ขอความอนุเคราะห์ให้ความคิดเห็นต่อ (ร่าง) แผนปฏิบัติราชการระยะ 5 ปี (พ.ศ. 2563-2565) ของสำนักงานปลัดกระทรวงพลังงาน

ขอความอนุเคราะห์ให้ความคิดเห็นต่อ (ร่าง) แผนปฏิบัติราชการระยะ 5 ปี (พ.ศ. 2563-2565) ของสำนักงานปลัดกระทรวงพลังงาน

กฎแบ่งส่วนราชการ สป.พน. คลิกที่นี่

แบบฟอร์มแสดงความเห็น (ร่าง) แผนปฏิบัติราชการระยะ 5 ปี (พ.ศ. 2563-2565)  สป.พน. คลิกที่นี่

การซ้อมแผนรองรับสภาวะฉุกเฉินด้านพลังงาน ระดับจังหวัด

การซ้อมแผนรองรับสภาวะฉุกเฉินด้านพลังงาน ระดับจังหวัด

ตัวอย่างสานการณ์จำลองและสรุปผลดำเนินการ ปี 2562 (เอกสารประกอบ 1) คลิกที่นี่

การซ้อมแผนรองรับสภาวะฉุกเฉินด้านพลังงาน (เอกสารประกอบ 2) คลิกที่นี่

กำหนดการ (เอกสารประกอบ 3) คลิกที่นี่

แบบตอบรับการเข้าร่วมการซ้อมแผนรองรับสภาวะฉุกเฉินด้านพลังงาน ระดับจังหวัด (เอกสารประกอบ 4) คลิกที่นี่

นายกรัฐมนตรี เยี่ยมชมบูธนิทรรศการกระทรวงพลังงาน ในกิจกรรม “ชีวิตใหม่ใต้ร่มพระบารมี…เราสร้างไปด้วยกัน”

นายกรัฐมนตรี เยี่ยมชมบูธนิทรรศการกระทรวงพลังงาน
ในกิจกรรม “ชีวิตใหม่ใต้ร่มพระบารมี…เราสร้างไปด้วยกัน” โดยกระทรวงพลังงาน กฟผ. ปตท. ร่วมจัดภายใต้แนวคิดพลังงานสร้างชีวิต ขับเคลื่อนเศรษฐกิจฐานราก ยกระดับชุมชนตั้งแต่ต้นน้ำ-ปลายน้ำ

​     วันนี้ (28 กรกฎาคม 2563) พลเอกประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรี ให้เกียรติเยี่ยมชมบูธนิทรรศการของกระทรวงพลังงาน โดยมีนายกุลิศ สมบัติศิริ ปลัดกระทรวงพลังงาน ผู้บริหารกระทรวงพลังงาน การไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทย และบริษัท ปตท.จำกัด(มหาชน) ให้การต้อนรับ ซึ่งกระทรวงพลังงานร่วมจัดงานในกิจกรรมจิตอาสา “ชีวิตใหม่ใต้ร่มพระบารมี…เราสร้างไปด้วยกัน” เนื่องในโอกาสวันเฉลิมพระชนมพรรษาพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว 28 กรกฎาคม 2563 ณ ท้องสนามหลวงภายใต้แนวคิด “พลังงานสร้างชีวิต ขับเคลื่อนเศรษฐกิจฐานราก” เน้นให้ความช่วยเหลือประชาชนด้วยนวัตกรรมพลังงานในการขับเคลื่อนเศรษฐกิจฐานราก ยกระดับผลิตภัณฑ์ ต่อยอดสู่การตลาดแบบครบวงจร
โดยกิจกรรมในส่วนของกระทรวงพลังงาน ร่วมกับการไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทย และบริษัท ปตท.จำกัด(มหาชน)จัดแสดงนิทรรศการภายใต้แนวคิดพลังงานสร้างชีวิต ขับเคลื่อนเศรษฐกิจฐานราก โดยเน้นกิจกรรมให้ความรู้และสร้างอาชีพจากการนวัตกรรมพลังงาน มาช่วยลดต้นทุนการผลิต แปรรูปวัตถุดิบทางการเกษตร เช่น การผลิตรถเข็นสูบน้ำพลังงานแสงอาทิตย์ การผลิตตู้อบแห้งพลังงานแสงอาทิตย์ การผลิตก๊าซชีวภาพจากมูลสัตว์ระดับครัวเรือน โดยแต่ละกิจกรรมจะมีเจ้าหน้าที่บรรยายให้ความรู้อย่างละเอียด นอกจากนั้นยังมีการเปิดให้ลงทะเบียนสำหรับชุมชนที่ผลิตสินค้าและต้องการจำหน่ายผ่านช่องทางของสถานีบริการน้ำมัน ปตท.และตลาดออนไลน์
การจัดกิจกรรมในครั้งนี้ นอกจากจะประชาชนที่เข้าร่วมงานจะได้แสดงความจงรักภักดีต่อพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวแล้ว ยังมีกิจกรรมให้มีความรู้จากหน่วยงานภาครัฐและเอกชนจำนวนมาก ในส่วนของกระทรวงพลังงาน ได้จัดกิจกรรมภายใต้แนวคิด “พลังงานสร้างชีวิต ขับเคลื่อนเศรษฐกิจฐานราก” ซึ่งเป็นการให้ความรู้กับประชาชนเพื่อสร้างอาชีพ เพิ่มรายได้ ลดต้นทุนด้านพลังงานและส่งเสริมช่องทางการจำหน่าย โดยแบ่งการนำเสนอออกเป็น 3 ส่วนได้แก่
– ต้นน้ำ เป็นการสาธิตการผลิตรถเข็นสูบน้ำพลังงานแสงอาทิตย์ ซึ่งเป็นการใช้นวัตกรรมพลังงานมาช่วยเหลือเกษตรกรในการบริหารจัดการน้ำใช้ทางการเกษตรอันเป็นหัวใจหลัก รถเข็นดังกล่าวนอกจากจะไม่เสียค่าน้ำมันที่ต้องใช้ในเครื่องสูบน้ำแล้ว การนำแผงโซลาร์เซลล์มาติดบนรถเข็น ทำให้เกษตรกรมีความสะดวกในการเคลื่อนย้ายไปพื้นที่เพาะปลูกที่ต้องใช้น้ำ และที่สำคัญแผงโซลาร์เซลล์นั้น ลงทุนครั้งเดียว สามารถอยู่ได้ถึง 20 ปี
– กลางน้ำ เป็นการสาธิตการผลิตตู้อบแห้งพลังงานแสงอาทิตย์ ที่ผ่านมามีการใช้ตู้อบแห้งพลังงานแสงอาทิตย์อย่างแพร่หลายตามชุมชนสำหรับอบแห้งผลิตภัณฑ์ต่างๆ เช่น กล้วยตาก พริกแห้ง ปลาแห้ง ซึ่งนอกจากจะลดต้นทุนด้านพลังงานได้แล้ว ยังสามารถผลิตสินค้าได้ในปริมาณที่มากขึ้น ลดปริมาณของเสีย และยังช่วยยกระดับผลิตภัณฑ์ที่สะอาด ควบคุมมาตรฐานได้ และอีกหนึ่งตัวอย่างที่จะช่วยลดต้นทุนค่าใช้จ่ายด้านพลังงานในครัวเรือน คือการผลิตก๊าซชีวภาพจากวัตถุดิบทางการเกษตรหรือมูลสัตว์ หรือ Biogas ซึ่งในปัจจุบัน ระบบก๊าซชีวภาพภายในครัวเรือนเป็นที่นิยมมาก เนื่องจากสามารถติดตั้งได้ด้วยตัวเอง ราคาต้นทุนต่ำและยังได้ประโยชน์จากการใช้ก๊าซทดแทนพลังงานหลัก แถมยังสามารถนำน้ำที่ผ่านกระบวนการหมักไปรดพืชผักแทนการใช้ปุ๋ยได้ด้วย
– ปลายน้ำ คือการช่วยเหลือชุมชนที่มีผลิตภัณฑ์ต่างๆ และต้องการเพิ่มช่องทาง
จำหน่าย ซึ่งกระทรวงพลังงาน โดย บริษัท ปตท. ได้เปิดบูธให้ลงทะเบียนสำหรับชุมชนที่มีผลิตภัณฑ์ เพื่อเพี่มช่องทางจำหน่ายสินค้าในสถานีบริการของ ปตท. ทั่วประเทศและช่องทางออนไลน์
“ผมหวังเป็นอย่างยิ่งว่า ประชาชนที่ได้เข้าร่วมชมบูธกิจกรรมของกระทรวงพลังงาน จะสามารถนำความรู้ที่ได้ไปปรับใช้ในการประกอบอาชีพ โดยเฉพาะชุมชนหรือเกษตรกรในต่างจังหวัด จะทำให้สามารถลดต้นทุนในการผลิตสินค้า เพิ่มรายได้ นำองค์ความรู้ด้านพลังงานไปสร้างความมั่นคงทางเศรษฐกิจในระดับชุมชนของตนเองได้อย่างจริงจังและยั่งยืน โดยกิจกรรม “ชีวิตใหม่ใต้ร่มพระบารมี…เราสร้างไปด้วยกัน” จะจัดขึ้น ณ ท้องสนามหลวง ซึ่งบูธกระทรวงพลังงาน (A11) จะตั้งอยู่ตรงข้ามศาลฎีกา ประชาชนสามารถเข้าร่วมชมบูธได้ตั้งแต่เวลา 10.00 – 18.00 น. ระหว่างวันที่ 28 – 31 กรกฎาคม 2563 จึงขอเชิญชวนให้ประชาชนเข้าร่วมชมงานได้ตลอดทั้ง4วัน ” ปลัดกระทรวงพลังงาน กล่าว

ปลัดกระทรวงพลังงาน พร้อมด้วยผู้บริหารระดับสูง ร่วมพิธีทำบุญตักบาตรถวายพระราชกุศลพระสงฆ์และสามเณร เนื่องในโอกาสวันเฉลิมพระชนมพรรษา พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ประจำปีพุทธศักราช 2563 ณ ท้องสนามหลวง

นายกุลิศ สมบัติศิริ ปลัดกระทรวงพลังงาน พร้อมด้วยผู้บริหารระดับสูง ร่วมพิธีทำบุญตักบาตรถวายพระราชกุศลพระสงฆ์และสามเณร จำนวน 69 รูป เนื่องในโอกาสวันเฉลิมพระชนมพรรษา พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ประจำปีพุทธศักราช 2563 ณ ท้องสนามหลวง

ต่อมาเวลา 07.30 น. ปลัดกระทรวงพลังงานเข้าร่วมในพิธีถวายสัตย์ปฏิญาณเพื่อเป็นข้าราชการที่ดีและพลังของแผ่นดิน ประจำปี 2563 เนื่องในโอกาสวันเฉลิมพระชนมพรรษาพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว

จากนั้นได้ลงนามถวายพระพรพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ณ ห้องแดง อาคารหน่วยราชการในพระองค์ 904 ในพระบรมมหาราชวัง ก่อนที่เวลา 09.30 น.ร่วมพิธีเปิดกิจกรรมจิตอาสา “ชีวิตวิถีใหม่ใต้ร่มพระบารมี…เราสร้างไปด้วยกัน”

 

ปลัดกระทรวงพลังงาน ร่วมบันทึกเทปถวายพระพรชัยมงคล สมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ พระบรมราชินีนาถ พระบรมราชชนนีพันปีหลวง

วันนี้ (24 ก.ค. 63) นายกุลิศ สมบัติศิริ ปลัดกระทรวงพลังงาน พร้อมด้วยคณะผู้บริหารระดับสูงและหน่วยงานในสังกัดกระทรวงพลังงาน ร่วมบันทึกเทปถวายพระพรชัยมงคล สมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ พระบรมราชินีนาถ พระบรมราชชนนีพันปีหลวง เนื่องในโอกาสวันเฉลิมพระชนมพรรษา 12 สิงหาคม 2563 ณ สถานีวิทยุโทรทัศน์แห่งประเทศไทย (NBT)

 

ปลัดกระทรวงพลังงาน เป็นประธานในพิธีถวายพระพรชัยมงคล เนื่องในโอกาสวันเฉลิมพระชนมพรรษา พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว

วันนี้ (24 ก.ค. 63) นายกุลิศ สมบัติศิริ ปลัดกระทรวงพลังงาน เป็นประธานในพิธีถวายพระพรชัยมงคล และพิธีถวายสัตย์ปฏิญาณเพื่อเป็นข้าราชการที่ดีและพลังของแผ่นดิน เนื่องในโอกาสวันเฉลิมพระชนมพรรษา พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว 28 กรกฎาคม 2563 โดยมีคณะผู้บริหารระดับสูงเข้าร่วมในพิธี ณ บริเวณ LOBBY อาคารบี ศูนย์เอนเนอร์ยี่คอมเพล็กซ์

ประชุมการจัดทำโครงการสำคัญของสำนักงานปลัดกระทรวงพลังงานประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2565 ที่ส่งผลต่อการบรรลุเป้าหมายยุทธศาสตร์ชาติ

เอกสารประกอบการประชุมการจัดทำโครงการสำคัญของสำนักงานปลัดกระทรวงพลังงานประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2565 ที่ส่งผลต่อการบรรลุเป้าหมายยุทธศาสตร์ชาติ

ในวันที่ 31 กรกฎาคม 2563 เวลา 13.30 น. ณ ห้องประชุม…. ชั้น 15 กระทรวงพลังงาน

PPT คลิกที่นี่

กฎหมายที่เกี่ยวข้อง คลิกที่นี่

นโยบาย คลิกที่นี่

สถานการณ์ปัจจุบัน คลิกที่นี่

เรื่องเดิม คลิกที่นี่

เอกสารแนบ 1 คลิกที่นี่

เอกสารแนบ 2 คลิกที่นี่

 

อดีตรัฐมนตรีว่าการกระทรวงพลังงาน ร่วมพิธีอำลาตำแหน่ง

วันนี้ (17 ก.ค.63) นายสนธิรัตน์ สนธิจิรวงศ์ อดีตรัฐมนตรีว่าการกระทรวงพลังงาน ได้อำลาตำแหน่ง โดยช่วงเช้าได้สักการะสิ่งศักดิ์สิทธิ์ประจำกระทรวงพลังงาน และขอบคุณผู้บริหาร และข้าราชการกระทรวงพลังงาน ที่ได้ทำงานร่วมกันมาตลอดระยะเวลา 1 ปี พร้อมทั้งได้สรุปผลการดำเนินงานที่ขับเคลื่อนมาตลอดระยะเวลาการดำรงตำแหน่งรัฐมนตรีว่าการกระทรวงพลังงาน  ซึ่งในช่วงบ่ายผู้บริหาร ข้าราชการและพนักงานร่วมแถวส่งรัฐมนตรีในการเดินทางออกจากกระทรวงพลังงาน

รัฐมนตรีว่าการกระทรวงพลังงาน ลงพื้นที่ จ.ลพบุรี เยี่ยมชมระบบสูบน้ำพลังงานแสงอาทิตย์ ก๊าซชีวภาพจากฟาร์มสุกรในระดับชุมชน

     วันที่ 11 กรกฎาคม 2563 นายสนธิรัตน์ สนธิจิรวงศ์ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงพลังงาน และคณะเดินทางเข้าเยี่ยมชมระบบโซล่าเซลล์ผลิตไฟฟ้าแบบติดตั้งลอยน้ำ (Floating PV) ขนาด 2.48 กิโลวัตต์ ณ บริเวณพื้นที่แก้มลิงของตำบลท่ามะนาว จังหวัดลพบุรี เพื่อผลิตไฟฟ้าใช้สำหรับสูบน้ำให้กับเกษตรกร ซึ่งส่งจ่ายให้กับพื้นที่เพาะปลูกกว่า 10 ไร่ สามารถลดต้นทุนการสูบน้ำให้เกษตรกรหมู่ที่ 1 บ้านสันตะลุง และหมู่ที่ 6 บ้านท่าฉาง โดยการติดตั้งระบบโซล่าร์เซลล์แบบลอยน้ำนั้นทำให้แผงโซล่าเซลล์มีประสิทธิภาพการผลิตไฟฟ้าดีกว่าแบบติดตั้งบนบก 8% และไม่เสียพื้นที่การเกษตร และความเย็นของน้ำช่วยทำให้การทำงานของแผงโซล่าเซลล์มีประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้น
     และรัฐมนตรีว่าการกระทรวงพลังงานได้เดินทางไปเยี่ยมชมระบบผลิตและส่งก๊าซชีวภาพจากฟาร์มสุกร ระดับชุมชน ตำบลท่ามะนาว ที่กระทรวงพลังงานได้เข้าไปพัฒนาระบบบำบัดน้ำเสียแบบปิดหรือระบบผลิตก๊าซชีวภาพจากมูลสุกร ซึ่งนอกจากจะช่วยลดผลกระทบด้านสิ่งแวดล้อม โดยเฉพาะเรื่องกลิ่นแล้ว ยังได้ประโยชน์จากการส่งก๊าซชีวภาพไปยังมากกว่า 500 ครัวเรือนเพื่อทดแทนการใช้ก๊าซหุงต้ม หรือคิดเป็น จำนวนเงินมากกว่า 800,000 บาท ต่อปี และยังลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจกจากการทำฟาร์มปศุสัตว์ 5,515 ตันคาร์บอนไดออกไซด์เทียบเท่าต่อปี
     ทำให้ชุมชนมีรายได้จากการขายคาร์บอนเครดิตไปแล้วกว่า 3,178ตันคาร์บอนไดออกไซด์เทียบเท่าคิดเป็นจำนวนเงิน 744,690บาท นับว่าเป็นต้นแบบการพัฒนาด้านพลังงานอย่างยั่งยืน “จากที่ได้ดูงานในวันนี้ จะเห็นได้ว่า กระทรวงพลังงานได้พยายามพัฒนาและส่งเสริมการดำเนินงานด้านพลังงานเพื่อประชาชนมาโดยตลอด และ สิ่งที่สำคัญที่สุดสำหรับผมคือการเห็นพี่น้องประชาชนโดยเฉพาะในพื้นที่ต่างจังหวัดได้มีโอกาสเข้าถึงการดำเนินงานด้านพลังงานจากการร่วมเป็นเจ้าของโรงไฟฟ้าชุมชนซึ่งนอกจากพ่อแม่พี่น้องจะมีรายได้จากการปลูกพืชเกษตรเพื่อส่งเป็นเชื้อเพลิงให้กับโรงไฟฟ้าแล้ว ยังมีรายได้จากการเป็นหุ้นส่วนของโรงไฟฟ้า เกิดการจ้างงานในพื้นที่ เมื่อประชาชนมีรายได้ที่มั่นคง มีความเป็นอยู่ที่ดีขึ้น ก็จะส่งผลต่อเศรษฐกิจในภาพรวมซึ่งผมเชื่อมั่นว่าการดำเนินงานด้านพลังงานตาม นโยบาย Energy for all จะช่วยพลิกวิกฤติด้านเศรษฐกิจภายหลังจากสถานการณ์โควิด 2019” รัฐมนตรีว่าการกระทรวงพลังงานกล่าว

ประธานองคมนตรี เป็นผู้แทนพระองค์ นำพวงมาลาพระราชทานถวายราชสักการะต่อเบื้องหน้าพระบรมราชานุสาวรีย์ สมเด็จพระนารายณ์มหาราช จ.ลพบุรี

     วันนี้ (11 ก.ค. 63) พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้พลเอก สุรยุทธ์ จุลานนท์ ประธานองคมนตรี เป็นผู้แทนพระองค์ นำพวงมาลาพระราชทานของ พระบาทสมเด็จพระวชิรเกล้าเจ้าอยู่หัว , พวงมาลาของสมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ พระบรมราชินีนาถ พระบรมราชชนนีพันปีหลวง และพวงมาลาของสมเด็จพระนางเจ้าสุทิดา พัชรสุธาพิมลลักษณ พระบรมราชินี ถวายราชสักการะ ต่อเบื้องหน้าพระบรมราชานุสาวรีย์ สมเด็จพระนารายณ์มหาราช วงเวียนเทพสตรี จังหวัดลพบุรี ทั้งนี้เพื่อเทิดทูนและสำนึกในพระมหากรุณาธิคุณของสมเด็จพระนารายณ์มหาราชที่ทรงบำเพ็ญพระราชกรณียกิจในด้านต่างๆ นานัปการ โดยเฉพาะอย่างยิ่ง พระราชกรณียกิจ ด้านการเจริญสัมพันธไมตรีกับต่างประเทศ ยังความเจริญแก่สยามประเทศ ทั้งด้านการศึกษา วิทยาศาสตร์ การค้าและสถาปัตยกรรม โดยเมืองลพบุรี เมื่อครั้งรัชสมัยสมเด็จพระนารายณ์มหาราช มีความทันสมัย สวยงาม เป็นเมืองรับรองคณะฑูตานุทูตจากต่างประเทศหลายคณะ และทรงเป็นเอกอัครศาสนูปถัมภกศาสนาต่างๆ โดยเท่าเทียม
      สมเด็จพระนารายณ์มหาราช ถือเป็นพระมหากษัตริย์ลำดับที่ 27 แห่งกรุงศรีอยุธยา พระราชสมภพเมื่อวันจันทร์เดือนยี่ ปีวอก พุทธศักราช 2175 หลังจากเสวยราชสมบัติที่กรุงศรีอยุธยาได้ประมาณ 10 ปี ทรงมีพระราชดำริให้สถาปนาเมืองเก่า คือเมืองลวธานี หรือลพบุรีในปัจจุบัน เป็นราชธานีที่สอง และเสด็จแปรพระราชฐานมาประทับที่ลพบุรี เป็นประจำทุกปี ปีละประมาณ 8 เดือน สมเด็จพระนารายณ์มหาราชเสด็จสวรรคต เมื่อวันที่ 11 กรกฎาคม 2231 สิริพระชนมายุ 56 พรรษา โดยคณะรัฐมนตรีได้มีมติเมื่อวันที่ 5 ตุลาคม 2553 กำหนดให้วันที่ 11 กรกฎาคมของทุกปีเป็นวันรัฐพิธี โดยไม่ถือเป็นวันหยุดราชการ
     ในการนี้ นายสนธิรัตน์ สนธิจิรวงศ์ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงพลังงาน ได้เป็นผู้แทนนายกรัฐมนตรี วางพวงมาลาของคณะรัฐมนตรีและนายกรัฐมนตรี โดยก่อนหน้านั้น นายสุปกิต โพธิ์ปภาพันธ์ ผู้ว่าราชการจังหวัดลพบุรี ได้นำหน่วยงานข้าราชการพลเรือน ทหาร ตำรวจ พ่อค้า ประชาชน องค์กรภาครัฐ ภาคเอกชน ตลอดจนมูลนิธิต่างๆ ในพื้นที่จังหวัดลพบุรี ร่วมกระทำพิธีถวายพวงมาลาราชสักการะและกล่าวถวายราชสดุดีสมเด็จพระนารายณ์มหาราช โดยพร้อมเพรียงกัน

รัฐมนตรีว่าการกระทรวงพลังงาน ร่วมประชุมทบวงการพลังงานระหว่างประเทศ (International Energy Agency: IEA) ในรูปแบบออนไลน์ (Virtual Dialogue)

เมื่อวันที่ 9 กรกฎาคม 2563 นายสนธิรัตน์ สนธิจิรวงศ์ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงพลังงาน เสนอแนวคิดโรงไฟฟ้าชุมชน การส่งเสริมเรื่อง prosumerization และเน้นย้ำการเป็นผู้นำด้านพลังงานไฟฟ้าของไทย ในภูมิภาคอาเซียน ในเวที IEA การประชุมด้านพลังงานระดับโลก ในฐานะประธานร่วมการประชุม หัวข้อ การเปลี่ยนผ่านไปสู่ยุคแห่งพลังงานสะอาด

การประชุมนี้ จัดขึ้นโดยทบวงการพลังงานระหว่างประเทศ (International Energy Agency: IEA) ในรูปแบบออนไลน์ (Virtual Dialogue) เพื่อเป็นเวทีในการแสดงบทบาทและวิสัยทัศน์จากผู้นำด้านพลังงานของทุกประเทศในการหารือร่วมกันในประเด็นการเข้าสู่ยุคแห่งการเปลี่ยนผ่านด้านพลังงานของโลกให้เป็นพลังงานสะอาด ซึ่งจะมุ่งเน้นไปที่แผนการดำเนินการระยะสั้นเพื่อการฟื้นฟูภาคพลังงานที่ได้รับผลกระทบจากสถานการณ์ระบาดของโรค COVID-19 และนโยบายสนับสนุนจากภาครัฐที่จำเป็นสำหรับการส่งเสริมการพัฒนาเทคโนโลยีพลังงานสะอาด เพื่อให้บรรลุแผนระยะยาวในการใช้พลังงานที่ไม่ก่อให้เกิดก๊าซเรือนกระจก และเพื่อส่งเสริมให้ภาคพลังงานมีความมั่นคง ราคาเข้าถึงได้ และยั่งยืนต่อไปในอนาคต โดยการประชุมดังกล่าวมีผู้แทนระดับรัฐมนตรีเข้าร่วมการประชุมมากกว่า 40 ประเทศ เช่น สหรัฐอเมริกา จีน ญี่ปุ่น อังกฤษ อินเดีย บราซิล และอินโดนีเซีย เป็นต้น

รัฐมนตรีว่าการกระทรวงพลังงาน ได้กล่าวสุนทรพจน์แสดงนโยบายและวิสัยทัศน์ของประเทศไทยในช่วงต้นของการประชุม ในหัวข้อ“บทบาทของภาคไฟฟ้าที่พึ่งพาได้และมีความยั่งยืน”โดยมีใจความว่า จากการประกาศนโยบาย “พลังงานเพื่อทุกคน” (Energy For All) ตั้งแต่เริ่มเข้ารับตำแหน่ง และได้ดำเนินนโยบายจนเป็นที่ยอมรับทั้งในส่วนของภาคประชาชนและเอกชน จนปัจจุบันได้ประกาศนโยบายภาคต่อ “พลังงานสร้างไทย :  RE-Energizing Thailand” ที่เน้นทั้งด้านการลดรายจ่ายด้านพลังงาน การเร่งรัดการลงทุนโครงสร้างพื้นฐาน และการกระตุ้นเศรษฐกิจไทยผ่านโครงการต่างๆ โดยหนึ่งในโครงการที่สำคัญ ได้แก่ โครงการโรงไฟฟ้าชุมชน ที่จะเปิดโอกาสให้ประชาชน  ได้ประโยชน์จากแหล่งพลังงานสะอาด ที่จะช่วยสร้างความเข้มแข็งให้กับเศรษฐกิจ ฐานราก ด้วยการสร้างรายได้  ลดรายจ่าย และพัฒนาศักยภาพแหล่งเชื้อเพลิงด้านพลังงานในชุมชนมาใช้ให้เกิดประโยชน์สูงสุด

นายสนธิรัตน์ฯ ยังได้กล่าวอีกว่า กระทรวงพลังงาน ได้เป็นกำลังสำคัญในการบรรเทาผลกระทบจากการระบาดของโรค COVID-19 โดยได้ออกมาตรการด้านการเงินและการผ่อนคลายกฎระเบียบเพื่อช่วยเหลือผู้ประกอบการภาคพลังงานทั้งขนาดกลางและขนาดเล็ก (SMEs) รวมถึงเร่งให้เกิดการเปลี่ยนผ่านด้านพลังงานไปสู่พลังงานสะอาด อาทิ การขับเคลื่อนโครงการโซลาร์ภาคประชาชน 50 MW ซึ่งสอดรับกับทิศทางการเปิดโอกาสให้ประชาชนสามารถเป็นได้ทั้งผู้ผลิตและผู้ขายพลังงาน (Prosumerization) อีกด้วย

ทั้งนี้ นายสนธิรัตน์ฯ ได้กล่าวแสดงความขอบคุณ IEA ที่ได้ให้ความช่วยเหลือและสนับสนุนบทบาทของประเทศไทยในการเป็นเจ้าภาพจัดการประชุมอาเซียนในปีที่ผ่านมา รวมถึง ขอบคุณ IEA ที่ช่วยจัดทำรายงานผลการศึกษาทางวิชาการที่มีข้อเสนอแนะที่เป็นประโยชน์ต่อการพัฒนาพลังงานในภูมิภาคอาเซียน เช่น การจัดทำข้อเสนอแนะด้านการส่งเสริมให้เกิดการเพิ่มสัดส่วนพลังงานหมุนเวียนในโครงข่ายไฟฟ้าอาเซียน (RE Integration to grid) และการศึกษาความเป็นไปได้ในการซื้อ-ขายไฟฟ้าพหุภาคีอาเซียน (MultilateralPower Trade) เป็นต้น โดยในช่วงท้ายรัฐมนตรีว่าการกระทรวงพลังงานยังได้กล่าวยืนยันท่าทีของประเทศไทยที่มุ่งมั่นในการพัฒนาไปสู่ยุคแห่งพลังงานสะอาดและพร้อมที่จะดำเนินกิจกรรมความร่วมมืออย่างใกล้ชิดกับ IEA ต่อไปในอนาคต

รัฐมนตรีว่าการกระทรวงพลังงาน ร่วมบันทึกเทปถวายพระพรชัยมงคล พระบาทสมเด็จพระวชิรเกล้าเจ้าอยู่หัว

วันนี้ (26 มิ.ย. 63) นายสนธิรัตน์ สนธิจิรวงศ์ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงพลังงาน พร้อมด้วยคณะผู้บริหารระดับสูง และหน่วยงานในสังกัดกระทรวงพลังงาน ร่วมบันทึกเทปถวายพระพรชัยมงคล พระบาทสมเด็จพระวชิรเกล้าเจ้าอยู่หัว เนื่องในโอกาสวันเฉลิมพระชนมพรรษา 28 กรกฎาคม 2563 ณ สถานีวิทยุโทรทัศน์แห่งประเทศไทย (NBT)

รัฐมนตรีว่าการกระทรวงพลังงาน เป็นประธานพิธีลงนามสัญญาเช่าที่ดินราชพัสดุเพื่อประกอบกิจการผลิตไฟฟ้าและน้ำเย็น

วันนี้ (26 มิ.ย. 63) นายสนธิรัตน์ สนธิจิรวงศ์ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงพลังงาน เป็นประธาน พิธีลงนามสัญญาเช่าที่ดินราชพัสดุเพื่อประกอบกิจการผลิตไฟฟ้าและน้ำเย็น ในโครงการพัฒนาสนามบินอู่ตะเภาและเมืองการบินภาคตะวันออก ระหว่าง สำนักงานคณะกรรมการนโยบายเขตพัฒนาพิเศษภาคตะวันออก (สกพอ.) และ บริษัท บี.กริม เพาเวอร์ จำกัด (มหาชน) ซึ่งผู้ร่วมลงนามประกอบด้วย นายคณิศ แสงสุพรรณ เลขาธิการคณะกรรมการนโยบายเขตพัฒนาพิเศษภาคตะวันออก นายฮาราลด์ ลิงค์ ประธานกรรมการ และนางปรียนาถ สุนทรวาทะ ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร บริษัท บี.กริม เพาเวอร์ จำกัด (มหาชน) โดยมีผู้แทนจากหน่วยงานภาครัฐ และเอกชน ที่เกี่ยวข้องเข้าร่วมเป็นสักขีพยาน ณ โรงแรมแมนดาริน โอเรียนเต็ล กรุงเทพฯ

โครงการพัฒนาสนามบินอู่ตะเภาและเมืองการบินภาคตะวันออก ได้มีการลงนามสัญญาร่วมลงทุนไปเมื่อวันศุกร์ที่ 19 มิถุนายน 2563 ที่ผ่านมา ถือเป็นหนึ่งในโครงการลงทุนโครงสร้างพื้นฐานหลักของ อีอีซี เพื่อยกระดับสนามบินอู่ตะเภาเป็น “สนามบินนานาชาติเชิงพาณิชย์หลักแห่งที่ 3 ของกรุงเทพ” เชื่อมสนามบินดอนเมือง และสุวรรณภูมิ ด้วยรถไฟความเร็วสูง ทำให้ 3 สนามบิน สามารถรองรับผู้โดยสารรวมกันได้มากถึง 200 ล้านคนต่อปี เป็นศูนย์กลางอุตสาหกรรมท่องเที่ยว และ Logistics & Aviation รวมทั้งเป็น “มหานครการบินภาคตะวันออก” ที่จะผลักดันให้ประเทศไทยเป็นศูนย์กลางทางการบินและประตูเศรษฐกิจสู่เอเชีย

โครงการผลิตไฟฟ้าและน้ำเย็น เป็นการพัฒนาระบบสาธารณูปโภคพื้นที่โครงการพัฒนาสนามบินอู่ตะเภาและเมืองการบินภาคตะวันออก พร้อมสร้างความมั่นคงด้านพลังงานในพื้นที่สนามบินอู่ตะเภาและเมืองการบินภาคตะวันออกให้มีประสิทธิภาพสูงสุด สามารถรองรับการขยายตัวของผู้โดยสาร ธุรกิจการขนส่งสินค้า ธุรกิจอุตสาหกรรมการบิน ศูนย์กลางธุรกิจ E – Commerce และศูนย์เทคโนโลยีด้านอากาศยาน กองทัพเรือในฐานะหน่วยงานเจ้าของโครงการพัฒนาสนามบินอู่ตะเภาและเมืองการบินภาคตะวันออกร่วมกับ สกพอ. ได้คัดเลือก บริษัท บี.กริม เพาเวอร์ จำกัด (มหาชน) เป็นผู้เช่าที่ราชพัสดุ พื้นที่ 100 ไร่ เพื่อดำเนินการด้านสาธารณูปโภค โครงการงานระบบไฟฟ้าและน้ำเย็น เพื่อรองรับการพัฒนาพื้นที่ท่าอากาศยานอู่ตะเภา โดยจะผลิตไฟฟ้าแบบผสมผสาน (Hybrid Power Plant) ระหว่างโรงไฟฟ้าพลังงานความร้อนร่วม (Co-Generation Power Plant) โดยใช้เชื้อเพลิงก๊าซธรรมชาติกับโรงไฟฟ้าพลังงานแสงอาทิตย์ (PV Solar Farm) ซึ่งเป็นพลังงานสะอาดตามแนวคิดหลักของ อีอีซี มีขนาดกำลังผลิตไฟฟ้ารวม 95 เมกะวัตต์ พร้อมด้วยระบบกักเก็บพลังงานอัจฉริยะ (Energy Storage System-ESS) ขนาด 50 เมกะวัตต์ชั่วโมง และพร้อมจะจัดหาแหล่งพลังงานไฟฟ้าเพิ่มเติมเมื่อสนามบินมีการพัฒนาสูงสุดและมีความต้องการพลังงานไฟฟ้ามากกว่า 95 เมกะวัตต์ และเสริมความมั่นคงด้วยการสำรองไฟฟ้า 100 เปอร์เซ็นต์ ทั้งนี้ความร้อนที่เกิดจากการผลิตไฟฟ้าได้นำมาเปลี่ยนเป็นระบบน้ำเย็นสำหรับระบบปรับอากาศสนามบิน ทำให้มีการใช้พลังงานได้อย่างมีประสิทธิภาพสูงสุดและลดผลกระทบสิ่งแวดล้อม

นอกจากนี้ ระบบผลิตไฟฟ้าแบบผสมผสาน (Hybrid Power Plant) สามารถเลือกใช้แหล่งพลังงานที่คุ้มค่าหรือมีราคาประหยัดเหมาะสม เพื่อพัฒนาระบบผลิตไฟฟ้าให้มีเสถียรภาพต่อเนื่อง มีพลังงานสำรอง ลดความเสียหายต่ออุปกรณ์ไฟฟ้าที่จำเป็นต้องปฏิบัติงานตลอด 24 ชั่วโมง รวมทั้งอำนวยความสะดวกให้แก่ผู้โดยสารที่ใช้บริการภายในสนามบินอู่ตะเภาอย่างมีประสิทธิภาพอีกด้วย

ดร.ฮาราลด์ ลิงค์ ประธานกรรมการ บี.กริม กล่าวว่า บริษัทฯ มีความยินดีอย่างยิ่ง ในการลงนามสัญญาเช่าที่ดินราชพัสดุเพื่อประกอบกิจการผลิตไฟฟ้าและน้ำเย็นในโครงการพัฒนาสนามบินอู่ตะเภาและเมืองการบินภาคตะวันออกที่ถือเป็นโครงการสำคัญในการพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานหลักของ อีอีซี โดยสนามบินอู่ตะเภาจะเป็นสนามบินนานาชาติเชิงพาณิชย์หลักแห่งใหม่แห่งอนาคตที่จะเป็นส่วนสำคัญในการพัฒนาระบบเศรษฐกิจของประเทศ นับเป็นความภาคภูมิใจอย่างสูงและเป็นเกียรติอย่างแท้จริงของบริษัทฯในฐานะที่ BGRIM เป็นหนึ่งในบริษัทเอกชนไทยผู้มีส่วนร่วมในการริเริ่มการดำเนินการพัฒนาระบบสาธารณูปโภคต่างๆที่สำคัญให้กับประเทศไทย มาตลอดระยะเวลา 142 ปีแห่งการดำเนินธุรกิจที่ผ่านมา

การที่ BGRIM ได้รับเกียรติและความไว้วางใจในการพิจารณาคัดเลือกโดยกองทัพเรือ และ สกพอ. ให้เป็นผู้รับผิดชอบดำเนินการผลิตไฟฟ้าและน้ำเย็นสำหรับสนามบินอู่ตะเภาและเมืองการบินภาคตะวันออกในครั้งนี้ บริษัทฯ ซึ่งถือเป็นผู้เชี่ยวชาญในการก่อสร้าง พัฒนา และบริหารโรงไฟฟ้าที่ประสบความสำเร็จให้กับพื้นที่อุตสาหกรรมชั้นนำในเขตจังหวัดพื้นที่พัฒนาของ อีอีซี มาตลอด ตั้งแต่เริ่มการพัฒนาโรงไฟฟ้าเอกชนครั้งแรกในปี 2538 นั้น BGRIM จึงมีความเชื่อมั่นอย่างเต็มที่ว่า บริษัทฯ จะสามารถใช้ความพร้อมและประสบการณ์อันเต็มเปี่ยมเพื่อพัฒนาโรงไฟฟ้าแห่งใหม่ให้กับสนามบินอู่ตะเภาและพื้นที่พัฒนาเมืองการบินภาคตะวันออกได้อย่างมีประสิทธิภาพสูงสุด ซึ่งจะเป็นการรองรับความต้องการในการใช้กระแสไฟฟ้าที่มีคุณภาพที่เพิ่มขึ้นต่อไปภายในเขตพื้นที่พัฒนาพิเศษแห่งนี้ได้อย่างมั่นคงตามที่บริษัทฯ ได้รับเกียรติและความไว้วางใจจากกองทัพเรือ และ สกพอ. ในครั้งนี้ได้อย่างแน่นอน

โดยการนี้ บริษัทฯ ยังได้รับความร่วมมืออย่างแน่นแฟ้นจากพันธมิตรชั้นนำระดับโลก นำโดย China Energy Engineering Corporation หรือ Energy China ซึ่งเป็นบรรษัทรัฐวิสาหกิจด้านพลังงานจากสาธารณรัฐประชาชนจีนที่ให้การสนับสนุนเทคโนโลยีโรงไฟฟ้า Hybrid และ Korea Electric Power Corporation หรือ KEPCO บรรษัทรัฐวิสาหกิจด้านพลังงานจากสาธารณรัฐเกาหลีให้การสนับสนุนเทคโนโลยีระบบแบตเตอรี่กักเก็บพลังงาน – ESS และระบบจัดการพลังงานอัจฉริยะ – EMS พร้อมทั้งมี Siemens จากสหพันธ์สาธารณรัฐเยอรมนี สนับสนุนเทคโนโลยี Gas & Steam Turbine ทั้งหมดนี้จึงเป็นเครื่องยืนยันว่า BGRIM จะสามารถสร้างระบบการผลิตและจำหน่ายไฟฟ้าที่มั่นคง ทันสมัย เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม และมีประสิทธิภาพสูงอันเป็นรากฐานต่อระบบสาธารณูปโภคหลักที่สำคัญยิ่งต่อการสนับสนุนให้โครงการพัฒนาสนามบินอู่ตะเภาและเมืองการบินภาคตะวันออกให้สามารถบรรลุความสำเร็จได้ตามยุทธศาสตร์ที่วางไว้

นางปรียนาถ สุนทรวาทะ ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร บี.กริม กล่าวว่า ปัจจุบัน บริษัทฯ ได้จัดเตรียมความพร้อมไว้แล้วทุกประการ เพื่อให้สามารถดำเนินงานตอบสนองต่อนโยบายการพัฒนาพื้นที่สนามบินอู่ตะเภาได้ทันที โดยโรงไฟฟ้าแบบไฮบริด (Hybrid) สำหรับโครงการพัฒนาสนามบินอู่ตะเภาและเมืองการบินภาคตะวันออกนี้ จะพร้อมเปิดดำเนินการเชิงพาณิชย์ (COD) อย่างสมบูรณ์ในปี พ.ศ. 2567 และถือเป็นโรงไฟฟ้าไฮบริดแบบผสมผสานเทคโนโลยีทั้ง 3 ระบบที่มีขนาดใหญ่ที่สุดแห่งหนึ่งของโลก ที่จะสามารถนำเทคโนโลยี ที่ทันสมัยที่สุด มีประสิทธิภาพด้านการผลิตไฟฟ้าที่มีเสถียรภาพมากที่สุด ทั้งยังปลอดภัยและเป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อมได้อย่างยั่งยืน โรงไฟฟ้าแห่งนี้ ถือเป็นระบบสาธารณูปโภคพื้นฐานที่สำคัญ ที่จะสามารถสร้างความมั่นคงด้านพลังงานแห่งอนาคตให้กับสนามบินอู่ตะเภาและเมืองการบินภาคตะวันออก ได้ตามนโยบายการพัฒนาประเทศของรัฐบาลได้อย่างเป็นรูปธรรมอย่างแท้จริง

รองนายกฯสมคิด มอบนโยบาย “พลังงานสร้างไทย” จับมือกระทรวงพลังงานกระตุ้นเศรษฐกิจหลังโควิด-19 คลี่คลายคืนความสุขคนไทยลดรายจ่ายสร้างรายได้

(วันที่ 25 มิ.ย.63 ) นายสมคิด จาตุศรีพิทักษ์ รองนายกรัฐมนตรี เดินทางมาประชุมมอบนโยบาย “พลังงานสร้างไทย” ณ ห้องประชุม 9 ชั้น15 อาคารเอนเนอร์ยี่คอมเพล็กซ์ กระทรวงพลังงาน โดยมี นายสนธิรัตน์ สนธิจิรวงศ์ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงพลังงาน ผู้บริหารและข้าราชการระดับสูงให้การต้อนรับ ซึ่งรัฐมนตรีว่าการกระทรวงพลังงานชี้แจงว่า “การประชุมดังกล่าวเป็นการเตรียมแผนงานด้านพลังงานเพื่อลดค่าครองชีพและสร้างรายได้ให้กับประชาชนหลังสถานการณ์เชื้อโควิด-19 เริ่มคลี่คลาย โดยมีสาระสำคัญที่จะดำเนินการ 3 ด้านในช่วงปี 2563-2565 คือ

1. ลดรายจ่ายแก่ประชาชนช่วงโควิด-19 รวมกว่า 40,500 ล้านบาท ซึ่งกระทรวงพลังงานได้ดำเนินการในช่วงสถานการณ์โควิด-19 ที่ผ่านมาและดำเนินการต่อเนื่องจนถึงสิ้นปี ผ่านมาตรการช่วยเหลือสำคัญ เช่น ลดค่าไฟฟ้าครัวเรือนและภาคธุรกิจด้วยการบริหารจัดการเพื่อลดต้นทุนค่าไฟฟ้าจากการนำเข้า Spot LNG การยกเว้นเก็บอัตราค่าไฟฟ้าขั้นต่ำ (Minimum charge) ถึง กันยายน 2563 การตรึงราคาแก๊สหุงต้มถึง กันยายน 2563 และจะพิจารณาขยายไปถึงธันวาคม 2563 การช่วยเหลือส่วนต่างราคา NGV สำหรับรถสาธารณะ โดย ปตท. ช่วยเหลือส่วนต่างราคาจนถึง กรกฎาคม 2563 การจัดโครงการพลังงานร่วมใจสู้ภัย
โควิด-19 แจกแอลกอฮอล์โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลทั่วประเทศกว่า 2 ล้านลิตร การลดเงินเก็บเข้ากองทุนน้ำมันลง 50 สต.ต่อลิตร และลดราคาน้ำมันหน้าโรงกลั่นลง 50 สต.ต่อลิตร

2. เร่งรัดการลงทุนด้านพลังงาน รวมกว่า 200,000 ล้านบาท ในปี 2563 สร้างการจ้างงานกว่า 10,000 คน โดยในปี 2563 จะมีการเปิดสำรวจและผลิตปิโตรเลียมรอบใหม่ เริ่มดำเนินการ LNG Hub เริ่มการลงทุนพัฒนา Grid Modernization และศึกษาความเป็นไปได้ของ Grid Connectivity กับประเทศเพื่อนบ้าน การรื้อถอนแท่นปิโตรเลียม และเร่ง LNG receiving Terminal

3. กระตุ้นเศรษฐกิจ ฟื้นฟูหลังโควิด-19 รวมกว่า 30,000 ล้านบาท สร้างรายได้ให้ชุมชน เกิดการจ้างงานกว่า 8,000 คน ซึ่งต่อจากนี้ กฟผ. จะกระตุ้นให้เกิดการค้าผ่านตลาดนัดออนไลน์ชุมชนโรงไฟฟ้าและท่องเที่ยวเขื่อนทั่วไทย และ ปตท. จะจัด Living Community Market Place และเที่ยวทั่วทิศกระตุ้นเศรษฐกิจกับ Blue card พร้อมทั้ง กระตุ้นเศรษฐกิจฐานรากผ่านกองทุนเพื่อส่งเสริมการอนุรักษ์พลังงาน มีแผนที่จะขยายสายส่งไฟฟ้าเพื่อผันแม่น้ำยวมสู่อ่างเก็บน้ำภูมิพลเพื่อชลประทาน และยังช่วยลดปัญหาภัยแล้งที่เกิดขึ้นได้ด้วย รวมไปถึงการพิจารณาหาแนวทางการนำไฟฟ้าส่วนเกินมาใช้ให้เกิดประโยชน์อย่างมีประสิทธิภาพ

“ส่วนโรงไฟฟ้าชุมชนจะช่วยกระตุ้นเศรษฐกิจชุมชน เกิดการลงทุนและสร้างรายได้กว่า 2000 ล้านบาท เกิดการจ้างงานกว่า 10,000 คน เมื่อครบเป้าหมาย 700 เมกะวัตต์ นอกจากนี้ การใช้ระบบ Blockchain เข้ามาช่วยในการซื้อขายปาล์มภาคพลังงานทั้งระบบ จะเกิดการหมุนเวียนรายได้กว่า 14,000 ล้านบาท และการลงทุนเพื่อช่วยประกอบการ Start up โดย ปตท. สนับสนุนทุนไปแล้วกว่า 17 ราย และ กฟผ. จะมี Innovation Holding Company เข้ามาช่วยสนับสนุนการพัฒนาไฟฟ้าในยุค Disruptive technology นอกจากนี้ ยังมีแนวทางที่จะบูรณาการทำงานกับหน่วยงานอื่น เพื่อผลักดันการพัฒนา E-Transportation ให้ครบวงจร ซึ่งกระทรวงพลังงานและหน่วยงานในสังกัดทุกหน่วยจะเร่งเดินหน้าตามแผนงานดังกล่าวเพื่อให้ประชาชนมีรายได้และขับเคลื่อนเศรษฐกิจประเทศไทยให้เดินหน้าอย่างเข้มแข็งต่อไป” รัฐมนตรีว่าการกระทรวงพลังงานกล่าว

รัฐมนตรีว่าการกระทรวงพลังงาน เป็นประธานการแถลงข่าวโครงการ EGAT Care Back to School

กระทรวงพลังงาน ร่วมกับ กฟผ. หยุดการแพร่ระบาด COVID-19 เตรียมพร้อมเดินหน้าส่งมอบหน้ากากอนามัย เจลอนามัย “น้ำใจ” กฟผ. เสากดแอลกอฮอล์เจลแบบเท้าเหยียบ และสบู่เหลวจากผลิตภัณฑ์ชุมชน ให้นักเรียนและบุคลากรด้านการศึกษากว่า 2 แสนคน ในสถานศึกษากว่า 600 แห่ง ทั่วประเทศ ดีเดย์ รับเปิดเทอม 1 ก.ค. นี้

วันนี้ (24 มิถุนายน 2563) นายสนธิรัตน์ สนธิจิรวงศ์ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงพลังงาน เป็นประธานการแถลงข่าวโครงการ EGAT Care Back to School ซึ่งการไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทย (กฟผ.) จัดขึ้น เพื่อเตรียมความพร้อมในการป้องกัน ลดความเสี่ยง และหยุดการแพร่ระบาดโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (COVID-19) ช่วงเปิดภาคเรียนของภาคการศึกษา โดยมีนายสุจินต์ ไชยชุมศักดิ์ ผู้ว่าราชการจังหวัดนนทบุรี และนายวิบูลย์ ฤกษ์ศิระทัย ผู้ว่าการ กฟผ. ร่วมการแถลงข่าว ณ ห้อง Auditorium ชั้น 3 อาคาร ท.103 สำนักงานใหญ่ กฟผ. จ.นนทบุรี

นายสนธิรัตน์ สนธิจิรวงศ์ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงพลังงาน เปิดเผยว่า สถานการณ์การแพร่ระบาด COVID-19 ในประเทศไทยนับว่ามีการควบคุมได้ดี ด้วยความร่วมมือร่วมใจยึดแนวทางปฏิบัติของรัฐบาลอย่างเคร่งครัด ซึ่งกระทรวงพลังงาน ภายใต้รัฐบาลก็เร่งขับเคลื่อนแนวทางการช่วยเหลือภาคประชาชนและภาคธุรกิจ ที่ได้รับผลกระทบจาก COVID-19 อย่างต่อเนื่อง ไม่ว่าจะเป็นการคืนเงินประกันการใช้ไฟฟ้า การลดค่าไฟ ช่วยประชาชน การลดราคาก๊าซ NGV สำหรับรถสาธารณะ และการลดราคาก๊าซหุงต้ม LPG รวมถึงที่ผ่านมาได้ร่วมกับ กฟผ. จัดหาแอลกอฮอล์เพื่อประชาชน โดยส่งมอบไปยังโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบล และ สถานบริการสาธารณสุขชุมชน 9,863 แห่งทั่วประเทศ ปริมาณแอลกอฮอล์รวมทั้งสิ้น 1,972,600 ลิตร และโครงการ EGAT Care Back to School เป็นโครงการที่แสดงถึงการให้ความสำคัญต่อภาคการศึกษาอย่างจริงจัง เพื่อเสริมความพร้อมและเพิ่มศักยภาพในการป้องกันการแพร่ระบาดของเชื้อ COVID-19 ภายในสถานศึกษา

นายวิบูลย์ ฤกษ์ศิระทัย ผู้ว่าการ กฟผ. กล่าวว่า ด้วย กฟผ. เห็นถึงความสำคัญของการป้องกัน การแพร่ระบาด COVID-19 ของภาคการศึกษา จึงเกิดโครงการ EGAT Care Back to School ขึ้น โดยจะดำเนินการส่งมอบหน้ากากอนามัย เจลอนามัย “น้ำใจ” กฟผ. เสากดแอลกอฮอล์เจลแบบเท้าเหยียบ และ สบู่เหลวจากผลิตภัณฑ์ชุมชนรอบพื้นที่ กฟผ. ให้กับนักเรียน และบุคลากรการศึกษา จำนวนมากกว่า 200,000 คน ในสถานศึกษา 600 กว่าแห่งทั่วประเทศ โดยจะเริ่มส่งมอบอย่างเป็นทางการ ตั้งแต่วันที่ 1 กรกฎาคม 2563

สำหรับ ภายในงานจัดให้มีการมอบหน้ากากอนามัย เจลอนามัย “น้ำใจ” กฟผ. เสากดแอลกอฮอล์ เจลแบบเท้าเหยียบ และสบู่เหลวจากผลิตภัณฑ์ชุมชน ให้กับผู้แทนโรงเรียนวัดจันทร์ (ผาดไสวประชาอุทิศ) โรงเรียนวัดลุ่ม โรงเรียนศึกษาสงเคราะห์บางกรวย โรงเรียนวัดฉัตรแก้วจงกลนี โรงเรียนวัดคฤหบดี โรงเรียนวัดสามัคคีสุทธาวาส โรงเรียนวัดฝาง โรงเรียนบางยี่ขันวิทยาคม และโรงเรียนศีลาจารพิพัฒน์ รอบพื้นที่สำนักงานใหญ่ กฟผ. จ.นนทบุรี

“กฟผ. พร้อมเป็นส่วนหนึ่งในการรณรงค์ให้คนไทยยึดแนวปฏิบัติในการดูแลตนเองและส่วนรวมเพื่อไม่ให้เกิดการแพร่ระบาดซ้ำอีก โดย กฟผ. ขอเคียงข้างคนไทยทุกวิกฤตและพร้อมร่วมมือกับทุกภาคส่วนร่วมฟื้นฟูประเทศไทย จากสถานการณ์แพร่ระบาด COVID-19”

นายกุลิศ สมบัติศิริ ปลัดกระทรวงพลังงาน พร้อมด้วยคณะผู้บริหารกระทรวงพลังงาน เข้าถวายแจกันดอกไม้และลงนามถวายพระพร

 

วันนี้ (19 มิ.ย. 63) นายกุลิศ สมบัติศิริ ปลัดกระทรวงพลังงาน พร้อมด้วยคณะผู้บริหารกระทรวงพลังงาน เข้าถวายแจกันดอกไม้และลงนามถวายพระพร สมเด็จพระเจ้าน้องนางเธอ เจ้าฟ้าจุฬาภรณวลัยลักษณ์ อัครราชกุมารี กรมพระศรีสวางควัฒน วรขัตติยราชนารี ให้ทรงหายจากพระอาการประชวรโดยเร็ววัน ณ โรงพยาบาลจุฬาภรณ์

 

 

การประชุมแนวทางการจัดแผนปฏิบัติราชการประจาปีงบประมาณ พ.ศ. 2565

การประชุมแนวทางการจัดแผนปฏิบัติราชการประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2565

วันที่ 17 มิถุนยายน 25633เวลา 9.00 12.00 น. ณ ห้องประชุม 9 ชั้น 15 ศูนย์เอนเนอร์ยี่คอมเพล็กซ์ อาคารบี

เอกสารประกอบการประชุม คลิกที่นี่

 

รัฐมนตรีว่าการกระทรวงพลังงาน เป็นประธานการประชุมคณะกรรมการบริหารนโยบายพลังงาน (กบง.)

วันนี้ (15 มิ.ย. 63) นายสนธิรัตน์ สนธิจิรวงศ์  รัฐมนตรีว่าการกระทรวงพลังงาน เป็นประธานการประชุมคณะกรรมการบริหารนโยบายพลังงาน (กบง.) โดยมีเรื่องพิจารณาที่สำคัญคือการปรับปรุงหลักเกณฑ์การคำนวณราคา ณ โรงกลั่นน้ำมันเชื้อเพลิง ที่กระทรวงพลังงานได้ศึกษาไว้ตั้งแต่เดือนธันวาคม 2562 แต่ได้เปิดโอกาสให้ภาคประชาชนได้เข้ามาร่วมแลกเปลี่ยนและให้ข้อคิดเห็นเพื่อทำให้ราคาโปร่งใสและเป็นธรรมกับทุกฝ่าย ซึ่ง กบง. ในคราวการประชุมเมื่อวันที่ 9 มีนาคม 2563 ได้เห็นชอบหลักเกณฑ์ราคาฯ ไว้แล้ว แต่ด้วยช่วงนั้นเป็นช่วงการแพร่ระบาดของ Covid-19 จึงยังไม่ทันได้เริ่มใช้หลักเกณฑ์นั้น ในการพิจารณาของ กบง. ครั้งนี้ เห็นว่าเป็นช่วงเวลาที่ควรจะเริ่มใช้หลักเกณฑ์การคำนวณใหม่แล้ว เมื่อคำนวณราคา ณ โรงกลั่นน้ำมันเชื้อเพลิงตามเกณฑ์ใหม่แล้ว จะส่งผลต่อราคาหน้าโรงกลั่นลดลงเฉลี่ย 0.50 บาทต่อลิตร ราคาขายปลีกลดลงได้เฉลี่ย 0.50 บาทต่อลิตร ตามประเภทต้นทุนของแต่ละชนิดเชื้อเพลิง โดยจะให้เริ่มใช้ในวันที่ 17 มิถุนายน 2563 และสำหรับข้อกังวลของโรงกลั่นน้ำมันเชื้อเพลิงที่มีต่อค่าการปรับปรุงคุณภาพน้ำมันนั้น กระทรวงพลังงานรับทราบแล้ว และให้หน่วยงานที่เกี่ยวข้องนำไปพิจารณาเพื่อความเป็นธรรมกับทุกฝ่าย และให้นำมาเสนอ กบง. พิจารณาในโอกาสต่อไป

ทั้งนี้ กระทรวงพลังงาน ได้ใช้โอกาสนี้ทบทวนความเข้าใจเรื่องการค้าน้ำมันเชื้อเพลิงของประเทศไทยนั้นเป็นการแข่งขันอย่างเสรีและเป็นธรรม กระทรวงพลังงานไม่ได้กำหนดราคาขายปลีกน้ำมันเชื้อเพลิงหน้าสถานีบริการ ซึ่งผู้ค้าน้ำมันเชื้อเพลิง แต่ละแต่ละยี่ห้อแต่ละสถานีบริการจะปรับราคาขึ้นหรือลงตามการแข่งขันอย่างเสรี กระทรวงพลังงานเพียงจัดทำโครงสร้างราคาน้ำมันเชื้อเพลิงขึ้นเพื่อไว้ประเมินราคาที่ควรจะเป็น ณ เวลานั้นๆ มีไว้อ้างอิง เปรียบเทียบ ไม่มีผลบังคับกับผู้ค้าน้ำมันเชื้อเพลิงแต่อย่างใด ราคาน้ำมันของตลาดโลกมีการเปลี่ยนแปลงปรับขึ้นหรือลงทุกวัน ราคาขายปลีกน้ำมันเชื้อเพลิงหน้าสถานีบริการของประเทศไทยไม่ได้เปลี่ยนแปลงทุกวัน กระทรวงพลังงานจะติดตามความเหมาะสมโดยมี “ค่าการตลาด” หรือประมาณการกำไรขั้นต้นก่อนหักค่าใช้จ่ายระหว่างผู้ค้าน้ำมันและเจ้าของสถานีบริการแต่ละยี่ห้อไว้ในโครงสร้าง  ซึ่งค่าการตลาดที่ กบง. เคยเห็นชอบไว้ที่อัตราเฉลี่ย 1.85 บาทต่อลิตร เป็นค่าการตลาดเฉลี่ยถ่วงน้ำหนักของน้ำมันทุกชนิดในภาพรวม ไม่ใช่พิจารณารายผลิตภัณฑ์ และจะมีความยืดหยุ่น +/- 0.40 บาทต่อลิตร หรือค่าการตลาดน้ำมันเชื้อเพลิงเฉลี่ยจะอยู่ในช่วง 1.45 – 2.25 บาทต่อลิตร

ในวันนี้ได้มีการพิจารณาเรื่องสำคัญอีก 2 เรื่อง เป็นมาตรการบรรเทาความเดือดร้อนของประชาชนในช่วงการแพร่ระบาดของ Covid-19 คือการปรับราคา LPG และ NGV ซึ่งที่ประชุมเห็นว่าแม้จะเข้าสู่การผ่อนคลายจากสถานการณ์ Covid-19 แล้ว แต่ยังเป็นระยะปรับตัวทางเศรษฐกิจ  ในช่วงนี้จะขอความร่วมมือบริษัท ปตท. จำกัด (มหาชน) ขยายเวลาการช่วยเหลือส่วนลดค่าซื้อก๊าซหุงต้มแก่ผู้มีรายได้น้อย กลุ่มร้านค้า หาบเร่ แผงลอย ที่มีบัตรสวัสดิการแห่งรัฐจำนวน 100 บาท/คน/เดือน ต่อไปจนถึงเดือนกันยายน 2563 และช่วยขยายเวลาลดราคาขายปลีก NGV รถโดยสารสาธารณะ (ในเขต กทม./ปริมณฑล: รถแท็กซี่/ตุ๊กตุ๊ก/รถตู้ ร่วม ขสมก. ในต่างจังหวัด: รถโดยสาร/มินิบัส/สองแถว ร่วม ขสมก.    รถโดยสาร/รถตู้ ร่วม บขส. และรถแท็กซี่) ที่ปรับลดจาก 13.62 บาทต่อกิโลกรัม เป็น 10.62 บาทต่อกิโลกรัม ซึ่งจะสิ้นสุดลงในวันที่ 30 มิถุนายน 2563 ให้ขยายเวลาถึงเดือนกรกฎาคม 2563 ด้วย

 

นายกรัฐมนตรี รับมอบนวัตกรรม สู้ภัย COVID-19

พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรี เยี่ยมชมกิจกรรมมอบ “นวัตกรรม กฟผ. สู้ภัย COVID – 19” โดยมีนายสนธิรัตน์ สนธิจรวงศ์ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงพลังงาน รายงานข้อมูลภาพรวม และผู้บริหารกระทรวงพลังงาน ผู้บริหาร กฟผ. ให้การต้อนรับ ในวันอังคารที่ 9 มิถุนายน 2563 ณ ตึกสันติไมตรี ทำเนียบรัฐบาล

รัฐมนตรีว่าการกระทรวงพลังงาน ลงพื้นที่ จ.กระบี่ ร่วมพบปะกับกลุ่มเกษตรกรชาวสวนปาล์มน้ำมัน

วันนี้ (6 มิ.ย. 63) นายสนธิรัตน์ สนธิจิรวงศ์ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงพลังงาน พร้อมด้วยคณะผู้บริหารและเจ้าหน้าที่กระทรวงพลังงานได้ลงพื้นที่จังหวัดกระบี่โดยมีผู้ว่าราชการจังหวัดกระบี่ให้การต้อนรับ โดยได้ร่วมพบปะกับกลุ่มเกษตรกรชาวสวนปาล์มน้ำมัน และร่วมเสวนาถึงทิศทางใหม่ของการทำสวนปาล์มน้ำมันด้วยการนำระบบบล็อกเชน (Blockchain) มาใช้ดูแลการซื้อขายปาล์มน้ำมันทั้งระบบ เพื่อให้เกษตรกรได้รับราคาผลผลิตที่เป็นธรรม ราคาสอดคล้องกันทั้งระบบ Value Chain โดยรายได้ตกสู่เกษตรกรอย่างแท้จริง

Blockchain จะนำมาใช้บริหารซื้อขายน้ำมันปาล์มดิบ (CPO) มาผลิตไบโอดีเซล หรือ B100 เพื่อให้เกษตรกรมีรายได้ที่สะท้อนราคาผลปาล์มอย่างเป็นธรรม จะมีการเก็บข้อมูลราคาของเกษตรกร ลานเท โรงหีบ โรงผลิต B100 และโรงกลั่นน้ำมัน ซึ่งทำให้โครสร้างราคาสอดคล้องกันทั้งระบบ

กระทรวงพลังงานคาดว่าระบบ Blockchain จะช่วยให้เกษตรกรชาวสวนปาล์มไม่ถูกกดราคารับซื้อ สามารถพัฒนาผลผลิตที่มีคุณภาพยกระดับราคาผลปาล์มน้ำมัน และผลผลิตพืชพลังงาน สร้างเสถียรภาพราคาให้เกษตรกรมีรายได้ที่มั่นคง ช่วยปรับสมดุลน้ำมันปาล์มดิบในประเทศจากการส่งเสริมให้มีการใช้ไบโอดีเซลในภาคพลังงานมากขึ้น เพื่อลดการพึ่งพาการนำเข้าเชื้อเพลิงฟอสซิลจากต่างประเทศ ช่วยป้องกันการลักลอบการนำเข้า และยังลดปัญหาสิ่งแวดล้อมด้านมลภาวะทางอากาศจากฝุ่น PM 2.5 ลดการปล่อยก๊าซเรือนจากในภาคคมนาคมขนส่งอีกด้วย

“ ขณะนี้ กระทรวงพลังงานโดยกรมธุรกิจพลังงานอยู่ระหว่างทำโครงการนำร่องเพื่อทดสอบถึงความเป็นได้ในการนำระบบ Blockchain มาใช้ ซึ่งระบบนี้มีข้อดีที่ช่วยตัดวงจรพ่อค้าคนกลางออกไป เพราะเป็นสาเหตุสำคัญที่ทำให้ปาล์มน้ำมันถูกกดราคาให้ตกต่ำเรื่อยมา แม้ว่าไทยจะได้ชื่อว่าเป็นผู้ปลูกปาล์มมากเป็นอันดับ 3 ของโลกก็ตาม ผมจึงอยากให้ข้อมูลและให้ความมั่นใจกับพี่น้องเกษตรกรชาวสวนปาล์มว่า นโยบายกระทรวงพลังงานจะเป็นเครื่องมือสร้างคุณภาพชีวิตที่ดีของประชาชนอย่างแท้จริง เพื่อได้รับราคาผลผลิตที่เป็นธรรม ไม่ถูกกดราคาอีกต่อไปตามนโยบาย พลังงานเพื่อทุกคน พลังงานเพื่อชุมชน ยกระดับเศรษฐกิจฐานราก” รัฐมนตรีว่าการกระทรวงพลังงานกล่าว

รัฐมนตรีว่าการกระทรวงพลังงานร่วมพิธีถวายพระพรชัยมงคล สมเด็จพระนางเจ้าสุทิดา พัชรสุธาพิมลลักษณ พระบรมราชินี

วันนี้ (3 มิ.ย. 63) นายสนธิรัตน์ สนธิจิรวงศ์ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงพลังงาน พร้อมผู้บริหารกระทรวงพลังงาน ร่วมทำพิธีถวายพระพรชัยมงคลสมเด็จพระนางเจ้าสุทิดา พัชรสุธาพิมลลักษณ พระบรมราชินี เนื่องในโอกาสวันเฉลิมพระชนมพรรษา และเป็นประธานกิจกรรมจิตอาสาบำเพ็ญสาธารณประโยชน์  “มีแล้วแบ่งปัน” โดยมอบเจลแอลกอฮอล์จำนวนกว่า 700 ชุด แก่ผู้แทนนิคมบ้านพักรถไฟ กม.11  เพื่อใช้ในการทำความสะอาดมือป้องกันการระบาดของเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (โควิด-19) ณ ศูนย์เอนเนอร์ยี่คอมเพล็กซ์ กระทรวงพลังงาน และผู้บริหารกระทรวงพลังงาน ได้เดินทางไปร่วมลงนามถวายพระพรสมเด็จพระนางเจ้าสุทิดา พัชรสุธาพิมลลักษณ พระบรมราชินี ณ ศาลาสหทัยสมาคม ในพระบรมมหาราชวัง

ปลัดกระทรวงพลังงาน แถลงข่าวแนวทางการพิจารณากลั่นกรองโครงการที่ขอรับการสนับสนุนเงินจากกองทุนฯ ปี63

กระทรวงพลังงานวางกรอบกติกาเข้ม เร่งพิจารณากลั่นกรองโครงการที่ขอรับการสนับสนุนงบประมาณจากกองทุนเพื่อส่งเสริมการอนุรักษ์พลังงานปี 63 ซึ่งมีข้อเสนอวงเงินเกินกว่างบจัดสรรถึง 11 เท่า โดยลำดับความสำคัญเน้นให้กับโครงการสนับสนุนเศรษฐกิจฐานราก สร้างงาน สร้างอาชีพ และการช่วยเหลือภัยแล้ง เป็นอันดับแรก

วันนี้ (27 พ.ค.63) นายกุลิศ สมบัติศิริ ปลัดกระทรวงพลังงาน เป็นประธานในการประชุมคณะอนุกรรมการกลั่นกรองงบประมาณของกองทุนเพื่อส่งเสริมการอนุรักษ์พลังงาน ซึ่งมีการสรุปยอดการยื่นข้อเสนอโครงการปีนี้มีจำนวนทั้งหมด 5,155 โครงการวงเงิน 62,616 ล้านบาท โดยที่กรอบการจัดสรรเงินกองทุนฯ มี 5,600 ล้านบาท หรือเกินจำนวนเงินที่มีประมาณ 11 เท่า ซึ่งโครงการที่ยื่นเขามาแบ่งเป็นในกลุ่มแผนเพิ่มประสิทธิภาพ 1,134 โครงการ วงเงิน 20,874 ล้านบาท (วงเงินจัดสรร 2,400 ล้านบาท) และแผนพลังงานทดแทน 4,021 โครงการ วงเงิน 41,743 ล้านบาท (วงเงินจัดสรร 3,200 ล้านบาท)

คณะอนุกรรมการฯ จะพิจารณาและกำหนดหลักเกณฑ์และเงื่อนไขอย่างละเอียดรอบคอบและให้ครอบคลุมหลายมิติ โดยลำดับแรกจะพิจารณาว่าเป็นไปตามเงื่อนไขการจัดทำข้อเสนอโครงการและเงื่อนไขการใช้จ่ายเงินกองทุนฯ หรือไม่ เช่น ผู้ยื่นขอรับการสนับสนุนไม่เข้าข่ายเป็นผู้ขอรับแทนกัน มีข้อมูลด้านความคุมค่า กรณีเป็นโครงการต่อเนื่องต้องมีผลความก้าวหน้าและผลการเบิกจ่ายมากกว่าร้อยละ 50 ของโครงการในปีที่ผ่านมา มีข้อมูลด้านศักยภาพของหน่วยงานและเชิงพื้นที่ เป็นต้น

ทั้งนี้ การลำดับความสำคัญจะเน้นให้กับโครงการภายใต้กลุ่มงานสนับสนุนลดต้นทุน ยกระดับคุณภาพชีวิต เพิ่มเศรษฐกิจฐานรากภายใต้แผนเพิ่มประสิทธิภาพการใช้พลังงาน และแผนพลังงานทดแทน เพื่อกระตุ้นเศรษฐกิจฐานรากทำให้เม็ดเงินกระจายอยู่ในจังหวัด ช่วยสร้างอาชีพ สร้างงาน และสร้างรายได้ให้ประชาชนในพื้นที่ รวมทั้งเกิดการนำพลังงานทดแทนมาใช้ก่อเกิดการประหยัดพลังงานให้กับชุมชน ช่วยลดค่าใช้จ่าย โดยในกลุ่มนี้มีข้อเสนอโครงการที่ยื่นตรงมายังสำนักงานบริหารกองทุนเพื่อส่งเสริมการอนุรักษ์พลังงาน (ส.กทอ.) รวม 3,605 โครงการ และข้อเสนอผ่านคณะกรรมการระดับจังหวัดซึ่งมีผู้ว่าราชการจังหวัดเป็นประธาน มีจังหวัดที่ยื่นขอมา 54 จังหวัด ซึ่งคณะอนุกรรมการกลั่นกรองฯ จะกำหนดแนวทางกลั่นกรองโครงการภายใต้กลุ่มงานนี้ต้องเป็นไปตามวัตถุประสงค์และเป็นไปตามเงื่อนไขอย่างเข้มงวด

สำหรับโครงการติดตั้งระบบสูบน้ำพลังแสงอาทิตย์ ซึ่งมีหน่วยงานยื่นข้อเสนอโครงการทั้งหมด 2,339 โครงการ เป็นวงเงิน 9,172 ล้านบาท คณะอนุกรรมการฯ ได้มอบแนวทางพิจารณามิติการบูรณาการ เช่น มีการสูบน้ำเพื่อการเกษตร มีแผนเพิ่มมูลค่าผลิตภัณฑ์ โดยอาจเป็นการแปรรูปผลิตภัณฑ์ และมอบหมาย ส.กทอ.จัดทำบัญชีข้อมูลโครงการที่กองทุนฯ ได้ให้การสนับสนุนไปแล้วรายจังหวัดประเภทโครงการติดตั้งระบบผลิตไฟฟ้าพลังงานแสงอาทิตย์เพื่อการเกษตร เพื่อใช้ประกอบการพิจารณาของคณะอนุกรรมการฯ โดยจะให้ความสำคัญกับพื้นที่ประสบภัยแล้งที่ยังไม่เคยได้รับการจัดสรร

ส่วนโครงการประเภทซื้อวัสดุอุปกรณ์ หากไม่มีการต่อยอดบูรณาการเพื่อสร้างมูลค่าเพิ่มจะได้รับความสำคัญระดับต่ำสุด โดยระยะเวลาในการกลั่นกรองโครงการคณะอนุกรรมการฯ จะเร่งให้แล้วเสร็จภายในสัปดาห์ที่ 3 ของเดือนมิถุนายน 2563 เพื่อเสนอคณะกรรมการกองทุนฯ พิจารณาอนุมัติในสัปดาห์ที่ 4 ของเดือนมิถุนายนต่อไป

รัฐมนตรีว่าการกระทรวงพลังงาน ร่วมบันทึกเทปถวายพระพร สมเด็จพระนางเจ้าฯ พระบรมราชินี

วันนี้ (21 พ.ค. 63) นายสนธิรัตน์ สนธิจิรวงศ์ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงพลังงาน พร้อมด้วยคณะผู้บริหารระดับสูง และหน่วยงานในสังกัดกระทรวงพลังงาน เข้าร่วมบันทึกเทปถวายพระพร สมเด็จพระนางเจ้าสุทิดา พัชรสุธาพิมลลักษณ พระบรมราชินี เนื่องในโอกาสวันเฉลิมพระชนมพรรษา 3 มิถุนายน 2563 ณ สถานีวิทยุโทรทัศน์กองทัพบก ช่อง 5

 

รัฐมนตรีว่าการกระทรวงพลังงานชี้แจงกลไกการทำงานของกองทุนเพื่อส่งเสริมการอนุรักษ์พลังงานปี 63

วันนี้ (18 พ.ค. 63) นายสนธิรัตน์ สนธิจิรวงศ์ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงพลังงาน เปิดเผยว่า ต้องการสร้างความชัดเจนให้เห็นถึงกลไกของกองทุนเพื่อส่งเสริมการอนุรักษ์พลังงานในปี 2563 นี้ว่ามีแนวทางการทำงานอย่างไร  โดยในส่วนของผู้มีสิทธิ์ยื่นขอรับการสนับสนุนโครงการนั้นแบ่งเป็น 2 ประเภทคือ ประเภทหน่วยงานทั่วๆ ไป ได้แก่ หน่วยงานราชการ รัฐวิสาหกิจ สถาบันการศึกษา หรือองค์กรเอกชนที่ไม่แสวงหากำไร เช่น มูลนิธิที่มีวัตถุประสงค์เกี่ยวกับพลังงานโดยตรง ซึ่งหากหน่วยงานไหนขอจะให้หน่วยงานหรือคนอื่นทำแทนไม่ได้ เพราะมีเงื่อนไขหลักเกณฑ์กำหนดไว้ และอีกประเภทคือปีนี้จะมีอยู่ในรูปแบบของคณะกรรมการจังหวัดที่มีผู้ว่าราชการจังหวัดเป็นประธาน เพื่อยื่นขอรับการสนับสนุนโครงการที่เกี่ยวกับพลังงานชุมชน หรือที่เรียกว่าสถานีพลังงาน เพื่อใช้ประโยชน์จากพลังงานไปเชื่อมโยงด้านต่างๆ เช่น เชื่อมโยงด้านการเกษตร เชื่อมโยงต่อยอดด้านการตลาด เป็นต้น ซึ่งคณะกรรมการฯนี้มีทั้งเกษตรจังหวัด ธกส. คลังจังหวัด พลังงานจังหวัดร่วมอยู่ด้วย ซึ่งเป็นรูปแบบโครงการที่ปีนี้เพิ่มเติมเข้ามาเพื่อหวังใช้กระตุ้นเศรษฐกิจฐานราก

นอกจากนี้ หลักเกณฑ์ในการพิจารณากลั่นกรองคัดเลือกโครงการในปีนี้จะเพิ่มเติมต่างจากที่ผ่านมาจะใช้เกณฑ์ในเรื่องของโครงการที่สามารถพัฒนาต่อยอด เช่น ก่อให้เกิดการจ้างงาน การพัฒนาเศรษฐกิจฐานราก การยกระดับพัฒนาคุณภาพชีวิตคนในชุมชนเป็นหลัก และที่สำคัญปีนี้กองทุนฯมีโครงสร้างบริหารงานผ่านคณะอนุกรรมการ 4 ส่วน ได้แก่ 1.คณะอนุกรรมการกองทุนฯ ซึ่งมีรัฐมนตรีว่าการกระทรวงพลังงานเป็นประธาน จะดำเนินการในเรื่องของการวางยุทธศาสตร์ นโยบายและทิศทางของพลังงานไม่เกี่ยวข้องกับเรื่องของการอนุมัติโครงการ 2.คณะอนุกรรมการกลั่นกรองโครงการฯ คณะอนุกรรมการ ทำหน้าที่กลั่นกรองและเสนอความเห็นเกี่ยวกับ งบประมาณรายจ่ายประจำปี/แผน/งาน/โครงการ ต่อคณะกรรมการกองทุนฯ 3.คณะอนุกรรมการติดตามและประเมินผล ซึ่งเป็นเรื่องใหม่ที่เพิ่งเกิดขึ้นในปีนี้ จุดประสงค์เพื่อให้ทุกเม็ดเงินที่ได้รับการสนับสนุนไปมีการติดตามประเมินผลก่อนและหลังโครงการว่าเกิดผลลัพธ์อย่างไร ซึ่งถือเป็นเรื่องที่กระทรวงพลังงานให้ความสำคัญ และ 4.คณะอนุกรรมการบริหารสำนักงานบริหารกองทุนฯ เพื่อปรับปรุงโครงสร้างสำนักงานฯให้มีประสิทธิภาพยิ่งขึ้น

ทั้งนี้ กระบวนการยื่นโครงการก็ผ่านรูปแบบอิเล็กทรอนิกส์เท่านั้น และคณะอนุกรรมการกลั่นกรองฯ จะวางรายละเอียดหลักเกณฑ์โครงการ และหากมีโครงการเข้าหลักเกณฑ์แล้วยังต้องนำเสนอต่อไปยังคณะกรรมการกองทุนเพื่อส่งเสริมการอนุรักษ์พลังงาน ซึ่งมีรองนายกรัฐมนตรี สมคิด จาตุศรีพิทักษ์ เป็นประธานอีกเป็นขั้นตอนสุดท้าย ซึ่งการดำเนินงานทั้งหมดจะให้ความสำคัญกับกระบวนการที่ไม่ให้เกิดข้อวิพากษ์วิจารณ์ใดๆ เน้นวางโครงสร้างหลักเกณฑ์การทำงานที่ให้เกิดความโปร่งใส ชัดเจน สามารถตรวจสอบได้ ซึ่งปีนี้ก็จะเป็นปีแรกที่โครงการต่างๆ ที่ได้รับการสนับสนุนจะถูกเผยแพร่ผ่านเว็บไซต์ของสำนักงานฯ เพื่อเปิดเผยให้สาธารณะตรวจสอบได้

“ขอยืนยันการทำงานของผมที่กระทรวงพลังงานมีจุดยืนในการทำงานที่พร้อมจะเปิดเผย เพื่อสร้างความโปร่งใส ตรวจสอบได้ให้เกิดขึ้น ข้อกังวลประเด็นการเมืองที่จะเข้ามาแทรกแซงการทำงานของกองทุนอนุรักษ์ฯ นั้น ขอย้ำว่าจะไม่เปิดโอกาสให้ใครใช้อำนาจเข้ามายุ่งเกี่ยวได้ ซึ่งหากใครมีเบาะแสความไม่โปร่งใสก็ขอให้ร้องเรียนเข้ามาจะดำเนินการตรวจสอบทันที จึงขอให้ความมั่นใจได้ว่ากระบวนการพิจารณาอนุมัติโครงการของกองทุนอนุรักษ์ฯ มีความชัดเจนในตัว เป็นไปอย่างเปิดเผย โปร่งใส และตรวจสอบได้ ทั้งนี้เพื่อให้กลไกของกองทุนอนุรักษ์ฯสามารถแก้ไขปัญหาเศรษฐกิจ แก้ปัญหาภัยแล้ง ช่วยให้เกิดการจ้างงาน สร้างอาชีพสมดังเจตนารมณ์และวัตถุประสงค์ของกองทุนฯ ” นายสนธิรัตน์ กล่าวสรุปในตอนท้าย

รัฐมนตรีว่าการกระทรวงพลังงาน หารือกับหน่วยงานที่เกี่ยวข้องถึงแนวทางในการช่วยแก้ปัญหาราคาผลผลิตปาล์มน้ำมันที่ตกต่ำในปัจจุบัน

วันนี้ (8 พ.ค.63) นายสนธิรัตน์ สนธิจิรวงศ์ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงพลังงาน เปิดเผยว่า ได้ร่วมหารือกับหน่วยงาน ที่เกี่ยวข้องถึงแนวทางในการช่วยแก้ปัญหาราคาผลผลิตปาล์มน้ำมันที่ตกต่ำในปัจจุบัน โดยที่ประชุมเห็นชอบให้ การไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทย (กฟผ.) จัดซื้อน้ำมันปาล์มดิบ (CPO) ที่เหลือให้ครบตามมติ ครม. ที่ได้มอบหมายให้กระทรวงพลังงานโดย กฟผ. จัดซื้อ CPO จำนวน 200,000 ตัน เพื่อนำไปเป็นเชื้อเพลิงในการผลิตไฟฟ้า ซึ่งปัจจุบัน กฟผ. ได้รับซื้อไปแล้วจำนวน 2 ครั้ง รวม 162,450 ตัน คงเหลืออีก 37,550 ตัน ทั้งนี้เพื่อเร่งรัดการจัดซื้อน้ำมันปาล์มดิบส่วนที่เหลือให้ครบ 200,000 ตัน เพื่อเร่งดูดซับระดับสต็อกน้ำมันปาล์มดิบ

ขณะเดียวกัน ที่ประชุมได้มอบให้กรมธุรกิจพลังงานไปประเมินเพื่อหากลไกในการดูดซับสต็อกไบโอดีเซล (B100) ล่วงหน้า เพื่อนำไปใช้ในการผลิต B10 ตามนโยบายส่งเสริมการใช้ไบโอดีเซลของกระทรวงพลังงาน เพราะขณะนี้ยอดการใช้ดีเซลในช่วงต้นเดือนพ.ค.ที่ผ่านมาเริ่มกลับมาอยู่ในเกณฑ์ใกล้เคียงกับช่วงก่อนเกิดสถานการณ์โควิด ซึ่งคาดว่าในสัปดาห์หน้าจะสามารถได้ข้อสรุปว่าจะเป็นอย่างไร
นอกจากนี้ ที่ประชุมยังได้หารือกับ พล.ต.อ.ดร.ธรรมศักดิ์ วิชชารยะ รองเลขาฯนายกฯ ฝ่ายการเมือง ซึ่งได้ร่วมให้ข้อมูลเกี่ยวกับปาล์มน้ำมันในพื้นที่ปฏิบัติจริง โดยได้บูรณาการความร่วมมือในพื้นที่เพื่อพิจารณาถึงสาเหตุว่ามีสิ่งใดเป็นกลไกหลักที่ทำให้ปาล์มน้ำมันราคาต่ำกว่าความเป็นจริง เพื่อจะได้นำมาเป็นแนวทางในการวางมาตรการช่วยแก้ปัญหาได้ในโอกาสต่อไป

“การประชุมวันนี้เป็นการหารือร่วมหลายฝ่ายในการแก้ปัญหาเรื่องราคาปาล์มน้ำมัน ซึ่งที่ประชุมมีแนวทางหลากหลายในการช่วยแก้ปัญหาผลผลิตราคาปาล์มที่ตกต่ำกว่าปกติ เพราะเนื่องจากเป็นช่วงฤดูกาลที่มีผลผลิตปาล์มน้ำมันออกมามากในช่วงมีนาคม-เมษายน และประกอบกับการบริโภคพลังงานที่ลดลงจากสถานการณ์โรคระบาดโควิด และก็ได้แนวทางให้กฟผ.เร่งรับซื้อ CPO ที่เหลืออีกราว 37,000 ตัน และให้กรมธุรกิจพลังงานเร่งหามาตรการซื้อ B100 ล่วงหน้าเพื่อดูดซับสต็อกน้ำมันปาล์มดิบในตลาดให้ได้มากที่สุด เพื่อบรรเทาความเดือดร้อนของพี่น้องชาวสวนปาล์มที่ประสบปัญหาราคาตกต่ำอยู่ในขณะนี้” รัฐมนตรีว่าการกระทรวงพลังงานกล่าว

รัฐมนตรีว่าการกระทรวงพลังงาน ลงตรวจเยี่ยมคลังน้ำมันและสถานีบริการน้ำมัน ที่จ.สมุทรสาคร รวมทั้งมอบของช่วยเหลือผู้ได้รับผลกระทบจากโควิด19

วันนี้ (8 พ.ค.63) นายสนธิรัตน์ สนธิจิรวงศ์ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงพลังงาน พร้อมคณะผู้บริหาร และเจ้าหน้าที่กระทรวงพลังงาน ได้ลงตรวจเยี่ยมคลังน้ำมันและสถานีบริการน้ำมัน ที่จ.สมุทรสาคร รวมทั้งมอบของช่วยเหลือผู้ได้รับผลกระทบจากโควิด19 ซึ่งภายหลังการตรวจเยี่ยม นายสนธิรัตน์กล่าวว่า วันนี้เป็นการมารับฟังการดำนินงานของผู้ประกอบการด้านคลังน้ำมัน ซึ่งมีส่วนสำคัญในการขับเคลื่อนเศรษฐกิจ ของประเทศ พร้อมรับฟังปัญหาและอุปสรรคในช่วงสถานการณ์โควิด ซึ่งคลังน้ำมันสมุทรสาครของบริษัท พี.เอส.พี. สเปเชียลตี้ส์ จำกัด เป็นผู้ประกอบธุรกิจด้านพลังงานเชื้อเพลิงรายใหญ่ในจังหวัดสมุทรสาคร ให้บริการด้านการจัดเก็บ จัดจ่ายน้ำมันเชื้อเพลิง และผลิตภัณฑ์น้ำมันหล่อหลื่น ให้แก่ผู้ค้าน้ำมันรายสำคัญของประเทศ ซึ่งมีศักยภาพในการขับเคลื่อนธุรกิจท่ามกลางสถานการณ์การแพร่ระบาดของเชื้อไวรัสโคโรนา หรือโควิด-19 ได้อย่าง มีประสิทธิภาพ โดยดำเนินมาตรการในการป้องกันและควบคุมการแพร่ระบาดฯ อย่างเป็นระบบ สามารถขับเคลื่อนธุรกิจพลังงานให้แก่ประชาชนได้เต็มที่

ทั้งนี้ ในวันเดียวกัน ยังได้ติดตามการดำเนินงานและรับฟังปัญหาจากผู้ประกอบการสถานีบริการน้ำมันซึ่งส่วนใหญ่ประสบปัญหาด้านยอดจำหน่ายน้ำมันที่ลดลงจากสถานการณ์ที่ประชาชนต้องอยู่บ้านหยุดเชื้อเพื่อชาติ มีการเดินทางน้อยลง พร้อมกันนี้ยังได้มอบสิ่งของช่วยเหลือในช่วงการแพร่ระบาดของโรค โควิด อาทิ แอลกอฮอล์ฆ่าเชื้อโรค และเครื่องอุปโภคบริโภค เพื่อช่วยบรรเทาผลกระทบแก่ประชาชนในช่วงวิกฤตนี้

“ในการลงพื้นที่ครั้งนี้ วัตถุประสงค์หลักของผมคือ ต้องการดูข้อเท็จจริงและสถานการณ์ทั้งหมดที่เกี่ยวข้องกับมิติด้านพลังงาน ซึ่งอยู่ในความรับผิดชอบของผมและกระทรวงพลังงานว่ายังสามารถทำงานและขับเคลื่อนหรือให้บริการกับพี่น้องประชาชนในภาวะวิกฤตโควิด 19 ได้มีประสิทธิภาพเหมือนสภาวะปกติหรือไม่ ทั้งนี้เราใช้ประชาชนเป็นตัวตั้ง ทั้งในส่วนพี่น้องประชาชน ผู้บริโภคและผู้ให้บริการ ตลอดจนผู้ประกอบการต่างๆ ซึ่งหากพวกเขาเหล่านี้ประสบปัญหา กระทรวงพลังงานจะได้แก้ปัญหาได้อย่างทันท่วงที และมีประสิทธิภาพ ในขณะเดียวกัน ผมถือโอกาสนี้เข้าเยี่ยมเยียนและพบปะพี่น้องประชาชนโดยตรง และได้นำสิ่งของที่จำเป็นต่อชีวิตของประชาชนในเบื้องต้นมาแจกจ่ายเพื่อบรรเทาความเดือดร้อน พร้อมๆ กันด้วย” นายสนธิรัตน์ กล่าวทิ้งท้าย

รัฐมนตรีว่าการกระทรวงพลังงาน พร้อมด้วยผู้บริหารระดับสูงถวายพระพรชัยมงคลเนื่องในวันฉัตรมงคล

วันนี้ (4 พ.ค. 63) นายสนธิรัตน์ สนธิจิรวงศ์ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงพลังงาน พร้อมด้วยคณะผู้บริหารระดับสูง ถวายพระพรชัยมงคลเนื่องในวันฉัตรมงคล โดยประธานในพิธีเปิดกรวยกระทงดอกไม้หน้าพระบรมฉายาลักษณ์ กล่าวคำถวายพระพร ผู้เข้าร่วมพิธีร้องเพลงสรรเสริญพระบารมี เพลงสดุดีจอมราชา ณ บริเวณ ศูนย์เอนเนอร์ยีคอมเพล็กซ์ กระทรวงพลังงาน

 

รองนายกรัฐมนตรี เป็นประธานการประชุมพิจารณามาตรการช่วยเหลือเรื่องค่าไฟฟ้าเพิ่มเติมให้กับกลุ่มผู้ประกอบการภาคเอกชน

รองนายกฯสมคิดนั่งหัวโต๊ะเคาะช่วยเหลือค่าไฟภาคเอกชน ออกมาตรการเพิ่มเติมให้กลุ่มผู้ประกอบการ เตรียมยกเว้นเก็บอัตราค่าไฟฟ้าขั้นต่ำ (Minimum Charge) ให้เก็บตามจริงยาวถึงสิ้นปี 63 พร้อมเล็งพิจารณาแนวทางผ่อนผันชำระค่าไฟให้ผู้ประกอบการ และเตรียมพิจารณาคืนประกันการใช้ไฟฟ้าให้ผู้ใช้ไฟฟ้าประเภทกิจการขนาดกลางและใหญ่

วันนี้ (23 เม.ย.63) ดร.สมคิด จาตุศรีพิทักษ์ รองนายกรัฐมนตรี เป็นประธานการประชุมพิจารณามาตรการช่วยเหลือเรื่องค่าไฟฟ้าเนื่องจากสถานการณ์แพร่ระบาดโรคโควิด-19 เพิ่มเติมให้กับกลุ่มผู้ประกอบการภาคเอกชนพร้อมด้วย นายสนธิรัตน์ สนธิจิรวงศ์ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงพลังงาน โดยมีผู้แทนผู้ประกอบการจากสภาอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย สภาหอการค้าแห่งประเทศไทย สมาพันธ์เอสเอ็มอีไทย และหน่วยงานภาครัฐที่เกี่ยวข้อง คณะกรรมการกำกับกิจการพลังงาน (กกพ.) 3 การไฟฟ้า กรมส่งเสริมอุตสาหกรรม กรมพัฒนาธุรกิจการค้า

นายสนธิรัตน์ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงพลังงาน เปิดเผยภายหลังการประชุมว่า เพื่อแก้ปัญหาภาระค่าไฟฟ้าของภาคเอกชนจึงได้เชิญภาคเอกชนมาหารือ ซึ่งเป็นมาตรการที่กระทรวงพลังงานดำเนินการต่อเนื่องหลังจากก่อนหน้าที่ได้ช่วยเหลือค่าไฟกับกลุ่มบ้านพักอาศัยไปแล้ว โดยการหารือครั้งนี้ภาคเอกชนได้ร้องขอมาตรการช่วยเหลือสำคัญคือการยกเว้นการเก็บอัตราค่าไฟฟ้าขั้นต่ำ  (Minimum Charge) ที่กำหนดในโครงสร้างอัตราค่าไฟฟ้าของประเทศ โดยที่ประชุมได้ข้อสรุปดังนี้

1.การยกเว้นเก็บอัตราค่าไฟฟ้าขั้นต่ำ  ซึ่ง กกพ. ได้เตรียมมาตรการเรื่องนี้ไว้ล่วงหน้าแล้ว โดยจะยกเว้นการจัดเก็บดังกล่าว เป็นการจัดเก็บตามการใช้จริงเพื่อช่วยลดต้นทุนให้ผู้ประกอบการที่เป็นผู้ใช้ไฟฟ้าประเภทที่ 3 (กิจการขนาดกลาง) ประเภทที่ 4 (กิจการขนาดใหญ่) ประเภทที่ 5 (กิจการเฉพาะอย่าง) ประเภทที่ 6 (องค์กรที่ไม่แสวงหากำไร) ประเภทที่ 7 (สูบน้ำเพื่อการเกษตร) ซึ่งเดิม กกพ. ได้วางมาตรการช่วยเหลือตั้งแต่เดือน เม.ย.- มิ.ย.63   แต่อย่างไรก็ดี ผู้ประกอบการขอให้พิจารณาขยายต่อให้จากเดือนมิ.ย. จนถึงเดือน ธ.ค. 63 ซึ่ง กกพ. รับจะพิจารณาขยายต่อ

2.ผู้ประกอบการขอให้มีการผ่อนผันชำระค่าไฟฟ้าให้กับภาคธุรกิจด้านบริการที่ได้รับผลกระทบจากโควิด เช่น ท่องเที่ยว โรงแรม โดย กกพ. ให้ผู้ประกอบการจัดทำรายละเอียดเพิ่มเติมทั้งภาคบริการและภาคอื่นๆ เพื่อใช้ประกอบในการพิจารณาหาแนวทางช่วยเหลือต่อไป

3.การคืนเงินประกันการใช้ไฟฟ้า ให้ผู้ใช้ไฟฟ้าประเภทกิจการขนาดกลางและใหญ่ ซึ่ง กกพ. จะรับเรื่องนี้ไปพิจารณาอีกครั้งหนึ่ง

“การหารือในวันนี้ เรื่องที่ภาคเอกชนต้องการเรื่องผ่อนผันการเก็บอัตราค่าไฟฟ้าขั้นต่ำนั้นบรรลุวัตถุประสงค์ตามความต้องการแล้ว เพราะทางกระทรวงพลังงานโดย กกพ. ได้เตรียมวางมาตรการเรื่องนี้ไว้ล่วงหน้าก่อนแล้ว จึงทำให้การประชุมวันนี้ที่มีท่านรองนายกฯสมคิดร่วมเป็นประธานได้ข้อสรุปในระยะเวลาสั้นมาก สามารถบรรลุวัตถุประสงค์ทุกฝ่าย  ซึ่งกระทรวงพลังงานทราบถึงความเดือดร้อนที่ทุกภาคส่วนได้รับจากสถานการณ์โควิดเป็นอย่างดี และพยายามที่จะผลักดันมาตราการพลังงานต่างๆเพื่อบรรเทาและช่วยเหลือทุกกลุ่มให้มากที่สุด”  รัฐมนตรีว่าการกระทรวงพลังงานกล่าว

กระทรวงพลังงานเพิ่มมาตรการบรรเทาผลกระทบค่าไฟให้ผู้ใช้ไฟฟ้าประเภทครัวเรือน

กระทรวงพลังงานเพิ่มมาตรการบรรเทาผลกระทบค่าไฟให้ผู้ใช้ไฟฟ้าประเภทครัวเรือนที่สนองนโยบายรัฐอยู่บ้านหยุดเชื้อเพื่อชาติ โดยแบ่ง 2 กลุ่ม กลุ่มแรกผู้ใช้ไฟฟรี จะขยายปริมาณการใช้ไฟให้จาก 90 หน่วย เป็น 150 หน่วย กลุ่มสอง ลดภาระค่าไฟครัวเรือนโดยยึดหน่วยการใช้ไฟเดือนก.พ.63 ก่อนเกิดโควิดเป็นเกณฑ์ หากใช้ไฟไม่เกิน 800 หน่วยจ่ายเท่าเดิมเท่ากับเดือนก.พ. หากเกิน 800 หน่วยมีส่วนลดปริมาณหน่วยการใช้ไฟฟ้าส่วนเกินโดยจะลดให้ 50%ของหน่วยไฟฟ้าที่เกิน และถ้าใช้มากเกิน 3,000 หน่วยมีส่วนลดปริมาณหน่วยการใช้ไฟฟ้าส่วนเกินโดยจะลดให้ 30%ของหน่วยไฟฟ้าที่เกิน มาตรการดังกล่าวจะมีผลตั้งแต่ มี.ค.-พ.ค.63 โดย กกพ. เตรียมสรุปเสนอที่ประชุม ครม. พรุ่งนี้เพื่อเร่งบรรเทาความเดือดร้อนประชาชน

วันนี้ (20 เม.ย.63) นายสนธิรัตน์ สนธิจิรวงศ์ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงพลังงาน เปิดเผยว่า กระทรวงพลังงานตระหนักถึงปัญหาของประชาชนในรายจ่ายด้านค่าไฟฟ้าที่เพิ่มสูงขึ้นจากมาตรการของภาครัฐที่ให้อยู่บ้านหยุดเชื้อเพื่อชาติด้วยการทำงานที่บ้าน (Work From Home) ในช่วงแพร่ระบาดของโรคโควิด-19 จึงได้เชิญหน่วยงานเกี่ยวข้องทั้งในสังกัดกระทรวงพลังงาน ได้แก่ คณะกรรมการกำกับกิจการพลังงาน (กกพ.) สำนักงานนโยบายและแผนพลังงาน (สนพ.) การไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทย (กฟผ.) และหน่วยงานสังกัดกระทรวงมหาดไทย ได้แก่ การไฟฟ้านครหลวง (กฟน.) และการไฟฟ้าส่วนภูมิภาค (กฟภ.) เพื่อพิจารณามาตรการบรรเทาผลกระทบด้านค่าไฟฟ้าเพิ่มเติมโ ดยที่ประชุมสรุปมารตการช่วยเหลือผู้ใช้ไฟประเภทครัวเรือนรวม 20 ล้านคน แบ่งมาตรการได้ดังนี้
กลุ่มประเภทอัตราค่าไฟ 1.1 ซึ่งเป็นผู้ใช้ไฟฟ้าที่ติดตั้งเครื่องวัดหน่วยไฟฟ้าขนาดไม่เกิน 5 แอมแปร์ 230 โวลต์ 1 เฟส 2 สาย ซึ่งมีประมาณ 10 ล้านครัวเรือน จะขยายหน่วยการใช้ไฟฟ้าเพิ่มขึ้นจากเดิมให้ใช้ไฟฟรีที่ 90 หน่วย เป็น 150 หน่วย ตั้งแต่มี.ค.-พ.ค.63
กลุ่มประเภทอัตราค่าไฟ 1.2 กลุ่มผู้ใช้ไฟฟ้าที่ใช้ไฟฟ้าเกิน 150 หน่วยขึ้นไป ซึ่งติดตั้งเครื่องวัดหน่วยไฟฟ้า ขนาดเกินกว่า 5 แอมแปร์ 230 โวลต์ 1 เฟส 2 สาย จะช่วยเหลือโดยใช้หน่วยการใช้ไฟฟ้าของแต่ละครัวเรือนในเดือนก.พ.63 เป็นเกณฑ์ เพราะเป็นเดือนที่ยังไม่ได้รับผลกระทบจากการระบาดของโควิด-19 โดยมีการกำหนดมาตรการความช่วยเหลือเพื่อลดภาระค่าใช้จ่ายเป็นเวลา 3 เดือนมี.ค.-พ.ค.63 แบ่งตามระดับปริมาณการใช้ไฟฟ้า ได้ดังนี้

– ครัวเรือนที่ใช้ไฟฟ้าไม่เกิน 800 หน่วย จะจ่ายค่าไฟเท่ากับเดือน ก.พ. เช่น เดือนกุมภาพันธ์ใช้ไฟฟ้า 500 หน่วย และในเดือนมีนาคมมีการใช้ไฟฟ้า 700 หน่วย ซึ่งไม่เกิน 800 หน่วย จะจ่ายค่าไฟฟ้าคิดตามจำนวน 500 หน่วยเท่ากับเดือนกุมภาพันธ์
– ครัวเรือนที่ใช้ไฟฟ้าเกิน 800 หน่วย จะคำนวณหน่วยใช้ไฟฟ้าจากส่วนต่างที่เกินจาก 800 หน่วย โดยลดให้ 50%ของหน่วยที่ใช้เกิน เช่น เดือน ก.พ.ใช้ 500 หน่วย เดือน มี.ค.ใช้ 1,000 หน่วย ซึ่งเกินจาก 800 หน่วยตามเกณฑ์ ส่วนต่างหน่วยใช้ไฟฟ้าเมื่อเทียบจากกุมภาพันธ์ อยู่ที่ 500 หน่วย เมื่อลด 50% เท่ากับส่วนต่างใช้ไฟเพิ่ม 250 หน่วย นำส่วนต่าง 250 หน่วยรวมกับ 500 หน่วยที่ใช้ในเดือนฐาน ก.พ. ก็เท่ากับหน่วยไฟที่ใช้และนำคำนวณเป็นค่าไฟตามหลักเกณฑ์ของการไฟฟ้า เป็นจำนวน 750หน่วยที่จะใช้คำนวณค่าไฟฟ้าในเดือน มีนาคม
– ครัวเรือนที่ใช้ไฟฟ้ามากคือใช้เกิน 3,000 หน่วย ก็จะมีส่วนลดให้ 30% ของหน่วยที่ใช้เกิน เช่น เดือนก.พ.ใช้ไฟ 1,200 หน่วย เดือนมี.ค.ใช้ 3,200 หน่วย ซึ่งเกินจาก 3,000 หน่วยตามเกณฑ์ ส่วนต่างหน่วยใช้ไฟฟ้าเมื่อเทียบจากกุมภาพันธ์ อยู่ที่ 2,000 หน่วย คิดส่วนลด 30% จาก 2,000 หน่วยคือ 600 หน่วย เท่ากับต้องเสียส่วนเพิ่มค่าไฟที่ 1,400 หน่วย และนำ 1,400 หน่วยไปบวกกับฐานการใช้ไฟ ก.พ. 1,200 หน่วย เท่ากับต้องจ่ายค่าไฟที่ 2,600 หน่วย สำหรับเดือนมีนาคม

ทั้งนี้ มาตรการดังกล่าวทั้งสองกลุ่มจะดำเนินการในการคิดค่าไฟฟ้า 3 เดือนคือ มี.ค.-พ.ค.2563 โดยหากมีการจ่ายค่าไฟในบิลเดือนมี.ค.หรือเม.ย.ไปแล้วจะมีการนำเงินคืนอัตโนมัติผ่านรอบบิลถัดไป
“เป็นความตั้งใจของหน่วยงานของรัฐในการดูแลความเดือดร้อนของพี่น้องประชาชน โดยเมื่อมีปัญหาก็พยายามหาทางออกเพื่อแบ่งเบาภาระผลกระทบ ซึ่งเป็นที่มาของการประชุมในวันนี้ กระทรวงพลังงานคาดหวังว่าจะช่วยลดภาระให้ประชาชนลงได้ ซึ่งขั้นตอนจากนี้ ทาง กกพ. จะสรุปหลักเกณฑ์เพื่อนำเสนอต่อที่ประชุมคณะรัฐมนตรีทราบต่อไป ซึ่งคาดว่าจะนำเสนอได้ในการประชุมคณะรัฐมนตรีวันพรุ่งนี้ (21 เม.ย.63)” นายสนธิรัตน์กล่าว

รัฐมนตรีว่าการกระทรวงพลังงาน เป็นประธานในการส่งมอบแอลกอฮอล์โครงการพลังงานร่วมใจสู้ภัยโควิด-19

กระทรวงพลังงานดีเดย์เริ่มกระจายแอลกอฮอล์ให้โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบล ประเดิมที่จังหวัดนนทบุรี 76 แห่ง พร้อมทยอยจัดส่งให้ผู้ว่าราชการจังหวัดต่างๆ ทั่วประเทศ เพื่อส่งต่อให้สาธารณสุขจังหวัดเป็นผู้กระจายต่อไปยังโรงพยาบาลสุขภาพตำบลกว่า 9,800 แห่งทั่วประเทศ

วันนี้ (20 เม.ย.63) นายสนธิรัตน์ สนธิจิรวงศ์ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงพลังงาน ได้เป็นประธานในการส่งมอบแอลกอฮอล์โครงการพลังงานร่วมใจสู้ภัยโควิด-19 ให้แก่โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบล ที่ศาลาว่าการจังหวัดนนทบุรี โดยมีนายสุจินต์ ไชยชุมศักดิ์ ผู้ว่าราชการจังหวัดนนทบุรีให้การต้อนรับ

นายสนธิรัตน์ กล่าวว่า กระทรวงพลังงานได้ดำเนินโครงการจัดหาแอลกอฮอล์เพื่อประชาชน เพื่อให้หน่วยงานสาธารณสุข และพี่น้องประชาชนในชุมชนได้เข้าถึงแอลกอฮอล์อย่างทั่วถึง โดยร่วมมือกับ การไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทย (กฟผ.) บริษัท ปตท. จำกัด (มหาชน)และบริษัทในเครือ ซึ่งเป็นหน่วยงานในกำกับของกระทรวงพลังงาน จัดหาแอลกอฮอล์ 70% เพื่อกระจายให้กับกระทรวงสาธารณสุข โดยส่งไปยังโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลทั่วประเทศเพื่อนำไปใช้ทำความสะอาดอุปกรณ์เครื่องมือต่าง ๆ หรือใช้ป้องกันโรคระบาดโควิดกับพี่น้องประชาชนที่อยู่บริเวณรอบโรงพยาบาล และประชาชนในกลุ่มที่มีความจำเป็นต้องเข้าถึงแอลกอฮอล์ให้มากขึ้น เช่น กลุ่มผู้สูงอายุ หรือกลุ่มผู้มีโรคประจำตัว

“วันนี้เป็นวันแรกที่เริ่มกระจายแอลกอฮอล์ส่งให้กับทุกโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบล โดยเริ่มในพื้นที่จังหวัดนนทบุรีเป็นที่แรก ซึ่งมีโรงพยาบาลฯสุขภาพตำบลรวม 76 แห่ง โดยมีปริมาณจัดหาแอลกอฮอล์สำหรับจังหวัดนนทบุรีรวม 7,600 ลิตร ซึ่งจะจัดส่งผ่านท่านผู้ว่าราชการจังหวัดเพื่อให้สาธารณสุชจังหวัดกระจายต่อไปยังรพ.ส่งเสริมสุขภาพตำบล” นายสนธิรัตน์กล่าว

ที่ผ่านมา กระทรวงพลังงานได้ร่วมกับกรมสรรพสามิต กระทรวงการคลัง พิจารณาอนุญาตนำเอทานอลไปผลิตเป็นเจลล้างมือได้ โดยไม่ต้องขอความเห็นชอบจากกระทรวงพลังงาน เนื่องจากกระทรวงพลังงานได้พิจารณาแล้วเห็นว่า เป็นสถานการณ์เร่งด่วน และมีปริมาณเอทานอลสำรองเพียงพอในการใช้ในภาคพลังงาน

“เรื่องนี้ผมและหน่วยงานในกระทรวงพลังงานมีความมุ่งมั่นอย่างมาก เพราะในสถานการณ์ขณะนี้ทุกฝ่ายต้องร่วมมือร่วมใจกัน ใครทำอะไรได้ต้องรีบทำ เพราะความเดือดร้อนของพี่น้องประชาชนเขารอไม่ได้ กระทรวงพลังงาน โดย กฟผ. และ ปตท.จะเร่งกระจายแอลกอฮฮล์นี้ผ่าน รพ.สต.ให้ถึงมือประชาชนให้เร็วที่สุด และก็ได้แบ่งพื้นที่กันรับผิดชอบแล้วหน่วยงานละประมาณ 4,900 แห่ง เพื่อกระจายให้ประชาชนใช้ทำความสะอาดมือและสิ่งของต่างๆป้องกันการระบาดของเชื้อโควิด-19 ซึ่งผมเองก็ได้ติดตามตัวเลขผู้ติดเชื้อที่มีแนวโน้มดีขึ้น แต่เราต้องการ์ดไม่ตกครับ ประเทศไทยจะได้ผ่านวิกฤตินี้ไปได้ด้วยความร่วมมือกันครับ”รัฐมนตรีว่าการกระทรวงพลังงานกล่าวในท้ายที่สุด

กระทรวงพลังงาน สนับสนุนแอลกอฮอลล์ มอบรพ.สุขภาพตำบล กว่า 9,800 แห่งทั่วประเทศ

กระทรวงพลังงานร่วมมือหน่วยงานในสังกัด กฟผ. และปตท. จัดหาแอลกอฮอล์ 70% สำหรับทำความสะอาดมือและพื้นผิวทั่วไปเพื่อมอบโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลจำนวน 9,863 แห่งทั่วประเทศ เพื่อป้องกันการแพร่กระจายเชื้อโควิด-19 ในช่วงระยะเวลา 30 วัน ดีเดย์เริ่มจัดส่ง 20 เมษายนนี้

 นายสนธิรัตน์ สนธิจิรวงศ์ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงพลังงาน เปิดเผยว่า กระทรวงพลังงานตระหนักถึงความสำคัญเร่งด่วนในการจัดหาแอลกอฮอล์เพื่อใช้ทำความสะอาดให้กับหน่วยงานด้านสาธารณสุขได้ใช้และให้บริการประชาชนในช่วงที่ประเทศประสบวิกฤตโรคระบาดโควิด-19 จึงได้ร่วมมือกับหน่วยงานในสังกัดทั้ง การไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทย และบริษัท ปตท.จำกัด(มหาชน)และบริษัทในเครือ ทำโครงการจัดหาแอลกอฮอล์เพื่อประชาชน โดยจะนำแอลกอฮอล์70% ทยอยจัดส่งให้กับโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลจำนวน 9,863 แห่งทั่วประเทศ ในระยะเวลา 30 วัน เพื่อใช้ในการทำความสะอาดมือและพื้นผิวทั่วไปป้องกันเชื้อโควิด-19 ให้กับบุคลากรทางการแพทย์ ผู้ป่วย ผู้สูงอายุและประชาชน

“ในช่วงวิกฤตโรคระบาดโควิด-19ที่เกิดขึ้นนี้ กระทรวงพลังงานและหน่วยงานในสังกัดทั้งกฟผ.และ ปตท.ได้ร่วมมือกันอย่างต่อเนื่องเพื่อช่วยเหลือและบรรเทาผลกระทบต่อพี่น้องประชาชนให้ได้มากที่สุด โดยได้จัดทำ “โครงการพลังงานร่วมใจสู้ภัยโควิด-19” ซึ่งที่ผ่านมาดำเนินการไปแล้วในหลายเรื่อง ทั้งมาตรการด้านพลังงานโดยตรง และมาตรการด้านสังคมต่างๆทั้งการสนับสนุนงบประมาณ การสนับสนุนอุปกรณ์ทางการแพทย์  ซึ่งวันนี้ความจำเป็นเร่งด่วนในการสนับสนุนบุคลากรทางการแพทย์ ด้านสุขอนามัยของประชาชนเป็นเรื่องสำคัญ กระทรวงพลังงานจึงได้จัดหาแอลกอฮอล์เพื่อส่งมอบสนับสนุนภารกิจให้กับโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลทั่วประเทศซึ่งจะมีส่วนช่วยให้ประชาชนได้เข้าถึงแอลกอฮอล์ได้สะดวกยิ่งขึ้นด้วย กระทรวงพลังงานเองยังมีความมุ่งมั่นที่จะหามาตรการพลังงานด้านต่างๆเข้ามาช่วยเยียวยาผลกระทบกับประชาชน พร้อมไปกับมาตรการที่จะช่วยกระตุ้นเศรษฐกิจในภาพรวม ทั้งนี้ก็อยากให้ทุกคนร่วมมือร่วมใจกัน สามัคคีกัน เราฝ่าวิกฤตนี้ไปด้วยกันครับ”นายสนธิรัตน์กล่าว

ปลัดกระทรวงพลังงาน ชี้แจงมาตรการช่วยเหลือประชาชนและภาคธุรกิจของภาครัฐ

วันนี้ (15 เม.ย.63) นายกุลิศ สมบัติศิริ ปลัดกระทรวงพลังงาน ได้ร่วมชี้แจงมาตรการช่วยเหลือประชาชนและภาคธุรกิจของภาครัฐเพื่อลดผลกระทบจากการระบาดของโควิด-19 ที่ศูนย์บริหารสถานการณ์การแพร่ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (โควิด-19) หรือ ศบค. โดยในส่วนของมาตรการพลังงานได้ดำเนินการทั้งด้านไฟฟ้า อาทิ การตรึงค่าไฟฟ้า การผ่อนผันค่าไฟฟ้าให้กับโรงงาน ผู้ประกอบการ SMEs โรงแรม การคืนเงินประกันการใช้ไฟฟ้า การเพิ่มปริมาณการใช้ไฟให้กับกลุ่มผู้ใช้ไฟฟรี ด้านน้ำมันและก๊าซ อาทิ การลดราคาก๊าซ NGV สำหรับรถสาธารณะ การลดราคาก๊าซหุงต้ม (LPG) รวมทั้งด้านการจัดหาแอลกอฮอล์ ได้มีการผ่อนผันให้โรงงานผลิตเอทานอลสามารถนำเอทานอลเพื่อเชื้อเพลิงไปผลิตเป็นแอลกอฮอล์เพื่อทำความสะอาดได้ และสัปดาห์หน้าเตรียมจัดหาแอลกอฮอล์ส่งมอบให้กับโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลจำนวน 9,863 แห่ง จาก 76 จังหวัดทั่วประเทศ

รัฐมนตรีว่าการกระทรวงพลังงาน รับมอบสเปรย์ฆ่าเชื้อโรคเพื่อป้องกันการระบาดของเชื้อไวรัสโควิด19

วันนี้ (31 มีนาคม 2563) นายสนธิรัตน์ สนธิจิรวงศ์ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงพลังงาน รับมอบสเปรย์ฆ่าเชื้อโรคเพื่อป้องกันการระบาดของเชื้อไวรัสโควิด19 จำนวน 5,000 ขวด  พร้อมด้วยแอลกอฮอล์จำนวน 1,000 ลิตร จาก นายสุพจน์ ศรีสถาพร ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร  นายกำธร วังอุดม กรรมการ บริษัท ทรัพย์ทิพย์ จำกัด ซึ่งเป็นผู้ประกอบการด้านเอทานอล ที่มีความประสงค์สนับสนุนภารกิจของกระทรวงพลังงานในการส่งต่อเอทานอลสำหรับทำความสะอาดหรือผลิตเจลล้างมือให้แก่โรงพยาบาล หรือประชาชนที่ขาดแคลน ซึ่งรัฐมนตรีว่าการกระทรวงพลังงาน กล่าวแสดงความขอบคุณ และมอบหมายให้เจ้าหน้าที่สำนักงานรัฐมนตรีจัดส่งสเปรย์ฆ่าเชื้อ และแอลกอฮอล์จำนวนดังกล่าวไปให้โรงพยาบาลในพื้นที่ 3 จังหวัดชายแดนภาคใต้ในวันนี้ทันที

รัฐมนตรีว่าการกระทรวงพลังงาน แถลงข่าวการประชุมคณะกรรมการบริหารนโยบายพลังงาน (กบง.)

ที่ประชุม กบง. เห็นชอบมาตรการช่วยเหลือกลุ่มรถโดยสารสาธารณะปรับลดราคา NGV ลง 3 บาทต่อกิโลกรัม จากเดิม 13.62 บาทต่อกิโลกรัม เป็น 10.62 บาทต่อกิโลกรัม เป็นระยะเวลา 3 เดือน ตั้งแต่วันที่ 1 เมษายน – 30 มิถุนายน 2563โดยขอความร่วมมือ ปตท. ช่วยสนับสนุนส่วนต่างเพื่อสู้ภัยโควิด-19

วันนี้ (25 มี.ค.63) นายสนธิรัตน์ สนธิจิรวงศ์ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงพลังงาน เป็นประธานการประชุมคณะกรรมการบริหารนโยบายพลังงาน (กบง.) โดยที่ประชุมได้พิจารณามาตรการช่วยเหลือประชาชนอย่างต่อเนื่อง โดยได้ให้ความช่วยเหลือกลุ่มรถโดยสารสาธารณะ (ในเขต กทม./ปริมณฑล: รถแท็กซี่/ตุ๊กตุ๊ก/รถตู้ ร่วม ขสมก.ในต่างจังหวัด: รถโดยสาร/มินิบัส/สองแถว ร่วม ขสมก. รถโดยสาร/รถตู้ร่วม บขส. และรถแท็กซี่) เพื่อบรรเทาผลกระทบภาวะแพร่กระจายของโรคติดเชื้อ COVID-19 ยังคงมีแนวโน้มจะทวีความรุนแรงเป็นวงกว้าง ส่งผลกระทบต่อค่าครองชีพของประชาชน ตลอดจนผู้ประกอบการรถโดยสารสาธารณะ รวมถึงระบบเศรษฐกิจในภาพรวมของประเทศ กระทรวงพลังงาน จึงเห็นควรมีมาตรการช่วยเหลือกลุ่มรถโดยสารสาธารณะเพื่อบรรเทาผลกระทบ โดยที่ประชุม กบง. เห็นชอบให้ปรับราคาขายปลีกก๊าซธรรมชาติสำหรับยานยนต์ (NGV) สำหรับรถโดยสารสาธารณะ ลดลง 3 บาทต่อกิโลกรัม จากเดิม 13.62 บาทต่อกิโลกรัม เป็น 10.62 บาทต่อกิโลกรัม เป็นระยะเวลา 3 เดือน เริ่มตั้งแต่วันที่ 1 เมษายน – 30 มิถุนายน 2563 และขอความร่วมมือ ปตท. ให้เข้ามาช่วยเหลือส่วนต่างราคาขายปลีก NGV สำหรับรถโดยสารสาธารณะฯ เพื่อคงราคาขายปลีกที่ 10.62 บาทต่อกิโลกรัม เป็นเวลา 3 เดือนดังกล่าว ทั้งนี้ กระทรวงพลังงาน จะมีการหารือมาตรการระยะยาวสำหรับราคาก๊าซ NGV ต่อไป

กระทรวงพลังงาน ประกาศ Work From Home

ช่องทางการติดต่อกระทรวงพลังงานและหน่วยงานในสังกัดกระทรวงพลังงาน

ประกาศกระทรวงพลังงาน
เรื่อง มาตรการในการปฏิบัติงานเพื่อป้องกันการระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019

ประกาศสำนักงานปลัดกระทรวงพลังงาน
เรื่อง แนวทางการปฏิบัติงานนอกสถานที่ตั้งกรณีการแพร่ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019

ดาวน์โหลด ประกาศ คลิกที่นี่

กระทรวงพลังงาน ปลดล็อคนำเอทานอลส่วนเกินผลิตเจลล้างมือ

วันนี้ (13 มี.ค. 63) นายสนธิรัตน์ สนธิจิรวงศ์ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงพลังงาน เปิดเผยว่า จากสถานการณ์ที่มีความต้องการใช้เอทานอลเพื่อนำมาผลิตเป็นเจลล้างมือที่เพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่องในช่วงเกิดวิกฤตการระบาดของเชื้อไวรัสโควิด-19  กระทรวงพลังงานได้ส่งหนังสือลงวันที่ 13 มีนาคม 2563 ไปยังกรมสรรพสามิต กระทรวงการคลังเพื่อแจ้งให้พิจารณาอนุญาตนำเอทานอลไปผลิตเจลล้างมือได้ โดยไม่ต้องขอความเห็นชอบจากกระทรวงพลังงาน เนื่องจากกระทรวงพลังงานได้พิจารณาแล้วเห็นว่า เป็นสถานการณ์เร่งด่วน และมีปริมาณเอทานอลสำรองเพียงพอในการใช้ในภาคพลังงานและเพียงพอสำหรับผลิตเจลล้างมือได้ โดยขอให้กรมสรรพสามิตมีการรายงานสรุปปริมาณที่อนุญาต เพื่อ กระทรวงพลังงาน จะได้ติดตามสถานการณ์การผลิตเอทานอลให้สมดุลต่อไป

สำหรับกำลังการผลิตปัจจุบันของโรงงานเอทานอลที่นำมาใช้กับภาคพลังงาน มีกำลังการผลิตประมาณ 6.3 ล้านลิตรต่อวัน โดยมีจำนวนโรงงานเอทานอลทั้งสิ้น 26 โรงงาน ในขณะที่การใช้เพื่อนำไปผสมกับน้ำมันเบนซินอยู่ที่ 4.4 ล้านลิตรต่อวัน

“ขอให้ประชาชนมั่นใจว่า กระทรวงพลังงานสามารถบริหารจัดการ นำกำลังการผลิตเอทานอลส่วนเกินมาใช้เพื่อเป็นประโยชน์ต่อประชาชนต่อไป โดยไม่กระทบกับภาคพลังงาน และหน่วยงานที่เกี่ยวข้องได้มีการกำกับดูแลให้มีการใช้เอทานอลเป็นไปตามวัตถุประสงค์เท่านั้น” รัฐมนตรีว่าการกระทรวงพลังงานกล่าว

ปลัดกระทรวงพลังงาน ต้อนรับคณะกรรมาธิการบริหารราชการแผ่นดิน วุฒิสภา

เมื่อวันที่ 12 มี.ค. 63 นายกุลิศ สมบัติศิริ ปลัดกระทรวงพลังงาน ต้อนรับคณะกรรมาธิการบริหารราชการแผ่นดิน วุฒิสภา นำโดยนายศรีศักดิ์ วัฒนพรมงคลรองประธานคณะกรรมาธิการ ประชุมติดตามความคืบหน้าการดำเนินงานตามแผนปฏิบัติราชการกระทรวงพลังงานที่มีความสอดคล้องกับแผนปฏิรูปประเทศด้านบริหารราชการแผ่นดิน

คณะกรรมาธิการชื่นชมการปฏิบัติงานของกระทรวงพลังงาน และให้ข้อเสนอแนะที่สำคัญได้แก่ การเร่งผลักดันโรงไฟฟ้าชุมชน ความยั่งยืนของของอาสาสมัครพลังงาน การบริการประชาชนของข้อมูลของศูนย์สารสนเทศด้านพลังงาน

นายกรัฐมนตรี เป็นประธานการประชุมหัวหน้าส่วนราชการหรือเทียบเท่าครั้งที่ 1/2563

วันนี้ (9 มี.ค.63) ที่กระทรวงพลังงาน พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรี เป็นประธานการประชุมหัวหน้าส่วนราชการหรือเทียบเท่าครั้งที่ 1/2563 โดยมีนายสนธิรัตน์ สนธิจิรวงศ์ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงพลังงานให้การต้อนรับ นายกรัฐมนตรีได้รับฟังความคืบหน้าของการดำเนินนโยบายต่างๆ และมอบนโยบายให้ทุกส่วนราชการที่เข้าร่วมกว่า 40 หน่วยงาน บูรณาการการทำงานในช่วงเวลาที่เกิดวิกฤตโรคระบาดจากเชื้อไวรัสโควิด-19 นี้อย่างเต็มศักยภาพ พร้อมขับเคลื่อนมาตรการเร่งด่วนที่จะเข้ามาช่วยแก้ไขสถานการณ์ให้ผ่านพ้นไปด้วยดี เพื่อสร้างความเชื่อมั่นให้กับประชาชน ซึ่งจะนำมาซึ่งภาวะเศรษฐกิจโดยรวมที่ดีขึ้น

สำหรับในส่วนของกระทรวงพลังงาน นายกุลิศ สมบัติศิริ ปลัดกระทรวงพลังงาน ได้นำเสนอความคืบหน้าการขับเคลื่อนนโยบายพลังงานที่สำคัญ 4 ด้าน คือ

1.ด้านไฟฟ้า การขับเคลื่อนโรงไฟฟ้าชุมชนซึ่งเตรียมประกาศหลักเกณฑ์การรับซื้อได้ในเดือนมีนาคมนี้ โดยมีเป้าหมายรวมรับซื้อไฟได้ 700 เมกะวัตต์ เกิดเม็ดเงินลงทุนหมุนเวียนกว่า 6 หมื่นล้านบาท สร้างรายได้ให้กองทุนหมู่บ้านทุกปี และยังช่วยลดปัญหาฝุ่น PM 2.5 จากการเผาวัสดุเกษตร 2.5 หมื่นตัน ซึ่งขณะนี้มีโรงไฟฟ้าชุมชนนำร่องที่สามารถยื่นขอจัดตั้งโรงไฟฟ้าชุมชนได้ทันที อาทิ โรงไฟฟ้าชุมชนที่อ.แม่แจ่ม จ.เชียงใหม่ ที่อ.ทับสะแก จ.ประจวบคีรีขันธ์ ที่อ.แม่ลาน จ.ปัตตานี ที่อ.บันนังสตา จ.ยะลา และที่อ.เมือง จ.นราธิวาส

2.ด้านน้ำมัน การส่งเสริมการใช้น้ำมัน B10 และการบริหารสต็อคน้ำมันปาล์มที่ใช้ในภาคพลังงาน โดยกระทรวงพลังงานได้ประกาศนโยบายส่งเสริมการใช้ B10 เพื่อเป็นน้ำมันดีเซลฐานของประเทศตั้งแต่ 1 ธันวาคม 2562 และสามารถเดินหน้าได้ตามเป้าหมายที่วางไว้ โดยตั้งแต่ 1 มีนาคม 2563 เป็นต้นไป  B10 เริ่มมีจำหน่ายทุกสถานีบริการน้ำมันแล้ว เป้าหมายเพื่อสร้างสมดุลให้กับพืชพลังงานปาล์มน้ำมัน ซึ่งภายหลังจากประกาศนโยบายทำให้ปัจจุบัน (เฉลี่ย 1-5 มี.ค.63) ราคาปาล์มทะลายอยู่ที่ 5.30 บาท/กก.จากเดิมก่อนกำหนดนโยบายอยู่ที่ประมาณ 2.80 บาท/กก. และราคาน้ำมันปาล์มดิบ(CPO) อยู่ที่ 33.50 บาท/กก.จากเดิม 16.20 บาท/กก. อีกทั้งยังวางมาตรการกำกับดูแลบริหารจัดการข้อมูลสต็อคไบโอดีเซลอย่างครบวงจร และยังวางมาตรการป้องกันการลักลอบน้ำมันปาล์มดิบเข้ามาในประเทศอย่างได้ผลด้วยการใช้เทคนิคตรวจ DNA ของสัญชาติน้ำมันปาล์มดิบ

3.ก๊าซธรรมชาติ ความคืบหน้าการพัฒนา LNG Hub ได้วางโครงสร้างพื้นฐานก๊าซธรรมชาติเพื่อเตรียมพร้อมสู่การเป็นศูนย์กลางด้านก๊าซธรรมชาติเหลวของเอเชีย

4.ภัยแล้ง กระทรวงพลังงานให้ความสำคัญกับสถานการณ์ภัยแล้งในปีนี้ จึงได้เตรียมวางแผนร่วมกับการไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทย (กฟผ.) ในการบริการจัดการให้เกิดความมั่นคงในการผลิตไฟฟ้าโดยไม่กระทบต่อน้ำอุปโภคบริโภคช่วงภัยแล้ง พร้อมกับได้พัฒนาระบบ Geographical Information System เพื่อติดตามจุด

รัฐมนตรีว่าการกระทรวงพลังงาน เป็นประธานการประชุมหารือแนวทางความร่วมมือในการป้องกันการแพร่ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (COVID-19)

วันนี้ (5 มี.ค.63) นายสนธิรัตน์ สนธิจิรวงศ์ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงพลังงาน เป็นประธานการประชุมหารือแนวทางความร่วมมือในการป้องกันการแพร่ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (COVID-19) และการลดผลกระทบทางเศรษฐกิจ โดยได้ร่วมมือกับหน่วยงานในสังกัดกระทรวงพลังงาน พร้อมด้วยภาคเอกชนทั้งจากกลุ่มโรงกลั่นน้ำมันเชื้อเพลิง ผู้ค้าปลีกน้ำมัน กลุ่มบริษัทสำรวจและผลิตปิโตรเลียม กลุ่มบริษัทผู้ผลิตไฟฟ้ารวมกว่า 20 รายเพื่อระดมแนวทางในการช่วยแก้ปัญหาผลกระทบต่อเศรษฐกิจและประชาชน

นายสนธิรัตน์ สนธิจิรวงศ์ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงพลังงาน เปิดเผยว่า สำหรับมาตรการที่กระทรวงพลังงานและผู้ประกอบการด้านพลังงาน จะนำมาใช้ในการลดผลกระทบต่อประชาชน มีด้วยกัน 3 มาตรการ ประกอบด้วย 1. หาแนวทางการลดค่าน้ำมันเชื้อเพลิง ค่าแก๊สหุงต้ม และค่าไฟฟ้า เพื่อลดค่าใช้จ่ายผู้บริโภค 2. การแก้ไขกฎหมายเพื่อให้สามารถนำเอทานอลไปผลิตแอลกอฮอล์เพื่อลดภาวะการขาดแคลน 3. แลกเปลี่ยนมาตรการการปฏิบัติงานในแต่ละองค์กร เพื่อป้องกันการระบาดของไวรัสโควิด 19

ทั้งนี้ ในเบื้องต้นได้มอบหมายให้หน่วยงานพิจารณาแนวทางการช่วยเหลือ เช่น การแจกแจลล้างมือในสถานีบริการน้ำมันเพื่อป้องกันการแพร่กระจายเชื้อ Covid-19 รวมทั้งการวางแผนป้องกันจากพนักงานเนื่องจากหลายหน่วยงานเป็นองค์การขนาดใหญ่ จึงต้องมีมาตรการที่เข้มข้น ไม่ให้เกิดปัญหาในอนาคต

“การหารือในวันนี้ เพื่อนำไปสู่มาตรการแก้ปัญหาวิกฤติเศรษฐกิจและบรรเทาความเดือดร้อนประชาชน ซึ่งผมได้มอบให้ทุกหน่วยงานร่วมกันวางแผนขับเคลื่อนร่วมกันเพื่อให้ประเทศสามารถข้ามผ่านวิกฤตนี้ไปได้” นายสนธิรัตน์กล่าวเพิ่ม

 

รัฐมนตรีว่าการกระทรวงพลังงาน เป็นประธานเปิดงานบางจากไฮดีเซล S B 10 ดีเซลแรงแห่งปี

วันนี้ (19 ก.พ. 63) นายสนธิรัตน์ สนธิจิรวงศ์ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงพลังงาน เป็นประธานเปิดงานบางจากไฮดีเซล S B 10 ดีเซลแรงแห่งปี และมีนายชัยวัฒน์ โควาวิสารัช ประธานเจ้าหน้าที่บริหารและกรรมการผู้จัดการใหญ่ บริษัท บางจาก คอร์ปอเรชั่น จำกัด (มหาชน) พร้อมด้วยผู้บริหารของกระทรวงพลังงาน ผู้บริหารบางจากฯ ผู้บริหารค่ายรถยนต์ และนายณัฐวุฒิ สะกิดใจ (ป๋อ) นักแสดงชื่อดังร่วมในงาน

นายสนธิรัตน์ สนธิจิรวงศ์ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงพลังงานกล่าวว่า กระทรวงพลังงานมีนโยบาย “Energy For All” พลังงานจะต้องเข้าถึงทุกคน ประชาชนฐานรากต้องได้ประโยชน์จากนโยบายพลังงาน โดยใช้กลไกด้านพลังงานไปขับเคลื่อนเศรษฐกิจฐานรากเพื่อแก้ไขปัญหาราคาผลผลิตทางการเกษตร สนับสนุนให้เกิดการใช้น้ำมันบนดินที่มาจากผลผลิตของเกษตรกร ได้แก่ น้ำมันดีเซล B 10 ที่ส่งเสริมการใช้ปาล์มน้ำมันมาผลิตไบโอดีเซล และแก๊สโซฮอล์ E 20 ที่ส่งเสริมการใช้อ้อย มัน มาผลิตเป็นเอทานอล โดยเฉพาะน้ำมันดีเซล B 10 ที่กระทรวงพลังงานได้ผลักดันให้เป็นน้ำมันดีเซลพื้นฐานของประเทศ โดยตั้งเป้าหมายให้สถานีบริการน้ำมันจำหน่ายน้ำมันดีเซล B 10 ทั่วประเทศตั้งแต่วันที่ 1 มีนาคม 2563

นโยบายส่งเสริมการใช้น้ำมันดีเซล B 10 ได้ส่งผลเป็นรูปธรรมชัดเจน ช่วยสร้างเสถียรภาพราคาปาล์มน้ำมัน และยังเป็นผลดีต่อสิ่งแวดล้อมเพราะช่วยลดฝุ่นละอองขนาดเล็ก PM 2.5 และยังช่วยให้ผู้บริโภคประหยัดค่าใช้จ่ายจากราคาที่ต่ำกว่าน้ำมันดีเซล B 7 ถึง ลิตรละ 2 บาท ตามนโยบายของกระทรวงพลังงาน

​      กระทรวงพลังงานยืนยันว่า การใช้น้ำมันดีเซล B 10 กับเครื่องยนต์ที่สามารถรองรับการใช้งานจะไม่มีผลกระทบกับเครื่องยนต์ เนื่องจากผู้ผลิตรถยนต์ให้การรับรองการใช้งานไว้เรียบร้อยแล้ว โดยผู้ที่มีความสนใจจะใช้น้ำมันดีเซล B 10 สามารถตรวจสอบรุ่นรถ ได้จากประกาศกรมธุรกิจพลังงานค่ายรถให้การสนับสนุนนโยบายดังกล่าว รวมถึงจะกำกับดูแล ตรวจสอบคุณภาพน้ำมันตั้งแต่กระบวนการผลิตจนถึงการจำหน่ายที่สถานีบริการน้ำมัน ให้ผู้บริโภคมั่นใจว่าจะได้ใช้น้ำมันดีเซล B 10 ที่มีคุณภาพ จึงอยากเชิญชวนให้ประชาชนเลือกใช้น้ำมันดีเซล B 10 ซึ่งนอกจากจะมีส่วนช่วยเกษตรกรสวนปาล์มแล้ว ยังช่วยลดมลพิษทางอากาศด้วย

นายชัยวัฒน์ โควาวิสารัช ประธานเจ้าหน้าที่บริหารและกรรมการผู้จัดการใหญ่ บริษัท บางจากคอร์ปอเรชั่น จำกัด (มหาชน) เปิดเผยว่า บางจากฯ ใช้นวัตกรรมและเทคโนโลยีพัฒนาธุรกิจทุกด้านอย่างไม่หยุดนิ่ง เพื่อให้คนไทยได้ใช้พลังงานสะอาดที่ดีทั้งต่อการใช้งานและสิ่งแวดล้อม โดยเฉพาะพลังงานด้านชีวภาพ (Bio fuel)

ที่ผ่านมาบางจากฯ เป็นธุรกิจพลังงานรายแรกๆ ที่ผลิตและจำหน่ายพลังงานทางเลือกทั้งกลุ่มแก๊สโซฮอล์และไบโอดีเซลด้วยแนวคิดที่จะช่วยรองรับผลผลิตทางการเกษตร สร้างความเป็นอยู่ที่ดีขึ้นให้เกษตรกรไทย รวมทั้งพัฒนาน้ำมันคุณภาพ EURO 5 เพื่อช่วยลดมลภาวะฝุ่นควัน ให้คนไทยได้อยู่ในสภาพแวดล้อมที่ดีขึ้น ซึ่งล่าสุดนี้ บริษัทฯ ได้พัฒนา “บางจากไฮดีเซล S B 10” เปิดจำหน่ายแล้วกว่า 400 แห่งทั่วประเทศ และจะขยายเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่อง

บางจากไฮดีเซล S B 10 พัฒนาขึ้นด้วยเทคโนโลยี Green S ที่มีสมรรถนะโดดเด่นทั้งความแรงและความสะอาด พร้อมผสมสารเพิ่มคุณภาพ(Additive) ได้แก่ S Super Booster และ S Super Purifier ช่วยทำให้เครื่องสะอาด ป้องกันการอุดตันของหัวฉีด และเพิ่มค่าซีเทน จึงทำให้เครื่องยนต์เผาไหม้ได้สมบูรณ์ เครื่องยนต์ทำงานเต็มสมรรถนะ ตอบสนองการขับขี่ได้ดีทั้งทางเรียบและทางชันประหยัดเชื้อเพลิง ใช้ได้กับทั้งรถเล็กและรถใหญ่ ที่สำคัญช่วยลดมลภาวะฝุ่นควัน โดยเฉพาะฝุ่นละอองขนาดเล็ก PM 2.5 นอกจากนั้นยังประหยัดค่าใช้จ่ายจากราคาที่ต่ำกว่าน้ำมันดีเซล B 7 ถึงลิตรละ 2บาท ตามนโยบายของกระทรวงพลังงาน

นายชัยวัฒน์กล่าวต่อไปว่า เพื่อรณรงค์ให้ประชาชนหันมาใช้น้ำมันดีเซล B 10 นอกจากจะเร่งขยายการจำหน่ายอย่างรวดเร็วแล้ว บางจากฯ ยังมีแผนสื่อสารประชาสัมพันธ์โดยมีนักแสดงชื่อดัง คุณป๋อ ณัฐวุฒิ สกิดใจ ซึ่งเป็นผู้ใช้น้ำมันดีเซลอยู่แล้วและเข้าใจถึงความต้องการของเครื่องยนต์ดีเซลมาเป็นพรีเซนเตอร์ พร้อมกลยุทธ์การสื่อสารทุกรูปแบบ อาทิเช่น สื่อโทรทัศน์ วิทยุ สื่อออนไลน์ และจัดกิจกรรมการตลาดต่อเนื่องเพื่อสร้างการรับรู้ในคุณภาพน้ำมันพร้อมทั้งรณรงค์ผู้ใช้รถเครื่องยนต์ดีเซลมาทดลองใช้ ได้แก่ กิจกรรมเติมบางจากไฮดีเซล S B 10 เต็มถังลดครึ่งราคา ระหว่างวันที่ 25 – 28 กุมภาพันธ์ 2563 ณ สถานีบริการน้ำมันบางจาก 4 สาขา 4 มุมเมือง และกิจกรรมอื่นๆ เพื่อกระตุ้นการใช้อย่างต่อเนื่องตลอดปี 2563

ปลัดกระทรวงพลังงาน เป็นประธานเปิดเวทีรับฟังความคิดเห็นต่อแผนบูรณาการพลังงานระยะยาว (TIEB) ฉบับใหม่

วันนี้ (18 กุมภาพันธ์ 2563) นายกุลิศ สมบัติศิริ ปลัดกระทรวงพลังงาน เป็นประธานเปิดเวทีรับฟังความคิดเห็นต่อแผนบูรณาการพลังงานระยะยาว (TIEB) ฉบับใหม่ พ.ศ. 2561-2580 ณ ห้องวอเตอร์เกทบอลรูม โรงแรมอมารี วอร์เตอร์เกท กรุงเทพฯ โดยมีวิทยากรในสังกัดกระทรวงพลังงานนำเสนอภาพรวมการขับเคลื่อนTIEB ฉบับใหม่ จำนวน 4 แผน จาก 5 แผนพลังงาน ได้แก่ แผนพลังงานทดแทนและพลังงานทางเลือก (Alternative Energy Development Plan: AEDP2018), แผนพัฒนากำลังผลิตไฟฟ้าของประเทศไทยฉบับปรับปรุง ครั้งที่ 1 (Power Development Plan: PDP2018 Rev.1), แผนอนุรักษ์พลังงานของประเทศ (Energy Efficiency Plan: EEP2018) และแผนบริหารจัดการก๊าซธรรมชาติ (Gas Plan2018) พร้อมทั้งร่วมแลกเปลี่ยนความคิดเห็นและรับฟังข้อเสนอแนะจากผู้เข้าร่วมสัมมนาที่มาจากทั้งภาครัฐ ภาคเอกชน นักวิชาการ และภาคประชาชน

สาระสำคัญของแผน TIEB ฉบับใหม่ ที่ได้มีการปรับปรุงแก้ไขให้เหมาะสมกับสถานการณ์พลังงานในปัจจุบัน และมีความสอดคล้องกัน ได้แก่ แผน AEDP2018 ได้ปรับเพิ่มสัดส่วนการใช้พลังงานทดแทนในภาคการผลิตไฟฟ้า และความร้อนให้สอดคล้องกับแผน PDP2018Rev.1 เพื่อสนับสนุนนโยบาย Energy For All ในการสร้างโรงไฟฟ้าชุมชนเพื่อเศรษฐกิจฐานราก โดยในปี 2563 – 2567 จะมีพลังงานชีวมวล, ก๊าซชีวภาพ (น้ำเสีย), ก๊าซชีวภาพ (พืชพลังงาน) และ Solar hybrid กำลังผลิตรวม 1,933 เมกกะวัตต์ พร้อมทั้งปรับลดสัดส่วนการใช้เชื้อเพลิงชีวภาพตามทิศทางการใช้พลังงานในอนาคต เช่น การใช้รถยนต์ไฟฟ้ามากขึ้นส่งผลให้การใช้น้ำมันลดลง และการสร้างรถไฟฟ้าขนส่งมวลชนแล้วเสร็จ ยังรักษาระดับเป้าหมายสัดส่วนการใช้พลังงานทดแทนต่อการใช้พลังงานขั้นสุดท้ายไม่น้อยกว่าร้อยละ 30 ในปี 2580

สำหรับแผน PDP2018Rev.1 ได้มีการปรับเป้าหมายคือ (1) รับซื้อไฟฟ้าจากพลังงานหมุนเวียน (ใหม่) ในบางประเภทเชื้อเพลิง โดยยังคงเป้าหมายรวมไว้เท่าเดิมที่ 18,696 เมกกะวัตต์ ปรับลดเป้าหมายการผลิตไฟฟ้าจากพลังงานแสงอาทิตย์ลง และปรับเพิ่มเป้าหมายโรงไฟฟ้าพลังน้ำขนาดเล็กของ กฟผ. 69 เมกกะวัตต์ ปรับเพิ่มเป้าหมายการผลิตไฟฟ้าก๊าซชีวภาพ (พืชพลังงาน) (2) เพิ่มนโยบายโรงไฟฟ้าชุมชนเพื่อเศรษฐกิจฐานราก (ชีวมวล), ก๊าซชีวภาพ (น้ำเสีย), ก๊าซชีวภาพ (พืชพลังงาน) และ Solar hybrid เข้าระบบตั้งแต่ปี 2563–2567 มีกำลังผลิตรวม 1,933 เมกกะวัตต์ (3) ชะลอโรงไฟฟ้าชีวมวลประชารัฐภาคใต้ ปีละ 60 เมกกะวัตต์ จากปี 2564– 2565 ไปเป็นปี 2565–2566 (4) เร่งรับซื้อไฟฟ้าจากพลังงานลม จากเดิมปี 2577 มาเป็นปี 2565 (5) สมมติฐานการรับซื้อโรงไฟฟ้าพลังงานหมุนเวียน (ที่ไม่ใช่โรงไฟฟ้าชุมชน) ภายหลังปี 2567 จะใช้ตามสมมติฐานเดิมในแผน PDP 2018

ในส่วนแผน EEP2018 โดยตั้งเป้าการลด (Energy Intensity: EI) ลงร้อยละ 30 ภายในปี 2580 เมื่อเทียบกับปี 2553 มีเป้าหมายลด Peak 4,000 เมกะวัตต์ หรือลดพลังงาน 49,064 ktoe ประกอบด้วย 3 กลยุทธ์/5 กลุ่มเป้าหมาย มุ่งเน้นมาตรการเชิงเทคโนโลยีและนวัตกรรมสำหรับการอนุรักษ์พลังงานเพื่อรองรับการเปลี่ยนแปลงเทคโนโลยีและรูปแบบการใช้พลังงาน (Disruptive Technology) มีมาตรการที่ครอบคลุมทุกกลุ่มเป้าหมายผู้ใช้พลังงานทุกสาขาเศรษฐกิจ และสร้างการมีส่วนร่วมของการอนุรักษ์พลังงานในทุกภาคส่วน

โดยแผน Gas Plan2018 มีความสอดคล้องกับ PDP2018Rev.1 โดยพบว่าความต้องการใช้ก๊าซในภาพรวมในปี 2580 เพิ่มขึ้นเฉลี่ย 0.7% ต่อปี หรืออยู่ที่ 5,348 MMSCFD โดยมีแนวโน้มการใช้ในภาคการผลิตไฟฟ้าและภาคอุตสาหกรรมเพิ่มขึ้น ขณะที่ความต้องการใช้ในโรงแยกก๊าซและภาคขนส่งลดลง ด้านการจัดหาก๊าซฯ สำหรับโรงไฟฟ้าขนอม โรงไฟฟ้าสุราษฎร์ธานี และโรงไฟฟ้าใหม่ตามแผน PDP2018 มีความจำเป็นต้องจัดหา LNG Terminal ในภาคใต้ (5 ล้านตันต่อปี ) ในปี 2570 และการจัดหาก๊าซธรรมชาติผ่านโครงข่ายท่อบนบกจะเพียงพอกับความต้องการใช้ถึงปี 2563 ทั้งนี้ ตั้งแต่ปี 2564 เป็นต้นไป ต้องมีการจัดหา LNG เพิ่มเติมให้เพียงพอกับความต้องการใช้ก๊าซฯ ซึ่งต้องมีการปรับปรุงระบบโครงข่ายก๊าซธรรมชาติให้เหมาะสมต่อไป

ทั้งนี้ สนพ. เชื่อมั่นว่าการรับฟังความคิดเห็นต่อแผน TIEB ฉบับใหม่ ในครั้งนี้ จะเป็นแผนแม่บทที่สำคัญในการสร้างความมั่นคงด้านพลังงาน
ของไทย ในการจัดหาพลังงานอย่างมีประสิทธิภาพ ต้นทุนพลังงานไม่แพง ซึ่งจะเป็นประโยชน์ต่อประชาชน และทำให้ประเทศสามารถแข่งขันได้
ในระดับสากล โดยหลังจากนี้จะมีการนำแผน TIEB ฉบับใหม่ เสนอเข้าที่ประชุมคณะกรรมการพิจารณานโยบายพลังงาน (กบง.) และคณะกรรมการนโยบายพลังงานแห่งชาติ (กพช.) เพื่อให้ความเห็นชอบภายในเดือนมีนาคมนี้

 

รัฐมนตรีว่าการกระทรวงพลังงานลงพื้นที่ จ.สกลนคร

รัฐมนตรีว่าการกระทรวงพลังงานลงพื้นที่ จ.สกลนคร แจงนโยบายด้านพลังงานชุมชนเร่งขับเคลื่อนเศรษฐกิจฐานราก พร้อมรับฟังข้อเสนอแนะจากผู้ประกอบการโรงไฟฟ้า และผู้ประกอบการธุรกิจปาล์มน้ำมัน ไบโอดีเซลในพื้นที่
วันนี้ (14 ก.พ.63) นายสนธิรัตน์ สนธิจิรวงศ์ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงพลังงาน พร้อมด้วยคณะผู้บริหารกระทรวงพลังงาน เดินทางตรวจราชการที่จังหวัดสกลนคร และพื้นที่ใกล้เคียงจังหวัดนครพนม มุกดาหาร หนองคาย และอุดรธานี เพื่อมอบนโยบายพลังงานชุมชนเพื่อขับเคลื่อนเศรษฐกิจฐานรากให้แก่พลังงานจังหวัดและหน่วยงานในสังกัดของกระทรวงพลังงาน และพลังงานจังหวัดในพื้นที่ดังกล่าวได้รายงานความก้าวหน้าของโครงการต่างๆ ด้านพลังงาน โดยมีนายมนต์สิทธิ์ ไพศาลธนวัฒน์ ผู้ว่าราชการจังหวัดสกลนคร สส.พรรคพลังประชารัฐ ผู้แทนจากส่วนราชการ และสื่อมวลชน เข้าร่วมรับฟัง
นายสนธิรัตน์ กล่าวว่า เป็นที่น่ายินดีที่นโยบายส่งเสริมการจัดตั้งโรงไฟฟ้าชุมชนเพื่อเศรษฐกิจฐานรากของกระทรวงพลังงาน ได้รับความสนใจอย่างมากจากประชาชน เพราะเป็นประโยชน์ต่อเศรษฐกิจฐานรากอย่างแท้จริง เนื่องจากนำจุดแข็งในชุมชนเกษตรกรรมที่มีวัสดุเหลือใช้ทางการเกษตร เช่น ซังข้าว ซังข้าวโพด ที่สามารถนำมาใช้เป็นเชื้อเพลิงสำหรับโรงไฟฟ้าชุมชน ซึ่งในอดีตวัสดุเหลือใช้เหล่านี้ต้องถูกเผาทิ้งไป กลายเป็นส่วนหนึ่ง ของสาเหตุเกิดฝุ่น PM 2.5 ซึ่งฝากให้พลังงานจังหวัดในพื้นทีช่วยคัดกรองโครงการให้ดี
ความสำคัญของการจัดตั้งโรงไฟฟ้าชุมชน จะช่วยตอบโจทย์ประชาชนทุกพื้นที่ โดยเน้นให้ประชาชน ในพื้นที่ต้องได้รับประโยชน์อย่างแท้จริง มีการทำเกษตรพันธสัญญา การทำงานร่วมกันแบบประชาคมที่จริงจังยั่งยืน มีความเกื้อกูลกัน สร้างชุมชนให้เข้มแข็ง โดยมีโรงไฟฟ้าดังกล่าวช่วยประคับประครองดูแลชุมชน สร้างชุมชนให้มีความเข้มแข็ง อยู่ร่วมกันอย่างมีความสุข ซึ่งอาจมีรูปแบบการสร้างกองทุนร่วมกันระหว่างโรงไฟฟ้ากับชุมชนเพื่อใช้ในการพัฒนาชุมชนอย่างมีประสิทธิภาพต่อไป
สำหรับรายละเอียดหลักเกณฑ์ และเงื่อนไขคัดเลือกโครงการฯ จะมีคณะกรรมการบริหารการรับซื้อไฟฟ้าจากโครงการโรงไฟฟ้าชุมชนเพื่อเศรษฐกิจฐานรากพิจารณาอย่างโปร่งใสและเป็นธรรม ซึ่งคาดว่าจะแล้วเสร็จในเดือนกุมภาพันธ์นี้ และคาดว่า โรงไฟฟ้าชุมชนล็อตแรกในกลุ่มควิกวิน(Quick win)จะสามารถจ่ายไฟฟ้าเข้าระบบภายในสิ้นปี 2563 หลังจากนั้นโรงไฟฟ้าชุมชนในกลุ่มทั่วไป จะก่อสร้างและจ่ายไฟเข้าระบบได้ในสิ้นปี 2564
ทั้งนี้ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงพลังงาน ยังให้ความสำคัญโครงการพลังงานที่จะช่วยแก้ปัญหาภัยแล้ง โดยต้องมีหน่วยงานที่จะดูแลรักษาสิ่งปลูกสร้างอย่างเป็นระบบเพื่อความยั่งยืนของโครงการ ย้ำเตือนความพร้อมของการจัดทำโครงการที่ต้องดำเนินการให้แล้วเสร็จตามสัญญา เพื่อให้โครงการที่ได้รับงบประมาณไป มีประสิทธิภาพสามารถใช้ได้จริง เป็นประโยชน์กับชุมชนและท้องถิ่น
นอกจากนี้ ในด้านการส่งเสริมไบโอดีเซล ก็เป็นการใช้จุดแข็งของพืชพลังงานบนดิน คือปาล์มน้ำมัน ที่สามารถผลิตได้ในประเทศมาใช้ในการผลิตไบโอดีเซลเพื่อผลักดันการใช้ B10 เป็นน้ำมันดีเซลฐานของประเทศ และนโยบายนี้ก็ได้พิสูจน์ให้เห็นเป็นรูปธรรมแล้วว่า ช่วยสร้างเสถียรภาพราคาให้ปาล์มน้ำมันจนราคาสูงสุด เป็นประวัติการณ์
“หัวใจของนโยบายพลังงานชุมชนเพื่อขับเคลื่อนเศรษฐกิจฐานราก คือ ทุกคนสามารถเข้าถึงพลังงาน ได้สามารถใช้พลังงานไปหมุนเศรษฐกิจในชุมชน ผ่านโครงการต่างๆ ด้านพลังงาน เช่น โครงการโรงไฟฟ้าชุมชน การส่งเสริมไบโอดีเซล ส่งเสริม B10 เป็นน้ำมันดีเซลพื้นฐานในภาคขนส่ง และเตรียมสนับสนุนใช้พืชพลังงานในกลุ่มเบนซิน ได้แก่ มันสำปะหลัง อ้อย เพื่อผลักดันให้เกิดการนำไปใช้ผสมในน้ำมันเบนซินเพื่อให้ E20 เป็นน้ำมันเบนซินฐานของประเทศเป็นลำดับต่อไป” รัฐมนตรีว่าการกระทรวงพลังงานกล่าว
#EnergyForAll

รัฐมนตรีว่าการกระทรวงพลังงาน เป็นประธานในงานมอบฉลากประสิทธิภาพสูง

กระทรวงพลังงาน ส่งเสริมภาคเอกชนติด “ฉลากประหยัดพลังงานประสิทธิภาพสูง” เผยมีส่วนสนับสนุนนโยบาย “Energy for all” ในการลดค่าใช้จ่ายด้านพลังงาน ซึ่งเป็นต้นทุนหลักของทุกคน

วันนี้ (12 ก.พ.) นายสนธิรัตน์ สนธิจิรวงศ์ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงพลังงาน เป็นประธานในงานมอบฉลากประสิทธิภาพสูง โดยมีผู้ประกอบการจากภาคเอกชนที่ได้รับมอบฉลากฯ พร้อมด้วยสื่อมวลชนเข้าร่วม

นายสนธิรัตน์ สนธิจิรวงศ์ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงพลังงาน เปิดเผยว่า กระทรวงพลังงานได้ให้ความสำคัญกับ นโยบาย Energy For All ซึ่งจะผลักดันให้ประชาชนทุกคนเข้าถึงแหล่งพลังงาน และมีส่วนร่วมในการบริหารจัดการการใช้พลังงานในทุกมิติ โดยเป้าหมายหนึ่งที่เราต้องเร่งดำเนินการให้สำเร็จเป็นรูปธรรมภายใต้นโยบายนี้ คือ “การช่วยเหลือค่าครองชีพของประชาชนโดยการลดค่าใช้จ่ายด้านพลังงาน” แนวทางขับเคลื่อนที่สำคัญในเรื่องนี้ ได้แก่ การส่งเสริมให้ผู้ผลิตสินค้ามีการผลิตสินค้าที่ได้มาตรฐานในการประหยัดพลังงาน ควบคู่ไปกับกระตุ้นและส่งเสริมให้ผู้บริโภคหันมาใช้อุปกรณ์ประหยัดพลังงานที่ได้รับการรับรองจากกระทรวงพลังงาน กระทรวงพลังงาน โดยกรมพัฒนาพลังงานทดแทนและอนุรักษ์พลังงาน จึงได้เดินหน้าโครงการ “ฉลากประหยัดพลังงานประสิทธิภาพสูง” ในปี 2562 นี้ โดยมีการติดฉลากประหยัดพลังงานประสิทธิภาพสูงใน 19 ผลิตภัณฑ์ รวม 5.3 ล้านใบ ครอบคลุมในอุปกรณ์ที่ใช้งานกลุ่มต่างๆ ทั้งในบ้านอยู่อาศัย โรงงาน อาคาร รวมถึงอุปกรณ์ทางการเกษตร ซึ่งโครงการนี้สร้างผลประหยัดพลังงานสูงกว่า 135 พันตันน้ำมันดิบ(Ktoe)ต่อปี คิดเป็นมูลค่าผลประหยัดกว่า 4,360 ล้านบาทต่อปี ช่วยลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจกได้ 0.65 ล้านตันต่อปี

สินค้าที่ติดฉลาก จะผ่านการรับรองจากกระทรวงพลังงานว่าเป็นสินค้าประหยัดพลังงาน คือใช้พลังงานน้อยกว่าสินค้ารุ่นทั่วไปในตลาด ตั้งแต่ 10 ถึง 30% ขึ้นกับประเภทสินค้า การเลือกใช้อุปกรณ์ประหยัดพลังงาน จะช่วยลดรายจ่ายค่าพลังงานในระยะยาว ทำให้มีรายได้เพิ่มขึ้น สอดคล้องกับนโยบาย Energy For All ในส่วนการดูแลค่าใช้จ่ายด้านพลังงาน ซึ่งเป็นต้นทุนหลักของทุกคน อย่างในครัวเรือน

ส่วนแผนติดฉลากเพิ่มในอนาคต มุ่งเน้นภาคขนส่ง และภาคเกษตร อาทิ ยางรถยนต์ เครื่องอัดประจุยานยนต์ไฟฟ้า เครื่องจักรการเกษตร เป็นต้น ซึ่งเป็นภาคเศรษฐกิจที่มีผลิตภัณฑ์ติดฉลากน้อย ต่อไปเราคงเห็นผลิตภัณฑ์ที่ติดฉลากเพิ่มขึ้นเรื่อยๆ ในทุกภาคเศรษฐกิจของประเทศ เพื่อให้การติดฉลากเป็นไปอย่างแพร่หลายในอนาคต

สุดท้ายนายสนธิรัตน์ สนธิจิรวงศ์ ได้กล่าวขอบคุณผู้ประกอบการที่มารับฉลากในครั้งนี้ และหวังเป็นอย่างยิ่งว่าในปีถัดๆ ไป จะมีผู้ประกอบการเข้าร่วมโครงการมากยิ่งขึ้นเรื่อยๆ เพื่อช่วยกัน ให้ทุกคนสามารถเข้าถึงพลังงานได้ และทุกคนก็สามารถมีส่วนร่วมในการอนุรักษ์พลังงานได้เช่นกัน ตามนโยบาย
#Energy for all

ปลัดกระทรวงพลังงาน เข้าร่วมงานนิทรรศการและงานประชุม ฟิวเจอร์ เอนเนอร์ยี่ เอเชีย 2020

วันนี้ (12 ก.พ. 63) นายกุลิศ สมบัติศิริ ปลัดกระทรวงพลังงาน เข้าร่วมงานนิทรรศการและงานประชุม ฟิวเจอร์ เอนเนอร์ยี่ เอเชีย 2020 โดยงานได้รับการสนับสนุนอย่างเป็นทางการจากกระทรวงพลังงาน และความร่วมมือจากการไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทย (กฟผ.) และบริษัท ปตท. จำกัด (มหาชน) งานนี้มุ่งหวังในการสร้างการรับรู้ทั่วโลกเกี่ยวกับความต้องการพลังงานอย่างยั่งยืนที่เพิ่มขึ้น และกลยุทธ์ด้านการเปลี่ยนผ่านพลังงานของรัฐบาลและผู้ให้บริการด้านพลังงานเพื่อตอบรับกับศักยภาพของเทคโนโลยีพลังงานสะอาดและเศรษฐกิจดิจิทัลที่เชื่อมต่อถึงกัน

โดยภายในงาน ปลัดกระทรวงพลังงาน ได้กล่าวว่า ในวาระการเปลี่ยนผ่านด้านพลังงานของโลก ประเทศไทยยังคงเผชิญกับความท้าทายต่างๆ ในการเดินหน้าสู่พลังงานแห่งอนาคต การเข้าถึงบริการพลังงานที่ปลอดภัย ราคาสมเหตุสมผล และยั่งยืนถือเป็นสิ่งสำคัญอย่างยิ่งสำหรับประเทศของเรา ในขณะที่พลังงานสะอาด พลังงานหมุนเวียน และพลังงานที่ไม่ใช่ฟอสซิลนั้น ถือเป็นแนวโน้มการปฏิวัติที่เรากำลังดำเนินการในช่วงยุคเปลี่ยนผ่านนี้ เพื่อรับมือกับการเปลี่ยนแปลงทางด้านพลังงานที่กำลังเกิดขึ้นทั่วโลก หนึ่งในนโยบายสำคัญที่กระทรวงพลังงานยึดมั่นและเร่งขับเคลื่อนนั่นก็คือ “Energy for all พลังงานเพื่อทุกคน” ผ่านกลยุทธ์ “Prosumerization” ซึ่งจะสนับสนุนชุมชนและภาคเอกชนในการทำงานร่วมกันเพื่อแบ่งปัน ผลประโยชน์จากการลงทุนในโครงการพลังงานชุมชน ซึ่งสิ่งนี้เองจะช่วยผลักดันความมุ่งมั่นของรัฐบาลไทยในการเพิ่มขีดความสามารถด้านพลังงานหมุนเวียน และส่งเสริมเทคโนโลยีพลังงานผ่านนโยบาย 4D1E (Decentralization, Digitalization, Decarbonization, Deregulation and Electrification) ผมมั่นใจเป็นอย่างยิ่งว่างาน ฟิวเจอร์ เอนเนอร์ยี่ เอเชีย ในครั้งนี้ จะมอบโอกาสให้ผู้เกี่ยวข้องด้านพลังงานได้พบปะเพื่อปรึกษา หารือและทำงานร่วมกันเพื่อเสริมสร้างความร่วมมือในการพัฒนาเทคโนโลยีพลังงานและนวัฒกรรมใหม่ๆ ให้ก่อเกิดพันธมิตรที่แข็งแกร่งระหว่างภาคธุรกิจและรัฐบาล

งานนิทรรศการและการประชุม ฟิวเจอร์ เอนเนอร์ยี่ เอเชีย 2020 จัดขึ้น ณ ศูนย์นิทรรศการและการประชุมนานาชาติไบเทค (BITEC) ตั้งแต่วันนี้ จนถึงวันที่ 14 ก.พ. 63 ข้อมูลเพิ่มเติมสามารถชมได้ที่เว็บไซด์ www.futureenergyasia.com

รัฐมนตรีว่าการกระทรวงพลังงาน เป็นประธานในพิธีวางศิลาฤกษ์คลังน้ำมัน ของบริษัท ไทย ไปป์ไลน์ เน็ตเวิร์ค จำกัด(ทีพีเอ็น) ณ อำเภอบ้านไผ่ จังหวัดขอนแก่น

วันนี้ (5 กุมภาพันธ์ 2563) นายสนธิรัตน์ สนธิจิรวงศ์ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงพลังงาน เป็นประธานในพิธีวางศิลาฤกษ์คลังน้ำมัน ของบริษัท ไทย ไปป์ไลน์ เน็ตเวิร์ค จำกัด(ทีพีเอ็น) ณ อำเภอบ้านไผ่ จังหวัดขอนแก่น โดยมีนายกัมพล ตติยกวี ประธานกรรมการ บริษัท ไทย ไปป์ไลน์ เน็ตเวิร์ค จำกัด (ทีพีเอ็น – TPN) ให้การต้อนรับ  ทั้งนี้โครงการดังกล่าว ได้รับอนุมัติจากคณะกรรมการนโยบายพลังงานแห่งชาติ (กพช.) ให้ดำเนินการขยายท่อขนส่งน้ำมันในภาคตะวันออกเฉียงเหนือเมื่อ พ.ศ. 2559 โดยได้คัดเลือกให้บริษัท ไชน่า ปิโตรเลียม ไปป์ไลน์ บูโร (ประเทศไทย) จำกัด (ซีพีพี – CPP) เป็นผู้ดำเนินการก่อสร้างเมื่อต้นปีที่ผ่านมา ทั้งทีพีเอ็นและซีพีพีได้ทำงานร่วมกันตลอดระยะเวลาหนึ่งปีเพื่อทำการเตรียมพร้อมในเรื่องของระบบวิศวกรรมและวัสดุอุปกรณ์ต่าง ๆ เพื่อให้มั่นใจว่าการก่อสร้างจะเป็นไปอย่างมีประสิทธิภาพ ซึ่งบัดนี้มีความพร้อมที่จะเริ่มดำเนินการก่อสร้างทั้งระบบท่อขนส่งน้ำมันและคลังน้ำมันตามแผนงานที่ตั้งไว้ จึงได้จัดพิธีวางศิลาฤกษ์คลังน้ำมันบ้านไผ่แห่งนี้ขึ้นเพื่อเป็นจุดเริ่มต้นของภารกิจสำคัญของทีพีเอ็นและซีพีพีนับจากนี้เป็นต้นไป

โดยระบบท่อขนส่งน้ำมันในภาคตะวันออกเฉียงเหนือรวมทั้งคลังน้ำมันแห่งนี้จะตอบสนองต่อนโยบายของรัฐบาลในการสร้างความมั่นคงด้านการจัดหาพลังงาน และยังเอื้อต่อนโยบายการเก็บสำรองน้ำมันสำเร็จรูปในคลังส่วนภูมิภาค ส่งผลให้มีโครงสร้างพื้นฐานด้านพลังงานที่เชื่อถือได้ (Reliable) ซึ่งจะก่อให้เกิดประโยชน์ด้านเศรษฐศาสตร์ต่อประเทศ รวมถึงยังเป็นการรองรับการขยายตัวด้านการใช้น้ำมันในภูมิภาคอาเซียน ช่วยเพิ่มขีดความสามารถในการแข่งขันของประเทศไทยในการก้าวสู่การเป็นศูนย์กลางพลังงานของภูมิภาคอีกด้วย

“บริษัทฯ ตระหนักดีถึงภารกิจอันสำคัญยิ่งของเราต่ออนาคตและความมั่นคงของพลังงานในประเทศ และได้กำหนดเป็นนโยบายสำคัญในการดำเนินงานโดยคำนึงถึงหลักมาตรฐานสากลด้านความปลอดภัย ระบบวิศวกรรม กระบวนการตรวจสอบ ขั้นตอนการทำงาน ฯลฯ จึงมั่นใจได้ว่าการดำเนินโครงการขยายระบบท่อขนส่งน้ำมันภาคพื้นดินในภาคตะวันออกเฉียงเหนือจะเป็นไปด้วยความรอบคอบและมีประสิทธิภาพสูงสุด เพื่อประโยชน์ที่จะเกิดขึ้นแก่ความมั่นคงทางพลังงานของประเทศในอนาคต รวมทั้งประโยชน์แก่ชุมชนและทุกฝ่ายที่เกี่ยวข้อง” นายกัมพล กล่าว

โครงการขยายระบบการขนส่งน้ำมันทางท่อไปยังภาคตะวันออกเฉียงเหนือของบริษัท ไทยไปป์ไลน์ เน็ตเวิร์ค จำกัด มีระยะทางทั้งสิ้น 342 กิโลเมตร ผ่าน 70 ตำบล 22 อำเภอ 5 จังหวัด เริ่มจากอำเภอเสาไห้ จังหวัดสระบุรี มาสิ้นสุดที่อำเภอบ้านไผ่จังหวัดขอนแก่น และมีการก่อสร้างคลังน้ำมันปลายทางที่อำเภอบ้านไผ่ขนาด 140 ล้านลิตร ซึ่งเมื่อระบบแล้วเสร็จจะสามารถลดปริมาณการขนส่งน้ำมันทางรถบรรทุกลงไปจำนวนประมาณ 200,000 เที่ยวต่อปี คิดเป็นการประหยัดเชื้อเพลิงในการขนส่งลงไปได้กว่า 21 ล้านลิตรต่อปี ที่สำคัญ คลังน้ำมันแห่งนี้จะเกิดประโยชน์ต่อชุมชนโดยรอบและประชาชนในท้องถิ่นจากการสร้างงานให้แก่พี่น้องที่อยู่ใกล้เคียง ซึ่งนอกเหนือไปจากการสร้างงานจากบริษัทฯ โดยตรงแล้ว ยังจะเพิ่มโอกาสของการสร้างงานสร้างรายได้จากธุรกิจที่เกี่ยวข้องต่อเนื่องอื่นๆอีกมาก จึงนับเป็นประโยชน์ต่อการขับเคลื่อนเศรษฐกิจท้องถิ่นโดยตรงและยังส่งผลต่อการเพิ่มประสิทธิภาพการขนส่งน้ำมันของประเทศ ลดความสิ้นเปลืองเชื้อเพลิงในการขนส่ง ลดปัญหาด้านอุบัติเหตุรวมถึงแก้ปัญหาด้านสิ่งแวดล้อม ทั้งยังเป็นโครงการฯ สำคัญที่มีส่วนช่วยกระตุ้นเศรษฐกิจของประเทศด้วย

Page 7 of 15
1 5 6 7 8 9 15