Code of conduct

รายงานการประชุมคณะกรรมการทบทวนโครงสร้าง บทบาท อำนาจ และภารกิจ
ของกระทรวงพลังงาน ครั้งที่ 1/2564   คลิกที่นี่

การประชุมหารือทวิภาคีระหว่างรัฐมนตรีว่าการกระทรวงพลังงาน กับ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงเศรษฐกิจ การค้า และอุตสาหกรรม ของประเทศญี่ปุ่น (METI)

การประชุมหารือทวิภาคีระหว่างรัฐมนตรีว่าการกระทรวงพลังงาน กับ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงเศรษฐกิจ การค้า และอุตสาหกรรม ของประเทศญี่ปุ่น (METI)

วันนี้ (20 พ.ค. 2564) นายสุพัฒนพงษ์ พันธ์มีเชาว์ รองนายกรัฐมนตรี และรัฐมนตรีว่าการกระทรวงพลังงาน ได้ประชุมหารือทวิภาคีกับ H.E. Mr. Kajiyama Hiroshi (นายคาจิยามา ฮิโรชิ) รัฐมนตรีว่าการกระทรวงเศรษฐกิจ การค้า และอุตสาหกรรม ของประเทศญี่ปุ่น (METI) ผ่านระบบการประชุมทางไกล (Virtual Meeting) โดยทั้งสองฝ่ายได้มีการหารือในประเด็นความร่วมมือด้านพลังงานที่สำคัญทั้งในระดับทวิภาคีและพหุภาคี

โดยฝ่ายญี่ปุ่นได้มีการนำเสนอนโยบาย Green Growth Strategy ที่มีเป้าหมายการเข้าสู่ Carbon Neutrality ในปี 2050 รวมถึงนโยบายเพื่อรองรับยุคของการเปลี่ยนผ่านด้านพลังงานที่จะมุ่งเน้นการลดการปลดปล่อย CO2 ในภาคพลังงาน การเติบโตทางเศรษฐกิจ และการปกป้องสิ่งแวดล้อม โดยได้นำเสนอข้อริเริ่ม Asia Energy Transition Initiative เพื่อช่วยเหลือกลุ่มประเทศในภูมิภาคเอเชียให้สามารถเข้าสู่ยุคเปลี่ยนผ่านด้านพลังงานไปสู่พลังงานสะอาดได้ตามเป้าหมาย โดยมุ่งเน้นมาตรการที่เป็นขั้นเป็นตอน ปฏิบัติได้จริง และใช้ทรัพยากร/เทคโนโลยีที่มีอยู่นำมาใช้ประโยชน์สูงสุด

โอกาสนี้ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงพลังงานได้แลกเปลี่ยนแนวนโยบายด้านพลังงานของไทย ซึ่งมีทิศทางการพัฒนาสอดคล้องกับฝ่ายญี่ปุ่น ที่มุ่งเน้นการ Decarbonization ในภาคพลังงาน และมุ่งเน้นการพัฒนาเทคโนโลยีตามแนวทาง BCG โดยแสดงความเห็นพ้องกับฝ่ายญี่ปุ่นที่ภูมิภาคเอเชียจะต้องมีการร่วมมือกันสร้างจุดยืนร่วมกันในการพัฒนาภาคพลังงานต่อไป ในโอกาสนี้ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงพลังงานยังได้แสดงความขอบคุณฝ่ายญี่ปุ่นที่เข้ามามีส่วนร่วมสนับสนุนการศึกษานโยบาย Carbon Neutrality ของไทย โดยไทยได้มีความพร้อมที่จะสนับสนุนกิจกรรมในกรอบความร่วมมืออาเซียน-ญี่ปุ่น และยินดีสนับสนุนนักลงทุนชาวญี่ปุ่นที่จะเข้ามาร่วมพัฒนาเศรษฐกิจและอุตสาหกรรมร่วมกับไทยต่อไป

กระทรวงพลังงาน ร่วมบันทึกเทปถวายพระพรสมเด็จพระนางเจ้าสุทิดา พัชรสุธาพิมลลักษณ พระบรมราชินี

วันนี้ (17 พ.ค. 64 ) นายสุพัฒนพงษ์ พันธ์มีเชาว์ รองนายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรีว่าการกระทรวงพลังงาน และนายกุลิศ สมบัติศิริ ปลัดกระทรวงพลังงาน พร้อมด้วยคณะผู้บริหารระดับสูง ร่วมบันทึกเทปถวายพระพร สมเด็จพระนางเจ้าสุทิดา พัชรสุธาพิมลลักษณ พระบรมราชินี เนื่องในโอกาสวันเฉลิมพระชนมพรรษา 3 มิถุนายน 2564 ณ สถานีวิทยุโทรทัศน์แห่งประเทศไทย NBT

ปลัดกระทรวงพลังงาน เป็นประธานกิจกรรม “พลังงานร่วมใจ สู้ภัยโควิด-19” ส่งมอบชุด PPE และอุปกรณ์ป้องกันทางการแพทย์

วันนี้ (13 พฤษภาคม 2564) นายกุลิศ สมบัติศิริ ปลัดกระทรวงพลังงาน เป็นประธานใน กิจกรรม “พลังงานร่วมใจ สู้ภัยโควิด-19” ซึ่งกระทรวงพลังงาน ร่วมกับ การไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทย (กฟผ.) บริษัท ปตท.จำกัด (มหาชน) สำนักงานคณะกรรมการกำกับกิจการพลังงาน(สำนักงาน กกพ.)และหน่วยงานราชการในสังกัดกระทรวงพลังงาน ซึ่งมีผู้บริหารระดับสูงของแต่ละหน่วยงานเข้าร่วมงาน เพื่อเป็นการส่งมอบชุด PPE และอุปกรณ์ป้องกันทางการแพทย์ ชุด PPE และอุปกรณ์อื่นๆ อาทิ น้ำยาฆ่าเชื้อ หน้ากาก Face shield และถุงมือยาง ให้กับทีมแพทย์ พยาบาล และเจ้าหน้าที่ที่ปฏิบัติงานเชิงรุกเร่งช่วยเหลือและตรวจคัดกรองประชาชนในพื้นที่ชุมชนคลองเตย เพื่อควบคุมสถานการณ์การแพร่ระบาดของโรคโควิด-19 พร้อมร่วมส่งกำลังใจให้ทีมเจ้าหน้าที่และชุมชนชาวคลองเตยให้สามารถก้าวผ่านสถานการณ์ครั้งนี้ไปให้ได้
นายกุลิศ สมบัติศิริ ปลัดกระทรวงพลังงาน เปิดเผยว่า จากสถานการณ์การแพร่ระบาดของโรค โควิด-19 ในพื้นที่ชุมชนเขตคลองเตย ซึ่งขณะนี้พบผู้ติดเชื้อรายวันและมีผู้ที่มีความเสี่ยงสูงอีกเป็นจำนวนมาก ทำให้เจ้าหน้าที่สาธารณสุขทั้งทีมแพทย์ พยาบาล และเจ้าหน้าที่ต่างๆ จำเป็นต้องเร่งปฏิบัติการให้ความช่วยเหลือเชิงรุกในการตรวจคัดกรองประชาชนในพื้นที่ และส่งต่อการรักษาให้ทันเวลา เพื่อควบคุมสถานการณ์การแพร่ระบาดของโรคโควิด-19 ในพื้นที่ดังกล่าวอย่างเร่งด่วน กระทรวงพลังงานตระหนักถึงความปลอดภัยและมีความห่วงใยด้านความปลอดภัยของเจ้าหน้าที่ที่ปฏิบัติงาน รวมถึงประชาชนในพื้นที่เป็นอย่างมากจึงได้ร่วมกับการไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทย (กฟผ.) บริษัท ปตท.จำกัด (มหาชน) สำนักงานคณะกรรมการกำกับกิจการพลังงาน (กกพ.) และหน่วยงานราชการในสังกัดกระทรวงพลังงาน จัดหาชุด PPE และอุปกรณ์ป้องกันทางการแพทย์ ได้แก่ ชุด PPE จำนวน 1,660 ชุด น้ำยาฆ่าเชื้อ จำนวน 40 แกลลอน หน้ากาก Face shield จำนวน 1,005 ชิ้น และถุงมือยางจำนวน 609 กล่องและอุปกรณ์อื่นๆที่เกี่ยวข้องรวมมูลค่ากว่า 800,000 บาท เพื่อส่งมอบให้กับทีมแพทย์ พยาบาล และเจ้าหน้าที่ที่ปฏิบัติงาน ณ สำนักงานเขตคลองเตย ใช้ป้องกันความปลอดภัยในขณะปฏิบัติหน้าที่ในพื้นที่ดังกล่าว พร้อมทั้งคาดหวังว่าสถานการณ์ครั้งนี้จะสามารถคลี่คลายไปได้ด้วยดีโดยเร็ว

“กระทรวงพลังงาน หน่วยงานในสังกัด รวมทั้งข้าราชการและเจ้าหน้าที่ ขอร่วมเป็นส่วนหนึ่งในการสนับสนุนการปฏิบัติงานของทีมแพทย์ พยาบาล และเจ้าหน้าที่ทุกๆ ท่าน พร้อมทั้งขอส่งความห่วงใยและกำลังใจให้ประชาชนในชุมชนคลองเตยให้สามารถก้าวผ่านสถานการณ์ครั้งนี้ไปให้ได้ และขอฝากให้ประชาชนทุกท่าน เพิ่มความระมัดระวัง ใส่หน้ากากตลอดเวลา ล้างมือทุกครั้งที่สัมผัสหรือหยิบจับสิ่งของ การเว้นระยะห่างตามมาตรการสาธารณสุข และผมมีความเชื่อมั่นว่าด้วยความร่วมแรงร่วมใจของคนไทย เราจะข้ามผ่านวิกฤตโรคโควิด-19 นี้ ไปด้วยกัน” นายกุลิศ กล่าว

พระราชพิธีบรมราชาภิเษกพุทธศักราช 2562

“เนื่องในโอกาสพระราชพิธีบรมราชาภิเษกพุทธศักราช 2562″
ขอพระองค์ทรงพระเจริญ

ด้วยเกล้าด้วยกระหม่อม ขอเดชะ
ข้าพระพุทธเจ้า นายกุลิศ สมบัติศิริ
ปลัดกระทรวงพลังงาน
ผู้บริหาร ข้าราชการ และเจ้าหน้าที่กระทรวงพลังงาน”

กระทรวงพลังงาน ดำเนินมาตรการลดความเสี่ยงการแพร่ระบาดของเชื้อโรคโควิด-19 สั่งทุกหน่วยงานในสังกัด 95% Work from Home ตามมาตรการ ศบค.

“กระทรวงพลังงาน” ดำเนินมาตรการลดความเสี่ยงการแพร่ระบาดของเชื้อโรคโควิด-19 สั่งทุกหน่วยงานในสังกัด ให้ข้าราชการ เจ้าหน้าที่ และพนักงาน 95% Work from Home ตามมาตรการ ศบค. ในระหว่างวันที่ 1-31 พฤษภาคมนี้ พร้อมยืนยันไม่กระทบงานบริการประชาชน เตรียมพร้อมบุคลากรให้บริการประชาชนต่อเนื่องทั้งช่องทางออนไลน์และออฟไลน์

นายกุลิศ สมบัติศิริ ปลัดกระทรวงพลังงาน เปิดเผยว่า ตามที่ศูนย์บริหารสถานการณ์การแพร่ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (โควิด-19) หรือ ศบค.ได้ขอความร่วมมือให้หน่วยงานภาครัฐและภาคเอกชน พิจารณาดำเนินการมาตรการปฏิบัติงานที่บ้าน (Work from Home) ในมาตรการขั้นสูงสุดอย่างน้อย 14 วัน เพื่อลดการแพร่ระบาดของโรคโควิด-19 เนื่องจากการระบาดรอบใหม่มีการแพร่กระจายเชื้ออย่างรวดเร็ว ซึ่งทำให้ขณะนี้มีตัวเลขผู้ติดเชื้อเพิ่มสูงขึ้นอย่างต่อเนื่อง
ทั้งนี้ กระทรวงทรวงพลังงาน จึงได้สั่งการให้ทุกหน่วยงานในสังกัด ดำเนินมาตรการให้ข้าราชการ เจ้าหน้าที่ และพนักงานราชการส่วนกลางในสังกัดไม่น้อยกว่าร้อยละ 95 ดำเนินการตามมาตรการปฏิบัติงานที่บ้าน (Work from Home) เพื่อลดความเสี่ยงการติดและแพร่กระจายของโรคโควิด -19 โดยเริ่มตั้งแต่วันที่ 1–31 พฤษภาคม 2564 โดยมอบแนวทางปฏิบัติงานให้หน่วยงานต่างๆ นำระบบเทคโนโลยีสารสนเทศ อาทิ การประชุมผ่านระบบวิดีโอคอนเฟอเรนซ์ การติดต่อสื่อสารผ่านระบบอีเมล์ หรือ แอปพลิเคชันต่างๆ มาเป็นเครื่องมือในการปฏิบัติงาน เพื่อให้การดำเนินงานทั้งในส่วนงานประจำของแต่ละหน่วยงานและงานบริการประชาชน สามารถดำเนินการได้อย่างต่อเนื่องแม้ในช่วงสถานการณ์ดังกล่าว ทั้งนี้ หากประชาชนที่ต้องการจะติดต่อสอบถามกับทางกระทรวงฯ หรือหน่วยงานในสังกัด สามารถติดต่อได้ตามปกติทั้งทางช่องทางออนไลน์และออฟไลน์
“กระทรวงพลังงาน มีความห่วงใยประชาชน ข้าราชการและเจ้าหน้าที่ทุกคน ในสถานการณ์การแพร่ระบาดของโควิด-19 รอบใหม่นี้เป็นอย่างมาก จึงจะขอความร่วมมือให้ทั้งประชาชน ข้าราชการ และเจ้าหน้าที่ ปฏิบัติตามมาตรการเฝ้าระวังและป้องกันการแพร่ระบาดของโรคโควิด-19 อย่างเคร่งครัด ทั้งการเว้นระยะห่างทางสังคม (Social Distancing) ใส่หน้ากากอนามัยตลอดเวลาหากจำเป็นต้องเข้ามาปฏิบัติงานหรือมาติดต่อในสถานที่ราชการ โดยให้มีการจัดตั้งจุดคัดกรองวัดอุณหภูมิร่างกายทุกคนก่อนเข้าอาคารทุกครั้ง เพื่อลดการแพร่ระบาดของโควิด-19 และสามารถก้าวผ่านสถานการณ์ครั้งนี้ไปด้วยกัน” ปลัดกระทรวงพลังงาน กล่าว

กระทรวงพลังงานและสถานเอกอัครราชทูตสหรัฐอเมริกาประจำประเทศไทย ร่วมกันจัดงาน Private Sector Engagement Event ผ่านระบบออนไลน์

กระทรวงพลังงานและสถานเอกอัครราชทูตสหรัฐอเมริกาประจำประเทศไทย ร่วมกันจัดงาน Private Sector Engagement Event ผ่านระบบออนไลน์ ขึ้นในวันที่ 27 เมษายน 2564 ซึ่งเป็นกิจกรรมที่จัดขึ้นสืบเนื่องจากมติที่ประชุม The 1st United States-Thailand Energy Policy Dialogue เมื่อวันอังคารที่ 27 ตุลาคม 2563 โดย Private Sector Engagement Event จัดขึ้นเพื่อกระชับและเสริมสร้างความร่วมมือด้านพลังงานระหว่างสองประเทศ ด้วยการเปิดโอกาสให้ภาคเอกชนและภาครัฐของทั้งสองฝ่ายได้พบปะและหารือถึงความเป็นไปได้ที่จะร่วมมือกันในอนาคต โดยมี Mr. Michael G. Heath อุปทูตรักษาการแทนเอกอัครราชทูตสหรัฐอเมริกาประจำประเทศไทย และนายกุลิศ สมบัติศิริ ปลัดกระทรวงพลังงาน ให้เกียรติเป็นประธานร่วมทั้งสองฝ่ายเสนอที่จะส่งเสริมความร่วมมือด้านพลังงานระดับทวิภาคี โดยกระชับความร่วมมือและข้อริเริ่มระหว่างภาครัฐและภาคเอกชนที่จะช่วยสนับสนุนการพัฒนาด้านพลังงานของไทยอย่างยั่งยืนและคุ้มค่า จากแหล่งพลังงานที่มีศักยภาพ Mr. Michael G. Heath กล่าวว่า “ด้วยการผลักดันจากนโยบายของภาครัฐ ร่วมกับนวัตกรรมอันล้ำสมัยของภาคเอกชน ประเทศไทยจะก้าวเข้าสู่การเป็นผู้นำของภูมิภาคและของโลก ในการกำหนดแนวทางความมั่นคงด้านพลังงาน สหรัฐอเมริกาขอชื่นชมความพยายามของบริษัททั้งฝ่ายสหรัฐฯ และฝ่ายไทยสำหรับการผลิตพลังงานจากแหล่งที่หลากหลาย การพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานด้านพลังงานให้ทันสมัย และช่วยสร้างตลาดแลกเปลี่ยนสินค้าพลังงานในภูมิภาค”
ทั้งนี้ นายกุลิศ ปลัดกระทรวงพลังงานได้กล่าวว่า “กระทรวงพลังงานไทยเล็งเห็นความสำคัญของความร่วมมือทวิภาคีด้านพลังงานระหว่างสหรัฐอเมริกาและไทย โดยการประชุมหารือในวันนี้จะเป็นโอกาสสำคัญที่จะเป็นเวทีแลกเปลี่ยนข้อมูลและแนวคิดจากภาคเอกชนด้านพลังงานของทั้งสองประเทศในการพัฒนาแนวทางการทำธุรกิจด้านพลังงานร่วมกันในอนาคต ซึ่งนับว่าเป็นช่วงเวลาที่เหมาะสมสำหรับการผลักดันให้เกิดความร่วมมือจากทุกภาคส่วนในด้านพลังงานเพื่อให้เกิดการฟื้นตัวทางภาคเศรษฐกิจ รวมถึงการร่วมกันป้องกันและแก้ไขปัญหาการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศที่เป็นปัญหาสำคัญในระดับโลกซึ่งจะมีการหารือในประเด็นดังกล่าวนี้ในการประชุมครั้งนี้อีกด้วย”
ผู้แทนจากทั้งสองฝ่ายต่างตระหนักถึงบทบาทที่สำคัญของภาคเอกชนในการขับเคลื่อนนวัตกรรม โดยได้เห็นพ้องที่จะแสวงหาโอกาสในการขยายความร่วมมือด้านการค้า โดยเฉพาะอย่างยิ่งในภาคการผลิตไฟฟ้า ก๊าซธรรมชาติ พลังงานทดแทนและการอนุรักษ์พลังงาน และรัฐบาลสหรัฐฯ ได้เน้นย้ำบทบาทของบรรษัทการเงินเพื่อการพัฒนาของสหรัฐอเมริกา (the United States International Development Finance Corporation) ในการช่วยสนับสนุนด้านการค้าและการเงิน และบทบาทของสำนักงานส่งเสริมการค้าและการพัฒนาแห่งสหรัฐอเมริกา (the United States Trade and Development Agency) ในการช่วยสนับสนุนด้านเทคนิคที่เกี่ยวข้องด้วย
ในโอกาสเดียวกันนี้ ผู้แทนจากกระทรวงพลังงานได้กล่าวถึงแผนพลังงานแห่งชาติ (National Energy Plan) ที่อยู่ระหว่างการจัดทำแผน โดยมีเป้าหมายหลักในการมุ่งเน้นการพัฒนาไปสู่การใช้พลังงานสะอาดและเป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อมเพื่อการพัฒนาเศรษฐกิจและความสามารถในการแข่งขันของประเทศ โดยผู้เข้าร่วมภาคเอกชนจากทั้งสองฝ่ายต่างให้ความสนใจในแนวทางนโยบายและกฎระเบียบด้านพลังงานของไทย และได้รับทราบถึงบทบาทสำคัญของไทยในการอำนวยความสะดวกด้านการพัฒนาและเชื่อมโยงภาคพลังงานในภูมิภาคอาเซียน ทั้งนี้ สหรัฐฯ และไทยมีแผนที่จะจัดการประชุม The 2nd United States-Thailand Energy Policy Dialogue ในช่วงปลายปี 2564 เพื่อต่อยอดความก้าวหน้าความร่วมมือด้านพลังงานจากการจัดประชุมเมื่อปี 2563 ที่ผ่านมา

รองปลัดกระทรวงพลังงาน ถวายแจกันดอกไม้และลงนามถวายพระพรสมเด็จพระกนิษฐาธิราชเจ้า กรมสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี

วันนี้ (2 เม.ย. 64) นางเปรมฤทัย วินัยแพทย์ และนายสมบูรณ์ หน่อแก้ว รองปลัดกระทรวงพลังงาน พร้อมด้วยผู้บริหารของกระทรวงพลังงาน  ถวายแจกันดอกไม้เบื้องหน้าพระบรมฉายาลักษณ์ และร่วมลงนามถวายพระพร สมเด็จพระกนิษฐาธิราชเจ้า กรมสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี เนื่องในวันคล้ายวันพระราชสมภพ 2 เมษายน 2564 ณ ศาลาสหทัยสมาคม ภายในพระบรมมหาราชวัง

รัฐมนตรีว่าการกระทรวงพลังงาน ร่วมการประชุม IEA-COP26 Net Zero Summit ผ่านระบบออนไลน์

เมื่อวันที่ 31 มีนาคม 2564 รัฐมนตรีว่าการกระทรวงพลังงาน (นายสุพัฒนพงษ์ พันธ์มีเชาว์) ได้เข้าร่วมการประชุม IEA-COP26 Net Zero Summit ผ่านระบบออนไลน์ (Virtual Meeting) ณ ห้องประชุม 2 ชั้น 15 ศูนย์เอนเนอร์ยี่คอมเพล็กซ์ อาคารบี โดยการประชุมดังกล่าวเป็นการประชุมด้านพลังงานที่จัดขึ้นร่วมกันระหว่างทบวงการพลังงานระหว่างประเทศ (International Energy Agency: IEA) กับรัฐบาลแห่งสหราชอาณาจักรในฐานะประธานการประชุม COP26 โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อเป็นเวทีหารือร่วมกันของผู้แทนระดับรัฐมนตรีจากประเทศต่าง ๆ และผู้นำองค์กรระหว่างประเทศในประเด็นที่เกี่ยวข้องกับการเปลี่ยนผ่านด้านพลังงานของโลก
เพื่อมุ่งไปสู่การบรรลุเป้าหมายการปลดปล่อยก๊าซเรือนกระจกสุทธิเท่ากับศูนย์ (Net zero emission) และการควบคุมการเพิ่มขึ้นของอุณหภูมิโลกไม่ให้เกิน 1.5 องศาเซลเซียสตามข้อตกลงปารีส (Paris Agreement)

รัฐมนตรีว่าการกระทรวงพลังงาน ได้กล่าวบรรยายในช่วง Ministerial Panel 2: Catalysing Near-Term Implementation ร่วมกับรัฐมนตรีพลังงานจากประเทศต่าง ๆ ได้แก่ สวีเดน อินโดนีเซีย บราซิล นอร์เวย์ ลิทัวเนีย และผู้นำองค์กรระหว่างประเทศ เช่น International Renewable Energy Agency (IRENA), African Union Commission, International Atomic Energy Agency (IAEA) และ Hitachi ABB Power Grids เป็นต้น ซึ่งรัฐมนตรีว่าการกระทรวงพลังงาน ได้กล่าวในที่ประชุมว่า ทุกประเทศควรเปลี่ยนความท้าทายด้านพลังงานให้เป็นโอกาส โดยการปฏิวัติระบบพลังงานให้เป็นรูปธรรมและเสริมสร้างความร่วมมือกันระหว่างประชาคมโลกเพื่ออนาคตของภาคพลังงานที่มีความยืดหยุ่น มั่นคง และยั่งยืน ทั้งนี้ กระทรวงพลังงานอยู่ในระหว่างการจัดทำแผนพลังงานแห่งชาติ (National Energy Plan: NEP) ที่มุ่งเน้นไปสู่การใช้พลังงานสะอาดและเป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม ผ่านการเพิ่มสัดส่วนการใช้พลังงานหมุนเวียนซึ่งมุ่งเน้นไปที่การใช้ทรัพยากรในท้องถิ่นที่ปล่อยคาร์บอนต่ำ และการส่งเสริมโรงไฟฟ้าชุมชนเพื่อสร้างรายได้และความเป็นอยู่ที่ดีให้แก่ภาคประชาชน

รัฐมนตรีว่าการกระทรวงพลังงาน ได้กล่าวว่า ประเทศไทยจะเป็นเจ้าภาพจัดการประชุม APEC Leader Summit ในปี 2022 ภายใต้แนวคิดหลักคือ “Bio-Circular-Green Economy Model” หรือ BCG Model จึงขอเชิญสมาชิกเขตเศรษฐกิจเอเปกเข้าร่วมการประชุมดังกล่าวที่ประเทศไทยอีกด้วย อีกทั้งกระทรวงพลังงานยังมี     กลยุทธ์ระยะยาวเพื่อนำไปสู่การปล่อยคาร์บอนเป็นศูนย์ เช่น การขยายการผลิตและการใช้พลังงานที่ปล่อยคาร์บอนต่ำ การเปลี่ยนผ่านไปสู่การใช้ยานยนต์ไฟฟ้า การส่งเสริมการจัดการขยะให้เป็นพลังงาน การส่งเสริมการผลิตและการบริการคาร์บอนต่ำในกิจกรรมทางเศรษฐกิจ การมุ่งไปสู่การเกษตรที่ปลอดการเผาและการเกษตรอัจฉริยะผ่านเทคโนโลยีดิจิทัล และการใช้เทคโนโลยีที่เป็นนวัตกรรมอย่างสร้างสรรค์และยั่งยืน เป็นต้น

นอกจากนี้ ที่ประชุมได้เน้นย้ำถึงความสำคัญของความร่วมมือระหว่างทุกภาคส่วนในประชาคมโลกเพื่อให้บรรลุการเปลี่ยนผ่านด้านพลังงานไปสู่พลังงานสะอาด โดยเฉพาะอย่างยิ่ง การใช้ไฮโดรเจนสะอาด การส่งเสริมเทคโนโลยีจัดเก็บพลังงาน การใช้ยานยนต์ไฟฟ้า การพัฒนาเทคโนโลยีดักจับและกักเก็บคาร์บอน (CCUS) และการลดการใช้เชื้อเพลิงฟอสซิล เพื่อให้สอดคล้องกับเป้าหมายความตกลงปารีส (Paris Agreement) รวมถึงการลดการปล่อยคาร์บอนสุทธิเป็นศูนย์ (Net zero emission) ภายในปี 2050

ปลัดกระทรวงพลังงาน บันทึกเทปรายการกะเทาะเปลือกคอร์รัปชัน

วันนี้ (1 เมษายน 2564) นายกุลิศ สมบัติศิริ ปลัดกระทรวงพลังงาน บันทึกเทปสัมภาษณ์พิเศษในรายการกะเทาะเปลือกคอร์รัปชัน ประเด็น “พน. โปร่งใส ต้านทุจริตคอร์รัปชัน” ซึ่งออกอากาศทางสถานีวิทยุโทรทัศน์แห่งประเทศไทย (NBT) โดยนำเสนอถึงนโยบายและมาตรการด้านการป้องกันการทุจริตของหน่วยงาน และการสร้างความโปร่งใสในการดำเนินกิจการด้านพลังงาน เช่น กระบวนการอนุมัติ อนุญาต หรือการติดต่อกับหน่วยงานในกระทรวงพลังงานโดยสามารถติดต่อผ่านช่องทางระบบสารสนเทศ เช่น Website  (www.energy.go.th) Facebook (www.facebook.com/ministryofenergy) โทรศัพท์ 02-140-7000 และอีเมล์ inspector_g@energy.go.th อีกทั้ง กระทรวงพลังงานได้เพิ่มช่องทางการแจ้งเบาะแสหรือร้องเรียนทางออนไลน์ เพื่อให้ประชาชนได้เข้ามามีส่วนร่วมในการแจ้งเบาะแสหรือการที่ไม่ได้รับความสะดวกในการติดต่อกับหน่วยงานในกระทรวงพลังงาน ทั้งนี้ ท่านสามารถติดตามวันและเวลาออกอากาศได้ทาง Facebook กระทรวงพลังงาน

กระทรวงพลังงาน ร่วม กระทรวงอุตสาหกรรม ประชุม EV ชาติ เตรียมออกมาตรการส่งเสริมกระตุ้นใช้รถ EV

ก.พลังงาน ร่วม ก.อุตฯ ประชุม EV ชาติ เตรียมออกมาตรการส่งเสริมกระตุ้นใช้รถ EV

เมื่อวันที่ 24 มีนาคม 2564 นายสุพัฒนพงษ์ พันธ์มีเชาว์ รองนายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรีว่าการกระทรวงพลังงาน ในฐานะประธานคณะกรรมการนโยบายยานยนต์ไฟฟ้าแห่งชาติ ได้ร่วมประชุมคณะกรรมการนโยบายยานยนต์ไฟฟ้าแห่งชาติ (บอร์ดอีวี) โดยมีนายสุริยะ จึงรุ่งเรืองกิจ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงอุตสาหกรรม พร้อมด้วยผู้บริหารระดับสูงของหน่วยงานที่เกี่ยวข้องเข้าร่วมประชุมเพื่อกำหนดทิศทางการส่งเสริมยานยนต์ไฟฟ้า ด้วยการลดการใช้รถยนต์ที่ใช้เครื่องยนต์สันดาปไปสู่รถยนต์ไฟฟ้า(EV) เพื่อก้าวเข้าสู่สังคมคาร์บอนต่ำ (Low Carbon Society) และการเป็นฐานการผลิตยานยนต์ไฟฟ้าและชิ้นส่วนที่สำคัญของโลก

นายสุพัฒนพงษ์ พันธ์มีเชาว์ รองนายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรีว่าการกระทรวงพลังงาน เปิดเผยว่า
ในปัจจุบันทั่วโลกต่างตระหนักถึงปัญหาผลกระทบจากภาวะโลกร้อนที่เกิดจากการปล่อยก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์
สู่ชั้นบรรยากาศ ซึ่งเป็นสาเหตุสำคัญของการเกิดก๊าซเรือนกระจก จึงทำให้หลายประเทศไม่ว่าจะเป็นญี่ปุ่น จีน สหรัฐอเมริกา ประกาศเป้าหมายชัดเจนว่าจะลดการปล่อยคาร์บอนเป็นศูนย์ และงดการใช้รถยนต์ที่ใช้เครื่องยนต์สันดาปภายใน ดังนั้นเพื่อให้ทิศทางการดำเนินงานนโยบายด้านพลังงานของไทยสอดคล้องกับกระแสเทรนด์ของโลก จึงมีนโยบายลดการใช้รถยนต์ที่ใช้เครื่องยนต์สันดาปไปสู่การใช้รถยนต์ไฟฟ้า (EV) ซึ่งเป็นแนวทางหนึ่งในการลดการปล่อยก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์

การประชุมคณะกรรมการนโยบายยานยนต์ไฟฟ้าแห่งชาติในวันนี้ ที่ประชุมได้ร่วมกำหนดแผนยุทธศาสตร์ส่งเสริมการใช้ยานยนต์ไฟฟ้าในประเทศ เนื่องจากอุตสาหกรรมยานยนต์ที่ผ่านมาผลิตเครื่องยนต์สันดาป ซึ่งเป็นสาเหตุหนึ่งที่ก่อให้เกิดการปล่อยก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์และปัญหาฝุ่นละอองขนาดเล็ก PM 2.5 จึงได้วางเป้าหมายการส่งเสริมการผลิตและการใช้รถยนต์ไฟฟ้า (อีวี) โดยคาดการณ์ว่าในปี 2568 รถยนต์ไฟฟ้าจะมีราคาเทียบเท่ากับรถยนต์สันดาป เพื่อก้าวสู่เป้าหมายการลดการปล่อยก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์
ในการดำเนินงานขับเคลื่อนส่งเสริมยานยนต์ไฟฟ้า เพื่อให้ประเทศไทยก้าวสู่การเป็นฐานการผลิตยานยนต์ไฟฟ้าและชิ้นส่วนที่สำคัญของโลก ได้มอบหมายให้กระทรวงอุตสาหกรรม กระทรวงพลังงาน และกระทรวงคมนาคม ร่วมกันพิจารณาส่งเสริมยานยนต์ไฟฟ้าประกอบด้วย รถยนต์ จักรยานยนต์ และรถบัสสาธารณะ โดยกระทรวงอุตสาหกรรมและหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง เตรียมความพร้อมทั้งในส่วนของอุปทาน (ผู้ผลิต) โดยเฉพาะการเชื่อมโยงผู้ผลิตชิ้นส่วนและอุปกรณ์ที่เกี่ยวเนื่องในยานยนต์ไฟฟ้า รวมถึงผลักดันผู้ประกอบการที่มีศักยภาพ เพื่อเร่งให้เกิดการผลิตยานยนต์ไฟฟ้าในประเทศไทยโดยเร็ว โดยมีเป้าหมายการใช้ยานยนต์ไฟฟ้ารวมทุกประเภทในปี 2568 รวมจำนวนทั้งสิ้น 1,055,000 คัน โดยแบ่งเป็นรถยนต์/รถปิกอัพ 402,000 คัน รถจักรยานยนต์ 622,000 คัน และรถบัส/รถบรรทุก 31,000 คัน และในปี 2578 ให้เพิ่มขึ้นเป็นจำนวนรวม 15,580,000 คัน แบ่งเป็นรถยนต์/รถปิกอัพ 6,400,000 คัน รถจักรยานยนต์ 8,750,000 คัน และรถบัส/รถบรรทุก 430,000 คัน และได้วางเป้าหมายการผลิตยานยนต์ไฟฟ้าของประเทศ ในปี 2568 จะมีจำนวนรวมทั้งสิ้น 1,051,000 คัน แบ่งเป็นรถยนต์/รถปิกอัพ 400,000 คัน รถจักรยานยนต์ 620,000 คัน และรถบัส/รถบรรทุก 31,000 คัน และในปี 2578 ให้เพิ่มขึ้นเป็นจำนวนรวม 18,413,000 คัน แบ่งเป็นรถยนต์/รถปิกอัพ 8,625,000 คัน รถจักรยานยนต์ 9,330,000 คัน และรถบัส/รถบรรทุก 458,000 คัน

นอกจากนี้ที่ประชุมยังได้วางนโยบายการขับเคลื่อนอุตสาหกรรมยานยนต์ไฟฟ้าด้วยมาตรการระยะเร่งด่วนและมาตรการระยะ 1- 5 ปี ดังนี้
มาตรการกระตุ้นการใช้รถ EV ระยะเร่งด่วน โดยจะมุ่งส่งเสริมการใช้รถยนต์ไฟฟ้าทั้งประเภทสองล้อ
สามล้อ และสี่ล้อไฟฟ้า โดยวางแผนจัดตั้งสถานีอัดประจุไฟฟ้าสำหรับรถยนต์และรถจักรยานยนต์ รวมทั้งส่งเสริมการจัดตั้งศูนย์ทดสอบมาตรฐานแบตเตอรี่และการบริหารจัดการซากแบตเตอรี่ที่เกิดจากการใช้งานภายในประเทศอย่างเป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม ซึ่งมาตรการเหล่านี้ยังอยู่ในระหว่างการศึกษารายละเอียด เพื่อนำผลสรุปมาปรับใช้ให้เหมาะสมกับสถานการณ์ต่อไป
มาตรการกระตุ้นระยะ 1-5 ปี ดำเนินการส่งเสริมการปรับโครงสร้างภาษีสรรพสามิต การเตรียม
การด้านการบริหารจัดการซากรถยนต์แบตเตอรี่ที่ใช้แล้ว โดยคำนึงถึงความปลอดภัยและสิ่งแวดล้อมเป็นหลักตามมาตรฐานสากล พร้อมทั้งเตรียมความพร้อมของโครงสร้างพื้นฐาน (EcoSystem) เพื่อส่งเสริมการใช้ยานยนต์ไฟฟ้าพลังงานสะอาด
พร้อมกันนี้ที่ประชุมยังได้พิจารณาแต่งตั้งคณะอนุกรรมการภายใต้คณะกรรมการนโยบายยานยนต์ไฟฟ้าแห่งชาติขึ้น ได้แก่ 1.คณะอนุกรรมการส่งเสริมอุตสาหกรรมการผลิตยานยนต์ไฟฟ้าและชิ้นส่วน 2. คณะอนุกรรมการพัฒนาระบบโครงสร้างพื้นฐานและแบตเตอรี่เพื่อรองรับยานยนต์ไฟฟ้า 3.คณะอนุกรรมการประเมินผลกระทบด้านน้ำมันเชื้อเพลิงและก๊าซเรือนกระจกจากการส่งเสริมยานยนต์ไฟฟ้า และ 4. คณะอนุกรรมการส่งเสริมการใช้ยานยนต์ไฟฟ้า เพื่อให้การส่งเสริมการผลิตและการใช้ยานยนต์ไฟฟ้าดำเนินนโยบายไปอย่างมีประสิทธิภาพและประสิทธิผล รวมทั้งเกิดการบูรณาการขับเคลื่อนการดำเนินงานด้านยานยนต์ไฟฟ้าของประเทศไทยให้เป็นรูปธรรมและทันต่อการเปลี่ยนแปลงของเทคโนโลยี ซึ่งจะเป็นความร่วมมือกันในการเดินหน้านโยบายส่งเสริมรถยนต์ไฟฟ้าอย่างต่อเนื่องตั้งแต่ต้นทางจนถึงปลายทาง และนำพาประเทศก้าวสู่การเป็นฐานการผลิตยานยนต์ไฟฟ้าและชิ้นส่วนที่สำคัญของโลก

และหลังจากการประชุม นายสุพัฒนพงษ์ พันธ์มีเชาว์ พร้อมคณะกรรมการนโยบายยานยนต์ไฟฟ้าแห่งชาติ ได้ร่วมเดินทางเข้าชมงาน บางกอก อินเตอร์เนชั่นแนล มอเตอร์โชว์ ครั้งที่ 42 (Motor Show 2021) ณ ชาเลนเจอร์ ฮอลล์ 1-3 อิมแพ็ค เมืองทองธานี ซึ่งมีค่ายรถยนต์นำรถยนต์ไฟฟ้ามาแสดงและจำหน่ายภายในงานหลากหลายรุ่น โดยได้รับความสนใจจากประชาชนเป็นจำนวนมาก

…………………………………

 

รองปลัดกระทรวงพลังงาน ลงพื้นที่ติดตามความคืบหน้าการแก้ไขปัญหาโครงการโซลาร์เซลล์ของกองทุนอนุรักษ์

“ก.พลังงาน” ลงพื้นที่ติดตามความคืบหน้าการแก้ไขปัญหาโครงการโซลาร์เซลล์ของกองทุนอนุรักษ์ ย้ำ ประชาชนต้องใช้ประโยชน์ได้เต็มประสิทธิภาพ

“สมบูรณ์ หน่อแก้ว” รองปลัดกระทรวงพลังงาน ประธานคณะทำงานกำกับติดตามผลการดำเนินโครงการเทคโนโลยีพลังงานแสงอาทิตย์ นำคณะทำงานฯ ข้าราชการ เจ้าหน้าที่กระทรวงพลังงาน และสื่อมวลชน ลงพื้นที่จังหวัดแม่ฮ่องสอน ตรวจติดตามความคืบหน้าการแก้ไขปัญหาโครงการระบบสูบน้ำพลังงานพลังงานแสงอาทิตย์ ที่ได้รับจัดสรรงบประมาณจากกองทุนเพื่อส่งเสริมการอนุรักษ์พลังงาน เน้นย้ำว่า ทุกโครงการต้องแก้ไขให้แล้วเสร็จ เพื่อให้ประชาชนได้ใช้ประโยชน์จริง

นายสมบูรณ์ หน่อแก้ว รองปลัดกระทรวงพลังงาน ประธานคณะทำงานกำกับติดตามผลการดำเนินโครงการเทคโนโลยีพลังงานแสงอาทิตย์ เปิดเผยว่า ตามที่กระทรวงพลังงานมีการตั้งคณะทำงานกำกับและติดตามผลการดำเนินโครงการเทคโนโลยีพลังงานแสงอาทิตย์ เพื่อตรวจติดตามการดำเนินโครงการฯ ที่ได้รับการสนับสนุนจากงบประมาณกองทุนเพื่อส่งเสริมการอนุรักษ์พลังงานทั่วประเทศ ในช่วงปี 2557-2562 เพื่อให้ทุกโครงการฯ ดำเนินการให้เกิดประโยชน์ต่อประชาชนในพื้นที่ตามวัตถุประสงค์ของการจัดสรรงบประมาณอย่างแท้จริง

ในการลงพื้นที่จังหวัดแม่ฮ่องสอนครั้งนี้ เป็นการติดตามความคืบหน้าการแก้ไขปัญหาในส่วนโครงการของกองอำนวยการรักษาความมั่นคงภายใน ภาค 3 หรือ กอ.รมน.ภาค 3 ที่ได้รับงบประมาณสนับสนุนจากกองทุนเพื่อส่งเสริมการอนุรักษ์พลังงาน ผ่านกรมพัฒนาพลังงานทดแทนและอนุรักษ์พลังงาน หรือ พพ. ปี 2560 เพื่อติดตั้งระบบสูบน้ำพลังงานแสงอาทิตย์ และระบบกรองน้ำสำหรับอุปโภคขนาดกำลังการผลิตติดตั้ง 10 กิโลวัตต์ และระบบกรองน้ำสำหรับบริโภคขนาดกำลังการผลิตติดตั้ง 2 กิโลวัตต์ ในพื้นที่อำเภอแม่สะเรียง และอำเภอสบเมย จังหวัดแม่ฮ่องสอน และพื้นที่อำเภอท่าสองยาง จังหวัดตาก จำนวนรวม 20 แห่ง

ทั้งนี้ ภายหลังจากการดำเนินโครงการของ กอ.รมน.ภาค 3 แล้วเสร็จ ทาง พพ. ได้ดำเนินการตรวจสอบและประเมินผลโครงการฯ ตั้งแต่ช่วงเดือนสิงหาคม 2561-เดือนมิถุนายน 2562 จำนวน 3 ครั้ง พบว่าทั้ง 20 แห่ง สามารถใช้งานได้ตามปกติ และอยู่ภายใต้เงื่อนไขของการรับประกันของผู้รับจ้าง อย่างไรก็ตาม ภายหลังจากหมดช่วงรับประกัน (กันยายน 2563)  ได้มีการลงพื้นที่ตรวจสอบอีกครั้งในช่วงกุมภาพันธ์ 2564 ที่ผ่านมา พบว่าแต่ละแห่งประสบปัญหาเรื่องประสิทธิภาพการใช้งานของระบบฯ ตามสภาพการใช้งานที่บางแห่งระบบกรองน้ำอุปโภคใช้ได้หรือบางแห่งระบบกรองน้ำบริโภคใช้ได้ ซึ่งขณะนี้ ได้มีการแก้ไขให้สามารถใช้งานได้ทั้ง 2 ระบบแล้วทั้ง 18 แห่ง และอยู่ระหว่างการเร่งแก้ไขอีก 2 แห่ง ซึ่งมีกำหนดแล้วเสร็จภายในเดือนมีนาคมนี้ และหลังจากนั้น จะมีการส่งมอบให้กับองค์การบริหารส่วนตำบล (อบต.) ในพื้นที่ของโครงการเพื่อนำไปบริหารจัดการให้เกิดประโยชน์ต่อชุมชนในพื้นที่ ต่อไป โดยเจ้าของโครงการจะร่วมกับผู้รับจ้างและผู้เกี่ยวข้องจะดำเนินการฝึกอบรมการใช้งาน การดูแลบำรุงรักษาให้แก่ อบต.ผู้นำชุมชน และผู้ใช้งาน เพื่อให้สามารถบริหารจัดการและใช้งานระบบฯ ได้อย่างมีประสิทธิภาพและยั่งยืนต่อไป

“คณะทำงานฯ จะดำเนินการตรวจสอบและติดตามการแก้ไขปัญหาโครงการที่ไม่สามารถใช้งานได้ เมื่อทราบปัญหาแล้วจะได้ประสานหน่วยงานเจ้าของโครงการและหน่วยงานที่เกี่ยวข้องจัดทำแผนดำเนินการซ่อมบำรุงกลับสู่สภาพเดิมให้ประชาชนสามารถใช้โครงการต่างๆ ได้อย่างเต็มประสิทธิภาพ พร้อมทั้งจะทำหน้าที่ติดตามตรวจสอบโครงการทั้งหมดอีกกว่า 788 โครงการทั่วประเทศ เพื่อให้ประชาชนมีความมั่นใจว่างบประมาณจากกองทุนดังกล่าวจะก่อให้เกิดประโยชน์ได้อย่างแท้จริง ส่วนโครงการที่จะเกิดขึ้นในอนาคตนั้น การพิจารณาอนุมัติงบประมาณจากกองทุนเพื่อส่งเสริมการอนุรักษ์พลังงานจะมีความเข้มงวดมากขึ้น  โดยจะมีการตรวจสอบตั้งแต่คำขอโครงการที่จะต้องมีรายละเอียดงบประมาณ แผนงานการดำเนินงานและมีแผนงบประมาณการซ่อมบำรุงที่ชัดเจน คำนึงถึงความเหมาะสมของพื้นที่ มีความคุ้มค่า ตรงกับความต้องการของประชาชนในพื้นที่อีกด้วย”   รองปลัดกระทรวงพลังงาน กล่าว

ซักซ้อมแนวทางการรายงานผลการดำเนินงานแผนงาน/โครงการตามนโยบายสำคัญของกระทรวงพลังงาน ประจำปี 2564

ซักซ้อมแนวทางการรายงานผลการดำเนินงานแผนงาน/โครงการตามนโยบายสำคัญของกระทรวงพลังงาน ประจำปี 2564

วันที่ 19 มีนาคม 2564 เวลา 09.30 น. ณ ห้องประชุม 4 ชั้น 15 กระทรวงพลังงาน  และระบบประชุมทางไกล

ระเบียบวาระระบบติดตามผล Dashboard คลิกที่นี่

เอกสารประกอบการประชุมคณะกรรมการทบทวนโครงสร้าง บทบาท อำนาจ และภารกิจ ของกระทรวงพลังงาน ครั้งที่ 1/2564

ระเบียบวาระการประชุมฯ ครั้งที่ 1/2564   คลิกที่นี่

เอกสารประกอบการประชุมฯ   คลิกที่นี่

เอกสารประกอบการประชุมคณะอนุทำงานขับเคลื่อนประเด็น ปฏิรูปพลังงานด้านการบริหารจัดการพลังงาน ครั้งที่ 1/2564

1.เอกสารประกอบการประชุมคณะอนุทำงานขับเคลื่อนประเด็นปฏิรูปพลังงานด้านการบริหารจัดการพลังงาน ครั้งที่ 1/2564    คลิกที่นี่

 

2. PPT ประกอบการประชุม   คลิกที่นี่

 

3.โครงการศึกษาการบริหารจัดการและพัฒนาอุตสาหกรรมปิโตรเลียมนำร่องในพื้นที่มาบตาพุด  คลิกที่นี่

 

4.ปรับเล่มแผนปฏิรูปฯ ด้านบริการจัดการพลังงาน  คลิกที่นี่

การปรับปรุงแผนปฏิรูปประเทศด้านพลังงาน และแผนปฏิบัติการ (Action plan) (ไม่รวม Big Rock)

เล่มแผนปฏิรูป ไม่รวม Big rock 2564_ด้าน RE EE   คลิกที่นี่

เล่มแผนปฏิรูป ไม่รวม Big rock 2564_ด้านไฟฟ้า ปิโตรเลียม EV ESS   คลิกที่นี่

เล่มแผนปฏิรูป ไม่รวม Big rock 2564_ด้านบริหารจัดการพลังงาน  คลิกที่นี่

แบบรายงานผลการดำเนินงานตามแผนปฏิรูปประเทศด้านพลังงาน   คลิกที่นี่

ปลัดกระทรวงพลังงาน เป็นประธานกล่าวต้อนรับและเปิดการประชุม the 2nd Workshop on Smart Energy

เมื่อวันที่ 8 มีนาคม 2564 ปลัดกระทรวงพลังงานได้ให้เกียรติเป็นประธานกล่าวต้อนรับและเปิดการประชุม the 2nd Workshop on Smart Energy ในรูปแบบการประชุมออนไลน์ รวมถึงยังได้รับเกียรติจาก Mr. TAKETANI Atsushi (นายอัทสึชิ ทาเคทานิ) ประธาน JETRO กรุงเทพฯ ให้เกียรติกล่าวต้อนรับและเปิดการประชุมดังล่าวด้วย ในโอกาสนี้ ปลัดกระทรวงพลังงานได้ร่วมรับฟังการบรรยายแลกเปลี่ยนข้อมูลด้านการพัฒนาพลังงานอัจฉริยะหรือ Smart Energy ในประเทศไทย จากวิทยากรและผู้เชี่ยวชาญด้านพลังงานของไทยและญี่ปุ่น

การประชุม the 2nd Workshop on Smart Energy จัดโดยองค์การส่งเสริมการค้าของประเทศญี่ปุ่น หรือ JETRO กรุงเทพฯ โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อเป็นเวทีที่เปิดโอกาสให้บริษัทด้านการพัฒนาพลังงานอัจฉริยะของญี่ปุ่นได้รับทราบนโยบายและแนวทางในการดำเนินความร่วมมือในการพัฒนาพลังงานอัจฉริยะในประเทศไทย รวมถึงเป็นโอกาสให้บริษัทพลังงานของไทยได้แลกเปลี่ยนเรียนรู้เทคโนโลยีพลังงานของประเทศญี่ปุ่นเพื่อเป็นการเสริมสร้างความมั่นคงทางพลังงานให้กับประเทศและส่งเสริมความร่วมมือด้านพลังงานระหว่างไทยและญี่ปุ่นให้เกิดผลเป็นรูปธรรมมากยิ่งขึ้น

ซึ่งการประชุมในครั้งนี้ เป็นผลสืบเนื่องมากจากการประชุม Workshop on Smart Energy เมื่อปี 2562 ที่ผ่านมา โดยจะช่วยต่อยอดการดำเนินกิจกรรมภายใต้โครงการความร่วมมือด้าน Smart Energy ของทั้งสองประเทศต่อไป

การประชุมได้มีการหารือแลกเปลี่ยนองค์ความรู้ เทคโนโลยี ผลการศึกษาวิจัย และการพัฒนาเทคโนโลยีพลังงานในด้านต่าง ๆ อาทิ การพัฒนายานยนต์ไฟฟ้า (Electric Vehicles: EV) ระบบการกักเก็บพลังงาน การใช้ประโยชน์จากไฮโดรเจน การนำปัญญาประดิษฐ์ (AI) และเทคโนโลยีต่าง ๆ มาช่วยในการเสริมสร้างประสิทธิภาพด้านพลังงาน รวมถึงการเชื่อมโยงด้านไฟฟ้าในระดับภูมิภาค เป็นต้น ซึ่งได้รับเกียรติจากวิทยากรผู้ทรงคุณวุฒิจากบริษัทด้านการพัฒนาเทคโนโลยีพลังงานของทั้งสองประเทศ รวมถึงสถานศึกษาชั้นนำของไทย อาทิ การไฟฟ้าผ่ายผลิตแห่งประเทศไทย สถาบันวิทยสิริเมธี สถาบันเทคโนโลยีพลังงาน สถาบันวิจัยแห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ Mitsubishi Motors Corporation, JERA, Kansai Electric Power ฯลฯ ร่วมบรรยายในการประชุมดังกล่าวด้วย

นอกจากนี้ ยังมีแทนจากภาครัฐและเอกชน สถานศึกษา สถาบันการเงิน รวมถึงบริษัทด้านการพัฒนาพลังงานของทั้งสองประเทศ สนใจเข้าร่วมการประชุมมากกว่า 300 หน่วยงาน

กระทรวงพลังงาน ร่วมกับ กกพ. ส่งมอบการติดตั้งระบบผลิตไฟฟ้าจากพลังงานแสงอาทิตย์ ให้กับ 8 โรงพยาบาลชุมชน

“พลังงาน” จับมือ “สาธารณสุข” “มูลนิธิแพทย์ชนบท” นำร่อง 8 โรงพยาบาลไฟจากฟ้าสนับสนุนการใช้พลังงานสะอาด เพื่อคุณภาพชีวิตที่ดีขึ้นของทุกคน ตั้งเป้า 77 โรงพยาบาลชุมชน 77 จังหวัดทั่วประเทศ

คณะกรรมการกำกับกิจการพลังงาน ร่วมกับ กระทรวงพลังงาน กระทรวงสาธารณสุข มูลนิธิแพทย์ชนบท และภาคีเครือข่าย นำร่องส่งมอบการติดตั้งระบบผลิตไฟฟ้าจากพลังงานแสงอาทิตย์กำลังการผลิตโรงพยาบาลละ 100 กิโลวัตต์ ให้กับ 8 โรงพยาบาลชุมชน ในพื้นที่ 8 จังหวัด ภายใต้กิจกรรม“101 วัน จากแสงแรกสู่โรงพยาบาลไฟจากฟ้า” ในแคมเปญ “Clean Energy for Life : ใช้พลังงานสะอาด เพื่อคุณภาพชีวิตที่ดีขึ้นของทุกคน” โดยได้รับเกียรติจากรองนายกรัฐมนตรี และรัฐมนตรีว่าการกระทรวงพลังงาน “สุพัฒนพงษ์ พันธ์มีเชาว์” พร้อมด้วย ประธานกรรมการกำกับกิจการพลังงาน (กกพ.) “เสมอใจ ศุขสุเมฆ” ร่วมเป็นประธานส่งมอบ และได้รับเกียรติจากรองนายกรัฐมนตรี และรัฐมนตรีว่าการกระทรวงสาธารณสุข “อนุทิน ชาญวีรกุล” พร้อมด้วย นายแพทย์สุภัทร ฮาสุวรรณกิจ กรรมการมูลนิธิแพทย์ชนบท และตัวแทนจาก 8 โรงพยาบาล เป็นผู้รับมอบ ณ โรงพยาบาลไทรน้อย จังหวัดนนทบุรี

นายเสมอใจ ศุขสุเมฆ ประธานกรรมการกำกับกิจการพลังงาน (กกพ.) เปิดเผยว่า แคมเปญ “Clean Energy for Life ใช้พลังงานสะอาด เพื่อคุณภาพชีวิตที่ดีขึ้นของทุกคน” เกิดขึ้นจากการดำเนินงานตาม พ.ร.บ.การประกอบกิจการพลังงาน พ.ศ.2550 ตามมาตรา 97 (5) เพื่อต้องการสร้างความตระหนักรู้เรื่องพลังงานสะอาดให้กับประชาชน และสร้างแรงบันดาลใจให้ทุกคนหันมาตระหนักเรื่องประโยชน์ของการใช้พลังงานสะอาดในชีวิตประจำวันให้มากขึ้น ซึ่งสำนักงานคณะกรรมการกำกับกิจการพลังงาน หรือ สำนักงาน กกพ. โดยกองทุนพัฒนาไฟฟ้า ได้ดำเนินการต่อเนื่องมาตั้งแต่ปี 2562 และได้ต่อยอดมาสู่การสร้างโอกาสให้ทุกคนได้เข้าถึงพลังงานสะอาด ภายใต้ความร่วมมือระหว่าง กกพ. กระทรวงพลังงาน กระทรวงสาธารณสุข และมูลนิธิแพทย์ชนบท ผ่านกิจกรรม “101 วัน จากแสงแรกสู่โรงพยาบาลไฟจากฟ้า ซึ่งจะนำร่องการติดตั้งระบบผลิตไฟฟ้าจากพลังงานแสงอาทิตย์ให้กับ 8 โรงพยาบาล ในพื้นที่ 8 จังหวัด ได้แก่ โรงพยาบาลไทรน้อย จังหวัดนนทบุรี โรงพยาบาลบางบ่อ จังหวัดสมุทรปราการ โรงพยาบาลอู่ทอง จังหวัดสุพรรณบุรี โรงพยาบาลขุนหาญ จังหวัดศรีสะเกษ โรงพยาบาลย่านตาขาว จังหวัดตรัง โรงพยาบาลหลังสวน จังหวัดชุมพร โรงพยาบาลบ้านบึง จังหวัดชลบุรี และโรงพยาบาลปลวกแดง จังหวัดระยอง โดยระบบผลิตไฟฟ้าจากโซลาร์เซลล์ที่มีกำลังผลิต 100 กิโลวัตต์ จะสามารถช่วยลดภาระค่าไฟฟ้าของโรงพยาบาลได้ถึงเดือนละประมาณ 60,000 บาท ดังนั้นในระยะเวลา 1 ปี โรงพยาบาลจะสามารถลดภาระค่าไฟฟ้าได้ราว 720,000 บาท โดยแผงโซลาร์เซลล์จะมีอายุการใช้งานประมาณ 25 ปี จึงสามารถช่วยโรงพยาบาลลดภาระค่าไฟฟ้าได้ถึงประมาณ 18 ล้านบาท  ทั้งนี้ โครงการดังกล่าวมีเป้าหมายจะดำเนินการทั้งหมด 77 โรงพยาบาล 77 จังหวัดทั่วประเทศ ซึ่งในอนาคตอาจจะมีการขยายไปพื้นที่อื่นๆ เช่น ชุมชน และ โรงเรียน ในพื้นที่ห่างไกล เพื่อให้ทุกคนได้เข้าถึงการใช้พลังงานสะอาดเพื่อคุณภาพชีวิตที่ดีขึ้นกันตามวัตถุประสงค์ของโครงการต่อไป

นายสุพัฒนพงษ์ พันธ์มีเชาว์ รองนายกรัฐมนตรี และรัฐมนตรีว่าการกระทรวงพลังงาน กล่าวว่า ปัจจุบันประเทศต่างๆ ทั่วโลกต่างให้ความสำคัญต่อพลังงานสะอาด และมีความมุ่งมั่นที่จะร่วมมือกันลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจก ตามความตกลงปารีส หรือ COP 21  ที่มีเป้าหมายจะรักษาระดับอุณหภูมิเฉลี่ยโลกให้สูงขึ้นไม่เกิน 2 องศาเซลเซียส เมื่อเทียบกับอุณหภูมิโลกในยุคก่อนปฏิวัติอุตสาหกรรม สำหรับของประเทศไทย ตาม NDC (Nationally Determined Contribution) ที่เสนอไปนั้น กำหนดเป้าหมายการลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจกให้ได้ร้อยละ 20-25 หรือจำนวน 111-139 ล้านตันคาร์บอนไดออกไซด์เทียบเท่า ภายในปี 2573 ซึ่งในปัจจุบันประเทศไทยได้มีการขับเคลื่อนนโยบายด้านเศรษฐกิจและด้านพลังงานให้ตอบโจทย์ทิศทางของโลกและข้อตกลงดังกล่าวอย่างชัดเจน ทั้งการขับเคลื่อนเศรษฐกิจผ่านโมเดล BCG ที่มุ่งเน้นการพัฒนาเศรษฐกิจใน 3 ด้าน คือ “ด้านเศรษฐกิจชีวภาพ-เศรษฐกิจหมุนเวียน-เศรษฐกิจสีเขียว” และตามแผนพัฒนากำลังผลิตไฟฟ้าของประเทศไทย พ.ศ. 2561 – 2580 ก็ได้กำหนดเป้าหมายกำลังการผลิตไฟฟ้าจากพลังงานทดแทนให้ได้ร้อยละ 37 ภายในปี พ.ศ. 2580 โดยจะสนับสนุนการผลิตไฟฟ้าจากพลังงานแสงอาทิตย์ และส่งเสริมยานยนต์ไฟฟ้าในประเทศ เพื่อเพิ่มการเข้าถึงพลังงานสะอาด ช่วยลดมลพิษทางอากาศ ลดการปล่อยก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ เพื่อนำไปสู่ความมั่นคงด้านพลังงานอย่างยั่งยืนให้กับประเทศ และที่สำคัญเกิดพลังความร่วมมือระหว่างภาครัฐและภาคประชาชนที่สอดประสานกับทิศทางนโยบายเศรษฐกิจสีเขียวของรัฐบาลและนโยบายการส่งเสริมการใช้พลังงานทดแทนของกระทรวงพลังงานเพื่อนำไปสู่เป้าหมายการลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจกตามข้อตกลงปารีสร่วมกันอย่างเป็นรูปธรรมอีกด้วย

นายอนุทิน ชาญวีรกุล รองนายกรัฐมนตรี และรัฐมนตรีว่าการกระทรวงสาธารณสุข กล่าวว่า ในแต่ละปีโรงพยาบาลมีภาระค่าใช้จ่ายด้านพลังงานโดยเฉพาะค่าไฟฟ้าจำนวนมาก ซึ่งโครงการความร่วมมือในครั้งนี้ นับเป็นโครงการที่เป็นประโยชน์อย่างมากในการช่วยลดภาระค่าใช้จ่ายด้านไฟฟ้าให้กับโรงพยาบาล และสามารถนำงบประมาณรายจ่ายค่าไฟฟ้าที่เหลือจ่ายจากการจ่ายค่าไฟฟ้าน้อยลงไปใช้ประโยชน์ด้านอื่นๆ เช่น การซื้ออุปกรณ์การแพทย์ จัดหาเวชภัณฑ์ และการพัฒนาคุณภาพชีวิตของบุคลากรทางการแพทย์ และสนับสนุนระบบสาธารณสุขของประเทศให้มีความพร้อมทั้งต่อสถานการณ์โควิด-19 และการบริการทั่วไปให้กับประชาชน ให้มีศักยภาพเพิ่มมากขึ้น อย่างเช่น โรงพยาบาลไทรน้อยซึ่งเป็นหนึ่งใน 8 โรงพยาบาลนำร่องที่ได้รับการสนับสนุนในครั้งนี้ ได้มีเป้าหมายจะนำเงินส่วนต่างของค่าไฟฟ้า ไปดำเนินการจัดหาเตียงไฟฟ้ารองรับผู้ป่วยติดเตียง เพื่อพัฒนาคุณภาพชีวิตของผู้ป่วยให้ดีขึ้น ซึ่งในฐานะรัฐมนตรีว่าการกระทรวงสาธารณสุข ก็ขอขอบคุณโครงการดีๆ จากสำนักงาน กกพ. ที่สร้างโอกาสความร่วมมือครั้งนี้ขึ้นมาเพื่อช่วยสนับสนุนระบบสาธารณสุขของประเทศในครั้งนี้

รัฐมนตรีว่าการกระทรวงพลังงาน เป็นประธานในพิธีประกาศเจตนารมณ์การจัดการพลังงาน คุณภาพอากาศ และสิ่งแวดล้อม “Breathe our Future รวมพลังเพื่อลมหายใจแห่งอนาคต”

วันนี้ (4 มีนาคม 2564) นายสุพัฒนพงษ์ พันธ์มีเชาว์ รองนายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรีว่าการกระทรวงพลังงาน เป็นประธานในพิธีประกาศเจตนารมณ์การจัดการพลังงาน คุณภาพอากาศ และสิ่งแวดล้อม “Breathe our Future รวมพลังเพื่อลมหายใจแห่งอนาคต” พร้อมด้วย ศ.ดร.ธนวัฒน์ จารุพงษ์สกุล ประธานคณะกรรมการจัดทำยุทธศาสตร์ชาติ ด้านการสร้างการเติบโตบนคุณภาพชีวิตที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม นายอรรถพล เจริญชันษา อธิบดีกรมควบคุมมลพิษ ดร.ปกรณ์ อาภาพันธุ์ ผู้อำนวยการสำนักงานพัฒนาเทคโนโลยีอวกาศและภูมิสารสนเทศ (องค์การมหาชน) หรือ GISTDA ศ.ดร.สุพจน์ เตชวรสินสกุล คณบดีคณะวิศวกรรมศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ศ.ดร.พิสุทธิ์ เพียรมนกุล รองคณบดีคณะวิศวกรรมศาสตร์ จุฬาฯ และนายบุญญนิตย์ วงศ์รักมิตร ผู้ว่าการการไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทย (กฟผ.) ณ ห้องออดิทอเรียม อาคาร 50 ปี กฟผ. สำนักงานใหญ่ อ.บางกรวย จ.นนทบุรี

ในโอกาสนี้ นายสุพัฒนพงษ์ พันธ์มีเชาว์ รองนายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรีว่าการกระทรวงพลังงาน กล่าวปาฐกถาพิเศษ “พลังงานและอากาศ โอกาสชีวิตที่ยั่งยืน” ว่า พลังงานคืออนาคตและโอกาสที่ช่วยขับเคลื่อนเศรษฐกิจทำให้เกิดการพัฒนาอย่างไม่หยุดยั้ง เป็นโอกาสต่อยอดในการสร้างคุณภาพชีวิตที่ดี ดังนั้น สิ่งที่กระทรวงพลังงาน และ กฟผ. ตระหนักและให้ความสำคัญในการขับเคลื่อนเศรษฐกิจจึงไม่ใช่แค่ความมั่นคงทางพลังงานไฟฟ้าเท่านั้น แต่ยังรวมถึงการสร้างโอกาสในการใช้ชีวิตให้ครบทุกมิติและสร้างความสุขให้ชีวิตคนไทย ซึ่งที่ผ่านมาคนไทยเคยร่วมมือกันสร้างก้าวย่างที่สำคัญในการอนุรักษ์พลังงานผ่านโครงการฉลากประหยัดไฟฟ้าเบอร์ 5 และในครั้งนี้จึงอยากเชิญชวนคนไทยให้มาร่วมมือกันอีกครั้งเพื่อสร้างพลังงานและอากาศที่บริสุทธิ์ด้วยกัน

ด้านนายบุญญนิตย์ วงศ์รักมิตร ผู้ว่าการ กฟผ. กล่าวว่า จากอดีตถึงปัจจุบัน กฟผ. มุ่งมั่นสร้างพลังแห่งความสุข ทั้งการดูแลความมั่นคงด้านพลังงานไฟฟ้าของประเทศที่ถือเป็นฟันเฟืองสำคัญในการขับเคลื่อนเศรษฐกิจของประเทศ การดูแลชุมชนให้อยู่ดีมีสุข รวมถึงการดูแลคุณภาพอากาศและสิ่งแวดล้อมผ่านเทคโนโลยีการผลิตไฟฟ้าที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม และส่งเสริมให้มีการใช้ไฟฟ้าอย่างมีประสิทธิภาพผ่านโครงการฉลากประหยัดไฟฟ้าเบอร์ 5 และโครงการห้องเรียนสีเขียว รวมทั้งดูแลสิ่งแวดล้อมผ่านโครงการปลูกป่า รักษาและลดการเผาป่า โดยจะต่อยอดการดำเนินงานร่วมกับภาคีเครือข่ายให้เป็นรูปธรรมมากขึ้นภายใต้แนวคิด EGAT Air TIME ประกอบด้วย
– T (Tree) การเพิ่มพื้นที่สีเขียวเพื่อเพิ่มการดูดซับอากาศเสีย สร้างอากาศบริสุทธิ์ ผ่านโครงการปลูกป่า สร้างฝาย รวมไปถึงการดำเนินงานจิตอาสาป้องกันไฟป่า ลดการเผาป่า
– I (Innovation) การพัฒนาต่อยอดนวัตกรรมการจัดการคุณภาพอากาศ ส่งเสริมเทคโนโลยีด้านการผลิตและใช้พลังงานสะอาด อาทิ โครงการโซลาร์ลอยน้ำ ยานยนต์ไฟฟ้า
– M (Monitoring) ระบบตรวจวัดและแสดงผลคุณภาพอากาศด้วยแอปพลิเคชันรูปแบบต่างๆ เพื่อให้คนรู้และตระหนักนำไปสู่การปรับพฤติกรรม ด้วยการติดตั้งจุดตรวจวัดคุณภาพอากาศในพื้นที่ชุมชนรอบ กฟผ. และเครือข่ายห้องเรียนสีเขียว
– E (Education & Engagement) การส่งเสริมองค์ความรู้ สร้างทัศนคติในการจัดการพลังงาน คุณภาพอากาศและสิ่งแวดล้อม ผ่านโครงการห้องเรียนสีเขียว ศูนย์เรียนรู้ กฟผ. รวมทั้งจัดกิจกรรมเพื่อสร้างการมีส่วนร่วมกับทุกภาคส่วน
โดยในปี 2564 กฟผ. มีแผนการติดตั้งจุดตรวจวัดฝุ่นละอองจำนวน 200 จุด ในพื้นที่ชุมชนรอบโรงไฟฟ้า เขต เขื่อนของ กฟผ. เครือข่ายห้องเรียนสีเขียว และสถานศึกษาในสังกัดสำนักงานคณะกรรมการการอาชีวศึกษา พร้อมทั้งจัดกิจกรรมชาเลนจ์ “EGATลดละรอดปลอดฝุ่น”ชวนคนไทยแชร์ไอเดียลดฝุ่น พร้อมติดแฮชแท็ก #EGATลดละรอดปลอดฝุ่น #รวมพลังเพื่อลมหายใจแห่งอนาคต #EGATforALL ตั้งแต่ 12 – 30 มีนาคม 2564 ผ่านช่องทาง Facebook และ Instagram พร้อมส่งคำท้าไปยังเพื่อนอีก 5 คน เพื่อรวมพลังคนไทยร่วมรณรงค์สร้างอากาศบริสุทธิ์ด้วยกัน

นายอรรถพล เจริญชันษา อธิบดีกรมควบคุมมลพิษ กล่าวว่า ปัญหาสิ่งแวดล้อมเป็นปัญหาที่สำคัญและส่งผลกระทบต่อการดำเนินชีวิตของประชาชนในปัจจุบัน โดยเฉพาะอย่างยิ่งปัญหาคุณภาพอากาศ และฝุ่น PM-2.5 ซึ่งพบแนวโน้มการเพิ่มสูงขึ้นในช่วงหลายปีที่ผ่านมา สำหรับการลงนามบันทึกความร่วมมือในวันนี้จะเป็นการบูรณาการในด้านการพัฒนาระบบฐานข้อมูล เพื่อสร้างแบบจำลองทางคณิตศาสตร์ในการคาดการณ์มลพิษทางอากาศ และสร้างเครื่องมือสำหรับให้บริการข้อมูลในการติดตามสถานการณ์มลพิษทางอากาศ เพื่อแจ้งเตือนให้กับประชาชนได้รับทราบสถานการณ์ปัญหามลพิษทางอากาศ ซึ่งกรมควบคุมมลพิษ มีความยินดียิ่งที่ได้ร่วมลงนามความร่วมมือในวันนี้ และพร้อมสนับสนุนข้อมูลคุณภาพอากาศจากสถานีตรวจวัดคุณภาพอากาศของกรมควบคุมมลพิษ และการดำเนินงานในมิติต่าง ๆ เพื่อแก้ไขปัญหาฝุ่น PM-2.5 ให้พี่น้องประชาชน

ดร.ปกรณ์ อาภาพันธุ์ ผู้อำนวยการสำนักงานพัฒนาเทคโนโลยีอวกาศและภูมิสารสนเทศ (องค์การมหาชน) กล่าวว่า GISTDA ให้ความสำคัญกับการพัฒนาแบบจำลองในการพยากรณ์คุณภาพอากาศ และการดำเนินงานที่เกี่ยวข้องกับ PM-2.5 ตามภารกิจซึ่งมุ่งเน้นให้เกิดคุณค่าแก่สังคม โดยการใช้ข้อมูลภาพจากดาวเทียม และการร่วมมือกันครั้งนี้ถือเป็นความท้าทายที่ทุกหน่วยงานจะร่วมกันลดจุดอ่อน เพิ่มจุดแข็ง สร้างความเชื่อมั่นให้กับประชาชนในการรับรู้สถานการณ์ การเฝ้าระวัง เตรียมตัวและพร้อมรับมือกับสถานการณ์ได้อย่างมีประสิทธิภาพมากขึ้น ทั้งนี้ GISTDA จะร่วมมือกับพันธมิตรเครือข่ายที่รับผิดชอบ เพื่อยกระดับคุณภาพชีวิตและสุขภาพของประชาชนให้ดียิ่งขึ้นด้วยนวัตกรรมทางเทคโนโลยีที่เหมาะสมและสามารถเข้าถึงได้โดยง่าย

ศ.ดร.สุพจน์ เตชวรสินสกุล คณบดีคณะวิศวกรรมศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย กล่าวว่า ทางจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยได้นำองค์ความรู้ด้านนวัตกรรมมาใช้ให้เกิดประโยชน์สูงสุดแก่สังคมเพื่อความยั่งยืน โดยจะร่วมศึกษา ออกแบบ และพัฒนาแบบจำลองการวิเคราะห์และการคาดการณ์ปริมาณฝุ่นละอองขนาดเล็ก (PM-2.5) รวมถึงประยุกต์ใช้ข้อมูลและการคาดการณ์ฝุ่น PM-2.5 ร่วมกับข้อมูลดาวเทียม เทคโนโลยีภูมิสารสนเทศ และเทคโนโลยี Machine Learning ตลอดจนเชื่อมโยงข้อมูลปริมาณฝุ่นละอองและคุณภาพอากาศเข้าสู่ระบบฐานข้อมูลเปิด (open data) การแสดงผลผ่านเว็บไซต์และแอปพลิเคชัน เพื่อรายงานผลคุณภาพอากาศและการแจ้งเตือนอัตโนมัติกรณีเข้าพื้นที่ที่คุณภาพอากาศเกินค่ามาตรฐาน

รองปลัดกระทรวงพลังงาน เป็นประธานการประชุม ITA

วันที่ 3 มีนาคม 2564 นายสมบูรณ์ หน่อแก้ว รองปลัดกระทรวงพลังงาน หัวหน้าศูนย์ปฏิบัติการต่อต้านการทุจริต (ศปท.) เป็นประธานในการประชุมเพื่อชี้แจงทำความเข้าใจและรับทราบปัญหาอุปสรรคในการประเมินคุณธรรมและความโปร่งใสในการดำเนินงานของหน่วยงานภาครัฐ (Integrity and Transparency Assessment: ITA) ประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2564 “More Open, more transparent ยิ่งเปิดเผย ยิ่งโปร่งใส” ของหน่วยงานระดับภูมิภาค ผ่านระบบ Video Conference ร่วมกับพลังงานจังหวัด ผู้แทนจากสำนักงานพลังงานจังหวัดทั้ง 76 จังหวัด รวมทั้งเจ้าหน้าที่ ศปท. และเจ้าหน้าที่ศูนย์เทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร (ศทส.) โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อชี้แจงถึงที่มาและความสำคัญ รวมถึงหัวข้อของการประเมิน ITA ประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2564 ที่จะต้องมีการดำเนินการประสานข้อมูลร่วมกันระหว่างส่วนกลางและส่วนภูมิภาคต่อไป

กระทรวงพลังงานจัดงานประกวดวาดภาพ ปีที่ 8 หัวข้อ “หลงรักพลังงาน”

กระทรวงพลังงานจัดงานประกวดวาดภาพ ปีที่ 8 ในหัวข้อ “หลงรักพลังงาน” ผู้ที่สนใจสามารถดาวน์โหลดกติกาและใบสมัครได้ที่ Download

รองปลัดกระทรวงพลังงาน ร่วมการประชุมเจ้าหน้าที่อาวุโสอาเซียนด้านพลังงานสมัยพิเศษ และการประชุมคณะกรรมการบริหารศูนย์พลังงานอาเซียน ครั้งที่ 23

เมื่อวันที่ 21-22 มกราคม 2564 ปลัดกระทรวงพลังงานได้มอบหมายให้นางเปรมฤทัย วินัยแพทย์ รองปลัดกระทรวงพลังงาน เป็นหัวหน้าคณะผู้แทนไทยพร้อมด้วยหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง เข้าร่วมการประชุมเจ้าหน้าที่อาวุโสอาเซียนด้านพลังงาน สมัยพิเศษ (Special Senior Officials Meeting on Energy: Special SOME) และการประชุมคณะกรรมการบริหารศูนย์พลังงานอาเซียน ครั้งที่ 23 (23rd ACE Governing Council) โดยมีวัตถุประสงค์ของการประชุมเพื่อร่วมให้ข้อคิดเห็น และข้อเสนอแนะเกี่ยวกับการดำเนินความร่วมมือด้านพลังงานภายใต้กรอบอาเซียน เพื่อนำไปสู่การเสริมสร้างความมั่นคงทางพลังงาน และการเจริญเติบโตทางเศรษฐกิจในภูมิภาคอาเซียนต่อไป

โดยในการประชุมครั้งนี้ เวียดนามในฐานะประธานการประชุม บรูไนในฐานะรองประธานฯ และประเทศสมาชิกได้ร่วมกันพิจารณาการขับเคลื่อนแผนปฏิบัติการความร่วมมือด้านพลังงานอาเซียน ระยะที่ 2 พ.ศ. 2564-2568 (APAEC Phase II: 2021-2025) ใน 7 สาขา ประกอบด้วย ความร่วมมือด้านแผนพลังงานภูมิภาค การเชื่อมโยงไฟฟ้าอาเซียน การเชื่อมโยงท่อก๊าซอาเซียน พลังงานทดแทน การใช้พลังงานอย่างมีประสิทธิภาพและการอนุรักษ์พลังงาน ความร่วมมือด้านเทคโนโลยีถ่านหินสะอาด และความร่วมมือด้านพลังงานนิวเคลียร์ เพื่อให้บรรลุตามเป้าหมายเพื่อความมั่นคงและยั่งยืนด้านพลังงานของอาเซียนต่อไป

ปลัดกระทรวงพลังงาน สั่งตรวจสอบย้อนหลังโครงการโซลาร์เซลล์พื้นที่ห่างไกลทุกพื้นที่

ปลัดกระทรวงพลังงานสั่งตรวจสอบย้อนหลังโครงการโซลาร์เซลล์พื้นที่ห่างไกลทุกพื้นที่ ย้ำโครงการใหม่ที่ได้รับการสนับสนุนจากกองทุนอนุรักษ์ฯ จะต้องชัดเจน โปร่งใส สามารถดำเนินการเกิดประสิทธิภาพอย่างแท้จริง
     ​นายกุลิศ สมบัติศิริ ปลัดกระทรวงพลังงาน เปิดเผยหลังการประชุมคณะอนุกรรมการกองทุนเพื่อส่งเสริมการอนุรักษ์พลังงาน ปีงบประมาณ 2564 (ครั้งที่ 2) ว่า ตามที่มีกระแสข่าวโครงการที่ได้รับการสนับสนุนงบประมาณจากกองทุนเพื่อส่งเสริมการอนุรักษ์พลังงาน ที่ดำเนินโครงการติดตั้งโซลาร์เซลล์ในพื้นที่ห่างไกล หลายแห่งไม่สามารถดำเนินการได้จริงนั้น ขณะนี้ ได้มีการสั่งการให้หน่วยงานที่รับผิดชอบติดตามกับหน่วยงานที่ขอรับการสนับสนุนจากกองทุนฯ เร่งดำเนินการตรวจสอบย้อนหลังในทุกพื้นที่ ทุกโครงการ ที่ได้รับงบประมาณสนับสนุน เพื่อเร่งหาสาเหตุที่เกิดขึ้นว่าเกิดจากปัญหาใด หรือ มีข้อจำกัดในการดำเนินงานอย่างไร และสาเหตุใดที่บางโครงการไม่สามารถใช้งานได้จริงเกิดจากอะไร ซึ่งเบื้องต้นบางพื้นที่ได้จัดส่งรายงานข้อมูลเข้ามาบ้างแล้ว และได้มีสั่งการให้เจ้าหน้าที่ฝ่ายตรวจสอบ และประเมินผล ลงพื้นที่ตรวจสอบและติดตามในทันที เพื่อให้สามารถหาแนวทางแก้ไขให้ทุกโครงการสามารถดำเนินการให้เกิดประโยชน์ต่อประชาชนโดยเร็วที่สุด
​      “ในการประชุมคณะอนุกรรมการกองทุนฯ วันนี้ ผมได้เน้นย้ำว่าจะต้องหาเร่งหาสาเหตุที่เกิดขึ้น และดำเนินการแก้ไขอย่างเร็วที่สุด เพราะเป้าหมายของงบกองทุนฯ คือสนับสนุนโครงการและจะต้องดำเนินการเพื่อให้เกิดประโยชน์สุงสุดต่อประชาชน ซึ่งจะเร่งให้มีความชัดเจน โดยเร็วที่สุด ส่วนโครงการใหม่ที่ได้รับงบประมาณสนับสนุนได้เน้นย้ำให้มีการตรวจสอบให้ครอบคลุมทุกพื้นที่ ทุกโครงการ อย่างเข้มงวดเช่นกัน เพื่อให้เกิดการกระตุ้นเศรษฐกิจในพื้นที่ มีการจ้างงาน สร้างอาชีพในพื้นที่ โดยคณะอนุกรรมการฯได้เห็นชอบร่วมกันว่าทุกโครงการที่ขอรับงบประมาณสนับสนุน จะต้องมีแผนงานที่ชัดเจน ตอบสนองความต้องการของชุมชน และเป็นโครงการที่ชาวบ้านได้รับประโยชน์เต็มที่ มีราคากลางที่ตรวจสอบได้ รวมถึงจะต้องมีความโปร่งใสในการอนุมัติโครงการโดยไม่ยึดติดกับหน่วยงานใด ที่สำคัญจะต้องมีระบบการตรวจสอบที่ชัดเจน เพื่อให้เกิดการใช้งบประมาณอย่างมีประสิทธิภาพ และสำหรับโครงการเศรษฐกิจฐานราก ที่จะกระจายเงินให้จังหวัดทั่วประเทศ จะพิจารณาให้ความสำคัญในด้านความพร้อม การพัฒนาและการซ่อมแซมบำรุงรักษา เพื่อให้ประชาชนได้ประโยชน์อย่างยั่งยืนและให้มีการรายงานผลต่อจังหวัดทุกปี จนกว่าจะหมดอายุการใช้งาน” ปลัดกระทรวงพลังงาน กล่าว

ปลัดกระทรวงพลังงาน สั่งเข้มระบบตรวจสอบ ติดตาม และประเมินผลทุกโครงการฯ ยื่นของบกองทุนฯ

“ปลัดพลังงาน” สั่งเข้มระบบตรวจสอบ ติดตาม และประเมินผลทุกโครงการฯ ยื่นของบกองทุนฯ ย้ำ ต้องให้ประชาชนได้ใช้จริง

นายกุลิศ สมบัติศิริ ปลัดกระทรวงพลังงาน เปิดเผยว่า ตามที่มีกระแสข่าวโครงการระบบผลิตไฟฟ้าด้วยพลังงานแสงอาทิตย์ ในพื้นที่อำเภออมก๋อย จังหวัดเชียงใหม่ ซึ่งเป็นโครงการที่ได้รับงบประมาณสนับสนุนจากกองทุนเพื่อการส่งเสริมการอนุรักษ์พลังงาน ปี 2562 นั้น ขณะนี้ ทางกระทรวงพลังงาน ได้มีการสั่งการให้หน่วยงานที่เกี่ยวข้องเข้าตรวจสอบโครงการดังกล่าว และโครงการอื่นๆ ในลักษณะเดียวกัน ครอบคลุมตั้งแต่การดำเนินการตรวจรับและส่งมอบให้กับหน่วยงานที่รับผิดในการบริหารจัดการ เพื่อร่วมบูรณาการแก้ไขให้โครงการต่างๆ สามารถดำเนินการให้เกิดประโยชน์ต่อประชาชนตามเป้าหมายโดยเร็วที่สุด
กระทรวงพลังงานได้รับรายงานจาก สำนักงานกองทุนเพื่อส่งเสริมการอนุรักษ์พลังงาน ว่า ปัจจุบัน โครงการส่งเสริมการใช้พลังงานทดแทนในพื้นที่ห่างไกลทุรกันดาร อำเภออมก๋อย จังหวัดเชียงใหม่ ที่ดำเนินการโดยกองอำนวยการรักษาความมั่นคงภายในภาค 3 โครงการดังกล่าว ทาง กอ.รมน. ได้ส่งคำขอโครงการจำนวน 54,972,750 บาท ซึ่งสำนักงานกองทุนเพื่อส่งเสริมการอนุรักษ์พลังงาน ได้พิจารณามาตรฐานราคาจากหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง และราคากลางจากบัญชีราคามาตรฐานครุภัณฑ์ สำนักงบประมาณ ธันวาคม 2561 จึงได้อนุมัติงบประมาณที่ 45,205,000 บาท
ส่วนสถานะโครงการในปัจจุบันนี้ ส.กทอ แจ้งว่า อยู่ระหว่างการตรวจสอบรายงานจาก กอ.รมน. ว่าครบถ้วน ถูกต้องตามหนังสือยืนยันหรือไม่ และยังไม่มีการอนุมัติจ่ายงบประมาณงวดสุดท้ายจำนวน 18,082,000 บาท
“ นอกจากนี้ ผมยังได้กำชับให้หน่วยงานที่เกี่ยวข้อง ทั้ง สำนักงานกองทุนเพื่อส่งเสริมการอนุรักษ์พลังงาน และพลังงานจังหวัดทุกจังหวัด มีการตรวจสอบการดำเนินโครงการในพื้นที่จริงอย่างเข้มงวด และตั้งแต่ปี 2564 จะมีการตั้งคณะอนุกรรมการตรวจสอบทุกขั้นตอน หากมีการขอรับการสนับสนุนประเภทเดียวกันนี้ จะต้องมีแผนงานที่ชัดเจน มีความพร้อมในการบำรุงรักษา และประชาชนจะต้องใช้งานได้จริง พร้อมทั้งต้องดำเนินการอย่างเข้มงวดตั้งแต่ระบบตรวจสอบ ติดตาม ประเมินผลในทุก ๆ โครงการ เพื่อให้เกิดความยั่งยืนและประชาชนได้รับประโยชน์อย่างเต็มที่” ปลัดกระทรวงพลังงานกล่าว

รองนายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรีว่าการกระทรวงพลังงาน นำคณะผู้บริหารระดับสูง เข้าถวายแจกันดอกไม้และลงนามถวายพระพร กรมสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี

วันนี้ (15 ม.ค. 64) นายสุพัฒนพงษ์ พันธ์มีเชาว์ รองนายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรีว่าการกระทรวงพลังงาน และนายกุลิศ สมบัติศิริ ปลัดกระทรวงพลังงาน นำคณะผู้บริหารระดับสูง เข้าถวายแจกันดอกไม้และลงนามถวายพระพร สมเด็จพระกนิษฐาธิราชเจ้า กรมสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี ขอให้ทรงมีพระพลานามัยแข็งแรงสมบูรณ์หายจากพระอาการประชวรโดยเร็ววัน ณ ศาลาสหทัยสมาคม ในพระบรมมหาราชวัง

ร่างรายงานการประชุม คทง.พิเศษ ครั้งที่ 1/2564

เอกสารประกอบ ได้แก่

1. ร่างรายงานการประชุม คทง.พิเศษ ครั้งที่ 1/2564  คลิกที่นี่

2. แบบเวียนรับรองรายงานการประชุม   คลิกที่นี่

 

ทั้งนี้ขอให้ส่งแบบเวียนรับรองรายงานการประชุมคืนฝ่ายเลขานุการฯ

ภายในวันศุกร์ที่ 22 มกราคม 2564 เวลา 12.00 น. เพื่อดำเนินการต่อไปครับ

ปลัดกระทรวงพลังงาน พร้อมด้วยผู้บริหารระดับสูงเข้าลงนามถวายพระพร กรมสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ

วันนี้ (13 ม.ค. 63) นายกุลิศ สมบัติศิริ ปลัดกระทรวงพลังงาน พร้อมด้วยผู้บริหารระดับสูง เข้าถวายแจกันดอกไม้และลงนามถวายพระพร สมเด็จพระกนิษฐาธิราชเจ้า กรมสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี ขอให้ทรงมีพระพลานามัยแข็งแรงสมบูรณ์หายจากพระอาการประชวรโดยเร็ววัน ณ ศาลาสหทัยสมาคม ในพระบรมมหาราชวัง

อธิบดีกรมธุรกิจพลังงาน เป็นประธานการประชุมคณะกรรมการขับเคลื่อนบันทึกข้อตกลงความร่วมมือในการดำเนินการเพื่อเพิ่มประสิทธิภาพและความโปร่งใสสำหรับการปฏิบัติราชการและให้บริการด้านการอนุญาตการประกอบกิจการน้ำมันเชื้อเพลิง ครั้งที่ 1/2564

คณะกรรมการขับเคลื่อนบันทึกข้อตกลงความร่วมมือในการดำเนินการเพื่อเพิ่มประสิทธิภาพและความโปร่งใสสำหรับการปฏิบัติราชการและให้บริการด้านการอนุญาตการประกอบกิจการน้ำมันเชื้อเพลิง จัดการประชุมครั้งที่ 1/2564
วันนี้ (7 มกราคม 2564) นางสาวนันธิกา ทังสุพานิช อธิบดีกรมธุรกิจพลังงาน เป็นประธานการประชุมคณะกรรมการขับเคลื่อนบันทึกข้อตกลงความร่วมมือในการดำเนินการเพื่อเพิ่มประสิทธิภาพและความโปร่งใสสำหรับการปฏิบัติราชการและให้บริการด้านการอนุญาตการประกอบกิจการน้ำมันเชื้อเพลิง ครั้งที่ 1/2564 ผ่านระบบ VDO Conference ซึ่งการประชุมในวันนี้ ประกอบด้วย เจ้าหน้าที่ของกระทรวงพลังงาน กรมธุรกิจพลังงาน และสำนักงานคณะกรรมการป้องกันและปราบปรามการทุจริตในภาครัฐ (สำนักงาน ป.ป.ท.) โดยที่ประชุมได้มีมติร่วมในเรื่องของการคัดเลือกกระบวนการนำร่องตามกฏหมายว่าด้วยการควบคุมน้ำมันเชื้อเพลิง ในส่วนของกระบวนการที่เกี่ยวกับรถขนส่งน้ำมัน เพื่อนำมาจัดทำแผนบริหารความเสี่ยงและพัฒนาให้สามารถให้บริการได้อย่างโปร่งใส เป็นธรรม และมีประสิทธิภาพ รวมทั้งเป็นการสร้างความเชื่อมั่นให้ผู้ประกอบการในการได้รับบริการที่ดีและโปร่งใสจากหน่วยงานภาครัฐ

ปลัดกระทรวงพลังงาน พร้อมด้วยคณะผู้บริหารระดับสูงร่วมลงนามถวายพระพร เนื่องในโอกาสวันขึ้นปีใหม่

วันนี้ (1 ม.ค. 64) นายกุลิศ สมบัติศิริ ปลัดกระทรวงพลังงาน พร้อมด้วยคณะผู้บริหารระดับสูงของกระทรวงและรัฐวิสาหกิจในสังกัดกระทรวงพลังงาน เข้าร่วมลงนามถวายพระพร เนื่องในโอกาสวันขึ้นปีใหม่ ณ ศาลาสหทัยสมาคม ในพระบรมมหาราชวัง

กระทรวงพลังงาน กรมธุรกิจพลังงาน และสำนักงาน ป.ป.ท. ร่วมลงนาม “บันทึกข้อตกลงความร่วมมือการดำเนินการเพื่อเพิ่มประสิทธิภาพและความโปร่งใสสำหรับการปฏิบัติราชการ และให้บริการด้านการอนุญาตการประกอบกิจการน้ำมันเชื้อเพลิง”

กระทรวงพลังงาน กรมธุรกิจพลังงาน และสำนักงานคณะกรรมการป้องกันและปราบปรามการทุจริตในภาครัฐ (สำนักงาน ป.ป.ท.) ร่วมลงนาม “บันทึกข้อตกลงความร่วมมือการดำเนินการเพื่อเพิ่มประสิทธิภาพและความโปร่งใสสำหรับการปฏิบัติราชการ และให้บริการด้านการอนุญาตการประกอบกิจการน้ำมันเชื้อเพลิง” หวังยกระดับการให้บริการของหน่วยงาน ส่งเสริมข้าราชการปฏิบัติหน้าที่ตามหลัก Good Governance  สอดคล้องกับแผนปฏิรูปประเทศด้านการป้องกันและปราบปรามการทุจริตและประพฤติมิชอบ เชื่อเป็นทิศทางการพัฒนาที่ทำให้ประเทศชาติได้ประโยชน์อย่างยั่งยืน

วันนี้ (18 ธ.ค.63) เวลา 12.30 น. ณ ห้องประชุม 9 ชั้น 15 ศูนย์เอนเนอร์ยี่คอมเพล็กซ์ อาคารบี นายกุลิศ สมบัติศิริ ปลัดกระทรวงพลังงาน พร้อมกับ นางสาวนันธิกา ทังสุพานิช อธิบดีกรมธุรกิจพลังงาน และ พันตำรวจโท วันนพ สมจินตนากุล เลขาธิการคณะกรรมการป้องกันและปราบปรามการทุจริตในภาครัฐ เข้าร่วมในพิธีลงนามบันทึกข้อตกลงความร่วมมือการดำเนินการเพื่อเพิ่มประสิทธิภาพและความโปร่งใสสำหรับการปฏิบัติราชการ และให้บริการด้านการอนุญาตการประกอบกิจการน้ำมันเชื้อเพลิง ระหว่าง กระทรวงพลังงาน (พน.) กรมธุรกิจพลังงาน (ธพ.) และสำนักงานคณะกรรมการป้องกันและปราบปรามการทุจริตในภาครัฐ (สำนักงาน ป.ป.ท.) ทั้งนี้ เพื่อเป็นการส่งเสริม สนับสนุน บูรณาการและประสานการปฏิบัติราชการร่วมกัน เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพและความโปร่งใสสำหรับการปฏิบัติราชการและให้บริการด้านการอนุญาตการประกอบกิจการน้ำมันเชื้อเพลิงให้เป็นมาตรฐานเดียวกัน ตามกฎหมายว่าด้วยการควบคุมน้ำมันเชื้อเพลิง ลดความเสี่ยงการทุจริต พัฒนาศักยภาพบุคลากร ยกระดับการให้บริการของหน่วยงาน รวมทั้งการส่งเสริมให้ข้าราชการปฏิบัติหน้าที่ โดยยึดหลักธรรมาภิบาล (Good Governance)  เพื่อตอบสนองกับยุทธศาสตร์ชาติ แผนแม่บทภายใต้ยุทธศาสตร์ด้านการป้องกันและปราบปรามการทุจริต แผนปฏิรูปประเทศด้านการป้องกันและปราบปรามการทุจริตและประพฤติมิชอบ และเป็นการสร้างการมีส่วนร่วมในการพัฒนาประเทศ ให้เกิดประโยชน์สูงสุดแก่ทุกภาคส่วน สำหรับแนวทางในการขับเคลื่อนการดำเนินการจะมีอธิบดีกรมธุรกิจพลังงานเป็นผู้รับผิดชอบหลัก โดยกรมธุรกิจพลังงาน และสำนักงานพลังงานจังหวัดจะเป็นหน่วยดำเนินงานมีปลัดกระทรวงพลังงานเป็นผู้กำกับดูแล และสำนักงาน ป.ป.ท. เป็นหน่วยสนับสนุน

“วันนี้หลังจากลงนาม MOU แล้ว ผมได้ลงนามตั้งคำสั่งคณะทำงานทันที โดยมีองค์ประกอบจากหน่วยงานทั้ง 3 หน่วย เพื่อเร่งผลักดันการจัดทำแผนการศึกษา วิเคราะห์ คัดเลือกกระบวนงานด้านการอนุญาตการประกอบกิจการน้ำมันเชื้อเพลิง นำมาจัดทำแผนบริหารความเสี่ยงและพัฒนาให้สามารถให้บริการได้อย่างโปร่งใส เป็นธรรมและมีประสิทธิภาพ สร้างความเชื่อมั่นในการทำงานของภาครัฐ โดยให้มีการติดตามและประเมินผลรายงานต่อผม อธิบดีกรมธุรกิจพลังงาน และเลขาธิการคณะกรรมการป้องกันและปราบปรามการทุจริตในภาครัฐเป็นระยะด้วย

ซึ่งผมเชื่อว่าเมื่อมีการยกระดับพัฒนาประสิทธิภาพการทำงาน นอกจากจะเป็นการปิดช่องทางการทุจริตได้แล้ว ที่สำคัญคือจะสามารถสร้างความเชื่อมั่นให้ประชาชนหรือผู้ประกอบการในการได้รับบริการที่ดีและโปร่งใสจากภาครัฐ   อันจะเป็นส่วนสำคัญในการสร้างความเจริญก้าวหน้าให้ประเทศชาติต่อไป”ปลัดกระทรวงพลังงาน กล่าว

กระทรวงพลังงานจัดประชุมเวิร์กช็อปเปิดโอกาส “คนพลังงานร่วมใจ สู่ทิศทางไทยในอนาคต” ระดมแนวคิดและมุมมองกำหนดทิศทางนโยบาย และจัดทำแผนพัฒนาด้านพลังงาน

กระทรวงพลังงานจัดประชุมเวิร์กช็อปเปิดโอกาส “คนพลังงานร่วมใจ สู่ทิศทางไทยในอนาคต” ระดมแนวคิดและมุมมองกำหนดทิศทางนโยบาย และจัดทำแผนพัฒนาด้านพลังงานของประเทศแบบบูรณาการรับมือยุค New Normal และยุค Smart & Green Energy

วันนี้ (14 ธ.ค.63) นายกุลิศ สมบัติศิริ ปลัดกระทรวงพลังงาน เปิดเผยว่า สืบเนื่องจากมติคณะรัฐมนตรีเมื่อวันที่ 20 ตุลาคม 2563 เห็นชอบแผนพัฒนากำลังผลิตไฟฟ้าของประเทศไทย พ.ศ. 2561-2580 ฉบับปรับปรุงครั้งที่ 1 พร้อมด้วยแผนที่เกี่ยวข้อง และให้นำแผนทั้งหมดที่เสนอไปรวมให้เป็นแผนเดียวกันอย่างมีเอกภาพและนำเสนอคณะรัฐมนตรีพิจารณาในปี 2564 ประกอบกับการวางแผนพลังงานโดยเฉพาะแผนพัฒนากำลังการผลิตไฟฟ้าที่ผ่านมาใช้การประมาณการเศรษฐกิจระยะยาวเป็นสมมติฐาน ซึ่งมีความคลาดเคลื่อนอันมาจากผลกระทบจากสถานการณ์การระบาดของโรค COVID-19 จำเป็นต้องมีการทบทวนให้สอดคล้องกับสถานะความเป็นจริง และแผนควรมีการกำหนดการดำเนินการให้มีความยืดหยุ่น มีเป้าหมายในระยะสั้น ระยะปานกลาง 5-10 ปี มากกว่าการวางแผนในระยะยาว 20 ปี นอกจากนี้ ปัจจุบันแผนพลังงานของไทยต้องมีการวางแผนเตรียมการรองรับการเปลี่ยนแปลงยุค Digital Disruption ทั้งในด้านสภาวะโลกร้อนและพลังงานสะอาดที่จะเกิดขึ้นในอนาคตอันใกล้

เพื่อเป็นการดำเนินการตามมติคณะรัฐมนตรี และสถานการณ์ Digital Disruption ให้ทันท่วงที กระทรวงพลังงานจึงได้จัดการประชุมเชิงปฏิบัติการ “คนพลังงานรุ่นใหม่ ร่วมใจสู่ทิศทางไทยในอนาคต” เป็นการเริ่มต้นนับหนึ่งเดินหน้าจัดทำแผนพัฒนาด้านพลังงานของประเทศแบบบูรณาการในวันนี้ โดยมีเลขาธิการสภาพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ รองประธานสภาอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย กลุ่มอุตสาหกรรมพลังงานหมุนเวียน ผู้เชี่ยวชาญด้านพลังงานจากบริษัท แมคคินซี่ แอนด์ คอมพานี ประเทศไทย มาร่วมแบ่งปันข้อมูลสถานการณ์เศรษฐกิจปัจจุบัน และการคาดการณ์การฟื้นตัวทางเศรษฐกิจ ทิศทางการพัฒนาและความท้าทายด้านพลังงานโลกและของไทยในอนาคต เพื่อสร้างความเข้าใจและกำหนดกรอบภาพอนาคตของพลังงาน นอกจากนี้ การวางแผนและกำหนดเป้าหมายในแต่ละช่วงเวลา คือ เป้าหมาย 3 ปี 5 ปี 10 ปี และ 20 ปี จำเป็นต้องอาศัยบุคลากรคนรุ่นใหม่ซึ่งมีทักษะแห่งอนาคต เข้าใจในเทคโนโลยีดิจิทัลที่ทันสมัย แนวทางการดำเนินธุรกิจรองรับ Digital Disruption อย่างทันท่วงที อีกทั้งบุคลากรเหล่านี้จะก้าวขึ้นสู่ผู้บริหารเป็นผู้นำในเรื่องพลังงานในอนาคตอีกด้วย  การประชุมระดมสมองครั้งนี้จะเป็นการให้คนรุ่นใหม่เหล่านี้ ทั้งส่วนราชการในสังกัดกระทรวงพลังงานทั้ง 4 แห่ง รวมถึงการไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทย (กฟผ.) และกลุ่ม บริษัท ปตท. จำกัด มหาชน มาร่วมแสดงความคิดเห็นและเสนอแนะกรอบแนวทางการเตรียมการรองรับการเปลี่ยนแปลงทั้งด้านเศรษฐกิจในยุค New Normal และด้านพลังงานในยุค Digital Disruption ได้อย่างมีศักยภาพ

“การจัดทำแผนพัฒนาด้านพลังงานของประเทศแบบบูรณการครั้งนี้ ถือเป็นจุดเริ่มต้นการจัดทำแผนแบบบูรณาการครบวงจรทั้งด้านก๊าซธรรมชาติ ไฟฟ้า น้ำมัน พลังงานทดแทน และการอนุรักษ์พลังงานในลักษณะ Bottom Up เสนอจากผู้ปฏิบัติงานมาสู่ระดับนโยบาย ซึ่งจะได้นำผลจากการระดมความเห็นครั้งนี้มาร่วมกันกำหนดนโยบายและจัดทำแผนแล้วนำไปสู่การปฏิบัติให้เกิดผลที่เป็นรูปธรรมต่อไป” ปลัดกระทรวงพลังงานกล่าวในตอนท้าย

รมว.พน. ลงพื้นที่ตรวจราชการ จ.อุดรธานี หนุนกองทุนหมู่บ้าน

“สุพัฒนพงษ์” ลงพื้นที่ตรวจราชการ จ.อุดรธานี
หนุนกองทุนหมู่บ้าน พร้อมยกระดับมาตรฐานตู้น้ำมันหยอดเหรียญใช้กระตุ้นเศรษฐกิจฐานราก

รองนายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรีว่าการกระทรวงพลังงานลงพื้นที่ตรวจราชการ จ.อุดรธานี ชมการบริหารจัดการกองทุนหมู่บ้าน บ้านท่าสี อ.หนองแสง ปลื้มตู้น้ำมันหยอดเหรียญสร้างกำไร เพิ่มคุณภาพชีวิต ลดความเหลื่อมล้ำและเป็นพลังงานที่ทุกคนเข้าถึงได้ หวังยกระดับสร้างมาตรฐานความปลอดภัยและคุณภาพน้ำมัน เชื่อเป็นอีกหนึ่งโมเดลกระตุ้นเศรษฐกิจฐานราก
วันนี้ (9 ธ.ค. 63) นายสุพัฒนพงษ์ พันธ์มีเชาว์ รองนายกรัฐมนตรี และรัฐมนตรีว่าการกระทรวงพลังงาน ลงพื้นที่ตรวจราชการ จังหวัดอุดรธานี โดยภารกิจหนึ่งคือตรวจเยี่ยมการบริหารจัดการกองทุนหมู่บ้านท่าสี หมู่ 3 ต.แสงสว่าง อ.หนองแสง ที่มีสมาชิก 143 คน มีทุนหมุนเวียนกว่า 4.6 ล้านบาท ซึ่งกองทุนดังกล่าวมีการบริหารงานในงบลงทุนโครงการเพื่อสร้างผลกำไร ออกเป็น 4 โครงการสำคัญ คือ 1.ตู้น้ำมันหยอดเหรียญ 2.ตู้เติมเงิน 3.ร้านค้าประชารัฐ และ 4.กองทุนปุ๋ย เพื่อพัฒนาคุณภาพชีวิตของสมาชิกในโครงการและประชาชนในหมู่บ้าน ซึ่งมีผลประกอบการที่น่าพอใจ คือโครงการตู้นำมันหยอดเหรียญที่สามารถสร้างผลกำไรในระยะ 3 ปีที่ผ่านมา เป็นเงินมากกว่า 100,000 บาท
โดยในส่วนของการประกอบกิจการตู้น้ำมันหยอดเหรียญนั้น ตามกฎหมายว่าด้วยการควบคุมน้ำมันเชื้อเพลิง เป็นสถานีบริการน้ำมันประเภทหนึ่งเรียกว่าสถานีบริการน้ำมันประเภท ง โดยส่วนใหญ่จะตั้งอยู่ในชุมชนที่มีพื้นที่อยู่ไกลจากสถานีบริการน้ำมันหลัก ให้บริการคนในพื้นที่ เกษตรกร หรือนักท่องเที่ยวที่เดินทางสัญจรไปมา ซึ่งปัจจุบันภาครัฐได้มีการส่งเสริมให้เกิดการยกระดับปั๊มน้ำมันหยอดเหรียญทั้งในเรื่องมาตรฐานความปลอดภัยและคุณภาพน้ำมัน เพื่อหวังเป็นส่วนหนึ่งในการกระตุ้นเศรษฐกิจฐานราก สร้างงาน สร้างอาชีพให้เกิดความยั่งยืนในชุมชน สำหรับ ตู้น้ำมันหยอดเหรียญนั้นภายในจะมีอุปกรณ์ไฟฟ้าซึ่งจะต้องเป็นไปตามมาตรฐานความปลอดภัย สถานที่ตั้งตู้น้ำมันหยอดเหรียญ จะต้องเป็นไปตามกฎหมายกำหนด และที่สำคัญก่อนจะประกอบกิจการจะต้องแจ้งต่อพนักงานเจ้าหน้าที่ โดยในเขตกรุงเทพมหานครแจ้งต่อกรมธุรกิจพลังงาน ในต่างจังหวัดแจ้งต่อองค์การปกครองส่วนท้องถิ่น(เทศบาล,อบต.) และจะต้องจดทะเบียนหัวจ่ายตามมาตรา11 ที่สำนักงานพลังงานจังหวัด ซึ่งการประกอบกิจการจะต้องปฏิบัติให้ถูกต้องครบถ้วนตามกฏหมายเพื่อความปลอดภัย
“ผมยินดีที่ภาคพลังงาน อย่างสเกลเล็กๆแบบตู้น้ำมันหยอดเหรียญนี้ ได้เข้ามามีส่วนในการสร้างเม็ดเงิน ต่อยอดกองทุนหมู่บ้านได้ อำนวยความสะดวกให้กับชุมชนและเกษตรกรได้เข้าถึงพลังงานอย่างทั่วถึง ซึ่งที่ผ่านมาได้รับรายงานว่าตำบลหรือหมู่บ้านที่ได้รับจัดสรรงบประมาณก็มีการรวมตัวกันเพื่อจัดหาตู้น้ำมันหยอดเหรียญมาให้บริการสมาชิกในตำบล หรือหมู่บ้าน เนื่องจากชาวบ้านเห็นร่วมกันว่าเป็นประโยชน์ต่อสมาชิกในพื้นที่ และยังสามารถสร้างงาน สร้างรายได้ให้กับคนในชุมชน สอดคล้องกับนโยบายของรัฐบาล ในส่วนของกระทรวงพลังงานจะพยายามยกระดับสร้างมาตรฐานของตู้น้ำมัน ให้มีความปลอดภัย มีคุณภาพให้ถูกต้องตามกฎหมาย ซึ่งมอบหมายกรมธุรกิจพลังงานและสำนักงานพลังงานจังหวัดทั่วประเทศเข้าไปดูแล ส่งเจ้าหน้าที่ตรวจสอบความปลอดภัย 2 ครั้งต่อปี” นายสุพัฒนพงษ์ กล่าว

Page 5 of 15
1 3 4 5 6 7 15