนี้ (22 พฤษภาคม 2562) ดร.ศิริ จิระพงษ์พันธ์ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงพลังงาน เป็นประธานเปิดงานนิทรรศการ “พลังสายธารแห่งพระบารมี” เพื่อน้อมสำนึกในพระมหากรุณาธิคุณ พระบาทสมเด็จพระวชิรเกล้าเจ้าอยู่หัว เนื่องในโอกาส
มหามงคลพระราชพิธีบรมราชาภิเษก พุทธศักราช 2562 ณ บริเวณหน้าอาคารซี ศูนย์เอนเนอร์ยี่คอมเพล็กซ์

สำหรับนิทรรศการ “พลังสายธารแห่งพระบารมี” จะจัดขึ้นระหว่างวันที่ 22 – 24 พฤษภาคม 2562 ณ บริเวณหน้าอาคารซี ศูนย์เอนเนอร์ยี่คอมเพล็กซ์ ภายในงานประกอบด้วย นิทรรศการภายใต้แนวคิด “พลังสายธารแห่งพระบารมี” ซึ่งเป็นนิทรรศการที่แสดงถึงพระมหากรุณาธิคุณที่พระบาทสมเด็จพระวชิรเกล้าเจ้าอยู่หัว
ทรงประกอบพระราชกรณียกิจด้านพลังงาน และนิทรรศการให้ความรู้เกี่ยวกับ “พระราชพิธีบรมราชาภิเษก พุทธศักราช 2562” รวมทั้งโครงการ “จิตอาสา เราทำความ ดี ด้วยหัวใจ” กิจกรรม “อุ่นไอรัก คลายความหนาว” กิจกรรมการแสดงศิลปวัฒนธรรมไทย การขับร้องบทเพลงพระราชนิพนธ์

ดร.ศิริ จิระพงษ์พันธ์ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงพลังงาน เปิดเผยว่า กระทรวงพลังงาน จัดนิทรรศการ “พลังสายธารแห่งพระบารมี” ขึ้น เพื่อน้อมสำนึกในพระมหากรุณาธิคุณพระบาทสมเด็จพระวชิรเกล้าเจ้าอยู่หัว เนื่องในโอกาสพระราชพิธีบรมราชาภิเษก พุทธศักราช 2562 ด้วยพระปรีชาสามารถของพระองค์ได้เป็นที่ประจักษ์ชัด และทรงประกอบพระราชกรณียกิจตามเสด็จพระราชดำเนินพระบาทสมเด็จพระมหาภูมิพลอดุลยเดชมหาราชบรมนาถบพิตร ในด้านพลังงานต่างๆ เช่น ทรงวางศิลาฤกษ์เขื่อนวชิราลงกรณ จังหวัดกาญจนบุรี เมื่อปีพุทธศักราช 2510 ทรงเปิดโรงไฟฟ้าพลังน้ำห้วยประทาว จังหวัดชัยภูมิ เมื่อปีพุทธศักราช 2536 และทรงเปิดโรงไฟฟ้าพลังความร้อนร่วมวังน้อย จังหวัดพระนครศรีอยุธยา เมื่อปีพุทธศักราช 2541 นอกจากนั้น ยังทรงประกอบพระราชกรณียกิจด้านต่างๆ มาอย่างต่อเนื่อง อันก่อให้เกิดประโยชน์ต่อการพัฒนาประเทศนานัปการ ทั้งในด้านการสาธารณสุข การทหาร การบิน การศาสนา และด้านสังคม และเนื่องในโอกาสพระราชพิธีบรมราชาภิเษก พุทธศักราช 2562 หน่วยงานของกระทรวงพลังงาน ได้ร่วมเฉลิมพระเกียรติด้วยกิจกรรมต่างๆ ได้แก่

1. โครงการของบริษัท ปตท.สำรวจและผลิตปิโตรเลียม จำกัด (มหาชน) ร่วมกับสมาคมกีฬาเครื่องบินจำลองและวิทยุบังคับ ที่จัดให้มีการใช้อากาศยานไร้คนขับ หรือโดรน จำนวน 235 ลำ แปรอักษรถวายราชสดุดีจักรีวงศ์ Light & Sound ซึ่งได้ดำเนินการไปแล้ว เมื่อวันที่ 6 พฤษภาคม 2562 โดยจะมีการดำเนินการในส่วนกลางอีก 2 ครั้ง และในส่วนภูมิภาคอีก 5 ครั้ง

2. โครงการของกรมพัฒนาพลังงานทดแทนและอนุรักษ์พลังงานที่ได้ดำเนินการส่งเสริมและสนับสนุนการเพิ่มประสิทธิภาพพลังงานในโรงเรียนทีปังกรวิทยาพัฒน์ในพระราชูปถัมภ์ฯ

3. โครงการ “พลังงานไทยร้อยดวงใจ ถวายองค์ราชัน” ของสำนักงานคณะกรรมการกำกับกิจการพลังงาน ที่จะติดตั้งระบบผลิตไฟฟ้าจากพลังงานแสงอาทิตย์ให้กับหน่วยงานของรัฐในพื้นที่ที่ไม่มีไฟฟ้าใช้ ประกอบด้วย โรงเรียน ศูนย์พัฒนาเด็กเล็ก และหน่วยงานด้านความมั่นคงในพื้นที่ภาคเหนือ เพื่อยกระดับคุณภาพชีวิตในด้านการศึกษาให้กับประชาชน และเป็นขวัญกำลังใจในการปฏิบัติงานของเจ้าหน้าที่

รัฐมนตรีว่าการกระทรวงพลังงาน คณะผู้บริหาร ข้าราชการ ถวายพระพรชัยมงคลเนื่องในพระราชพิธีบรมราชาภิเษกพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว

วันศุกร์ที่ 10 พฤษภาคม 2562 ดร.ศิริ จิระพงษ์พันธ์ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงพลังงาน พร้อมคณะผู้บริหาร ข้าราชการและเจ้าหน้าที่ ร่วมพิธีถวายพระพรชัยมงคล เนื่องในพระราชพิธีบรมราชาภิเษกพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว   ณ บริเวณอาคาร ศูนย์เอนเนอร์ยี่คอมเพล็กซ์ อาคารบี กระทรวงพลังงาน

 

ก.พลังงาน ขับเคลื่อนนโยบายปรับสมดุลน้ำมันปาล์ม เร่งแผน CPO ในโรงไฟฟ้าอีก 2 แสนตัน ขยายเวลาอุดหนุน B20 หวังช่วยเหลือเกษตรกรให้ได้มากที่สุด

“ก.พลังงาน ขับเคลื่อนนโยบายปรับสมดุลน้ำมันปาล์ม เร่งแผน CPO ในโรงไฟฟ้าอีก 2 แสนตัน ขยายเวลาอุดหนุน B20 หวังช่วยเหลือเกษตรกรให้ได้มากที่สุด”

(วันนี้ 7 พฤษภาคม 2562 ตึกนารีสโมสร ทำเนียบรัฐบาล กรุงเทพฯ) ดร.ศิริ จิระพงษ์พันธ์ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงพลังงาน แถลงว่า คณะรัฐมนตรีมีมติมอบหมายให้การไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทย (กฟผ.) ดำเนินการจัดซื้อน้ำมันปาล์มดิบต่อเนื่องจำนวน 2 แสนตันเพื่อนำมาเป็นเชื้อเพลิงผลิตไฟฟ้า ณ โรงไฟฟ้าบางปะกง จากที่โครงการดังกล่าวเคยรับซื้อไปแล้วจำนวน 1.6 แสนตัน และส่งมอบงวดสุดท้ายเมื่อวันที่ 20 เมษายน ที่ผ่านมา โดยการรับซื้อในครั้งนี้ จะมีการส่งมอบ ณ คลังน้ำมันปาล์มดิบ จังหวัดสุราษฏร์ธานี ปริมาณ หนึ่งแสนตันแรกภายในเดือนพฤษภาคมนี้
ทั้งนี้ ดร. ศิริ เปิดเผยว่า การประชุม กบง. เมื่อวันที่ 3 พฤษภาคม 2562 ได้เห็นชอบให้ขยายระยะเวลาการให้ส่วนลดราคาขายปลีกน้ำมันดีเซลฯ บี20 ให้ต่ำกว่าน้ำมันดีเซลฯ ธรรมดา 5 บาทต่อลิตร ต่อไปอีก 2 เดือน (ถึงวันที่ 31 กรกฎาคม 2562) เพื่อเป็นการส่งเสริมให้มีการใช้น้ำมันดีเซลฯ บี20 ในรถบรรทุกขนาดใหญ่และรถกระบะที่ค่ายรถยนต์ให้การรับรองอย่างต่อเนื่อง เพื่อช่วยเหลือเกษตรกรผู้ปลูกปาล์มน้ำมัน และลดค่าใช้จ่ายภาคขนส่ง
คาดว่า ภายในต้นเดือนมิถุนายนนี้ ระดับสต๊อกปาล์มน้ำมันทั้งระบบจะกลับเข้าสู่สมดุล และเกษตรกรชาวสวนปาล์ม จะสามารถขายผลปาล์มได้ในระดับใกล้เคียง 3 บาทต่อกิโลกรัม

โครงการผลิตไฟฟ้าจากพลังงานแสงอาทิตย์ที่ติดตั้งบนหลังคา

โครงการผลิตไฟฟ้าจากพลังงานแสงอาทิตย์ที่ติดตั้งบนหลังคา
สำหรับภาคประชาชน ประเภทบ้านอยู่อาศัย

 

1. คุณสมบัติผู้เข้าร่วมโครงการ 
1.1 บุคคลหรือนิติบุคคลที่เป็นเจ้าของเครื่องวัดหน่วยไฟฟ้า
1.2 เป็นผู้ที่มีเครื่องวัดหน่วยไฟฟ้าประเภทที่ 1 ตามประกาศอัตราค่าไฟฟ้าของการไฟฟ้าฝ่ายจําหน่ายไม่เกิน 10 KW ต่อครัวเรือน

2. เป้าหมาย และปริมาณการรับซื้อรวม 100 เมกะวัตต์ แบ่งเป็น
2.1. พื้นที่การไฟฟ้านครหลวงรวม 30 เมกะวัตต์
2.2. พื้นที่การไฟฟ้าส่วนภูมิภาครวม 70 เมกะวัตต์

3. เงื่อนไขในการพิจารณา และข้อยกเว้น
การพิจารณาแบบเรียงลําดับก่อนหลังตามความพร้อม (First come First served) โดยจะยึดถือวันและเวลาที่ได้รับแบบคําขอที่มีความครบถ้วนสมบูรณ์ของเอกสารหลักฐานที่กําหนดเป็นสําคัญ

4. ราคารับซื้อไฟฟ้าส่วนเกิน
ราคารับซื้อไฟฟ้าส่วนเกินในอัตราไม่เกิน 1.68 บาท/หน่วย ระยะเวลารับซื้อ 10 ปี

การเปิดรับสมัคร
1. เปิดรับลงทะเบียนสําหรับผู้สนใจเข้าร่วมโครงการผ่านเว็บไซต์ของการไฟฟ้านครหลวงและเว็บไซต์ของการไฟฟ้าส่วนภูมิภาคทั่วประเทศ
ตั้งแต่ เดือนพฤษภาคม และหมดเขตรับลงทะเบียนภายในปี 2562 (จะแจ้งกำหนดการเปิดลงทะเบียนเร็วๆ นี้)
2. ทยอยประกาศรายชื่อผู้ผ่านการพิจารณาตั้งแต่เดือนมิถุนายน 2562

3.ค่าใช้จ่ายในการติดตั้งผู้เข้าร่วมโครงการต้องรับผิดชอบเองทั้งหมด

4.กําหนดจ่ายไฟฟ้าเข้าระบบเชิงพาณิชย์ ภายในปี 2562

ทั้งนี้ท่านสามารถติดต่อสอบถาม ได้ที่สํานักงานคณะกรรมการกํากับกิจการพลังงาน (สํานักงาน กกพ.)
เบอร์โทร 02-207-3599
หรือติดตามจากเว็บไซต์
สํานักงาน กกพ. www.erc.or.th
การไฟฟ้านครหลวง www.mea.or.th
การไฟฟ้าส่วนภูมิภาค www.pea.co.th

เอกสารประกอบการประชุมคณะอนุทำงานขับเคลื่อนประเด็นปฏิรูปพลังงานด้านการบริหารจัดการพลังงาน ครั้งที่ 1/2562

วาระการประชุมคณะอนุทำงานฯ    คลิกที่นี่

เอกสารประกอบการประชุมคณะอนุกรรมการฯ ครั้งที่ 1 /2562  คลิกที่นี่

Code of Conduct

การจัดทำระเบียบปฏิบัติงานตามภารกิจ Code of Conduct ของ กระทรวงพลังงาน คลิกที่นี่

ผลการสำรวจการทับซ้อนการปฏิบัติงานตามภารกิจ (Code of Conduct) คลิกที่นี่

ปลัดกระทรวงพลังงาน พร้อมด้วยคณะผู้บริหารกระทรวงพลังงาน ร่วมลงนามถวายพระพรสมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ พระบรมราชินีนาถ ในรัชกาลที่ 9

วันที่ 24 เมษายน 2562 นายกุลิศ สมบัติศิริ ปลัดกระทรวงพลังงาน พร้อมด้วยคณะผู้บริหารกระทรวงพลังงาน ร่วมลงนามถวายพระพรสมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ พระบรมราชินีนาถ ในรัชกาลที่ 9 ขอให้ทรงหายจากพระอาการประชวร ณ อาคารภูมิสิริมังคลานุสรณ์ ชั้น 1 โรงพยาบาลจุฬาลงกรณ์

การจัดทำมาตรฐานการให้บริการ

การจัดทำมาตรฐานการให้บริการ

          ศูนย์บริการร่วม กระทรวงพลังงาน ได้จัดทำมาตรฐานการให้บริการเพื่อเป็นแนวทางในการปฏิบัติงานด้านบริการให้ถูกต้อง รวดเร็ว และเกิดประสิทธิภาพในการปฏิบัติงาน โดยมีรายละเอียด ดังนี้

1. มาตรฐานการให้บริการ
     1.1 มาตรฐานกระบวนการ/ขั้นตอนการให้บริการ
          1) ขั้นตอนการให้บริการ ระยะเวลาในการให้บริการ
– แผนผัง และสื่อสิ่งพิมพ์ต่าง ๆ ที่แสดงข้อมูลการให้บริการของหน่วยงาน

1.1) ขั้นตอนการให้บริการข้อมูลข่าวสาร/เอกสารเผยแพร่ต่างๆ
1) ประชาชนติดต่อเจ้าหน้าที่ประจำศูนย์บริการร่วม แจ้งเรื่องข้อมูล/เอกสารที่ต้องการ
2) เจ้าหน้าที่ประจำศูนย์บริการร่วมจัดหาข้อมูล/เอกสารตามต้องการ ภายใน 15 นาที
3) ถ้ามีข้อมูล เจ้าหน้าที่อธิบายข้อมูลและ/หรือให้เอกสารประกอบ โดยให้ผู้รับบริการคัดเลือกเอกสารด้วยตนเอง (ไม่จำกัดเวลา) ถ้าไม่มีข้อมูล เจ้าหน้าที่สอบถามไปยังหน่วยงานเจ้าของเรื่องรวบรวมข้อมูล แล้วแจ้งผู้รับบริการ และจัดส่งเอกสารหรือข้อมูลให้ส่วนราชการเจ้าของเรื่องดำเนินการ
4) ประเมินความพึงพอใจแก่ผู้รับบริการหลังได้รับบริการ ณ จุดให้บริการ

1.2) ขั้นตอนการให้บริการรับเรื่อง-ส่งต่อ
1) ผู้รับบริการยื่นคำขอและเอกสารหลักฐานประกอบ
2) เจ้าหน้าที่ศูนย์บริการร่วมตรวจสอบความถูกต้องครบถ้วนของเอกสาร และทำเรื่องส่งต่อให้ศูนย์รับเรื่องร้องเรียน พน. (กองตรวจและประเมินผล) ดำเนินการภายใน 1 วันทำการ
3) ส่วนราชการเจ้าของเรื่องดำเนินการตามขั้นตอนแล้วแจ้งให้ผู้รับบริการและศูนย์บริการร่วมทราบ ภายใน 30 วันทำการ

1.3) ขั้นตอนการให้บริการเบ็ดเสร็จ
1) ผู้รับบริการเดินทางมาขอรับคำปรึกษา/ขอรับเอกสารเผยแพร่ด้านพลังงาน
2) เจ้าหน้าที่ศูนย์บริการร่วมจัดระบบคิวเพื่ออำนวยความสะดวกต่อการรับบริการของประชาชน
3) เจ้าหน้าที่วิเคราะห์เรื่องที่ประชาชนมาขอรับบริการ หากเป็นการรับการปรึกษาด้านพลังงานเบื้องต้น เจ้าหน้าที่สามารถให้คำปรึกษาแก่ประชาชนตามที่ร้องขอได้เลย หากเป็นการขอรับเอกสารเผยแพร่ของหน่วยงานในสังกัดกระทรวงพลังงาน ประชาชนสามารถขอรับได้ ณ ศูนย์บริการร่วม กระทรวงพลังงาน

2) ระบบบัตรคิวให้บริการตามลำดับขั้นตอนการให้บริการ

จุดที่ 1 ติดต่อสอบถาม/รับบัตรคิว

จุดที่ 2 และ 3 บริการข้อมูลข่าวสาร

จุดที่ 4 และ 5 บริการรับเรื่องส่งต่อ

จุดที่ 6 และ 7 บริการเบ็ดเสร็จ

3) ให้บริการด้วยระยะเวลาที่เหมาะสมกับลักษณะงานบริการ

4) มีคู่มือการให้บริการ เอกสาร แผ่นพับต่างๆ สำหรับเผยแพร่ให้กับผู้รับบริการ

5) มีการประเมินผลความพึงพอใจในการให้บริการ

1.2 มาตรฐานสิ่งอำนวยความสะดวก
1) มีเคาน์เตอร์หรือจุดให้บริการอย่างเพียงพอต่อผู้รับบริการ และให้คำปรึกษาแก่ผู้รับบริการ

2) มีอุปกรณ์และเครื่องมือที่พร้อมสำหรับให้บริการ
– มีเครื่องคอมพิวเตอร์ไว้ให้ผู้รับบริการใช้งาน

3) มีมุมบริการน้ำดื่ม

4) มีที่นั่งรอสำหรับผู้รับบริการอย่างเพียงพอ

5) มีป้ายแสดงรายชื่อเจ้าหน้าที่ผู้ให้บริการ

  -*-*-*-*-*-*-*-*-*-*-*-*-*-*-*-*-*-*-*-*-*-*-*-*-*-*-

2. ขั้นตอนการให้บริการประเภทต่างๆ

ขั้นตอนการให้บริการกรณีขอรับบริการด้วยตนเองโดยตรง (Walk in)
ณ ศูนย์บริการร่วม กระทรวงพลังงาน

ขั้นตอนการให้บริการข้อมูลข่าวสาร/เอกสารเผยแพร่ต่างๆ
ขั้นตอนการให้บริการรับเรื่อง-ส่งต่อ

ป้องกัน: ็Hot Issue 2562

บทความนี้มีรหัสผ่านป้องกันอยู่ การจะดูบทความโปรดใส่รหัสผ่านของคุณด้านล่าง

กระทรวงพลังงาน พร้อมรับมือพีคไฟฟ้าหน้าร้อนนี้

กระทรวงพลังงาน สำนักงานนโยบายและแผนพลังงาน (สนพ.) และการไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทย (กฟผ.) พร้อมรับมือพีคไฟฟ้าหน้าร้อนนี้ คาดการณ์ความต้องการใช้ไฟฟ้าช่วงฤดูร้อนเพิ่มสูงขึ้นตามอุณหภูมิที่เพิ่มขึ้น โดยสูงสุดอยู่ที่ประมาณ 35,889 เมกะวัตต์ โตขึ้นจากปีก่อน (2561) ประมาณ 4.6% และคาดว่าจะเกิดขึ้นในช่วงระหว่างปลายเดือนเมษายน – ต้นเดือนพฤษภาคม 2562 จึงขอความร่วมมือประชาชน เอกชน และภาคอุตสาหกรรม ช่วยกันประหยัดไฟฟ้าในช่วงฤดูร้อนเป็นพิเศษเพื่อความมั่นคงของระบบไฟฟ้าโดยรวม

ดร. สราวุธ แก้วตาทิพย์ รองปลัดกระทรวงพลังงานเปิดเผยว่า “สถานการณ์การผลิตไฟฟ้าในเดือนมกราคม 2562  มีกำลังผลิตในระบบไฟฟ้าไทย อยู่ที่ 56,034 เมกะวัตต์ และมีการผลิตไฟฟ้าอยู่ที่ 18,939 GWh ลดลง 0.3% โดยมีสัดส่วนการผลิตจากก๊าซธรรมชาติสูงสุด 57% ส่วนสถานการณ์การใช้ไฟฟ้าอยู่ที่ 17,600 GWh เพิ่มขึ้น 1.6% ทั้งนี้ การใช้ไฟฟ้าเพิ่มขึ้นในสาขาเศรษฐกิจสำคัญทั้งภาคธุรกิจ บ้านอยู่อาศัย ในขณะที่การใช้ไฟฟ้าในกลุ่มผู้ผลิตไฟฟ้าใช้เอง (IPS) ซึ่งคิดเป็นสัดส่วนถึง 13% ของการใช้ไฟฟ้าทั้งประเทศในเดือนนี้มีอัตราการใช้ไฟฟ้าลดลง โดยสาขาอุตสาหกรรม มีสัดส่วนการใช้ไฟฟ้า 40% การใช้ลดลงที่ 1.1% ตามดัชนีผลผลิตอุตสาหกรรมที่ลดลง สาขาธุรกิจ มีสัดส่วนการใช้ไฟฟ้า 22% การใช้เพิ่มขึ้น 7.3% ตามการขยายตัวของการบริโภคในภาคเอกชนและการท่องเที่ยว โดยกลุ่มธุรกิจหลักที่มีการใช้ไฟฟ้าในสัดส่วนที่สูง ได้แก่ ห้างสรรพสินค้า อพาร์ตเมนต์และเกสต์เฮาส์ และโรงแรม มีการใช้ไฟฟ้าเพิ่มขึ้น 3.0% 11.8% และ 2.9% ตามลำดับ ทั้งนี้ การใช้ไฟฟ้าในส่วนของโรงแรมเพิ่มขึ้นค่อนข้างสูงสอดคล้องกับจำนวนนักท่องเที่ยวต่างชาติที่เพิ่มมากขึ้น อีกทั้งมีการแข่งขันเพิ่มขึ้นในธุรกิจอพาร์ตเมนต์ให้เช่าสำหรับชาวต่างชาติใน กทม. และสาขาครัวเรือน มีสัดส่วนการใช้ไฟฟ้า 20% การใช้เพิ่มขึ้น 14.6% คาดว่าเป็นผลมาจากการหยุดยาวต่อเนื่องในช่วงเทศกาลปีใหม่

สำหรับหน้าร้อนในปีนี้ คาดการณ์ว่า ความต้องการใช้ไฟฟ้าสูงสุดของประเทศ (พีค) จะเกิดขึ้นระหว่างปลายเดือนเมษายน – ต้นเดือนพฤษภาคม 2562 ซึ่งในปีที่ผ่านมา อยู่ที่ระดับ 34,317 เมกะวัตต์ เมื่อวันที่ 24 เมษายน 2561 เวลา 13.51 น. โดยปัจจัยสำคัญที่จะส่งผลให้พยากรณ์ความต้องการใช้ไฟฟ้าเบี่ยงเบนไปจากคาดการณ์ คือ กลุ่มผู้ผลิตไฟฟ้าใช้เอง (IPS) ที่อาจเติบโตขึ้น ประเทศไทยเข้าสู่ฤดูร้อนเร็วกว่าปกติ โดยปีนี้เริ่มเข้าสู่ฤดูร้อนตั้งแต่ปลายเดือนกุมภาพันธ์ถึงกลางเดือนพฤษภาคม 2562 และสภาพอากาศที่แปรปรวน คณะทำงานจัดทำค่าพยากรณ์ความต้องการไฟฟ้า จึงประมาณความต้องการใช้ไฟฟ้าสูงสุดของประเทศ (พีค) ในปี 2562 คาดว่าจะอยู่ที่ 35,889 เมกะวัตต์ เพิ่มขึ้นร้อยละ 4.6 จากปี 2561 ซึ่งในปีนี้กรมอุตุนิยมวิทยาคาดการณ์ว่าอุณหภูมิช่วงหน้าร้อนอยู่ที่ 42-43 องศาเซลเซียส แต่หากอุณหภูมิเปลี่ยนแปลงขึ้นหรือลดลง 1 องศาเซลเซียสจะมีผลต่อการใช้ไฟฟ้าประมาณ 400 เมกะวัตต์” รองปลัดกระทรวงกล่าว

ทางด้านนายวัฒนพงษ์ คุโรวาท ผู้อำนวยการสำนักงานนโยบายและแผนพลังงาน (สนพ.) กล่าวว่า “ขณะนี้ได้จัดเตรียมมาตรการสร้างความตระหนักในการประหยัดพลังงานและขอความร่วมมือจากภาคประชาชน เอกชน และอุตสาหกรรม ให้ช่วยกันลดใช้ไฟฟ้าอย่างจริงจัง โดยได้มีการประชาสัมพันธ์ผ่านมาตรการ 4 ป. “ปิด-ปรับ-ปลด-เปลี่ยน” ตั้งแต่วันนี้เป็นต้นไป เพื่อช่วยลดปริมาณความต้องการใช้ไฟฟ้าสูงสุดของประเทศ (พีค) ไม่ให้สูงขึ้นจนทำสถิติรอบใหม่ อันจะทำให้เกิดความเสี่ยงต่อความมั่นคงระบบไฟฟ้าของประเทศ ซึ่งมาตรการลดพีคไฟฟ้า เป็นการปรับเปลี่ยนปริมาณและลักษณะการใช้ไฟฟ้าของผู้ใช้เพื่อให้สมดุลกับการผลิตไฟฟ้า สำหรับมาตรการ 4 ป. เป็นมาตรการที่ทุกคนสามารถทำได้ทันที ได้แก่ ปิดอุปกรณ์ไฟฟ้าที่ไม่จำเป็น ปรับอุณหภูมิเครื่องปรับอากาศเป็น 26 องศา ซึ่งการเพิ่ม 1 องศาจะช่วยประหยัดไฟเพิ่มได้ 10% ปลดปลั๊กอุปกรณ์ไฟฟ้าเมื่อเลิกใช้ เปลี่ยนมาใช้อุปกรณ์ประหยัดไฟเบอร์ 5 แบบใหม่ ที่มี 1 – 3 ดาว โดยแต่ละดาวจะมีประสิทธิภาพการประหยัดไฟฟ้าได้เฉลี่ยเพิ่มขึ้น 10% และเปลี่ยนเวลาที่ใช้ไฟฟ้า คือ หลีกเลี่ยงการใช้เครื่องใช้ไฟฟ้าที่ไม่จำเป็นใน 2 ช่วงเวลา คือ 13.00 – 15.00 น. เพื่อลดพีคไฟฟ้าช่วงกลางวัน และ 19.00 –21.00 น. เพื่อลดพีคไฟฟ้าช่วงกลางคืน”

ขณะที่ นายจรรยง วงศ์จันทร์พงษ์ ผู้ช่วยผู้ว่าการปฏิบัติการควบคุมระบบ การไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทย (กฟผ.) เปิดเผยว่า “สำหรับการเตรียมความพร้อมในส่วนของระบบผลิตไฟฟ้า กฟผ.บริหารจัดการโรงไฟฟ้าในระบบทั้งโรงไฟฟ้าของ กฟผ. โรงไฟฟ้า IPP และ SPP ให้มีการทำงานบำรุงรักษาเท่าที่จำเป็น และขอความร่วมมืองดบำรุงรักษานอกแผนที่ไม่มีความจำเป็นเร่งด่วนตลอดช่วงฤดูร้อน โดยเฉพาะอย่างยิ่งในช่วงเดือนมีนาคมถึง พฤษภาคม ที่มีความต้องการใช้ไฟฟ้าสูงเพื่อรักษาความมั่นคง โดยในช่วงฤดูร้อนปีนี้ จะมีกำลังผลิตสำรองพร้อมจ่ายเพียงพอสำหรับรองรับเหตุการณ์ฉุกเฉินซ้ำซ้อนที่อาจเกิดขึ้น รวมทั้งได้ประสานงานกับ ปตท. ในการเพิ่มความสามารถในการส่งเชื้อเพลิงก๊าซธรรมชาติ ให้มีความเพียงพอต่อความต้องการใช้ผลิตไฟฟ้าที่เพิ่มขึ้น ในส่วนของระบบส่งไฟฟ้าของ กฟผ. มีความพร้อมใช้งานเต็มความสามารถ โดยงดทำงานบำรุงรักษาสถานีไฟฟ้า และอุปกรณ์ในระบบส่งที่มีความสำคัญ เพื่อไม่ให้ส่งผลกระทบต่อการส่งไฟฟ้าในช่วงดังกล่าว

ขอให้ทุกภาคส่วนมั่นใจว่า กฟผ. จะดูแลระบบผลิตและส่งไฟฟ้าของประเทศให้เพียงพอต่อความต้องการใช้ไฟฟ้า และขอความร่วมมือจากทุกภาคส่วนช่วยกันลดการใช้ไฟฟ้าเพื่อช่วยให้การใช้ไฟฟ้าในระบบไม่สูงจนเกินไป”

นายวัฒนพงษ์ คุโรวาท  ผู้อำนวยการสำนักงานนโยบายและแผนพลังงาน (สนพ.) กล่าวเพิ่มเติมว่า “ในช่วงเทศกาลสงกรานต์ กรณีผู้ผลิตก๊าซธรรมชาติแหล่งยาดานา ประเทศเมียนมา มีแผนหยุดการผลิตบางส่วนเพื่อปรับปรุงและซ่อมบำรุงอุปกรณ์ประจำปี ระหว่างวันที่ 11-17 เม.ย. 2562 รวมระยะเวลา 7 วันนั้น ไม่ส่งผลกระทบต่อเชื้อเพลิงในการผลิตไฟฟ้าของไทย เพราะหน่วยงานที่เกี่ยวข้องทั้งบริษัท ปตท. จำกัด (มหาชน) และการไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทย (กฟผ.) เตรียมแผนรองรับไว้แล้ว โดยเบื้องต้น ปตท. เจรจาให้ผู้ผลิตก๊าซธรรมชาติในแหล่งอื่นดำเนินการในช่วงเทศกาลสงกรานต์ ประกอบกับเป็นช่วงที่ประชาชนเดินทางท่องเที่ยว กลับบ้านต่างจังหวัด ทำให้ความต้องการใช้ไฟฟ้าของประเทศโดยรวมอยู่ในระดับลดลง ส่งผลให้ กฟผ. ไม่จำเป็นต้องใช้น้ำมันเตาและน้ำมันดีเซลเพื่อผลิตไฟฟ้าทดแทน รวมทั้งไม่กระทบต่อต้นทุนค่าไฟฟ้า และไม่ส่งผลกระทบต่อผู้ใช้ก๊าซทั้งภาคอุตสาหกรรมและภาคขนส่งแต่อย่างใด ส่วนทางกฟผ. หลังทราบข่าวจาก ปตท. ได้เตรียมมาตรการรองรับ โดยลดการเดินเครื่องโรงไฟฟ้ากลุ่มที่ใช้ก๊าซธรรมชาติฝั่งตะวันตก ได้แก่ โรงไฟฟ้าราชบุรี โรงไฟฟ้าราชบุรีเพาเวอร์ โรงไฟฟ้าไตรเอนเนอร์ยี่ และเตรียมเพิ่มการเดินเครื่องโรงไฟฟ้าซึ่งใช้ก๊าซธรรมชาติฝั่งอ่าวไทย ทำหน้าที่เดินเครื่องหลัก เพื่อรักษาความมั่นคงของระบบไฟฟ้าในเขตนครหลวง แต่ทั้งนี้ ขอความร่วมมือจากประชาชนให้ใช้ไฟฟ้าในช่วง 7 วันดังกล่าวอย่างประหยัด เพื่อช่วยเสริมความมั่นคงทางด้านพลังงานของประเทศอีกทางหนึ่ง” ผู้อำนวยการกล่าวในที่สุด

รัฐมนตรีว่าการกระทรวงพลังงาน ผลักดันแผนการบริหารจัดการน้ำมันปาล์มด้านพลังงาน

การนำน้ำมันปาล์มดิบเพื่อการผลิตไฟฟ้า

– กฟผ.ใช้น้ำมันปาล์มดิบผลิตไฟฟ้า ณ โรงไฟฟ้าบางปะกงโดยเพิ่มปริมาณการผลิตไฟฟ้าที่ใช้น้ำมันปาล์มจากวันละ 1000 ตัน เป็น วันละ 1500 ตัน ซึ่งส่งผลให้ปริมาณการใช้น้ำมันปาล์มเพิ่มสูงขึ้น และสามารถลดปริมาณสต๊อกน้ำมันปาล์มในระบบได้เร็วขึ้นซึ่งปัจจุบันใช้เพื่อผลิตไฟฟ้าที่โรงไฟฟ้าบางปะกงไปแล้วกว่า 50,000 ตัน และคาดว่าจะสามารถรับซื้อน้ำมันปาล์มดิบ ตามมติ กนป เมื่อวันที่ 13 มีนาคม 2562 ได้ครบตามเป้า 160,000 ตัน ภายในวันที่
20 เมษายน 2562  และ กฟผ จะใช้น้ำมันปาล์มทั้งหมดในการผลิตไฟฟ้าได้ภายในเดือนปลายเดือนพฤษภาคมถึงต้นเดือนมิถุนายนนี้

 

          การส่งออกน้ำมันไบโอดีเซล B100

– ปตท. ได้รับมอบหมาย ให้พิจารณาการรับซื้อน้ำมันปาล์มดิบ( CPO) จำนวน 100,000 ตัน มาเก็บสต๊อกไว้เพื่อนำมาผลิตเป็น B100 ส่งออก  โดยให้หารือแนวทางการดำเนินการร่วมกับกระทรวงพาณิชย์ในเรื่องแนวทางการชดเชยค่าใช้จ่ายที่เกี่ยวข้องในกระบวนการดังกล่าว ซึ่งจะมีการรายงานแนวทางการดำเนินการต่อรัฐมนตรีว่าการกระทรวงพลังงานและรัฐมนตรีว่าการกระทรวงพาณิชย์ เพื่อนำเสนอขออนุมัติต่อคณะรัฐมนตรี เป็นการต่อไป

 

          นโยบายการส่งเสริมน้ำมันดีเซล B20

          -กรมธุรกิจพลังงาน คาดว่าในเดือนมีนาคมนี้จะมีปริมาณการใช้น้ำมัน B20 ปริมาณ 25 ล้านลิตร โดยตั้งเป้าจะขยายกลุ่มผู้ใช้ไปยังกลุ่มรถยนต์ดีเซลขนาดเล็กให้สามารถใช้น้ำมัน B20 ได้ โดยจะทราบผลการหารือกับผู้จำหน่ายรถยนต์ได้ภายในสัปดาห์หน้า ซึ่งปัจจุบันมีสถานีที่จำหน่ายน้ำมัน B20 จำนวน 116 สถานี และ Fleet ที่ใช้ 173 แห่ง  ในอนาคตกระทรวงพลังงานจะมีการผลักดันให้ใช้ B20 ปริมาณ 15 ล้านลิตร/วัน และ B7 ที่50 ล้านลิตร/วัน ซึ่งจะสามารถดูดซับ CPO ได้ 2 ล้านตัน/ปี

รัฐมนตรีว่าการกระทรวงพลังงาน ผลักดันแผนการบริหารจัดการน้ำมันปาล์มด้านพลังงาน

การผลักดันแผนการบริหารจัดการน้ำมันปาล์มด้านพลังงาน

การนำน้ำมันปาล์มดิบเพื่อการผลิตไฟฟ้า

– กฟผ.ใช้น้ำมันปาล์มดิบผลิตไฟฟ้า ณ โรงไฟฟ้าบางปะกงโดยเพิ่มปริมาณการผลิตไฟฟ้าที่ใช้น้ำมันปาล์มจากวันละ 1000 ตัน เป็น วันละ 1500 ตัน ซึ่งส่งผลให้ปริมาณการใช้น้ำมันปาล์มเพิ่มสูงขึ้น และสามารถลดปริมาณสต๊อกน้ำมันปาล์มในระบบได้เร็วขึ้นซึ่งปัจจุบันใช้เพื่อผลิตไฟฟ้าที่โรงไฟฟ้าบางปะกงไปแล้วกว่า 50,000 ตัน และคาดว่าจะสามารถรับซื้อน้ำมันปาล์มดิบ ตามมติ กนป เมื่อวันที่ 13 มีนาคม 2562 ได้ครบตามเป้า 160,000 ตัน ภายในวันที่
20 เมษายน 2562  และ กฟผ จะใช้น้ำมันปาล์มทั้งหมดในการผลิตไฟฟ้าได้ภายในเดือนปลายเดือนพฤษภาคมถึงต้นเดือนมิถุนายนนี้

การส่งออกน้ำมันไบโอดีเซล B100

– ปตท. ได้รับมอบหมาย ให้พิจารณาการรับซื้อน้ำมันปาล์มดิบ( CPO) จำนวน 100,000 ตัน มาเก็บสต๊อกไว้เพื่อนำมาผลิตเป็น B100 ส่งออก  โดยให้หารือแนวทางการดำเนินการร่วมกับกระทรวงพาณิชย์ในเรื่องแนวทางการชดเชยค่าใช้จ่ายที่เกี่ยวข้องในกระบวนการดังกล่าว ซึ่งจะมีการรายงานแนวทางการดำเนินการต่อรัฐมนตรีว่าการกระทรวงพลังงานและรัฐมนตรีว่าการกระทรวงพาณิชย์ เพื่อนำเสนอขออนุมัติต่อคณะรัฐมนตรี เป็นการต่อไป

นโยบายการส่งเสริมน้ำมันดีเซล B20

          -กรมธุรกิจพลังงาน คาดว่าในเดือนมีนาคมนี้จะมีปริมาณการใช้น้ำมัน B20 ปริมาณ 25 ล้านลิตร โดยตั้งเป้าจะขยายกลุ่มผู้ใช้ไปยังกลุ่มรถยนต์ดีเซลขนาดเล็กให้สามารถใช้น้ำมัน B20 ได้ โดยจะทราบผลการหารือกับผู้จำหน่ายรถยนต์ได้ภายในสัปดาห์หน้า ซึ่งปัจจุบันมีสถานีที่จำหน่ายน้ำมัน B20 จำนวน 116 สถานี และ Fleet ที่ใช้ 173 แห่ง  ในอนาคตกระทรวงพลังงานจะมีการผลักดันให้ใช้ B20 ปริมาณ 15 ล้านลิตร/วัน และ B7 ที่50 ล้านลิตร/วัน ซึ่งจะสามารถดูดซับ CPO ได้ 2 ล้านตัน/ปี

ก.พลังงาน จับมือ World Economic Forum ชูบทบาทอาเซียนพร้อมเป็นผู้นำระดับภูมิภาค ด้านระบบพลังงานต่อการเปลี่ยนแปลงสู่อนาคต

ก.พลังงาน จับมือ World Economic Forum ชูบทบาทอาเซียนพร้อมเป็นผู้นำระดับภูมิภาคด้านระบบพลังงานต่อการเปลี่ยนแปลงสู่อนาคต
แจงข่าวดี ไทยได้เลื่อนลำดับประเทศที่มีความพร้อมสู่ระบบพลังงานในอนาคตเกินค่ามาตรฐานโลก

วันนี้ (25 มี.ค. 2562) ดร.ศิริ จิระพงษ์พันธ์ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงพลังงาน และ Mr.Roberto Bocca, Head of Future of Energy and Materials, Member of the Executive Committee, World Economic Forum (นายโรแบรโต้ บาคคา ประธานด้านพลังงานและผลิตภัณฑ์แห่งอนาคตและกรรมการบริหารสภาเศรษฐกิจโลก) ร่วมกันแถลงข่าว “อาเซียนกับการเป็นผู้นำระดับภูมิภาคด้านระบบพลังงานต่อการเปลี่ยนแปลงสู่อนาคต” ณ ศูนย์เอ็นเนอร์ยี่คอมเพล็กซ์ ชั้น 6 อาคารซี ถนนวิภาวดี กรุงเทพฯ

ดร.ศิริ จิระพงษ์พันธ์ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงพลังงาน เปิดเผยว่า จากผลการสรุปภาพรวมรายงานประจำปี  (Global Energy Transitions Index 2019) ของ World Economic Forum (WEF) หรือสภาเศรษฐกิจโลก เรื่องการสนับสนุนระบบพลังงานต่อการเปลี่ยนแปลงสู่อนาคตอย่างมีประสิทธิภาพ  โดยผลสรุปรายงานฯ นี้ จะเป็นการวัดความพร้อมของระบบพลังงานต่อการเปลี่ยนแปลงสู่อนาคต โดยในปี 2562 มีการจัดลำดับทั้งหมด 115 ประเทศทั่วโลก และเป็นที่น่ายินดีเป็นอย่างยิ่งว่า ประเทศไทยได้รับการจัดลำดับที่ดีเพิ่มขึ้นถึง 3 ลำดับ โดยมาอยู่ที่ลำดับที่ 51 จากเดิมลำดับที่ 54 ในปี 2561 ที่ผ่านมา ซึ่งการเลื่อนลำดับดังกล่าว เป็นผลสืบเนื่องมาจากการเปลี่ยนแปลงที่ดีขึ้นของการขยายตัวทางเศรษฐกิจ ความมั่นคงและการเข้าถึงพลังงาน และความยั่งยืนทางสิ่งแวดล้อม โดยประเทศไทย ยังมีคะแนนด้านประสิทธิภาพของระบบพลังงาน และความพร้อมสู่ระบบพลังงานในอนาคตเกินกว่าค่ามาตรฐานโลกอีกด้วย

ทั้งนี้ การจัดลำดับในรายงานของ WEF ครั้งนี้ ถือเป็นการวัดด้านประสิทธิภาพของระบบพลังงาน มีผลวิเคราะห์ข้อมูลที่ตรวจสอบอ้างอิงได้ โดยที่ผู้กำหนดนโยบายสามารถนำข้อมูลไปเพิ่มประสิทธิภาพของระบบพลังงานของประเทศได้ โดยลำดับ 1 – 5 ของประเทศที่มีความพร้อมของระบบพลังงานต่อการเปลี่ยนแปลงสู่อนาคต ได้แก่ ประเทศสวีเดน รองลงมาได้แก่ ประเทศสวิตเซอร์แลนด์ นอร์เวย์ ฟินแลนด์ และเดนมาร์ก ตามลำดับ

Mr.Roberto Bocca  กล่าวว่า  World Economic Forum เชื่อมั่นว่า ชาติในอาเซียนจะมีบทบาทสำคัญต่อการเป็นผู้นำระดับภูมิภาคด้านระบบพลังงานต่อการเปลี่ยนแปลงที่จะเกิดขึ้นในอนาคต และจะเป็นชาติที่มีความพร้อมในการปฏิบัติการดังกล่าวเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่อง โดยการริเริ่มแนวทางการกำหนดนโยบายพลังงานในรูปแบบใหม่ๆ  และการหาพันธมิตรความร่วมมือทางพลังงาน จะเป็นแก่นสำคัญของการรับมือความท้าทายทางพลังงานของอาเซียน เนื่องจากจะไม่มีประเทศใดประเทศหนึ่งที่ระบบพลังงานจะพร้อมต่อการเปลี่ยนแปลงสู่อนาคตได้เพียงประเทศเดียว และถือได้ว่าชาติในอาเซียน อยู่ในตำแหน่งที่ดีที่แสดงความเป็นผู้นำในการผลักดันกลยุทธ์ระดับประเทศและระดับภูมิภาคอย่างมีประสิทธิภาพ

โดยภายใต้การเป็นประธานอาเซียนของประเทศไทย ในปี 2562 นี้  World Economic Forum พร้อมจะให้การสนับสนุนแผนพัฒนาความพร้อมสู่ระบบพลังงานในอนาคตของอาเซียน โดยจะได้ใช้ประโยชน์จากดัชนีวัดความพร้อมของระบบพลังงานของประเทศต่อการเปลี่ยนแปลงสู่อนาคต  ควบคู่ไปกับความร่วมมือด้าน

ฐานข้อมูลพลังงานรายภูมิภาค

กระทรวงพลังงาน ได้ปรับรูปโฉมใหม่  Provincial Energy Data “ฐานข้อมูลพลังงานรายภูมิภาค” ที่เป็นแหล่งบริการข้อมูลพลังงานไทยในระดับจังหวัด กลุ่มจังหวัด ภูมิภาค

สามารถดูรายละเอียดได้ที่นี่

ดร.ศิริ จิระพงษ์พันธ์ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงพลังงาน รมว.พลังงาน (ดร.ศิริ จิระพงษ์พันธ์) ร่วมกับ คณะกรรมการกำกับกิจการพลังงาน (กกพ.) เปิดตัวโครงการ “โซลาร์ภาคประชาชน”

ดร.ศิริ จิระพงษ์พันธ์ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงพลังงาน รมว.พลังงาน (ดร.ศิริ จิระพงษ์พันธ์) ร่วมกับ คณะกรรมการกำกับกิจการพลังงาน (กกพ.) เปิดตัวโครงการ “โซลาร์ภาคประชาชน” ให้เจ้าของบ้านและอาคารที่อยู่อาศัยที่ต้องการติดตั้งแผงเซลล์ผลิตไฟฟ้าด้วยพลังงานแสงอาทิตย์เพื่อใช้เอง สามารถเชื่อมกับระบบไฟฟ้าของประเทศ และขายผลผลิตไฟฟ้าส่วนที่เหลือใช้เข้าสู่ระบบได้

รมว.พลังงาน (ดร.ศิริ จิระพงษ์พันธ์) ได้กล่าวเปิดการแถลงข่าว เปิดตัวโครงการ “โซลาร์ภาคประชาชน” ของคณะกรรมการกำกับกิจการพลังงาน (กกพ.) ว่า ตามที่คณะกรรมการนโยบายพลังงานแห่งชาติ (กพช.) ในการประชุมเมื่อวันที่ 24 มกราคม 2562 ได้มีมติเห็นชอบแผนการพัฒนาระบบไฟฟ้าฉบับใหม่ PDP2018 ในการเสริมสร้างระบบพลังงานไฟฟ้าของประเทศที่มั่นคง ตอบสนองความต้องการของผู้บริโภค ในราคาที่ส่งเสริมให้ระบบเศรษฐกิจของประเทศสามารถแข่งขันได้ และเป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อมอย่างยั่งยืน ด้วยการใช้วิวัฒนาการด้านเทคโนโลยีตามแนวพัฒนาประเทศสู่ Thailand 4.0 ให้เป็นระบบไฟฟ้าทันสมัยให้สามารถรองรับสัดส่วนการผลิตไฟฟ้าจากพลังงานหมุนเวียนและมาตรการอนุรักษ์พลังงานได้สูงถึง 35% ในปี 2580 ซึ่งการใช้ แผงเซลล์ผลิตไฟฟ้าด้วยพลังงานแสงอาทิตย์ (Photo Voltaic Solar Cell) ถือเป็นส่วนสำคัญของแผนการผลิตไฟฟ้าจากพลังงานหมุนเวียนดังกล่าว ในสัดส่วนมากกว่า 50% ด้วยกำลังผลิตติดตั้งรวม 12,725 MW และจากนโยบายของรัฐบาลในการสนับสนุนให้ประชาชนที่ต้องการมีส่วนร่วมในการผลิตไฟฟ้าเพื่อใช้เอง ให้สามารถเชื่อมเข้าเป็นส่วนหนึ่งของระบบไฟฟ้าของประเทศ และขายผลผลิตไฟฟ้าส่วนที่เหลือใช้ในบางเวลาเข้าสู่ระบบได้   ซึ่งนอกจากจะประหยัดค่าไฟฟ้าแล้ว ยังมีรายได้เสริมจากการขายไฟฟ้าส่วนที่เหลืออีกด้วย

โครงการ “โซลาร์ภาคประชาชน” ที่ กกพ. เปิดตัวในวันนี้ เป็นการดำเนินการตามมติคณะกรรมการบริหารนโยบายพลังงาน (กบง.) ที่ได้กำหนดหลักการโครงการนำร่องการรับจดทะเบียนเจ้าของบ้านและอาคาร  ที่เป็นเจ้าของมิเตอร์ ประเภทบ้านอยู่อาศัย ที่ต้องการติดตั้งแผงเซลล์ผลิตไฟฟ้าด้วยพลังงานแสงอาทิตย์เพื่อใช้เอง สามารถเชื่อมกับระบบไฟฟ้าของประเทศ และขายผลผลิตไฟฟ้าส่วนเกินความต้องการใช้ เข้าสู่ระบบได้ ในขนาดการติดตั้งประมาณ 100 MW ต่อปี เป็นระยะเวลา 10 ปี โดยคาดว่าจะเริ่มรับจดทะเบียนได้ตั้งแต่ เดือนพฤษภาคมนี้ เป็นต้นไป และในขณะเดียวกัน รัฐบาลก็จะได้ออกมาตรการสนับสนุนให้ผู้ผลิตแผงโซล่าเซลล์และผู้ประกอบการติดตั้งระบบในประเทศ และสถาบันอาชีวะศึกษา ให้มีส่วนร่วมในธุรกิจการติดตั้งและบำรุงรักษาระบบ ที่ในแต่ละปีคาดว่าจะมีการติดตั้งประมาณ 10,000 – 20,000 ระบบ เป็นมูลค่าประมาณ 4,000 ล้านบาท/ปี หรือประมาณ 40,000 ล้านบาท ตลอดระยะเวลาโครงการ 10 ปี ทั้งนี้หลักการของโครงการจะได้มีการนำเสนอ  โดย กกพ. ในลำดับต่อไป

นายเสมอใจ ศุขสุเมฆ ประธานกรรมการกำกับกิจการพลังงาน (กกพ.)  เปิดเผยว่า ภายใต้นโยบายของ กกพ.  ได้แก่ การเปิดเผยข้อมูล การสร้างความเข้าใจ และการสร้างความโปร่งใส ในกระบวนการพิจารณาทุกขั้นตอน ให้กับประชาชนที่ต้องการเข้าร่วมโครงการโซลาร์ภาคประชาชน จะเป็นปัจจัยสำคัญที่จะทำให้โครงการฯประสบความสำเร็จและเกิดประโยชน์สูงสุดเป็นไปตามเป้าหมาย และนโยบายของรัฐบาล

“การประกาศรับซื้อไฟฟ้าภายใต้โครงการโซลาร์ภาคประชาชนครั้งนี้ จะเป็นมิติใหม่ในการกำกับดูแลภาคพลังงานของ กกพ. เพราะนอกเหนือจากการที่ กกพ. ออกระเบียบและหลักเกณฑ์ในการจัดหาไฟฟ้า และออกประกาศเชิญชวนตามปกติแล้ว กกพ. ยังจะอำนวยความสะดวกด้านการให้ข้อมูล และการสร้างความเข้าใจให้กับประชาชน เพื่อให้ประชาชนมีข้อมูลครบถ้วนในการตัดสินใจ และยืนยันทุกคนจะได้รับการพิจารณาอย่างโปร่งใส และเป็นธรรม” นายเสมอใจกล่าว

สำหรับขั้นตอนในการดำเนินการ ประกอบด้วย

  1. สำนักงานคณะกรรมการกำกับกิจการพลังงาน (สำนักงาน กกพ.) จะเริ่มกระบวนการเผยแพร่ประชาสัมพันธ์โครงการฯ ตั้งแต่เดือนมีนาคม 2562 โดยประชาชนผู้สนใจเข้าร่วมโครงการสามารถติดต่อเพื่อสอบถามข้อมูลได้ที่ 02-207-3599 หรือติดตามจากเว็บไซต์ สำนักงาน กกพ. ที่ www.erc.or.th และเว็บไซต์ของการไฟฟ้าฝ่ายจำหน่ายทั้ง 2 แห่ง
  2. เปิดรับลงทะเบียนสำหรับผู้สนใจเข้าร่วมโครงการผ่านเว็บไซต์ของการไฟฟ้านครหลวงและเว็บไซต์ ของการไฟฟ้าส่วนภูมิภาคทั่วประเทศ ตั้งแต่เดือนพฤษภาคม และหมดเขตรับลงทะเบียนภายในปี 2562
  3. ทยอยประกาศรายชื่อผู้ผ่านการพิจารณาโดยการไฟฟ้าฝ่ายจำหน่าย ตั้งแต่เดือนมิถุนายน 2562
  4. กำหนดจ่ายไฟฟ้าเข้าระบบเชิงพาณิชย์ ภายในปี 2562

นายเสมอใจ กล่าวว่า อยากให้ประชาชนได้มีการศึกษาข้อมูลที่เกี่ยวข้องอย่างละเอียดถี่ถ้วนด้วย โดยเฉพาะการพิจารณาผลประโยชน์ที่จะได้รับ ซึ่งโครงการฯ ดังกล่าวประชาชน จะต้องมีการลงทุนเพื่อติดตั้งระบบ ดังนั้น ควรต้องคำนึงถึงความคุ้มทุนที่จะเกิดขึ้นกับการลงทุนด้วย ซึ่งความคุ้มค่าการลงทุนจะขึ้นกับพฤติกรรมการใช้ไฟฟ้าของครัวเรือนเป็นหลัก และอยากให้มีการเปรียบเทียบ กับปริมาณความต้องการ และช่วงเวลา ในการใช้ไฟฟ้า เช่น หากมีปริมาณการใช้ไฟฟ้าช่วงกลางวันมากอยู่แล้ว ระยะเวลาในการคุ้มทุนย่อมเร็วกว่า เป็นต้น

นางสาวนฤภัทร อมรโฆษิต เลขาธิการสำนักงาน กกพ. เปิดเผยถึงหลักเกณฑ์การประกาศรับซื้อไฟฟ้าภายใต้โครงการฯ ประกอบด้วย

  1. คุณสมบัติผู้เข้าร่วมโครงการ :

1.1 บุคคลหรือนิติบุคคลที่เป็นเจ้าของเครื่องวัดหน่วยไฟฟ้า

1.2 เป็นผู้ที่มีเครื่องวัดหน่วยไฟฟ้าประเภทที่ 1 ตามประกาศอัตราค่าไฟฟ้าของการไฟฟ้าฝ่ายจำหน่าย

ไม่เกิน 10 KW ต่อครัวเรือน

  1. เป้าหมาย และปริมาณการรับซื้อรวม 100 เมกะวัตต์ :

2.1. พื้นที่การไฟฟ้านครหลวงรวม 30 เมกะวัตต์

2.2. พื้นที่การไฟฟ้าส่วนภูมิภาครวม 70 เมกะวัตต์

  1. เงื่อนไขในการพิจารณา และข้อยกเว้น :

การพิจารณาแบบเรียงลำดับก่อนหลังตามความพร้อม (First come First served) โดยจะยึดถือวันและเวลาที่ได้รับแบบคำขอที่มีความครบถ้วนสมบูรณ์ของเอกสารหลักฐานที่กำหนดเป็นสำคัญ

  1. ราคารับซื้อไฟฟ้าส่วนเกินในอัตราไม่เกิน 1.68 บาท/หน่วย ระยะเวลารับซื้อ 10 ปี

รัฐมนตรีว่าการกระทรวงพลังงาน แถลงข่าวติดตามความคืบหน้าโครงการพลังงานแสงอาทิตย์บนทุ่นลอยน้ำในพื้นที่เขื่อน กฟผ.

วันนี้ (18 มีนาคม 2562) ดร.ศิริ จิระพงษ์พันธ์ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงพลังงาน (รมว.พน.) แถลงข่าวติดตามความคืบหน้าโครงการพลังงานแสงอาทิตย์บนทุ่นลอยน้ำในพื้นที่เขื่อน กฟผ. โดยมี นายกุลิศ สมบัติศิริ ปลัดกระทรวงพลังงาน นายวิบูลย์ ฤกษ์ศิระทัย ผู้ว่าการการไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทย (กฟผ.) นายธวัชชัย จักรไพศาล รองผู้ว่าการเชื้อเพลิง กฟผ. และนายเทพรัตน์ เทพพิทักษ์ รองผู้ว่าการพัฒนาโรงไฟฟ้าและพลังงานหมุนเวียน กฟผ. ร่วมให้ข้อมูล ณ ห้องประชุม 201 อาคาร ท.100 สำนักงานใหญ่ กฟผ. อำเภอบางกรวย จังหวัดนนทบุรี
ดร.ศิริ จิระพงษ์พันธ์ รมว.พน. กล่าวว่า ในแผนพัฒนากำลังการผลิตไฟฟ้าของประเทศไทย (PDP 2018) ในสัดส่วนของการผลิตไฟฟ้าจากพลังงานหมุนเวียน ได้มอบหมายให้ กฟผ. ดำเนินงานโครงการโรงไฟฟ้าพลังงานแสงอาทิตย์ บนทุ่นลอยน้ำร่วมกับโรงไฟฟ้าพลังน้ำ หรือ Hydro-Floating Solar Hybrid รวมกำลังการผลิต 2,725 เมกะวัตต์ ซึ่งจะดำเนินการให้แล้วเสร็จภายใน 10 ปี โดยให้นำร่องโครงการแรกที่เขื่อนสิรินธร ขนาด 45 เมกะวัตต์ ซึ่งเป็นโครงการไฮบริดแห่งแรกที่ใหญ่ที่สุดในโลก ที่จะช่วยให้เกิดความมั่นคงของระบบไฟฟ้าและบริหารจัดการน้ำให้เกิดประสิทธิภาพสูงสุด
ด้าน นายวิบูลย์ ฤกษ์ศิระทัย ผู้ว่าการ กฟผ. กล่าวถึงแผนนำร่องโครงการโรงไฟฟ้าพลังงานแสงอาทิตย์ บนทุ่นลอยน้ำร่วมกับโรงไฟฟ้าพลังน้ำโครงการแรกที่เขื่อนสิรินธร จังหวัดอุบลราชธานี กำลังการผลิต 45 เมกะวัตต์ ใช้พื้นที่ผิวน้ำในการติดตั้ง 450 ไร่ ซึ่งเชื่อมโยงระบบพลังน้ำ โดยใช้ทรัพยากรร่วมกับเขื่อน ได้แก่ หม้อแปลง สายส่ง และสถานีไฟฟ้าแรงสูง เป็นการใช้ทรัพยากรให้เกิดประโยชน์สูงสุด ลดการระเหยของน้ำ ช่วยเสริมความมั่นคงในระบบไฟฟ้า ช่วยเพิ่มความยืดหยุ่นในการบริหารจัดการน้ำ เสริมความต้องการใช้ไฟฟ้าสูงสุดในระบบช่วงกลางคืนเพื่อลดการผลิตไฟฟ้าจากเชื้อเพลิงฟอสซิล ลดการใช้พื้นที่ทางการเกษตร เพิ่มประสิทธิภาพการผลิตไฟฟ้าของแผงโซล่าเซลล์เนื่องจากมีอุณหภูมิต่ำที่ผิวน้ำ และเป็นจุดแลนมาร์คใหม่สำหรับการท่องเที่ยว
โดยรายละเอียดโครงการเป็นการออกแบบติดตั้งอุปกรณ์ทั้งหมดบนทุ่นลอยน้ำ และใช้แผงโซลาร์เซลล์ชนิด Double glass เนื่องจากมีความเหมาะสมกับสภาพการใช้งานที่วางแผงโซลาร์เซลล์ใกล้ผิวน้ำ ซึ่งมีความชื้นสูงและยังมีการเคลื่อนไหวของผิวน้ำตลอดเวลา ทั้งนี้ กฟผ. จะออกประกาศเชิญชวนในวันที่ 15พฤษภาคม 2562และยื่นซองประมูลภายในสิ้นเดือนกรกฎาคม 2562 และจะประกาศผู้ชนะภายในสิ้นเดือนตุลาคม 2562คาดว่าจะเริ่มดำเนินการโครงการเดือนมกราคม 2563 เพื่อให้สามารถจ่ายไฟฟ้าเชิงพาณิชย์ได้ทันตามแผนในเดือนธันวาคม 2563

 

 

รัฐมนตรีว่าการกระทรวงพลังงาน แถลงข่าวเพิ่มการใช้น้ำมันปาล์มผลิตกระแสไฟฟ้าที่โรงไฟฟ้าบางปะกง

วันนี้ (18 มีนาคม 2562) ดร.ศิริ จิระพงษ์พันธ์ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงพลังงาน (รมว.พน.) แถลงข่าวเพิ่มการใช้น้ำมันปาล์มผลิตกระแสไฟฟ้าที่โรงไฟฟ้าบางปะกง จังหวัดฉะเชิงเทรา และพิจารณาเพิ่มจุดรับซื้อน้ำมันปาล์มเพิ่มเติม โดยมี นายกุลิศ สมบัติศิริ ปลัดกระทรวงพลังงาน นายวิบูลย์ ฤกษ์ศิระทัย ผู้ว่าการการไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทย (กฟผ.) นายธวัชชัย จักรไพศาล รองผู้ว่าการเชื้อเพลิง กฟผ. และนายเทพรัตน์ เทพพิทักษ์ รองผู้ว่าการพัฒนาโรงไฟฟ้าและพลังงานหมุนเวียน กฟผ. ร่วมให้ข้อมูล ณ ห้องประชุม 201 อาคาร ท.100 สำนักงานใหญ่ กฟผ. อำเภอบางกรวย จังหวัดนนทบุรี

ดร.ศิริ จิระพงษ์พันธ์ รมว.พน. กล่าวว่า จากมาตรการปรับสมดุลน้ำมันปาล์มในประเทศของรัฐบาล
ที่กระทรวงพลังงานได้มอบหมายให้ กฟผ. ดำเนินการรับซื้อน้ำมันปาล์มดิบจากโรงงานสกัดน้ำมันปาล์มมาผลิตไฟฟ้าที่โรงไฟฟ้าบางปะกง ล่าสุดคณะกรรมการนโยบายปาล์มน้ำมันแห่งชาติ (กนป.) ได้มีมติเมื่อวันที่ 13 มีนาคม 2562 มอบหมายให้ กระทรวงพลังงาน โดย กฟผ. เพิ่มปริมาณการใช้น้ำมันปาล์มดิบเดินเครื่องผลิตกระแสไฟฟ้า จากวันละ 1,000 ตัน เพิ่มกำลังการผลิตเป็นวันละ 1,500 ตัน เพื่อเร่งดูดซับปริมาณน้ำมันปาล์มดิบออกจากระบบได้เร็วยิ่งขึ้น ซึ่งจะช่วยกระตุ้นราคาผลปาล์มให้มีราคาสูงขึ้น และขอให้ กฟผ. ดำเนินการเพิ่มจุดรับน้ำมันปาล์มดิบที่ จ.สุราษฎร์ธานี อย่างเร่งด่วน คาดว่าจะทำให้เกษตรกรสามารถขายปาล์มดิบได้ในราคากิโลกรัมละ 3 บาท – 3.2 บาท อย่างต่อเนื่อง

ด้าน นายวิบูลย์ ฤกษ์ศิระทัย ผู้ว่าการ กฟผ. เปิดเผยถึงความคืบหน้าแนวทางการเพิ่มปริมาณการใช้น้ำมันปาล์มดิบ ในการผลิตไฟฟ้าของโรงไฟฟ้าพลังความร้อนบางปะกง หน่วยที่ 3 ว่า ขณะนี้ กฟผ. อยู่ระหว่างการขอใบอนุญาตเพื่อให้สามารถรองรับการเดินเครื่องที่เพิ่มขึ้นจาก คณะกรรมการกำกับกิจการพลังงาน (กกพ.) โดย กฟผ. ได้ดำเนินการทดสอบระบบการเดินเครื่องทางเทคนิครองรับการเพิ่มปริมาณการใช้น้ำมันปาล์มดิบเดินเครื่องผลิตกระแสไฟฟ้าเป็นวันละ 1,500 ตัน เรียบร้อยแล้ว ซึ่งจะใช้น้ำมันปาล์มดิบได้หมดภายในต้นเดือนมิถุนายน 2562 ซึ่งเร็วขึ้นประมาณ 2 เดือน จากเดิมที่กำหนดไว้ปลายเดือนกรกฎาคม 2562

ในส่วนการรับซื้อน้ำมันปาล์มมีผู้จำหน่ายน้ำมันปาล์มดิบให้ กฟผ. จำนวนทั้งสิ้น 31 ราย รวมปริมาณ 155,000 ตัน โดย กฟผ. ได้ดำเนินการจัดทำสัญญาร่วมกับผู้จำหน่ายน้ำมันปาล์มดิบเรียบร้อยแล้ว ปริมาณ 126,000 ตัน คงเหลือปริมาณที่อยู่ระหว่างการจัดทำสัญญา 29,000 ตัน และอยู่ระหว่างกรมการค้าภายในจะแจ้งมาอีก 5,000 ตัน ซึ่งจะทำให้ครบ 160,000 ตัน ทั้งนี้ กฟผ. ได้รับมอบน้ำมันปาล์มดิบแล้วจำนวน 42,000 ตัน โดยใช้ผลิตกระแสไฟฟ้าประมาณ วันละ 1,000 ตัน รวมปริมาณที่ใช้เพื่อผลิตกระแสไฟฟ้าแล้ว 34,000 ตัน (ข้อมูล ณ วันที่ 16 มี.ค.62) และอยู่ระหว่างการส่งมอบ 118,000 ตัน นอกจากนั้น กฟผ. กำลังดำเนินการพิจารณาเพิ่มจุดรับซื้อเพิ่มเติมที่คลัง จ.สุราษฎร์ธานี โดยจะเร่งดำเนินการชำระเงินให้แก่โรงสกัดที่จัดทำเอกสารเรียกเก็บเงินครบถ้วนให้แล้วเสร็จภายใน 7 วันทำการ (จากเดิม 15 วันทำการ) เพื่อให้โรงงานสกัดน้ำมันปาล์มมีความสามารถในการรับซื้อผลปาล์มทะลายจากเกษตรกรได้มากขึ้น

ด้าน นายกุลิศ สมบัติศิริ ปลัดกระทรวงพลังงาน กล่าวว่า กระทรวงพลังงานได้ประสานงานกับกระทรวงพาณิชย์ในการดำเนินงานรับซื้อน้ำมันปาล์มดิบจากโรงงานสกัดน้ำมันปาล์ม เพื่อใช้น้ำมันปาล์มดิบในการผลิตไฟฟ้าของโรงไฟฟ้าพลังความร้อนบางปะกง หน่วยที่ 3 อย่างต่อเนื่อง เพื่อช่วยเหลือเกษตรกร ให้ราคาผลปาล์มไม่ต่ำกว่า 3 บาทต่อกิโลกรัม ตามนโยบายรัฐบาล และขอบคุณ กฟผ. ที่สนองตอบการดำเนินงานตามแนวทางของกระทรวงพลังงาน

 

กระทรวงพลังงาน หารือร่วมกับผู้ประกอบการผลิตและจำหน่ายแผงโซล่าเซลล์ ส่งเสริมนโยบายการผลิตไฟฟ้าจากพลังงานแสงอาทิตย์

วันนี้ (13 มีค.2562) ดร.ศิริ จิระพงษ์พันธ์ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงพลังงาน ได้ประชุมร่วมกับผู้ประกอบการผลิตและจำหน่ายแผงโซล่าเซลล์ มากกว่า 50 ราย ในประเด็นเรื่อง “นโยบายการผลิตไฟฟ้าจากพลังงานแสงอาทิตย์” ซึ่งการประชุม ฯ ในวันนี้ เป็นการให้ข้อมูลสถานการณ์ปัจจุบันที่เกี่ยวกับแผนงานของรัฐบาลในเรื่องของการผลิตไฟฟ้าจากพลังงานแสงอาทิตย์ ให้ผู้ประกอบการรับทราบข้อมูล เพื่อให้เกิดความมั่นใจในการนำไปพัฒนา และวางแผนการลงทุนในอนาคต

ดร.ศิริ กล่าวว่า ปัจจุบันประเทศไทยมีการติดตั้งโซลาร์เซลล์ไปแล้วทั้งสิ้น 3,449 MW (ข้อมูล ธ.ค.2561) ประกอบด้วย solar farm, solar PV rooftop และโครงการต่างๆ ของภาครัฐ ซึ่งกระทรวงพลังงานได้มีการส่งเสริมและสนับสนุนการผลิตไฟฟ้าจากพลังงานแสงอาทิตย์ ติดตั้งไปแล้ว 3,250 MW จากเป้าหมายการผลิตไฟฟ้าจากพลังงานแสงอาทิตย์ 6,000 MW ตามแผน PDP 2015 ทำให้ยังคงเหลืออีก 2,750 MW ต่อมาได้จัดทำแผน PDP 2018 โดยมีเป้าหมายการผลิตไฟฟ้าจากพลังงานแสงอาทิตย์เพิ่มขึ้นอีก 12,725 MW ในอีก 18 ปี ข้างหน้า โดยแบ่งแยกเป็น 2 ส่วนใหญ่ๆ คือ โซลาร์ภาคประชาชน 10,000 MW และจากการไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทยในโครงการผลิตไฟฟ้าเซลล์แสงอาทิตย์บนทุ่นลอยน้ำ 2,725 MW ทั้งมีการมอบหมายให้ กกพ. พิจารณากำหนดหลักเกณฑ์ในกรณีการไฟฟ้ารับซื้อไฟฟ้าส่วนที่เหลือจากที่ใช้เองจากครัวเรือนต่างๆ ด้วย เพื่อให้สร้างความเข้าใจที่ตรงกันทุกฝ่าย นำมาซึ่งการบรรลุเป้าหมายที่วางไว้
ทั้งนี้ กระทรวงพลังงาน ยังได้มีการดำเนินการส่งเสริมพลังงานแสงอาทิตย์เพื่อชุมชน เช่น โครงการระบบสูบน้ำพลังงานแสงอาทิตย์ โดยติดตั้งแล้วเสร็จ 1,087 แห่ง กำลังจะติดตั้งเพิ่มเติมอีก 1,446 แห่งในปี 2562 นอกจากนี้ยังมีการส่งเสริมโครงการระบบผลิตไฟฟ้าพลังงานแสงอาทิตย์ในโรงเรียนห่างไกล 439 แห่ง, และโครงการระบบผลิตไฟฟ้าพลังงานแสงอาทิตย์ในโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลที่ห่างไกล 239 แห่ง

ดร.วีรพัฒน์ เกียรติเฟื่องฟู ผู้อำนวยการสำนักนโยบายไฟฟ้า สำนักงานนโยบายและแผนพลังงาน กล่าวว่า ครม. เมื่อวันที่ 12 มีนาคม 2562 รับทราบมติ กพช. ที่เห็นชอบ PDP 2018 ซึ่งตาม PDP 2018 พบว่า ตั้งแต่ปี 2568 มีความจำเป็นต้องลงทุนโรงไฟฟ้าเพิ่มเติมเพื่อรองรับความต้องการใช้ไฟฟ้าของประเทศ โดยมีการพิจารณาการลงทุนเพิ่มนั้นจะพิจารณาเป็นรายภาค สำหรับโรงไฟฟ้าพลังงานหมุนเวียนนั้นจะมีการพิจารณาศักยภาพเชื้อเพลิงรายพื้นที่นั้นๆ โดยตาม PDP 2018 ในระยะยาวมีเป้าหมายกำลังการผลิตติดตั้งรวม 18,175 MW โดยเป็นการผลิตไฟฟ้าจากพลังงานแสงอาทิตย์รวมประมาณ 12,275 MW แบ่งเป็น โซลาร์ภาคประชาชน 10,000 MW และ Floating Solar อีกประมาณ 2,725 MW

นายคมกฤช ตันตระวาณิชย์ รองเลขาธิการสำนักงานคณะกรรมการกำกับกิจการพลังงาน (กกพ.) กล่าวว่า ในระยะแรก กกพ. จักมีโครงการทดลอง โซล่าร์ภาคประชาชน สำหรับภาคครัวเรือน ไม่เกิน 100 MW ภายในปี 2562 ด้วยราคารับซื้อไฟฟ้าส่วนเกินในอัตราไม่เกิน 1.68 บาท/หน่วยในระยะเวลารับซื้อส่วนเกิน 10 ปี โดยผู้เข้าร่วมโครงการต้องมีการเปลี่ยนมิเตอร์เป็นแบบสองทางด้วย ทั้งนี้ กกพ.จะมีการจัดรับฟังความเห็นร่างระเบียบการรับซื้อไฟฟ้าฯตั้งแต่ 16 มีนาคม 2562 – 1 เมษายน 2562 หลังจากนั้นการไฟฟ้าฝ่ายจำหน่ายจะเปิดลงทะเบียนและรับข้อเสนอโครงการข่วงเดือน พฤษภาคม – กรกฎาคม 2562 และจะมีการประกาศรายชื่อผู้ที่ผ่านการพิจารณา รวมทั้งลงนามในสัญญาซื้อขายไฟฟ้าให้แล้วเสร็จภายในตุลาคม 2562

นายเทพรัตน์ เทพพิทักษ์ รองผู้ว่าการการไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทย กล่าวว่า ตามแผน PDP2015 กฟผ. จะเริ่มโครงการนำร่อง Hydro Floating Solar Hybrid ที่เขื่อนสิริธร ขนาดกำลังการผลิต 45 MW โดยมีแผนเปิดดำเนินงาน (COD) ภายในธันวาคม 2563 ในพื้นที่โครงการวม 760 ไร่ เป็นพื้นที่ผิวน้ำประมาณ 45 ไร่สำหรับติดตั้งแผงโซล่าร์เซลล์ ไม่รวมส่วนยึดโยงต่างๆ โดยปัจจุบัน กฟผ. อยู่ระหว่างการออกแบบโครงการเบื้องต้น ซึ่งส่วนประกอบสำคัญได้แก่ (1) Double Glass Type PV Panel (2) HDPE Pontoon (3) ระบบยึดโยงที่รองรับระดับน้ำที่มีการเปลี่ยนแปลงขึ้นลงอย่างมา โดยใช้แบบ Bottom Anchoring ที้งนี้ กฟผ. มีแผนการเปิดประมูลจัดซื้อจัดจ้างในเดือนพฤษภาคม 2562

นายวิรัช มณีขาว ผู้อำนวยการกลุ่มออกแบบมาตรฐานและทดสอบ กรมพัฒนาพลังงานทดแทนและอนุรักษ์พลังงาน กล่าวว่า ที่ผ่านมากระทรวงพลังงานมีโครงการหลัก 2 โครงการได้แก่
(1) โครงการสูบน้ำพลังงานแสงอาทิตย์ในเขตพื้นที่ชนบทตั้งแต่ปีงบประมาณ 2546 – 2558 รวม 100 แห่ง ระบบละไม่น้อยกว่า 2 kW
(2) โครงการสูบน้ำพลังงานแสงอาทิตย์สู้ภัยแล้งตั้งแต่ปีงบประมาณ 2559 ซึ่งรวมดำเนินการแล้ว 846 แห่ง ระบบละไม่น้อยกว่า 2.5 kW ครอบคลุม 56 จังหวัด

และนายธนธัช จังพานิช ผู้จัดการสำนักงานบริหารกองทุนเพื่อส่งเสริมการอนุรักษ์พลังงาน กล่าวว่า กิจกรรมส่งเสริมการพัฒนาคุณภาพขีวิตของประชาชนและลดความเหลื่อมล้ำด้วยพลังงานแสงอาทิตย์ (สนับสนุนโครงการไทยนิยมยั่งยืน) มีวัตถุประสงค์ (1) ระบบสูบน้ำพลังงานแสงอาทิตย์เพื่อลดต้นทุนและขยายโอกาสทางการเกษตร (2) ระบบผลิตไฟฟ้าพลังงานแสงอาทิตย์ เพื่อสร้างโอกาสการเข้าถึงแหล่งเรียนรู้ทางไกลและนวัตกรรมทางการศึกษา (3) ระบบผลิตไฟฟ้าพลังงานแสงอาทิตย์ เพื่อพัฒนาคุณภาพชีวิตของประชาชนในชนบท โดยมีกำลังการผลิตรวมของทั้ง 3 ระบบเป็น 7,709 kW และ 13,407 kW สำหรับผลการดำเนินงานปีงบประมาณ 2561 (เพิ่มเติม) และปีงบประมาณ 2562 ตามลำดับ

ก.พลังงาน จับมือ ก.พาณิชย์ เดินหน้าดูดซับสต๊อกน้ำมันปาล์มดิบ สร้างสมดุลย์ราคาช่วยเหลือเกษตรกรปาล์มน้ำมันต่อเนื่อง

ในวันนี้ (1 มี.ค. 2562) ณ ห้องประชุมชั้น 15 กระทรวงพลังงาน  ดร. ศิริ จิระพงษ์พันธ์ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงพลังงาน ได้ร่วมกับ นางสาวชุติมา บุณยประภัศร รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงพาณิชย์ ประชุมกับหน่วยราชการของทั้ง     2 กระทรวง การไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทย (กฟผ.) และผู้ค้าน้ำมันตามมาตรา 7 เพื่อติดตามผลการดำเนินงานตามมาตรการปรับสมดุลน้ำมันปาล์มของรัฐบาลในการกระตุ้นให้ราคาทลายปาล์มสดอยู่ในระดับไม่ต่ำกว่า 3 บาท/กก อย่างต่อเนื่อง โดยมีผลการประชุมสรุปได้ดังนี้

  1. เพื่อรณรงค์เพิ่มการใช้น้ำมัน B20 ให้มากยิ่งขึ้นอย่างต่อเนื่อง คณะกรรมการบริหารนโยบายพลังงาน ในการประชุมเมื่อวันที่ 25 กุมภาพันธ์ 2562 ได้มีมติขยายระยะเวลาการใช้เงินกองทุนน้ำมันเชื้อเพลิงสร้างส่วนลดราคาน้ำมันดีเซล B20 ให้ต่ำกว่าน้ำมันดีเซลเกรดทั่วไป ลิตรละ 5 บาท ต่อไปอีก 3 เดือน ตั้งแต่วันที่ 1 มีนาคม 62 ถึง 31 พฤษภาคม 62
  2. ให้ผู้ค้าน้ำมันตามมาตรา 7 เร่งขยายเครือข่ายสถานีบริการ (ปั๊มน้ำมัน) ที่มีหัวจ่ายน้ำมันดีเซล B20 เพิ่มเติม จากปัจจุบันที่มีจำหน่ายแล้ว รวม 42 แห่ง (ประกอบด้วย บมจ. ปตท.น้ำมันและค้าปลีก 5 แห่ง บมจ.บางจาก 21 แห่ง บจ.ซัสโก้ ดิลเลอร์ 1 แห่ง และบมจ.ซัสโก้ 15 แห่ง) นอกจากนี้ ยังได้รับแจ้งจาก บจ.เชลล์แห่งประเทศไทย และ บมจ.พีทีจี เอ็นเนอร์ยี่ ที่มีแผนงานจะเริ่มจำหน่ายน้ำมัน B20 ในสถานีบริการ ภายในเดือนมีนาคม 62 นี้
  3. รับทราบรายงานสถิติยอดจำหน่ายน้ำมันดีเซล B20 ในเดือนกุมภาพันธ์ 62 ที่กว่า 15 ล้านลิตร ซึ่งเพิ่มขึ้นเท่าตัวจากยอดจำหน่ายประมาณ 8 ล้านลิตรในเดือนมกราคม โดยกระทรวงพลังงานได้ตั้งเป้าหมายการจำหน่ายน้ำมัน B20 ในเดือนมีนาคมที่ 30 ล้านลิตร และจะเพิ่มเป็น 90 ล้านลิตร/เดือน ภายในเดือนพฤษภาคม 2562 นี้ ซึ่งคาดว่าจะช่วยเพิ่มการดูดซับน้ำมันปาล์มดิบได้สูงถึงประมาณ 1.6 ล้านตัน/ปี
  4. รับทราบความคืบหน้าในการจัดหาน้ำมันปาล์มดิบของการไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทย (กฟผ.) เพื่อใช้เป็นเชื้อเพลิงในการผลิตไฟฟ้าที่โรงไฟฟ้าบางปะกง ซึ่งปัจจุบันได้ทำสัญญาซื้อน้ำมันปาล์มดิบกับโรงสกัดน้ำมันปาล์มผู้ขาย 23 ราย รวมปริมาณน้ำมันปาล์มดิบตามสัญญาเท่ากับ 118,000 ตัน โดยมีกำหนดการจัดส่งอย่างต่อเนื่องในอัตรา 30,000 ตัน/เดือน และได้จัดส่งจากโรงสกัดน้ำมันปาล์มผู้ขายถึงโรงไฟฟ้าบางปะกงแล้ว 24,000 ตัน และใช้เป็นเชื้อเพลิงแล้ว 16,000 ตัน ทั้งนี้ได้ร่วมมือกับกรมการค้าภายใน กระทรวงพาณิชย์ จัดหาน้ำมันปาล์มดิบครบ แล้ว 160,000 ตัน ในวันที่ 1 มีนาคม 62 รวมทั้งติดตามให้มั่นใจว่าโรงสกัดน้ำมันปาล์มผู้ขายจะรับซื้อทลายปาล์มสดจากเกษตรกรสวนปาล์ม ในราคา 20-3.24 บาท/กก ตามสัญญา

ปลัดกระทรวงพลังงาน พร้อมด้วยผู้บริหารระดับสูงจากกระทรวงพลังงาน ประชุมและหารือกับกระทรวงอุตสาหกรรม

วันนี้ (21 ก.พ.) นายกุลิศ สมบัติศิริ ปลัดกระทรวงพลังงาน พร้อมด้วยผู้บริหารระดับสูงจากกระทรวงพลังงาน อาทิ ดร.ทวารัฐ สูตะบุตร ผู้ตรวจราชการกระทรวงพลังงาน นายสราวุธ แก้วตาทิพย์ รองอธิบดีกรมเชื้อเพลิงธรรมชาติ(ชธ.) นางอุษา ผ่องลักษณา รองอธิบดีกรมธุรกิจพลังงาน(ธพ.) นายวัฒนพงษ์ คุโรวาท รองผู้อำนวยการสำนักงานนโยบายและแผนพลังงาน(สนพ.) นายวันชัย บันลือสินธุ์ รองอธิบดีกรมพัฒนาพลังงานทดแทนและอนุรักษ์พลังงาน(พพ.) ร่วมประชุมและหารือกับนายพสุ โลหารชุน ปลัดกระทรวงอุตสาหกรรม และคณะผู้บริหาร ณ ห้องประชุม อก. 1 อาคารสำนักงานปลัดกระทรวงอุตสาหกรรม

ทั้งนี้ การประชุมร่วมระหว่างกระทรวงพลังงาน และกระทรวงอุตสาหกรรม มีประเด็นการหารือที่สำคัญๆ ได้แก่ แนวทางการพัฒนายานยนต์ไฟฟ้า การบริหารจัดการขยะอุตสาหกรรมจากภาคพลังงานให้เกิดประโยชน์สูงสุดรวมถึงการนำไปผลิตพลังงาน เช่น แผงโซลาร์เซลล์ แบตเตอรี่ แท่นขุดเจาะปิโตรเลียมที่หมดอายุ รวมทั้งความร่วมมือการอนุรักษ์พลังงานในภาคอุตสาหกรรม เป็นต้น

ปลัดกระทรวงพลังงาน พร้อมด้วยผู้บริหารระดับสูงจากกระทรวงพลังงาน ประชุมและหารือกับกระทรวงเกษตรและสหกรณ์

วันนี้ (18 ก.พ.) นายกุลิศ สมบัติศิริ ปลัดกระทรวงพลังงาน พร้อมด้วยผู้บริหารระดับสูงจากกระทรวงพลังงาน อาทิ นางเปรมฤทัย วินัยแพทย์ อธิบดีกรมเชื้อเพลิงธรรมชาติ(ชธ.) นางสาวนันธิกา ทังสุพานิช อธิบดีกรมธุรกิจพลังงาน (ธพ.) นายวันชัย บันลือสินธุ์ รองอธิบดีกรมพัฒนาพลังงานทดแทนและอนุรักษ์พลังงาน(พพ.) ร่วมประชุมและหารือกับนายอนันต์ สุวรรณรัตน์ ปลัดกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ และคณะ ฯ ณ ห้องประชุม 134 สำนักงานปลัดกระทรวงเกษตรและสหกรณ์

ทั้งนี้ การประชุมร่วมระหว่างกระทรวงพลังงาน และกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ มีประเด็นการหารือที่สำคัญ ได้แก่ การสร้างต้นแบบชุมชนเกษตรกรที่ประยุกษ์ใช้เทคโนโลยีด้านพลังงาน เช่น ระบบสูบน้ำแสงอาทิตย์ในพื้นที่ไฟฟ้าเข้าไม่ถึง การใช้พลังงานทดแทนในฟาร์ม/การเกษตร ระบบ Smart Farming การนำผลผลิตทางการเกษตรเป็นพลังงาน รวมถึงการใช้ประโยชน์ในพื้นที่สปก. เพื่อการพัฒนาพลังงานทดแทน เป็นต้น

รัฐมนตรีว่าการกระทรวงพลังงาน เป็นประธานในพิธีลงนามสัญญาซื้อขายน้ำมันปาล์มดิบระหว่างการไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทย (กฟผ.) กับผู้จำหน่ายน้ำมันปาล์มดิบ

ก.พลังงาน ชูความร่วมมือกฟผ. กรมการค้าภายใน และผู้จำหน่าย 22 ราย ลงนามซื้อขายน้ำมันปาล์มดิบ 83,000 ตัน เพื่อเร่งปรับสมดุลและพยุงราคาน้ำมันปาล์มช่วยเหลือเกษตรกรต่อเนื่อง

ดร. ศิริ จิระพงษ์พันธ์ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงพลังงาน เป็นประธานในพิธีลงนามสัญญาซื้อขายน้ำมันปาล์มดิบระหว่างการไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทย (กฟผ.) กับผู้จำหน่ายน้ำมันปาล์มดิบ จำนวน 22 ราย ในปริมาณรวม 83,000 ตัน ซึ่งเป็นส่วนหนึ่งของการดำเนินการตามมาตรการปรับสมดุลน้ำมันปาล์มในประเทศของรัฐบาล โดยมีนางจินตนา ชัยวรรณาการ ผู้ช่วยรัฐมนตรีประจำสำนักนายกรัฐมนตรี กระทรวงพาณิชย์ นายวิชัย โภชนกิจ อธิบดีกรมการค้าภายใน นายยงยุทธ จันทรโรทัย อธิบดีกรมพัฒนาพลังงานทดแทนและอนุรักษ์พลังงาน นายวิบูลย์ ฤกษ์ศิระทัย ผู้ว่าการ กฟผ. และผู้บริหาร กฟผ. เข้าร่วมในพิธี ณ สำนักงานใหญ่ กฟผ.

โดยความร่วมมือกฟผ. กับกรมการค้าภายในครั้งนี้ สามารถดำเนินการได้ตามที่รัฐบาลมีมาตรการปรับสมดุลน้ำมันปาล์มในประเทศเพื่อช่วยเหลือเกษตรกรแก้ไขปัญหาราคาปาล์มน้ำมันตกต่ำ ซึ่งให้กฟผ.รับซื้อน้ำมันปาล์มดิบจำนวน 160,000 ตัน ในราคากิโลกรัมละ 18 บาท เพื่อใช้ในการผลิตกระแสไฟฟ้าสำหรับโรงไฟฟ้าพลังความร้อนบางปะกง หน่วยที่ 3 เป็นไปได้ตามแผนด้วยดี และการนำน้ำมันปาล์มดิบมาใช้ในการผลิตไฟฟ้า จะไม่กระทบต่อค่าไฟฟ้าของประชาชนแต่อย่างใด เนื่องจากค่าใช้จ่ายในการดำเนินการจะไม่นำไปคิดรวมกับค่าเอฟที

สำหรับผู้จำหน่ายน้ำมันปาล์มดิบทั้ง 22 ราย เป็นผู้ที่ผ่านการคัดเลือกจากกรมการค้าภายในว่ามีคุณสมบัติครบถ้วนตามหลักเกณฑ์ที่คณะอนุกรรมการบริหารและกำกับดูแลมาตรการปรับสมดุลน้ำมันปาล์มในประเทศกำหนด คือ ต้องมีสต๊อกน้ำมันปาล์มดิบขั้นต่ำไม่น้อยกว่าร้อยละ 50 ของปริมาณที่เสนอจำหน่าย และเป็นผู้มีความสามารถในการขนส่ง เก็บรักษา และส่งมอบน้ำมันปาล์มดิบให้กับ กฟผ. โดยผู้ที่มีสิทธิ์เสนอจำหน่ายน้ำมันปาล์มดิบได้เสนอราคารับซื้อผลปาล์มน้ำมันจากเกษตรกรที่ขึ้นทะเบียนไว้กับกรมส่งเสริมการเกษตร ตั้งแต่กิโลกรัมละ 3.10-3.25 บาท ซึ่งสามารถช่วยพยุงราคาผลปาล์มน้ำมันให้สูงกว่า 3 บาทต่อกิโลกรัมตามแผนที่วางไว้

ก.พลังงาน ยืนยันใช้น้ำมันดีเซล คุณภาพยูโร 5 ลดปัญหาฝุ่นละออง PM 2.5 อย่างยั่งยืน

เพื่อเร่งรัดมาตรการลดปัญหาฝุ่นละอองขนาดเล็กเกินมาตรฐานหรือ PM 2.5 โดยเร็วและยั่งยืน กระทรวงพลังงานโดยรัฐมนตรีว่าการกระทรวงพลังงาน (ดร.ศิริ จิระพงษ์พันธ์)  จึงได้จัดการประชุมร่วมกับผู้ค้าน้ำมันเชื้อเพลิง และผู้ประกอบการโรงกลั่นน้ำมัน ในการพิจารณามาตรการร่วมมือกันลดปริมาณฝุ่นละอองขนาดเล็ก PM 2.5 จากรถยนต์ ซึ่งได้ข้อสรุปยืนยันว่า ผู้ประกอบการโรงกลั่นน้ำมันในประเทศทั้ง 6 ราย พร้อมที่จะผลิตน้ำมันดีเซลคุณภาพยูโร 5 ได้ทั้งหมดภายในปี 2566 โดยในระหว่างที่ยังไม่สามารถผลิตน้ำมันดีเซลคุณภาพยูโร 5 ได้เพียงพอ ก็จะร่วมมือกันในมาตรการเร่งด่วน ดังนี้

  • พิจารณาหามาตรการสร้างแรงจูงใจ เพื่อให้ผู้ประกอบการโรงกลั่นน้ำมันในประเทศ เกิดการจำหน่ายน้ำมันดีเซลคุณภาพยูโร 5 ให้แพร่หลายยิ่งขึ้น
  • ศึกษาแนวทางการปรับลดสัดส่วนกำมะถันในน้ำมันดีเซล มาตรฐานยูโร 4 โดยให้ลดในระดับต่ำสุดเท่าที่จะดำเนินการได้ เพื่อให้มาตรฐานน้ำมันเชื้อเพลิงสูงขึ้น ลดการปล่อยมลพิษในอากาศ โดยคาดว่าจะมีผลการศึกษาภายในสิ้นเดือนกุมภาพันธ์ 2562 นี้ ซึ่งเบื้องต้น จะศึกษาถึงแนวทางการลด จากค่ามาตรฐานเดิม 50 พีพีเอ็มซัลเฟอร์ ลดลงเหลือประมาณ 30 พีพีเอ็มซัลเฟอร์ ซึ่งจะช่วยรักษาคุณภาพอากาศให้ดียิ่งขึ้นต่อไป
  • เร่งรณรงค์เพิ่มการใช้น้ำมันดีเซลเกรดพิเศษ B20 ให้มากยิ่งขึ้น โดยเตรียมความพร้อมถึงการทดสอบในกลุ่มรถยนต์ทั่วไป จากปัจจุบันที่มีการใช้เฉพาะในกลุ่มรถบรรทุก รถโดยสารขนาดใหญ่ และเรือโดยสารสาธารณะ ว่าผลการทดสอบ B20 ไม่มีผลต่อเครื่องยนต์ และค่ายรถยนต์ให้การยอมรับมาตรฐาน โดยขณะนี้จากผลทดสอบการใช้ B20 ในรถของขสมก. จำนวน 2,075 คัน พบว่าสามารถลดปัญหาการปล่อยควันดำไอเสีย ได้สูงถึงร้อยละ 50 ซึ่งนอกจากจะช่วยบรรเทาปัญหาฝุ่นละอองขนาดเล็ก PM 5 ดังกล่าวแล้ว ยังเป็นการช่วยรักษาสมดุลย์ราคาปาล์มน้ำมัน และช่วยเหลือเกษตรกรได้อีกทางหนึ่งด้วย

ปลัดกระทรวงพลังงาน เป็นประธานในการประชุม (ร่าง)แผนแม่บทของกระทรวงพลังงาน

5 ก.พ.62 กระทรวงพลังงาน กรุงเทพฯ นายกุลิศ สมบัติศิริ ปลัดกระทรวงพลังงาน เป็นประธานในการประชุม (ร่าง)แผนแม่บทของกระทรวงพลังงาน ณ ห้องประชุม1 ชั้น 15 กระทรวงพลังงาน โดยมีผู้บริหาร ข้าราชการ และเจ้าหน้าที่ที่เกี่ยวข้อง เข้าร่วมประชุมโดยพร้อมเพียง

ปลัดกระทรวงพลังงาน พร้อมด้วยคณะผู้บริหารกระทรวงพลังงาน ร่วมลงนามถวายพระพร พระเจ้าวรวงศ์เธอพระองค์เจ้าโสมสวลี พระวรราชาทินัดดามาตุ

วันที่ 5 กุมภาพันธ์ 2562 นายกุลิศ สมบัติศิริ ปลัดกระทรวงพลังงาน พร้อมด้วยคณะผู้บริหารกระทรวงพลังงาน ร่วมลงนามถวายพระพร พระเจ้าวรวงศ์เธอพระองค์เจ้าโสมสวลี พระวรราชาทินัดดามาตุ ขอให้ทรงหายจากพระอาการประชวร ณ อาคารภูมิสิริมังคลานุสรณ์ โรงพยาบาลจุฬาลงกรณ์

Page 10 of 15
1 8 9 10 11 12 15