ระเบียบวาระการประชุมฯ ครั้งที่ 1/2564 คลิกที่นี่
เอกสารประกอบการประชุมฯ คลิกที่นี่
ระเบียบวาระการประชุมฯ ครั้งที่ 1/2564 คลิกที่นี่
เอกสารประกอบการประชุมฯ คลิกที่นี่
1.เอกสารประกอบการประชุมคณะอนุทำงานขับเคลื่อนประเด็นปฏิรูปพลังงานด้านการบริหารจัดการพลังงาน ครั้งที่ 1/2564 คลิกที่นี่
2. PPT ประกอบการประชุม คลิกที่นี่
3.โครงการศึกษาการบริหารจัดการและพัฒนาอุตสาหกรรมปิโตรเลียมนำร่องในพื้นที่มาบตาพุด คลิกที่นี่
4.ปรับเล่มแผนปฏิรูปฯ ด้านบริการจัดการพลังงาน คลิกที่นี่
รายงานการประชุม ครั้งที่ 1/2564 วันที่ 8 มกราคม 2564 คลิกที่นี่
เล่มแผนปฏิรูป ไม่รวม Big rock 2564_ด้าน RE EE คลิกที่นี่
เล่มแผนปฏิรูป ไม่รวม Big rock 2564_ด้านไฟฟ้า ปิโตรเลียม EV ESS คลิกที่นี่
เล่มแผนปฏิรูป ไม่รวม Big rock 2564_ด้านบริหารจัดการพลังงาน คลิกที่นี่
แบบรายงานผลการดำเนินงานตามแผนปฏิรูปประเทศด้านพลังงาน คลิกที่นี่
เมื่อวันที่ 8 มีนาคม 2564 ปลัดกระทรวงพลังงานได้ให้เกียรติเป็นประธานกล่าวต้อนรับและเปิดการประชุม the 2nd Workshop on Smart Energy ในรูปแบบการประชุมออนไลน์ รวมถึงยังได้รับเกียรติจาก Mr. TAKETANI Atsushi (นายอัทสึชิ ทาเคทานิ) ประธาน JETRO กรุงเทพฯ ให้เกียรติกล่าวต้อนรับและเปิดการประชุมดังล่าวด้วย ในโอกาสนี้ ปลัดกระทรวงพลังงานได้ร่วมรับฟังการบรรยายแลกเปลี่ยนข้อมูลด้านการพัฒนาพลังงานอัจฉริยะหรือ Smart Energy ในประเทศไทย จากวิทยากรและผู้เชี่ยวชาญด้านพลังงานของไทยและญี่ปุ่น
การประชุม the 2nd Workshop on Smart Energy จัดโดยองค์การส่งเสริมการค้าของประเทศญี่ปุ่น หรือ JETRO กรุงเทพฯ โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อเป็นเวทีที่เปิดโอกาสให้บริษัทด้านการพัฒนาพลังงานอัจฉริยะของญี่ปุ่นได้รับทราบนโยบายและแนวทางในการดำเนินความร่วมมือในการพัฒนาพลังงานอัจฉริยะในประเทศไทย รวมถึงเป็นโอกาสให้บริษัทพลังงานของไทยได้แลกเปลี่ยนเรียนรู้เทคโนโลยีพลังงานของประเทศญี่ปุ่นเพื่อเป็นการเสริมสร้างความมั่นคงทางพลังงานให้กับประเทศและส่งเสริมความร่วมมือด้านพลังงานระหว่างไทยและญี่ปุ่นให้เกิดผลเป็นรูปธรรมมากยิ่งขึ้น
ซึ่งการประชุมในครั้งนี้ เป็นผลสืบเนื่องมากจากการประชุม Workshop on Smart Energy เมื่อปี 2562 ที่ผ่านมา โดยจะช่วยต่อยอดการดำเนินกิจกรรมภายใต้โครงการความร่วมมือด้าน Smart Energy ของทั้งสองประเทศต่อไป
การประชุมได้มีการหารือแลกเปลี่ยนองค์ความรู้ เทคโนโลยี ผลการศึกษาวิจัย และการพัฒนาเทคโนโลยีพลังงานในด้านต่าง ๆ อาทิ การพัฒนายานยนต์ไฟฟ้า (Electric Vehicles: EV) ระบบการกักเก็บพลังงาน การใช้ประโยชน์จากไฮโดรเจน การนำปัญญาประดิษฐ์ (AI) และเทคโนโลยีต่าง ๆ มาช่วยในการเสริมสร้างประสิทธิภาพด้านพลังงาน รวมถึงการเชื่อมโยงด้านไฟฟ้าในระดับภูมิภาค เป็นต้น ซึ่งได้รับเกียรติจากวิทยากรผู้ทรงคุณวุฒิจากบริษัทด้านการพัฒนาเทคโนโลยีพลังงานของทั้งสองประเทศ รวมถึงสถานศึกษาชั้นนำของไทย อาทิ การไฟฟ้าผ่ายผลิตแห่งประเทศไทย สถาบันวิทยสิริเมธี สถาบันเทคโนโลยีพลังงาน สถาบันวิจัยแห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ Mitsubishi Motors Corporation, JERA, Kansai Electric Power ฯลฯ ร่วมบรรยายในการประชุมดังกล่าวด้วย
นอกจากนี้ ยังมีแทนจากภาครัฐและเอกชน สถานศึกษา สถาบันการเงิน รวมถึงบริษัทด้านการพัฒนาพลังงานของทั้งสองประเทศ สนใจเข้าร่วมการประชุมมากกว่า 300 หน่วยงาน
“พลังงาน” จับมือ “สาธารณสุข” “มูลนิธิแพทย์ชนบท” นำร่อง 8 โรงพยาบาลไฟจากฟ้าสนับสนุนการใช้พลังงานสะอาด เพื่อคุณภาพชีวิตที่ดีขึ้นของทุกคน ตั้งเป้า 77 โรงพยาบาลชุมชน 77 จังหวัดทั่วประเทศ
คณะกรรมการกำกับกิจการพลังงาน ร่วมกับ กระทรวงพลังงาน กระทรวงสาธารณสุข มูลนิธิแพทย์ชนบท และภาคีเครือข่าย นำร่องส่งมอบการติดตั้งระบบผลิตไฟฟ้าจากพลังงานแสงอาทิตย์กำลังการผลิตโรงพยาบาลละ 100 กิโลวัตต์ ให้กับ 8 โรงพยาบาลชุมชน ในพื้นที่ 8 จังหวัด ภายใต้กิจกรรม“101 วัน จากแสงแรกสู่โรงพยาบาลไฟจากฟ้า” ในแคมเปญ “Clean Energy for Life : ใช้พลังงานสะอาด เพื่อคุณภาพชีวิตที่ดีขึ้นของทุกคน” โดยได้รับเกียรติจากรองนายกรัฐมนตรี และรัฐมนตรีว่าการกระทรวงพลังงาน “สุพัฒนพงษ์ พันธ์มีเชาว์” พร้อมด้วย ประธานกรรมการกำกับกิจการพลังงาน (กกพ.) “เสมอใจ ศุขสุเมฆ” ร่วมเป็นประธานส่งมอบ และได้รับเกียรติจากรองนายกรัฐมนตรี และรัฐมนตรีว่าการกระทรวงสาธารณสุข “อนุทิน ชาญวีรกุล” พร้อมด้วย นายแพทย์สุภัทร ฮาสุวรรณกิจ กรรมการมูลนิธิแพทย์ชนบท และตัวแทนจาก 8 โรงพยาบาล เป็นผู้รับมอบ ณ โรงพยาบาลไทรน้อย จังหวัดนนทบุรี
นายเสมอใจ ศุขสุเมฆ ประธานกรรมการกำกับกิจการพลังงาน (กกพ.) เปิดเผยว่า แคมเปญ “Clean Energy for Life ใช้พลังงานสะอาด เพื่อคุณภาพชีวิตที่ดีขึ้นของทุกคน” เกิดขึ้นจากการดำเนินงานตาม พ.ร.บ.การประกอบกิจการพลังงาน พ.ศ.2550 ตามมาตรา 97 (5) เพื่อต้องการสร้างความตระหนักรู้เรื่องพลังงานสะอาดให้กับประชาชน และสร้างแรงบันดาลใจให้ทุกคนหันมาตระหนักเรื่องประโยชน์ของการใช้พลังงานสะอาดในชีวิตประจำวันให้มากขึ้น ซึ่งสำนักงานคณะกรรมการกำกับกิจการพลังงาน หรือ สำนักงาน กกพ. โดยกองทุนพัฒนาไฟฟ้า ได้ดำเนินการต่อเนื่องมาตั้งแต่ปี 2562 และได้ต่อยอดมาสู่การสร้างโอกาสให้ทุกคนได้เข้าถึงพลังงานสะอาด ภายใต้ความร่วมมือระหว่าง กกพ. กระทรวงพลังงาน กระทรวงสาธารณสุข และมูลนิธิแพทย์ชนบท ผ่านกิจกรรม “101 วัน จากแสงแรกสู่โรงพยาบาลไฟจากฟ้า ซึ่งจะนำร่องการติดตั้งระบบผลิตไฟฟ้าจากพลังงานแสงอาทิตย์ให้กับ 8 โรงพยาบาล ในพื้นที่ 8 จังหวัด ได้แก่ โรงพยาบาลไทรน้อย จังหวัดนนทบุรี โรงพยาบาลบางบ่อ จังหวัดสมุทรปราการ โรงพยาบาลอู่ทอง จังหวัดสุพรรณบุรี โรงพยาบาลขุนหาญ จังหวัดศรีสะเกษ โรงพยาบาลย่านตาขาว จังหวัดตรัง โรงพยาบาลหลังสวน จังหวัดชุมพร โรงพยาบาลบ้านบึง จังหวัดชลบุรี และโรงพยาบาลปลวกแดง จังหวัดระยอง โดยระบบผลิตไฟฟ้าจากโซลาร์เซลล์ที่มีกำลังผลิต 100 กิโลวัตต์ จะสามารถช่วยลดภาระค่าไฟฟ้าของโรงพยาบาลได้ถึงเดือนละประมาณ 60,000 บาท ดังนั้นในระยะเวลา 1 ปี โรงพยาบาลจะสามารถลดภาระค่าไฟฟ้าได้ราว 720,000 บาท โดยแผงโซลาร์เซลล์จะมีอายุการใช้งานประมาณ 25 ปี จึงสามารถช่วยโรงพยาบาลลดภาระค่าไฟฟ้าได้ถึงประมาณ 18 ล้านบาท ทั้งนี้ โครงการดังกล่าวมีเป้าหมายจะดำเนินการทั้งหมด 77 โรงพยาบาล 77 จังหวัดทั่วประเทศ ซึ่งในอนาคตอาจจะมีการขยายไปพื้นที่อื่นๆ เช่น ชุมชน และ โรงเรียน ในพื้นที่ห่างไกล เพื่อให้ทุกคนได้เข้าถึงการใช้พลังงานสะอาดเพื่อคุณภาพชีวิตที่ดีขึ้นกันตามวัตถุประสงค์ของโครงการต่อไป
นายสุพัฒนพงษ์ พันธ์มีเชาว์ รองนายกรัฐมนตรี และรัฐมนตรีว่าการกระทรวงพลังงาน กล่าวว่า ปัจจุบันประเทศต่างๆ ทั่วโลกต่างให้ความสำคัญต่อพลังงานสะอาด และมีความมุ่งมั่นที่จะร่วมมือกันลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจก ตามความตกลงปารีส หรือ COP 21 ที่มีเป้าหมายจะรักษาระดับอุณหภูมิเฉลี่ยโลกให้สูงขึ้นไม่เกิน 2 องศาเซลเซียส เมื่อเทียบกับอุณหภูมิโลกในยุคก่อนปฏิวัติอุตสาหกรรม สำหรับของประเทศไทย ตาม NDC (Nationally Determined Contribution) ที่เสนอไปนั้น กำหนดเป้าหมายการลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจกให้ได้ร้อยละ 20-25 หรือจำนวน 111-139 ล้านตันคาร์บอนไดออกไซด์เทียบเท่า ภายในปี 2573 ซึ่งในปัจจุบันประเทศไทยได้มีการขับเคลื่อนนโยบายด้านเศรษฐกิจและด้านพลังงานให้ตอบโจทย์ทิศทางของโลกและข้อตกลงดังกล่าวอย่างชัดเจน ทั้งการขับเคลื่อนเศรษฐกิจผ่านโมเดล BCG ที่มุ่งเน้นการพัฒนาเศรษฐกิจใน 3 ด้าน คือ “ด้านเศรษฐกิจชีวภาพ-เศรษฐกิจหมุนเวียน-เศรษฐกิจสีเขียว” และตามแผนพัฒนากำลังผลิตไฟฟ้าของประเทศไทย พ.ศ. 2561 – 2580 ก็ได้กำหนดเป้าหมายกำลังการผลิตไฟฟ้าจากพลังงานทดแทนให้ได้ร้อยละ 37 ภายในปี พ.ศ. 2580 โดยจะสนับสนุนการผลิตไฟฟ้าจากพลังงานแสงอาทิตย์ และส่งเสริมยานยนต์ไฟฟ้าในประเทศ เพื่อเพิ่มการเข้าถึงพลังงานสะอาด ช่วยลดมลพิษทางอากาศ ลดการปล่อยก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ เพื่อนำไปสู่ความมั่นคงด้านพลังงานอย่างยั่งยืนให้กับประเทศ และที่สำคัญเกิดพลังความร่วมมือระหว่างภาครัฐและภาคประชาชนที่สอดประสานกับทิศทางนโยบายเศรษฐกิจสีเขียวของรัฐบาลและนโยบายการส่งเสริมการใช้พลังงานทดแทนของกระทรวงพลังงานเพื่อนำไปสู่เป้าหมายการลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจกตามข้อตกลงปารีสร่วมกันอย่างเป็นรูปธรรมอีกด้วย
นายอนุทิน ชาญวีรกุล รองนายกรัฐมนตรี และรัฐมนตรีว่าการกระทรวงสาธารณสุข กล่าวว่า ในแต่ละปีโรงพยาบาลมีภาระค่าใช้จ่ายด้านพลังงานโดยเฉพาะค่าไฟฟ้าจำนวนมาก ซึ่งโครงการความร่วมมือในครั้งนี้ นับเป็นโครงการที่เป็นประโยชน์อย่างมากในการช่วยลดภาระค่าใช้จ่ายด้านไฟฟ้าให้กับโรงพยาบาล และสามารถนำงบประมาณรายจ่ายค่าไฟฟ้าที่เหลือจ่ายจากการจ่ายค่าไฟฟ้าน้อยลงไปใช้ประโยชน์ด้านอื่นๆ เช่น การซื้ออุปกรณ์การแพทย์ จัดหาเวชภัณฑ์ และการพัฒนาคุณภาพชีวิตของบุคลากรทางการแพทย์ และสนับสนุนระบบสาธารณสุขของประเทศให้มีความพร้อมทั้งต่อสถานการณ์โควิด-19 และการบริการทั่วไปให้กับประชาชน ให้มีศักยภาพเพิ่มมากขึ้น อย่างเช่น โรงพยาบาลไทรน้อยซึ่งเป็นหนึ่งใน 8 โรงพยาบาลนำร่องที่ได้รับการสนับสนุนในครั้งนี้ ได้มีเป้าหมายจะนำเงินส่วนต่างของค่าไฟฟ้า ไปดำเนินการจัดหาเตียงไฟฟ้ารองรับผู้ป่วยติดเตียง เพื่อพัฒนาคุณภาพชีวิตของผู้ป่วยให้ดีขึ้น ซึ่งในฐานะรัฐมนตรีว่าการกระทรวงสาธารณสุข ก็ขอขอบคุณโครงการดีๆ จากสำนักงาน กกพ. ที่สร้างโอกาสความร่วมมือครั้งนี้ขึ้นมาเพื่อช่วยสนับสนุนระบบสาธารณสุขของประเทศในครั้งนี้
วันนี้ (4 มีนาคม 2564) นายสุพัฒนพงษ์ พันธ์มีเชาว์ รองนายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรีว่าการกระทรวงพลังงาน เป็นประธานในพิธีประกาศเจตนารมณ์การจัดการพลังงาน คุณภาพอากาศ และสิ่งแวดล้อม “Breathe our Future รวมพลังเพื่อลมหายใจแห่งอนาคต” พร้อมด้วย ศ.ดร.ธนวัฒน์ จารุพงษ์สกุล ประธานคณะกรรมการจัดทำยุทธศาสตร์ชาติ ด้านการสร้างการเติบโตบนคุณภาพชีวิตที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม นายอรรถพล เจริญชันษา อธิบดีกรมควบคุมมลพิษ ดร.ปกรณ์ อาภาพันธุ์ ผู้อำนวยการสำนักงานพัฒนาเทคโนโลยีอวกาศและภูมิสารสนเทศ (องค์การมหาชน) หรือ GISTDA ศ.ดร.สุพจน์ เตชวรสินสกุล คณบดีคณะวิศวกรรมศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ศ.ดร.พิสุทธิ์ เพียรมนกุล รองคณบดีคณะวิศวกรรมศาสตร์ จุฬาฯ และนายบุญญนิตย์ วงศ์รักมิตร ผู้ว่าการการไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทย (กฟผ.) ณ ห้องออดิทอเรียม อาคาร 50 ปี กฟผ. สำนักงานใหญ่ อ.บางกรวย จ.นนทบุรี
ในโอกาสนี้ นายสุพัฒนพงษ์ พันธ์มีเชาว์ รองนายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรีว่าการกระทรวงพลังงาน กล่าวปาฐกถาพิเศษ “พลังงานและอากาศ โอกาสชีวิตที่ยั่งยืน” ว่า พลังงานคืออนาคตและโอกาสที่ช่วยขับเคลื่อนเศรษฐกิจทำให้เกิดการพัฒนาอย่างไม่หยุดยั้ง เป็นโอกาสต่อยอดในการสร้างคุณภาพชีวิตที่ดี ดังนั้น สิ่งที่กระทรวงพลังงาน และ กฟผ. ตระหนักและให้ความสำคัญในการขับเคลื่อนเศรษฐกิจจึงไม่ใช่แค่ความมั่นคงทางพลังงานไฟฟ้าเท่านั้น แต่ยังรวมถึงการสร้างโอกาสในการใช้ชีวิตให้ครบทุกมิติและสร้างความสุขให้ชีวิตคนไทย ซึ่งที่ผ่านมาคนไทยเคยร่วมมือกันสร้างก้าวย่างที่สำคัญในการอนุรักษ์พลังงานผ่านโครงการฉลากประหยัดไฟฟ้าเบอร์ 5 และในครั้งนี้จึงอยากเชิญชวนคนไทยให้มาร่วมมือกันอีกครั้งเพื่อสร้างพลังงานและอากาศที่บริสุทธิ์ด้วยกัน
ด้านนายบุญญนิตย์ วงศ์รักมิตร ผู้ว่าการ กฟผ. กล่าวว่า จากอดีตถึงปัจจุบัน กฟผ. มุ่งมั่นสร้างพลังแห่งความสุข ทั้งการดูแลความมั่นคงด้านพลังงานไฟฟ้าของประเทศที่ถือเป็นฟันเฟืองสำคัญในการขับเคลื่อนเศรษฐกิจของประเทศ การดูแลชุมชนให้อยู่ดีมีสุข รวมถึงการดูแลคุณภาพอากาศและสิ่งแวดล้อมผ่านเทคโนโลยีการผลิตไฟฟ้าที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม และส่งเสริมให้มีการใช้ไฟฟ้าอย่างมีประสิทธิภาพผ่านโครงการฉลากประหยัดไฟฟ้าเบอร์ 5 และโครงการห้องเรียนสีเขียว รวมทั้งดูแลสิ่งแวดล้อมผ่านโครงการปลูกป่า รักษาและลดการเผาป่า โดยจะต่อยอดการดำเนินงานร่วมกับภาคีเครือข่ายให้เป็นรูปธรรมมากขึ้นภายใต้แนวคิด EGAT Air TIME ประกอบด้วย
– T (Tree) การเพิ่มพื้นที่สีเขียวเพื่อเพิ่มการดูดซับอากาศเสีย สร้างอากาศบริสุทธิ์ ผ่านโครงการปลูกป่า สร้างฝาย รวมไปถึงการดำเนินงานจิตอาสาป้องกันไฟป่า ลดการเผาป่า
– I (Innovation) การพัฒนาต่อยอดนวัตกรรมการจัดการคุณภาพอากาศ ส่งเสริมเทคโนโลยีด้านการผลิตและใช้พลังงานสะอาด อาทิ โครงการโซลาร์ลอยน้ำ ยานยนต์ไฟฟ้า
– M (Monitoring) ระบบตรวจวัดและแสดงผลคุณภาพอากาศด้วยแอปพลิเคชันรูปแบบต่างๆ เพื่อให้คนรู้และตระหนักนำไปสู่การปรับพฤติกรรม ด้วยการติดตั้งจุดตรวจวัดคุณภาพอากาศในพื้นที่ชุมชนรอบ กฟผ. และเครือข่ายห้องเรียนสีเขียว
– E (Education & Engagement) การส่งเสริมองค์ความรู้ สร้างทัศนคติในการจัดการพลังงาน คุณภาพอากาศและสิ่งแวดล้อม ผ่านโครงการห้องเรียนสีเขียว ศูนย์เรียนรู้ กฟผ. รวมทั้งจัดกิจกรรมเพื่อสร้างการมีส่วนร่วมกับทุกภาคส่วน
โดยในปี 2564 กฟผ. มีแผนการติดตั้งจุดตรวจวัดฝุ่นละอองจำนวน 200 จุด ในพื้นที่ชุมชนรอบโรงไฟฟ้า เขต เขื่อนของ กฟผ. เครือข่ายห้องเรียนสีเขียว และสถานศึกษาในสังกัดสำนักงานคณะกรรมการการอาชีวศึกษา พร้อมทั้งจัดกิจกรรมชาเลนจ์ “EGATลดละรอดปลอดฝุ่น”ชวนคนไทยแชร์ไอเดียลดฝุ่น พร้อมติดแฮชแท็ก #EGATลดละรอดปลอดฝุ่น #รวมพลังเพื่อลมหายใจแห่งอนาคต #EGATforALL ตั้งแต่ 12 – 30 มีนาคม 2564 ผ่านช่องทาง Facebook และ Instagram พร้อมส่งคำท้าไปยังเพื่อนอีก 5 คน เพื่อรวมพลังคนไทยร่วมรณรงค์สร้างอากาศบริสุทธิ์ด้วยกัน
นายอรรถพล เจริญชันษา อธิบดีกรมควบคุมมลพิษ กล่าวว่า ปัญหาสิ่งแวดล้อมเป็นปัญหาที่สำคัญและส่งผลกระทบต่อการดำเนินชีวิตของประชาชนในปัจจุบัน โดยเฉพาะอย่างยิ่งปัญหาคุณภาพอากาศ และฝุ่น PM-2.5 ซึ่งพบแนวโน้มการเพิ่มสูงขึ้นในช่วงหลายปีที่ผ่านมา สำหรับการลงนามบันทึกความร่วมมือในวันนี้จะเป็นการบูรณาการในด้านการพัฒนาระบบฐานข้อมูล เพื่อสร้างแบบจำลองทางคณิตศาสตร์ในการคาดการณ์มลพิษทางอากาศ และสร้างเครื่องมือสำหรับให้บริการข้อมูลในการติดตามสถานการณ์มลพิษทางอากาศ เพื่อแจ้งเตือนให้กับประชาชนได้รับทราบสถานการณ์ปัญหามลพิษทางอากาศ ซึ่งกรมควบคุมมลพิษ มีความยินดียิ่งที่ได้ร่วมลงนามความร่วมมือในวันนี้ และพร้อมสนับสนุนข้อมูลคุณภาพอากาศจากสถานีตรวจวัดคุณภาพอากาศของกรมควบคุมมลพิษ และการดำเนินงานในมิติต่าง ๆ เพื่อแก้ไขปัญหาฝุ่น PM-2.5 ให้พี่น้องประชาชน
ดร.ปกรณ์ อาภาพันธุ์ ผู้อำนวยการสำนักงานพัฒนาเทคโนโลยีอวกาศและภูมิสารสนเทศ (องค์การมหาชน) กล่าวว่า GISTDA ให้ความสำคัญกับการพัฒนาแบบจำลองในการพยากรณ์คุณภาพอากาศ และการดำเนินงานที่เกี่ยวข้องกับ PM-2.5 ตามภารกิจซึ่งมุ่งเน้นให้เกิดคุณค่าแก่สังคม โดยการใช้ข้อมูลภาพจากดาวเทียม และการร่วมมือกันครั้งนี้ถือเป็นความท้าทายที่ทุกหน่วยงานจะร่วมกันลดจุดอ่อน เพิ่มจุดแข็ง สร้างความเชื่อมั่นให้กับประชาชนในการรับรู้สถานการณ์ การเฝ้าระวัง เตรียมตัวและพร้อมรับมือกับสถานการณ์ได้อย่างมีประสิทธิภาพมากขึ้น ทั้งนี้ GISTDA จะร่วมมือกับพันธมิตรเครือข่ายที่รับผิดชอบ เพื่อยกระดับคุณภาพชีวิตและสุขภาพของประชาชนให้ดียิ่งขึ้นด้วยนวัตกรรมทางเทคโนโลยีที่เหมาะสมและสามารถเข้าถึงได้โดยง่าย
ศ.ดร.สุพจน์ เตชวรสินสกุล คณบดีคณะวิศวกรรมศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย กล่าวว่า ทางจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยได้นำองค์ความรู้ด้านนวัตกรรมมาใช้ให้เกิดประโยชน์สูงสุดแก่สังคมเพื่อความยั่งยืน โดยจะร่วมศึกษา ออกแบบ และพัฒนาแบบจำลองการวิเคราะห์และการคาดการณ์ปริมาณฝุ่นละอองขนาดเล็ก (PM-2.5) รวมถึงประยุกต์ใช้ข้อมูลและการคาดการณ์ฝุ่น PM-2.5 ร่วมกับข้อมูลดาวเทียม เทคโนโลยีภูมิสารสนเทศ และเทคโนโลยี Machine Learning ตลอดจนเชื่อมโยงข้อมูลปริมาณฝุ่นละอองและคุณภาพอากาศเข้าสู่ระบบฐานข้อมูลเปิด (open data) การแสดงผลผ่านเว็บไซต์และแอปพลิเคชัน เพื่อรายงานผลคุณภาพอากาศและการแจ้งเตือนอัตโนมัติกรณีเข้าพื้นที่ที่คุณภาพอากาศเกินค่ามาตรฐาน
วันที่ 3 มีนาคม 2564 นายสมบูรณ์ หน่อแก้ว รองปลัดกระทรวงพลังงาน หัวหน้าศูนย์ปฏิบัติการต่อต้านการทุจริต (ศปท.) เป็นประธานในการประชุมเพื่อชี้แจงทำความเข้าใจและรับทราบปัญหาอุปสรรคในการประเมินคุณธรรมและความโปร่งใสในการดำเนินงานของหน่วยงานภาครัฐ (Integrity and Transparency Assessment: ITA) ประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2564 “More Open, more transparent ยิ่งเปิดเผย ยิ่งโปร่งใส” ของหน่วยงานระดับภูมิภาค ผ่านระบบ Video Conference ร่วมกับพลังงานจังหวัด ผู้แทนจากสำนักงานพลังงานจังหวัดทั้ง 76 จังหวัด รวมทั้งเจ้าหน้าที่ ศปท. และเจ้าหน้าที่ศูนย์เทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร (ศทส.) โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อชี้แจงถึงที่มาและความสำคัญ รวมถึงหัวข้อของการประเมิน ITA ประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2564 ที่จะต้องมีการดำเนินการประสานข้อมูลร่วมกันระหว่างส่วนกลางและส่วนภูมิภาคต่อไป
แผนงานที่ให้ปรับเพิ่มเติม คลิกที่นี่
กระทรวงพลังงานจัดงานประกวดวาดภาพ ปีที่ 8 ในหัวข้อ “หลงรักพลังงาน” ผู้ที่สนใจสามารถดาวน์โหลดกติกาและใบสมัครได้ที่ Download
(ร่าง) แผนปฏิบัติการขับเคลื่อนวาระแห่งชาติ “การแก้ไขปัญหาด้านฝั่นละออง” คลิกที่นี่
เมื่อวันที่ 21-22 มกราคม 2564 ปลัดกระทรวงพลังงานได้มอบหมายให้นางเปรมฤทัย วินัยแพทย์ รองปลัดกระทรวงพลังงาน เป็นหัวหน้าคณะผู้แทนไทยพร้อมด้วยหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง เข้าร่วมการประชุมเจ้าหน้าที่อาวุโสอาเซียนด้านพลังงาน สมัยพิเศษ (Special Senior Officials Meeting on Energy: Special SOME) และการประชุมคณะกรรมการบริหารศูนย์พลังงานอาเซียน ครั้งที่ 23 (23rd ACE Governing Council) โดยมีวัตถุประสงค์ของการประชุมเพื่อร่วมให้ข้อคิดเห็น และข้อเสนอแนะเกี่ยวกับการดำเนินความร่วมมือด้านพลังงานภายใต้กรอบอาเซียน เพื่อนำไปสู่การเสริมสร้างความมั่นคงทางพลังงาน และการเจริญเติบโตทางเศรษฐกิจในภูมิภาคอาเซียนต่อไป
โดยในการประชุมครั้งนี้ เวียดนามในฐานะประธานการประชุม บรูไนในฐานะรองประธานฯ และประเทศสมาชิกได้ร่วมกันพิจารณาการขับเคลื่อนแผนปฏิบัติการความร่วมมือด้านพลังงานอาเซียน ระยะที่ 2 พ.ศ. 2564-2568 (APAEC Phase II: 2021-2025) ใน 7 สาขา ประกอบด้วย ความร่วมมือด้านแผนพลังงานภูมิภาค การเชื่อมโยงไฟฟ้าอาเซียน การเชื่อมโยงท่อก๊าซอาเซียน พลังงานทดแทน การใช้พลังงานอย่างมีประสิทธิภาพและการอนุรักษ์พลังงาน ความร่วมมือด้านเทคโนโลยีถ่านหินสะอาด และความร่วมมือด้านพลังงานนิวเคลียร์ เพื่อให้บรรลุตามเป้าหมายเพื่อความมั่นคงและยั่งยืนด้านพลังงานของอาเซียนต่อไป
“ปลัดพลังงาน” สั่งเข้มระบบตรวจสอบ ติดตาม และประเมินผลทุกโครงการฯ ยื่นของบกองทุนฯ ย้ำ ต้องให้ประชาชนได้ใช้จริง
นายกุลิศ สมบัติศิริ ปลัดกระทรวงพลังงาน เปิดเผยว่า ตามที่มีกระแสข่าวโครงการระบบผลิตไฟฟ้าด้วยพลังงานแสงอาทิตย์ ในพื้นที่อำเภออมก๋อย จังหวัดเชียงใหม่ ซึ่งเป็นโครงการที่ได้รับงบประมาณสนับสนุนจากกองทุนเพื่อการส่งเสริมการอนุรักษ์พลังงาน ปี 2562 นั้น ขณะนี้ ทางกระทรวงพลังงาน ได้มีการสั่งการให้หน่วยงานที่เกี่ยวข้องเข้าตรวจสอบโครงการดังกล่าว และโครงการอื่นๆ ในลักษณะเดียวกัน ครอบคลุมตั้งแต่การดำเนินการตรวจรับและส่งมอบให้กับหน่วยงานที่รับผิดในการบริหารจัดการ เพื่อร่วมบูรณาการแก้ไขให้โครงการต่างๆ สามารถดำเนินการให้เกิดประโยชน์ต่อประชาชนตามเป้าหมายโดยเร็วที่สุด
กระทรวงพลังงานได้รับรายงานจาก สำนักงานกองทุนเพื่อส่งเสริมการอนุรักษ์พลังงาน ว่า ปัจจุบัน โครงการส่งเสริมการใช้พลังงานทดแทนในพื้นที่ห่างไกลทุรกันดาร อำเภออมก๋อย จังหวัดเชียงใหม่ ที่ดำเนินการโดยกองอำนวยการรักษาความมั่นคงภายในภาค 3 โครงการดังกล่าว ทาง กอ.รมน. ได้ส่งคำขอโครงการจำนวน 54,972,750 บาท ซึ่งสำนักงานกองทุนเพื่อส่งเสริมการอนุรักษ์พลังงาน ได้พิจารณามาตรฐานราคาจากหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง และราคากลางจากบัญชีราคามาตรฐานครุภัณฑ์ สำนักงบประมาณ ธันวาคม 2561 จึงได้อนุมัติงบประมาณที่ 45,205,000 บาท
ส่วนสถานะโครงการในปัจจุบันนี้ ส.กทอ แจ้งว่า อยู่ระหว่างการตรวจสอบรายงานจาก กอ.รมน. ว่าครบถ้วน ถูกต้องตามหนังสือยืนยันหรือไม่ และยังไม่มีการอนุมัติจ่ายงบประมาณงวดสุดท้ายจำนวน 18,082,000 บาท
“ นอกจากนี้ ผมยังได้กำชับให้หน่วยงานที่เกี่ยวข้อง ทั้ง สำนักงานกองทุนเพื่อส่งเสริมการอนุรักษ์พลังงาน และพลังงานจังหวัดทุกจังหวัด มีการตรวจสอบการดำเนินโครงการในพื้นที่จริงอย่างเข้มงวด และตั้งแต่ปี 2564 จะมีการตั้งคณะอนุกรรมการตรวจสอบทุกขั้นตอน หากมีการขอรับการสนับสนุนประเภทเดียวกันนี้ จะต้องมีแผนงานที่ชัดเจน มีความพร้อมในการบำรุงรักษา และประชาชนจะต้องใช้งานได้จริง พร้อมทั้งต้องดำเนินการอย่างเข้มงวดตั้งแต่ระบบตรวจสอบ ติดตาม ประเมินผลในทุก ๆ โครงการ เพื่อให้เกิดความยั่งยืนและประชาชนได้รับประโยชน์อย่างเต็มที่” ปลัดกระทรวงพลังงานกล่าว
วันนี้ (15 ม.ค. 64) นายสุพัฒนพงษ์ พันธ์มีเชาว์ รองนายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรีว่าการกระทรวงพลังงาน และนายกุลิศ สมบัติศิริ ปลัดกระทรวงพลังงาน นำคณะผู้บริหารระดับสูง เข้าถวายแจกันดอกไม้และลงนามถวายพระพร สมเด็จพระกนิษฐาธิราชเจ้า กรมสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี ขอให้ทรงมีพระพลานามัยแข็งแรงสมบูรณ์หายจากพระอาการประชวรโดยเร็ววัน ณ ศาลาสหทัยสมาคม ในพระบรมมหาราชวัง
เอกสารประกอบ ได้แก่
1. ร่างรายงานการประชุม คทง.พิเศษ ครั้งที่ 1/2564 คลิกที่นี่
2. แบบเวียนรับรองรายงานการประชุม คลิกที่นี่
ทั้งนี้ขอให้ส่งแบบเวียนรับรองรายงานการประชุมคืนฝ่ายเลขานุการฯ
ภายในวันศุกร์ที่ 22 มกราคม 2564 เวลา 12.00 น. เพื่อดำเนินการต่อไปครับ
วันนี้ (13 ม.ค. 63) นายกุลิศ สมบัติศิริ ปลัดกระทรวงพลังงาน พร้อมด้วยผู้บริหารระดับสูง เข้าถวายแจกันดอกไม้และลงนามถวายพระพร สมเด็จพระกนิษฐาธิราชเจ้า กรมสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี ขอให้ทรงมีพระพลานามัยแข็งแรงสมบูรณ์หายจากพระอาการประชวรโดยเร็ววัน ณ ศาลาสหทัยสมาคม ในพระบรมมหาราชวัง
วันนี้ (1 ม.ค. 64) นายกุลิศ สมบัติศิริ ปลัดกระทรวงพลังงาน พร้อมด้วยคณะผู้บริหารระดับสูงของกระทรวงและรัฐวิสาหกิจในสังกัดกระทรวงพลังงาน เข้าร่วมลงนามถวายพระพร เนื่องในโอกาสวันขึ้นปีใหม่ ณ ศาลาสหทัยสมาคม ในพระบรมมหาราชวัง
กระทรวงพลังงาน กรมธุรกิจพลังงาน และสำนักงานคณะกรรมการป้องกันและปราบปรามการทุจริตในภาครัฐ (สำนักงาน ป.ป.ท.) ร่วมลงนาม “บันทึกข้อตกลงความร่วมมือการดำเนินการเพื่อเพิ่มประสิทธิภาพและความโปร่งใสสำหรับการปฏิบัติราชการ และให้บริการด้านการอนุญาตการประกอบกิจการน้ำมันเชื้อเพลิง” หวังยกระดับการให้บริการของหน่วยงาน ส่งเสริมข้าราชการปฏิบัติหน้าที่ตามหลัก Good Governance สอดคล้องกับแผนปฏิรูปประเทศด้านการป้องกันและปราบปรามการทุจริตและประพฤติมิชอบ เชื่อเป็นทิศทางการพัฒนาที่ทำให้ประเทศชาติได้ประโยชน์อย่างยั่งยืน
วันนี้ (18 ธ.ค.63) เวลา 12.30 น. ณ ห้องประชุม 9 ชั้น 15 ศูนย์เอนเนอร์ยี่คอมเพล็กซ์ อาคารบี นายกุลิศ สมบัติศิริ ปลัดกระทรวงพลังงาน พร้อมกับ นางสาวนันธิกา ทังสุพานิช อธิบดีกรมธุรกิจพลังงาน และ พันตำรวจโท วันนพ สมจินตนากุล เลขาธิการคณะกรรมการป้องกันและปราบปรามการทุจริตในภาครัฐ เข้าร่วมในพิธีลงนามบันทึกข้อตกลงความร่วมมือการดำเนินการเพื่อเพิ่มประสิทธิภาพและความโปร่งใสสำหรับการปฏิบัติราชการ และให้บริการด้านการอนุญาตการประกอบกิจการน้ำมันเชื้อเพลิง ระหว่าง กระทรวงพลังงาน (พน.) กรมธุรกิจพลังงาน (ธพ.) และสำนักงานคณะกรรมการป้องกันและปราบปรามการทุจริตในภาครัฐ (สำนักงาน ป.ป.ท.) ทั้งนี้ เพื่อเป็นการส่งเสริม สนับสนุน บูรณาการและประสานการปฏิบัติราชการร่วมกัน เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพและความโปร่งใสสำหรับการปฏิบัติราชการและให้บริการด้านการอนุญาตการประกอบกิจการน้ำมันเชื้อเพลิงให้เป็นมาตรฐานเดียวกัน ตามกฎหมายว่าด้วยการควบคุมน้ำมันเชื้อเพลิง ลดความเสี่ยงการทุจริต พัฒนาศักยภาพบุคลากร ยกระดับการให้บริการของหน่วยงาน รวมทั้งการส่งเสริมให้ข้าราชการปฏิบัติหน้าที่ โดยยึดหลักธรรมาภิบาล (Good Governance) เพื่อตอบสนองกับยุทธศาสตร์ชาติ แผนแม่บทภายใต้ยุทธศาสตร์ด้านการป้องกันและปราบปรามการทุจริต แผนปฏิรูปประเทศด้านการป้องกันและปราบปรามการทุจริตและประพฤติมิชอบ และเป็นการสร้างการมีส่วนร่วมในการพัฒนาประเทศ ให้เกิดประโยชน์สูงสุดแก่ทุกภาคส่วน สำหรับแนวทางในการขับเคลื่อนการดำเนินการจะมีอธิบดีกรมธุรกิจพลังงานเป็นผู้รับผิดชอบหลัก โดยกรมธุรกิจพลังงาน และสำนักงานพลังงานจังหวัดจะเป็นหน่วยดำเนินงานมีปลัดกระทรวงพลังงานเป็นผู้กำกับดูแล และสำนักงาน ป.ป.ท. เป็นหน่วยสนับสนุน
“วันนี้หลังจากลงนาม MOU แล้ว ผมได้ลงนามตั้งคำสั่งคณะทำงานทันที โดยมีองค์ประกอบจากหน่วยงานทั้ง 3 หน่วย เพื่อเร่งผลักดันการจัดทำแผนการศึกษา วิเคราะห์ คัดเลือกกระบวนงานด้านการอนุญาตการประกอบกิจการน้ำมันเชื้อเพลิง นำมาจัดทำแผนบริหารความเสี่ยงและพัฒนาให้สามารถให้บริการได้อย่างโปร่งใส เป็นธรรมและมีประสิทธิภาพ สร้างความเชื่อมั่นในการทำงานของภาครัฐ โดยให้มีการติดตามและประเมินผลรายงานต่อผม อธิบดีกรมธุรกิจพลังงาน และเลขาธิการคณะกรรมการป้องกันและปราบปรามการทุจริตในภาครัฐเป็นระยะด้วย
ซึ่งผมเชื่อว่าเมื่อมีการยกระดับพัฒนาประสิทธิภาพการทำงาน นอกจากจะเป็นการปิดช่องทางการทุจริตได้แล้ว ที่สำคัญคือจะสามารถสร้างความเชื่อมั่นให้ประชาชนหรือผู้ประกอบการในการได้รับบริการที่ดีและโปร่งใสจากภาครัฐ อันจะเป็นส่วนสำคัญในการสร้างความเจริญก้าวหน้าให้ประเทศชาติต่อไป”ปลัดกระทรวงพลังงาน กล่าว
กระทรวงพลังงานจัดประชุมเวิร์กช็อปเปิดโอกาส “คนพลังงานร่วมใจ สู่ทิศทางไทยในอนาคต” ระดมแนวคิดและมุมมองกำหนดทิศทางนโยบาย และจัดทำแผนพัฒนาด้านพลังงานของประเทศแบบบูรณาการรับมือยุค New Normal และยุค Smart & Green Energy
วันนี้ (14 ธ.ค.63) นายกุลิศ สมบัติศิริ ปลัดกระทรวงพลังงาน เปิดเผยว่า สืบเนื่องจากมติคณะรัฐมนตรีเมื่อวันที่ 20 ตุลาคม 2563 เห็นชอบแผนพัฒนากำลังผลิตไฟฟ้าของประเทศไทย พ.ศ. 2561-2580 ฉบับปรับปรุงครั้งที่ 1 พร้อมด้วยแผนที่เกี่ยวข้อง และให้นำแผนทั้งหมดที่เสนอไปรวมให้เป็นแผนเดียวกันอย่างมีเอกภาพและนำเสนอคณะรัฐมนตรีพิจารณาในปี 2564 ประกอบกับการวางแผนพลังงานโดยเฉพาะแผนพัฒนากำลังการผลิตไฟฟ้าที่ผ่านมาใช้การประมาณการเศรษฐกิจระยะยาวเป็นสมมติฐาน ซึ่งมีความคลาดเคลื่อนอันมาจากผลกระทบจากสถานการณ์การระบาดของโรค COVID-19 จำเป็นต้องมีการทบทวนให้สอดคล้องกับสถานะความเป็นจริง และแผนควรมีการกำหนดการดำเนินการให้มีความยืดหยุ่น มีเป้าหมายในระยะสั้น ระยะปานกลาง 5-10 ปี มากกว่าการวางแผนในระยะยาว 20 ปี นอกจากนี้ ปัจจุบันแผนพลังงานของไทยต้องมีการวางแผนเตรียมการรองรับการเปลี่ยนแปลงยุค Digital Disruption ทั้งในด้านสภาวะโลกร้อนและพลังงานสะอาดที่จะเกิดขึ้นในอนาคตอันใกล้
เพื่อเป็นการดำเนินการตามมติคณะรัฐมนตรี และสถานการณ์ Digital Disruption ให้ทันท่วงที กระทรวงพลังงานจึงได้จัดการประชุมเชิงปฏิบัติการ “คนพลังงานรุ่นใหม่ ร่วมใจสู่ทิศทางไทยในอนาคต” เป็นการเริ่มต้นนับหนึ่งเดินหน้าจัดทำแผนพัฒนาด้านพลังงานของประเทศแบบบูรณาการในวันนี้ โดยมีเลขาธิการสภาพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ รองประธานสภาอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย กลุ่มอุตสาหกรรมพลังงานหมุนเวียน ผู้เชี่ยวชาญด้านพลังงานจากบริษัท แมคคินซี่ แอนด์ คอมพานี ประเทศไทย มาร่วมแบ่งปันข้อมูลสถานการณ์เศรษฐกิจปัจจุบัน และการคาดการณ์การฟื้นตัวทางเศรษฐกิจ ทิศทางการพัฒนาและความท้าทายด้านพลังงานโลกและของไทยในอนาคต เพื่อสร้างความเข้าใจและกำหนดกรอบภาพอนาคตของพลังงาน นอกจากนี้ การวางแผนและกำหนดเป้าหมายในแต่ละช่วงเวลา คือ เป้าหมาย 3 ปี 5 ปี 10 ปี และ 20 ปี จำเป็นต้องอาศัยบุคลากรคนรุ่นใหม่ซึ่งมีทักษะแห่งอนาคต เข้าใจในเทคโนโลยีดิจิทัลที่ทันสมัย แนวทางการดำเนินธุรกิจรองรับ Digital Disruption อย่างทันท่วงที อีกทั้งบุคลากรเหล่านี้จะก้าวขึ้นสู่ผู้บริหารเป็นผู้นำในเรื่องพลังงานในอนาคตอีกด้วย การประชุมระดมสมองครั้งนี้จะเป็นการให้คนรุ่นใหม่เหล่านี้ ทั้งส่วนราชการในสังกัดกระทรวงพลังงานทั้ง 4 แห่ง รวมถึงการไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทย (กฟผ.) และกลุ่ม บริษัท ปตท. จำกัด มหาชน มาร่วมแสดงความคิดเห็นและเสนอแนะกรอบแนวทางการเตรียมการรองรับการเปลี่ยนแปลงทั้งด้านเศรษฐกิจในยุค New Normal และด้านพลังงานในยุค Digital Disruption ได้อย่างมีศักยภาพ
“การจัดทำแผนพัฒนาด้านพลังงานของประเทศแบบบูรณการครั้งนี้ ถือเป็นจุดเริ่มต้นการจัดทำแผนแบบบูรณาการครบวงจรทั้งด้านก๊าซธรรมชาติ ไฟฟ้า น้ำมัน พลังงานทดแทน และการอนุรักษ์พลังงานในลักษณะ Bottom Up เสนอจากผู้ปฏิบัติงานมาสู่ระดับนโยบาย ซึ่งจะได้นำผลจากการระดมความเห็นครั้งนี้มาร่วมกันกำหนดนโยบายและจัดทำแผนแล้วนำไปสู่การปฏิบัติให้เกิดผลที่เป็นรูปธรรมต่อไป” ปลัดกระทรวงพลังงานกล่าวในตอนท้าย
“สุพัฒนพงษ์” ลงพื้นที่ตรวจราชการ จ.อุดรธานี
หนุนกองทุนหมู่บ้าน พร้อมยกระดับมาตรฐานตู้น้ำมันหยอดเหรียญใช้กระตุ้นเศรษฐกิจฐานราก
รองนายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรีว่าการกระทรวงพลังงานลงพื้นที่ตรวจราชการ จ.อุดรธานี ชมการบริหารจัดการกองทุนหมู่บ้าน บ้านท่าสี อ.หนองแสง ปลื้มตู้น้ำมันหยอดเหรียญสร้างกำไร เพิ่มคุณภาพชีวิต ลดความเหลื่อมล้ำและเป็นพลังงานที่ทุกคนเข้าถึงได้ หวังยกระดับสร้างมาตรฐานความปลอดภัยและคุณภาพน้ำมัน เชื่อเป็นอีกหนึ่งโมเดลกระตุ้นเศรษฐกิจฐานราก
วันนี้ (9 ธ.ค. 63) นายสุพัฒนพงษ์ พันธ์มีเชาว์ รองนายกรัฐมนตรี และรัฐมนตรีว่าการกระทรวงพลังงาน ลงพื้นที่ตรวจราชการ จังหวัดอุดรธานี โดยภารกิจหนึ่งคือตรวจเยี่ยมการบริหารจัดการกองทุนหมู่บ้านท่าสี หมู่ 3 ต.แสงสว่าง อ.หนองแสง ที่มีสมาชิก 143 คน มีทุนหมุนเวียนกว่า 4.6 ล้านบาท ซึ่งกองทุนดังกล่าวมีการบริหารงานในงบลงทุนโครงการเพื่อสร้างผลกำไร ออกเป็น 4 โครงการสำคัญ คือ 1.ตู้น้ำมันหยอดเหรียญ 2.ตู้เติมเงิน 3.ร้านค้าประชารัฐ และ 4.กองทุนปุ๋ย เพื่อพัฒนาคุณภาพชีวิตของสมาชิกในโครงการและประชาชนในหมู่บ้าน ซึ่งมีผลประกอบการที่น่าพอใจ คือโครงการตู้นำมันหยอดเหรียญที่สามารถสร้างผลกำไรในระยะ 3 ปีที่ผ่านมา เป็นเงินมากกว่า 100,000 บาท
โดยในส่วนของการประกอบกิจการตู้น้ำมันหยอดเหรียญนั้น ตามกฎหมายว่าด้วยการควบคุมน้ำมันเชื้อเพลิง เป็นสถานีบริการน้ำมันประเภทหนึ่งเรียกว่าสถานีบริการน้ำมันประเภท ง โดยส่วนใหญ่จะตั้งอยู่ในชุมชนที่มีพื้นที่อยู่ไกลจากสถานีบริการน้ำมันหลัก ให้บริการคนในพื้นที่ เกษตรกร หรือนักท่องเที่ยวที่เดินทางสัญจรไปมา ซึ่งปัจจุบันภาครัฐได้มีการส่งเสริมให้เกิดการยกระดับปั๊มน้ำมันหยอดเหรียญทั้งในเรื่องมาตรฐานความปลอดภัยและคุณภาพน้ำมัน เพื่อหวังเป็นส่วนหนึ่งในการกระตุ้นเศรษฐกิจฐานราก สร้างงาน สร้างอาชีพให้เกิดความยั่งยืนในชุมชน สำหรับ ตู้น้ำมันหยอดเหรียญนั้นภายในจะมีอุปกรณ์ไฟฟ้าซึ่งจะต้องเป็นไปตามมาตรฐานความปลอดภัย สถานที่ตั้งตู้น้ำมันหยอดเหรียญ จะต้องเป็นไปตามกฎหมายกำหนด และที่สำคัญก่อนจะประกอบกิจการจะต้องแจ้งต่อพนักงานเจ้าหน้าที่ โดยในเขตกรุงเทพมหานครแจ้งต่อกรมธุรกิจพลังงาน ในต่างจังหวัดแจ้งต่อองค์การปกครองส่วนท้องถิ่น(เทศบาล,อบต.) และจะต้องจดทะเบียนหัวจ่ายตามมาตรา11 ที่สำนักงานพลังงานจังหวัด ซึ่งการประกอบกิจการจะต้องปฏิบัติให้ถูกต้องครบถ้วนตามกฏหมายเพื่อความปลอดภัย
“ผมยินดีที่ภาคพลังงาน อย่างสเกลเล็กๆแบบตู้น้ำมันหยอดเหรียญนี้ ได้เข้ามามีส่วนในการสร้างเม็ดเงิน ต่อยอดกองทุนหมู่บ้านได้ อำนวยความสะดวกให้กับชุมชนและเกษตรกรได้เข้าถึงพลังงานอย่างทั่วถึง ซึ่งที่ผ่านมาได้รับรายงานว่าตำบลหรือหมู่บ้านที่ได้รับจัดสรรงบประมาณก็มีการรวมตัวกันเพื่อจัดหาตู้น้ำมันหยอดเหรียญมาให้บริการสมาชิกในตำบล หรือหมู่บ้าน เนื่องจากชาวบ้านเห็นร่วมกันว่าเป็นประโยชน์ต่อสมาชิกในพื้นที่ และยังสามารถสร้างงาน สร้างรายได้ให้กับคนในชุมชน สอดคล้องกับนโยบายของรัฐบาล ในส่วนของกระทรวงพลังงานจะพยายามยกระดับสร้างมาตรฐานของตู้น้ำมัน ให้มีความปลอดภัย มีคุณภาพให้ถูกต้องตามกฎหมาย ซึ่งมอบหมายกรมธุรกิจพลังงานและสำนักงานพลังงานจังหวัดทั่วประเทศเข้าไปดูแล ส่งเจ้าหน้าที่ตรวจสอบความปลอดภัย 2 ครั้งต่อปี” นายสุพัฒนพงษ์ กล่าว
วันนี้ (วันที่ 9 ธันวาคม 2563) ศูนย์ปฏิบัติการต่อต้านการทุจริต กระทรวงพลังงาน ได้จัดกิจกรรมรณรงค์ประชาสัมพันธ์เนื่องในวันต่อต้านคอร์รัปชันสากล (ประเทศไทย) ภายใต้แนวคิด “Zero Tolerance คนไทยไม่ทนต่อการทุจริต” โดยมีนายกุลิศ สมบัติศิริ ปลัดกระทรวงพลังงาน และนายสมบูรณ์ หน่อแก้ว หัวหน้าศูนย์ปฏิบัติการต่อต้านการทุจริต พร้อมด้วยผู้บริหารระดับสูง ร่วมรณรงค์ประชาสัมพันธ์ภายในหน่วยต่างๆ ในสังกัดกระทรวงพลังงาน เพื่อเป็นการแสดงออกเชิงสัญลักษณ์ในการต่อต้านการทุจริตคอร์รัปชัน รวมทั้งกระตุ้นจิตสำนึกให้ข้าราชการและเจ้าหน้าที่กระทรวงพลังงานไม่ยอมรับและไม่ทนต่อการทุจริต อันจะนำไปสู่การเป็นองค์กรที่มีความโปร่งใสและเป็นที่ยอมรับต่อไป
เอกสารแนบ 1 หนังสือ นร 1112/ว6938 คลิกที่นี่
เอกสารแนบ 1 PPT worshop คลิกที่นี่
เอกสารแนบ 2 ปฏิทินสำคัญ คลิกที่นี่
เอกสารแนบ 3 แบบฟอร์ม Big Rock คลิกที่นี่
เอกสารแนบ 3 ร่างแผนปฏิรูปประเทศด้านพลังงาน คลิกที่นี่
เอกสารแนบ 4 ActionPlanปฏิรูป คลิกที่นี่
เอกสารแนบ 5 ทบทวนแผนปฏิรูปประเทศด้านพลังงาน คลิกที่นี่
นายสมบูรณ์ หน่อแก้ว รองปลัดกระทรวงพลังงาน เป็นตัวแทนมอบเงินจำนวน 50,000 บาท จากการจัดแข่งขันกอล์ฟการกุศลเพื่อสวัสดิการ สำนักงานปลัดกระทรวงพลังงาน ให้แก่โรงพยาบาลสงฆ์ เพื่อใช้ประโยชน์ต่อไป (วันนี้ 8 ธ.ค. 63)
วันนี้ (5 ธ.ค. 63) นายกุลิศ สมบัติศิริ ปลัดกระทรวงพลังงาน พร้อมด้วยนายสมบูรณ์ หน่อแก้ว รองปลัดกระทรวงพลังงาน ได้ให้เกียรติเยี่ยมชมบูธกระทรวงพลังงาน ร่วมกับการไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทย และบริษัท ปตท. จำกัด (มหาชน) จัดนิทรรศการภายใต้แนวความคิด “พลังงานที่พ่อให้” เนื่องในวันคล้ายวันพระราชสมภพพระบาทสมเด็จพระบรมชนกาธิเบศร มหาภูมิพลอดุลยเดชมหาราช บรมนาถบพิตร วันชาติและวันพ่อแห่งชาติ 5 ธันวาคม 2563 นำเสนอเนื้อหาเกี่ยวกับพระอัจฉริยภาพของในหลวงรัชกาลที่ 9 ด้านพลังงานซึ่งยังประโยชน์ต่อประชาชนคนไทยทั่วประเทศ อาทิ เขื่อนพระราชา พลังแห่งสายน้ำสู่แสงสว่างของปวงประชา , พลังงานชีวภาพ…พลังแห่งพระปรีชาญาณ, พลังงานจากอ่าวไทย..สร้างเศรษฐกิจพัฒนาคุณภาพชีวิตคนไทย พร้อมทั้งจับฉลากมอบรางวัลให้กับผู้ที่ลงทะเบียน และผู้เล่นเกมตอบคำถามในบูธ โดยนิทรรศการ “พลังงานที่พ่อให้” จะมีตั้งแต่วันที่ 1-6 ธันวาคม 2563 เวลา 10.00 – 21.00 น. บริเวณถนนสนามไชย ฝั่งวัดโพธิ์
วันนี้ (5 ธ.ค. 63) นายสุพัฒนพงษ์ พันธ์มีเชาว์ รองนายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรีว่าการกระทรวงพลังงาน พร้อมด้วยนายกุลิศ สมบัติศิริ ปลัดกระทรวงพลังงาน เข้าร่วมในพิธีทำบุญตักบาตรถวายพระราชกุศล และพิธีวางพานพุ่ม เนื่องในวันคล้ายวันพระบรมราชสมภพ พระบาทสมเด็จพระบรมชนกาธิเบศร มหาภูมิพลอดุลยเดชมหาราช บรมนาถบพิตร วันชาติ และวันพ่อแห่งชาติ 5 ธันวาคม 2563 ณ ท้องสนามหลวง
กระทรวงพลังงานจะดำเนินการรับการเสนอชื่อบุคคลเพื่อรับการคัดเลือกเป็นกรรมการภาคประสังคม ของกระทรวงพลังงาน ตามแนวทางของแผนปฏิรูปประเทศด้านพลังงานซึ่งได้กำหนดให้มีการแต่งตั้งคณะกรรมการภาคประชาสังคม เพื่อทำหน้าที่ให้ข้อเสนอแนะ เป็นที่ปรึกษารัฐมนตรีว่าการกระทรวงพลังงาน ต่อการดำเนินการของคณะกรรมการต่าง ๆ ของกระทรวงพลังงาน ศึกษาและเสนอแนะในเชิงนโยบายหรือการกำกับดูแล เพื่อเสนอมุมมองของผู้มีส่วนได้ส่วนเสียภาคประชาชน ภาคผู้ประกอบการ และภาควิชาการ
คุณสมบัติ
ผู้ได้รับการเสนอชื่อจะต้องเป็นผู้ได้รับการเสนอชื่อและรับรองจากหน่วยงานหรือองค์กรที่มีส่วนได้ส่วนเสียด้านพลังงาน ใน 4 กลุ่ม ดังนี้
อำนาจหน้าที่
วาระและแนวทางการทำงานของคณะกรรมการภาคประชาสังคม ของกระทรวงพลังงาน
เอกสารที่ใช้ประกอบ
ติดต่อสอบถามข้อมูลเพิ่มเติม
ทั้งนี้ สามารถสอบถามรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ กองยุทธศาสตร์และแผนงาน สำนักงานปลัดกระทรวงพลังงาน ชั้น 23 ศูนย์เอนเนอร์ยี่คอมเพล็กซ์ อาคารบี ถนนวิภาวดีรังสิต แขวงจตุจักร เขตจตุจักร กรุงเทพมหานคร 10900 หมายเลขโทรศัพท์ 0 2140 7015 หรือ 0 2140 6284
ดาวน์โหลดประกาศกระทรวงพลังงาน เรื่อง การเสนอชื่อบุคคลฯ คลิกที่นี่
ดาวน์โหลดใบสมัคร คลิกที่นี่
เมื่อวันที่ 23 พฤศจิกายน 2563 กระทรวงพลังงานนำโดยนายสุพัฒนพงษ์ พันธ์มีเชาว์ รองนายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรีว่าการกระทรวงพลังงาน พร้อมด้วยบริษัท ปตท. จำกัด (มหาชน) การไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทย สำนักงานคณะกรรมการส่งเสริมการลงทุน (Board of Investment: BOI) และ สำนักงานคณะกรรมการนโยบายเขตพัฒนาพิเศษภาคตะวันออก ร่วมหารือกับคณะนักธุรกิจจากสภาธุรกิจสหรัฐอเมริกา – อาเซียน (USABC) โดยนายสุพัฒนพงษ์ พันธ์มีเชาว์ ได้ให้การต้อนรับคณะนักธุรกิจเป็นอย่างดี และแสดงความยินดีในการเข้าพบหารือและได้กล่าวเชิญชวนให้คณะนักลงทุนสหรัฐเข้ามาลงทุนในประเทศไทย โดยนักธุรกิจด้านพลังงานสหรัฐบริษัท อาทิ Chevron, Guardian Industry, Dow, Conoco Philips เป็นต้น ได้แสดงความยินดีในการลงทุนทางด้านพลังงานและพร้อมที่จะให้ความร่วมมือกับกระทรวงพลังงานในด้านต่าง ๆ รวมทั้งเรียนรู้การแลกเปลี่ยนด้านนวัตกรรมและเทคโนโลยีทางด้านพลังงานเพื่อพัฒนาอุตสาหกรรมพลังงานของไทย และกล่าวชื่นชมในการรับมือกับสถานการณ์ COVID-19 ซึ่งเป็นสิ่งที่สร้างความเชื่อมั่นและสามารถดึงดูดนักลงทุนต่างชาติให้เข้ามาลงทุนในประเทศไทย และสามารถกระตุ้นเศรษฐกิจไทยให้ฟื้นตัวได้โดยเร็ว พร้อมกันนี้ BOI ก็ได้นำเสนอนโยบายที่จัดทำขึ้นเพื่ออำนวยความสะดวกให้แก่นักลงทุนในการเข้ามาลงทุนในประเทศไทย อาทิ การจัดตั้ง International Business Center (IBC) เพื่อเป็นศูนย์กลางในการให้คำปรึกษาเกี่ยวกับข้อมูลการลงทุนในประเทศไทย กฎระเบียบ และการชำระภาษีทางธุรกิจต่าง ๆ และมาตรการ Smart Visa เพื่ออำนวยความสะดวกให้แก่นักลงทุนที่เดินทางมาประเทศไทยเพื่อการทำงาน
แบบฟอร์มข้อมูลสำหรับผู้บริหารในการใช้ชี้แจงต่อสาธารณะ คลิกที่นี่
วาระการประชุม คลิกที่นี่
เอกสารประกอบการประชุม คลิกที่นี่
วันนี้ (6 พฤศจิกายน 2563) กระทรวงพลังงาน จัดกิจกรรมการบรรยายให้ความรู้สื่อมวลชน หัวข้อ “แนวทางการดำเนินการ แผนพัฒนากำลังผลิตไฟฟ้าของประเทศไทย พ.ศ.2561 – 2580 ฉบับปรับปรุงครั้งที่ 1 โดยได้รับเกียรติจาก นายกุลิศ สมบัติศิริ ปลัดกระทรวงพลังงาน นายกวิน ทังสุพานิช เลขานุการรัฐมนตรีว่าการกระทรวงพลังงาน และ นายวัฒนพงษ์ คุโรวาท ผู้อำนวยการสำนักงานนโยบายและแผนพลังงาน เป็นผู้บรรยาย ณ ห้องประชุม 9 ชั้น 15 ศูนย์เอนเนอร์ยี่คอมเพล็กซ์ กระทรวงพลังงาน โดยมีสื่อมวลชนเข้าร่วมรับฟังการบรรยายในครั้งนี้
การเสนอชื่อบุคคลเพื่อรับการคัดเลือกเป็นกรรมการภาคประชาสังคม
ของกระทรวงพลังงาน
คุณสมบัติ
1. มีสัญชาติไทย
2. มีอายุไม่ต่ำกว่าสามสิบปีบริบูรณ์
3. ไม่เป็นบุคคลล้มละลายหรือเคยเป็นบุคคลล้มละลายทุจริต
4. ไม่เป็นคนไร้ความสามารถหรือคนเสมือนไร้ความสามารถ
5. ไม่เคยเป็นผู้ต้องคำพิพากษาว่ากระทำความผิดทางอาญา หรือเป็นผู้ที่อยู่ระหว่างถูกดำเนินคดีอาญาในชั้นศาลนับแต่ศาลประทับรับฟ้อง เว้นแต่เป็นความผิดที่กระทำโดยประมาทหรือความผิดลหุโทษ
6. ไม่เป็นผู้ถูกสั่งพักงานหรือสั่งให้ออกจากราชการไว้ก่อนหรือพักงาน เลิกจ้าง ไล่ออก ปลดออก หรือให้ออกจากราชการหรือออกจากงาน ในหน่วยงานของรัฐ หรือหน่วยงานของเอกชน เพราะทุจริตต่อหน้าที่หรือประพฤติชั่วอย่างร้ายแรง
7. ไม่เป็นผู้ดำรงตำแหน่งทางการเมือง สมาชิกสภาท้องถิ่น หรือผู้บริหารท้องถิ่นกรรมการหรือผู้ดำรงตำแหน่งซึ่งรับผิดชอบการบริหารพรรคการเมืองที่ปรึกษาพรรคการเมืองหรือเจ้าหน้าที่ของพรรคการเมือง
ผู้ได้รับการเสนอชื่อจะต้องเป็นผู้ได้รับการเสนอชื่อและรับรองจากหน่วยงานหรือองค์กรที่มีส่วนได้ส่วนเสียด้านพลังงาน ใน 4 กลุ่ม ดังนี้
1. กลุ่มผู้ใช้/ผู้บริโภคพลังงาน
2. ผู้ผลิต/ผู้จำหน่ายพลังงาน
3. ภาควิชาการ
4. กรรมการหรือผู้ที่ได้รับมอบหมายจากคณะกรรมการด้านพลังงาน
อำนาจหน้าที่
1. ให้คำปรึกษาและข้อเสนอแนะเชิงนโยบายต่อรัฐมนตรีว่าการกระทรวงพลังงานต่อการดำเนินการของคณะกรรมการแต่ละชุดของกระทรวงพลังงาน ติดตามการดำเนินงานตามนโยบายและรับทราบปัญหา พร้อมให้ข้อเสนอแนะ
2. ปฏิบัติหน้าที่อื่น ๆ ตามที่รัฐมนตรีว่าการกระทรวงพลังงานมอบหมาย
วาระและแนวทางการทำงานของคณะกรรมการภาคประชาสังคม ของกระทรวงพลังงาน
1. คณะกรรมการภาคประชาสังคม ของกระทรวงพลังงาน มีอายุไม่เกิน 3 ปี
2. การให้คำปรึกษาและข้อเสนอแนะเชิงนโยบายต่อรัฐมนตรีว่าการกระทรวงพลังงานสามารถให้ดำเนินการเป็นรายบุคคล กลุ่มบุคคล หรือคณะกรรมการฯ โดยจะต้องจัดทำเป็นเอกสารส่งให้เลขานุการคณะกรรมการภาคประชาสังคม ของกระทรวงพลังงาน เพื่อนำเสนอต่อรัฐมนตรีว่าการกระทรวงพลังงานต่อไป
เอกสารที่ใช้ประกอบ
1. รูปถ่ายหน้าตรง 2 นิ้ว ไม่สวมหมวก ไม่สวมแว่นตาดำ จำนวน 3 รูป ซึ่งถ่ายไว้ไม่เกิน 1 ปี นับจากวันที่ส่งใบสมัคร
2. สำเนาบัตรประจำตัวประชาชนและทะเบียนบ้าน
3. สำเนาหลักฐานแสดงวุฒิการศึกษาตามที่ปรากฏในแบบประวัติบุคคลฯ
4. เอกสารอื่น ๆ (ถ้ามี) เช่น ใบเปลี่ยนชื่อ-สกุล และผลงานเชิงประจักษ์ในด้านพลังงานที่เกี่ยวข้อง
ติดต่อสอบถามข้อมูลเพิ่มเติม
ทั้งนี้ สามารถสอบถามรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ กองยุทธศาสตร์และแผนงาน สำนักงานปลัดกระทรวงพลังงาน ชั้น 23 ศูนย์เอนเนอร์ยี่คอมเพล็กซ์ อาคารบี ถนนวิภาวดีรังสิต แขวงจตุจักร เขตจตุจักร กรุงเทพมหานคร 10900 หมายเลขโทรศัพท์ 0 2140 7015 หรือ 0 2140 6284
ดาวน์โหลดประกาศกระทรวงพลังงาน เรื่อง การเสนอชื่อบุคคลฯ คลิกที่นี่
ดาวน์โหลดใบสมัคร คลิกที่นี่
รองนายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรีว่าการกระทรวงพลังงานลงพื้นที่ตรวจราชการ จ.ภูเก็ต เยี่ยมชมการบริหารจัดการขยะมูลฝอยจังหวัดภูเก็ตเพื่อผลิตพลังงานไฟฟ้า หนุนการส่งเสริมผลิตไฟฟ้าจากพลังงานทดแทนตามแผน AEDP 2018
วันนี้ (2 พ.ย. 63) นายสุพัฒนพงษ์ พันธ์มีเชาว์ รองนายกรัฐมนตรี และรัฐมนตรีว่าการกระทรวงพลังงาน ลงพื้นที่ตรวจราชการ จังหวัดภูเก็ต เยี่ยมชมกระบวนการผลิตไฟฟ้าของศูนย์กำจัดขยะมูลฝอยจังหวัดภูเก็ต เทศบาลนครภูเก็ต ซึ่งการบริหารจัดการขยะมูลฝอยของภูเก็ตในปีงบประมาณ 2563 มีขยะมูลฝอยเข้าสู่ศูนย์กำจัดขยะฯ เฉลี่ย 833 ตัน/วัน ซึ่งลดลง 13.5% เมื่อเทียบกับปีงบประมาณก่อนหน้านี้ โดยจะเป็นขยะที่คัดแยกเบื้องต้นจากองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นทั้ง 3 อำเภอในจังหวัดภูเก็ต ได้แก่ อำเภอเมือง อำเภอกะทู้ และอำเภอถลาง และนำมากำจัดโดยการเผาในเตาซึ่งจะได้พลังงานความร้อนเพื่อผลิตกระแสไฟฟ้า ส่วนขยะทั่วไปจะนำไปฝังกลบตามหลักสุขาภิบาล
ทั้งนี้ มีโรงเตาเผาขยะมูลฝอย 2 โรง โดยโรงเตาเผาขยะมูลฝอยชุมชน 1 เป็นเตาเผาที่กรมโยธาธิการและผังเมืองถ่ายโอนให้เทศบาลนครภูเก็ตดูแล งบประมาณ 788 ล้านบาท กำลังผลิตไฟฟ้าสูงสุด 2.5 เมกะวัตต์ ผลิตไฟฟ้า 144 หน่วย/ตันขยะ ปัจจุบันหยุดการดำเนินการ อยู่ระหว่างเสนอขออนุมัติให้เอกชนร่วมดำเนินการ ส่วนอีกโรงเป็นเตาเผาที่บริษัท พีเจทีเทคโนโลยี เป็นผู้รับสัญญาดำเนินการตั้งแต่ปี 2555 งบประมาณ 994 ล้านบาท กำลังผลิตไฟฟ้าสูงสุด 12 เมกะวัตต์ ผลิตไฟฟ้า 350 หน่วย/ตันขยะ
“กระทรวงพลังงานจะสนับสนุนการผลิตไฟฟ้าจากพลังงานขยะ โดยกำหนดให้มีการรับซื้อไฟฟ้าจากขยะถึง 400 เมกะวัตต์ภายใต้แผนพัฒนากำลังผลิตไฟฟ้า(PDP2018 rev.1) ซึ่งจะเตรียมการออกมาตรการรับซื้อไฟฟ้า Feed-in Trariff ภายในปี 2564 เพื่อให้สามารถรับซื้อได้ภายในปี 2565 ตามเป้าหมายที่กำหนดไว้ โดยกระทรวงพลังงานเห็นว่านอกจากจะเสริมสร้างความมั่นคงด้านพลังงานแล้ว ยังจะช่วยในเรื่องสิ่งแวดล้อมโดยเฉพาะในพื้นที่ท่องเที่ยวที่มีปัญหาเรื่องการจัดการขยะและสิ่งแวดล้อม”นายสุพัฒนพงษ์กล่าว
เมื่อวันที่ 27 ตุลาคม 2563 นายสุพัฒนพงษ์ พันธ์มีเชาว์ รองนายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรีว่าการกระทรวงพลังงานได้ให้เกียรติกล่าวปาฐกถาในพิธีเปิด (Opening Keynote Address) การประชุม 2nd Global Ministerial Conference on System Integration of Renewables ภายใต้งาน Singapore International Energy Week 2020 ผ่านระบบออนไลน์ ซึ่งจัดขึ้นโดยกระทรวงการค้าและอุตสาหกรรม ประเทศสิงคโปร์ ร่วมกับทบวงการพลังงานระหว่างประเทศ (The International Energy Agency, IEA) โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อนำเสนอนโยบายของผู้นำด้านพลังงานในระดับโลกและเป็นเวทีสำหรับภาครัฐและภาคเอกชน รวมถึงภาควิชาการที่จะร่วมแลกเปลี่ยนข้อมูลสถานการณ์ด้านพลังงานในแต่ละภูมิภาค และสถานการณ์ด้านพลังงานปัจจุบันของโลกที่สำคัญ โดยมีแนวคิดสำหรับการจัดงานประชุมคือ “Creating our low carbon energy future together” ที่มุ่งเน้นการหารือกับทุกภาคส่วนในการสนับสนุนการใช้ระบบพลังงานสะอาดที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม โดยประเทศสิงคโปร์ได้แสดงวิสัยทัศน์ในการก้าวสู่ความเป็นผู้นำด้านพลังงานในภูมิภาค โดยเฉพาะในการผลักดันให้เกิดผลสัมฤทธิ์ในการผลักดันแผนความร่วมมือด้านพลังงานในกรอบอาเซียน อาทิ การซื้อขายไฟฟ้าพหุภาคี รวมถึง แสดงความมุ่งมั่นในการพัฒนาปัจจัยแวดล้อมของอาเซียนให้เหมาะสมต่อการค้าการลงทุนด้านพลังงาน และการพัฒนาโครงการด้านพลังงานสะอาดให้เกิดขึ้นอย่างเป้นรูปธรรมต่อไป
ทั้งนี้ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงพลังงาน ได้รับเกียรติให้กล่าวปาฐกถาเปิดงานในประเด็นการให้ความสำคัญของพลังงานสะอาดในยุคเปลี่ยนผ่านด้านพลังงานภายหลังสถานการณ์โควิด-19 โดยเน้นย้ำถึงความสำคัญของการจัดหาพลังงานที่มีความมั่นคง ราคาเข้าถึงได้และมีความยั่งยืน ซึ่งกระทรวงพลังงานได้ขับเคลื่อนนโยบายเพื่อตอบสนองยุคแห่งการเปลี่ยนผ่านพลังงานผ่านแผนพัฒนากำลังผลิตไฟฟ้าของประเทศไทย (PDP 2018) ในการเพิ่มสัดส่วนการใช้พลังงานหมุนเวียนในการผลิตไฟฟ้าของประเทศ รวมถึงนโยบาย “พลังงานเพื่อทุกคน” (Energy for All) ที่ส่งเสริมให้ภาคประชาชนสามารถผลิตไฟฟ้าใช้ได้เองในภาคครัวเรือนโดยการใช้เชื้อเพลิงชีวภาพและชีวมวล รวมถึงการสนับสนุนแผนการพัฒนาโครงข่ายไฟฟ้าอัจฉริยะระดับชาติ (National Smart Grid Program) ในการพัฒนาโครงข่ายไฟฟ้าให้มีความยืดหยุ่นและเชื่อถือได้ เพื่อลดการสูญเสียพลังงานไฟฟ้าในระบบและสามารถบูรณาการพลังงานหมุนเวียนเข้าสู่ระบบได้อย่างต่อเนื่องและมีประสิทธิภาพอีกด้วย นอกจากนี้ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงพลังงาน ยังได้กล่าวแสดงความขอบคุณ IEA สำหรับการสนับสนุนบทบาทของประเทศไทยในการเป็นเจ้าภาพอาเซียนในปีที่ผ่านมา โดยข้อเสนอแนะของ IEA จะช่วยส่งเสริมให้เกิดการเพิ่มสัดส่วนพลังงานหมุนเวียนในโครงข่ายไฟฟ้าอาเซียน (RE Integration to grid) โดยในช่วงท้ายรัฐมนตรีว่าการกระทรวงพลังงานยังได้กล่าวยืนยันท่าทีของประเทศไทยที่มุ่งมั่นในการพัฒนาไปสู่ยุคแห่งพลังงานสะอาดและพร้อมที่จะดำเนินกิจกรรมความร่วมมืออย่างใกล้ชิดกับประเทศสิงคโปร์และ IEA ในอนาคตต่อไป
เมื่อวันที่ 27 ตุลาคม 2563 ได้มีการเปิดตัวการประชุมหารือเชิงนโยบายด้านพลังงานระหว่างสหรัฐอเมริกาและไทย ครั้งที่ 1 ซึ่งจัดขึ้นในรูปแบบออนไลน์ โดยมีนายฟรานซิส อาร์ แฟนนอน ผู้ช่วยรัฐมนตรีกระทรวงการต่างประเทศด้านทรัพยากรพลังงานของสหรัฐอเมริกา และนายกุลิศ สมบัติศิริ ปลัดกระทรวงพลังงาน ทำหน้าที่หัวหน้าคณะของทั้งสองฝ่าย พร้อมด้วยผู้แทนจากหน่วยงานที่เกี่ยวข้องจากฝ่ายสหรัฐอเมริกาและผู้แทนจากกระทรวงพลังงานไทยเข้าร่วมการประชุม
การประชุมหารือเชิงนโยบายด้านพลังงานระหว่างสหรัฐอเมริกาและไทย ครั้งที่ 1 เป็นเวทีที่มีบทบาทสำคัญในการเสริมสร้างความเป็นหุ้นส่วนด้านพลังงานระหว่างไทยและสหรัฐอเมริกา โดยมุ่งเน้นความร่วมมือในการสร้างการเติบโตของตลาดพลังงาน เสริมสร้างโอกาสในการพัฒนาด้านพลังงานทดแทน และขยายการเชื่อมโยงไฟฟ้าในภูมิภาคอาเซียนและภูมิภาคลุ่มแม่น้ำโขง ทั้งนี้ ทั้งสองฝ่ายได้ตระหนักถึงความสำคัญของกรอบการหารือทวิภาคีระหว่างไทยกับสหรัฐอเมริกาที่ได้มีการดำเนินกิจกรรมความร่วมมือมาอย่างต่อเนื่อง โดยให้ความสำคัญต่อการส่งเสริมข้อตกลงเชิงการค้าด้านพลังงาน นอกจากนี้ ทั้งสองฝ่ายยังได้นำเสนอความก้าวหน้าของโครงการความร่วมมือด้านพลังงานในประเทศไทย รวมทั้งได้มีการหารือแนวทางการจัดลำดับความสำคัญและความเร่งด่วนของกิจกรรมความร่วมมือและการสนับสนุนทางด้านเทคนิคที่สามารถดำเนินการต่อไปได้ในอนาคต
ในโอกาสนี้ ทั้งสองฝ่ายได้เห็นชอบร่วมกันให้ประเทศไทยเป็นเจ้าภาพในการประชุมหารือเชิงนโยบายด้านพลังงานระหว่างสหรัฐอเมริกาและไทย ครั้งที่ 2 ณ ประเทศไทย ในกรณีที่ผู้เข้าร่วมการประชุมสามารถเดินทางระหว่างประเทศได้ตามปกติ และได้เห็นชอบที่จะขยายกิจกรรมความร่วมมือเพื่อพัฒนาห่วงโซ่อุปทานของพลังงานสะอาด น้ำมันและก๊าซธรรมชาติ การอนุรักษ์พลังงาน และการผลิตไฟฟ้าอีกด้วย
กระทรวงพลังงานสรุปผลการดำเนินงาน โครงการส่งเสริมและสนับสนุนการเพิ่มประสิทธิภาพพลังงานในโรงเรียนทีปังกรวิทยาพัฒน์ในพระราชูปถัมภ์ฯ เนื่องในโอกาสมหามงคลพระราชพิธีบรมราชาภิเษก โดยได้จัดกิจกรรม “จิตอาสาพลังงาน เราทำความดีด้วยหัวใจ” และสนับสนุนงบประมาณปรับเปลี่ยนติดตั้งอุปกรณ์ประหยัดพลังงานเกิดการประหยัดค่าพลังงานรวมมากกว่า7.7แสนหน่วย/ปี คิดเป็นเงินราว 3.24 ล้านบาท/ปี
วันนี้ (22 ต.ค.63) นายสุพัฒนพงษ์ พันธ์มีเชาว์ รองนายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรีว่าการกระทรวงพลังงาน เป็นประธานกล่าวแถลงผลการดำเนินงาน โครงการส่งเสริมและสนับสนุนการเพิ่มประสิทธิภาพพลังงานในโรงเรียนทีปังกรวิทยาพัฒน์ในพระราชูปถัมภ์ฯ เนื่องในโอกาสมหามงคลพระราชพิธีบรมราชาภิเษก ว่า กระทรวงพลังงานได้ดำเนินโครงการดังกล่าวเพื่อเป็นกิจกรรมเฉลิมพระเกียรติเนื่องในโอกาสมหามงคลพระราชพิธีบรมราชาภิเษก เพื่อส่งเสริมและสนับสนุนการอนุรักษ์พลังงานและการใช้พลังงานทดแทนในสถานศึกษาส่งเสริมให้นักเรียนเกิดการเรียนรู้ด้านพลังงานและนำความรู้ที่ได้ขยายผลสู่บ้านและชุมชนโดยเริ่มโครงการกับกลุ่มโรงเรียนทีปังกรวิทยาพัฒน์ในพระราชูปภัมถ์ฯ 6 แห่งที่เป็นอาคารสถานศึกษาเปิดสอนตั้งแต่ชั้นอนุบาลถึงมัธยมปลาย ซึ่งส่วนใหญ่ลักษณะการใช้พลังงานยังไม่มีประสิทธิภาพเพราะอุปกรณ์ไฟฟ้าส่วนใหญ่สภาพเก่าขาดการบำรุงรักษา
กระทรวงพลังงานได้ส่งเสริมโครงการนี้โดยร่วมกับหน่วยงานในสังกัดดำเนินการผ่านการจัดกิจกรรม“จิตอาสาพลังงาน เราทำความดีด้วยหัวใจ” อาทิ การให้ความรู้รณรงค์การประหยัดพลังงานโดยสำนักงานนโยบายและแผนพลังงาน การให้ความรู้การใช้ก๊าซหุงต้มอย่างปลอดภัยให้โรงเรียนและชุมชน โดยกรมธุรกิจพลังงาน การถ่ายทอดความรู้เกี่ยวกับปิโตรเลียม โดยกรมเชื้อเพลิงธรรมชาติ การให้ความรู้เกี่ยวกับการใช้ไฟฟ้าให้มีประสิทธิภาพ พร้อมกับสร้าง“ห้องเรียนสีเขียว”เพื่อสร้างทัศนคติการใช้ไฟฟ้า รู้คุณค่าและรักษาสิ่งแวดล้อม โดยการไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทยและนิทรรศการเคลื่อนที่เปิดโลกปิโตรเลียม โดย บริษัท ปตท. จำกัด (มหาชน) นอกจากนี้ กระทรวงฯ ยังได้สนับสนุนงบประมาณสำหรับโรงเรียนในการปรับเปลี่ยนและติดตั้งอุปกรณ์ประหยัดพลังงานให้กับโรงเรียนทีปังกรวิทยาพัฒน์ในพระราชูปถัมภ์ฯ โดยเปลี่ยนหลอดไฟ LED 5,751 หลอด เปลี่ยนเครื่องปรับอากาศเก่าเป็นแบบประหยัดไฟระบบ Invertor 144 เครื่อง ติดตั้งเครื่องปรับอากาศระบบ VRF 19 ระบบ ติดตั้งระบบผลิตไฟฟ้าจากโซลาร์เซลล์ 270.08 กิโลวัตต์ พร้อมระบบบริหารจัดการพลังงาน Internet of Things ในโรงเรียน ซึ่งทำให้เกิดการประหยัดพลังงานและสามารถลดค่าใช้จ่ายด้านพลังงานอย่างเป็นรูปธรรมโดยแต่ละโรงเรียนสามารถลดได้มากกว่า 40% มีผลประหยัดรวมกันกว่า 772,830 หน่วย/ปี คิดเป็นเงิน 3,245,886 บาท/ปี
“จากความสำเร็จของโครงการที่ผ่านมา กระทรวงพลังงานจะมีการดำเนินโครงการต่อเนื่องในการจัดกิจกรรมและสนับสนุนงบประมาณการปรับเปลี่ยนและติดตั้งอุปกรณ์ประหยัดพลังงานให้กับโรงเรียนในกลุ่มพระราชูปถัมภ์ อีกจำนวน 9 แห่งทั่วประเทศ ซึ่งมีนักเรียนรวมกันกว่า 9,000 คน และชุมชนโดยรอบโรงเรียนต่อไป” รองนายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรีว่าการกระทรวงพลังงาน กล่าว
ข้อมูลผลงานสำคัญของกระทรวงพลังงาน .pdf คลิกที่นี่
ข้อมูลผลงานสำคัญของกระทรวงพลังงาน .docx คลิกที่นี่
กระทรวงพลังงาน ร่วมสืบสานราชประเพณีถวายผ้าพระกฐินพระราชทาน ประจำปี 2563 ณ จังหวัดกาญจนบุรี
วันนี้ (17 ตุลาคม 2563) นายสุพัฒนพงษ์ พันธ์มีเชาว์ รองนายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรีว่าการกระทรวงพลังงาน นำคณะผู้บริหาร ข้าราชการ และเจ้าหน้าที่กระทรวงพลังงาน ร่วมถวายผ้าพระกฐินพระราชทานประจำปี 2563 ณ วัดไชยชุมพลชนะสงคราม พระอารามหลวง อำเภอเมืองกาญจนบุรี จังหวัดกาญจนบุรี
การถวายผ้าพระกฐินพระราชทานเป็นพิธีตามราชประเพณีที่สืบต่อกันมา โดยสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว
มหาวชิราลงกรณ บดินทรเทพยวรางกูร ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ พระราชทาน ผ้าพระกฐินให้ส่วนราชการ รัฐวิสาหกิจ องค์กร สมาคม มูลนิธิ บริษัทห้างร้าน และประชาชนทั่วไป ที่มีจิตศรัทธานำไปถวายพระสงฆ์ที่จำพรรษา ในพระอารามหลวงทั่วประเทศ ซึ่งกรมการศาสนาในฐานะหน่วยงานที่รับผิดชอบ ได้ออกประกาศเชิญชวนให้รับทราบ และที่ผ่านมากระทรวงพลังงาน ได้ขอรับพระราชทานผ้าพระกฐินเป็นประจำต่อเนื่องทุกปี โดยในปีนี้ได้นำผ้ากฐินพระราชทานมาถวายแด่พระภิกษุสงฆ์ที่จำพรรษา รวมเป็นจำนวนเงิน 1,936,254.75 บาท และถวายชุดรางไฟพร้อมหลอดไฟ จำนวน 100 หลอด
พร้อมกันนี้ รองนายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรีว่าการกระทรวงพลังงาน ยังได้มอบทุนการศึกษา และเงินบำรุงโรงเรียนให้กับ 5 สถานศึกษาในพื้นที่จังหวัดกาญจนบุรี ได้แก่ โรงเรียนวิสุทธรังษี ศูนย์เด็กเล็กวัดไชยชุมพลชนะสงคราม โรงเรียนอนุบาลวัดไชยชุมพลชนะสงคราม โรงเรียนพระปริยัติธรรมวัดไชยชุมพลชนะสงคราม และมหาวิทยาลัยจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เพื่อถวายเป็นพระราชกุศล
วันนี้ (15 ตุลาคม 2563) นายสุพัฒนพงษ์ พันธ์มีเชาว์ รองนายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรีว่าการกระทรวงพลังงาน นายกุลิศ สมบัติศิริ ปลัดกระทรวงพลังงานและผู้บริหารระดับสูงกระทรวงพลังงาน ร่วมต้อนรับนายกิตติกร โล่ห์สุนทร ประธานกรรมาธิการพลังงาน สมาชิกสภาผู้แทนราษฎรและคณะ ในโอกาสเข้าหารือราชการเพื่อแลกเปลี่ยนความคิดเห็นประเด็นพลังงานที่สำคัญ ณ ห้องบัญชาการยุทธศาสตร์ กระทรวงพลังงาน
รองนายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรีว่าการกระทรวงพลังงาน กล่าวชื่นชมผลการศึกษาด้านนโยบายพลังงานของอนุกรรมาธิการพลังงาน สส. และกล่าวถึงการมุ่งขับเคลื่อนนโยบายพลังงานของรัฐบาลให้เกิดผลเป็นรูปธรรม ได้แก่ ผลักดันโรงไฟฟ้าชุมชนร่วมกับกระทรวงเกษตรฯ เพื่อให้เกิดประโยชน์ต่อเกษตรกรอย่างแท้จริง การกำหนดเป้าหมายยานยนต์ไฟฟ้า (EV) ให้ชัดเจนร่วมกับกระทรวงอุตสาหกรรม การส่งเสริมกิจกรรมเศรษฐกิจท้องถิ่น สร้างงาน สร้างรายได้ ด้วยกองทุนเพื่อส่งเสริมการอนุรักษ์พลังงานพ.ศ. 2564 อย่างสมดุล และการพัฒนาการเป็นศูนย์กลางการซื้อขายไฟฟ้าในภูมิภาคของไทย
ทั้งนี้ คณะกรรมาธิการพลังงานให้ความสนใจเพิ่มเติมในประเด็นการปรับโครงสร้างราคาพลังงานเพื่อชี้แจงการผูกขาดราคาน้ำมัน การส่งเสริมโรงไฟฟ้าขยะ การสนับสนุนโซลาร์หลังคาแก่โรงพยาบาลชุมชน และเน้นย้ำให้เกิดการกระจายงบประมาณกองทุนเพื่อส่งเสริมการอนุรักษ์พลังงานแก่ท้องถิ่นอย่างทั่วถึง
กำหนดการ คลิกที่นี่
เอกสารประกอบการประชุม ในวันที่ 16 ตุลาคม 2563 (สามารถดาวน์โหลดได้ตั้งแต่วันที่ 15 ตุลาคม 2563 เป็นต้นไป) คลิกที่นี่
เอกสารประกอบการประชุม ในวันที่ 19 ตุลาคม 2563 คลิกที่นี่
ร่างคู่มือระบบอบแห้งพลังงานแสงอาทิตย์ คลิกที่นี่
ร่างคู่มือระบบสูบน้ำพลังงานแสงอาทิตย์ คลิกที่นี่
excel คำนวณระบบสูบน้ำฯ คลิกที่นี่
วันนี้ (13 ต.ค. 63) เวลา 07.30 น. นายสุพัฒนพงษ์ พันธ์มีเชาว์ รองนายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรีว่าการกระทรวงพลังงาน พร้อมด้วยนายกุลิศ สมบัติศิริ ปลัดกระทรวงพลังงาน เข้าร่วมในพิธีทำบุญตักบาตร พระสงฆ์ จำนวน 89 รูป ถวายพระราชกุศล เนื่องในวันคล้ายวันสวรรคต พระบาทสมเด็จพระบรมชนกาธิเบศร มหาภูมิพลอดุลยเดชมหาราช บรมนาถบพิตร จากนั้นเวลา 08.30 น. ร่วมพิธีวางพวงมาลา และถวายบังคม เบื้องหน้าพระบรมฉายาลักษณ์ พระบาทสมเด็จพระบรมชนกาธิเบศร มหาภูมิพลอดุลยเดชมหาราช บรมนาถบพิตร เพื่อแสดงออกซึ่งความจงรักภักดี และน้อมรำลึกในพระมหากรุณาธิคุณอย่างหาที่สุดมิได้ ณ ท้องสนามหลวง
กฟผ. จัดงาน Thailand Clean Energy Network 2020 ผนึกกำลังร่วมกับภาคีเครือข่ายผู้ผลิตไฟฟ้า ประสานความร่วมมือขับเคลื่อนมาตรการลดก๊าซเรือนกระจกให้ได้ตามเป้าหมาย Nationally Determined Contribution (NDC) ผ่านมาตรการการลดก๊าซเรือนกระจกในภาคผลิตไฟฟ้า และการส่งเสริมการซื้อขายเครดิตพลังงานหมุนเวียน (Renewable Energy Certificate : REC)
วันนี้ (8 ตุลาคม 2563) นายสุพัฒนพงษ์ พันธ์มีเชาวน์ รองนายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรีว่าการกระทรวงพลังงาน เป็นประธานในพิธีเปิดงาน “Thailand Clean Energy Network 2020” โดยมี มร.เคส พิเทอร์ ราเดอ (H.E. Mr.Kees Pieter Rade) เอกอัครราชทูตเนเธอร์แลนด์ประจำประเทศไทย นายวิบูลย์ ฤกษ์ศิระทัย ผู้ว่าการการไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทย (กฟผ.) เครือข่ายการลดก๊าซเรือนกระจกในภาคผลิตไฟฟ้า ผู้แทนบริษัทผู้ผลิตไฟฟ้าเอกชนขนาดใหญ่ (IPP) และขนาดเล็ก (SPP) ทั้งในและต่างประเทศ ผู้แทนบริษัทเอกชน และแขกผู้มีเกียรติเข้าร่วมงานกว่า 170 คน ณ ห้องบอลรูม โรงแรมอนันตรา สยาม กรุงเทพฯ
นายสุพัฒนพงษ์ พันธ์มีเชาวน์ รองนายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรีว่าการกระทรวงพลังงาน กล่าวว่า ประเทศไทยมีเป้าหมายท้าทายยิ่งขึ้นสำหรับทุกภาคส่วน โดยเฉพาะในปีนี้ที่เข้าสู่ข้อเสนอการมีส่วนร่วมของประเทศในการลดก๊าซเรือนกระจกและการดำเนินงานด้านการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ (Nationally Determined Contribution : NDC) จึงถือเป็นเรื่องที่น่ายินดีอย่างยิ่ง ที่วันนี้ กฟผ. ได้พัฒนากลไกใบรับรองเครดิตการผลิตไฟฟ้าจากพลังงานหมุนเวียน (Renewable Energy Certificate) หรือ REC ขึ้นมา โดยกลไกดังกล่าวจะช่วยส่งเสริมให้เกิดการพัฒนาการผลิตและการใช้ไฟฟ้าจากพลังงานหมุนเวียนในประเทศมากยิ่งขึ้น ช่วยกระตุ้นให้เกิดการลดก๊าซเรือนกระจก และยังเป็นอีกกลไกที่จะนำประเทศไทยไปสู่การบรรลุเป้าหมายระดับชาติ เพื่อให้คนไทยได้ใช้พลังงานสะอาดและยั่งยืน
ด้านนายวิบูลย์ ฤกษ์ศิระทัย ผู้ว่าการ กฟผ. กล่าวว่า กฟผ. ได้ร่วมกับภาคีเครือข่ายผู้ผลิตไฟฟ้าดำเนินมาตรการลดก๊าซเรือนกระจกในภาคผลิตไฟฟ้ามาอย่างต่อเนื่อง โดยในปี 2562 ที่ผ่านมา ได้นำผลการลดก๊าซเรือนกระจกทั้งของ กฟผ. และผู้ผลิตไฟฟ้าเอกชน (IPP) มารวมกันซึ่งสามารถลดก๊าซเรือนกระจกลงได้ถึง 10.03 ล้านตันคาร์บอนไดออกไซด์เทียบเท่า ซึ่งผลจากความร่วมมือนี้ กฟผ. อยู่ระหว่างการนำส่งให้กระทรวงพลังงานเพื่อรวมเป็นส่วนหนึ่งของการลดก๊าซเรือนกระจกในภาคพลังงาน เพื่อช่วยให้ประเทศไทยบรรลุเป้าหมายการลดก๊าซเรือนกระจกตามแผนการดำเนินงานลดก๊าซเรือนกระจกที่เหมาะสมของประเทศ หรือ NAMA ทั้งนี้การผนึกกำลังเป็นเครือข่าย Thailand Clean Energy Network จะส่งเสริมการลดก๊าซเรือนกระจกในประเทศ อันจะนำไปสู่การเป็นสังคมคาร์บอนต่ำต่อไป
ภายในงาน กฟผ. ยังได้เปิดตัวธุรกิจซื้อขายใบรับรองเครดิตการผลิตพลังงานหมุนเวียน (REC) รวมทั้งการให้บริการรับรอง REC ที่ กฟผ. ได้รับสิทธิ์จาก The International REC Standard (I-REC) ให้เป็นผู้รับรอง REC แต่เพียงผู้เดียวในประเทศไทย โดยคาดว่าธุรกิจ REC จะช่วยส่งเสริมให้เกิดการพัฒนาการผลิตไฟฟ้าจากพลังงานหมุนเวียนภายในประเทศ เกิดการสร้างงานสร้างรายได้ กระตุ้นเศรษฐกิจ ลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจก ตอบสนองเป้าหมายการพัฒนาเพื่อความยั่งยืนของสหประชาชาติอย่างเป็นรูปธรรม
สมเด็จพระอริยวงศาคตญาณ สมเด็จพระสังฆราช สกลมหาสังฆปริณายก ประทานพระคติธรรมเนื่องในโอกาสวันคล้ายวันสถาปนากระทรวงพลังงาน ครบรอบ 18 ปี ในวันที่ 3 ตุลาคม 2563 ตามที่ปลัดกระทรวงพลังงานกราบทูลขอ เพื่อเป็นหลักยึดเหนี่ยวในการปฏิบัติราชการด้วยคุณธรรม จริยธรรม เป็นสิริมงคล และสร้างขวัญกำลังใจแก่ข้าราชการและเจ้าหน้าที่