รมว.พน. ลงพื้นที่ตรวจราชการ จ.อุดรธานี หนุนกองทุนหมู่บ้าน

“สุพัฒนพงษ์” ลงพื้นที่ตรวจราชการ จ.อุดรธานี
หนุนกองทุนหมู่บ้าน พร้อมยกระดับมาตรฐานตู้น้ำมันหยอดเหรียญใช้กระตุ้นเศรษฐกิจฐานราก

รองนายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรีว่าการกระทรวงพลังงานลงพื้นที่ตรวจราชการ จ.อุดรธานี ชมการบริหารจัดการกองทุนหมู่บ้าน บ้านท่าสี อ.หนองแสง ปลื้มตู้น้ำมันหยอดเหรียญสร้างกำไร เพิ่มคุณภาพชีวิต ลดความเหลื่อมล้ำและเป็นพลังงานที่ทุกคนเข้าถึงได้ หวังยกระดับสร้างมาตรฐานความปลอดภัยและคุณภาพน้ำมัน เชื่อเป็นอีกหนึ่งโมเดลกระตุ้นเศรษฐกิจฐานราก
วันนี้ (9 ธ.ค. 63) นายสุพัฒนพงษ์ พันธ์มีเชาว์ รองนายกรัฐมนตรี และรัฐมนตรีว่าการกระทรวงพลังงาน ลงพื้นที่ตรวจราชการ จังหวัดอุดรธานี โดยภารกิจหนึ่งคือตรวจเยี่ยมการบริหารจัดการกองทุนหมู่บ้านท่าสี หมู่ 3 ต.แสงสว่าง อ.หนองแสง ที่มีสมาชิก 143 คน มีทุนหมุนเวียนกว่า 4.6 ล้านบาท ซึ่งกองทุนดังกล่าวมีการบริหารงานในงบลงทุนโครงการเพื่อสร้างผลกำไร ออกเป็น 4 โครงการสำคัญ คือ 1.ตู้น้ำมันหยอดเหรียญ 2.ตู้เติมเงิน 3.ร้านค้าประชารัฐ และ 4.กองทุนปุ๋ย เพื่อพัฒนาคุณภาพชีวิตของสมาชิกในโครงการและประชาชนในหมู่บ้าน ซึ่งมีผลประกอบการที่น่าพอใจ คือโครงการตู้นำมันหยอดเหรียญที่สามารถสร้างผลกำไรในระยะ 3 ปีที่ผ่านมา เป็นเงินมากกว่า 100,000 บาท
โดยในส่วนของการประกอบกิจการตู้น้ำมันหยอดเหรียญนั้น ตามกฎหมายว่าด้วยการควบคุมน้ำมันเชื้อเพลิง เป็นสถานีบริการน้ำมันประเภทหนึ่งเรียกว่าสถานีบริการน้ำมันประเภท ง โดยส่วนใหญ่จะตั้งอยู่ในชุมชนที่มีพื้นที่อยู่ไกลจากสถานีบริการน้ำมันหลัก ให้บริการคนในพื้นที่ เกษตรกร หรือนักท่องเที่ยวที่เดินทางสัญจรไปมา ซึ่งปัจจุบันภาครัฐได้มีการส่งเสริมให้เกิดการยกระดับปั๊มน้ำมันหยอดเหรียญทั้งในเรื่องมาตรฐานความปลอดภัยและคุณภาพน้ำมัน เพื่อหวังเป็นส่วนหนึ่งในการกระตุ้นเศรษฐกิจฐานราก สร้างงาน สร้างอาชีพให้เกิดความยั่งยืนในชุมชน สำหรับ ตู้น้ำมันหยอดเหรียญนั้นภายในจะมีอุปกรณ์ไฟฟ้าซึ่งจะต้องเป็นไปตามมาตรฐานความปลอดภัย สถานที่ตั้งตู้น้ำมันหยอดเหรียญ จะต้องเป็นไปตามกฎหมายกำหนด และที่สำคัญก่อนจะประกอบกิจการจะต้องแจ้งต่อพนักงานเจ้าหน้าที่ โดยในเขตกรุงเทพมหานครแจ้งต่อกรมธุรกิจพลังงาน ในต่างจังหวัดแจ้งต่อองค์การปกครองส่วนท้องถิ่น(เทศบาล,อบต.) และจะต้องจดทะเบียนหัวจ่ายตามมาตรา11 ที่สำนักงานพลังงานจังหวัด ซึ่งการประกอบกิจการจะต้องปฏิบัติให้ถูกต้องครบถ้วนตามกฏหมายเพื่อความปลอดภัย
“ผมยินดีที่ภาคพลังงาน อย่างสเกลเล็กๆแบบตู้น้ำมันหยอดเหรียญนี้ ได้เข้ามามีส่วนในการสร้างเม็ดเงิน ต่อยอดกองทุนหมู่บ้านได้ อำนวยความสะดวกให้กับชุมชนและเกษตรกรได้เข้าถึงพลังงานอย่างทั่วถึง ซึ่งที่ผ่านมาได้รับรายงานว่าตำบลหรือหมู่บ้านที่ได้รับจัดสรรงบประมาณก็มีการรวมตัวกันเพื่อจัดหาตู้น้ำมันหยอดเหรียญมาให้บริการสมาชิกในตำบล หรือหมู่บ้าน เนื่องจากชาวบ้านเห็นร่วมกันว่าเป็นประโยชน์ต่อสมาชิกในพื้นที่ และยังสามารถสร้างงาน สร้างรายได้ให้กับคนในชุมชน สอดคล้องกับนโยบายของรัฐบาล ในส่วนของกระทรวงพลังงานจะพยายามยกระดับสร้างมาตรฐานของตู้น้ำมัน ให้มีความปลอดภัย มีคุณภาพให้ถูกต้องตามกฎหมาย ซึ่งมอบหมายกรมธุรกิจพลังงานและสำนักงานพลังงานจังหวัดทั่วประเทศเข้าไปดูแล ส่งเจ้าหน้าที่ตรวจสอบความปลอดภัย 2 ครั้งต่อปี” นายสุพัฒนพงษ์ กล่าว

“Zero Tolerance คนไทยไม่ทนต่อการทุจริต”

วันนี้ (วันที่ 9 ธันวาคม 2563) ศูนย์ปฏิบัติการต่อต้านการทุจริต กระทรวงพลังงาน ได้จัดกิจกรรมรณรงค์ประชาสัมพันธ์เนื่องในวันต่อต้านคอร์รัปชันสากล (ประเทศไทย) ภายใต้แนวคิด “Zero Tolerance คนไทยไม่ทนต่อการทุจริต” โดยมีนายกุลิศ  สมบัติศิริ  ปลัดกระทรวงพลังงาน และนายสมบูรณ์ หน่อแก้ว หัวหน้าศูนย์ปฏิบัติการต่อต้านการทุจริต  พร้อมด้วยผู้บริหารระดับสูง ร่วมรณรงค์ประชาสัมพันธ์ภายในหน่วยต่างๆ ในสังกัดกระทรวงพลังงาน  เพื่อเป็นการแสดงออกเชิงสัญลักษณ์ในการต่อต้านการทุจริตคอร์รัปชัน รวมทั้งกระตุ้นจิตสำนึกให้ข้าราชการและเจ้าหน้าที่กระทรวงพลังงานไม่ยอมรับและไม่ทนต่อการทุจริต อันจะนำไปสู่การเป็นองค์กรที่มีความโปร่งใสและเป็นที่ยอมรับต่อไป

 

การขับเคลื่อนแผนปฏิรูปประเทศสู่การปฏิบัติ

เอกสารแนบ 1 หนังสือ นร 1112/ว6938 คลิกที่นี่

เอกสารแนบ 1 PPT worshop คลิกที่นี่

เอกสารแนบ 2 ปฏิทินสำคัญ คลิกที่นี่

เอกสารแนบ 3 แบบฟอร์ม Big Rock คลิกที่นี่

เอกสารแนบ 3 ร่างแผนปฏิรูปประเทศด้านพลังงาน คลิกที่นี่

เอกสารแนบ 4 ActionPlanปฏิรูป คลิกที่นี่

เอกสารแนบ 5 ทบทวนแผนปฏิรูปประเทศด้านพลังงาน คลิกที่นี่

รองปลัดกระทรวงพลังงาน เป็นตัวแทนมอบเงินให้แก่โรงพยาบาลสงฆ์

นายสมบูรณ์ หน่อแก้ว รองปลัดกระทรวงพลังงาน เป็นตัวแทนมอบเงินจำนวน 50,000 บาท จากการจัดแข่งขันกอล์ฟการกุศลเพื่อสวัสดิการ สำนักงานปลัดกระทรวงพลังงาน ให้แก่โรงพยาบาลสงฆ์ เพื่อใช้ประโยชน์ต่อไป (วันนี้ 8 ธ.ค. 63)

ปลัดกระทรวงพลังงานเยี่ยมชมบูธนิทรรศการ “พลังงานที่พ่อให้”

วันนี้ (5 ธ.ค. 63) นายกุลิศ สมบัติศิริ ปลัดกระทรวงพลังงาน พร้อมด้วยนายสมบูรณ์ หน่อแก้ว รองปลัดกระทรวงพลังงาน ได้ให้เกียรติเยี่ยมชมบูธกระทรวงพลังงาน ร่วมกับการไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทย และบริษัท ปตท. จำกัด (มหาชน) จัดนิทรรศการภายใต้แนวความคิด “พลังงานที่พ่อให้” เนื่องในวันคล้ายวันพระราชสมภพพระบาทสมเด็จพระบรมชนกาธิเบศร มหาภูมิพลอดุลยเดชมหาราช บรมนาถบพิตร วันชาติและวันพ่อแห่งชาติ 5 ธันวาคม 2563 นำเสนอเนื้อหาเกี่ยวกับพระอัจฉริยภาพของในหลวงรัชกาลที่ 9 ด้านพลังงานซึ่งยังประโยชน์ต่อประชาชนคนไทยทั่วประเทศ อาทิ เขื่อนพระราชา พลังแห่งสายน้ำสู่แสงสว่างของปวงประชา , พลังงานชีวภาพ…พลังแห่งพระปรีชาญาณ, พลังงานจากอ่าวไทย..สร้างเศรษฐกิจพัฒนาคุณภาพชีวิตคนไทย พร้อมทั้งจับฉลากมอบรางวัลให้กับผู้ที่ลงทะเบียน และผู้เล่นเกมตอบคำถามในบูธ โดยนิทรรศการ “พลังงานที่พ่อให้” จะมีตั้งแต่วันที่ 1-6 ธันวาคม 2563 เวลา 10.00 – 21.00 น. บริเวณถนนสนามไชย ฝั่งวัดโพธิ์

 

กระทรวงพลังานร่วมพิธีทำบุญตักบาตรถวายพระราชกุศล และพิธีวางพานพุ่ม เนื่องในวันคล้ายวันพระบรมราชสมภพ พระบาทสมเด็จพระบรมชนกาธิเบศร มหาภูมิพลอดุลยเดชมหาราช บรมนาถบพิตร

วันนี้ (5 ธ.ค. 63) นายสุพัฒนพงษ์ พันธ์มีเชาว์ รองนายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรีว่าการกระทรวงพลังงาน พร้อมด้วยนายกุลิศ สมบัติศิริ ปลัดกระทรวงพลังงาน เข้าร่วมในพิธีทำบุญตักบาตรถวายพระราชกุศล และพิธีวางพานพุ่ม เนื่องในวันคล้ายวันพระบรมราชสมภพ พระบาทสมเด็จพระบรมชนกาธิเบศร มหาภูมิพลอดุลยเดชมหาราช บรมนาถบพิตร วันชาติ และวันพ่อแห่งชาติ 5 ธันวาคม 2563 ณ ท้องสนามหลวง

ประกาศกระทรวงพลังงาน เรื่อง การเสนอชื่อบุคคลเพื่อรับการคัดเลือกเป็นกรรมการภาคประชาสังคม ของกระทรวงพลังงาน

กระทรวงพลังงานจะดำเนินการรับการเสนอชื่อบุคคลเพื่อรับการคัดเลือกเป็นกรรมการภาคประสังคม ของกระทรวงพลังงาน ตามแนวทางของแผนปฏิรูปประเทศด้านพลังงานซึ่งได้กำหนดให้มีการแต่งตั้งคณะกรรมการภาคประชาสังคม เพื่อทำหน้าที่ให้ข้อเสนอแนะ เป็นที่ปรึกษารัฐมนตรีว่าการกระทรวงพลังงาน ต่อการดำเนินการของคณะกรรมการต่าง ๆ  ของกระทรวงพลังงาน ศึกษาและเสนอแนะในเชิงนโยบายหรือการกำกับดูแล เพื่อเสนอมุมมองของผู้มีส่วนได้ส่วนเสียภาคประชาชน ภาคผู้ประกอบการ และภาควิชาการ

คุณสมบัติ

  1. มีสัญชาติไทย
  2. มีอายุไม่ต่ำกว่าสามสิบปีบริบูรณ์
  3. ไม่เป็นบุคคลล้มละลายหรือเคยเป็นบุคคลล้มละลายทุจริต
  4. ไม่เป็นคนไร้ความสามารถหรือคนเสมือนไร้ความสามารถ
  5. ไม่เคยเป็นผู้ต้องคำพิพากษาว่ากระทำความผิดทางอาญา หรือเป็นผู้ที่อยู่ระหว่างถูกดำเนินคดีอาญาในชั้นศาลนับแต่ศาลประทับรับฟ้อง เว้นแต่เป็นความผิดที่กระทำโดยประมาทหรือความผิดลหุโทษ
  6. ไม่เป็นผู้ถูกสั่งพักงานหรือสั่งให้ออกจากราชการไว้ก่อนหรือพักงาน เลิกจ้าง ไล่ออก ปลดออก หรือให้ออกจากราชการหรือออกจากงาน ในหน่วยงานของรัฐ หรือหน่วยงานของเอกชน เพราะทุจริตต่อหน้าที่หรือประพฤติชั่วอย่างร้ายแรง
  7. ไม่เป็นผู้ดำรงตำแหน่งทางการเมือง สมาชิกสภาท้องถิ่น หรือผู้บริหารท้องถิ่นกรรมการหรือผู้ดำรงตำแหน่งซึ่งรับผิดชอบการบริหารพรรคการเมืองที่ปรึกษาพรรคการเมืองหรือเจ้าหน้าที่ของพรรคการเมือง

ผู้ได้รับการเสนอชื่อจะต้องเป็นผู้ได้รับการเสนอชื่อและรับรองจากหน่วยงานหรือองค์กรที่มีส่วนได้ส่วนเสียด้านพลังงาน ใน 4 กลุ่ม ดังนี้

  1. กลุ่มผู้ใช้/ผู้บริโภคพลังงาน
  2. ผู้ผลิต/ผู้จำหน่ายพลังงาน
  3. ภาควิชาการ
  4. กรรมการหรือผู้ที่ได้รับมอบหมายจากคณะกรรมการด้านพลังงาน

อำนาจหน้าที่

  1. ให้คำปรึกษาและข้อเสนอแนะเชิงนโยบายต่อรัฐมนตรีว่าการกระทรวงพลังงานต่อการดำเนินการของคณะกรรมการแต่ละชุดของกระทรวงพลังงาน ติดตามการดำเนินงานตามนโยบายและรับทราบปัญหา พร้อมให้ข้อเสนอแนะ
  2. ปฏิบัติหน้าที่อื่น ๆ ตามที่รัฐมนตรีว่าการกระทรวงพลังงานมอบหมาย

วาระและแนวทางการทำงานของคณะกรรมการภาคประชาสังคม ของกระทรวงพลังงาน

  1. คณะกรรมการภาคประชาสังคม ของกระทรวงพลังงาน มีอายุไม่เกิน 3 ปี
  2. การให้คำปรึกษาและข้อเสนอแนะเชิงนโยบายต่อรัฐมนตรีว่าการกระทรวงพลังงานสามารถให้ดำเนินการเป็นรายบุคคล กลุ่มบุคคล หรือคณะกรรมการฯ โดยจะต้องจัดทำเป็นเอกสารส่งให้เลขานุการคณะกรรมการภาคประชาสังคม ของกระทรวงพลังงาน เพื่อนำเสนอต่อรัฐมนตรีว่าการกระทรวงพลังงานต่อไป

เอกสารที่ใช้ประกอบ

  1. รูปถ่ายหน้าตรง 2 นิ้ว ไม่สวมหมวก ไม่สวมแว่นตาดำ จำนวน 3 รูป ซึ่งถ่ายไว้ไม่เกิน 1 ปี นับจากวันที่ส่งใบสมัคร
  2. สำเนาบัตรประจำตัวประชาชนและทะเบียนบ้าน
  3. สำเนาหลักฐานแสดงวุฒิการศึกษาตามที่ปรากฏในแบบประวัติบุคคลฯ
  4. เอกสารอื่น ๆ (ถ้ามี) เช่น ใบเปลี่ยนชื่อ-สกุล และผลงานเชิงประจักษ์ในด้านพลังงานที่เกี่ยวข้อง

ติดต่อสอบถามข้อมูลเพิ่มเติม

ทั้งนี้ สามารถสอบถามรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ กองยุทธศาสตร์และแผนงาน สำนักงานปลัดกระทรวงพลังงาน ชั้น 23 ศูนย์เอนเนอร์ยี่คอมเพล็กซ์ อาคารบี ถนนวิภาวดีรังสิต แขวงจตุจักร เขตจตุจักร กรุงเทพมหานคร  10900 หมายเลขโทรศัพท์ 0 2140 7015  หรือ 0 2140 6284

 

ดาวน์โหลดประกาศกระทรวงพลังงาน เรื่อง การเสนอชื่อบุคคลฯ    คลิกที่นี่
ดาวน์โหลดใบสมัคร คลิกที่นี่

รองนายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรีว่าการกระทรวงพลังงาน ให้การต้อนรับคณะนักธุรกิจจากสภาธุรกิจสหรัฐอเมริกา – อาเซียน (US ASEAN Business Council: USABC)

เมื่อวันที่ 23 พฤศจิกายน 2563 กระทรวงพลังงานนำโดยนายสุพัฒนพงษ์ พันธ์มีเชาว์ รองนายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรีว่าการกระทรวงพลังงาน พร้อมด้วยบริษัท ปตท. จำกัด (มหาชน) การไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทย สำนักงานคณะกรรมการส่งเสริมการลงทุน (Board of Investment: BOI) และ สำนักงานคณะกรรมการนโยบายเขตพัฒนาพิเศษภาคตะวันออก ร่วมหารือกับคณะนักธุรกิจจากสภาธุรกิจสหรัฐอเมริกา – อาเซียน (USABC) โดยนายสุพัฒนพงษ์ พันธ์มีเชาว์ ได้ให้การต้อนรับคณะนักธุรกิจเป็นอย่างดี และแสดงความยินดีในการเข้าพบหารือและได้กล่าวเชิญชวนให้คณะนักลงทุนสหรัฐเข้ามาลงทุนในประเทศไทย โดยนักธุรกิจด้านพลังงานสหรัฐบริษัท อาทิ Chevron, Guardian Industry, Dow, Conoco Philips เป็นต้น ได้แสดงความยินดีในการลงทุนทางด้านพลังงานและพร้อมที่จะให้ความร่วมมือกับกระทรวงพลังงานในด้านต่าง ๆ รวมทั้งเรียนรู้การแลกเปลี่ยนด้านนวัตกรรมและเทคโนโลยีทางด้านพลังงานเพื่อพัฒนาอุตสาหกรรมพลังงานของไทย และกล่าวชื่นชมในการรับมือกับสถานการณ์ COVID-19 ซึ่งเป็นสิ่งที่สร้างความเชื่อมั่นและสามารถดึงดูดนักลงทุนต่างชาติให้เข้ามาลงทุนในประเทศไทย และสามารถกระตุ้นเศรษฐกิจไทยให้ฟื้นตัวได้โดยเร็ว พร้อมกันนี้ BOI ก็ได้นำเสนอนโยบายที่จัดทำขึ้นเพื่ออำนวยความสะดวกให้แก่นักลงทุนในการเข้ามาลงทุนในประเทศไทย อาทิ การจัดตั้ง International Business Center (IBC) เพื่อเป็นศูนย์กลางในการให้คำปรึกษาเกี่ยวกับข้อมูลการลงทุนในประเทศไทย กฎระเบียบ และการชำระภาษีทางธุรกิจต่าง ๆ และมาตรการ Smart Visa เพื่ออำนวยความสะดวกให้แก่นักลงทุนที่เดินทางมาประเทศไทยเพื่อการทำงาน

     

กระทรวงพลังงาน จัดกิจกรรมการบรรยายให้ความรู้สื่อมวลชน หัวข้อ “แนวทางการดำเนินการ แผนพัฒนากำลังผลิตไฟฟ้าของประเทศไทย พ.ศ.2561 – 2580 ฉบับปรับปรุงครั้งที่ 1

วันนี้ (6 พฤศจิกายน 2563) กระทรวงพลังงาน จัดกิจกรรมการบรรยายให้ความรู้สื่อมวลชน หัวข้อ “แนวทางการดำเนินการ แผนพัฒนากำลังผลิตไฟฟ้าของประเทศไทย พ.ศ.2561 – 2580 ฉบับปรับปรุงครั้งที่ 1 โดยได้รับเกียรติจาก นายกุลิศ สมบัติศิริ ปลัดกระทรวงพลังงาน นายกวิน ทังสุพานิช เลขานุการรัฐมนตรีว่าการกระทรวงพลังงาน และ นายวัฒนพงษ์ คุโรวาท ผู้อำนวยการสำนักงานนโยบายและแผนพลังงาน เป็นผู้บรรยาย ณ ห้องประชุม 9 ชั้น 15 ศูนย์เอนเนอร์ยี่คอมเพล็กซ์ กระทรวงพลังงาน โดยมีสื่อมวลชนเข้าร่วมรับฟังการบรรยายในครั้งนี้

 

การเสนอชื่อบุคคลเพื่อรับการคัดเลือกเป็นกรรมการภาคประชาสังคม ของกระทรวงพลังงาน

การเสนอชื่อบุคคลเพื่อรับการคัดเลือกเป็นกรรมการภาคประชาสังคม
ของกระทรวงพลังงาน

คุณสมบัติ

1. มีสัญชาติไทย

2.  มีอายุไม่ต่ำกว่าสามสิบปีบริบูรณ์

3.  ไม่เป็นบุคคลล้มละลายหรือเคยเป็นบุคคลล้มละลายทุจริต

4.  ไม่เป็นคนไร้ความสามารถหรือคนเสมือนไร้ความสามารถ

5.  ไม่เคยเป็นผู้ต้องคำพิพากษาว่ากระทำความผิดทางอาญา หรือเป็นผู้ที่อยู่ระหว่างถูกดำเนินคดีอาญาในชั้นศาลนับแต่ศาลประทับรับฟ้อง เว้นแต่เป็นความผิดที่กระทำโดยประมาทหรือความผิดลหุโทษ

6.  ไม่เป็นผู้ถูกสั่งพักงานหรือสั่งให้ออกจากราชการไว้ก่อนหรือพักงาน เลิกจ้าง ไล่ออก ปลดออก หรือให้ออกจากราชการหรือออกจากงาน ในหน่วยงานของรัฐ หรือหน่วยงานของเอกชน เพราะทุจริตต่อหน้าที่หรือประพฤติชั่วอย่างร้ายแรง

7.  ไม่เป็นผู้ดำรงตำแหน่งทางการเมือง สมาชิกสภาท้องถิ่น หรือผู้บริหารท้องถิ่นกรรมการหรือผู้ดำรงตำแหน่งซึ่งรับผิดชอบการบริหารพรรคการเมืองที่ปรึกษาพรรคการเมืองหรือเจ้าหน้าที่ของพรรคการเมือง

ผู้ได้รับการเสนอชื่อจะต้องเป็นผู้ได้รับการเสนอชื่อและรับรองจากหน่วยงานหรือองค์กรที่มีส่วนได้ส่วนเสียด้านพลังงาน ใน 4 กลุ่ม ดังนี้

1. กลุ่มผู้ใช้/ผู้บริโภคพลังงาน

2. ผู้ผลิต/ผู้จำหน่ายพลังงาน

3. ภาควิชาการ

4. กรรมการหรือผู้ที่ได้รับมอบหมายจากคณะกรรมการด้านพลังงาน

 

อำนาจหน้าที่

1. ให้คำปรึกษาและข้อเสนอแนะเชิงนโยบายต่อรัฐมนตรีว่าการกระทรวงพลังงานต่อการดำเนินการของคณะกรรมการแต่ละชุดของกระทรวงพลังงาน ติดตามการดำเนินงานตามนโยบายและรับทราบปัญหา พร้อมให้ข้อเสนอแนะ

2. ปฏิบัติหน้าที่อื่น ๆ ตามที่รัฐมนตรีว่าการกระทรวงพลังงานมอบหมาย

วาระและแนวทางการทำงานของคณะกรรมการภาคประชาสังคม ของกระทรวงพลังงาน

1.  คณะกรรมการภาคประชาสังคม ของกระทรวงพลังงาน มีอายุไม่เกิน 3 ปี
2. การให้คำปรึกษาและข้อเสนอแนะเชิงนโยบายต่อรัฐมนตรีว่าการกระทรวงพลังงานสามารถให้ดำเนินการเป็นรายบุคคล กลุ่มบุคคล หรือคณะกรรมการฯ โดยจะต้องจัดทำเป็นเอกสารส่งให้เลขานุการคณะกรรมการภาคประชาสังคม ของกระทรวงพลังงาน เพื่อนำเสนอต่อรัฐมนตรีว่าการกระทรวงพลังงานต่อไป

 

เอกสารที่ใช้ประกอบ

1.  รูปถ่ายหน้าตรง 2 นิ้ว ไม่สวมหมวก ไม่สวมแว่นตาดำ จำนวน 3 รูป ซึ่งถ่ายไว้ไม่เกิน 1 ปี นับจากวันที่ส่งใบสมัคร

2.  สำเนาบัตรประจำตัวประชาชนและทะเบียนบ้าน

3.  สำเนาหลักฐานแสดงวุฒิการศึกษาตามที่ปรากฏในแบบประวัติบุคคลฯ

4.  เอกสารอื่น ๆ (ถ้ามี) เช่น ใบเปลี่ยนชื่อ-สกุล และผลงานเชิงประจักษ์ในด้านพลังงานที่เกี่ยวข้อง

ติดต่อสอบถามข้อมูลเพิ่มเติม

ทั้งนี้ สามารถสอบถามรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ กองยุทธศาสตร์และแผนงาน สำนักงานปลัดกระทรวงพลังงาน ชั้น 23 ศูนย์เอนเนอร์ยี่คอมเพล็กซ์ อาคารบี ถนนวิภาวดีรังสิต แขวงจตุจักร เขตจตุจักร กรุงเทพมหานคร  10900 หมายเลขโทรศัพท์ 0 2140 7015  หรือ 0 2140 6284

 

ดาวน์โหลดประกาศกระทรวงพลังงาน เรื่อง การเสนอชื่อบุคคลฯ    คลิกที่นี่
ดาวน์โหลดใบสมัคร คลิกที่นี่

 

มติบอร์ดกองทุนเพื่อส่งเสริมการอนุรักษ์พลังงาน เห็นชอบ 6,500 ล้านบาท เพื่อขับเคลื่อนแผนและมาตรการ ปีงบประมาณ 2564

มติบอร์ดกองทุนเพื่อส่งเสริมการอนุรักษ์พลังงาน เห็นชอบ 6,500 ล้านบาท เพื่อขับเคลื่อนแผนและมาตรการ ปีงบประมาณ 2564
     นายกุลิศ สมบัติศิริ ปลัดกระทรวงพลังงาน เปิดเผยว่า ที่ประชุมคณะกรรมการกองทุนเพื่อส่งเสริมการอนุรักษ์พลังงาน ซึ่งมีนายสุพัฒนพงษ์ พันธ์มีเชาว์ รองนายกรัฐมนตรี และรัฐมนตรีว่าการกระทรวงพลังงาน เป็นประธาน เมื่อวันที่ 30 ตุลาคม 2563 ได้มีมติเห็นชอบการปรับปรุงแนวทาง หลักเกณฑ์ เงื่อนไข และลำดับความสำคัญของการใช้จ่ายเงินกองทุนเพื่อส่งเสริมการอนุรักษ์พลังงาน ปีงบประมาณ 2564 วงเงิน 6,500 ล้านบาท โดยมีวัตถุประสงค์ ในการนำไปใช้ส่งเสริม สนับสนุน ช่วยเหลือ อุดหนุนโครงการต่างๆ ที่เป็นไปตามวัตถุประสงค์การใช้เงินกองทุนฯ ตามความในมาตรา 25 แห่งพระราชบัญญติการส่งเสริมการอนุรักษ์พลังงาน พ.ศ. 2535 และที่แก้ไขเพิ่มเติม โดยในปีนี้ได้ให้ความสำคัญลำดับต้นกับการส่งเสริมการอนุรักษ์พลังงานและพลังงานทดแทนเศรษฐกิจฐานราก เพื่อสนับสนุนการสร้างงานและสร้างรายได้ รวมถึง ให้ความสำคัญกับการอนุรักษ์พลังงานและการใช้พลังงานทดแทนในภาคส่วนต่างๆ อาทิ กลุ่มโรงงาน อุตสาหกรรม อาคาร บ้านอยู่อาศัย เป็นต้น ตลอดจนการสร้างงานวิจัย สร้างนวัตกรรมใหม่ และการสร้างบุคลากร
     ทั้งนี้ การจัดสรรเงินกองทุนฯ ในปีงบประมาณ 2564 ประกอบด้วย 2 แผน คือ แผนอนุรักษ์พลังงานและพลังงานทดแทน มีกรอบวงเงินสนับสนุน จำนวน 6,305 ล้านบาท โดยแบ่งเป็น 7 กลุ่มงานย่อย ดังนี้
(1) กลุ่มงานตามกฎหมาย วงเงินสนับสนุน 200 ล้านบาท (2) กลุ่มงานสนับสนุนนโยบายอนุรักษ์พลังงานและพลังงานทดแทน วงเงินสนับสนุน 500 ล้านบาท (3) กลุ่มงานศึกษา ค้นคว้าวิจัย นวัตกรรม และสาธิตต้นแบบ วงเงินสนับสนุน 355 ล้านบาท (4) กลุ่มงานสื่อสาร และข้อมูล ข่าวสาร วงเงินสนับสนุน 200 ล้านบาท (5) กลุ่มงานพัฒนาบุคลากร วงเงินสนับสนุน 450 ล้านบาท (6) กลุ่มงานส่งเสริมการอนุรักษ์พลังงานและพลังงานทดแทนในกลุ่มโรงงาน อุตสาหกรรม อาคาร บ้านอยู่อาศัย ภาคขนส่ง ธุรกิจฟาร์มเกษตรสมัยใหม่ และพื้นที่พิเศษ วงเงินสนับสนุน 2,200 ล้านบาท และ (7) กลุ่มงานส่งเสริมอนุรักษ์พลังงานและพลังงานทดแทนเศรษฐกิจฐานราก วงเงินสนับสนุน 2,400 ล้านบาท ส่วนอีกหนึ่งแผน คือ แผนบริหารจัดการ ส.กทอ. วงเงินสนับสนุน 195 ล้านบาท
สำหรับกลุ่มงานส่งเสริมอนุรักษ์พลังงานและพลังงานทดแทนเศรษฐกิจฐานราก คณะกรรมการกองทุนฯ เห็นชอบแนวทางบริหารจัดการในหลักการ โดยให้คณะกรรมการบริหารจังหวัดแบบบูรณาการพิจารณากลั่นกรองข้อเสนอโครงการระดับจังหวัดและจัดลำดับความสำคัญของกลุ่มเป้าหมายในระดับพื้นที่ โดยมอบหมายให้กระทรวงพลังงานหารือกับกระทรวงมหาดไทยในรายละเอียดและนำเสนอคณะกรรมการกองทุนฯ พิจารณา ต่อไปทั้งนี้ ในปีต่อไปคณะกรรมการกองทุนฯ มีมติเห็นควรให้ทบทวนแนวทางการสนับสนุนโครงการภายใต้กลุ่มงานส่งเสริมอนุรักษ์พลังงานและพลังงานทดแทนเศรษฐกิจฐานราก โดยให้กำหนดเงื่อนไขด้านการร่วมสมทบทุนทั้งด้านตัวเงิน (in cash) และด้านอื่นๆ ที่ไม่ใช่ตัวเงิน (in kind) เพื่อให้เกิดความยั่งยืนในการส่งเสริม
     โดยหลังจากนี้ กระทรวงพลังงานจะนำแนวทาง หลักเกณฑ์ เงื่อนไขฯ ที่คณะกรรมการกองทุนฯ มีมติเห็นชอบแล้วเสนอให้เสนอคณะกรรมการนโยบายพลังงานแห่งชาติ (กพช.) ซึ่งมีนายกรัฐมนตรี เป็นประธานซึ่งคาดว่าจะมีการประชุมภายในเดือนพฤศจิกายน 2563 ซึ่งหลังจาก กพช. มีมติเห็นชอบก็จะเข้าสู่กระบวนการจัดสรรเงินกองทุนฯ โดยคาดว่าจะสามารถประกาศยุทธศาสตร์การจัดสรรฯ และประกาศเปิดรับข้อเสนอโครงการได้ประมาณเดือนธันวาคม 2563

รองนายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรีว่าการกระทรวงพลังงานลงพื้นที่ตรวจราชการ จ.ภูเก็ต เยี่ยมชมการบริหารจัดการขยะมูลฝอยจังหวัดภูเก็ตเพื่อผลิตพลังงานไฟฟ้า

รองนายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรีว่าการกระทรวงพลังงานลงพื้นที่ตรวจราชการ จ.ภูเก็ต เยี่ยมชมการบริหารจัดการขยะมูลฝอยจังหวัดภูเก็ตเพื่อผลิตพลังงานไฟฟ้า หนุนการส่งเสริมผลิตไฟฟ้าจากพลังงานทดแทนตามแผน AEDP 2018

วันนี้ (2 พ.ย. 63) นายสุพัฒนพงษ์ พันธ์มีเชาว์ รองนายกรัฐมนตรี และรัฐมนตรีว่าการกระทรวงพลังงาน ลงพื้นที่ตรวจราชการ จังหวัดภูเก็ต เยี่ยมชมกระบวนการผลิตไฟฟ้าของศูนย์กำจัดขยะมูลฝอยจังหวัดภูเก็ต เทศบาลนครภูเก็ต ซึ่งการบริหารจัดการขยะมูลฝอยของภูเก็ตในปีงบประมาณ 2563 มีขยะมูลฝอยเข้าสู่ศูนย์กำจัดขยะฯ เฉลี่ย 833 ตัน/วัน ซึ่งลดลง 13.5% เมื่อเทียบกับปีงบประมาณก่อนหน้านี้ โดยจะเป็นขยะที่คัดแยกเบื้องต้นจากองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นทั้ง 3 อำเภอในจังหวัดภูเก็ต ได้แก่ อำเภอเมือง อำเภอกะทู้ และอำเภอถลาง และนำมากำจัดโดยการเผาในเตาซึ่งจะได้พลังงานความร้อนเพื่อผลิตกระแสไฟฟ้า ส่วนขยะทั่วไปจะนำไปฝังกลบตามหลักสุขาภิบาล
ทั้งนี้ มีโรงเตาเผาขยะมูลฝอย 2 โรง โดยโรงเตาเผาขยะมูลฝอยชุมชน 1 เป็นเตาเผาที่กรมโยธาธิการและผังเมืองถ่ายโอนให้เทศบาลนครภูเก็ตดูแล งบประมาณ 788 ล้านบาท กำลังผลิตไฟฟ้าสูงสุด 2.5 เมกะวัตต์ ผลิตไฟฟ้า 144 หน่วย/ตันขยะ ปัจจุบันหยุดการดำเนินการ อยู่ระหว่างเสนอขออนุมัติให้เอกชนร่วมดำเนินการ ส่วนอีกโรงเป็นเตาเผาที่บริษัท พีเจทีเทคโนโลยี เป็นผู้รับสัญญาดำเนินการตั้งแต่ปี 2555 งบประมาณ 994 ล้านบาท กำลังผลิตไฟฟ้าสูงสุด 12 เมกะวัตต์ ผลิตไฟฟ้า 350 หน่วย/ตันขยะ
“กระทรวงพลังงานจะสนับสนุนการผลิตไฟฟ้าจากพลังงานขยะ โดยกำหนดให้มีการรับซื้อไฟฟ้าจากขยะถึง 400 เมกะวัตต์ภายใต้แผนพัฒนากำลังผลิตไฟฟ้า(PDP2018 rev.1) ซึ่งจะเตรียมการออกมาตรการรับซื้อไฟฟ้า Feed-in Trariff ภายในปี 2564 เพื่อให้สามารถรับซื้อได้ภายในปี 2565 ตามเป้าหมายที่กำหนดไว้ โดยกระทรวงพลังงานเห็นว่านอกจากจะเสริมสร้างความมั่นคงด้านพลังงานแล้ว ยังจะช่วยในเรื่องสิ่งแวดล้อมโดยเฉพาะในพื้นที่ท่องเที่ยวที่มีปัญหาเรื่องการจัดการขยะและสิ่งแวดล้อม”นายสุพัฒนพงษ์กล่าว

 

รองนายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรีว่าการกระทรวงพลังงาน กล่าวปาฐกถาในพิธีเปิดการประชุม 2nd Global Ministerial Conference on System Integration of Renewables

เมื่อวันที่ 27 ตุลาคม 2563 นายสุพัฒนพงษ์ พันธ์มีเชาว์ รองนายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรีว่าการกระทรวงพลังงานได้ให้เกียรติกล่าวปาฐกถาในพิธีเปิด (Opening Keynote Address) การประชุม 2nd Global Ministerial Conference on System Integration of Renewables ภายใต้งาน Singapore International Energy Week 2020 ผ่านระบบออนไลน์ ซึ่งจัดขึ้นโดยกระทรวงการค้าและอุตสาหกรรม ประเทศสิงคโปร์ ร่วมกับทบวงการพลังงานระหว่างประเทศ (The International Energy Agency, IEA) โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อนำเสนอนโยบายของผู้นำด้านพลังงานในระดับโลกและเป็นเวทีสำหรับภาครัฐและภาคเอกชน รวมถึงภาควิชาการที่จะร่วมแลกเปลี่ยนข้อมูลสถานการณ์ด้านพลังงานในแต่ละภูมิภาค และสถานการณ์ด้านพลังงานปัจจุบันของโลกที่สำคัญ โดยมีแนวคิดสำหรับการจัดงานประชุมคือ “Creating our low carbon energy future together” ที่มุ่งเน้นการหารือกับทุกภาคส่วนในการสนับสนุนการใช้ระบบพลังงานสะอาดที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม โดยประเทศสิงคโปร์ได้แสดงวิสัยทัศน์ในการก้าวสู่ความเป็นผู้นำด้านพลังงานในภูมิภาค โดยเฉพาะในการผลักดันให้เกิดผลสัมฤทธิ์ในการผลักดันแผนความร่วมมือด้านพลังงานในกรอบอาเซียน อาทิ การซื้อขายไฟฟ้าพหุภาคี รวมถึง แสดงความมุ่งมั่นในการพัฒนาปัจจัยแวดล้อมของอาเซียนให้เหมาะสมต่อการค้าการลงทุนด้านพลังงาน และการพัฒนาโครงการด้านพลังงานสะอาดให้เกิดขึ้นอย่างเป้นรูปธรรมต่อไป

ทั้งนี้ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงพลังงาน ได้รับเกียรติให้กล่าวปาฐกถาเปิดงานในประเด็นการให้ความสำคัญของพลังงานสะอาดในยุคเปลี่ยนผ่านด้านพลังงานภายหลังสถานการณ์โควิด-19 โดยเน้นย้ำถึงความสำคัญของการจัดหาพลังงานที่มีความมั่นคง ราคาเข้าถึงได้และมีความยั่งยืน ซึ่งกระทรวงพลังงานได้ขับเคลื่อนนโยบายเพื่อตอบสนองยุคแห่งการเปลี่ยนผ่านพลังงานผ่านแผนพัฒนากำลังผลิตไฟฟ้าของประเทศไทย (PDP 2018) ในการเพิ่มสัดส่วนการใช้พลังงานหมุนเวียนในการผลิตไฟฟ้าของประเทศ รวมถึงนโยบาย “พลังงานเพื่อทุกคน” (Energy for All) ที่ส่งเสริมให้ภาคประชาชนสามารถผลิตไฟฟ้าใช้ได้เองในภาคครัวเรือนโดยการใช้เชื้อเพลิงชีวภาพและชีวมวล รวมถึงการสนับสนุนแผนการพัฒนาโครงข่ายไฟฟ้าอัจฉริยะระดับชาติ (National Smart Grid Program) ในการพัฒนาโครงข่ายไฟฟ้าให้มีความยืดหยุ่นและเชื่อถือได้ เพื่อลดการสูญเสียพลังงานไฟฟ้าในระบบและสามารถบูรณาการพลังงานหมุนเวียนเข้าสู่ระบบได้อย่างต่อเนื่องและมีประสิทธิภาพอีกด้วย นอกจากนี้ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงพลังงาน ยังได้กล่าวแสดงความขอบคุณ IEA สำหรับการสนับสนุนบทบาทของประเทศไทยในการเป็นเจ้าภาพอาเซียนในปีที่ผ่านมา โดยข้อเสนอแนะของ IEA จะช่วยส่งเสริมให้เกิดการเพิ่มสัดส่วนพลังงานหมุนเวียนในโครงข่ายไฟฟ้าอาเซียน (RE Integration to grid) โดยในช่วงท้ายรัฐมนตรีว่าการกระทรวงพลังงานยังได้กล่าวยืนยันท่าทีของประเทศไทยที่มุ่งมั่นในการพัฒนาไปสู่ยุคแห่งพลังงานสะอาดและพร้อมที่จะดำเนินกิจกรรมความร่วมมืออย่างใกล้ชิดกับประเทศสิงคโปร์และ IEA ในอนาคตต่อไป

ปลัดกระทรวงพลังงาน ประชุมหารือเชิงนโยบายด้านพลังงานระหว่างสหรัฐอเมริกาและไทย ครั้งที่ 1

เมื่อวันที่ 27 ตุลาคม 2563 ได้มีการเปิดตัวการประชุมหารือเชิงนโยบายด้านพลังงานระหว่างสหรัฐอเมริกาและไทย ครั้งที่ 1 ซึ่งจัดขึ้นในรูปแบบออนไลน์ โดยมีนายฟรานซิส อาร์ แฟนนอน ผู้ช่วยรัฐมนตรีกระทรวงการต่างประเทศด้านทรัพยากรพลังงานของสหรัฐอเมริกา และนายกุลิศ สมบัติศิริ ปลัดกระทรวงพลังงาน ทำหน้าที่หัวหน้าคณะของทั้งสองฝ่าย พร้อมด้วยผู้แทนจากหน่วยงานที่เกี่ยวข้องจากฝ่ายสหรัฐอเมริกาและผู้แทนจากกระทรวงพลังงานไทยเข้าร่วมการประชุม

การประชุมหารือเชิงนโยบายด้านพลังงานระหว่างสหรัฐอเมริกาและไทย ครั้งที่ 1 เป็นเวทีที่มีบทบาทสำคัญในการเสริมสร้างความเป็นหุ้นส่วนด้านพลังงานระหว่างไทยและสหรัฐอเมริกา โดยมุ่งเน้นความร่วมมือในการสร้างการเติบโตของตลาดพลังงาน เสริมสร้างโอกาสในการพัฒนาด้านพลังงานทดแทน และขยายการเชื่อมโยงไฟฟ้าในภูมิภาคอาเซียนและภูมิภาคลุ่มแม่น้ำโขง ทั้งนี้ ทั้งสองฝ่ายได้ตระหนักถึงความสำคัญของกรอบการหารือทวิภาคีระหว่างไทยกับสหรัฐอเมริกาที่ได้มีการดำเนินกิจกรรมความร่วมมือมาอย่างต่อเนื่อง โดยให้ความสำคัญต่อการส่งเสริมข้อตกลงเชิงการค้าด้านพลังงาน นอกจากนี้ ทั้งสองฝ่ายยังได้นำเสนอความก้าวหน้าของโครงการความร่วมมือด้านพลังงานในประเทศไทย รวมทั้งได้มีการหารือแนวทางการจัดลำดับความสำคัญและความเร่งด่วนของกิจกรรมความร่วมมือและการสนับสนุนทางด้านเทคนิคที่สามารถดำเนินการต่อไปได้ในอนาคต

ในโอกาสนี้ ทั้งสองฝ่ายได้เห็นชอบร่วมกันให้ประเทศไทยเป็นเจ้าภาพในการประชุมหารือเชิงนโยบายด้านพลังงานระหว่างสหรัฐอเมริกาและไทย ครั้งที่ 2 ณ ประเทศไทย ในกรณีที่ผู้เข้าร่วมการประชุมสามารถเดินทางระหว่างประเทศได้ตามปกติ และได้เห็นชอบที่จะขยายกิจกรรมความร่วมมือเพื่อพัฒนาห่วงโซ่อุปทานของพลังงานสะอาด น้ำมันและก๊าซธรรมชาติ การอนุรักษ์พลังงาน และการผลิตไฟฟ้าอีกด้วย

กระทรวงพลังงานสรุปผลการดำเนินงาน โครงการส่งเสริมและสนับสนุนการเพิ่มประสิทธิภาพพลังงานในโรงเรียนทีปังกรวิทยาพัฒน์ในพระราชูปถัมภ์ฯ

กระทรวงพลังงานสรุปผลการดำเนินงาน โครงการส่งเสริมและสนับสนุนการเพิ่มประสิทธิภาพพลังงานในโรงเรียนทีปังกรวิทยาพัฒน์ในพระราชูปถัมภ์ฯ เนื่องในโอกาสมหามงคลพระราชพิธีบรมราชาภิเษก โดยได้จัดกิจกรรม “จิตอาสาพลังงาน เราทำความดีด้วยหัวใจ” และสนับสนุนงบประมาณปรับเปลี่ยนติดตั้งอุปกรณ์ประหยัดพลังงานเกิดการประหยัดค่าพลังงานรวมมากกว่า7.7แสนหน่วย/ปี คิดเป็นเงินราว 3.24 ล้านบาท/ปี

วันนี้ (22 ต.ค.63) นายสุพัฒนพงษ์ พันธ์มีเชาว์ รองนายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรีว่าการกระทรวงพลังงาน เป็นประธานกล่าวแถลงผลการดำเนินงาน โครงการส่งเสริมและสนับสนุนการเพิ่มประสิทธิภาพพลังงานในโรงเรียนทีปังกรวิทยาพัฒน์ในพระราชูปถัมภ์ฯ เนื่องในโอกาสมหามงคลพระราชพิธีบรมราชาภิเษก ว่า กระทรวงพลังงานได้ดำเนินโครงการดังกล่าวเพื่อเป็นกิจกรรมเฉลิมพระเกียรติเนื่องในโอกาสมหามงคลพระราชพิธีบรมราชาภิเษก เพื่อส่งเสริมและสนับสนุนการอนุรักษ์พลังงานและการใช้พลังงานทดแทนในสถานศึกษาส่งเสริมให้นักเรียนเกิดการเรียนรู้ด้านพลังงานและนำความรู้ที่ได้ขยายผลสู่บ้านและชุมชนโดยเริ่มโครงการกับกลุ่มโรงเรียนทีปังกรวิทยาพัฒน์ในพระราชูปภัมถ์ฯ 6 แห่งที่เป็นอาคารสถานศึกษาเปิดสอนตั้งแต่ชั้นอนุบาลถึงมัธยมปลาย ซึ่งส่วนใหญ่ลักษณะการใช้พลังงานยังไม่มีประสิทธิภาพเพราะอุปกรณ์ไฟฟ้าส่วนใหญ่สภาพเก่าขาดการบำรุงรักษา

กระทรวงพลังงานได้ส่งเสริมโครงการนี้โดยร่วมกับหน่วยงานในสังกัดดำเนินการผ่านการจัดกิจกรรม“จิตอาสาพลังงาน เราทำความดีด้วยหัวใจ” อาทิ การให้ความรู้รณรงค์การประหยัดพลังงานโดยสำนักงานนโยบายและแผนพลังงาน การให้ความรู้การใช้ก๊าซหุงต้มอย่างปลอดภัยให้โรงเรียนและชุมชน โดยกรมธุรกิจพลังงาน การถ่ายทอดความรู้เกี่ยวกับปิโตรเลียม โดยกรมเชื้อเพลิงธรรมชาติ การให้ความรู้เกี่ยวกับการใช้ไฟฟ้าให้มีประสิทธิภาพ พร้อมกับสร้าง“ห้องเรียนสีเขียว”เพื่อสร้างทัศนคติการใช้ไฟฟ้า รู้คุณค่าและรักษาสิ่งแวดล้อม โดยการไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทยและนิทรรศการเคลื่อนที่เปิดโลกปิโตรเลียม โดย บริษัท ปตท. จำกัด (มหาชน) นอกจากนี้ กระทรวงฯ ยังได้สนับสนุนงบประมาณสำหรับโรงเรียนในการปรับเปลี่ยนและติดตั้งอุปกรณ์ประหยัดพลังงานให้กับโรงเรียนทีปังกรวิทยาพัฒน์ในพระราชูปถัมภ์ฯ โดยเปลี่ยนหลอดไฟ LED 5,751 หลอด เปลี่ยนเครื่องปรับอากาศเก่าเป็นแบบประหยัดไฟระบบ Invertor 144 เครื่อง ติดตั้งเครื่องปรับอากาศระบบ VRF 19 ระบบ ติดตั้งระบบผลิตไฟฟ้าจากโซลาร์เซลล์ 270.08 กิโลวัตต์ พร้อมระบบบริหารจัดการพลังงาน Internet of Things ในโรงเรียน ซึ่งทำให้เกิดการประหยัดพลังงานและสามารถลดค่าใช้จ่ายด้านพลังงานอย่างเป็นรูปธรรมโดยแต่ละโรงเรียนสามารถลดได้มากกว่า 40% มีผลประหยัดรวมกันกว่า 772,830 หน่วย/ปี คิดเป็นเงิน 3,245,886 บาท/ปี

“จากความสำเร็จของโครงการที่ผ่านมา กระทรวงพลังงานจะมีการดำเนินโครงการต่อเนื่องในการจัดกิจกรรมและสนับสนุนงบประมาณการปรับเปลี่ยนและติดตั้งอุปกรณ์ประหยัดพลังงานให้กับโรงเรียนในกลุ่มพระราชูปถัมภ์ อีกจำนวน 9 แห่งทั่วประเทศ ซึ่งมีนักเรียนรวมกันกว่า 9,000 คน และชุมชนโดยรอบโรงเรียนต่อไป” รองนายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรีว่าการกระทรวงพลังงาน กล่าว

กระทรวงพลังงาน ร่วมสืบสานราชประเพณีถวายผ้าพระกฐินพระราชทาน ประจำปี 2563 ณ จังหวัดกาญจนบุรี

กระทรวงพลังงาน ร่วมสืบสานราชประเพณีถวายผ้าพระกฐินพระราชทาน ประจำปี 2563 ณ จังหวัดกาญจนบุรี

วันนี้ (17 ตุลาคม 2563) นายสุพัฒนพงษ์ พันธ์มีเชาว์ รองนายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรีว่าการกระทรวงพลังงาน นำคณะผู้บริหาร ข้าราชการ และเจ้าหน้าที่กระทรวงพลังงาน ร่วมถวายผ้าพระกฐินพระราชทานประจำปี 2563 ณ วัดไชยชุมพลชนะสงคราม พระอารามหลวง อำเภอเมืองกาญจนบุรี จังหวัดกาญจนบุรี

การถวายผ้าพระกฐินพระราชทานเป็นพิธีตามราชประเพณีที่สืบต่อกันมา โดยสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว
มหาวชิราลงกรณ บดินทรเทพยวรางกูร ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ พระราชทาน ผ้าพระกฐินให้ส่วนราชการ รัฐวิสาหกิจ องค์กร สมาคม มูลนิธิ บริษัทห้างร้าน และประชาชนทั่วไป ที่มีจิตศรัทธานำไปถวายพระสงฆ์ที่จำพรรษา ในพระอารามหลวงทั่วประเทศ ซึ่งกรมการศาสนาในฐานะหน่วยงานที่รับผิดชอบ ได้ออกประกาศเชิญชวนให้รับทราบ และที่ผ่านมากระทรวงพลังงาน ได้ขอรับพระราชทานผ้าพระกฐินเป็นประจำต่อเนื่องทุกปี โดยในปีนี้ได้นำผ้ากฐินพระราชทานมาถวายแด่พระภิกษุสงฆ์ที่จำพรรษา รวมเป็นจำนวนเงิน 1,936,254.75 บาท และถวายชุดรางไฟพร้อมหลอดไฟ จำนวน 100 หลอด

พร้อมกันนี้ รองนายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรีว่าการกระทรวงพลังงาน ยังได้มอบทุนการศึกษา และเงินบำรุงโรงเรียนให้กับ 5 สถานศึกษาในพื้นที่จังหวัดกาญจนบุรี ได้แก่ โรงเรียนวิสุทธรังษี ศูนย์เด็กเล็กวัดไชยชุมพลชนะสงคราม โรงเรียนอนุบาลวัดไชยชุมพลชนะสงคราม โรงเรียนพระปริยัติธรรมวัดไชยชุมพลชนะสงคราม และมหาวิทยาลัยจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เพื่อถวายเป็นพระราชกุศล

รองนายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรีว่าการกระทรวงพลังงานให้การต้อนรับกรรมาธิการพลังงาน สส. เพื่อแลกเปลี่ยนความเห็นการขับเคลื่อนนโยบายพลังงาน

วันนี้ (15 ตุลาคม 2563) นายสุพัฒนพงษ์ พันธ์มีเชาว์ รองนายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรีว่าการกระทรวงพลังงาน นายกุลิศ สมบัติศิริ ปลัดกระทรวงพลังงานและผู้บริหารระดับสูงกระทรวงพลังงาน ร่วมต้อนรับนายกิตติกร โล่ห์สุนทร ประธานกรรมาธิการพลังงาน สมาชิกสภาผู้แทนราษฎรและคณะ ในโอกาสเข้าหารือราชการเพื่อแลกเปลี่ยนความคิดเห็นประเด็นพลังงานที่สำคัญ ณ ห้องบัญชาการยุทธศาสตร์ กระทรวงพลังงาน
รองนายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรีว่าการกระทรวงพลังงาน กล่าวชื่นชมผลการศึกษาด้านนโยบายพลังงานของอนุกรรมาธิการพลังงาน สส. และกล่าวถึงการมุ่งขับเคลื่อนนโยบายพลังงานของรัฐบาลให้เกิดผลเป็นรูปธรรม ได้แก่ ผลักดันโรงไฟฟ้าชุมชนร่วมกับกระทรวงเกษตรฯ เพื่อให้เกิดประโยชน์ต่อเกษตรกรอย่างแท้จริง การกำหนดเป้าหมายยานยนต์ไฟฟ้า (EV) ให้ชัดเจนร่วมกับกระทรวงอุตสาหกรรม การส่งเสริมกิจกรรมเศรษฐกิจท้องถิ่น สร้างงาน สร้างรายได้ ด้วยกองทุนเพื่อส่งเสริมการอนุรักษ์พลังงานพ.ศ. 2564 อย่างสมดุล และการพัฒนาการเป็นศูนย์กลางการซื้อขายไฟฟ้าในภูมิภาคของไทย
ทั้งนี้ คณะกรรมาธิการพลังงานให้ความสนใจเพิ่มเติมในประเด็นการปรับโครงสร้างราคาพลังงานเพื่อชี้แจงการผูกขาดราคาน้ำมัน การส่งเสริมโรงไฟฟ้าขยะ การสนับสนุนโซลาร์หลังคาแก่โรงพยาบาลชุมชน และเน้นย้ำให้เกิดการกระจายงบประมาณกองทุนเพื่อส่งเสริมการอนุรักษ์พลังงานแก่ท้องถิ่นอย่างทั่วถึง

เอกสารประกอบการสัมมนาคลินิกพลังงาน

กำหนดการ คลิกที่นี่

เอกสารประกอบการประชุม ในวันที่ 16 ตุลาคม 2563 (สามารถดาวน์โหลดได้ตั้งแต่วันที่ 15 ตุลาคม 2563 เป็นต้นไป) คลิกที่นี่
เอกสารประกอบการประชุม ในวันที่ 19 ตุลาคม 2563 คลิกที่นี่

ร่างคู่มือระบบอบแห้งพลังงานแสงอาทิตย์ คลิกที่นี่
ร่างคู่มือระบบสูบน้ำพลังงานแสงอาทิตย์ คลิกที่นี่

excel คำนวณระบบสูบน้ำฯ คลิกที่นี่

 

กระทรวงพลังงาน ร่วมพิธีบำเพ็ญกุศลและพิธีถวายบังคม เพื่อน้อมรำลึกในพระมหากรุณาธิคุณ พระบาทสมเด็จพระบรมชนกาธิเบศร มหาภูมิพลอดุลยเดชมหาราช บรมนาถบพิตร เนื่องในวันคล้ายวันสวรรคต 13 ต.ค. 63

วันนี้ (13 ต.ค. 63) เวลา 07.30 น. นายสุพัฒนพงษ์ พันธ์มีเชาว์ รองนายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรีว่าการกระทรวงพลังงาน พร้อมด้วยนายกุลิศ สมบัติศิริ ปลัดกระทรวงพลังงาน เข้าร่วมในพิธีทำบุญตักบาตร พระสงฆ์ จำนวน 89 รูป ถวายพระราชกุศล เนื่องในวันคล้ายวันสวรรคต พระบาทสมเด็จพระบรมชนกาธิเบศร มหาภูมิพลอดุลยเดชมหาราช บรมนาถบพิตร จากนั้นเวลา 08.30 น. ร่วมพิธีวางพวงมาลา และถวายบังคม เบื้องหน้าพระบรมฉายาลักษณ์ พระบาทสมเด็จพระบรมชนกาธิเบศร มหาภูมิพลอดุลยเดชมหาราช บรมนาถบพิตร เพื่อแสดงออกซึ่งความจงรักภักดี และน้อมรำลึกในพระมหากรุณาธิคุณอย่างหาที่สุดมิได้ ณ ท้องสนามหลวง

       

ประชุมกับคณะอนุกรรมาธิการติดตาม เสนอแนะ และเร่งรัดการปฏิรูปประเทศและการจัดทำและดำเนินการตามยุทธศาสตร์ชาติด้านพลังงาน

เรื่องเดิม คลิกที่นี่

ประเด็น ป.ย.ป คลิกที่นี่

คำถาม ป.ย.ป คลิกที่นี่

 

รองนายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรีว่าการกระทรวงพลังงาน เป็นประธานในพิธีเปิดงาน “Thailand Clean Energy Network 2020”

กฟผ. จัดงาน Thailand Clean Energy Network 2020 ผนึกกำลังร่วมกับภาคีเครือข่ายผู้ผลิตไฟฟ้า ประสานความร่วมมือขับเคลื่อนมาตรการลดก๊าซเรือนกระจกให้ได้ตามเป้าหมาย Nationally Determined Contribution (NDC) ผ่านมาตรการการลดก๊าซเรือนกระจกในภาคผลิตไฟฟ้า และการส่งเสริมการซื้อขายเครดิตพลังงานหมุนเวียน (Renewable Energy Certificate : REC)

วันนี้ (8 ตุลาคม 2563) นายสุพัฒนพงษ์ พันธ์มีเชาวน์ รองนายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรีว่าการกระทรวงพลังงาน เป็นประธานในพิธีเปิดงาน “Thailand Clean Energy Network 2020” โดยมี มร.เคส พิเทอร์ ราเดอ (H.E. Mr.Kees Pieter Rade) เอกอัครราชทูตเนเธอร์แลนด์ประจำประเทศไทย นายวิบูลย์ ฤกษ์ศิระทัย ผู้ว่าการการไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทย (กฟผ.) เครือข่ายการลดก๊าซเรือนกระจกในภาคผลิตไฟฟ้า ผู้แทนบริษัทผู้ผลิตไฟฟ้าเอกชนขนาดใหญ่ (IPP) และขนาดเล็ก (SPP) ทั้งในและต่างประเทศ ผู้แทนบริษัทเอกชน และแขกผู้มีเกียรติเข้าร่วมงานกว่า 170 คน ณ ห้องบอลรูม โรงแรมอนันตรา สยาม กรุงเทพฯ

นายสุพัฒนพงษ์ พันธ์มีเชาวน์ รองนายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรีว่าการกระทรวงพลังงาน กล่าวว่า ประเทศไทยมีเป้าหมายท้าทายยิ่งขึ้นสำหรับทุกภาคส่วน โดยเฉพาะในปีนี้ที่เข้าสู่ข้อเสนอการมีส่วนร่วมของประเทศในการลดก๊าซเรือนกระจกและการดำเนินงานด้านการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ (Nationally Determined Contribution : NDC) จึงถือเป็นเรื่องที่น่ายินดีอย่างยิ่ง ที่วันนี้ กฟผ. ได้พัฒนากลไกใบรับรองเครดิตการผลิตไฟฟ้าจากพลังงานหมุนเวียน (Renewable Energy Certificate) หรือ REC ขึ้นมา โดยกลไกดังกล่าวจะช่วยส่งเสริมให้เกิดการพัฒนาการผลิตและการใช้ไฟฟ้าจากพลังงานหมุนเวียนในประเทศมากยิ่งขึ้น ช่วยกระตุ้นให้เกิดการลดก๊าซเรือนกระจก และยังเป็นอีกกลไกที่จะนำประเทศไทยไปสู่การบรรลุเป้าหมายระดับชาติ เพื่อให้คนไทยได้ใช้พลังงานสะอาดและยั่งยืน

ด้านนายวิบูลย์ ฤกษ์ศิระทัย ผู้ว่าการ กฟผ. กล่าวว่า กฟผ. ได้ร่วมกับภาคีเครือข่ายผู้ผลิตไฟฟ้าดำเนินมาตรการลดก๊าซเรือนกระจกในภาคผลิตไฟฟ้ามาอย่างต่อเนื่อง โดยในปี 2562 ที่ผ่านมา ได้นำผลการลดก๊าซเรือนกระจกทั้งของ กฟผ. และผู้ผลิตไฟฟ้าเอกชน (IPP) มารวมกันซึ่งสามารถลดก๊าซเรือนกระจกลงได้ถึง 10.03 ล้านตันคาร์บอนไดออกไซด์เทียบเท่า ซึ่งผลจากความร่วมมือนี้ กฟผ. อยู่ระหว่างการนำส่งให้กระทรวงพลังงานเพื่อรวมเป็นส่วนหนึ่งของการลดก๊าซเรือนกระจกในภาคพลังงาน เพื่อช่วยให้ประเทศไทยบรรลุเป้าหมายการลดก๊าซเรือนกระจกตามแผนการดำเนินงานลดก๊าซเรือนกระจกที่เหมาะสมของประเทศ หรือ NAMA ทั้งนี้การผนึกกำลังเป็นเครือข่าย Thailand Clean Energy Network จะส่งเสริมการลดก๊าซเรือนกระจกในประเทศ อันจะนำไปสู่การเป็นสังคมคาร์บอนต่ำต่อไป

ภายในงาน กฟผ. ยังได้เปิดตัวธุรกิจซื้อขายใบรับรองเครดิตการผลิตพลังงานหมุนเวียน (REC) รวมทั้งการให้บริการรับรอง REC ที่ กฟผ. ได้รับสิทธิ์จาก The International REC Standard (I-REC) ให้เป็นผู้รับรอง REC แต่เพียงผู้เดียวในประเทศไทย โดยคาดว่าธุรกิจ REC จะช่วยส่งเสริมให้เกิดการพัฒนาการผลิตไฟฟ้าจากพลังงานหมุนเวียนภายในประเทศ เกิดการสร้างงานสร้างรายได้ กระตุ้นเศรษฐกิจ ลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจก ตอบสนองเป้าหมายการพัฒนาเพื่อความยั่งยืนของสหประชาชาติอย่างเป็นรูปธรรม

พระคติธรรมเนื่องในโอกาสวันคล้ายวันสถาปนากระทรวงพลังงาน ครบรอบ 18 ปี

สมเด็จพระอริยวงศาคตญาณ สมเด็จพระสังฆราช สกลมหาสังฆปริณายก ประทานพระคติธรรมเนื่องในโอกาสวันคล้ายวันสถาปนากระทรวงพลังงาน ครบรอบ 18 ปี ในวันที่ 3 ตุลาคม 2563   ตามที่ปลัดกระทรวงพลังงานกราบทูลขอ เพื่อเป็นหลักยึดเหนี่ยวในการปฏิบัติราชการด้วยคุณธรรม จริยธรรม เป็นสิริมงคล และสร้างขวัญกำลังใจแก่ข้าราชการและเจ้าหน้าที่

 

 

รองนายกรัฐมนตรี และรัฐมนตรีว่าการกระทรวงพลังงานเป็นประธานในงานวันคล้ายวันสถาปนากระทรวงพลังงาน ประจำปี 2563

18 ปี วันสถาปนากระทรวงพลังงาน มอบเกียรติบัตรข้าราชการดีเด่น พร้อมสมทบทุนบริจาคสภากาชาดไทย จัดซื้อเครื่องมือแพทย์ เพื่ออาคารศรีสวรินทิรานุสรณ์ 150 ปี โรงพยาบาลสมเด็จพระบรมราชเทวี ณ ศรีราชา
วันนี้ (5 ต.ค. 63) นายสุพัฒนพงษ์ พันธ์มีเชาว์ รองนายกรัฐมนตรี และรัฐมนตรีว่าการกระทรวงพลังงานเป็นประธานในงานวันคล้ายวันสถาปนากระทรวงพลังงาน ประจำปี 2563 ซึ่งในปีนี้ถือเป็นปีที่ 18 โดยมีผู้บริหารระดับสูง ข้าราชการ พนักงาน เจ้าหน้าที่ และหน่วยงานด้านพลังงาน เข้าร่วมงาน
สำหรับกิจกรรมที่สำคัญในวันนี้ ได้แก่ พิธีสักการะพระพรหม สิ่งศักดิ์สิทธิ์ประจำศูนย์เอนเนอร์ยี่ คอมเพล็กซ์ ซึ่งเป็นที่ตั้งของกระทรวงพลังงาน โดยประธานในพิธีได้นำจุดธูปเทียน ถวายพวงมาลัย และเครื่องสักการะพระพรหม พร้อมสักการะพระพรหมทั้ง 4 ทิศ และลำดับถัดมาในพิธีสงฆ์ ประธานในพิธีได้นำคณะผู้บริหาร และผู้ร่วมงานทั้งหมด ร่วมพิธีการอาราธนาศีล อาราธนาพระปริตร ถวายเครื่องไทยธรรมแด่พระสงฆ์ และร่วมพิธีกรวดน้ำ รับพร และพระสงฆ์ประพรมน้ำพระพุทธมนต์ เพื่อเป็นศิริมงคลแก่ผู้ร่วมงานทุกคน
พร้อมกันนี้ ได้จัดพิธีมอบโล่เชิดชูเกียรติ โดยรองนายกรัฐมนตรี และรัฐมนตรีว่าการกระทรวงพลังงาน ได้มอบเกียรติบัตรและเข็มเชิดชูเกียรติให้กับข้าราชการพลเรือนดีเด่น ประจำปี 2562 จำนวน 6 ราย จากสำนักงานปลัดกระทรวงพลังงาน กรมเชื้อเพลิงธรรมชาติ กรมธุรกิจพลังงาน กรมพัฒนาพลังงานทดแทนและอนุรักษ์พลังงาน และสำนักงานนโยบายและแผนพลังงาน
ทั้งนี้ ในโอกาสวันสถาปนากระทรวงพลังงานครบรอบ 18 ปี กระทรวงพลังงานได้ประกาศงดรับกระเช้าและของขวัญต่าง ๆ ในการแสดงความยินดี ขอให้เปลี่ยนเป็นการร่วมกันสมทบทุนบริจาคเงินให้แก่สภากาชาดไทยสำหรับจัดซื้อเครื่องมือแพทย์ เพื่ออาคารศรีสวรินทิรานุสรณ์ 150 ปี โรงพยาบาลสมเด็จพระบรมราชเทวี ณ ศรีราชา จังหวัดชลบุรี โดยประธานในพิธีได้เป็นผู้รับมอบเงินสมทบทุนจากหน่วยงานต่าง ๆ จำนวน 432,350 บาท ซึ่งนอกจากจะเป็นการแสดงความยินดีร่วมกันแล้ว ยังเป็นการสร้างกุศลครั้งสำคัญร่วมกับสภากาชาดไทย อีกด้วย

กระทรวงพลังงานและหน่วยงานในสังกัด เข้าร่วมเปิดบูธรับสมัครตำแหน่งงานในมหกรรมการจัดหางาน Job Expo Thailand 2020

พลังงานร่วมใจ สร้างไทยสร้างชาติ’ ยกบูธร่วมงาน Job Expo เปิดอัตราว่างหน่วยงานกระทรวงพลังงานกว่า 6,000 อัตรา และธุรกิจพลังงานภาคเอกชนอ้าแขนรับกว่า 20,000 อัตรา เชื่อช่วยการจ้างงานกระตุ้นเศรษฐกิจ

วันนี้ (26 ก.ย.63) พลเอกประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรี ให้เกียรติ เยี่ยมชมบูธ “พลังงานร่วมใจ สร้างไทยสร้างชาติ” รับสมัครตำแหน่งงานของหน่วยงานในกระทรวงพลังงาน โดยมีนายสุพัฒนพงษ์ พันธ์มีเชาว์ รองนายกรัฐมนตรี และรัฐมนตรีว่าการกระทรวงพลังงาน พร้อมด้วยผู้บริหารกระทรวงพลังงานร่วมให้การต้อนรับ   ในโอกาสที่กระทรวงพลังงานและหน่วยงานในสังกัด ทั้งสำนักปลัดกระทรวงฯ พพ. สกพ. กฟผ. ปตท.เข้าร่วมเปิดบูธรับสมัครตำแหน่งงานรวมกว่า 6,000 อัตรา ในมหกรรมการจัดหางาน Job Expo Thailand 2020 ที่ศูนย์ฯการประชุมไบเทค ระหว่างวันที่ 26-28 กันยายนนี้

นายสุพัฒนพงษ์ พันธ์มีเชาว์ รองนายกรัฐมนตรี และรัฐมนตรีว่าการกระทรวงพลังงาน เปิดเผยว่า งานมหกรรมการจัดหางาน Job Expo Thailand 2020 เป็นหนึ่งในมาตรการกระตุ้นเศรษฐกิจและลดปัญหาด้านแรงงานจากผลกระทบสถานการณ์โรคระบาดโควิด-19 โดยในงานครั้งนี้ กระทรวงพลังงาน และหน่วยงานภายใน ได้แก่ สำนักงานปลัดกระทรวงพลังงาน กรมพัฒนาพลังงานทดแทนและอนุรักษ์พลังงาน (พพ.) สำนักงานคณะกรรมการกำกับกิจการพลังงาน (สกพ.) การไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทย (กฟผ.) บริษัท ปตท. จำกัด (มหาชน) เข้าร่วมจัดงานภายใต้แนวคิด “พลังงานร่วมใจ สร้างไทยสร้างชาติ”

โดยจะเปิดบูธรับสมัครงานเพื่อช่วยเหลือผู้ที่ประสบปัญหาว่างงานรวมถึงบันฑิตเพิ่งจบใหม่ให้มีงานทำและมีรายได้ในการเลี้ยงชีพ จำนวนรวม 3,187 อัตรา แบ่งเป็นการเปิดรับสมัครจากสำนักงานปลัดกระทรวงพลังงาน 23 อัตรา กรมพัฒนาพลังงานทดแทนและอนุรักษ์พลังงาน (พพ.) 68 อัตรา สำนักงานคณะกรรมการกำกับกิจการพลังงาน (สกพ.) 39 อัตรา บริษัท ปตท. จำกัด (มหาชน)และบริษัทในเครือ 2,964 อัตรา และการไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทย (กฟผ.) และบริษัทในเครืออีก 93 อัตรา และอยู่ในระหว่างการจัดจ้างตำแหน่งงานเพิ่มอีก 3,000 อัตราในไตรมาสแรกของปี2564 ซึ่งจะประกาศลงใน www.ไทยมีงานทำ.com ต่อไป ซึ่งในงานดังกล่าวจะมีเจ้าหน้าที่ของแต่ละหน่วยงานแจ้งข้อมูลรายละเอียดการเปิดรับสมัครในทุกตำแหน่ง   ในระหว่างวันที่ 26 – 28 กันยายน 2563 ในงาน Job Expo Thailand 2020 บูธหมายเลข 527-528  ณ ศูนย์นิทรรศการและการประชุมไบเทค บางนา

“การผลักดันให้เกิดการจ้างงาน สร้างอาชีพให้ประชาชน มีรายได้ในการเลี้ยงชีพ ถือเป็นรากฐานสำคัญที่มีส่วนช่วยขับเคลื่อนเศรษฐกิจของประเทศให้เดินหน้าต่อไปได้ ซึ่งก็ต้องขอบคุณภาคเอกชนด้านพลังงานด้วยที่มียอดการรับสมัครงานสูงถึงกว่า20,000ตำแหน่ง ส่วนกระทรวงพลังงานเองขอร่วมเป็นหนึ่งในหน่วยงานที่กระตุ้นให้เกิดการจ้างงาน สร้างอาชีพ สร้างรายได้ให้กับประชาชน เพื่อร่วมกันข้ามผ่านสถานการณ์โควิด-19 ไปด้วยกัน หากผู้ใดสนใจร่วมงานก็สามารถขอข้อมูลได้ที่บูธ “พลังงานร่วมใจ สร้างไทยสร้างชาติ”ภายในงาน Job Expo Thailand 2020 ที่ไบเทค บางนา” รองนายกรัฐมนตรี และรัฐมนตรีว่าการกระทรวงพลังงานกล่าว

ก.พลังงาน เตรียมความพร้อมรับมือพายุ “โนอึล” มั่นใจไฟฟ้า-น้ำมัน ไม่กระทบประชาชน

รองนายกรัฐมนตรี และรัฐมนตรีว่าการกระทรวงพลังงาน นายสุพัฒนพงษ์ พันธ์มีเชาว์ สั่งการหน่วยงานด้านพลังงาน ในพื้นที่ภาคเหนือ และภาคตะวันออกเฉียงเหนือ เตรียมความพร้อมรับมือพายุ “โนอึล” เชื่อมั่นความพร้อมทั้งด้านไฟฟ้า น้ำมันมีศักยภาพเพียงพอในการให้บริการประชาชน
ตามประกาศของกรมอุตุนิยมวิทยาเรื่องพายุระดับ 3 (โซนร้อน) โนอึล บริเวณทะเลจีนใต้ตอนกลาง มีศูนย์กลางอยู่ห่างประมาณ 170 กิโลเมตร ทางด้านตะวันออกของเมืองดานัง ประเทศเวียดนาม และจะเคลื่อนตัวขึ้นฝั่งประเทศเวียดนาม และเริ่มเคลื่อนตัวเข้าสู่ประเทศไทยด้านภาคตะวันออกเฉียงเหนือ จะทำให้ประเทศไทยมีฝนเพิ่มขึ้น โดยมีฝนตกหนักถึงหนักมากและมีลมแรงในหลายพื้นที่ ซึ่งในด้านของกระทรวงพลังงานได้เตรียมการเพื่อรับมือกับสถานการณ์ที่อาจส่งกระทบต่อด้านพลังงานทั้งด้านไฟฟ้าและน้ำมัน
รองนายกรัฐมนตรี และรัฐมนตรีว่าการกระทรวงพลังงาน นายสุพัฒนพงษ์ พันธ์มีเชาว์ ได้มอบหมายให้หน่วยงานในสังกัดบูรณาการความร่วมมือด้านพลังงานร่วมกันในการป้องกันผลกระทบจากพายุโนอึล โดยในด้านไฟฟ้า ได้มอบให้การไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทย (กฟผ.) เตรียมความพร้อมทั้งด้านบุคลากรและมาตรการป้องกันผลกระทบต่อประชาชนครอบคลุม 4 ด้าน ได้แก่ ด้านระบบส่งไฟฟ้า ได้มีการจัดเตรียมเจ้าหน้าที่เฉพาะกิจเฝ้าระวังและติดตามสถานการณ์อย่างใกล้ชิดตลอด 24 ชั่วโมง พร้อมจัดเตรียมเสาไฟฟ้าชั่วคราวและอุปกรณ์ที่จำเป็นไว้รองรับกรณีเกิดเหตุการณ์ฉุกเฉิน ด้านความมั่นคงแหล่งผลิตไฟฟ้าและเชื้อเพลิง ได้มีการประสานเตรียมความพร้อมด้านเชื้อเพลิงที่เพียงพอ ด้านโรงไฟฟ้าและการรองรับน้ำในเขื่อนของ กฟผ. ได้มีการเตรียมความพร้อมบุคลากรด้านการผลิตและบำรุงรักษาโรงไฟฟ้า พร้อมทั้งได้มีการตรวจสอบความพร้อมของเขื่อนทุกพื้นที่ที่ได้รับผลกระทบจากพายุดังกล่าว ได้แก่ เขื่อนในภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ประกอบด้วย เขื่อนน้ำพุง เขื่อนอุบลรัตน์ เขื่อนสิรินธร รวมถึงเขื่อนในภาคเหนือที่อาจได้รับผลกระทบ ประกอบด้วย เขื่อนภูมิพล เขื่อนสิริกิติ์ เพื่อให้การผลิตไฟฟ้าเป็นไปอย่างต่อเนื่อง และไม่ส่งผลกระทบต่อภาพรวมไฟฟ้าในประเทศ ด้านการสนับสนุนช่วยเหลือผู้ประสบภัย ได้มีการเตรียมจัดถุงยังชีพช่วยเหลือประชาชนในพื้นที่ที่ได้รับผลกระทบอย่างทันที
สำหรับด้านน้ำมันเชื้อเพลิง บริษัท ปตท. น้ำมันและการค้าปลีก จำกัด (มหาชน) หรือ โออาร์ มีมาตรการในการป้องกันและตรวจสอบอุปกรณ์และระบบถังเก็บน้ำมันใต้ดินที่สถานีบริการน้ำมันให้อยู่ในสภาพที่ดีอยู่เสมอ เพื่อให้ประชาชนมั่นใจในคุณภาพของน้ำมันเชื้อเพลิงที่สถานีบริการน้ำมัน ว่าเป็นไปตามมาตรฐาน ไม่มีน้ำปนเปื้อน รวมถึงให้พนักงานเตรียมพร้อมรับมือตามแนวปฏิบัติในกรณีที่เกิดเหตุฉุกเฉินที่สถานีบริการน้ำมันเพื่อความปลอดภัยสูงสุดสำหรับผู้บริโภค
นอกจากนี้ สำนักงานพลังงานจังหวัดในพื้นที่ต่าง ๆ ทั่วประเทศจะเตรียมการร่วมกับสถานีบริการน้ำมัน ในการตรวจคุณภาพน้ำมันกรณีสถานีบริการถูกน้ำท่วม พร้อมทั้งจะลงพื้นที่ให้คำปรึกษากับชาวบ้านกรณีอุปกรณ์ด้านพลังงานชุมชน อาทิ บ่อหมักก๊าซชีวภาพ พาราโบล่าโดมอบแห้ง หรือแผงโซลาร์เซลล์ ที่อาจได้รับความเสียหายจากพายุดังกล่าว

ผู้ตรวจราชการกระทรวงพลังงาน เป็นตัวแทนรับรางวัลเลิศรัฐ ประจำปี 2563

วันนี้ 16 ก.ย. 63 นายวิษณุ เครืองาม รองนายกรัฐมนตรี เป็นประธานในพิธีรับมอบรางวัลเลิศรัฐ ประจำปี 2563 โดยมี นายประพนธ์ วงษ์ท่าเรือ ผู้ตรวจราชการกระทรวงพลังงาน เป็นตัวแทนรับรางวัล ณ ห้องรอยัล จูบิลี่ บอลรูม อาคารชาเลนเจอร์ ชั้น 1 อิมแพค เมืองทองธานี จ.นนทบุรี
โอกาสนี้ กระทรวงพลังงานได้รับรางวัลเลิศรัฐ สาขาการบริหารราชการแบบมีส่วนร่วม ประเภทรางวัลสัมฤทธิผลประชาชนมีส่วนร่วม ระดับดี 3 โครงการได้แก่
1. โครงการส่งเสริมการใช้พลังงานแสงอาทิตย์ในการสูบน้ำเพื่อการเกษตร ภายใต้โครงการพลังงานชุมชนจัดการตนเองด้านพลังงาน ปี 2560 ของสำนักงานพลังงานจังหวัดกำแพงเพชร
2. โครงการก้อนเส้าเขย่ามูลสัตว์และแสงแดดเป็นอาหารและเงินตรา@คำแคน ของสำนักงานพลังงานจังหวัดขอนแก่น
3. โครงการร่วมคิดร่วมสร้างเส้นทางสู่ Krabi Goes Green ด้านพลังงานของสำนักงานพลังงานจังหวัดกระบี่

 

ก.พลังงานแจงไม่ได้ยกเลิกส่งเสริม ‘พลังงานชุมชน’และโครงการโรงไฟฟ้าชุมชน

กระทรวงพลังงานชี้แจงกรณีมีกระแสข่าวการยกเลิกนโยบายเกี่ยวกับ ‘พลังงานชุมชน’ ว่าไม่เป็นความจริง เพราะปัจจุบันนโยบายกระทรวงพลังงานยังคงให้ความสำคัญกับการส่งเสริมและสนับสนุนพลังงานชุมชนอย่างต่อเนื่อง และเดินหน้าโรงไฟฟ้าชุมชนในรูปเบบที่เกิดประโยชน์กับเกษตรกรและชุมชนสูงสุด

นายสมภพ พัฒนอริยางกูล โฆษกกระทรวงพลังงาน เปิดเผยถึงกรณีที่มีกระแสข่าวเกี่ยวกับประเด็นที่ว่ารัฐมนตรีว่าการกระทรวงพลังงานคนใหม่จะมายกเลิกพลังงานชุมชน (และอาจหมายรวมถึงโรงไฟฟ้าชุมชน) ทั้งที่เป็นการกระจายโอกาสสู่ท้องถิ่น เกษตรกรสามารถมีส่วนร่วมในการผลิตไบโอแก๊ส นั้น ขอเรียนชี้แจงว่ากระทรวงพลังงานไม่ได้มีนโยบายยกเลิกโครงการพลังงานชุมชนและโครงการโรงไฟฟ้าชุมชนแต่อย่างใด จะเห็นได้จากตามแผนปฏิบัติราชการราย 5 ปี (พ.ศ. 2563 – พ.ศ.2565) ของกระทรวงพลังงานมีเรื่องการสร้างความยั่งยืนและเข้าถึงประชาชน ซึ่งเป็นหนึ่งในแผนงานที่สำคัญ โดยมีเป้าหมายเพื่อให้ประชาชนใช้พลังงานอย่างมีประสิทธิภาพ มีสัดส่วนการผลิตและการใช้พลังงานทดแทนในประเทศเพิ่มขึ้น สอดคล้องกับทิศทางการส่งเสริมการนำแหล่งพลังงานในประเทศมาใช้ และส่งเสริมพลังงานสะอาด เป็นมิตรสิ่งแวดล้อม รวมถึงยกระดับรายได้ประชาชนมีความเป็นอยู่ที่ดีขึ้น

โดยเฉพาะอย่างยิ่งมีแนวทางการพัฒนาที่สนับสนุนเศรษฐกิจฐานรากให้เกิดการสร้างรายได้และพัฒนาคุณภาพชีวิตด้วยเทคโนโลยีพลังงานที่เหมาะสม ผ่านการส่งเสริมการใช้ การลงทุนด้านพลังงานทดแทน ซึ่งก็รวมถึงโครงการผลิตก๊าซชีวภาพ (ไบโอแก๊ส) และชีวมวลรวมอยู่ด้วย และการอนุรักษ์พลังงานในชุมชน พร้อมเสริมสร้างศักยภาพและเตรียมความพร้อมให้กับส่วนท้องถิ่น ชุมชน และเครือข่ายภาคประชาชน นอกจากนี้ ในส่วนของโครงการโรงไฟฟ้าชุมชนก็จะมีการเดินหน้าโครงการนำร่อง โดยมีการทบทวนหลักเกณ์ของโครงการเพื่อให้ประโยชน์เกิดขึ้นกับเกษตรกรและชุมชนอย่างแท้จริงและมีความยั่งยืน

ทั้งนี้ โดยมีแผนงานโครงการสำคัญที่แสดงให้เห็นถึงการสนับสนุนด้านการส่งเสริมชุมชนที่ชัดเจน เช่น แผนงานโรงไฟฟ้าชุมชนนำร่อง สถานีพลังงานชุมชน โครงการเสริมสมรรถนะโครงการเตาชีวมวล โครงการโซลาร์สูบน้ำ โครงการโซลาร์อบแห้ง และกรอบทิศทางของกองทุนเพื่อส่งเสริมการอนุรักษ์พลังงานจะเน้นโครงการพลังงานชุมชน เพื่อให้เกิดการจ้างงาน และสร้างอาชีพด้านการอนุรักษ์พลังงานและพลังงานทดแทนในชุมชน เป็นต้น

การประชุมชี้แจงการขอข้อมูลตำแหน่งงานว่างที่ต้องการจ้างงานในปีงบประมาณ 2564

แบบตอบรับการเข้าร่วมประชุม คลิกที่นี่

ตัวอย่างแบบแจ้งตำแหน่งงาน Job Expo คลิกที่นี่

แบบฟอร์มแจ้งตำแหน่งงาน Job Expo คลิกที่นี่

ปลัดกระทรวงพลังงาน เป็นประธานเปิดงาน “ตลาดนัดพลังงานร่วมใจ”

กระทรวงพลังงานจัดงาน “ตลาดนัดพลังงานร่วมใจ” หนุนนำร่อง 4 ผลิตภัณฑ์แปรรูปของชุมชน กล้วยตาก-ข้าวแตน-ข้าวฮาง-กะปิ ที่กระจายทั่วประเทศกว่า 200 ชุมชนติดตราสัญลักษณ์ “ผลิตภัณฑ์ชุมชน ลดใช้พลังงาน” หวังโปรโมตสินค้าที่ใช้พลังงานได้อย่างมีประสิทธิภาพให้รู้จักวงกว้าง พร้อมช่วยเพิ่มยอดขาย กระตุ้นเศรษฐกิจฐานราก

วันนี้ (14 ก.ย.63) นายกุลิศ สมบัติศิริ ปลัดกระทรวงพลังงาน กล่าวภายหลังการเป็นประธานเปิดงาน “ตลาดนัดพลังงานร่วมใจ” ว่า กิจกรรมนี้อยู่ภายใต้โครงการสร้างมาตรฐานการตรวจวัดและรับรองคุณภาพการแปรรูปผลิตภัณฑ์ชุมชนเพื่อลดการใช้พลังงาน ซึ่งถือเป็นการส่งเสริมเศรษฐกิจระดับชุมชนท้องถิ่นช่วยสร้างความเข้มแข็งพึ่งพาตนเองได้ สามารถสร้างศักยภาพการแข่งขัน ช่วยยกระดับมาตรฐานการครองชีพและความเป็นอยู่ของประชาชนในชุมชนต่างๆ ให้ดีขึ้น ตามเป้าหมายการพัฒนายุทธศาสตร์ชาติ พ.ศ.2561 -2580 ในด้านเศรษฐกิจฐานราก “การจัดงานวันนี้มีบทบาทช่วยผลักดัน และยกระดับผลิตภัณฑ์ต่าง ๆของชุมชนที่ผ่านเกณฑ์รับรองและได้รับตราสัญลักษณ์ “ผลิตภัณฑ์ชุมชน ลดใช้พลังงาน” จากกระทรวงพลังงานให้เป็นที่รู้จักในวงกว้างมากขึ้น ซึ่งนอกจากจะทำให้ชุมชนต่างๆ ได้เห็นความสำคัญของการจัดการพลังงานในกระบวนการแปรรูปผลิตภัณฑ์ชุมชน ใช้พลังงานอย่างมีประสิทธิภาพแล้ว ยังเป็นการลดตันทุนในการผลิต กระตุ้นยอดจำหน่ายสินค้า และทำให้มีช่องทางการจำหน่ายสินค้าของชุมชนที่มีคุณภาพ สะอาด ปลอดภัยไปสู่ผู้บริโภค ส่งผลให้เกิดการขยายตัวทางเศรษฐกิจฐานรากของประเทศได้อย่างยั่งยืนต่อไป” นายกุลิศ กล่าว งาน “ตลาดนัดพลังงานร่วมใจ” นี้ จัดขึ้นภายใต้“โครงการสร้างมาตรฐานการตรวจวัดและรับรองคุณภาพการแปรรูปผลิตภัณฑ์ชุมชน เพื่อลดการใช้พลังงาน” โดยสำนักส่งเสริมการมีส่วนร่วมของประชาชน กระทรวงพลังงาน ได้รับการสนับสนุนจากกองทุนเพื่อส่งเสริมการอนุรักษ์พลังงาน เป้าหมายเพื่อสร้างมาตรฐานการตรวจวัดการใช้พลังงานในกระบวนการผลิตและการแปรรูปผลิตภัณฑ์ทางการเกษตรภายในชุมชนต่างๆ พร้อมจัดทำเกณฑ์การมอบตราสัญลักษณ์ “ผลิตภัณฑ์ชุมชน ลดใช้พลังงาน” มอบให้กับกลุ่มวิสาหกิจชุมชน กลุ่มแม่บ้าน หรือ กลุ่มชุมชนอื่นๆที่สามารถลดการใช้พลังงานในการแปรรูปผลิตภัณฑ์ลงได้ ซึ่งเป็นการช่วยลดต้นทุนด้านการผลิตและเพิ่มรายได้ให้แก่ชุมชน โดยการนำเทคโนโลยีพลังงานมาประยุกต์ใช้ในกระบวนการผลิตและแปรรูป
จากการดำเนินงานในปี 2562-2563 ที่ผ่านมา คณะทำงานได้ลงพื้นที่สำรวจและเก็บข้อมูลการใช้พลังงานของกลุ่มแปรรูปผลิตภัณฑ์นำร่อง 4 ประเภท ที่มีการกระจายตัวอยู่ทั่วประเทศ คือ กล้วยตาก ข้าวแตน ข้าวฮาง และกะปิ จำนวนรวมทั้งสิ้น 206 ชุมชน เพื่อนำมาวิเคราะห์หาค่าดัชนีการใช้พลังงานต่อหน่วยผลิต และค่าการปล่อยก๊าซเรือนกระจกของแต่ละผลิตภัณฑ์ สำหรับจัดทำเป็นเกณฑ์การรับรอง “ผลิตภัณฑ์ชุมชน ลดใช้พลังงาน” ซึ่งกระทรวงพลังงาน ได้รับความร่วมมือจากหน่วยงานที่มีหน้าที่ให้การรับรองและออกเครื่องหมายรับรองมาตราฐานผลิตภัณฑ์ เช่น กรมการพัฒนาชุมชน กระทรวงมหาดไทย กรมพัฒนาธุรกิจการค้า กระทรวงพาณิชย์ กรมส่งเสริมการเกษตร กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ กรมส่งเสริมอุตสาหกรรม และสำนักงานมาตรฐานผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรม กระทรวงอุตสาหกรรม มาร่วมเป็นคณะกรรมการกำหนดมาตรฐานตราสัญลักษณ์ “ผลิตภัณฑ์ชุมชน ลดใช้พลังงาน” โดยมีผู้ผ่านการรับรองผลิตภัณฑ์ฯและได้ตราสัญลักษณ์ฯ จำนวนทั้งสิ้น 141 แห่ง จาก 206 แห่ง
การจัดงาน “ตลาดนัดพลังงานร่วมใจ” ในวันนี้ มีกลุ่มแปรรูปผลิตภัณฑ์ชุมชนจากทุกภาคทั่วประเทศ จำนวนทั้งสิ้น 20 แห่ง มาร่วมการจำหน่ายสินค้าประกอบด้วย ตัวแทนของกลุ่มแปรรูปผลิตภัณฑ์ที่ผ่านเกณฑ์การรับรองและได้รับตราสัญลักษณ์ฯ จำนวน 8 แห่ง ส่วนอีก 12 แห่งนั้น เป็นกลุ่มแปรรูปผลิตภัณฑ์ฯ ซึ่งเป็นกลุ่มเป้าหมายของโครงการที่จะดำเนินการขยายผลในปีต่อๆไป

กระทรวงพลังงาน จับมือ กระทรวง อว. กำหนดทิศทางการวิจัยและพัฒนา หนุนใช้เทคโนโลยี ส่งเสริมการใช้พลังงานสะอาด เพื่อลดการพึ่งพาต่างประเทศสร้างความมั่นคงของประเทศอย่างยั่งยืน

กระทรวงพลังงาน จับมือ กระทรวง อว. กำหนดทิศทางการวิจัยและพัฒนา หนุนใช้เทคโนโลยี ส่งเสริมการใช้พลังงานสะอาด เพื่อลดการพึ่งพาต่างประเทศสร้างความมั่นคงของประเทศอย่างยั่งยืน

(14 กันยายน 2563) ณ ศูนย์เอนเนอร์ยี่ คอมเพล็กซ์ กระทรวงพลังงาน : กระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม และ กระทรวงพลังงาน ลงนามบันทึกข้อตกลงความร่วมมือการกำหนดกรอบทิศทางและการบริหารจัดการงานวิจัยและพัฒนาเทคโนโลยีด้านพลังงาน เพื่อร่วมกำหนดกรอบนโยบายและทิศทางงานวิจัยและพัฒนาด้านเทคโนโลยีพลังงานที่ชัดเจนสอดคล้องกับกรอบนโยบายพลังงานของชาติ ซึ่งยึดจากแผนบูรณาการพลังงานระยะยาว 20 ปี รวม 5 แผน ได้แก่ แผนพัฒนากำลังผลิตไฟฟ้าของประเทศ แผนอนุรักษ์พลังงาน แผนพัฒนาพลังงานทดแทนและพลังงานทางเลือก แผนบริหารจัดการน้ำมันเชื้อเพลิง และแผนบริหารจัดการก๊าซธรรมชาติ เพื่อส่งเสริมการใช้พลังงานของประเทศอย่างยั่งยืน โดยมี นายสุพัฒน์พงษ์ พันธ์มีเชาว์ รองนายกรัฐมนตรี และรัฐมนตรีว่าการกระทรวงพลังงาน และ ศ.ดร.เอนก เหล่าธรรมทัศน์ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตรรม ให้เกียรติเป็นประธานและสักขีพยานในการลงนาม พร้อมด้วย นายกุลิศ สมบัติศิริ ปลัดกระทรวงพลังงาน และ รศ.นพ.สรนิต ศิลธรรม ปลัดกระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม (อว.) พร้อมด้วยผู้บริหารร่วมลงนาม
นายกุลิศ สมบัติศิริ ปลัดกระทรวงพลังงาน กล่าวว่า การลงนามบันทึกข้อตกลงความร่วมมือการบริหารจัดการงานวิจัยและพัฒนาเทคโนโลยีพลังงาน ระหว่างกระทรวงพลังงานและกระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม จะมีส่วนช่วยกำหนดกรอบนโยบายและทิศทางงานวิจัยและพัฒนาด้านเทคโนโลยีพลังงานที่ชัดเจน สอดคล้องนโยบายพลังงานของชาติตามแผนบูรณาการพลังงานระยาว 20 ปี โดยกลไกการดำเนินงานร่วมกันนี้จะช่วยขับเคลื่อนประเทศสู่การเปลี่ยนผ่านด้านพลังงาน สอดรับกับแนวทางของกระทรวงพลังงานในการเตรียมพร้อมรับมือในยุคดิจิทัล 4D+1E คือ
1.DIGITALIZATION เช่น การพัฒนาระบบดิจิทัลเพื่อบริหารจัดการพลังงานแบบอัจฉริยะ
2.DECARBONIZATION การลดคาร์บอน ส่งเสริมพลังงานหมุนเวียนที่มีปล่อยคาร์บอนน้อยลง
3.DECENTRALIZATION การพัฒนาระบบโครงข่ายไฟฟ้าอัจฉริยะ รองรับการกระจายศูนย์สำหรับระบบผลิตไฟฟ้าในพื้นที่ต่างๆ
4.DE-REGULATION การผ่อนปรนกฎระเบียบ การเปิด Sandbox ให้เกิดการพัฒนาและทดสอบนวัตกรรมด้านพลังงาน ส่งเสริมให้เกิด Start Up ด้านพลังงาน
5.ELECTRIFICATION เช่น การพัฒนายานยนต์ไฟฟ้า
“บันทึกข้อตกลงความร่วมมือการบริหารจัดการงานวิจัยและพัฒนาเทคโนโลยีพลังงานนี้จะเป็นก้าวสำคัญในการนำไปสู่การบรรลุเป้าหมายการฟื้นฟูและเยียวยาเศรษฐกิจที่เป็นภารกิจเร่งด่วนของรัฐบาล เสริมสร้างความเข้มแข็งให้กับเศรษฐกิจไทยเพื่อรองรับกับความไม่แน่นอนที่อาจเกิดขึ้นในอนาคต รวมทั้งช่วยขับเคลื่อนเป้าหมายการพัฒนาประเทศตามบูรณาการพลังงานระยาว 20 ปี และแผนยุทธศาสตร์ชาติอีกด้วย” ปลัดกระทรวงพลังงานกล่าว
รศ.นพ.สรนิต ศิลธรรม ปลัดกระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม (อว.) กล่าวว่า กระทรวง อว. มีนโยบายและให้ความสำคัญในการดำเนินงานด้านพลังงานและสร้างความเป็นเลิศในการเป็นผู้นำด้านเทคโนโลยีพลังงาน พร้อมทั้งเชื่อมโยงงานวิจัยและพัฒนากับกระทรวงพลังงานและภาคส่วนต่าง ๆ ในการขับเคลื่อนแผนพลังงานไปสู่การใช้งานจริง สำหรับ การลงนามความร่วมมือในวันนี้ เพื่อกำหนดกรอบนโยบายและทิศทางงานวิจัยและพัฒนา ด้านเทคโนโลยีพลังงานที่ชัดเจนและสอดคล้องกับกรอบนโยบายพลังงานของชาติ โดยเฉพาะในเรื่องของพลังงานทดแทน พลังงานแสงอาทิตย์ พลังงานจากชีวมวลต่าง ๆ ระบบกักเก็บพลังงาน การจัดการพลังงาน และการเพิ่มประสิทธิภาพการใช้พลังงาน รวมถึงการขับเคลื่อนวิจัยและพัฒนาด้านเทคโนโลยีพลังงาน และนำผลงานวิจัยและพัฒนาไปใช้ประโยชน์ พร้อมทั้งขยายผลในวงกว้างเพื่อสร้างผลกระทบเชิงเศรษฐกิจ สังคมและสิ่งแวดล้อม อีกทั้งเป็นการพัฒนาประสิทธิภาพกลไกการบริหารจัดการงานวิจัยและพัฒนาด้านเทคโนโลยีพลังงานของประเทศไทย ให้มีการกำหนดโจทย์ที่เหมาะสม ตอบสนองความต้องการที่แท้จริงของประเทศ และมีศักยภาพนำไปใช้ประโยชน์จริงให้กับทุกภาคส่วน นอกจากนี้ ยังพัฒนาการดำเนินงานด้านวิชาการ สนับสนุนทรัพยากร และพัฒนาระบบข้อมูลด้านการวิจัย พัฒนาและนวัตกรรมด้านเทคโนโลยีพลังงานที่มีความทันสมัย ทั้งนี้เพื่อเพื่อลดการพึ่งพิงเทคโนโลยีจากต่างประเทศ แก้ปัญหาในอุตสาหกรรมพลังงานของประเทศ สร้างความมั่นคงให้กับประเทศอย่างยั่งยืนต่อไป

นโยบายและแผนประชาสัมพันธ์แห่งชาติ ฉบับที่ 5 พ.ศ.2563-2565 (ฉบับปรับปรุงให้สอดคล้องกับยุทธศาสตร์ชาติ 20 ปี)

นโยบายและแผนประชาสัมพันธ์แห่งชาติ ฉบับที่ 5 พ.ศ.2563-2565 (ฉบับปรับปรุงให้สอดคล้องกับยุทธศาสตร์ชาติ 20 ปี)

คลิกที่นี่

ปลัดกระทรวงพลังงาน เป็นประธานการสัมมนา “สรุปผลการศึกษาโครงการศึกษาการจัดทำแผนยุทธศาสตร์และออกแบบการพัฒนาศูนย์สารสนเทศพลังงานแห่งชาติ เพื่อรองรับการใช้ข้อมูลขนาดใหญ่ (Big Data) ในการขับเคลื่อนแผนพลังงานของประเทศไทย”

ก.พลังงานเปิดโรดแมป “ศูนย์สารสนเทศพลังงานแห่งชาติ” เร่งรองรับยุค Big Data เชื่อมโยงข้อมูลพลังงานขับเคลื่อนเศรษฐกิจ

กระทรวงพลังงาน พร้อมเดินหน้าจัดตั้งศูนย์สารสนเทศพลังงานแห่งชาติ หลังได้ข้อสรุปจากผลการศึกษา วางภารกิจหลักเป็นศูนย์กลางแลกเปลี่ยน เชื่อมโยง บูรณาการและเผยแพร่ข้อมูลด้านพลังงานให้กับทุกภาคส่วน เพื่อนำไปใช้วิเคราะห์ คาดการณ์ด้านพลังงานได้อย่างถูกต้อง แม่นยำ พร้อมเปิดโรดแมป 3 ระยะหนุนขับเคลื่อนแผนบูรณาการพลังงานระยะยาวของประเทศ

​     นายกุลิศ สมบัติศิริ ปลัดกระทรวงพลังงาน เปิดเผยภายหลังเป็นประธานการสัมมนา “สรุปผลการศึกษาโครงการศึกษาการจัดทำแผนยุทธศาสตร์และออกแบบการพัฒนาศูนย์สารสนเทศพลังงานแห่งชาติ เพื่อรองรับการใช้ข้อมูลขนาดใหญ่ (Big Data) ในการขับเคลื่อนแผนพลังงานของประเทศไทย”ว่า แนวทางการจัดทำยุทธศาสตร์และการออกแบบในการจัดตั้ง “ศูนย์สารสนเทศพลังงานแห่งชาติ” (National Energy Information Center : NEIC) ซึ่งสำนักงานนโยบายและแผนพลังงาน กระทรวงพลังงาน ได้รับมอบหมายให้ดำเนินการศึกษาและขณะนี้มาถึงบทสรุปผลการศึกษาของโครงการฯ แล้ว โดยวันนี้ (9 ก.ย.63) ได้จัดสัมมนาขึ้นเพื่อนำเสนอสรุปผลการศึกษาเกี่ยวกับการจัดตั้งศูนย์สารสนเทศพลังงานแห่งชาติต่อหน่วยงานที่เกี่ยวข้องเพื่อให้ร่วมให้ข้อเสนอแนะเพิ่มเติมก่อนที่จะนำผลสรุปที่ได้ดำเนินการต่อไป

​     สำหรับผลการศึกษาได้วางวิสัยทัศน์ของศูนย์สารสนเทศพลังงานแห่งชาติให้เป็นผู้ให้บริการข้อมูลและสารสนเทศด้านพลังงานของประเทศที่ตรงตามความต้องการและเป็นที่เชื่อถือของผู้ใช้ทุกกลุ่ม ทุกประเด็น โดยวางพันธกิจสำคัญในการพัฒนาระบบเทคโนโลยีสารสนเทศได้มาตรฐานสากล ตามหลักธรรมาภิบาลและตอบสนองความต้องการของผู้ใช้ข้อมูลทุกกลุ่ม โดยประสานความร่วมมือและสร้างเครือข่ายในการรับและเผยแพร่ข้อมูลพลังงาน สามารถให้บริการข้อมูล บทวิเคราะห์ การคาดการณ์ด้านพลังงานให้แก่ผู้สนใจนำไปใช้ประโยชน์ เสริมสร้างความเข้าใจ สร้างการเข้าถึงแก่ผู้เกี่ยวข้องทุกภาคส่วน

​     ทั้งนี้ได้วางแนวทางที่เป็น Road Map ในการพัฒนาศูนย์ฯ เป็น 3 ระยะคือ ระยะที่ 1 ปี 2564-2566 เป็นการเชื่อมโยงข้อมูลหน่วยงานภายในกระทรวงพลังงาน เพื่อจัดทำธรรมาภิบาลข้อมูลภาครัฐด้านพลังงานให้เป็นรากฐานที่สำคัญ และพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานสารสนเทศเพื่อเชื่อมต่อระบบคลาวด์กลางภาครัฐ ระยะที่ 2 ปี 2567-2569 เป็นการเชื่อมโยงข้อมูลหน่วยงานภายนอกกระทรวงพลังงาน เตรียมความพร้อมตามแนวทางของรัฐบาลในการมุ่งสู่แผนพัฒนารัฐบาลดิจิทัลอย่างเต็มรูปแบบ และระยะที่ 3 ปี 2570-2579 เป็นการเชื่อมโยงคลังข้อมูลแห่งชาติ ทั้งด้านเศรษฐกิจ สังคม และสิ่งแวดล้อม รวมทั้งการให้บริการข้อมูลสารสนเทศเชิงพาณิชย์แก่ผู้ที่สนใจ เพื่อผลักดันให้ศูนย์ฯ เป็นหน่วยงานที่มีความอิสระและเป็นที่ยอมรับในระดับสากล

​     “ในสถานการณ์ที่ประเทศต้องเร่งฟื้นฟูเศรษฐกิจภายหลังได้รับผลกระทบจากสถานการณ์การระบาดของโรคโควิด-19 การบริหารจัดการกับข้อมูลขนาดใหญ่ หรือ Big Data จึงมีความจำเป็นต้องเร่งประยุกต์นำ Big Data มาใช้กับเทคโนโลยี เพื่อช่วยบริหารจัดการ วางนโยบายและมาตรการด้านพลังงานให้สอดคล้องกับวิถีแบบใหม่หรือ New Normal เพื่อสามารถตอบสนองได้ทันท่วงทีต่อสถานการณ์ และพฤติกรรมของผู้คนที่จะปรับเปลี่ยนไปหลังผ่านวิกฤตการณ์ครั้งนี้ ซึ่ง สนพ. เชื่อมั่นว่าการนำผลการศึกษาที่ได้เป็นข้อเสนอการพัฒนาศูนย์สารสนเทศพลังงานแห่งชาติ จะมีส่วนช่วยขับเคลื่อนเป็นศูนย์กลางการเชื่อมโยงข้อมูลแผนบูรณาการพลังงานระยะยาวของประเทศต่อไป” ปลัดกระทรวงพลังงาน กล่าวในท้ายที่สุด

ปิดฉาก SOME ครั้งที่ 38 ชูประเด็นฟื้นฟูเศรษฐกิจ เร่งจ้างงานในภูมิภาค เตรียมส่งต่อที่ประชุมรัฐมนตรีพลังงานอาเซียนปลายปีนี้

การประชุมระดับเจ้าหน้าที่อาวุโสอาเซียนด้านพลังงาน หรือ SOME ครั้งที่ 38 ในรูปแบบออนไลน์เสร็จสิ้นลงแล้ว เปิดผลการประชุมเน้นแนวทางความร่วมมือด้านการใช้นวัตกรรมขับเคลื่อนสาขาพลังงานในยุคเปลี่ยนผ่าน ที่ประชุมหนุนนโยบาย “พลังงานร่วมใจ รวมไทยสร้างชาติ”ที่จะมีส่วนช่วยกระตุ้นการลงทุนฟื้นฟูเศรษฐกิจและเพิ่มอัตราการจ้างงานภายในภูมิภาค พร้อมเตรียมสรุปผลประชุมนำเสนอสู่การพิจารณาระดับรัฐมนตรีพลังงานอาเซียน หรือ AMEM ครั้งที่ 38 ซึ่งจะมีขึ้นในเดือนพฤศจิกายน 63 ต่อไป
นายกุลิศ สมบัติศิริ ปลัดกระทรวงพลังงาน เปิดเผยว่า การประชุมออนไลน์เจ้าหน้าที่อาวุโสอาเซียนด้านพลังงาน ครั้งที่ 38 และการประชุมที่เกี่ยวข้อง (The 38th Senior Officials Meeting on Energy and Associated Meetings : The 38th SOME) ที่มีขึ้นระหว่างวันที่ 24 – 27 สิงหาคม 2563 ได้เสร็จสิ้นลงแล้ว โดยการประชุมครั้งนี้มีประเด็นการประชุมที่สำคัญ ดังนี้
1. การกำหนดแนวทางการดำเนินงานในแผนปฏิบัติการความร่วมมือด้านพลังงานอาเซียนระยะที่ 2 (APAEC PHASE II) ซึ่งจะใช้ในปี 2021-2025 พร้อมทั้งสรุปผลการดำเนินงานโครงการภายใต้แผนปฏิบัติการความร่วมมือด้านพลังงานอาเซียนระยะที่ 1 (APAEC PHASE I) และโครงการที่จะดำเนินการต่อเนื่องไปในอนาคต ที่อยู่ภายใต้กรอบความร่วมมือ 7 สาขา คือ ความร่วมมือด้านไฟฟ้า ความร่วมมือด้านปิโตรเลียม ความร่วมมือด้านถ่านหิน ความร่วมมือด้านพลังงานทดแทน ความร่วมมือด้านการอนุรักษ์พลังงาน ความร่วมมือด้านนโยบายและแผนพลังงาน และความร่วมมือด้านพลังงานนิวเคลียร์ โดยมุ่งเน้นการใช้นวัตกรรมทางพลังงานในการขับเคลื่อนสาขาพลังงานในยุคเปลี่ยนผ่าน (Energy transition)
2. การอภิปรายแนวโน้มและสถานการณ์พลังงานโลก ปัญหาที่เผชิญและแนวทางการฟื้นฟูทางด้านพลังงานภายหลังจากการแพร่ระบาดของโรคโควิด-19 ซึ่งเป็นประเด็นที่กลุ่มประเทศสมาชิกอาเซียน ประเทศคู่เจรจา รวมถึงองค์กรด้านพลังงานระหว่างประเทศให้ความสนใจเป็นอย่างมาก เนื่องจากผลกระทบของโรคโควิด-19 ส่งผลในวงกว้างต่อเศรษฐกิจการจ้างงานและรูปแบบการใช้และจัดหาพลังงานที่เปลี่ยนแปลงไป นอกจากนี้ ยังได้มีการหารือแนวทางการรับมือในกรณีเกิดสถานการณ์ฉุกเฉินที่อาจมีผลกระทบต่อด้านพลังงานในอนาคตอีกด้วย
3. ประเทศไทยได้เสนอนโยบาย “พลังงานร่วมใจ รวมไทยสร้างชาติ” ซึ่งเป็นนโยบายของรองนายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรีว่าการกระทรวงพลังงาน เพื่อเป็นแนวทางในการกระตุ้นการลงทุนเพื่อฟื้นฟูเศรษฐกิจและเพิ่มอัตราการจ้างงานภายในภูมิภาค
“ประเทศผู้เข้าร่วมการประชุมให้ความสนใจเป็นอย่างมาก พร้อมทั้งให้การสนับสนุนโยบายดังกล่าว เพราะจะเป็นแนวทางการฟื้นฟูเศรษฐกิจที่สำคัญ และก่อให้เกิดการจ้างงานภายในภูมิภาค โดยจะเตรียมเสนอต่อที่ประชุมในระดับรัฐมนตรีอาเซียนด้านพลังงานครั้งที่ 38 ที่จะจัดขึ้นระหว่างวันที่ 2 – 6 พฤศจิกายน 2563 นี้ต่อไป” ปลัดกระทรวงพลังงานกล่าว
ทั้งนี้ กล่าวโดยสรุปการประชุมในครั้งนี้เน้นประเด็นที่การฟื้นฟูเศรษฐกิจและการจ้างงานภายในภูมิภาค การส่งเสริมการค้าขายพลังงานทั้งด้านไฟฟ้าและ LNG การลงทุนโครงสร้างพื้นฐานด้านพลังงาน การรับมือกับสถานการณ์ฉุกเฉินที่อาจส่งผลกระทบต่อภาคพลังงานในอนาคต รวมถึงการกำหนดนโยบายและแนวทางการดำเนินงานเพื่อกระตุ้นการเปลี่ยนผ่านพลังงานไปสู่ยุคพลังงานสะอาด เพื่อความมั่นคง มั่งคั่ง และยั่งยืน รวมทั้งให้มีความสอดรับกับเป้าหมายการพัฒนาที่ยั่งยืน (SDG) ขององค์การสหประชาชาติอีกด้วย

ปลัดกระทรวงพลังงาน เผยประชุมออนไลน์ SOME ครั้งที่ 38 สำเร็จ ชาติอาเซียนเร่งขยายความร่วมมือ 7 สาขาพลังงานกู้วิกฤตโควิด

วันนี้ (วันที่ 25 ส.ค.63) นายกุลิศ สมบัติศิริ ปลัดกระทรวงพลังงาน เปิดเผยว่า ในระหว่างวันที่ 24 – 27 สิงหาคม 2563 จะมีการประชุมเจ้าหน้าที่อาวุโสอาเซียนด้านพลังงาน ครั้งที่ 38 และการประชุมที่เกี่ยวข้อง (The 38th Senior Officials Meeting on Energy and Associated Meetings : The 38th SOME) โดยประเทศไทยได้ส่งมอบการเป็นประธานอาเซียนปี 2562 ให้ประเทศเวียดนามประธานอาเซียนปี 2563 ซึ่งประเทศเวียดนามเป็นเจ้าภาพจัดการประชุมอาเซียนในปี 2563 นี้ และการประชุมครั้งนี้ถือเป็นครั้งแรกที่มีการจัดประชุม SOME รูปแบบออนไลน์ ที่ถือเป็น New Normal จากสถานการณ์การแพร่ระบาดของโรคโควิด-19 ประเทศไทยได้นำนโยบาย “พลังงานร่วมใจ รวมไทยสร้างชาติ” ของรองนายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรีว่าการกระทรวงพลังงาน ที่เน้นการลงทุนเพื่อกระตุ้นเศรษฐกิจ สร้างงาน สร้างรายได้ และรองรับนวัตกรรมด้านพลังงานอนาคต เสนอต่อที่ประชุมเพื่อให้ประเทศสมาชิกอาเซียนสนับสนุนและร่วมมือกันลงทุนด้านพลังงานในโครงสร้างพื้นฐาน (สายส่งและท่อก๊าซธรรมขาติ) รวมถึงธุรกิจพลังงานสะอาดและนวัตกรรมใหม่ด้านพลังงาน เพื่อกระตุ้นเศรษฐกิจในภูมิภาคอาเซียนและช่วยเหลือประชาชนที่ได้รับผลกระทบจาก COVID-19 โดยได้ยกตัวอย่างนโยบายโรงไฟฟ้าชุมชนที่ใช้เชื้อเพลิงจากพลังงานทดแทน (RE) และการนำน้ำมันปาล์มดิบมาผสมน้ำมันดีเซลกับการนำเอทานอลมาผสมน้ำมันเบนซินที่ทำเป็นนโยบายหลักของประเทศ

การประชุมครั้งนี้ มีวัตถุประสงค์หลักที่จะผลักดันร่างแผนปฏิบัติการความร่วมมือพลังงานอาเซียน ระยะที่ 2 (ASEAN Plan of Action on Energy Cooperation : APAEC Phase 2) 2021 – 2025 ซึ่งแผนนี้เป็นแผนใหม่ที่ต่อเนื่องจากแผนระยะที่ 1 เพื่อที่ประเทศสมาชิกอาเซียนจะได้นำแผนปฏิบัติการนี้ไปดำเนินการให้เกิดผลสำเร็จเริ่มตั้งแต่ปี 2564 (2021) เป็นต้นไป ภายใต้ 7 สาขาความร่วมมือ ดังนี้

  1. ความร่วมมือการเชื่อมโยงโครงข่ายไฟฟ้าอาเซียน (ASEAN Power Grid: APG) การขยายการซื้อขายไฟฟ้าแบบพหุภาคีไปยังประเทศอื่น ๆ ในภูมิภาค รวมถึงการเพิ่มศักยภาพโครงสร้างพื้นฐานเพื่อรองรับการดำเนินการเพื่อเสริมสร้างความมั่นคงทางพลังงานในอาเซียน
  2. ความร่วมมือด้านปิโตรเลียม (Trans ASEAN Gas Pipeline: TAGP) ที่ประชุมเห็นชอบการพัฒนาตลาดร่วมก๊าซธรรมชาติในภูมิภาค (Common Gas Market) และการเชื่อมโยงขยายการซื้อขายก๊าซธรรมชาติโดยใช้ Small Scale LNG พร้อมทั้งสนับสนุนการใช้ก๊าซ ในการเดินเรือ หรือ LNG Bunkering
  3. ความร่วมมือด้านถ่านหิน (Coal and Clean Coal Technology: CCT) ที่ประชุมเห็นชอบและพร้อมที่จะลงนามในบันทึกข้อตกลงจัดตั้งศูนย์ข้อมูลพลังงานถ่านหินสะอาดอาเซียน (ASEAN Coal Centre of Excellence) ณ ประเทศอินโดนีเซีย และระบบข้อมูลพลังงานถ่านหินอาเซียน (ASEAN Coal Data and Information System: ACDIS)
  4. ความร่วมมือในการใช้พลังงานอย่างมีประสิทธิภาพและการอนุรักษ์พลังงาน (Energy Efficiency & Conservation: EE&C) ที่ประชุมเห็นชอบการเพิ่มเป้าการลดความเข้มการใช้พลังงานจากที่กำหนดไว้เดิมร้อยละ 30 เป็นร้อยละ 32 ภายในปี 2025 เนื่องจากในปัจจุบันประเทศสมาชิกได้ดำเนินการสำเร็จแล้วร้อยละ 24.4 ในปี 2019
  5. ความร่วมมือด้านพลังงานทดแทน (Renewable Energy: RE) ที่ประชุมเห็นชอบเป้าสัดส่วนการใช้พลังงานทดแทนร้อยละ 23 เทียบกับปริมาณพลังงานที่ผลิตได้ทั้งหมด (Total Primary Energy Supply) และร้อยละ 35 เทียบกับปริมาณกำลังการผลิตติดตั้งของโรงไฟฟ้าทั้งหมด (Installed Power Capacity) ในปี 2025 ซึ่งเป้าที่กำหนดเป็นเป้าหมายที่ท้าทายประเทศสมาชิกอาเซียนเนื่องจากในปัจจุบัน (2018) อาเซียนดำเนินการได้เพียงร้อยละ 13.3 เทียบกับปริมาณพลังงานที่ผลิตได้ทั้งหมด (Total Primary Energy Supply) และร้อยละ 27.1 เทียบกับปริมาณกำลังการผลิตติดตั้งของโรงไฟฟ้าทั้งหมด (Installed Power Capacity) ณ ปัจจุบันประเทศไทยมีกำลังการผลิตติดตั้งจากพลังงานทดแทน 11,890 เมกะวัตต์ หรือคิดเป็นร้อยละ 18 ของกำลังการผลิตติดตั้งไฟฟ้าจากพลังงานทดแทนของทั้งอาเซียน และมีการใช้เชื้อเพลิงชีวภาพในภาคขนส่งมากที่สุดในอาเซียน และมีการใช้เอทานอลอยู่ที่ประมาณ 4 ล้านลิตรต่อวัน ในขณะที่การใช้ไบโอดีเซลอยู่ที่ 5.22 ล้านลิตรต่อวัน
  6. ความร่วมมือด้านนโยบายและแผนพลังงานอาเซียน (Regional Energy Policy & Planning: REPP) จัดทำ ASEAN Energy Outlook ฉบับที่ 7 เพื่อเป็นแนวทางในการพัฒนาความมั่นคงด้านพลังงาน เสริมสร้างความสามารถในการแข่งขันทางเศรษฐกิจ ความยั่งยืนทางสิ่งแวดล้อมและความร่วมมือระหว่างประเทศ นอกจากนี้ ที่ประชุมยังเห็นชอบที่จะพิจารณาแนวทางการเพิ่มการค้าการลงทุนด้านพลังงาน เพื่อกระตุ้นเศรษฐกิจและการจ้างงานเป็นการเพิ่มเติมด้วย
  7. ความร่วมมือด้านพลังงานนิวเคลียร์ (Civilian Nuclear Energy: CNE) ที่ประชุมสนับสนุนการสร้างความร่วมมือด้านการใช้พลังงานนิวเคลียร์ในภูมิภาคอาเซียนสำหรับประชาชนอย่างปลอดภัยและยั่งยืน แลกเปลี่ยนข้อมูลเพื่อสร้างขีดความสามารถและเครือข่ายความร่วมมือเชิงเทคนิคและเทคโนโลยีพลังงานนิวเคลียร์ มุ่งสร้างความตระหนักรู้และความเข้าใจแก่สาธารณชนเกี่ยวกับพลังงานนิวเคลียร์เพื่อการผลิตไฟฟ้าในภูมิภาค

นอกจากนี้ อาเซียนจะได้ประชุมหารือร่วมกับประเทศคู่เจรจา อาทิ สหรัฐฯ จีน ญี่ปุ่น เกาหลีใต้ รัสเซีย เป็นต้น เกี่ยวกับความร่วมมือในการเชื่อมโยงทางพลังงานเพื่อเสริมสร้างความมั่นคงทางพลังงานของอาเซียน รวมถึงการหารือกับองค์กรพลังงานระหว่างประเทศ อาทิ ทบวงการพลังงานระหว่างประเทศ (IEA) และทบวงการพลังงานหมุนเวียนระหว่างประเทศ (IRENA) เกี่ยวกับสถานการณ์พลังงานโลกและผลกระทบ พร้อมทั้งการรับมือจากการแพร่ระบาดของโรคโควิด-19 ในภาคพลังงาน

สำหรับการประชุม SOME ครั้งที่ 38 มีประเทศสมาชิกอาเซียนเข้าร่วม 10 ประเทศ และประเทศคู่เจรจา 8 ประเทศ และองค์กรระหว่างประเทศ 2 องค์กร โดยผลการประชุมในครั้งนี้จะได้นำเสนอต่อที่ประชุมระดับรัฐมนตรีพลังงานอาซียนครั้งที่ 38 ที่ประเทศเวียดนาม ในช่วงเดือนพฤศจิกายน 2563 ซึ่งอาจจะต้องใช้รูปแบบการประชุมออนไลน์เช่นเดียวกัน หากสถานการณ์การแพร่ระบาดของโรคโควิดยังไม่คลี่คลายลง

ปลัดกระทรวงพลังงานเปิด “การประชุม SOME 38 “

วันที่ 24 สิงหาคม 2563 นายกุลิศ สมบัติศิริ ปลัดกระทรวงพลังงาน ได้กล่าวเปิดการประชุมเจ้าหน้าที่อาวุโสอาเซียนด้านพลังงานในวาระการส่งต่อการเป็นประธานการประชุมให้แก่เวียดนาม โดยสรุปสาระสำคัญดังนี้
– ปีนี้เป็นปีที่พิเศษสำหรับเหล่าประเทศอาเซียนเนื่องจากผลกระทบจากการแพร่ระบาดของไวรัสโคโรนา ทำให้ไม่สามารถจัดการประชุมประจำปีในรูปแบบปกติเหมือนทุกๆ ปีได้ แต่ด้วยความสามารถ และความมุ่งมั่นของทุกๆฝ่ายภายในภูมิภาคในการร่วมมือเพื่อที่จะพัฒนาภูมิภาคอาเซียนอย่างต่อเนื่อง จึงเป็นที่มาของการประชุมในรูปแบบ new normal ในวันนี้ ให้สามารถทำงานให้บรรลุเป้าหมายที่ตั้งไว้ภายใต้สถานการณ์ที่ไม่ปกติขณะนี้ได้อย่างต่อเนื่อง

– เป็นที่ทราบกันดีว่าการแพร่ระบาดของ COVID-19 นี้ส่งผลกระทบต่อเป้าหมาย ความมั่นคง ยั่งยืนและเข้าถึงได้ในด้านพลังงาน ดังนั้น นับเป็นโอกาสอันเหมาะสมในการหารือร่วมกันของประเทศในภูมิภาคร่วมกับภาคส่วนต่าง ๆ เพื่อหารือเกี่ยวกับเเนวทางที่จะรับมือกับสถานการณ์ฉุกเฉินนี้ และแนวทางการฟื้นฟูทางด้านพลังงาน โดยให้มีความยืดหยุ่น และสามารถดัดแปลงได้เพื่อเตรียมพร้อมรับมือกับสถานการณ์ฉุกเฉินอื่นๆ ที่อาจเกิดขึ้นในอนาคต

– ทั้งนี้ ผมขอแสดงความยินดีกับความสำเร็จของแผนปฏิบัติการความร่วมมืออาเซียนด้านพลังงานระยะที่ 1 APAEC Phase I 2016-2020 และขอขอบคุณประเทศสิงคโปร์ในฐานะประธานคณะกรรมการร่างแผนปฏิบัติการความร่วมมืออาเซียนด้านพลังงานระยะที่ 2 และทุกภาคส่วนที่ได้ร่วมกันร่างแผนปฏิบัติการดังกล่าวให้สำเร็จพร้อมสำหรับนำมาใช้ในปี 2021 – 2025 ต่อไป

– ในฐานะ Outgoing chair ผมขอขอบคุณเจ้าหน้าที่อาวุโสอาเซียนด้านพลังงานของอาเซียนทุกท่าน เลขาธิการอาเซียน และศูนย์ความร่วมมือด้านพลังงานอาเซียน รวมถึงเจ้าหน้าที่ผู้มีส่วนเกี่ยวข้องทุกๆท่าน ที่ได้ให้การสนับสนุน ความร่วมมือ และความช่วยเหลือในทุกๆด้าน ตลอดวาระการเป็นประธานอาเซียนของไทยในปีที่ผ่านมาเป็นอย่างดี

ในการนี้ เพื่อให้ความร่วมมือของภูมิภาคเป็นไปอย่างต่อเนื่อง ผมขอส่งต่อการเป็นประธานให้แก่ประเทศเวียดนาม ให้เป็นผู้นำความร่วมมือของอาเซียนที่จะนำมาซึ่งความมั่นคงและยั่งยืนทางด้านพลังงานของภูมิภาคของเราในอนาคตสืบไป

รองนายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรีว่าการกระทรวงพลังงาน ลงพื้นที่ จ.ระยอง ตรวจติดตามโครงการพัฒนาพลังงานชุมชน

“สุพัฒนพงษ์”รองนายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรีว่าการกระทรวงพลังงานเดินทางลงพื้นที่ตรวจราชการจ.ระยอง เพื่อติดตามความก้าวหน้าของโครงการพัฒนาพลังงานชุมชนด้วยระบบผลิตและส่งจ่ายก๊าซชีวภาพจากฟาร์มสุกร ซึ่งเป็นตัวอย่างโครงการที่เกิดขึ้นจากกระบวนการมีส่วนร่วมหน่วยงานภาคีและภาคชุมชน ช่วยลดทั้งมลพิษและค่าใช้จ่ายด้านพลังงานให้กับชุมชน

วันนี้ (24 ส.ค.63) นายสุพัฒนพงษ์ พันธ์มีเชาว์ รองนายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรีว่าการกระทรวงพลังงาน เดินทางลงพื้นที่ตรวจราชการ จ.ระยอง เยี่ยมชมและรับฟังความก้าวหน้าโครงการพัฒนาพลังงานชุมชนด้วยระบบผลิตและส่งจ่ายก๊าซชีวภาพจากฟาร์มสุกร ต.ป่ายุบใน อ.วังจันทร์ จ.ระยอง ซึ่งเป็นโครงการเปลี่ยนของเสียที่ได้จากมูลสุกรให้เป็นพลังงาน ถือเป็นโครงการที่เกิดจากกระบวนการมีส่วนร่วมอย่างแท้จริง เพราะมีการประสานความร่วมมือทั้งหน่วยงานภาคีและภาคชุมชนเข้ามาร่วมศึกษาเรียนรู้ในกระบวนการคิดวางแผน การประชาคม การก่อสร้าง รวมถึงการร่วมทุน ซึ่งการดำเนินโครงการฯ เป็นแนวทางที่สอดคลัองกับทิศทางการขับเคลื่อนเศรษฐกิจด้วย “พลังงานร่วมใจ รวมไทยสร้างชาติ” ที่มีจุดมุ่งหมายสำคัญทำให้ชีวิตความเป็นอยู่ของประชาชนดีขึ้น เกิดการพัฒนาการจ้างงานกระจายสู่ท้องถิ่น
“โครงการพัฒนาพลังงานชุมชนด้วยระบบผลิตและส่งจ่ายก๊าซชีวภาพจากฟาร์มสุกรนี้จะช่วยสนับสนุนการใช้พลังงานหมุนเวียนในชุมชน เกิดการเรียนรู้ เสริมสร้างความเข้มแข็งแก่สังคมแบบยั่งยืน ทำให้ประชาชนในพื้นที่ได้ร่วมจัดทำการวางแผนเพื่อเพิ่มประสิทธิภาพทางด้านการบริหารจัดการและการใช้ประโยชน์ของพลังงานอย่างครบวงจรในระดับชุมชน อีกทั้งยังเกิดประโยชน์ในเชิงเศรษฐกิจหมุนเวียน (Circular Economic) และสร้างเครือข่ายความร่วมมือด้านวิชาการ ทั้งในชุมชนและสังคม และทั้งในภาครัฐ และเอกชน เพื่อตอบสนองความต้องการของชุมชนอย่างแท้จริงและต่อเนื่อง ถือเป็นโครงการตัวอย่างที่ควรนำไปขยายผลให้ชุมชนโดยรอบต่อไป” รองนายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรีว่าการกระทรวงพลังงานกล่าว
โครงการฯ เป็นความร่วม 4 ฝ่ายประกอบด้วย เจ้าของฟาร์มสุกร ซึ่งมีส่วนร่วมในการก่อสร้างระบบผลิตก๊าซชีวภาพ สถาบันวิทยสิริเมธี ช่วยสนับสนุนการบริหารโครงการ งานวิจัย งานวิชาการ และการจัดการความเสี่ยง บริษัท ปตท. จำกัด (มหาชน) ที่ถ่ายทอดความรู้การก่อสร้างระบบส่งจ่ายก๊าซชีวภาพ และร่วมวางระบบการบริหารจัดการ และองค์การบริหารส่วนตำบลป่ายุบใน ที่สร้างกระบวนการชุมชนตั้งแต่สื่อความ การจัดตั้งคณะกรรมการกลุ่มผู้ใช้ก๊าซชีวภาพ การจัดประชาคมหมู่บ้าน และรับสมัครครัวเรือนเข้าร่วมโครงการฯ เพื่อสร้างกระบวนการให้ชุมชนสามารถพึ่งพาตัวเอง และดูแลรักษาระบบได้ในระยะยาวอย่างยั่งยืน

โครงการมีระบบผลิตก๊าซชีวภาพได้ 800 ลูกบาศก์เมตรจากมูลสุกร 4,500 ตัว ซึ่งปัจจุบันภาพรวมด้านวิศวกรรมโครงการงานก่อสร้างระบบใกล้จะเสร็จเรียบร้อยแล้ว คาดว่าจะสามารถส่งจ่ายก๊าซชีวภาพให้แก่ครัวเรือนที่เข้าร่วมโครงการได้ภายในเดือนกันยายน 2563 โดยชาวบ้านในชุมชนประมาณ 60 ครัวเรือนจะสามารถลดค่าใช้จ่ายด้านพลังงานหุงต้มในชุมชนได้ประมาณ 265,000 บาท/ปี ฟาร์มสามารถลดค่าไฟได้ 780,000 บาท/ปี และในภาพรวมยังลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจกได้ 2,350 ตันคาร์บอนไดออกไซด์/ปี ลดมลภาวะทางกลิ่นจากฟาร์ม ทำให้ชุมชนมีคุณภาพชีวิตที่ดีขึ้น สร้างความเข้มแข็งให้ชุมชนพึ่งตนเองได้ สามารถบริหารจัดการด้านพลังงานได้อย่างยั่งยืน

รองนายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรีว่าการกระทรวงพลังงาน ประชุมขับเคลื่อนนโยบายพลังงาน หนุนการกระตุ้นเศรษฐกิจ สร้างงาน สร้างรายได้ และวางรากฐานสู่อนาคต

“สุพัฒนพงษ์” ขับเคลื่อนนโยบายพลังงาน หนุนการกระตุ้นเศรษฐกิจ สร้างงาน สร้างรายได้ และวางรากฐานสู่อนาคต
รองนายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรีว่าการกระทรวงพลังงาน “สุพัฒนพงษ์” ประเดิมงานแรกร่วมประชุมเวิร์คช็อปเพื่อขับเคลื่อนเศรษฐกิจ “พลังงานร่วมใจ รวมไทยสร้างชาติ” พร้อมประกาศเดินหน้านโยบายให้เกิดประโยชน์ต่อประชาชนสูงที่สุด รวมถึงเกษตรกรและชุมชน
นายสุพัฒนพงษ์ พันธ์มีเชาว์ รองนายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรีว่าการกระทรวงพลังงาน กล่าวภายหลังเป็นประธานเปิดงานสัมมนาเชิงปฏิบัติการ “พลังงานร่วมใจ รวมไทยสร้างชาติ” ซึ่งเป็นการขับเคลื่อนเศรษฐกิจภายใต้แนวทาง รวมไทยสร้างชาติ ซึ่งเป็นการประชุมเชิงปฏิบัติการในการขับเคลื่อนเศรษฐกิจด้วยภาคเศรษฐกิจที่แข็งแรง เช่น ภาคพลังงานที่จะสามารถเป็นตัวหลักดึงเศรษฐกิจที่อ่อนแอ ให้กลับมาแข็งแรงได้อีกครั้ง เป็นการสร้างการมีส่วนร่วมบนฐานความเข้าใจเข้าถึงประชาชน โดยอาศัยการร่วมแรงร่วมใจกันอย่างเป็นหนึ่งเดียวของทุกภาคส่วน
สถานการณ์การระบาดของไวรัสโควิดยังคงส่งผลกระทบต่อเศรษฐกิจทั้งระดับโลกและประเทศไทย ซึ่งรวมถึงภาคพลังงานด้วย วิกฤตครั้งนี้จะยังไม่หายไปได้ในเร็ววัน แต่อาจจะมีวันสิ้นสุดใน 12-15 เดือนข้างหน้า สิ่งที่ภาครัฐรวมถึงกระทรวงพลังงานได้ดำเนินการแล้วในช่วงที่ผ่านมาเป็นการบรรเทาปัญหาเฉพาะหน้า เป็นมาตรการช่วยด้านรายได้ และลดค่าใช้จ่าย ซึ่งจะยังคงมีการดำเนินมาตรการลักษณะนี้
โดยปรับเปลี่ยนให้สอดคล้องกับสถานการณ์ต่อไป ขณะเดียวกันก็จะต้องดำเนินมาตรการการฟื้นฟูเศรษฐกิจไทยกลับคืนมาโดยเร็วและเดินหน้าต่อไปอย่างมั่นคงโดยทุกฝ่ายต้องร่วมมือกันอย่างจริงจัง ในการขับเคลื่อนเศรษฐกิจ จึงต้องมีการร่วมกันวางแผนขับเคลื่อนประเทศไทยไปสู่อนาคตที่ดีขึ้น กระทรวงพลังงานจึงได้จัดการประชุมเวิร์คช็อปขึ้นเพื่อรวมพลังในการระดมความคิดเห็นจากทุกภาคส่วนในสาขาพลังงาน ในการกำหนดทิศทางและวางแผนฟื้นฟูเศรษฐกิจไทยให้พลิกฟื้นกลับมาได้อีกครั้ง” นายสุพัฒนพงษ์กล่าว
สำหรับการประชุมครั้งนี้จัดขึ้นเป็นครั้งแรก โดยมีผู้เข้าร่วมประชุมประกอบด้วยผู้บริหารและกลุ่มคนรุ่นใหม่จากหน่วยงานราชการ รัฐวิสาหกิจและองค์กรอิระในสังกัดกระทรวงพลังงาน รวมถึงผู้บริหาร
จากภาคเอกชนและผู้ประกอบการด้านกิจการพลังงาน เพื่อสื่อสารถึงจุดมุ่งหมายและรายละเอียดในการจัดทำแผนเพื่อร่วมกันฟื้นฟูเศรษฐกิจไทยให้ผู้เข้าร่วมประชุมรับทราบ และกลับมานำเสนอแนวคิดและแผนงานในการประชุมครั้งต่อ ๆ ไป
ทั้งนี้ ภายในงานมีการบรรยายภาพรวมสถานการณ์เศรษฐกิจไทยจากผู้แทนสำนักงานสภาพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ การถ่ายทอดข้อมูลสถานการณ์ผลกระทบจากโควิด-19 และตัวอย่างการพัฒนาความร่วมมือระหว่างรัฐและเอกชนในการร่วมจัดการกับวิกฤตเศรษฐกิจจากโควิดโดยมีการนำเสนอมุมมองคนรุ่นใหม่กับไอเดียช่วยเหลือประเทศชาติในยุคโควิดอีกด้วย
รองนายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรีว่าการกระทรวงพลังงานกล่าวด้วยว่า ในส่วนของการดำเนินนโยบายด้านพลังงานนั้น จะเน้นนโยบายในการกระตุ้นเศรษฐกิจ การสร้างงานสร้างรายได้ รวมถึงวางรากฐานเพื่ออนาคตด้านพลังงานของประเทศ โดยจะเน้นการลงมือทำให้สำเร็จ (Execution) ซึ่งได้มอบให้ผู้บริหารทำแผนระยะ 5 ปี ที่กำหนดเป้าหมายอย่างชัดเจน เพื่อให้ติดตามได้อย่างใกล้ชิด สำหรับโครงการที่ต่อเนื่องจะยังคงเดินหน้าต่อไป ทั้งโครงการโรงไฟฟ้าชุมชนเพื่อเศรษฐกิจฐานราก ให้มีรูปแบบการดำเนินโครงการที่สร้างความมั่นใจได้ว่าเกษตรกรหรือชุมชนได้รับผลประโยชน์อย่างแท้จริง มีความยั่งยืน รวมทั้งการส่งเสริมน้ำมันเชื้อเพลิงชีวภาพไม่ว่าจะเป็นแก๊สโซฮอล์ E20 หรือ B10 ก็ต้องช่วยให้เกษตรกรได้รับผลประโยชน์ และมีมาตรการป้องปรามการลักลอบการนำเข้าน้ำมันปาล์มที่จะใช้ในภาคพลังงานได้อย่างรัดกุม รวมถึงการฟื้นฟูเศรษฐกิจโดยใช้กองทุนเพื่อส่งเสริมการอนุรักษ์พลังงานเป็นกลไกขับเคลื่อนก็ยังเดินหน้าต่อไป โดยเน้นหนักให้เกิดการสร้างงานสร้างรายได้กับประชาชน

รัฐมนตรีว่าการกระทรวงพลังงาน เป็นประธานการประชุมผู้บริหารระดับสูง

วันนี้ (14 สิงหาคม 2563) นายสุพัฒนพงษ์ พันธ์มีเชาว์ รองนายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรีว่าการกระทรวงพลังงาน เป็นประธานการประชุมผู้บริหารระดับสูง เพื่อมอบนโยบายและข้อสั่งการ โดยมีนายกุลิศ สมบัติศิริ ปลัดกระทรวงพลังงาน และผู้บริหารระดับสูงเข้าร่วมประชุม ซึ่งปลัดกระทรวงพลังงานได้กล่าวแนะนำผู้บริหาร และนำเสนอภาพรวมการบริหารงานของกระทรวงพลังงาน

รัฐมนตรีว่าการกระทรวงพลังงาน เข้าสักการะพระพรหมสิ่งศักดิ์สิทธิ์ประจำกระทรวงพลังงาน

วันนี้ (14 สิงหาคม 2563 ) นายสุพัฒนพงษ์ พันธ์มีเชาว์ รองนายกรัฐมนตรี และรัฐมนตรีว่าการกระทรวงพลังงาน ได้เข้าสักการะศาลพระพรหม สิ่งศักดิ์สิทธิ์ประจำกระทรวงพลังงาน โดยมี นายกุลิศ สมบัติศิริ  ปลัดกระทรวงพลังงาน และผู้บริหารกระทรวงพลังงานและหน่วยงานในสังกัดให้การต้อนรับและร่วมสักการะสิ่งศักดิ์สิทธิ์

ผู้บริหาร ข้าราชการ และเจ้าหน้าที่ กระทรวงพลังงาน ยินดีต้อนรับ นายสุพัฒนพงษ์ พันธ์มีเชาว์ รองนายกรัฐมนตรี และรัฐมนตรีว่าการกระทรวงพลังงาน

ผู้บริหาร ข้าราชการ และเจ้าหน้าที่กระทรวงพลังงาน ยินดีต้อนรับ นายสุพัฒนพงษ์ พันธ์มีเชาว์ รองนายกรัฐมนตรี และรัฐมนตรีว่าการกระทรวงพลังงาน

กระทรวงพลังงาน ร่วมจัดนิทรรศการงาน“วันแม่แห่งชาติ 12 สิงหาคม 2563 รักเอยรักลูก” ภายใต้ธีม “พลังงานร้อยดวงใจ…เราคนไทยไม่ทิ้งกัน”

     กระทรวงพลังงาน ร่วมกับ กฟผ. และบริษัท ปตท.จำกัด(มหาชน) นำนวัตกรรมพลังงาน “โรงอบแห้งพลังงานแสงอาทิตย์” จัดแสดงนิทรรศการเพื่อเฉลิมพระเกียรติ สมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ พระบรมราชินีนาถ พระบรมราชชนนีพันปีหลวง เนื่องในโอกาสวันเฉลิมพระชนมพรรษา “วันแม่แห่งชาติ 12 สิงหาคม 2563 รักเอยรักลูก”ระหว่างวันที่ 12 – 14 สิงหาคม 2563 ณ ท้องสนามหลวง
     นายธีรภัทร ประยูรสิทธิ ปลัดสำนักนายกรัฐมนตรีให้เกียรติเยี่ยมชมบูธกระทรวงพลังงาน โดยมีนายประเสริฐ สินสุขประเสริฐ รองปลัดกระทรวงพลังงาน และผู้บริหาร กฟผ.และ ปตท.ให้การต้อนรับ ซึ่งรองปลัดกระทรวงพลังงานเปิดเผยว่า เนื่องในโอกาสวันเฉลิมพระชนมพรรษาสมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ พระบรมราชินีนาถ สมเด็จพระบรมราชชนนีพันปีหลวง “วันแม่แห่งชาติ 12 สิงหาคม 2563 รักเอยรักลูก” กระทรวงพลังงาน ร่วมกับการไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทย และบริษัท ปตท.จำกัด(มหาชน) ได้ร่วมกิจกรรมเฉลิมพระเกียรติ ระหว่างวันที่ 12 – 14 สิงหาคม 2563 ณ ท้องสนามหลวง โดยจัดนิทรรศการภายใต้แนวคิด “พลังงานร้อยดวงใจ…เราคนไทยไม่ทิ้งกัน” โดยจัดแสดงนวัตกรรมพลังงาน “โรงอบแห้งพลังงานแสงอาทิตย์” เพื่อส่งเสริมต่อยอดผลผลิตทางการเกษตรที่หลากหลายด้วยการลดต้นทุน สร้างมูลค่าเพิ่มยกระดับราคาให้สูงขึ้น มุ่งเน้นผลักดันสินค้าคุณภาพเข้าสู่ช่องทางการตลาดเป็นการสนับสนุนการสร้างเสริมอาชีพให้เกษตรกรอย่างยั่งยืน ภายใต้กรอบแนวคิด “ลดต้นทุน เพิ่มมูลค่า สร้างอาชีพ”
     ในด้านการลดต้นทุน จะแสดงให้เห็นหลักการทำงานของโรงอบแห้งพลังงานแสงอาทิตย์ ในขนาดต่างๆ ซึ่งจะมีข้อดีในการช่วยลดต้นทุนการผลิต ทั้งระยะเวลาการตากแบบดั้งเดิม ลดการสูญเสียวัตถุดิบที่นำมาแปรรูปลดการใช้พลังงานเพื่อดึงความชื้นออกจากวัตถุดิบ เพิ่มผลผลิต เพิ่มรายได้ ตลอดจนพัฒนาผลิตภัณฑ์ให้มีความสะอาด ปลอดภัยจากแมลงและฝุ่นละออง ได้มาตรฐาน
     นอกจากนี้ ยังช่วยเพิ่มมูลค่าจากการนำวัสดุ หรือผลผลิตทางการเกษตรต่างๆผ่านกรรมวิธีอบแห้งพลังงานแสงอาทิตย์ เพื่อเพิ่มมูลค่าของวัตถุดิบ ผลิตเป็นผลิตภัณฑ์ต่างๆ ให้มีราคาสูงขึ้น และประการที่สำคัญคือ การสร้างอาชีพ โดยการสนับสนุนสินค้าจากเกษตรที่มีคุณภาพเข้าสู่ช่องทางการจำหน่ายในสถานีบริการน้ำมัน อาทิ โครงการไทยเด็ด ที่สถานีบริการน้ำมันของ ปตท. หรือช่องทางจำหน่ายแบบออนไลน์ ซึ่งเป็นการสนับสนุนด้านช่องทางจำหน่ายผลิตภัณฑ์จากกลุ่มวิสาหกิจชุมชนท้องถิ่นต่างๆ ทั่วประเทศ เพื่อให้เกษตรกร หรือวิสาหกิจชุมชนสามารถค้าขายผลผลิตได้อย่างจริงจังและยั่งยืน ต่อไป

ปลัดกระทรวงพลังงาน เข้าร่วมพิธีทำบุญตักบาตรและลงนามถวายพระพร เนื่องในวันเฉลิมพระชนมพรรษา สมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ พระบรมราชินีนาถ พระบรมราชชนนีพันปีหลวง

วันนี้ (12 ส.ค. 63) นายกุลิศ สมบัติศิริ ปลัดกระทรวงพลังงาน เข้าร่วมพิธีทำบุญตักบาตรถวายเป็นพระราชกุศล เนื่องในวันเฉลิมพระชนมพรรษา สมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ พระบรมราชินีนาถ พระบรมราชชนนีพันปีหลวง ประจำปี 2563 ณ บริเวณท้องสนามหลวง
ต่อมา ปลัดกระทรวงพลังงาน พร้อมด้วยผู้บริหารระดับสูงและหน่วยงานในสังกัดกระทรวงพลังงาน เข้าร่วมลงนามถวายพระพร ณ พระบรมมหาราชวัง

นายประเสริฐ สินสุขประเสริฐ รองปลัดกระทรวงพลังงาน ได้เข้าชี้แจงผลการดำเนินงานแผนปฏิรูปประเทศด้านพลังงาน

วันนี้ (11 สิงหาคม 2563)
หัวหน้ากลุ่มปฏิรูปประเทศยุทธศาสตร์ชาติและการสร้างความสามัคคีปรองดอง (ป.ย.ป) กระทรวงพลังงาน โดยนายประเสริฐ สินสุขประเสริฐ รองปลัดกระทรวงพลังงาน ได้เข้าชี้แจงผลการดำเนินงานแผนปฏิรูปประเทศด้านพลังงาน ต่อคณะอนุกรรมาธิการติดตาม เสนอแนะ และเร่งรัด การปฏิรูปประเทศและการจัดทำและดำเนินการตามยุทธศาสตร์ชาติด้านพลังงาน คณะกรรมาธิการพลังงาน วุฒิสภา ซึ่งมี พลเอก สำเริง ศิวาดำรงค์ เป็นประธานคณะอนุกรรมาธิการ
 
โดยในที่ประชุมได้กล่าวถึงแผนปฏิรูปประเทศด้านพลังงานซึ่งมีความคืบหน้าไปมาก หลายโครงการเริ่มมีผลสำเร็จเป็นรูปธรรมขึ้น
 
ทั้งนี้ คณะอนุกรรมาธิการฯ ได้ให้ข้อสังเกต ข้อเสนอแนะ ที่เป็นประโยชน์ ซึ่งกระทรวงพลังงานและหน่วยงานในสังกัดกระทรวงพลังงาน ได้รับไปพิจารณาดำเนินการต่อไป

ปลัดกระทรวงพลังงาน เป็นประธานในพิธีลงนามถวายพระพรชัยมงคลเนื่องในวันเฉลิมพระชนมพรรษา สมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ พระบรมราชินีนาถ พระบรมราชชนนีพันปีหลวง

วันนี้ (11 ส.ค. 63) นายกุลิศ สมบัติศิริ ปลัดกระทรวงพลังงาน เป็นประธานในพิธีลงนามถวายพระพรชัยมงคล เนื่องในวันเฉลิมพระชนมพรรษา สมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ พระบรมราชินีนาถ พระบรมราชชนนีพันปีหลวง 12 สิงหาคม 2563 เพื่อเป็นการแสดงความจงรักภักดีและสำนึกในพระมหากรุณาธิคุณ โดยมีคณะผู้บริหารระดับสูงและหน่วยงานในสังกัดกระทรวงพลังงานเข้าร่วมพิธี ณ บริเวณ LOBBY อาคารบี ศูนย์เอนเนอร์ยี่คอมเพล็กซ์

Page 6 of 15
1 4 5 6 7 8 15