สิ่งที่ส่งมาด้วย การปรับปรุงแผนปฏิบัติราชการสำนักงานพลังงานจังหวัด (พ.ศ. 2563-2565)

หนังสือการปรับปรุงแผนฯ คลิกที่นี่

แนบ1-หนังสือสภาพัฒน์      คลิกที่นี่

แนบ2-เค้าโครงร่างแผน      คลิกที่นี่

แนบ3-ตัวชี้วัดพลังงานจังหวัด 76     คลิกที่นี่

เอกสารประกอบการประชุมคณะรัฐมนตรีอย่างเป็นทางการนอกสถานที่ ครั้งที่ 1/2562 และตรวจราชการ

การประชุมคณะรัฐมนตรีอย่างเป็นทางการนอกสถานที่
ครั้งที่ 1/2562 และตรวจราชการ
ระหว่างวันที่ 11 – 12 พฤศจิกายน 2562
ในพื้นที่กลุ่มภาคกลางตอนล่าง 1
(จังหวัดกาญจนบุรี ราชบุรี สุพรรณบุรี)

1.กำหนดการ คลิกที่นี่

2.ผลงานสำคัญ คลิกที่นี่

3.สรุปผลการลงพื้นที่ คลิกที่นี่

4.ข้อมูลประกอบ Factsheet ภาคกลาง คลิกที่นี่

5.Factsheet ภาคกลาง คลิกที่นี่

6.Factsheet กาญจนบุรี คลิกที่นี่

7.Factsheet ราชบุรี คลิกที่นี่

8.Factsheet สุพรรณบุรี คลิกที่นี่

 

 

รองปลัดกระทรวงพลังงาน เข้าร่วมรับรางวัลภายในงาน “Digital Government Awards 2019”

วันนี้ (30 ต.ค. 62) นายสราวุธ แก้วตาทิพย์ รองปลัดกระทรวงพลังงาน พร้อมด้วยผู้อำนวยการศูนย์เทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร และเจ้าหน้าที่ สำนักงานปลัดกระทรวงพลังงาน เข้าร่วมรับรางวัลสนับสนุนโยบายรัฐบาลตามโครงการยกเลิกสำเนาเอกสารราชการ ภายในงาน “Digital Government Awards 2019” โดยได้รับเกียรติจาก พลเอกประยุทธ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรี เป็นประธานเปิดงานและมอบรางวัล ณ ตึกสันติไมตรี ทำเนียบรัฐบาล

ทั้งนี้ Digital Government Award 2019 จัดขึ้นโดย สำนักงานพัฒนารัฐบาลดิจิทัล (องค์การมหาชน) หรือ สพร. ภายใต้สำนักนายกรัฐมนตรี เป็นรางวัลที่มอบให้แก่หน่วยงานที่มีความพร้อมเป็นรัฐบาลดิจิทัลและหน่วยงานที่สนับสนุนนโยบายรัฐบาลตามโครงการยกเลิกสำเนาเอกสารราชการอย่างเป็นรูปธรรม โดยดำเนินการสำรวจระดับความพร้อมรัฐบาลดิจิทัลหน่วยงานภาครัฐของประเทศไทย ประจำปี 2562 จำนวนทั้งสิ้น 1,858 หน่วยงาน ประกอบด้วยหน่วยงานภาครัฐส่วนกลาง จำนวน 323 หน่วยงาน หน่วยงานภาครัฐส่วนภูมิภาค จำนวน 1,533 หน่วยงาน ครอบคลุมทั้งหมด 76 จังหวัด และองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นรูปแบบพิเศษ จำนวน 2 หน่วยงาน เพื่อเป็นฐานข้อมูลด้านการพัฒนารัฐบาลดิจิทัลของประเทศ และใช้เป็นข้อมูลประกอบการจัดทำแผน และนโยบายในการยกระดับการพัฒนาหน่วยงานภาครัฐสู่รัฐบาลดิจิทัลทั้งในระดับหน่วยงานและระดับประเทศ รางวัลดังกล่าวแสดงให้เห็นถึงความร่วมมืออย่างจริงจังของสำนักงานปลัดกระทรวงพลังงานในการสนับสนุนโยบายรัฐบาลตามโครงการยกเลิกสำเนาเอกสารราชการของรัฐบาลอย่างมีประสิทธิภาพและเป็นรูปธรรม ซึ่งถือเป็นการสะท้อนการพัฒนารัฐบาลดิจิทัลของหน่วยงานให้ดำเนินการสนองตอบต่อนโยบายรัฐบาลด้านดิจิทัลอย่างเต็มที่ และพร้อมเดินหน้าพัฒนางานด้านดิจิทัลอย่างต่อเนื่องต่อไป

 

กระทรวงพลังงานร่วมมือค่ายรถยนต์ โรงกลั่น ผู้ค้าน้ำมันมาตรา 7 ผู้ผลิตไบโอดีเซล และตัวแทนชาวสวนปาล์ม เปิดตัวกิจกรรมรณรงค์ส่งเสริมการใช้ B10 ประกาศเป็นน้ำมันดีเซลฐานของประเทศ

กระทรวงพลังงานร่วมมือค่ายรถยนต์ โรงกลั่น ผู้ค้าน้ำมันมาตรา 7 ผู้ผลิตไบโอดีเซล และตัวแทนชาวสวนปาล์ม เปิดตัวกิจกรรมรณรงค์ส่งเสริมการใช้ B10 ประกาศเป็นน้ำมันดีเซลฐานของประเทศ วันที่ 1 มกราคม 2563 เป็นต้นไป และพร้อมจำหน่ายที่ปั๊มน้ำมันทั่วประเทศมีนาคม 2563 เพื่อช่วยยกระดับราคาปาล์มน้ำมันอย่างยั่งยืน ช่วยลดปัญหาฝุ่น PM 2.5 และประหยัดลดการนำเข้าน้ำมันได้เกือบ 2 ล้านลิตร/วัน

วันนี้ (28 ต.ค.62) นายสนธิรัตน์ สนธิจิรวงศ์ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงพลังงาน เป็นประธานเปิดกิจกรรมรณรงค์ส่งเสริมการใช้น้ำมันดีเซล B10 โดยมีผู้มีส่วนเกี่ยวข้องทั้งกลุ่มโรงกลั่นน้ำมัน ผู้ค้าน้ำมันตามมาตรา 7 สมาคมอุตสาหกรรมยานยนต์ไทย สมาคมผู้ผลิตไบโอดีเซลไทย รวมทั้งสมาพันธ์สมาคมชาวสวนปาล์มน้ำมันแห่งประเทศไทย เข้าร่วมกิจกรรมในครั้งนี้เพื่อยืนยันถึงความพร้อมของทุกฝ่ายในการสนับสนุนการใช้น้ำมันดีเซล B10 เป็นดีเซลฐานแทน B7 เดิม โดยกำหนดให้ B10 เป็นดีเซลฐานสำหรับรถดีเซลทั่วไป ตั้งแต่วันที่ 1 มกราคม 2563 และให้ B7 เป็นดีเซลทางเลือกสำหรับรถรุ่นเก่าและรถยุโรป และ B20 เป็นดีเซลทางเลือกสำหรับรถบรรทุกขนาดใหญ่ตั้งเป้าหมายจะสามารถจำหน่าย B10 ได้ทุกสถานีบริการน้ำมันทั่วประเทศวันที่ 1 มีนาคม 2563

การส่งเสริมการใช้น้ำมันดีเซล B10 ซึ่งมีสัดส่วนไบโอดีเซลผสมในเนื้อน้ำมันดีเซลประมาณ 10% เป็นมาตรการของกระทรวงพลังงานในการเพิ่มสัดส่วนการใช้น้ำมันไบโอดีเซล (B100)ในภาคพลังงานเพิ่มมากขึ้นเพื่อเป็นการช่วยเหลือเกษตรกรผู้ปลูกปาล์มน้ำมัน เป้าหมายสร้างสมดุลปาล์มน้ำมันทั้งระบบของประเทศ สามารถดูดซับน้ำมันปาล์มดิบ(CPO) ได้ประมาณ 2 ใน 3 ของปริมาณการผลิตทั้งหมดของประเทศปัจจุบันหรือประมาณ 2.2 ล้านตัน/ปี ซึ่งการสร้างสมดุลนี้เองช่วยสร้างเสถียรภาพราคาปาล์มน้ำมันทำให้ราคาสูงขึ้น รวมทั้งยังช่วยลดปริมาณฝุ่นพิษ PM 2.5 และยังประหยัดการนำเข้าน้ำมันได้ถึงประมาณ 1.8 ล้านลิตร/วัน

“สำหรับข้อกังวลที่มีต่อเครื่องยนต์ทางค่ายรถยนต์ที่ได้เข้ามาร่วมกิจกรรมครั้งนี้ต่างร่วมยืนยันว่า ดีเซล B10 สามารถใช้ได้อย่างปลอดภัยกับรถเครื่องยนต์ดีเซลหลายๆ รุ่น อาทิ โตโยต้า อีซูซุ นิสสัน ฟอร์ด เอ็มจี เชฟโรเล็ต เป็นต้น ส่วนรถรุ่นเก่า และรถค่ายยุโรปก็ยังมีน้ำมันทางเลือก B7ไว้รองรับโดยกระทรวงพลังงานจะกำกับดูแล ตรวจสอบคุณภาพน้ำมันตั้งแต่กระบวนการผลิตจนถึงการจำหน่ายที่สถานีบริการน้ำมัน มั่นใจได้ในคุณภาพของ B10 จึงอยากเชิญชวนให้ประชาชนเลือกใช้ B10 ซึ่งนอกจากจะมีส่วนช่วยเกษตรกรสวนปาล์มแล้ว

ยังช่วยลดฝุ่นพิษ PM 2.5 ช่วยลดการนำเข้าน้ำมัน และยังช่วยลดเงินในกระเป๋าท่านอีกด้วย เพราะ B10 มีราคาถูกกว่า B7 ถึงลิตรละ 2 บาท ปัจจุบัน จำนวนรถยนต์ที่ใช้เชื้อเพลิงดีเซลของไทยมีประมาณ 10.5ล้านคัน (ก.ค.62) เป็นรถที่ใช้  B10 ได้ประมาณ 5.3 ล้านคันหรือประมาณ 50% ที่เหลือเป็นรถดีเซลรุ่นเก่ามากๆ และรถยุโรปราคาแพง ซึ่งก็มีทางเลือกในการใช้ B7 ได้ และยังมีน้ำมัน B20 เป็นน้ำมันดีเซลทางเลือกสำหรับรถบรรทุกขนาดใหญ่อีกด้วย” รัฐมนตรีว่าการกระทรวงพลังงาน กล่าว

อย่างไรก็ดี ผู้ใช้รถยนต์ตรวจสอบว่ารถรุ่นไหนสามารถใช้น้ำมันดีเซล B10 ได้หรือไม่จากเว็บไซต์ของกรมธุรกิจพลังงานwww.doeb.go.thหรือที่ศูนย์บริการหรือศูนย์ลูกค้าสัมพันธ์ของผู้ผลิตรถยนต์แต่ละยี่ห้อ#สนธิรัตน์#B10 #ลดฝุ่นPM2.5 #พลังงานเพื่อทุกคน #EnergyForAll

 

ฺB10 ดีเซลพื้นฐานใหม่ ช่วยเกษตรกรไทย ใส่ใจสิ่งแวดล้อม


1. หลักการ หรือที่มาของการสนับสนุนใช้ B 10

กระทรวงพลังงานมีมาตรการในการเพิ่มสัดส่วนการใช้น้ำมันไบโอดีเซล (ฺB 100) ในภาคพลังงานให้เพิ่มมากขึ้น เพื่อเป็นการช่วยเหลือเกษตรกรผู้ปลูกปาล์มน้ำมัน โดยมีเป้าหมายในการสร้างสมดุลปาล์มน้ำมันทั้งระบบของประเทศ และได้กำหนดเป้าหมายการใช้ไบโอดีเซล (B 100) ให้ได้ประมาณ 7.0 ล้านลิตร /วัน  ซึ่งจะสามารถดูดซับ CPO ได้ประมาณ 2 ใน 3 ของปริมาณการผลิตทั้งหมดของประเทศในปัจจุบัน (หรือประมาณ 2.2 ล้านตัน/ปี)

กรมธุรกิจพลังงาน จึงได้ดำเนินการเพื่อสนับสนุนนโยบาย โดยได้ออกประกาศกำหนดลักษณะและคุณภาพของน้ำมันดีเซลหมุนเร็ว B 10 และประกาศกำหนดลักษณะและคุณภาพของไบโอดีเซลประเภทเมทิลเอสเตอร์ของกรดไขมัน (B 100) และจะกำหนดให้น้ำมันดีเซลหมุนเร็ว B 10 เป็นน้ำมันดีเซลฐานสำหรับรถดีเซลทั่วไป  โดยมีน้ำมันดีเซลหมุนเร็ว B 7 เป็นน้ำมันทางเลือกสำหรับรถเก่าและรถยุโรป และน้ำมันดีเซลหมุนเร็ว B 20 เป็นน้ำมันทางเลือกสำหรับรถบรรทุกขนาดใหญ่ ซึ่งจะเริ่มดำเนินการตั้งแต่วันที่ 1 ตุลาคม 2562 เป็นต้นไป

2. ปัจจุบันน้ำมันดีเซลมีกี่ประเภท ต่างกันอย่างไร / คุณภาพต่างกันหรือไม่

น้ำมันดีเซลหมุนเร็ว แบ่งเป็น 3 ประเภท ได้แก่ น้ำมันดีเซลหมุนเร็วธรรมดา น้ำมันดีเซลหมุนเร็ว B 10 และน้ำมันดีเซลหมุนเร็ว B 20 โดยน้ำมันดีเซลทั้ง 3 ประเภท มีคุณภาพเหมือนกันทุกประการ แต่มีความแตกต่างกันที่สัดส่วนผสมไบโอดีเซล คือ น้ำมันดีเซลหมุนเร็วธรรมดามีสัดส่วนไบโอดีเซล 6.6 – 7% น้ำมันดีเซลหมุนเร็ว B 10 มีสัดส่วนไบโอดีเซล 9 – 10% และน้ำมันดีเซลหมุนเร็ว B 20 มีสัดส่วนไบโอดีเซล 19 – 20%

3. การใช้ B 10 จะกระทบเครื่องยนต์หรือไม่ /รถรุ่นไหน ยี่ห้อไหน ปีไหน ที่สามารถใช้ได้บ้าง

การใช้น้ำมันดีเซล B 10 กับเครื่องยนต์ที่สามารถรองรับการใช้งานจะไม่มีผลกระทบกับเครื่องยนต์ เนื่องจากผู้ผลิตรถยนต์ให้การรับรองการใช้งานไว้เรียบร้อยแล้ว โดยผู้ที่มีความสนใจจะใช้น้ำมันดีเซล B 10 สามารถตรวจสอบรุ่นรถ ได้จากประกาศกรมธุรกิจพลังงานเรื่อง กำหนดลักษณะและคุณภาพของน้ำมันดีเซล (ฉบับที่ 3) พ.ศ.2562 หรือที่เว็บไซต์กรมธุรกิจพลังงาน คลิกที่นี่ 

4. ปัจจุบันมีรถใช้ดีเซลกี่คัน และใช้ B10 ได้กี่คัน

ณ เดือนกรกฎาคม 2562 มีรถยนต์ที่ใช้เชื้อเพลิงดีเซล ประมาณ 10.5 ล้านคัน เป็นรถที่ใช้น้ำมันดีเซล B 10 ได้ ประมาณ 5.3 ล้านคัน หรือ 50% ที่เหลือจะเป็นรถยนต์ดีเซลราคาแพง เช่น Benz Hyundai Tata BMW Honda Mazda Audi Peugeot Volvo(เล็ก) และรถเก่ามากๆ

5. รถที่เติม B10 ไม่ได้จะทำอย่างไร

รถยนต์ที่ไม่สามารถเติม น้ำมันดีเซล B 10 ได้ เช่น รถที่มีอายุการใช้งานมานานแล้ว รถยุโรป ได้แก่ Benz Hyundai Tata BMW Honda Mazda Audi Peugeot  Volvo (เล็ก) ยังสามารถเติมน้ำมันดีเซล B 7 ได้ ซึ่งยังมีจำหน่ายตามสถานีบริการน้ำมัน

6. หากผู้บริโภคไม่รู้รุ่นรถ จะหาหรือติดต่อข้อมูลได้จากที่ไหนอย่างไร มีคู่มือหรือไม่

ผู้บริโภคสามารถตรวจสอบรุ่นรถได้ที่เว็บไซด์ กรมธุรกิจพลังงาน www.doeb.go.th  ศูนย์บริการหรือศูนย์ลูกค้าสัมพันธ์ของผู้ผลิตรถยนต์แต่ละยี่ห้อ

7. มี Call Center ให้ข้อมูลหรือไม่ หรือเบอร์ติดต่อสอบถามเพิ่มเติม

สามารถติดต่อสอบถามข้อมูลได้ที่ ศูนย์บริการ หรือ ศูนย์ลูกค้าสัมพันธ์ ของผู้ผลิตรถยนต์แต่ละยี่ห้อ เพื่อรับคำแนะนำก่อนใช้

8. หากเป็นรถรุ่นเก่าที่เติมไม่ได้ แต่เข้าใจผิดคิดว่าเติมได้จะส่งผลต่อเครื่องยนต์หรือไม่อย่างไร จะต้องติดต่อเคลมความเสียหายได้อย่างไร

ข้อแนะนำสำหรับรถรุ่นเก่าที่ต้องการเติมน้ำมันดีเซล B 10 ก่อนเติมควรติดต่อศูนย์บริการ/ศูนย์ลูกค้าสัมพันธ์ ของผู้ผลิตรถยนต์แต่ละยี่ห้อ เพื่อรับคำแนะนำและทำการตั้งค่าเครื่องยนต์ให้เหมาะสม ก่อนเริ่มใช้งานเชื้อเพลิงน้ำมันดีเซลหมุนเร็ว B 10

9. ข้อแนะนำปรับแต่งเครื่องยนต์ที่ชิ้นส่วนอะไหล่ใดบ้างสำหรับรถเก่า

ผู้บริโภคที่ต้องการใช้เชื้อเพลิงน้ำมันดีเซลหมุนเร็ว B 10 ติดต่อศูนย์บริการ หรือศูนย์ลูกค้าสัมพันธ์ของผู้ผลิตรถแต่ละยี่ห้อ เพื่อรับคำแนะนำและทำการตั้งค่าเครื่องยนต์ให้เหมาะสม ก่อนเริ่มใช้งานเชื้อเพลิงน้ำมันดีเซลหมุนเร็ว B 10

10. ประโยชน์ที่เกิดขึ้นจากการรณรงค์ให้ใช้ B10 มีอะไรบ้าง

1. สร้างสมดุลปาล์มน้ำมันทั้งระบบในประเทศ ปริมาณการใช้ (ภาคพลังงาน และเพื่อการบริโภค)
2. สร้างเสถียรภาพราคาปาล์มน้ำมัน (ทำให้ราคาสูงขึ้น)
3. ช่วยลดมลพิษ (ปริมาณฝุ่น PM 2.5) (เนื่องจากการใช้เชื้อเพลิงชีวภาพในสัดส่วนที่สูงขึ้น)

11. ในแง่ของการประหยัดนำเข้าพลังงาน ตัวเลขที่ประหยัดได้ / ตัวเลขนำเข้าดีเซลปัจจุบัน และคาดว่าเมื่อใช้ B 10 จะลดการนำเข้าได้เท่าไหร่ /เป็นมูลค่าเงินเท่าไหร่

เนื่องจากประเทศไทยต้องนำเข้าน้ำมันดิบมาผลิตเป็นน้ำมันสำเร็จรูป ดังนั้น นโยบายการเพิ่มสัดส่วนการผสมของเชื้อเพลิงชีวภาพในสัดส่วนที่สูงขึ้น จะทำให้สามารถประหยัดน้ำมันเชื้อเพลิงที่มาจากการนำเข้าได้มากขึ้นตามสัดส่วนที่เพิ่มขึ้นของเชื้อเพลิงชีวภาพ เช่น ปกติการใช้ B 7 วันละประมาณ 60 ล้านลิตร

ดังนั้น หากดีเซล B 10 เป็นดีเซลฐาน ทำให้สามารถประหยัดน้ำมันเชื้อเพลิงได้เพิ่มขึ้นประมาณร้อยละ 3 ของปริมาณการใช้ดีเซล (หรือประมาณวันละ 1.8 ล้านลิตร)

12. ตามแผน Time Line ของกระทรวงพลังงานในการจำหน่าย B 10 วางไว้อย่างไร

– วันที่ 1 ตุลาคม 2562 ขอความร่วมมือผู้ค้าน้ำมันให้เพิ่มปริมาณการจำหน่ายและเพิ่มจำนวนสถานีบริการน้ำมันดีเซลหมุนเร็ว B 10
– วันที่ 1 ธันวาคม 2562 ประกาศกำหนดลักษณะและคุณภาพไบโอดีเซล (B 100) เหลือชนิดเดียว
– วันที่ 1 มกราคม 2563 ทุกคลังน้ำมันของผู้ค้าน้ำมันมีการผลิตน้ำมันดีเซลหมุนเร็ว B 10

– วันที่ 1 มีนาคม 2563 น้ำมันดีเซลหมุนเร็ว B 10 มีจำหน่ายในทุกสถานี

13. ผู้เกี่ยวข้องพร้อมอย่างไร ขอข้อมูลทั้งโรงกลั่น ผู้ผลิต B 100 ปั๊มน้ำมันทั่วประเทศ ปตท.นำร่องอย่างไร /ปั๊มอื่นๆ คืบหน้าอย่างไร

กรมธุรกิจพลังงาน มีการประชุมหารือร่วมกันกับผู้ที่มี่ส่วนเกี่ยวข้องทั้งหมด ได้แก่ โรงกลั่นน้ำมัน ผู้ผลิต B 100 ผู้ค้าน้ำมันตามมาตรา 7 ที่จำหน่ายน้ำมันดีเซล รวมทั้งผู้ผลิตรถยนต์ ทุกฝ่ายมีความพร้อมในการสนับสนุนนโยบายและผลักดันให้น้ำมันดีเซลหมุนเร็ว B 10 เป็นน้ำมันดีเซลฐานของประเทศ โดยมีระยะเวลาในการดำเนินการ (ตามข้อ 12)

14. ตรวจสอบสถานีบริการน้ำมันที่จำหน่าย น้ำมันดีเซล B 10 ได้ที่ไหน

สามารถตรวจสอบสถานีบริการน้ำมันที่จำหน่าย น้ำมันดีเซล B 10 ได้ที่ เว็บไซต์กรมธุรกิจพลังงาน ในแบนเนอร์ “B 10 น้ำมันดีเซลฐานของประเทศไทย” ทั้งนี้ ณ เดือนกันยายน 2562 มีจำนวนสถานีบริการน้ำมันดีเซล B 10 รวม 47 แห่ง

15. มาตรการจูงใจจากการลดราคาต่ำกว่า 2 บาทจะอยู่นานไปถึงเมื่อไหร่

มติ กบง. วันที่ 30 สิงหาคม 2562  เห็นชอบให้ส่วนต่างราคาน้ำมันดีเซลหมุนเร็ว B 10 ต่ำกว่าราคาน้ำมันดีเซลหมุนเร็ว B 7 ที่ 2 บาท/ลิตร ตั้งแต่วันที่ 1 ตุลาคม 2562 เป็นต้นไป (ไม่ได้กำหนดระยะเวลาสิ้นสุด)

16. จะสร้างความมั่นใจผู้บริโภคได้อย่างไร

กรมธุรกิจพลังงานได้กำหนดมาตรฐานคุณภาพของน้ำมันดีเซล B 10 ซึ่งเป็นที่ยอมรับของผู้ผลิตรถยนต์ อีกทั้ง กรมธุรกิจพลังงานได้มีการกำกับดูแลและตรวจสอบคุณภาพน้ำมันตั้งแต่กระบวนการผลิตจนถึงการจำหน่ายที่สถานีบริการ ดังนั้น ประชาชนจึงสามารถมั่นใจในคุณภาพของน้ำมันดีเซล B 10 ได้

17. รายชื่อค่ายรถที่พร้อมเข้าร่วม

TOYOTA,  ISUZU, NISSAN, FORD, FUSO, Chevrolet,  MITSUBISHI,  Volvo Trucks, Hino, MAN, SCANIA, UD Trucks, Mercedes-Benz

18. List รุ่นรถที่สามารถใช้ได้

สามารถตรวจสอบรุ่นรถ ได้จากประกาศกรมธุรกิจพลังงานเรื่อง กำหนดลักษณะและคุณภาพของน้ำมันดีเซล (ฉบับที่ 3) พ.ศ.2562 หรือที่เว็บไซต์กรมธุรกิจพลังงาน ตามลิงก์  คลิกที่นี่

19. เชื่อมโยงถึงการสนับสนุน B 20 ว่าขณะนี้ สนับสนุนอย่างไร /ให้รถประเภทใดบ้าง

ตั้งแต่วันที่ 1 ตุลาคม 2562 เป็นต้นมา น้ำมันดีเซลหมุนเร็ว B 20 ราคายังคงต่ำกว่าราคาน้ำมันดีเซลหมุนเร็ว B 7 อยู่ที่ 3 บาท/ลิตร และต่ำกว่าน้ำมันดีเซลหมุนเร็ว B 10 ที่ 1 บาท/ลิตร โดยกลุ่มรถที่ใช้ได้ ตามรายละเอียดแนบท้ายประกาศกรมธุรกิจพลังงาน เรื่อง กำหนดลักษณะและคุณภาพของน้ำมันดีเซล พ.ศ. 2562

โครงสร้างราคาน้ำมันและก๊าซปิโตรเลียมเหลวของประเทศไทยกับมาเลเซีย

โครงสร้างราคาน้ำมันและก๊าซปิโตรเลียมเหลวของประเทศไทยกับมาเลเซีย

โครงสร้างราคาน้ำมันและก๊าซปิโตรเลียมเหลว (LPG) ของประเทศไทยกับประเทศมาเลเซีย มีความแตกต่างกัน มีรายละเอียด ดังนี้

ด้านน้ำมันเชื้อเพลิง

  • ราคาน้ำมันเชื้อเพลิงในประเทศไทยถูกกำหนดโดยกลไกการค้าเสรีที่เปลี่ยนแปลงขึ้นลงตามราคาน้ำมันเชื้อเพลิงในตลาดโลก ซึ่งกระทรวงพลังงานมีการติดตามดูแลราคาขายปลีกน้ำมันเชื้อเพลิงให้มีความเหมาะสมและเป็นธรรมกับทุกฝ่าย
  • ปัจจัยสำคัญที่ทำให้ราคาขายปลีกน้ำมันเชื้อเพลิงของประเทศไทยสูงกว่ามาเลเซียหรือบางประเทศในภูมิภาคอาเซียน คือ โครงสร้างราคาน้ำมัน ซึ่งมีความแตกต่างกันตามนโยบายและบริบทของแต่ละประเทศ โดยโครงสร้างราคาน้ำมันของประเทศไทย ประกอบด้วย (1) ราคาเนื้อน้ำมัน ได้แก่ ค่าการกลั่น และค่าเนื้อน้ำมันดิบ ที่อ้างอิงตามราคาตลาดกลางของภูมิภาค โดยประเทศในภูมิภาคอาเซียนอ้างอิงตลาดสิงคโปร์ซึ่งเป็นตลาดซื้อขายน้ำมันที่ใหญ่ที่สุดของภูมิภาค (2) ภาษีต่างๆ ได้แก่ ภาษีสรรพสามิต ภาษีเทศบาล และภาษีมูลค่าเพิ่ม ซึ่งจัดเก็บเพื่อนำมาใช้ในการพัฒนาประเทศและท้องถิ่นด้านต่างๆ (3) กองทุนต่างๆ ได้แก่ กองทุนน้ำมันเชื้อเพลิง จัดเก็บเพื่อเป็นกลไกในการรักษาเสถียรภาพระดับราคาขายปลีกน้ำมันในประเทศหากเกิดการผันผวนของราคาน้ำมัน
    ในตลาดโลก และกองทุนเพื่อส่งเสริมการอนุรักษ์พลังงาน ซึ่งจัดเก็บเพื่อส่งเสริมการใช้พลังงานทางเลือก พลังงานทดแทน การเพิ่มประสิทธิภาพ และลดใช้พลังงานของประเทศ (4) ค่าการตลาด ได้แก่ ส่วนที่เป็นต้นทุน ค่าใช้จ่าย และกำไรของธุรกิจค้าปลีกน้ำมันทั้งระบบ ซึ่งรวมถึงคลังน้ำมัน ระบบขนส่ง และสถานีบริการ
  • ปัจจัยตามโครงสร้างราคาน้ำมันที่ทำให้ราคาขายปลีกน้ำมันเชื้อเพลิงของประเทศไทยสูงกว่ามาเลเซีย สามารถอธิบายได้ดังนี้
  • ด้านต้นทุนเนื้อน้ำมัน
    • ราคาน้ำมันของประเทศไทย มาเลเซีย และประเทศเพื่อนบ้านในภูมิภาคอ้างอิงตลาดสิงคโปร์เช่นเดียวกัน แต่ต้นทุนค่าขนส่งจากตลาดสิงคโปร์มายังประเทศไทยสูงกว่ามาเลเซียเนื่องจากมีระยะทางมากกว่า ทำให้ต้นทุนเนื้อน้ำมันของไทยสูงกว่ามาเลเซีย
    • คุณภาพน้ำมันของไทย (ปัจจุบันใช้ ยูโร 4) สูงกว่าคุณภาพน้ำมันของประเทศเพื่อนบ้าน
      บางประเทศ ทำให้มีต้นทุนในการผลิตที่สูงกว่า
    • นโยบายสนับสนุนพลังงานทดแทนในประเทศไทยที่มีเชื้อเพลิงชีวภาพ (เอทานอล และไบโอดีเซล) เป็นส่วนผสมของน้ำมันแก๊สโซฮอล 95 E10, E20, E85, 91 E10 และน้ำมันดีเซลหมุนเร็วบี7 บี10 และบี20 ซึ่งมีราคาสูงกว่าราคาน้ำมันปกติ ทำให้ต้นทุนเนื้อน้ำมันสูงกว่าน้ำมันของมาเลเซีย
  • ด้านภาษีและกองทุน
  • โครงสร้างราคาน้ำมันของประเทศไทยมีการเก็บภาษีและเงินกองทุน ทำให้ราคาขายปลีกน้ำมันในประเทศไทยสูงขึ้นจากต้นทุนเนื้อน้ำมัน
  • ในภูมิภาคอาเซียนแต่ละประเทศมีนโยบายการจัดเก็บภาษีน้ำมันเชื้อเพลิงที่แตกต่างกัน โดยเฉพาะประเทศผู้ผลิตและส่งออกน้ำมันบางประเทศ อาทิ มาเลเซีย ไม่มีการจัดเก็บภาษีและกองทุน เนื่องจากมีรายได้จากการผลิตและส่งออกน้ำมันดังกล่าวในการบริหารประเทศโดยไม่ต้องพึ่งพางบประมาณจากการจัดเก็บภาษีน้ำมัน ในขณะที่ประเทศไทย
    เป็นประเทศผู้นำเข้าน้ำมันสุทธิซึ่งจำเป็นต้องจัดเก็บภาษีน้ำมันเพื่อเป็นส่วนหนึ่งของงบประมาณในการพัฒนาประเทศด้านต่างๆ
  • อย่างไรก็ดี เมื่อเปรียบเทียบราคาขายปลีกน้ำมันเชื้อเพลิงของประเทศไทยกับประเทศ
    ในภูมิภาคอาเซียน พบว่าราคาของประเทศไทยไม่ได้มีราคาสูงหรือต่ำไปกว่ามากตามที่มัมีการกล่าวอ้าง ดังเช่นข้อมูลราคาขายปลีกราคาน้ำมันเชื้อเพลิงดังภาพที่ 1 ต่อไปนี้

ภาพที่ 1 เปรียบเทียบราคาขายปลีกน้ำมันเบนซินและดีเซลของประเทศไทยและประเทศในภูมิภาคอาเซียน

 

ด้านก๊าซปิโตรเลียมเหลว (LPG)

  • การจัดหาก๊าซ LPG ที่สำคัญของประเทศไทยมาจาก 3 แหล่ง ได้แก่ การผลิตจากโรงแยกก๊าซธรรมชาติ สัดส่วนร้อยละ 57 ของการจัดหาก๊าซทั้งหมด การผลิตจากโรงกลั่นน้ำมัน สัดส่วนร้อยละ 34และการนำเข้าก๊าซ LPG จากต่างประเทศ สัดส่วนร้อยละ 9
  • ในอดีตก่อนปี 2558 ราคาก๊าซ LPG ณ โรงกลั่น (ราคาเนื้อก๊าซ LPG ก่อนรวมภาษี กองทุนน้ำมันเชื้อเพลิง และค่าใช้จ่ายในการดำเนินการอื่นๆ) ถูกกำหนดไว้ที่ 333 เหรียญสหรัฐฯต่อตัน โดยกำหนดให้โรงแยกก๊าซธรรมชาติขายก๊าซ LPG ในราคาดังกล่าวซึ่งต่ำกว่าราคาตลาดโลก (ช่วงปี 2549 -2557 ราคาก๊าซ LPG ตลาดโลกอยู่ที่ประมาณ 400-1,000 เหรียญสหรัฐฯต่อตัน) ในส่วนการนำเข้าก๊าซ LPG รัฐต้องชดเชยส่วนต่างระหว่างราคานำเข้าจริงเทียบกับราคา 333 เหรียญสหรัฐฯต่อตัน ซึ่งการกำหนดราคาดังกล่าวเป็นการกำหนดราคาที่ต่ำกว่าต้นทุนการผลิตจริง แต่มีวัตถุประสงค์เพื่อช่วยบรรเทาภาระค่าครองชีพของประชาชนในภาคครัวเรือนซึ่งเป็นผู้ใช้ก๊าซส่วนใหญ่ของประเทศ
  • อย่างไรก็ดี การตรึงราคาก๊าซ LPG ไว้ในระดับที่ต่ำกว่าต้นทุนการผลิตและจัดหาต่อเนื่องเป็นเวลานาน ส่งผลกระทบต่อพฤติกรรมการใช้ก๊าซ LPG ในภาคส่วนต่างๆ เกิดการบิดเบือนโครงสร้างตลาดจากความเป็นจริง จนนำไปสู่ปัญหาต่างๆ ตามมา เช่น ภาคขนส่งและภาคอุตสาหกรรมเปลี่ยนมาใช้ก๊าซ LPG แทนน้ำมันเบนซินและน้ำมันเตา เนื่องจากราคาขายปลีกก๊าซ LPG อยู่ในระดับต่ำเมื่อเทียบกับเชื้อเพลิงประเภทอื่น เกิดปัญหาการลักลอบส่งออก LPG ตามแนวชายแดนไปยังประเทศเพื่อนบ้าน เนื่องด้วยการกำหนดราคาขายปลีกก๊าซ LPG ในประเทศที่ต่ำกว่ามาก นอกจากนี้ การตรึงราคาผ่านการอุดหนุนก่อให้เกิดภาระของกองทุนน้ำมันเชื้อเพลิง และความต้องการที่เพิ่มขึ้นทำให้ประเทศไทยจากเดิมที่ผลิตก๊าซ LPG เหลือจนส่งออกเปลี่ยนเป็นต้องนำเข้าตั้งแต่ปี 2551 เป็นต้นมา
  • ปัจจุบันรัฐจึงพยายามปรับโครงสร้างราคาให้ราคาสะท้อนต้นทุนการผลิตและจัดหามากยิ่งขึ้น ลดการบิดเบือนโครงสร้างตลาดที่นำไปสู่ปัญหาที่เคยเกิดขึ้นในอดีต แต่ยังคงมีการใช้กลไกกองทุนน้ำมันเชื้อเพลิงในการรักษาเสถียรภาพราคาขายปลีกก๊าซ LPG ในประเทศให้อยู่ในระดับที่ส่งผลกระทบต่อประชาชนและภาคเศรษฐกิจน้อยที่สุด ที่ราคา 363 บาทต่อถังขนาด 15 กิโลกรัม
  • ทั้งนี้ หากพิจารณราคาขายปลีกก๊าซ LPG ในภูมิภาคอาเซียน พบว่ามีเพียงประเทศมาเลเซีย และกัมพูชา ที่มีราคาขายปลีกก๊าซ LPG ภาคครัวเรือนต่ำกว่าประเทศไทย เนื่องจากมีการอุดหนุนราคาโดยภาครัฐมากกว่า ในขณะที่ประเทศอื่นๆ มีราคาสูงกว่าประเทศไทย ดังแสดงในภาพที่ 2

ภาพที่ 2 เปรียบเทียบราคาขายปลีกก๊าซ LPG ภาคครัวเรือนของประเทศไทยและประเทศในภูมิภาคอาเซียน

ทั้งนี้ ข้อร้องเรียนให้พิจารณาปรับโครงสร้างราคาน้ำมันและก๊าซ LPG ให้เท่ากับประเทศมาเลเซีย และราคา ณ ปี พ.ศ. 2520 ดังกล่าวข้างต้น จึงต้องพิจารณาถึงบริบทสถานการณ์ตลาดน้ำมันและก๊าซ LPG
ในปัจจุบันซึ่งเป็นการค้าเสรีที่ราคาเปลี่ยนแปลงขึ้นลงตามตลาดโลก ตลอดจนคำนึงถึงความจำเป็นของการจัดเก็บภาษีและกองทุนต่างๆ เพื่อนำมาใช้ในการพัฒนาประเทศและท้องถิ่น รวมทั้งความจำเป็นในการรักษาเสถียรภาพระดับราคาขายปลีกน้ำมันและก๊าซ LPG ในประเทศกรณีเกิดภาวะวิกฤติ ทั้งนี้ ด้วยบริบทของ ปัจจัยในอดีตที่แตกต่างจากปัจจุบัน โดยในปี พ.ศ. 2520 ราคาน้ำมันดิบดูไบอยู่ที่ระดับประมาณ 25 -27 เหรียญสหรัฐฯ ต่อบาร์เรล ต่ำกว่าราคาน้ำมันดิบในปัจจุบันซึ่งอยู่ที่ระดับ 60 – 65 เหรียญสหรัฐฯ ต่อบาร์เรล ถึง 2 – 3 เท่า ประกอบกับปัจจัยอัตราแลกเปลี่ยนที่ส่งผลต่อต้นทุนสินค้าและบริการ ซึ่งปัจจุบันอยู่ที่ 30.59 บาทต่อเหรียญสหรัฐฯ สูงกว่าปี 2520 ซึ่งอยู่ที่ประมาณ 20.34 บาทต่อเหรียญสหรัฐฯ ถึงร้อยละ 50 ตลอดจนปัจจัยด้านภาวะเงินเฟ้อที่ทำให้มูลค่าเงินในปัจจุบันถูกกว่าเมื่อปี 2520 โดยในปี 2520 ราคาขายปลีกน้ำมันดีเซลอยู่ที่ประมาณ 2.50 – 2.60 บาทต่อลิตร ขณะที่ราคาก๋วยเตี๋ยวอยู่ที่ประมาณชามละ 5 บาท เปรียบเทียบได้กับปัจจุบันปี 2562 ซึ่งราคาขายปลีกน้ำมันดีเซลอยู่ที่ประมาณ 22 – 25 บาทต่อลิตร และราคาก๋วยเตี๋ยวอยู่ที่ประมาณชามละ 40 – 50 บาท เช่นกัน สถานการณ์ราคาน้ำมันในประเทศของปี 2520 และปัจจุบัน จึงอยู่ในภาวะใกล้เคียงกัน ดังนั้น ด้วยปัจจัยพื้นฐานที่เปลี่ยนแปลงไปดังกล่าวส่งผลให้ราคาขายปลีกน้ำมันและก๊าซ LPG ในปัจจุบันปรับตัวเพิ่มขึ้นตามปัจจัยพื้นฐานที่เปลี่ยนแปลงไป

อย่างไรก็ดี กระทรวงพลังงานได้มีการติดตามดูแลราคาขายปลีกน้ำมันเชื้อเพลิงและก๊าซ LPG ให้มีความเหมาะสมและเป็นธรรมกับทุกฝ่าย โดยตระหนักถึงผลกระทบต่อค่าครองชีพของประชาชนเป็นสำคัญยิ่ง

—————————————————-

 

เอกสารประชุมรับทราบผลการศึกษาการลงทุน การสร้างงาน และการพัฒนาอุตสาหกรรมในภาคพลังงานไทย

เอกสารผลการศึกษาการลงทุน การสร้างงาน และการพัฒนาอุตสาหกรรมในภาคพลังงานไทย คลิกที่นี่

เอกสารตรวจทานและยืนยัน ข้อมูลตัวชี้วัด และข้อมูลแผนยุทธศาสตร์การพัฒนาระบบโลจิตติกส์ของประเทศไทย

รายงานการประชุมสัมมนาเชิงปฏิบัติการการพัฒนาระบบข้อมูลโลจิสติกส์ฯ คลิกที่นี่

รายชื่อผู้เข้าร่วมประชุมเชิงปฏิบัติการการพัฒนาระบบข้อมูลโลจิสติกส์ฯ คลิกที่นี่

เอกสารแนบ 1 คลิกที่นี่

เอกสารแนบ 2 .docx คลิกที่นี่

เอกสารแนบ 2 .pdf คลิกที่นี่

ก.พลังงานพร้อมรับมือสถานการณ์“เรือน้ำมันอิหร่านระเบิด”

ก.พลังงานพร้อมรับมือสถานการณ์“เรือน้ำมันอิหร่านระเบิด”  แจงปริมาณน้ำมันมีใช้เพียงพอสถานการณ์ พร้อมใช้กองทุนน้ำมันพยุงราคาขายปลีก

กระทรวงพลังงานชี้แจงเตรียมพร้อมรับมือกรณีเกิดเหตุการณ์เรือบรรทุกน้ำมันของอิหร่านระเบิด ทั้งปริมาณน้ำมันยังเพียงพอต่อการใช้ได้ 51 วัน และให้ความมั่นกับประชาชนว่าจะไม่ได้รับผลกระทบจากราคาน้ำมันเพราะสามารถใช้กลไกบริหารกองทุนน้ำมันเชื้อเพลิงมาช่วยพยุงราคาไม่ให้กระทบค่าครองชีพ

นายสนธิรัตน์ สนธิจิรวงศ์ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงพลังงานเปิดเผยว่า กรณีเกิดเหตุเรือบรรทุกน้ำมันของประเทศอิหร่านระเบิดและไฟลุกนอกเมืองเจดดาห์ เมืองท่าของซาอุดิอาระเบียนั้น กระทรวงพลังงานได้ติดตามสถานการณ์อย่างใกล้ชิด และขอให้ประชาชนมั่นใจอย่าวิตกกังวลต่อสถานการณ์ดังกล่าว เพราะกระทรวงพลังงานมีการเตรียมความพร้อมอยู่ตลอดเวลา โดยภาพรวมไทยยังมีปริมาณสำรองน้ำมันเชื้อเพลิงใช้ได้ประมาณ 51วันโดย ณ วันที่ 10 ตุลาคม2562 ไทยมีปริมาณสำรองน้ำมันดิบประมาณ 2,964 ล้านลิตร ปริมาณสำรองน้ำมันดิบที่อยู่ระหว่างขนส่งอีกประมาณ1,319 ล้านลิตร น้ำมันสำเร็จรูปประมาณ1,752 ล้านลิตร รวมจำนวนวันที่สามารถใช้น้ำมันเชื้อเพลิงได้ทั้งหมด 51 วัน ส่วนปริมาณสำรองก๊าซ LPG ภาคครัวเรือน ภาคขนส่ง และภาคอุตสาหกรรม มีประมาณ 103 ล้านกิโลกรัม สำรองใช้ได้รวม 10 วัน โดยหากใช้เฉพาะในภาคครัวเรือนอย่างเดียวก็จะสามารถใช้ได้ 18 วัน

“ในด้านราคาขายปลีกน้ำมันในประเทศ หากมีความผันผวนที่จะส่งผลกระทบต่อประชาชนก็สามารถนำกลไกของกองทุนน้ำมันเชื้อเพลิงมาเป็นเครื่องมือช่วยลดผลกระทบจากราคาน้ำมันในตลาดโลก จึงขอให้ประชาชนมั่นใจได้ว่ากระทรวงพลังงานจะดูแลไม่ให้กระทบต่อค่าครองชีพของพี่น้องประชาชนทั้งนี้กระทรวงพลังงานจะติดตามสถานการณ์ดังกล่าวอย่างใกล้ชิดเพื่อสื่อสารสร้างความมั่นใจต่อประชาชนต่อไป”รัฐมนตรีว่าการกระทรวงพลังงานกล่าว

ก.พลังงานพร้อมรับมือสถานการณ์“เรือน้ำมันอิหร่านระเบิด” แจงปริมาณน้ำมันมีใช้เพียงพอ พร้อมใช้กองทุนน้ำมันพยุงราคาขายปลีก

กระทรวงพลังงานชี้แจงเตรียมพร้อมรับมือกรณีเกิดเหตุการณ์เรือบรรทุกน้ำมันของอิหร่านระเบิด ทั้งปริมาณน้ำมันยังเพียงพอต่อการใช้ได้ 51 วัน และให้ความมั่นกับประชาชนว่าจะไม่ได้รับผลกระทบจากราคาน้ำมันเพราะสามารถใช้กลไกบริหารกองทุนน้ำมันเชื้อเพลิงมาช่วยพยุงราคาไม่ให้กระทบค่าครองชีพ

นายสนธิรัตน์ สนธิจิรวงศ์ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงพลังงาน เปิดเผยว่า กรณีเกิดเหตุเรือบรรทุกน้ำมันของประเทศอิหร่านระเบิดและไฟลุกนอกเมืองเจดดาห์ เมืองท่าของซาอุดิอาระเบียนั้น กระทรวงพลังงานได้ติดตามสถานการณ์อย่างใกล้ชิด และขอให้ประชาชนมั่นใจอย่าวิตกกังวลต่อสถานการณ์ดังกล่าว เพราะกระทรวงพลังงานมีการเตรียมความพร้อมอยู่ตลอดเวลา โดยภาพรวมไทยยังมีปริมาณสำรองน้ำมันเชื้อเพลิงใช้ได้ประมาณ 51วันโดย ณ วันที่ 10 ตุลาคม2562 ไทยมีปริมาณสำรองน้ำมันดิบประมาณ 2,964 ล้านลิตร ปริมาณสำรองน้ำมันดิบที่อยู่ระหว่างขนส่งอีกประมาณ1,319 ล้านลิตร น้ำมันสำเร็จรูปประมาณ1,752 ล้านลิตร รวมจำนวนวันที่สามารถใช้น้ำมันเชื้อเพลิงได้ทั้งหมด 51 วัน ส่วนปริมาณสำรองก๊าซ LPG ภาคครัวเรือน ภาคขนส่ง และภาคอุตสาหกรรม มีประมาณ 103 ล้านกิโลกรัม สำรองใช้ได้รวม 10 วัน โดยหากใช้เฉพาะในภาคครัวเรือนอย่างเดียวก็จะสามารถใช้ได้ 18 วัน

“ในด้านราคาขายปลีกน้ำมันในประเทศ หากมีความผันผวนที่จะส่งผลกระทบต่อประชาชนก็สามารถนำกลไกของกองทุนน้ำมันเชื้อเพลิงมาเป็นเครื่องมือช่วยลดผลกระทบจากราคาน้ำมันในตลาดโลก จึงขอให้ประชาชนมั่นใจได้ว่ากระทรวงพลังงานจะดูแลไม่ให้กระทบต่อค่าครองชีพของพี่น้องประชาชนทั้งนี้กระทรวงพลังงานจะติดตามสถานการณ์ดังกล่าวอย่างใกล้ชิดเพื่อสื่อสารสร้างความมั่นใจต่อประชาชนต่อไป”รัฐมนตรีว่าการกระทรวงพลังงานกล่าว

รัฐมนตรีว่าการกระทรวงพลังงาน เยี่ยมชมการดำเนินงานธุรกิจก๊าซธรรมชาติ บริษัท ปตท. จำกัด (มหาชน)

นายสนธิรัตน์ สนธิจิรวงศ์ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงพลังงาน พร้อมด้วยนายกุลิศ สมบัติศิริ ปลัดกระทรวงพลังงาน และผู้บริหารกระทรวงพลังงาน ร่วมเยี่ยมชมและรับฟังการบรรยายสรุปการดำเนินงานธุรกิจก๊าซธรรมชาติ บริษัท ปตท. จำกัด (มหาชน) (ปตท.) โดยมี นายชาญศิลป์ ตรีนุชกร ประธานเจ้าหน้าที่บริหารและกรรมการผู้จัดการใหญ่ นายอธิคม เติบศิริ ประธานเจ้าหน้าที่ปฏิบัติการกลุ่มธุรกิจปิโตรเลียมขั้นต้นและก๊าซธรรมชาติ และนายวุฒิกร สติฐิต รองกรรมการผู้จัดการใหญ่หน่วยธุรกิจก๊าซธรรมชาติ ปตท. ให้การต้อนรับ ระหว่างวันที่ 11 – 12 ตุลาคม 2562

ในโอกาสนี้ นายสนธิรัตน์ สนธิจิรวงศ์ พร้อมคณะ ได้เข้าเยี่ยมชมพื้นที่ปฏิบัติงานของ ปตท. ในหลายพื้นที่ เริ่มจากการเข้าเยี่ยมชมสถานีบริการน้ำมัน PTT Station และเอ็นจีวี สาขาสำนักงานปลัดกระทรวงกลาโหม (ทางด่วนบางนาขาออก) รับฟังการบรรยายในประเด็นธุรกิจน้ำมันและค้าปลีก ก๊าซเอ็นจีวี และธุรกิจเสริมในสถานีบริการต่างๆ จากนั้นได้เข้าเยี่ยมชมศูนย์ปฏิบัติการชลบุรี ประกอบด้วย PTT Natural Gas Pipeline Knowledge Hall ซึ่งเป็นนิทรรศการภาพรวมของระบบท่อส่งก๊าซธรรมชาติ พร้อมรับฟังการบรรยายประกอบกิจการขนส่งก๊าซธรรมชาติทางท่อส่งก๊าซฯ และเข้าเยี่ยมชมศูนย์ควบคุมรับส่งก๊าซฯ อัตโนมัติ (Supervisory Control and Data Acquisition: SCADA) ในงานควบคุมการรับส่งก๊าซระยะทางไกลแบบเรียลไทม์ (Real time) เพื่อให้การขนส่งก๊าซไปให้ลูกค้าตรงเวลา มีคุณภาพก๊าซตรงตามความต้องการด้วยความปลอดภัยและต่อเนื่อง จากนั้นได้เดินทางไปยังสวนสมุนไพรสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี จ.ระยอง เพื่อรับฟังการบรรยายกิจการแยกก๊าซธรรมชาติ และเยี่ยมชมโรงเรือนเพาะปลูกพันธุ์ไม้และผลไม้เมืองหนาวซึ่งเป็นการต่อยอดนวัตกรรมที่นำพลังงานความเย็นมาใช้ประโยชน์

วันที่ 12 ตุลาคม 2562 นายสนธิรัตน์ สนธิจิรวงศ์ พร้อมคณะ จะเดินทางไปยัง บริษัท พีทีที แอลเอ็นจี จำกัด ในนิคมอุตสาหกรรมมาบตาพุด รับฟังการบรรยายประกอบกิจการการเก็บรักษาและแปรสภาพก๊าซธรรมชาติเหลว และเยี่ยมชมสถานีรับ-จ่ายก๊าซธรรมชาติเหลว (LNG Receiving Terminal)

นายชาญศิลป์ ตรีนุชกร ประธานเจ้าหน้าที่บริหารและกรรมการผู้จัดการใหญ่ ปตท. เปิดเผยว่า วันนี้ถือเป็นโอกาสอันดียิ่งที่ ปตท. โดยเฉพาะสายงานธุรกิจก๊าซธรรมชาติ ได้ให้การต้อนรับท่านรัฐมนตรีว่าการกระทรวงพลังงาน พร้อมคณะ ซึ่งก๊าซธรรมชาติถือเป็นพลังงานที่สำคัญยิ่งของประเทศ ในการขับเคลื่อนเศรษฐกิจ พัฒนาชีวิตความเป็นอยู่ของคนไทยทุกคน ทำให้ธุรกิจก๊าซธรรมชาติ เป็นธุรกิจต้นน้ำที่เป็นหัวใจสำคัญ เป็นรากฐานของกลุ่ม ปตท. และอยู่คู่กับ ปตท. มีการพัฒนาอย่างต่อเนื่องมาตลอด 40 ปี จนปัจจุบันได้ขยายการจัดหา จัดจำหน่ายก๊าซฯ ทั้งจากประเทศเพื่อนบ้าน และนำเข้า LNG จากต่างประเทศ ซึ่งการดำเนินงานทั้งหมดก็เพื่อสร้างความมั่นคงทางพลังงานของประเทศไทย และปัจจุบันได้มุ่งไปสู่การเป็นศูนย์กลางด้านพลังงานของภูมิภาค ตามนโยบายจากภาครัฐต่อไป

 

แบบฟอร์มรายงานข้อมูลระบบติดตามประเมินผลของกระทรวงพลังงาน

แบบฟอร์มรายงานข้อมูลระบบติดตามประเมินผลของกระทรวงพลังงาน (pdf.) คลิกที่นี่

แบบฟอร์มรายงานข้อมูลระบบติดตามประเมินผลของกระทรวงพลังงาน (docx.) คลิกที่นี่

รัฐมนตรีว่าการกระทรวงพลังงาน เข้าร่วมรับฟังความคิดเห็น “การพัฒนาโครงการโรงไฟฟ้าชุมชนเพื่อเศรษฐกิจฐานราก”

วันที่ 9 ตุลาคม 2562 นายสนธิรัตน์ สนธิจิรวงศ์ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงพลังงาน เข้าร่วมรับฟังความคิดเห็น “การพัฒนาโครงการโรงไฟฟ้าชุมชนเพื่อเศรษฐกิจฐานราก”
และเปิดเผยว่า กระทรวงพลังงานโดยกรมพัฒนาพลังงานทดแทนและอนุรักษ์พลังงาน (พพ.)  ได้จัดให้มีการระดมสมองผุดแผนโรงไฟฟ้าชุมชน ส่งเสริมพืชพลังงานเพิ่มรายได้ ศก.ฐานราก เปิดเวทีระดมความคิดเห็น ดึงทุกภาคส่วนร่วมแชร์ไอเดียเดินหน้า สร้างโรงไฟฟ้าชุมชน เพื่อเศรษฐกิจฐานรากมุ่งส่งเสริมพืชพลังงานสร้างรายได้เกษตรกร วางเกณฑ์ร่วมลงทุนให้ชุมชนมีส่วนถือหุ้นโดยให้เอกชนเป็นผู้ลงทุนก่อสร้าง เพื่อเสริมระบบความมั่นคงพลังงานของประเทศ  ซึ่งมีหลายหน่วยงานเข้าร่วม อาทิ  สำนักงานนโยบายและแผนพลังงาน (สนพ.) การไฟฟ้านครหลวง (กฟน.) การไฟฟ้าส่วนภูมิภาค (กฟภ.) สำนักงานคณะกรรมการกำกับกิจการพลังงาน (กกพ.) สภาอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย กลุ่มวิสาหกิจชุมชน และผู้ประกอบการ เป็นต้น โดยทั้งหมดได้ร่วมกันประชุมรับฟังความคิดเห็น “การพัฒนาโครงการโรงไฟฟ้าชุมชนเพื่อเศรษฐกิจฐานราก” ที่จะนำไปสู่การจัดทำกรอบการพัฒนาโครงการโรงไฟฟ้าชุมชนผ่านกองทุนเพื่อส่งเสริมการอนุรักษ์พลังงานและกองทุนพัฒนาโรงไฟฟ้าตามนโยบายของกระทรวงพลังงาน

ทั้งนี้เป้าหมายโรงไฟฟ้าชุมชนเน้นให้ชุมชนมีส่วนร่วมในการเป็นเจ้าของโรงไฟฟ้า โดยการผลิต ใช้และจัดจำหน่ายไฟฟ้าเข้าสู่ระบบ ซึ่งจะมีส่วนสำคัญต่อการเสริมสร้างความมั่นคงของระบบไฟฟ้าในประเทศและเพิ่มรายได้เข้าสู่ชุมชนตามแนวทางการพัฒนาเศรษฐกิจฐานราก ไม่ว่าจะเป็น การประกันรายได้จากการปลูกพืชพลังงาน การเข้าไปถือหุ้นในประกอบการกิจการโรงไฟฟ้า รวมถึงผลประโยชน์ของชุมชนที่จะได้รับรายได้จากการขายไฟฟ้า “ผลจากการระดมความคิดเห็นจากทุกภาคส่วนในครั้งนี้ กระทรวงพลังงาน จะนำข้อเสนอแนะ และข้อคิดเห็น ไปประกอบการพิจารณารูปแบบการพัฒนาโครงการที่เหมาะสม เพื่อเป็นแนวทางในการเปิดรับ ภาคเอกชนที่สนใจเข้าร่วมลงทุนกับชุมชน ในการดำเนินโครงการโรงไฟฟ้าชุมชนโดยกรอบดังกล่าวจะนำเสนอสู่การพิจารณา ขอคณะกรรมการนโยบายพลังงานแห่งชาติ หรือ กพช. อีกครั้ง เพื่อนำไปสู่การพัฒนาโรงไฟฟ้าในปี 2563” นายสนธิรัตน์ กล่าว

สำหรับกรอบนโยบายการพัฒนาโรงไฟฟ้าชุมชน จะมีการกำหนดพื้นที่เป้าหมายที่ตั้งโรงไฟฟ้า ซึ่งต้องเป็นพื้นที่มีศักยภาพด้านพลังงานหมุนเวียน โดยเฉพาะวัสดุเหลือใช้ทางการเกษตร เช่นฟางข้าว ซังข้าวโพด รวมถึงพืชพลังงานอย่างหญ้าเนเปียร์ และมีระบบโครงสร้างพื้นฐานรองรับ ไม่ว่าจะเป็นระบบส่ง ระบบจัดจำหน่ายที่สามารถรองรับไฟฟ้าที่ผลิตได้จากชุมชน โดยแนวทางการจัดตั้งโรงไฟฟ้าดังกล่าว จะเป็นการร่วมลงทุนระหว่าง เอกชนและชุมชน ซึ่งมีเงื่อนไขที่ให้เอกชนเป็นผู้ลงทุนในการก่อสร้างจนแล้วเสร็จ และเปิดให้ชุมชนเข้ามาถือหุ้นในสัดส่วนที่เหมาะสมในขั้นตอนของการดำเนินการผลิตไฟฟ้าเชิงพาณิชย์

รัฐมนตรีว่าการกระทรวงพลังงาน ให้การต้อนรับคณะกรรมาธิการการพลังงาน

วันนี้ (9 ต.ค.62) นายสนธิรัตน์ สนธิจิรวงศ์ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงพลังงาน พร้อมด้วยผู้บริหารกระทรวงพลังงาน ให้การต้อนรับคณะกรรมาธิการการพลังงาน นำโดยนายกิตติกร โล่ห์สุนทร ประธานคณะกรรมาธิการ เพื่อแลกเปลี่ยนความคิดเห็นและข้อเสนอแนะที่จะเป็นประโยชน์ต่อการดำเนินโยบายด้านพลังงานของประเทศ โดยเฉพาะการกำหนดแนวทางการขับเคลื่อนนโยบายพลังงานสู่ภาคประชาชน ซึ่งบรรยากาศการหารือเป็นไปด้วยดี โดยทางคณะกรรมาธิการการพลังงานพร้อมจะให้คำแนะนำเป็นที่ปรึกษาอิสระให้กระทรวงพลังงาน เพื่อสร้างบรรยากาศการทำงานร่วมกันระหว่างสภาผู้แทนราษฎร และกระทรวงพลังงาน ซึ่งรัฐมนตรีว่าการกระทรวงพลังงานยินดีที่จะทำงานร่วมกันโดยคาดว่าจะมีการพบปะหารือกันเป็นระยะๆ ในโอกาสต่อไป
นายกุลิศ สมบัติศิริ ปลัดกระทรวงพลังงาน เปิดเผยภายหลังการหารือว่า มีประเด็นที่สำคัญ ได้แก่ ปัญหาฝุ่น PM 2.5 ทางคณะกรรมาธิการฯ สอบถามความคืบหน้าการดำเนินการของกระทรวงพลังงานซึ่งน่าจะมีบทบาทหลักในการแก้ปัญหาเรื่องนี้ กระทรวงพลังงานได้ชี้แจงว่า ได้วางแผนเรื่องปรับเปลี่ยนการใช้น้ำมันดีเซล B10 เป็นน้ำมันดีเซลฐานของประเทศเพื่อส่งเสริมปาล์มน้ำมัน และลดค่าฝุ่น PM 2.5 ตั้งเป้าหมายส่งเสริมให้เกิดการใช้ประมาณ 57 ล้านลิตรต่อวันภายในไตรมาสที่ 2 ปี 2563 และส่งเสริมการใช้ B20 สำหรับรถบรรทุก โดยกระทรวงฯจะยืนยันสัดส่วน B10 นี้เป็นดีเซลฐานต่อไปไม่มีการปรับลดเปลี่ยนแปลงหากสถานการณ์เกิดการขาดแคลนน้ำมันปาล์มดิบก็จะต้องพิจารณาเรื่องของการนำเข้าแทน ทั้งนี้เพื่อจะได้สามารถควบคุมการใช้ไบโอดีเซลมาเป็นส่วนผสมน้ำมันดีเซลได้อย่างต่อเนื่อง ซึ่งการผลิต B10 นี้สามารถดูดซับส่วนเกินน้ำมันปาล์มดิบได้ถึงปริมาณ 2 ใน 3 และต่อไปก็จะพิจารณาในกลุ่มเบนซินที่นำพืชพลังงานอ้อย มันสำปะหลัง มาเป็นส่วนผสมเพิ่มขึ้น
ประเด็นเรื่องส่งเสริมยานยนต์ไฟฟ้า (EV) กระทรวงพลังงานจะเป็นหลักในการส่งเสริมแบตเตอรี่ระบบกักเก็บพลังงาน (Energy Storage) และจะประกาศเป็นนโยบายร่วมกับกระทรวงอุตสาหกรรมในการขับเคลื่อนสู่การเป็นผู้นำอุตสาหกรรมยานยนต์ไฟฟ้า กระตุ้นการใช้รถ EV ให้เกิดการลงทุนจากประเทศต่างๆ ซึ่งกรรมาธิการฯ มีความกังวลเรื่องนี้ว่า EV เป็นเรื่อง Disruptive ด้านพลังงานที่กำลังมาเร็ว จึงอยากให้กระตุ้นเกิดการปฏิบัติเป็นรูปธรรมทั้งในรูปของการขนส่งสาธารณะ รถโดยสารสาธารณะ เรือสาธารณะ ให้มีการใช้เชื้อเพลิงไฟฟ้ามากขึ้น ซึ่งทางกรรมาธิการฯพร้อมให้ความร่วมมือ ให้คำปรึกษาแนะนำทำงานร่วมกันได้
โรงไฟฟ้าชุมชน ทำอย่างไรให้โรงไฟฟ้าชุมชนกระจายรายได้สู่ชุมชน กลุ่มฐานรากได้ประโยชน์อย่างแท้จริงไม่ใช่ประโยชน์ตกแก่ภาคเอกชน ซึ่งรัฐมนตรีว่าการกระทรวงพลังงานได้แจ้งแก่คณะกรรมาธิการฯว่า ในวันเดียวกันนี้จะมีได้มีการจัดระดมสมองเกี่ยวกับการจัดตั้งโมเดลโรงไฟฟ้าชุมชนจากผู้เกี่ยวข้องกับโรงไฟฟ้าชุมชนเพื่อให้เกิดประโยชน์สูงสุดต่อชุมชน
เรื่องน้ำมันปาล์ม คณะกรรมาธิการให้พิจารณาเรื่องการนำน้ำมันปาล์มดิบมาเผาผลิตไฟฟ้าว่าทำอย่างไรให้เกิดประโยชน์สูงสุดกับประชาชน ขณะที่ กฟผ.ควรทยอยซื้อเป็นล็อตย่อยเพื่อกระตุ้นราคาปาล์มอย่างต่อเนื่อง ซึ่งประเด็นนี้ ทางรัฐมนตรได้ชี้แจงว่าเป็นนโยบายต่อเนื่องมา แต่ต่อจากนี้ไปกระทรวงพลังงานจะสนับสนุนในเชิงนำน้ำมันปาล์มาผลิตเป็นดีเซลเป็นหลักไม่สนับสนุนการนำไปผลิตเป็นไฟฟ้า
นอกจากนี้ ทางกรรมธิการฯยังเสนอให้สนับสนุนงบประมาณ 100% ให้กับโรงพยาบาลชุมชนติดโซลาร์เซลล์เพื่อช่วยประชาชนซึ่งทางกระทรวงพลังงานได้สนับสนุนให้โรงพยาบาลชุมชนอยู่แล้วผ่านกองทุนเพื่อส่งเสริมการอนุรักษ์พลังงานแต่อาจจะยังไม่แพร่หลายและครอบคลุมทุกพื้นที่ในปัจจุบัน

รัฐมนตรีว่าการกระทรวงพลังงาน ให้เกียรติกล่าวเปิดการประชุมระหว่างประเทศว่าด้วยพลังงานเพื่อการพัฒนาที่ยั่งยืน ครั้งที่ 10 ณ ศูนย์การประชุมสหประชาชาติ

เมื่อวันที่ 7 ตุลาคม 2562 นายสนธิรัตน์ สนธิจิรวงศ์ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงพลังงาน ให้เกียรติกล่าวเปิดการประชุมระหว่างประเทศว่าด้วยพลังงานเพื่อการพัฒนาที่ยั่งยืน ครั้งที่ 10 (The 10th International Forum on Energy for Sustainable Development) ณ ศูนย์การประชุมสหประชาชาติ กรุงเทพฯ โดยการประชุมดังกล่าวเป็นการประชุมประจำปีเพื่อหารือด้านพลังงานระหว่างประเทศ ซึ่งเป็นปัจจัยสำคัญในการขจัดความยากจนผ่านการส่งเสริมการเข้าถึงพลังงานสะอาด และสนับสนุนการบรรลุเป้าหมายการพัฒนาที่ยั่งยืนได้หลายเป้าหมาย โดยเฉพาะอย่างยิ่งด้านพลังงาน ทั้งนี้ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงพลังงาน ได้กล่าวถึงนโยบายพลังงาน 4.0 ของไทยที่ช่วยสนับสนุนเป้าหมายการพัฒนาที่ยั่งยืน เป้าหมายที่ 7 (Sustainable Development Goals: SDG) ที่มุ่งเน้นถึงความมั่นคงทางพลังงาน ความมั่งคั่ง และยั่งยืน รวมถึงการพัฒนาเทคโนโลยีด้านพลังงานอัจฉริยะ นอกจากนี้ ยังได้นำเสนอนโยบายพลังงานเพื่อทุกคน “Energy for All” ผ่านกลยุทธ์ “Prosumerization” โดยการให้ผู้บริโภคเป็นทั้งผู้ผลิตและผู้จำหน่ายพลังงาน เพื่อสนับสนุนภาคประชาชน และสามารถสร้างรายได้ให้แก่ชุมชน เช่น การติดตั้งเซลส์แสงอาทิตย์บนหลังคาบ้านเรือน เป็นต้น ทั้งนี้ ประเทศไทยมีเป้าหมายในการสนับสนุนการใช้พลังงานหมุนเวียนเพื่อรองรับการเปลี่ยนผ่านพลังงาน ผ่านนโยบาย “4D1E” ได้แก่ Digitalization, Decentralization, Deregulation, Decarbonization และ Electrification นอกจากนี้ จากการที่ประเทศไทยได้เป็นเจ้าภาพอาเซียนปี 2562 ไทยได้มีการหารือด้านความมั่นคงทางพลังงานโดยการส่งเสริมระบบเชื่อมโยงไฟฟ้าอาเซียน (ASEAN Power Grid) โดยประเทศไทยมุ่งหวังจะเป็นผู้เชื่อมต่อด้านพลังงานในภูมิภาค (regional energy connector) กับประเทศสมาชิกอาเซียนต่อไป สุดท้ายนี้ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงพลังงานได้กล่าวว่า ประเทศไทยได้ร่วมมือกับ UNESCAP อย่างใกล้ชิดในการเสริมสร้างนโยบายพลังงานของไทยเพื่อให้บรรลุเป้าหมายตามความตกลงปารีสและเป้าหมายการพัฒนาที่ยั่งยืน เพื่อเตรียมความพร้อมประเทศไทยในยุคของการเปลี่ยนผ่านด้านพลังงานต่อไป

ผู้บริหารกระทรวงพลังงานเข้าร่วมประชุมกับคณะกรรมาธิการพลังงาน

เมื่อวันที่ 3 ตุลาคม 2562 ณ รัฐสภา คณะกรรมาธิการการพลังงานได้เชิญกระทรวงพลังงานเข้าร่วมประชุมกับคณะกรรมาธิการ เพื่อนำเสนอภาพรวมการบริหารงานด้านพลังงานของกระทรวงพลังงาน

โดย นายสราวุธ แก้วตาทิพย์ รองปลัดกระทรวงพลังงาน และผู้แทนจากกรมเชื้อเพลิงธรรมชาติ กรมธุรกิจพลังงาน กรมพัฒนาพลังงานทดแทนและอนุรักษ์พลังงาน และสำนักงานนโยบายและแผนพลังงาน ได้เข้าร่วมประชุมเพื่อนำเสนอภาพรวมกระทรวงพลังงานและประเด็นสำคัญๆ ต่างๆ เช่น การบริหารงานด้านพลังงานของกระทรวงพลังงานที่เชื่อมโยงกับแนวนโยบายแห่งรัฐตามบทบัญญติของรัฐธรรมนูญ นโยบายของคณะรัฐมนตรีซึ่งแถลงต่อรัฐสภา ยุทธศาสตร์ชาติ (พศ. 2561-2580) แผนการปฏิรูปประเทศด้านพลังงาน และแผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ

คติธรรม “พละ ๔ ประการ” เนื่องในโอกาสครบรอบ ๑๗ ปี กระทรวงพลังงาน

สมเด็จพระอริยวงศาคตญาณ สมเด็จพระสังฆราช สกลมหาสังฆปริณายก ทรงพระมหากรุณาประทานพระคติธรรม “พละ ๔ ประการ” ให้กับกระทรวงพลังงาน เนื่องในโอกาสครบรอบ ๑๗ ปี วันคล้ายวันสถาปนา ๓ ตุลาคม ๒๕๖๒

17 ปีกระทรวงพลังงาน มอบเงินสมทบทุนสร้างอาคารนวมินทรบพิตร 84 พรรษา โรงพยาบาลศิริราช เนื่องในโอกาสครบรอบวันสถาปนากระทรวง 3 ต.ค. 2562

วันนี้ (3 ต.ค.62) นายกุลิศ สมบัติศิริ ปลัดกระทรวงพลังงาน เป็นประธานในงานวันคล้ายวันสถาปนากระทรวงพลังงาน ประจำปี 2562 ซึ่งในปีนี้ถือเป็นปีที่ 17 ในการสถาปนากระทรวงพลังงาน โดยมีผู้บริหารระดับสูง ข้าราชการ พนักงาน เจ้าหน้าที่ และผู้ที่เกี่ยวข้องในแวดวงพลังงาน เข้าร่วมกิจกรรมวันสถาปนากระทรวงพลังงานในวันนี้

สำหรับกิจกรรมที่สำคัญ ได้แก่ พิธีสักการะพระพรหม สิ่งศักดิ์สิทธิ์ประจำศูนย์เอนเนอร์ยี่ คอมเพล็กซ์  ซึ่งเป็นที่ตั้งของกระทรวงพลังงาน โดยประธานในพิธีได้นำจุดธูปเทียน ถวายพวงมาลัย และเครื่องสักการะ  พระพรหม พร้อมสักการะพระพรหมทั้ง 4 ทิศ  และลำดับถัดมาในพิธีสงฆ์ ประธานในพิธีได้นำคณะผู้บริหาร และผู้ร่วมงานทั้งหมด ร่วมพิธีการอาราธนาศีล อาราธนาพระปริตร ถวายเครื่องไทยธรรมแด่พระสงฆ์ และร่วมพิธีกรวดน้ำ รับพร และพระสงฆ์ประพรมน้ำพระพุทธมนต์ เพื่อเป็นศิริมงคลแก่ผู้ร่วมงานทุกคน

ทั้งนี้ ในโอกาสวันสถาปนากระทรวงพลังงานครบรอบ 17 ปีครั้งนี้ กระทรวงพลังงานได้ประกาศงดรับกระเช้าและของขวัญต่างๆ  ในการแสดงความยินดี โดยกระทรวงพลังงานได้ขอให้ผู้เข้าร่วมงาน ที่จะแสดงความยินดี ให้ร่วมกันสมทบทุนเพื่อซื้อครุภัณฑ์ทางการแพทย์ อาคารนวมินทรบพิตร 84 พรรษา ของโรงพยาบาลศิริราช เป็นการทดแทน โดยประธานในพิธีได้เป็นผู้รับมอบเงินสมทบทุนจากหน่วยงานต่างๆรวม จำนวน 1,711,720 บาท และมอบให้แก่โรงพยาบาลศิริราช ซึ่งนอกจากจะเป็นการแสดงความยินดีร่วมกันแล้ว ยังเป็นการสร้างกุศลครั้งสำคัญร่วมกับโรงพยาบาลศิริราช อีกด้วย

 

 

 

 

 

 

 

 

รัฐมนตรีว่าการกระทรวงพลังงาน ชี้โอกาสไทยเป็นบิ๊กพลังงานทางเลือกภูมิภาค SEA พร้อมโชว์ศักยภาพระบบ ‘โซลาร์เซลล์-พลังงานลม-ชีวมวล’ บนเวทีโลก

นายสนธิรัตน์ สนธิจิรวงศ์ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงพลังงาน กล่าวภายหลังการเข้าร่วมแสดงวิสัยทัศน์และแลกเปลี่ยนกับประเทศชั้นนำในระดับนโยบายในเวทีการประชุมรัฐมนตรีระดับโลกในการบูรณาการระบบพลังงานหมุนเวียน (Global Ministerial Conference on System Integration of Renewables) ที่ประเทศเยอรมนี (1 ต.ค.62) ว่า เวทีนี้มีความสำคัญเพราะเป็นการแลกเปลี่ยนวิสัยทัศน์ในเชิงนโยบายกับประเทศชั้นนำหลายประเทศถึงทิศทางการพัฒนาพลังงานหมุนเวียนหรือพลังงานทางเลือกที่กำลังกลายเป็นกระแสหลักแทนพลังงานจากเชื้อเพลิงฟอสซิลดั้งเดิม เป้าหมายของทุกประเทศชั้นนำด้านพลังงานจะเพิ่มสัดส่วนพลังงานทางเลือกสูงขึ้น ซึ่งไทยก็มีเป้าหมายตามแผนพัฒนาพลังงานทดแทนและพลังงานทางเลือกว่า ในปี 2580 สัดส่วนการผลิตไฟฟ้าจากเชื้อเพลิงพลังงานหมุนเวียนจะอยู่ที่ระดับ 20% หรือเพิ่มขึ้นเท่าตัวจากปัจจุบัน ซึ่งสอดล้องกับนโยบายพลังงาน Energy for All พลังงานเพื่อทุกคน ที่จะเกิดโรงไฟฟ้าชุมชนซึ่งใช้เชื้อเพลิงจากพลังงานหมุนเวียนเกิดขึ้นในภูมิภาคต่างๆ ทั่วประเทศ ถือเป็นการเปลี่ยนผ่านของพลังงานทางเลือกในประเทศไทย

“สำหรับประเทศไทย พลังงานทางเลือกไม่ได้เป็นแค่ทิศทาง แต่เราได้ดำเนินการไปมากกว่านั้นด้วยการวางนโยบายให้เกิดโรงไฟฟ้าชุมชนขึ้นด้วยการอาศัยจุดแข็งด้านวัสดุทางการเกษตรของแต่ละชุมชนที่นำมาเป็นเชื้อเพลิงผลิตกระแสไฟฟ้าป้อนให้ชุมชนและสามารถขายส่วนเกินเข้าระบบได้อีกด้วย และในอนาคตคาดว่าไทยจะสามารถนำโมเดลการจัดตั้งโรงไฟฟ้าชุมชนที่กระจายอยู่ทั่วทุกภูมิภาคนี้นำเสนอบนเวทีโลกในโอกาสต่อไป เพื่อแสดงให้เห็นว่าโมเดลนี้เป็นการพัฒนาพลังงานทางเลือกที่สามารถสร้างให้ระบบเศรษฐกิจในภาพรวมเข้มแข็งขึ้นได้จริง” นายสนธิรัตน์กล่าวในการแลกเปลี่ยนวิสัยทัศน์ด้านนโยบายของไทย รัฐมนตรีว่าการกระทรวงพลังงานได้กล่าวถึงเรื่องราวความสำเร็จในการเกิดพลังงานทางเลือกว่า ประเทศไทยได้รับการยอมรับว่าเป็นผู้นำด้านปฏิบัติที่เป็นเลิศในระดับภูมิภาคด้านพลังงาน โดยทบวงการพลังงานระหว่างประเทศ (IEA) ระบุไทยมีการใช้พลังงานหมุนเวียนสูงสุดในภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ (SEA) ไม่รวมโรงไฟฟ้าพลังน้ำขนาดใหญ่ และไทยกำลังก้าวสู่ประเทศที่มีกำลังผลิตติดตั้งพลังงานแสงอาทิตย์ พลังงานลม และพลังงานชีวมวลที่ใหญ่ที่สุดในภูมิภาคนี้ ไทยเป็นประเทศกลุ่มแรกๆ ที่ก่อตั้งกองทุนเฉพาะด้านสำหรับการลงทุนในพลังงานหมุนเวียนและการใช้พลังงานอย่างมีประสิทธิภาพของภาครัฐและภาคเอกชน ธนาคารพาณิชย์ของไทยมีประสบการณ์ในการจัดหาเงินทุนสำหรับโครงการด้านพลังงานหมุนเวียน โครงการด้านพลังงานต่างๆ ของไทยถูกพัฒนาจริงจังทั่วทุกภูมิภาค

ในด้านการดำเนินนโยบายและโครงการต่างๆ ไทยมีนโยบายที่หลากหลายเพื่อกระตุ้นให้เกิดนวัตกรรมและการเปลี่ยนไปสู่แหล่งพลังงานหมุนเวียนและพลังงานใหม่ที่มีความหลากหลาย(Diversified) มีการส่งเสริมในระบบกระจายไปยังหลายพื้นที่ (Decentralized) และการใช้ต้นทุนอย่างมีประสิทธิภาพ(Cost-effective) ซึ่งจะนำประโยชน์ทางเศรษฐกิจมาสู่ชุมชนท้องถิ่น ภายใต้คอนเซ็ปต์ Energy for All

ปัจจุบันนโยบายในการพัฒนาระบบพลังงานหมุนเวียนมีทั้งการรวมพลังงานหมุนเวียนหลายๆ ประเภทเข้าด้วยกัน หรือรวมพลังงานหมุนเวียนเข้ากับระบบการกักเก็บพลังงาน หรือที่เรียกว่าเป็นระบบพลังงานหมุนเวียนแบบผสมผสาน (Renewable Energy Hybrid System) ตัวอย่างเช่น การติดตั้งและรวมโซลาร์เซลล์ลอยน้ำเข้าด้วยกันกับพลังงานน้ำ (Hydro-Floating Solar Hybrid) จำนวน 2,725 เมกะวัตต์ ที่ดำเนินการโดยการไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทย(กฟผ.)บริเวณด้านบนอ่างกักเก็บน้ำที่ผลิตไฟฟ้าจากพลังน้ำ

ไทยมีศักยภาพด้านพลังงานหมุนเวียนทั้งพลังงานแสงอาทิตย์ พลังงานชีวมวล ชีวภาพ ที่มีจุดแข็งด้านวัสดุทางการเกษตรเป็นเชื้อเพลิงชั้นดี ทั้งซังข้าวโพด ฟางข้าว แกลบ หญ้าเนเปียร์ รวมถึงพลังงานลมซึ่งเดิมไทยมีจุดอ่อนเรื่องความแรงลมไม่สูงมากนัก แต่ปัจจุบันเทคโนโลยีเปลี่ยน สามารถใช้ลมที่มีอยู่ในประเทศไทยสามารถผลิตพลังงานที่มีประสิทธิภาพสูงขึ้น

“ประเทศไทยมีความมุ่งมั่นที่จะพัฒนาพลังงานหมุนเวียนเพื่อเพิ่มความเชื่อมั่นด้านพลังงานของประเทศ เราพร้อมจะสนับสนุนพลังงานหมุนเวียนที่มีความหลากหลายโดยการพัฒนาระบบไฟฟ้าผ่านระบบผสมผสานของการบริหารจัดการด้านพลังงานหมุนเวียน และผมเชื่อว่าการประชุมครั้งนี้จะเป็นจุดเริ่มต้นให้เราได้แบ่งปันแนวคิดเกี่ยวกับวิธีการจัดการกับโอกาสและความท้าทายที่สำคัญ เพื่อจัดการกับการเปลี่ยนผ่านไปสู่การบูรณาการระบบพลังงานหมุนเวียนที่มีประสิทธิภาพ เพื่อสนับสนุนเศรษฐกิจคาร์บอนต่ำต่อไป” รัฐมนตรีว่าการกระทรวงพลังงานกล่าวในท้ายที่สุด

ผู้ช่วยรัฐมนตรีประจำกระทรวงพลังงาน ลงพื้นที่ตรวจความพร้อมสถานีบริการน้ำมันดีเซล B10

วันนี้ (1 ต.ค. 62) นายสุรพร ดนัยตั้งตระกูล ผู้ช่วยรัฐมนตรีประจำกระทรวงพลังงาน พร้อมด้วยนายกุลิศ สมบัติศิริ ปลัดกระทรวงพลังงาน นายอนุรุทธิ์ นาคาศัย เลขานุการ รมว.พลังงาน และนางสาวนันธิกา ทังสุพานิช อธิบดีกรมธุรกิจพลังงานลงพื้นที่ตรวจความพร้อมสถานีบริการน้ำมันดีเซล B10 ซึ่งทางกระทรวงพลังงานผลักดันให้เกิดการใช้ B10 เป็นน้ำมันดีเซลพื้นฐานเริ่มตั้งแต่วันที่ 1 ตุลาคม 2562 โดยขอความร่วมมือผู้ค้าน้ำมันเพิ่มปริมาณการจำหน่ายน้ำมันดีเซล B10 เพื่อให้เพียงพอต่อความต้องการใช้ และเพิ่มความมั่นใจให้กับประชาชนผู้ใช้รถดีเซล ณ สถานีบริการน้ำมัน ปตท. เลียบทางด่วนทาวน์อินทาวน์

รัฐมนตรีว่าการกระทรวงพลังงาน สั่งการหน่วยงานในสังกัดที่เกี่ยวข้อง ช่วยรณรงค์ลดปัญหาฝุ่นละออง PM2.5 ในภาคพลังงาน

วันนี้ (1 ต.ค.62) นายสนธิรัตน์ สนธิจิรวงศ์ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงพลังงาน ซึ่งอยู่ระหว่างการเข้าร่วมประชุม “Global Ministerial Conference on System Integration of Renewables” ที่ประเทศเยอรมนี เปิดเผยว่า กระทรวงพลังงานมีความกังวลต่อปัญหาฝุ่นละออง PM 2.5 ที่เกิดขึ้นอยู่ในขณะนี้ จึงมอบนโยบายเกี่ยวกับการแก้ปัญหาฝุ่น PM 2.5
ในภาคพลังงานสั่งการเร่งด่วนให้หน่วยงานภายใต้กำกับดูแลของกระทรวงพลังงานเตรียมการลดปัญหาฝุ่นละออง โดยผลักดันให้มีการใช้น้ำมันดีเซลหมุนเร็ว B10เพื่อกำหนดให้เป็นน้ำมันดีเซลพื้นฐานสำหรับรถดีเซลทั่วไป เริ่มตั้งแต่วันนี้ 1 ตุลาคม 2562 ผู้ค้าน้ำมันจะเพิ่มปริมาณจำหน่าย B10 ในสถานีบริการพร้อมเร่งสร้างแรงจูงใจให้เกิดการใช้มากขึ้น ซึ่งปัจจุบันราคา B10 มีราคาถูกกว่า B7 ลิตรละ 2 บาท ราคาวันนี้  B10 อยู่ที่ 23.99 บาท/ลิตร ส่วน B7 ราคา 25.99 บาท/ลิตร พร้อมกับมอบหมายให้ปลัดกระทรวงพลังงาน และกรมธุรกิจพลังงานตรวจติดตามเร่งรัดการจำหน่ายน้ำมัน B 10 ในสถานีบริการในเขตกรุงเทพมหานครและปริมณฑลอย่างเร่งด่วน โดยจะเพิ่มสถานีบริการที่จำหน่าย B 10 ภายในเดือนตุลาคมนี้ให้ได้มากที่สุด

นอกจากนี้กระทรวงพลังงานจะรณรงค์ให้ประชาชนเข้มงวดเรื่องการตรวจสภาพรถยนต์ และการบังคับใช้กฎหมายที่เกี่ยวข้อง รวมถึงกำชับการไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทย (กฟผ.) ตรวจสอบการใช้งานอุปกรณ์ดักจับอนุภาคต่างๆ จากโรงไฟฟ้าที่ได้ทำเป็นประจำตามเกณฑ์มาตรฐานคุณภาพสิ่งแวดล้อมที่ทำได้ดีอยู่แล้ว และบำรุงรักษาอุปกรณ์ให้ทำงานได้อย่างมีประสิทธิภาพตลอดเวลาเพื่อเป็นการช่วยลดปัญหาฝุ่นละอองอีกทางหนึ่งรวมถึงเร่งส่งเสริมยานยนต์พลังงานไฟฟ้า (Electric Vehicle) อย่างเป็นระบบ เป็นแผนรองรับพลังงานสะอาดไว้ในอนาคต อีกด้วย

“ถึงเวลาที่เราต้องร่วมมือกันทุกฝ่าย เพราะเรื่องพลังงานสะอาดเป็นนโยบายที่ผมให้ความสำคัญ นาทีนี้เราต้องเร่งลงมือทำจริงทั้งในภาคขนส่งสาธารณะและรถยนต์ส่วนบุคคล รวมถึงภาคอุตสาหกรรมด้วย อยากขอให้ทุกคนมองสุขภาพประชาชน เป็นเรื่องสำคัญที่รอไม่ได้” นายสนธิรัตน์ กล่าว

กระทรวงพลังงาน มอบรางวัลชนะเลิศประกวดวาดภาพเทิดพระเกียรติ ด้านการอนุรักษ์พลังงาน และพลังงานทดแทน ปีที่ 7 หัวข้อ “พลังความดีด้วยหัวใจ”

วันนี้ (30 ก.ย. 62)
นายกุลิศ สมบัติศิริ ปลัดกระทรวงพลังงาน เป็นประธานในพิธีมอบรางวัลกิจกรรมประกวดวาดภาพเทิดพระเกียรติด้านการอนุรักษ์พลังงานและพลังงานทดแทนปีที่ 7 ในหัวข้อ“พลังความดีด้วยหัวใจ” โดยมีผู้ได้รับคัดเลือกรวมจำนวน 64 รางวัล ในประเภทมัธยมศึกษาตอนต้น ประเภทมัธยมศึกษาตอนปลายและปวช. ประเภทอุดมสึกษาและปวส. และประเภทประชาชนทั่วไปณ เดอะคริสตัล (เอกมัย-รามอินทรา) บริเวณ วีรันดา ฮอลล์ กรุงเทพฯ

ปลัดกระทรวงพลังงานกล่าวว่า ด้วยสำนึกในพระมหากรุณาธิคุณของพระบาทสมเด็จพระปรเมนทรรามาธิบดีศรีสินทรมหาวชิราลงกรณพระวชิรเกล้าเจ้าอยู่หัวตลอดจนพระบรมวงศานุวงศ์ทุกพระองค์กระทรวงพลังงานจึงได้จัดโครงการประกวดวาดภาพเทิดพระเกียรติด้านการอนุรักษ์พลังงานและพลังงานทดแทนปีที่ 7 ในหัวข้อ “พลังความดีด้วยหัวใจ”
เพื่อแสดงออกถึงความจงรักภักดีน้อมนำเอาพระราชกรณียกิจน้อยใหญ่ที่สำคัญด้านพลังงานในทุกรูปแบบมาถ่ายทอดให้ประชาชนได้ตระหนักและถือเป็นแบบอย่างในการประหยัดรู้จักความพอเพียงพึ่งพาตนเองอันจะส่งผลให้ประชาชนและประเทศชาติได้รับประโยชน์ในการปฏิบัติตามพระราชกรณียกิจถ่ายทอดถึงแนวทางการทำความดีบำเพ็ญประโยชน์ต่อสังคมครอบครัวชุมชนประเทศชาติด้วยการอนุรักษ์พลังงานและการนำพลังงานทดแทนมาใช้ให้เกิดประโยชน์

อีกทั้งยังเพื่อตอบสนองวิสัยทัศน์ของกระทรวงพลังงานที่จะมุ่งบริหารพลังงานอย่างยั่งยืนให้ประเทศชาติและประชาชนชาวไทยมีพลังงานใช้อย่างพอเพียงต่อการเติบโตทางเศรษฐกิจและคุณภาพชีวิตที่ดีของประชาชนตลอดจนมีพลังงานทางเลือกที่หลากหลายมีความสมดุลและยั่งยืนเพื่อให้บรรลุถึงเป้าหมายดังกล่าวได้นั้นบทบาทหนึ่งของกระทรวงพลังงานที่ให้ความสำคัญมาโดยตลอดคือการส่งเสริมจัดหาพัฒนาทางเลือกของพลังงานสะอาดที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อมและชุมชนภายใต้กระบวนการมีส่วนร่วมของประชาชนด้วยการรณรงค์เพื่อสร้างจิตสำนึกผ่านโครงการดังกล่าว

สำหรับคณะกรรมการในการตัดสินประกอบด้วยผู้บริหารข้าราชการกระทรวงพลังงานกระทรวงพลังงานศิลปินผู้ทรงคุณวุฒิโดยมี นายนที ทับมณี หัวหน้าผู้ตรวจราชการกระทรวงพลังงาน เป็นประธานคณะกรรมการตัดสิน ร่วมด้วย นายสมภพ พัฒนอริยางกูล  ผู้อำนวยการกองยุทธศาสตร์และแผนงาน สำนักงานปลัดกระทรวงพลังงาน  ศาสตรเมธี ดร.เฉลิมชัยโฆษิตพิพัฒน์ ศิลปินแห่งชาติ  ศาสตราจารย์วิโชค มุกดามณี ศิลปินแห่งชาติ  ดร.สังคม ทองมี  ผู้อำนวยการศูนย์ศิลป์สิรินธร  นายประทีป  คชบัว  ศิลปินอิสระ  และนายประครอง
สุวงทา หัวหน้ากลุ่มสื่อโสตทัศนูปกรณ์ สำนักงานปลัดกระทรวงพลังงาน

โครงการดังกล่าวได้ดำเนินการประชาสัมพันธ์กิจกรรมตลอดระยะเวลา4เดือนที่ผ่านมาตั้งแต่วันที่10พฤษภาคมถึงวันที่10 กันยายน2562 มีประชาชนจากทุกภาคส่วนให้ความสนใจส่งผลงานเข้าร่วมประกวดทั้งสิ้น 404 ภาพจาก 114 สถาบัน 46 จังหวัดแบ่งเป็นประเภทมัธยมศึกษาตอนต้น92ภาพมัธยมศึกษาตอนปลายและปวช. 127 ภาพประเภทอุดมศึกษาและปวส. 96 ภาพและประชาชนทั่วไป 89 ภาพ

กระทรวงพลังงานและคณะกรรมการตัดสินได้ร่วมกันคัดเลือกเพื่อตัดสินผลงานภาพวาดทั้งหมด เมื่อวันที่ 16 กันยายน2562 ได้ผู้ผ่านการคัดเลือกจำนวน 64 คน แบ่งเป็น 4 ประเภทๆละ 16 คนเพื่อเข้าร่วมกิจกรรมการประชุมเชิงปฏิบัติการ (Workshop) คัดเลือกหาผู้ชนะในการประกวดซึ่งได้จัดไปเมื่อวันที่ 28 – 29 กันยายนที่ผ่านมาณโรงแรมเอส.ซี. ปาร์คโดยมี
รองศาสตราจารย์ทินกร กาษรสุวรรณ  รองคณบดีฝ่ายบริหารคณะจิตรกรรมประติมากรรมและภาพพิมพ์ มหาวิทยาลัยศิลปากร  และนายธีระวัฒน์  คะนะมะ   ศิลปินอิสระ  ให้เกียรติเป็นวิทยากรในการจัดกิจกรรม

ทั้งนี้ กระทรวงพลังงานจะนำภาพทั้งหมดจำนวน 128 ผลงาน (ทั้งในรอบคัดเลือก64ผลงาน / และรอบ Workshop 64ผลงาน) มาจัดแสดงนิทรรศการภาพวาดให้กับประชาชนทั่วไปและผู้ที่สนใจได้เข้าชมตั้งแต่วันที่ 30 กันยายน – 2 ตุลาคม2562เวลา10.00 – 22.00 น. ณบริเวณวีรันดาฮอลล์ ณ เดอะคริสตัลเอกมัย-รามอินทราโดยไม่เสียค่าใช้จ่ายในการเข้าชม

โครงการประกวดวาดภาพเทิดพระเกียรติด้านการอนุรักษ์พลังงานและพลังงานทดแทน กระทรวงพลังงาน จัดขึ้นเป็นปีที่ 6  ภายใต้หัวข้อ“พลังความดีด้วยหัวใจ” แบ่งการประกวดเป็น  4 ประเภท  ประเภทละ 16 รางวัล รวมเป็นเงินรางวัลทั้งสิ้น  1,120,000 บาท(หนึ่งล้านหนึ่งแสนสองหมื่นบาทถ้วน)

มีรายละเอียดดังนี้

1.ประเภทมัธยมศึกษาตอนต้น

รางวัลชนะเลิศ รับเงินรางวัล 25,000 บาท ได้แก่ ด.ช.ภัทรายุทธ ภาคุณ
รางวัลรองชนะเลิศอันดับ 1 รับเงินรางวัล20,000 บาทได้แก่ด.ช.วัชระ ทองสงคราม
รางวัลรองชนะเลิศอันดับ 2 รับเงินรางวัล 15,000 บาท ได้แก่ ด.ญ.ศตนัน สังฆ์สุข

2.ประเภทมัธยมศึกษาตอนปลาย / ปวช.

รางวัลชนะเลิศ รับเงินรางวัล 30,000 บาท ได้แก่ น.ส.วิกาวี รัตตมณี
รางวัลรองชนะเลิศอันดับ 1 รับเงินรางวัล 25,000 บาท ได้แก่ น.ส.จันทกานต์ จันทรโกมล
รางวัลรองชนะเลิศอันดับ 2 รับเงินรางวัล 20,000 บาท ได้แก่ น.ส.ลักษ์คณา มีพารา

3.ประเภทอุดมศึกษา / ปวส.

รางวัลชนะเลิศ รับเงินรางวัล 35,000 บาท ได้แก่ นายศิริโรจน์ โคตรวงษา
รางวัลรองชนะเลิศอันดับ 1 รับเงินรางวัล 30,000 บาท ได้แก่น.ส.พรเบญญา ศิริชัยวัจนเดชา
รางวัลรองชนะเลิศอันดับ 2 รับเงินรางวัล 25,000 บาท ได้แก่ น.ส.ปิยะธิดา ไกรกิจราษฎร์

4.ประเภทประชาชนทั่วไป   

รางวัลชนะเลิศ รับเงินรางวัล 50,000 บาท ได้แก่ นายจรัญ บุญประเดิม
รางวัลรองชนะเลิศอันดับ 1 รับเงินรางวัล 45,000 บาท ได้แก่ นายสารัช ศรีบุรินทร์
รางวัลรองชนะเลิศอันดับ 2 รับเงินรางวัล 40,000 บาท ได้แก่ นายณรงค์ชัย สิทธิวัฒนาพร

 

กระทรวงพลังงาน มอบรางวัลชนะเลิศประกวดวาดภาพเทิดพระเกียรติ ด้านการอนุรักษ์พลังงาน และพลังงานทดแทน ปีที่ 7 หัวข้อ “พลังความดีด้วยหัวใจ”

วันนี้ (30 ก.ย. 62) นายกุลิศ สมบัติศิริ ปลัดกระทรวงพลังงาน เป็นประธานในพิธีมอบรางวัลกิจกรรมประกวดวาดภาพเทิดพระเกียรติด้านการอนุรักษ์พลังงาน และพลังงานทดแทนปีที่ 7 ในหัวข้อ “พลังความดีด้วยหัวใจ” โดยมีผู้ได้รับคัดเลือกรวมจำนวน 64 รางวัล ในประเภทมัธยมศึกษาตอนต้น ประเภทมัธยมศึกษาตอนปลายและปวช. ประเภทอุดมสึกษาและปวส. และประเภทประชาชนทั่วไป ณ เดอะคริสตัล (เอกมัย-รามอินทรา) บริเวณ วีรันดา ฮอลล์ กรุงเทพฯ

ปลัดกระทรวงพลังงานกล่าวว่า ด้วยสำนึกในพระมหากรุณาธิคุณของพระบาทสมเด็จพระปรเมนทรรามาธิบดีศรีสินทรมหาวชิราลงกรณ พระวชิรเกล้าเจ้าอยู่หัว ตลอดจนพระบรมวงศานุวงศ์ทุกพระองค์ กระทรวงพลังงานจึงได้จัด โครงการประกวดวาดภาพเทิดพระเกียรติด้านการอนุรักษ์พลังงานและพลังงานทดแทน ปีที่ 7 ในหัวข้อ “พลังความดีด้วยหัวใจ” เพื่อแสดงออกถึงความจงรักภักดี น้อมนำเอาพระราชกรณียกิจน้อยใหญ่ที่สำคัญด้านพลังงาน ในทุกรูปแบบมาถ่ายทอดให้ประชาชนได้ตระหนัก และถือเป็นแบบอย่างในการประหยัดรู้จักความพอเพียง พึ่งพาตนเอง อันจะส่งผล ให้ประชาชนและประเทศชาติได้รับประโยชน์ในการปฏิบัติตามพระราชกรณียกิจถ่ายทอดถึงแนวทางการทำความดีบำเพ็ญประโยชน์ต่อสังคม ครอบครัว ชุมชน ประเทศชาติ ด้วยการอนุรักษ์พลังงาน และการนำพลังงานทดแทนมาใช้ให้เกิดประโยชน์

อีกทั้งยังเพื่อตอบสนองวิสัยทัศน์ของกระทรวงพลังงานที่จะมุ่งบริหารพลังงานอย่างยั่งยืน ให้ประเทศชาติและประชาชนชาวไทยมีพลังงานใช้อย่างพอเพียงต่อการเติบโตทางเศรษฐกิจ และคุณภาพชีวิตที่ดีของประชาชน ตลอดจนมีพลังงานทางเลือกที่หลากหลาย มีความสมดุลและยั่งยืน เพื่อให้บรรลุถึงเป้าหมายดังกล่าวได้นั้น บทบาทหนึ่งของกระทรวงพลังงาน ที่ให้ความสำคัญมาโดยตลอด คือ การส่งเสริม จัดหา พัฒนา ทางเลือกของพลังงานสะอาดที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อมและชุมชน ภายใต้กระบวนการมีส่วนร่วมของประชาชน ด้วยการรณรงค์เพื่อสร้างจิตสำนึกผ่านโครงการดังกล่าว

สำหรับคณะกรรมการในการตัดสินประกอบด้วยผู้บริหาร ข้าราชการกระทรวงพลังงานกระทรวงพลังงาน ศิลปินผู้ทรงคุณวุฒิ โดยมีนายนที ทับมณี หัวหน้าผู้ตรวจราชการกระทรวงพลังงาน เป็นประธานคณะกรรมการตัดสิน ร่วมด้วย นายสมภพ พัฒนอริยางกูล  ผู้อำนวยการกองยุทธศาสตร์และแผนงาน สำนักงานปลัดกระทรวงพลังงาน ศาสตรเมธี ดร.เฉลิมชัย โฆษิตพิพัฒน์  ศิลปินแห่งชาติ ศาสตราจารย์วิโชค มุกดามณี ศิลปินแห่งชาติ ดร.สังคม ทองมี ผู้อำนวยการศูนย์ศิลป์สิรินธร นายประทีป คชบัว ศิลปินอิสระ และนายประครอง สุวงทา หัวหน้ากลุ่มสื่อโสตทัศนูปกรณ์ สำนักงานปลัดกระทรวงพลังงาน

โครงการดังกล่าวได้ดำเนินการประชาสัมพันธ์กิจกรรมตลอดระยะเวลา 4 เดือนที่ผ่านมา ตั้งแต่วันที่ 10 พฤษภาคม ถึงวันที่ 10 กันยายน 2562 มีประชาชนจากทุกภาคส่วนให้ความสนใจส่งผลงานเข้าร่วมประกวดทั้งสิ้น 404 ภาพ จาก 114 สถาบัน 46 จังหวัด แบ่งเป็นประเภทมัธยมศึกษาตอนต้น 92 ภาพ มัธยมศึกษาตอนปลายและปวช. 127 ภาพ ประเภทอุดมศึกษาและปวส. 96 ภาพ และประชาชนทั่วไป 89 ภาพ

กระทรวงพลังงานและคณะกรรมการตัดสินได้ร่วมกันคัดเลือก เพื่อตัดสินผลงานภาพวาดทั้งหมด เมื่อวันที่ 16 กันยายน 2562 ได้ผู้ผ่านการคัดเลือก จำนวน 64 คน แบ่งเป็น 4 ประเภทๆ ละ 16 คน เพื่อเข้าร่วมกิจกรรมการประชุมเชิงปฏิบัติการ(Workshop) คัดเลือกหาผู้ชนะในการประกวด ซึ่งได้จัดไปเมื่อวันที่ 28 – 29 กันยายนที่ผ่านมา  ณ โรงแรมเอส.ซี. ปาร์ค โดยมี รองศาสตราจารย์ทินกร กาษรสุวรรณ รองคณบดีฝ่ายบริหาร คณะจิตรกรรม ประติมากรรมและภาพพิมพ์ มหาวิทยาลัยศิลปากร และ นายธีระวัฒน์ คะนะมะ ศิลปินอิสระ ให้เกียรติเป็นวิทยากรในการจัดกิจกรรม

ทั้งนี้ กระทรวงพลังงานจะนำภาพทั้งหมด จำนวน 128 ผลงาน (ทั้งในรอบคัดเลือก 64 ผลงาน / และรอบ Workshop 64 ผลงาน) มาจัดแสดงนิทรรศการภาพวาดให้กับประชาชนทั่วไป และผู้ที่สนใจได้เข้าชม ตั้งแต่วันที่ 30 กันยายน – 2 ตุลาคม 2562 เวลา 10.00 – 22.00 น. ณ บริเวณวีรันดา ฮอลล์ เดอะคริสตัล เอกมัย-รามอินทราโดยไม่เสียค่าใช้จ่ายในการเข้าชม

โครงการประกวดวาดภาพเทิดพระเกียรติด้านการอนุรักษ์พลังงานและพลังงานทดแทน กระทรวงพลังงาน จัดขึ้นเป็นปีที่ 6  ภายใต้หัวข้อ“พลังความดีด้วยหัวใจ” แบ่งการประกวดเป็น  4 ประเภท  ประเภทละ 16 รางวัล รวมเป็นเงินรางวัลทั้งสิ้น 1,120,000 บาท (หนึ่งล้านหนึ่งแสนสองหมื่นบาทถ้วน)

มีรายละเอียดดังนี้

  1. ประเภทมัธยมศึกษาตอนต้น

รางวัลชนะเลิศ รับเงินรางวัล 25,000 บาท ได้แก่ ด.ช.ภัทรายุทธ ภาคุณ

รางวัลรองชนะเลิศอันดับ 1 รับเงินรางวัล 20,000 บาท ได้แก่ ด.ช.วัชระ ทองสงคราม

รางวัลรองชนะเลิศอันดับ 2 รับเงินรางวัล 15,000 บาท ได้แก่ ด.ญ.ศตนัน สังฆ์สุข

 

  1. ประเภทมัธยมศึกษาตอนปลาย / ปวช.

รางวัลชนะเลิศ รับเงินรางวัล 30,000  บาท ได้แก่ น.ส.วิกาวี รัตตมณี

รางวัลรองชนะเลิศอันดับ 1 รับเงินรางวัล 25,000  บาท ได้แก่ น.ส.จันทกานต์ จันทรโกมล

รางวัลรองชนะเลิศอันดับ 2 รับเงินรางวัล 20,000 บาท ได้แก่ น.ส.ลักษ์คณา มีพารา

 

  1. ประเภทอุดมศึกษา / ปวส.

รางวัลชนะเลิศ รับเงินรางวัล 35,000 บาท ได้แก่ นายศิริโรจน์ โคตรวงษา

รางวัลรองชนะเลิศอันดับ 1 รับเงินรางวัล 30,000 บาท ได้แก่ น.ส.พรเบญญา ศิริชัยวัจนเดชา

รางวัลรองชนะเลิศอันดับ 2 รับเงินรางวัล 25,000 บาท ได้แก่ น.ส.ปิยะธิดา ไกรกิจราษฎร์

 

  1. ประเภทประชาชนทั่วไป

รางวัลชนะเลิศ รับเงินรางวัล 50,000 บาท ได้แก่ นายจรัญ บุญประเดิม

รางวัลรองชนะเลิศอันดับ 1 รับเงินรางวัล 45,000 บาท ได้แก่ นายสารัช ศรีบุรินทร์

รางวัลรองชนะเลิศอันดับ 2 รับเงินรางวัล 40,000 บาท ได้แก่ นายณรงค์ชัย สิทธิวัฒนาพร

 

รัฐมนตรีว่าการกระทรวงพลังงาน เข้าร่วมการประชุม LNG Producer-Consumer Conference ครั้งที่ 8 ที่กรุงโตเกียว ประเทศญี่ปุ่น

วันนี้ (26 ก.ย.62) นายสนธิรัตน์ สนธิจิรวงศ์ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงพลังงาน ได้เข้าร่วมและรับเชิญเป็นหนึ่งในผู้กล่าวนำในการประชุม LNG Producer-Consumer Conference ครั้งที่ 8 ที่กรุงโตเกียว ประเทศญี่ปุ่น    โดยได้กล่าวถึงสถานการณ์ก๊าซธรรมชาติเหลว หรือ LNG ว่า ในช่วงหลายปีที่ผ่านมาเกิดการเปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็ว ส่งผลกระทบต่อทั้งผู้ผลิตและผู้ใช้ แนวโน้มของเชื้อเพลิง LNG จะมีบทบาทสำคัญ มีการคาดการณ์ว่า ความต้องการใช้ทั้งก๊าซธรรมชาติและก๊าซธรรมชาติเหลวจะเพิ่มสูงขึ้น สำหรับไทยในฐานะที่เป็นประเทศผู้ใช้และผู้นำเข้า LNG ได้วางกลยุทธ์ภายใต้แผนบูรณาการพลังงานระยะยาว (TIEB) และแผนบริหารจัดการก๊าซธรรมชาติ (Gas Plan) ในการสร้างความมั่นคงในการจัดหาก๊าซของประเทศ คาดว่าความต้องการก๊าซธรรมชาติของไทยจะเพิ่มขึ้น 7.4% หรือ 5.1 พันล้านลูกบาศก์ฟุตต่อวัน ในปี 2579 ซึ่งการเติบโตด้านความต้องการนี้ ไทยจึงมีแผนจะขยายการนำเข้า LNG เพิ่มการแข่งขันในตลาด LNG และการปรับโครงสร้างพื้นฐานใหม่รองรับ

“ไทยได้สร้างสภาพแวดล้อมที่เอื้อต่อการทำธุรกิจก๊าซธรรมชาติแบบเสรีเพื่อจัดหาก๊าซสำหรับการบริโภคอย่างเพียงพอ ซึ่งเป็นส่วนหนึ่งของการเพิ่มการแข่งขันและความมั่นคงด้านพลังงาน อีกทั้งยังขยายเขตอุตสาหกรรมพิเศษ เช่น เขตพัฒนาพิเศษภาคตะวันออก หรือ EEC เพื่อตอบสนองความต้องการ ซึ่งในฐานะประธานอาเซียนปีนี้ ไทยยังได้นำเสนอให้ประเทศสมาชิกร่วมพัฒนาแหล่งพลังงานที่หลากหลายยิ่งขึ้น และใช้ก๊าซธรรมชาติเพื่อผลิตไฟฟ้าผ่านโครงการท่อส่งก๊าซข้ามพรมแดนอาเซียน รวมทั้งสนับสนุนอาเซียนใช้โครงสร้างพื้นฐาน LNG ขนาดเล็กและการสร้างคลังสำหรับจัดเก็บ LNG” นายสนธิรัตน์กล่าว

รัฐมนตรีว่าการกระทรวงพลังงานคาดหวังว่า การประชุมครั้งนี้จะช่วยวางทิศทางเชิงกลยุทธ์เกี่ยวกับความมั่นคงด้านก๊าซธรรมชาติผ่านการจัดตั้งตลาด LNG ที่ยืดหยุ่นและโปร่งใส ทิศทางความต้องการ LNG และวิธีการจัดหา LNG ภายใต้การเปลี่ยนแปลงของสภาพตลาด รวมทั้งวิสัยทัศน์สู่การปฏิบัติสำหรับรัฐบาลและผู้ประกอบการธุรกิจของทั้งประเทศผู้ผลิตและประเทศผู้ใช้ LNG ทั้งนี้ เพื่อปูทางสำหรับความร่วมมือด้าน LNG ที่แข็งแกร่งมากขึ้นในอนาคต

สำหรับการจัดประชุมระหว่างผู้ผลิตและผู้ใช้ LNG ครั้งที่ 8 จัดขึ้นโดยกระทรวงเศรษฐกิจ การค้า และอุตสาหกรรมของญี่ปุ่น (METI) ร่วมกับศูนย์วิจัยพลังงานแห่งเอเชียแปซิฟิก (APERC) เพื่อเป็นเวทีหารือสำหรับประเทศผู้ผลิตและประเทศผู้ใช้ LNG รวมถึงผู้ประกอบการที่เกี่ยวข้อง เพื่อส่งเสริมความร่วมมือทั้งในด้านอุปสงค์ อุปทาน และโครงสร้างตลาด LNG โดยมีผู้เข้าร่วมมากกว่า 1,000 คนจากกว่า 30 ประเทศทั่วโลก

รัฐมนตรีว่าการกระทรวงพลังงาน กล่าวเพิ่มเติมภายหลังได้แสดงวิสัยทัศน์เรื่องของ LNGบนเวทีโลกวันนี้ว่า ได้มีโอกาสหารือทวิภาคีกับรัฐมนตรีกระทรวงเศรษฐกิจ การค้า และอุตสาหกรรมของญี่ปุ่น (METI)ซึ่งเป็นเจ้าภาพจัดงานในครั้งนี้ โดยได้กระชับความร่วมมือที่เรามีอย่างแนบแน่นอยู่แล้วให้เข้มแข็งยิ่งขึ้น ทั้งเรื่องของ LNG ซึ่งญี่ปุ่นถือเป็นเทรดเดอร์รายใหญ่ของโลก ได้หารือถึงความร่วมมือด้านยานยนต์ไฟฟ้า การนำเทคโนโลยีด้านไฮโดรเจนไปพัฒนาต่อในประเทศไทย ซึ่งประเทศญี่ปุ่นมีความเข้มแข็งในเรื่องนี้ค่อนข้างมาก รวมทั้งหารือถึง Smart Energy เรื่อง Smart City ซึ่งทั้งสองประเทศจะตั้งคณะทำงานร่วมกันพัฒนาเรื่องนี้ คาดว่าประมาณปลายปีนี้จะมีการประชุมระดับ Policy Dialog พูดคุยเชิงนโยบายระหว่างกันเพื่อให้เกิดแนวทางในการทำงานร่วมกันระหว่างประเทศญี่ปุ่นและประเทศไทยต่อไป

รัฐมนตรีว่าการกระทรวงพลังงาน ร่วมประชุมเวที LNG ระดับโลกที่ญี่ปุ่น หารือพัฒนาศักยภาพรองรับความต้องการ LNG เอเชีย

วันนี้ (25 กันยายน 2562) รัฐมนตรีว่าการกระทรวงพลังงานนำคณะเดินทาง เตรียมร่วมประชุม LNG Producer-Consumer Conference ครั้งที่ 8 ณ ประเทศญี่ปุ่น เวทีความร่วมมือระหว่างผู้ผลิตและผู้ใช้ LNG โลกจาก 30 ประเทศ เพื่อแลกเปลี่ยนและสร้างความร่วมมือระหว่างกันเพื่อพัฒนาศักยภาพรองรับความต้องการใช้ LNG ของภูมิภาคเอเชียในอนาคต และวันนี้ได้เยี่ยมชมกิจการบริษัทโตเกียว แก๊สผู้นำเข้า LNG รายใหญ่โลก และชมนวัตกรรมรถ EV มิตซูบิชิที่ทั้งชาร์จไฟจากบ้าน และจ่ายไฟเข้าสู่เครื่องใช้ไฟฟ้าในบ้านได้สองทาง

โดยมีกำหนดการเข้าร่วมการประชุม LNG Producer-Consumer Conference ครั้งที่ 8 ที่กรุงโตเกียว ประเทศญี่ปุ่น ในวันที่ 26 กันยายน 2562 ซึ่งการประชุมดังกล่าวจัดขึ้นทุกปีเป็นเวทีความร่วมมือระหว่างผู้ผลิตและผู้ใช้ในตลาดก๊าซธรรมชาติเหลว (Liquefied Natural Gas : LNG)โดยมีผู้บริหารระดับสูงทั้งจากภาครัฐบาล องค์กรระหว่างประเทศและธุรกิจที่เกี่ยวข้องกับ LNG จากทั่วโลกประมาณ 30 ประเทศ รวมกว่า 1,000 คน เข้าร่วมหารือเกี่ยวกับสถานการณ์และทิศทางตลาด LNGเพื่อแลกเปลี่ยนข้อคิดเห็น ประสบการณ์ และการบริหารจัดการ LNG ในอนาคต รวมทั้งหารือความเป็นไปได้ในการสร้างความร่วมมือระหว่างผู้ผลิตและผู้ใช้LNG เพื่อพัฒนาศักยภาพสำหรับรองรับความต้องการ LNG ที่เพิ่มขึ้นของภูมิภาคเอเชียในอนาคต

การประชุม LNG Producer-Consumer Conference ครั้งที่ 8 รัฐมนตรีว่าการกระทรวงพลังงานจะได้ร่วมแลกเปลี่ยนวิสัยทัศน์ ข้อคิดเห็นเกี่ยวกับนโยบายและแนวทางในการพัฒนาด้านพลังงานของไทย โดยเฉพาะด้าน LNG ร่วมกับรัฐมนตรีพลังงานและผู้บริหารองค์กรด้านพลังงานที่สำคัญจากประเทศผู้ผลิตและผู้ใช้LNG รายใหญ่ของโลกที่เข้าร่วมประชุม ซึ่งเป็นโอกาสดีในการสร้างเครือข่ายด้านการค้าและการลงทุนระหว่างกัน และนำไปสู่ความร่วมมือด้าน LNG ในอนาคต รวมทั้งยังเป็นประโยชน์กับประเทศไทยในฐานะผู้รับซื้อ LNG จะได้รับทราบถึงสถานการณ์ นโยบาย และแนวทางในการพัฒนาของตลาด LNG จากหน่วยงานด้านพลังงานระหว่างประเทศ เพื่อนำมาปรับใช้เป็นแนวทางในการพัฒนาและเสริมสร้างความมั่นคงด้านพลังงานให้กับไทยต่อไป

ก่อนการเข้าร่วมประชุมดังกล่าว รัฐมนตรีว่าการกระทรวงพลังงานได้เยี่ยมชมกิจการของบริษัท โตเกียว แก๊ส ซึ่งเป็น LNG Terminal แห่งแรกในเอเชียและเป็นสถานี LNG ที่ใหญ่เป็นอันดับ 6 ของโลก มีความจุ LNG ได้มากถึง 1.18 ล้านลูกบาศก์เมตร โดยได้มีโอกาสแลกเปลี่ยนเรียนรู้กับทางโตเกียว แก๊ส  ทั้งเรื่องระบบบริหารจัดการ การปรับตัวของธุรกิจ การขยายสู่ธุรกิจต่อเนื่องกับ LNG ซึ่งในประเทศญี่ปุ่น LNG ทวีความสำคัญ มีการใช้ในภาคอุตสาหกรรมเพิ่มขึ้นนอกจากการใช้ในครัวเรือนและเพื่อผลิตไฟฟ้า อีกทั้งยังได้มีการขยายไปสู่ธุรกิจต่อเนื่อง เช่น อุตสาหกรรมห้องเย็น การผลิตน้ำแข็งแห้ง เป็นต้น

“ถือเป็นโอกาสดีที่จะได้นำประสบการณ์จากผู้นำเข้าก๊าซ LNG รายใหญ่ของโลกที่มีประสบการณ์มากกว่า 50 ปีมาพัฒนาและปรับใช้กับประเทศไทยเพื่อนำไปดำเนินการที่เหมาะสมกับนโยบายของไทยซึ่งมุ่งสู่การเป็นศูนย์กลางด้านก๊าซ LNG ของภูมิภาคต่อไป”นายสนธิรัตน์กล่าว

นอกจากนี้ ยังได้เข้าชมศูนย์จัดแสดงเทคโนโลยีและยานยนต์ MI-Garden ของบริษัท มิตซูบิชิมอเตอร์ ซึ่งมีนวัตกรรมยานยนต์ไฟฟ้า (EV) ที่สามารถเชื่อมโยงกับบ้าน คือด้านหนึ่งสามารถใช้ไฟบ้านชาร์จรถไฟฟ้า ขณะเดียวกันรถยนต์ไฟฟ้าก็สามารถจ่ายไฟเข้าตัวบ้านได้โดยตรงสู่เครื่องใช้ไฟฟ้าในบ้านต่าง ๆเช่น หม้อหุงข้าว ตู้เย็น พัดลม เป็นต้น เรียกว่าเป็นระบบ V2H หรือVehicle to Home ซึ่งเป็นทิศทางนวัตกรรมสำคัญของยานยนต์ไฟฟ้า

“สำหรับการผลักดันส่งเสริม EV ของไทยกำลังพิจารณาหลายๆ ด้านไปพร้อมกัน ทั้งแบตเตอรี่ Energy Storage และการผลิตรถ EV ซึ่งไทยมีผู้ประกอบการทั้งมอเตอร์ไซค์ไฟฟ้า รถยนต์ไฟฟ้าอยู่แล้ว แต่ปริมาณยังไม่มากพอ ขณะนี้อยู่ในช่วงเทคโนโลยีเปลี่ยนผ่าน ซึ่งนโยบายกระทรวงพลังงานจะเร่งสนับสนุนให้การเปลี่ยนผ่านเป็นไปได้เร็วยิ่งขึ้น”นายสนธิรัตน์กล่าว

รัฐมนตรีว่ากระทรวงพลังงานพร้อมผู้บริหารกระทรวงพลังงาน และหน่วยงานในสังกัดที่เกี่ยวข้องทั้ง กลุ่ม ปตท. และกฟผ. ลงพื้นที่จังหวัดอุบลราชธานี

วันนี้(22 ก.ย.62) นายสนธิรัตน์ สนธิจิรวงศ์ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงพลังงาน นำคณะผู้บริหารกระทรวงพลังงานและหน่วยงานในสังกัด พร้อมด้วยข้าราชการและเจ้าหน้าที่ในสังกัดกระทรวงพลังงาน ลงพื้นที่จังหวัดอุบลราชานี มอบถุงยังชีพที่ประกอบด้วยเครื่องอุปโภคบริโภคที่จำเป็นต่อการดำเนินชีวิตประจำวัน จำนวน 2,000 ชุดให้กับประชาชนในพื้นที่อำเภอวารินชำราบ จังหวัดอุบลราชธานี เพื่อให้ความช่วยเหลือและเป็นกำลังใจให้ประชาชนผู้ประสบภัยน้ำท่วม

นายสนธิรัตน์กล่าวว่า กระทรวงพลังงาน ในฐานะหนึ่งในหน่วยงานภาครัฐ พร้อมกับหน่วยงานในสังกัด ได้แก่ กลุ่มบริษัทปตท. และการไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทย (กฟผ.) ลงพื้นที่อำเภอวารินชำราบซึ่งเป็นหนึ่งในพื้นที่ที่ได้รับผลกระทบหนักจากเหตุการณ์น้ำท่วม โดยนอกเหนือจากความช่วยเหลือเบื้องต้นผ่านถุงยังชีพแล้ว ยังถือเป็นโอกาสมารับฟังปัญหารวมถึงความต้องการความช่วยเหลือด้านต่างๆ ของพี่น้องประชาชนด้วย เพื่อจะได้นำประเด็นที่ประชาชนได้รับความเดือดร้อนเร่งประสานกับหน่วยงานที่เกี่ยวข้องเร่งแก้ปัญหาต่อไป

“อยากให้คนอุบลฯ เชื่อมั่นว่า รัฐบาลจะเร่งบรรเทาผลกระทบที่เกิดจากสถานการณ์น้ำท่วมครั้งนี้อย่างเต็มสรรพกำลัง บูรณาการทุกส่วนงานที่เกี่ยวข้องเร่งแก้ปัญหาให้พี่น้องประชาชน ซึ่งหลังจากสถานการณ์คลี่คลายก็จะเร่งประเมินความเสียหาย และเข้าช่วยเหลือทั้งการเยียวยาและฟื้นฟู ทั้งด้านการประกอบอาชีพต่างๆ การซ่อมสร้างที่อยู่อาศัย เพื่อให้พี่น้องประชาชนกลับมาใช้ชีวิตประจำวันได้อย่างปกติตามเดิมโดยเร็ว”นายสนธิรัตน์กล่าว

สำหรับจุดมอบถุงยังชีพของรัฐมนตรีว่าการกระทรวงพลังงานและคณะ จุดที่ 1 อยู่ที่หอประชุมโรงเรียนวารินชำราบ ต.คำน้ำแซบ อ.วารินชำราบ จำนวน 500 ชุด และจุดที่ 2 ที่หอประชุมประชาวาริน เทศบาลเมืองวารินชำราบ อ.วารินชำราบ จำนวน 1,500 ชุด

สำนักงานปลัดกระทรวงพลังงานได้รับรางวัลเลิศรัฐ สาขาการบริหารราชการแบบมีส่วนร่วม ประจำปี พ.ศ. 2562

“ทูตพลังงานรวมพลังพัฒนาและอนุรักษ์พลังงานสู่ความยั่งยืน รุ่นที่ 1” จากสำนักงานพลังงานจังหวัดสมุทรปราการ สำนักงานปลัดกระทรวงพลังงาน

เมื่อวันที่ 13 กันยายน 2562 สำนักงาน ก.พ.ร. จัดพิธีมอบรางวัลเลิศรัฐ ประจำปี พ.ศ. 2562 เพื่อเชิดชูหน่วยงานภาครัฐที่มีผลงานโดดเด่นกว่า 200 ผลงาน  โดยมี นายวิษณุ เครืองาม รองนายกรัฐมนตรี เป็นประธานในพิธีมอบรางวัลเลิศรัฐ ประจำปี 2562 ในปีนี้มีหน่วยงานภาครัฐที่ได้รับรางวัลกว่า 219 ผลงาน จากทั้งหมดที่ส่งเข้าประกวด 1,043 ผลงาน

โดยสำนักงานปลัดกระทรวงพลังงาน ส่งผลงาน “ทูตพลังงานรวมพลังพัฒนาและอนุรักษ์พลังงานสู่ความยั่งยืน รุ่นที่ 1” จากสำนักงานพลังงานจังหวัดสมุทรปราการ และได้รับรางวัลเลิศรัฐ สาขาการบริหารราชการแบบมีส่วนร่วม ประเภทรางวัล สัมฤทธิผลประชาชนมีส่วนร่วม (Effective Change) ระดับดี

สำหรับผลงานที่ได้รับรางวัลเลิศรัฐในปีนี้  แบ่งเป็น 3 สาขาได้แก่ สาขาบริการภาครัฐมอบให้แก่หน่วยงานรัฐที่มีผลการพัฒนาคุณภาพการให้บริการประชาชนด้วยบริการที่สะดวกรวดเร็ว โปร่งใส เป็นธรรม และเป็นที่พึงพอใจ จำนวน 123 รางวัล   สาขาคุณภาพการบริหารจัดการภาครัฐมอบให้แก่หน่วยงานรัฐที่มีการพัฒนาคุณภาพการบริหารจัดการได้ทัดเทียมมาตรฐานสากลจำนวน 24 รางวัล และสาขาการบริหารราชการแบบมีส่วนร่วมมอบให้แก่หน่วยงานรัฐที่มีความมุ่งมั่นตั้งใจในการพัฒนาประสิทธิภาพการบริหารราชการบนพื้นฐานความรับผิดชอบ และการมีส่วนร่วมของประชาชน จำนวน 66 รางวัล

รัฐมนตรีว่าการกระทรวงพลังงาน แถลงชี้แจงความพร้อมรับสถานการณ์ทั้งด้านการนำเข้า ปริมาณสำรอง และการดูแลเรื่องราคาพลังงาน

สถานการณ์พลังงานโลกร้อนระอุ กระทรวงพลังงานแถลงชี้แจงความพร้อมรับสถานการณ์ทั้งด้านการนำเข้า ปริมาณสำรอง และการดูแลเรื่องราคาพลังงาน พร้อมเตรียมนัดประชุมคณะกรรมการบริหารนโยบายพลังงาน (กบง.) นัดพิเศษเพื่อเร่งวางมาตรการป้องกันล่วงหน้าหากกระทบราคาในประเทศรุนแรง
นายสนธิรัตน์ สนธิจิรวงศ์ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงพลังงาน เปิดแถลงข่าวชี้แจงกรณีซาอุดิอาระเบียถูกโจมตีโรงกลั่นน้ำมันว่า ในความเป็นจริงแล้วจุดที่ถูกโจมตีไม่ได้เป็นที่ตั้งโรงกลั่นน้ำมัน แต่เป็น Crude Oil Processing Facility หรือ โรงงานที่ทำหน้าที่กำจัดสารต่างๆ ที่ไม่ต้องการ เป็นเหมือนกระบวนการทำความสะอาด ออกจากน้ำมันดิบ ก่อนส่งต่อไปยังผู้ซื้อของบริษัท Aramco (อารามโค) และถึงแม้ว่าสถานการณ์จะอยู่ในความควบคุมได้แล้วก็ตาม แต่กระทรวงพลังงานได้ติดตามสถานการณ์อย่างใกล้ชิดตลอด 24 ชั่วโมง และเพื่อสร้างความมั่นใจให้กับประชาชนไม่ให้เกิดความวิตกกังวล กระทรวงพลังงานขอสรุปภาพรวมการเตรียมการดังนี้
ด้าน Supply โดยการบริหารจัดการด้าน Supply หรือการจัดหาน้ำมันเชื้อเพลิง ประเทศไทยพึ่งพาการนำเข้าจากประเทศซาอุดิอาระเบียประมาณ 170,000 บาเรลล์/วัน ซึ่งเป็นตัวเลขที่ไม่น่ากังวล เพราะหากไม่สามารถนำเข้าจากซาอุดิอาระเบียได้ตามปริมาณดังกล่าวก็สามารถกระจายการนำเข้าจากแหล่งอื่นได้
ด้านปริมาณสำรอง ปัจจุบัน ณ วันที่ 16 กันยายน 2562 ไทยมีปริมาณสำรองน้ำมันดิบประมาณ 3,366 ล้านลิตร ปริมาณสำรองน้ำมันดิบที่อยู่ระหว่างขนส่งอีก 1,193 ล้านลิตร น้ำมันสำเร็จรูป 1,848 ล้านลิตร รวมจำนวนวันที่สามารถใช้น้ำมันเชื้อเพลิงได้ทั้งหมด 54 วัน ส่วนปริมาณสำรองก๊าซ LPG ภาคครัวเรือนมีประมาณ 131 ล้านกิโลกรัม สำรองได้ 23 วัน แต่หากรวมการใช้ LPG ของภาคอุตสาหกรรม และภาคขนส่งแล้วจะทำให้จำนวนวันสำรองที่ใช้ LPG ได้อยู่ที่ 12 วัน
ด้านราคา ได้มีการประเมินเบื้องต้นโดยทำแบบจำลองสถานการณ์ไว้ว่า หากสถานการณ์ยืดเยื้ออยู่ประมาณ 1 สัปดาห์ จะทำให้อัตราราคาน้ำมันดิบปรับเพิ่มขึ้น 5 เหรียญสหรัฐ/บาร์เรล หากยืดเยื้อราว 2 – 6 สัปดาห์ ราคาจะปรับขึ้น 5-15 เหรียญสหรัฐ/บาร์เรล
“ในส่วนของการบริหารจัดการด้านราคาซึ่งเป็นเรื่องที่อยู่นอกเหนือการควบคุมนั้น ทางกระทรวงพลังงานได้ตั้งวอร์รูมติดตามสถานการณ์ตลอด 24 ชั่วโมง ซึ่งผลกระทบด้านราคาน้ำมันดังกล่าวเป็นการประเมินในเบื้องต้น โดยพรุ่งนี้ (17 ก.ย.) จะนัดประชุม กบง.เป็นวาระพิเศษ เพื่อร่วมหารือมาตรการป้องกันผลกระทบที่อาจจะเกิดขึ้นต่อค่าครองชีพของประชาชนต่อไป” รัฐมนตรีว่าการกระทรวงพลังงานกล่าว

รัฐมนตรีว่าการกระทรวงพลังงานเสนอโมเดล “Energy for All” บนเวที AMER ครั้งที่ 8 รับมือยุคเปลี่ยนผ่านด้านพลังงาน

“สนธิรัตน์”เปิดยุทธศาสตร์การเข้าถึงบริการด้านพลังงานที่มั่นคง ราคาเข้าถึงได้ และยั่งยืน ผ่านนโยบาย Energy for All พลังงานเพื่อทุกคน ย้ำการรับมือนวัตกรรมพลังงานในอนาคต ผู้กำหนดนโยบายต้องพัฒนาความเข้าใจในโอกาสและความท้าทายต่าง ๆที่เกิดจากเทคโนโลยี Disruptive ในภาคพลังงานให้ดียิ่งขึ้น

วันนี้ (10 ก.ย.62) นายสนธิรัตน์ สนธิจิรวงศ์ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงพลังงาน ได้รับเชิญกล่าวบรรยายในหัวข้อ Advancing Inclusive Access to Secure, Affordable and Sustainable Energy Service การเข้าถึงบริการด้านพลังงานที่มั่นคง ราคาเข้าถึงได้ และยั่งยืน ในระหว่างการประชุมโต๊ะกลมระดับรัฐมนตรีพลังงานเอเชีย ครั้งที่ 8 (Asian Ministerial Energy Roundtable : AMER 8th) ที่จะมีขึ้นวันที่ 10 กันยายน 2562 ที่กรุงอาบูดาบี ประเทศสหรัฐอาหรับเอมิเรตส์ (UAE)

นายสนธิรัตน์กล่าวตอนหนึ่งว่า เรากำลังอยู่ในยุคสมัยแห่งการเปลี่ยนผ่านด้านพลังงาน เปลี่ยนจากเชื้อเพลิงฟอสซิลไปสู่โลกพลังงานสะอาด โลกของพลังงานหมุนเวียน เป็นยุคที่ผู้บริโภคกลายเป็นศูนย์กลาง สามารถควบคุมการใช้ไฟฟ้า การผลิต การขาย และทางเลือกแหล่งพลังงานของตนเองได้ ในฐานะที่เป็นทั้งผู้ผลิตและผู้ (Prosumer)

“เรากำลังเผชิญหน้ากับความไม่แน่นอนที่สำคัญและการเปลี่ยนแปลงในตลาดพลังงาน เช่น ความไม่สงบในภูมิภาคตะวันออกกลาง มาตรการแทรกแซง สงครามการค้า โดยเฉพาะการปฏิวัติของเชลออยล์ ส่งผลต่อตลาดก๊าซธรรมชาติเหลว (LNG) เปลี่ยนแปลงไปอย่างมาก เกิดการเพิ่มกำลังการผลิตก๊าซอย่างมาก ซึ่งการรับมือความท้าทายเหล่านี้ จำเป็นเร่งด่วนที่จะต้องพิจารณานโยบายและกลยุทธ์ที่นำมาใช้ได้จริงในการเพิ่มความมั่นคงทางพลังงาน การใช้พลังงานอย่างมีประสิทธิภาพ การสนับสนุนพลังงานสะอาด การพัฒนาพลังงานทางเลือกและพลังงานหมุนเวียน รวมถึงการวิจัยและพัฒนาเทคโนโลยีนวัตกรรมด้านพลังงาน”
ในการรับมือนวัตกรรมพลังงานในอนาคตนั้น ผู้กำหนดนโยบายต้องพัฒนาความเข้าใจในโอกาสและความท้าทายต่าง ๆที่เกิดจากเทคโนโลยีที่สร้างความพลักผัน (Disruptive Technology) ในภาคพลังงานให้ดียิ่งขึ้น รัฐบาลควรพัฒนาวิสัยทัศน์สำหรับอนาคตพลังงานที่ยั่งยืนที่จัดการกับความท้าทายเชิงนโยบายพลังงานหลายประการและติดตามความก้าวหน้าเพื่อบรรจุเป้าหมายระดับชาติ

สำหรับประเทศไทยมองเรื่องความมั่นคง ความยั่งยืน และการเข้าถึงพลังงานขึ้นอยู่กับการบูรณาการเชื้อเพลิงที่สะอาดขึ้น และเทคโนโลยีพลังงานหมุนเวียน การกระจายการผลิต การใช้พลังงานอย่างมีประสิทธิภาพ ระบบพลังงานอัจฉริยะและระบบดิจิทัล
ปัจจุบันไทยกำลังขับเคลื่อนเศรษฐกิจไปสู่ Thailand 4.0 ผ่าน BCG Model(Bio-Circular-Green Economy) ที่มีเชื้อเพลิงสะอาดและเทคโนโลยีพลังงานหมุนเวียนเป็นกระแสหลัก ไทยได้วางยุทธศาสตร์ “พลังงานเพื่อทุกคน”(Energy for All) ซึ่งจะสนับสนุนการเพิ่มรายได้ให้ประชาชน พร้อมกับยกระดับความสามารถในการแข่งขันของประเทศ เราต้องปรับปรุงโครงข่ายพลังงานชุมชนโดยใช้เทคโนโลยีอัจฉริยะ เพิ่มสัดส่วนพลังงานหมุนเวียน เช่น พลังงานแสงอาทิตย์ ก๊าซชีวมวล และเชื้อเพลิงชีวภาพผ่านโรงไฟฟ้าชุมชน พร้อมกับเพิ่มประสิทธิภาพการใช้พลังงานผ่านการใช้กองทุนเพื่อส่งเสริมการอนุรักษ์พลังงาน
“ท่ามกลางสถานการณ์ทางเศรษฐกิจปัจจุบันที่มีความซับซ้อน ผมต้องขอบคุณบทบาทที่แข็งขันของ International Energy Forum หรือ IEF ซึ่งทำให้การประชุม AMER ยังคงทำหน้าที่เป็นหนึ่งในเวทีระดับนานาชาติที่ใหญ่ที่สุดสำหรับบรรดารัฐมนตรีที่จะนำเสนอและเน้นย้ำโอกาสอันดีสำหรับทุกคนที่จะหารือในประเด็นสำคัญเกี่ยวกับภาคพลังงานในปัจจุบันและมีอิทธิพลต่อแนวโน้มการเติบโตทั่วโลก”รัฐมนตรีว่าการกระทรวงพลังงานกล่าวในตอนท้าย

นอกจากการเข้าร่วมบรรยายในเวทีดังกล่าวแล้ว รัฐมนตรีว่าการกระทรวงพลังงานยังได้มีโอกาสเยี่ยมชมโครงการMasdar City ซึ่งเป็นเมืองต้นแบบด้านพลังงานสะอาด โดยนำเทคโนโลยี Clean Energy มาผสมผสานกับความเป็นชุมชนเมือง นายสนธิรัตน์กล่าวว่า หัวใจของโครงการคือการนำ Clean Energy มาเป็นตัวผลักดันให้เกิดการใช้พลังงานสะอาด ซึ่งโครงการ Masdar City ถือเป็นศูนย์กลางของพลังงานทางเลือก หรือพลังงานทดแทนที่สำคัญของ UAE ผสมผสานเทคโนโลยีต่างๆ ทั้งโซลาร์เซลล์ พลังงานลม รวมทั้งเทคโนโลยีใหม่ๆ กลไกเหล่านี้ทำให้เกิดการผลิตระดับที่เป็นเชิงพาณิชย์ขนาดใหญ่ของโลก อย่างเช่น โซลาร์ฟาร์มที่ขนาดใหญ่ 800 MW เป็นต้น จะเห็นได้ว่า การดีไซน์ทั้งหมดได้ผสมผสานพัฒนาโดยดึงเทคโนโลยีนวัตกรรมระดับโลกเข้ามาปรับใช้ ถือเป็นตัวอย่างที่น่าสนใจ เพราะ UAE เป็นผู้ส่งออกน้ำมันและก๊าซระดับโลก แต่ด้วยวิสัยทัศน์ได้มองถึงอนาคตพลังงาน จึงได้พัฒนาเรื่องนี้ล่วงหน้าเมื่อ 10 กว่าปีที่ผ่านมาจนปัจจุบันเกิดรูปธรรม จึงเป็นสิ่งที่เราต้องเรียนรู้และเลือกนำเทคโนโลยีมาปรับใช้กับบ้านเรา

รัฐมนตรีว่ากระทรวงพลังงานนำคณะผู้บริหารกระทรวงฯ กลุ่มปตท. และกฟผ. ลงพื้นที่จังหวัดร้อยเอ็ด

รัฐมนตรีว่ากระทรวงพลังงานนำคณะผู้บริหารกระทรวงฯ กลุ่มปตท. และกฟผ. ลงพื้นที่จังหวัดร้อยเอ็ด เพื่อให้กำลังใจและมอบถุงยังชีพช่วยเหลือชาวบ้านประสบภัยน้ำท่วม
วันนี้ (7 ก.ย. 62) นายสนธิรัตน์ สนธิจิรวงศ์ รัฐมนตรีว่าการพลังงาน นำคณะผู้บริหารกระทรวงพลังงานและหน่วยงานในสังกัด ประกอบด้วย นายกุลิศ สมบัติศิริ ปลัดกระทรวงพลังงาน นายสุรพร ดนัยตั้งตระกูล ผู้ช่วยรัฐมนตรีว่าการกระทรวงพลังงาน นายอนุรุทธิ์ นาคาศัย เลขานุการ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงพลังงาน นายยุคล ชนะวัฒน์ปัญญา ที่ปรึกษารัฐมนตรีว่าการกระทรวงพลังงาน นายวัชระ กรรณิการ์ โฆษกกระทรวงพลังงาน นายสมบูรณ์ หน่อแก้ว รองปลัดกระทรวงพลังงาน นายยงยุทธ จันทรโรทัย อธิบดีกรมพัฒนาพลังงานทดแทนและอนุรักษ์พลังงาน นางมีนา ศุภวิวรรธน์ ผู้ช่วยกรรมการผู้จัดการใหญ่นโยบายและบริหารผู้มีส่วนได้เสีย บริษัท ปตท. จำกัด (มหาชน) นายจรรยง วงศ์จันทร์พงษ์ ผู้ช่วยผู้ว่าการปฏิบัติการควบคุมระบบการไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทย
พร้อมด้วยข้าราชการและเจ้าหน้าที่ในสังกัดกระทรวงพลังงาน ลงพื้นที่จังหวัดร้อยเอ็ด มอบถุงยังชีพจำนวน 2,250 ชุดเพื่อช่วยเหลือบรรเทาความเดือดร้อนเบื้องต้น พร้อมให้กำลังใจ และรับฟังปัญหาความเดือดร้อนผู้ประสบภัยน้ำท่วม ที่ได้รับผลกระทบจากสถานการณ์พายุโซนร้อน “โพดุล” ในช่วงต้นเดือนกันยายนที่ผ่านมา ณ วัดสระโบสถ์ขวาว ตำบลขวาว อำเภอเสลภูมิ จังหวัดร้อยเอ็ด
นายสนธิรัตน์ สนธิจิรวงศ์ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงพลังงาน เปิดเผยว่า รัฐบาลตระหนักถึงความเดือดร้อนและมีความห่วงใยพี่น้องประชาชนที่ได้รับผลกระทบจากสถานการณ์พายุโซนร้อน “โพดุล” ขณะเดียวกันยังต้องเตรียมรับมือกับพายุลูกใหม่ “คาจิกิ” ที่อาจซ้ำเติมสถานการณ์มากขึ้น พร้อมสั่งการให้ทุกหน่วยงานเข้าไปให้ความช่วยเหลือเยียวยาเพื่อบรรเทาความเดือดร้อนในเบื้องต้นอย่างเร่งด่วน
ในส่วนของกระทรวงพลังงานได้ดำเนินการนำถุงยังชีพให้ความช่วยเหลือประชาชนที่ประสบภัยน้ำท่วมไปแล้วจำนวน 2,250 ชุด กระจายในพื้นที่ 5 อำเภอของจังหวัดร้อยเอ็ด ได้แก่ อำเภอโพนทอง เสลภูมิ ธวัชบุรี เชียงขวัญ และจังหาร
“การลงพื้นที่ในวันนี้ นอกจากจะนำถุงยังชีพ จำนวน 2,250 ชุด มามอบเพื่อเป็นการช่วยเบื้องต้นเพิ่มเติมแล้ว ยังมาให้กำลังใจและรับฟังปัญหารวมถึงความต้องความช่วยเหลือของพี่น้องประชาชน เพื่อจะนำปัญหาจากชาวบ้านที่เดือดร้อนมาประสานกับทุกหน่วยงานเร่งแก้ปัญหาบรรเทาความเดือดร้อนของประชาชนให้ได้มากที่สุด และอยากให้พี่น้องประชาชนมั่นใจว่าหลังจากสถานการณ์คลี่คลายจะเร่งประเมินภาพรวมความเสียหายเพื่อนำไปสู่การให้ความช่วยเหลือ ฟื้นฟู ทั้งที่อยู่อาศัย การประกอบอาชีพ ประชาชนในทุกพื้นที่ เพื่อให้พี่น้องประชาชนกลับมาใช้ชีวิตประจำวันได้อย่างปกติสุขต่อไป” รัฐมนตรีว่าการกระทรวงพลังงาน กล่าว
#พลังงานไทย ห่วงใยผู้ประสบภัยน้ำท่วม
#รวมน้ำใจ สู้ภัยน้ำท่วม

นายกรัฐมนตรี เป็นประธานในพิธีเปิด “การประชุมรัฐมนตรีอาเซียนด้านพลังงานครั้งที่ 37

วันที่ 4 ก.ย. 62 พลเอกประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรี เป็นประธานในพิธีเปิด “การประชุมรัฐมนตรีอาเซียนด้านพลังงานครั้งที่ 37 และการประชุมอื่นที่เกี่ยวข้อง และงาน ASEAN Energy Business Forum” ภายใต้แนวคิดหลัก “Advancing Energy Transition Through Partnership and Innovation” ร่วมมือ ร่วมใจ เพื่อพัฒนานวัตกรรมพลังงานอาเซียน ในยุคเปลี่ยนผ่านด้านพลังงานให้เข้าสู่ยุคพลังงานที่มีความยั่งยืน โดยมี นายสนธิรัตน์ สนธิจิรวงศ์ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงพลังงาน และรัฐมนตรีพลังงานอาเซียน 10 ประเทศ เข้าร่วม ณ คริสตัลฮอลล์ โรงแรม ดิแอทธินี โฮเทล ถนนวิทยุ กรุงเทพฯ

เอกสารประกอบการเข้าร่วมซ้อมแผนรองรับสภาวะฉุกเฉินด้านพลังงาน ประจำปี 2562

การแบ่งกลุ่มภารกิจ ในการสัมมนาเชิงปฏิบัติการซ้อมแผนรองรับสภาวะฉุกเฉินด้านพลังงาน ประจาปี ๒๕๖๒ คลิกที่นี่

รัฐมนตรีว่าการกระทรวงพลังงาน ร่วมจัดเตรียมถุงยังชีพ จำนวน 3,000 ถุง เพื่อช่วยเหลือและบรรเทาความเดือดร้อนให้กับประชาชนที่ประสบอุทกภัยพายุโพดุล

นายสนธิรัตน์ สนธิจิรวงศ์ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงพลังงาน พร้อมด้วย นายวิทวัส สวัสดิ์-ชูโต  ประธานเจ้าหน้าที่เทคโนโลยีและวิศวกรรม รักษาการแทนประธานเจ้าหน้าที่บริหารและกรรมการผู้จัดการใหญ่ บริษัท ปตท. จำกัด (มหาชน) ร่วมกับผู้บริหาร และพนักงาน กลุ่ม ปตท. รวมใจกันจัดเตรียมถุงยังชีพ จำนวน 3,000 ถุง เพื่อช่วยเหลือและบรรเทาความเดือดร้อนให้กับประชาชนที่ประสบอุทกภัยพายุโพดุล ณ อาคาร ปตท. สำนักงานใหญ่ ถนนวิภาวดีรังสิต

วันนี้ (3 กันยายน 2562) นายสนธิรัตน์ สนธิจิรวงศ์ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงพลังงาน กล่าวว่า “จากสถานการณ์เหตุอุทกภัย พายุโซนร้อนโพดุล ประกอบกับอิทธิพลมรสุมดีเปรสชั่น บริเวณจีนใต้ตอนบน ส่งผลกระทบทำให้เกิดน้ำท่วมฉับพลัน น้ำป่าไหลหลาก น้ำท่วมขัง และดินถล่มในพื้นที่หลายจังหวัด กระทรวงพลังงาน และกลุ่ม ปตท. มีความเป็นห่วงต่อสถานการณ์ภัยพิบัติที่เกิดขึ้นดังกล่าว จึงได้เร่งส่งมอบความช่วยเหลือเบื้องต้น พร้อมระดมพลจิตอาสา ข้าราชการกระทรวงพลังงาน คณะผู้บริหาร และพนักงานกลุ่ม ปตท. รวมทั้ง อาสาสมัครชมรมพลังไทยใจอาสา ร่วมใจกันบรรจุถุงยังชีพ จำนวน 3,000 ถุง  ซึ่งประกอบด้วยข้าวสวยหอมมะลิ อาหาร และเครื่องดื่มที่สามารถพร้อมรับประทานได้ทันทีทั้งครอบครัว รวมถึงผลิตภัณฑ์โครงการไทยเด็ด จากบริษัท ปตท. น้ำมันและการค้าปลีก จำกัด (มหาชน) ซึ่งเป็นสินค้าวิสาหกิจชุมชนท้องถิ่น อาทิ กล้วยตาก น้ำพริก อาหารสำเร็จรูป ฯลฯ และยังมีไฟฉายสำหรับเป็นอุปกรณ์ใช้งานยามฉุกเฉิน จากบริษัท โกลบอล เพาเวอร์ ซินเนอร์ยี่ จำกัด ซึ่งเป็นบริษัทในกลุ่ม ปตท. โดยจะทยอยจัดส่งถุงยังชีพให้แก่ผู้ประสบอุทกภัยในพื้นที่จังหวัดร้อยเอ็ด และขอนแก่นต่อไป”

นายวิทวัส สวัสดิ์-ชูโต ประธานเจ้าหน้าที่เทคโนโลยีและวิศวกรรม รักษาการแทนประธานเจ้าหน้าที่บริหารและกรรมการผู้จัดการใหญ่ บริษัท ปตท. จำกัด (มหาชน) (ปตท.) เปิดเผยว่า ในภาพรวม กลุ่ม ปตท. ได้ดำเนินการจัดส่งถุงยังชีพ จำนวน 3,400 ชุด และส่งมอบน้ำดื่ม จำนวน 2,520 ขวด เพื่อให้ความช่วยเหลือเบื้องต้นแก่ผู้ประสบภัยเป็นการเร่งด่วนแล้ว โดยบริษัท ปตท. น้ำมันและการค้าปลีก จำกัด (มหาชน) หรือ โออาร์ (OR) นำโดยพนักงานจิตอาสาและชุมชนโดยรอบคลังน้ำมันพิษณุโลก ได้ส่งมอบน้ำดื่ม จำนวน 1,920 ขวด  พร้อมทั้งร่วมบรรจุและกระจายถุงยังชีพ จำนวน 200 ถุง เพื่อช่วยเหลือผู้ประสบภัยในพื้นที่ อ. เนินมะปราง จ.พิษณุโลก นอกจากนี้คลังปิโตรเลียมขอนแก่น  ยังได้จัดส่งน้ำดื่ม จำนวน 600 ขวด ให้แก่ผู้ประสบภัยในพื้นที่ อ.บ้านไผ่ จ.ขอนแก่น อีกทั้ง แหล่งน้ำมันสิริกิติ์ โดยบริษัท ปตท.สผ. สยาม จำกัด ได้เตรียมพร้อมให้ความช่วยเหลือผู้ประสบอุทกภัย โดยส่งมอบ  ถุงยังชีพจำนวน 3,200 ถุง ให้กับกองทัพภาคที่ 3 แล้วเมื่อเดือนกรกฎาคมที่ผ่านมา

ทั้งนี้ โออาร์ ได้เตรียมพร้อมสำรองน้ำมันเชื้อเพลิงในทุกสถานีบริการน้ำมัน รวมถึงบริหารเส้นทางการขนส่งน้ำมันเชื้อเพลิงในพื้นที่ประสบภัย เพื่อป้องกันการขาดแคลน และพร้อมให้บริการประชาชนอย่างทั่วถึง

“กลุ่ม ปตท. ขอส่งกำลังใจให้ผู้ประสบภัยทุกคนปลอดภัย และขอร่วมเป็นอีกหนึ่งพลังในการให้ความช่วยเหลือพี่น้องประชาชน เพื่อบรรเทาความเดือดร้อนและพร้อมฝ่าวิกฤตครั้งนี้ไปได้จนกว่าสถานการณ์จะกลับเข้าสู่สภาวะปกติ” นายวิทวัส กล่าวในตอนท้าย

การประชุมเชิงปฏิบัติการเพื่อการขับเคลื่อนนโยบายพลังงานเพื่อทุกคน

กำหนดการการประชุมเชิงปฏิบัติการ  คลิกที่นี่

ถอดบทเรียนและระดมความคิดเห็นต่อแผนปฏิบัติการพัฒนาพลังงานระดับภาค คลิกที่นี่

(ร่าง) แผนปฏิบัติการพัฒนาพลังงานระดับภาค (พ.ศ. 2562 – 2565) คลิกที่นี่

การบริหารใช้การจ่ายงบประมาณปี พ.ศ. 2563 คลิกที่นี่

แนวทางการบริหารทรัพยากรเพื่อขับเคลื่อนยุทธศาสตร์ระดับภูมิภาค คลิกที่นี่

การบริหารจัดการระบบเทคโนโลยีสารสนเทศระดับจังหวัด คลิกที่นี่

เอกสารประกอบการบรรยาย โครงการสร้างความรู้ความเข้าใจและพัฒนาการสื่อสารด้านพลังงานเพื่อเจตคติที่ดีต่อการขับเคลื่อนพลังงานชุมชน  คลิกที่นี่

ระเบียบการบริหารการใช้จ่ายงบประมาณในส่วนภูมิภาค คลิกที่นี่

การประชุมรัฐมนตรีอาเซียนด้านพลังงาน ครั้งที่ 37 และการประชุมอื่นที่เกี่ยวข้อง

การประชุมรัฐมนตรีอาเซียนด้านพลังงาน ครั้งที่ 37 และการประชุมอื่นที่เกี่ยวข้อง

ความสำคัญของกรอบความร่วมมืออาเซียนด้านพลังงาน และที่มาของการประชุม AMEM

ในปี พ.ศ. 2562 ประเทศไทยดำรงตำแหน่งประธานอาเซียน และเป็นเจ้าภาพจัดการประชุมสุดยอดผู้นำอาเซียน ทั้งนี้ ในด้านพลังงานประเทศไทยจะต้องเป็นเจ้าภาพในการประชุมระดับรัฐมนตรีอาเซียนด้านพลังงาน และการประชุมอื่นที่เกี่ยวข้อง ภายในปีดังกล่าวอีกด้วย ซึ่งเป็นไปตามพันธกรณีที่กำหนดไว้ตามกฎบัตรอาเซียน (ASEAN Charter) ซึ่งกำหนดให้ประเทศสมาชิกเสริมสร้างความร่วมมือในทั้ง ๓ เสาหลักของประชาคมอาเซียนจะเป็นฐานสำคัญที่จะทำให้อาเซียนสามารถตอบสนองต่อความต้องการและผลประโยชน์ของรัฐสมาชิก โดยประเทศไทยจะทำหน้าที่เป็นประธานการประชุมรัฐมนตรีอาเซียนด้านพลังงาน ครั้งที่ 37 และการประชุมอื่นที่เกี่ยวข้อง (ASEAN Ministers on Energy Meeting and Associated Meetings: 37th AMEM) ระหว่างวันที่ 2-6 กันยายน 2562 ณ โรงแรม ดิ แอทธินี กรุงเทพฯ ตามมติที่ประชุมรัฐมนตรีอาเซียนด้านพลังงาน ครั้งที่ 36 ซึ่งสาธารณรัฐสิงคโปร์เป็นเจ้าภาพ

วัตถุประสงค์ของการจัดประชุม

การประชุมรัฐมนตรีอาเซียนด้านพลังงาน และการประชุมอื่นที่เกี่ยวข้อง มีวัตถุประสงค์เพื่อเป็นเวทีสำหรับการหารือความร่วมมือด้านพลังงานระหว่างประเทศในอาเซียน ระหว่างประเทศอาเซียนกับประเทศคู่เจรจา และระหว่างประเทศอาเซียนกับองค์กรระหว่างประเทศในประเด็นด้านพลังงานต่าง ๆ โดยกิจกรรมที่ดำเนินการร่วมกันจะช่วยส่งเสริมสร้างความมั่นคงด้านพลังงานให้ทุกประเทศมีพลังงานใช้อย่างเพียงพอต่อความต้องการ และสามารถจัดหาพลังงานได้ในราคาที่เหมาะสมต่อการเติบโตทางเศรษฐกิจและส่งเสริมคุณภาพชีวิตที่ดีของประชาชน รวมทั้ง ส่งเสริมพลังงานสะอาดที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม ซึ่งกรอบความร่วมมืออาเซียนด้านพลังงานดังกล่าว มีประเด็นใน 7 สาขาหลัก และ 1 เครือข่ายความร่วมมือที่สำคัญ ประกอบด้วย

1) ความเชื่อมโยงโครงข่ายไฟฟ้าอาเซียน

2) การพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานสำหรับขนส่งก๊าซธรรมชาติ

3) การส่งเสริมเทคโนโลยีถ่านหินสะอาด

4) การส่งเสริมพลังงานนิวเคลียร์เพื่อสันติ

5) การส่งเสริมพลังงานทดแทน

6) การส่งเสริมการใช้พลังงานอย่างมีประสิทธิภาพและอนุรักษ์พลังงาน

7) การจัดทำนโยบายและแผนอาเซียนด้านพลังงาน รวมถึง เครือข่ายความร่วมมือด้านการกำกับกิจการพลังงาน

 

กิจกรรมที่จะเกิดขึ้นระหว่างการประชุม

การจัดประชุมรัฐมนตรีพลังงานอาเซียนครั้งที่ 37 และการประชุมอื่นที่เกี่ยวข้อง กำหนดจัดขึ้นระหว่างวันที่ 2-6 กันยายน 2562 ณ กรุงเทพมหานคร ซึ่งประกอบด้วยกิจกรรม ดังนี้

1. การประชุมเจ้าหน้าที่อาวุโสเพื่อเตรียมการสำหรับการประชุมรัฐมนตรีพลังงานอาเซียน เป็นการนำประเด็นกิจกรรมความร่วมมือ ความก้าวหน้าของการดำเนินกิจกรรมตามแผนปฏิบัติการด้านพลังงานอาเซียน ผลงานของคณะทำงานย่อยทั้ง 7 สาขา ผลงานภายใต้กรอบความร่วมมือกับคู่เจรจาและองค์กรระหว่างประเทศ ร่างแถลงการณ์ร่วมต่างๆ โดยจะมีการหารือเพื่อหาบทสรุปสำหรับนำเสนอให้กับรัฐมนตรีกระทรวงพลังงาน โดยกำหนดจัดประชุมจำนวน 2 วัน ระหว่างวันที่ 2-3  กันยายน 2562

2. การประชุมระดับรัฐมนตรีพลังงานอาเซียน เป็นการสรุปกิจกรรมและผลงาน รวมทั้งข้อเสนอต่างๆ ภายใต้กรอบความร่วมมืออาเซียนด้านพลังงาน นำเสนอให้กับรัฐมนตรีพลังงานของ 10 ประเทศ เพื่อให้รับทราบและเห็นชอบแผนการดำเนินการในขั้นตอนต่อไป รวมทั้ง มีการหรือในระดับนโยบายระหว่างรัฐมนตรีพลังงานของประเทศคู่เจรจาและผู้นำองค์กรระหว่างประเทศด้านพลังงานในเรื่องการผลักดันกิจกรรมความร่วมมือในกรอบอาเซียนบวก เพื่อให้เกิดกรพัฒนาด้านพลังงานในภูมิภาคอาเซียนให้บรรลุตามเป้าหมายความมั่นคงด้านพลังงาน พลังงานเพื่อขับเคลื่อนเศรษฐกิจและพลังงานที่มีความยั่งยืนของภูมิภาคอาเซียน โดยกำหนดจัดประชุมจำนวน 2 วัน ระหว่างวันที่ 4-5  กันยายน 2562

3.การจัดงาน ASEAN Energy Business Forum (AEBF) เป็นการจัดงานคู่ขนานกับการประชุม โดยจะมีการจัดนิทรรศการด้านพลังงาน การแสดงเทคโนโลยีและนวัตกรรมด้านพลังงานจากผู้ประกอบการและสถาบันการศึกษา รวมทั้งมีการจัดสัมมนาเชิงปฏิบัติการในหัวข้อที่น่าสนใจ ซึ่งในการจัดงานครั้งนี้ กระทรวงพลังงานได้กำหนดหัวข้อหลักในการจัดงานนี้ คือ “Renewable Energy Innovation Week” ซึ่งจะมุ่งเน้นการจัดนิทรรศการและการแสดงผลงานวิชาการที่เกี่ยวข้องกับนวัตกรรมและเทคโนโลยีพลังงานทดแทน เพื่อให้เกิดการแลกเปลี่ยนเรียนรู้กับผู้เข้าชมจากกลุ่มประเทศอาเซียน ทั้งยังเป็นการเปิดโอกาสให้ผู้ประกอบการด้านพลังงานของไทยได้ประชาสัมพันธ์สินค้าและบริการด้านพลังงานที่ทันสมัยอีกด้วย โดยกำหนดจัดงาน AEBF คู่ขนานกับการจัดประชุม จำนวน 4 วัน ระหว่างวันที่ 2-5 กันยายน 2562

4. การจัดประชุมทวิภาคีระหว่างประเทศกลุ่มอาเซียนกับประเทศคู่เจรจา โดยกระทรวงพลังงานจะเปิดโอกาสให้ผู้นำระดับรัฐมนตรีพลังงานและเจ้าหน้าที่อาวุโสอาเซียนได้มีโอกาสในการพบปะเจรจากันในระหว่างการประชุม โดยประเทศต่างๆ สามารถร้องขอให้ไทยในฐานะประเทศเจ้าภาพอำนวยความสะดวกให้กับประเทศที่ต้องการประชุมทวิภาคี ในช่วงระหว่างวันที่ 2-5  กันยายน 2562

5. การจัดพิธีการมอบรางวัล ASEAN Energy Awards จัดขึ้นเป็นประจำทุกปีควบคู่กับการประชุมรัฐมนตรีพลังงานอาเซียนด้านพลังงาน เพื่อส่งเสริมและกระตุ้นให้ภาครัฐและภาคเอกชนร่วมกันผลักดันให้เกิดการขยายการผลิตและการใช้พลังงานทดแทน และผลักดันให้เกิดการส่งเสริมการอนุรักษ์พลังงาน และพลังงานถ่านหินให้กับกลุ่มผู้ประกอบการของประเทศสมาชิกอาเซียน โดยทุกปีจะมีตัวแทนจากกลุ่มประเทศอาเซียนส่งผลงาน/ผู้แทนเข้าประกวด ASEAN Energy Awards จำนวนมาก นอกจากนั้น ยังมีพิธีการประกาศเกียรติคุณรางวัลบุคคลดีเด่นด้านพลังงานในอาเซียนประจำปีเพื่อเป็นการยกย่องเชิดชูบุคลากรที่มีบทบาทสำคัญในเวทีพลังงานของภูมิภาคอาเซียนในช่วงที่ผ่านมาอีกด้วย โดยกำหนดพิธีการมอบรางวัลดังกล่าว ในวันที่ 4กันยายน 2562

ประโยชน์ที่คาดว่าจะได้รับ

การจัดประชุมรัฐมนตรีอาเซียนด้านพลังงาน ครั้งที่ 37 และการประชุมอื่นที่เกี่ยวข้อง จะเป็นการแสดงบทบาทของไทยในเวทีระหว่างประเทศเพื่อขับเคลื่อนความมั่นคงและความยั่งยืนทางพลังงานร่วมกับประเทศในภูมิภาค และยังถือเป็นการเสริมสร้างภาพลักษณ์ที่ดีของประเทศไทยในการเป็นศูนย์กลางด้านพลังงานในภูมิภาคอาเซียน

การประชุมดังกล่าว จะช่วยผลักดันและสนับสนุนให้การดำเนินการตามแผนยุทธศาสตร์ชาติ ยุทธศาสตร์กระทรวงพลังงาน แผนบูรณาการพลังงานระยะยาว 2559-2579 สามารถบรรลุเป้าหมายในการเสริมสร้างความมั่นคง มีความยั่งยืนทางด้านพลังงาน เกิดการค้า การลงทุน และการพัฒนาด้านพลังงาน ซึ่งจะสอดคล้องเป็นไปในแนวทางเดียวกันกับแผนปฏิบัติการอาเซียนด้านพลังงาน (ASEAN Plan of Action on Energy Cooperation: APAEC) พ.ศ. 2559-2568 ระยะที่ 1 พ.ศ. 2559-2563 อาทิ การซื้อขายไฟฟ้าแบบพหุภาคีระหว่าง ไทย สปป.ลาว และมาเลเซีย ซึ่งในอนาคตจะขยายไปยังประเทศอื่น ๆ การปรับมาตรฐานประสิทธิภาพพลังงานให้เป็นมาตรฐานเดียวกันในอาเซียน อาทิ อุปกรณ์ส่องสว่างและเครื่องปรับอากาศ การลดความเข้มการใช้พลังงานให้ได้ร้อยละ 20 ภายในปี พ.ศ. 2563 การผลักดันให้อาเซียนมีการใช้พลังงานทดแทนมากขึ้นเป็นร้อยละ 23 ภายในปี 2568 การปรับปรุงฐานข้อมูลอาเซียนด้านพลังงานให้เป็นมาตรฐานสากลภายในปี พ.ศ. 2563 การส่งเสริมการใช้เทคโนโลยีถ่านหินสะอาดเพื่อภาพลักษณ์ที่ดี การเสริมสร้างศักยภาพด้านพลังงานนิวเคลียร์ในด้านการกำกับดูแลเทคนิคและความปลอดภัย เป็นต้น

 

แนะนำ theme AMEM2019

แนวคิดหลักของการเป็นเจ้าภาพการจัดประชุมรัฐมนตรีอาเซียนด้านพลังงานในปีนี้คือ “Advancing Energy Transition Through Partnership and Innovation” ซึ่งจะมุ่งเน้นความร่วมมือของกลุ่มประเทศอาเซียนและประเทศคู่เจรจาในการพัฒนาเทคโนโลยีและนวัตกรรมด้านพลังงาน เพื่อให้ภูมิภาคอาเซียนสามารถก้าวเข้าสู่ยุคเปลี่ยนผ่านด้านพลังงานไปสู่พลังงานที่มีความยั่งยืนในอนาคต ซึ่งสอดคล้องกับเป้าหมายของอาเซียนที่จะสร้างความมั่นคงด้านพลังงาน เพิ่มการเข้าถึงพลังงาน และสร้างพลังงานที่มีความยั่งยืนให้กับประชาชนในภูมิภาคอาเซียน

 

ความพร้อมของการเตรียมการเป็นเจ้าภาพ

กระทรวงพลังงาน ได้ดำเนินการเตรียมความพร้อมสำหรับการเป็นเจ้าภาพจัดการประชุมภายใต้กรอบความร่วมมืออาเซียนด้านพลังงาน โดยมีคำสั่งแต่งตั้งคณะกรรมการอำนวยการจัดการประชุมรัฐมนตรีอาเซียนด้านพลังงาน ครั้งที่ 37 และการประชุมอื่นที่เกี่ยวข้อง เมื่อวันที่ 26 พฤศจิกายน 2561 โดยมีปลัดกระทรวงพลังงานเป็นประธานและมีหน่วยงานที่เกี่ยวข้องเป็นคณะกรรมการ โดยมีอำนาจหน้าที่ในการกำหนดนโยบายและแนวทางการจัดเตรียมการประชุมรัฐมนตรีอาเซียนด้านพลังงาน ครั้งที่ 37 และการประชุมอื่นที่เกี่ยวข้อง การประชุมเจ้าหน้าที่อาวุโสอาเซียนด้านพลังงาน ครั้งที่ 37 และการประชุมอื่นที่เกี่ยวข้อง และการประชุมเจ้าหน้าที่อาวุโสอาเซียนด้านพลังงานสมัยพิเศษรวมทั้งได้แต่งตั้งคณะอนุกรรมการด้านสารัตถะ พิธีการและอำนวยการ การรักษาความปลอดภัยและการจราจร การประชาสัมพันธ์ การเสนอของบประมาณ การจัดซื้อจัดจ้าง เพื่อให้การทำหน้าที่ประธานอาเซียนด้านพลังงานของไทยดำเนินไปด้วยความเรียบร้อยมีประสิทธิภาพ สามารถส่งเสริมสถานะและบทบาทของไทยในอาเซียน

ดาวน์โหลดสื่อประชาสัมพันธ์

ประชุมหารือเตรียมการซ้อมแผนรองรับสภาวะฉุกเฉินด้านพลังงาน ประจำปี 2562

วาระการประชุม คลิกที่นี่

เอกสารประกอบการประชุม คลิกที่นี่

คู่มือเตรียมพร้อมและแก้ไขปัญหาการขาดแคลนน้ำมันเชื้อเพลิงและก๊าซปิโตรเลียมเหลว กรณีปิดช่องแคบฮอร์มุซ คลิกที่นี่

รัฐมนตรีว่าการกระทรวงพลังงาน แถลงข่าวความพร้อมในการเป็นเจ้าภาพจัดการประชุมรัฐมนตรีอาเซียนด้านพลังงานครังที่ 37

ไทยประกาศความพร้อมการเป็นเจ้าภาพ AMEM ครั้งที่ 37
‘สนธิรัตน์’ ผลักดันประเทศสู่การเป็น “ศูนย์เชื่อมโยงไฟฟ้าอาเซียน”
กระทรวงพลังงาน เตรียมพร้อมจัดงาน AMEM ครั้งที่ 37 ระหว่างวันที่ 2 – 6 กันยายน 2562 ที่กรุงเทพฯ โดยนายกรัฐมนตรีของไทยจะเป็นประธานในพิธีเปิดการประชุมอย่างเป็นทางการวันที่ 4 กันยายน คาดว่าจะเป็นเวทีครั้งสำคัญเพื่อร่วมหาแนวทางบริหารจัดการพลังงานอย่างประสิทธิภาพ เสริมสร้างความมั่นคงด้านพลังงานให้ภูมิภาคอาเซียน พัฒนานวัตกรรมด้านพลังงานสู่ความยั่งยืน และยังเป็นการแสดงศักยภาพของไทยในด้านการเป็น “ศูนย์กลางพลังงานอาเซียน”

วันนี้ (22 ส.ค. 62) นายสนธิรัตน์ สนธิจิรวงศ์ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงพลังงาน เป็นประธานแถลงข่าว ความพร้อมในการเป็นเจ้าภาพจัดการประชุมรัฐมนตรีอาเซียนด้านพลังงานครังที่ 37 และการประชุมอื่นที่เกี่ยวข้อง (ASEAN Ministers on Energy Meeting and Associated Meeting : 37th AMEM) โดยกล่าวว่า การประชุม AMEM จะมีขึ้นระหว่างวันที่ 2 – 6 กันยายน 2562 โดยประเทศไทยในฐานะประธานอาเซียนปี พ.ศ. 2562 จะเป็นเจ้าภาพจัดเวทีประชุมสร้างความร่วมมือ 3 กลุ่มผู้เล่นด้านพลังงานคือ เวทีระหว่างประเทศอาเซียน 10 ประเทศ เวทีระหว่างประเทศอาเซียนกับประเทศคู่เจรจา และเวทีระหว่างประเทศอาเซียนกับองค์กรระหว่างประเทศในประเด็นพลังงานต่างๆ ซึ่งในปีนี้มีแนวคิดหลัก (Theme) ของการประชุม AMEM คือ “Advancing Energy Transition Through Partnership and Innovation” คือมุ่งเน้นความร่วมมือของกลุ่มประเทศอาเซียนและประเทศคู่เจรจา รวมทั้งองค์กรระหว่างประเทศ ในการพัฒนาเทคโนโลยีและนวัตกรรมด้านพลังงาน เพื่อให้ภูมิภาคอาเซียนสามารถก้าวเข้าสู่ยุคเปลี่ยนผ่านด้านพลังงานไปสู่พลังงานที่มีความยั่งยืนในอนาคต ซึ่งสอดคล้องกับเป้าหมายของอาเซียนที่จะสร้างความมั่นคงด้านพลังงาน เพิ่มการเข้าถึงพลังงาน และสร้างพลังงานที่มีความยั่งยืนให้กับประชาชนในภูมิภาคอาเซียน

เวทีการประชุมในช่วงแรกวันที่ 2 – 3 กันยายน จะเป็นการประชุมเจ้าหน้าที่อาวุโสอาเซียน เพื่อเตรียมการสำหรับการประชุมรัฐมนตรีพลังงานอาเซียน ส่วนการประชุมระดับรัฐมนตรีพลังงานอาเซียน จะมีขึ้นในวันที่ 4 – 5 กันยายน โดยจะมีนายกรัฐมนตรี พลเอกประยุทธ์ จันทร์โอชา เป็นประธานเปิดการประชุม ซึ่งประเด็นหารือจะเป็นการสรุปกิจกรรมและผลงานรวมทั้งข้อเสนอต่างๆ ภายใต้กรอบความร่วมมืออาเซียนด้านพลังงานนำเสนอต่อรัฐมนตรีพลังงานของ 10 ประเทศ เพื่อรับทราบและเห็นชอบแผนดำเนินการในขั้นตอนต่อไป ส่วนการจัดประชุม ทวิภาคีระหว่างประเทศอาเซียนกับประเทศคู่เจรจา กระทรวงพลังงานจะเปิดโอกาสให้ผู้นำระดับรัฐมนตรีพลังงานและเจ้าหน้าที่อาวุโสอาเซียนได้พบปะเจรจาระหว่างการประชุม
นายสนธิรัตน์กล่าวว่า “การประชุม AMEM ครั้งนี้เป็นเวทีที่ไทยจะได้แสดงบทบาทในการขับเคลื่อนความมั่นคง และความยั่งยืนทางพลังงานร่วมกับประเทศในภูมิภาค และยังเป็นโอกาสที่ไทยจะได้แสดงศักยภาพให้นานาชาติประจักษ์ถึงความพร้อมในการเป็นศูนย์เชื่อมโยงไฟฟ้าอาเซียน โดยอาศัยจุดแข็งที่มีอยู่เช่น ภาคการเกษตรของไทยที่สามารถพัฒนาผลิตเป็นพลังงานชีวภาพรูปแบบต่างๆ รวมทั้งจุดแข็งด้านภูมิรัฐศาสตร์ของประเทศที่จะเชื่อมโยงการลงทุนจากทุกภูมิภาคได้ ซึ่งในการประชุมครั้งนี้่จะมีความร่วมมือที่เกิดขึ้นอย่างเป็นรูปธรรม ได้แก่ การขยายปริมาณการซื้อขายไฟฟ้่าเชื่อมโยงโครงข่ายไฟฟ้าพหุภาคีในโครงการลาว – ไทย – มาเลเซีย (LTM – PIP) จากเดิม 100 เมกะวัตต์เป็น 300 เมกะวัตต์ ซึ่งไทยเป็นประเทศทางผ่านของการเชื่อมโยงระบบสายส่งที่มีเสถียรภาพและความมั่นคงเพียงพอ”
นอกเหนือจากเวทีประชุมความร่วมมือดังกล่าว ยังมีการจัดกิจกรรม ASEAN Energy Business Forum (AEBF) คู่ขนานไปกับการประชุมหลัก โดยจะเป็นงานนิทรรศการ และการแสดงเทคโนโลยีและนวัตกรรมด้านพลังงานจากผู้ประกอบการ รวมทั้งการจัดสัมมนาภายใต้หัวข้อหลัก “Renewable Energy Innovation Week” เพื่อแลกเปลี่ยนองค์ความรู้กับผู้เชี่ยวชาญจากประเทศอาเซียนและประเทศต่าง ๆ อีกทั้งยังเปิดโอกาสให้ภาครัฐและภาคเอกชนได้มีส่วนร่วมในการบูรณาการเพื่อส่งเสริมนวัตกรรมด้านพลังงานหมุนเวียนและดึงดูดนักลงทุน รวมทั้งจะมีการจัดพิธีมอบรางวัล ASEAN Energy Awards ซึ่งจัดขึ้นเป็นประจำทุกปีควบคู่กับการประชุม AMEM เพื่อส่งเสริมและกระตุ้นให้ภาครัฐและภาคเอกชนร่วมกันผลักดันให้เกิดการขยายการผลิตและการใช้พลังงานทดแทน และผลักดันให้เกิดการส่งเสริมการใช้พลังงานอย่างมีประสิทธิภาพและการอนุรักษ์พลังงาน

37th AMEM ประโยชน์ที่คาดว่าจะได้รับ
การประชุม AMEM ครั้งที่ 37 จะมีส่วนช่วยผลักดันและสนับสนุนให้การดำเนินการตามยุทธศาสตร์ชาติ ยุทธศาสตร์กระทรวงพลังงาน แผนบูรณาการพลังงานระยะยาว 2559 – 2579 บรรลุเป้าหมายในการเสริมสร้างความมั่นคง มีความยั่งยืนทางด้านพลังงาน เกิดการค้า การลงทุน และการพัฒนาด้านพลังงาน สอดคล้องเป็นไปในแนวทางเดียวกันกับแผนปฏิบัติการอาเซียนด้านพลังงาน (ASEAN Plan of Action on Energy Cooperation: APAEC) พ.ศ. 2559 – 2568 ระยะที่ 1 พ.ศ. 2559 – 2563 อาทิ การขยายปริมาณรับซื้อไฟฟ้าโครงการ LTM-PIP จำนวน 300 เมกะวัตต์ การปรับมาตรฐานประสิทธิภาพพลังงานให้เป็นมาตรฐานเดียวกันในอาเซียน อาทิ อุปกรณ์ส่องสว่างและเครื่องปรับอากาศ การลดความเข้มการใช้พลังงานให้ได้ร้อยละ 20 ภายในปี พ.ศ. 2563 การผลักดันให้อาเซียนมีการใช้พลังงานทดแทนมากขึ้นเป็นร้อยละ 23 ภายในปี 2568 การปรับปรุงฐานข้อมูลอาเซียนด้านพลังงานให้เป็นมาตรฐานสากลภายในปี พ.ศ. 2563 การส่งเสริมการใช้เทคโนโลยีถ่านหินสะอาดเพื่อภาพลักษณ์ที่ดี การเสริมสร้างศักยภาพด้านพลังงานนิวเคลียร์ในด้านการกำกับดูแลเทคนิคและความปลอดภัย เป็นต้น
สำหรับกรอบความร่วมมืออาเซียนด้านพลังงานมี 7 สาขา และ 1 เครือข่ายความร่วมมือที่สำคัญ ประกอบด้วย 1) ความเชื่อมโยงโครงข่ายไฟฟ้าอาเซียน 2) การพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานสำหรับขนส่งก๊าซธรรมชาติ 3) การส่งเสริมเทคโนโลยีถ่านหินสะอาด 4) การส่งเสริมพลังงานนิวเคลียร์เพื่อสันติ 5) การส่งเสริมพลังงานทดแทน 6) การส่งเสริมการใช้พลังงานอย่างมีประสิทธิภาพและอนุรักษ์พลังงาน 7) การจัดทำนโยบายและแผนอาเซียนด้านพลังงาน รวมถึงเครือข่ายความร่วมมือด้านการกำกับกิจการพลังงาน

ปลัดกระทรวงพลังงาน เป็นประธานการประชุมการประชุมคณะกรรรมการทบทวนโครงสร้าง บทบาท อำนาจ และภารกิจของกระทรวงพลังงาน

วันนี้ (20 ส.ค. 62) นายกุลิศ สมบัติศิริ ปลัดกระทรวงพลังงาน เป็นประธานการประชุมการประชุมคณะกรรรมการทบทวนโครงสร้าง บทบาท อำนาจ และภารกิจของกระทรวงพลังงาน ณ ห้องประชุม 2 ชั้น 15 ศูนย์เอนเนอร์ยี่คอมเพล็กซ์ อาคารบี โดยมีผู้บริหารระดับสูงกระทรวงพลังงานเข้าร่วมอย่างพร้อมเพรียง

ทั้งนี้ ปลัดกระทรวงพลังงาน มอบหมายสรุปประเด็นเพื่อสร้างความชัดเจนภารกิจสำคัญของกระทรวงพลังงาน สร้างมาตรฐานในการทำงาน

รองนายกฯ “สมคิด จาตุศรีพิทักษ์” มอบนโยบายกระทรวงพลังงาน

รองนายกฯ “สมคิด จาตุศรีพิทักษ์” มอบนโยบายกระทรวงพลังงาน เน้นสร้างความมั่นคงด้านการจัดหาพลังงานเพื่อสู่การเป็นฮับพลังงานอาเซียน ใช้ความแข็งแกร่งของ ปตท. เป็นหัวหอกช่วยเหลือผู้มีรายได้น้อยและเกษตรกร การสนับสนุน Start Up ด้านพลังงาน และการใช้ Big Data อย่างจริงจังมาบริหารจัดการวางนโยบายพลังงานให้สอดคล้องกับพฤติกรรมประชาชนที่ปรับเปลี่ยนไปในยุคปัจจุบัน 

วันนี้ (15 ส.ค.62) ดร.สมคิด จาตุศรีพิทักษ์ รองนายกรัฐมนตรี เป็นประธานการประชุมและมอบนโยบายด้านพลังงานแก่กระทรวงพลังงาน โดยมีนายสนธิรัตน์ สนธิจิรวงศ์ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงพลังงาน นายกุลิศ สมบัติศิริ ปลัดกระทรวงพลังงาน พร้อมผู้บริหารและเจ้าหน้าที่ของหน่วยงานในสังกัดกระทรวงพลังงานให้การต้อนรับและร่วมรับมอบนโยบาย โดยรองนายกรัฐมนตรีได้ให้ความสำคัญโดยสรุป ดังนี้

-เรื่องการจัดหาพลังงานมีความสำคัญ เพราะไม่ใช่เพียงการบริหารพลังงานแหล่งปิโตรเลียมในประเทศเท่านั้น ในเชิงยุทธศาสตร์ต้องมองระดับภูมิภาคด้วย เพราะไทยอยู่ในตำแหน่งภูมิรัฐศาสตร์ที่สำคัญ สามารถเป็นศูนย์กลางเป็นผู้นำด้านพลังงานอาเซียนได้

-กองทุนด้านพลังงานที่มีอยู่ เช่น กองทุนน้ำมันเชื้อเพลิงซึ่งอดีตเคยแบกหนี้นับแสนล้านบาท ปัจจุบันราคาน้ำมันอยู่ในช่วงขาลง มีเงินสะสมอยู่ในกองทุนน้ำมันฯ ซึ่งรวมถึงกองทุนเพื่อส่งเสริมการอนุรักษ์พลังงาน ก็น่าจะใช้เวลาช่วงนี้เป็นโอกาสนำงบที่มีอยู่ตามกองทุนพลังงานต่างๆ ไปพัฒนานโยบายด้านพลังงานทางเลือกเพื่อให้เกิดความยั่งยืน เพราะการพึ่งพาฟอสซิลคงอยู่ไม่ได้นานถึง 20 ปี

-เรื่องการดูแลค่าครองชีพด้านพลังงาน เป็นมิติด้านเศรษฐกิจที่ช่วยลดความเหลื่อมล้ำและเพิ่มขีดความสามารถในการแข่งขัน มอบเรื่องนี้ให้เป็นเรื่องเร่งด่วน เพราะเรื่องค่าพลังงาน หรือแม้แต่ระบบภาษีจะใช้มาตรฐานเดียวกันระหว่างคนมีรายได้น้อย กับคนรวยเป็นเรื่องไม่ถูกต้อง เราจะใช้มาตรฐานแบบต่างชาติกำหนดไม่ได้ ควรดูให้เหมาะกับทางปฏิบัติกับสังคมไทยมากกว่า พร้อมมอบภารกิจ ให้ ปตท. และรัฐวิสาหกิจในเครือเป็นหัวหอกด้านการจัดทำโมเดลธุรกิจให้ชาวบ้านหรือชุมชนเข้ามามีส่วนร่วม เช่น ผ่านช่องทางปั๊มน้ำมันของปตท. โดยเปิดให้เป็นสถานที่กลางในการซื้อขายสินค้าของชาวบ้าน ซึ่งรวมถึงเรื่องปุ๋ยที่เป็นต้นทุนหลักของเกษตรกรด้วย หรือโมเดลการทำธุรกิจห้องเย็นสำหรับเก็บรักษาผลไม้ในแหล่งที่เป็นศูนย์กลาง เช่น ที่จ.ระยอง และชุมพร โดยมองว่า ปตท.และรัฐวิสาหกิจในเครือ จะต้องมีบทบาทเป็นหน่วยงานที่จรรโลงสังคมด้วย ไม่ใช่องค์กรเพื่อแสวงกำไรอย่างเดียว ซึ่งหากได้ดำเนินการในเรื่องเหล่านี้คืนกลับสู่สังคม ปตท.ก็จะถูกโจมตีน้อยลงแน่นอน

รองปลัดกระทรวงพลังงาน เป็นประธานเปิดงาน “จิตอาสาพลังงาน เราทำความดีด้วยหัวใจ”

ก.พลังงานโรดโชว์กิจกรรมจิตอาสาฯ รร.ทีปังกรฯ วัดประดู่ หนุนครู-นักเรียนสร้างเครือข่ายประหยัดพลังงานสู่ครอบครัว-ชุมชน

(วันนี้ 9 ส.ค.62) นายสมบูรณ์ หน่อแก้ว รองปลัดกระทรวงพลังงาน เป็นประธานเปิดงาน “จิตอาสาพลังงาน เราทำความดีด้วยหัวใจ” ที่โรงเรียนทีปังกรวิทยาพัฒน์ (วัดประดู่) ในพระราชูปถัมภ์ฯ ซึ่งเป็นกิจกรรมเฉลิมพระเกียรติเนื่องในโอกาสมหามงคลพระราชพิธีบรมราชาภิเษกฯ ในชื่อโครงการส่งเสริมและสนับสนุนการเพิ่มประสิทธิภาพพลังงานในโรงเรียนทีปังกรวิทยาพัฒน์ในพระราชูปถัมภ์ฯ โดยกระทรวงพลังงานร่วมกับกลุ่มโรงเรียนทีปังกรวิทยาพัฒน์ในพระราชูปถัมภ์ฯ 6 แห่งจัดกิจกรรมดังกล่าวมีเป้าหมายเพื่อส่งเสริมและสนับสนุนโรงเรียน ครู และนักเรียน เรียนรู้เรื่องการใช้พลังงานอย่างมีประสิทธิภาพและประหยัดพลังงาน และเป็นเครือข่ายพลังงานขยายผลสู่ครอบครัวและชุมชนต่อไป
สำหรับวันนี้เป็นการจัดกิจกรรมจิตอาสาพลังงานครั้งที่ 2 ที่โรงเรียนทีปังกรวิทยาพัฒน์ (วัดประดู่) ในพระราชูปถัมภ์ฯ อำเภออัมพวา จังหวัดสมุทรสงคราม ซึ่งเป็นโรงเรียนระดับประถมศึกษาตั้งแต่ระดับอนุบาล-ประถมศึกษาปีที่ 6 มีนักเรียน 141 คน ที่ผ่านมาโรงเรียนฯได้ดำเนินการด้านการอนุรักษ์พลังงานต่างๆ เช่น รณรงค์การปิดน้ำ-ไฟตามเวลาที่กำหนด และการปิดเครื่องปรับอากาศก่อนเวลา เป็นต้น โดยกิจกรรมที่กระทรวงพลังงานจะเข้าไปสนับสนุน อาทิ การติดตั้งเปลี่ยนอุปกรณ์ไฟฟ้าที่อนุรักษ์พลังงาน และการใช้พลังงานทดแทนโดยสนับสนุนงบประมาณสำหรับโรงเรียนติดตั้งระบบผลิตไฟฟ้าจากเซลล์แสงอาทิตย์ ติดตั้งเปลี่ยนเครื่องปรับอากาศแบบอินเวอร์เตอร์ การเปลี่ยนหลอดไฟฟ้าแบบ LED การติดตั้งระบบ IOT (Internet Of Things) การปลูกต้นไม้เพิ่มพื้นที่สีเขียว

โดยภายในงานจะมีกิจกรรมจิตอาสา เช่น กรมธุรกิจพลังงาน กับกิจกรรม “การใช้ก๊าซหุงต้มปลอดภัย (LPG SAFETY)” ซึ่งจะมีการปรับเปลี่ยนอุปกรณ์ สำหรับก๊าซหุงต้มในร้านค้าที่โรงเรียน และชุมชนในโครงการ และกิจกรรมของการไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทย (กฟผ.) กับการสำรวจตรวจสอบอุปกรณ์ไฟฟ้าภายในชุมชน และการนำร่องเปลี่ยนหลอดไฟประหยัดพลังงาน ทั้งนี้เพื่อช่วยให้เกิดการประหยัดพลังงาน และค่าใช้จ่ายด้านพลังงานอย่างเป็นรูปธรรม โดยคาดว่าจะเกิดผลประหยัดไฟฟ้าให้กับโรงเรียนทีปังกรวิทยาพัฒน์ฯ วัดประดู่ ในภาพรวมไม่น้อยกว่า 30% เมื่อเปรียบเทียบกับปี 2561
อนึ่ง กิจกรรมจิตอาสาพลังงานฯ นี้กระทรวงพลังงานดำเนินการร่วมกับกลุ่มโรงเรียนทีปังกรวิทยาพัฒน์ทั่วประเทศรวม 6 แห่ง ซึ่งมีนักเรียนรวมประมาณ 5,800 คน มีค่าใช้จ่ายด้านพลังงานไฟฟ้าที่สูง มีการใช้พลังงานที่ยังไม่มีประสิทธิภาพเพียงพอ เนื่องจากอุปกรณ์ไฟฟ้าทีใช้มีสภาพเก่าและขาดการดูแลบำรุงรักษา ซึ่งจะดำเนินการให้ครบทั้ง 6 แห่งในปีนี้ #พลังงานเพื่อทุกคน #พลังงานขับเคลื่อนชีวิต

…………..………………………………………………

รัฐมนตรีว่าการกระทรวงพลังงาน ร่วมพิธีถวายพระพรชัยมงคลสมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ พระบรมราชินีนาถ พระบรมราชชนนีพันปีหลวง

วันนี้ (7 ส.ค. 62) นายสนธิรัตน์ สนธิจิรวงศ์ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงพลังงาน นำคณะผู้บริหารระดับสูง ข้าราชการ เจ้าหน้าที่กระทรวงพลังงาน และหน่วยงานในสังกัด เข้าร่วมพิธีถวายพระพรชัยมงคลสมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ พระบรมราชินีนาถ พระบรมราชชนนีพันปีหลวง เนื่องในวันเฉลิมพระชนมพรรษา 12 สิงหาคม 2562 ณ บริเวณ LOBBY อาคารบี ศูนย์เอนเนอร์ยี่คอมเพล็กซ์

#พลังงานเพื่อทุกคน
#พลังงานขับเคลื่อนชีวิต

รัฐมนตรีว่าการกระทรวงพลังงาน ร่วมพิธีจุดเทียนชัยถวายพระพรชัยมงคลแด่พระบาทสมเด็จพระวชิรเกล้าเจ้าอยู่หัว

วันนี้ (28 ก.ค. 62) นายสนธิรัตน์ สนธิจิรวงศ์ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงพลังงาน พร้อมด้วยนายกุลิศ สมบัติศิริ ปลัดกระทรวงพลังงาน ข้าราชการ เจ้าหน้าที่กระทรวงพลังงาน และหน่วยงานในสังกัด เข้าร่วมพิธีจุดเทียนชัยถวายพระพรชัยมงคลแด่พระบาทสมเด็จพระวชิรเกล้าเจ้าอยู่หัว ณ บริเวณมณฑลพิธีท้องสนามหลวง

รมว.พลังงาน เร่งมาตรการพัฒนาโซล่าร์เซลล์สูบน้ำบาดาล ช่วยบรรเทาวิกฤตภัยแล้ง

รมว.พลังงาน เร่งมาตรการพัฒนาโซล่าร์เซลล์สูบน้ำบาดาล ช่วยบรรเทาวิกฤตภัยแล้งทั้งจังหวัดภาคเหนือและอีสาน มุ่งสู่เป้าหมาย 1,450 ระบบทั่วประเทศ

นายสนธิรัตน์ สนธิจิรวงศ์ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงพลังงาน เปิดเผยว่า กระทรวงพลังงานห่วงใยวิกฤตภัยแล้งในขณะนี้ และได้สั่งการให้พลังงานจังหวัดตรวจสอบสถานการณ์ในพื้นที่ตลอดสัปดาห์ที่ผ่านมา เพื่อใช้เครื่องมือด้านพลังงานเข้าไปช่วยเหลือ แบ่งเบาความเดือดร้อนให้แก่ชาวบ้านและชุมชน โดยล่าสุดได้เร่งรัดมาตรการ “โครงการระบบสูบน้ำพลังงานแสงอาทิตย์เพื่อการเกษตร” ให้เข้าไปช่วยดึงน้ำบาดาลขึ้นมาใช้ประโยชน์ต่อการอุปโภคบริโภค ให้พี่น้องประชาชนในพื้นที่วิกฤตได้รวดเร็วและมีประสิทธิภาพมากที่สุด

“ผมได้ขอให้พลังงานจังหวัด เร่งนำระบบสูบน้ำพลังงานแสงอาทิตย์เพื่อการเกษตร ใช้แผงโซล่าร์เซลล์ซึ่งติดตั้งเสร็จแล้วในพื้นที่ต่างๆ มาใช้ประโยชน์อย่างเต็มศักยภาพ โดยเฉพาะในช่วงที่มีแสงแดดแรงและฝนยังไม่ตกต้องตามฤดูกาล ช่วยสูบน้ำบาดาลขึ้นมาบรรเทาปัญหาพี่น้อง ชาวสวน ชาวไร่ ชาวนา และชาวบ้าน ซึ่งกำลังเผชิญภัยแล้งอย่างหนัก”

ทั้งนี้ สำนักงานกองทุนเพื่อส่งเสริมการอนุรักษ์พลังงานผู้ดำเนินโครงการระบบสูบน้ำพลังงานแสงอาทิตย์เพื่อการเกษตร มาตั้งแต่ปี 2561 จนถึงปัจจุบัน ณ วันที่ 26 กรกฎาคม 2562 ได้อนุมัติโครงการฯ ไปแล้วให้กับ 160 หน่วยงาน รวมทั้งสิ้น 1,450 ระบบ ทั่วประเทศ อาทิ พื้นที่จังหวัดบุรีรัมย์ จังหวัดสุรินทร์ จังหวัดร้อยเอ็ด จังหวัดพิจิตร จังหวัดมหาสารคาม จังหวัดเชียงใหม่ และจังหวัดอุบลราชธานี ฯลฯ

 

ปัจจุบัน ได้มีการก่อสร้างและติดตั้งระบบสูบน้ำที่สำคัญ เช่น แผงพลังงานแสงอาทิตย์หรือแผงโซล่าเซลล์ พร้อมอุปกรณ์สนับสนุนต่างๆ แล้วเสร็จเป็นจำนวน 119 ระบบ และในเดือนสิงหาคม 2562 นี้ จะดำเนินการแล้วเสร็จเพิ่มเติมอีก 509 ระบบ ส่วนเดือนกันยายน 2562 จะแล้วเสร็จอีก 529 ระบบ ทั้งนี้ ทางสำนักงานกองทุนเพื่อส่งเสริมการอนุรักษ์พลังงาน จะเร่งรัดดำเนินการติดตั้งแผงโซล่าร์เซลล์ตามเป้าหมายภายให้ได้ในสิ้นปีนี้

ปลัดกระทรวงพลังงาน ร่วมลงนามถวายพระพรพระบาทสมเด็จพระวชิรเกล้าเจ้าอยู่หัว เนื่องในโอกาสวันเฉลิมพระชนมพรรษา

วันนี้ (28 ก.ค. 62) นายกุลิศ สมบัติศิริ ปลัดกระทรวงพลังงาน พร้อมด้วยผู้บริหารระดับสูงของกระทรวงพลังงาน ร่วมลงนามถวายพระพรพระบาทสมเด็จพระวชิรเกล้าเจ้าอยู่หัว เนื่องในโอกาสวันเฉลิมพระชนมพรรษา ณ พระบรมมหาราชวัง

รัฐมนตรีว่าการกระทรวงพลังงาน ร่วมพิธีทำบุญตักบาตรเนื่องในโอกาสวันเฉลิมพระชนมพรรษาพระบาทสมเด็จพระวชิรเกล้าเจ้าอยู่หัว

วันนี้ (28 ก.ค. 62) นายสนธิรัตน์ สนธิจิรวงศ์ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงพลังงาน พร้อมด้วยนายกุลิศ สมบัติศิริ ปลัดกระทรวงพลังงาน และผู้บริหารระดับสูงของกระทรวงพลังงาน เข้าร่วมพิธีทำบุญตักบาตรถวายเป็นพระราชกุศล เนื่องในโอกาสวันเฉลิมพระชนมพรรษาพระบาทสมเด็จพระวชิรเกล้าเจ้าอยู่หัว ประจำปีพุทธศักราช 2562 ณ ท้องสนามหลวง

รัฐมนตรีว่าการกระทรวงพลังงาน ร่วมพิธีถวายพระพรชัยมงคล  ถวายสัตย์ปฏิญาณเพื่อเป็นข้าราชการที่ดีของแผ่นดิน และทำบุญตักบาตร

กระทรวงพลังงาน จัดพิธีถวายพระพรชัยมงคล
ถวายสัตย์ปฏิญาณเพื่อเป็นข้าราชการที่ดีของแผ่นดิน และทำบุญตักบาตร

วันนี้ (26 ก.ค.62) นายสนธิรัตน์ สนธิจิรวงศ์ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงพลังงาน
นำคณะผู้บริหารระดับสูง ข้าราชการ และเจ้าหน้าที่กระทรวงพลังงาน และหน่วยงานในสังกัด 
ถวายพระพรชัยมงคล และถวายสัตย์ปฏิญาณเพื่อเป็นข้าราชการที่ดีของแผ่นดิน พร้อมทำบุญตักบาตรพระสงฆ์รวมจำนวน 68 รูป
เพื่อถวายเป็นพระราชกุศล แด่พระบาทสมเด็จพระวชิรเกล้าเจ้าอยู่หัว เนื่องในวันเฉลิมพระชนมพรรษา 67 พรรษา 28 กรกฎาคม 2562
ณ บริเวณ LOBBY อาคารบี ศูนย์เอนเนอร์ยี่คอมเพล็กซ์

รัฐมนตรีว่าการกระทรวงพลังงาน เดินหน้าโครงการ “จิตอาสาพลังงาน เราทำความดีด้วยหัวใจ”

รมว.สนธิรัตน์ เดินหน้าโครงการ “จิตอาสาพลังงาน เราทำความดีด้วยหัวใจ” ผนึกกระทรวงศึกษาฯ ดึงเครือข่ายพลังงาน พพ.-ปตท.-กฟผ. ร่วมเพิ่มประสิทธิภาพการใช้พลังงานให้ รร. ทีปังกรวิทยาพัฒน์ฯ 6 แห่ง ทั่วประเทศ

กระทรวงพลังงาน โดย พพ. ร่วมกับ กระทรวงศึกษาธิการ ปตท. และกฟผ. ระดมเครือข่ายพลังงานร่วมประกาศเจตนารมณ์เดินหน้า โครงการ “จิตอาสาพลังงาน เราทำความดีด้วยหัวใจ” นำระบบเทคโนโลยี IoT บริหารจัดการพลังงานไฟฟ้าพร้อมติดตั้งโซลาร์เซลล์ ในอาคารสถานศึกษาของโรงเรียนทีปังกรวิทยาพัฒน์ในพระราชูปถัมภ์ฯ จำนวน 6 แห่งทั่วประเทศ เนื่องในโอกาสมหามงคลพระราชพิธีบรมราชาภิเษก ตั้งเป้าลดการใช้พลังงานให้ได้ไม่น้อยกว่า 30 %

วันนี้ (25 ก.ค. 2562) นายสนธิรัตน์ สนธิจิรวงศ์ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงพลังงาน เป็นประธานกล่าวเปิดงาน พิธีลงนามบันทึกข้อตกลงความร่วมมือแสดงเจตนารมณ์ร่วมกันในการดำเนินโครงการส่งเสริมและสนับสนุนการเพิ่มประสิทธิภาพพลังงานในโรงเรียนทีปังกรวิทยาพัฒน์ในพระราชูปถัมภ์ฯ เนื่องในโอกาสมหามงคลพระราชพิธีบรมราชาภิเษก “จิตอาสาพลังงาน เราทำความดีด้วยหัวใจ”ระหว่างกระทรวงพลังงาน กระทรวงศึกษาธิการ บริษัท ปตท. จำกัด (มหาชน) การไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทย(กฟผ.) ในการส่งเสริมและสนับสนุนการเพิ่มประสิทธิภาพพลังงานด้วยการติดตั้งเทคโนโลยีและนวัตกรรมในอาคารเรียน และอาคารสถานศึกษาของโรงเรียนทีปังกรวิทยาพัฒน์ในพระราชูปถัมภ์ฯ จำนวน 6 แห่ง ในรูปแบบการสนับสนุนโรงเรียนสำหรับการติดตั้งอุปกรณ์หรือเปลี่ยนอุปกรณ์ด้านการอนุรักษ์พลังงานและการใช้พลังงานทดแทน โดยเฉพาะการติดตั้งระบบผลิตไฟฟ้าจากเซลล์แสงอาทิตย์ หรือโซลาร์เซลล์ และ การติดตั้งระบบ IoT (Internet of Thing) เพื่อช่วยติดตามควบคุมหรือบริหารจัดการด้านพลังงานที่จะเป็นการช่วยให้เกิดการประหยัดพลังงานและลดค่าใช้จ่ายได้อย่างเป็นรูปธรรม โดยมีกิจกรรมจิตอาสา เช่น กรมธุรกิจพลังงาน กับกิจกรรม “การใช้ก๊าซหุงต้มปลอดภัย (LPG SAFETY)” ซึ่งจะมีการปรับเปลี่ยนอุปกรณ์ สำหรับก๊าซหุงต้มในร้านค้าที่โรงเรียน และชุมชนในโครงการจำนวน 24 ชุด และกิจกรรมของการไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทย (กฟผ.) กับการสำรวจตรวจสอบอุปกรณ์ไฟฟ้าภายในชุมชน และการนำร่องเปลี่ยนหลอดไฟประหยัดพลังงาน
นายยงยุทธ จันทรโรทัย อธิบดีกรมพัฒนาพลังงานทดแทนและอนุรักษ์พลังงาน กล่าวว่า กระทรวงพลังงาน โดย พพ.ได้ร่วมลงนามพิธีบันทึกข้อตกลงความร่วมมือฯ ดังกล่าว โดยจะเข้าไปดำเนินการปรับเปลี่ยนอุปกรณ์ไฟฟ้าที่มีประสิทธิภาพด้านพลังงานมาทดแทนอุปกรณ์เดิมที่มีสภาพการใช้งานมาอย่างยาวนานที่ขาดการบำรุงรักษา เช่น การติดตั้ง หรือเปลี่ยนเครื่องปรับอากาศแยกส่วนประเภท อินเวอร์เตอร์ การติดตั้งหรือเปลี่ยนเครื่องปรับอากาศระบบแปรผันน้ำยา (VRF) การเปลี่ยนหลอดไฟฟ้า LED เป็นต้น โดยที่ผ่านมาพบว่าโรงเรียนทั้ง 6 แห่ง มีปริมาณการใช้พลังงานและมีค่าใช้จ่ายด้านพลังงานไฟฟ้าต่อปีเฉลี่ยอยู่ที่ 630,777 หน่วย/แห่ง/ปี คิดเป็นเงิน 2,172,720 บาท/แห่ง/ปี ดังนั้น ความร่วมมือกันในครั้งนี้จึงถือเป็นการดำเนินการโดยเครือข่ายจิตอาสาพลังงาน จากกระทรวงพลังงาน โดยมีเป้าหมายที่จะลดการใช้พลังงานให้ได้ไม่น้อยกว่า 30 % เมื่อเทียบกับการใช้พลังงานจากปี 2561 “นอกเหนือจากการปรับเปลี่ยนอุปกรณ์ให้กับสถาบันการศึกษา ยังถือเป็นการรณรงค์เพื่อให้ตระหนักรู้เรื่องการประหยัดพลังงานผ่าน ครู นักเรียน ที่จะเป็นเครือข่ายด้านพลังงาน เพื่อนำไปถ่ายทอดและขยายผลไปสู่ครอบครัวและชุมชนโดยรอบต่อไป” นายยงยุทธกล่าว สำหรับโรงเรียนทีปังกรวิทยาพัฒน์ในพระราชูปถัมภ์ฯ เป็นกลุ่มโรงเรียนทั้ง 6 แห่ง ประกอบด้วย

1. โรงเรียนทีปังกรวิทยาพัฒน์ (วัดโบสถ์) ในพระราชูปถัมภ์ฯ เขตดุสิต กรุงเทพ

2. โรงเรียนทีปังกรวิทยาพัฒน์ (วัดน้อยใน) ในพระราชูปถัมภ์ฯ เขตตลิ่งชัน กรุงเทพ

3. โรงเรียนทีปังกรวิทยาพัฒน์ (ทวีวัฒนา)ในพระราชูปถัมภ์ฯ เขตทวีวัฒนา กรุงเทพ

4. โรงเรียนทีปังกรวิทยาพัฒน์ (วัดประดู่) ในพระราชูปถัมภ์ฯ จังหวัดสมุทรสงคราม

5.โรงเรียนทีปังกรวิทยาพัฒน์ (มัธยมวัดหัตถสารเกษตร) ในพระราชูปถัมภ์ฯ จังหวัดปทุมธานี และ

6. โรงเรียนทีปังกรวิทยาพัฒน์ (วัดสุนทรสถิต) ในพระราชูปถัมภ์ฯ จังหวัดสมุทรสาคร

ซึ่งเป็นกลุ่มโรงเรียนที่มีการเรียนการสอนตั้งแต่ระดับชั้นอนุบาล ถึงชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 6 มีนักเรียนรวมกันจำนวนกว่า 5,800 คน ในโรงเรียนได้ดำเนินการอนุรักษ์พลังงานในด้านต่างๆ ได้แก่ รณรงค์สร้างความตระหนักรู้การประหยัดพลังงานให้แก่นักเรียน, รณรงค์การปิดน้ำ-ไฟตามเวลาที่กำหนด, การติดสติ๊กเกอร์ให้ปิดไฟเมื่อไม่ใช้งานและการปิดเครื่องปรับอากาศก่อนเวลาเลิกเรียนประมาณ 15 นาที เป็นต้น

Page 9 of 15
1 7 8 9 10 11 15