ปลัดกระทรวงพลังงาน ร่วมลงนามถวายพระพรสมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ พระบรมราชินีนาถ พระบรมราชชนนีพันปีหลวง

วันนี้ (24 ก.ค. 62) นายกุลิศ สมบัติศิริ ปลัดกระทรวงพลังงาน พร้อมด้วยผู้บริหารระดับสูงของกระทรวงพลังงาน นำแจกันดอกไม้ไปถวายหน้าพระบรมฉายาลักษณ์สมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ พระบรมราชินีนาถ พระบรมราชชนนีพันปีหลวง และร่วมลงนามถวายพระพรให้ทรงมีพระพลานามัยแข็งแรงสมบูรณ์โดยเร็ว ณ โรงพยาบาลจุฬาลงกรณ์ สภากาชาดไทย

 

รัฐมนตรีว่าการกระทรวงพลังงาน พร้อมด้วยคณะผู้บริหารระดับสูง ร่วมบันทึกเทปโทรทัศน์ถวายพระพร

วันที่ 22 กรกฎาคม 2562 นายสนธิรัตน์ สนธิจิรวงศ์ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงพลังงาน พร้อมด้วยคณะผู้บริหารระดับสูง ร่วมบันทึกเทปโทรทัศน์ถวายพระพร พระบาทสมเด็จพระวชิรเกล้าเจ้าอยู่หัว เนื่องในโอกาสวันเฉลิมพระชนมพรรษา (28 กรกฎาคม 2562) ณ สถานีโทรทัศน์ช่อง 9 MCOT HD

กระทรวงพลังงาน เดินหน้า 3 มาตรการเร่งด่วน เน้นลดภาระให้ประชาชน

กระทรวงพลังงาน เดินหน้า 3 มาตรการเร่งด่วน เน้นลดภาระให้ประชาชน ขยายเวลาอุดหนุนราคา LPG อีก 2 เดือน ห่วงวิกฤติภัยแล้ง สั่งพลังงานจังหวัดทั่วประเทศ สำรวจและเตรียมใช้ระบบโซลาร์เซลล์ ช่วยดึงน้ำบาดาล บรรเทาความเดือดร้อนประชาชน

วันนี้ (22 ก.ค. 62) นายสนธิรัตน์ สนธิจิรวงศ์ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงพลังงาน เปิดเผยภายหลังการประชุมหารือร่วมกับผู้บริหารระดับสูงกระทรวงพลังงานเรื่องการขับเคลื่อนประเด็นเร่งด่วนด้านพลังงาน ว่า เรื่องเร่งด่วนที่กระทรวงพลังงานจะขับเคลื่อนนั้น จะมุ่งเน้นมาตรการให้ความช่วยเหลือเพื่อบรรเทาความเดือดร้อนของประชาชนเป็นลำดับแรก โดยเรื่องแรกได้มีการพิจารณามาตรการช่วยเหลือเรื่องราคาก๊าซหุงต้มผู้มีรายได้น้อย และหาบเร่แผงลอย โดยประสานให้ ปตท. ขยายเวลาการช่วยเหลือออกไปอีก 2 เดือน คือไปจนถึงเดือนกันยายนนี้ เพื่อให้สามารถนำนโยบายการช่วยเหลือประชาชนของกระทรวงพลังงานไปเชื่อมโยงกับบัตรสวัสดิการแห่งรัฐของกระทรวงการคลัง

เรื่องที่สอง จะดำเนินมาตรการช่วยเหลือประชาชนเรื่องภัยแล้ง ซึ่งได้มอบหมายให้พลังงานจังหวัดไปสำรวจพื้นที่ที่รับผิดชอบว่า ประชาชนได้รับความเดือดร้อนอย่างไรบ้าง เพื่อให้ดำเนินการให้ความช่วยเหลือในเรื่องระบบสูบน้ำพลังงานแสงอาทิตย์บ่อบาดาลเพื่อบรรเทาความเดือดร้อนของประชาชน ซึ่งกระทรวงพลังงานได้มีการดำเนินการไว้อยู่แล้ว

เรื่องที่สาม แนวทางแก้ปัญหาเรื่องราคาปาล์มน้ำมันเพื่อช่วยเหลือเกษตรกร กระทรวงพลังงานได้มีการเสนอแผนระยะสั้น และระยะกลางให้กับคณะกรรมการนโยบายปาล์มน้ำมันแห่งชาติถึงแนวทางที่เหมาะสม โดยแผนระยะสั้นได้มอบหมายให้ การไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทยดำเนินการช่วยเหลือตามแนวทางที่เคยดำเนินการไว้ ส่วนแผนระยะกลาง จะมีการขับเคลื่อนการใช้ B10 และ B20 ให้ชัดเจน ซึ่งได้มอบหมายให้กรมธุรกิจพลังงานจัดทำรายละเอียดให้ชัดเจนและเหมาะสม

ส่วนกรณีการรื้อถอนแท่นปิโตรเลียมของบริษัท เชฟรอนประเทศไทยสำรวจและผลิต ที่ยังไม่ได้ข้อยุติ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงพลังงาน กล่าวว่า เบื้องต้นได้รับฟังรายละเอียดและมอบแนวทางการดำเนินงานให้กรมเชื้อเพลิงธรรมชาติไปจัดทำรายละเอียด เพื่อนำรายละเอียดทั้งหมดมาพิจารณาเพื่อนำไปสู่การเจรจาที่ได้ข้อยุติที่เกิดประโยชน์กับทุกฝ่าย

ก.พลังงานระดมสมองกำหนดทิศทางพลังงานไทย

วันนี้ (20 ก.ค.62) นายสนธิรัตน์ สนธิจิรวงศ์ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงพลังงาน เป็นประธานการประชุมระดมความคิดเห็นเพื่อกำหนดทิศทางและนโยบายของกระทรวงพลังงานขึ้น โดยมีนายกุลิศ สมบัติศิริ ปลัดกระทรวงพลังงาน พร้อมด้วยผู้บริหารระดับสูง ข้าราชการ และเจ้าหน้าที่หน่วยงานสังกัดกระทรวงพลังงาน เข้าร่วม

นายสนธิรัตน์ กล่าวภายหลังการประชุมว่า ได้เชิญผู้บริหารระดับสูงและเจ้าหน้าที่ผู้เกี่ยวข้องของหน่วยงานภายใต้การกำกับดูแลของกระทรวงพลังงานมาร่วมระดมความคิดเห็นเพื่อจะได้ใช้เป็นแนวทาง  ในการกำหนดทิศทางและนโยบายของกระทรวงพลังงานต่อไป โดยการประชุมครั้งนี้ ได้มีการแลกเปลี่ยนความคิดเห็นในประเด็นพลังงานทั้งด้านไฟฟ้า ก๊าซธรรมชาติ น้ำมันเชื้อเพลิง พลังงานทดแทน และอนุรักษ์พลังงาน โดยได้หารือถึงนโยบายสำคัญที่จะต้องเร่งผลักดัน รวมถึงข้อจำกัด และอุปสรรคต่างๆ ในการดำเนินการ เพื่อให้การดำเนินการด้านพลังงานเดินหน้าต่อไปอย่างต่อเนื่องและมีประสิทธิภาพ เกิดประโยชน์ต่อประชาชน และภาพรวมเศรษฐกิจของประเทศอย่างสูงสุด

สำหรับในวันนี้ ได้มีการมอบหมายให้แต่ละหน่วยงาน ดำเนินงานทุกอย่างโดยยึดถือประโยชน์ของประเทศเป็นที่ตั้ง คำนึงถึงจุดแข็งของประเทศไทยเป็นหลัก ส่งเสริมการแข่งขันของภาคเอกชนตั้งแต่ระดับชุมชนที่เป็นเศรษฐกิจฐานราก โดยเน้นการเชื่อมโยงช่วยเหลือชุมชนให้มีการพัฒนาศักยภาพในการผลิตและต่อยอดสินค้าไปในตลาดที่ใหญ่ขึ้น มุ่งเน้นสนับสนุนให้ชุมชนต่อยอดอาชีพ สร้างความเข้มแข็ง และพัฒนาศักยภาพชุมชนได้อย่างยั่งยืน

ส่วนประเด็นข้อขัดแย้งทางความคิด อาจจะมีปัญหาเรื่องข้อมูลที่ไม่ตรงกัน จะต้องมีการศึกษาอย่างจริงจังเพื่อให้สร้างความเชื่อถือในข้อมูลร่วมกัน และเดินไปในทิศทางเดียวกัน

รมว. พลังงาน เป็นประธานเปิด “โครงการไทยเด็ด” ส่งเสริมการจำหน่ายผลิตภัณฑ์สินค้าชุมชน

รมว. พลังงาน เป็นประธานเปิด “โครงการไทยเด็ด” ส่งเสริมการจำหน่ายผลิตภัณฑ์สินค้าชุมชนภายในสถานีบริการน้ำมัน ปตท.

วันนี้ (19 ก.ค. 62) นายสนธิรัตน์ สนธิจิรวงศ์ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงพลังงาน เป็นประธานเปิด “โครงการไทยเด็ด” ณ สถานีบริการน้ำมัน บริษัท คุณเท่ง (ชะอำ) ปิโตรเลียม จำกัด ณ จังหวัดเพชรบุรี โดยมี นายกุลิศ สมบัติศิริ ปลัดกระทรวงพลังงาน พร้อมด้วยผู้บริหารระดับสูงจากหน่วยงานต่างๆ เข้าร่วม โดย “โครงการไทยเด็ด” เป็นความร่วมมือจากหลายหน่วยงาน ไม่ว่าจะเป็น บริษัท ปตท.น้ำมันและการค้าปลีก จำกัด หรือ PTTOR กระทรวงพาณิชย์ ธนาคารเพื่อการเกษตรและสหกรณ์การเกษตร ธนาคารพัฒนาวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อม (SME Bank) และสมาคมการค้าผู้แทนจำหน่ายสถานีบริการน้ำมันพลังไทย โดยได้เชิญวิสาหกิจชุมชนนำสินค้าและผลิตภัณฑ์แปรรูปมาจำหน่ายภายในสถานีบริการน้ำมันของ ปตท. ซึ่งนอกจากจะทำให้เกิดการจ้างงาน เพิ่มรายได้ให้แก่เกษตรกรแล้ว การคัดเลือกผลิตภัณฑ์ที่มีคุณภาพจะทำให้เกิดการพัฒนาสินค้าอย่างต่อเนื่อง และทำให้ประชาชนสามารถซื้อสินค้าที่มีคุณภาพ ตรงความต้องการได้อย่างสะดวกอีกด้วย

รมว. พลังงาน เข้าสักการะพระพรหม สิ่งศักดิ์สิทธิ์ ประจำกระทรวงพลังงาน

รมว. พลังงาน เข้าสักการะพระพรหม สิ่งศักดิ์สิทธิ์ ประจำกระทรวงพลังงานเพื่อเป็นสิริมงคลในโอกาสเข้าทำงานวันแรก

วันนี้ (18 ก.ค.62) นายสนธิรัตน์ สนธิจิรวงศ์ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงพลังงาน ได้เข้าสักการะ พระพรหม ซึ่งเป็นสิ่งศักดิ์สิทธิ์ประจำกระทรวงพลังงาน ณ ศาลพระพรหม ภายในศูนย์เอนเนอร์ยี่คอมเพล็กซ์
โดยมี นายกุลิศ สมบัติศิริ ปลัดกระทรวงพลังงาน พร้อมด้วยผู้บริหารระดับสูง ข้าราชการ และเจ้าหน้าที่ ในสังกัดกระทรวงพลังงานให้การต้อนรับ

กระทรวงพลังงาน แจ้งได้รับหนังสือจากสำนักงานผู้ตรวจการแผ่นดินแล้ว พร้อมเร่งพิจารณาชี้แจงทันตามกำหนด และยืนยันที่ผ่านมาดำเนินการตามกรอบรัฐธรรมนูญมาโดยตลอด

วันนี้ (5 ก.ค. 62) นายกุลิศ สมบัติศิริ ปลัดกระทรวงพลังงาน เปิดเผยว่า จากกรณีที่สำนักงานผู้ตรวจการแผ่นดินได้แจ้งผลการวินิจฉัยของผู้ตรวจการแผ่นดิน ว่า กระทรวงพลังงานกำหนดนโยบายและแผนพัฒนากำลังการผลิตไฟฟ้า โดยให้เอกชนเป็นเจ้าของโรงไฟฟ้าทำให้สัดส่วนกำลังการผลิตไฟฟ้าของรัฐลดลงต่ำกว่าร้อยละ 51 อันขัดต่อบทบัญญัติของรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2560 มาตรา 56 วรรคสอง โดยมีข้อเสนอแนะต่อกระทรวงพลังงานให้พิจารณาดำเนินการตามข้อเสนอแนะให้แล้วเสร็จภายใน 120 วัน นับแต่วันที่ได้รับหนังสือแจ้งผลการวินิจฉัย และดำเนินการให้รัฐมีสัดส่วนการผลิตไฟฟ้าไม่น้อยกว่าร้อยละห้าสิบเอ็ด ภายในกำหนด 10 ปี นับจากปี พ.ศ. 2562 นั้น

กระทรวงพลังงาน จะได้เร่งพิจารณาข้อเสนอแนะของผู้ตรวจการแผ่นดินดังกล่าวตามขั้นตอน พร้อมทั้งยืนยันว่าการดำเนินงานตามแผนพัฒนากำลังผลิตไฟฟ้าของประเทศไทย (PDP) ที่ผ่านมา ที่ให้เอกชนมีบทบาทร่วมในการผลิตไฟฟ้ามาตั้งแต่ปี 2532 จนถึงประกาศในแผน PDP2010 เมื่อปี 2553 แผน PDP2015 ปี 2558 และล่าสุด PDP2018 ที่คณะรัฐมนตรีได้ให้ความเห็นชอบตามข้อเสนอของคณะกรรมการนโยบายพลังงานแห่งชาติ เมื่อวันที่ 30 เมษายน 2562 นั้น เป็นการดำเนินการตามกรอบของรัฐธรรมนูญมาโดยตลอด

การประชุมคณะกรรมการและคณะทำงานร่วมด้านไฟฟ้าและพลังงานระหว่างไทย-เมียนมา ครั้งที่ 4

เมื่อวันที่ 10 กรกฎาคม 2562 กระทรวงพลังงานนำโดยรองปลัดกระทรวงพลังงาน (นายสราวุธ แก้วตาทิพย์) ผู้แทนกระทรวงพลังงาน ผู้แทนการไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทย และผู้แทนกลุ่มบริษัท ปตท. ได้เข้าร่วมการประชุมคณะกรรมการและคณะทำงานร่วมด้านไฟฟ้าและพลังงานระหว่างไทย-เมียนมา ครั้งที่ 4 (The 4th Myanmar-Thailand Joint Working Group and The 4th Myanmar-Thailand Joint Working Committee) ซึ่งกระทรวงไฟฟ้าและพลังงานของสาธารณรัฐแห่งสหภาพเมียนมาเป็นเจ้าภาพจัดขึ้น ณ โรงแรม Horizon Lake View กรุงเนปยิดอ สาธารณรัฐแห่งสหภาพเมียนมา โดยที่ประชุมได้มีการหารือถึงความร่วมมือด้านพัฒนาโรงไฟฟ้าพลังน้ำด้านการเชื่อมโยงสายส่งไฟฟ้าระหว่างสองประเทศ ด้านการศึกษาร่วมด้านก๊าซธรรมชาติและปิโตรเคมี ด้านธุรกิจน้ำมันและการค้าปลีก และการพัฒนาศักยภาพบุคลากร ซึ่งทั้งสองประเทศมีความร่วมมือที่ดีต่อกันมาโดยตลอด

ภายใต้การหารือประเด็นความร่วมมือด้านไฟฟ้า ที่ประชุมได้เห็นชอบให้มีการจัดตั้งคณะทำงานร่วมเพื่อศึกษาความเป็นไปได้ในการเชื่อมโยงสายส่งไฟฟ้าระหว่างไทยและสาธารณรัฐแห่งสหภาพเมียนมา ซึ่งนับเป็นก้าวสำคัญของการขยายระบบเชื่อมโยงระบบไฟฟ้าในภูมิภาคลุ่มน้ำโขง ภายใต้กรอบยุทธศาสตร์ความร่วมมือทางเศรษฐกิจอิรวดี-เจ้าพระยา-แม่โขง (Ayeyawady-Chao Phraya-Mekong Economic Cooperation Strategy: ACMECS) ที่จะนำไปสู่การเชื่อมโยงระบบไฟฟ้า เสริมสร้างความมั่นคงด้านพลังงาน และส่งเสริมการค้าพลังงานไฟฟ้าครอบคลุมภูมิภาคอาเซียน และภูมิภาคอื่น ๆ ต่อไปในอนาคต

​นอกจากนี้ ทั้งสองฝ่ายยังได้เห็นชอบในหลักการต่อการจัดทำบันทึกความเข้าใจฉบับใหม่ระหว่างกระทรวงพลังงานของทั้งสองประเทศ ซึ่งจะรวมความร่วมมือด้านไฟฟ้าและปิโตรเลียมเข้าด้วยกัน และเพิ่มเติมความร่วมมือด้านพลังงานทดแทนอีกด้วย

ปลัดกระทรวงพลังงาน มอบนโยบายและประเด็นขับเคลื่อนยุทธศาสตร์ด้านพลังงานระดับจังหวัด

วันนี้ (10 ก.ค. 62) นายกุลิศ สมบัติศิริ ปลัดกระทรวงพลังงาน เป็นประธานการประชุมมอบนโยบายและประเด็นขับเคลื่อนยุทธศาสตร์ด้านพลังงานระดับจังหวัด ณ ห้องประชุม 9 ชั้น 15 ศูนย์เอนเนอร์ยี่คอมเพล็กซ์ อาคารบี
โดยมีผู้บริหารระดับสูงและพลังงานจังหวัดทั่วประเทศเข้าร่วมอย่างพร้อมเพรียง
ทั้งนี้ ปลัดกระทรวงพลังงาน มอบหมายภารกิจสำคัญเพื่อยกระดับพลังงานจังหวัดทั่วประเทศ สร้างมาตรฐานคุณธรรมและจริยธรรมในการทำงาน ยึดระเบียบในการทำงานตาม พ.ร.บ.วินัยการเงินการคลัง วิธีการจัดซื้อจัดจ้าง วิธีปฏิบัติทางการปกครองโดยเคร่งครัด พร้อมแนะนำพลังงานจังหวัดเข้าถึงประชาชนในพื้นที่ให้เต็มประสิทธิภาพ นำความรู้ เทคโนโลยีด้านพลังงานช่วยเหลือเกษตรกรและชาวบ้าน เพื่อเพิ่มพูนรายได้และสร้างคุณภาพชีวิตที่ดีขึ้น

การประชุมเตรียมการซ้อมแผนรองรับสภาวะฉุกเฉินด้านพลังงาน ประจำปี ๒๕๖๒

-ระเบียบวาระการประชุม
คลิกที่นี่

-เอกสารประกอบการประชุม
คลิกที่นี่

-คู่มือเตรียมพร้อมและแก้ไขปัญหาการขาดแคลนน้ำมันเชื้อเพลิงและก๊าซปิโตรเลียมเหลว กรณีปิดช่องแคบฮอร์มุซ
คลิกที่นี่

ประชุมคณะกรรมการทบทวนโครงสร้าง บทบาท อำนาจ ภาระกิจ ของกระทรวงพลังงาน ครั้งที่ 2/2562

วาระการประชุมฯ ครั้งที่ 2/2562 คลิกที่นี่ 

รายงานการประชุม ครั้งที่ 1/2562 คลิกที่นี่

แบบตอบรับการเข้าร่วมประชุม คลิกที่นี่ 

เอกสารประกอบการประชุม คลิกที่นี่

รปพน. เป็นประธานในพิธิเปิด 3 มหกรรมด้านนวัตกรรมการอนุรักษ์พลังงานและระบบอัจฉริยะในอาคารและโรงงาน

วันนี้ (27 มิ.ย. 62) ดร.สราวุธ แก้วตาทิพย์ รองปลัดกระทรวงพลังงาน เป็นประธานในพิธิเปิด 3 มหกรรมด้านนวัตกรรมการอนุรักษ์พลังงาน และระบบอัจฉริยะในอาคารและโรงงาน เพื่อสร้าง Smart Building ซึ่งประกอบด้วยงาน BMAM Expo Asia K-Fire&Safety Expo Bangkok และ LED Expo Thailand +Light ASEAN

โดยมี มิสเตอร์ ลอย จุน ฮาว ผู้จัดการทั่วไป บริษัท อิมแพ็คเอ็กซิบิชั่น แมเนจเม้นท์ จำกัด และมิสเตอร์ แซมมวล คิม กรรมการบริหาร บริษัท เอ็กซ์โค่ จำกัด กล่าวต้อนรับ พร้อมด้วย นายจิรุตถ์ อิศรางกูร ณ อยุธยา ผู้อำนวยการสำนักงานส่งเสริมการจัดประชุมและนิทรรศการ (องค์การมหาชน) กล่าวสนับสนุนการจัดงาน

ทั้งนี้ ภายในงานมีผู้ประกอบการ 350 แบรนด์ทั้งในประเทศและต่างประเทศ นำนวัตกรรมการอนุรักษ์พลังงานด้านระบบแสงสว่าง ระบบอัจฉริยะภายในอาคาร โรงงาน และระบบป้องกันอัคคีภัยมาร่วมแสดงกันอย่างครบครัน

โดยงานดังกล่าวจัดขึ้นตั้งแต่วันที่ 27-29 มิถุนายน 2562 ณ ศูนย์แสดงสินค้าและการประชุม อาคาร 6-8 อิมแพ็ค เมืองทองธานี

กระทรวงพลังงาน สรุปประเด็นสำคัญการประชุม SOME ครั้งที่ 37th ประจำวันที่ 26 มิถุนายน 2562

กระทรวงพลังงาน สรุปประเด็นสำคัญการประชุม SOME ครั้งที่ 37th  ประจำวันที่ 26 มิถุนายน 2562 ซึ่งเป็นวันที่ 3 ของการประชุมหารือเจ้าหน้าที่อาวุโสด้านพลังงานอาเซียน (SOME) สามารถสรุปประเด็นสำคัญได้ ดังนี้

-ประเทศญี่ปุ่น  – หารือแนวทางการผลักดันโครงการภายใต้แผนงานด้านพลังงาน SOME-METI อาทิ โครงการส่งเสริมการอนุรักษ์พลังงาน

-กรอบความร่วมมืออาเซียนบวกสาม (จีน เกาหลีใต้ ญี่ปุ่น)  ประกอบด้วยประเด็นความร่วมมือ อาทิ เวทีความมั่นคงด้านพลังงาน เวทีด้านน้ำมันและตลาดก๊าซธรรมชาติ เป็นต้น

-กรอบร่วมมือคณะกรรมการเอเชียตะวันออกด้านพลังงาน ซึ่งประกอบด้วย 8 ประเทศคู่เจรจา (จีน ญี่ปุ่น เกาหลีใต้ ออสเตรเลีย  นิวซีแลนด์ อินเดีย รัสเซีย  สหรัฐอเมริกา ) ได้หารือในเรื่องแนวทางการผลักดันความร่วมมือด้านการอนุรักษ์พลังงาน พลังงานชีวภาพ และประเด็นนวัตกรรม/เทคโนโลยีพลังงานใหม่ๆ

รมว.พน. ร่วมพิธีเปิดตัวผลิตภัณฑ์น้ำมันดีเซล B20

รายแรกในไทย “บางจากไฮดีเซล B20 S” ยกระดับคุณภาพ B20 ไปอีกขั้น
บางจากฯ ตอกย้ำผู้นำนวัตกรรมสีเขียว เปิดตัวผลิตภัณฑ์ใหม่ “บางจากไฮดีเซล B20 S (บี 20 เอส)” ที่ยกระดับคุณภาพน้ำมันดีเซล B20 ขึ้นไปอีกขั้น ด้วยเทคโนโลยี Green S เติมสารเพิ่มคุณภาพทำความสะอาดปกป้องเครื่องยนต์ ป้องกันหัวฉีดอุดตัน และเพิ่มค่าซีเทนช่วยให้เครื่องยนต์ทำงานแรงขึ้น เต็มสมรรถนะ เป็นรายแรกและรายเดียวในขณะนี้ หวังช่วยกระตุ้นรถที่ใช้น้ำมันดีเซล B20 ได้มาทดลองใช้มากขึ้น เพื่อช่วยพยุงราคาผลปาล์มดิบ

เมื่อวันพุธ 26 มิถุนายน 2562 ได้มีพิธีเปิดตัวผลิตภัณฑ์ “บางจากไฮดีเซล B20 S” ณ สถานีบริการน้ำมันบางจาก สาขาเทพารักษ์ กม.11 โดย ดร.ศิริ จิระพงษ์พันธ์ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงพลังงาน เป็นประธาน และมีนายชัยวัฒน์ โควาวิสารัช ประธานเจ้าหน้าที่บริหารและกรรมการผู้จัดการใหญ่ บริษัท บางจาก คอร์ปอเรชั่น จำกัด (มหาชน) พร้อมด้วยผู้บริหารของกระทรวงพลังงาน ผู้บริหารบางจากฯ ผู้บริหารค่ายรถขนส่งและรถกระบะ และนายณัฐวุฒิ สะกิดใจ (ป๋อ) นักแสดงชื่อดังร่วมในงาน

ดร.ศิริ จิระพงษ์พันธ์ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงพลังงาน ได้กล่าวขอบคุณ บริษัท บางจากฯ (มหาชน) ที่มีส่วนร่วมสนับสนุนส่งเสริมการจำหน่ายน้ำมันดีเซล B20 มาตั้งแต่ต้น โดยจำหน่ายให้กับกลุ่มอุตสาหกรรม เรือและรถขนส่งขนาดใหญ่ และได้เปิดจำหน่ายที่สถานีบริการน้ำมันบางจากครอบคลุมทุกภูมิภาค ทำให้มียอดการใช้งานน้ำมันดีเซล B20 รวมทั้งประเทศมากกว่า 70 ล้านลิตร ในเดือนพฤษภาคม 2562 มีส่วนช่วยแก้ไขปัญหาราคาผลปาล์มตกต่ำและบรรเทาความเดือดร้อนของเกษตรกรผู้ปลูกปาล์ม โดยราคาผลปาล์มดิบจากเดิมกิโลกรัมละ 1.8 บาท เพิ่มสูงขึ้นเป็นมากกว่า 3 บาท ในขณะนี้

นายชัยวัฒน์ โควาวิสารัช ประธานเจ้าหน้าที่บริหารและกรรมการผู้จัดการใหญ่ บริษัท บางจาก คอร์ปอเรชั่น จำกัด (มหาชน)เปิดเผยว่า บางจากฯ ไม่หยุดนิ่งในการนำนวัตกรรมสีเขียวมาใช้ในการพัฒนาธุรกิจ เพื่อให้คนไทยได้ใช้พลังงานที่ดีทั้งต่อการใช้งานและสิ่งแวดล้อม สอดคล้องกับเทคโนโลยีของเครื่องยนต์รุ่นใหม่ๆ และสภาพการใช้งานในเมืองไทย ล่าสุดนี้ บริษัทฯ ได้พัฒนา “บางจากไฮดีเซล B20 S” ใหม่ เป็นการยกระดับคุณภาพน้ำมันดีเซล B20 ขึ้นไปอีกขั้น ด้วยเทคโนโลยี Green S ที่เติมสารเพิ่มคุณภาพเป็นรายแรกและรายเดียวในตลาดน้ำมันเมืองไทยขณะนี้ จำหน่ายผ่านสถานีบริการน้ำมันบางจากในราคาเดิมเท่าน้ำมันดีเซล B20 ทั่วไป เพื่อให้ผู้บริโภคได้ใช้น้ำมันแรงในราคาประหยัด และกระตุ้นการใช้น้ำมันดีเซล B20 ให้มากขึ้นเพื่อช่วยเหลือเกษตรกรผู้ปลูกปาล์ม

นายชัยวัฒน์กล่าวว่า “บางจากไฮดีเซล B20 S” เติมสารเพิ่มคุณภาพ (Additive) S Super Booster (เอส ซูเปอร์ บูสเตอร์) และ S Super Purifier (เอส ซูเปอร์ เพียวริไฟเออร์) ที่ช่วยเพิ่มค่าซีเทนและทำความสะอาดเครื่องยนต์ได้ดียิ่งขึ้น ผ่านการทดสอบในห้องทดลองและใช้งานจริงแล้วพบว่าช่วยทำความสะอาดหัวฉีดกำลังและแรงบิดเพิ่มขึ้น ส่งผลให้เครื่องยนต์แรงขึ้น ช่วยให้เผาไหม้สมบูรณ์ เครื่องเดินเรียบ ตอบสนองการขับขี่ได้เต็มสมรรถนะ
ประหยัดเชื้อเพลิงได้มากขึ้นกว่าเดิม ใช้ได้กับทั้งรถเล็ก รถใหญ่ ที่ใช้น้ำมัน B20 ได้ และใช้ได้ดีทุกสภาพภูมิประเทศ ทั้งทางราบและทางชัน นอกจากนั้นยังประหยัดค่าใช้จ่ายจากราคาที่ต่ำกว่าน้ำมันดีเซลทั่วไปถึงลิตรละ 5 บาท จนถึงวันที่ 31 กรกฎาคม 2562 ตามนโยบายส่งเสริมการใช้น้ำมันดีเซล B20 ของกระทรวงพลังงาน ปัจจุบัน บางจากฯ มีจำนวนสถานีบริการที่จำหน่ายน้ำมันดีเซล B20 แล้วกว่า 330 แห่งทั่วประเทศ

นายชัยวัฒน์กล่าวถึง แผนการตลาด “บางจากไฮดีเซล B20 S” ว่า ได้รับเกียรติจากนักแสดงชื่อดัง ป๋อ ณัฐวุฒิ สกิดใจ ซึ่งเป็นผู้ใช้รถยนต์ดีเซลในชีวิตประจำวันและเลือกใช้น้ำมันเชื้อเพลิงคุณภาพสูง มาเป็น Presenter พร้อมกลยุทธ์สื่อสารการตลาดทุกรูปแบบ เพื่อสร้างการรับรู้ในคุณภาพและทดลองใช้ พิสูจน์สมรรถนะความแรงได้แล้ววันนี้ที่สถานีบริการน้ำมันบางจากทั่วประเทศที่จำหน่าย “บางจากไฮดีเซล B20 S”

สรุปประเด็นการประชุมหารือเจ้าหน้าที่อาวุโสด้านพลังงานอาเซียน (SOME) ครั้งที่ 37 วันที่ 2 ( 25 มิถุนายน 2562)

วันนี้ (25 มิถุนายน 2562 ) การประชุมหารือเจ้าหน้าที่อาวุโสด้านพลังงานอาเซียน (SOME) และหารือระหว่างอาเซียนกับ International Energy Agency (IEA) ในเรื่องกรอบความร่วมมือและกิจกรรมที่เกี่ยวข้อง เพื่อสร้างความมั่นคงด้านพลังงานในภูมิภาค ซึ่ง IEA ได้ร่วมศึกษาเรื่องอาทิ การศึกษา Feasibility study on Multilateral power trade, ASEAN-IEA cooling partnership และความร่วมมือด้านอนุรักษ์พลังงานอื่นๆ

รัฐมนตรีว่าการกระทรวงพลังงาน ร่วมในพิธีเปิดการประชุมเจ้าหน้าที่อาวุโสอาเซียนด้านพลังงานและการประชุมอื่นที่เกี่ยวข้อง ครั้งที่ 37

วันนี้ (24 มิ.ย.62) ดร.ศิริ จิระพงษ์พันธ์ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงพลังงาน ร่วมในพิธีเปิดการประชุมเจ้าหน้าที่อาวุโสอาเซียนด้านพลังงานและการประชุมอื่นที่เกี่ยวข้อง ครั้งที่ 37 (37th Senior Official Meeting on Energy and associated meetings: The 37th SOME) ซึ่งจัดขึ้นระหว่างวันที่ 24 – 28 มิถุนายน 2562 ที่กรุงเทพฯ โดยนายกุลิศ สมบัติศิริ ปลัดกระทรวงพลังงานไทย ในฐานะประธานการประชุมครั้งนี้กล่าวเปิดการประชุมว่า ประเทศไทยมีความยินดีอย่างยิ่งในการเป็นประธานอาเซียนและเป็นเจ้าภาพการจัดการประชุมในครั้งนี้ โดยเชื่อมั่นว่าการประชุมครั้งนี้จะช่วยส่งเสริมและผลักดันให้อาเซียนสามารถบรรลุเป้าหมายด้านพลังงานที่ได้กำหนดไว้ในแผนปฏิบัติการด้านพลังงานอาเซียนระยะ 10 ปี (พ.ศ. 2558 – 2568) นั่นคือ การขยายการเชื่อมโยงและการซื้อขายพลังงานในอาเซียน เพื่อสร้างความมั่นคง การเข้าถึงพลังงาน และพลังงานที่ยั่งยืนของภูมิภาค ซึ่งจำเป็นต้องอาศัยกิจกรรมความร่วมมือจากทุกภาคส่วนเพื่อให้เกิดผลสัมฤทธิ์ตามเป้าหมายที่วางไว้
การประชุม SOME ครั้งที่ 37 จะหารือถึงประเด็นเชิงนโยบายที่สำคัญในระดับภูมิภาคที่จะต้องร่วมกันผลักดันให้เกิดขึ้น รวมทั้งประเด็นด้านพลังงานที่ประเทศไทยให้ความสำคัญและผลักดันให้เกิดผลเป็นรูปธรรมในปี 2562 (Priority Deliverables) รวม 4 ด้าน ทั้งด้านไฟฟ้า ด้านการเพิ่มประสิทธิภาพพลังงาน ด้านพลังงานทดแทน และด้านก๊าซธรรมชาติ ที่ผ่านมา อาเซียนประสบความสำเร็จอย่างมากในการผลักดันกิจกรรมภายใต้สาขาความร่วมมือด้านการอนุรักษ์พลังงาน โดยในปี 2559 ผลการดำเนินงานของอาเซียนสามารถลดความเข้มของการใช้พลังงานได้เกินเป้าหมาย โดยสามารถทำได้ร้อยละ 21.9 จากเป้าหมายร้อยละ 20 ซึ่งแสดงให้เห็นถึงความความร่วมมืออย่างจริงจัง รวมทั้งความร่วมมือของประเทศคู่เจรจาและองค์กรระหว่างประเทศที่ให้การสนับสนุน
สำหรับการเป็นเจ้าภาพในปีนี้ ประเทศไทยมีแนวทางหลัก (Theme) คือ “Advancing Energy Transition through Partnership and Innovation” มุ่งเน้นการสร้างเครือข่ายความร่วมมือที่แน่นแฟ้น การพัฒนาเทคโนโลยีและนวัตกรรม เพื่อให้ภูมิภาคอาเซียนสามารถก้าวเข้าช่วงเวลาของยุคเปลี่ยนผ่านด้านพลังงาน ที่เปลี่ยนจากการใช้เชื้อเพลิงฟอสซิลไปสู่การผลิตและการใช้พลังงานสะอาดในอนาคต ซึ่งสอดคล้องกับประเด็นสำคัญที่ไทยผลักดันภายใต้แนวคิดหลัก “ร่วมมือ ร่วมใจ ก้าวไกล ยั่งยืน” รวมถึงการสร้างประชาคมอาเซียนที่มีประชาชนเป็นศูนย์กลาง ไม่ทิ้งใครไว้ข้างหลัง และก้าวไปสู่อนาคต ที่พลเอก ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรี ได้กล่าวไว้ในช่วงของการประชุมสุดยอดอาเซียน ครั้งที่ 34 เมื่อวันที่ 23 มิถุนายน 2562 ณ โรงแรมดิ แอทธินี กรุงเทพฯ ที่ผ่านมา “ประเทศไทยหวังเป็นอย่างยิ่งว่า การประชุมเจ้าหน้าที่อาวุโสด้านพลังงานอาเซียนในครั้งนี้จะสามารถสร้างผลงานความร่วมมือที่เป็นรูปธรรม และสามารถเป็นส่วนหนึ่งในการผลักดันความร่วมมือในภูมิภาคอาเซียนให้มีความแน่นแฟ้นและยั่งยืนต่อไป” ปลัดกระทรวงพลังงานของไทยกล่าวในท้ายที่สุด
ทั้งนี้ การหารือในเวที SOME ครั้งที่ 37 เพื่อจัดเตรียมประเด็นเนื้อหาทั้งเชิงนโยบายที่สำคัญในระดับภูมิภาค รวมถึงแนวทางการพัฒนากิจกรรมความร่วมมือด้านพลังงานภายใต้กรอบของอาเซียน เพื่อรายงานต่อที่ประชุมรัฐมนตรีอาเซียนด้านพลังงาน (ASEAN Ministers on Energy Meeting : AMEM) ซึ่งจะมีการประชุมในเดือนกันยายนที่จะถึงนี้ต่อไป

กระทรวงพลังงาน ติดตามสถานการณ์ความตรึงเครียดในตะวันออกกลาง

“กระทรวงพลังงาน ติดตามสถานการณ์ความตรึงเครียดในตะวันออกกลาง หลังโดรนของสหรัฐถูกโจมตีบริเวณช่องแคบฮอร์มุช พร้อมรับมือสถานการณ์หากวิกฤต

                  

จากกรณีที่โดรนสอดแนมของสหรัฐถูกโจมตีในน่านน้ำบริเวณช่องแคบฮอร์มุชของอิหร่านเมื่อวันพฤหัสบดีที่ผ่านมา นับเป็นเหตุการณ์เผชิญหน้าครั้งล่าสุด ส่งผลให้ราคาน้ำมันดิบในตลาดโลกปรับเพิ่มขึ้น 5% นั้น  กระทรวงพลังงานได้สรุปความพร้อมเพื่อรองรับสถานการณ์ โดยมีปริมาณสำรองน้ำมันคงเหลือพอใช้ภายในประเทศได้ 49 วัน รายละเอียดดังนี้

ซึ่งเป็นปริมาณสำรองเพียงพอไม่ให้เกิดการขาดแคลนในระยะสั้นหากเกิดเหตุวิกฤต  โดยในขณะเดียวกันขอให้ผู้ใช้น้ำมันเชื้อเพลิงให้ช่วยกันประหยัดเพื่อรองรับเหตุการณ์   หากสถานการณ์ลุกลามส่งผลให้ราคาน้ำมันตลาดโลกและราคาในประเทศเพิ่มสูงขึ้นตามไปด้วย

รัฐมนตรีว่าการกระทรวงพลังงาน ให้การต้อนรับผู้ช่วยรัฐมนตรีกระทรวงการต่างประเทศด้านทรัพยากรพลังงาน หัวหน้าคณะผู้แทนจากสหรัฐอเมริกา

วันที่ 20 มิถุนายน 2562 นายฟรานซิส อาร์ แฟนนอน ผู้ช่วยรัฐมนตรีกระทรวงการต่างประเทศด้านทรัพยากรพลังงาน หัวหน้าคณะผู้แทนจากสหรัฐอเมริกา ได้เข้าเยี่ยมคารวะรัฐมนตรีว่าการกระทรวงพลังงาน ดร. ศิริ จิระพงษ์พันธ์ ณ กระทรวงพลังงาน ในโอกาสที่ผู้ช่วยรัฐมนตรีฯ แฟนนอนเดินทางมาเยือนเพื่อส่งเสริมความร่วมมือด้านพลังงานผ่านการหารือร่วมในระดับนโยบายทั้งสองฝ่ายได้ตระหนักถึงความสัมพันธ์ที่มีมาอย่างยาวนานระหว่างสองประเทศ โดยเฉพาะความร่วมมือด้านพลังงาน และเห็นพ้องว่า ที่ผ่านมา ภาคเอกชนของสหรัฐอเมริกา มีบทบาทสำคัญในการขับเคลื่อนความก้าวหน้าในภาคพลังงานของไทย สำหรับระยะต่อไป ผู้ช่วยรัฐมนตรีฯ แฟนนอน เสนอว่า นโยบาย Asia EDGE (Enhancing Development and Growth through Energy) ซึ่งเป็นข้อริเริ่มของสหรัฐอเมริกา จะสามารถเป็นกรอบความร่วมมือเพื่อสานต่อความร่วมมือระหว่างสหรัฐอเมริกาและไทย รวมทั้งสนับสนุนให้เกิดการพัฒนาทรัพยากรพลังงานของไทยต่อไป รัฐมนตรีว่าการกระทรวงพลังงาน ยืนยันว่า ไทยยังคงส่งเสริมการลงทุนด้านพลังงานจากภาคธุรกิจสหรัฐอเมริกาอย่างต่อเนื่อง โดยเฉพาะในโครงการที่สอดคล้องกับแนวทางการพัฒนาโครงการพัฒนาระเบียงเศรษฐกิจพิเศษภาคตะวันออก (Eastern Economic Corridor :EEC) และชื่นชมวัตถุประสงค์ของนโยบาย Asia EDGE ที่จะช่วยกระตุ้นการลงทุนเพิ่มเติมของภาคธุรกิจสหรัฐอเมริกาในอนาคต ทั้งนี้ ยินดีที่จะส่งต่อข้อเสนอของสหรัฐอเมริกาในประเด็นนโยบาย Asia EDGE ให้รัฐมนตรีว่าการกระทรวงพลังงานคนใหม่พิจารณาต่อไป

กระทรวงพลังงานหารือกับหน่วยงานที่เกี่ยวข้องพัฒนาระบบโครงข่ายไฟฟ้าให้มีความทันสมัยและบูรณาการร่วมกันทั้ง 3 การไฟฟ้า

วันนี้ (18 มิถุนายน 2562 ) นายกุลิศ สมบัติศิริ ปลัดกระทรวงพลังงาน หารือกับหน่วยงานที่เกี่ยวข้องพัฒนาระบบโครงข่ายไฟฟ้าให้มีความทันสมัยและบูรณาการร่วมกันทั้ง 3 การไฟฟ้า

 

กระทรวงพลังงานได้หารือร่วมกับหน่วยงานที่เกี่ยวข้องได้แก่ กรรมการกำกับกิจการพลังงาน การไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทย การไฟฟ้านครหลวง การไฟฟ้าส่วนภูมิภาค สำนักงานสภาพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ สำนักงานคณะกรรมการนโยบายรัฐวิสาหกิจ ถึงแนวทางการพัฒนาระบบโครงข่ายไฟฟ้าในอนาคต
มีผู้บริหารระดับสูงที่เข้าร่วมอาทิ กรรมการกำกับกิจการพลังงาน (นายสุธรรม อยู่ในธรรม) ประธานกรรมการ กฟผ. (นายดิสทัต โหตระกิตย์) ผู้ว่าการ กฟผ. ผู้ว่าการ กฟน. รองปลัดกระทรวงพลังงาน (นายสราวุธ  แก้วตาทิพย์)  ผู้อำนวยการสำนักงานนโยบายและแผนพลังงาน (นายวัฒนพงษ์ คุโรวาท) และเลขาธิการสำนักงาน กกพ. ณ สำนักงานการไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทย

โดยมีวัตถุเพื่อกำหนดแนวทางและทิศทางของการพัฒนาระบบโครงข่ายไฟฟ้า ให้สอดรับกับแผนพัฒนากำลังการผลิตไฟฟ้าและรองรับความท้าทายในอนาคต อาทิ การเข้ามาของพลังงานทดแทนที่มากขึ้น การผลิตไฟฟ้าใช้เอง (Prosumer) การเชื่อมโยงซื้อขายไฟฟ้าในภูมิภาค รวมถึงการพัฒนาสู่สังคมดิจิทัล (Digitalization) และ Big data

ที่ประชุมได้มีการศึกษาทบทวนทิศทางความเปลี่ยนแปลงของระบบไฟฟ้าในโลก  ตัวอย่างการพัฒนาของต่างประเทศ รวมถึงการดำเนินงาน ณ ปัจจุบัน และมีความเห็นสอดคล้องร่วมกันถึงการพัฒนาระบบโครงข่ายไฟฟ้าร่วมกันของทั้ง 3 การไฟฟ้าให้สู่ระบบที่ทันสมัยในทิศทางเดียวกันที่เหมาะสมกับบริบทของประเทศไทย รองรับความเปลี่ยนแปลงของระบบไฟฟ้า ทั้งทางด้านการรองรับพลังงานทดแทนที่จะเข้ามาในระบบมากขึ้น บทบาทของไทยที่มากขึ้นในการเป็นจุดเชื่อมต่อด้านไฟฟ้าของภูมิภาค รวมถึงให้มีการลงทุนอย่างมีประสิทธิภาพ ไม่มีความซ้ำซ้อน

การประชุมดังกล่าวจะเป็นจุดเริ่มต้นในการทำงานร่วมกันของส่วนราชการที่เกี่ยวข้อง และการไฟฟ้าทั้ง 3 แห่ง โดยได้มีการมอบหมายให้สำนักงานนโยบายและแผนพลังงานจัดทำกรอบในการหารือร่วมกันในประเด็นที่เกี่ยวข้องต่อไป

ก.พลังงาน พร้อมรับมือ JDA-A18 ปิดซ่อมบำรุงประจำปี

นายสมภพ พัฒนอริยางกูล ผู้อำนวยการกองยุทธศาสตร์และแผนงาน โฆษกกระทรวงพลังงาน เปิดเผยถึงการปิดซ่อมบำรุงแหล่งก๊าซธรรมชาติพื้นที่พัฒนาร่วมไทย- มาเลเซีย (JDA A-18) ที่จะหยุดซ่อมบำรุงประจำปี ในช่วงวันที่ 7-21 กรกฎาคม 2562 รวม 14 วัน ส่งผลให้ปริมาณก๊าซธรรมชาติหายไปจากระบบประมาณ 440 ล้านลูกบาศก์ฟุต/วัน ทำให้เกิดผลกระทบทั้งด้านเชื้อเพลิงเพื่อใช้ในการผลิตไฟฟ้าและการผลิตก๊าซ NGV โดยกระทรวงพลังงานได้ประสานไปยัง บริษัท ปตท.จำกัด (มหาชน) และ
การไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทย (กฟผ.) ออกมาตรการรองรับทั้งด้านความพร้อมในการผลิตไฟฟ้า และบริหารจัดการก๊าซ NGV เพื่อไม่ให้กระทบต่อการใช้ไฟฟ้าและการใช้ก๊าซ NGV ในพื้นที่ภาคใต้ ดังนี้

1.ระบบผลิต ให้ใช้น้ำมันดีเซลเป็นเชื้อเพลิงในช่วงที่ไม่มีก๊าซธรรมชาติจ่ายให้โรงไฟฟ้าจะนะ ชุดที่ 1 และ 2 ส่วนโรงไฟฟ้าภาคใต้ทุกโรง ได้แก่ โรงไฟฟ้าขนอม โรงไฟฟ้ากระบี่ เขื่อนรัชชประภา เขื่อนบางลาง และโรงไฟฟ้าเอกชนขนาดเล็ก (SPP) พร้อมเดินเครื่อง และงดการหยุดซ่อมบำรุงทุกกรณีในช่วงที่แหล่งJDA-A18 หยุดจ่ายก๊าซธรรมชาติ ประสานการไฟฟ้ามาเลเซียเพื่อซื้อไฟฟ้าผ่านระบบ HVDC ในกรณีฉุกเฉิน

2.ด้านเชื้อเพลิง ให้สำรองน้ำมันดีเซล และน้ำมันเตาให้เพียงพอ โดยน้ำมันดีเซลที่โรงไฟฟ้าจะนะ สำรองขั้นต่ำ 18.6 ล้านลิตร น้ำมันเตาที่โรงไฟฟ้ากระบี่ สำรองขั้นต่ำ 10 ล้านลิตร ประสาน ปตท.เตรียมพร้อมจัดส่งน้ำมันเพิ่มเติมต่อเนื่องตลอดการซ่อมบำรุงระบบส่งไฟฟ้า เตรียมความพร้อมระบบสายส่งไฟฟ้าจากภาคกลางที่จ่ายไฟลงมาภาคใต้ให้พร้อมใช้งาน 100% และงดการทำงานบำรุงรักษา

3.บุคลากร เตรียมทีมงานพร้อมเข้าแก้ไขสถานการณ์ทันทีกรณีมีเหตุฉุกเฉิน ประสานงานการไฟฟ้าส่วนภูมิภาคอย่างใกล้ชิดและเตรียมแผนรองรับกรณีที่เกิดเหตุไฟฟ้าดับ

สำหรับมาตรการรองรับด้านก๊าซ NGV ปตท. ได้เตรียมการบรรจุก๊าซ NGV จัดเก็บใส่รถขนส่งก๊าซฯ เพื่อสำรองไว้ก่อนการหยุดผลิต รวมถึงมีการวางแผนจัดสรรก๊าซฯ จากพื้นที่ส่วนกลางขนส่งลงมายังพื้นที่ภาคใต้ตอนล่าง เพื่อให้เพียงพอต่อการให้บริการประชาชนในพื้นที่ครอบคลุมสถานีบริการก๊าซ NGV ใน 4 จังหวัด จำนวน 12 แห่ง ได้แก่ จังหวัดสุราษฎร์ธานี 4 แห่ง จังหวัด นครศรีธรรมราช 3 แห่ง จังหวัดสงขลา 4 แห่ง และจังหวัดปัตตานี 1 แห่ง ซึ่งปัจจุบันมีความต้องการใช้อยู่ที่ 90 ตัน/วัน

“นอกเหนือจากมาตรการข้างต้นแล้ว เพื่อให้เกิดการใช้ไฟฟ้าอย่างมีประสิทธิภาพ ทางกระทรวงพลังงาน
ขอความร่วมมือจากภาคธุรกิจ ภาคอุตสาหกรรม และประชาชนในพื้นที่ภาคใต้ร่วมประหยัดพลังงานในช่วงเวลา 18.00-21.30 น. ในช่วงที่มีการหยุดจ่ายก๊าซฯจากแหล่ง JDA-A18 และขอยืนยันว่าได้เตรียมพร้อมทุกมาตรการเพื่อสร้างความมั่นคงให้ระบบไฟฟ้าในพื้นที่ภาคใต้ในช่วงการหยุดซ่อมบำรุงครั้งนี้”     โฆษกกระทรวงพลังงานกล่าว

การพัฒนาระบบโครงข่ายไฟฟ้าในอนาคต

วาระการประชุมการพัฒนาระบบโครงข่ายไฟฟ้าในอนาคต คลิกที่นี่

เอกสารการพัฒนาระบบโครงข่ายไฟฟ้าในอนาคต ของ กฟภ. คลิกที่นี่

การพัฒนาระบบ-Smart-Grid-กฟน. คลิกที่นี่

การพัฒนาระบบโครงข่ายไฟฟ้าในอนาคตของ กฟผ คลิกที่นี่

ทิศทางการผลิตภาคไฟฟ้าในอนาคตและกรณีศึกษาจากต่างประเทศ โดย บริษัท McKinsey & Company คลิกที่นี่

ปลัดกระทรวงพลังงานเข้าร่วมการประชุมรัฐมนตรี G20 ด้านพลังงานและสิ่งแวดล้อม

ปลัดกระทรวงพลังงานเข้าร่วมการประชุมรัฐมนตรี G20 ด้านพลังงานและสิ่งแวดล้อม

เมื่อวันที่ 15-16 มิถุนายน 2562 ณ เมืองคารุอิซาวา ประเทศญี่ปุ่น นายกุลิศ สมบัติศิริ ปลัดกระทรวงพลังงาน เป็นผู้แทนรัฐมนตรีว่าการกระทรวงพลังงาน เข้าร่วมการประชุม G20 ระดับรัฐมนตรีพลังงานและสิ่งแวดล้อม (The G20 Ministerial Meeting on Energy Transitions and Global Environment for Sustainable Growth) โดยที่ประชุมได้เน้นย้ำถึงความสำคัญของการเปลี่ยนผ่านพลังงานและมิติปัญหาและการจัดการที่ยั่งยืนด้านสิ่งแวดล้อม โดยตระหนักถึง 3E+S (ความมั่นคงด้านพลังงาน ประสิทธิภาพทางเศรษฐกิจ สิ่งแวดล้อม และความปลอดภ้ย) รวมถึงการร่วมมือกันในการแก้ไขปัญหาต่างๆ เช่น ขยะพลาสติก การเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ เป็นต้น ทั้งนี้ เพื่อการบรรลุเป้าหมายการพัฒนาที่ยั่งยืน (SDGs) โดยมิติพลังงานมุ่งส่งเสริมการพัฒนาทางด้านเทคโนโลยีและนวัตกรรมด้านพลังงานทดแทน การส่งเสริมการใช้พลังงานไฮโดรเจน เป็นต้น

ปลัดกระทรวงพลังงาน ได้กล่าวต่อที่ประชุม G20 ว่า ไทยได้วางนโยบายและพัฒนาด้านพลังงานในช่วงการเปลี่ยนผ่านพลังงาน (Energy Transition) โดยการส่งเสริมการใช้สายส่งอัจฉริยะ (Smart Grid) เทคโนโลยีการกักเก็บพลังงาน (Energy Storage) และการนำ Big Data และ Blockchain มาใช้ในภาคพลังงานของไทย ทั้งนี้ ในปี 2562 นี้ ประเทศไทยในฐานะประธานอาเซียน และกระทรวงพลังงานไทยจะเป็นเจ้าภาพจัดการประชุมรัฐมนตรีอาเซียนด้านพลังงาน ครั้งที่ 37 โดยที่ประชุมจะมีการหารือกันเกี่ยวกับการร่วมมือกันในการพัฒนาการเชื่อมโยงพลังงานไฟฟ้าในภูมิภาค การส่งเสริมประสิทธิภาพพลังงาน และการพัฒนาพลังงานทดแทน ทั้งนี้ ประเทศไทยตั้งอยู่ในจุดยุทธศาสตร์ของภูมิภาคอาเซียน ซึ่งไทยมีความพร้อมและยินดีที่จะเป็นจุดเชื่อมโยงพลังงานระหว่างภูมิภาค (Regional Energy Connector : REC) เพื่อเสริมสร้างความมั่นคงทางพลังงานและการเติบโตที่ยั่งยืนทางเศรษฐกิจในภูมิภาคต่อไป อนึ่ง มีผู้แทนระดับรัฐมตรีและระดับสูงจากประเทศสมาชิกและประเทศรับเชิญ รวมทั้งองค์กรระหว่างประเทศด้านพลังงานและสิ่งแวดล้อม เข้าร่วมประชุม 25 ประเทศ และ 10 องค์กรระหว่างประเทศ รวมจำนวนผู้แทนเข้าร่วมราว 400 คน

กระทรวงพลังงาน เตรียมพร้อมรับมือ สถานการณ์ราคาน้ำมับดิบในตลาดโลกผันผวน

กระทรวงพลังงาน เตรียมพร้อมรับมือ สถานการณ์ราคาน้ำมับดิบในตลาดโลกผันผวน
หลังเหตุการณ์เรือบรรทุกน้ำมัน/เคมี 2 ลำ ถูกลอบโจมตีแถบอ่าวโอมาน เมื่อวันที่ 13 มิถุนายนที่ผ่านมา

จากกรณีที่เรือบรรทุกน้ำมัน/เคมี 2 ลำ (เป็นเรือบรรทุกแนฟทา และเมทานอล) ได้รับความเสียหายจากการถูกลอบโจมตีบริเวณอ่าวโอมาน เมื่อวันที่ 13 มิถุนายนที่ผ่านมา กรณีที่เรือบรรทุกน้ำมันที่ถูกโจมตี
ห่างจากชายฝั่งอิหร่านประมาณ 14 ไมล์ระหว่างขนส่งสินค้าจากตะวันออกกลางไปยังสิงคโปร์และไต้หวัน นั้น
กระทรวงพลังงานได้มีการประชุมสอบทานปริมาณสต๊อกน้ำมันสำรองในประเทศแบ่งเป็นชนิดต่างๆดังนี้ เตรียมความพร้อมรับมือกับสถานการณ์ดังกล่าว ดังนี้
ซึ่งสรุปได้ว่า
1.มีปริมาณเชื้อเพลิงสำเร็จรูป (เบนซิน -ดีเซล) เพียงพอต่อความต้องการใช้  13 วัน

2.มีปริมาณน้ำมันดิบเพียงพอต่อการใช้ เพื่อผลิตป้อนตามความต้องการใช้ในประเทศได้ 24 วัน และอยู่ระหว่างขนส่งทางเรือได้อีก 13 วัน

3.รวมปริมาณสำรองน้ำมัน ทั้งหมด ใช้ได้ 50 วัน

4.สามารถผลิตน้ำมันดิบและคอนเดนเสทจากแหล่งในประเทศ ป้อนความต้องการใช้ได้ประมาณ 35%

5.มีสต๊อก LPG พร้อมใช้สำหรับครัวเรือน 20 วัน

ทั้งนี้ โรงแยกแก๊ส ปตท.สามารถผลิตได้เพียงพอต่อความต้องการใช้ในภาคครัวเรือนโดยไม่ขาดแคลน

สำหรับเหตุการณ์ในครั้งนี้ ซึ่งผลจากการซ้อมเตรียมความพร้อมกระทรวงพลังงานมีความมั่นใจว่าประเทศไทยมีปริมาณสำรองน้ำมันที่พร้อมนำมาใช้ได้เพียงพอต่อความต้องการใช้ในประเทศ กระทรวงพลังงานมีมาตรการในการกำกับ บริหารปริมาณสำรองให้มีผลกระทบต่อผู้บริโภคน้อยที่สุด

กระทรวงพลังงาน “เตือน” ประชาชน อย่าหลงเชื่อสรรพคุณบัตรพลังงาน ยืนยัน ไม่สามารถช่วยประหยัดค่าไฟฟ้า ค่าน้ำมัน ค่าแก๊ส LPG และ NGV ได้ตามที่กล่าวอ้าง

กระทรวงพลังงาน “เตือน” ประชาชน อย่าหลงเชื่อสรรพคุณบัตรพลังงาน

ยืนยัน  ไม่สามารถช่วยประหยัดค่าไฟฟ้า ค่าน้ำมัน ค่าแก๊ส LPG และ NGV ได้ตามที่กล่าวอ้าง

 

ตามที่มีการโฆษณาเผยแพร่ในโลกออนไลน์เกี่ยวกับเรื่องบัตรพลังงาน  หรือ บัตรพลัง หรือ การ์ดวิเศษ ว่ามีคุณสมบัติพิเศษ สามารถช่วยค่าไฟฟ้า ค่าแก๊ส LPG NGV และน้ำมัน ได้เพียงแค่นำไปแปะไว้ที่อุปกรณ์ไฟฟ้า ถังน้ำมัน หรือถังแก๊สนั้น  กระทรวงพลังงานขอยืนยันว่า ไม่เป็นความจริงแต่อย่างใด  ขอประชาชนอย่าหลงเชื่อ และตกเป็นเครื่องมือของมิจฉาชีพจนทำให้ต้องสูญเสียเงินทองโดยไม่จำเป็น

ทั้งนี้  ระบบไฟฟ้า อุปกรณ์ไฟฟ้า หรือ ยานพาหนะ ต่างๆ มีระบบระบบควบคุมและการวัดค่าการใช้งานที่มีมาตรฐาน ตามการใช้งานจริง สำหรับการประหยัดพลังงานนั้น สามารถทำได้ด้วยวิธีง่ายๆ โดยปรับพฤติกรรมการใช้พลังงานให้มีประสิทธิภาพ ก็สามารถลดค่าใช้จ่ายด้านพลังงานได้โดยไม่ต้องเสียเงินเพิ่ม

หากมีข้อสงสัยเกี่ยวกับเรื่องพลังงาน สามารถสอบถามข้อมูลได้ที่  ศูนย์บริการร่วมกระทรวงพลังงาน โทร 02 -140-7000

“ประชุมทบทวน โครงสร้าง บทบาท”

วันนี้ (13 มิ.ย.62) นายกุลิศ สมบัติศิริ ปลัดกระทรวงพลังงาน เป็นประธานในการประชุมคณะกรรมการทบทวนโครงสร้าง บทบาท อำนาจและภารกิจของกระทรวงพลังงาน เพื่อยกระดับการทำงานของหน่วยงาน ลดภารกิจที่ซ้ำซ้อน ทำงานบูรณาการ ให้มีประสิทธิภาพยิ่งขึ้น

ดร.ศิริ จิระพงษ์พันธ์ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงพลังงาน เป็นประธานในพิธี เปิดจำหน่ายน้ำมันคาลเท็กซ์ดีเซล B20

วันนี้ ( 12 มิถุนายน 2562 ) ดร.ศิริ จิระพงษ์พันธ์ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงพลังงาน เป็นประธานในพิธี เปิดจำหน่ายน้ำมันคาลเท็กซ์ดีเซล B20 ณ สถานีบริการน้ำมันคาลเท็กซ์ กระบี่ บี.พี. 1999 อำเภออ่าวลึก จังหวัดกระบี่

นายซาลมาน ซาดัต ประธานกรรมการและผู้จัดการใหญ่ บริษัท เชฟรอน (ไทย) จำกัด ผู้ให้บริการสถานีบริการน้ำมันคุณภาพระดับโลกภายใต้ แบรนด์ “คาลเท็กซ์” กล่าวเพิ่มเติมว่า การเปิดจำหน่ายน้ำมันคาลเท็กซ์ดีเซล B20 เพื่อร่วมเป็นส่วนหนึ่งในการแก้ไขปัญหาสถานการณ์น้ำมันปาล์มดิบของไทยล้นตลาดมากที่สุดเป็นประวัติการณ์ ส่งผลกระทบต่อเกษตรกรผู้ปลูกปาล์มน้ำมันอย่างมาก ทางบริษัทฯ จึงร่วมตอบรับนโยบายของรัฐบาลในการส่งเสริมการใช้น้ำมันดีเซล B20 เพื่อสร้างสมดุลให้ราคาปาล์มน้ำมันมีเสถียรภาพที่ดี ช่วยสร้างคุณภาพชีวิตเกษตรกรให้ดีขึ้นตามไปด้วย นอกจากนั้นยังเป็นการบรรเทาปัญหาฝุ่นละอองขนาดเล็ก PM 2.5 เกินมาตรฐานในหลายพื้นที่ เนื่องจากน้ำมันดีเซล B20 เป็นน้ำมันดีเซลที่มีส่วนผสมของไบโอดีเซล B100 พลังงานสะอาดที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม นายซาลมานฯ กล่าว

รัฐมนตรีว่าการกระทรวงพลังงาน และ รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงคมนาคม “เยี่ยมชมโครงการพัฒนาอุปกรณ์กักเก็บพลังงานต้นแบบสำหรับรถตุ๊กตุ๊กไฟฟ้า”

วันนี้ ( 10 มิถุนายน 2562 ) ดร.ศิริ จิระพงษ์พันธ์ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงพลังงาน และ ดร.ไพรินทร์ ชูโชติถาวร รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงคมนาคม พร้อมด้วยผู้บริหารระดับสูงของกระทรวงพลังงาน เยี่ยมชมโครงการพัฒนาอุปกรณ์กักเก็บพลังงานต้นแบบสำหรับรถตุ๊กตุ๊กไฟฟ้า
ณ ศูนย์ความเป็นเลิศด้านเทคโนโลยีกักเก็บพลังงาน  สถาบันวิทยสิริเมธี (VISTEC) วังจันทร์วัลเลย์ จังหวัดระยอง

กระทรวงพลังงานประกาศความพร้อมเจ้าภาพ“SOME” ครั้งที่ 37 เตรียมหารือประเด็นความร่วมมืออาเซียนส่งต่อที่ประชุมรัฐมนตรีพลังงานอาเซียน


กระทรวงพลังงานเตรียมความพร้อมจัดการประชุมเจ้าหน้าที่อาวุโสอาเซียนด้านพลังงานและการประชุมอื่นที่เกี่ยวข้อง ครั้งที่ 37( 37thSenior Official Meeting on Energy and associated meetings : The 37thSOME) ระหว่างวันที่ 24– 28 มิถุนายน 2562 ที่กรุงเทพฯ เพื่อหารือประเด็นและความร่วมมือด้านพลังงานระดับภูมิภาค เตรียมการสำหรับการประชุมรัฐมนตรีอาเซียนด้านพลังงาน (ASEAN Ministers on Energy Meeting : AMEM) ที่จะมีขึ้นในเดือนกันยายนปีนี้ โดยประเทศไทยเป็นเจ้าภาพ

          นายกุลิศ สมบัติศิริ ปลัดกระทรวงพลังงาน เปิดเผยว่า กระทรวงพลังงานเตรียมพร้อมสำหรับการจัดประชุมเจ้าหน้าที่อาวุโสอาเซียนด้านพลังงานและการประชุมอื่นที่เกี่ยวข้อง หรือ SOME ครั้งที่ 37 ที่จะมีขึ้นในระหว่างวันที่ 24-28 มิถุนายน 2562 นี้ ภายใต้แนวคิดหลัก “Advancing Energy Transition through Partnership and Innovation” หรือ “ก้าวสู่ยุคเปลี่ยนผ่านด้านพลังงานด้วยความเป็นหุ้นส่วนที่แข็งแกร่งและนวัตกรรมแห่งอนาคต”โดยจะมีการหารือเพื่อจัดเตรียมประเด็นเนื้อหาทั้งเชิงนโยบายที่สำคัญในระดับภูมิภาค รวมถึงแนวทางการพัฒนากิจกรรมความร่วมมือด้านพลังงานภายใต้กรอบของอาเซียน ทั้งนี้เพื่อรายงานต่อที่ประชุมรัฐมนตรีอาเซียนด้านพลังงาน ซึ่งจะมีการประชุมในเดือนกันยายนที่จะถึงนี้

การประชุม SOME ครั้งที่ 37 จะหารือถึงประเด็นเชิงนโยบายที่สำคัญในระดับภูมิภาคที่จะต้องร่วมกันผลักดันให้เกิดขึ้น อาทิ เป้าหมายด้านการอนุรักษ์พลังงาน การเพิ่มสัดส่วนการใช้พลังงานทดแทนในอาเซียน ซึ่งคาดว่าจะมีการผลักดันกิจกรรมความร่วมมือด้านพลังงานในอาเซียนให้เป็นรูปธรรม ไม่ว่าจะเป็นการขยายการเชื่อมโยงโครงข่ายสายส่งไฟฟ้า แผนการเชื่อมโยงโครงสร้างพื้นฐานก๊าซธรรมชาติ การส่งเสริมพลังงานทดแทนและอนุรักษ์พลังงาน การสร้างความรู้ความเข้าใจในเรื่องเทคโนโลยีถ่านหินสะอาด และนิวเคลียร์ ตลอดจนการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ การริเริ่มโครงการด้านพลังงานใหม่ ๆ ร่วมกับประเทศคู่เจรจาปลัดกระทรวงพลังงานกล่าว

          สำหรับการรายงานประเด็นด้านพลังงานที่ประเทศไทยให้ความสำคัญและเป็นผู้นำในการผลักดันให้เกิดผลเป็นรูปธรรมในปี 2562 (Priority Deliverables) จำนวน 4 ด้าน 9 ประเด็น โดยสรุปดังนี้

ด้านไฟฟ้า ประกอบด้วย การส่งเสริมขยายการเชื่อมโยงโครงข่ายไฟฟ้าพหุภาคี (LTMS-PIP phase 1) เพื่อขยายเพดานปริมาณการซื้อขายไฟฟ้าให้เพิ่มมากขึ้นการจัดทำรายงานศึกษาความเป็นไปได้เรื่องการซื้อ-ขายไฟฟ้าพหุภาคีในอาเซียนให้เกิดเป็นรูปธรรมมากขึ้น และการจัดทำข้อเสนอแนะด้านการส่งเสริมให้เกิดการเพิ่มสัดส่วนพลังงานหมุนเวียนในโครงข่ายอาเซียน (RE Integration to grid) ร่วมกับการศึกษาความเป็นไปได้ในการซื้อ-ขายไฟฟ้าพหุภาคีอาเซียน

โดยประเทศไทยมีความพร้อมในการเป็นผู้นำผลักดันให้เกิดโครงข่ายไฟฟ้าอาเซียนที่สามารถเชื่อมโยงการซื้อขายไฟฟ้าได้ครอบคลุมภูมิภาคอาเซียน เพื่อให้เกิดประโยชน์ต่อการเติบโตทางเศรษฐกิจและยกระดับคุณภาพชีวิตประชาชนในประเทศอาเซียนในอนาคต

ด้านการเพิ่มประสิทธิภาพพลังงาน ประกอบด้วย การจัดทำข้อเสนอแนะเพื่อปรับปรุงการใช้พลังงานอย่างมีประสิทธิภาพสำหรับเครื่องปรับอากาศ และเครื่องทำความเย็นในตลาดอาเซียนให้เป็นมาตรฐานเดียวกัน การจัดทำมาตรฐานห้องปฏิบัติการ (Lab Test) สำหรับทดสอบประสิทธิภาพเครื่องปรับอากาศในครัวเรือน และการศึกษามาตรการด้านการเงิน เพื่อสนับสนุนโครงการใช้พลังงานอย่างมีประสิทธิภาพและอนุรักษ์พลังงาน

ด้านพลังงานทดแทนประกอบด้วย การลงนาม MOU ระหว่าง ศูนย์พลังงานอาเซียน และสถาบันพันธมิตรของอาเซียนเพื่อสนับสนุนการจัดตั้งศูนย์เครือข่ายวิจัยและพัฒนาพลังงานชีวภาพอาเซียน และการรายงาน กรณีศึกษาห่วงโซ่อุปทานพลังงานชีวมวลสำหรับโครงการผลิตไฟฟ้าชีวมวลในพื้นที่ 3 จังหวัดชายแดนใต้ของไทย เพื่อนำไปขยายผลปรับใช้ในพื้นที่ที่มีลักษณะเดียวกันในอาเซียน

ด้านก๊าซธรรมชาติ ประกอบด้วย การจัดทำข้อเสนอแนะ เรื่อง การศึกษาโครงสร้างพื้นฐานขนาดเล็กเพื่อรองรับก๊าซธรรมชาติ (Small-scale LNG) ภายใต้ผลการศึกษา Gas Advocacy White Paper

สำหรับการประชุมครั้งนี้มีประเทศสมาชิกอาเซียนเข้าร่วม10 ประเทศ ได้แก่ บรูไน กัมพูชา อินโดนีเซีย สปป.ลาว มาเลเซีย เมียนมา ฟิลิปปินส์ สิงคโปร์ ไทยและเวียดนาม นอกจากนี้ ยังมีประเทศคู่เจรจาที่สำคัญกับอาเซียน อาทิ จีน ญี่ปุ่น  เกาหลีใต้ รัสเซีย และสหรัฐฯ กลุ่มประเทศความร่วมมือในระดับพหุภาคี ได้แก่ อาเซียนบวกสาม และอาเซียนบวกแปด รวมทั้ง องค์กรระหว่างประเทศ อาทิ ทบวงพลังงานระหว่างประเทศ (IEA) และทบวงการพลังงานหมุนเวียนระหว่างประเทศ (IRENA) เป็นต้น

โดยสรุปการประชุม SOME เพื่อนำไปสู่การประชุม AMEM โดยมีจุดมุ่งหมายให้ระบบพลังงานในภูมิภาคอาเซียนสามารถเปิดเชื่อมโยงเครือข่ายดิจิทัลที่ทันสมัยภายในภูมิภาคอาเซียน โดยมีประเทศไทยเป็นจุดประสานเชื่อมต่อในทุกๆ ด้าน  นอกจากความร่วมมือด้านพลังงานที่จะเกิดขึ้นแล้ว การประชุมเจ้าหน้าที่อาวุโสอาเซียนด้านพลังงานนี้ยังเป็นการช่วยกระตุ้นเศรษฐกิจและการท่องเที่ยวของไทย ตลอดจนสร้างภาพลักษณ์ที่ดีให้ปรากฎแก่สายตานานาประเทศ จึงขอเชิญชวนประชาชนคนไทยทุกคนร่วมกันเป็นเจ้าภาพที่ดี สร้างความประทับใจกับแขกต่างชาติที่เข้าร่วม” ปลัดกระทรวงพลังงาน กล่าวในท้ายที่สุด

“โซล่าร์ภาคประชาชน” สามารถลงทะเบียนออนไลน์ได้แล้ววันนี้

“โซล่าร์ภาคประชาชน” สามารถลงทะเบียนออนไลน์ได้แล้ววันนี้
โดยหากอยู่ในพื้นที่ของการไฟฟ้านครหลวงให้ลงทะเบียนที่
☀️☀️ https://spv.mea.or.th/
และสำหรับในพื้นที่ การไฟฟ้าส่วนภูมิภาค สามารถลงทะเบียนได้ที่
☀️☀️ https://ppim.pea.co.th/
โดยสามารถลงทะเบียนได้ตั้งแต่บัดนี้เป็นต้นไป และหมดเขตรับลงทะเบียนภายในปี 2562
โดยการไฟฟ้าทั้ง 2 แห่งจะทยอยประกาศรายชื่อผู้ที่ผ่านการพิจารณา ทางเว็บไซต์ของการไฟฟ้าทั้ง 2 แห่ง  รวมทั้งส่งผลให้ผู้สมัครได้รับทราบทางอีเมลที่ได้แจ้งไว้ และลงนามในสัญญาซื้อขายไฟฟ้าต่อไป

สำหรับผู้ที่สนใจเข้าร่วมโครงการ สามารถติดต่อเพื่อสอบถามข้อมูลเพิ่มเติมได้ที่
02-207-3599 หรือติดตามจากเว็บไซต์ สำนักงานคณะกรรมการกำกับกิจการพลังงาน http://solar.erc.or.th/solar62/index.html

การไฟฟ้านครหลวง
ติดต่อสอบถามรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ ฝ่ายเศรษฐกิจพลังไฟฟ้า
โทร. 0-2220-5774, 0-2220-5775, 0-2220-5000 ต่อ 4848
ในวันและเวลาทำการ (07.30 – 15.30 น.)

การไฟฟ้าส่วนภูมิภาค
กองส่งเสริมพลังงานทดแทนและผู้ผลิตไฟฟ้าขนาดเล็ก
ฝ่ายส่งเสริมพลังงานทดแทนและอนุรักษ์พลังงาน (PEA)
โทร. 02-590-9753, 02-590-9763 และ 02-009-6053
1129 PEA Call Center

รัฐมนตรีว่าการกระทรรงพลังงาน เป็นประธานเปิดงาน ASEAN Sustainable Energy Week (ASE) 2019

ดร.ศิริ จิระพงษ์พันธ์ รัฐมนตรีว่าการกระทรรงพลังงาน เป็นประธานเปิดงาน ASEAN Sustainable Energy Week (ASE) 2019
ASEAN Sustainable Energy Week (ASE) งานแสดงเทคโนโลยีและการประชุมนานาชาติด้านพลังงานทดแทน การใช้พลังงานอย่างมีประสิทธิภาพ และ การอนุรักษ์สิ่งแวดล้อมที่ใหญ่และครบวงจรที่สุดในภูมิภาคอาเซียน ณ ศูนย์นิทรรศการและการประชุมไบเทคบางนา

ปลัดกระทรวงพลังงาน ร่วมลงนามถวายพระพรสมเด็จพระนางเจ้าฯ พระบรมราชินี

วันนี้ (3 มิ.ย. 62) นายกุลิศ สมบัติศิริ ปลัดกระทรวงพลังงาน พร้อมด้วยผู้บริหารระดับสูงของกระทรวงพลังงาน ร่วมลงนามถวายพระพรสมเด็จพระนางเจ้าฯ พระบรมราชินี เนื่องในโอกาสวันเฉลิมพระชนมพรรษา 3 มิถุนายน 2562 ณ พระบรมมหาราชวัง

 

 

รัฐมนตรีว่าการกระทรวงพลังงาน ร่วมพิธีทำบุญตักบาตรถวายพระราชกุศล เนื่องในโอกาสวันเฉลิมพระชนมพรรษาสมเด็จพระนางเจ้าฯ พระบรมราชินี

วันนี้ (3 มิ.ย. 62) ดร.ศิริ จิระพงษ์พันธ์ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงพลังงาน พร้อมด้วย นายกุลิศ สมบัติศิริ ปลัดกระทรวงพลังงาน และผู้บริหารระดับสูงของกระทรวงพลังงาน เข้าร่วมพิธีทำบุญตักบาตรถวายพระราชกุศล เนื่องในโอกาสวันเฉลิมพระชนมพรรษาสมเด็จพระนางเจ้าฯ พระบรมราชินี ประจำปีพุทธศักราช 2562 ณ ท้องสนามหลวง

ปลัดกระทรวงพลังงาน พร้อมด้วยคณะผู้บริหารกระทรวงพลังงาน เข้าร่วมการถวายพระพรชัยมงคล

วันที่ 27 พฤษภาคม 2562 นายกุลิศ สมบัติศิริ ปลัดกระทรวงพลังงาน พร้อมด้วยคณะผู้บริหารกระทรวงพลังงาน เข้าร่วมการถวายพระพรชัยมงคลสมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ พระบรมราชินีนาถ พระบรมราชชนนีพันปีหลวง และพระเจ้าวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้าโสมสวลี กรมหมื่นสุทธนารีนาถ ณ อาคารภูมิสิริมังคลานุสรณ์ โรงพยาบาลจุฬาลงกรณ์ สภากาชาดไทย และเดินทางเข้าร่วมการถวายพระพรชัยมงคลสมเด็จพระเจ้าน้องนางเธอ เจ้าฟ้าจุฬาภรณวลัยลักษณ์ อัครราชกุมารี กรมพระศรีสวางควัฒน ขัตติยราชนารี พระเจ้าวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้าสิริภาจุฑาภรณ์ และพระเจ้าวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้าอทิตยาทรกิติคุณ ณ สถาบันวิจัยจุฬาภรณ์

ปลัดกระทรวงพลังงาน พร้อมด้วยคณะผู้บริหารกระทรวงพลังงาน เข้าร่วมการถวาย พระพรชัยมงคล

วันพุธที่ 22 พฤษภาคม 2562 เวลา 13.30 น. นายกุลิศ สมบัติศิริ ปลัดกระทรวงพลังงาน พร้อมด้วยคณะผู้บริหาร ร่วมถวายพระพรชัยมงคลแด่พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว สมเด็จพระนางเจ้าฯพระบรมราชินี และสมเด็จพระเจ้าลูกยาเธอ เจ้าฟ้าทีปังกรรัศมีโชติ มหาวชิโรตตมางกูร สิริวิบูลยราชกุมาร ณ พระที่นั่งอัมพรสถาน

ต่อมา เวลา 14.45 น. เข้าร่วมการถวาย พระพรชัยมงคลสมเด็จพระกนิษฐาธิราชเจ้า กรมสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดา เจ้าฟ้ามหาจักรีสิรินธร มหาวชิราลงกรณวรราชภักดี สิริกิจการิณีพีรยพัฒน รัฐสีมาคุณากรปิยชาติ สยามบรมราชกุมารี ณ กองงาน ในพระองค์ ฯ พระตำหนักสวนจิตรลดา

ต่อมา เวลา 15.00 น. เข้าร่วมการถวาย พระพรชัยมงคลสมเด็จพระเจ้าลูกเธอ เจ้าฟ้าพัชรกิติยาภา นเรนทิราเทพยวดี และสมเด็จพระเจ้าลูกเธอ เจ้าฟ้าสิริวัณณวรี นารีรัตนราชกัญญา ณ วังศุโขทัย

การประชุม ทบทวนโครงสร้าง บทบาท อำนาจ พน. 1/2562

วาระการประชุมคณะกรรมการทบทวนโครงสร้าง บทบาท อำนาจ และภารกิจ ของกระทรวงพลังงาน ครั้งที่ 1/2562    คลิกที่นี่

 

คณะกรรมการทบทวนโครงสร้าง บทบาท อำนาจ และภารกิจของกระทรวงพลังงาน  (คำสั่งกระทรวงพลังงานที่ 23/2562)    คลิกที่นี่

 

สรุปผลสำรวจการทับซ้อนการปฏิบัติงานตามภารกิจ   คลิกที่นี่

 

เอกสารประกอบการประชุมคณะกรรมการฯ     คลิกที่นี่


กฎกระทรวงแบ่งส่วนราชการ ที่เกี่ยวข้อง

สำนักงานปลัดกระทรวงพลังงาน   คลิกที่นี่

กรมเชื้อเพลิงธรรมชาติ   คลิกที่นี่

กรมธุรกิจพลังงาน  คลิกที่นี่

กรมพัฒนาพลังงานทดแทนและอนุรักษ์พลังงาน  คลิกที่นี่

สำนักงานนโยบายและแผนพลังงาน  คลิกที่นี่

 

Microgrid เกาะพะลวย

โครงการพัฒนาระบบไฟฟ้าแบบโครงข่ายไฟฟ้าขนาดเล็กมาก (Microgrid) บนพื้นที่เกาะพะลวย ล่าสุด    คลิกที่นี่

 

สรุปย่อ FS โครงการพัฒนาระบบไฟฟ้าแบบโครงข่ายไฟฟ้าขนาดเล็กมาก (Microgrid)บนพื้นที่เกาะพะลวย  คลิกที่นี่

ดร.ศิริ จิระพงษ์พันธ์ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงพลังงาน เปิดจำหน่ายน้ำมันดีเซล บี10 เป็นครั้งแรกในประเทศไทยในสถานีบริการน้ำมัน”

วันที่ 29 พฤษภาคม 2562  ดร.ศิริ จิระพงษ์พันธ์ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงพลังงาน  นายกุลิศ สมบัติศิริ ปลัดกระทรวงพลังงาน นางสาวนันธิกา ทังสุพานิช อธิบดีกรมธุรกิจพลังงาน และนางสาวจิราพร ขาวสวัสดิ์ ประธานเจ้าหน้าที่บริหารและกรรมการผู้จัดการใหญ่  บริษัท  ปตท. น้ำมันและการค้าปลีก จำกัด (มหาชน)   ร่วม “พิธีเปิดจำหน่ายน้ำมันดีเซล บี10 เป็นครั้งแรกในประเทศไทยในสถานีบริการน้ำมัน” ณ สถานีบริการน้ำมัน พีทีที สเตชั่น อีสเทิร์นซีบอร์ด จังหวัดชลบุรี

ดร.ศิริ จิระพงษ์พันธ์ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงพลังงาน เปิดเผยว่า กระทรวงพลังงานมีแผนงานให้น้ำมันดีเซลหมุนเร็ว บี10 เป็นน้ำมันประเภทหลักของประเทศไทยทดแทนน้ำมันดีเซลหมุนเร็ว บี7 ในปี 2564 โดย กระทรวงการคลังลดภาษีสรรพสามิตน้ำมันดีเซลหมุนเร็ว B10 และ กองทุนน้ำมันเชื้อเพลิงได้อุดหนุนราคา
ทำให้ราคาขายปลีกน้ำมันดีเซลหมุนเร็ว บี10 ถูกกว่าน้ำมันดีเซลหมุนเร็วธรรมดา 1 บาทต่อลิตร ซึ่งหากเป็นไปตามที่วางแผนไว้ จะทำให้มีการใช้น้ำมันปาล์มดิบรวม 2 ล้านตันต่อปี เป็นไปตามยุทธศาสตร์ปาล์มน้ำมันของประเทศ จากปัจจุบันอยู่ที่ประมาณ 1.5 ล้านตันต่อปี ทั้งนี้ กระทรวงพลังงานมั่นใจว่าจากคุณภาพมาตรฐานของน้ำมันดีเซลหมุนเร็ว บี10 ความพร้อมของสถานีบริการน้ำมัน พีทีที สเตชั่น รวมถึงความพร้อมของค่ายรถยนต์ที่ปัจจุบันให้การรับรองว่ารถยนต์ของตนสามารถใช้น้ำมันดีเซลหมุนเร็ว บี10 ซึ่งมีถึง 12 ยี่ห้อ รวม 944 รุ่น นั้น จะช่วยให้ผู้ใช้รถดีเซลมั่นใจในคุณภาพของน้ำมันดีเซลหมุนเร็ว บี10 มากยิ่งขึ้น

นางสาวจิราพร ขาวสวัสดิ์ ประธานเจ้าหน้าที่บริหารและกรรมการผู้จัดการใหญ่ บริษัท ปตท. น้ำมันและการค้าปลีก จำกัด (มหาชน) หรือ พีทีที โออาร์ กล่าวว่า พีทีที โออาร์ พร้อมจำหน่ายน้ำมัน พีทีที อัลตร้าฟอร์ซ ดีเซล บี10 ในสถานีบริการน้ำมัน พีทีที สเตชั่น ตั้งแต่วันนี้เป็นต้นไป โดยจะเริ่มจำหน่ายในภาคตะวันออกและภาคใต้ และมีแผนงานขยายการจำหน่ายน้ำมันดีเซลหมุนเร็ว บี10 ให้เป็นน้ำมันดีเซลประเภทหลักของประเทศตามแผนของกระทรวงพลังงานให้ได้เร็วที่สุด ทั้งนี้ พีทีที โออาร์  เชื่อมั่นว่า ด้วยคุณภาพของน้ำมัน พีทีที อัลตร้าฟอร์ซ ดีเซล บี10 ที่ทั้งกระทรวงพลังงานและค่ายรถยนต์ต่างก็ให้การรับรองนั้น จะไม่ส่งผลกระทบต่อเครื่องยนต์ และการใส่สารเพิ่มค่าซีเทน ทำให้เครื่องยนต์มีกำลังแรงเพิ่มขึ้น อีกทั้งคุณสมบัติของน้ำมัน พีทีที อัลตร้าฟอร์ซ ดีเซล บี10 ที่เผาไหม้สมบูรณ์ ลดควันดำได้ร้อยละ 42 เมื่อเทียบกับน้ำมันดีเซลปกติ จึงช่วยรักษาสิ่งแวดล้อม นอกจากนี้ น้ำมันดีเซลหมุนเร็ว บี10 ยังมีราคาถูกกว่าน้ำมันดีเซลหมุนเร็วธรรมดา 1 บาทต่อลิตร ถือเป็นการช่วยลดภาระค่าใช้จ่ายน้ำมันของผู้ใช้รถอีกด้วย การสนับสนุนการใช้น้ำมันปาล์มดิบมาผลิตเป็นไบโอดีเซล บี100 และนำมาผสมเป็นน้ำมันดีเซลหมุนเร็ว บี 10 นี้ นับเป็นการช่วยเหลือเกษตรกรไทยผู้ปลูกปาล์มได้โดยตรง “พีทีที อัลตร้าฟอร์ซ ดีเซล บี10 แรง คุ้มค่า รักษาสิ่งแวดล้อม พร้อมดูแลเกษตรกรไทย”

ก.พลังงาน ร่วมบันทึกเทปถวายพระพรชัยมงคล เนื่องในโอกาส วันเฉลิมพระชนมพรรษา สมเด็จพระนางเจ้าสุทิดา พัชรสุธาพิมลลักษณ พระบรมราชินี

วันที่ 23 พฤษภาคม 2562 ดร.ศิริ จิระพงษ์พันธ์ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงพลังงาน พร้อมด้วย นายกุลิศ สมบัติศิริ ปลัดกระทรวงพลังงาน และผู้บริหารระดับสูงของกระทรวงพลังงาน เข้าร่วมบันทึกเทปถวายพระพรชัยมงคล สมเด็จพระนางเจ้าสุทิดา พัชรสุธาพิมลลักษณ พระบรมราชินี เนื่องในโอกาสมหามงคลเฉลิมพระชนมพรรษา ในวันที่ 3 มิถุนายน 2562 ณ สถานีโทรทัศน์โมเดิร์นไนน์ทีวี ถนนพระราม 9

รัฐมนตรีว่าการกระทรวงพลังงาน ร่วมปลูกต้นรวงผึ้งเฉลิมพระเกียรติ พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว

วันที่ 26 พฤษภาคม 2562 ดร.ศิริ จิระพงษ์พันธ์ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงพลังงาน นายกุลิศ สมบัติศิริ (ปลัดกระทรวงพลังงาน) นายสมบูรณ์ หน่อแก้ว (รองปลัดกระทรวงพลังงาน) นายยงยุทธ จันทรโรทัย (อธิบดีกรมพัฒนาพลังงานทดแทนและอนุรักษ์พลังงาน)  นายวัฒนพงษ์  คุโรวาท (ผู้อำนวยการสำนักงานสำนักนโยบายและแผนพลังงาน )นางอุษา ผ่องลักษณา (รองอธิบดีกรมธุรกิจพลังงาน) นายภูมี ศรีสุวรรณ (รองอธิบดีกรมเชื้อเพลิงธรรมชาติ) นายวิบูลย์ ฤกษ์ศิระทัย (ผู้ว่าการการไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทย) และนายวุฒิกร สติฐิต (รองกรรมการผู้จัดการใหญ่หน่วยธุรกิจก๊าซธรรมชาติ บริษัท ปตท. จำกัด (มหาชน)) และผู้บริหารกระทรวงพลังงานเข้าร่วมกิจกรรม “ปลูกต้นรวงผึ้งเฉลิมพระเกียรติ พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว” เนื่องในโอกาสพระราชพิธีบรมราชาภิเษก ณ อาคารอนุรักษ์พลังงานเฉลิมพระเกียรติ ตำบลคลองห้า อำเภอคลองหลวง จังหวัดปทุมธานี พร้อมเยี่ยมชมภายในอาคารอนุรักษ์พลังงานเฉลิมพระเกียรติ

กระทรวงพลังงาน จัดนิทรรศการ “พลังสายธารแห่งพระบารมี”

กระทรวงพลังงาน จัดนิทรรศการ “พลังสายธารแห่งพระบารมี” เนื่องในโอกาสมหามงคลพระราชพิธีบรมราชาภิเษก พุทธศักราช 2562 พระบาทสมเด็จพระวชิรเกล้าเจ้าอยู่หัว

วันนี้ (22 พฤษภาคม 2562) ดร.ศิริ จิระพงษ์พันธ์ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงพลังงาน เป็นประธานเปิดงานนิทรรศการ “พลังสายธารแห่งพระบารมี” เพื่อน้อมสำนึกในพระมหากรุณาธิคุณ พระบาทสมเด็จพระวชิรเกล้าเจ้าอยู่หัว เนื่องในโอกาส
มหามงคลพระราชพิธีบรมราชาภิเษก พุทธศักราช 2562 ณ บริเวณหน้าอาคารซี ศูนย์เอนเนอร์ยี่คอมเพล็กซ์

สำหรับนิทรรศการ “พลังสายธารแห่งพระบารมี” จะจัดขึ้นระหว่างวันที่ 22 – 24 พฤษภาคม 2562 ณ บริเวณหน้าอาคารซี ศูนย์เอนเนอร์ยี่คอมเพล็กซ์ ภายในงานประกอบด้วย นิทรรศการภายใต้แนวคิด “พลังสายธารแห่งพระบารมี” ซึ่งเป็นนิทรรศการที่แสดงถึงพระมหากรุณาธิคุณที่พระบาทสมเด็จพระวชิรเกล้าเจ้าอยู่หัว
ทรงประกอบพระราชกรณียกิจด้านพลังงาน และนิทรรศการให้ความรู้เกี่ยวกับ “พระราชพิธีบรมราชาภิเษก พุทธศักราช 2562” รวมทั้งโครงการ “จิตอาสา เราทำความ ดี ด้วยหัวใจ” กิจกรรม “อุ่นไอรัก คลายความหนาว” กิจกรรมการแสดงศิลปวัฒนธรรมไทย การขับร้องบทเพลงพระราชนิพนธ์

ดร.ศิริ จิระพงษ์พันธ์ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงพลังงาน เปิดเผยว่า กระทรวงพลังงาน จัดนิทรรศการ “พลังสายธารแห่งพระบารมี” ขึ้น เพื่อน้อมสำนึกในพระมหากรุณาธิคุณพระบาทสมเด็จพระวชิรเกล้าเจ้าอยู่หัว เนื่องในโอกาสพระราชพิธีบรมราชาภิเษก พุทธศักราช 2562 ด้วยพระปรีชาสามารถของพระองค์ได้เป็นที่ประจักษ์ชัด และทรงประกอบพระราชกรณียกิจตามเสด็จพระราชดำเนินพระบาทสมเด็จพระมหาภูมิพลอดุลยเดชมหาราชบรมนาถบพิตร ในด้านพลังงานต่างๆ เช่น ทรงวางศิลาฤกษ์เขื่อนวชิราลงกรณ จังหวัดกาญจนบุรี เมื่อปีพุทธศักราช 2510 ทรงเปิดโรงไฟฟ้าพลังน้ำห้วยประทาว จังหวัดชัยภูมิ เมื่อปีพุทธศักราช 2536 และทรงเปิดโรงไฟฟ้าพลังความร้อนร่วมวังน้อย จังหวัดพระนครศรีอยุธยา เมื่อปีพุทธศักราช 2541 นอกจากนั้น ยังทรงประกอบพระราชกรณียกิจด้านต่างๆ มาอย่างต่อเนื่อง อันก่อให้เกิดประโยชน์ต่อการพัฒนาประเทศนานัปการ ทั้งในด้านการสาธารณสุข การทหาร การบิน การศาสนา และด้านสังคม และเนื่องในโอกาสพระราชพิธีบรมราชาภิเษก พุทธศักราช 2562 หน่วยงานของกระทรวงพลังงาน ได้ร่วมเฉลิมพระเกียรติด้วยกิจกรรมต่างๆ ได้แก่

1. โครงการของบริษัท ปตท.สำรวจและผลิตปิโตรเลียม จำกัด (มหาชน) ร่วมกับสมาคมกีฬาเครื่องบินจำลองและวิทยุบังคับ ที่จัดให้มีการใช้อากาศยานไร้คนขับ หรือโดรน จำนวน 235 ลำ แปรอักษรถวายราชสดุดีจักรีวงศ์ Light & Sound ซึ่งได้ดำเนินการไปแล้ว เมื่อวันที่ 6 พฤษภาคม 2562 โดยจะมีการดำเนินการในส่วนกลางอีก 2 ครั้ง และในส่วนภูมิภาคอีก 5 ครั้ง

2. โครงการของกรมพัฒนาพลังงานทดแทนและอนุรักษ์พลังงานที่ได้ดำเนินการส่งเสริมและสนับสนุนการเพิ่มประสิทธิภาพพลังงานในโรงเรียนทีปังกรวิทยาพัฒน์ในพระราชูปถัมภ์ฯ

3. โครงการ “พลังงานไทยร้อยดวงใจ ถวายองค์ราชัน” ของสำนักงานคณะกรรมการกำกับกิจการพลังงาน ที่จะติดตั้งระบบผลิตไฟฟ้าจากพลังงานแสงอาทิตย์ให้กับหน่วยงานของรัฐในพื้นที่ที่ไม่มีไฟฟ้าใช้ ประกอบด้วย โรงเรียน ศูนย์พัฒนาเด็กเล็ก และหน่วยงานด้านความมั่นคงในพื้นที่ภาคเหนือ เพื่อยกระดับคุณภาพชีวิตในด้านการศึกษาให้กับประชาชน และเป็นขวัญกำลังใจในการปฏิบัติงานของเจ้าหน้าที่

รัฐมนตรีว่าการกระทรวงพลังงาน คณะผู้บริหาร ข้าราชการ ถวายพระพรชัยมงคลเนื่องในพระราชพิธีบรมราชาภิเษกพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว

วันศุกร์ที่ 10 พฤษภาคม 2562 ดร.ศิริ จิระพงษ์พันธ์ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงพลังงาน พร้อมคณะผู้บริหาร ข้าราชการและเจ้าหน้าที่ ร่วมพิธีถวายพระพรชัยมงคล เนื่องในพระราชพิธีบรมราชาภิเษกพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว   ณ บริเวณอาคาร ศูนย์เอนเนอร์ยี่คอมเพล็กซ์ อาคารบี กระทรวงพลังงาน

 

ก.พลังงาน ขับเคลื่อนนโยบายปรับสมดุลน้ำมันปาล์ม เร่งแผน CPO ในโรงไฟฟ้าอีก 2 แสนตัน ขยายเวลาอุดหนุน B20 หวังช่วยเหลือเกษตรกรให้ได้มากที่สุด

“ก.พลังงาน ขับเคลื่อนนโยบายปรับสมดุลน้ำมันปาล์ม เร่งแผน CPO ในโรงไฟฟ้าอีก 2 แสนตัน ขยายเวลาอุดหนุน B20 หวังช่วยเหลือเกษตรกรให้ได้มากที่สุด”

(วันนี้ 7 พฤษภาคม 2562 ตึกนารีสโมสร ทำเนียบรัฐบาล กรุงเทพฯ) ดร.ศิริ จิระพงษ์พันธ์ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงพลังงาน แถลงว่า คณะรัฐมนตรีมีมติมอบหมายให้การไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทย (กฟผ.) ดำเนินการจัดซื้อน้ำมันปาล์มดิบต่อเนื่องจำนวน 2 แสนตันเพื่อนำมาเป็นเชื้อเพลิงผลิตไฟฟ้า ณ โรงไฟฟ้าบางปะกง จากที่โครงการดังกล่าวเคยรับซื้อไปแล้วจำนวน 1.6 แสนตัน และส่งมอบงวดสุดท้ายเมื่อวันที่ 20 เมษายน ที่ผ่านมา โดยการรับซื้อในครั้งนี้ จะมีการส่งมอบ ณ คลังน้ำมันปาล์มดิบ จังหวัดสุราษฏร์ธานี ปริมาณ หนึ่งแสนตันแรกภายในเดือนพฤษภาคมนี้
ทั้งนี้ ดร. ศิริ เปิดเผยว่า การประชุม กบง. เมื่อวันที่ 3 พฤษภาคม 2562 ได้เห็นชอบให้ขยายระยะเวลาการให้ส่วนลดราคาขายปลีกน้ำมันดีเซลฯ บี20 ให้ต่ำกว่าน้ำมันดีเซลฯ ธรรมดา 5 บาทต่อลิตร ต่อไปอีก 2 เดือน (ถึงวันที่ 31 กรกฎาคม 2562) เพื่อเป็นการส่งเสริมให้มีการใช้น้ำมันดีเซลฯ บี20 ในรถบรรทุกขนาดใหญ่และรถกระบะที่ค่ายรถยนต์ให้การรับรองอย่างต่อเนื่อง เพื่อช่วยเหลือเกษตรกรผู้ปลูกปาล์มน้ำมัน และลดค่าใช้จ่ายภาคขนส่ง
คาดว่า ภายในต้นเดือนมิถุนายนนี้ ระดับสต๊อกปาล์มน้ำมันทั้งระบบจะกลับเข้าสู่สมดุล และเกษตรกรชาวสวนปาล์ม จะสามารถขายผลปาล์มได้ในระดับใกล้เคียง 3 บาทต่อกิโลกรัม

โครงการผลิตไฟฟ้าจากพลังงานแสงอาทิตย์ที่ติดตั้งบนหลังคา

โครงการผลิตไฟฟ้าจากพลังงานแสงอาทิตย์ที่ติดตั้งบนหลังคา
สำหรับภาคประชาชน ประเภทบ้านอยู่อาศัย

 

1. คุณสมบัติผู้เข้าร่วมโครงการ 
1.1 บุคคลหรือนิติบุคคลที่เป็นเจ้าของเครื่องวัดหน่วยไฟฟ้า
1.2 เป็นผู้ที่มีเครื่องวัดหน่วยไฟฟ้าประเภทที่ 1 ตามประกาศอัตราค่าไฟฟ้าของการไฟฟ้าฝ่ายจําหน่ายไม่เกิน 10 KW ต่อครัวเรือน

2. เป้าหมาย และปริมาณการรับซื้อรวม 100 เมกะวัตต์ แบ่งเป็น
2.1. พื้นที่การไฟฟ้านครหลวงรวม 30 เมกะวัตต์
2.2. พื้นที่การไฟฟ้าส่วนภูมิภาครวม 70 เมกะวัตต์

3. เงื่อนไขในการพิจารณา และข้อยกเว้น
การพิจารณาแบบเรียงลําดับก่อนหลังตามความพร้อม (First come First served) โดยจะยึดถือวันและเวลาที่ได้รับแบบคําขอที่มีความครบถ้วนสมบูรณ์ของเอกสารหลักฐานที่กําหนดเป็นสําคัญ

4. ราคารับซื้อไฟฟ้าส่วนเกิน
ราคารับซื้อไฟฟ้าส่วนเกินในอัตราไม่เกิน 1.68 บาท/หน่วย ระยะเวลารับซื้อ 10 ปี

การเปิดรับสมัคร
1. เปิดรับลงทะเบียนสําหรับผู้สนใจเข้าร่วมโครงการผ่านเว็บไซต์ของการไฟฟ้านครหลวงและเว็บไซต์ของการไฟฟ้าส่วนภูมิภาคทั่วประเทศ
ตั้งแต่ เดือนพฤษภาคม และหมดเขตรับลงทะเบียนภายในปี 2562 (จะแจ้งกำหนดการเปิดลงทะเบียนเร็วๆ นี้)
2. ทยอยประกาศรายชื่อผู้ผ่านการพิจารณาตั้งแต่เดือนมิถุนายน 2562

3.ค่าใช้จ่ายในการติดตั้งผู้เข้าร่วมโครงการต้องรับผิดชอบเองทั้งหมด

4.กําหนดจ่ายไฟฟ้าเข้าระบบเชิงพาณิชย์ ภายในปี 2562

ทั้งนี้ท่านสามารถติดต่อสอบถาม ได้ที่สํานักงานคณะกรรมการกํากับกิจการพลังงาน (สํานักงาน กกพ.)
เบอร์โทร 02-207-3599
หรือติดตามจากเว็บไซต์
สํานักงาน กกพ. www.erc.or.th
การไฟฟ้านครหลวง www.mea.or.th
การไฟฟ้าส่วนภูมิภาค www.pea.co.th

เอกสารประกอบการประชุมคณะอนุทำงานขับเคลื่อนประเด็นปฏิรูปพลังงานด้านการบริหารจัดการพลังงาน ครั้งที่ 1/2562

วาระการประชุมคณะอนุทำงานฯ    คลิกที่นี่

เอกสารประกอบการประชุมคณะอนุกรรมการฯ ครั้งที่ 1 /2562  คลิกที่นี่

Page 10 of 15
1 8 9 10 11 12 15