รัฐมนตรีว่าการกระทรวงพลังงาน ลงพื้นที่ จังหวัดลพบุรี ช่วยเหลือผู้ประสบภัยน้ำท่วม

“สุพัฒนพงษ์” นำทีมผู้บริหาร กระทรวงพลังงาน และกฟผ.
ลงพื้นที่ จังหวัดลพบุรี ช่วยเหลือผู้ประสบภัยน้ำท่วม

รองนายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรีว่ากระทรวงพลังงาน นำคณะผู้บริหาร ข้าราชการและเจ้าหน้าที่ กระทรวงพลังงาน และการไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทย (กฟผ.) ลงพื้นที่จังหวัดลพบุรี เพื่อให้กำลังใจและมอบถุงยังชีพ 1,600 ชุด พื้นที่ตำบลเขาพระงาม อำเภอเมือง จังหวัดลพบุรี บรรเทาความเดือดร้อนชาวบ้านผู้ประสบภัยน้ำท่วมจากอิทธพลพายุ “เตี้ยนหมู่”

วันนี้ (3 ต.ค.64 ) นายสุพัฒนพงษ์ พันธ์มีเชาว์ รองนายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรีว่าการพลังงานพร้อมด้วย นายสมบูรณ์ หน่อแก้ว รองปลัดกระทรวงพลังงาน นายบุญญนิตย์ วงศ์รักมิตร ผู้ว่าการการไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทย (กฟผ.) ข้าราชการ และเจ้าหน้าที่ในสังกัดกระทรวงพลังงาน ลงพื้นที่จังหวัดลพบุรี เพื่อรับฟังรายงานสถานการณ์น้ำท่วม พร้อมมอบถุงยังชีพเพื่อช่วยเหลือบรรเทาความเดือดร้อนเบื้องต้น ตลอดจนให้กำลังใจ และรับฟังปัญหาความเดือดร้อนผู้ประสบภัยน้ำท่วม ที่ได้รับผลกระทบจากสถานการณ์พายุ “เตี้ยนหมู่” ในช่วงนี้ โดยมี นายประทวน สุทธิอำนวยเดช ส.ส. จังหวัดลพบุรี เขต 1 พรรคพลังประชารัฐ พร้อมด้วย นายศุภภิมิตร เปาริก รองผู้ว่าราชการจังหวัดลพบุรี และคณะฯ ให้การต้อนรับ ณ หมู่บ้านไผ่ขวาง ตำบลเขาพระงาม อำเภอเมืองลพบุรี

นายสุพัฒนพงษ์ พันธ์มีเชาวน์ รองนายกรัฐมนตรีและ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงพลังงาน เปิดเผยว่า รัฐบาลตระหนักถึงความเดือดร้อนและมีความห่วงใยพี่น้องประชาชนที่ได้รับผลกระทบจากสถานการณ์พายุ “เตี้ยนหมู่” ที่ส่งผลให้เกิดน้ำท่วมฉับพลัน น้ำป่าไหลหลาก กระจายครอบคลุม 28 จังหวัด ซึ่งขณะนี้ แม้สถานการณ์คลี่คลายแล้ว ใน 5 จังหวัด แต่ยังคงเหลือพื้นที่ประสบภัยน้ำท่วมอีก 23 จังหวัด ซึ่งรัฐบาลโดยนายกรัฐมนตรี พลเอกประยุทธ์ จันทร์โอชา ได้ลงพื้นที่ช่วยเหลือและให้กำลังใจชาวบ้านด้วยตัวเองแล้วในบางจังหวัด พร้อมได้สั่งการให้ทุกหน่วยงานเข้าไปให้ความช่วยเหลือเยียวยาเพื่อบรรเทาความเดือดร้อนประชาชนในเบื้องต้นอย่างเร่งด่วน ซึ่งในส่วนของ กระทรวงพลังงาน ได้ดำเนินการนำถุงยังชีพไปมอบเพื่อให้ความช่วยเหลือและบรรเทาความเดือดร้อนของประชาชนที่ประสบภัยน้ำท่วมในพื้นที่จังหวัดลพบุรี เป็นพื้นที่แรก โดยได้มี การมอบถุงยังชีพ ซึ่งประกอบด้วยเครื่องอุปโภคและบริโภคที่จำเป็นต่อการยังชีพ จำนวน 1,600 ชุด ให้กับประชาชนในพื้นที่ตำบลเขาพระงาม อำเภอเมือง จังหวัดลพบุรี

“ขอให้พี่น้องประชาชนมั่นใจว่ารัฐบาลมีความห่วงใยและเร่งดำเนินการช่วยเหลือประชาชนทุกครัวเรือน ทุกพื้นที่ที่ได้รับผลกระทบโดยไม่ได้นิ่งนอนใจ การลงพื้นที่ในวันนี้ นอกจากจะนำถุงยังชีพ มามอบเพื่อเป็นการช่วยเบื้องต้นแล้ว ยังมาให้กำลังใจ รวมถึงรับฟังปัญหา และสิ่งที่พี่น้องประชาชนต้องการความต้องความช่วยเหลือเพื่อไปประสานกับทุกหน่วยงานเร่งแก้ปัญหาบรรเทาความเดือดร้อนของประชาชนให้ได้มากที่สุด รวมถึงการเตรียมแผนฟื้นฟูหลังสถานการณ์คลี่คลาย ทั้งเรื่องที่อยู่อาศัย การประกอบอาชีพ ของประชาชนในทุกพื้นที่ เพื่อให้ประชาชนสามารถกลับมาใช้ชีวิตประจำวันปกติต่อไป” รองนายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรีว่าการกระทรวงพลังงาน กล่าว

ด้าน นายศุภภิมิตร เปาริก รองผู้ว่าราชการจังหวัดลพบุรี กล่าวว่า สถานการณ์น้ำท่วมในพื้นที่จังหวัดลพบุรี ตั้งแต่วันที่ 25 กันยายน 2564 เป็นต้นมา มีพื้นที่ประสบภัยทั้งหมด 11 อำเภอ 94 ตำบล มีประชาชนได้รับผลกระทบกว่า 60,334 ครัวเรือน มีพื้นที่ทางการเกษตรที่คาดว่าจะได้รับความเสียหาย 507,538 ไร่ ด้านปศุสัตว์ 2,904 ราย และด้านประมง 7,487.3 ไร่ ซึ่งขณะนี้ สถานการณ์คลี่คลายแล้ว 8 อำเภอ ยังเหลืออีก 3 อำเภอที่ยังคงได้รับผลกระทบอยู่ โดยหน่วยงานที่เกี่ยวข้องอยู่ระหว่างเร่งสำรวจความเสียหายในส่วนบ้านเรือนและความเสียหายต่างๆ เพื่อให้ความช่วยเหลืออย่างเร่งด่วนต่อไป

ประชุมแนวทางการดำเนินงานตามข้อสั่งการของรัฐมนตรีว่าการกระทรวงพลังงาน ครั้งที่ 1/2564

1.สรุปข้อสั่งการ รมว.พน.   คลิกที่นี่

2. แบบฟอร์มสำหรับจัดทำข้อมูลเพื่อประกอบการประชุม  คลิกที่นี่

3.แบบตอบรับเข้าร่วมประชุม ครั้งที่ 1/2564  คลิกที่นี่

4.วาระการประชุม  คลิกที่นี่

5.Link สำหรับการประชุม  คลิกที่นี่

ปลัดกระทรวงพลังงาน นำคณะผู้บริหาร ร่วมเชิญธงชาติเนื่องในวันพระราชทานธงชาติไทย (Thai National Flag Day)

นายกุลิศ สมบัติศิริ ปลัดกระทรวงพลังงาน นำคณะผู้บริหาร ข้าราชการ เจ้าหน้าที่กระทรวงพลังงาน ร่วมเชิญธงชาติ ในวันอังคารที่ 28 กันยายน 64 เวลา 08:00น. ซึ่งเป็นวันพระราชทานธงชาติไทย (Thai National Flag Day) ณ บริเวณ ลานเสาธง กระทรวงพลังงาน
ด้วยมติคณะรัฐมนตรี เมื่อวันที่ 20 กันยายน 2559 เห็นชอบกำหนดให้วันที่ 28 กันยายน ของทุกปีเป็นวันพระราชทานธงชาติไทย (Thai National Flag Day) เริ่มในวันที่ 28 กันยายน 2560 เป็นวันแรก โดยไม่ถือเป็นวันหยุดราชการ รวมทั้งกำหนดให้มีการชักและประดับธงชาติไทยในวันดังกล่าว ในการนี้ ปลัดกระทรวงพลังงาน ผู้บริหารระดับสูงและเจ้าหน้าที่กระทรวงพลังงาน จึงร่วมกันเคารพธงชาติและร้องเพลงชาติไทย เพื่อเป็นการสร้างความภาคภูมิใจของคนในชาติ และเป็นการน้อมรำลึกในพระมหากรุญาธิคุณพระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว ที่ทรงพระราชทานธงไตรรงค์เป็นธงชาติไทย
ทั้งนี้ ให้ดำเนินการตามมาตรการการป้องกันการแพร่ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (COVID-19)

 กระทรวงพลังงาน คาดการณ์สถานการณ์การใช้และราคาพลังงาน แนวโน้มปรับตัวเพิ่มขึ้นหลังเศรษฐกิจเริ่มฟื้นตัว

“พลังงาน” คาดการณ์สถานการณ์การใช้และราคาพลังงาน แนวโน้มปรับตัวเพิ่มขึ้นหลังเศรษฐกิจเริ่มฟื้นตัว

กระทรวงพลังงาน เผย แนวโน้มการใช้และราคาพลังงานปรับตัวเพิ่มขึ้น สาเหตุมาจากเศรษฐกิจเริ่มฟื้นตัว รวมทั้งภูมิภาคตะวันตกเริ่มเข้าสู่ฤดูหนาว ทำให้ความต้องการใช้พลังงานเพิ่มขึ้น พร้อมเตรียมใช้กลไกกองทุนน้ำมันรักษาเสถียรภาพหากกรณีราคาผันผวนหนัก เพื่อไม่ให้กระทบต่อประชาชนผู้บริโภคและการฟื้นตัวของเศรษฐกิจประเทศ

นายสมภพ พัฒนอริยางกูล โฆษกกระทรวงพลังงาน เปิดเผยว่า ขณะนี้ สถานการณ์ราคาพลังงานในตลาดโลกมีแนวโน้มปรับตัวเพิ่มสูงขึ้นอย่างต่อเนื่อง เกิดจาก 2 ปัจจัยสำคัญ คือ การคลี่คลายของสถานการณ์โควิด-19 ทำให้เศรษฐกิจในหลายประเทศ รวมทั้งประเทศไทยเริ่มกลับมาฟื้นตัว กอปรกับประเทศในแถบภูมิภาคตะวันตกกำลังจะเข้าสู่ช่วงฤดูหนาว ส่งผลให้ความต้องการใช้พลังงานมีการปรับตัวเพิ่มมากขึ้น​
โดยทบวงพลังงานระหว่างประเทศ (IEA) และ กลุ่มประเทศผู้ส่งออกน้ำมัน (OPEC) คาดการณ์ความต้องการใช้น้ำมันทั่วโลกจะเพิ่มขึ้นเป็นมากกว่า 100 ล้านบาร์เรล/วัน ภายในไตรมาส 2 ของปีหน้า ซึ่งเป็นระดับเดียวกับปี 62 ก่อนที่จะเกิดการแพร่ระบาดของโควิด-19 ทั้งนี้ หลังการฉีดวัคซีนต้านไวรัสโควิด-19 ที่เพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่อง ส่งผลให้ความต้องการใช้น้ำมันทั่วโลกจะเริ่มปรับตัวสูงขึ้น โดยคาดว่าความต้องการใช้จะเพิ่มขึ้นราว 1.6 ล้านบาร์เรล/วัน ในเดือน ตุลาคม 2564 และจะเติบโตอย่างต่อเนื่องหลังจากนี้ รวมถึงราคาพลังงานและเชื้อเพลิงในทวีปยุโรปที่พุ่งสูงขึ้น เนื่องจากปริมาณก๊าซคงคลังอยู่ในระดับต่ำ อีกทั้งอุปทานจากรัสเซียที่ลดลงต่ำกว่าปกติ เนื่องจากอุปสงค์ทางฝั่งเอเชีย ที่เพิ่มสูงขึ้น

นอกจากนี้ในช่วงสัปดาห์ที่ผ่านมา การผลิตน้ำมันในสหรัฐฯ ได้รับผลกระทบจากพายุเฮอร์ริเคนไอดาและ นิโคลัส ทำให้การผลิตหายไปกว่าราว 26 ล้านบาร์เรล ซึ่งส่งผลให้ราคายืนในระดับสูงในช่วงที่ผ่านมา ทั้งนี้ กระทรวงพลังงาน ได้ติดตามสถานการณ์ราคาอย่างใกล้ชิด และมีการเตรียมพร้อมในการใช้กลไกกองทุนน้ำมันเชื้อเพลิงใน การบริหารจัดการราคาพลังงานเพื่อไม่ให้เกิดผลกระทบต่อประชาชน ซึ่งที่ผ่านมา กองทุนน้ำมันเชื้อเพลิง ได้ให้ การช่วยเหลือราคา LPG โดยตรึงราคาขายปลีกสำหรับถังขนาด 15 กิโลกรัมอยู่ที่ 318 บาทต่อถัง (ไม่รวมค่าขนส่ง) ตั้งแต่วันที่ 24 มีนาคม 2563 เป็นต้นมา และล่าสุดคณะกรรมการบริหารนโยบายพลังงาน (กบง.) ได้มีมติเมื่อวันที่ 20 กันยายน ที่ผ่านมาให้คงราคาขายปลีกก๊าซหุงต้มข้างต้นออกไปอีก 3 เดือน คือ ตั้งแต่ 1 ต.ค. 2564 ถึงวันที่ 31 ธ.ค. 2564 โฆษกกระทรวงพลังงาน ระบุต่อว่า ในส่วนของสถานการณ์ราคาน้ำมันเชื้อเพลิงชีวภาพโดยเฉพาะไบโอดีเซลราคาน้ำมัน B 100 ยังคงอยู่ในระดับสูง โดยราคาอ้างอิงเฉลี่ย ระหว่างวันที่ 20 – 26 กันยายน 2564 อยู่ที่ 40.47 บาทต่อลิตร เพิ่มขึ้นจากสัปดาห์ที่แล้ว 0.53 บาทต่อลิตร จากราคาวัตถุดิบในประเทศปรับตัวสูงขึ้น และผลผลิตปาล์มน้ำมันของประเทศไทยเริ่มน้อยลง โดยราคาผลปาล์มน้ำมัน ณ วันที่ 13 – 17 ก.ย. 64 เฉลี่ยอยู่ที่ 6.70 – 8.10 บาทต่อกิโลกรัม ขณะที่ราคาน้ำมันปาล์มดิบในตลาดโลกก็เพิ่มขึ้นเช่นกัน

“ต้องยอมรับว่าราคาพลังงานอยู่ในช่วงขาขึ้น และยังมีความผันผวน ซึ่ง กระทรวงพลังงาน ได้มีการติดตามเฝ้าระวัง รวมถึงการดูแลสถานการณ์ไม่ให้เกิดผลกระทบต่อประชาชน และการฟื้นตัวทางเศรษฐกิจ โดยเตรียมพร้อมกลไกของกองทุนน้ำมันเชื้อเพลิงในการรักษาเสถียรภาพราคาพลังงานให้อยู่ในราคาที่เหมาะสม และในอีกบทบาทหนึ่งของกองทุนน้ำมันฯ คือ การสนับสนุนเชื้อเพลิงชีวภาพ จะช่วยสร้างเสถียรภาพราคาผลผลิตทางการเกษตร สร้างรายได้ที่มั่นคงให้กับเกษตรกร ซึ่งเป็นสิ่งที่รัฐบาลให้ความสำคัญ นอกจากนั้น การนำเอทานอลและไบโอดีเซลมาผสมในน้ำมันยังช่วยลดการนำเข้า สร้างอุตสาหกรรมต่อเนื่องให้เกิดขึ้นในประเทศ และยังสามารถลดการปล่อยก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ได้ ซึ่งปัจจุบัน ราคาน้ำมันดีเซล (B10) กระทรวงพลังงานก็มีมาตรการสนับสนุนทำให้ราคาถูกกว่าน้ำมัน B7 ถึงลิตรละ 3 บาทอีกด้วย ส่วนสถานการณ์โควิดขณะนี้ กระทรวงพลังงาน โดยบริษัท ปตท. จำกัด (มหาชน) และการไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทย ยังคงให้การช่วยเหลือผู้ได้รับผลกระทบอย่างต่อเนื่อง ทั้งในส่วนของโรงพยาบาลสนาม การบริจาคอุปกรณ์หรือเครื่องมือแพทย์ที่จำเป็น รวมทั้งการสนับสนุนหาเตียงและส่งต่อผู้ติดเชื้อ ซึ่งหน่วยงานจะยังคงดำเนินการต่อไปจนกว่าสถานการณ์จะคลี่คลาย” โฆษกกระทรวงพลังงาน กล่าว

รัฐมนตรีว่าการกระทรวงพลังงาน ร่วมประชุมรัฐมนตรีอาเซียนด้านพลังงานและการประชุมอื่นที่เกี่ยวข้อง ครั้งที่ 39 (The 39th ASEAN Ministers on Energy and Associated Meetings: The 39th AMEM)

เวที AMEM ครั้งที่ 39 รัฐมนตรีอาเซียนรับรองปฏิญญาบันดาร์เสรีเบกาวัน

รัฐมนตรีพลังงานอาเซียน 10 ประเทศ รับรองปฏิญญาบันดาร์เสรีเบกาวัน มุ่งสร้างความมั่นคงทางพลังงานในยุคเปลี่ยนผ่านด้านพลังงาน “เผย” ความร่วมมือพหุภาคีระหว่าง สปป.ลาว ไทย มาเลเซีย และสิงคโปร์เตรียมเดินหน้าขายไฟฟ้าข้ามแดน 100 เมกะวัตต์ ภายในปี 2565 ด้านสหรัฐหนุนอาเซียนเพิ่มสัดส่วนพลังงานหมุนเวียนเป็น 35% ภายใน 4 ปี

นายสุพัฒนพงษ์ พันธ์มีเชาว์ รองนายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรีว่าการกระทรวงพลังงาน เปิดเผยว่า รัฐมนตรีอาเซียนด้านพลังงานทั้ง 10 ประเทศ ได้ร่วมกันประกาศปฏิญญาบันดาร์เสรีเบกาวันด้านความมั่นคงทางพลังงานและการเปลี่ยนผ่านทางพลังงาน (Bandar Seri Begawan Joint Declaration on Energy Security and Energy Transition) ในระหว่างประชุมรัฐมนตรีอาเซียนด้านพลังงานและการประชุมอื่นที่เกี่ยวข้อง ครั้งที่ 39 (The 39th ASEAN Ministers on Energy and Associated Meetings: The 39th AMEM) ซึ่งประเทศบรูไนดารุสซาลามเป็นเจ้าภาพจัดการประชุม ในระหว่างวันที่ 13-16 กันยายน 2564

สำหรับสาระสำคัญของปฏิญญาบันดาร์เสรีเบกาวัน คือ การร่วมกันพัฒนาพลังงานอย่างยั่งยืน ภายใต้การส่งเสริมการเติบโตที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม การกระตุ้นเศรษฐกิจในภูมิภาคอาเซียน รวมถึงการสนับสนุนให้เศรษฐกิจมีการปรับตัวและสามารถฟื้นตัว พร้อมที่จะรองรับรับต่อสภาวะที่เปลี่ยนแปลงหรือสภาวะฉุกเฉินต่าง ๆ ที่อาจเกิดขึ้นในอนาคต ตลอดจนส่งเสริมการเปลี่ยนผ่านทางพลังงานให้มีประสิทธิภาพ

นอกจากนี้ ที่ประชุมรัฐมนตรีอาเซียนด้านพลังงาน ยังได้รับทราบความก้าวหน้าของโครงการและกิจกรรมภายใต้แผนปฏิบัติการความร่วมมืออาเซียนด้านพลังงาน ระยะที่ 2 ซึ่งประกอบด้วย 7 สาขาความร่วมมือ และ 1 เครือข่ายความร่วมมือ ได้แก่ 1) ด้านไฟฟ้า จะร่วมกันเสริมสร้างความยืดหยุ่นและความทันสมัยของระบบสายส่ง และส่งเสริมการนำพลังงานสะอาดและพลังงานหมุนเวียนในการผลิตพลังงานไฟฟ้ามากขึ้น 2) ด้านก๊าซธรรมชาติ จะมีการพัฒนาตลาดก๊าซร่วมกันในอาเซียนและปรับปรุงความพร้อมทางการค้าและโครงสร้างพื้นฐานเพื่อเพิ่มการเชื่อมต่อและการเข้าถึงก๊าซธรรมชาติ และก๊าซธรรมชาติเหลว (LNG) ในพื้นที่ห่างไกล 3) ด้านเทคโนโลยีถ่านหินสะอาด ส่งเสริมและสนับสนุนการแลกเปลี่ยนเรียนรู้เทคโนโลยีพลังงานถ่านหินสะอาด และการพัฒนา CCUS 4) ด้านประสิทธิภาพและอนุรักษ์พลังงาน ส่งเสริมการจัดทำมาตรฐานเดียวกันของอุปกรณ์ไฟฟ้าในภูมิภาค และส่งเสริมประสิทธิภาพการใช้พลังงานในอาคาร ภาคขนส่ง และภาคอุตสาหกรรม 5) ด้านพลังงานหมุนเวียน สนับสนุนการพัฒนาพลังงานหมุนเวียนใหม่ ๆ และเพิ่มสัดส่วนการใช้พลังงานหมุนเวียนในภาคต่าง ๆ รวมทั้งพัฒนาเส้นทางการไปสู่การลดการปล่อยก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ 6) ด้านนโยบายและแผนพลังงานภูมิภาค พัฒนาแนวทางความร่วมมือด้านนโยบายและแผนด้านพลังงานของอาเซียนเพื่อให้สามารถบรรลุเป้าหมายความมั่นคงทางพลังงานและการเปลี่ยนผ่านทางพลังงาน 7) ด้านพลังงานนิวเคลียร์ เสริมสร้างการพัฒนาบุคลากรของอาเซียนในด้านวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีด้านพลังงานนิวเคลียร์ รวมถึง ยังได้มีการหารือร่วมกันในด้านเครือข่ายการกำกับกิจการพลังงานอาเซียน เพื่อส่งเสริมบทบาทด้านการพัฒนาแนวทางและกฎระเบียบ เพื่อสนับสนุนการซื้อขายไฟฟ้าพหุภาคีและตลาดปิโตรเลียมในภูมิภาคต่อไป

นอกจากนี้ รองนายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรีว่าการกระทรวงพลังงาน ยังได้กล่าวถึงผลสำเร็จจากการประชุมการประชุมรัฐมนตรีพลังงานโครงการซื้อขายไฟฟ้าพหุภาคีระหว่าง สปป.ลาว ไทย มาเลเซีย และสิงคโปร์ (Lao PDR – Thailand – Malaysia – Singapore Power Integration Project: LTMS-PIP) ว่า จะส่งเสริมการขยายการซื้อขายไฟฟ้าข้ามแดน ไปยังสิงคโปร์และผลักดันให้โครงการ LTMS ประสบผลสำเร็จโดยเร็ว โดยที่ประชุมได้รับรองถ้อยแถลง LTMS เพื่อแสดงเจตนารมณ์ร่วมกันในการซื้อขายไฟฟ้าข้ามพรมแดน โดยเริ่มต้นที่ 100 เมกะวัตต์ ในระหว่างปี 2565-2566 อย่างไรก็ตาม ในเวทีการประชุมร่วมกันรัฐมนตรีอาเซียนด้านพลังงานกับ Ms. Jenifer Granholm, Secretary of Energy จาก US Department of Energy ซึ่งถือเป็นการประชุมร่วมกันครั้งแรก โดยทางสหรัฐ ได้นำเสนอแนวคิดความร่วมมือด้านพลังงานอาเซียน-สหรัฐอเมริกา (Concept Note on ASEAN-US Engagement on Energy) ซึ่งมีสาระสำคัญเพื่อการส่งเสริมความร่วมมือด้านพลังงานในระดับรัฐมนตรีผ่านการจัดการประชุมระดับรัฐมนตรีพลังงานของประเทศสมาชิกกับสหรัฐอเมริกาเป็นประจำทุกปี เพื่อเสริมสร้างความมั่นคงทางพลังงานร่วมกัน โดยมุ่งเน้นการพัฒนาด้านพลังงานหมุนเวียน รวมทั้งเทคโนโลยีด้านพลังงานที่จะช่วยเพิ่มสัดส่วนของพลังงานหมุนเวียน ซึ่งจะช่วยให้อาเซียนบรรลุเป้าหมายด้านพลังงานหมุนเวียนในการผลิตไฟฟ้าที่ร้อยละ 35 และเป้าหมายการลดความเข้มการใช้พลังงานที่ร้อยละ 32 ในปี 2568

ทั้งนี้ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงพลังงานของไทยยังได้ใช้โอกาสนี้ กล่าวยินดีที่รัฐมนตรีพลังงานสหรัฐเข้าร่วมหารือเป็นครั้งแรกในความร่วมมือด้านพลังงานระหว่างอาเซียนกับสหรัฐ และยินดีกับแนวคิดความร่วมมือด้านพลังงานอาเซียน- สหรัฐอเมริกา พร้อมทั้งแสดงความเห็นว่าการร่วมมือกับสหรัฐจะช่วยส่งเสริมความมั่นคงและยั่งยืนทางพลังงาน รวมทั้งจะช่วยกระตุ้นการเปลี่ยนผ่านทางพลังงานของภูมิภาคและบรรลุเป้าหมายการลดการปล่อยก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ ผ่านการแลกเปลี่ยนเทคโนโลยีด้านพลังงานต่าง ๆ อาทิ ไฮโดรเจน ยานยนต์ไฟฟ้า ระบบจัดเก็บพลังงาน และเทคโนโลยีดักจับ กักเก็บและใช้ประโยชน์จากคาร์บอนไดออกไซด์ (CCUS) ต่อไป

นอกจากนี้ ในการหารือร่วมกันของที่ประชุมรัฐมนตรีพลังงานแห่งเอเชียตะวันออก รัฐมนตรีว่าการกระทรวงพลังงานของไทยได้นำเสนอวิสัยทัศน์ และแนวนโยบายด้านการเปลี่ยนผ่านทางพลังงานและการลดการปล่อยก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ของไทย ซึ่งประเทศไทยได้นำเสนอแนวนโยบายในการเพิ่มสัดส่วนโรงไฟฟ้าพลังงานทดแทน นโยบาย 30@30 ในการส่งเสริมยานยนต์ไฟฟ้าและการส่งเสริมการใช้พลังงานอย่างมีประสิทธิภาพในทุกภาคส่วน รวมทั้งการปลูกป่าเพื่อเพิ่มพื้นที่ดูดซับก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ ซึ่งเป็นแนวนโยบายภายใต้กรอบแผนพลังงานชาติ ปี 2564 อีกทั้ง ยังได้นำเสนอแนวคิด เศรษฐกิจชีวภาพ เศรษฐกิจหมุนเวียน และเศรษฐกิจสีเขียว หรือ BCG Model ต่อที่ประชุมเพื่อเป็นแนวทางในการในการส่งเสริมการใช้และการเพิ่มมูลค่าให้กับทรัพยากรที่มีอยู่ ซึ่งสอดคล้องกับนาย Francesco La Camera ผู้อำนวยการทบวงการพลังงานหมุนเวียนระหว่างประเทศ (IRENA) ที่ได้นำเสนอทิศทางการเปลี่ยนผ่านทางพลังงานโลก ซึ่งมุ่งเน้นการสร้างเสถียรภาพให้ความต้องการใช้พลังงานหมุนเวียนมากขึ้น และการเพิ่มประสิทธิภาพการใช้พลังงานเพื่อส่งเสริมเศรษฐกิจหมุนเวียน ไปพร้อม ๆ กับการส่งเสริมการเติบโตทางเศรษฐกิจ นอกจากนี้ Dr. Fatih Birol ผู้อำนวยการใหญ่ทบวงการพลังงานระหว่างประเทศ (IEA) ยังได้นำเสนอว่า ปีนี้เป็นปีที่ 10 ของการครบรอบความร่วมมือด้านพลังงานอาเซียนและ IEA ซึ่งที่ผ่านมาได้ดำเนินความร่วมมือประสบความสำเร็จด้วยดี และขอให้ประเทศสมาชิกอาเซียนได้ร่วมมือกันอย่างจริงจังต่อไปในการเสริมสร้างความมั่นคงทางพลังงานในยุคการเปลี่ยนผ่านพลังงานที่มุ่งเน้นการใช้พลังงานสะอาดและการลงทุนด้านพลังงานที่คำนึงถึงการลดการปล่อยก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ (Decarbonization)

ในส่วนของการประชุมรัฐมนตรีพลังงานอาเซียนบวกสาม ที่ประชุมได้เน้นย้ำความร่วมมือด้านความมั่นคงทางพลังงาน การลงทุนด้านพลังงานที่คำนึงถึงปัญหาสิ่งแวดล้อม การส่งเสริมการใช้พลังงานทดแทนและการอนุรักษ์พลังงาน และการเน้นหารือร่วมกันในเวทีระหว่างประเทศเพื่อส่งเสริมการพัฒนาและการใช้พลังงานสะอาดให้มากขึ้นในภูมิภาค

ทั้งนี้ การประชุมรัฐมนตรีอาเซียนด้านพลังงานและการประชุมอื่นที่เกี่ยวข้อง ครั้งที่ 39 (The 39th ASEAN Ministers on Energy and Associated Meetings: The 39th AMEM) ในรูปแบบการประชุมทางไกล (VDO Conference) โดยมีประเทศบรูไนดารุสซาลาม เป็นเจ้าภาพจัดการประชุม และมีประเทศสมาชิกอาเซียน 10 ประเทศ รวมทั้งประเทศคู่เจรจาอีก 8 ประเทศ ได้แก่ จีน เกาหลีใต้ ญี่ปุ่น ออสเตรเลีย นิวซีแลนด์ สหรัฐอเมริกา รัสเซีย และ อินเดีย และองค์กรด้านพลังงานระหว่างประเทศ ได้แก่ ทวงการพลังงานระหว่างประเทศ (IEA) และ ทบวงการพลังงานหมุนเวียนระหว่างประเทศ (IRENA) เข้าร่วม ในระหว่างวันที่ 13-16 กันยายน 2564 โดย รองนายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรีว่าการกระทรวงพลังงาน “สุพัฒนพงษ์ พันธ์มีเชาว์” พร้อมด้วยนายกุลิศ สมบัติศิริ ปลัดกระทรวงพลังงานได้นำคณะผู้บริหารกระทรวงพลังงาน และผู้แทนหน่วยงานที่เกี่ยวข้องของไทย เข้าร่วมการประชุมผ่าน VDO Conference ณ กระทรวงพลังงาน และที่ประชุมดังกล่าวยังได้รับรองถ้อยแถลงร่วมต่างๆ ที่เกี่ยวข้องในแต่ละการประชุมด้วย

คู่มือการปฏิบัติงาน

1.เอกสารแนบ1   คู่มือการใช้งานระบบ data energy    คลิกที่นี่

2.เอกสารแนบ2  คู่มือการใช้งานเครื่องมือ Data Energy  คลิกที่นี่

3.เอกสารแนบ3  การเก็บข้อมูลปฐมภูมิ    คลิกที่นี่

4.เอกสารแนบ4  การใช้ประโยชน์และประมวลผลจาก Factsheet พลังงาน    คลิกที่นี่

5.เอกสารแนบ5  คู่มือการจัดทำแผนปฏิบัติราชการ   คลิกที่นี่

6.เอกสารแนบ6  แบบฟอร์มเก็บข้อมูล

6.1  แบบฟอร์มเก็บข้อมูลโครงการด้านการอนุรักษ์พลังงาน   คลิกที่นี่

6.2 แบบฟอร์มเก็บข้อมูลโครงการด้านพลังงานทดแทน    คลิกที่นี่

6.3  แบบฟอร์มเก็บข้อมูลด้านพลังงานใน SMEs และ วิสาหกิจชุมชน  คลิกที่นี่

หัวหน้าผู้ตรวจราชการกระทรวงพลังงาน ร่วมเสวนาในงาน APEC Symposium on the Holistic Approach of Decarbonization towards Carbon Neutrality

ดร.ทวารัฐ สูตะบุตร หัวหน้าผู้ตรวจราชการกระทรวงพลังงานได้รับเชิญเข้าร่วมเสวนาในงาน APEC Symposium on the Holistic Approach of Decarbonization towards Carbon Neutrality ซึ่งจัดขึ้นระหว่างวันที่ 30 – 31 สิงหาคม 2564 โดยศูนย์วิจัยพลังงานเอเชียแปซิฟิก (Asia Pacific Energy Research Center: APERC) และได้ร่วมเวทีเสวนาในประเด็น “การสร้างความมั่นคงด้านพลังงานในยุคของการก้าวเข้าสู่เป้าหมายคาร์บอนสุทธิเป็นศูนย์ หรือ Carbon Neutrality” โดยมีผู้เข้าร่วมเสวนาจากสถาบันวิจัยเศรษฐกิจสำหรับอาเซียนและเอเชียตะวันออกหรือ ERIA กระทรวงเศรษฐกิจ การค้าและอุตสาหกรรมประเทศญี่ปุ่น และผู้เชี่ยวชาญด้านพลังงานจากสมาชิกเขตเศรษฐกิจเอเปค

ผู้เข้าร่วมเสวนาได้แสดงทรรศนะเกี่ยวกับแนวทาง นโยบาย และมาตรการที่จะช่วยให้ประเทศสามารถบรรลุเป้าหมายการปล่อยคาร์บอนสุทธิเป็นศูนย์ (NET ZERO) โดยยังคงรักษาความมั่นคงทางพลังงานให้ประเทศมีพลังงานเพียงพอสำหรับความต้องการของทุกภาคส่วนไปพร้อมๆ กับการปรับเปลี่ยนตลาดพลังงานจากการใช้เชื้อเพลิงฟอสซิลให้เป็นเชื้อเพลิงสะอาดในอนาคต ทั้งนี้ ดร.ทวารัฐได้ให้ความเห็นต่อที่ประชุมโดยเน้นย้ำความพยายามของประเทศไทยในการลดการปล่อยคาร์บอนในภาคพลังงาน ซึ่งจำเป็นต้องดำเนินนโยบายที่สร้างความสมดุลระหว่างความมั่นคงด้านพลังงานกับการเพิ่มสัดส่วนพลังงานสะอาด ซึ่งสามารถทำได้หลายรูปแบบ อาทิ การนำเข้าพลังงานสะอาดจากประเทศเพื่อนบ้าน รวมถึงผลักดันการผลิตพลังงานสะอาดในประเทศ การมุ่งศึกษาพัฒนานวัตกรรมใหม่ๆ และการวางนโยบาย/มาตรการที่เหมาะสมในช่วงของการปรับรูปแบบตลาดพลังงานของประเทศให้สามารถพึ่งพิงเชื้อเพลิงสะอาดมากขึ้นในอนาคต นอกจากนั้นยัง ต้องให้ความสำคัญกับรูปแบบความต้องการใช้พลังงานที่จะเปลี่ยนแปลงไปโดยจะมีการใช้ยานยนต์ไฟฟ้าแทนรถที่ใช้น้ำมันในภาคขนส่ง มีการใช้พลังงานหมุนเวียนและเชื้อเพลิงไฮโดรเจนแทนการใช้เชื้อเพลิงก๊าซธรรมชาติ ซึ่งส่งผลให้ภาคส่วนที่เกี่ยวข้องต้องปรับเปลี่ยนการพยากรณ์การใช้ไฟฟ้าของประเทศรวมถึงวางแผนการพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานรองรับการเปลี่ยนแปลงดังกล่าวในอนาคต

อย่างไรก็ตาม ที่ประชุมมีความเห็นร่วมกันว่าการใช้ก๊าซธรรมชาติและ LNG ยังคงมีความสำคัญในช่วงของการเปลี่ยนผ่านด้านพลังงานในปัจจุบันและอีกหลายสิบปีข้างหน้า ดังนั้น การปรับใช้เทคโนโลยีการดักจับและกักเก็บคาร์บอน หรือ Carbon Capture and Storage ในอุตสาหกรรมต้นน้ำของการผลิตเชื้อเพลิงปิโตรเลียมยังคงเป็นทางออกที่ดีสำหรับประเทศต่างๆ โดยเฉพาะประเทศกำลังพัฒนาในการที่จะลดการปล่อยคาร์บอนในภาคพลังงานและการบรรลุเป้าหมาย Carbon Neutrality ในอนาคต

กระทรวงพลังงาน เดินหน้าผลักดันภาคพลังงานกระตุ้นเศรษฐกิจช่วงโควิด สร้างอาชีพ “พลังงาน พลังใจ ขับเคลื่อนไทยให้ยั่งยืน” เพื่อก้าวข้ามวิกฤตประเทศช่วงสถานการณ์โควิด-19

กระทรวงพลังงาน เชื่อมั่นเศรษฐกิจไทยเข้มแข็ง พร้อมผลักดันการลงทุนกระตุ้นเศรษฐกิจ และเกิด การจ้างงาน เพื่อร่วมแก้ปัญหาวิกฤติโควิด-19 ต่อเนื่อง ภายใต้ความร่วมมือ“พลังงาน พลังใจ ขับเคลื่อนไทยให้ยั่งยืน” เดินหน้าเยียวยาสังคมครบทุกมิติ มาตรการลดค่าครองชีพ จ้างงาน และด้านสาธารณสุข พร้อมผลักดัน เม็ดเงินลงทุนกระตุ้นเศรษฐกิจครึ่งปีแรก 64 กว่า 1 แสนล้านบาท เกิดการจ้างงานรวมกว่า 36,000 ตำแหน่ง พร้อมปรับนโยบายพลังงานเพื่อสร้างกลไกขับเคลื่อนเศรษฐกิจฐานรากและการลงทุนของประเทศ ผ่าน 4 แผนพลังงานสำคัญ เพื่อขับเคลื่อนประเทศฝ่าวิกฤตโควิด-19
นายสุพัฒนพงษ์ พันธ์มีเชาว์ รองนายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรีว่าการกระทรวงพลังงาน เปิดเผยว่า จากสถานการณ์การแพร่ระบาดของโควิด-19 ในขณะนี้ รัฐบาลได้ร่วมบูรณาการหน่วยงานต่างๆ เพื่อเร่งแก้ปัญหาให้ครอบคลุมทั้งมิติด้านเศรษฐกิจและด้านสังคม เพื่อขับเคลื่อนประเทศฝ่าวิกฤตครั้งนี้ไปให้ได้ กระทรวงพลังงาน ได้ร่วมเป็นหนึ่งในหน่วยงานหลักในการขับเคลื่อนการแก้ไขปัญหาในสถานการณ์ดังกล่าว และเยียวยาทั้งด้านเศรษฐกิจและสังคมภายใต้ความร่วมมือ “พลังงาน พลังใจ ขับเคลื่อนไทยให้ยั่งยืน” ร่วมกับหน่วยงานในสังกัดและรัฐวิสาหกิจภายใต้การกำกับดูแลของกระทรวงพลังงานมาอย่างต่อเนื่องเต็มกำลัง
โดยในมิติด้านเศรษฐกิจ ได้มีการผลักดันให้เกิดการลงทุนตามแผนการลงทุนปี 2564 กว่า 200,000 ล้านบาท เพื่อพยุงเศรษฐกิจของประเทศให้เดินไปข้างหน้า โดยในครึ่งปีแรกของปี 2564 (เดือนมกราคม-มิถุนายน 2564) มีเม็ดเงินลงทุนไปแล้วกว่า 1 แสนล้านบาท ผ่านโครงการด้านโครงสร้างพื้นฐานด้านพลังงานต่าง ๆ ของรัฐวิสาหกิจภายใต้การกำกับของ กระทรวงพลังงาน คือ บริษัท ปตท.จำกัด (มหาชน) และบริษัทในเครือ และการไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทย (กฟผ.) รวมทั้งบริษัทในเครือ โดยในส่วนของ ปตท. มีโครงการลงทุนที่สำคัญ อาทิ โครงการสถานีรับ-จ่ายก๊าซธรรมชาติเหลวแห่งใหม่ จังหวัดระยอง โครงการท่อส่งก๊าซธรรมชาติ เส้นที่ 5 และโครงการท่อส่งก๊าซธรรมชาติจากสถานีควบคุมความดันก๊าซธรรมชาติ ราชบุรี – วังน้อยที่ 6 การติดตั้งสถานีอัดประจุไฟฟ้า (Charging Station) และการลงทุนกลุ่มอุตสาหกรรมยานยนต์ไฟฟ้า (EV) ขณะที่โครงการสำคัญในส่วนของ กฟผ. อาทิ โครงการโรงไฟฟ้าบางปะกง (ทดแทนเครื่อง1-2) โครงการขยายระบบส่งไฟฟ้า ระยะที่ 12 โครงการปรับปรุงระบบส่งไฟฟ้าบริเวณภาคตะวันออกเฉียงเหนือ
ภาคเหนือตอนล่าง ภาคกลางและกรุงเทพฯ เพื่อเสริมความมั่นคงระบบไฟฟ้า เป็นต้น

นอกจากนี้ ในช่วงครึ่งปีแรก กระทรวงพลังงาน โดย กรมเชื้อเพลิงธรรมชาติ ยังสามารถจัดเก็บรายได้จากกิจการการสำรวจและผลิตปิโตรเลียม กว่า 25,000 ล้านบาท นำส่งรัฐ ซึ่งนับเป็นส่วนสำคัญในการนำเงินดังกล่าวไปพัฒนาประเทศในช่วงเวลาวิกฤตินี้
โดยในมิติด้านสังคมได้ร่วมกับ กระทรวงมหาดไทย จัดทำโครงการเยียวยาอย่างรอบด้านทั้ง มาตรการช่วยเหลือค่าครองชีพประชาชนด้านค่าใช้จ่ายพลังงาน ได้แก่ มาตรการลดค่าไฟฟ้าในรอบเดือนกุมภาพันธ์ ถึงมีนาคมและเดือนพฤษภาคมถึงมิถุนายนที่ผ่านมา และมีการลดค่าไฟฟ้าเพิ่มในรอบเดือนกรกฎาคมและสิงหาคม หลังจากที่ยังคงมีการระบาดของโควิด-19 อย่างต่อเนื่อง ส่วนมาตรการด้านการจ้างงานสร้างอาชีพ โดยผลักดันให้เกิดการจ้างงานไปแล้วกว่า 36,000 ตำแหน่ง และยังจะมีการจ้างเพิ่มในช่วงครึ่งปีหลัง 2564 อีก 2,300 ตำแหน่ง ตลอดจนมาตรการช่วยเหลือด้านสาธารณสุขและบุคลากรทางการแพทย์ รองนายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรีว่าการกระทรวงพลังงาน กล่าวต่อว่า นอกจากนี้ กระทรวงพลังงาน ยังได้เดินหน้านโยบายพลังงานที่มุ่งเน้นเป็นกลไกในการขับเคลื่อนเศรษฐกิจของประเทศใน 4 แผนด้านพลังงานหลักๆ ที่สำคัญ ได้แก่
(1) แผนพลังงานชาติ ซึ่งจะก่อให้เกิดการลงทุนในโครงการพลังงานสีเขียวรองรับแผนการลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจกของประเทศ การเพิ่มสัดส่วนการใช้พลังงานทดแทน และการพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานรองรับการเปลี่ยนผ่านด้านเทคโนโลยี
(2) แผนการส่งเสริมอุตสาหกรรมยานยนต์ไฟฟ้า หรือ EV เพื่อผลักดันประเทศไทยเป็นฐานการผลิตยานยนต์ไฟฟ้าของโลก
(3) แผนการพัฒนาปิโตรเคมีระยะที่ 4 ซึ่งจะมุ่งสนับสนุนให้มีการขยายเพิ่มเติมจากโครงการเดิมในพื้นที่ EEC เพื่อสร้างฐานทางเศรษฐกิจใหม่ (New S-Curve) และ
(4) แผนการส่งเสริมโครงการโรงไฟฟ้าชุมชนเพื่อเศรษฐกิจฐานราก นำร่องจำนวน 150 เมกะวัตต์ ซึ่งจะก่อให้เกิดการจ้างงาน สร้างความเข้มแข็งทางเศรษฐกิจกระจายลงสู่ในระดับรากหญ้าให้มากยิ่งขึ้น

“กระทรวงพลังงาน ยังคงเร่งดำเนินโครงการต่างๆ ภายใต้สถานการณ์โควิดที่ยังคงระบาดอย่างเต็มกำลัง เพื่อเป็นกลไกในการขับเคลื่อนเศรษฐกิจของประเทศ และการช่วยเหลือและเยียวยาคุณภาพชีวิตประชาชน เพื่อร่วมเป็นส่วนหนึ่งในการผลักดันให้ประเทศไทยก้าวข้ามผ่านวิกฤตและก้าวไปข้างหน้าอย่างเข้มแข็งต่อไป” รองนายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรีว่าการกระทรวงพลังงาน กล่าว

การจัดทำแผนปฏิบัติราชการกระทรวงพลังงาน พ.ศ. 2566-2570 (ภายใน)

เอกสารประกอบ

วาระการจัดทำแผนปฏิบัติฯ ที่เห็นชอบจากการประชุมผู้บริหารระดับสูง (2 ส.ค.2564)  คลิกที่นี่

1. ตัวชี้วัดและค่าเป้าหมาย  คลิกที่นี่

2. แผนงานโครงการสำคัญ

2.1 การสร้างความมั่นคงด้านพลังงาน  คลิกที่นี่

2.2 การกำกับดูแล และการสร้างการแข่งขัน เพิ่มประสิทธิภาพ   คลิกที่นี่

2.3 การสร้างความยั่งยืนและเข้าถึงประชาชน คลิกที่นี่

2.4 การสร้างความโปร่งใส เป็นองค์กรที่มีธรรมาภิบาล ให้สังคมเชื่อถือ  คลิกที่นี่

 

การจัดทำแผนปฏิบัติราชการกระทรวงพลังงาน พ.ศ. 2566-2570

เอกสารประกอบ

วาระการจัดทำแผนปฏิบัติฯ ที่เห็นชอบจากการประชุมผู้บริหารระดับสูง (2 ส.ค.2564)  คลิกที่นี่

1. ตัวชี้วัดและค่าเป้าหมาย  คลิกที่นี่

2. แผนงานโครงการสำคัญ

2.1 การสร้างความมั่นคงด้านพลังงาน  คลิกที่นี่

2.2 การกำกับดูแล และการสร้างการแข่งขัน เพิ่มประสิทธิภาพ   คลิกที่นี่

2.3 การสร้างความยั่งยืนและเข้าถึงประชาชน คลิกที่นี่

2.4 การสร้างความโปร่งใส เป็นองค์กรที่มีธรรมาภิบาล ให้สังคมเชื่อถือ  คลิกที่นี่

3. โครงการสำคัญปี 66    

3.1 (ร่าง) การจัดทำข้อเสนอโครงการ คลิกที่นี่

3.2 แนวทางกรอกโครงการสำคัญ ข้อมูลจาก สศช.  คลิกที่นี่

 

 

กระทรวงพลังงาน บันทึกเทปถวายพระพรสมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ พระบรมราชินีนาถ พระบรมราชชนนีพันปีหลวง

วันนี้ (19 ก.ค. 64 ) นายสุพัฒนพงษ์ พันธ์มีเชาว์ รองนายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรีว่าการกระทรวงพลังงาน นายกุลิศ สมบัติศิริ ปลัดกระทรวงพลังงาน พร้อมด้วยคณะผู้บริหารระดับสูง ร่วมบันทึกเทปถวายพระพรเนื่องในโอกาสวันเฉลิมพระชนมพรรษาสมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ พระบรมราชินีนาถ พระบรมราชชนนีพันปีหลวง 12 สิงหาคม 2564 ณ สถานีวิทยุโทรทัศน์แห่งประเทศไทย (NBT)

กระทรวงพลังงาน บันทึกเทปถวายพระพรพระบาทสมเด็จพระปรเมนทรรามาธิบดีศรีสินทรมหาวชิราลงกรณ พระวชิรเกล้าเจ้าอยู่หัว

วันนี้ (2 ก.ค. 64 ) นายสุพัฒนพงษ์ พันธ์มีเชาว์ รองนายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรีว่าการกระทรวงพลังงาน และนายกุลิศ สมบัติศิริ ปลัดกระทรวงพลังงาน พร้อมด้วยคณะผู้บริหารระดับสูง ร่วมบันทึกเทปถวายพระพรเนื่องในโอกาสมหามงคลเฉลิมพระชนมพรรษาพระบาทสมเด็จพระปรเมนทรรามาธิบดีศรีสินทรมหาวชิราลงกรณ มหิศรภูมิพลราชวรางกูร กิติสิริสมบูรณอดุลยเดช สยามินทราธิเบศรราชวโรดม บรมนาถบพิตร พระวชิรเกล้าเจ้าอยู่หัว 28 กรกฎาคม 2564 ณ สถานีวิทยุโทรทัศน์แห่งประเทศไทย NBT ถ.วิภาวดีรังสิต

เอกสารประกอบการประชุมคณะทำงานพิเศษประสานเชื่อมโยงฯ ครั้งที่ 2/2564

1.Powerpoint การประชุม  คลิกที่นี่

2.ระเบียบวาระการประชุมฯ   คลิกที่นี่

3.ปรับเล่มแผนปฏิรูป_ด้านบริหารจัดการพลังงาน  คลิกที่นี่

4.ปรับเล่มแผนปฏิรูป_ด้าน RE EE    คลิกที่นี่

5.ปรับเล่มแผนปฏิรูป_ด้าน EV ESS  คลิกที่นี่

 

แผนป้องกันและบรรเทาสาธารณภัยของกระทรวงพลังงาน

หนังสือเชิญประชุมฯ และแบบตอบรับเข้าร่วม ของ ปภ.  คลิกที่นี่

สปฉ.12 ส่วนงานพลังงาน  คลิกที่นี่

แผนป้องกันและบรรเทาสาธารณภัยแห่งชาติ พ.ศ. 2558  คลิกที่นี่

รัฐมนตรีว่าการกระทรวงพลังงาน เข้าร่วมการประชุมรัฐมนตรีพลังงานอาเซียน – ญี่ปุ่น สมัยพิเศษ

เมื่อวันที่ 21 มิถุนายน 2564 กระทรวงพลังงานนำโดยนายสุพัฒนพงษ์ พันธ์มีเชาว์ รองนายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรีว่าการกระทรวงพลังงาน พร้อมด้วยปลัดกระทรวงพลังงาน (นายกุลิศ สมบัติสิริ) และรองปลัดกระทรวงพลังงาน (นางเปรมฤทัย วินัยแพทย์) และคณะผู้แทนไทย ได้เข้าร่วมการประชุมรัฐมนตรีพลังงานอาเซียนกับรัฐมนตรีว่าการกระทรวงเศรษฐกิจ การค้าและอุตสาหกรรม ประเทศญี่ปุ่น สมัยพิเศษ (The Special AMEM-METI) ผ่านระบบการประชุมทางไกล ภายใต้แนวคิด “เสริมสร้างพันธมิตรสำหรับการเปลี่ยนผ่านด้านพลังงานแห่งภูมิภาคอาเซียน” (Enhancing Partnerships in Realising Energy Transitions in ASEAN)
โดยการประชุมครั้งนี้จัดขึ้นเพื่อเสริมสร้างความร่วมมือด้านพลังงานสะอาด และนวัตกรรมเพื่อลดการปล่อยก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ระหว่างประเทศสมาชิกอาเซียนและประเทศญี่ปุ่น ทั้งนี้ ในการประชุมดังกล่าว รัฐมนตรีจากแต่ละประเทศได้แสดงวิสัยทัศน์ทางด้านพลังงานและแนวทางการพัฒนาเพื่อการเปลี่ยนผ่านทางด้านพลังงานไปสู่พลังงานสะอาดทั้งในระดับประเทศและแนวทางการพัฒนาความร่วมมือระหว่างประเทศอาเซียนและประเทศญี่ปุ่น โดยนายสุพัฒนพงษ์ พันธ์มีเชาว์ ได้นำเสนอต่อที่ประชุมฯ ว่า ประเทศไทยมีความพยายามอย่างยิ่งในการส่งเสริมแนวทางการลดการปล่อยก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ผ่านทางนโยบายต่าง ๆ อาทิ นโยบายเกี่ยวกับการใช้พลังงานหมุนเวียน นโยบายการส่งเสริมการใช้ก๊าซธรรมชาติเหลว (LNG) ในยุคเปลี่ยนผ่าน นโยบายเกี่ยวกับการส่งเสริมนวัตกรรมและเทคโนโลยีที่ยั่งยืน เช่น เทคโนโลยีไฮโดรเจน (Hydrogen)  และเทคโนโลยีดักจับ กักเก็บและการใช้ประโยชน์จากคาร์บอน (Carbon Capture utilization and Storage: CCUS) นโยบายด้านสิ่งแวดล้อม ส่งเสริมการปลูกป่าเพื่อเพิ่มแหล่งดูดซับคาร์บอนไดออกไซด์ และนโยบายรถยนต์ไฟฟ้า 30@30 ซึ่งเป็นนโยบายที่ส่งเสริมภาคอุตสาหกรรมรถยนต์พลังงานไฟฟ้า โดยเป็นการตั้งเป้าหมายไว้ว่า ภายในปี 2030 ไทยจะต้องมีสัดส่วนการผลิตรถยนต์พลังงานไฟฟ้าที่ร้อยละ 30 จากสัดส่วนการผลิตรถยนต์ทั้งหมด พร้อมกันนี้ ยังได้นำเสนอนโยบายเศรษฐกิจชีวภาพ เศรษฐกิจหมุนเวียน และเศรษฐกิจสีเขียว (Bio-Circular-Green Economy Model) หรือ BCG Model ที่มุ่งเน้นการพัฒนาคุณภาพและเศรษฐกิจของชุมชน โดยการนำทรัพยากรที่มีอยู่ในชุมชนมาสร้างมูลค่าเพิ่มและยกระดับคุณภาพชีวิตครัวเรือนและชุมชน นอกจากนี้ บรรดารัฐมนตรียังได้รับรองถ้อยแถลงร่วมสำหรับการประชุมรัฐมนตรีพลังงานอาเซียน – ญี่ปุ่น สมัยพิเศษ ซึ่งมีสาระสำคัญเกี่ยวกับการพัฒนาร่วมกันเพื่อการเปลี่ยนผ่านทางพลังงานไปสู่ยุคพลังงานสะอาดและเศรษฐกิจคาร์บอนต่ำ (Low carbon economy) ผ่านการแลกเปลี่ยนเรียนรู้และการศึกษาวิจัยร่วมกันระหว่างอาเซียนและญี่ปุ่น อีกทั้งยังให้การสนับสนุนแผนการดำเนินงานภายใต้แผนปฏิบัติการความร่วมมืออาเซียนด้านพลังงาน ระยะที่ 2 (APAEC Phase II) เพื่อเสริมสร้างความมั่นคงทางพลังงานในภูมิภาคต่อไป

ขอความอนุเคราะห์การจัดการโครงการบูรณาการข้อมูลตรวจวัดคุณภาพอากาศผ่านแอปพลิเคชัน “Sensor For All”

1.เอกสารการประชุม  คลิกที่นี่

2.พื้นที่ติดตั้งโครงการ+ฟอร์มกรอกข้อมูล 76 จังหวัด   คลิกที่นี่

ร่างประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่อง การให้ใช้บังคับผังเมืองรวมจังหวัดตรัง (ฉบับที่..)

เอกสารแนบ / สิ่งที่ส่งมาด้วย

หนังสือ สำนักเลขาธิการคณะรัฐมนตรี ที่ นร 0503/ว(ล)20013 ลว. 2 มิ.ย.64  คลิกที่นี่

แผนผังกำหนดการใช้ประโยชน์ตามที่ได้จำแนกประเภท (หน้า 19)  คลิกที่นี่

ปลัดกระทรวงพลังงาน ชี้แจงความก้าวหน้าการจัดทำแผนพลังงานแห่งชาติโดยเน้นพลังงานสะอาด สร้างชาติ สร้างเศรษฐกิจ

“กระทรวงพลังงาน เร่งเดินหน้าแผนพลังงานแห่งชาติเน้นพลังงานสะอาด สร้างชาติ สร้างเศรษฐกิจ”

นายกุลิศ สมบัติศิริ ปลัดกระทรวงพลังงาน ชี้แจงความก้าวหน้าการจัดทำแผนพลังงานแห่งชาติว่า ตามที่ประชุมคณะกรรมการบริหารนโยบายพลังงาน (กบง.) เมื่อวันที่ 26 มีนาคม 2564 ได้มีมติเห็นชอบกรอบแผนพลังงานแห่งชาติ (National Energy Plan) และให้ กระทรวงพลังงาน จัดทำรายละเอียดเพื่อเสนอต่อ กบง. นั้น
ขณะนี้ กระทรวงพลังงาน โดยสำนักงานนโยบายและแผนพลังงาน (สนพ.) อยู่ระหว่างเร่งยกร่างรายละเอียด แผนพลังงานแห่งชาติ ที่สอดคล้องกับแนวทางมุ่งไปสู่พลังงานสะอาดที่ปล่อยคาร์บอนต่ำ ซึ่งจะมีผลต่อทิศทางการพัฒนาพลังงานที่สำคัญ ประกอบด้วย
ด้านไฟฟ้า เน้นการเพิ่มสัดส่วนพลังงานทดแทนและพลังงานสะอาด ส่งเสริมการใช้ยานยนต์ไฟฟ้า พัฒนาและยกระดับเทคโนโลยีระบบไฟฟ้า (Grid Modernization) เพื่อรองรับการผลิตไฟฟ้าแบบกระจายศูนย์ ตลอดจนการผลิตเอง ใช้เอง (Prosumer) ที่มากขึ้น รวมถึงมุ่งปลดล็อคกฎระเบียบการซื้อขายไฟฟ้าเพื่อรองรับการผลิตเองใช้เองดังกล่าว
ด้านก๊าซธรรมชาติ เป็นเชื้อเพลิงสะอาดที่เป็นพลังงานสำคัญในการผลิตไฟฟ้า ซึ่งจะเน้นการเปิดเสรีและการจัดหาเพื่อสร้างความมั่นคงให้กับระบบพลังงานประเทศ ซึ่ง กระทรวงพลังงาน จะต้องวางแผนสร้างสมดุลระหว่างการจัดหาในประเทศและการนำเข้า LNG
ด้านน้ำมัน ยังคงเป็นเชื้อเพลิงหลักของประเทศในปัจจุบัน แต่จะได้รับผลกระทบจากการใช้ยานยนต์ไฟฟ้า ที่ขยายตัวขึ้น ดังนั้น จะต้องมีการปรับแผนพลังงานภาคขนส่งและพิจารณาการบริหารการเปลี่ยนผ่านให้กระทบต่อ ผู้มีส่วนเกี่ยวข้องให้น้อยที่สุด
ด้านพลังงานทดแทนและอนุรักษ์พลังงาน จะมีการปรับเป้าหมายการผลิตและการใช้พลังงานทดแทน ตลอดจนการเพิ่มประสิทธิภาพการใช้พลังงานจากทุกภาคส่วนให้เข้มข้นมากขึ้น
“หาก สนพ. จัดทำรายละเอียดการดำเนินการแล้วเสร็จ กระทรวงพลังงานจะเร่งนำเสนอ กบง. และคณะกรรมการนโยบายพลังงานแห่งชาติ (กพช.) ให้ความเห็นชอบก่อนให้ สนพ. เปิดรับฟังความคิดเห็นถึงแนวทางการขับเคลื่อนกับผู้ที่เกี่ยวข้องทุกภาคส่วนเพื่อให้การขับเคลื่อนแผนพลังงานแห่งชาติได้รับข้อเสนอแนะอย่างรอบด้านและ เป็นทิศทางการพัฒนาร่วมกันของทุกฝ่ายในประเทศ” ปลัดกระทรวงพลังงานกล่าว

กระทรวงพลังงาน รับมอบ “ต้นยางนา” จากกระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม เนื่องในวันต้นไม้ประจำปีของชาติ พ.ศ. 2564

นายสุพัฒนพงษ์ พันธ์มีเชาว์ รองนายกรัฐมนตรี และรัฐมนตรีว่าการกระทรวงพลังงาน ได้รับมอบ “ต้นยางนา” จากกระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม เนื่องในวันต้นไม้ประจำปีของชาติ พ.ศ. 2564 โดยต้นยางนาที่ได้รับมอบครั้งนี้ ได้ผ่านพิธีเจริญพระพุทธมนต์ โครงการพฤกษามหามงคล ซึ่งกระทรวงพลังงานได้นำไปปลูกในพื้นที่สำนักงานพลังงานจังหวัดปทุมธานี

สำหรับ “วันต้นไม้ประจำปีของชาติ” นี้ คณะรัฐมนตรีมีมติเมื่อวันที่ 31 มกราคม 2532 กำหนดให้วันวิสาขบูชาของทุกปีเป็นวันต้นไม้ประจำปีของชาติ เพื่อให้ประชาชนและหน่วยงานภาคส่วนต่างๆ มีส่วนร่วมในการฟื้นฟูทรัพยากรป่าไม้ของชาติ เช่น การปลูกต้นไม้ ซึ่งช่วยป้องกันและลดผลกระทบจากการเปลี่ยนแปลงทางสภาพภูมิอากาศ ลดมลภาวะเป็นพิษจากฝุ่นและหมอกควัน โดยในปีนี้ “วันต้นไม้ประจำปีของชาติ” ตรงกับวันที่ 26 พ.ค. 2564

Code of conduct

รายงานการประชุมคณะกรรมการทบทวนโครงสร้าง บทบาท อำนาจ และภารกิจ
ของกระทรวงพลังงาน ครั้งที่ 1/2564   คลิกที่นี่

การประชุมหารือทวิภาคีระหว่างรัฐมนตรีว่าการกระทรวงพลังงาน กับ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงเศรษฐกิจ การค้า และอุตสาหกรรม ของประเทศญี่ปุ่น (METI)

การประชุมหารือทวิภาคีระหว่างรัฐมนตรีว่าการกระทรวงพลังงาน กับ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงเศรษฐกิจ การค้า และอุตสาหกรรม ของประเทศญี่ปุ่น (METI)

วันนี้ (20 พ.ค. 2564) นายสุพัฒนพงษ์ พันธ์มีเชาว์ รองนายกรัฐมนตรี และรัฐมนตรีว่าการกระทรวงพลังงาน ได้ประชุมหารือทวิภาคีกับ H.E. Mr. Kajiyama Hiroshi (นายคาจิยามา ฮิโรชิ) รัฐมนตรีว่าการกระทรวงเศรษฐกิจ การค้า และอุตสาหกรรม ของประเทศญี่ปุ่น (METI) ผ่านระบบการประชุมทางไกล (Virtual Meeting) โดยทั้งสองฝ่ายได้มีการหารือในประเด็นความร่วมมือด้านพลังงานที่สำคัญทั้งในระดับทวิภาคีและพหุภาคี

โดยฝ่ายญี่ปุ่นได้มีการนำเสนอนโยบาย Green Growth Strategy ที่มีเป้าหมายการเข้าสู่ Carbon Neutrality ในปี 2050 รวมถึงนโยบายเพื่อรองรับยุคของการเปลี่ยนผ่านด้านพลังงานที่จะมุ่งเน้นการลดการปลดปล่อย CO2 ในภาคพลังงาน การเติบโตทางเศรษฐกิจ และการปกป้องสิ่งแวดล้อม โดยได้นำเสนอข้อริเริ่ม Asia Energy Transition Initiative เพื่อช่วยเหลือกลุ่มประเทศในภูมิภาคเอเชียให้สามารถเข้าสู่ยุคเปลี่ยนผ่านด้านพลังงานไปสู่พลังงานสะอาดได้ตามเป้าหมาย โดยมุ่งเน้นมาตรการที่เป็นขั้นเป็นตอน ปฏิบัติได้จริง และใช้ทรัพยากร/เทคโนโลยีที่มีอยู่นำมาใช้ประโยชน์สูงสุด

โอกาสนี้ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงพลังงานได้แลกเปลี่ยนแนวนโยบายด้านพลังงานของไทย ซึ่งมีทิศทางการพัฒนาสอดคล้องกับฝ่ายญี่ปุ่น ที่มุ่งเน้นการ Decarbonization ในภาคพลังงาน และมุ่งเน้นการพัฒนาเทคโนโลยีตามแนวทาง BCG โดยแสดงความเห็นพ้องกับฝ่ายญี่ปุ่นที่ภูมิภาคเอเชียจะต้องมีการร่วมมือกันสร้างจุดยืนร่วมกันในการพัฒนาภาคพลังงานต่อไป ในโอกาสนี้ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงพลังงานยังได้แสดงความขอบคุณฝ่ายญี่ปุ่นที่เข้ามามีส่วนร่วมสนับสนุนการศึกษานโยบาย Carbon Neutrality ของไทย โดยไทยได้มีความพร้อมที่จะสนับสนุนกิจกรรมในกรอบความร่วมมืออาเซียน-ญี่ปุ่น และยินดีสนับสนุนนักลงทุนชาวญี่ปุ่นที่จะเข้ามาร่วมพัฒนาเศรษฐกิจและอุตสาหกรรมร่วมกับไทยต่อไป

กระทรวงพลังงาน ร่วมบันทึกเทปถวายพระพรสมเด็จพระนางเจ้าสุทิดา พัชรสุธาพิมลลักษณ พระบรมราชินี

วันนี้ (17 พ.ค. 64 ) นายสุพัฒนพงษ์ พันธ์มีเชาว์ รองนายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรีว่าการกระทรวงพลังงาน และนายกุลิศ สมบัติศิริ ปลัดกระทรวงพลังงาน พร้อมด้วยคณะผู้บริหารระดับสูง ร่วมบันทึกเทปถวายพระพร สมเด็จพระนางเจ้าสุทิดา พัชรสุธาพิมลลักษณ พระบรมราชินี เนื่องในโอกาสวันเฉลิมพระชนมพรรษา 3 มิถุนายน 2564 ณ สถานีวิทยุโทรทัศน์แห่งประเทศไทย NBT

ปลัดกระทรวงพลังงาน เป็นประธานกิจกรรม “พลังงานร่วมใจ สู้ภัยโควิด-19” ส่งมอบชุด PPE และอุปกรณ์ป้องกันทางการแพทย์

วันนี้ (13 พฤษภาคม 2564) นายกุลิศ สมบัติศิริ ปลัดกระทรวงพลังงาน เป็นประธานใน กิจกรรม “พลังงานร่วมใจ สู้ภัยโควิด-19” ซึ่งกระทรวงพลังงาน ร่วมกับ การไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทย (กฟผ.) บริษัท ปตท.จำกัด (มหาชน) สำนักงานคณะกรรมการกำกับกิจการพลังงาน(สำนักงาน กกพ.)และหน่วยงานราชการในสังกัดกระทรวงพลังงาน ซึ่งมีผู้บริหารระดับสูงของแต่ละหน่วยงานเข้าร่วมงาน เพื่อเป็นการส่งมอบชุด PPE และอุปกรณ์ป้องกันทางการแพทย์ ชุด PPE และอุปกรณ์อื่นๆ อาทิ น้ำยาฆ่าเชื้อ หน้ากาก Face shield และถุงมือยาง ให้กับทีมแพทย์ พยาบาล และเจ้าหน้าที่ที่ปฏิบัติงานเชิงรุกเร่งช่วยเหลือและตรวจคัดกรองประชาชนในพื้นที่ชุมชนคลองเตย เพื่อควบคุมสถานการณ์การแพร่ระบาดของโรคโควิด-19 พร้อมร่วมส่งกำลังใจให้ทีมเจ้าหน้าที่และชุมชนชาวคลองเตยให้สามารถก้าวผ่านสถานการณ์ครั้งนี้ไปให้ได้
นายกุลิศ สมบัติศิริ ปลัดกระทรวงพลังงาน เปิดเผยว่า จากสถานการณ์การแพร่ระบาดของโรค โควิด-19 ในพื้นที่ชุมชนเขตคลองเตย ซึ่งขณะนี้พบผู้ติดเชื้อรายวันและมีผู้ที่มีความเสี่ยงสูงอีกเป็นจำนวนมาก ทำให้เจ้าหน้าที่สาธารณสุขทั้งทีมแพทย์ พยาบาล และเจ้าหน้าที่ต่างๆ จำเป็นต้องเร่งปฏิบัติการให้ความช่วยเหลือเชิงรุกในการตรวจคัดกรองประชาชนในพื้นที่ และส่งต่อการรักษาให้ทันเวลา เพื่อควบคุมสถานการณ์การแพร่ระบาดของโรคโควิด-19 ในพื้นที่ดังกล่าวอย่างเร่งด่วน กระทรวงพลังงานตระหนักถึงความปลอดภัยและมีความห่วงใยด้านความปลอดภัยของเจ้าหน้าที่ที่ปฏิบัติงาน รวมถึงประชาชนในพื้นที่เป็นอย่างมากจึงได้ร่วมกับการไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทย (กฟผ.) บริษัท ปตท.จำกัด (มหาชน) สำนักงานคณะกรรมการกำกับกิจการพลังงาน (กกพ.) และหน่วยงานราชการในสังกัดกระทรวงพลังงาน จัดหาชุด PPE และอุปกรณ์ป้องกันทางการแพทย์ ได้แก่ ชุด PPE จำนวน 1,660 ชุด น้ำยาฆ่าเชื้อ จำนวน 40 แกลลอน หน้ากาก Face shield จำนวน 1,005 ชิ้น และถุงมือยางจำนวน 609 กล่องและอุปกรณ์อื่นๆที่เกี่ยวข้องรวมมูลค่ากว่า 800,000 บาท เพื่อส่งมอบให้กับทีมแพทย์ พยาบาล และเจ้าหน้าที่ที่ปฏิบัติงาน ณ สำนักงานเขตคลองเตย ใช้ป้องกันความปลอดภัยในขณะปฏิบัติหน้าที่ในพื้นที่ดังกล่าว พร้อมทั้งคาดหวังว่าสถานการณ์ครั้งนี้จะสามารถคลี่คลายไปได้ด้วยดีโดยเร็ว

“กระทรวงพลังงาน หน่วยงานในสังกัด รวมทั้งข้าราชการและเจ้าหน้าที่ ขอร่วมเป็นส่วนหนึ่งในการสนับสนุนการปฏิบัติงานของทีมแพทย์ พยาบาล และเจ้าหน้าที่ทุกๆ ท่าน พร้อมทั้งขอส่งความห่วงใยและกำลังใจให้ประชาชนในชุมชนคลองเตยให้สามารถก้าวผ่านสถานการณ์ครั้งนี้ไปให้ได้ และขอฝากให้ประชาชนทุกท่าน เพิ่มความระมัดระวัง ใส่หน้ากากตลอดเวลา ล้างมือทุกครั้งที่สัมผัสหรือหยิบจับสิ่งของ การเว้นระยะห่างตามมาตรการสาธารณสุข และผมมีความเชื่อมั่นว่าด้วยความร่วมแรงร่วมใจของคนไทย เราจะข้ามผ่านวิกฤตโรคโควิด-19 นี้ ไปด้วยกัน” นายกุลิศ กล่าว

พระราชพิธีบรมราชาภิเษกพุทธศักราช 2562

“เนื่องในโอกาสพระราชพิธีบรมราชาภิเษกพุทธศักราช 2562″
ขอพระองค์ทรงพระเจริญ

ด้วยเกล้าด้วยกระหม่อม ขอเดชะ
ข้าพระพุทธเจ้า นายกุลิศ สมบัติศิริ
ปลัดกระทรวงพลังงาน
ผู้บริหาร ข้าราชการ และเจ้าหน้าที่กระทรวงพลังงาน”

กระทรวงพลังงาน ดำเนินมาตรการลดความเสี่ยงการแพร่ระบาดของเชื้อโรคโควิด-19 สั่งทุกหน่วยงานในสังกัด 95% Work from Home ตามมาตรการ ศบค.

“กระทรวงพลังงาน” ดำเนินมาตรการลดความเสี่ยงการแพร่ระบาดของเชื้อโรคโควิด-19 สั่งทุกหน่วยงานในสังกัด ให้ข้าราชการ เจ้าหน้าที่ และพนักงาน 95% Work from Home ตามมาตรการ ศบค. ในระหว่างวันที่ 1-31 พฤษภาคมนี้ พร้อมยืนยันไม่กระทบงานบริการประชาชน เตรียมพร้อมบุคลากรให้บริการประชาชนต่อเนื่องทั้งช่องทางออนไลน์และออฟไลน์

นายกุลิศ สมบัติศิริ ปลัดกระทรวงพลังงาน เปิดเผยว่า ตามที่ศูนย์บริหารสถานการณ์การแพร่ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (โควิด-19) หรือ ศบค.ได้ขอความร่วมมือให้หน่วยงานภาครัฐและภาคเอกชน พิจารณาดำเนินการมาตรการปฏิบัติงานที่บ้าน (Work from Home) ในมาตรการขั้นสูงสุดอย่างน้อย 14 วัน เพื่อลดการแพร่ระบาดของโรคโควิด-19 เนื่องจากการระบาดรอบใหม่มีการแพร่กระจายเชื้ออย่างรวดเร็ว ซึ่งทำให้ขณะนี้มีตัวเลขผู้ติดเชื้อเพิ่มสูงขึ้นอย่างต่อเนื่อง
ทั้งนี้ กระทรวงทรวงพลังงาน จึงได้สั่งการให้ทุกหน่วยงานในสังกัด ดำเนินมาตรการให้ข้าราชการ เจ้าหน้าที่ และพนักงานราชการส่วนกลางในสังกัดไม่น้อยกว่าร้อยละ 95 ดำเนินการตามมาตรการปฏิบัติงานที่บ้าน (Work from Home) เพื่อลดความเสี่ยงการติดและแพร่กระจายของโรคโควิด -19 โดยเริ่มตั้งแต่วันที่ 1–31 พฤษภาคม 2564 โดยมอบแนวทางปฏิบัติงานให้หน่วยงานต่างๆ นำระบบเทคโนโลยีสารสนเทศ อาทิ การประชุมผ่านระบบวิดีโอคอนเฟอเรนซ์ การติดต่อสื่อสารผ่านระบบอีเมล์ หรือ แอปพลิเคชันต่างๆ มาเป็นเครื่องมือในการปฏิบัติงาน เพื่อให้การดำเนินงานทั้งในส่วนงานประจำของแต่ละหน่วยงานและงานบริการประชาชน สามารถดำเนินการได้อย่างต่อเนื่องแม้ในช่วงสถานการณ์ดังกล่าว ทั้งนี้ หากประชาชนที่ต้องการจะติดต่อสอบถามกับทางกระทรวงฯ หรือหน่วยงานในสังกัด สามารถติดต่อได้ตามปกติทั้งทางช่องทางออนไลน์และออฟไลน์
“กระทรวงพลังงาน มีความห่วงใยประชาชน ข้าราชการและเจ้าหน้าที่ทุกคน ในสถานการณ์การแพร่ระบาดของโควิด-19 รอบใหม่นี้เป็นอย่างมาก จึงจะขอความร่วมมือให้ทั้งประชาชน ข้าราชการ และเจ้าหน้าที่ ปฏิบัติตามมาตรการเฝ้าระวังและป้องกันการแพร่ระบาดของโรคโควิด-19 อย่างเคร่งครัด ทั้งการเว้นระยะห่างทางสังคม (Social Distancing) ใส่หน้ากากอนามัยตลอดเวลาหากจำเป็นต้องเข้ามาปฏิบัติงานหรือมาติดต่อในสถานที่ราชการ โดยให้มีการจัดตั้งจุดคัดกรองวัดอุณหภูมิร่างกายทุกคนก่อนเข้าอาคารทุกครั้ง เพื่อลดการแพร่ระบาดของโควิด-19 และสามารถก้าวผ่านสถานการณ์ครั้งนี้ไปด้วยกัน” ปลัดกระทรวงพลังงาน กล่าว

กระทรวงพลังงานและสถานเอกอัครราชทูตสหรัฐอเมริกาประจำประเทศไทย ร่วมกันจัดงาน Private Sector Engagement Event ผ่านระบบออนไลน์

กระทรวงพลังงานและสถานเอกอัครราชทูตสหรัฐอเมริกาประจำประเทศไทย ร่วมกันจัดงาน Private Sector Engagement Event ผ่านระบบออนไลน์ ขึ้นในวันที่ 27 เมษายน 2564 ซึ่งเป็นกิจกรรมที่จัดขึ้นสืบเนื่องจากมติที่ประชุม The 1st United States-Thailand Energy Policy Dialogue เมื่อวันอังคารที่ 27 ตุลาคม 2563 โดย Private Sector Engagement Event จัดขึ้นเพื่อกระชับและเสริมสร้างความร่วมมือด้านพลังงานระหว่างสองประเทศ ด้วยการเปิดโอกาสให้ภาคเอกชนและภาครัฐของทั้งสองฝ่ายได้พบปะและหารือถึงความเป็นไปได้ที่จะร่วมมือกันในอนาคต โดยมี Mr. Michael G. Heath อุปทูตรักษาการแทนเอกอัครราชทูตสหรัฐอเมริกาประจำประเทศไทย และนายกุลิศ สมบัติศิริ ปลัดกระทรวงพลังงาน ให้เกียรติเป็นประธานร่วมทั้งสองฝ่ายเสนอที่จะส่งเสริมความร่วมมือด้านพลังงานระดับทวิภาคี โดยกระชับความร่วมมือและข้อริเริ่มระหว่างภาครัฐและภาคเอกชนที่จะช่วยสนับสนุนการพัฒนาด้านพลังงานของไทยอย่างยั่งยืนและคุ้มค่า จากแหล่งพลังงานที่มีศักยภาพ Mr. Michael G. Heath กล่าวว่า “ด้วยการผลักดันจากนโยบายของภาครัฐ ร่วมกับนวัตกรรมอันล้ำสมัยของภาคเอกชน ประเทศไทยจะก้าวเข้าสู่การเป็นผู้นำของภูมิภาคและของโลก ในการกำหนดแนวทางความมั่นคงด้านพลังงาน สหรัฐอเมริกาขอชื่นชมความพยายามของบริษัททั้งฝ่ายสหรัฐฯ และฝ่ายไทยสำหรับการผลิตพลังงานจากแหล่งที่หลากหลาย การพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานด้านพลังงานให้ทันสมัย และช่วยสร้างตลาดแลกเปลี่ยนสินค้าพลังงานในภูมิภาค”
ทั้งนี้ นายกุลิศ ปลัดกระทรวงพลังงานได้กล่าวว่า “กระทรวงพลังงานไทยเล็งเห็นความสำคัญของความร่วมมือทวิภาคีด้านพลังงานระหว่างสหรัฐอเมริกาและไทย โดยการประชุมหารือในวันนี้จะเป็นโอกาสสำคัญที่จะเป็นเวทีแลกเปลี่ยนข้อมูลและแนวคิดจากภาคเอกชนด้านพลังงานของทั้งสองประเทศในการพัฒนาแนวทางการทำธุรกิจด้านพลังงานร่วมกันในอนาคต ซึ่งนับว่าเป็นช่วงเวลาที่เหมาะสมสำหรับการผลักดันให้เกิดความร่วมมือจากทุกภาคส่วนในด้านพลังงานเพื่อให้เกิดการฟื้นตัวทางภาคเศรษฐกิจ รวมถึงการร่วมกันป้องกันและแก้ไขปัญหาการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศที่เป็นปัญหาสำคัญในระดับโลกซึ่งจะมีการหารือในประเด็นดังกล่าวนี้ในการประชุมครั้งนี้อีกด้วย”
ผู้แทนจากทั้งสองฝ่ายต่างตระหนักถึงบทบาทที่สำคัญของภาคเอกชนในการขับเคลื่อนนวัตกรรม โดยได้เห็นพ้องที่จะแสวงหาโอกาสในการขยายความร่วมมือด้านการค้า โดยเฉพาะอย่างยิ่งในภาคการผลิตไฟฟ้า ก๊าซธรรมชาติ พลังงานทดแทนและการอนุรักษ์พลังงาน และรัฐบาลสหรัฐฯ ได้เน้นย้ำบทบาทของบรรษัทการเงินเพื่อการพัฒนาของสหรัฐอเมริกา (the United States International Development Finance Corporation) ในการช่วยสนับสนุนด้านการค้าและการเงิน และบทบาทของสำนักงานส่งเสริมการค้าและการพัฒนาแห่งสหรัฐอเมริกา (the United States Trade and Development Agency) ในการช่วยสนับสนุนด้านเทคนิคที่เกี่ยวข้องด้วย
ในโอกาสเดียวกันนี้ ผู้แทนจากกระทรวงพลังงานได้กล่าวถึงแผนพลังงานแห่งชาติ (National Energy Plan) ที่อยู่ระหว่างการจัดทำแผน โดยมีเป้าหมายหลักในการมุ่งเน้นการพัฒนาไปสู่การใช้พลังงานสะอาดและเป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อมเพื่อการพัฒนาเศรษฐกิจและความสามารถในการแข่งขันของประเทศ โดยผู้เข้าร่วมภาคเอกชนจากทั้งสองฝ่ายต่างให้ความสนใจในแนวทางนโยบายและกฎระเบียบด้านพลังงานของไทย และได้รับทราบถึงบทบาทสำคัญของไทยในการอำนวยความสะดวกด้านการพัฒนาและเชื่อมโยงภาคพลังงานในภูมิภาคอาเซียน ทั้งนี้ สหรัฐฯ และไทยมีแผนที่จะจัดการประชุม The 2nd United States-Thailand Energy Policy Dialogue ในช่วงปลายปี 2564 เพื่อต่อยอดความก้าวหน้าความร่วมมือด้านพลังงานจากการจัดประชุมเมื่อปี 2563 ที่ผ่านมา

รองปลัดกระทรวงพลังงาน ถวายแจกันดอกไม้และลงนามถวายพระพรสมเด็จพระกนิษฐาธิราชเจ้า กรมสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี

วันนี้ (2 เม.ย. 64) นางเปรมฤทัย วินัยแพทย์ และนายสมบูรณ์ หน่อแก้ว รองปลัดกระทรวงพลังงาน พร้อมด้วยผู้บริหารของกระทรวงพลังงาน  ถวายแจกันดอกไม้เบื้องหน้าพระบรมฉายาลักษณ์ และร่วมลงนามถวายพระพร สมเด็จพระกนิษฐาธิราชเจ้า กรมสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี เนื่องในวันคล้ายวันพระราชสมภพ 2 เมษายน 2564 ณ ศาลาสหทัยสมาคม ภายในพระบรมมหาราชวัง

รัฐมนตรีว่าการกระทรวงพลังงาน ร่วมการประชุม IEA-COP26 Net Zero Summit ผ่านระบบออนไลน์

เมื่อวันที่ 31 มีนาคม 2564 รัฐมนตรีว่าการกระทรวงพลังงาน (นายสุพัฒนพงษ์ พันธ์มีเชาว์) ได้เข้าร่วมการประชุม IEA-COP26 Net Zero Summit ผ่านระบบออนไลน์ (Virtual Meeting) ณ ห้องประชุม 2 ชั้น 15 ศูนย์เอนเนอร์ยี่คอมเพล็กซ์ อาคารบี โดยการประชุมดังกล่าวเป็นการประชุมด้านพลังงานที่จัดขึ้นร่วมกันระหว่างทบวงการพลังงานระหว่างประเทศ (International Energy Agency: IEA) กับรัฐบาลแห่งสหราชอาณาจักรในฐานะประธานการประชุม COP26 โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อเป็นเวทีหารือร่วมกันของผู้แทนระดับรัฐมนตรีจากประเทศต่าง ๆ และผู้นำองค์กรระหว่างประเทศในประเด็นที่เกี่ยวข้องกับการเปลี่ยนผ่านด้านพลังงานของโลก
เพื่อมุ่งไปสู่การบรรลุเป้าหมายการปลดปล่อยก๊าซเรือนกระจกสุทธิเท่ากับศูนย์ (Net zero emission) และการควบคุมการเพิ่มขึ้นของอุณหภูมิโลกไม่ให้เกิน 1.5 องศาเซลเซียสตามข้อตกลงปารีส (Paris Agreement)

รัฐมนตรีว่าการกระทรวงพลังงาน ได้กล่าวบรรยายในช่วง Ministerial Panel 2: Catalysing Near-Term Implementation ร่วมกับรัฐมนตรีพลังงานจากประเทศต่าง ๆ ได้แก่ สวีเดน อินโดนีเซีย บราซิล นอร์เวย์ ลิทัวเนีย และผู้นำองค์กรระหว่างประเทศ เช่น International Renewable Energy Agency (IRENA), African Union Commission, International Atomic Energy Agency (IAEA) และ Hitachi ABB Power Grids เป็นต้น ซึ่งรัฐมนตรีว่าการกระทรวงพลังงาน ได้กล่าวในที่ประชุมว่า ทุกประเทศควรเปลี่ยนความท้าทายด้านพลังงานให้เป็นโอกาส โดยการปฏิวัติระบบพลังงานให้เป็นรูปธรรมและเสริมสร้างความร่วมมือกันระหว่างประชาคมโลกเพื่ออนาคตของภาคพลังงานที่มีความยืดหยุ่น มั่นคง และยั่งยืน ทั้งนี้ กระทรวงพลังงานอยู่ในระหว่างการจัดทำแผนพลังงานแห่งชาติ (National Energy Plan: NEP) ที่มุ่งเน้นไปสู่การใช้พลังงานสะอาดและเป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม ผ่านการเพิ่มสัดส่วนการใช้พลังงานหมุนเวียนซึ่งมุ่งเน้นไปที่การใช้ทรัพยากรในท้องถิ่นที่ปล่อยคาร์บอนต่ำ และการส่งเสริมโรงไฟฟ้าชุมชนเพื่อสร้างรายได้และความเป็นอยู่ที่ดีให้แก่ภาคประชาชน

รัฐมนตรีว่าการกระทรวงพลังงาน ได้กล่าวว่า ประเทศไทยจะเป็นเจ้าภาพจัดการประชุม APEC Leader Summit ในปี 2022 ภายใต้แนวคิดหลักคือ “Bio-Circular-Green Economy Model” หรือ BCG Model จึงขอเชิญสมาชิกเขตเศรษฐกิจเอเปกเข้าร่วมการประชุมดังกล่าวที่ประเทศไทยอีกด้วย อีกทั้งกระทรวงพลังงานยังมี     กลยุทธ์ระยะยาวเพื่อนำไปสู่การปล่อยคาร์บอนเป็นศูนย์ เช่น การขยายการผลิตและการใช้พลังงานที่ปล่อยคาร์บอนต่ำ การเปลี่ยนผ่านไปสู่การใช้ยานยนต์ไฟฟ้า การส่งเสริมการจัดการขยะให้เป็นพลังงาน การส่งเสริมการผลิตและการบริการคาร์บอนต่ำในกิจกรรมทางเศรษฐกิจ การมุ่งไปสู่การเกษตรที่ปลอดการเผาและการเกษตรอัจฉริยะผ่านเทคโนโลยีดิจิทัล และการใช้เทคโนโลยีที่เป็นนวัตกรรมอย่างสร้างสรรค์และยั่งยืน เป็นต้น

นอกจากนี้ ที่ประชุมได้เน้นย้ำถึงความสำคัญของความร่วมมือระหว่างทุกภาคส่วนในประชาคมโลกเพื่อให้บรรลุการเปลี่ยนผ่านด้านพลังงานไปสู่พลังงานสะอาด โดยเฉพาะอย่างยิ่ง การใช้ไฮโดรเจนสะอาด การส่งเสริมเทคโนโลยีจัดเก็บพลังงาน การใช้ยานยนต์ไฟฟ้า การพัฒนาเทคโนโลยีดักจับและกักเก็บคาร์บอน (CCUS) และการลดการใช้เชื้อเพลิงฟอสซิล เพื่อให้สอดคล้องกับเป้าหมายความตกลงปารีส (Paris Agreement) รวมถึงการลดการปล่อยคาร์บอนสุทธิเป็นศูนย์ (Net zero emission) ภายในปี 2050

ปลัดกระทรวงพลังงาน บันทึกเทปรายการกะเทาะเปลือกคอร์รัปชัน

วันนี้ (1 เมษายน 2564) นายกุลิศ สมบัติศิริ ปลัดกระทรวงพลังงาน บันทึกเทปสัมภาษณ์พิเศษในรายการกะเทาะเปลือกคอร์รัปชัน ประเด็น “พน. โปร่งใส ต้านทุจริตคอร์รัปชัน” ซึ่งออกอากาศทางสถานีวิทยุโทรทัศน์แห่งประเทศไทย (NBT) โดยนำเสนอถึงนโยบายและมาตรการด้านการป้องกันการทุจริตของหน่วยงาน และการสร้างความโปร่งใสในการดำเนินกิจการด้านพลังงาน เช่น กระบวนการอนุมัติ อนุญาต หรือการติดต่อกับหน่วยงานในกระทรวงพลังงานโดยสามารถติดต่อผ่านช่องทางระบบสารสนเทศ เช่น Website  (www.energy.go.th) Facebook (www.facebook.com/ministryofenergy) โทรศัพท์ 02-140-7000 และอีเมล์ inspector_g@energy.go.th อีกทั้ง กระทรวงพลังงานได้เพิ่มช่องทางการแจ้งเบาะแสหรือร้องเรียนทางออนไลน์ เพื่อให้ประชาชนได้เข้ามามีส่วนร่วมในการแจ้งเบาะแสหรือการที่ไม่ได้รับความสะดวกในการติดต่อกับหน่วยงานในกระทรวงพลังงาน ทั้งนี้ ท่านสามารถติดตามวันและเวลาออกอากาศได้ทาง Facebook กระทรวงพลังงาน

กระทรวงพลังงาน ร่วม กระทรวงอุตสาหกรรม ประชุม EV ชาติ เตรียมออกมาตรการส่งเสริมกระตุ้นใช้รถ EV

ก.พลังงาน ร่วม ก.อุตฯ ประชุม EV ชาติ เตรียมออกมาตรการส่งเสริมกระตุ้นใช้รถ EV

เมื่อวันที่ 24 มีนาคม 2564 นายสุพัฒนพงษ์ พันธ์มีเชาว์ รองนายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรีว่าการกระทรวงพลังงาน ในฐานะประธานคณะกรรมการนโยบายยานยนต์ไฟฟ้าแห่งชาติ ได้ร่วมประชุมคณะกรรมการนโยบายยานยนต์ไฟฟ้าแห่งชาติ (บอร์ดอีวี) โดยมีนายสุริยะ จึงรุ่งเรืองกิจ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงอุตสาหกรรม พร้อมด้วยผู้บริหารระดับสูงของหน่วยงานที่เกี่ยวข้องเข้าร่วมประชุมเพื่อกำหนดทิศทางการส่งเสริมยานยนต์ไฟฟ้า ด้วยการลดการใช้รถยนต์ที่ใช้เครื่องยนต์สันดาปไปสู่รถยนต์ไฟฟ้า(EV) เพื่อก้าวเข้าสู่สังคมคาร์บอนต่ำ (Low Carbon Society) และการเป็นฐานการผลิตยานยนต์ไฟฟ้าและชิ้นส่วนที่สำคัญของโลก

นายสุพัฒนพงษ์ พันธ์มีเชาว์ รองนายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรีว่าการกระทรวงพลังงาน เปิดเผยว่า
ในปัจจุบันทั่วโลกต่างตระหนักถึงปัญหาผลกระทบจากภาวะโลกร้อนที่เกิดจากการปล่อยก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์
สู่ชั้นบรรยากาศ ซึ่งเป็นสาเหตุสำคัญของการเกิดก๊าซเรือนกระจก จึงทำให้หลายประเทศไม่ว่าจะเป็นญี่ปุ่น จีน สหรัฐอเมริกา ประกาศเป้าหมายชัดเจนว่าจะลดการปล่อยคาร์บอนเป็นศูนย์ และงดการใช้รถยนต์ที่ใช้เครื่องยนต์สันดาปภายใน ดังนั้นเพื่อให้ทิศทางการดำเนินงานนโยบายด้านพลังงานของไทยสอดคล้องกับกระแสเทรนด์ของโลก จึงมีนโยบายลดการใช้รถยนต์ที่ใช้เครื่องยนต์สันดาปไปสู่การใช้รถยนต์ไฟฟ้า (EV) ซึ่งเป็นแนวทางหนึ่งในการลดการปล่อยก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์

การประชุมคณะกรรมการนโยบายยานยนต์ไฟฟ้าแห่งชาติในวันนี้ ที่ประชุมได้ร่วมกำหนดแผนยุทธศาสตร์ส่งเสริมการใช้ยานยนต์ไฟฟ้าในประเทศ เนื่องจากอุตสาหกรรมยานยนต์ที่ผ่านมาผลิตเครื่องยนต์สันดาป ซึ่งเป็นสาเหตุหนึ่งที่ก่อให้เกิดการปล่อยก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์และปัญหาฝุ่นละอองขนาดเล็ก PM 2.5 จึงได้วางเป้าหมายการส่งเสริมการผลิตและการใช้รถยนต์ไฟฟ้า (อีวี) โดยคาดการณ์ว่าในปี 2568 รถยนต์ไฟฟ้าจะมีราคาเทียบเท่ากับรถยนต์สันดาป เพื่อก้าวสู่เป้าหมายการลดการปล่อยก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์
ในการดำเนินงานขับเคลื่อนส่งเสริมยานยนต์ไฟฟ้า เพื่อให้ประเทศไทยก้าวสู่การเป็นฐานการผลิตยานยนต์ไฟฟ้าและชิ้นส่วนที่สำคัญของโลก ได้มอบหมายให้กระทรวงอุตสาหกรรม กระทรวงพลังงาน และกระทรวงคมนาคม ร่วมกันพิจารณาส่งเสริมยานยนต์ไฟฟ้าประกอบด้วย รถยนต์ จักรยานยนต์ และรถบัสสาธารณะ โดยกระทรวงอุตสาหกรรมและหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง เตรียมความพร้อมทั้งในส่วนของอุปทาน (ผู้ผลิต) โดยเฉพาะการเชื่อมโยงผู้ผลิตชิ้นส่วนและอุปกรณ์ที่เกี่ยวเนื่องในยานยนต์ไฟฟ้า รวมถึงผลักดันผู้ประกอบการที่มีศักยภาพ เพื่อเร่งให้เกิดการผลิตยานยนต์ไฟฟ้าในประเทศไทยโดยเร็ว โดยมีเป้าหมายการใช้ยานยนต์ไฟฟ้ารวมทุกประเภทในปี 2568 รวมจำนวนทั้งสิ้น 1,055,000 คัน โดยแบ่งเป็นรถยนต์/รถปิกอัพ 402,000 คัน รถจักรยานยนต์ 622,000 คัน และรถบัส/รถบรรทุก 31,000 คัน และในปี 2578 ให้เพิ่มขึ้นเป็นจำนวนรวม 15,580,000 คัน แบ่งเป็นรถยนต์/รถปิกอัพ 6,400,000 คัน รถจักรยานยนต์ 8,750,000 คัน และรถบัส/รถบรรทุก 430,000 คัน และได้วางเป้าหมายการผลิตยานยนต์ไฟฟ้าของประเทศ ในปี 2568 จะมีจำนวนรวมทั้งสิ้น 1,051,000 คัน แบ่งเป็นรถยนต์/รถปิกอัพ 400,000 คัน รถจักรยานยนต์ 620,000 คัน และรถบัส/รถบรรทุก 31,000 คัน และในปี 2578 ให้เพิ่มขึ้นเป็นจำนวนรวม 18,413,000 คัน แบ่งเป็นรถยนต์/รถปิกอัพ 8,625,000 คัน รถจักรยานยนต์ 9,330,000 คัน และรถบัส/รถบรรทุก 458,000 คัน

นอกจากนี้ที่ประชุมยังได้วางนโยบายการขับเคลื่อนอุตสาหกรรมยานยนต์ไฟฟ้าด้วยมาตรการระยะเร่งด่วนและมาตรการระยะ 1- 5 ปี ดังนี้
มาตรการกระตุ้นการใช้รถ EV ระยะเร่งด่วน โดยจะมุ่งส่งเสริมการใช้รถยนต์ไฟฟ้าทั้งประเภทสองล้อ
สามล้อ และสี่ล้อไฟฟ้า โดยวางแผนจัดตั้งสถานีอัดประจุไฟฟ้าสำหรับรถยนต์และรถจักรยานยนต์ รวมทั้งส่งเสริมการจัดตั้งศูนย์ทดสอบมาตรฐานแบตเตอรี่และการบริหารจัดการซากแบตเตอรี่ที่เกิดจากการใช้งานภายในประเทศอย่างเป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม ซึ่งมาตรการเหล่านี้ยังอยู่ในระหว่างการศึกษารายละเอียด เพื่อนำผลสรุปมาปรับใช้ให้เหมาะสมกับสถานการณ์ต่อไป
มาตรการกระตุ้นระยะ 1-5 ปี ดำเนินการส่งเสริมการปรับโครงสร้างภาษีสรรพสามิต การเตรียม
การด้านการบริหารจัดการซากรถยนต์แบตเตอรี่ที่ใช้แล้ว โดยคำนึงถึงความปลอดภัยและสิ่งแวดล้อมเป็นหลักตามมาตรฐานสากล พร้อมทั้งเตรียมความพร้อมของโครงสร้างพื้นฐาน (EcoSystem) เพื่อส่งเสริมการใช้ยานยนต์ไฟฟ้าพลังงานสะอาด
พร้อมกันนี้ที่ประชุมยังได้พิจารณาแต่งตั้งคณะอนุกรรมการภายใต้คณะกรรมการนโยบายยานยนต์ไฟฟ้าแห่งชาติขึ้น ได้แก่ 1.คณะอนุกรรมการส่งเสริมอุตสาหกรรมการผลิตยานยนต์ไฟฟ้าและชิ้นส่วน 2. คณะอนุกรรมการพัฒนาระบบโครงสร้างพื้นฐานและแบตเตอรี่เพื่อรองรับยานยนต์ไฟฟ้า 3.คณะอนุกรรมการประเมินผลกระทบด้านน้ำมันเชื้อเพลิงและก๊าซเรือนกระจกจากการส่งเสริมยานยนต์ไฟฟ้า และ 4. คณะอนุกรรมการส่งเสริมการใช้ยานยนต์ไฟฟ้า เพื่อให้การส่งเสริมการผลิตและการใช้ยานยนต์ไฟฟ้าดำเนินนโยบายไปอย่างมีประสิทธิภาพและประสิทธิผล รวมทั้งเกิดการบูรณาการขับเคลื่อนการดำเนินงานด้านยานยนต์ไฟฟ้าของประเทศไทยให้เป็นรูปธรรมและทันต่อการเปลี่ยนแปลงของเทคโนโลยี ซึ่งจะเป็นความร่วมมือกันในการเดินหน้านโยบายส่งเสริมรถยนต์ไฟฟ้าอย่างต่อเนื่องตั้งแต่ต้นทางจนถึงปลายทาง และนำพาประเทศก้าวสู่การเป็นฐานการผลิตยานยนต์ไฟฟ้าและชิ้นส่วนที่สำคัญของโลก

และหลังจากการประชุม นายสุพัฒนพงษ์ พันธ์มีเชาว์ พร้อมคณะกรรมการนโยบายยานยนต์ไฟฟ้าแห่งชาติ ได้ร่วมเดินทางเข้าชมงาน บางกอก อินเตอร์เนชั่นแนล มอเตอร์โชว์ ครั้งที่ 42 (Motor Show 2021) ณ ชาเลนเจอร์ ฮอลล์ 1-3 อิมแพ็ค เมืองทองธานี ซึ่งมีค่ายรถยนต์นำรถยนต์ไฟฟ้ามาแสดงและจำหน่ายภายในงานหลากหลายรุ่น โดยได้รับความสนใจจากประชาชนเป็นจำนวนมาก

…………………………………

 

รองปลัดกระทรวงพลังงาน ลงพื้นที่ติดตามความคืบหน้าการแก้ไขปัญหาโครงการโซลาร์เซลล์ของกองทุนอนุรักษ์

“ก.พลังงาน” ลงพื้นที่ติดตามความคืบหน้าการแก้ไขปัญหาโครงการโซลาร์เซลล์ของกองทุนอนุรักษ์ ย้ำ ประชาชนต้องใช้ประโยชน์ได้เต็มประสิทธิภาพ

“สมบูรณ์ หน่อแก้ว” รองปลัดกระทรวงพลังงาน ประธานคณะทำงานกำกับติดตามผลการดำเนินโครงการเทคโนโลยีพลังงานแสงอาทิตย์ นำคณะทำงานฯ ข้าราชการ เจ้าหน้าที่กระทรวงพลังงาน และสื่อมวลชน ลงพื้นที่จังหวัดแม่ฮ่องสอน ตรวจติดตามความคืบหน้าการแก้ไขปัญหาโครงการระบบสูบน้ำพลังงานพลังงานแสงอาทิตย์ ที่ได้รับจัดสรรงบประมาณจากกองทุนเพื่อส่งเสริมการอนุรักษ์พลังงาน เน้นย้ำว่า ทุกโครงการต้องแก้ไขให้แล้วเสร็จ เพื่อให้ประชาชนได้ใช้ประโยชน์จริง

นายสมบูรณ์ หน่อแก้ว รองปลัดกระทรวงพลังงาน ประธานคณะทำงานกำกับติดตามผลการดำเนินโครงการเทคโนโลยีพลังงานแสงอาทิตย์ เปิดเผยว่า ตามที่กระทรวงพลังงานมีการตั้งคณะทำงานกำกับและติดตามผลการดำเนินโครงการเทคโนโลยีพลังงานแสงอาทิตย์ เพื่อตรวจติดตามการดำเนินโครงการฯ ที่ได้รับการสนับสนุนจากงบประมาณกองทุนเพื่อส่งเสริมการอนุรักษ์พลังงานทั่วประเทศ ในช่วงปี 2557-2562 เพื่อให้ทุกโครงการฯ ดำเนินการให้เกิดประโยชน์ต่อประชาชนในพื้นที่ตามวัตถุประสงค์ของการจัดสรรงบประมาณอย่างแท้จริง

ในการลงพื้นที่จังหวัดแม่ฮ่องสอนครั้งนี้ เป็นการติดตามความคืบหน้าการแก้ไขปัญหาในส่วนโครงการของกองอำนวยการรักษาความมั่นคงภายใน ภาค 3 หรือ กอ.รมน.ภาค 3 ที่ได้รับงบประมาณสนับสนุนจากกองทุนเพื่อส่งเสริมการอนุรักษ์พลังงาน ผ่านกรมพัฒนาพลังงานทดแทนและอนุรักษ์พลังงาน หรือ พพ. ปี 2560 เพื่อติดตั้งระบบสูบน้ำพลังงานแสงอาทิตย์ และระบบกรองน้ำสำหรับอุปโภคขนาดกำลังการผลิตติดตั้ง 10 กิโลวัตต์ และระบบกรองน้ำสำหรับบริโภคขนาดกำลังการผลิตติดตั้ง 2 กิโลวัตต์ ในพื้นที่อำเภอแม่สะเรียง และอำเภอสบเมย จังหวัดแม่ฮ่องสอน และพื้นที่อำเภอท่าสองยาง จังหวัดตาก จำนวนรวม 20 แห่ง

ทั้งนี้ ภายหลังจากการดำเนินโครงการของ กอ.รมน.ภาค 3 แล้วเสร็จ ทาง พพ. ได้ดำเนินการตรวจสอบและประเมินผลโครงการฯ ตั้งแต่ช่วงเดือนสิงหาคม 2561-เดือนมิถุนายน 2562 จำนวน 3 ครั้ง พบว่าทั้ง 20 แห่ง สามารถใช้งานได้ตามปกติ และอยู่ภายใต้เงื่อนไขของการรับประกันของผู้รับจ้าง อย่างไรก็ตาม ภายหลังจากหมดช่วงรับประกัน (กันยายน 2563)  ได้มีการลงพื้นที่ตรวจสอบอีกครั้งในช่วงกุมภาพันธ์ 2564 ที่ผ่านมา พบว่าแต่ละแห่งประสบปัญหาเรื่องประสิทธิภาพการใช้งานของระบบฯ ตามสภาพการใช้งานที่บางแห่งระบบกรองน้ำอุปโภคใช้ได้หรือบางแห่งระบบกรองน้ำบริโภคใช้ได้ ซึ่งขณะนี้ ได้มีการแก้ไขให้สามารถใช้งานได้ทั้ง 2 ระบบแล้วทั้ง 18 แห่ง และอยู่ระหว่างการเร่งแก้ไขอีก 2 แห่ง ซึ่งมีกำหนดแล้วเสร็จภายในเดือนมีนาคมนี้ และหลังจากนั้น จะมีการส่งมอบให้กับองค์การบริหารส่วนตำบล (อบต.) ในพื้นที่ของโครงการเพื่อนำไปบริหารจัดการให้เกิดประโยชน์ต่อชุมชนในพื้นที่ ต่อไป โดยเจ้าของโครงการจะร่วมกับผู้รับจ้างและผู้เกี่ยวข้องจะดำเนินการฝึกอบรมการใช้งาน การดูแลบำรุงรักษาให้แก่ อบต.ผู้นำชุมชน และผู้ใช้งาน เพื่อให้สามารถบริหารจัดการและใช้งานระบบฯ ได้อย่างมีประสิทธิภาพและยั่งยืนต่อไป

“คณะทำงานฯ จะดำเนินการตรวจสอบและติดตามการแก้ไขปัญหาโครงการที่ไม่สามารถใช้งานได้ เมื่อทราบปัญหาแล้วจะได้ประสานหน่วยงานเจ้าของโครงการและหน่วยงานที่เกี่ยวข้องจัดทำแผนดำเนินการซ่อมบำรุงกลับสู่สภาพเดิมให้ประชาชนสามารถใช้โครงการต่างๆ ได้อย่างเต็มประสิทธิภาพ พร้อมทั้งจะทำหน้าที่ติดตามตรวจสอบโครงการทั้งหมดอีกกว่า 788 โครงการทั่วประเทศ เพื่อให้ประชาชนมีความมั่นใจว่างบประมาณจากกองทุนดังกล่าวจะก่อให้เกิดประโยชน์ได้อย่างแท้จริง ส่วนโครงการที่จะเกิดขึ้นในอนาคตนั้น การพิจารณาอนุมัติงบประมาณจากกองทุนเพื่อส่งเสริมการอนุรักษ์พลังงานจะมีความเข้มงวดมากขึ้น  โดยจะมีการตรวจสอบตั้งแต่คำขอโครงการที่จะต้องมีรายละเอียดงบประมาณ แผนงานการดำเนินงานและมีแผนงบประมาณการซ่อมบำรุงที่ชัดเจน คำนึงถึงความเหมาะสมของพื้นที่ มีความคุ้มค่า ตรงกับความต้องการของประชาชนในพื้นที่อีกด้วย”   รองปลัดกระทรวงพลังงาน กล่าว

ซักซ้อมแนวทางการรายงานผลการดำเนินงานแผนงาน/โครงการตามนโยบายสำคัญของกระทรวงพลังงาน ประจำปี 2564

ซักซ้อมแนวทางการรายงานผลการดำเนินงานแผนงาน/โครงการตามนโยบายสำคัญของกระทรวงพลังงาน ประจำปี 2564

วันที่ 19 มีนาคม 2564 เวลา 09.30 น. ณ ห้องประชุม 4 ชั้น 15 กระทรวงพลังงาน  และระบบประชุมทางไกล

ระเบียบวาระระบบติดตามผล Dashboard คลิกที่นี่

Page 5 of 15
1 3 4 5 6 7 15