กระทรวงพลังงาน ปรับสูตรน้ำมันดีเซลชนิดเดียว นาน 4 เดือน

1 ธ.ค. 64 “พลังงาน” ปรับสูตรน้ำมันดีเซลชนิดเดียว นาน 4 เดือน

กระทรวงพลังงาน เดินหน้าออกมาตรการช่วยเหลือประชาชนลดผลกระทบช่วงราคาน้ำมันผันผวน ปรับสัดส่วนการผสมน้ำมันไบโอดีเซลเป็นร้อยละ 7 เป็นระยะเวลา 4 เดือน เริ่ม 1 ธ.ค. นี้เป็นต้นไป ชี้ จะทำให้ราคาช่วงนี้ลดลงเหลือประมาณ 28 บาทต่อลิตร ย้ำ ยังคงมาตรการตรึงราคาน้ำมันดีเซลไม่เกิน 30 บาทต่อลิตร พร้อมจับตาสถานการณ์ราคาน้ำมันตลาดโลกอย่างใกล้ชิด หากยังมีการปรับตัวสูงขึ้นพร้อมเตรียมแผนรองรับทันที
นายสมภพ พัฒนอริยางกูล โฆษกกระทรวงพลังงาน เปิดเผยว่า กระทรวงพลังงาน ได้ติดตามสถานการณ์ราคาน้ำมันดิบในตลาดโลกอย่างใกล้ชิด ล่าสุดแม้แนวโน้มราคาเริ่มปรับตัวลดลง แต่ยังคงมีความผันผวนและทรงตัวในระดับสูง ดังนั้น เพื่อเป็นการลดผลกระทบต่อค่าครองชีพประชาชน และการเติบโตทางเศรษฐกิจของประเทศ ล่าสุด ที่ประชุมคณะกรรมการบริหารนโยบายพลังงาน หรือ กบง. เมื่อวันที่ 24 พฤศจิกายน 2564 ที่ผ่านมา ได้มีมติให้ปรับลดสัดส่วนการผสมน้ำมันไบโอดีเซลในน้ำมันดีเซลทั้ง 3 ชนิด ได้แก่ B20 B10 และ B7 ให้มีสัดส่วนประมาณร้อยละ 7 เป็นระยะเวลา 4 เดือน (ส่วนดีเซลพรีเมียมยังคงมีจำหน่ายเช่นเดิม) โดยจะเริ่มมีผลตั้งแต่วันที่ 1 ธันวาคม 64 เป็นต้นไป ซึ่งในการปรับลดสัดส่วนการผสมน้ำมันไบโอดีเซลดังกล่าว จะส่งผลให้ราคาน้ำมันดีเซลสามารถปรับตัวลดลงมาอยู่ที่ประมาณ 28 บาทต่อลิตร
“ขอย้ำเรื่องการเติมน้ำมันดีเซลตั้งแต่วันที่ 1 ธันวาคม 2564 ประชาชนสามารถใช้บริการที่ตู้หัวจ่ายได้ทั้งดีเซล B7 ดีเซลธรรมดา หรือ B10 และดีเซล B20 ซึ่งกระทรวงพลังงาน ได้พยายามอย่างต่อเนื่องที่จะทำให้ราคาอยู่ในระดับต่ำกว่า 30 บาทต่อลิตร เพื่อลดผลกระทบต่อประชาชนในภาพรวม และพยุงเศรษฐกิจของประเทศให้เดินหน้าอย่าง ไม่สะดุด ทั้งนี้ หากประชาชนมีข้อสงสัยเกี่ยวกับการเติมน้ำมันดีเซลที่สถานีบริการสามารถสอบถามได้ที่ กรมธุรกิจพลังงาน โทร 08 6609 8154” นายสมภพ กล่าว

รองนายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรีว่าการกระทรวงพลังงาน ให้การต้อนรับเอกอัครราชทูตวิสามัญผู้มีอำนาจเต็มสาธารณรัฐประชาชนจีนประจำประเทศไทย

เมื่อวันที่ 19 พ.ย. 64 นายสุพัฒนพงษ์ พันธ์มีเชาว์ รองนายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรีว่าการกระทรวงพลังงาน พร้อมด้วยผู้บริหารของกระทรวงพลังงาน ได้ให้การต้อนรับ นายหาน จื้อเฉียง เอกอัครราชทูตวิสามัญผู้มีอำนาจเต็มสาธารณรัฐประชาชนจีนประจำประเทศไทย เพื่อเข้าเยี่ยมคารวะในโอกาสเข้ารับตำแหน่งใหม่และหารือเกี่ยวกับความร่วมมือด้านพลังงานระหว่างทั้งสองประเทศ

ในโอกาสนี้ รองนายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรีว่าการกระทรวงพลังงานได้กล่าวแสดงความยินดีกับการเข้ามารับตำแหน่งใหม่ของเอกอัครราชทูตจีน และการครบรอบ 72 ปีการสถาปนาสาธารณรัฐประชาชนจีน เมื่อวันที่ 1 ตุลาคมที่ผ่านมา รวมถึงการครบรอบ 100 ปี การก่อตั้งพรรคคอมมิวนิสต์จีน และขอบคุณประเทศจีนที่ส่งมอบวัคซีนและเวชภัณฑ์ป้องกันและรักษาโรคระบาด Covid-19 ซึ่งเป็นส่วนสำคัญอย่างยิ่งที่จะช่วยสนับสนุนให้ประเทศไทยสามารถต่อสู้กับโรคระบาดในครั้งนี้ได้เป็นอย่างดี โดยเอกอัครราชทูตจีนได้แสดงความขอบคุณและยินดีกับความร่วมมืออย่างใกล้ชิดระหว่างสองประเทศที่มีร่วมกันมาอย่างยาวนาน

ในประเด็นความร่วมมือด้านพลังงานทวิภาคี ทั้งสองประเทศมีทิศทางและนโยบายด้านพลังงานที่สอดคล้องกัน ที่จะมุ่งเน้นการใช้พลังงานสะอาด การใช้พลังงานอย่างมีประสิทธิภาพ ส่งเสริมการพัฒนาเทคโนโลยีพลังงาน การบริหารจัดการพลังงาน รวมถึง ความร่วมมือและความเชื่อมโยงทั้งในระดับทวิภาคี และพหุภาคี เพื่อให้สามารถบรรลุเป้าหมายการปล่อยก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์สุทธิเป็นศูนย์ (Carbon Neutrality) ของทั้งสองประเทศร่วมกัน

ในการนี้ รองนายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรีว่าการกระทรวงพลังงานได้เชิญชวนให้นักลงทุนชาวจีนเข้ามามีส่วนร่วมในธุรกิจ/อุตสาหกรรมพลังงานในประเทศไทยในหลากหลายรูปแบบ อาทิ การพัฒนาเทคโนโลยี   ยานยนต์ไฟฟ้า การสำรวจและผลิตปิโตรเลียม เทคโนโลยีดิจิทัล รวมถึงการส่งเสริมความร่วมมือในด้านการเชื่อมโยงโครงสร้างพื้นฐานทางพลังงานและการขนส่งเพื่อรองรับการเจริญเติบโตทางเศรษฐกิจในภูมิภาค ที่นอกจากจะเป็นการส่งเสริมการพัฒนาด้านพลังงานระหว่างไทยและจีนแล้ว ยังเป็นการส่งเสริมความเชื่อมโยงด้านการค้า การท่องเที่ยว และการลงทุนร่วมกันในภูมิภาค ซึ่งมีความสอดคล้องกับวัตถุประสงค์ของข้อริเริ่มสายแถบและเส้นทางของสาธารณรัฐประชาชนจีน (Belt and Road Initiative: BRI) ที่มุ่งเน้นการส่งเสริมความเชื่อมโยงโครงสร้างพื้นฐานและการเติบโตทางเศรษฐกิจร่วมกันอีกด้วย

รองนายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรีว่าการกระทรวงพลังงาน ลงพื้นที่กระบี่ ตรวจติดตามโครงการงบกองทุนอนุรักษ์พลังงาน“เกาะฮั่ง-บ้านไหนหนัง”

วันนี้ (15 พ.ย.64) รองนายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรีว่าการกระทรวงพลังงาน นำคณะผู้บริหาร ข้าราชการ เจ้าหน้าที่กระทรวงพลังงาน และสื่อมวลชน ลงพื้นที่จังหวัดกระบี่ ตรวจติดตามความสำเร็จ 2 โครงการด้านพลังงาน คือ โครงการติดตั้งระบบผลิตไฟฟ้าพลังงานแสงอาทิตย์ยกระดับคุณภาพชีวิตชุมชนเกาะฮั่ง และโครงการเพิ่มสมรรถนะการบริหารจัดการและจัดการพลังงานชุมชนครบวงจร วิสาหกิจชุมชนบ้านไหนหนัง ซึ่งทั้ง 2 โครงการ ช่วยยกระดับคุณภาพชีวิตและสร้างรายได้ให้ชุมชนเศรษฐกิจฐานราก

นายสุพัฒนพงษ์ พันธ์มีเชาว์ รองนายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรีว่าการกระทรวงพลังงาน เปิดเผยว่า การลงพื้นที่จังหวัดกระบี่ครั้งนี้ มีภารกิจตรวจราชการก่อนการเข้าร่วมประชุม ครม.สัญจรที่จังหวัดกระบี่ คือติดตามการดำเนินโครงการด้านพลังงาน 2 โครงการ คือ โครงการติดตั้งระบบผลิตไฟฟ้าพลังงานแสงอาทิตย์สำหรับที่พักอาศัย ณ เกาะฮั่ง ตำบลเกาะศรีบอยา อำเภอเหนือคลอง จังหวัดกระบี่ ซึ่งเป็นโครงการที่ได้รับงบประมาณกว่า 9 ล้านบาท จากกองทุนเพื่อส่งเสริมการอนุรักษ์พลังงานปี 2564 เพื่อติดตั้งระบบ Solar home ขนาด 600 วัตต์ พร้อมแบตเตอรี่ ให้กับชาวบ้านจำนวน 161 ครัวเรือน ที่ประสบปัญหาไม่มีไฟฟ้าใช้ โดยมั่นใจว่าหลังการดำเนินการโครงการแล้วเสร็จประชาชนในพื้นที่โครงการจะมีพลังงานเพียงพอในการดำเนินชีวิตประจำวัน สร้างประโยชน์ด้านการศึกษาของเยาวชน การประกอบอาชีพและการต่อยอดในการส่งเสริมการท่องเที่ยวเชิงอนุรักษ์ สร้างงาน สร้างรายได้นำมาซึ่งคุณภาพชีวิตที่ดีขึ้นของคนในชุมชนอย่างยั่งยืน

ส่วนอีกโครงการคือโครงการเพิ่มสมรรถนะการบริหารจัดการและจัดการพลังงานชุมชนครบวงจรในวิสาหกิจชุมชนกลุ่มแปรรูปผลิตภัณฑ์บ้านไหนหนัง ตำบลเขาคราม อำเภอเมือง จังหวัดกระบี่ ซึ่งถือเป็นตัวอย่างความสำเร็จที่เป็นรูปธรรม จากงบแผ่นดินปี 2562 วงเงินประมาณ 100,000 บาท จากการใช้เทคโนโลยี โรงอบแห้งพลังงานแสงอาทิตย์ ในการแปรรูปผลิตภัณฑ์ อาทิ ปลาแดดเดียว กะปิ ปลาเค็ม และชาใบขลู่ ซึ่งสามารถลดระยะเวลาในการแปรรูปผลิตภัณฑ์และสร้างมูลค่าเพิ่มให้ผลิตภัณฑ์สามารถออกสู่ตลาดได้ในวงกว้าง เช่น ปลาทูสด จากเดิมจำหน่ายได้เพียงกิโลกรัมละ 20 บาท แต่หลังจากนำมาแปรรูปเป็นปลาแดดเดียวสามารถจำหน่ายได้ในราคา 130-150 บาทต่อกิโลกรัม ปัจจุบันทางกลุ่มมีรายได้จากการแปรรูปผลิตภัณฑ์จาก โรงอบแห้งพลังงานแสงอาทิตย์นี้ เฉลี่ยอยู่ที่ 12,000-13,000 บาท/เดือน

“นโยบายของรัฐบาลให้ความสำคัญในการขับเคลื่อนพลังงานเพื่อพัฒนาเศรษฐกิจฐานราก กระทรวงพลังงาน จึงได้ขับเคลื่อนภาคพลังงานให้สอดรับกับนโยบายดังกล่าว ด้วยการส่งเสริมการใช้เทคโนโลยีพลังงานต่างๆ ในการเพิ่มประสิทธิภาพการแปรรูปและการผลิตผลิตภัณฑ์ชุมชน ลดภาระค่าใช้จ่ายด้านพลังงานเพิ่มรายได้ของชุมชน โดยทั้ง 2 โครงการ ถือเป็นการขับเคลื่อนที่คู่ขนานกัน ทั้งการลดความเหลื่อมล้ำทางสังคม การเพิ่มศักยภาพทางด้านอาชีพ และยกระดับรายได้ครัวเรือนของคนในชุมชน เพื่อให้เกิดการพัฒนาคุณภาพชีวิตได้อย่างยั่งยืน โดยเฉพาะการส่งเสริมด้านพลังงานทดแทนให้เข้าถึงชุมชนในพื้นที่เกาะฮั่งด้วยการมีไฟฟ้าใช้จากพลังงานแสงอาทิตย์ ถือเป็นการพัฒนาคุณภาพชีวิตของชุมชนได้เป็นอย่างดีช่วยให้ชุมชนเข้าถึงข้อมูลข่าวสารและมีความสะดวกสบายในชีวิตประจำวันมากขึ้น ขณะเดียวกันการพัฒนาดังกล่าวก็ยังคงไว้ซึ่งธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมดั้งเดิมของชุมชนด้วยเช่นกัน” รองนายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรีว่าการกระทรวงพลังงาน กล่าว

แบบฟอร์มรายงานการจัดทำข้อตกลงระดับการให้บริการ (Service level Agreement : SLA)

1.ตัวอย่างข้อตกลงการให้บริการ  คลิกที่นี่

2.แบบฟอร์มรายงานการจัดทำข้อตกลงระดับการให้บริการ (Service level Agreement : SLA)

2.1 แบบฟอร์ม 1  ข้อตกลงการให้บริการ  คลิกที่นี่

2.2 แบบฟอร์ม 2 สรุปรายการงานบริการ   คลิกที่นี่

 

การประชุมแนวทางการดำเนินการตามข้อสั่งการของรัฐมนตรีว่าการกระทรวงพลังงาน ครั้งที่ 3/2564

  1. สรุปรายงานการประชุมแนวทางการดำเนินการตามข้อสั่งการของรัฐมนตรีว่าการกระทรวงพลังงาน ครั้งที่ 3/2564 คลิกที่นี่

ประชุมแนวทางการนำเข้าข้อมูลและรายงานผลในระบบติดตามและประเมินผล (eMENSCR)

  1. link การประชุม คลิกที่นี่
  2. เอกสารแนบ 1 คลิกที่นี่
  3. เอกสารแนบ 2 คลิกที่นี่
  4. เอกสารแนบ 3 คลิกที่นี่
  5. เอกสารประกอบการประชุม คลิกที่นี่
  6. แบบตอบรับเข้าร่วมประชุม คลิกที่นี่

มติ กบน. เคาะกู้เงินเตรียมเสริมสภาพคล่องเงินกองทุนฯ ตรึงราคาดีเซลไม่เกิน 30 บาท ลดผลกระทบประชาชน

     ที่ประชุม กบน. เห็นชอบ ร่างหลักเกณฑ์กู้ยืมเงินเสริมสภาพคล่องเงินกองทุนน้ำมันเชื้อเพลิง เดินหน้าตรึงราคาดีเซลไม่ให้เกิน 30 บาท/ลิตร เตรียมพร้อมนำเสนอ ครม. เห็นชอบ พร้อมแจง กองทุนน้ำมันเชื้อเพลิง ไม่เคยนำส่งเงินเข้ารัฐ กว่า 2 หมื่นล้านบาทตามที่เป็นข่าว ยืนยันการใช้เงินกองทุนฯ ที่ผ่านมาเป็นไปตามวัตถุประสงค์และข้อกฎหมาย นายสมภพ พัฒนอริยางกูล โฆษกกระทรวงพลังงาน เปิดเผยว่า ในการประชุมคณะกรรมการบริหารกองทุนน้ำมันเชื้อเพลิง (กบน.) ครั้งที่ 9/2564 เมื่อวันที่ 1 พฤศจิกายน 2564 ที่ผ่านมา โดยมีนายสุพัฒนพงษ์ พันธ์มีเชาว์ รองนายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรีว่าการกระทรวงพลังงาน เป็นประธาน โดยที่ประชุมได้มีมติเห็นชอบเนื้อหาและสาระสำคัญร่างหลักเกณฑ์การกู้ยืมเงินตามที่สำนักงานกองทุนน้ำมันเชื้อเพลิงนำเสนอ เพื่อเตรียมพร้อมสภาพคล่องในการตรึงราคาน้ำมันดีเซลไม่ให้เกิน 30 บาท/ลิตร เพื่อลดผลกระทบต่อค่าครองชีพประชาชนในช่วงที่สถานการณ์ราคาน้ำมันในตลาดโลกยังคงมีแนวโน้มผันผวนต่อเนื่อง ตามความเห็นชอบของคณะกรรมการนโยบายพลังงานเมื่อวันที่ 20 ตุลาคม 2564 ที่ผ่านมา ได้มอบหมายให้สำนักงานกองทุนน้ำมันเชื้อเพลิงไปจัดทำหลักเกณฑ์การกู้เงินตามกรอบของ พ.ร.บ.กองทุนน้ำมันเชื้อเพลิง ซึ่งหลังจากนี้จะมีการนำเสนอร่างหลักเกณฑ์การกู้เงินดังกล่าวต่อที่ประชุมคณะรัฐมนตรีเพื่อให้ความเห็นชอบต่อไป
     นอกจากนี้ โฆษกกระทรวงพลังงาน ยังได้กล่าวถึงกรณีที่มีกระแสข่าวว่าที่ผ่านมาได้มีการโอนเงินจากกองทุนน้ำมันเชื้อเพลิง ไปเป็นรายได้ให้กับรัฐบาลกว่า 20,000 ล้านบาทนั้น ได้ตรวจสอบกับสำนักงานกองทุนน้ำมันเชื้อเพลิงแล้ว พบว่าเรื่องดังกล่าวไม่เป็นความจริงแต่อย่างใด ตั้งแต่ตั้งกองทุนน้ำมันเชื้อเพลิงมายังไม่เคยนำเงินกองทุนฯ เข้านำส่งเป็นรายได้กระทรวงการคลัง พร้อมยืนยันว่าการบริหารเงินกองทุนน้ำมันเชื้อเพลิงต้องเป็นไปตามกฎหมายและวัตถุประสงค์ของกองทุนฯอย่างเคร่งครัด โดยในมาตรา 5 แห่งพระราชบัญญัติกองทุนน้ำมันเชื้อเพลิง พ.ศ. 2562 ได้กำหนดไว้อย่างชัดเจนให้กองทุนน้ำมันเชื้อเพลิงมีวัตถุประสงค์เพื่อรักษาเสถียรภาพระดับราคาน้ำมันเชื้อเพลิงในประเทศให้อยู่ในระดับที่เหมาะสมในกรณีที่เกิดวิกฤตการณ์ด้านน้ำมันเชื้อเพลิง ซึ่งการดำเนินงานให้อยู่ภายใต้กรอบนโยบายการบริหารกองทุนฯ ตามที่คณะกรรมการนโยบายพลังงานแห่งชาติกำหนดเท่านั้น
     “ การเตรียมกู้เงินในครั้งนี้ ก็เพื่อตรึงราคาน้ำมันดีเซลไว้ไม่ให้เกิน 30 บาทเนื่องจากน้ำมันดีเซล เป็นพื้นฐานของการดำเนินธุรกิจหากปล่อยให้มีราคาสูงเกินไปจะกระทบต่อผู้ประกอบการ ค่าขนส่ง ค่าสินค้าและบริการต่างๆ ซึ่งกระทรวงพลังงานจะควบคุมการใช้เงินกู้อย่างเข้มงวด และเป็นไปตามข้อกฎหมาย ส่วนที่มีข่าวการโอนเงินจากกองทุนน้ำมันเชื้อเพลิงส่งเป็นรายได้ให้รัฐบาลนั้น สำนักงานกองทุนน้ำมันเชื้อเพลิงขอยืนยันว่า ไม่มีการโอนเงินตามที่มีการนำเสนอข่าวแต่อย่างใด โดยการใช้เงินกองทุนฯ ที่ผ่านมาเป็นไปตามข้อกฎหมายและวัตถุประสงค์ของกองทุนฯ และเป็นไปตามมติคณะกรรมการนโยบายพลังงานแห่งชาติ เพื่อลดค่าใช้จ่ายด้านพลังงาน บรรเทาภาระค่าครองชีพประชาชน อย่างเช่น การตรึงราคาน้ำมันดีเซล 30 บาทต่อลิตรในขณะนี้ และการอุดหนุนราคาก๊าซ LPG ครัวเรือนตลอดทั้งปี 2564 เพื่อบรรเทาผลกระทบประชาชนจากสถานการณ์โควิด-19” โฆษกกระทรวงพลังงานกล่าว

กระทรวงพลังงาน ร่วมพิธีถวายผ้าพระกฐินพระราชทาน ประจำปี 2564 ณ วัดเขาแก้ววรวิหาร จ.สระบุรี

วันนี้ (31 ตุลาคม 2564) นายสุพัฒนพงษ์ พันธ์มีเชาว์ รองนายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรีว่าการกระทรวงพลังงาน นำคณะผู้บริหาร ข้าราชการ และเจ้าหน้าที่กระทรวงพลังงาน ร่วมถวายผ้าพระกฐินพระราชทานประจำปี 2564 พร้อมกันนี้ ยังได้มอบทุนการศึกษา และเงินบำรุงโรงเรียนให้กับ 4 สถานศึกษาในพื้นที่จังหวัดสระบุรี ได้แก่ โรงเรียนวัดต้นตาล โรงเรียนวัดพระยาทด โรงเรียนพระปริยัติธรรม วัดเขาแก้ว โรงเรียนเสาไห้ “วิมลวิทยานุกูล” เพื่อถวายเป็นพระราชกุศล ณ วัดเขาแก้ววรวิหาร ต.ต้นตาล อ.เสาไห้ จ.สระบุรี

กระทรวงพลังงาน จับมือ กฟผ. และ ปตท. มอบถุงยังชีพ 2,000 ชุด บรรเทาความเดือดร้อนผู้ประสบภัยน้ำท่วมพื้นที่จังหวัดนนทบุรี-ปทุมธานี

วันนี้ (28 ต.ค.64 ) นายสุพัฒนพงษ์ พันธ์มีเชาว์ รองนายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรีว่าการกระทรวงพลังงาน พร้อมด้วย ผู้บริหารจากการไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทย (กฟผ.) นางสาวนพวรรณ กาญจนะวรรณ รองผู้ว่าการบริหารการไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทย (กฟผ.) นายวิภู พิวัฒน์ ผู้อำนวยการฝ่ายโรงไฟฟ้าพระนครเหนือ การไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทย (กฟผ.) และผู้บริหารจาก บริษัท ปตท.จำกัด (มหาชน) นายทรงพล พึ่งผัน ผู้จัดการฝ่ายปฏิบัติการระบบท่อส่งก๊าซธรรมชาติ ภาค 3 ลงพื้นที่จังหวัดนนทบุรี และจังหวัดปทุมธานี ตรวจติดตามสถานการณ์น้ำท่วม พร้อมมอบถุงยังชีพ จำนวน 2,000 ชุด  บรรเทาความเดือดร้อนประชาชนเบื้องต้น รับฟังปัญหาความเดือดร้อนและให้กำลังใจผู้ประสบภัยน้ำท่วม

นายสุพัฒนพงษ์ พันธ์มีเชาวน์ รองนายกรัฐมนตรี และรัฐมนตรีว่าการกระทรวงพลังงาน เปิดเผยว่า รัฐบาลไม่ได้นิ่งนอนใจและมีความห่วงใยประชาชนที่ประสบภัยน้ำท่วมในหลายพื้นที่ทั่วประเทศ โดยพลเอกประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรีว่าการกระทรวงกลาโหม ได้สั่งทุกหน่วยงานเข้าพื้นที่ประสบภัยให้ความช่วยเหลือประชาชนอย่างบูรณาการ ตั้งแต่การช่วยเหลือเยียวเบื้องต้นโดยการมอบถุงยังชีพ ซึ่งประกอบด้วยเครืองอุปโภคบริโภคที่จำเป็นต่อการใช้ชีวิตประจำวัน การสาธารณสุข เข้าไปให้ความช่วยเหลือเรื่องสุขภาพ ผู้มีโรคประจำตัว ผู้ป่วยติดเตียง ตลอดจนผู้สูงอายุ รวมถึงหน่วยงานของการไฟฟ้าให้เข้าไปติดตามเรื่องความปลอดภัยของระบบไฟฟ้าต่อบ้านเรือนที่ได้รับผลกระทบน้ำท่วมสูงที่อาจจะเกิดอันตรายจากไฟฟ้าช๊อต ไฟฟ้าลัดวงจรต่างๆ รวมถึงสั่งการให้หน่วยงานที่เกี่ยวข้องเร่งดำเนินการสำรวจความเสียหายทั้งบ้านเรือน พื้นที่ประกอบอาชีพ รวมถึงความเสียหายอื่นๆ เพื่อเตรียมแผนฟื้นฟูให้ประชาชนสามารถกลับมาใช้ชีวิตโดยเร็วที่สุด

“การลงพื้นที่จังหวัดนนทบุรีและปทุมธานี ในวันนี้ ถือเป็นภารกิจต่อเนื่องตามข้อสั่งการของนายกรัฐมนตรี เพื่อรับฟังปัญหาความเดือดร้อนของประชาชน ตลอดจนสิ่งที่พี่น้องประชาชนต้องการความช่วยเหลือ พร้อมนำถุงยังชีพเครื่องอุปโภคและบริโภคที่จำเป็นต่อการยังชีพ จำนวน 2,000 ชุด มามอบเพื่อบรรเทาความเดือดให้กับประชาชน โดยแบ่งเป็นจังหวัดนนทบุรี จำนวน 1,000 ชุด และจังหวัดปทุมธานี จำนวน 1,000 ชุด  ซึ่งหลังจากนี้ จะมีการประสานกับทุกหน่วยงานที่เกี่ยวข้องเพื่อบูรณาการแก้ไขปัญหาความเดือดร้อนให้กับประชาชนอย่างเร่งด่วนต่อไป” รองนายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรีว่าการกระทรวงพลังงาน กล่าว

แจ้งคำสั่งและขอเชิญประชุมคณะกรรมการพิจารณารับบริจาคโปรแกรมบริหารข้อมูลแผนงานติดตามผลแบบ near real time (Project tracking Management)

เอกสารประกอบการประชุทครั้งที่  2

1.วาระการประชุม ครั้งที่ 2 คลิกที่นี่

2. ร่าง รายงานการประชุมคณะกรรมการฯ  ครั้งที่ 1 ( 29 ตุลาคม 2564 )  คลิกที่นี่

 

เอกสารประกอบหารประชุมครั้งที่ 1

1.คำสั่งแต่งตั้งคณะกรรมการพิจารณารับบริจาคโปรแกรมบริหารข้อมูลแผนงานและติดตามผลฯ  คลิกที่นี่

2. วาระการประชุม  คลิกที่นี่

3. เอกสารประกอบวาระ หนังสือ บ.Promt บริจาคระบบฯ   คลิกที่นี่

4. เอกสารเพิ่มเติม

4.1-เอกสารเพิ่มเติมใบเสนอราคา  คลิกที่นี่

4.2-เอกสารเพิ่มเติม Datalink software Certificate   คลิกที่นี่

ประชุมแนวทางการดำเนินการตามข้อสั่งการของรัฐมนตรีว่าการกระทรวงพลังงาน ครั้งที่ 2/2564

  1. link เข้าร่วมประชุม คลิกที่นี่
  2. เอกสารการประชุมแนวทางการดำเนินการตามข้อสั่งการของรัฐมนตรีว่าการกระทรวงพลังงาน ครั้งที่ 2/2564 คลิกที่นี่
  3. สรุปการประชุมแนวทางการดำเนินการตามข้อสั่งการของรัฐมนตรีว่าการกระทรวงพลังงาน ครั้งที่ 1/2564 คลิกที่นี่
  4. ตัวอย่างการประเมินผลสัมฤทธิ์ของกฎหมาย คลิกที่นี่
  5. ขั้นตอนและแบบฟอร์มการกรอกประเมินผลสัมฤทธิ์ของกฎหมาย คลิกที่นี่

ปลัดกระทรวงพลังงาน เข้าร่วมพิธีวางพวงมาลาเนื่องในวันคล้ายวันสวรรคตพระบาทสมเด็จพระบรมชนกาธิเบศร มหาภูมิพลอดุลยเดชมหาราชบรมนาถบพิตร

วันนี้ (13 ต.ค. 64) นายกุลิศ สมบัติศิริ ปลัดกระทรวงพลังงาน พร้อมด้วยผู้บริหารระดับสูงของกระทรวงพลังงาน เข้าร่วมพิธีวางพวงมาลาและยืนสงบนิ่งเพื่อน้อมรำลึกในพระมหากรุณาธิคุณเป็นเวลา 89 วินาที เนื่องในวันคล้ายวันสวรรคตพระบาทสมเด็จพระบรมชนกาธิเบศร มหาภูมิพลอดุลยเดชมหาราชบรมนาถบพิตร 13 ตุลาคม 2564 ณ บริเวณ lobby อาคารบี ศูนย์เอนเนอร์ยี่คอมเพล็กซ์

รัฐมนตรีว่าการกระทรวงพลังงาน ลงพื้นที่ จ.สมุทรปราการ ตรวจติดตามสถานการณ์น้ำท่วมพร้อมมอบน้ำมัน 3,000 ลิตร สนับสนุนภารกิจกองทัพภาคที่ 1 ขุดลอกคูคลองเพิ่มศักยภาพการระบายน้ำ

“สุพัฒนพงษ์” นำทีมผู้บริหารกระทรวงฯและปตท. ลงพื้นที่ จ.สมุทรปราการ ตรวจติดตามสถานการณ์น้ำท่วมพร้อมมอบน้ำมัน 3,000 ลิตร สนับสนุนภารกิจกองทัพภาคที่ 1 ขุดลอกคูคลองเพิ่มศักยภาพการระบายน้ำ

วันนี้ (8 ต.ค.64 ) นายสุพัฒนพงษ์ พันธ์มีเชาว์ รองนายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรีว่าการกระทรวงพลังงาน พร้อมด้วย นายสมบูรณ์ หน่อแก้ว รองปลัดกระทรวงพลังงาน และ นายอรรถพล ฤกษ์พิบูลย์ ประธานเจ้าหน้าที่บริหารและกรรมการผู้จัดการใหญ่ และคณะผู้บริหารบริษัท ปตท.จำกัด (มหาชน) ลงพื้นที่จังหวัดสมุทรปราการ ตรวจติดตามสถานการณ์เฝ้าระวังน้ำท่วม และความพร้อมของสถานีสูบน้ำนางหงส์ พร้อมมอบน้ำมันดีเซล 3,000 ลิตร สนับสนุนภารกิจกองทัพภาคที่ 1 ขุดลอกคูคลองเพิ่มศักยภาพการระบายน้ำ โดยมี นายกรุงศรีวิไล ส.ส.เขต 3 พรรคพลังประชารัฐจังหวัดสมุทรปราการ พร้อมด้วย นายวันชัย คงเกษม ผู้ว่าราชการจังหวัดสมุทรปราการ และคณะฯ ให้การต้อนรับ ณ บริเวณสถานีสูบน้ำนางหงษ์ ต.คลองด่าน อ.บางบ่อ จ.สมุทรปราการ

นายสุพัฒนพงษ์ พันธ์มีเชาวน์ รองนายกรัฐมนตรีและ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงพลังงาน เปิดเผยว่า กระทรวงพลังงาน เป็นหนึ่งในหน่วยงานที่ร่วมบูรณการการแก้ปัญหาและดำเนินช่วยเหลือผู้ประสบภัยน้ำท่วมจากอิทธิพลของพายุ “เตี้ยนหมู่” ตามข้อสั่งการของพล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรีว่าการกระทรวงกลาโหม ที่มีความห่วงใยต่อประชาชนในทุกพื้นที่ที่ประสบอุทกภัยที่ต้องได้รับความช่วยเหลืออย่างเร่งด่วน รวมถึงให้มีการตรวจติดตามการเตรียมความพร้อมในทุกพื้นที่เสี่ยงต่ออุทกภัยจากมวลน้ำที่เกิดจากอิทธิพลของพายุดังกล่าว รวมถึงการเฝ้าระวังสถานการณ์น้ำท่วมจากปริมาณน้ำฝนหรือน้ำหลากมาจากแหล่งน้ำต่างๆซึ่งจะทำให้ประชาชนในจังหวัดสมุทรปราการได้รับผลกระทบจากอุทกภัยให้น้อยที่สุด ซึ่งที่ผ่านมากระทรวงพลังงาน รวมถึงหน่วยงานและรัฐวิสาหกิจในสังกัดได้ลงพื้นที่ช่วยเหลือประชาชนที่ประสบอุทกภัยแล้วใน 2 จังหวัด คือ จังหวัดลพบุรี และจังหวัดนครปฐม พร้อมรับฟังปัญหาความเดือดร้อนตลอดจนสิ่งที่ประชาชนต้องการความช่วยเหลือ เพื่อนำไปบูรณาการช่วยเหลือประชาชนทุกพื้นที่ประสบภัยอย่างเร่งด่วน และยังมีแผนลงพื้นที่ช่วยเหลืออุทกภัยในจังหวัดอื่นๆอย่างต่อเนื่อง

สำหรับการลงพื้นที่จังหวัดสมุทรปราการครั้งนี้ นอกจากจะเป็นการติดตามสถานการณ์น้ำท่วมในพื้นที่แล้วยังเป็นการติดตามดูความพร้อมของคลองระบายน้ำ สถานีสูบน้ำ รวมถึงประตูระบายน้ำ ในการรับมือสถานการณ์น้ำท่วม เนื่องจากจังหวัดสมุทรปราการถือเป็นอีกหนึ่งจังหวัดในเส้นทางการระบายน้ำลงสู่ทะเล ซึ่งมีความเสี่ยงต่อสถานการณ์น้ำท่วมที่จะส่งผลกระทบต่อการดำรงชีวิตและการประกอบอาชีพของประชาชนเช่นกัน นอกจากนี้ ยังได้มอบน้ำมันดีเซลจำนวน 3 พันลิตร จากความร่วมมือของบริษัท ปตท.จำกัด (มหาชน) เพื่อสนับสนุนภารกิจของกองทัพบก โดยกองทัพภาคที่ 1 ในการขุดลอกเส้นทางระบายน้ำ เช่น ขุดลอกดินตะกอน ตลอดจนการเก็บวัชพืช เพื่อเพิ่มศักยภาพในการระบายน้ำให้กับประตูระบายน้ำปากตะคลอง ของจังหวัดฉะเชิงเทรา เพื่อให้ปริมาณมวลน้ำในจังหวัดสมุทรปราการสามารถระบายน้ำได้เพิ่มมากขึ้นอย่างมีประสิทธิภาพ

ทั้งนี้ รองนายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรีว่าการกระทรวงพลังงาน ยังได้ให้กำลังใจและขอบคุณทางจังหวัด กองทัพภาคที่ 1 ส่วนราชการในพื้นที่ รวมถึงองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น ที่ได้ร่วมมือกันบูรณาการเตรียมความพร้อมในการรับมือสถานการณ์น้ำท่วมเพื่อลดผลกระทบต่อพี่น้องประชาชน

ด้านนายวันชัย คงเกษม ผู้ว่าราชการจังหวัดสมุทรปราการ กล่าวว่า ทางจังหวัดได้บูรณาการร่วมกับกองทัพบก โดยกองทัพภาคที่1 ในการเตรียมพร้อมต่อสถานการณ์น้ำท่วมในพื้นที่จังหวัดสมุทรปราการ ทั้งการขุดลอกคลองระบายน้ำ อาทิ บริเวณคลองสำโรง จากเดิมมีความลึก 1.5 เมตร เพิ่มขึ้นเป็น 2.5 เมตร รวมถึงการกำจัดวัชพืช เพื่อให้การระบายน้ำเป็นไปอย่างมีประสิทธิภาพ ซึ่งทางจังหวัดก็ขอขอบคุณกระทรวงพลังงานและบริษัท ปตท.จำกัด (มหาชน) ที่ได้เข้ามาสนับสนุนน้ำมันดีเซลจำนวน 3 พันลิตรในการดำเนินการของทางจังหวัด

กระทรวงพลังงาน ดีเดย์ “ดีเซลตุลา ราคาเดียว ช่วยประชาชน”

“พลังงาน” ดีเดย์ “ดีเซลตุลา ราคาเดียว ช่วยประชาชน” เริ่ม 11 ต.ค. นี้ เพื่อบรรเทาผลกระทบประชาชนช่วงราคาน้ำมันทั่วโลกปรับตัวสูงขึ้น

กระทรวงพลังงาน โดยกรมธุรกิจพลังงาน ประกาศปรับส่วนผสมขั้นต่ำของไบโอดีเซลในน้ำมันดีเซล B7 และน้ำมันดีเซลหมุนเร็วธรรมดา (B10) ทั้ง 2 ชนิดให้เหลือร้อยละ 6 และกำหนดให้เป็นน้ำมันดีเซลมาตรฐานชั่วคราว
พร้อมปรับลดให้เหลือราคาเดียวกัน เพื่อช่วยบรรเทาผลกระทบประชาชน มีผลตั้งแต่วันที่ 11 – 31 ตุลาคม 2564 เน้นย้ำประชาชนสามารถเติมดีเซลได้ทุกหัวจ่ายตามที่เคยเติม และพร้อมจับตาสถานการณ์ราคาน้ำมันตลาดโลกอย่างใกล้ชิด หากยังมีการปรับตัวสูงขึ้นพร้อมเตรียมแผนรองรับทันที

นายสมภพ พัฒนอริยางกูล โฆษกกระทรวงพลังงาน เปิดเผยว่า ตามที่ มติ กบง. เมื่อวันที่ 4 ตุลาคม 2564 ได้ออกมาตรการชั่วคราวระยะสั้นปรับสัดส่วนผสมขั้นต่ำของไบโอดีเซลในน้ำมันดีเซล B7 และน้ำมันดีเซลหมุนเร็วธรรมดา (B10) ลดลงเหลือร้อยละ 6 และกำหนดให้เป็นน้ำมันดีเซลมาตรฐานชั่วคราว เพื่อรักษาเสถียรภาพราคาน้ำมันดีเซลไม่ให้เกิน 30 บาทต่อลิตร เพื่อลดผลกระทบต่อประชาชนผู้ใช้น้ำมันดีเซลหมุนเร็วที่ปรับตัวสูงขึ้นซึ่งเป็นไปตามสถานการณ์ราคาพลังงานในตลาดโลก โดยมาตรการดังกล่าวจะช่วยให้ราคาน้ำมันดีเซลลดลงอยู่ในระดับไม่เกิน 30 บาทต่อลิตร โดยเบื้องต้นมาตรการดังกล่าว จะมีผลตั้งแต่วันที่ 11 – 31 ตุลาคม 2564 และประชาชนผู้ใช้น้ำมันดีเซล สามารถใช้บริการได้ทั้งจากหัวจ่ายน้ำมันดีเซล B7 และหัวจ่ายของน้ำมันดีเซลหมุนเร็วธรรมดา (B10) ได้ตามปกติ และสามารถใช้ได้กับรถยนต์ดีเซลทุกรุ่นทุกยี่ห้อ

“ต้องยอมรับว่าสถานการณ์ราคาน้ำมันในตลาดโลกในขณะนี้ ยังคงปรับตัวสูงขึ้นอย่างต่อเนื่อง จากหลายปัจจัย
ทั้งเศรษฐกิจทั่วโลกที่เริ่มฟื้นตัวจากสถานการณ์โควิด-19 การเข้าสู่ช่วงฤดูหนาวของซีกโลกตะวันตก และผลกระทบต่อเนื่องจากพายุในสหรัฐอเมริกาที่ทำให้การผลิตน้ำมันต้องหยุดชะงัก รวมทั้งการจำกัดการผลิตน้ำมันของกลุ่ม OPEC ซึ่งทั้งหมดไม่เพียงแต่ส่งผลกระทบต่อราคาน้ำมันในประเทศไทยเท่านั้น ยังส่งผลให้ทั่วโลกต้องเผชิญกับปัญหาราคาน้ำมันปรับตัวสูงขึ้น แต่ขอให้ประชาชนมั่นใจว่า กระทรวงพลังงานได้ติดตามสถานการณ์ราคาพลังงานอย่างใกล้ชิด พร้อมเตรียมมาตรการระยะยาวรับมืออย่างทันท่วงทีต่อสถานการณ์ดังกล่าวเพื่อบรรเทาผลกระทบต่อประชาชนอย่างอย่างดีที่สุด และขอเน้นย้ำเรื่องการเติมน้ำมันดีเซล ประชาชนสามารถใช้บริการที่ตู้หัวจ่ายได้ทั้งดีเซล B7 และดีเซลธรรมดา (B10) เพราะทางสถานีบริการจะปรับเป็นน้ำมันดีเซล มาตรฐานเดียวกันชั่วคราว และสามารถใช้ได้กับรถยนต์ที่ใช้น้ำมันดีเซลทุกรุ่นทุกยี่ห้อ โดยจะเริ่มในวันที่ 11 – 31 ตุลาคม 2564 นี้ ทั้งนี้ หากประชาชนมีข้อสงสัยหรือต้องการรายละเอียดเพิ่มเติม สามารถสอบถามได้ที่กรมธุรกิจพลังงาน โทร 08 6609 8154” โฆษกกระทรวงพลังงานกล่าว

โครงการภายใต้กรอบแผนงานหรือโครงการภายใต้แผนฟื้นฟูเศรษฐกิจและสังคมที่ได้รับผลกระทบจากระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019

  1. เอกสารแนวทางการเสนอโครงการภายใต้กรอบแผนงานฯ  คลิกที่นี่
  2. รายละเอียดเพิ่มเติม คลิกที่นี่

รัฐมนตรีว่าการกระทรวงพลังงาน นำทีมผู้บริหารกระทรวงฯพร้อม กฟผ. ลงพื้นที่ อ.นครชัยศรี จ.นครปฐม ตรวจติดตามสถานการณ์น้ำท่วม

“สุพัฒนพงษ์” นำทีมผู้บริหารกระทรวงฯพร้อม กฟผ. ลุยต่อพื้นที่ อ.นครชัยศรี จ.นครปฐม ตรวจติดตามสถานการณ์น้ำท่วม พร้อมมอบถุงยังชีพบรรเทาความเดือดร้อนผู้ประสบอุทกภัยเบื้องต้น

วันนี้ (5 ต.ค.64 ) นายสุพัฒนพงษ์ พันธ์มีเชาว์ รองนายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรีว่าการกระทรวงพลังงาน พร้อมด้วย นายกุลิศ สมบัติศิริ ปลัดกระทรวงพลังงาน นายสมบูรณ์ หน่อแก้ว รองปลัดกระทรวงพลังงาน นายบุญญนิตย์ วงศ์รักมิตร ผู้ว่าการการไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทย (กฟผ.) นำคณะผู้บริหาร ข้าราชการ และเจ้าหน้าที่ในสังกัดกระทรวงพลังงาน และการไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทย (กฟผ.) ลงพื้นที่จังหวัดนครปฐม ตรวจติดตามสถานการณ์น้ำท่วม พร้อมมอบถุงยังชีพ จำนวน 900 ชุด บรรเทาความเดือดร้อนประชาชนเบื้องต้น รับฟังปัญหาความเดือดร้อนและให้กำลังใจผู้ประสบภัยน้ำท่วม จากอิทธิพลพายุ “เตี้ยนหมู่” โดยมี นายปฐมพงศ์ สูญจันทร์ ส.ส. จังหวัดนครปฐม เขต 4 พรรคพลังประชารัฐ พร้อมด้วย นายสุรศักดิ์ เจริญศิริโชติ ผู้ว่าราชการจังหวัดนครปฐม นายอภินันท์ เผือกผ่อง รองผู้ว่าราชการจังหวัดนครปฐม และคณะฯ ให้การต้อนรับ ณ วัดสำโรง อำเภอเมืองนครชัยศรี จังหวัดนครปฐม

นายสุพัฒนพงษ์ พันธ์มีเชาวน์ รองนายกรัฐมนตรี และรัฐมนตรีว่าการกระทรวงพลังงาน เปิดเผยว่า การลงพื้นที่จังหวัดนครปฐมครั้งนี้ เป็นภารกิจต่อเนื่องในการติดตามสถานการณ์น้ำท่วมในพื้นที่ต่างๆ ที่ได้รับผลกระทบจากอิทธิพลของพายุ “เตี้ยนหมู่” เพื่อรับฟังปัญหาความเดือดร้อนของประชาชน ตลอดจนสิ่งที่พี่น้องประชาชนต้องการความช่วยเหลือ พร้อมนำถุงยังชีพเครื่องอุปโภคและบริโภคที่จำเป็นต่อการยังชีพ จำนวน 900 ชุด มามอบเพื่อบรรเทาความเดือดให้กับประชาชน 10 ตำบล ในพื้นที่อำเภอนครชัยศรี ได้แก่ ตำบลวัดสำโรง ลานตากฟ้า บางแก้วฟ้า สัมปทวน ดอนแฝก ห้วยพลู ไทยาวาส งิ้วราย วัดแค และวัดละมุด เพื่อเป็นการช่วยเหลือเบื้องต้นก่อน ซึ่งหลังจากนี้ จะมีการประสานกับทุกหน่วยงานที่เกี่ยวข้องเพื่อบูรณาการแก้ไขปัญหาความเดือดร้อนให้กับประชาชนอย่างเร่งด่วน รวมถึงสั่งการให้หน่วยงานที่เกี่ยวข้องเร่งดำเนินการสำรวจความเสียหายทั้งบ้านเรือน พื้นที่ประกอบอาชีพ รวมถึงความเสียหายอื่นๆ เพื่อเตรียมแผนฟื้นฟูให้ประชาชนสามารถกลับมาใช้ชีวิตโดยเร็วที่สุด

“รัฐบาลและนายกรัฐมนตรี พลเอกประยุทธ์ จันทร์โอชา ตระหนักถึงความเดือดร้อนของพี่น้องประชาชนที่ได้รับผลกระทบจากสถานการณ์น้ำท่วม ท่ามกลางสถานการณ์โควิด-19 อยู่ในขณะนี้ ซึ่งนายกได้สั่งการให้รัฐมนตรี ส.ส. รวมถึงทุกหน่วยงานต่างๆ เข้าไปให้ความช่วยเหลือประชาชนในทุกพื้นที่ที่ประสบปัญหาอย่างเร่งด่วน พร้อมกำชับให้ดำเนินการช่วยเหลือประชาชนในทุกพื้นที่อย่างทั่วถึง ทุกครัวเรือที่ได้รับความเดือดร้อนต้องได้รับความช่วยเหลือไม่ให้ตกหล่น และขอให้ประชาชนมั่นใจว่ารัฐบาลจะทำให้ดีที่สุดเพื่อพี่น้องประชาชน ซึ่งในส่วนของกระทรวงพลังงานก็เป็นหนึ่งในหน่วยงานที่ได้ขับเคลื่อนความช่วยเหลือ โดยได้ร่วมกับ กฟผ. และหน่วยงานในสังกัดกระทรวงพลังงาน ลงพื้นที่ช่วยเหลือประชาชนในจังหวัดลพบุรีไปแล้วก่อนหน้านี้ และเร่งดำเนินการในพื้นที่อื่นๆ อีกต่อไป” รองนายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรีว่าการกระทรวงพลังงาน กล่าว

ด้านนายสุรศักดิ์ เจริญศิริโชติ ผู้ว่าราชการจังหวัดนครปฐม กล่าวว่า จังหวัดนครปฐมมีพื้นที่ได้รับผลกระทบจากสถานการณ์น้ำท่วม จำนวน 27 ตำบล ของ 3 อำเภอ ได้แก่ อำเภอนครชัยศรี บางเลน และสามพราน มีประชาชนได้รับผลกระทบรวมทั้งสิ้น 3,025 ครัวเรือน สำหรับอำเภอนครชัยศรี ได้รับผลกระทบจำนวน 1,459 ครัวเรือน ใน 14 ตำบล ซึ่งภาพรวมขณะนี้ สถานการณ์น้ำของจังหวัดนครปฐมยังคงต้องเฝ้าระวังผลกระทบจากการระบายน้ำลงสู่แม่น้ำท่าจีนผ่านจังหวัดนครปฐม ที่อาจจะส่งผลกระทบต่อพื้นที่นอกแนวคันกั้นน้ำ อย่างไรก็ตาม ทางจังหวัด อำเภอ ส่วนราชการในพื้นที่ รวมถึงองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นในพื้นที่ ได้เสริมแนวคันกั้นน้ำ และติดตั้งเครื่องสูบน้ำเร่งระบายน้ำออกจากพื้นที่ พร้อมติดตั้งเครื่องผลักดันน้ำ ที่สะพานข้ามแม่น้ำท่าจีน และคลองลัด จำนวน 6 จุด รวม 57 เครื่อง เพื่อเร่งผลักดันน้ำลงทะเล นอกจากนี้ ยังทำการสำรวจความเสียหายเพื่อให้การช่วยเหลือประชาชนที่ได้รับผลกระทบต่อไป

รัฐมนตรีว่าการกระทรวงพลังงานเข้าร่วมการประชุมระดับรัฐมนตรีเอเชียเรื่องความเป็นหุ้นส่วนเพื่อการเติบโตสีเขียว (Asia Green Growth Partnership Ministerial Meeting)

รัฐมนตรีว่าการกระทรวงพลังงานเข้าร่วมการประชุมระดับรัฐมนตรีเอเชียเรื่องความเป็นหุ้นส่วนเพื่อการเติบโตสีเขียว (Asia Green Growth Partnership Ministerial Meeting)

วันนี้ ( 4 ต.ค. 64) นายสุพัฒนพงษ์ พันธ์มีเชาว์ รองนายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรีว่าการกระทรวงพลังงานพร้อมด้วยปลัดกระทรวงพลังงาน (นายกุลิศ สมบัติศิริ) รองปลัดกระทรวงพลังงาน (นางเปรมฤทัย วินัยแพทย์) พร้อมคณะผู้แทนไทย ได้เข้าร่วมการประชุมระดับรัฐมนตรีเอเชียเรื่องความเป็นหุ้นส่วนเพื่อการเติบโตสีเขียว (Asia Green Growth Partnership Ministerial Meeting) พร้อมกับรัฐมนตรีและผู้แทนระดับสูงจากประเทศต่าง ๆ
ในภูมิภาคเอเชียและภูมิภาคอื่น ๆ กว่า 20 ประเทศ พร้อมด้วยองค์กรระหว่างประเทศ ได้แก่ IEA ERIA และ ASEAN Secretariat ผ่านระบบการประชุมทางไกล ที่จัดขึ้นโดยกระทรวงเศรษฐกิจ การค้า และอุตสาหกรรมของประเทศญี่ปุ่นหรือ METI ภายใต้การประชุม Tokyo Beyond-Zero Week ซึ่งการประชุมดังกล่าวเป็นเวทีหารือที่เกี่ยวข้องกับการดำเนินการในยุคของการเปลี่ยนผ่านด้านพลังงานของภูมิภาคเอเชีย ซึ่งให้ความสำคัญกับการลดการปลดปล่อยก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์จากภาคพลังงานและการแก้ปัญหาการเปลี่ยนแปลงของสภาพภูมิอากาศอย่างเร่งด่วน รวมถึงการหารือแนวทางการบรรลุเป้าหมายการปลดปล่อยคาร์บอนสุทธิเป็นศูนย์และการเติบโตสีเขียว โดยคำนึงถึงบริบทและสถานการณ์ในมิติต่าง ๆ ของแต่ละประเทศที่มีความแตกต่างกันและมีลักษณะเฉพาะตัวในแต่ละประเทศ ดังนั้นการผลักดันการเปลี่ยนผ่านด้านพลังงานของทวีปเอเชีย จึงควรสะท้อนลักษณะเฉพาะตัวเหล่านี้และอยู่บนพื้นฐานของความเป็นจริง (Realistic Energy Transition) ซึ่งญี่ปุ่นคาดหวังว่าแนวคิดข้อริเริ่มด้านการเปลี่ยนผ่านพลังงานแห่งเอเชีย (Asia Energy Transition Initiative: AETI) ของญี่ปุ่นจะสามารถนำมาสนับสนุนการดำเนินงานเพื่อให้เกิดการเปลี่ยนผ่านพลังงานในภูมิภาคเอเชียอย่างเป็นรูปธรรมต่อไป

โอกาสนี้ รมว.พน. ได้ให้เกียรติกล่าวสุนทรพจน์ที่มีสาระสำคัญกล่าวถึงความมุ่งมั่นของไทยในการปรับตัวเพื่อเตรียมความพร้อมเข้าสู่การเปลี่ยนผ่านพลังงาน โดยกระทรวงพลังงานได้นำเสนอเป้าหมายการจัดทำแผนพลังงานชาติ มีเป้าหมายเพื่อสนับสนุนการขับเคลื่อนภาคพลังงานของประเทศสู่เศรษฐกิจและสังคมคาร์บอนต่ำด้วยพลังงานสะอาด และมุ่งเน้นการศึกษาและแลกเปลี่ยนองค์ความรู้ที่ส่งเสริมการใช้เทคโนโลยีและนวัตกรรมพลังงาน รวมถึงนโยบาย 30@30 ในการเพิ่มสัดส่วนยานยนต์ไฟฟ้าที่ปล่อยมลพิษเป็นศูนย์ (ZEV) ที่จะสามารถทำให้บรรลุเป้าหมายการปลดปล่อยก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์สุทธิเป็นศูนย์ได้ในอนาคต นอกจากนี้ยังมุ่งเน้นการควบคุมการเพิ่มขึ้นของอุณหภูมิโลกไม่ให้เกิน 1.5- 2 องศาเซลเซียส ตามความตกลงปารีส เพื่อบรรลุเป้าหมาย Carbon Neutrality ของไทยภายในปี 2065

ทั้งนี้ ที่ประชุมได้มีการรับรองเอกสารผลลัพธ์การประชุมระดับรัฐมนตรีเอเชียเรื่องความเป็นหุ้นส่วน
เพื่อการเติบโตสีเขียว (Chair’s Summary of Asia Green Growth Partnership Ministerial Meeting) ที่แสดงเจตจำนงในการมุ่งไปสู่ที่แสดงถึงความมุ่งมั่นของรัฐมนตรีและผู้แทนจากประเทศหรือองค์กรระหว่างประเทศที่เข้าร่วมการประชุมฯ ในการตระหนักถึงความเร่งด่วนในการจัดการกับการเปลี่ยนแปลงของสภาพภูมิอากาศเพื่อให้เกิดการพัฒนาด้านพลังงานอย่างยั่งยืนในอนาคตและเตรียมความพร้อมในการเข้าสู่ยุคของ
การเปลี่ยนผ่านพลังงานในเอเชียต่อไป

รองนายกรัฐมนตรี และรัฐมนตรีว่าการกระทรวงพลังงานเป็นประธานในงานวันคล้ายวันสถาปนากระทรวงพลังงาน ประจำปี 2564

19 ปี วันสถาปนากระทรวงพลังงาน มอบเกียรติบัตรข้าราชการดีเด่น พร้อมสมทบทุนสภากาชาดไทย

วันนี้ (4 ต.ค. 64) นายสุพัฒนพงษ์ พันธ์มีเชาว์ รองนายกรัฐมนตรี และรัฐมนตรีว่าการกระทรวงพลังงานเป็นประธานในงานวันคล้ายวันสถาปนากระทรวงพลังงาน ประจำปี 2564 โดยมีผู้บริหารระดับสูง ข้าราชการ พนักงาน และเจ้าหน้าที่ กระทรวงพลังงานเข้าร่วมงาน

สำหรับกิจกรรมที่สำคัญในวันนี้ ได้แก่ พิธีสักการะพระพรหม สิ่งศักดิ์สิทธิ์ประจำศูนย์เอนเนอร์ยี่ คอมเพล็กซ์ ซึ่งเป็นที่ตั้งของกระทรวงพลังงาน โดยประธานในพิธีได้นำจุดธูปเทียน ถวายพวงมาลัย และเครื่องสักการะพระพรหม ทั้ง 4 ทิศ

พร้อมกันนี้ ได้จัดพิธีมอบเกียรติบัตรและเข็มเชิดชูเกียรติ ให้กับข้าราชการพลเรือนดีเด่น ประจำปี 2563 จำนวน 6 ราย จากสำนักงานปลัดกระทรวงพลังงาน กรมเชื้อเพลิงธรรมชาติ กรมธุรกิจพลังงาน กรมพัฒนาพลังงานทดแทนและอนุรักษ์พลังงาน และสำนักงานนโยบายและแผนพลังงาน

ทั้งนี้ ในโอกาสวันสถาปนากระทรวงพลังงานยังได้รับมอบเงินจาก บริษัท ปตท. จำกัด (มหาชน) เพื่อสมทบทุนสภากาชาดไทย จำนวน 50,000 บาท ซึ่งนอกจากจะเป็นการแสดงความยินดีร่วมกันแล้ว ยังเป็นการสร้างกุศลร่วมกับสภากาชาดไทย อีกด้วย

รัฐมนตรีว่าการกระทรวงพลังงาน ลงพื้นที่ จังหวัดลพบุรี ช่วยเหลือผู้ประสบภัยน้ำท่วม

“สุพัฒนพงษ์” นำทีมผู้บริหาร กระทรวงพลังงาน และกฟผ.
ลงพื้นที่ จังหวัดลพบุรี ช่วยเหลือผู้ประสบภัยน้ำท่วม

รองนายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรีว่ากระทรวงพลังงาน นำคณะผู้บริหาร ข้าราชการและเจ้าหน้าที่ กระทรวงพลังงาน และการไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทย (กฟผ.) ลงพื้นที่จังหวัดลพบุรี เพื่อให้กำลังใจและมอบถุงยังชีพ 1,600 ชุด พื้นที่ตำบลเขาพระงาม อำเภอเมือง จังหวัดลพบุรี บรรเทาความเดือดร้อนชาวบ้านผู้ประสบภัยน้ำท่วมจากอิทธพลพายุ “เตี้ยนหมู่”

วันนี้ (3 ต.ค.64 ) นายสุพัฒนพงษ์ พันธ์มีเชาว์ รองนายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรีว่าการพลังงานพร้อมด้วย นายสมบูรณ์ หน่อแก้ว รองปลัดกระทรวงพลังงาน นายบุญญนิตย์ วงศ์รักมิตร ผู้ว่าการการไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทย (กฟผ.) ข้าราชการ และเจ้าหน้าที่ในสังกัดกระทรวงพลังงาน ลงพื้นที่จังหวัดลพบุรี เพื่อรับฟังรายงานสถานการณ์น้ำท่วม พร้อมมอบถุงยังชีพเพื่อช่วยเหลือบรรเทาความเดือดร้อนเบื้องต้น ตลอดจนให้กำลังใจ และรับฟังปัญหาความเดือดร้อนผู้ประสบภัยน้ำท่วม ที่ได้รับผลกระทบจากสถานการณ์พายุ “เตี้ยนหมู่” ในช่วงนี้ โดยมี นายประทวน สุทธิอำนวยเดช ส.ส. จังหวัดลพบุรี เขต 1 พรรคพลังประชารัฐ พร้อมด้วย นายศุภภิมิตร เปาริก รองผู้ว่าราชการจังหวัดลพบุรี และคณะฯ ให้การต้อนรับ ณ หมู่บ้านไผ่ขวาง ตำบลเขาพระงาม อำเภอเมืองลพบุรี

นายสุพัฒนพงษ์ พันธ์มีเชาวน์ รองนายกรัฐมนตรีและ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงพลังงาน เปิดเผยว่า รัฐบาลตระหนักถึงความเดือดร้อนและมีความห่วงใยพี่น้องประชาชนที่ได้รับผลกระทบจากสถานการณ์พายุ “เตี้ยนหมู่” ที่ส่งผลให้เกิดน้ำท่วมฉับพลัน น้ำป่าไหลหลาก กระจายครอบคลุม 28 จังหวัด ซึ่งขณะนี้ แม้สถานการณ์คลี่คลายแล้ว ใน 5 จังหวัด แต่ยังคงเหลือพื้นที่ประสบภัยน้ำท่วมอีก 23 จังหวัด ซึ่งรัฐบาลโดยนายกรัฐมนตรี พลเอกประยุทธ์ จันทร์โอชา ได้ลงพื้นที่ช่วยเหลือและให้กำลังใจชาวบ้านด้วยตัวเองแล้วในบางจังหวัด พร้อมได้สั่งการให้ทุกหน่วยงานเข้าไปให้ความช่วยเหลือเยียวยาเพื่อบรรเทาความเดือดร้อนประชาชนในเบื้องต้นอย่างเร่งด่วน ซึ่งในส่วนของ กระทรวงพลังงาน ได้ดำเนินการนำถุงยังชีพไปมอบเพื่อให้ความช่วยเหลือและบรรเทาความเดือดร้อนของประชาชนที่ประสบภัยน้ำท่วมในพื้นที่จังหวัดลพบุรี เป็นพื้นที่แรก โดยได้มี การมอบถุงยังชีพ ซึ่งประกอบด้วยเครื่องอุปโภคและบริโภคที่จำเป็นต่อการยังชีพ จำนวน 1,600 ชุด ให้กับประชาชนในพื้นที่ตำบลเขาพระงาม อำเภอเมือง จังหวัดลพบุรี

“ขอให้พี่น้องประชาชนมั่นใจว่ารัฐบาลมีความห่วงใยและเร่งดำเนินการช่วยเหลือประชาชนทุกครัวเรือน ทุกพื้นที่ที่ได้รับผลกระทบโดยไม่ได้นิ่งนอนใจ การลงพื้นที่ในวันนี้ นอกจากจะนำถุงยังชีพ มามอบเพื่อเป็นการช่วยเบื้องต้นแล้ว ยังมาให้กำลังใจ รวมถึงรับฟังปัญหา และสิ่งที่พี่น้องประชาชนต้องการความต้องความช่วยเหลือเพื่อไปประสานกับทุกหน่วยงานเร่งแก้ปัญหาบรรเทาความเดือดร้อนของประชาชนให้ได้มากที่สุด รวมถึงการเตรียมแผนฟื้นฟูหลังสถานการณ์คลี่คลาย ทั้งเรื่องที่อยู่อาศัย การประกอบอาชีพ ของประชาชนในทุกพื้นที่ เพื่อให้ประชาชนสามารถกลับมาใช้ชีวิตประจำวันปกติต่อไป” รองนายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรีว่าการกระทรวงพลังงาน กล่าว

ด้าน นายศุภภิมิตร เปาริก รองผู้ว่าราชการจังหวัดลพบุรี กล่าวว่า สถานการณ์น้ำท่วมในพื้นที่จังหวัดลพบุรี ตั้งแต่วันที่ 25 กันยายน 2564 เป็นต้นมา มีพื้นที่ประสบภัยทั้งหมด 11 อำเภอ 94 ตำบล มีประชาชนได้รับผลกระทบกว่า 60,334 ครัวเรือน มีพื้นที่ทางการเกษตรที่คาดว่าจะได้รับความเสียหาย 507,538 ไร่ ด้านปศุสัตว์ 2,904 ราย และด้านประมง 7,487.3 ไร่ ซึ่งขณะนี้ สถานการณ์คลี่คลายแล้ว 8 อำเภอ ยังเหลืออีก 3 อำเภอที่ยังคงได้รับผลกระทบอยู่ โดยหน่วยงานที่เกี่ยวข้องอยู่ระหว่างเร่งสำรวจความเสียหายในส่วนบ้านเรือนและความเสียหายต่างๆ เพื่อให้ความช่วยเหลืออย่างเร่งด่วนต่อไป

ประชุมแนวทางการดำเนินงานตามข้อสั่งการของรัฐมนตรีว่าการกระทรวงพลังงาน ครั้งที่ 1/2564

1.สรุปข้อสั่งการ รมว.พน.   คลิกที่นี่

2. แบบฟอร์มสำหรับจัดทำข้อมูลเพื่อประกอบการประชุม  คลิกที่นี่

3.แบบตอบรับเข้าร่วมประชุม ครั้งที่ 1/2564  คลิกที่นี่

4.วาระการประชุม  คลิกที่นี่

5.Link สำหรับการประชุม  คลิกที่นี่

ปลัดกระทรวงพลังงาน นำคณะผู้บริหาร ร่วมเชิญธงชาติเนื่องในวันพระราชทานธงชาติไทย (Thai National Flag Day)

นายกุลิศ สมบัติศิริ ปลัดกระทรวงพลังงาน นำคณะผู้บริหาร ข้าราชการ เจ้าหน้าที่กระทรวงพลังงาน ร่วมเชิญธงชาติ ในวันอังคารที่ 28 กันยายน 64 เวลา 08:00น. ซึ่งเป็นวันพระราชทานธงชาติไทย (Thai National Flag Day) ณ บริเวณ ลานเสาธง กระทรวงพลังงาน
ด้วยมติคณะรัฐมนตรี เมื่อวันที่ 20 กันยายน 2559 เห็นชอบกำหนดให้วันที่ 28 กันยายน ของทุกปีเป็นวันพระราชทานธงชาติไทย (Thai National Flag Day) เริ่มในวันที่ 28 กันยายน 2560 เป็นวันแรก โดยไม่ถือเป็นวันหยุดราชการ รวมทั้งกำหนดให้มีการชักและประดับธงชาติไทยในวันดังกล่าว ในการนี้ ปลัดกระทรวงพลังงาน ผู้บริหารระดับสูงและเจ้าหน้าที่กระทรวงพลังงาน จึงร่วมกันเคารพธงชาติและร้องเพลงชาติไทย เพื่อเป็นการสร้างความภาคภูมิใจของคนในชาติ และเป็นการน้อมรำลึกในพระมหากรุญาธิคุณพระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว ที่ทรงพระราชทานธงไตรรงค์เป็นธงชาติไทย
ทั้งนี้ ให้ดำเนินการตามมาตรการการป้องกันการแพร่ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (COVID-19)

 กระทรวงพลังงาน คาดการณ์สถานการณ์การใช้และราคาพลังงาน แนวโน้มปรับตัวเพิ่มขึ้นหลังเศรษฐกิจเริ่มฟื้นตัว

“พลังงาน” คาดการณ์สถานการณ์การใช้และราคาพลังงาน แนวโน้มปรับตัวเพิ่มขึ้นหลังเศรษฐกิจเริ่มฟื้นตัว

กระทรวงพลังงาน เผย แนวโน้มการใช้และราคาพลังงานปรับตัวเพิ่มขึ้น สาเหตุมาจากเศรษฐกิจเริ่มฟื้นตัว รวมทั้งภูมิภาคตะวันตกเริ่มเข้าสู่ฤดูหนาว ทำให้ความต้องการใช้พลังงานเพิ่มขึ้น พร้อมเตรียมใช้กลไกกองทุนน้ำมันรักษาเสถียรภาพหากกรณีราคาผันผวนหนัก เพื่อไม่ให้กระทบต่อประชาชนผู้บริโภคและการฟื้นตัวของเศรษฐกิจประเทศ

นายสมภพ พัฒนอริยางกูล โฆษกกระทรวงพลังงาน เปิดเผยว่า ขณะนี้ สถานการณ์ราคาพลังงานในตลาดโลกมีแนวโน้มปรับตัวเพิ่มสูงขึ้นอย่างต่อเนื่อง เกิดจาก 2 ปัจจัยสำคัญ คือ การคลี่คลายของสถานการณ์โควิด-19 ทำให้เศรษฐกิจในหลายประเทศ รวมทั้งประเทศไทยเริ่มกลับมาฟื้นตัว กอปรกับประเทศในแถบภูมิภาคตะวันตกกำลังจะเข้าสู่ช่วงฤดูหนาว ส่งผลให้ความต้องการใช้พลังงานมีการปรับตัวเพิ่มมากขึ้น​
โดยทบวงพลังงานระหว่างประเทศ (IEA) และ กลุ่มประเทศผู้ส่งออกน้ำมัน (OPEC) คาดการณ์ความต้องการใช้น้ำมันทั่วโลกจะเพิ่มขึ้นเป็นมากกว่า 100 ล้านบาร์เรล/วัน ภายในไตรมาส 2 ของปีหน้า ซึ่งเป็นระดับเดียวกับปี 62 ก่อนที่จะเกิดการแพร่ระบาดของโควิด-19 ทั้งนี้ หลังการฉีดวัคซีนต้านไวรัสโควิด-19 ที่เพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่อง ส่งผลให้ความต้องการใช้น้ำมันทั่วโลกจะเริ่มปรับตัวสูงขึ้น โดยคาดว่าความต้องการใช้จะเพิ่มขึ้นราว 1.6 ล้านบาร์เรล/วัน ในเดือน ตุลาคม 2564 และจะเติบโตอย่างต่อเนื่องหลังจากนี้ รวมถึงราคาพลังงานและเชื้อเพลิงในทวีปยุโรปที่พุ่งสูงขึ้น เนื่องจากปริมาณก๊าซคงคลังอยู่ในระดับต่ำ อีกทั้งอุปทานจากรัสเซียที่ลดลงต่ำกว่าปกติ เนื่องจากอุปสงค์ทางฝั่งเอเชีย ที่เพิ่มสูงขึ้น

นอกจากนี้ในช่วงสัปดาห์ที่ผ่านมา การผลิตน้ำมันในสหรัฐฯ ได้รับผลกระทบจากพายุเฮอร์ริเคนไอดาและ นิโคลัส ทำให้การผลิตหายไปกว่าราว 26 ล้านบาร์เรล ซึ่งส่งผลให้ราคายืนในระดับสูงในช่วงที่ผ่านมา ทั้งนี้ กระทรวงพลังงาน ได้ติดตามสถานการณ์ราคาอย่างใกล้ชิด และมีการเตรียมพร้อมในการใช้กลไกกองทุนน้ำมันเชื้อเพลิงใน การบริหารจัดการราคาพลังงานเพื่อไม่ให้เกิดผลกระทบต่อประชาชน ซึ่งที่ผ่านมา กองทุนน้ำมันเชื้อเพลิง ได้ให้ การช่วยเหลือราคา LPG โดยตรึงราคาขายปลีกสำหรับถังขนาด 15 กิโลกรัมอยู่ที่ 318 บาทต่อถัง (ไม่รวมค่าขนส่ง) ตั้งแต่วันที่ 24 มีนาคม 2563 เป็นต้นมา และล่าสุดคณะกรรมการบริหารนโยบายพลังงาน (กบง.) ได้มีมติเมื่อวันที่ 20 กันยายน ที่ผ่านมาให้คงราคาขายปลีกก๊าซหุงต้มข้างต้นออกไปอีก 3 เดือน คือ ตั้งแต่ 1 ต.ค. 2564 ถึงวันที่ 31 ธ.ค. 2564 โฆษกกระทรวงพลังงาน ระบุต่อว่า ในส่วนของสถานการณ์ราคาน้ำมันเชื้อเพลิงชีวภาพโดยเฉพาะไบโอดีเซลราคาน้ำมัน B 100 ยังคงอยู่ในระดับสูง โดยราคาอ้างอิงเฉลี่ย ระหว่างวันที่ 20 – 26 กันยายน 2564 อยู่ที่ 40.47 บาทต่อลิตร เพิ่มขึ้นจากสัปดาห์ที่แล้ว 0.53 บาทต่อลิตร จากราคาวัตถุดิบในประเทศปรับตัวสูงขึ้น และผลผลิตปาล์มน้ำมันของประเทศไทยเริ่มน้อยลง โดยราคาผลปาล์มน้ำมัน ณ วันที่ 13 – 17 ก.ย. 64 เฉลี่ยอยู่ที่ 6.70 – 8.10 บาทต่อกิโลกรัม ขณะที่ราคาน้ำมันปาล์มดิบในตลาดโลกก็เพิ่มขึ้นเช่นกัน

“ต้องยอมรับว่าราคาพลังงานอยู่ในช่วงขาขึ้น และยังมีความผันผวน ซึ่ง กระทรวงพลังงาน ได้มีการติดตามเฝ้าระวัง รวมถึงการดูแลสถานการณ์ไม่ให้เกิดผลกระทบต่อประชาชน และการฟื้นตัวทางเศรษฐกิจ โดยเตรียมพร้อมกลไกของกองทุนน้ำมันเชื้อเพลิงในการรักษาเสถียรภาพราคาพลังงานให้อยู่ในราคาที่เหมาะสม และในอีกบทบาทหนึ่งของกองทุนน้ำมันฯ คือ การสนับสนุนเชื้อเพลิงชีวภาพ จะช่วยสร้างเสถียรภาพราคาผลผลิตทางการเกษตร สร้างรายได้ที่มั่นคงให้กับเกษตรกร ซึ่งเป็นสิ่งที่รัฐบาลให้ความสำคัญ นอกจากนั้น การนำเอทานอลและไบโอดีเซลมาผสมในน้ำมันยังช่วยลดการนำเข้า สร้างอุตสาหกรรมต่อเนื่องให้เกิดขึ้นในประเทศ และยังสามารถลดการปล่อยก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ได้ ซึ่งปัจจุบัน ราคาน้ำมันดีเซล (B10) กระทรวงพลังงานก็มีมาตรการสนับสนุนทำให้ราคาถูกกว่าน้ำมัน B7 ถึงลิตรละ 3 บาทอีกด้วย ส่วนสถานการณ์โควิดขณะนี้ กระทรวงพลังงาน โดยบริษัท ปตท. จำกัด (มหาชน) และการไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทย ยังคงให้การช่วยเหลือผู้ได้รับผลกระทบอย่างต่อเนื่อง ทั้งในส่วนของโรงพยาบาลสนาม การบริจาคอุปกรณ์หรือเครื่องมือแพทย์ที่จำเป็น รวมทั้งการสนับสนุนหาเตียงและส่งต่อผู้ติดเชื้อ ซึ่งหน่วยงานจะยังคงดำเนินการต่อไปจนกว่าสถานการณ์จะคลี่คลาย” โฆษกกระทรวงพลังงาน กล่าว

รัฐมนตรีว่าการกระทรวงพลังงาน ร่วมประชุมรัฐมนตรีอาเซียนด้านพลังงานและการประชุมอื่นที่เกี่ยวข้อง ครั้งที่ 39 (The 39th ASEAN Ministers on Energy and Associated Meetings: The 39th AMEM)

เวที AMEM ครั้งที่ 39 รัฐมนตรีอาเซียนรับรองปฏิญญาบันดาร์เสรีเบกาวัน

รัฐมนตรีพลังงานอาเซียน 10 ประเทศ รับรองปฏิญญาบันดาร์เสรีเบกาวัน มุ่งสร้างความมั่นคงทางพลังงานในยุคเปลี่ยนผ่านด้านพลังงาน “เผย” ความร่วมมือพหุภาคีระหว่าง สปป.ลาว ไทย มาเลเซีย และสิงคโปร์เตรียมเดินหน้าขายไฟฟ้าข้ามแดน 100 เมกะวัตต์ ภายในปี 2565 ด้านสหรัฐหนุนอาเซียนเพิ่มสัดส่วนพลังงานหมุนเวียนเป็น 35% ภายใน 4 ปี

นายสุพัฒนพงษ์ พันธ์มีเชาว์ รองนายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรีว่าการกระทรวงพลังงาน เปิดเผยว่า รัฐมนตรีอาเซียนด้านพลังงานทั้ง 10 ประเทศ ได้ร่วมกันประกาศปฏิญญาบันดาร์เสรีเบกาวันด้านความมั่นคงทางพลังงานและการเปลี่ยนผ่านทางพลังงาน (Bandar Seri Begawan Joint Declaration on Energy Security and Energy Transition) ในระหว่างประชุมรัฐมนตรีอาเซียนด้านพลังงานและการประชุมอื่นที่เกี่ยวข้อง ครั้งที่ 39 (The 39th ASEAN Ministers on Energy and Associated Meetings: The 39th AMEM) ซึ่งประเทศบรูไนดารุสซาลามเป็นเจ้าภาพจัดการประชุม ในระหว่างวันที่ 13-16 กันยายน 2564

สำหรับสาระสำคัญของปฏิญญาบันดาร์เสรีเบกาวัน คือ การร่วมกันพัฒนาพลังงานอย่างยั่งยืน ภายใต้การส่งเสริมการเติบโตที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม การกระตุ้นเศรษฐกิจในภูมิภาคอาเซียน รวมถึงการสนับสนุนให้เศรษฐกิจมีการปรับตัวและสามารถฟื้นตัว พร้อมที่จะรองรับรับต่อสภาวะที่เปลี่ยนแปลงหรือสภาวะฉุกเฉินต่าง ๆ ที่อาจเกิดขึ้นในอนาคต ตลอดจนส่งเสริมการเปลี่ยนผ่านทางพลังงานให้มีประสิทธิภาพ

นอกจากนี้ ที่ประชุมรัฐมนตรีอาเซียนด้านพลังงาน ยังได้รับทราบความก้าวหน้าของโครงการและกิจกรรมภายใต้แผนปฏิบัติการความร่วมมืออาเซียนด้านพลังงาน ระยะที่ 2 ซึ่งประกอบด้วย 7 สาขาความร่วมมือ และ 1 เครือข่ายความร่วมมือ ได้แก่ 1) ด้านไฟฟ้า จะร่วมกันเสริมสร้างความยืดหยุ่นและความทันสมัยของระบบสายส่ง และส่งเสริมการนำพลังงานสะอาดและพลังงานหมุนเวียนในการผลิตพลังงานไฟฟ้ามากขึ้น 2) ด้านก๊าซธรรมชาติ จะมีการพัฒนาตลาดก๊าซร่วมกันในอาเซียนและปรับปรุงความพร้อมทางการค้าและโครงสร้างพื้นฐานเพื่อเพิ่มการเชื่อมต่อและการเข้าถึงก๊าซธรรมชาติ และก๊าซธรรมชาติเหลว (LNG) ในพื้นที่ห่างไกล 3) ด้านเทคโนโลยีถ่านหินสะอาด ส่งเสริมและสนับสนุนการแลกเปลี่ยนเรียนรู้เทคโนโลยีพลังงานถ่านหินสะอาด และการพัฒนา CCUS 4) ด้านประสิทธิภาพและอนุรักษ์พลังงาน ส่งเสริมการจัดทำมาตรฐานเดียวกันของอุปกรณ์ไฟฟ้าในภูมิภาค และส่งเสริมประสิทธิภาพการใช้พลังงานในอาคาร ภาคขนส่ง และภาคอุตสาหกรรม 5) ด้านพลังงานหมุนเวียน สนับสนุนการพัฒนาพลังงานหมุนเวียนใหม่ ๆ และเพิ่มสัดส่วนการใช้พลังงานหมุนเวียนในภาคต่าง ๆ รวมทั้งพัฒนาเส้นทางการไปสู่การลดการปล่อยก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ 6) ด้านนโยบายและแผนพลังงานภูมิภาค พัฒนาแนวทางความร่วมมือด้านนโยบายและแผนด้านพลังงานของอาเซียนเพื่อให้สามารถบรรลุเป้าหมายความมั่นคงทางพลังงานและการเปลี่ยนผ่านทางพลังงาน 7) ด้านพลังงานนิวเคลียร์ เสริมสร้างการพัฒนาบุคลากรของอาเซียนในด้านวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีด้านพลังงานนิวเคลียร์ รวมถึง ยังได้มีการหารือร่วมกันในด้านเครือข่ายการกำกับกิจการพลังงานอาเซียน เพื่อส่งเสริมบทบาทด้านการพัฒนาแนวทางและกฎระเบียบ เพื่อสนับสนุนการซื้อขายไฟฟ้าพหุภาคีและตลาดปิโตรเลียมในภูมิภาคต่อไป

นอกจากนี้ รองนายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรีว่าการกระทรวงพลังงาน ยังได้กล่าวถึงผลสำเร็จจากการประชุมการประชุมรัฐมนตรีพลังงานโครงการซื้อขายไฟฟ้าพหุภาคีระหว่าง สปป.ลาว ไทย มาเลเซีย และสิงคโปร์ (Lao PDR – Thailand – Malaysia – Singapore Power Integration Project: LTMS-PIP) ว่า จะส่งเสริมการขยายการซื้อขายไฟฟ้าข้ามแดน ไปยังสิงคโปร์และผลักดันให้โครงการ LTMS ประสบผลสำเร็จโดยเร็ว โดยที่ประชุมได้รับรองถ้อยแถลง LTMS เพื่อแสดงเจตนารมณ์ร่วมกันในการซื้อขายไฟฟ้าข้ามพรมแดน โดยเริ่มต้นที่ 100 เมกะวัตต์ ในระหว่างปี 2565-2566 อย่างไรก็ตาม ในเวทีการประชุมร่วมกันรัฐมนตรีอาเซียนด้านพลังงานกับ Ms. Jenifer Granholm, Secretary of Energy จาก US Department of Energy ซึ่งถือเป็นการประชุมร่วมกันครั้งแรก โดยทางสหรัฐ ได้นำเสนอแนวคิดความร่วมมือด้านพลังงานอาเซียน-สหรัฐอเมริกา (Concept Note on ASEAN-US Engagement on Energy) ซึ่งมีสาระสำคัญเพื่อการส่งเสริมความร่วมมือด้านพลังงานในระดับรัฐมนตรีผ่านการจัดการประชุมระดับรัฐมนตรีพลังงานของประเทศสมาชิกกับสหรัฐอเมริกาเป็นประจำทุกปี เพื่อเสริมสร้างความมั่นคงทางพลังงานร่วมกัน โดยมุ่งเน้นการพัฒนาด้านพลังงานหมุนเวียน รวมทั้งเทคโนโลยีด้านพลังงานที่จะช่วยเพิ่มสัดส่วนของพลังงานหมุนเวียน ซึ่งจะช่วยให้อาเซียนบรรลุเป้าหมายด้านพลังงานหมุนเวียนในการผลิตไฟฟ้าที่ร้อยละ 35 และเป้าหมายการลดความเข้มการใช้พลังงานที่ร้อยละ 32 ในปี 2568

ทั้งนี้ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงพลังงานของไทยยังได้ใช้โอกาสนี้ กล่าวยินดีที่รัฐมนตรีพลังงานสหรัฐเข้าร่วมหารือเป็นครั้งแรกในความร่วมมือด้านพลังงานระหว่างอาเซียนกับสหรัฐ และยินดีกับแนวคิดความร่วมมือด้านพลังงานอาเซียน- สหรัฐอเมริกา พร้อมทั้งแสดงความเห็นว่าการร่วมมือกับสหรัฐจะช่วยส่งเสริมความมั่นคงและยั่งยืนทางพลังงาน รวมทั้งจะช่วยกระตุ้นการเปลี่ยนผ่านทางพลังงานของภูมิภาคและบรรลุเป้าหมายการลดการปล่อยก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ ผ่านการแลกเปลี่ยนเทคโนโลยีด้านพลังงานต่าง ๆ อาทิ ไฮโดรเจน ยานยนต์ไฟฟ้า ระบบจัดเก็บพลังงาน และเทคโนโลยีดักจับ กักเก็บและใช้ประโยชน์จากคาร์บอนไดออกไซด์ (CCUS) ต่อไป

นอกจากนี้ ในการหารือร่วมกันของที่ประชุมรัฐมนตรีพลังงานแห่งเอเชียตะวันออก รัฐมนตรีว่าการกระทรวงพลังงานของไทยได้นำเสนอวิสัยทัศน์ และแนวนโยบายด้านการเปลี่ยนผ่านทางพลังงานและการลดการปล่อยก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ของไทย ซึ่งประเทศไทยได้นำเสนอแนวนโยบายในการเพิ่มสัดส่วนโรงไฟฟ้าพลังงานทดแทน นโยบาย 30@30 ในการส่งเสริมยานยนต์ไฟฟ้าและการส่งเสริมการใช้พลังงานอย่างมีประสิทธิภาพในทุกภาคส่วน รวมทั้งการปลูกป่าเพื่อเพิ่มพื้นที่ดูดซับก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ ซึ่งเป็นแนวนโยบายภายใต้กรอบแผนพลังงานชาติ ปี 2564 อีกทั้ง ยังได้นำเสนอแนวคิด เศรษฐกิจชีวภาพ เศรษฐกิจหมุนเวียน และเศรษฐกิจสีเขียว หรือ BCG Model ต่อที่ประชุมเพื่อเป็นแนวทางในการในการส่งเสริมการใช้และการเพิ่มมูลค่าให้กับทรัพยากรที่มีอยู่ ซึ่งสอดคล้องกับนาย Francesco La Camera ผู้อำนวยการทบวงการพลังงานหมุนเวียนระหว่างประเทศ (IRENA) ที่ได้นำเสนอทิศทางการเปลี่ยนผ่านทางพลังงานโลก ซึ่งมุ่งเน้นการสร้างเสถียรภาพให้ความต้องการใช้พลังงานหมุนเวียนมากขึ้น และการเพิ่มประสิทธิภาพการใช้พลังงานเพื่อส่งเสริมเศรษฐกิจหมุนเวียน ไปพร้อม ๆ กับการส่งเสริมการเติบโตทางเศรษฐกิจ นอกจากนี้ Dr. Fatih Birol ผู้อำนวยการใหญ่ทบวงการพลังงานระหว่างประเทศ (IEA) ยังได้นำเสนอว่า ปีนี้เป็นปีที่ 10 ของการครบรอบความร่วมมือด้านพลังงานอาเซียนและ IEA ซึ่งที่ผ่านมาได้ดำเนินความร่วมมือประสบความสำเร็จด้วยดี และขอให้ประเทศสมาชิกอาเซียนได้ร่วมมือกันอย่างจริงจังต่อไปในการเสริมสร้างความมั่นคงทางพลังงานในยุคการเปลี่ยนผ่านพลังงานที่มุ่งเน้นการใช้พลังงานสะอาดและการลงทุนด้านพลังงานที่คำนึงถึงการลดการปล่อยก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ (Decarbonization)

ในส่วนของการประชุมรัฐมนตรีพลังงานอาเซียนบวกสาม ที่ประชุมได้เน้นย้ำความร่วมมือด้านความมั่นคงทางพลังงาน การลงทุนด้านพลังงานที่คำนึงถึงปัญหาสิ่งแวดล้อม การส่งเสริมการใช้พลังงานทดแทนและการอนุรักษ์พลังงาน และการเน้นหารือร่วมกันในเวทีระหว่างประเทศเพื่อส่งเสริมการพัฒนาและการใช้พลังงานสะอาดให้มากขึ้นในภูมิภาค

ทั้งนี้ การประชุมรัฐมนตรีอาเซียนด้านพลังงานและการประชุมอื่นที่เกี่ยวข้อง ครั้งที่ 39 (The 39th ASEAN Ministers on Energy and Associated Meetings: The 39th AMEM) ในรูปแบบการประชุมทางไกล (VDO Conference) โดยมีประเทศบรูไนดารุสซาลาม เป็นเจ้าภาพจัดการประชุม และมีประเทศสมาชิกอาเซียน 10 ประเทศ รวมทั้งประเทศคู่เจรจาอีก 8 ประเทศ ได้แก่ จีน เกาหลีใต้ ญี่ปุ่น ออสเตรเลีย นิวซีแลนด์ สหรัฐอเมริกา รัสเซีย และ อินเดีย และองค์กรด้านพลังงานระหว่างประเทศ ได้แก่ ทวงการพลังงานระหว่างประเทศ (IEA) และ ทบวงการพลังงานหมุนเวียนระหว่างประเทศ (IRENA) เข้าร่วม ในระหว่างวันที่ 13-16 กันยายน 2564 โดย รองนายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรีว่าการกระทรวงพลังงาน “สุพัฒนพงษ์ พันธ์มีเชาว์” พร้อมด้วยนายกุลิศ สมบัติศิริ ปลัดกระทรวงพลังงานได้นำคณะผู้บริหารกระทรวงพลังงาน และผู้แทนหน่วยงานที่เกี่ยวข้องของไทย เข้าร่วมการประชุมผ่าน VDO Conference ณ กระทรวงพลังงาน และที่ประชุมดังกล่าวยังได้รับรองถ้อยแถลงร่วมต่างๆ ที่เกี่ยวข้องในแต่ละการประชุมด้วย

คู่มือการปฏิบัติงาน

1.เอกสารแนบ1   คู่มือการใช้งานระบบ data energy    คลิกที่นี่

2.เอกสารแนบ2  คู่มือการใช้งานเครื่องมือ Data Energy  คลิกที่นี่

3.เอกสารแนบ3  การเก็บข้อมูลปฐมภูมิ    คลิกที่นี่

4.เอกสารแนบ4  การใช้ประโยชน์และประมวลผลจาก Factsheet พลังงาน    คลิกที่นี่

5.เอกสารแนบ5  คู่มือการจัดทำแผนปฏิบัติราชการ   คลิกที่นี่

6.เอกสารแนบ6  แบบฟอร์มเก็บข้อมูล

6.1  แบบฟอร์มเก็บข้อมูลโครงการด้านการอนุรักษ์พลังงาน   คลิกที่นี่

6.2 แบบฟอร์มเก็บข้อมูลโครงการด้านพลังงานทดแทน    คลิกที่นี่

6.3  แบบฟอร์มเก็บข้อมูลด้านพลังงานใน SMEs และ วิสาหกิจชุมชน  คลิกที่นี่

หัวหน้าผู้ตรวจราชการกระทรวงพลังงาน ร่วมเสวนาในงาน APEC Symposium on the Holistic Approach of Decarbonization towards Carbon Neutrality

ดร.ทวารัฐ สูตะบุตร หัวหน้าผู้ตรวจราชการกระทรวงพลังงานได้รับเชิญเข้าร่วมเสวนาในงาน APEC Symposium on the Holistic Approach of Decarbonization towards Carbon Neutrality ซึ่งจัดขึ้นระหว่างวันที่ 30 – 31 สิงหาคม 2564 โดยศูนย์วิจัยพลังงานเอเชียแปซิฟิก (Asia Pacific Energy Research Center: APERC) และได้ร่วมเวทีเสวนาในประเด็น “การสร้างความมั่นคงด้านพลังงานในยุคของการก้าวเข้าสู่เป้าหมายคาร์บอนสุทธิเป็นศูนย์ หรือ Carbon Neutrality” โดยมีผู้เข้าร่วมเสวนาจากสถาบันวิจัยเศรษฐกิจสำหรับอาเซียนและเอเชียตะวันออกหรือ ERIA กระทรวงเศรษฐกิจ การค้าและอุตสาหกรรมประเทศญี่ปุ่น และผู้เชี่ยวชาญด้านพลังงานจากสมาชิกเขตเศรษฐกิจเอเปค

ผู้เข้าร่วมเสวนาได้แสดงทรรศนะเกี่ยวกับแนวทาง นโยบาย และมาตรการที่จะช่วยให้ประเทศสามารถบรรลุเป้าหมายการปล่อยคาร์บอนสุทธิเป็นศูนย์ (NET ZERO) โดยยังคงรักษาความมั่นคงทางพลังงานให้ประเทศมีพลังงานเพียงพอสำหรับความต้องการของทุกภาคส่วนไปพร้อมๆ กับการปรับเปลี่ยนตลาดพลังงานจากการใช้เชื้อเพลิงฟอสซิลให้เป็นเชื้อเพลิงสะอาดในอนาคต ทั้งนี้ ดร.ทวารัฐได้ให้ความเห็นต่อที่ประชุมโดยเน้นย้ำความพยายามของประเทศไทยในการลดการปล่อยคาร์บอนในภาคพลังงาน ซึ่งจำเป็นต้องดำเนินนโยบายที่สร้างความสมดุลระหว่างความมั่นคงด้านพลังงานกับการเพิ่มสัดส่วนพลังงานสะอาด ซึ่งสามารถทำได้หลายรูปแบบ อาทิ การนำเข้าพลังงานสะอาดจากประเทศเพื่อนบ้าน รวมถึงผลักดันการผลิตพลังงานสะอาดในประเทศ การมุ่งศึกษาพัฒนานวัตกรรมใหม่ๆ และการวางนโยบาย/มาตรการที่เหมาะสมในช่วงของการปรับรูปแบบตลาดพลังงานของประเทศให้สามารถพึ่งพิงเชื้อเพลิงสะอาดมากขึ้นในอนาคต นอกจากนั้นยัง ต้องให้ความสำคัญกับรูปแบบความต้องการใช้พลังงานที่จะเปลี่ยนแปลงไปโดยจะมีการใช้ยานยนต์ไฟฟ้าแทนรถที่ใช้น้ำมันในภาคขนส่ง มีการใช้พลังงานหมุนเวียนและเชื้อเพลิงไฮโดรเจนแทนการใช้เชื้อเพลิงก๊าซธรรมชาติ ซึ่งส่งผลให้ภาคส่วนที่เกี่ยวข้องต้องปรับเปลี่ยนการพยากรณ์การใช้ไฟฟ้าของประเทศรวมถึงวางแผนการพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานรองรับการเปลี่ยนแปลงดังกล่าวในอนาคต

อย่างไรก็ตาม ที่ประชุมมีความเห็นร่วมกันว่าการใช้ก๊าซธรรมชาติและ LNG ยังคงมีความสำคัญในช่วงของการเปลี่ยนผ่านด้านพลังงานในปัจจุบันและอีกหลายสิบปีข้างหน้า ดังนั้น การปรับใช้เทคโนโลยีการดักจับและกักเก็บคาร์บอน หรือ Carbon Capture and Storage ในอุตสาหกรรมต้นน้ำของการผลิตเชื้อเพลิงปิโตรเลียมยังคงเป็นทางออกที่ดีสำหรับประเทศต่างๆ โดยเฉพาะประเทศกำลังพัฒนาในการที่จะลดการปล่อยคาร์บอนในภาคพลังงานและการบรรลุเป้าหมาย Carbon Neutrality ในอนาคต

กระทรวงพลังงาน เดินหน้าผลักดันภาคพลังงานกระตุ้นเศรษฐกิจช่วงโควิด สร้างอาชีพ “พลังงาน พลังใจ ขับเคลื่อนไทยให้ยั่งยืน” เพื่อก้าวข้ามวิกฤตประเทศช่วงสถานการณ์โควิด-19

กระทรวงพลังงาน เชื่อมั่นเศรษฐกิจไทยเข้มแข็ง พร้อมผลักดันการลงทุนกระตุ้นเศรษฐกิจ และเกิด การจ้างงาน เพื่อร่วมแก้ปัญหาวิกฤติโควิด-19 ต่อเนื่อง ภายใต้ความร่วมมือ“พลังงาน พลังใจ ขับเคลื่อนไทยให้ยั่งยืน” เดินหน้าเยียวยาสังคมครบทุกมิติ มาตรการลดค่าครองชีพ จ้างงาน และด้านสาธารณสุข พร้อมผลักดัน เม็ดเงินลงทุนกระตุ้นเศรษฐกิจครึ่งปีแรก 64 กว่า 1 แสนล้านบาท เกิดการจ้างงานรวมกว่า 36,000 ตำแหน่ง พร้อมปรับนโยบายพลังงานเพื่อสร้างกลไกขับเคลื่อนเศรษฐกิจฐานรากและการลงทุนของประเทศ ผ่าน 4 แผนพลังงานสำคัญ เพื่อขับเคลื่อนประเทศฝ่าวิกฤตโควิด-19
นายสุพัฒนพงษ์ พันธ์มีเชาว์ รองนายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรีว่าการกระทรวงพลังงาน เปิดเผยว่า จากสถานการณ์การแพร่ระบาดของโควิด-19 ในขณะนี้ รัฐบาลได้ร่วมบูรณาการหน่วยงานต่างๆ เพื่อเร่งแก้ปัญหาให้ครอบคลุมทั้งมิติด้านเศรษฐกิจและด้านสังคม เพื่อขับเคลื่อนประเทศฝ่าวิกฤตครั้งนี้ไปให้ได้ กระทรวงพลังงาน ได้ร่วมเป็นหนึ่งในหน่วยงานหลักในการขับเคลื่อนการแก้ไขปัญหาในสถานการณ์ดังกล่าว และเยียวยาทั้งด้านเศรษฐกิจและสังคมภายใต้ความร่วมมือ “พลังงาน พลังใจ ขับเคลื่อนไทยให้ยั่งยืน” ร่วมกับหน่วยงานในสังกัดและรัฐวิสาหกิจภายใต้การกำกับดูแลของกระทรวงพลังงานมาอย่างต่อเนื่องเต็มกำลัง
โดยในมิติด้านเศรษฐกิจ ได้มีการผลักดันให้เกิดการลงทุนตามแผนการลงทุนปี 2564 กว่า 200,000 ล้านบาท เพื่อพยุงเศรษฐกิจของประเทศให้เดินไปข้างหน้า โดยในครึ่งปีแรกของปี 2564 (เดือนมกราคม-มิถุนายน 2564) มีเม็ดเงินลงทุนไปแล้วกว่า 1 แสนล้านบาท ผ่านโครงการด้านโครงสร้างพื้นฐานด้านพลังงานต่าง ๆ ของรัฐวิสาหกิจภายใต้การกำกับของ กระทรวงพลังงาน คือ บริษัท ปตท.จำกัด (มหาชน) และบริษัทในเครือ และการไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทย (กฟผ.) รวมทั้งบริษัทในเครือ โดยในส่วนของ ปตท. มีโครงการลงทุนที่สำคัญ อาทิ โครงการสถานีรับ-จ่ายก๊าซธรรมชาติเหลวแห่งใหม่ จังหวัดระยอง โครงการท่อส่งก๊าซธรรมชาติ เส้นที่ 5 และโครงการท่อส่งก๊าซธรรมชาติจากสถานีควบคุมความดันก๊าซธรรมชาติ ราชบุรี – วังน้อยที่ 6 การติดตั้งสถานีอัดประจุไฟฟ้า (Charging Station) และการลงทุนกลุ่มอุตสาหกรรมยานยนต์ไฟฟ้า (EV) ขณะที่โครงการสำคัญในส่วนของ กฟผ. อาทิ โครงการโรงไฟฟ้าบางปะกง (ทดแทนเครื่อง1-2) โครงการขยายระบบส่งไฟฟ้า ระยะที่ 12 โครงการปรับปรุงระบบส่งไฟฟ้าบริเวณภาคตะวันออกเฉียงเหนือ
ภาคเหนือตอนล่าง ภาคกลางและกรุงเทพฯ เพื่อเสริมความมั่นคงระบบไฟฟ้า เป็นต้น

นอกจากนี้ ในช่วงครึ่งปีแรก กระทรวงพลังงาน โดย กรมเชื้อเพลิงธรรมชาติ ยังสามารถจัดเก็บรายได้จากกิจการการสำรวจและผลิตปิโตรเลียม กว่า 25,000 ล้านบาท นำส่งรัฐ ซึ่งนับเป็นส่วนสำคัญในการนำเงินดังกล่าวไปพัฒนาประเทศในช่วงเวลาวิกฤตินี้
โดยในมิติด้านสังคมได้ร่วมกับ กระทรวงมหาดไทย จัดทำโครงการเยียวยาอย่างรอบด้านทั้ง มาตรการช่วยเหลือค่าครองชีพประชาชนด้านค่าใช้จ่ายพลังงาน ได้แก่ มาตรการลดค่าไฟฟ้าในรอบเดือนกุมภาพันธ์ ถึงมีนาคมและเดือนพฤษภาคมถึงมิถุนายนที่ผ่านมา และมีการลดค่าไฟฟ้าเพิ่มในรอบเดือนกรกฎาคมและสิงหาคม หลังจากที่ยังคงมีการระบาดของโควิด-19 อย่างต่อเนื่อง ส่วนมาตรการด้านการจ้างงานสร้างอาชีพ โดยผลักดันให้เกิดการจ้างงานไปแล้วกว่า 36,000 ตำแหน่ง และยังจะมีการจ้างเพิ่มในช่วงครึ่งปีหลัง 2564 อีก 2,300 ตำแหน่ง ตลอดจนมาตรการช่วยเหลือด้านสาธารณสุขและบุคลากรทางการแพทย์ รองนายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรีว่าการกระทรวงพลังงาน กล่าวต่อว่า นอกจากนี้ กระทรวงพลังงาน ยังได้เดินหน้านโยบายพลังงานที่มุ่งเน้นเป็นกลไกในการขับเคลื่อนเศรษฐกิจของประเทศใน 4 แผนด้านพลังงานหลักๆ ที่สำคัญ ได้แก่
(1) แผนพลังงานชาติ ซึ่งจะก่อให้เกิดการลงทุนในโครงการพลังงานสีเขียวรองรับแผนการลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจกของประเทศ การเพิ่มสัดส่วนการใช้พลังงานทดแทน และการพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานรองรับการเปลี่ยนผ่านด้านเทคโนโลยี
(2) แผนการส่งเสริมอุตสาหกรรมยานยนต์ไฟฟ้า หรือ EV เพื่อผลักดันประเทศไทยเป็นฐานการผลิตยานยนต์ไฟฟ้าของโลก
(3) แผนการพัฒนาปิโตรเคมีระยะที่ 4 ซึ่งจะมุ่งสนับสนุนให้มีการขยายเพิ่มเติมจากโครงการเดิมในพื้นที่ EEC เพื่อสร้างฐานทางเศรษฐกิจใหม่ (New S-Curve) และ
(4) แผนการส่งเสริมโครงการโรงไฟฟ้าชุมชนเพื่อเศรษฐกิจฐานราก นำร่องจำนวน 150 เมกะวัตต์ ซึ่งจะก่อให้เกิดการจ้างงาน สร้างความเข้มแข็งทางเศรษฐกิจกระจายลงสู่ในระดับรากหญ้าให้มากยิ่งขึ้น

“กระทรวงพลังงาน ยังคงเร่งดำเนินโครงการต่างๆ ภายใต้สถานการณ์โควิดที่ยังคงระบาดอย่างเต็มกำลัง เพื่อเป็นกลไกในการขับเคลื่อนเศรษฐกิจของประเทศ และการช่วยเหลือและเยียวยาคุณภาพชีวิตประชาชน เพื่อร่วมเป็นส่วนหนึ่งในการผลักดันให้ประเทศไทยก้าวข้ามผ่านวิกฤตและก้าวไปข้างหน้าอย่างเข้มแข็งต่อไป” รองนายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรีว่าการกระทรวงพลังงาน กล่าว

การจัดทำแผนปฏิบัติราชการกระทรวงพลังงาน พ.ศ. 2566-2570 (ภายใน)

เอกสารประกอบ

วาระการจัดทำแผนปฏิบัติฯ ที่เห็นชอบจากการประชุมผู้บริหารระดับสูง (2 ส.ค.2564)  คลิกที่นี่

1. ตัวชี้วัดและค่าเป้าหมาย  คลิกที่นี่

2. แผนงานโครงการสำคัญ

2.1 การสร้างความมั่นคงด้านพลังงาน  คลิกที่นี่

2.2 การกำกับดูแล และการสร้างการแข่งขัน เพิ่มประสิทธิภาพ   คลิกที่นี่

2.3 การสร้างความยั่งยืนและเข้าถึงประชาชน คลิกที่นี่

2.4 การสร้างความโปร่งใส เป็นองค์กรที่มีธรรมาภิบาล ให้สังคมเชื่อถือ  คลิกที่นี่

 

การจัดทำแผนปฏิบัติราชการกระทรวงพลังงาน พ.ศ. 2566-2570

เอกสารประกอบ

วาระการจัดทำแผนปฏิบัติฯ ที่เห็นชอบจากการประชุมผู้บริหารระดับสูง (2 ส.ค.2564)  คลิกที่นี่

1. ตัวชี้วัดและค่าเป้าหมาย  คลิกที่นี่

2. แผนงานโครงการสำคัญ

2.1 การสร้างความมั่นคงด้านพลังงาน  คลิกที่นี่

2.2 การกำกับดูแล และการสร้างการแข่งขัน เพิ่มประสิทธิภาพ   คลิกที่นี่

2.3 การสร้างความยั่งยืนและเข้าถึงประชาชน คลิกที่นี่

2.4 การสร้างความโปร่งใส เป็นองค์กรที่มีธรรมาภิบาล ให้สังคมเชื่อถือ  คลิกที่นี่

3. โครงการสำคัญปี 66    

3.1 (ร่าง) การจัดทำข้อเสนอโครงการ คลิกที่นี่

3.2 แนวทางกรอกโครงการสำคัญ ข้อมูลจาก สศช.  คลิกที่นี่

 

 

กระทรวงพลังงาน บันทึกเทปถวายพระพรสมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ พระบรมราชินีนาถ พระบรมราชชนนีพันปีหลวง

วันนี้ (19 ก.ค. 64 ) นายสุพัฒนพงษ์ พันธ์มีเชาว์ รองนายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรีว่าการกระทรวงพลังงาน นายกุลิศ สมบัติศิริ ปลัดกระทรวงพลังงาน พร้อมด้วยคณะผู้บริหารระดับสูง ร่วมบันทึกเทปถวายพระพรเนื่องในโอกาสวันเฉลิมพระชนมพรรษาสมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ พระบรมราชินีนาถ พระบรมราชชนนีพันปีหลวง 12 สิงหาคม 2564 ณ สถานีวิทยุโทรทัศน์แห่งประเทศไทย (NBT)

กระทรวงพลังงาน บันทึกเทปถวายพระพรพระบาทสมเด็จพระปรเมนทรรามาธิบดีศรีสินทรมหาวชิราลงกรณ พระวชิรเกล้าเจ้าอยู่หัว

วันนี้ (2 ก.ค. 64 ) นายสุพัฒนพงษ์ พันธ์มีเชาว์ รองนายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรีว่าการกระทรวงพลังงาน และนายกุลิศ สมบัติศิริ ปลัดกระทรวงพลังงาน พร้อมด้วยคณะผู้บริหารระดับสูง ร่วมบันทึกเทปถวายพระพรเนื่องในโอกาสมหามงคลเฉลิมพระชนมพรรษาพระบาทสมเด็จพระปรเมนทรรามาธิบดีศรีสินทรมหาวชิราลงกรณ มหิศรภูมิพลราชวรางกูร กิติสิริสมบูรณอดุลยเดช สยามินทราธิเบศรราชวโรดม บรมนาถบพิตร พระวชิรเกล้าเจ้าอยู่หัว 28 กรกฎาคม 2564 ณ สถานีวิทยุโทรทัศน์แห่งประเทศไทย NBT ถ.วิภาวดีรังสิต

เอกสารประกอบการประชุมคณะทำงานพิเศษประสานเชื่อมโยงฯ ครั้งที่ 2/2564

1.Powerpoint การประชุม  คลิกที่นี่

2.ระเบียบวาระการประชุมฯ   คลิกที่นี่

3.ปรับเล่มแผนปฏิรูป_ด้านบริหารจัดการพลังงาน  คลิกที่นี่

4.ปรับเล่มแผนปฏิรูป_ด้าน RE EE    คลิกที่นี่

5.ปรับเล่มแผนปฏิรูป_ด้าน EV ESS  คลิกที่นี่

 

แผนป้องกันและบรรเทาสาธารณภัยของกระทรวงพลังงาน

หนังสือเชิญประชุมฯ และแบบตอบรับเข้าร่วม ของ ปภ.  คลิกที่นี่

สปฉ.12 ส่วนงานพลังงาน  คลิกที่นี่

แผนป้องกันและบรรเทาสาธารณภัยแห่งชาติ พ.ศ. 2558  คลิกที่นี่

รัฐมนตรีว่าการกระทรวงพลังงาน เข้าร่วมการประชุมรัฐมนตรีพลังงานอาเซียน – ญี่ปุ่น สมัยพิเศษ

เมื่อวันที่ 21 มิถุนายน 2564 กระทรวงพลังงานนำโดยนายสุพัฒนพงษ์ พันธ์มีเชาว์ รองนายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรีว่าการกระทรวงพลังงาน พร้อมด้วยปลัดกระทรวงพลังงาน (นายกุลิศ สมบัติสิริ) และรองปลัดกระทรวงพลังงาน (นางเปรมฤทัย วินัยแพทย์) และคณะผู้แทนไทย ได้เข้าร่วมการประชุมรัฐมนตรีพลังงานอาเซียนกับรัฐมนตรีว่าการกระทรวงเศรษฐกิจ การค้าและอุตสาหกรรม ประเทศญี่ปุ่น สมัยพิเศษ (The Special AMEM-METI) ผ่านระบบการประชุมทางไกล ภายใต้แนวคิด “เสริมสร้างพันธมิตรสำหรับการเปลี่ยนผ่านด้านพลังงานแห่งภูมิภาคอาเซียน” (Enhancing Partnerships in Realising Energy Transitions in ASEAN)
โดยการประชุมครั้งนี้จัดขึ้นเพื่อเสริมสร้างความร่วมมือด้านพลังงานสะอาด และนวัตกรรมเพื่อลดการปล่อยก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ระหว่างประเทศสมาชิกอาเซียนและประเทศญี่ปุ่น ทั้งนี้ ในการประชุมดังกล่าว รัฐมนตรีจากแต่ละประเทศได้แสดงวิสัยทัศน์ทางด้านพลังงานและแนวทางการพัฒนาเพื่อการเปลี่ยนผ่านทางด้านพลังงานไปสู่พลังงานสะอาดทั้งในระดับประเทศและแนวทางการพัฒนาความร่วมมือระหว่างประเทศอาเซียนและประเทศญี่ปุ่น โดยนายสุพัฒนพงษ์ พันธ์มีเชาว์ ได้นำเสนอต่อที่ประชุมฯ ว่า ประเทศไทยมีความพยายามอย่างยิ่งในการส่งเสริมแนวทางการลดการปล่อยก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ผ่านทางนโยบายต่าง ๆ อาทิ นโยบายเกี่ยวกับการใช้พลังงานหมุนเวียน นโยบายการส่งเสริมการใช้ก๊าซธรรมชาติเหลว (LNG) ในยุคเปลี่ยนผ่าน นโยบายเกี่ยวกับการส่งเสริมนวัตกรรมและเทคโนโลยีที่ยั่งยืน เช่น เทคโนโลยีไฮโดรเจน (Hydrogen)  และเทคโนโลยีดักจับ กักเก็บและการใช้ประโยชน์จากคาร์บอน (Carbon Capture utilization and Storage: CCUS) นโยบายด้านสิ่งแวดล้อม ส่งเสริมการปลูกป่าเพื่อเพิ่มแหล่งดูดซับคาร์บอนไดออกไซด์ และนโยบายรถยนต์ไฟฟ้า 30@30 ซึ่งเป็นนโยบายที่ส่งเสริมภาคอุตสาหกรรมรถยนต์พลังงานไฟฟ้า โดยเป็นการตั้งเป้าหมายไว้ว่า ภายในปี 2030 ไทยจะต้องมีสัดส่วนการผลิตรถยนต์พลังงานไฟฟ้าที่ร้อยละ 30 จากสัดส่วนการผลิตรถยนต์ทั้งหมด พร้อมกันนี้ ยังได้นำเสนอนโยบายเศรษฐกิจชีวภาพ เศรษฐกิจหมุนเวียน และเศรษฐกิจสีเขียว (Bio-Circular-Green Economy Model) หรือ BCG Model ที่มุ่งเน้นการพัฒนาคุณภาพและเศรษฐกิจของชุมชน โดยการนำทรัพยากรที่มีอยู่ในชุมชนมาสร้างมูลค่าเพิ่มและยกระดับคุณภาพชีวิตครัวเรือนและชุมชน นอกจากนี้ บรรดารัฐมนตรียังได้รับรองถ้อยแถลงร่วมสำหรับการประชุมรัฐมนตรีพลังงานอาเซียน – ญี่ปุ่น สมัยพิเศษ ซึ่งมีสาระสำคัญเกี่ยวกับการพัฒนาร่วมกันเพื่อการเปลี่ยนผ่านทางพลังงานไปสู่ยุคพลังงานสะอาดและเศรษฐกิจคาร์บอนต่ำ (Low carbon economy) ผ่านการแลกเปลี่ยนเรียนรู้และการศึกษาวิจัยร่วมกันระหว่างอาเซียนและญี่ปุ่น อีกทั้งยังให้การสนับสนุนแผนการดำเนินงานภายใต้แผนปฏิบัติการความร่วมมืออาเซียนด้านพลังงาน ระยะที่ 2 (APAEC Phase II) เพื่อเสริมสร้างความมั่นคงทางพลังงานในภูมิภาคต่อไป

ขอความอนุเคราะห์การจัดการโครงการบูรณาการข้อมูลตรวจวัดคุณภาพอากาศผ่านแอปพลิเคชัน “Sensor For All”

1.เอกสารการประชุม  คลิกที่นี่

2.พื้นที่ติดตั้งโครงการ+ฟอร์มกรอกข้อมูล 76 จังหวัด   คลิกที่นี่

ร่างประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่อง การให้ใช้บังคับผังเมืองรวมจังหวัดตรัง (ฉบับที่..)

เอกสารแนบ / สิ่งที่ส่งมาด้วย

หนังสือ สำนักเลขาธิการคณะรัฐมนตรี ที่ นร 0503/ว(ล)20013 ลว. 2 มิ.ย.64  คลิกที่นี่

แผนผังกำหนดการใช้ประโยชน์ตามที่ได้จำแนกประเภท (หน้า 19)  คลิกที่นี่

ปลัดกระทรวงพลังงาน ชี้แจงความก้าวหน้าการจัดทำแผนพลังงานแห่งชาติโดยเน้นพลังงานสะอาด สร้างชาติ สร้างเศรษฐกิจ

“กระทรวงพลังงาน เร่งเดินหน้าแผนพลังงานแห่งชาติเน้นพลังงานสะอาด สร้างชาติ สร้างเศรษฐกิจ”

นายกุลิศ สมบัติศิริ ปลัดกระทรวงพลังงาน ชี้แจงความก้าวหน้าการจัดทำแผนพลังงานแห่งชาติว่า ตามที่ประชุมคณะกรรมการบริหารนโยบายพลังงาน (กบง.) เมื่อวันที่ 26 มีนาคม 2564 ได้มีมติเห็นชอบกรอบแผนพลังงานแห่งชาติ (National Energy Plan) และให้ กระทรวงพลังงาน จัดทำรายละเอียดเพื่อเสนอต่อ กบง. นั้น
ขณะนี้ กระทรวงพลังงาน โดยสำนักงานนโยบายและแผนพลังงาน (สนพ.) อยู่ระหว่างเร่งยกร่างรายละเอียด แผนพลังงานแห่งชาติ ที่สอดคล้องกับแนวทางมุ่งไปสู่พลังงานสะอาดที่ปล่อยคาร์บอนต่ำ ซึ่งจะมีผลต่อทิศทางการพัฒนาพลังงานที่สำคัญ ประกอบด้วย
ด้านไฟฟ้า เน้นการเพิ่มสัดส่วนพลังงานทดแทนและพลังงานสะอาด ส่งเสริมการใช้ยานยนต์ไฟฟ้า พัฒนาและยกระดับเทคโนโลยีระบบไฟฟ้า (Grid Modernization) เพื่อรองรับการผลิตไฟฟ้าแบบกระจายศูนย์ ตลอดจนการผลิตเอง ใช้เอง (Prosumer) ที่มากขึ้น รวมถึงมุ่งปลดล็อคกฎระเบียบการซื้อขายไฟฟ้าเพื่อรองรับการผลิตเองใช้เองดังกล่าว
ด้านก๊าซธรรมชาติ เป็นเชื้อเพลิงสะอาดที่เป็นพลังงานสำคัญในการผลิตไฟฟ้า ซึ่งจะเน้นการเปิดเสรีและการจัดหาเพื่อสร้างความมั่นคงให้กับระบบพลังงานประเทศ ซึ่ง กระทรวงพลังงาน จะต้องวางแผนสร้างสมดุลระหว่างการจัดหาในประเทศและการนำเข้า LNG
ด้านน้ำมัน ยังคงเป็นเชื้อเพลิงหลักของประเทศในปัจจุบัน แต่จะได้รับผลกระทบจากการใช้ยานยนต์ไฟฟ้า ที่ขยายตัวขึ้น ดังนั้น จะต้องมีการปรับแผนพลังงานภาคขนส่งและพิจารณาการบริหารการเปลี่ยนผ่านให้กระทบต่อ ผู้มีส่วนเกี่ยวข้องให้น้อยที่สุด
ด้านพลังงานทดแทนและอนุรักษ์พลังงาน จะมีการปรับเป้าหมายการผลิตและการใช้พลังงานทดแทน ตลอดจนการเพิ่มประสิทธิภาพการใช้พลังงานจากทุกภาคส่วนให้เข้มข้นมากขึ้น
“หาก สนพ. จัดทำรายละเอียดการดำเนินการแล้วเสร็จ กระทรวงพลังงานจะเร่งนำเสนอ กบง. และคณะกรรมการนโยบายพลังงานแห่งชาติ (กพช.) ให้ความเห็นชอบก่อนให้ สนพ. เปิดรับฟังความคิดเห็นถึงแนวทางการขับเคลื่อนกับผู้ที่เกี่ยวข้องทุกภาคส่วนเพื่อให้การขับเคลื่อนแผนพลังงานแห่งชาติได้รับข้อเสนอแนะอย่างรอบด้านและ เป็นทิศทางการพัฒนาร่วมกันของทุกฝ่ายในประเทศ” ปลัดกระทรวงพลังงานกล่าว

กระทรวงพลังงาน รับมอบ “ต้นยางนา” จากกระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม เนื่องในวันต้นไม้ประจำปีของชาติ พ.ศ. 2564

นายสุพัฒนพงษ์ พันธ์มีเชาว์ รองนายกรัฐมนตรี และรัฐมนตรีว่าการกระทรวงพลังงาน ได้รับมอบ “ต้นยางนา” จากกระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม เนื่องในวันต้นไม้ประจำปีของชาติ พ.ศ. 2564 โดยต้นยางนาที่ได้รับมอบครั้งนี้ ได้ผ่านพิธีเจริญพระพุทธมนต์ โครงการพฤกษามหามงคล ซึ่งกระทรวงพลังงานได้นำไปปลูกในพื้นที่สำนักงานพลังงานจังหวัดปทุมธานี

สำหรับ “วันต้นไม้ประจำปีของชาติ” นี้ คณะรัฐมนตรีมีมติเมื่อวันที่ 31 มกราคม 2532 กำหนดให้วันวิสาขบูชาของทุกปีเป็นวันต้นไม้ประจำปีของชาติ เพื่อให้ประชาชนและหน่วยงานภาคส่วนต่างๆ มีส่วนร่วมในการฟื้นฟูทรัพยากรป่าไม้ของชาติ เช่น การปลูกต้นไม้ ซึ่งช่วยป้องกันและลดผลกระทบจากการเปลี่ยนแปลงทางสภาพภูมิอากาศ ลดมลภาวะเป็นพิษจากฝุ่นและหมอกควัน โดยในปีนี้ “วันต้นไม้ประจำปีของชาติ” ตรงกับวันที่ 26 พ.ค. 2564

Page 4 of 15
1 2 3 4 5 6 15